image(รูปภาพประกอบด้วย ข้อความ, สัญลักษณ์, เครื่องหมาย, ตัวอักษร คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ) removed ..>
<.. image(รูปภาพประกอบด้วย ข้อความ, สัญลักษณ์, เครื่องหมาย, ตัวxxxxx คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ) removed ..>
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx สาขาวิชาการจัดการ หน้า 1
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx สาขาวิชาการจัดการ
หลักสูตรปรับปรง พ.ศ. 2567
xxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxx
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx สาขาวิชาการจัดการ หน้า 2
บทสรุปผู้บริหาร
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx สาขาวิชาการจัดการ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 พัฒนาหลักสูตรโดย คณะทำงานวิทยาลัยชุมชนตราด สถาบันวิทยาลัยชุมชน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยเป็นหลักสูตรxxxxxxxxxxxxมีระยะเวลาการศึกษาxxxx 2 ปี มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 โดยเป็นหลักสูตรที่มีการพัฒนามาจากหลักสูตรอนุปริญญา บริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีระยะเวลาการศึกษา 3 ปี
มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต
หลักสูตรฯ นี้จะส่งผลให้นักศึกษาใช้เวลาในการเรียนลดลง ทำให้xxxxxxไปประกอบอาชีพเพื่อหารายxxx xxxเร็วขึ้น รวมถึงนักศึกษาที่มีงานประจำทำอยู่แล้ว แต่ต้องการพัฒนาตนเองในด้านทักษะและด้านความรู้ ผลลัพธ์ การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs) มีความสอดคล้องสถานการณ์และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาบุคคล ในการขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวต่อการเปลี่ยนแปลง ของชุมชน สังคม ประเทศและโลกการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ และผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา ( CLOs) มีความ สอดคล้องความคาดxxxxของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx สาขาวิชาการจัดการ หน้า 3
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx สาขาวิชาการจัดการ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 พัฒนาหลักสูตรโดย คณะทำงานวิทยาลัยชุมชนตราด สถาบันวิทยาลัยชุมชน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยเป็นหลักสูตรxxxxxxxxxxxxมีระยะเวลาการศึกษาxxxx 2 ปี มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ออกแบบหลักสูตรตามการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ ( Outcome- Based Education : OBE) ตอบxxxxความต้องการและความคาดxxxxของผู้เรียนและผู้มีxxxxxxxxxxxxxxxxxx เปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นหนึ่งในกลไกการพัฒนาองค์กรทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ ทั้งในระดับจังหวัด และ ระดับประเทศ โดยผลิตบุคลากร ด้านการจัดการที่มีความรู้และทักษะในการ ปฏิบัติงานสู่ตลาดแรงงาน xxxxxx พัฒนาตนเองและปฏิบัติงานภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ตลอดจนมีจิตบริการ และ รับผิดชอบต่อสังคม
เรื่อง | หน้า | |
1. | ชื่ออนุปริญญา และสาขาวิชา | 1 |
1.1 ชื่อหลักสูตร | 1 | |
1.2 ชื่ออนุปริญญาและสาขาวิชา | 1 | |
2. | xxxxxx วัตถุประสงค์ และผลลัพธ์การเรียนรู้ | 1 |
2.1 xxxxxx | 1 | |
2.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร | 1 | |
2.3 ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร | 2 | |
2.4 ความสำคัญของหลักสูตร | 2 | |
2.5 อาชีพที่xxxxxxประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา | 3 | |
3. | ระบบและกลไกในการพัฒนาหลักสูตร | 3 |
3.1 ทิศทางการพัฒนาประเทศที่สอดคล้องกับการพัฒนาหลักสูตร | 3 | |
3.2 ความสอดคล้องกับพันธกิจและxxxxxxxxxxของสถาบันกลุ่มพัฒนาชุมชนxxxxxxxxหรือ ชุมชนอื่น | 4 | |
3.3 การรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย และกระบวนการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ | 5 | |
4. | โครงสร้างหลักสูตร รายวิชา และหน่วยกิต | 8 |
4.1 จำนวนหน่วยกิตรวมและระยะเวลาการศึกษา | 8 | |
4.2 โครงสร้างของหลักสูตร | 8 | |
4.3 รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร | 9 | |
5. | การจัดกระบวนการเรียนรู้ | 24 |
5.1 รูปแบบของหลักสูตร | 24 | |
5.2 ระบบการจัดการศึกษา | 24 | |
5.3 ระยะเวลาของการxxxxxxการเรียนการสอน | 24 | |
5.4 รูปแบบการศึกษา | 24 | |
5.5 แผนการรับนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระยะ 5 ปี | 24 | |
5.6 แผนการจัดการศึกษาตลอดหลักสูตร | 25 | |
5.7 ความxxxxxxxxระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรกับผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษา | 26 | |
5.8 ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร กลยุทธ์การเรียนการสอน และการประเมินผล | 29 | |
5.9 ผลลัพธ์การเรียนรู้ กระบวนการฝึกประสบการณ์ และการประเมินผลในรายวิชาฝึก ประสบการณ์ | 34 |
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx สาขาวิชาการจัดการ หน้า 4
เรื่อง | หน้า | |
5.10 ความxxxxxxxxระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร และระดับรายวิชา | 35 | |
5.11 ความคาดxxxxของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา (YLOs) | 45 | |
5.12 การxxxxxxxxและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา | 45 | |
6. | ความพร้อมและศักยภาพในการบริหารจัดการหลักสูตร | 46 |
6.1 สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร | 46 | |
6.2 สถานที่จัดการเรียนการสอน | 46 | |
6.3 งบประมาณตามแผน | 46 | |
6.4 ค่าธรรมเนียมการศึกษา | 46 | |
6.5 อาจารย์ | 49 | |
6.6 การพัฒนาอาจารย์ | 50 | |
6.7 ความพร้อมด้านทรัพยากรการเรียนรู้ | 50 | |
7. | คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา | 50 |
7.1 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา | 50 | |
7.2 การรับนักศึกษา | 50 | |
8. | การประเมินผลการเรียนรู้และเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา | 51 |
8.1 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ | 51 | |
8.2 เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา | 51 | |
9. | การประกันคุณภาพหลักสูตร | 51 |
9.1 กระบวนการการประกันคุณภาพหลักสูตร | 51 | |
9.2 ระบบการบริหารคุณภาพหลักสูตร | 51 | |
9.3 การบริหารจัดการความเสี่ยง | 52 | |
9.4 การอุทธรณ์ของนักศึกษา | 52 | |
ภาคผนวก 53 | ||
1. คำสั่งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและคำสั่งคณะกรรมการวิพากษ์หลักสูตร | 54 | |
2. รายงานการวิพากษ์หลักสูตร | 59 | |
3. รายงานผลการใช้หลักสูตรเดิม | 60 | |
4. การออกแบบหลักสูตรตามการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education : OBE) | 62 | |
5. การกำหนดรหัสวิชา | 68 | |
6. การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างหลักสูตรอนุปริญญา | 71 |
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx สาขาวิชาการจัดการ หน้า 5
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx สาขาวิชาการจัดการ หน้า 1
xxxxxxxxxxxxxxxxxxx
xxxxxxxxxxxxxxxxx
รายละเอียดของหลักสูตร หลักสูตรอนุปริญญาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566
1. ชื่ออนุปริญญา และสาขาวิชา
1.1 ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย: หลักสูตรอนุปริญญาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ
ชื่อภาษาอังกฤษ: Associate of Business Administration Program in Management
1.2 ชื่ออนุปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อภาษาไทย | : ชื่อเต็ม | อนุปริญญาบริหารธุรกิจ (การจัดการ) |
: ชื่อย่อ | อ.บธ. (การจัดการ) | |
ชื่อภาษาอังกฤษ: | : ชื่อเต็ม | Associate of Business Administration |
(Management) | ||
: ชื่อย่อ | X.XX. (Management) |
2. xxxxxx วัตถุประสงค์ และผลลัพธ์การเรียนรู้
2.1 xxxxxx
การจัดการสมัยใหม่ เปี่ยมด้วยxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxxในยุคดิจิทัล
2.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อxxxxxxxxxxผู้เรียนให้มีคุณลักษณะ ดังนี้
1. มีความรู้ ความเข้าใจด้านการจัดการสมัยใหม่และการประกอบธุรกิจแบบองค์รวม
2. xxxxxxวิเคราะห์และจัดทำแผนธุรกิจชุมชน โดยใช้กระบวนการจัดการอย่างสร้างสรรค์ บูรณาการความรู้ใน พัฒนาตนเองและทำงานร่วมกับชุมชน
3. xxxxxxสื่อสารด้วยภาษาไทย หรืออังกฤษ และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานด้านการ
จัดการ
4. มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
5. มีบุคลิกภาพเป็นนักบริหารจัดการ การทำงานเป็นทีม และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
2.3 ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program Learning Outcomes : PLOs)
PLO1 ประยุกต์แนวคิดและหลักการ ด้านการจัดการ ด้านการจัดการสมัยใหม่ในการประกอบธุรกิจชุมชน เพื่อตอบxxxxตามความต้องการของชุมชนและxxxxxxxx
PLO2 คิดสร้างสรรค์และประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนชุมชนในการออกแบบกระบวนการพัฒนา
xxxxxxxxxxx
PLO3 ประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลในการออกแบบวิธีการจัดการเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน
PLO4 แสดงออกถึงคุณธรรม จริยธรรม จิตสาธารณะ และความรับผิดชอบในการประกอบอาชีพ
PLO5 xxxxxxสื่อสารโดยใช้ภาษาไทย และภาษาอังกฤษในการสื่อสาร เพื่อxxxxxxงานภายในและ ภายนอกองค์กรได้
PLO6 แสดงออกภาวะการเป็นผู้นำ ทำงานเป็นทีม การเข้ากับวัฒนธรรมองค์กร รวมถึงxxxxxxแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้
ตารางความxxxxxxxxระหว่างวัตถุประสงค์กับผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program Learning Outcomes : PLOs)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร | PLO1 | PLO2 | PLO3 | PLO4 | PLO5 | PLO6 |
1. มีความรู้ ความเข้าใจด้านการจัดการสมัยใหม่และ การประกอบธุรกิจแบบองค์รวม | ✓ | |||||
2. xxxxxxวิเคราะห์และจัดทำแผนธุรกิจชุมชน โดยใช้ กระบวนการจัดการอย่างสร้างสรรค์ บูรณาการความรู้ ในพัฒนาตนเองและทำงานร่วมกับชุมชน | ✓ | ✓ | ✓ | |||
3. xxxxxxสื่อสารด้วยภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ และ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานด้าน การจัดการ | ✓ | |||||
4. มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคม | ✓ | |||||
5. มีบุคลิกภาพเป็นนักบริหารจัดการ การทำงานเป็น ทีม และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง | ✓ |
2.4 ความสำคัญของหลักสูตร
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีxxxxxxxxxxและxxxxxxxxอย่างรวดเร็ว ทำให้การจัดการงานต่าง ๆ มีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ลดขั้นตอนxxxxxxxxxxxx ลดการสูญเสียในการทำงาน จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการ ขับเคลื่อนองค์กรให้มีประสิทธิภาพและxxxxxxxxxxในเชิงการแข่งขันทั้งแบบออนไลน์ และออฟไลน์ (แบบเผชิญหน้า) รวมทั้งการใช้หลาย ๆ กลยุทธ์ในการบริหารจัดการเพื่อตอบxxxxความต้องการของลูกค้า หรือเป้าหมายขององค์กร
จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้องค์กรต่าง ๆ มีxxxxxxxxxxจะแข่งขันกันอย่างรุนแรงมากขึ้น จึงทำให้องค์กร ต้องเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะด้านบุคคลากร ที่จำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจในพื้นฐานทาง
ธุรกิจ มีทักษะในการทำงาน การใช้เทคโนโลยี และแสวงหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ ให้เหตุผลและนำมา บูรณาความรู้กับศาสตร์อื่น ๆ ในการปฏิบัติงาน
ดังนั้น หลักสูตรอนุปริญญาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 จึงเป็นหนึ่งใน กลไกการพัฒนาองค์กรทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ ทั้งในระดับจังหวัด และระดับประเทศ โดยผลิตบุคลากร ด้านการ จัดการที่มีความรู้และทักษะในการ ปฏิบัติงานสู่ตลาดแรงงาน xxxxxxพัฒนาตนเองและปฏิบัติงานภายใต้กระแส การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ตลอดจนมีจิตบริการ และรับผิดชอบต่อสังคม
2.5 อาชีพที่xxxxxxประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. ผู้ประกอบการธุรกิจ
2. ผู้จัดการ หัวหน้า พนักงานxxxxxxxเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ งานบุคคล จัดซื้อ การผลิต และการxxxxxxxxx xxxตลาด การควบคุมสินค้าในภาคเอกชน
3. เจ้าหน้าที่xxxxxx พนักงานฝ่ายบริหารทั่วไปในหน่วยงานภารรัฐ รัฐวสาหกิจ และเอกชน
4. พนักงานองค์กรภาคxxxxxสังคม
5. พนักงาน เจ้าหน้าที่ การตลาด / การขาย ออนไลน์
3. ระบบและกลไกในการพัฒนาหลักสูตร
3.1 ทิศทางการพัฒนาประเทศที่สอดคล้องกับการพัฒนาหลักสูตร
แผนxxxxxxxxxxชาติ 20 ปี ( 2561 - 25680) ภายใต้xxxxxxxxxxxxx 3 ด้านพัฒนาและxxxxxxxxxxศักยภาพ ทรัพยากรมนุษย์ แผนแม่บทxxxxxxxxxxชาติ ข้อ 1.1 การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต และแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) มีวัตถุประสงค์เพื่อพลิกโฉมประเทศไทยสู่ “สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน” ซึ่งหมายถึงการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับโครงสร้าง นโยบาย และ กลไก เพื่อมุ่งเสริมสร้างสังคมที่ก้าวทันพลวัตของโลก และเกื้อหนุนให้คนไทยมีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองได้อย่างเต็ม ศักยภาพ พร้อมกับการยกระดับกิจกรรมการผลิตและการให้บริการให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐาน ของความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม และเป้าหมายหลักของการพัฒนา เป้าหมายที่ 2 การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่ เป็น การพัฒนาให้คนไทยมีทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับโลกยุคใหม่ ทั้งทักษะในด้านความรู้ ทักษะทางพฤติกรรม และคุณลักษณะตาม บรรทัดฐานที่ดีของสังคม และเร่งรัดการเตรียมพร้อมกำลังคนให้มีคุณภาพสอดคล้องกับความ ต้องการของตลาดแรงงาน และเอื้อต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ภาคการผลิตและบริการเป้าหมายที่มีศักยภาพ และผลิตภาพสูงขึ้น รวมทั้งให้ความสำคัญกับการสร้างหลักประกันและความคุ้มครองทางสังคมที่สามารถส่งเสริมความ มั่นคงในชีวิต และมิติโอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม หมุดหมายที่ 7 ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง และสามารถ แข่งขันได้ หมุดหมายการพัฒนา และหมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคน สมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต โดยคนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาในทุกมิติ การพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงสอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิตเป้าหมาย สามารถสร้างงานอนาคต และ สร้างผู้ประกอบการอัจฉริยะที่มีความสามารถในการสร้างและใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ประเด็นยุทธศาสตร์กระทรวง
อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวตกรรม ประเด็นข้อที่ 4 ว่าด้วยการพัฒนากำลังคนสถาบันอุดมศึกษา และ หน่วยงานวิจัยให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน
สาระสำคัญแผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ได้มุ่งหวังการยกระดับมาตรฐาน การอุดมศึกษา ให้เทียบเคียงกับประเทศที่พัฒนาแล้ว และสนับสนุนการถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรม จึงทำให้มีการกำหนด หลักการพื้นฐานและแนวคิดในการจัดทำแผนที่มุ่งหวังให้อุดมศึกษาเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ปฏิรูปการอุดมศึกษาทั้งระบบ และสร้างโอกาสในการเปลี่ยนแปลงการศึกษาทั้งระบบของประเทศ มียุทธศาสตร์ในการ พัฒนาศักยภาพและคุณภาพของนักศึกษา เสริมความรู้และทักษะอาชีพให้พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นใน อนาคต ให้นักศึกษารู้จักการคิดวิเคราะห์เชิงรุก มีทฤษฎี มีตรรกะ สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรม แสวงหาทางเลือกใหม่ และสร้างรากฐานการวิจัยเพื่อขับเคลื่อนชุมชนและสังคมในการพัฒนาประเทศ
ยุทธศาสตร์สถาบันวิทยาลัยชุมชนระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) มุ่งเน้นการใช้กลไกการจัดการศึกษาตาม พันธกิจของสถาบันวิทยาลัยชุมชนในการสร้างชุมชนต้นแบบนวัตกรรม สร้างชุมชนภูมิปัญญาเพื่อเป็นรากฐานในการ พัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน ประกอบการการมุ่งเน้นการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาตนเองที่นำไปสู่การดูแลและ พัฒนาชุมชนและสังคม โดยยุทธศาสตร์ที่ 2 การจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพชุมชน มุ่งเน้น การพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน ตลาดแรงงานทั้งระดับชุมชน จังหวัด ประเทศและต่างประเทศ มีการกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายด้วยดิจิทัล ตอบสนองวิธีการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาของคนทุกกลุ่มอาชีพและ กลุ่มวัยต่าง ๆ มากขึ้น
แผนพัฒนาจังหวัดตราด พ.ศ. 2566 - 2570 (ฉบับทบทวนปีงบประมาณ พ.ศ. 2567) กำหนดเป้าหมาย การพัฒนาว่า “เมืองท่องเที่ยว การเกษตร เศรษฐกิจสังคมตราดมีคุณภาพคุณธรรม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ” ภายใต้ตัวชี้วัด ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเพิ่มขึ้น โดยขับเคลื่อนผ่านประเด็นการพัฒนา 5 ด้าน คือ ด้านการ ท่องเที่ยว ด้านการเกษตร ด้านการค้าและการค้าชายแดน ด้านสังคม และด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
วิทยาลัยชุมชนตราดพัฒนาหลักสูตรอนุปริญญา สาขาการจัดการ โดยมีระยะเวลาการศึกษาปกติ 2 ปี และ มีความสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอนุปริญญา พ.ศ. 2565 เพื่อให้เกิดความเหมาะสมทันต่อการ เปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงสร้างกำลังคนในท้องถิ่นให้มีสมรรถนะสูง
3.2 ความสอดคล้องกับพันธกิจและยุทธศาสตร์ของสถาบันกลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น
วิทยาลัยชุมชนตราด สถาบันวิทยาลัยชุมชน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นสถาบันการศึกษาซึ่งจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษา วิจัย ให้บริการทางวิชาการ ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ของท้องถิ่นและชุมชน การพัฒนาที่ยั่งยืน เสริมสร้างศักยภาพบุคคล ตอบสนองต่อความต้องการและการประกอบ อาชีพของท้องถิ่นและชุมชนซึ่งนำไปสู่การพัฒนาประเทศ โดยสถาบันวิทยาลัยชุมชนมีวิสัยทัศน์ " สถาบันวิทยาลัย ชุมชนสร้างสรรค์ปัญญา พลังการเรียนรู้ และลดความเหลื่อมล้ำ นำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน" และสถาบัน วิทยาลัยชุมชนมีพันธกิจ " สถาบันวิทยาลัยชุมชนจัดการศึกษา วิจัยและสร้างนวัตกรรม บริการทางวิชาการ และ ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มุ่งสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อสร้างความเข้มแข็งของท้องถิ่นและชุมชน
การพัฒนาที่ยั่งยืน เสริมสร้างศักยภาพบุคคล ตอบสนองต่อความต้องการและการประกอบอาชีพของ ท้องถิ่นและชุมชนซึ่งนำไปสู่การพัฒนาประเทศสถาบันวิทยาลัยชุมชนได้กำหนดแผนพัฒนาความเป็นเลิศสถาบัน วิทยาลัยชุมชน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) จาการวิเคราะห์ SWOT พบว่า วิทยาลัยชุมชนมีจุดแข็งของ วิทยาลัยชุมชนคือ 1.หลักสูตรตอบสนองความ ต้องการของผู้เรียน 2. อาจารย์มาจากจากผู้ทรงคุณวุฒิ และภูมิภูมิ ปัญญา ท้องถิ่นในพื้น 3. มีรูปแบบการจัดการศึกษาที่หลากหลายทั้ง online/onsite 4. เสียค่าใช้จ่ายน้อย เปิด กว้าง และเข้าถึงง่าย โดยมีพันธกิจหลักที่ 1 เสริมสร้างศักยภาพของคนในชุมชนท้องถิ่น โดยการจัดการศึกษาการ ฝึกอบรม และการจัดประสบการณ์อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 1 การสร้างและพัฒนาคนในศตวรรษที่ 21
เป้าหมายที่ 1.1 สร้างกำลังคนในท้องถิ่นให้มีสมรรถนะสูง เป้าหมายที่ 1.2 สร้างโอกาสเข้าถึงการศึกษาของ ประชากรกลุ่มยากจน ผู้ด้อยโอกาสและมีความเหลื่อมล้ำสูงทางเศรษฐกิจ เป้าหมายที่ 1.3 สร้างความเข้มแข็งของ ชุมชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน จากทั้ง 3 เป้าหมายวิทยาลัยชุมชนตราด จึงจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรอนุปริญญา บริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ โดยมีระยะเวลาการศึกษาปกติ 2 ปี และเป็นหลักสูตรสอดคล้องกับการสร้าง กำลังคนสมรรถนะสูงตามบริบทของพื้นที่ จัดการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์และสร้างสมรรถนะ สอดคล้องกับการ เปลี่ยนแปลงของยุคสมัย เพื่อพัฒนาคนในท้องถิ่นให้มีสมรรถนะสูง สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระดับพื้นที่และระดับประเทศ
แผนพัฒนาจังหวัดตราด ประเด็นการพัฒนาที่ 3 เสริมสร้างศักยภาพทางเศรษกิจรองรับการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว เพื่อเชื่อมโยงสู่ภูมิภาค วัตถุประสงค์ เสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่าการค้า ชายแดนเติบโตอย่างต่อเนื่อง เชื่อมโยงสู่ภูมิภาค เป้าหมายและตัวชี้วัด 1. มูลค่าการค้าชายแดนเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 2 ต่อปี) 2. อัตราการเติบโตของทุนจดทะเบียนในพื้นที่จังหวัดเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 2 ต่อปี) 3. ร้อยละของแรงงานฝีมือ เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 2 ต่อปี) แนวทางการพัฒนา 1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวก การคมนาคม ระบบโลจิสติกส์ให้ได้มาตรฐาน 2. พัฒนาศักยภาพมาตรฐานด้านแรงงานและระบบการบริหาร จัดการ 3. สนับสนุนและส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและสินค้าบริการให้มีขีดความสามารถในการ แข่งขัน 4. เสริมสร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ แผนงาน พัฒนาและส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว เชื่อมโยงไปยังภูมิภาค
3.3 การรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย และกระบวนการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้
3.3.1 สรุปผลการรับฟังความเห็นจากผู้ใช้บัณฑิต ผู้เรียน นักเรียนที่ต้องการเข้าเรียนใน หลักสูตร และผู้มีส่วนได้เสีย
1. ด้านความรู้
- การจัดการธุรกิจสมัยใหม่ ความรู้ด้านการจัดการองค์กร การเงิน การบัญชี การตลาด การบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ กฎหมายและภาษีอากร การจัดการโลจิสติกส์ การจัดการเชิงกลยุทธ์
- การจัดการสมัยใหม่ ความรู้ด้านการประกอบธุรกิจดิจิทัล
- วิจัยทางธุรกิจ / ชุมชน
- การเป็นผู้ประกอบการ
2. ด้านทักษะ
- ด้านภาษาสากลและภาษาประเทศเพื่อนบ้าน
- ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล
- การเขียนหนังสือราชการ โครงการ และรายงาน
- มีความคิดรึเริ่มสร้างสรรค์
3. ด้านจริยธรรม
- ขยันหมั่นเพียร
- ความซื่อสัตย์
- มีวินัย
- จิตอาสา
- รับผิดชอบ
- ความจงรักภักดีต่อองค์กร
- จรรยาบรรณวิชาชีพ / องค์กร
4. ด้านลักษณะบุคคล
- การเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม
- มีบุคลิกภาพที่ดี
- มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
- ทัศนคติในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- มีความยืดหยุ่นในการทำงาน
ผู้มีส่วนได้เสีย | ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการ |
1. ผู้ใช้บัณฑิต (นายจ้าง/สถานประกอบการ) ที่ประกอบอาชีพ เกี่ยวกับ 1) ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน 2) พนักงานธุรการ 3) เลขานุการ 4) นักวิชาการ 5) เจ้าหน้าที่งานทะเบียน 6) เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป | - ทักษะการเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีมและการเจรจาต่อรอง - การคิดริเริ่มสร้างสรรค์และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า - ความกล้าแสดงออก การพูดในที่ประชุม - การใช้งานโปรแกรมสำเรจรูปสำหรับงานสำนักงาน - การใช้เครื่องมือดิจิทัล แอพพลิเคชั่น รวมถึง Internet แพลตฟอร์มต่าง ในการบริหารจัดการธุรกิจ - คุณธรรมจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ - มีบุคลิกภาพดี - สื่อสารได้อย่างเหมาะสม |
2. ศิษย์เก่า | - การใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานสำนักงาน - ความทันสมัยการใช้สื่อดิจิทัล แอพพลิเคชั่น รวมถึง Internet แพลตฟอร์มต่างๆ |
3. ผู้สอน | - ความรู้ด้านวิจัย / สถิติ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล - ความรู้บริบทของพื้นที่ - แผนการจัดการธุรกิจ - การประยุกต์ใช้ความรู้ไปต่อยอดในการพัฒนาตัวเองและชุมชน |
ผู้มีส่วนได้เสีย | ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการ |
4. ผู้ทรงคุณวุฒิที่สัมพันธ์กับสาขาวิชา | - การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชน - การใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปโดยเฉพาะโปรแกรม Excel - การตั้งเป้าหมายในชีวิต |
3.3.2 สรุปกระบวนการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้
1. รับฟังความเห็น ความต้องการ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียต่อหลักสูตร ได้แก่ ผู้ใช้ บัณฑิต (นายจ้าง/สถานประกอบการ) ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ผู้สอน และผู้ทรงคุณวุฒิที่สัมพันธ์กับสาขาวิชา ประกอบ รวมกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และอัตลักษณ์ของสถาบันวิทยาลัยและวิทยาลัยชุมชนตราด และผลลัพธ์การเรียนรู้ตาม มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565
2. วิเคราะห์ความเห็น ความต้องการ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย กำหนดปรัชญา วัตถุประสงค์ของหลักสูตร และกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program Learning Outcomes : PLOs) ที่ สอดคล้องกัน
