งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นกระบวนการที่คนในชุมชนได้มาร่วมคิดทบทวนสถานการณ์ ตั้งคําถาม วางแผน หาข้อมูล ทดลองทํา วิเคราะห์ สรุปผลการทํางานและหาคําตอบเพื่อปรับปรุงงานต่อไป กล่าวคือ งานวิจัยเพื่อท้องถ่ินเป็นเครื่องมือหนึ่งที่เนนการให้ “คน”...
รายงานฉบับสมบูรณ
โครงการ
“แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวย โดยชุมชนมีส่วนร่วมในพื้นที่เทศบาลตําบลโพธ์ิกระสงข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ”
โดย
xxxxxxx xxxxxxx และคณะ
สนับสนุนโดย
สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อxxxxxxx
บอกเล่าเพ่ือความเข้าใจร่วมกัน
งานวิจัยเพื่อxxxxxxxxเป็นxxxxxxxxxxxxคนในชุมชนได้มาร่วมคิดทบทวนสถานการณ์ ตั้งคําถาม วางแผน หาข้อมูล ทดลองทํา วิเคราะห์ สรุปผลการทํางานและหาคําตอบเพื่อปรับปรุงงานต่อไป กล่าวคือ งานวิจัยเพื่อxxxxxxxxเป็นเครื่องมือหนึ่งที่เนนการให้ “คน” ในชุมชนเข้ามาร่วมในกระบวนการวิจัย ตง้ แต่การ xxxxxxxx xxxตั้งคําถาม การวางแผน และค้นหาคําตอบอย่างเป็นระบบเป็นรูปธรรม โดยเรียนรู้จากการ ปฏิบัติการจริง (Action Research) อันทําให้ชุมชนได้เรียนรู้ xxxxxxxงาน มีความเก่งขึ้นในการแก้ปัญหา ของตนเอง และxxxxxxใช้กระบวนการนี้ในการแก้ไขปัญหาอื่นๆ ในxxxxxxxx โดยมีกระบวนการศึกษาเรียนรู้ อย่างเป็นเหตุเป็นผล ดังน้ัน จุดเน้นของงานวิจัยเพื่อxxxxxxxx xxxอยู่ที่ “กระบวนการ” มากกว่า “ผลลัพธ์” เพื่อให้ชาวบ้านไดประโยชน์จากงานวิจัยโดยตรง และให้งานวิจัยมีส่วนในการแก้ปัญหาของชาวบ้าน รวมxxxx xxxxxxxเปลี่ยนแปลงขึ้นจริงในชุมชน ซึ่งจะต้องอาศัย “เวที” (การประชุม เสวนา พูดคุยถกเถียง) เป็นวิธีการเพ่ือให้คนในชุมชน ทั้งชาวบ้าน ครู นักพัฒนา สมาชิก อบต. กรรมการสหกรณ์ ข้าราชการ หรือ กลุ่มคนอื่นๆ เข้ามาร่วมหา ร่วมใช้ “xxxxx” ในกระบวนการวิจัย
“กระบวนการวิจัยเพ่ืxxxxxxxxx” หมายxxx xxxทํางานอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อตอบ “คาถาม” หรือ
“ความสงสัย” บางอย่าง ดังน้ัน ส่ิงสําคัญคือประเด็น “คําถาม” ต้องคมชัด โดยมีการxxxxxxประเด็นว่า ข้อสงสัยอยู่ตรงไหน มีการหา “ข้อมูล” ก่อนทํา มีการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูล มีการ “วางแผน” การทํางานบนฐานข้อมูลที่มีอยู่ และในระหว่างลงมือทํามีการ “บันทึก” มีการ “ทบทวน” ความxxxxxxxx “วิเคราะห์” ความสําเร็จและอุปสรรคอย่างสม่ําเสมอ เพื่อ “ถอด” กระบวนการเรียนรู้ท่ี เกิดขึ้นออกมาให้ชัดเจน ในที่สุดก็จะxxxxxx “สรุปบทเรียน” ตอบคําถามที่ตั้งไว้แลวอาจจะทําใหม่ให้ดีข้ึน ตลอดจนxxxxxxนําไปใช้เป็นบทเรียนสําหรับเร่ืองอื่นๆ หรือพ้ืxxxxอื่นๆ ต่อไป ซ่ึงทั้งหมดนี้กระทําโดย “ผูท้ ี่สงสัย” ซึ่งเปนคนในxxxxxxxxxxxxxxx ดังนั้น กระบวนการงานวิจัยเพ่ืxxxxxxxxxxxxเป็นงานวิจยอีกแบบหนึ่ง xxxxxxยึดติดกับxxxxxxxแบบแผนทางวิชาการมากนัก แต่เป็นการสร้างความรู้ในตัวคนxxxxxxxx โดยคนxxxxxxxx เพ่ือคนxxxxxxxx โดยมุ่งแก้ไขปัญหาด้วยการทดลองทําจริง และมีการบันทึกและวิเคราะห์อย่างเป็นxxxxxxx การวิจัยแบบนี้จึงไม่ใช่เครื่องมือทางวิชาการ ไม่ใช่ของศักดิ์สิทxxxxxxผูกขาดอยู่กับครูบาอาจารย์ แต่เป็น เคร่ืองมือธรรมดาที่ชาวบ้านก็ใช้เป็น เป็นประโยชน์ในชีวิตประจําxxxxxx
สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อxxxxxxxx xxxใช้วิธีการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อxxxxxxxxตามแนวคิดและหลักการ ดังกล่าวมาแล้วในระยะเวลาหนึ่ง พบว่า ชาวบ้านหรือทีมวิจัยส่วนใหญ่xxxxxxสะท้อนการดําเนินงานด้วย การบอกเล่าได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันก็พบว่า การเขียนรายงาน เป็นปัญหาที่สร้างความหนักใจให้แก่ นักวิจัยเป็นอย่างยิ่ง ดงนั้น ด้วยความตระหนักถึงสถานการณ์ปัญหาดังกล่าว สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อxxxxxxxx xxxได้ ปรับรูปแบบการเขียนรายงานวิจัย ให้มีความยืดหยุ่น และมีความง่ายต่อการนําเสนองานออกมาในรูปแบบ ท่ีนักวิจัยxxxx โดยไม่ยึดติดในเรื่องของภาษาและรูปแบบท่ีเป็นวิชาการมากเกินไป ซึ่งเป้าหมายสําคัญของ รายงานวิจัยยังxxมุ่งเน้นการนําเสนอให้เห็นภาพของกระบวนการวิจัยมากกว่าผลลัพธ์xxxxxxจากการวิจัย
โดยกลไกสําคัญที่จะช่วยให้นักวิจัยให้มีความxxxxxxเขียนรายงานที่นําเสนอกระบวนการวิจัยได้ชัดเจน ยิ่งขึ้น คือ ศูนย์xxxxxxงานวิจัย (Node) ในพื้นที่ ซ่ึงทําหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงโครงการวิจัยมาต้ังแต่เริ่มต้น จนกระท่ังจบการทํางานวิจัย ดังนั้น Node จะรับรู้พัฒนาการของโครงการวิจัยมาโดยตลอด บทบาทการ วิเคราะห์เนื้อหาหรือกิจกรรมของโครงการจึงเป็นการทํางานร่วมกันระหว่าง Node และนักวิจัย ซึ่งความ ร่วมมือดังกล่าวได้นํามาซึ่งการถอดบทเรียนโครงการวิจัยสู่การเขียนมาเป็นรายงานวิจัยท่ีมีคุณค่าในที่สุด
อย่างไรก็ตาม รายงานวิจัยเพื่อxxxxxxxxxxxไม่xxxxxxxแบบดังxxxxรายงานวิจัยเชิงวิชาการโดยทั่วไป หากแต่ได้คําตอบและเรื่องราวต่างๆ ท่ีเกิดข้ึนจากกระบวนการวิจัย ซ่ึงท่านxxxxxxเข้าไปค้นหา ศึกษาและ เรียนรู้xxxxxเติมได้จากพื้นที่
สกว.ฝ่ายวิจยเพื่อxxxxxxxx
เร่ือง : โครงการวิจัย “แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวยโดย ชุมชนมีส่วนร่วม ในพนื ที่เทศบาลตําบลโพxxxxxxxxxxx อําเภxxxxxxx xxหวัดศรีสะเกษ”
ผวู้ ิจัย : xxxxxxx xxxxxxx และคณะ
บทคดย่อ
โครงการ “แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวยโดยชุมชน มีส่วนร่วม ในพื้นที่เทศบาลตําบลโพธิ์xxxxxxxx อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ” มีวัตถุประสงค์สําคัญ ศึกษา แนวทางการนําภาษากวยไปใช้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและผลต่อพัฒนาการการ เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมกวยของเด็ก ตลอดจนปัจจัยเง่ือนไขท่ีมีผลต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษา และวัฒนธรรมกวยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