3. กำหนดโครงสร้างหลักสูตร โดยเป็นหลักสูตรอนุปริญญาที่มีระยะเวลาการศึกษาปกติ 2 ปี มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565
4. กำหนดรายวิชาและผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา (Course Learning Outcomes : CLOs)
ที่สอดคล้องตามผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs)
5. ออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้/กลยุทธ์การเรียนการสอน ที่สอดคล้องกับผลลัพธ์การ เรียนรู้ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ รู้จักวิธีแสวงหาความรู้ ปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เกิดกรอบ คิดแบบเติบโต (Growth Mindset) และสามารถนําสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้กับโลกของการทำงานจริง และออกแบบ วิธีการวัดและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
6. พัฒนาร่างหลักสูตร โดยกำหนดอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์พิเศษ การพัฒนาอาจารย์ ทรัพยากรการเรียนรู้ กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ที่สนับสนุน ให้ผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้
7. ดำเนินการวิพากษ์หลักสูตร โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่สัมพันธ์กับสาขาวิชา ปรับแก้ไขหลักสูตร และ เสนอต่อคณะอนุกรรมการวิชาการวิทยาลัยชุมชน สภาวิทยาลัยชุมชน และสถาบันวิทยาลัยชุมชนพิจารณาต่อไป
กระบวนการได้มาของผลการเรียนรู้ระดับหลักสูตร | ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร PLO | |||||
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
1. วิสัยทัศน์ของสถาบันวิทยาลัยชุมชน “สถาบันวิทยาลัยชุมชนสร้างสรรค์ปัญญา พลังการเรียนรู้และลด ความเหลื่อมล้ำ นำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน” | 🗸 | 🗸 | ||||
2. วิสัยทัศน์ พันธกิจ ของวิทยาลัยชุมชนตราด | ||||||
วิสัยทัศน์ : "วิทยาลัยชุมชนตราดเป็นผู้นำด้านการจัดการศึกษา พัฒนา อาชีพ โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการขับเคลื่อน ยกระดับคุณภาพ | 🗸 | 🗸 | 🗸 |
กระบวนการได้มาของผลการเรียนรู้ระดับหลักสูตร | ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร PLO | |||||
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
ชีวิตของคนในชุมชนบนพื้นฐานภูมิปัญญาสู่สากล เพื่อเสริมสร้างชุมชน เข้มแข็งอย่างยั่งยืน" . | ||||||
พันธกิจวิทยาลัยชุมชนตราด | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 |
3. อัตลักษณ์ของวิทยาลัยชุมชนตราด " มีคุณธรรม นำความรู้สู่ชุมชน" | 🗸 | 🗸 | ||||
4. เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรกะอการศึกษาระดับอนุปริญญา พ.ศ. 2565 มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ผลลัพธ์การเรียนรู้ 4 ด้าน | ||||||
- ด้านความรู้ | 🗸 | 🗸 | 🗸 | |||
- ด้านทักษะ | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | |
- ด้านจริยธรรม | 🗸 | |||||
- ด้านคุณลักษณะ | 🗸 | 🗸 | ||||
5. ความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย(Stakeholder) - ผู้มีส่วนได้เสีย : ความคิดเห็น | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 |
4. โครงสร้างหลักสูตร รายวิชา และหน่วยกิต
4.1 จำนวนหน่วยกิตรวมและระยะเวลาการศึกษา
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต และระยะเวลาการศึกษาปกติ 2 ปี
4.2 โครงสร้างของหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ใน ประกาศคณะกรรมการ มาตรฐาน การอุดมศึกษา เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอนุปริญญา พ.ศ. 2565 และการรับฟังความคิดเห็น จากการประชุมผู้มีส่วนได้เสีย ดังนี้
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | ไม่น้อยกว่า | 24 | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า | 33 | หน่วยกิต |
1) วิชาแกน | 15 | หน่วยกิต | |
2) วิชาเฉพาะด้าน | 18 | หน่วยกิต | |
2.1) วิชาบังคับ | 9 | หน่วยกิต | |
2.2) วิชาเลือก | 6 | หน่วยกิต | |
2.3) วิชาการฝึกงาน | 3 | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือกเสรี | ไม่น้อยกว่า | 3 | หน่วยกิต |
4.3 รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | ไม่น้อยกว่า | 24 | หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร | ไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต |
รหัสรายวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้าด้วยตนเอง) |
ศท 0101 | ภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญา | 3 (2-2-5) |
GE 0101 | Thai for Intellectual Development | |
ศท 0102 | ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล 1 | 3 (2-2-5) |
GE 0102 | English for Global Communication 1 | |
ศท 0103 | ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล 2 | 3 (2-2-5) |
GE 0103 | English for Global Communication 2 | |
ศท 0104 | การเล่าเรื่อง | 3 (2-2-5) |
GE 0104 | Story Telling | |
ศท 0105 | ปัญญาจากวรรณกรรมและสื่อสมัยใหม่ | 3 (2-2-5) |
GE 0105 | Wisdom through Literature and Modern Media | |
ศท 0106 | ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาอาชีพ | 3 (2-2-5) |
GE 0106 | English for Professional Development | |
ศท 0107 | ภาษาไร้พรมแดน | 3 (2-2-5) |
GE 0107 | Borderless Language |
กลุ่มวิชาการเรียนรู้และคุณภาพชีวิต ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
รหัสรายวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้าด้วยตนเอง) |
ศท 0201 | การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 | 3 (2-2-5) |
GE 0201 | 21st Century Learning Skills Development | |
ศท 0202 | ชีวิตและการสร้างคุณค่า | 3 (2-2-5) |
GE 0202 | Life and Value Creation | |
ศท 0203 | จุดประกายความคิดทางธุรกิจ | 3 (2-2-5) |
GE 0203 | Start-up Inspiration | |
ศท 0204 | ความงามและสุนทรียภาพแห่งชีวิต | 3 (2-2-5) |
GE 0204 | Beauty and Aesthetics of Life | |
ศท 0205 | คณิตศาสตร์น่ารู้ | 3 (2-2-5) |
GE 0205 | Fascination of Mathematics |
กลุ่มวิชาพลเมืองตื่นรู้และสร้างสรรค์ชุมชน ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
รหัสรายวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้าด้วยตนเอง) |
ศท 0301 | วิทยาลัยชุมชนกับการเป็นพลเมือง | 3 (2-2-5) |
GE 0301 | Community Colleges and Citizenship | |
ศท 0302 | ชุมชนแห่งความยั่งยืน | 3 (2-2-5) |
GE 0302 | Sustainable Community | |
ศท 0303 | วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต | 3 (2-2-5) |
GE 0303 | Science for Life |
กลุ่มวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
รหัสรายวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้าด้วยตนเอง) |
ศท 0401 | ดิจิทัลกับชีวิต | 3 (2-2-5) |
GE 0401 | Digitalization and Life | |
ศท 0402 | โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการทำงาน | 3 (2-2-5) |
GE 0402 | Computer Programs for Careers | |
ศท 0403 | แอปพลิเคชันสำหรับชีวิตยุคใหม่ | 3 (2-2-5) |
GE 0403 | Applications for Modern Life |
โครงสร้างกลุ่มวิชาบังคับและวิชาเลือกของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
รายวิชาบังคับ | รายวิชาเลือก | ||||
รหัส รายวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวน หน่วยกิต (ท-ป-ศ) | รหัส รายวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวน หน่วย กิต (ท-ป-ศ) |
กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร | |||||
ศท 0101 | ภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญา | 3 (2-2-5) | ศท 0103 | ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล 2 | 3 (2-2-5) |
GE 0101 | Thai for Intellectual Development | GE 0103 | English for Global Communication 2 | ||
ศท 0102 | ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล 1 | 3 (2-2-5) | ศท 0104 | การเล่าเรื่อง | 3 (2-2-5) |
GE 0102 | English for Global Communication 1 | GE 0104 | Story Telling | ||
ศท 0105 | ปัญญาจากวรรณกรรมและสื่อสมัยใหม่ | 3 (2-2-5) | |||
GE 0105 | Wisdom through Literature and Modern Media | ||||
ศท 0106 | ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาอาชีพ | 3 (2-2-5) |
รายวิชาบังคับ | รายวิชาเลือก | ||||
รหัส รายวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวน หน่วยกิต (ท-ป-ศ) | รหัส รายวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวน หน่วย กิต (ท-ป-ศ) |
GE 0106 | English for Professional Development | ||||
ศท 0107 | ภาษาไร้พรมแดน | 3 (2-2-5) | |||
GE 0107 | Borderless Language | ||||
กลุ่มวิชาการเรียนรู้และคุณภาพชีวิต | |||||
ศท 0201 | การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 | 3 (2-2-5) | ศท 0203 | จุดประกายความคิดทางธุรกิจ | 3 (2-2-5) |
GE 0201 | 21st Century Learning Skills Development | GE 0203 | Start-up Inspiration | ||
ศท 0202 | ชีวิตและการสร้างคุณค่า | 3 (2-2-5) | ศท 0204 | ความงามและสุนทรียภาพแห่งชีวิต | 3 (2-2-5) |
GE 0202 | Life and Value Creation | GE 0204 | Beauty and Aesthetics of Life | ||
ศท 0205 | คณติ ศาสตร์น่ารู้ | 3 (2-2-5) | |||
GE 0205 | Fascination of Mathematics | ||||
กลุ่มวิชาพลเมืองตื่นรู้และสร้างสรรค์ชุมชน | |||||
ศท 0301 | วิทยาลยั ชุมชนกับการเป็นพลเมือง | 3 (2-2-5) | ศท 0303 | วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต | 3 (2-2-5) |
GE 0301 | Community Colleges and Citizenship | GE 0303 | Science for Life | ||
ศท 0302 | ชุมชนแห่งความยั่งยืน | 3 (2-2-5) | |||
GE 0302 | Sustainable Community | ||||
กลุ่มวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม | |||||
ศท 0401 | ดิจิทัลกับชีวิต | 3 (2-2-5) | ศท 0402 | โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการทำงาน | 3 (2-2-5) |
GE 0401 | Digitalization and Life | GE 0402 | Computer Programs for Careers | ||
ศท 0403 | แอปพลิเคชันสำหรับชีวิตยุคใหม่ | 3 (2-2-5) | |||
GE 0403 | Applications for Modern Life |
วิชาเลือกให้เลือกเรียนรายวิชาจากกลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร การเรียนรู้และคุณภาพชีวิต พลเมืองตื่น รู้และสร้างสรรค์ชุมชน และเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า | 33 | หน่วยกิต |
(1) วิชาแกน | จำนวน | 15 | หน่วยกิต |
รหัสรายวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้าด้วยตนเอง) |
กจ 1001 | ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ | 3(3-0-6) |
MN 1001 | Business and Entrepreneurship | |
กจ 1002 | การจัดการสมัยใหม่ | 3(3-0-6) |
MN 1002 | Modern Management | |
กจ 1004 | การเงินธุรกิจ | 3(3-0-6) |
MN 1004 | Corporate Finance | |
กจ 1005 | เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ | 3(3-0-6) |
MN 1005 | Business Economics | |
กจ 1007 | การตลาดสมัยใหม่ | 3(3-0-6) |
MN 1007 | Modern Marketing |
(2) วิชาชีพ | จำนวน | 18 | หน่วยกิต |
(2.1) วิชาบังคับ | จำนวน | 9 | หน่วยกิต |
รหัสรายวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้าด้วยตนเอง) |
กจ 1008 | การจัดการสำนักงานสมัยใหม่ | 3(2-2-5) |
MN 1008 | Modern Office Management | |
กจ 1011 | การประกอบธุรกิจชุมชนในยุคดิจิทัล | 3(2-2-5) |
MN 1011 | Community Business in Digital Age | |
กจ 1012 | การวิจัยทางธุรกิจ | 3(2-2-5) |
MN 1012 | Business Research |
(2.2) วิชาเลือก จำนวน 6 หน่วยกิต
รหัสรายวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้าด้วยตนเอง) |
กจ 1003 | หลักการบัญชี | 3(2-2-5) |
MN 1003 | Principles of Accounting | |
กจ 1006 | การจัดการทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ | 3(3-0-6) |
MN 1006 | Modern Human Resource Management | |
กจ 1009 | การจัดการเชิงกลยุทธ์ | 3(3-0-6) |
MN 1009 | Strategic Management |
รหัสรายวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้าด้วยตนเอง) |
กจ 1016 | กฎหมายธุรกิจ | 3(3-0-6) |
MN 1016 | Business Law | |
กจ 1017 | จิตวิทยาธุรกิจและการพัฒนาบุคลิกภาพทางธุรกิจ | 3(3-0-6) |
MN 1017 | Business Psychology and Business Personality Development | |
กจ 1019 | การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน | 3(3-0-6) |
MN 1019 | Logistics and Supply Chain Management | |
กจ 1020 | ความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจ | 3(2-2-5) |
MN 1020 | Creative Thinking for Business | |
กจ 1021 | การตลาดดิจิทัล | 3(2-2-5) |
MN 1021 | Digital Marketing | |
กจ 1023 | มัลติมีเดียทางธุรกิจ | 3(2-2-5) |
MN 1023 | Multimedia in Business | |
กจ 1024 | ภาษาอังกฤษในสำนักงาน | 3(2-2-5) |
MN 1024 | English in the Office | |
กจ 1025 | ภาษีอากรธุรกิจ | 3(3-0-6) |
MN 1025 | Business Taxation | |
กจ 1028 | หัวข้อคัดสรรทางด้านการจัดการ 1 | 3 (x-x-x) |
MN 1028 | Selected Topics in Management 1 | |
กจ 1029 | หัวข้อคัดสรรทางด้านการจัดการ 2 | 3 (x-x-x) |
MN 1029 | Selected Topics in Management 2 |
(2.3) วิชาการฝึกงาน จำนวน 3 หน่วยกิต
รหัสรายวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้าด้วยตนเอง) |
กจ 1030 | การฝึกประสบการณ์ | 3 (270) |
MN 1030 | Field Experience | (ไม่น้อยกว่า 270 ชั่วโมง) |
4.3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต
เลือกเรียนรายวิชาต่าง ๆ ในสาขาวิชาเดียวกันหรือต่างสาขาวิชาก็ได้ หรือเลือกจากหลักสูตรอื่น ใดในระดับเดียวกันจากวิทยาลัยชุมชนอื่น ๆ โดยไม่ซ้ำซ้อนกับรายวิชาที่เรียนมาแล้ว ส่วนรายวิชาที่หลักสูตรระบุ ไม่ให้นับหน่วยกิตในการขอจบหลักสูตรจะเลือกเรียนเป็นวิชาเลือกเสรีไม่ได้ โดยมีจำนวนหน่วยกิต ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต
4.4 คำอธิบายรายวิชา
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร
ศท 0101 ภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญา 3 (2-2-5)
GE 0101 Thai for Intellectual Development
การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน จับใจความ สำคัญในการอ่านและการฟังอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า มีสุนทรียภาพทางภาษา การใช้ภาษาไทยในการแสวงหาความรู้ และพัฒนาผลงานอย่างสร้างสรรค์
ศท 0102 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล 1 3 (2-2-5)
GE 0102 English for Global Communication 1
การใช้ภาษาอังกฤษเบื้องต้นในฐานะเป็นภาษากลางของโลกในบริบทต่าง ๆ ทั้งในการใช้ ชีวิตประจำวันและการทำงาน โดยบูรณาการทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน รวมไปถึงวัฒนธรรม และความหลากหลายของผู้ใช้ภาษาอังกฤษทั่วโลกเพื่อให้นักศึกษารู้เท่าทันโลกผ่านสื่อดิจิทัล
ศท 0103 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล 2 3 (2-2-5)
GE 0103 English for Global Communication 2
การใช้ภาษาอังกฤษขั้นสูงในบริบทต่าง ๆ ทั้งใช้ชีวิตประจำวันและทำงาน โดยเน้นทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน นำเสนอ ให้ข้อเสนอแนะสินค้าและบริการอย่างสร้างสรรค์ เข้าใจวัฒนธรรม บริบท และความหลากหลายของผู้ใช้ภาษาอังกฤษทั่วโลก
หมายเหตุ : ต้องผ่านรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล 1 มาก่อน
ศท 0104 การเล่าเรื่อง 3 (2-2-5)
GE 0104 Story Telling
การใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ ในการแสวงหาความรู้หรือข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาเล่าเรื่อง ด้วยการพูดและการเขียนในสื่อต่าง ๆ การนำเสนอความคิดเห็นอย่างเป็นระบบ การใช้ภาษาเพื่อการโน้มน้าว มีสุนทรียภาพทางภาษา ฝึกปฏิบัติการพัฒนาทักษะการพูด การเขียน และการนำเสนอ
ศท 0105 ปัญญาจากวรรณกรรมและสื่อสมัยใหม่ 3 (2-2-5)
GE 0105 Wisdom through Literature and Modern Media
ความเข้าใจและเห็นคุณค่า สุนทรียภาพจากวรรณกรรมและสื่อสมัยใหม่ การฟัง การอ่าน คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า เชื่อมโยงโลกทัศน์ ค่านิยม ความเชื่อ กับผลงานสร้างสรรค์ วรรณกรรม และสื่อต่าง ๆ
ศท 0106 ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาอาชีพ 3 (2-2-5)
GE 0106 English for Professional Development
ทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษที่ใช้ในการทำงานและพัฒนาอาชีพ การใช้คำศัพท์ สำนวน โครงสร้างประโยค ที่ใช้เฉพาะอาชีพ การอ่านและการเขียนเอกสารที่เกี่ยวกับอาชีพ การใช้เทคโนโลยี ดิจิทัลในการสื่อสารและนำเสนอ
ศท 0107 ภาษาไร้พรมแดน 3 (2-2-5)
GE 0107 Borderless Language
ทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน คำศัพท์และสำนวนที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน ความเข้าใจ วัฒนธรรม เจ้าของภาษา เลือกภาษาประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้กับที่ตั้งของวิทยาลัยชุมชน หรือ ภาษาต่างประเทศ อื่น ๆ ที่สำคัญ ภาษาใดภาษาหนึ่ง
กลุ่มวิชาการเรียนรู้และคุณภาพชีวิต
ศท 0201 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3 (2-2-5)
GE 0201 21st Century Learning Skills Development
กระบวนการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ ฝึกทักษะ การคิด การสื่อสารความคิด และการทำงานเป็นทีม การเสริมสร้างความพร้อมในการเรียนรู้และการทำงานและ การเรียนรู้ตลอดชีวิต จัดทำกิจกรรมหรือโครงงานในการคิดแก้ปัญหาหรือการพัฒนางาน
ศท 0202 ชีวิตและการสร้างคุณค่า 3 (2-2-5)
GE 0202 Life and Value Creation
การพัฒนาตนและการเห็นคุณค่าแห่งตน การวางจุดมุ่งหมายและจัดการชีวิตให้ทันต่อ การเปลี่ยนแปลงในทุกช่วงวัย ทัศนคติและแนวคิดแบบยืดหยุ่น (Growth Mindset) การรู้จักใช้เงิน การดูแลรักษา สุขภาวะ ร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา อุปนิสัย บุคลิกภาพในการปฏิบัติงาน การบูรณาการกับแอปพลิเคชัน สำหรับชีวิตยุคใหม่และการใช้หลักธรรมในการดำรงชีวิต
ศท 0203 จุดประกายความคิดทางธุรกิจ 3 (2-2-5)
GE 0203 Business Inspiration
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านอาชีพ การสร้างแรงบันดาลใจในการเป็นผู้ประกอบการ ประกอบ อาชีพอิสระ ธุรกิจชุมชนบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ ช่องทางการตลาด การบริหารจัดการด้านการเงิน ความเสี่ยง และเวลา เทคนิคการสร้างสรรค์คอนเทนต์และสื่อ เทคนิคการสื่อสาร ทางการตลาด ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม จิตบริการ ภาษีและกฎหมายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
ศท 0204 ความงามและสุนทรียภาพแห่งชีวิต 3 (2-2-5)
GE 0204 Beauty and Aesthetics of Life
คุณค่าของความงามและสุนทรียภาพ ความงามจากการเคลื่อนไหวร่างกาย ความงามจาก การมองเห็น ความงามจากการได้ยิน การตัดสินคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ รับรู้ความงามและชื่นชมผลงาน ด้านทัศนศิลป์ ดนตรีและศิลปะการแสดง ศิลปกรรมในชุมชนและศิลปกรรมร่วมสมัยที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์ และ ความคิดของมนุษย์
ศท 0205 คณิตศาสตร์น่ารู้ 3 (2-2-5)
GE 0205 Fascination of Mathematics
วิธีคิดและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การให้เหตุผลแบบนิรนัยและอุปนัย การวัดในมาตราวัด ต่าง ๆ การหาพื้นที่ผิวและปริมาตร อัตราส่วน ร้อยละ สมการเบื้องต้น การคำนวณภาษี กำไร ค่าเสื่อมราคา ดอกเบี้ย ส่วนลด ขั้นตอนในการสำรวจข้อมูล วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล เบื้องต้น ความน่าจะเป็น การตัดสินใจเชิงสถิติเบื้องต้น การประยุกต์ใช้แอปพลิเคชันในการคิดและคำนวณ
กลุ่มวิชาพลเมืองตื่นรู้และสร้างสรรค์ชุมชน
ศท 0301 วิทยาลัยชุมชนกับการเป็นพลเมือง 3 (2-2-5)
GE 0301 Community Colleges and Citizenship
ปรัชญา อัตลักษณ์ของสถาบันวิทยาลัยและวิทยาลัยชุมชน บริบทจังหวัดของตนเอง การศึกษา ชุมชน เครื่องมือสำหรับปฏิบัติการเรียนรู้ชุมชนในภาคสนาม ความเป็นพลเมือง สิทธิเสรีสภาพ ความยุติธรรม หน้าที่รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม จิตอาสา และมีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างสรรค์ชุมชน จัดทำโครงการแก้ไข ปัญหาและพัฒนาชุมชน
ศท 0302 ชุมชนแห่งความยั่งยืน 3 (2-2-5)
GE 0302 Sustainable Community
การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมในชุมชน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป้าหมาย การพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) และการนำหลักการไปใช้ในการพัฒนาตนเองและชุมชนอย่างมีส่วนร่วม
ศท 0303 วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต 3 (2-2-5)
GE 0303 Science for Life
กระบวนการคิดและการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในชุมชน วิกฤตพลังงาน ภาวะโลกร้อน โรคอุบัติใหม่ ภัยพิบัติธรรมชาติ ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ การดูแล สุขภาพ การใช้ยาและสมุนไพร
กลุ่มวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม
ศท 0401 ดิจิทัลกับชีวิต 3 (2-2-5)
GE 0401 Digitalization and Life
เทคโนโลยีดิจิทัล แอปพลิเคชันในการเรียนรู้และการทำงาน การรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารยุคดิจิทัล สิทธิและความรับผิดชอบยุคดิจิทัล การใช้งานเพื่อความมั่นคงและความปลอดภัยในยุคดิจิทัล กฎหมายดิจิทัล การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) และจักรวาลนฤมิต (Metaverse)
ศท 0402 โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการทำงาน 3 (2-2-5)
GE 0402 Computer Programs for Careers
โปรแกรมสำเร็จรูปในการทำงาน โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมตารางคำนวณ และโปรแกรม นำเสนองาน ฝึกใช้งานและบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ หลักการออกแบบสื่อ การสร้างอินโฟกราฟิก การพิมพ์และ จัดทำรูปแบบเอกสาร การแสดงผลด้วยแผนภูมิ การจัดการฐานข้อมูลเบื้องต้น
ศท 0403 แอปพลิเคชันสำหรับชีวิตยุคใหม่ 3 (2-2-5)
GE 0403 Applications for Modern Life
การเลือกใช้เครื่องมือและแอปพลิเคชันให้เหมาะสมกับการทำงานและชีวิตประจำวัน การสร้างและ ออกแบบสื่อมัลติมีเดีย การสร้างคอนเทนต์ การใช้สี การเก็บข้อมูลในคลาวด์ ความปลอดภัยในการใช้แอปพลิเคชัน แนวโน้มแอปพลิเคชันในอนาคต การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างสรรค์ผลงาน
หมวดวิชาเฉพาะ กจ 1001 ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ 3(3-0-6)
MN 1001 Business and Entrepreneurship
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ ประเภทและรูปแบบธุรกิจ องค์ประกอบที่ใช้ในการประกอบ ธุรกิจ ด้านการจัดการ การผลิต การตลาด การบัญชี การเงิน พื้นฐานการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และวางแผนอัตรา กำลังคน แนวทางการประกอบธุรกิจ ภาษีอากร เอกสารทางธุรกิจประเภทต่าง ๆ เครื่องมือทางธุรกิจสมัยใหม่ คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล รูปแบบแผนธุรกิจเบื้องต้น ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาในการ ดำเนินธุรกิจ จริยธรรมทางธุรกิจ
กจ 1002 การจัดการสมัยใหม่ 3(3-0-6)
MN 1002 Modern Management
แนวคิดและทฤษฎีการจัดการ กระบวนการจัดการธุรกิจ เทคนิคและเครื่องมือทางการจัดการ สมัยใหม่ การจัดการการเปลี่ยนแปลง การจัดการความรู้ การจัดการความขัดแย้ง นวัตกรรมและเทคโนโลยีกับการ จัดการ การประยุกต์หลักการจัดการทางธุรกิจ ความรับผิดชอบต่อสังคมและจริยธรรมทางธุรกิจ
กจ 1003 หลักการบัญชี 3(2-2-5)
MN 1003 Principles of Accounting
หลักการ แม่บทการบัญชี สมการบัญชี การวิเคราะห์รายการค้า การบันทึกรายการค้าในสมุดรายวัน สมุดบัญชีแยกประเภท งบทดลองและกระดาษทำการ การปรับปรุงบัญชี ปิดบัญชี การทำงบการเงินของกิจการ ให้บริการและกิจการซื้อมาขายไป และการบัญชีสำหรับกิจการที่เข้าจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
กจ 1004 การเงินธุรกิจ 3(3-0-6)
MN 1004 Corporate Finance
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการทางการเงินของธุรกิจ ขอบเขต ลักษณะ บทบาทและหน้าที่ ของฝ่ายการเงินในองค์กร เป้าหมายและความสำคัญของการเงินธุรกิจ สภาพแวดล้อมทางการเงิน ทฤษฎีการเงิน เบื้องต้น การวิเคราะห์ทางการเงิน การบริหารสินทรัพย์ของธุรกิจ มูลค่าของเงินตามเวลา การจัดหาเงินทุน ต้นทุนเงินทุนของธุรกิจ การวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลตอบแทน การจัดสรรกำไรและการปันผล การวิเคราะห์ จุดคุ้มทุนในการดำเนินงานด้านการเงินธุรกิจ
กจ 1005 เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ 3(3-0-6)
MN 1005 Business Economics
หลักการ ทฤษฎีขั้นพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค เพื่อเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ ทางธุรกิจ อุปสงค์ อุปทาน พฤติกรรมผู้บริโภค ทฤษฎีการผลิต ต้นทุนการผลิต รายรับ การกำหนดราคาของตลาด กำไรทางธุรกิจ และกำไรทางเศรษฐศาสตร์ ดุลยภาพของหน่วยผลิตในตลาดต่าง ๆ รายได้ประชาชาติ การเงิน และการธนาคาร นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง การค้าและการเงินระหว่างประเทศ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลง พลวัตทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจดำเนินการทางธุรกิจ
กจ 1006 การจัดการทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ 3(3-0-6)
MN 1006 Modern Human Resource Management
แนวคิดการจัดการทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ การวิเคราะห์งาน การวางแผนการวางอัตรากำลัง การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรในยุคดิจิทัล การบริหารค่าตอบแทน การฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การประเมินผลการปฏิบัติงาน การบริหารค่าตอบแทนและผลประโยชน์เกื้อกูล แรงงานสัมพันธ์และความผูกพัน ในองค์กร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในกระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ จริยธรรมทางการจัดการทรัพยากร มนุษย์
กจ 1007 การตลาดสมัยใหม่ 3(3-0-6)
MN 1007 Modern Marketing
ความหมายและความสำคัญของการตลาด แนวความคิดการตลาดสมัยใหม่ หน้าที่และระบบ ทางการตลาด ส่วนประสมทางการตลาด การแบ่งส่วนตลาด ตลาดเป้าหมาย การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด กลยุทธ์การตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค การตลาดดิจิทัล องค์ประกอบ การตลาดดิจิทัล เครื่องมือการตลาดดิจิทัล การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในงานด้านการตลาด จริยธรรมทางการ ตลาดและความรับผิดชอบต่อสังคม
กจ 1008 การจัดการสำนักงานสมัยใหม่ 3(2-2-5)
MN 1008 Modern Office Management
แนวคิดในการจัดการสำนักงานสมัยใหม่ งานสารบรรณ การเขียนโครงการ การเขียนรายงาน การ บริหารงานเอกสาร อุปกรณ์และเทคโนโลยีสำหรับสำนักงานสมัยใหม่ การจัดระบบ วิธีการปฏิบัติงานสำนักงาน อย่างคุ้มค่า การจัดการข้อมูลสารสนเทศและการนําเครื่องมือที่ทันสมัยเข้ามาสนับสนุนงานสำนักงานอย่างมี ประสิทธิภาพและฝึกปฏิบัติงานสำนักงาน
กจ 1009 การจัดการเชิงกลยุทธ์ 3(3-0-6)
MN 1009 Strategic Management
แนวคิด กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การวางแผน เชิงกลยุทธ์ เครื่องมือทางธุรกิจ แนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ทันสมัย การกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ การนำ กลยุทธ์ไปปฏิบัติ การควบคุมและประเมินผลกลยุทธ์ ความรับผิดชอบต่อสังคมและจริยธรรมทางธุรกิจ
กจ 1010 การจัดการนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง 3(2-2-5)
MN 1010 Innovation and Change Management
แนวทางการจัดการ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนวัตกรรม การจัดการนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง การคิดด้วยรูปแบบ การคิดเชิงออกแบบ การสร้างสรรค์นวัตกรรมการจัดการเชิงกลยุทธ์ธุรกิจด้วยแผนธุรกิจ อย่างง่าย การประเมินความเป็นไปได้ทางธุรกิจและความรู้เกี่ยวกับประเภททรัพย์สินทางปัญญาและความคุ้มครอง เชิงพาณิชย์
กจ 1011 การประกอบธุรกิจชุมชนในยุคดิจิทัล 3(2-2-5)
MN 1011 Community Business in Digital Age
แนวคิดธุรกิจชุมชน คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนในยุคดิจิทัล การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการธุรกิจชุมชน การจัดตั้งธุรกิจชุมชน แนวทางการจัดการธุรกิจชุมชน และปัจจัยความสำเร็จ การเขียนแผนธุรกิจชุมชน จริยธรรมทางธุรกิจ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจชุมชน ผลกระทบของธุรกิจต่อชุมชนและฝึกปฏิบัติ
กจ 1012 การวิจัยทางธุรกิจ 3(2-2-5)
MN 1012 Business Research
ความสำคัญของการวิจัยทางธุรกิจ จรรยาบรรณของนักวิจัย กระบวนการวิจัยทางธุรกิจ สถิติเพื่อใช ในการวิเคราะห์ข้อมูล การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การทำรายงานการวิจัย ตามรูปแบบการวิจัย
กจ 1013 การจัดการโครงการ 3(2-2-5)
MN 1013 Project Management
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโครงการ การวางแผนโครงการ กระบวนการในการวางแผน ประเภทของแผน ข้อดีและข้อจำกัดของการวางแผน บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน ลักษณะของแผนที่ดี การวางแผนภายใต้ภาวะ ที่เปลี่ยนแปลง การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อ งาน การวางแผน ปฏิบัติงาน ร่วมพัฒนาทีมในการทำโครงการ ร่วมแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการดำเนินโครงการ งบประมาณโครงการ การบริหารความเสี่ยงของโครงการ การควบคุมโครงการ และการประเมินโครงการ
กจ 1014 ภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ 3(2-2-5)
MN 1014 English for Business
การใช้ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับงานธุรกิจ การฟังและการเล่าเรื่องสินค้า การให้ข้อมูลสินค้า และบริการ การอ่านเอกสารจากสื่อต่าง ๆ และคู่มือปฏิบัติงาน การโต้ตอบบนกระดานสนทนา การเขียนประวัติ ส่วนตัวโดยย่อ การเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การใช้แอปพลิเคชันสำหรับการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบติงาน และการสนทนาตามสถานการณ์ต่าง ๆ ทางธุรกิจ
กจ 1015 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ 3(3-0-6)
MN 1015 Management Information System
บทบาทสำคัญของระบบสารสนเทศกับองค์กร โครงสร้างพื้นฐานของระบบสารสนเทศ การจัดการ ทรัพยากรข้อมูล เครือข่ายและการสื่อสารโทรคมนาคมทางธุรกิจ ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ โซ่อุปทานและ แอปพลิเคชันระดับองค์กร E-Commerce M-Commerce และ E-Payment Systems ระบบสนับสนุน การตัดสินใจ ระบบปัญญาประดิษฐ์ การสร้างระบบและการรักษาความปลอดภัยระบบสารสนเทศ จริยธรรม ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
กจ 1016 กฎหมายธุรกิจ 3(3-0-6)
MN 1016 Business Law
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจการค้าสมัยใหม่ กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายสิทธิบัตร กฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายเครื่องหมายการค้า กฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้ ความรู้เกี่ยวกับภาษีอากร หน้าที่ผู้เสียภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ รวมถึง ปัญหาเกี่ยวกับภาษีอากร การปฏิบัติตนตามกฎหมายในภาคธุรกิจอย่างมีจริยธรรมทางธุรกิจ
กจ 1017 จิตวิทยาธุรกิจและการพัฒนาบุคลิกภาพทางธุรกิจ 3(3-0-6)
MN 1017 Business Psychology and Business Personality Development
การใช้จิตวิทยาในการบริหารธุรกิจ ความสามารถในการบริหารบุคลิกภาพเชิงธุรกิจ กลวิธีในการ เข้าใจผู้อื่น การให้คำปรึกษาและชี้แนะ การจูงใจผู้ร่วมงาน จิตวิทยาในการบริหารงานในการแข่งขันเชิงธุรกิจ การปรับตัวทางสังคมและการตัดสินใจทำงานร่วมกับผู้อื่น จิตวิทยาของกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน และจิตวิทยาสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน จริยธรรมทางธุรกิจและสามารถนําเอามาประยุกตใชในการทำงาน
กจ 1018 การจัดการการดำเนนงาน 3(3-0-6)
MN 1018 Operation Management
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการดำเนินงาน สินค้า บริการ วงจรการให้บริการ การเลือกทำเลที่ตั้ง การวางแผนกำลังการผลิต การวางผังสถานประกอบการ การพยากรณ์การผลิต การจัดการคุณภาพเบื้องต้น การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การจัดการสินค้าคงคลัง การออกแบบงาน มาตรฐานการปฏิบัติงาน การจัดการ บำรุงรักษาและความปลอดภัย และแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0
กจ 1019 การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน 3(3-0-6)
MN 1019 Logistics and Supply Chain Management
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ความสำคัญของระบบโลจิสติกส์ และชัพพลายเชนต่อระบบเศรษฐกิจและองค์กร บทบาทของโลจิสติกส์ในการจัดการซัพพลายเชน กิจกรรม ในระบบโลจิสติกส์ แนวโน้มของโลจิสติกส์ต่อระบบเศรษฐกิจ การบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์สมัยใหม่ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
กจ 1020 ความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจ 3(2-2-5)
MN 1020 Creative Thinking for Business
แนวคิดของความคิดสร้างสรรค์ ลักษณะของผู้มีความคิดสร้างสรรค์ กระบวนการและการพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดนอกกรอบ การฝึกคิดในเชิงบวก การออกแบบและใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจ โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ กรณีศึกษาที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจ การฝึก การสร้างผลงานธุรกิจ ด้วยกระบวนการความคิดสร้างสรรค์
กจ 1021 การตลาดดิจิทัล 3(2-2-5)
MN 1021 Digital Marketing
แนวความคิดทางด้านการตลาด การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านการตลาดกับการบริหารเทคโนโลยี การตลาดดิจิทัลและการตลาดออนไลน์ การตลาดกลไกสืบค้น รายได้ต่อคลิก (Pay Per Click) การวิเคราะห์ การวางแผน และกลยุทธ์ทางการตลาดดิจิทัล การตลาดโดยการอาศัยการแสดงผล อีเมล สื่อสังคม อุปกรณ์ เคลื่อนที่
กจ 1022 การเจรจาต่อรองทางธุรกิจ 3(2-2-5)
MN 1022 Business Negotiation
ความสำคัญ องค์ประกอบ รูปแบบและการใช้ภาษาในสื่อสารทางธุรกิจ แนวคิดและทฤษฎีที่ เกี่ยวข้องกับการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ ปัจจัยในการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ กระบวนการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ การวิเคราะห์สถานการณ์และวางแผนการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ การโน้มน้าวคู่เจรจาและกลวิธีในการเจรจา ต่อรองทางธุรกิจ แนวทางการเจรจาต่อรองทางธุรกิจอย่างมีจริยธรรมด้วย การฝึกปฏิบัติและการใช้กรณีศึกษา บทเรียนความสำเร็จและความล้มเหลวของการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ
กจ 1023 มัลติมีเดียทางธุรกิจ 3(2-2-5)
MN 1023 Multimedia in Business
หลักการ แนวคิด และองค์ประกอบของมัลติมีเดีย การเลือกใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ โปรแกรม คอมพิวเตอร์และแอปพลิเคชันในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย การประยุกต์ใช้โปรแกรมมัลติมีเดียเพื่อใช้ในธุรกิจ คุณธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้องในการสร้างมัลติมีเดีย
กจ 1024 ภาษาอังกฤษในสำนักงาน 3(2-2-5)
MN 1024 English in the Office
ผังองค์กร ตำแหน่งและหน้าที่รับผิดชอบ การใช้อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน การสนทนาต้อนรับ ลูกค้า การนัดหมาย การพูดโต้ตอบทางโทรศัพท์ การฝากและการรับข้อความทางโทรศัพท์ การจัดประชุม การเขียน ประกาศ และการบันทึกข้อมูลสั้น ๆ ที่ใช้ในงานธุรกิจ
กจ 1025 ภาษีอากรธุรกิจ 3(3-0-6)
MN 1025 Business Taxation
ความรู้เกี่ยวกับภาษีอากร หน้าที่ผู้เสียภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงิน ได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีท้องถิ่น หลักเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากรและการยื่น แบบแสดงรายการเสียภาษี รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับภาษีอากรธุรกิจ
กจ 1026 การบัญชีเพื่อการจัดการ 3(2-2-5)
MN 1026 Managerial Accounting
บทบาทและหน้าที่ของการบัญชีเพื่อการจัดการ แนวคิดและประเภทของต้นทุน การวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณและกำไร วิเคราะห์งบการเงิน การจัดทำงบประมาณ การใช้สารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการจัดการ และการตัดสินใจในการดำเนินงานทางธุรกิจ การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในงานบัญชี
หมายเหตุ ต้องผ่านวิชาหลักการบัญชี มาก่อน
กจ 1027 สัมมนาทางการจัดการ 3(2-2-5)
MN 1027 Seminar in Management
วิเคราะห์ปัญหาสำคัญต่าง ๆ ในองค์กรธุรกิจ กระบวนการตัดสินใจในองค์กรธุรกิจ การแก้ปัญหาทางธุรกิจ โดยใช้พื้นความรู้ทางหลักการทฤษฎี การสืบค้นความรู้ใหม่ ๆ ทางด้านการจัดการ เพื่อหาทางแก้ใขปัญหาที่ส่งผลกระทบ ต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งใช้กรณีศึกษา ดำเนินการวางแผนและกระบวนการจัดการสัมมนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการ แสดงความคิดเห็นในการสัมมนาเชิงวิชาการ
กจ 1028 | หัวข้อคัดสรรทางด้านการจัดการ 1 | 3 (x-x-x) |
MN 1028 | Selected Topics in Management 1 |
เลือกประเด็นที่ทันสมัย/ปัญหา/ความจำเป็นสำหรับการนำไปใช้งานในสาขาวิชาการจัดการ
กจ 1029 | หัวข้อคัดสรรทางด้านการจัดการ 2 | 3 (x-x-x) |
MN 1029 | Selected Topics in Management 2 |
เลือกประเด็นที่ทันสมัย/ปัญหา/ความจำเป็นสำหรับการนำไปใช้งานในสาขาวิชาการจัดการ
กจ 1030 | การฝึกประสบการณ์ | 3 (270 |
MN 1030 | Field Experience |
ชั่วโมง)
ฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการหรือองค์กร เริ่มการจัดทำแผนการฝึกประสบการณ์ที่มีรายละเอียด เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ กระบวนการทำงาน การประเมินผลการทำงานและการปรับปรุงคุณภาพงานภายใต้คำแนะนำ ช่วยเหลือของผู้มีประสบการณ์
5. การจัดกระบวนการเรียนรู้
5.1 รูปแบบของหลักสูตร
5.1.1 รูปแบบ
หลักสูตรระดับอนุปริญญา จำนวนไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565
5.1.2 ภาษาที่ใช้
ภาษาไทย
5.1.3 การตกลงร่วมผลิตกับองค์กรภายนอก
- ไม่มี –
5.1.4 การให้อนุปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้อนุปริญญาเพียงสาขาวิชาดียว
5.2 ระบบการจัดการศึกษา
5.2.1 ระบบ
การจัดการศึกษาแบบระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา 1 ภาคการศึกษา ปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
5.3 ระยะเวลาของการดำเนินการเรียนการสอน ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมิถุนายน – เดือนพฤศจิกายน ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนธันวาคม – เดือนพฤษภาคม
5.4 รูปแบบการศึกษา
การศึกษาแบบเรียนในชั้นเรียน และระบบคลังหน่วยกิต
5.5 แผนการรับนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระยะ 5 ปี
ชั้นปีที่ | จำนวนนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษา | ||||
2567 | 2568 | 2569 | 2570 | 2571 | |
ชั้นปีที่ 1 | 20 | 20 | 20 | 20 | 20 |
ชั้นปีที่ 2 | 20 | 20 | 20 | 20 | |
รวม | 20 | 40 | 40 | 40 | 40 |
จำนวนที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา | - | 40 | 40 | 40 | 40 |
5.6 แผนการจัดการศึกษาตลอดหลักสูตร
แผนการจัดการศึกษาตลอดหลักสูตร ได้กำหนดรายวิชาที่เปิดสอนตามหลักสูตรในแต่ละภาคการศึกษา ดังนี้
หมวดวิชา | จำนวนหน่วยกิต | ||||
ปีที่ 1 | ปีที่ 2 | รวม | |||
ภาคการศึกษาที่ 1 | ภาคการศึกษาที่ 2 | ภาคการศึกษาที่ 1 | ภาคการศึกษาที่ 2 | ||
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 24 นก. | 12 | 6 | 6 | 24 | |
2. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 33 นก. | |||||
2.1 กลุ่มวิชาแกน 15 นก. | 6 | 9 | 15 | ||
2.2 กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน 18 นก. | |||||
1) วิชาบังคับ 9 นก. | 3 | 6 | 9 | ||
2) วิชาเลือก 6 นก. | 6 | 6 | |||
3) ฝึกประสบการณ์ 3 นก. | 3 | 3 | |||
3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 3 นก. | 3 | 3 | |||
รวม | 18 | 18 | 21 | 3 | 60 |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
หมวดวิชา | กลุ่มวิชา | รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | น (ท-ป-ศ) |
ศึกษาทั่วไป | กลุ่มวิชาภาษาและ การสื่อสาร | ศท 0101 | ภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญา | 3 (2-2-5) |
ศึกษาทั่วไป | กลุ่มวิชาภาษาและ การสื่อสาร | ศท 0102 | ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล 1 | 3 (2-2-5) |
ศึกษาทั่วไป | กลุ่มวิชาการเรียนรู้ และคุณภาพชีวิต | ศท 0201 | การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 | 3 (2-2-5) |
ศึกษาทั่วไป | กลุ่มวิชาเทคโนโลยี ดิจิทัลและนวัตกรรม | ศท 0401 | ดิจิทัลกับชีวิต | 3 (2-2-5) |
วิชาเฉพาะ | วิชาแกน | กจ 1002 | การจัดการสมัยใหม่ | 3 (3-0-6) |
วิชาเฉพาะ | วิชาแกน | กจ 1001 | ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ | 3 (3-0-6) |
หน่วยกิตรวม | 18 (14-8-32) |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
หมวดวิชา | กลุ่มวิชา | รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | น (ท-ป-ศ) |
ศึกษาทั่วไป | กลุ่มวิชาการเรียนรู้ และคุณภาพชีวิต | ศท 0202 | ชีวิตและการสร้างคุณค่า | 3 (2-2-5) |
ศึกษาทั่วไป | กลุ่มวิชาพลเมืองตื่นรู้ และสร้างสรรค์ชุมชน | ศท 0301 | วิทยาลัยชุมชนกับการเป็นพลเมือง | 3 (2-2-5) |
วิชาเฉพาะ | วิชาแกน | กจ 1004 | หลักการเงิน | 3 (3-0-6) |
วิชาเฉพาะ | วิชาแกน | กจ 1005 | เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ | 3 (3-0-6) |
วิชาเฉพาะ | วิชาแกน | กจ 1007 | การตลาดสมัยใหม่ | 3 (3-0-6) |
วิชาเฉพาะ | วิชาบังคับ | กจ 1008 | การจัดการสำนักงานสมัยใหม่ | 3 (2-2-5) |
หน่วยกิตรวม | 18 (15-6-33) |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
หมวดวิชา | กลุ่มวิชา | รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | น (ท-ป-ศ) |
ศึกษาทั่วไป | กลุ่มวิชาพลเมืองตื่นรู้และสร้างสรรค์ ชุมชน | ศท 0302 | ชุมชนแห่งความยั่งยืน | 3 (2-2-5) |
ศึกษาทั่วไป | วิชาเลือก | ศท xxxx | xxxx | 3 (x-x-x) |
วิชาเฉพาะ | วิชาบังคับ | กจ 1011 | การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจในยุคดิจิทัล | 3 (2-2-5) |
วิชาเฉพาะ | วิชาบังคับ | กจ 1012 | การวิจัยทางธุรกิจ | 3 (2-2-5) |
วิชาเฉพาะ | วิชาเลือก | กจ xxxx | xxxx | 3 (x-x-x) |
วิชาเฉพาะ | วิชาเลือก | กจ xxxx | xxxx | 3 (x-x-x) |
วิชาเลือกเสรี | เลือกเสรี | กจ xxxx | xxxx | 3 (2-2-5) |
หน่วยกิตรวม | 21 (x-x-x) |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
หมวดวิชา | กลุ่มวิชา | รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | น (ท-ป-ศ) |
วิชาเฉพาะ | ฝึกประสบการณ์ | กจ 1032 | การฝึกประสบการณ์ | 3 (240) |
หน่วยกิตรวม | 3 (240) |
5.7 ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรกับผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
PLOs ผลลัพธ์การเรียนรตู้ ามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา | PLO1 | PLO2 | PLO3 | PLO4 | PLO5 | PLO6 |
1. ด้านความรู้ | 🗸 | 🗸 | 🗸 | |||
2. ด้านทักษะ | 🗸 | |||||
3. ด้านจริยธรรม | 🗸 | |||||
4. ด้านลักษณะบุคคล | 🗸 |
ตารางแสดงรายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
ผลลัพธ์การเรียนรู้ตาม มาตรฐานคุณวุฒิ ระดบั อดุ มศึกษา | รายละเอยี ดผลลัพธ์การเรียนรู้ในแต่ละดา้ น |
1. ความรู้ | หลักการ แนวคิด ทฤษฎี การจัดการสุขภาวะ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การใช้ภาษาในการสื่อสาร แสวงหา ความรู้และพัฒนาผลงานสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทักษะในศตวรรษที่ 21 กระบวนการทาง วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ของการเป็นพลเมือง การพัฒนาอย่างยั่งยืน ปรัชญา อัตลักษณ์ของสถาบันและวิทยาลัยชุมชน บริบทของจังหวัดตนเอง |
2. ทักษะ | มีทักษะพัฒนาตนเอง และพัฒนาชุมชน |
3. จริยธรรม | สามารถทำงานแบบมีส่วนร่วม มีความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบต่อตนเอง และชุมชน |
4. ลักษณะบุคคล | จิตอาสา ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาตนเอง และชุมชน |
หมวดวิชาเฉพาะ | ||||||
PLOs ผลลัพธ์การเรียนรตู้ ามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา | PLO1 | PLO2 | PLO3 | PLO4 | PLO5 | PLO6 |
1. ด้านความรู้ | 🗸 | |||||
2. ด้านทักษะ | 🗸 | 🗸 | 🗸 | |||
3. ด้านจริยธรรม | 🗸 | |||||
4. ด้านลักษณะบุคคล | 🗸 |
ตารางแสดงรายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
ผลลัพธ์การเรียนรู้ตาม มาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา | รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ในแต่ละด้าน |
1. ความรู้ | - หลกั การ แนวคิด พื้นฐานทางการจัดการธุรกิจสมัยใหม่ - เทคโนโลยีและนวัตกรรม การบริหารจัดการความรู้ด้านการจัดการองค์กร การเงิน การบัญชี การตลาด - การบริหารทรัพยากรมนุษย์ - กฎหมายและภาษีอากร - การจัดการโลจิสติกส์ การจัดการเชิงกลยุทธ์ - การตัดสนิ ใจด้านการจัดการ |
2. ทักษะ | - ด้านภาษาสากลและภาษาประเทศเพื่อนบ้าน - ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล - การเขียนหนังสือราชการ โครงการ และรายงาน - มีความคิดรึเริ่มสร้างสรรค์ |
3. จริยธรรม | - การยึดมั่นในคุณธรรมที่ถูกต้อง จริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ - ความซื่อสัตย์ - มีวินัย |
ผลลัพธ์การเรียนรู้ตาม มาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา | รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ในแต่ละด้าน |
- จิตอาสา - รับผิดชอบ - ความจงรักภักดีต่อองค์กร - จรรยาบรรณวิชาชีพ / องค์กร | |
4. ลักษณะบุคคล | - การเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม - มีบุคลิกภาพที่ดี - มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี - ทัศนคติในการทำงานร่วมกับผู้อื่น - มีความยืดหยุ่นในการทำงาน |
ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้ ระดับหลักสูตรกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
PLO | ความรู้ | ทักษะ | จริยธรรม | ลักษณะบุคคล |
1. PLO1 | ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการ จัดการ | |||
2. PLO2 | - ประยุกต์ใช้นวัตกรรม เพื่อสนับสนุนชุมชน - สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อ ธุรกิจชุมชน | |||
3. PLO3 | ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมา ปรับเปลี่ยนกระบวนการ ทำงานของชุมชน | |||
4. PLO4 | แสดงออกถึงคุณธรรม จริยธรรมในการประกอบ อาชีพ | |||
5. PLO5 | ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศประกอบการ ตัดสินใจ | |||
6. PLO6 | แสดงออกถึงบุคลิกภาพ ทำงานเป็นทีม และแก้ไข ปัญหาต่างๆ ได้ |
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดบั หลักสูตร | วิธีการจัดการเรียนสอน | การประเมินผล | เกณฑ์การตัดสินที่เชื่อถือได้ |
PLO1 ประยุกต์ความรู้เชิง บูรณาการเพื่อเสริมสร้างการ จัดการสุขภาวะ และการ พัฒนาคุณภาพชีวิต | 1. เรียนรู้จากกรณีศึกษา 2. ให้ผเู้ รียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองหรือ เป็นกลมุ่ และอภิปราย 3. นำเสนอข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างกลมุ่ และสรุปองค์ความรู้ ร่วมกัน 4. จัดทำกิจกรรมหรือโครงงานเกี่ยวกับ การจัดการสขุ ภาวะ และการพัฒนา คุณภาพชีวิต | 1. กระบวนการทำงานและ การนำเสนอของผเู้ รียน 2. ชิ้นงาน การจัดกิจกรรม หรือโครงงาน | 1. ร้อยละ 70 ของคะแนน ประเมินผลกระบวนการทำงาน และการนำเสนอของผเู้ รียน 2. ร้อยละ 70 ของคะแนน ประเมินผลชิ้นงาน การจัด กิจกรรม หรือโครงงาน 3. เกณฑ์ประเมินโดยใช้รูบิคสเกล โดยมีระดับการประเมิน ดังนี้ 5 หมายถึง มากที่สุด 4 หมายถึง มาก 3 หมายถึง ปานกลาง 2 หมายถึง น้อย 1 หมายถึง น้อยที่สุด |
PLO2 ใช้ภาษาในการสื่อสาร และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ดิจิทัล | 1. ฝกึ การใชภ้ าษา การเรียนรู้จาก สถานการณจ์ ริงหรือบทบาทสมมติ โครงงาน แลกเปลยี่ นประสบการณ์ 2. สบื ค้นความรู้จากฐานข้อมูล หรือ บุคคล ชุมชน สรุปความรู้และนำเสนอ ความรู้ 3. อภิปรายแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ 4. ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล | 1. ผลงานที่มอบหมาย 2. ทักษะการใชภ้ าษาและ ทักษะดิจิทัล | 1. ร้อยละ 70 ของคะแนน ประเมินผลงานที่มอบหมาย 2. ร้อยละ 70 ของคะแนน ประเมินผลทักษะการใชภ้ าษา และทักษะดิจิทัล 3. เกณฑ์ประเมินโดยใช้ รูบิคสเกล โดยมีระดับการ ประเมิน ดังนี้ 5 หมายถึง มากที่สุด 4 หมายถึง มาก 3 หมายถึง ปานกลาง 2 หมายถึง น้อย 1 หมายถึง น้อยที่สุด |
PLO3 ประยุกต์ใช้ทักษะใน ศตวรรษที่ 21 ในการเรียนรู้ และการปฏิบัติงาน | 1. ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองหรือกลมุ่ และ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 2. วิเคราะห์จากกรณีศึกษาหรือเกม 3. ฝกึ ทักษะการคิด และการนำเสนอ ผลงาน 4. ใช้กิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) หรือ การจัดการเรียนรู้โดย | 1. พฤติกรรมการมีสว่ นร่วม ในชั้นเรียน 2. กระบวนการทำงานและ การนำเสนอของผเู้ รียน 3. ชิ้นงาน การจัดกิจกรรม หรือโครงงาน | 1. ร้อยละ 80 จากการประเมิน พฤติกรรมผู้เรียนในแบบ สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 2. ร้อยละ 70 ของคะแนน ประเมินผลกระบวนการทำงาน และการนำเสนอของผเู้ รียน |
5.8 ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร กลยุทธ์การเรียนการสอน และการประเมินผล
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดบั หลักสูตร | วิธีการจัดการเรียนสอน | การประเมินผล | เกณฑ์การตัดสินที่เชื่อถือได้ |
ใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน (Phenomenon-based Learning) หรือ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็น ทางสังคม (Issue-based Learning) และมอบหมายงานจัดทำโครงงาน สำหรับการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน | 3. ร้อยละ 70 ของคะแนน ประเมินผลชิ้นงาน การจัด กิจกรรมหรือโครงงาน 4. เกณฑ์ประเมินโดยใช้รูบิคสเกล โดยมีระดับการประเมิน ดังนี้ 5 หมายถึง มากที่สุด 4 หมายถึง มาก 3 หมายถึง ปานกลาง 2 หมายถึง น้อย 1 หมายถึง น้อยที่สุด | ||
PLO4 วางแผนการปฏิบัติที่ แสดงถึงความเข้าใจตนเอง ชุมชน ประวัติศาสตร์ รู้เท่า ทันการเปลยี่ นแปลง เป็น พลเมืองไทยและพลเมืองโลก | 1. เรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ 2. เรียนรู้จากสถานที่จริงหรือสื่อ มัลติมเี ดียเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเป็นชุมชน ความเป็นพลเมือง 3. ศึกษาจากกรณีศึกษา และนำมา อภิปรายกลุ่ม | 1. งานที่มอบหมาย 2. การนำเสนอผลงาน | 1. ร้อยละ 70 ของคะแนน ประเมินผลงานที่มอบหมาย 2. ร้อยละ 70 ของคะแนน ประเมินผลการนำเสนอผลงาน 3. เกณฑ์ประเมินโดยใช้รูบิคสเกล โดยมีระดับการประเมิน ดังนี้ 5 หมายถึง มากที่สุด 4 หมายถึง มาก 3 หมายถึง ปานกลาง 2 หมายถึง น้อย 1 หมายถึง น้อยที่สุด |