กระบวนการในการดําเนินงานวิจัย ทีมวิจัยได้มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและการสร้างการ เรียนรู้ร่วมกันตามแนวคิดของงานวิจัยเพื่อxxxxxxxx ผ่านกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การจัดเวทีชี้แจงโครงการวิจัยเพื่อ สร้างความตระหนักและความเข้าใจต่อชุมชน การเก็บข้อมูลสถานการณ์ทางภาษาของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็ก เล็ก เก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านภาษาและวัฒนธรรมของชาวกวยเพื่อนํามาทําสื่อการสอน ได้แก่ นิทาน เรื่อง เล่าต่างๆ การจัดทําแผนและผลิตสื่อการสอนภาษากวย การทดลองจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนา เด็กเล็กด้วยภาษากวย
ผลจากการดําเนินงานทําให้ได้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษา กวย จํานวน 41 หน่วย ส่ือการสอนภาษากวย ประกอบด้วย ชาร์ตพยัญชนะและคู่มือระบบตัวเขียนภาษากวย นิทาน จํานวน 14 เรื่อง xxxxxxวัฒนธรรม จํานวน 9 ฉาก นิทานภาพ จํานวน 10 เร่ือง และเพลงภาษากวย สําหรับเด็ก จํานวน 34 เพลง ผลจากการทดลองจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยภาษากวย ทําให้เด็กxxxxxxx พัฒนาทักษะการฟัง xxxxxxปฏิบัติตามคําสั่งของครูได้ และxxxxxxพูดภาษากวยได้อย่างม่ันใจมากขึ้น นอกจากนีย้ ังxxxxxxxมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอีกด้วย
จากการดําเนินงานวิจัยนี้ ทําให้ได้องค์ความรู้เรื่องแนวทางการนําภาษากวยไปใช้จัดประสบการณ์ การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ การสํารวจสถานการณ์ทางภาษาของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพ่ือ นําไปสู่การวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก การจัดทําแผนการและผลิตสื่อการสอนตลอดจน ฝึกกลวิธีการใช้สื่อและการสอนภาษาxxxxxxxx การทดลองจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กและการ ประเมินผล ซึ่งปัจจัยเงื่อนไขท่ีมีผลต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ประกอบด้วย ความxxxxxxในการ เรียนรู้ของเด็กในด้านต่างๆ ทั้งพัฒนาการทางด้านร่างกายและภาษาที่เด็กใช้ xxxxxxของครูในการใช้ภาษา xxxxxxxx ทัศนคติของชุมชนที่มีต่อภาษาxxxxxxxxและยินยอมให้มีการจัดการเรียนการสอนด้วยภาษาxxxxxxxx
นอกจากน ังต้องมีนโยบายของรฐเอื้อตอการจ่ ัดประสบการณ์การเรยนรี ู้ภาษาและวฒนธรรมxxxxxxxx ตลอดจน
หน่วยงานต้นสังกัดรบรู้และให้การสนับสนุน
ก
บทสรุปโครงการ
บทนํา
ชาวกวย เป็นกลุ่มชาติพันธท์ุ ี่พูดภาษาในตระกูลมอญ-เขมร มีคนท่ีพูดภาษากวย จํานวนประมาณ
400,000 คน xxxxxxอยู่ทางภาคอีสานของประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ xxxxxxxx xxxxxxxxx ศรีสะเกษ xxxxxxxxxxx ร้อยเอ็ด ในตําบลโพxxxxxxxxxxx อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ มีชาวกวยอาศัยอยู่จํานวน 13 หมู่บ้าน มีจํานวนประมาณ 8,185 คน ซึ่งถือเป็นพื้นที่ท่ีมีชาวกวยอาศัยอยู่อย่างxxxxxxx ชุมชนน้ียังใช้ภาษา กวยอยู่มาก โดยผู้ใหญ่ในชุมชนมักจะสื่อสารกันเป็นภาษาxxx xxการแต่งxxxแบบชาวกวยไปวัดเมื่อมีงาน ประเพณีสําคัญต่างๆ สิ่งเหล่านี้ได้มีการปฏิบัติxxxxxxถ่ายทอดและแสดงออกให้เห็นในชีวิตประจําวัน ซึ่งชาวกวย xxxxxxมีความสําคัญมาก เพราะเป็นส่ิงที่แสดงอัตลักษณ์ของความเป็นคนกวย
ชาวกวยในพื้นที่ตําบลโพธิ์xxxxxxxx โดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในชุมชนวัดไตรราษฎร์xxxxxxx ได้เริ่มทํางาน เพื่อการxxxxxxxxและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมของชาวกวย ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา จากการทํางานเพื่อการ xxxxxxxxและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมกวยด้วยพลังชุมชนที่ผ่านมาxxxxxxกล่าวได้ว่า ชาวกวยในพื้นที่ตําบล โพธิ์xxxxxxxxมีความตระหนักและให้ความสําคัญกับภาษาอันเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนเป็นอย่างยิ่ง แต่อย่างไรก็ ตาม ในปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์ ซ่ึงใช้ภาษาใหญ่ xxxx ภาษาไทย เริ่มมีxxxxxxxเข้ามาสู่ชุมชนผ่านทาง
สื่อสารมวลชนในรูปแบบของวิทยุโทรทศน์และส่ือสังคมออนไลน์ ซ่ึงxxxxxxเข้าถึงได้ก อีกxxxxxxxชาวกวยเรมม่ิ
การแต่งงานข้ามกลุ่มมากขึ้น จึงทําให ่อแม่xxxxxxxเริ่มใหความสํ้ าคญกบภาษาไทยxx xxงเป็นภาษาราชการมากขึ้น
และมักสอนลูกให้พูดภาษาไทยเป็นภาษาแรก เด็ก จึงxxxxxxฟัง – พูดภาษาไทยได้อย่างxxxxxxxxxxมากกว่า ภาษากวยซ่ึงเป็นภาษาxxxxxxxxของบรรพบุรุษ
ปรากฏการณ์ดังกล่าว สร้างความวิตกกังวลให้กับชุมชนมากเนื่องจากเกรงว่าภาษากวยจะสูญหายไป ถ้าหากเด็กเล็กxxxxxxใช้ภาษากวยเลย แต่จากประสบการณ์การทํางานวิจัยโครงการเดิมด้านการฟ้ืนฟูภาษาxxxxxx เริ่มมีการทดลองนําเอาภาษากวยไปร่วมจัดกระบวนการเรียนรใู ห้กับเด็กที่ศูนย์พฒนาเด็กเล็กบ้านซํา – บ้านตา ตา พบว่าxxxxxxทําให้เด็กเล็กสนใจภาษากวยและเรียนรู้ภาษาxxxxxxxxxxxอย่างxxxxxxxxx ในการนี้ ชุมชนจึง
เล็งเห็นว่าควรมีการจัดกระบวนการเรียนร าษากวยในศูนย์พฒนาเดกเล็ั ็กอยางเปนระบบเพอให่ื็่ xxxxxxxxเรียนรู้
ในภาษาxxxxxxxxและทกษะการเรียนรู้ที่จําเป็นสําหรับเด็กเล็กที่เหมาะสมและควรขยายกระบวนการการทํางาน นี้ไปสู่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอื่น ๆ ในชุมชน ชาวกวยจึงได้xxxxxxงานไปยังเทศบาลตําบลโพธิ์xxxxxxxxเพื่อ ดําเนินการให้มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ภาษากวยให้กับเด็กเล็กเชื้อสายกวยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด โดยมุ่งxxxxว่าศูนย์พฒนาเด็กเล็กจะเป็นแหล่งบ่มเพาะภาษาxxxxxxxxให้กับลูกหลานในชุมชนควบคู่กับการพัฒนา ทักษะการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามพัฒนาการของเด็กเล็กตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีอยู่เดิม จนเกิด
โครงการ “แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวยโดยชุมชนมีส่วนร่วมใน พื้นที่เทศบาลตําบลโพธิ์xxxxxxxx อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ” โดยมุ่งxxxxว่าโครงการนี้จะมีส่วนช่วยใน การฟื้นฟูภาษากวยให้กับเด็กเล็กซึ่งเป็นxxxxxและความxxxxของชุมชนในการสืบทอดภาษากวยให้ดํารงคงอยู่ สืบไป
xxxxxxxxxx
แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เหมาะสมกับเด็กเล็กเชื้อสายกวยโดย ชุมชนมีส่วนร่วม ในพืxxxxของเทศบาลตําบลโพธิ์กระสงข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ควรเป็นอย่างไร?