PLO5 แ ส ด ง อ อ ก ท า ง ความคิด ถ่ายทอดความรู้สึก ในงานศิลปวัฒนธรรมของ ท้องถิ่นหรือของชาติ | 1. มอบหมายงานให้เรียนรู้เกี่ยวกับ ศิลปวัฒนธรรม ของท้องถิ่นหรือของชาติ 2. อภิปรายกลมุ่ 3. สื่อสารความรู้และความรู้สึกเกี่ยวกับ ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นหรือของ ชาติ | 1. งานที่มอบหมาย 2. การทำงานแบบมีส่วน ร่วม 3. การนำเสนอผลงาน | 1. ร้อยละ 70 ของคะแนน ประเมินผลงานที่มอบหมาย 2. ร้อยละ 80 จากการประเมิน พฤติกรรมผู้เรียนในแบบ สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 3. ร้อยละ 70 ของคะแนน ประเมินผลการนำเสนอผลงาน 4. เกณฑ์ประเมินโดยใช้รูบิคสเกล โดยมีระดับการประเมิน ดังนี้ 5 หมายถึง มากที่สุด 4 หมายถึง มาก 3 หมายถึง ปานกลาง 2 หมายถึง น้อย 1 หมายถึง น้อยที่สุด |
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดบั หลักสูตร | วิธีการจัดการเรียนสอน | การประเมินผล | เกณฑ์การตัดสินที่เชื่อถือได้ |
PLO6 ทำงานแบบมีส่วนร่วม ตามบทบาทหน้าที่ความ รับผิดชอบอย่างมีคุณธรรม จริยธรรมต่อตนเอง ชุมชน สังคมสิ่งแวดล้อม และ จิต อาสา | 1. เรียนรู้จากกรณีศึกษาและอภิปราย 2. เรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ 3. จัดกิจกรรมเพื่อแสดงความรับผดิ ชอบ ต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และ จิต อาสา 4. สะท้อนความคิดหรือองค์ความรู้คืน กลับชุมชน 5. ฝึกทักษะความเป็นผู้นำ และฝึกปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีม 6. จัดกิจกรรมที่สะท้อนถึงคุณธรรมและ จริยธรรม หรือ บูรณาการกับกิจกรรม พัฒนานักศึกษาที่ส่งเสริมด้าน คุณธรรมจริยธรรม | 1. ผลงานได้รับมอบหมาย เป็นรายบุคคลหรือราย กลมุ่ 2. ความมีวินัยและการตรง ต่อเวลาในการเข้าร่วม กิจกรรม 3. กระบวนการทำงานและ ผลการทำงาน 4. การประเมินตนเอง และ การประเมินโดยผสู้ อน และกลุ่มเพื่อน 5. ประเมินกระบวนการ ทำงานและผลงานเป็น รายบุคคลหรือรายกลมุ่ 6. ประเมินทักษะภาวะผู้นำ | 1. ร้อยละ 70 ของคะแนน ประเมินผลงานที่มอบหมาย 2. ร้อยละ 80 จากการประเมิน พฤติกรรมผู้เรียนในแบบ สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 3. ร้อยละ 70 ของคะแนน ประเมินผลกระบวนการทำงาน และผลการทำงาน 4. ร้อยละ 80 จากการประเมิน พฤติกรรมผู้เรียนในแบบ สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 5. ร้อยละ 80 จากการประเมิน พฤติกรรมผู้เรียนในแบบ สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 6. ร้อยละ 80 จากการประเมิน พฤติกรรมผู้เรียนในแบบ สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 7. เกณฑ์ประเมินโดยใช้รูบิคสเกล โดยมีระดับการประเมิน ดังนี้ 5 หมายถึง มากที่สุด 4 หมายถึง มาก 3 หมายถึง ปานกลาง 2 หมายถึง น้อย 1 หมายถึง น้อยที่สุด |
PLO7 ประยุกต์ใช้หลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน การพัฒนาตนเอง ชุมชน และ สังคม | 1. เรียนรู้วิธีคิด กระบวนการทำงานและ ผลการทำงานจากบุคคลต้นแบบที่ ดำรงตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง 2. ออกแบบโครงงานที่เกี่ยวกับการ ดำรงชีวิตของตนเองตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง และ นำเสนอผล การดำเนินงาน | การออกแบบโครงงานและ ดำเนินงาน | 1. ร้อยละ 70 ของคะแนนการ ออกแบบโครงงานและ ดำเนินงาน 2. เกณฑ์ประเมินโดยใช้รูบิคสเกล โดยมีระดับการประเมิน ดังนี้ 5 หมายถึง มากที่สุด 4 หมายถึง มาก 3 หมายถึง ปานกลาง 2 หมายถึง น้อย 1 หมายถึง น้อยที่สุด |
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับ หลักสูตร (PLOs) | กลยุทธ์การเรียนการสอน | การประเมินผล | เกณฑ์การตัดสินที่เชื่อถือได้ |
PLO1 ประยุกต์แนวคิดและ หลักการ ด้านการจัดการ ด้าน การจัดการสมัยใหม่ในการ ประกอบธุรกิจชุมชน เพื่อ ตอบสนองตามความต้องการ ของชุมชนและท้องถิ่น | 1. อภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2. ศึกษากรณีศึกษา และ อภิปรายร่วมกัน 3.มอบหมายงานให้ไปศึกษาด้วย ตนเองแล้วใช้ข้อมูลย้อนกลับ 4. ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในการสืบค้นความรู้ หรือบุคคล ในชุมชน สรุุปความรู้และ นำเสนอความรู้ 5.วิเคราะห์กิจกรรมและสื่อการ เรียนรู้ 6. จัดกิจกรรมโดยกระตุ้นให้ ผู้เรยนใช้ความคิดสร้างสรรค์ใน การออกแแบบการจัดการ ในการ ประกอบธุรกิจชุมชน เพื่อ ตอบสนองความต้องการของ ชุมชน และท้องถิ่น 7.. สะท้อนความคิด และการ นำเสนอกิจกรรมประกอบธุรกิจ ชุมชน เพื่อสนองความต้องการ ของชุมชนและท้องถิ่น | 1. ประเมินผลจาก กระบวนการทำงานและ การนำเสนอของผู้เรียน 2. ประเมินผลจาก คุณภาพของชิ้นงาน การ จัดกิจกรรมหรือโครงงาน 3. การใช้เกณฑ์ประเมิน โดยใช้รูบิคสเกล 4. พฤติกรรมการมีส่วน ร่วมในชั้นเรียน 5. ประเมินผลกระบวนกา รทำงานและการนำเสนอ ของผู้เรียน 6. ประเมินผลจากชิ้นงาน เกี่ยวกับ กิจกรรม การออแบบการ จัดการในการประกอบ ธุรกิจชุมชน | 1. ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากการ ประเมินพฤติกรรมผเรียนในแบบ สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 2. ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากการประเมินใบงาน 3. ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากการประเมินพฤติกรรมผู้เรียน ในแบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 4. ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากการประเมินพฤติกรรมผู้เรียน ในแบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 5.ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากการประเมินการนำเสอน ผลงานของผู้เรียน 6.ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากแบบประเมินชิ้นงานการ ออกแบบธุรกิจชุมชน 7. .ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากการ ประเมินพฤติกรรมผเรียนในแบบ สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล |
PLO 2 คิดสร้างสรรค์และ ประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อ ส น ั บ ส น ุ น ช ุ ม ช น ใ น ก า ร ออกแบบกระบวนการพัฒนา ธุรกิจชุมชน | 1. ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองหรือ กลุ่มและ อภิปรายแลกเปลี่ยนความ คิดเห็น 2. วิเคราะห์จากกรณศึกษาการ ใช้นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนชุมชน ในการออกแบบกระบวนการ 3. ฝึกทักษะการคิด และการ นำเสนอ 4. มอบหมายงานจัดทำโครงการ ใช้ นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนชุมชน การออกแบบกระบวนการพัฒนา ธุรกิจชุมชน | 1. สังเกตพฤติกรรมการมี ส่วนร่วมในชั้นเรยน 2. ประเมินผล กระบวนการทำงานและ การนำเสนอของผู้เรียน 3. ประเมินผลจากชิ้นงาน การจัด กิจกรรม โครงการ การใช้ นวัตกรรมเพื่อสนับสนุน ชุมชน การออกแบบ กระบวนการพัฒนาธุรกิจ ชุมชน | 1.ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากการประเมินพฤติกรรมผู้เรียน ในแบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 2.ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากการประเมินการนำเสนอ ผลงานของผู้เรียน 3.ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากการประเมินชิ้นงานนวตกรรม เพื่อสนับสนุนชุมชน |
หมวดวิชาเฉพาะ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับ หลักสูตร (PLOs) | กลยุทธ์การเรียนการสอน | การประเมินผล | เกณฑ์การตัดสินที่เชื่อถือได้ |
PLO3 ประยุกต์เทคโนโลยี ดิจิทัลในการออกแบบวิธีการ จ ั ดการเพื่อปรับเปลี่ยน กระบวนการทำงาน | 1. ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองหรือ กลุ่มและอภิปรายแลกเปลยน ความคิดเห็น 2. วิเคราะห์จากกรณศึกษาหรือ เกม 3. ฝึกทักษะการคิด และการ นำเสนอผลงาน 4. สืบค้นความรจากฐานข้อมูล หรือบุคคล ชุมชน สรุปความรู้ และนำเสนอความรู้ | 1. พฤติกรรมการมีส่วน ร่วมในชั้นเรียน 2. ประเมินผล กระบวนการทำงาน และการนำเสนอของ ผู้เรยน 3. ประเมินผลจากชิ้นงาน การสืบค้นความรู้จาก ฐานข้อมูล หรือบุคคล ชุมชน | 1.ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากการประเมินพฤติกรรมผู้เรียน ในแบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 2.ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากการประเมินการนำเสนอ ผลงานของผู้เรียน 3.ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากการประเมินชิ้นงานนวตกรรม เพื่อสนับสนุนชุมชน |
PLO4 แสดงออกถึงคุณธรรม จริยธรรม จิตสาธารณะ และ ค ว า ม ร ั บ ผ ิ ด ช อ บ ใ นการ ประกอบอาชีพ | 1. เรียนรู้จากกรณศึกษาและ อภิปราย 2. เรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ 3. จัดกิจกรรมเพื่อแสดงความ รับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และจิตอาสา 4. สะท้อนความคิดหรือองค์ ความรู้คืนกลับชุมชน 5. ฝึกทักษะความเป็นผู้นำ และ ฝึกปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการทำงาน เป็นทีม 6. จัดกิจกรรมที่สะท้อนถึง คุณธรรมและจรยธรรม หรือ บูรณาการกับกิจกรรมพัฒนา นักศึกษาที่ส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม | 1. ประเมินผลจากผลงาน ได้รับมอบหมายเป็น รายบุคคลหรือรายกลมุ่ 2. ประเมินผลจากความมี วินัยและการตรงต่อเวลา ในการเข้าร่วมกิจกรรม 3. ประเมินผลจาก กระบวนการทำงานและ ผลการทำงาน 4. การประเมินตนเอง และการประเมินโดย ผู้สอนและกลมเพื่อน 5. ประเมินผลจาก กระบวนการทำงานและ ผลงานเป็นรายบุคคลหรือ รายกลมุ่ 6. ประเมินผลจากทักษะ ภาวะผู้นำ | 1.ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากการประเมินชิ้นงานเป็น รายบุคคลหรือรายกลมุ่ 2.ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากการประเมินพฤติกรรมผู้เรียน ในแบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 3.ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากการประเมินพฤติกรรมผู้เรียน ในแบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 4.ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากการประเมินพฤติกรรมผู้เรียน ในแบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 5.ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากการประเมินพฤติกรรมผู้เรียน ในแบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 6.ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากการประเมินพฤติกรรมผู้เรียน ในแบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 7.ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากการประเมินชิ้นงานที่ มอบหมายให้ |
PLO5 สามารถสื่อสารโดยใช้ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษใน การสื่อสาร เพื่อประสานงาน ภายในและภายนอกองค์กรได้ | 1. ฝึกการใช้ภาษา การเรียนรู้ จากสถานการณ์จริงหรือบทบาท สมมติ โครงงาน แลกเปลี่ยน ประสบการณ์ | 1. ประเมินผลจาก คุณภาพของผลงานที่ มอบหมาย | 1. .ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากการ ประเมินงานที่มอบหมายเป็น รายบุคคล 2.ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 |
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับ หลักสูตร (PLOs) | กลยุทธ์การเรียนการสอน | การประเมินผล | เกณฑ์การตัดสินที่เชื่อถือได้ |
2. สืบค้นความรจากฐานข้อมูล หรือบุคคล ชุมชน สรุปความรู้ และนำเสนอความรู้ 3. อภิปรายแลกเปลี่ยนการ เรียนรู้ 4. ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล | 2. ประเมินผลจากทักษะ การใช้ภาษาเพื่อการ สื่อสาร | จากการประเมินพฤติกรรมผู้เรียน ในแบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 3.ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากการประเมินชิ้นงานที่ มอบหมายให้ | |
PLO6 แสดงออกภาวะการเป็น ผู้นำ ทำงานเป็นทีม การเข้ากบั วัฒนธรรมองค์กร รวมถึง สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ | 1. ศึกษาหน่วยงานหรือบุคคล ต้นแบบที่แสดงออกถึงการมี บุคลิกภาพดี ทำงานเป็นทมี และ สื่อสารได้อย่างเหมาะสม 2. มอบหมายงานกลุ่มเพื่อให้ ร่วมกันปฏิบัติงานเป็นทีมและฝึก การนำเสนอแบบทีม 3. ฝึกประสบการณ์วิชาชีพใน สถานประกอบการ | 1. 1.ประเมินกระบวนการ ทำงานและผลงานเป็น รายบุคคลหรือรายกลมุ่ 2. ประเมินทักษะภาวะ ผู้นำ | 1.ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80จากการ ประเมินพฤติกรรมผเรียนในแบบ สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 2.ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80จากการ ประเมินพฤติกรรมผเรียนในแบบ สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 3.ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80จากการ ประเมินชิ้นงานที่มอบหมายให้ |
5.9 ผลลัพธ์การเรียนรู้ กระบวนการฝึกประสบการณ์ และการประเมินผลในรายวิชาฝึกประสบการณ์
ผลลัพธ์การเรียนรู้ รายวิชาการฝึกประสบการณ์ | กระบวนการฝึกประสบการณ์ | การประเมินผล | เกณฑ์การตัดสินที่เชื่อถือ ได้ |
CLO1 วางแผนการฝึกประสบการณ์ ร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาและสถาน ประกอบการ | ให้นักศึกษาจัดทำแผนการฝึก ประสบการณ์ โดยพิจารณาข้อมูล ประกอบดังนี้ - สถานประกอบการที่สัมพันธ์กับ หลักสูตร - ลักษณะงานที่สอดคล้องกับ หลักสูตร - ระยะเวลาการฝึกประสบการณ์ ที่สอดคล้องกับหลักสูตร | - บันทึกการฝึกประสบ การณ์ | ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากการเข้าร่วมปฐมนิเทศ การฝึกประสบการณ์ |
CLO2 ฝึกประสบการณ์ในสถาน ประกอบ การ ภายใต้การดูแลของ อาจารย์ที่ปรึกษาและสถานประกอบการ | ให้นักศึกษาฝึกประสบการณ์ใน สถานประกอบการ ตามแผนการ ฝึกประสบการณ์ | - บันทึกการฝึกประสบ การณ์ - แบบนิเทศการฝึก ประสบการณ์ | ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100 ในการเข้าร่วมฝึก ประสบการณ์ตามเกณฑ์ที่ วิทยาลัยชุมชนตราด กำหนด |
ผลลัพธ์การเรียนรู้ รายวิชาการฝึกประสบการณ์ | กระบวนการฝึกประสบการณ์ | การประเมินผล | เกณฑ์การตัดสินที่เชื่อถือ ได้ |
CLO3 ประเมินการฝึกประสบการณ์ ด้วยตนเอง อาจารย์ที่ปรึกษา และสถาน ประกอบการ | ให้นักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา และสถานประกอบการ ประเมิน ผลการฝึกประสบการณ์ในสถาน ประกอบการ | - แบบประเมินการฝึก ประสบการณ์ | ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 การในการประเมินจาก สถานประกอบการ |
CLO4 นำเสนอผลการฝึกประสบการณ์ | ให้นักศึกษานำเสนอผลการฝึก ประสบการณ์ | - แบบประเมินการ นำเสนอผลงานของ นักศึกษา - รายงานผลการฝึก ประสบการณ์ | 1.ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จากการประเมิน พฤติกรรมผู้เรียนในแบบ สังเกตพฤติกรรม รายบุคคล 2. ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ในการนำผลการฝึก ประสบการณ์ |
5.10 ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร และระดับรายวิชา
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program Learning Outcomes : PLOs) ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป PLO1 ประยุกต์ความรู้เชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างการจัดการสุขภาวะ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต
PLO2 ใช้ภาษาในการสื่อสาร และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
PLO3 ประยุกต์ใช้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน
PLO4 วางแผนการปฏิบัติที่แสดงถึงความเข้าใจตนเอง ชุมชน ประวัติศาสตร์ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง เป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก
PLO5 แสดงออกทางความคิด ถ่ายทอดความรู้สึกในงานศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นหรือของชาติ
PLO6 ทำงานแบบมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างมีคุณธรรมจริยธรรมต่อตนเอง ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม และจิตอาสา
PLO7 ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคม
รายวิชา/CLOs | PLO1 | PLO2 | PLO3 | PLO4 | PLO5 | PLO6 | |
กลุ่มวิชาภาษา | |||||||
ศท 0101 | ภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญา | ||||||
CLO1 ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามหลัก ภาษาและเหมาะสมกับบุคคล | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
CLO2 จับใจความสำคัญในการอ่านและการฟังอย่างมี วิจารณญาณ | 🗸 | 🗸 | 🗸 |
รายวิชา/CLOs | PLO1 | PLO2 | PLO3 | PLO4 | PLO5 | PLO6 | |
CLO3 ใช้ภาษาไทยในการแสวงหาความรู้และพัฒนา ผลงานอย่างสร้างสรรค์ | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
ศท 0102 | ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1 | ||||||
CLO1 ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันและการทำงาน ได้ถูกต้องตามหลักภาษา คล่องแคล่วและเหมาะสมกับ บุคคล | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | |||
CLO2 อธิบายคุณค่าของภาษาและความหลากหลายของ วัฒนธรรมได้ | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | |||
CLO3 ใช้ภาษาอังกฤษเพื่อให้รู้เท่าทันโลกผ่านสื่อดิจิทัล | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
ศท 0103 | ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2 | ||||||
CLO1 ใช้ภาษาอังกฤษขั้นสูงในชีวิตประจำวันและการ ทำงานได้ถูกต้องตามหลักภาษา คล่องแคล่วและ เหมาะสมกับบุคคล | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | |||
CLO2 นำเสนอ ให้ข้อเสนอแนะสินค้าและบริการได้อย่าง สร้างสรรค์ | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
CLO3 อธิบายวัฒนธรรม บริบทและความหลากหลาย ของผู้ใช้ภาษาอังกฤษทั่วโลก | 🗸 | 🗸 | |||||
ศท 0104 | การพัฒนาทักษะการพูดและการเขียน | ||||||
CLO1 ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันและการทำงาน ได้ถูกต้องตามหลักภาษา คล่องแคล่วและเหมาะสมกับ บุคคล | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | |||
CLO2 นำเสนอความคิดเห็น และผลงานอย่างเป็นระบบ | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
CLO3 ใช้ภาษาในการพูดและเขียนภาษาอังกฤษได้อย่าง เหมาะสมตามสถานการณ์ | 🗸 | 🗸 | |||||
ศท 0105 | ปัญญาจากวรรณกรรม | ||||||
CLO1 อธิบายคุณค่า สุนทรียภาพจากวรรณกรรม | 🗸 | 🗸 | |||||
CLO2 วิเคราะห์คุณค่าผลงานสร้างสรรค์ วรรณกรรมและ สื่อต่าง ๆ | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
CLO3 อธิบายความสัมพันธ์ของโลกทัศน์ ค่านิยม ความ เชื่อได้ | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
ศท 0106 | ภาษาอังกฤษจากนันทนาการ | ||||||
CLO1 ใช้คำศัพท์ สำนวน ประโยคได้ถูกต้องตามหลัก ภาษา คล่องแคล่วและเหมาะสมกับบุคคล | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
CLO2 สื่อสารเกี่ยวกับการนันทนาการได้อย่างถูกต้องตรง ประเด็น | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | |||
CLO3 แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการนันทนาการ | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 |
รายวิชา/CLOs | PLO1 | PLO2 | PLO3 | PLO4 | PLO5 | PLO6 | |
CLO4 ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสื่อสารและนำเสนอได้ อย่างเหมาะสม | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
ศท 0107 | ภาษาประเทศเพื่อนบ้าน | ||||||
CLO1 ใช้ภาษาประเทศเพื่อนบ้านหรือภาษาต่างประเทศ อื่น ๆ ในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
CLO2 อธิบายวัฒนธรรมเจ้าของภาษา | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
CLO3 ใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารและนำเสนอได้อย่าง เหมาะสม | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | |||||||
ศท 0201 | จังหวัดศึกษา | ||||||
CLO1 อธิบายบริบทชุมชนและจังหวัดของตนเอง | 🗸 | 🗸 | |||||
CLO2 แสดงออกถึงการมีจิตอาสาและสำนึกรักชุมชน ท้องถิ่น จังหวัดของตนเอง | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | |||
CLO3 มีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างสรรค์ของชุมชน | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
ศท 0202 | ศิลปะและทักษะการใช้ชีวิต | ||||||
CLO1 รู้จัก เข้าใจตนเอง เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
CLO2 จัดการสุขภาวะ ร่างกาย จิตใจ สังคม สติปัญญา | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
CLO3 วางแผนในการดำเนินชีวิตและการทำงาน ปรับตัว สร้างอุปนิสัยและบุคลิกภาพทันต่อการเปลี่ยนแปลง | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
CLO4 แสดงออกให้เห็นถึงการใช้หลักธรรมในการดำเนิน ชีวิต | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
ศท 0203 | พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม | ||||||
CLO1 แสดงออกถึงการมีจิตอาสาและสำนึกรักชุมชน ท้องถิ่น จังหวัดของตนเอง | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | |||
CLO2 มีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างสรรค์ของชุมชน | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
CLO3 แสดงออกถึงพฤติกรรมพลเมืองที่ดีของสังคม | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
ศท 0204 | พลังของแผ่นดิน | ||||||
CLO1 อธิบายพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ร.9) | 🗸 | ||||||
CLO2 เสนอแนะการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากร ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมในชุมชน | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | |||
CLO3 ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อ การพัฒนาตนและชุมชน | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | |||
CLO4 เลือกใช้แนวทางการพัฒนาชุมชนที่ภายใต้ หลักการทรงงาน | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 |
รายวิชา/CLOs | PLO1 | PLO2 | PLO3 | PLO4 | PLO5 | PLO6 | |
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี | |||||||
ศท 0301 | การเข้าใจดิจิทัล | ||||||
CLO1 ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการค้นคว้า รวบรวมข้อมูล ประมวลผล นำเสนอข้อมูล | 🗸 | 🗸 | |||||
CLO2 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมในการ พัฒนาคุณภาพชีวิต | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
CLO3 วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของสื่อ ดิจิทัล | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
CLO4 ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีจริยธรรมและ วิจารณญาณ | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
ศท 0302 | การคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหา | ||||||
CLO1 ใช้วิธีคิดที่สร้างสรรค์ | 🗸 | 🗸 | |||||
CLO2 แสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
CLO3 แก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิตและการทำงาน | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
ศท 0303 | วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมเพื่อชีวิต | ||||||
CLO1 ประยุกต์กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ใน ชีวิตประจำวัน | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | |||
CLO2 เสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในชุมชน | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | |||
CLO3 มีส่วนร่วมในกิจกรรมแก้ปัญหาวิกฤตพลังงาน ภาวะโลกร้อน ภัยพิบติธรรมชาติ ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
ศท 0304 | โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป | ||||||
CLO1 เลือกโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปที่เหมาะสม กับงาน | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
CLO2 ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการทำงาน | 🗸 | 🗸 | |||||
CLO3 ออกแบบและนำเสนองานอย่างสร้างสรรค์ | 🗸 | 🗸 | |||||
ศท 0305 | คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน | ||||||
CLO1 ให้เหตุผลแบบนิรนัยและอุปนัย | 🗸 | 🗸 | |||||
CLO2 คำนวณถูกต้องตามหลักคณิตศาสตร์ | 🗸 | 🗸 | |||||
CLO3 ประยุกต์ใช้กระบวนการทางคณิตศาสตร์ในงานที่ เกี่ยวข้อง | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
CLO4 ใช้สถิติเบื้องต้นเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ | 🗸 | 🗸 | 🗸 |
รายวิชา/CLOs | PLO1 | PLO2 | PLO3 | PLO4 | PLO5 | PLO6 | |
กจ 1001 | ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ | ||||||
CLO1 อธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบธุรกิจในด้านต่าง ๆ และการเป็นผู้ประกอบการ | 🗸 | ||||||
CLO2 วิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับปัญหาและแนว ทางแก้ไขปัญหาในการดำเนินธุรกิจ | 🗸 | ||||||
CLO3 ตระหนักถึงจรรยาบรรณของผู้ประกอบการ และจริยธรรมทางธุรกิจ | 🗸 | ||||||
กจ 1002 | การจัดการสมัยใหม่ | ||||||
CLO1 อธิบายแนวคิด และทฤษฎีการบริหารงาน สำนักงานได้ | 🗸 | ||||||
CLO2 จัดทำผังโครงสร้างองค์กรและสภาพแวดล้อมใน สำนักงานได้ | 🗸 | 🗸 | |||||
CLO3 ประยุกต์ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงาน และเทคโนโลยีในการจัดการสำนักงาน | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||||
CLO4 แสดงออกได้ถึงคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ ในการ ปฏิบัติงาน | 🗸 | ||||||
กจ 1003 | หลักการบัญชี | ||||||
CLO1 อธิบายความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบัญชี | 🗸 | ||||||
CLO2 วิเคราะห์รายการค้า การบันทึก รายการค้าในสมุด รายวัน สมุดบัญชีแยกประเภท และกระดาษทำการ | 🗸 | ||||||
CLO3 ประยุกต์ใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการจัดการธุรกิจ | 🗸 | ||||||
CLO4 แสดงออกถึงการมีจรรยาบรรณของผู้ประกอบ วิชาชีพบัญชี | 🗸 | ||||||
กจ 1004 | การเงินธุรกิจ | ||||||
CLO1 อธิบายการจัดการทางการเงินของธุรกิจ | 🗸 | ||||||
CLO2 วิเคราะห์ฐานะทางการเงินของธุรกิจ | 🗸 | ||||||
CLO3 ประยุกต์ใช้การจัดการทางการเงินในการประกอบ ธุรกิจ | 🗸 | ||||||
CLO4 แสดงออกถึงความถูกต้องและโปร่งใสในการ จัดการทางเงินของธุรกิจ | 🗸 | ||||||
กจ 1005 | เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ | ||||||