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาแนวทางการนําภาษากวยไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือจัดประสบการณ์การ เรียนรูในศูนย์พฒนาเด็กเล็กในเขตพ้ืxxxxเทศบาลตําบลโพธิ์xxxxxxxx อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
2. เพื่อศึกษาปัจจัยเงื่อนไขที่มีผลต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมกวย ใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กท่ีเหมาะสมกับเด็กเล็กเชื้อสายกวย
3. เพื่อxxxxxxxกระทบต่อพัฒนาการการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมกวยของเด็กเล็กในศูนย์พัฒนา เด็กเล็กเขตพื้นที่เทศบาลตําบลโพxxxxxxxxxxx อําเภxxxxxxx xxหวัดศรีสะเกษ
4. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดประสบการณ์การเรียนรูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ขอบเขตการวิจัย
ขอบเขตเนื้อหา
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษา แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วย ภาษากวยเป็นกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยชุมชนมีส่วนร่วม ดําเนินการในพื้นที่เทศบาลตําบลโพธิ์xxx xxxxx โดยมีประเด็นการศึกษา ดังนี้
1. แนวทางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวย ได้แก่ กระบวนการ/ วิธีการสร้างการเรียนรูภาษาและวัฒนธรรมกวยสําหรับเด็กเล็ก, สื่อ/กิจกรรม ท่ีเหมาะสมสําหรับ กระบวนการสร้างการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมกวย และแนวทางการสร้างความเข้าใจและxxxxxxxxxxถูกต้อง เกี่ยวกับการสร้างกระบวนการเรียนรู้ภาษาและวฒนxxxxxxxxถ่ินให้แก่ผู้xxxxxxและชุมชน
2. ปัจจัย / เงื่อนไขในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมกวยในศูนย์พัฒนาเด็ก เล็ก ได้แก่ เงื่อนไข/ปัจจัยภายใน xxxx ความxxxxxxในการเรียนรู้ของเด็ก ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของ
ชุมชนและผูxxxxxxเด็ก เป็นต้น เงื่อนไข/ปัจจยภายนอก xxxx สภาพพื้นที่ วิถีชีวิต วัฒนธรรม สภาพทางสังคม และเศรษฐกิจของชุมชน เป็นต้น
3. พัฒนาการการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมกวยของเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตําบล
โพธิ์กระสังข
4. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเดกเล็็ ก ไดแก่้ การมี
ส่วนร่วมในการสํารวจสถานการณ์การใช้ภาษาของเด็กเล็ก การมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดประสบการณ์
ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการเป็นxxxxxxและวิทยากรxxxxxxxxxx xบศูนย์พฒนาเดกเล็็ั ก
ขอบเขตพืxxxxและกลุ่มเป้าหมาย
พื้นที่ปฏิบัติการวิจัยอยู่ในเขตเทศบาลตําบลโพธิ์xxxxxxxx อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ประกอบด้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดของเทศบาลตําบลโพxxxxxxxxxxxที่อยู่ในชุมชนผู้ใช้ภาษากวยจํานวน 5 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแต้, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดสดํา, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านซํา – ตาตา, ศูนย์พัฒนาเด็ก เล็กบานพอกหนองxxxxxxxx, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบานหนองขนาน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กเล็กเชื้อสายกวย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อายุ 2 ขวบครึ่ง – 4 ขวบ
ขอบเขตระยะเวลา
เดือน พฤษภาคม 2559 ถึง เดือน ธันวาคม 2561
วิธีการดําเนินงาน
โครงการวิจัย “แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรูในศูนย์พฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวยโดยชุมชน มีส่วนร่วม ในพื้นท่ีเทศบาลตําบลโพธิ์xxxxxxxx อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ” ได้มีการดําเนินงาน xxxxxx จําแนกเป็นกิจกรรมหลักของโครงการวิจัย ได้ดังนี้
1) เปิดเวทีชี้แจงโครงการวิจัยสู่ชุมชน
2) สํารวจข้อมูลของเด็กเล็กในชุมชน สถานการณ์ทางภาษาของเด็กเล็กในชุมชน
3) เติมความรูเรื่องการจัดประสบการณ์การเรียนรูโดยใชภาษาแม่เป็นฐาน
4) ศึกษาxxxxxxxxจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาxxxxxxxในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
5) วางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยภาษากวยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ทางภาษาของนกเรียนและบริบทของชุมชน
6) สรางสื่อสําหรับเด็กเล็กตามแผนการจดประสบการณ์การเรียนรู้
7) ฝึกหัดกลวิธีการสอนภาษาxxxxxxxxสําหรับเด็ก
8) ทดลองจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กเล็กดวยภาษากวย
9) วดผลประเมินผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กเล็กดวยภาษากวย
10) ถอดบทเรียนการทํางาน
11) จดเวทีคืนความรู้สู่ชุมชน
12) พัฒนาศักยภาพทีมวิจัยโดยการเข้าร่วมงานวันภาษาแม่xxxxและการนําเสนอผลงานวิจัยที่ มหาวิทยาลัยxxxxx
ผลการดําเนินงาน
ผลจากการดําเนินงานวิจัย ทําใหได้ผลผลิต ดังนี้
1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวย จํานวน 41 หน่วย สอดคล้องตามสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษาxxxxxx ของกระทรวงศึกษาธิการ
2. สื่อการสอนภาษากวย ประกอบด้วย ชาร์ตพยัญชนะและคู่มือระบบตัวเขียนภาษากวย นิทาน จํานวน 14 เรื่อง xxxxxxวัฒนธรรม จํานวน 9 ฉาก นิทานภาพ จํานวน 10 เรื่อง และเพลงภาษากวยสําหรับ เด็ก จํานวน 34 เพลง
นอกจากน้ี ผลการดําเนินงานวิจัย ยงเกิดผลลัพธ์ ดังน้ี
1. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยภาษากวย/กูย มีทักษะในการ ใช้ภาษากวย/กูยเพิ่มมากขึ้น เข้าใจในสิ่งที่ครูสื่อสารและสามารถปฏิบัติตามคําส่ังได้ เด็กสามารถพูดภาษากวย ได้อย่างชัดเจนและมั่นใจ กล้าตอบคําถาม กล้าสนทนาหรือถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตประจําวันด้วยภาษากวย/ กูยให้ครูและเพื่อนฟังได้ นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์เพิ่มมากขึ้น มีจินตนาการและ ความคิดสร้างสรรค์ และมีความกระตือรือร้นอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
2. ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเกิดการพัฒนาศักยภาพตนเอง ในเรื่องการออกแบบเครื่องมือวิจัย การเก็บ ข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การจัดทําแผนการสอน ได้ฝึกกลวิธีการสอนภาษาท้องถิ่น ตลอดจน การนําเสนองานต่อชุมชนและคนอ่ืนๆทั่วไป
3. ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยได้เข้าร่วมในเวที ชี้แจงโครงการ ได้ร่วมในการทําสํารวจสถานการณ์การใช้ภาษาของเด็ก ร่วมให้ข้อมูลด้านภาษาและวัฒนธรรม ในการจัดทําแผนการจัดประสบการณ์และสื่อการสอนประเภทต่าง เช่น เรื่องเล่าและนิทานพื้นบ้าน นอกจากนี้ ยังได้มีส่วนร่วมในการเป็นปราชญ์หรือครูภูมิปัญญาให้กับเด็กตามแหล่งเรียนรู้ต่างๆในชุมชน ตลอดจนร่วมรับรู้ สถานการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโครงการวิจยั
วิเคราะห์ผลการวิจัย
การดําเนินงานในโครงการ “แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษา กวยโดยชุมชนมีส่วนร่วม ในพ้ืนที่เทศบาลตําบลโพธ์ิกระสังข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ” ได้บรรลุ วัตถุประสงค์ที่ตังไว้ ดงนี้
1. ได้องค์ความรู้เรื่องแนวทางการนําภาษากวยไปใช้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตพืนที่เทศบาลตําบลโพธิกระสังข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โดยไดด้ ําเนินการ ดังนี้
1.1 สํารวจสถานการณ์ทางภาษาของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อนําไปสู่การวางแผนการ จัดประสบการณ์การเรียนรูให้กับเด็ก
1.2 จัดทําแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวยให้ เหมาะสมกบเด็กและสอดคล้องตามสาระการเรียนรูหลักสูตรปฐมวัย ของกระทรวงศึกษาธิการ
1.3 ผลิตสื่อการสอนภาษาท้องถ่ิน
1.4 ฝึกกลวิธีการใช ่ือและการสอนภาษาท้องถิ่น
1.5 ทดลองจดประสบการณ์การเรียนรู้ใหเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
1.6 ประเมินผลการทดลองจัดประสบการณ์การเรียนรู้ใหเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2. ได้องค์ความรู้ด้านปัจจัยเง่ือนไขที่มีผลต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมกวย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กท่ีเหมาะสมกบเด็กเล็กเชื้อสายกวย
2.1 ปัจจยเงื่อนไขภายในท่ีมีผลต่อการจดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมกวยใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่
ร่างกายและภาษาที่เด็กใช้
2.1.1 ความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กในดานต่างๆทั้งพัฒนาการทางด้าน
2.1.2 ครูผู้สอนต้องเป็นผู้ที่สามารถสื่อสารภาษากวยได้
2.1.3 ชุมชนและผู้ปกครองตองมีทศนคติท่ีดีต่อภาษาท้องถิ่นและยินยอมใหม้
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาและวฒนธรรมกวยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2.2 เงื่อนไขปัจจัยภายนอกท่ีมีผลต่อการจัดประสบการณ์การเรียนร ในศูนย์พฒนาเด็กเล็ก ได้แก่
าษาและวัฒนธรรมกวย
2.2.1 นโยบายของรัฐที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรม ท้องถ่ิน ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นโยบายสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ประกอบกับจังหวัดศรีสะเกษถือเป็นจังหวัดหนึ่งที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นพื้นที่
นวัตกรรมการศึกษา ทําให้เอือต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยภาษากวยให ับเดกในศ็ ูนยพฒนาเด็ั์ กเล็ก
นับเป็นการสร้างโอกาส สร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ําให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทางการศึกษา อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
2.2.2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ ซ่ึงเป็นหน่วยงาน ต้นสังกัด รับรู้และให้การสนับสนุนให้มีการจัดการเรียนการสอนด้วยภาษากวยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทําให้ผู้ที่ เกี่ยวข้องสามารถดําเนินงานไดอย่างมีประสิทธิ์ภาพและราบรื่น