CLO1 อธิบายหลักการ แนวคิด ทฤษฎี ทางเศรษฐศาสตร์ จุลภาคและมหภาค | 🗸 | ||||||
CLO2 วิเคราะห์อุปสงค์ อุปทานของสินค้าและตลาด ต่าง ๆ พฤติกรรมผู้บริโภคและผู้ผลิต รายได้ประชาชาติ | 🗸 |
หมวดวิชาเฉพาะ
รายวิชา/CLOs | PLO1 | PLO2 | PLO3 | PLO4 | PLO5 | PLO6 | |
วิเคราะห์กลไก ราคาดุลยภาพ และความยืดหยุ่นในระบบ เศรษฐกิจ | |||||||
CLO3 ประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐศาสตร์ในการประกอบ ธุรกิจบนพื้นฐานจริยธรรมทางธุรกิจ | 🗸 | ||||||
กจ 1006 | การจัดการทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ | ||||||
CLO1 อธิบายหลักการ แนวคิด ทฤษฎีการจัดการ ทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ | 🗸 | ||||||
CLO2 วิเคราะห์งาน วางแผนกำลงั คน การสรรหา และ คัดเลือกบุคลากรในยุคดิจิทัล | 🗸 | ||||||
CLO3 ประเมินผลการปฏิบัติงานและบริหารค่าตอบแทน บุคลากรในยุคดิจิทัลอย่างมีจริยธรรม | 🗸 | ||||||
CLO4 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในกระบวนการจัดการ ทรัพยากรมนุษย์ | 🗸 | ||||||
CLO5 แสดงออกถึงจริยธรรมในการจัดการทรัพยากร มนุษย์ | 🗸 | ||||||
กจ 1007 | การตลาดสมัยใหม่ | ||||||
CLO1 อธิบายแนวคิดและความสำคัญด้านการตลาด สมัยใหม่ | 🗸 | ||||||
CLO2 วิเคราะห์กลยุทธ์ทางการตลาดได้ | 🗸 | ||||||
CLO3 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการตลาด สมัยใหม่ | 🗸 | ||||||
CLO4 แสดงออกถึงการมีจริยธรรมทางธุรกิจ รับผดชอบ ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม | 🗸 | ||||||
กจ 1008 | การจัดการสำนักงานสมัยใหม่ | ||||||
CLO1 อธิบายแนวคิดในการจัดการสำนักงาน สำนักงาน เสมือนจริง บทบาทหน้าที่สำนักงานภาครัฐ และเอกชน | 🗸 | ||||||
CLO2 ประยุกต์ใช้ความรู้งานสารบรรณ การเขียน โครงการ การเขียนรายงาน | 🗸 | ||||||
CLO3 ประยุกต์ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงาน และเทคโนโลยีในการจัดการสำนักงาน | 🗸 | 🗸 | |||||
CLO4 แสดงออกได้ถึงคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสตย์ ใน การปฏิบัติงาน | 🗸 | ||||||
CLO5 พัฒนาการเรยนรู้ตนเองอย่างต่อเนื่องในการทำงาน เป็นทีม และแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน | 🗸 | ||||||
กจ 1009 | การจัดการเชิงกลยุทธ์ | ||||||
CLO1 อธิบายแนวคิด หลักการ วธีการ และเครื่องมือที่ใช้ ในการจัดการเชิงกลยุทธ์ | 🗸 |
รายวิชา/CLOs | PLO1 | PLO2 | PLO3 | PLO4 | PLO5 | PLO6 | |
CLO2 เขียนแผนเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจ | 🗸 | ||||||
CLO3 แสดงออกถึงการมีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีจริยธรรมทางธุรกิจ | 🗸 | ||||||
CLO4 แสดงออกถึงการเป็นนักวางแผนที่มีความยืดหยุ่น | 🗸 | ||||||
กจ 1010 | การจัดการนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง | ||||||
CLO1 อธิบายความรเบื้องต้นเกี่ยวกับนวัตกรรม และแนวคิดการจัดการนวัตกรรมและการเปลยนแปลง การคิด Design Thinking | 🗸 | ||||||
CLO2 วิเคราะห์กลยุทธ์ในการจัดการเพื่อจัดทำแผนธุรกิจ ประเมินความเป็นไปได้ทางธุรกิจ และทรัพย์สินทางปัญญา | 🗸 | 🗸 | |||||
CLO3 ประยุกต์ใช้องค์ความรู้การจัดการนวัตกรรม สู่ธุรกิจโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ | 🗸 | ||||||
CLO4 สร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยกระบวนการทำงานเป็นทีม | 🗸 | ||||||
กจ 1011 | การประกอบธุรกิจชุมชนในยุคดจิ ิทัล | ||||||
CLO1 อธิบายแนวคิดและการประกอบธุรกิจชุมชน | 🗸 | ||||||
CLO2 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนินการธุรกิจชุมชนและเขียนแผนธุรกิจชุมชน | 🗸 | ||||||
CLO3 ดำเนินงานตามแผนธุรกิจชมชน | 🗸 | ||||||
CLO4 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการประกอบธุรกิจชุมชน | 🗸 | ||||||
CLO5 แสดงออกถึงการมีจริยธรรมทางธุรกิจ รับผดชอบ ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม | 🗸 | ||||||
กจ 1012 | การวิจัยทางธุรกิจ | ||||||
CLO1 อธิบายกระบวนการวิจัยทางธุรกิจและวิจัยชุมชน | 🗸 | ||||||
CLO2 ประยุกต์ใช้กระบวนการวิจัยทางธุรกิจและวิจัย ชุมชนด้วยวิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย โปรแกรมสำเร็จรูป | 🗸 | ||||||
CLO3 ปฏิบัตตนตามจรรยาบรรณนักวิจัย | 🗸 | ||||||
กจ 1013 | การจัดการโครงการ | ||||||
CLO1 อธิบายกระบวนการจัดทำโครงการ | 🗸 | ||||||
CLO2 วิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการโครงการ | 🗸 | ||||||
CLO3 วางแผนและดำเนินการจัดการโครงการ | 🗸 | ||||||
CLO4 แสดงออกซึ่งการทำงานเป็นทีมในการจัดการโครงการ | 🗸 | ||||||
กจ 1014 | ภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ | ||||||
CLO1 ใช้ภาษาอังกฤษในงานธุรกิจได้ถูกต้อง ตามหลักภาษา คล่องแคล่วและเหมาะสมกับบุคคล | 🗸 |
รายวิชา/CLOs | PLO1 | PLO2 | PLO3 | PLO4 | PLO5 | PLO6 | |
CLO2 เล่าเรื่องสินค้า ให้ข้อมูลสินค้าและบริการ ได้อย่างสร้างสรรค์ | 🗸 | 🗸 | |||||
CLO3 ใช้ภาษาอังกฤษบนแพลตฟอร์มออนไลน์ได้อย่าง สื่อความและมีประสิทธิภาพ | 🗸 | 🗸 | |||||
กจ 1015 | ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ | ||||||
CLO1 อธิบายหลักการของระบบสารสนเทศโครงสร้าง พื้นฐาน ประเภทของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ | 🗸 | ||||||
CLO2 ประยุกต์ใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และการตัดสินในการจัดการธุรกิจ | 🗸 | 🗸 | |||||
CLO3 แสดงออกถึงการเป็นผู้มีคุณธรรมจรยธรรม ในการใช้สารสนเทศ | 🗸 | ||||||
กจ 1016 | กฎหมายธุรกิจ | ||||||
CLO1 อธิบายหลักการกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ การค้าสมัยใหม่ | 🗸 | ||||||
CLO2 วิเคราะห์กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายธุรกิจ และจริธรรมทางธุรกิจ | 🗸 | ||||||
CLO3 แสดงออกถึงการปฏิบัติตนตามกฎหมายในภาค ธุรกิจอย่างมีจรยธรรมทางธุรกิจ | 🗸 | ||||||
กจ 1017 | จิตวิทยาธุรกิจและการพัฒนาบุคลิกภาพทางธุรกิจ | ||||||
CLO1 อธิบายแนวคิดและหลักการการศึกษาทางจิตวิทยา ที่นำใช้ในการดำเนินงานในองค์การธุรกิจ | 🗸 | ||||||
CLO2 ประยุกต์ใช้จิตวิทยาในการบริหารงาน การแข่งขัน เชิงธุรกิจ การปรับตัวทางสังคมและการตัดสินใจ | 🗸 | ||||||
CLO3 แสดงออกซึ่งจริยธรรมทางธุรกิจการบริหารงาน ใน การแข่งขันเชิงธุรกิจ | 🗸 | ||||||
CLO4 แสดงบุคลิกภาพเชิงธุรกิจและการทำงานร่วมกับ ผู้อื่น | 🗸 | ||||||
กจ 1018 | การจัดการการดำเนินงาน | ||||||
CLO1 อธิบายเกี่ยวกับการจัดการดำเนินงาน สินค้า บริการ วงจรการให้บริการ การเลือกทำเลที่ตั้ง การวางแผนกำลัง การผลิต การวางผังสถานประกอบการ การพยากรณ์ การผลิต การจัดการคุณภาพเบื้องต้น | 🗸 | ||||||
CLO2 ออกแบบงาน มาตรฐานการปฏิบัติงาน การจัดการบำรุงรักษาและความปลอดภัย | 🗸 | ||||||
CLO3 สามารถทำงานเป็นทีมและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ | 🗸 |
รายวิชา/CLOs | PLO1 | PLO2 | PLO3 | PLO4 | PLO5 | PLO6 | |
กจ 1019 | การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน | ||||||
CLO1 อธิบายกระบวนการและกิจกรรมในระบบ ของโลจิสติกส์และซัพพลายเชน | 🗸 | ||||||
CLO2 ประยุกต์ใช้กระบวนการในการบริหารจัดการ ระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน | 🗸 | ||||||
CLO3 ประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการ จัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน | 🗸 | ||||||
CLO4 สามารถทำงานเป็นทีมและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ | 🗸 | ||||||
กจ 1020 | ความคิดสร้างสร้างสรรค์ทางธุรกิจ | ||||||
CLO1 อธิบายแนวคิดของความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจ | 🗸 | ||||||
CLO2 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์ ออกแบบ และการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นธุรกิจ | 🗸 | ||||||
CLO3 สร้างผลงานธุรกิจด้วยกระบวนการความคิด สร้างสรรค์อย่างรับผดชอบ | 🗸 | 🗸 | |||||
กจ 1021 | การตลาดดิจิทัล | ||||||
CLO1 อธิบายแนวความคิดทางด้านการตลาด การตลาด ดิจิทัลและการตลาดออนไลน์ การตลาดกลไกสืบค้น | 🗸 | ||||||
CLO2 วิเคราะห์ การวางแผนการตลาดดิจิทัล | 🗸 | ||||||
CLO3 สามารถทำงานเป็นทีมและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ | 🗸 | ||||||
กจ 1022 | การเจรจาต่อรองทางธุรกิจ | ||||||
CLO1 อธิบายองค์ประกอบ รูปแบบการใช้ภาษาใน สื่อสารทางธุรกิจ ปัจจัยและกระบวนการเจรจาต่อรองทาง ธุรกิจ | 🗸 | ||||||
CLO2 ประยุกต์ใช้กลวิธีในการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ อย่างมีจริยธรรม | 🗸 | 🗸 | |||||
CLO3 สามารถเจรจาต่อรองทางธุรกิจอย่างมีจรยธรรม ธุรกิจ | 🗸 | ||||||
กจ 1023 | มัลติมีเดียทางธุรกิจ | ||||||
CLO1 อธิบายหลักการ แนวคิด และองค์ประกอบของ มัลติมีเดีย | 🗸 | ||||||
CLO2 เลือกใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และแอปพลเคชันในการสร้างสื่อมัลติมเดีย | 🗸 | ||||||
CLO3 ประยุกต์ใช้โปรแกรมมลั ติมเดียเพื่อใช้ในธุรกิจอย่าง มีคุณธรรมและจริยธรรมในการสร้างมัลติมเดีย | 🗸 | 🗸 | |||||
กจ 1024 | ภาษาอังกฤษในสำนักงาน | ||||||
CLO1 อธิบายหน้าที่รับผิดชอบ ตำแหน่งต่าง ๆ และ อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน | 🗸 |
รายวิชา/CLOs | PLO1 | PLO2 | PLO3 | PLO4 | PLO5 | PLO6 | |
CLO2 เลือกใช้สำนวนและรูปแบบการใช้ภาษาอังกฤษ ในสำนักงานที่หลากหลาย | 🗸 | ||||||
CLO3 เขียนประกาศและบันทึกข้อมูลสั้น ๆ | 🗸 | ||||||
CLO4 แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม | 🗸 | ||||||
กจ 1025 | ภาษีอากรธุรกิจ | ||||||
CLO1 อธิบายเกี่ยวกับการภาษีอากร หน้าที่ของผู้เสียภาษี และภาษีประเภทต่าง ๆ | 🗸 | ||||||
CLO2 คำนวณภาษีอากรและการยื่นแบบแสดงรายการ เสียภาษีประเภทต่าง ๆ | 🗸 | ||||||
CLO3 วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับภาษีอากรธุรกิจ | 🗸 | ||||||
CLO4 แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม | 🗸 | ||||||
กจ 1026 | การบัญชีเพื่อการจัดการ | ||||||
CLO1 อธิบายบทบาทและหน้าที่ของการบัญชี เพื่อการ จัดการ ประเภทของต้นทุน การวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ และกำไร วิเคราะห์งบการเงิน การจัดทำงบประมาณ | 🗸 | ||||||
CLO2 วิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณและกำไร วิเคราะห์ งบการเงิน การจัดทำงบประมาณ เพื่อการตัดสินใจ ใน การดำเนินงานทางธุรกิจ | 🗸 | ||||||
CLO3 ประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในงานธุรกิจ | 🗸 | ||||||
CLO4 ปฏิบัติงานอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบ วินัย ความรับผิดชอบและจรรยาบรรณวิชาชีพ | 🗸 | ||||||
กจ 1027 | สัมมนาทางการจัดการ | ||||||
CLO1 ประยุกต์ใช้ความรู้ หลักการ ทฤษฎีทางด้าน การจัดการเพื่อแก้ใขปัญหาทางธุรกิจ | 🗸 | ||||||
CLO2 สามารถสื่อสารใช้ภาษาการนำเสนองานและ แสดง ความคิดเห็นอย่างเหมาะสม | 🗸 | ||||||
CLO3 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการวางแผนและ ดำเนินกระบวนการจัดการสัมมนา | 🗸 | ||||||
CLO4 แสดงออกถึงบุคลิกภาพการเป็นนักบริหารจัดการ และการทำงานเป็นทีม | 🗸 | ||||||
กจ 1030 | การฝึกประสบการณ์ | ||||||
CLO1 ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ จัดทำแผนการฝึก ประสบการณ์ กำหนดกระบวนการทำงาน | 🗸 | ||||||
CLO2 ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ และประเมินผล การทำงาน และการปรับปรุงคุณภาพงานในองค์การ | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | |||
CLO3 ประยุกต์ใช้ภาษาและเทคโนโลยีในการประกอบ ธุรกิจหรือการปฏิบัติงานด้านบริหารจัดการ | 🗸 | 🗸 |
รายวิชา/CLOs | PLO1 | PLO2 | PLO3 | PLO4 | PLO5 | PLO6 | |
CLO4 ปฏิบัติงานได้อย่างมีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา และ มีคุณธรรมจริยธรรม | 🗸 | ||||||
CLO5 พัฒนาการเรยนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง และสามารถทำงานเป็นทีมได้ | 🗸 |
5.11 ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา (YLOs)
ชั้นปีที่ | ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ความคาดหวังเมื่อสิ้นปีการศึกษา (YLOs) |
1 | - ผู้เรียนมีองค์ความรู้ด้านการจัดการสมัยใหม่ในด้านการตลาด การเงิน การบัญชี อธิบายความรู้ที่เกี่ยวข้องกับด้านการ จัดการ ประยุกต์ใช้ กระบวนการจดการในการประกอบธุรกิจชุมชน เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น - ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์และประยุกต์ใชนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนชุมชนในการออกแบบกระบวนการพัฒนาธุรกิจชุมชน - ผู้เรียนออกแบบวิธีการจัดการ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล - ผู้เรียนมีการแสดงออกถึงการยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม จิตสาธารณะ และความรับผิดชอบในการประกอบอาชีพ |
2 | - ผู้เรียนอธิบายความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ - ผู้เรียนแสดงออการเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีม การแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในองค์กร - ผู้เรียนมีทักษะในการสื่อสารกับองค์กรภายในและภายนอกได้อย่างเหมาะสม - ผู้เรียนแสดงออกถึงการยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ มีบุคลิกภาพดี ทำงานเป็นทีม และสื่อสารได้ อย่างเหมาะสม |
5.12 การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา
1) การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา หลักสูตรจัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ และการเรียนปรับ พื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างความรู้พื้นฐานก่อนศึกษา
2) การส่งเสริมและพัฒนาระหว่างศึกษา หลักสูตรจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาที่มีความสัมพันธ์ กับสาขาวิชา กิจกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมสันทนาการเพื่อสร้างเสริมความสุขของนักศึกษา และ กิจกรรมการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและอัตลักษณ์ของนักศึกษา
3) การติดตามความก้าวหน้าของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังรายวิชาและรายชั้นปี (YLOs) อาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตรดำเนินการติดตามความก้าวหน้าของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังรายวิชาและรายชั้นปี และ ในกรณีที่มีความแตกต่างของผลลัพธ์การเรียนรู้ หลักสูตรจะจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้เฉพาะเรื่อง เพื่อให้ บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้โดยรวมตามที่กำหนดในหลักสูตร
4) การส่งเสริมเติมเต็มผลลัพธ์การเรียนรู้ก่อนการสำเร็จการศึกษา หลักสูตรจัดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศ นักศึกษา กิจกรรมการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน กิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อ และการ ติดตามนักศึกษาหลังการสำเร็จการศึกษา
6. ความพร้อมและศักยภาพในการบริหารจัดการหลักสูตร
6.1 สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
6.1.1 หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 ปรับปรุงจากหลักสูตรอนุปริญญาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566
6.1.2 เปิดสอนภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2567
6.1.3 สภาวิทยาลัยชุมชนอนุมัติการจัดการเรียนการสอน ในการประชุม2/2567 เมื่อวันที่ 23
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
6.1.4 สภาสถาบันวิทยาลัยชุมชนให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 6/2567 เมื่อวันที่
21 พฤษภาคม 2567
6.2 สถานที่จัดการเรียนการสอน
วิทยาลัยชุมชนตราด ตำบลเนินทราย อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด
6.3 งบประมาณตามแผน
รายการ | ภาคการศึกษา | |||
1/2567 | 2/2567 | 1/2568 | 2/2568 | |
ค่าตอบแทนผู้สอน | 89,100 | 89,100 | 101,250 | - |
ค่าวัสดุการศึกษา | 8,000 | 8,000 | 8,000 | 8,000 |
ค่าบำรุงสถานที่ | 3,000 | 3,000 | 3,000 | 3,000 |
รวมทั้งสิ้น | 100,100 | 100,100 | 83,900 | 39,350 |
จำนวนนักศึกษา | 20 | 20 | 20 | 20 |
ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษา | 5,005 | 5,005 | 4,195 | 1,968 |
ค่าใช้จ่ายต่อหัว/ต่อปี | 10,010 | 6,163 | ||
ต่อหัวตลอดหลักสูตร | 16,173 |
6.4 ค่าธรรมเนียมการศึกษา
รายการ | ภาคการศึกษา | รวม | |||
1/2567 | 2/2567 | 1/2568 | 2/2568 | ||
ค่าธรรมเนียมการศึกษา | 830 | 700 | 810 | 1,060 | 3,400 |
6.5 อาจารย์
6.5.1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ชื่อ – สกุล | เลขประจำตัวบัตร ประชาชน | ตำแหน่ง ทางวิชาการ | คุณวุฒิ | สาขาวิชา | สำเร็จการศึกษาจาก | |
สถาบัน | ปี | |||||
นางศุภรัตน์ ร่มเงิน | 3 1006 00218 xx x | อาจารย์ | บธ.ม. | การจัดการ | มหาวิทยาลัยรามคำแหง | 2544 |
บธ.บ. | การเงินการธนาคาร | มหาวิทยาลัยรามคำแหง | 2541 | |||
นางสาวอำพร ไพฑูรย์ | 3 1005 03466 xx x | อาจารย์ | บธ.ม. | การเงินการธนาคาร | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | 2547 |
ป.บัณฑิต | การบริหารการศึกษา | มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร | 2549 | |||
ค.บ. | สังคมศึกษา | สถาบันราชภัฏพระนคร | 2541 | |||
นางศิริรักษ์ วรรณรัตน์ | 299 00014 xxx x | อาจารย์ | บธ.บ. | การจัดการ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี | 2553 |
6.5.2 อาจารย์ประจำหลักสูตร
ที่ | ชื่อ – สกุล | คุณวุฒิ | สาขาวิชา | สำเร็จการศึกษาจาก | รายวิชา/สาขาวิชาที่สอน | |
สถาบัน | ปี | |||||
1 | นางศุภรัตน์ ร่มเงิน | บธ.ม. | การจัดการ | มหาวิทยาลัยรามคำแหง | 2544 | - การเป็นผู้ประกอบการ ธุรกิจในยุคดิจิท้ล - ธุรกิจและการเป็น ผู้ประกอบการ |
บธ.บ. | การเงินการธนาคาร | มหาวิทยาลัยรามคำแหง | 2541 | |||
2 | นางสาวอำพร ไพฑูรย์ | บธ.ม. | การเงินการธนาคาร | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | 2547 | - การตลาดสมัยใหม่ - หลักการเงิน - ธุรกิจและการเป็น ผู้ประกอบการ |
ป.บัณฑิต | การบริหารการศึกษา | มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร | 2549 | |||
ค.บ. | สังคมศึกษา | สถาบันราชภัฏพระนคร | 2541 | |||
3 | นางศิริรักษ์ วรรณรัตน์ | บธ.บ. | การจัดการ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี | 2553 | การจัดการสำนักงาน สมัยใหม่ |
6.5.3 อาจารย์ผู้สอน/อาจารย์พิเศษ
ชื่อ-นามสกุล | คุณวุฒิ/สถาบันการศึกษา | ตำแหน่ง/ประสบการณ์/ ความเชี่ยวชาญ | รายวิชา/สาขาวิชาที่สอน |
นางสาวนิพัทธา เอี่ยมใบพฤกษ์ | - ค.ม.(วิจัยการศึกษา) / จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - กศ.บ.(วิทยาศาสตร์- คณิตศาสตร์) /มหาวิทยาลยบูรพา | ตำแหน่งงาน ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ วิทยาลัยชุมชนตราด ประสบการณ์ - สอนรายวิชาเกี่ยวกับโปรแกรม สำเรจรูปฯ 4 ปี | - การวิจัยทางธุรกิจ |
ชื่อ-นามสกุล | คุณวุฒิ/สถาบันการศึกษา | ตำแหน่ง/ประสบการณ์/ ความเชี่ยวชาญ | รายวิชา/สาขาวิชาที่สอน |
- ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการ บริหารการศึกษา / มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | - สอนรายวิชาเกี่ยวกับวิจัย 11 ปี - สอนรายวิชาเกี่ยวกับจิตวิทยา 8 ปี | ||
นายวุฒิ ชะนา | - M.S.(Hospitality Administration) / Oklahoma State University - วท.บ.(เศรษฐศาสตร์) / มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | ตำแหน่งงาน ครู ประสบการณ์ - สอนรายวิชาภาษาอังกฤษ 7 ปี - วิทยากรภาษาอังกฤษ การโรงแรม และการจัดการท่องเที่ยว 14 ปี | - เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ |
นางสาวดวงรัตน์ ถนอมพวก | - วท.ม.(เศรษฐศาสตร์เกษตร) / มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - วท.บ.(สถิติ) / มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | ตำแหน่งงาน ครูผู้ช่วย วิทยาลัยชุมชนตราด ประสบการณ์ สอนรายวิชาทางเศรษฐศาสตร์ วิทยากรร่วมในด้านการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ | - เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ - ความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจ |
นางอ้อมเดือน สมคิด | บธ.บ. (การบัญชี) มหาวิทยาลัยรามคำแหง | ตำแหน่งงาน ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ วิทยาลัยเทคนิคตราด ประสบการณ์ สอนรายวิชาเกี่ยวกับการบัญชี 25 ปี | - ภาษีอากรทางธุรกิจ |
นางสาวชลลดา ลี้มงคล | - บธ.ม.การจัดการทั่วไป / มหาวิทยาลัยรามคำแหง - บธ.บ.การตลาด / มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต | ตำแหน่งงาน ครูพิเศษสอน ประสบการณ์ สอนเกี่ยวกับการตลาดและ เศรษฐศาสตร์ | - การจัดการสมัยใหม่ |
นางสาวพรประภา ต้นเขียน | - บธ.ม. (การบัญชี) / มหาวิทยาลัยรามคำแหง - บธ.บ (การบัญชี) / มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ | ตำแหน่งงาน นักวิชาการตรวจสอบบัญชีชำนาญ การ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณตราด ประสบการณ์ มีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับ บัญชี การตรวจสอบบัญชี 12 ปี | - ภาษีอากรธุรกิจ |
นางสาวน้ำทิพย์ จันทเลิศ | - บธ.ม. (การเงิน) / มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย | ตำแหน่งงาน ผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขา คลองใหญ่ จังหวัดตราด ประสบการณ์ | - การจัดการสมัยใหม่ |
ชื่อ-นามสกุล | คุณวุฒิ/สถาบันการศึกษา | ตำแหน่ง/ประสบการณ์/ ความเชี่ยวชาญ | รายวิชา/สาขาวิชาที่สอน |
- ศศ.ม. (สังคมศาสตรเพื่อการ พัฒนา) / มหาวิทยาลัยราชภัฏ รำไพพรรณี - วท.บ. (เศรษฐศาสตร์เกษตร) / มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | - พนักงานปฏิบัติการ 11 ปี - ผู้ช่วยผู้อำนวยการภาค หน่วย สถาบันนการเงินชุมชน ธนาคารออม สิน 5 ปี - ผู้จัดการธนาคารออมสิน 6 ปี | ||
นายเชษฐ์ ปานสุวรรณ | - วท.ม. (การจัดการโลจิสติกส์ และโซ่อุปทาน) มหาวิทยาลัยบูรพา - วท.บ. (การจัดการอุตสาหกรรม) มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพรรณี | ตำแหน่งงานครูประจำ วิทยาลัยเทคนิคตราด ประสบการณ์ มีประสบการณส์ อนในสาขาวิชาโลจิ สติกส์ การขนส่งและการกระจาย สินค้า 20 ปี | การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลาย |
นายพลกฤษณ์ ไพรสานฑ์วณิชกุล | (บธ.ม.) สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย | แผนธุรกิจ การจัดการเชิงกลยุทธ์ การสร้างแบรนด์และการตลาด สมัยใหม่ การพัฒนาผลิตภณั ฑ์ และบรรจุภัณฑ์ ฉลากสินค้า มาตรฐานการผลิต การทดสอบตลาด การเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์เข้าสู่ธุรกจิการ ท่องเที่ยวและมาตรฐาน SHA | ความคิดสร้างสร้างสรรค์ทางธุรกิจ |
นางสาวรัตยา โสวรรณปรีชา | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) สาขาการจัดการทั่วไป หมาวิทยาลัยรามคำแหง | การบริหารจัดการ การสื่อสารทางการตลาด และ การตลาดออนไลน์ ธุรกิจการสร้างแบรนด์ การพัฒนาผลิตภณั ฑ์และบรรจุภัณฑ์ | หลักการตลาด ความคิดสร้างสร้างสรรค์ทางธุรกิจ |
6.6 การพัฒนาอาจารย์
6.6.1 การเตรียมความพร้อมอาจารย์ใหม่
1) การปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ เพื่อชี้แจงวิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ของวิทยาลัยชุมชน รายละเอียดของหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอนและการประเมินผล การใช้เทคโนโลยีทาง การศึกษา และแนะนำอาจารย์ประจำหลักสูตร
2) การชี้แจงแนวทางในการจัดการเรียนการสอน การจัดทำรายละเอียดของรายวิชา การรายงาน ผลการดำเนินการของรายวิชา และการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
6.6.2 การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์ผู้สอน
1) การส่งเสริมให้อาจารย์ผู้สอนเข้าร่วมการประชุม อบรม และสัมมนา ทั้งทางวิชาการและ วิชาชีพ เพื่อให้อาจารย์ผู้สอนได้รับการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง
2) การส่งเสริมให้อาจารย์ผู้สอนดำเนินการวิจัยหรือสร้างนวัตกรรม เพื่อพัฒนาศาสตร์ของ สาขาวิชา พัฒนาชุมชนท้องถิ่น และพัฒนานักศึกษา
6.7 ความพร้อมด้านทรัพยากรการเรียนรู้
การบริหารจัดการทรัพยากรการเรียนรู้ของหลักสูตรเป็นแบบรวมศูนย์ โดยวิทยาลัยชุมชนตราดเป็น ผู้รับผิดชอบควบคุมและจัดหาให้มีเพียงพอต่อความต้องการในการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย
1) ห้องเรียนใช้ร่วมกัน ความจุ 30 ที่นั่ง จำนวน 3 ห้อง ณ อาคาร 5
2) ห้องเรียนใช้ร่วมกัน ความจุ 80 ที่นั่ง จำนวน 2 ห้อง ณ อาคาร 4
3) ห้องเรียนใช้ร่วมกัน ความจุ 20 ที่นั่ง จำนวน 1 ห้อง ณ อาคาร 4
4) ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ใช้ร่วมกัน ความจุ 30 ที่นั่ง จำนวน 1 ห้อง ณ อาคาร 5
5) ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ใช้ร่วมกัน ความจุ 20 ที่นั่ง จำนวน 1 ห้อง ณ อาคาร 5
6) ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้บริการยืมหนังสือทุกวันทำการปกติและวันทำการสอน
7) ห้องสมุดดิจิทัลวิทยาลัยชุมชนตราด ให้บริการยืมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตลอด 24 ชั่วโมง
8) เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก สำหรับให้นักศึกษายืมใช้เพื่อการเรียนรู้ จำนวน 20 เครื่อง
9) ศูนย์ดิจิทัลชุมชนวิทยาลัยชุมชนตราด เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในชุมชน
10) บริการอินเทอร์เน็ตไวไฟ ครอบคลุมทุกห้องเรียนในวิทยาลัยชุมชนตราด
11) บริการอีเมลของวิทยาลัยชุมชนตราด
7. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
7.1 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าตามที่สภาสถาบันวิทยาลัยชุมชนกำหนด
7.2 การรับนักศึกษา
รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่สามารถฟัง พูด อ่าน เขียน และเข้าใจภาษาไทยได้เป็นอย่างดี และให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ และข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง
8. การประเมินผลการเรียนรู้และเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
8.1 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การประเมินผลการเรียนให้เป็นไปตามระเบียบสถาบันวิทยาลัยชุมชน ว่าด้วยการจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาของวิทยาลัยชุมชน พุทธศักราช 2560
8.2 เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
ผู้เรียนจะสำเร็จการศึกษาเมื่อเรียนครบตามโครงสร้างและจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ได้รับ คะแนนเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่า 2.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ เป็นไปตาม มาตรฐานคุณวุฒิระดับอนุปริญญา และเป็นไปตามระเบียบที่สถาบันวิทยาลัยชุมชนกำหนด
9. การประกันคุณภาพหลักสูตร
9.1 กระบวนการการประกันคุณภาพหลักสูตร
ใช้ระบการประกันคุณภาพระดับหลักสูตรตามระบบ ASEAN University Network-Quality Assurance
: AUN-QA ที่เน้นการจัดการจัดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based education : OBE) ที่มีการออกแบบ ระบบการติดตามตรวจสอบและมีการประเมินคุณภาพเป็นประจำทุกปี รวมทั้งมีการพัฒนาปรับปรุงพัฒนาอย่าง ต่อเนื่อง ดังนี้
1) ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes)
2) โครงสร้างและรายวิชาของหลักสูตร (Programme Structure and Content)
3) กระบวนการจัดการจัดการเรียนรู้ (Teaching and Learning Approach)
4) การประเมินผลผู้เรียน (Student Assessment)
5) คุณภาพอาจารย์ (Academic Staff)
6) การบริการและการช่วยเหลือนักศึกษา (Student Support Services)
7) สิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน (Facilities and Infrastructure)
8) ผลผลิตและผลลัพธ์ (Output and Outcomes)
9.2 ระบบการบริหารคุณภาพหลักสูตร
1) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทำหน้าที่เป็นผู้บริหารจัดการและการดำเนินการการประกันคุณภาพ หลักสูตรให้เป็นไปตามระบบการบริหารคุณภาพ ประกอบด้วย การวางแผนคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ และการ ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพ
2) นำผลประเมินคุณภาพหลักสูตร พร้อมแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา เสนอสภาวิทยาลัยชุมชน สภาวิชาการ สภาสถาบันวิทยาลัยชุมชน เพื่อให้ความเห็นชอบและให้ข้อเสนอแนะ และนำข้อแนะมากำหนดแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพของหลักสูตร
9.3 การบริหารจัดการความเสี่ยง
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นผู้บริหารจัดการความเสี่ยงที่คาดว่าจะส่งผลต่อหลักสูตรเป็นรายปี ตาม ประเด็นความเสี่ยงดังนี้
ประเด็นความเสี่ยง | การประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยง | กิจกรรมควบคุมความเสี่ยง/ แผนดำเนินงานการจัดการความเสี่ยง |
นักศึกษาลาออกระหว่างศึกษา | - การย้ายภูมิลำเนาหรือการได้งานทำ - ปัญหาการจัดสรรเวลาในการเรียน - และ/หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น ความเสี่ยง | - การให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาอย่าง ใกล้ชิด - การจัดการเรียนซ่อมเสริมผ่านทางออนไลน์ - และ/หรืออื่น ๆ |
นักศึกษาสำเร็จการศึกษาล่าช้า กว่าระยะเวลาการ ศึกษาปกติ | - ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์การสำเร็จ การศึกษา - การพักการศึกษา - และ/หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น ความเสี่ยง | - การติดตามนักศึกษาที่มีความเสี่ยงเป็น รายบุคคลโดยอาจารย์ที่ปรึกษา - และ/หรืออื่น ๆ |
9.4 การอุทธรณ์ของนักศึกษา
1) นักศึกษาเขียนคำร้องขออุทธรณ์ส่งให้เจ้าหน้าที่งานบริการการศึกษา ภายใน 7 วันทำการ นับจาก วันตัดสิน
2) เจ้าหน้าที่งานบริการการศึกษาตรวจสอบคำร้องขออุทธรณ์ ระบุข้อเท็จจริงและข้อโต้แย้ง พร้อมแนบเอ สารหลักฐานประกอบคำร้องขออุทธรณ์ แล้วส่งคำร้องขออุทธรณ์ให้คณะกรรมการรับเรื่องอุทธรณ์ของวิทยาลัย ชุมชนตราด ภายใน 5 วันทำการ นับจากวันที่รับคำร้องขออุทธรณ์
3) คณะกรรมการรับเรื่องอุทธรณ์ของวิทยาลัยชุมชนตราด ตรวจสอบคำร้องขออุทธรณ์ พิจารณาหลักฐาน ประกอบคำร้องขออุทธรณ์ และให้การวินิจฉัยผลการอุทธรณ์ ภายใน 14 วันทำการ
4) เจ้าหน้าที่งานบริการการศึกษาแจ้งการวินิจฉัยผลการอุทธรณ์แก่นักศึกษา และดำเนินการในส่วนที่ เกี่ยวข้องต่อไป ภายใน 14 วันทำการ
9.5 การเผยแพร่หลักสูตร
วิทยาลัยชุมชนตราดมีการเผยแพร่หลักสูตร หลักสูตรอนุปริญญาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ การบริการบนเว็บไซต์ของวิทยาลัยชุมชนตราด รวมถึงได้จัดทำแผ่นพับและโบรชัวร์
ภาคผนวก
คำสั่งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและคำสั่งคณะกรรมการวิพากษ์หลักสูตร
รายงานการวิพากษ์หลักสูตร
จากการวิพากษ์หลักสูตรอนุปริญญาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567
โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมวิพากษ์หลักสูตร ประกอบด้วย
1. นางสาววชิราภรณ์ ศรีพุทธ
2. นางประไพพรรณ ปราณี
3. นางสาวรัศมี นวเกษร
4. นางสาวอำพร ไพฑูรย์
ผลการวิพากษ์หลักสูตรมีดังนี้
1. การพิจารณาโครงสร้างของหลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาการจัดการ ระหว่างหลักสูตร 2 ปี กับหลักสูตร
3 ปี โดยคณะกรรมการมีความเห็น ดังนี้
1.1 หลักสูตร 2 ปี ผู้เรียนจะสำเร็จการศึกษาเร็วขึ้น นำความรู้และทักษะไปประกอบอาชีพ ใช้ใน การทำงานได้เร็วขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับสังคมแห่งการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน อาจต้องมาเรียนเสริมเพิ่มเติมองค์ความรู้ ทางการจัดการที่จำเป็นนำไปใช้ในการประกอบอาชีพที่โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
1.2 ให้มีการบูรณารายวิชาที่ตัดออกไปจากหลักสูตร 3 ปีนั้น โดยเติมเนื้อหาที่ขาดหายไป และ จำเป็นต่อการเรียนรู้ในเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
1.3 ควรมีการให้นักศึกษาได้เรียนรู้ในการบริหารทรัพย์กรมนุษย์ในรายวิชาทีเกี่ยข้องกับ
การบริหารธุรกิจ
2. เพิ่มกลยุทธ์การเรียนการสอน อีกรูปแบบหนึ่งคือการที่ นำนักศึกษาไปเรียนรู้นอกสถานที่เพื่อเพิ่ม ประสบการณ์ในการเรียนรู้นอกเหนือจากการเรียนรู้ในห้องเรียน
3. การแสดงผลการวัดและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนรับทราบ/ทบทวน เพื่อนำไปสู่การปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนทั้งของผู้เรียนและผู้สอน
รายงานผลการใช้หลักสูตรเดิม
ให้รายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตรที่ผ่านมา ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน ผู้สำเร็จ การศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต องค์กรวิชาชีพ ศิษย์เก่า ตลอดจนข้อร้องเรียนจากบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกและบุคคล ภายใน
ความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/ผู้สำเร็จการศึกษาใหม่
แบบสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/ผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร อนุปริญญาของวิทยาลัยชุมชน มีนักศึกษาปีสุดท้ายทั้งหมด 12 คน
ประเด็นวัดความพึงพอใจ | ค่าเฉลี่ย | ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน | ระดับความพึงพอใจ |
ความพึงพอใจต่อหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน | 4.72 | 0.47 | มากที่สุด |
1. หลักสูตรที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะสังคมในปัจจุบัน | 4.58 | 0.51 | มากที่สุด |
2. เปิดสอนรายวิชาที่สอดคล้องกับหลักสูตร | 4.67 | 0.65 | มากที่สุด |
3. กระบวนการการเรียนการสอนกระตุ้นให้เกิดการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม | 4.67 | 0.49 | มากที่สุด |
4. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สอดคล้องกับสาขาวิชาที่เรียน เช่น ไปทัศนศึกษาหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญมา บรรยาย เป็นต้น | 4.58 | 0.51 | มากที่สุด |
5. จัดการศึกษาสอดคล้องกับปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร | 4.58 | 0.51 | มากที่สุด |
6. มีการจัดแผนการศึกษาตลอดหลักสูตรอย่างชัดเจน | 4.75 | 0.45 | มากที่สุด |
7. หลักสูตรมีความทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน | 4.75 | 0.45 | มากที่สุด |
8. การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับลักษณะวิชาและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ | 4.75 | 0.45 | มากที่สุด |
9. วิธีการสอนส่งเสริมให้นักศึกษาได้ประยุกต์แนวคิดศาสตร์ทางวิชาชีพ และ/หรือ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องใน การพัฒนาการเรียนรู้ | 4.92 | 0.29 | มากที่สุด |
10. มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบการเรียนการสอน | 4.75 | 0.45 | มากที่สุด |
11. กระบวนการจัดการเรียนการสอนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ การศึกษา | 4.83 | 0.39 | มากที่สุด |
12. วิธีการสอนกระตุ้นการคิด วิเคราะห์ และการแก้ปัญหามีการจัดกิจกรรมในการพัฒนานักศึกษาใน ทักษะต่างๆ อย่างครบถ้วน | 4.75 | 0.45 | มากที่สุด |
การเรียนรู้ตลอดหลักสูตรได้พัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ | 4.72 | 0.45 | มากที่สุด |
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม | 4.83 | 0.39 | มากที่สุด |
2. ด้านความรู้ | 4.67 | 0.49 | มากที่สุด |
3. ด้านทักษะปัญญา | 4.83 | 0.39 | มากที่สุด |
4. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ | 4.58 | 0.51 | มากที่สุด |
5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | 4.83 | 0.39 | มากที่สุด |
6. ด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ | 4.58 | 0.51 | มากที่สุด |
นักศึกษาได้ผ่านการประเมินผลการเรียนรู้ | 4.78 | 0.42 | มากที่สุด |
1. การประเมินผลการเรียนรู้ตรงกับวัตถุประสงค์ของรายวิชา | 4.67 | 0.49 | มากที่สุด |
2. กระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้มีมาตรฐาน | 4.92 | 0.29 | มากที่สุด |
3. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการประเมินผลการเรียนรู้ | 4.75 | 0.45 | มากที่สุด |
รวม | 4.73 | 0.46 | มากที่สุด |
ความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/ผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ (นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการ รุ่น 1/2564)
ที่มีต่อหลักสูตรของวิทยาลัยชุมชนตราด พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.73
ในหัวข้อความพึงพอใจต่อหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.72 โดยวิธีการสอนส่งเสริมให้นักศึกษาได้ประยุกต์แนวคิดศาสตร์ทางวิชาชีพ และ/หรือ ศาสตร์ที่ เกี่ยวข้องในการพัฒนาการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย 4.92 รองลงมา คือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนส่งเสริมให้ ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษา มีค่าเฉลี่ย 4.83 ตามลำดับ
หัวข้อการเรียนรู้ตลอดหลักสูตรได้พัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.72 โดยด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านทักษะปัญญา มีด้านความรู้ และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ย 4.83 รองลงมา คือ ด้านความรู้ ค่าเฉลี่ย 4.67
หัวข้อนักศึกษาได้ผ่านการประเมินผลการเรียนรู้ มีความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.78 โดย กระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้มีมาตรฐาน มีค่าเฉลี่ย 4.92 รองลงมา คือ มีนักศึกษามีความพึงพอใจต่อ การประเมินผลการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย 4.75 และการประเมินผลการเรียนรู้ตรงกับวัตถุประสงค์ของรายวิชา มี ค่าเฉลี่ย 4.67 ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะอื่นๆ
1. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหลักสูตร
มีวิชาประยุกต์มากขึ้น เพื่อนตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
2. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเรียนการสอน
การบูรณาการหลายวิชา ใน 1 เทอม เพราะบางรายวิชา มีความเชื่อมโยงกัน
3. ข้อเสนอเกี่ยวกับกิจกรรมพัฒนาการศึกษา กิจกรรมที่เชื่อมโยงกับภาคผู้ประกอบการ เพื่อรองรับตลาดแรงงานต่อไป
การออกแบบหลักสูตรตามการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based education : OBE)
1) ผลการรับฟังความเห็น ความต้องการ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อหลักสูตร ได้แก่ ผู้ใช้ บัณฑิต (นายจ้าง/สถานประกอบการ) ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ผู้สอน และผู้ทรงคุณวุฒิที่สัมพันธ์กับสาขาวิชา ประกอบรวมกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และอัตลักษณ์ของสถาบันวิทยาลัยและวิทยาลัยชุมชนตราด และผลลัพธ์กา ร เรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565
ผู้มีส่วนได้เสีย | วิธีการรวบรวมข้อมูล | ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการ |
1. ผู้ใช้บัณฑิต (นายจ้าง/สถาน ประกอบการ) ที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับ 7) ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน 8) พนักงานธุรการ 9) เลขานุการ 10) นักวิชาการ 11) เจ้าหน้าที่งานทะเบียน 12) เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป | แบบสอบถาม/สัมภาษณ์ เมื่อเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2566 | - ทักษะการเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีมและการเจรจา ต่อรอง - การคิดริเริ่มสร้างสรรค์และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า - ความกล้าแสดงออก การพูดในที่ประชุม - การใช้งานโปรแกรมสำเรจรูปสำหรับงานสำนักงาน - การใช้สื่อดิจิทัล แอพพลิเคชั่น รวมถึง Internet แพลตฟอร์มต่างๆ - คุณธรรมจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ - มีบุคลิกภาพดี - สื่อสารได้อย่างเหมาะสม |
2. ศิษย์เก่า | สัมภาษณ์ เมื่อเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 | - การใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานสำนักงาน - การใช้สื่อดิจิทัล แอพพลิเคชั่น รวมถึง Internet แพลตฟอร์มต่างๆ |
3. ศิษย์ปัจจุบัน | สัมภาษณ์ เมื่อเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 | - การใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานสำนักงาน - การใช้สื่อดิจิทัล แอพพลิเคชั่น รวมถึง Internet แพลตฟอร์มต่างๆ |
4. ผู้สอน | สัมภาษณ์ เมื่อเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 | - ความรู้ด้านวิจัย / สถิติ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล - ความรู้บริบทของพื้นที่ - แผนการจัดการธุรกิจ - การประยุกต์ใช้ความรู้ไปต่อยอดในการพัฒนาตัวเองและ ชุมชน |
5. ผู้ทรงคุณวุฒิที่สัมพันธ์กับสาขาวิชา | สัมภาษณ์ เมื่อเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 | - การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชน - การใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปโดยเฉพาะโปรแกรม Excel - การตั้งเป้าหมายในชีวิต |
6. ปรัชญาสถาบันวิทยาลัยชุมชน "เสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาระดับ อุดมศึกษา เพื่อเพิ่มคุณค่าชีวิตและศักยภาพ ของบุคคลและชุมชน" | เอกสาร | - การประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการบริหารจัดการในการ ประกอบธุรกิจชุมชน - การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชน |
ผู้มีส่วนได้เสีย | วิธีการรวบรวมข้อมูล | ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการ |
7. วิสัยทัศน์สถาบันวิทยาลัยชุมชน "สถาบันวิทยาลัยชุมชนคุณธรรม สร้างสรรค์ นวัตกรรมชุมชนเพื่อพัฒนาคนและสังคม อย่างยั่งยืน" | เอกสาร | การประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการบริหารจัดการในการประกอบ ธุรกิจ และธุรกิจชุมชน |
8. พันธกิจสถาบันวิทยาลัยชุมชน 1) จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ต่ำกว่า ปริญญา 2) ฝึกอบรมด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3) วิจัย และบริการทางวิชาการเพื่อการ พัฒนาชุมชน 4) ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น 5) ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสร้าง ความเข้มแข็งของท้องถิ่นและชุมชน | เอกสาร | การประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการบริหารจัดการในการประกอบ ธุรกิจ และธุรกิจชุมชน |
9. วิสัยทัศน์วิทยาลัยชุมชนตราด "วิทยาลัยชุมชนตราดเป็นผู้นำด้านการจัด การศึกษา พัฒนาอาชีพ โดยใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการขับเคลื่อน ยกระดับ คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนบนพื้นฐานภูมิ ปัญญาสู่สากล เพื่อเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง อย่างยั่งยืน" | เอกสาร | การประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการบริหารจัดการในการประกอบ ธุรกิจ และธุรกิจชุมชน |
10. อัตลักษณ์วิทยาลัยชุมชนตราด "มีคุณธรรม นำความรู้สู่ชุมชน" | เอกสาร | คุณธรรมจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ |
11. ผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านความรู้ ตาม มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 "ความรู้ที่จำเป็นและเพียงพอสำหรับการ นำไปใช้ทำงานตามบทบาทหน้าที่" | เอกสาร | ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเพื่อการประกอบ ธุรกิจ และธุรกิจชุมชน |
12. ผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะ ตาม มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 "1. ทักษะการเรียนรู้ การเรียนรู้ด้วยตนเอง ในการปฏิบัติงานได้ตามแนวปฏิบัติที่ กำหนด 2. ทักษะด้านดิจิทัล" | เอกสาร | - ทักษะการเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีมและการเจรจา ต่อรอง - การคิดริเริ่มสร้างสรรค์และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า - ความกล้าแสดงออก การพูดในที่ประชุม - การใช้งานโปรแกรมสำเรจรูปสำหรับงานสำนักงาน - การใช้สื่อดิจิทัล แอพพลิเคชั่น รวมถึง Internet แพลตฟอร์มต่างๆ |
ผู้มีส่วนได้เสีย | วิธีการรวบรวมข้อมูล | ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการ |
13. ผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านจริยธรรม ตาม มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 "1. การกระทำที่เป็นไปตามกฎกติกา และ เกิดประโยชน์ต่อสังคม 2. การหลีกเลี่ยงการกระทำสิ่งที่ผิดกฎกติกา ของสังคม และไม่ทำผิดกฎหมาย" | เอกสาร | ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ |
14. ผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านลักษณะบุคคล ตาม มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 "1. ลักษณะบุคคลทั่วไป 2. ลักษณะบุคคลตามวิชาชีพ หรือตาม ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง" | เอกสาร | - มีบุคลิกภาพดี - ทำงานเป็นทีม - สื่อสารได้อย่างเหมาะสม |
2) วิเคราะห์ความเห็น ความต้องการ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย กำหนดปรัชญา วัตถุประสงค์ ของหลักสูตร และกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร ( Program Learning Outcomes : PLOs) ที่ สอดคล้องกัน ดังนี้
ปรัชญา
การจัดการสมัยใหม่ เปี่ยมด้วยจริยธรรม และจิตสร้างสรรค์ธุรกิจชุมชน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อเสริมสร้างผู้เรียนให้มีคุณลักษณะ ดังนี้
1. มีความรู้ ความเข้าใจด้านการจัดการสมัยใหม่และการประกอบธุรกิจแบบองค์รวม
2. สามารถวิเคราะห์และจัดทำแผนธรุ กิจชุมชน โดยใช้กระบวนการจัดการอย่างสร้างสรรค์ บูรณาการ ความรู้ในพัฒนาตนเองและทำงานร่วมกับชุมชน
3. สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ และ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เหมาะสมกับการ ปฏิบัติงานด้านการจัดการ
4. มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
5. มีบุคลิกภาพเป็นนักบริหารจัดการ การทำงานเป็นทีม และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program Learning Outcomes : PLOs)
PLO1 ประยุกต์แนวคิดและหลักการ ด้านการจัดการ ด้านการจัดการสมัยใหม่ในการประกอบธุรกิจ ชุมชน เพื่อตอบสนองตามความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น
PLO2 คิดสร้างสรรค์และประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนชุมชนในการออกแบบกระบวนการพัฒนา
ธุรกิจชุมชน
PLO3 ประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลในการออกแบบวิธีการจัดการเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน
PLO4 แสดงออกถึงคุณธรรม จริยธรรม จิตสาธารณะ และความรับผิดชอบในการประกอบอาชีพ
PLO5 สามารถสื่อสารโดยใช้ภาษาไทย และภาษาอังกฤษในการสื่อสาร เพื่อประสานงานภายในและ ภายนอกองค์กรได้
PLO6 แสดงออกภาวะการเป็นผู้นำ ทำงานเป็นทีม การเข้ากับวัฒนธรรมองค์กร รวมถึงสามารถ
แก้ปัญหาต่างๆ ได้
ตารางความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs)
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | PLO1 | PLO2 | PLO3 | PLO4 | PLO5 | PLO6 |
1. ผู้ใช้บัณฑิต (นายจ้าง/สถานประกอบการ) ที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับ 1) ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน 2) พนักงานธุรการ 3) เลขานุการ 4) นักวิชาการ 5) เจ้าหน้าที่งานทะเบียน 6) เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป | 🗸 | 🗸 | 🗸 | |||
2. ศิษย์เก่า | 🗸 | 🗸 | ||||
3. ศิษย์ปัจจุบัน | 🗸 | 🗸 | ||||
4. ผู้สอน | 🗸 | 🗸 | 🗸 | |||
5. ผู้ทรงคุณวุฒิที่สัมพันธ์กับสาขาวิชา | 🗸 | 🗸 | 🗸 | |||
6. ปรัชญาสถาบันวิทยาลัยชุมชน | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | |
7. วิสัยทัศน์สถาบันวิทยาลัยชุมชน | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||
8. พันธกิจสถาบันวิทยาลัยชุมชน | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||
9. วิสัยทัศน์วิทยาลัยชุมชนตราด | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||
10. อัตลักษณ์วิทยาลัยชุมชนตราด | ||||||
11. ผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านความรู้ | 🗸 | 🗸 | 🗸 | |||
12. ผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะ | 🗸 | 🗸 | 🗸 | 🗸 | ||
13. ผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านจริยธรรม | ||||||
14. ผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านลักษณะบุคคล | 🗸 |
3) กำหนดโครงสร้างหลักสูตร โดยเป็นหลักสูตรอนุปริญญาที่มีระยะเวลาการศึกษาปกติ 2 ปี มีจำนวน หน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565
4) กำหนดรายวิชาและผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา (Course Learning Outcomes : CLOs) ที่สอดคล้อง ตามผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs)
ตารางความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs) กับรายวิชาพื้นฐานวิชาชีพ/วิชาบังคับ
PLOs | รายวิชาพื้นฐานวิชาชีพ/วิชาบังคับ |
PLO1 ประยุกต์แนวคิดและหลักการ ด้านการจัดการ ด้านการ จัดการสมัยใหม่ในการประกอบธุรกิจชุมชน เพื่อตอบสนองตาม ความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น | - การจัดการสมัยใหม่ - ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ - เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ - หลักการเงิน - การจัดการสำนักงานสมัยใหม่ - การตลาดสมัยใหม่ - การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลาย - ภาษีอากรธุรกิจ |
PLO2 คิดสร้างสรรค์และประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนชุมชน ในการออกแบบกระบวนการพัฒนาธุรกิจชุมชน | -การจัดการสมัยใหม่ - ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ - เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ - หลักการเงิน - การตลาดสมัยใหม่ - ความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจ - ภาษีอากรธุรกิจ |
PLO3 ประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลในการออกแบบวิธีการจัดการเพื่อ ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน | - การจัดการสมัยใหม่ - ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ - การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจในยุคดิจิตอล - ความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจ - การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลาย |
PLO4 แสดงออกถึงคุณธรรม จริยธรรม จิตสาธารณะ และความ รับผิดชอบในการประกอบอาชีพ | - การจัดการสมัยใหม่ - ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ - เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ - หลักการเงิน - การจัดการสำนักงานสมัยใหม่ - การตลาดสมัยใหม่ - ภาษีอากรธุรกิจ - การวิจัยทางธุรกิจ |
PLOs | รายวิชาพื้นฐานวิชาชีพ/วิชาบังคับ |
PLO5 สามารถสื่อสารโดยใช้ภาษาไทย และภาษาอังกฤษในการ สื่อสาร เพื่อประสานงานภายในและภายนอกองค์กรได้ | - การจัดการสมัยใหม่ - ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ - เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ - หลักการเงิน - การจัดการสำนักงานสมัยใหม่ - การตลาดสมัยใหม่ - การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลาย - ภาษีอากรธุรกิจ- ภาษีอากรธุรกิจ |
PLO6 แสดงออกภาวะการเป็นผู้นำ ทำงานเป็นทีม การเข้ากับ วัฒนธรรมองค์กร รวมถึงสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ | - การจัดการสมัยใหม่ - ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ - เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ - การจัดการสำนักงานสมยใหม่ - การตลาดสมัยใหม่ - การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลาย - ภาษีอากรธุรกิจ - ความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจ |
5) ออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้/กลยุทธ์การเรียนการสอน ที่สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ รู้จักวิธีแสวงหาความรู้ ปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เกิดกรอบคิดแบบ เติบโต (Growth Mindset) และสามารถนําสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้กับโลกของการทำงานจริง และออกแบบวิธีการวัดและ ประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
6) พัฒนาร่างหลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาการจัดการ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 โดยกำหนด อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์พิเศษ การพัฒนาอาจารย์ ทรัพยากรการเรียนรู้ กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ที่สนับสนุนให้ผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้
7) ดำเนินการวิพากษ์หลักสูตร โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่สัมพันธ์กับสาขาวิชา ปรับแก้ไขหลักสูตร และเสนอต่อ คณะอนุกรรมการวิชาการวิทยาลัยชุมชน สภาวิทยาลัยชุมชน และสถาบันวิทยาลัยชุมชนพิจารณาต่อไป
การกำหนดรหัสวิชา
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
ศท XX XX
ลำดับที่ของรายวิชาในหมวดศึกษาทั่วไป รหัสกลุ่มวิชา
01 กลุ่มวิชาภาษา
02 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
03 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลย
อักษรย่อหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
หมวดวิชาเฉพาะ
กจ XX XX
ลำดับที่ของรายวิชาในสาขาวิชา ลำดับที่ของสาขาวิชา อักษรย่อของสาขาวิชา
การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างหลักสูตรอนุปริญญา
การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างหลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาการจัดการหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 และหลักสูตรอนุปริญญาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ พ.ศ. 2567
ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบโครงสร้างหลักสูตรเดิมและโครงสร้างหลักสูตรปรับปรุง
โครงสร้างหลักสูตรของสถาบันวิทยาลัยชุมชน | หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 (3 ปี) | หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (2 ปี) |
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต | ไม่น้อยกว่า 24 นก. |
2. หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า 63 หน่วยกิต | ไม่น้อยกว่า 33 นก. |
2.1 หมวดวิชาแกน | 21 หน่วยกิต | 15 นก. |
2.2 หมวดวิชาเฉพาะด้าน | 42 หน่วยกิต | 18 นก. |
2.2.1 วชิ าบังคับ | 30 หน่วยกิต | 9 นก. |
2.2.2 วชิ าเลือก | 9 หน่วยกิต | 6 นก. |
2.2.3 วชิ าการฝึกงาน | 3 หน่วยกิต (270 ชั่วโมง) | ไม่น้อยกว่า 3นก. |
3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 3 นก. | ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต | ไม่น้อยกว่า 3 นก. |
รวม | ไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต | ไม่น้อยกว่า 60 นก. |
ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างหลักสูตรเดิมและหลักสูตรปรับปรุง
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 (3 ปี) | หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (2 ปี) | หมายเหตุ |
ชื่อหลักสูตร/สาขาวิชา ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรอนุปริญญาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ ชื่อภาษาอังกฤษ : Associate of Business Program in Management | ชื่อหลักสูตร ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรอนุปริญญาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ ชื่อภาษาอังกฤษ : Associate of Business Administration Program in Management | |
ชื่อปริญญา/สาขาวิชา ชื่อภาษาไทย : ชื่อเต็ม อนุปริญญาบริหารธุรกิจ (การจัดการ) : ชื่อย่อ อ.บธ (การจัดการ) ชื่อภาษาอังกฤษ : ชื่อเต็ม Associate of Business (Management) : ชื่อย่อ A.BA. (Management) | ชื่ออนุปริญญาและสาขาวิชา ชื่อภาษาไทย : ชื่อเต็ม อนุปริญญาบริหารธุรกิจ (การจัดการ) : ชื่อย่อ อ.บธ. (การจัดการ) ชื่อภาษาอังกฤษ : ชื่อเต็ม Associate of Business Administration (Management) ชื่อย่อ A.BA. (Management) | สอดคล้องกับแนวการกำหนดชื่อปริญญา |
ปรัชญาของหลักสูตร การจัดการสมัยใหม่บนพื้นฐานคุณธรรมจริยธรรมสื่อสารและสร้างสรรค์ธุรกิจ เพื่อการปฏิบัติงานยุคดิจิทัล | ปรัชญาของหลักสูตร การจัดการสมัยใหม่ เปี่ยมด้วยจริยธรรม บูรณาการ ธุรกิจชุมชน ในยุค ดิจิทัล | ปรับปรุงให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ ชาติ พ.ศ.2561- 2580 |
ความสำคัญของหลักสูตร จากสถานการณ์ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม หรือแม้แต่วัฒนธรรมที่เป็นจุดขายในการ บริหารหรือการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยและ ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ การทำงานในสถานประกอบการหรือจะประกอบธุรกิจของตนเอง ให้มี ความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารหรือการประกอบธุรกิจ สามารถมี ทักษะในการทำงาน การใช้ภาษา เทคโนโลยีดิจิทัลและแสวงหาข้อมูล ต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ แก้ปัญหา และนำความรู้ดังกล่าวมาบูรณากับ | ความสำคัญของหลักสูตร เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ทันสมัยและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำ ให้การจัดการงานต่าง ๆ มีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ลดขั้นตอนที่ฟุ่มเฟือย ลด การสูญเสียในการทำงาน จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในเชิงการแข่งขันทั้งแบบออนไลน์ และออฟไลน์ (แบบเผชิญหน้า) รวมทั้งการใช้หลายๆ กลยุทธ์ในการบริหารจัดการเพื่อตอบสนอง ความต้องการของลูกค้า หรือเป้าหมายขององค์กร | ปรับปรุงให้สอดคล้องตาม - สถานการณ์และการพัฒนาทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ตลอดจน การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนาบุคคล ในการขับเคลื่อนธรกิจ ให้ก้าวต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชน สังคม ประเทศและโลกภายใต้แนวคิด ก า ร จ ั ดการศึกษาที่มุ ่ ง ผลล ั พ ธ์ (Outcome Based Education : OBE) |
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 (3 ปี) | หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (2 ปี) | หมายเหตุ |
ศาสตร์อื่นๆ ในการปฏิบัติงานอย่างสร้างสรรค์ด้วยความรับผิดชอบต่อ ตนเองและสังคม และปฏิบัติงานภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ตลอดเวลา ตลอดจนมีจิตบริการ และรับผิดชอบต่อสังคม | จากสถานการณ์ดังกลา่ ว ทำให้องค์กรต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะแข่งขันกันอย่างรุนแรง มากขึ้น จึงทำให้องค์กรต้องเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะด้านบุคคลากร ที่ จำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจในพื้นฐานทางธุรกิจ มีทักษะในการ ทำงาน การใช้เทคโนโลยี และแสวงหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ ให้เหตุผล และนำมาบูรณาความรู้กับศาสตร์อื่น ๆ ในการปฏิบัติงาน ดังนั้น หลักสูตรอนุปริญญาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ หลักสูตร ปรับปรุง พ.ศ. 2567 จึงเป็นหนึ่งในกลไกการพัฒนาองค์กรทั้งภาครัฐและภาค ธุรกิจ ทั้งในระดับจังหวัด และระดับประเทศ โดยผลิตบุคลากร ด้านการจัดการที่มี ความรู้และทักษะในการ ปฏิบัติงานสู่ตลาดแรงงาน สามารถพัฒนาตนเองและ ปฏิบัติงานภายใต้กระแส การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ตลอดจนมีจิต บริการ และรับผิดชอบต่อสังคม | - การศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 |
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ ดังนี้ 1. ความรู้ ความเข้าใจด้านการจัดการสมัยใหม่และการประกอบธุรกิจแบบ องค์รวม 2. สามารถวิเคราะห์และจัดทำแผนธุรกิจชุมชน โดยใช้กระบวนการจัดการ อย่างสร้างสรรค์ 3. สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ และ ใช้เทคโนโลยี ดิจิทัลให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานด้านการจัดการ 4. มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 5. มีบุคลิกภาพเป็นนักบริหารจัดการ การทำงานเป็นทีม และพัฒนาตนเอง อย่างต่อเนื่อง | วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ ดังนี้ 1. มีความรู้ ความเข้าใจด้านการจัดการสมัยใหม่และการประกอบธุรกิจแบบองค์ รวม 2. สามารถวิเคราะห์และจัดทำแผนธุรกิจชุมชน โดยใช้กระบวนการจัดการอย่าง สร้างสรรค์ บูรณาการความรู้ในพัฒนาตนเองและทำงานร่วมกับชุมชน 3. สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ และ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานด้านการจัดการ 4. มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 5. มีบุคลิกภาพเป็นนักบริหารจัดการ การทำงานเป็นทีม และพัฒนาตนเองอย่าง ต่อเนื่อง | ปรับปรุงให้สอดคล้องตาม - ปรับให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ระดับอนุปริญญา - การเปลี่ยนแปลงด้านการประกอบ ธุรกิจในระดับชุมชนและระดับประเทศ ประกอบกับความก้าวหน้าด้าน เทคโนโลยีดิจิทัล โดยกำหนด วัตถุประสงค์ภายใต้แนวคิดการจัด การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome Based Education : OBE) - การศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 |
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 (3 ปี) | หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (2 ปี) | หมายเหตุ |
- สอดคล้องกับปรัชญาของสถาบันวิทยาลัย ชุมชน - ยุทธศาสตร์สถาบันวิทยาลัยชุมชน ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) - ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) - เป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) | ||
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLOs) PLO1 อธิบายทฤษฎี แนวคิดหลักการด้านการจัดการสมัยใหม่และการ ประกอบธุรกิจแบบองค์รวม PLO2 ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ด้านการจัดการ สมัยใหม่และแก้ไขปัญหาในการประกอบธุรกิจหรือการปฏิบัติงาน PLO3 ใช้ทักษะการสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการ ประกอบธุรกิจหรือการปฏิบัติงาน PLO4 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานด้าน บริหารจัดการ PLO5 ปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมจริยธรรม แสดงออกถึงความรับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคม PLO6 แสดงออกถึงบุคลิกภาพที่ดี ทำงานเป็นทีมและพัฒนาตนเองอย่าง ต่อเนื่อง | ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLOs) PLO1 ประยุกต์แนวคิดและหลักการ ด้านการจัดการ ด้านการจัดการ สมัยใหม่ในการประกอบธุรกิจชุมชน เพื่อตอบสนองตามความต้องการของ ชุมชนและท้องถิ่น PLO2 คิดสร้างสรรค์และประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนชุมชนในการ ออกแบบกระบวนการพัฒนาธุรกิจชุมชน PLO3 ประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลในการออกแบบวิธีการจัดการเพื่อ ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน PLO4 แสดงออกถึงคุณธรรม จริยธรรม จิตสาธารณะ และความรับผิดชอบ ในการประกอบอาชีพ PLO5 สามารถสื่อสารโดยใช้ภาษาไทย และภาษาอังกฤษในการสื่อสาร เพื่อ ประสานงานภายในและภายนอกองค์กรได้ | เป็นไปตามแนวคิดการจัดการศึกษาที่มุ่ง ผลลัพธ์ (Outcome Based Education : OBE) สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ ตามมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา ระดับ อนุปริญญา |
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 (3 ปี) | หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (2 ปี) | หมายเหตุ |
- | PLO6 แสดงออกภาวะการเป็นผู้นำ ทำงานเป็นทีม การเข้ากับวัฒนธรรม องค์กร รวมถึงสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ | |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 1. ผู้ประกอบการธุรกิจ 2. ผู้จัดการ หัวหน้า พนักงานฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการใน ภาคเอกชน เช่น ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายบริหารการผลิต ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายการตลาด ฝ่ายคลังสินค้า เป็นต้น 3. เจ้าหน้าที่ธุรการหรือพนักงานฝ่ายบริหารงานทั่วไปในหน่วยงาน ภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน 4. พนักงานองค์กรภาคสังคม | อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 1. ผู้ประกอบการธุรกิจ 2. ผู้จัดการ หัวหน้า พนักงานฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ งาน บุคคล จัดซื้อ การผลิต และการดำเนินงาน การตลาด การควบคุมสนค้าใน ภาคเอกชน 3. เจ้าหน้าที่ธุรการ พนักงานฝ่ายบริหารทั่วไปในหน่วยงานภารรัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน 4. พนักงานองค์กรภาคประชาสังคม 5. พนักงาน เจ้าหน้าที่ การตลาด / การขาย ออนไลน์ | |
โครงสร้างหลักสูตร หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต โดยมสี ัดส่วน หน่วย กิตแต่ละหมวดวิชา และแตล่ ะกลมวิชา ดังนี้ 1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 นก. 2. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 57 นก. 2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ จำนวน 24 นก. 2.2 กลุ่มวิชาชีพ 2.2.1 วิชาบังคับ 24 นก. 2.2.2 วิชาเลือก 6 นก. 2.2.3 วิชาการฝึกงาน 4 นก. 3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 3 นก. | โครงสร้างหลักสูตร หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต โดยมีสัดส่วนหน่วยกิต แต่ละหมวดวิชา และแตล่ ะกลุ่มวิชา ดังนี้ 1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 24 นก. 2. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 33 นก. 2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ จำนวน 15 นก. 2.2 กลุ่มวิชาชีพ 2.2.1 วิชาบังคับ 9 นก. 2.2.2 วิชาเลือก 6 นก. 2.2.3 วิชาการฝึกงาน 3 นก. 3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 3 นก. | ปรับปรุงให้สอดคล้องตาม - ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการ อุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐาน หลักสูตรระดับอนุปริญญา พ.ศ. 2565 |
ตารางที่ 4 เปรียบเทียบรายวิชาและคำอธิบายรายวิชา
1. หากมีการยกเลิกรายวิชา ให้ระบุข้อมูลในช่องหลักสูตรเดิมและเว้นว่างในช่องหลักสูตรใหม่ พร้อมระบุในช่องหมายเหตุว่า “ยกเลิกรายวิชา”
2. หากเป็นรายวิชาใหม่ที่ไม่ได้มีการปรับปรุงจากรายวช
าเดิมที่มีอยู่ในหลักสูตรเดิม ให้ระบุข้อมูลในช่องหลักสูตรใหม่และเวน
ว่างในช่องหลักสูตรเดิม พร้อมระบุในช่องหมายเหตุวา
“รายวชาใหม่”
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 (3 ปี) | หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (2 ปี) | หมายเหตุ |
ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ ประเภทและรูปแบบธุรกิจ องค์ประกอบ ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ด้านการจัดการ การผลิต การตลาด การบัญชี การเงิน และการจัดการบุคคล แนวทางการประกอบธุรกิจ ภาษีอากร เอกสารทางธุรกิจ ประเภทต่าง ๆ เครื่องมือทางธุรกิจสมัยใหม่ คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ ในยุคดิจิทัล รูปแบบแผนธุรกิจเบื้องต้น ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาในการดำเนิน ธุรกิจ จริยธรรมทางธุรกิจ | ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ ประเภทและรูปแบบธุรกิจ องค์ประกอบ ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ด้านการจัดการ การผลิต การตลาด การบัญชี การเงิน พื้นฐานการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และวางแผนอัตรากำลังคน แนวทางการ ประกอบธุรกิจ ภาษีอากร เอกสารทางธุรกิจประเภทต่าง ๆ เครื่องมือทางธุรกิจ สมัยใหม่ คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล รูปแบบแผนธุรกิจ เบื้องต้น ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาในการดำเนินธุรกิจ จริยธรรมทางธุรกิจ | ปรับปรุงรายวิชาให้มีความทันสมัยและ สอดคล้อง และครอบคลุมกับสาขาวิชา |
การจัดการสมัยใหม่ แนวคิดและทฤษฎีการจัดการ กระบวนการจัดการธุรกิจ เทคนิคและเครื่องมือ ทางการจัดการสมัยใหม่ การจัดการการเปลี่ยนแปลง การจัดการความรู้ การ จัดการความขัดแย้ง นวัตกรรมและเทคโนโลยีกับการจัดการ การประยุกต์ หลักการจัดการทางธุรกิจ ความรับผิดชอบต่อสังคมและจริยธรรมทางธุรกิจ | การจัดการสมัยใหม่ แนวคิดและทฤษฎีการจัดการ กระบวนการจัดการธุรกิจ เทคนิคและเครื่องมือ ทางการจัดการสมัยใหม่ การจัดการการเปลี่ยนแปลง การจัดการความรู้ การ จัดการความขัดแย้ง นวัตกรรมและเทคโนโลยีกับการจัดการ การประยุกต์ หลักการจัดการทางธุรกิจ ความรับผิดชอบต่อสังคมและจริยธรรมทางธุรกิจ | |
หลักการบัญชี หลักการ แม่บทการบัญชี สมการบัญชี การวิเคราะห์รายการค้า การบันทึกรายการ ค้าในสมุดรายวัน สมุดบัญชีแยกประเภท งบทดลองและกระดาษทำการ การ ปรับปรุงบัญชี ปิดบัญชี การทำงบการเงินของกิจการให้บริการและกิจการซื้อมา ขายไป และการบัญชีสำหรับกิจการที่เข้าจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จรรยาบรรณ ของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี | หลักการบัญชี หลักการ แม่บทการบัญชี สมการบัญชี การวิเคราะห์รายการค้า การบันทึกรายการ ค้าในสมุดรายวัน สมุดบัญชีแยกประเภท งบทดลองและกระดาษทำการ การ ปรับปรุงบัญชี ปิดบัญชี การทำงบการเงินของกิจการให้บริการและกิจการซื้อมา ขายไป และการบัญชีสำหรับกิจการที่เข้าจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จรรยาบรรณ ของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี |
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 (3 ปี) | หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (2 ปี) | หมายเหตุ |
การเงินธุรกิจ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการทางการเงินของธุรกิจ ขอบเขต ลักษณะ บทบาทและหน้าที่ ของฝ่ายการเงินในองค์กร เป้าหมายและความสำคัญของ การเงินธุรกิจ สภาพแวดล้อมทางการเงิน ทฤษฎีการเงินเบื้องต้น การวิเคราะห์ ทางการเงิน การบริหารสินทรัพย์ของธุรกิจ มูลค่าของเงินตามเวลา การจัดหา เงินทุน ต้นทุนเงินทุนของธุรกิจ การวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลตอบแทน การ จัดสรรกำไรและการปันผล การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนในการดำเนินงานด้านการเงิน ธุรกิจ | การเงินธุรกิจ หลักการ แม่บทการบัญชี สมการบัญชี การวิเคราะห์รายการค้า การบันทึกรายการ ค้าในสมุดรายวัน สมุดบัญชีแยกประเภท งบแสดงฐานะทางการเงิน และการบัญชี สำหรับกิจการที่เข้าจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้นทุนเงินทุนของธุรกิจ การ วิเคราะห์ทางการเงิน การวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลตอบแทน การจัดสรรกำไร และการปันผล จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี | เพิ่มเนื้อหาในรายวิชา ปรับปรุงให้เนื้อหา ให้มีความทันสมัยและสอดคล้อง |
เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ หลักการ ทฤษฎีขั้นพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค เพื่อเป็น พื้นฐานในการตัดสินใจทางธุรกิจ อุปสงค์ อุปทาน พฤติกรรมผู้บริโภค ทฤษฎี การผลิต ต้นทุนการผลิต รายรับ การกำหนดราคาของตลาด กำไรทางธุรกิจ และ กำไรทางเศรษฐศาสตร์ ดุลยภาพของหน่วยผลิตในตลาดต่าง ๆ รายได้ ประชาชาติ การเงิน และการธนาคาร นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง การค้า และการเงินระหว่างประเทศ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพลวัตทางเศรษฐกิจที่มี ผลกระทบต่อการตัดสินใจดำเนินการทางธุรกิจ | เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ หลักการ ทฤษฎีขั้นพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค เพื่อเป็น พื้นฐานในการตัดสินใจทางธุรกิจ อุปสงค์ อุปทาน พฤติกรรมผู้บริโภค ทฤษฎี การผลิต ต้นทุนการผลิต รายรับ การกำหนดราคาของตลาด กำไรทางธุรกิจ และ กำไรทางเศรษฐศาสตร์ ดุลยภาพของหน่วยผลิตในตลาดต่าง ๆ รายได้ ประชาชาติ การเงิน และการธนาคาร นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง การค้า และการเงินระหว่างประเทศ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพลวัตทางเศรษฐกิจที่มี ผลกระทบต่อการตัดสินใจดำเนินการทางธุรกิจ | |
การจัดการทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ แนวคิดการจัดการทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ การวิเคราะห์งาน การวางแผนการ วางอัตรากำลัง การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรในยุคดิจิทัล การบริหาร ค่าตอบแทน การฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การประเมินผลการ ปฏิบัติงาน การบริหารค่าตอบแทนและผลประโยชน์เกื้อกูล แรงงานสัมพันธ์และ ความผูกพัน ในองค์กร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในกระบวนการจัดการ ทรัพยากรมนุษย์ จริยธรรมทางการจัดการทรัพยากรมนุษย์ | การจัดการทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ แนวคิดการจัดการทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ การวิเคราะห์งาน การวางแผนการ วางอัตรากำลัง การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรในยุคดิจิทัล การบริหาร ค่าตอบแทน การฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การประเมินผลการ ปฏิบัติงาน การบริหารค่าตอบแทนและผลประโยชน์เกื้อกูล แรงงานสัมพันธ์และ ความผูกพัน ในองค์กร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในกระบวนการจัดการ ทรัพยากรมนุษย์ จริยธรรมทางการจัดการทรัพยากรมนุษย์ |
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 (3 ปี) | หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (2 ปี) | หมายเหตุ |
การตลาดสมัยใหม่ ความหมายและความสำคัญของการตลาด แนวความคิดการตลาดสมัยใหม่ หน้าที่และระบบทางการตลาด ส่วนประสมทางการตลาด การแบ่งส่วนตลาด ตลาดเป้าหมาย การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ทางการตลาด กลยุทธ์การตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค การตลาดดิจิทัล องค์ประกอบการตลาดดิจิทัล เครื่องมือการตลาดดิจิทัล การนำเทคโนโลยีมา ประยุกต์ใช้ในงานด้านการตลาด จริยธรรมทางการตลาดและความรบผิดชอบต่อ สังคม | การตลาดสมัยใหม่ ความหมายและความสำคัญของการตลาด แนวความคิดการตลาดสมัยใหม่ หน้าที่และระบบทางการตลาด ส่วนประสมทางการตลาด การแบ่งส่วนตลาด ตลาดเป้าหมาย การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทาง การตลาด กลยุทธ์การตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค การตลาดดิจิทัล องค์ประกอบ การตลาดดิจิทัล เครื่องมือการตลาดดิจิทัล การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ใน งานด้านการตลาด จริยธรรมทางการตลาดและความรับผิดชอบต่อสังคม | |
การจัดการสำนักงานสมัยใหม่ แนวคิดในการจัดการสำนักงาน สำนักงานเสมือนจริง บทบาทและหน้าที่ สำนักงาน ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน กระบวนการจัดการสำนักงาน การจัดผัง สำนักงาน การจัดสภาพแวดล้อมในสำนักงาน งานสารบรรณ การบริหารงาน เอกสาร อุปกรณ์และเทคโนโลยีสำหรับสำนักงานสมัยใหม่ การจัดระบบ วิธีการ ปฏิบัติงานสำนักงานอย่างคุ้มค่า การจัดการข้อมูลสารสนเทศและการนํา เครื่องมือที่ทันสมัยเข้ามาสนับสนุนงานสำนักงานอย่างมีประสิทธิภาพและฝึก ปฏิบัติงานสำนักงาน | การจัดการสำนักงานสมัยใหม่ แนวคิดในการจัดการสำนักงานสมัยใหม่ งานสารบรรณ การเขียนโครงการ การ เขียนรายงาน การบริหารงานเอกสาร อุปกรณ์และเทคโนโลยีสำหรับสำนักงาน สมัยใหม่ การจัดระบบ วิธีการปฏิบัติงานสำนักงานอย่างคุ้มค่า การจัดการข้อมูล สารสนเทศและการนําเครื่องมือที่ทันสมัยเข้ามาสนับสนุนงานสำนักงานอย่างมี ประสิทธิภาพและฝึกปฏิบัติงานสำนักงาน | เพิ่มเนื้อหาในรายวิชา ปรับปรุงให้เนื้อหา ให้มีความทันสมัยและสอดคล้อง |
พื้นฐานการประกอบธุรกิจ ลักษณะของธุรกิจประเภทต่างๆ องค์ประกอบที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การจัดการ การตลาด การผลิต การบริหารบุคคล การ บัญชีและการเงิน การบริหาร เอกสารทางธุรกิจ แนวทางการประกอบธุรกิจ การ ประกันภัย และปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ และจรรยาบรรณของนักธุรกิจ เรียนรู้จากกรณีศึกษา ผู้ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ | พื้นฐานการประกอบธุรกิจ ลักษณะของธุรกิจประเภทต่างๆ องค์ประกอบที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การจัดการ การตลาด การผลิต การบริหารบุคคล การ บัญชีและการเงิน การบริหาร เอกสารทางธุรกิจ แนวทางการประกอบธุรกิจ การ ประกันภัย และปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ และจรรยาบรรณของนักธุรกิจ เรียนรู้จากกรณีศึกษา ผู้ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ |
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 (3 ปี) | หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (2 ปี) | หมายเหตุ |
การจัดการเชิงกลยุทธ์ แนวคิด กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ เครื่องมือทางธุรกิจ แนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ ทันสมัย การกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ การควบคุมและ ประเมินผลกลยุทธ์ ความรับผิดชอบต่อสังคมและจริยธรรมทางธุรกิจ | การจัดการเชิงกลยุทธ์ แนวคิด กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ เครื่องมือทางธุรกิจ แนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ ทันสมัย การกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ การควบคุมและ ประเมินผลกลยุทธ์ ความรับผิดชอบต่อสังคมและจริยธรรมทางธุรกิจ | |
การจัดการนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง แนวทางการจัดการ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนวัตกรรม การจัดการนวัตกรรม และการเปลี่ยนแปลง การคิดด้วยรูปแบบ การคิดเชิงออกแบบ การสร้างสรรค์ นวัตกรรมการจัดการเชิงกลยุทธ์ธุรกิจด้วยแผนธุรกิจอย่างง่าย การประเมินความ เป็นไปได้ทางธุรกิจและความรู้เกี่ยวกับประเภททรัพย์สินทางปัญญาและความ คุ้มครองเชิงพาณิชย์ | การจัดการนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง แนวทางการจัดการ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนวัตกรรม การจัดการนวัตกรรม และการเปลี่ยนแปลง การคิดด้วยรูปแบบ การคิดเชิงออกแบบ การสร้างสรรค์ นวัตกรรมการจัดการเชิงกลยุทธ์ธุรกิจด้วยแผนธุรกิจอย่างง่าย การประเมินความ เป็นไปได้ทางธุรกิจและความรู้เกี่ยวกับประเภททรัพย์สินทางปัญญาและความ คุ้มครองเชิงพาณิชย์ | |
การประกอบธุรกิจชุมชนในยุคดิจิทัล แนวคิดธุรกิจชุมชน คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนในยุค ดิจิทัล การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการธุรกิจชุมชน การจัดตั้งธุรกิจชุมชน แนวทางการจัดการธุรกิจชุมชน และปัจจัยความสำเร็จ การเขียนแผนธุรกิจชุมชน จริยธรรมทางธุรกิจ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ชุมชน ผลกระทบของธุรกิจต่อชุมชนและฝึกปฏิบัติ | การประกอบธุรกิจชุมชนในยุคดิจิทัล แนวคิดธุรกิจชุมชน คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนในยุค ดิจิทัล การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการธุรกิจชุมชน การจัดตั้งธุรกิจชุมชน แนวทางการจัดการธุรกิจชุมชน และปัจจัยความสำเร็จ การเขียนแผนธุรกิจชุมชน จริยธรรมทางธุรกิจ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ชุมชน ผลกระทบของธุรกิจต่อชุมชนและฝึกปฏิบัติ | |
การวิจัยทางธุรกิจ ความสำคัญของการวิจัยทางธุรกิจ จรรยาบรรณของนักวิจัย กระบวนการวิจัย ทางธุรกิจ สถิติเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การทำรายงานการวิจัยตามรูปแบบการวิจัย | การวิจัยทางธุรกิจ ความสำคัญของการวิจัยทางธุรกิจ จรรยาบรรณของนักวิจัย กระบวนการวิจัย ทางธุรกิจ สถิติเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การทำรายงานการวิจัยตามรูปแบบการวิจัย |
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 (3 ปี) | หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (2 ปี) | หมายเหตุ |
การจัดการโครงการ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโครงการ การวางแผนโครงการ กระบวนการในการวางแผน ประเภทของแผน ข้อดีและข้อจำกัดของการวางแผน บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการ วางแผน ลักษณะของแผนที่ดี การวางแผนภายใต้ภาวะที่เปลี่ยนแปลง การศึกษา ความเป็นไปได้ของโครงการ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่องาน การ วางแผนปฏิบัติงาน ร่วมพัฒนาทีมในการทำโครงการ ร่วมแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ในการดำเนินโครงการ งบประมาณโครงการ การบริหารความเสี่ยงของโครงการ การควบคุมโครงการ และการประเมินโครงการ | การจัดการโครงการ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโครงการ การวางแผนโครงการ กระบวนการในการวางแผน ประเภทของแผน ข้อดีและข้อจำกัดของการวางแผน บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการ วางแผน ลักษณะของแผนที่ดี การวางแผนภายใต้ภาวะที่เปลี่ยนแปลง การศึกษา ความเป็นไปได้ของโครงการ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่องาน การ วางแผนปฏิบัติงาน ร่วมพัฒนาทีมในการทำโครงการ ร่วมแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ในการดำเนินโครงการ งบประมาณโครงการ การบริหารความเสี่ยงของโครงการ การควบคุมโครงการ และการประเมินโครงการ | |
ภาษาอังกฤษธุรกิจ การใช้ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับงานธุรกิจ การฟังและการเล่าเรื่องสินค้า การให้ ข้อมูลสินค้าและบริการ การอ่านเอกสารจากสื่อต่าง ๆ และคู่มือปฏิบัติงาน การ โต้ตอบบนกระดานสนทนา การเขียนประวัติส่วนตัวโดยย่อ การเขียนจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ การใช้แอปพลิเคชันสำหรับการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน และการสนทนาตามสถานการณ์ต่าง ๆ ทางธุรกิจ | ภาษาอังกฤษธุรกิจ การใช้ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับงานธุรกิจ การฟังและการเล่าเรื่องสินค้า การให้ ข้อมูลสินค้าและบริการ การอ่านเอกสารจากสื่อต่าง ๆ และคู่มือปฏิบัติงาน การ โต้ตอบบนกระดานสนทนา การเขียนประวัติส่วนตัวโดยย่อ การเขียนจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ การใช้แอปพลิเคชันสำหรับการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน และการสนทนาตามสถานการณ์ต่าง ๆ ทางธุรกิจ | |
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ บทบาทสำคัญของระบบสารสนเทศกับองค์กร โครงสร้างพื้นฐานของระบบ สารสนเทศ การจัดการทรัพยากรข้อมูล เครือข่ายและการสื่อสารโทรคมนาคม ทางธุรกิจ ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ โซ่อุปทานและแอปพลิเคชันระดับองคกร E-Commerce M-Commerce และ E-Payment Systems ระบบสนับสนุน การตัดสินใจ ระบบปัญญาประดิษฐ์ การสร้างระบบและการรักษาความ ปลอดภัยระบบสารสนเทศ จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ | ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ บทบาทสำคัญของระบบสารสนเทศกับองค์กร โครงสร้างพื้นฐานของระบบ สารสนเทศ การจัดการทรัพยากรข้อมูล เครือข่ายและการสื่อสารโทรคมนาคม ทางธุรกิจ ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ โซ่อุปทานและแอปพลิเคชันระดับองค์กร E-Commerce M-Commerce และ E-Payment Systems ระบบสนับสนุน การตัดสินใจ ระบบปัญญาประดิษฐ์ การสร้างระบบและการรักษาความ ปลอดภัยระบบสารสนเทศ จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ |
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 (3 ปี) | หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (2 ปี) | หมายเหตุ |
การบัญชีเพื่อการจัดการ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจการค้าสมัยใหม่ กฎหมายธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายสิทธิบัตร กฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายเครื่องหมาย การค้า กฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้ พระราชบัญญัติอาหาร ระเบียบ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขายอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งจริยธรรมที่สำคัญของ ผู้บริหาร บุคลากรและสิ่งแวดล้อม | การบัญชีเพื่อการจัดการ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจการค้าสมัยใหม่ กฎหมายธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายสิทธิบัตร กฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายเครื่องหมาย การค้า กฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้ พระราชบัญญัติอาหาร ระเบียบ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขายอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งจริยธรรมที่สำคัญของ ผู้บริหาร บุคลากรและสิ่งแวดล้อม | |
กฎหมายธุรกิจ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจการค้าสมัยใหม่ กฎหมายธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายสิทธิบัตร กฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายเครื่องหมาย การค้า กฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้ พระราชบัญญัติอาหาร ระเบียบ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขายอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งจริยธรรมที่สำคัญของ ผู้บริหาร บุคลากรและสิ่งแวดล้อม | กฎหมายธุรกิจ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจการค้าสมัยใหม่ กฎหมายธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายสิทธิบัตร กฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายเครื่องหมาย การค้า กฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้ พระราชบัญญัติอาหาร ระเบียบ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขายอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งจริยธรรมที่สำคัญของ ผู้บริหาร บุคลากรและสิ่งแวดล้อม | |
จิตวิทยาธุรกิจและการพัฒนาบุคลิกภาพทางธุรกิจ การใช้จิตวิทยาในการบริหารธุรกิจ ความสามารถในการบริหารบุคลิกภาพเชิง ธุรกิจ กลวิธีในการเข้าใจผู้อื่น การให้คำปรึกษาและชี้แนะ การจูงใจผู้ร่วมงาน จิตวิทยาในการบริหารงานในการแข่งขันเชิงธุรกิจ การปรับตัวทางสังคมและการ ตัดสินใจทำงานร่วมกับผู้อื่น จิตวิทยาของกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน และจิตวิทยาสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน จริยธรรมทางธุรกิจและสามารถ นําเอามาประยุกต์ใช้ในการทำงาน | จิตวิทยาธุรกิจและการพัฒนาบุคลิกภาพทางธุรกิจ การใช้จิตวิทยาในการบริหารธุรกิจ ความสามารถในการบริหารบุคลิกภาพเชิง ธุรกิจ กลวิธีในการเข้าใจผู้อื่น การให้คำปรึกษาและชี้แนะ การจูงใจผู้ร่วมงาน จิตวิทยาในการบริหารงานในการแข่งขันเชิงธุรกิจ การปรับตัวทางสังคมและการ ตัดสินใจทำงานร่วมกับผู้อื่น จิตวิทยาของกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน และจิตวิทยาสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน จริยธรรมทางธุรกิจและสามารถ นําเอามาประยุกต์ใช้ในการทำงาน |
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 (3 ปี) | หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (2 ปี) | หมายเหตุ |
การจัดการดำเนินงาน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการดำเนินงาน สินค้า บริการ วงจรการให้บริการ การเลือกทำเลที่ตั้ง การวางแผนกำลังการผลิต การวางผังสถานประกอบการ การ พยากรณ์การผลิต การจัดการคุณภาพเบื้องต้น การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การ จัดการสินค้าคงคลัง การออกแบบงาน มาตรฐานการปฏิบัติงาน การจัดการ บำรุงรักษาและความปลอดภัย และแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 | การจัดการดำเนินงาน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการดำเนินงาน สินค้า บริการ วงจรการให้บริการ การเลือกทำเลที่ตั้ง การวางแผนกำลังการผลิต การวางผังสถานประกอบการ การ พยากรณ์การผลิต การจัดการคุณภาพเบื้องต้น การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การ จัดการสินค้าคงคลัง การออกแบบงาน มาตรฐานการปฏิบัติงาน การจัดการ บำรุงรักษาและความปลอดภัย และแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 | |
การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ความสำคัญ ของระบบโลจิสติกส์และชัพพลายเชนต่อระบบเศรษฐกิจและองค์กร บทบาท ของโลจิสติกส์ในการจัดการซัพพลายเชน กิจกรรมในระบบโลจิสติกส์ แนวโน้ม ของโลจิสติกส์ต่อระบบเศรษฐกิจ การบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์สมัยใหม่ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน | จัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ความสำคัญ ของระบบโลจิสติกส์และชัพพลายเชนต่อระบบเศรษฐกิจและองค์กร บทบาท ของโลจิสติกส์ในการจัดการซัพพลายเชน กิจกรรมในระบบโลจิสติกส์ แนวโน้ม ของโลจิสติกส์ต่อระบบเศรษฐกิจ การบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์สมัยใหม่ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน | |
ความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจ แนวคิดของความคิดสร้างสรรค์ ลักษณะของผู้มีความคิดสร้างสรรค์ กระบวนการ และการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ความคิดนอกกรอบ การฝึกคิดในเชิงบวก การออกแบบและใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ กรณีศึกษาที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจ การฝึก การสร้างผลงานธุรกิจ ด้วยกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ | ความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจ แนวคิดของความคิดสร้างสรรค์ ลักษณะของผู้มีความคิดสร้างสรรค์ กระบวนการ และการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ความคิดนอกกรอบ การฝึกคิดในเชิงบวก การออกแบบและใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ กรณีศึกษาที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจ การฝึก การสร้างผลงานธุรกิจ ด้วยกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ | |
การตลาดดิจิทัล แนวความคิดทางด้านการตลาด การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านการตลาดกับการ บริหารเทคโนโลยี การตลาดดิจิทัลและการตลาดออนไลน์ การตลาดกลไกสืบค้น รายได้ต่อคลิก (Pay Per Click) การวิเคราะห์ การวางแผน และกลยุทธ์ทาง | การตลาดดิจิทัล แนวความคิดทางด้านการตลาด การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านการตลาดกับการ บริหารเทคโนโลยี การตลาดดิจิทัลและการตลาดออนไลน์ การตลาดกลไกสืบค้น รายได้ต่อคลิก (Pay Per Click) การวิเคราะห์ การวางแผน และกลยุทธ์ทาง |
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 (3 ปี) | หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (2 ปี) | หมายเหตุ |
การตลาดดิจิทัล การตลาดโดยการอาศัยการแสดงผล อีเมล สื่อสังคม อุปกรณ์ เคลื่อนที่ | การตลาดดิจิทัล การตลาดโดยการอาศัยการแสดงผล อีเมล สื่อสังคม อุปกรณ์ เคลื่อนที่ | |
การเจรจาต่อรองทางธุรกิจ ความสำคัญ องค์ประกอบ รูปแบบและการใช้ภาษาในสื่อสารทางธุรกิจ แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ ปัจจัยในการเจรจาต่อรอง ทางธุรกิจ กระบวนการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ การวิเคราะห์สถานการณ์และวาง แผนการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ การโน้มน้าวคู่เจรจาและกลวิธีในการเจรจา ต่อรองทางธุรกิจ แนวทางการเจรจาต่อรองทางธุรกิจอย่างมีจริยธรรมด้วย การ ฝึกปฏิบัติและการใช้กรณีศึกษาบทเรียนความสำเร็จและความล้มเหลวของการ เจรจาต่อรองทางธุรกิจ | การเจรจาต่อรองทางธุรกิจ ความสำคัญ องค์ประกอบ รูปแบบและการใช้ภาษาในสื่อสารทางธุรกิจ แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ ปัจจัยในการเจรจาต่อรอง ทางธุรกิจ กระบวนการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ การวิเคราะห์สถานการณ์และวาง แผนการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ การโน้มน้าวคู่เจรจาและกลวิธีในการเจรจา ต่อรองทางธุรกิจ แนวทางการเจรจาต่อรองทางธุรกิจอย่างมีจริยธรรมด้วย การ ฝึกปฏิบัติและการใช้กรณีศึกษาบทเรียนความสำเร็จและความล้มเหลวของการ เจรจาต่อรองทางธุรกิจ | |
มัลติมีเดียทางธุรกิจ หลักการ แนวคิด และองค์ประกอบของมัลติมีเดีย การเลือกใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์และแอปพลิเคชันในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย การ ประยุกต์ใช้โปรแกรมมัลติมีเดียเพื่อใช้ในธุรกิจ คุณธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้องใน การสร้างมัลติมีเดีย | มัลติมีเดียทางธุรกิจ หลักการ แนวคิด และองค์ประกอบของมัลติมีเดีย การเลือกใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์และแอปพลิเคชันในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย การ ประยุกต์ใช้โปรแกรมมัลติมีเดียเพื่อใช้ในธุรกิจ คุณธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้องใน การสร้างมัลติมีเดีย | |
ภาษาอังกฤษในสำนักงาน ผังองค์กร ตำแหน่งและหน้าที่รับผิดชอบ การใช้อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน การ สนทนาต้อนรับลูกค้า การนัดหมาย การพูดโต้ตอบทางโทรศัพท์ การฝากและการ รับข้อความทางโทรศัพท์ การจัดประชุม การเขียนประกาศ และการบันทึกข้อมูล สั้น ๆ ที่ใช้ในงานธุรกิจ | ภาษาอังกฤษในสำนักงาน ผังองค์กร ตำแหน่งและหน้าที่รับผิดชอบ การใช้อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน การ สนทนาต้อนรับลูกค้า การนัดหมาย การพูดโต้ตอบทางโทรศัพท์ การฝากและการ รับข้อความทางโทรศัพท์ การจัดประชุม การเขียนประกาศ และการบันทึกข้อมูล สั้น ๆ ที่ใช้ในงานธุรกิจ |
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 (3 ปี) | หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (2 ปี) | หมายเหตุ |
ภาษีอากรทางธุรกิจ ความรู้เกี่ยวกับภาษีอากร หน้าที่ผู้เสียภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้ นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษี ท้องถิ่น หลักเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากรและการยื่นแบบแสดงรายการเสีย ภาษี รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับภาษีอากรธุรกิจ | ภาษีอากรทางธุรกิจ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจการค้าสมัยใหม่ กฎหมายธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายสิทธิบัตร กฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายเครื่องหมาย การค้า กฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้ ความรู้เกี่ยวกับภาษีอากร หน้าที่ ผู้เสียภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่ จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับภาษีอากร การ ปฏิบัติตนตามกฎหมายในภาคธุรกิจอย่างมีจริยธรรมทางธุรกิจ | เพิ่มเนื้อหาในรายวิชา ปรับปรุงให้เนื้อหา ให้มีความทันสมัยและสอดคล้อง |
การบัญชีเพื่อการจัดการ บทบาทและหน้าที่ของการบัญชีเพื่อการจัดการ แนวคิดและประเภทของต้นทุน การวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณและกำไร วิเคราะห์งบการเงิน การจัดทำ งบประมาณ การใช้สารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการจัดการ และการตัดสินใจใน การดำเนินงานทางธุรกิจ การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในงานบัญชี หมายเหตุ ต้องผ่านวิชาหลักการบัญชี มาก่อน | การบัญชีเพื่อการจัดการ บทบาทและหน้าที่ของการบัญชีเพื่อการจัดการ แนวคิดและประเภทของตนทุน การวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณและกำไร วิเคราะห์งบการเงิน การจัดทำ งบประมาณ การใช้สารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการจัดการ และการตัดสินใจใน การดำเนินงานทางธุรกิจ การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในงานบัญชี หมายเหตุ ต้องผ่านวิชาหลักการบัญชี มาก่อน | |
สัมมนาทางการจัดการ วิเคราะห์ปัญหาสำคัญต่าง ๆ ในองค์กรธุรกิจ กระบวนการตัดสินใจในองค์กรธุรกิจ การแก้ปัญหาทางธุรกิจโดยใช้พื้นความรู้ทางหลักการทฤษฎี การสืบค้นความรู้ใหม่ ๆ ทางด้านการจัดการ เพื่อหาทางแก้ใขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งใช้ กรณีศึกษา ดำเนินการวางแผนและกระบวนการจัดการสัมมนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการแสดงความคิดเห็นในการสัมมนาเชิงวิชาการ | สัมมนาทางการจัดการ วิเคราะห์ปัญหาสำคัญต่าง ๆ ในองค์กรธุรกิจ กระบวนการตัดสินใจในองค์กรธุรกิจ การแก้ปัญหาทางธุรกิจโดยใช้พื้นความรู้ทางหลักการทฤษฎี การสืบค้นความรู้ใหม่ ๆ ทางด้านการจัดการ เพื่อหาทางแก้ใขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งใช้ กรณีศึกษา ดำเนินการวางแผนและกระบวนการจัดการสัมมนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการแสดงความคิดเห็นในการสัมมนาเชิงวิชาการ |
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 (3 ปี) | หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (2 ปี) | หมายเหตุ |
หัวข้อคัดสรรด้านการจัดการ 1 เลือกประเด็นที่ทันสมัย/ปัญหา/ความจำเป็นสำหรับการนำไปใช้งานในสาขาวิชา การจัดการ | หัวข้อคัดสรรด้านการจัดการ 1 เลือกประเด็นที่ทันสมัย/ปัญหา/ความจำเป็นสำหรับการนำไปใช้งานในสาขาวิชา การจัดการ | |
หัวข้อคัดสรรด้านการจัดการ 2 เลือกประเด็นที่ทันสมัย/ปัญหา/ความจำเป็นสำหรับการนำไปใช้งานในสาขาวิชา การจัดการ | หัวข้อคัดสรรด้านการจัดการ 2 เลือกประเด็นที่ทันสมัย/ปัญหา/ความจำเป็นสำหรับการนำไปใช้งานในสาขาวิชา การจัดการ | |
การฝึกประสบการณ์ ฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการหรือองค์กร เริ่มการจัดทำแผนการฝึก ประสบการณ์ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ กระบวนการทำงาน การ ประเมินผลการทำงานและการปรับปรุงคุณภาพงานภายใต้คำแนะนำช่วยเหลือ ของผู้มีประสบการณ์ | การฝึกประสบการณ์ ฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการหรือองค์กร เริ่มการจัดทำแผนการฝึก ประสบการณ์ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ กระบวนการทำงาน การ ประเมินผลการทำงานและการปรับปรุงคุณภาพงานภายใต้คำแนะนำช่วยเหลือ ของผู้มีประสบการณ์ |
การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างหลักสูตรอนุปริญญาของสถาบันวิทยาลัยชุมชนและหลักสูตรอนุปริญญาของ วิทยาลัยชุมชน
หลักสูตรอนุปริญญาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการบริการ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 ของวิทยาลัยชุมชนตราด
หัวข้อ | การแก้ไข | รายละเอียดการแก้ไข | |
แก้ไข | ไม่ แก้ไข | ||
1. ชื่ออนุปริญญา และสาขาวิชา | |||
1.1 ชื่อหลักสูตร | 🗸 | ||
1.2 ชื่ออนุปริญญาและสาขาวิชา | 🗸 | ||
2. ปรัชญา วัตถุประสงค์ และผลลัพธ์การเรียนรู้ | |||
2.1 ปรัชญา | 🗸 | ||
2.2 วัตถุประสงค์ | 🗸 | ภาคผนวก ตารางที่ 2 | |
2.3 ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร | 🗸 | ภาคผนวก ตารางที่ 2 | |
2.4 ความสำคัญของหลักสูตร | 🗸 | ภาคผนวก ตารางที่ 2 | |
2.5 อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา | 🗸 | ภาคผนวก ตารางที่ 2 | |
3. ระบบและกลไกในการพัฒนาหลักสูตร | |||
3.1 ทิศทางการพัฒนาประเทศที่สอดคล้องกับการ พัฒนาหลักสูตร | 🗸 | เพิ่มเติมเป้าหมายการพัฒนาพื้นที่จังหวัด ตราด | |
3.2 ความสอดคล้องกับพันธ์กิจและยุทธศาสตร์ของ สถาบนั กลุ่มพัฒนาท้องถิ่นหรือชุมชนอนื่ | 🗸 | เพิ่มเติมข้อมูลแผนพัฒนาจังหวัดตราด | |
3.3 การรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและ กระบวนการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ | 🗸 | เน้นการทำธุรกิจชุมชน | |
4. โครงสร้างหลักสูตร รายวิชา และหน่วยกิต | |||
4.1 จำนวนหน่วยกิตรวมและระยะเวลาการศึกษา | 🗸 | ภาคผนวก ตารางที่ 1 | |
4.2 โครงสร้างของหลักสูตร | 🗸 | ภาคผนวก ตารางที่ 1 | |
4.3 รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร | 🗸 | ภาคผนวก ตารางที่ 3 | |
4.4 คำอธิบายรายวิชา | 🗸 | ภาคผนวก ตารางที่ 4 | |
5. การจัดกระบวนการเรียนรู้ | |||
5.1 รูปแบบของหลักสูตร | 🗸 | ปรับให้สอดคล้องกับ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต ระยะเวลาการศึกษาปกติ 2 ปี) | |
5.2 ระบบการจัดการศึกษา | 🗸 |
หัวข้อ | การแก้ไข | รายละเอียดการแก้ไข | |
แก้ไข | ไม่ แก้ไข | ||
5.3 ระยะเวลาของการดำเนินการจัดการเรียนการสอน | 🗸 | ||
5.4 รูปแบบการศึกษา | 🗸 | ปรับให้สอดคล้องกับ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต ระยะเวลาการศึกษาปกติ 2 ปี) | |
5.5 แผนการรับนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาฯ | 🗸 | ||
5.6 แผนการจัดการศึกษาตลอดหลักสูตร | 🗸 | ปรับให้สอดคล้องกับ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต ระยะเวลาการศึกษาปกติ 2 ปี) | |
5.7 ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับ หลักสูตรกับผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา | 🗸 | ปรับให้สอดคล้องกับ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต ระยะเวลาการศึกษาปกติ 2 ปี) | |
5.8 ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร กลยุทธ์การเรียน การสอน และการประเมินผล | 🗸 | ปรับให้สอดคล้องกับ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต ระยะเวลาการศึกษาปกติ 2 ปี) | |
5.9 ผลลัพธ์การเรียนรู้ กระบวนการฝึกประสบการณ์ และการประเมินผลในรายวิชาฝกประสบการณ์ | 🗸 | ปรับให้สอดคล้องกับ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต ระยะเวลาการศึกษาปกติ 2 ปี) | |
5.10 ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับ หลักสูตร และระดับรายวิชา | 🗸 | ปรับให้สอดคล้องกับ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต ระยะเวลาการศึกษาปกติ 2 ปี) | |
5.11 ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปี การศึกษา (YLOs) | 🗸 | ปรับให้สอดคล้องกับ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต ระยะเวลาการศึกษาปกติ 2 ปี) | |
5.12 การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา | 🗸 | ปรับให้สอดคล้องกับ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 (ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต ระยะเวลาการศึกษาปกติ 2 ปี) | |
6. ความพร้อมและศักยภาพในการบริหารจัดการ หลักสูตร | |||
6.1 สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ เห็นชอบหลักสูตร | 🗸 | ||
6.2 สถานที่จัดการเรียนการสอน | 🗸 | ปรับให้เข้ากับบริบทของวิทยาลัยชุมชน ตราด |
หัวข้อ | การแก้ไข | รายละเอียดการแก้ไข | |
แก้ไข | ไม่ แก้ไข | ||
6.3 งบประมาณตามแผน | 🗸 | ปรับให้เข้ากับบริบทของวิทยาลัยชุมชน ตราด | |
6.4 ค่าธรรมเนียมการศึกษา | 🗸 | ปรับให้เข้ากับบริบทของวิทยาลัยชุมชน ตราด | |
6.5 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร | 🗸 | ปรับให้เข้ากับบริบทของวิทยาลัยชุมชน ตราด | |
7. คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา | |||
7.1 คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา | 🗸 | ||
7.2 การรับนักศึกษา | 🗸 | ||
8. การประเมินผลการเรียนรู้และเกณฑ์การสำเร็จ การศึกษา | |||
8.1 การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ | 🗸 | ||
8.2 เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา | 🗸 | ||
9. การประกันคุณภาพหลักสูตร | |||
9.1 กระบวนการการประกันคุณภาพหลักสูตร | 🗸 | ||
9.2 ระบบการบริหารคุณภาพหลักสูตร | 🗸 | ||
9.3 การบริหารจัดการความเสี่ยง | 🗸 | ปรับให้เข้ากับบริบทของวิทยาลัยชุมชน ตราด | |
9.4 การอุทธรณ์ของนักศึกษา | 🗸 | ||
9.5 การเผยแพร่หลักสูตร | 🗸 | ปรับให้เข้ากับบริบทของวิทยาลัยชุมชน ตราด |