3. ได้องค์ความรู้เก่ียวกับพัฒนาการการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมกวยของเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็ก เล็กเขตพื้นที่เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งสามารถแบ่งพัฒนาการของเด็ก ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
3.1 กลุ่มเด็กที่ไม่ใช้ภาษากวยที่บ้านเลย หลังจากทําวิจัย เด็กกลุ่มนี้สามารถปฏิบัติตามคําสั่ง ง่ายๆ ได้ และสามารถพูดภาษากวยได้เป็นคํา หรือประโยคสั้นๆ
3.2 กลุ่มเด็กที่ใช้ภาษากวยปนกับภาษาอื่น หลังจากการทําวิจัย เด็กกลุ่มนี้กล้าที่จะพูด ภาษากวยมากยิ่งขึ้น และลดอัตราการใช้ภาษาปนลง
3.3 กลุ่มเด็กท่ีใช้ภาษาถ่ินที่บ้านแต่ไม่กลาพูดหรือแสดงออก หลังจากการทําวิจ เด็กกลุ่มน้ี
มีความม่ันใจในการใช้ภาษามากยิ่งขึ้น กล้าแสดงออก มีความชัดเจนทางภาษา ไม่ว่าจะเป็นสําเนียงการพูด หรือการเข้าใจความหมายของประโยค
4. ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยทีมวิจัยได้สร้าง
ความตระหนักให ุมชนเห็นความสาคญของการอนุรักษ์และฟื้นฟภาษาและภู ูมิปญญาทั องถิ่นของชาวกวย และ
สร้างความเข้าใจเร่ืองการจัดการเรียนการสอนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวย โดยการเชิญมาเข้าร่วมใน เวทีชีแจงโครงการ จากนั้นชุมชนได้เขามามีส่วนในการร่วมทําแบบสํารวจสถานการณ์ทางภาษาของเด็ก ร่วมใน การเป็นผู้ให้ข้อมูลด้านภาษาและวัฒนธรรมกวยในการจดทําแผนและสื่อการสอนภาษาทองถิ่น และนอกจากนี้ ยังได้ร่วมสอนในบางกิจกรรม เช่น กิจกรรมพานักเรียนไปเรียนรู้ในสถานท่ีจริงในชุมชน
หน้า
บทคดย่อ ก
บทสรุปโครงการ ข
บทที่ 1 บทนํา
1.1 หลักการและเหตุผล 1
1.2 โจทย์วิจัย 2
1.3 วัตถุประสงค์ 3
1.4 ประเด็นการศึกษา 3
1.5 วิธีการดําเนินงาน 3
1.6 ขอบเขตพื้นที่ 5
1.7 กลุ่มเป้าหมาย 5
1.8 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 5
บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรม
2.1 ภาษากวย 6
2.2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสงกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9
2.3 แนวคิดการใช้ภาษาแม่ในการจัดการเรียนการสอน 11
บทที่ 3 กระบวนการทํางานวิจัย
3.1 ขอบเขตการวิจัย 14
3.2 กระบวนการดําเนินงานวิจัย 15
3.3 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 25
3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล 26
สารบญ
(ต่อ)
หนา้
บทที่ 4 ผลการดําเนินงาน
4.1 สถานการณ์ทางภาษาของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 27
4.1.1 ข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 27
4.1.2 ขอมูลสมาชิกในครอบครวท่ีมีความสมพันธ์กับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 28
4.1.3 ขอมูลการใช้ภาษาของเด็กในศูนย์พฒนาเด็กเล็ก 29
4.1.4 ความคิดเห็นของผู้ปกครอง 31
4.2 แผนการจดประสบการณ์การศึกษาปฐมวัย 31
4.3 สื่อการจดประสบการณ์การเรียนรูในศูนย์พฒนาเด็กเล็กดวยภาษากวย 33
4.3.1 ระบบเขียนภาษากวย/ กูย เพ่ือจดทําส่ือการเรียนรู้ 33
4.3.2 นิทาน เรื่องเล่า ภาษากวย/ กูย 35
4.3.3 ฉากภาพวัฒนธรรม 35
4.3.4 นิทานภาพ 37
4.3.5 เพลงภาษากวย 38
4.4 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวย 39
4.5 ผลการจดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พฒนาเด็กเล็กดวยภาษากวย 41
บทที่ 5 สรุปและวิเคราะห์ผล
5.1 สรุปผลการดําเนินงาน 44
5.2 วิเคราะห์ผลการดําเนินงาน 45
บรรณานุกรม 48
ภาคผนวก
• รายชื่อทีมวิจัย 50
• ตารางการดําเนินกิจกรรม 51
• ภาพประกอบการดําเนินกิจกรรม 53
• แบบสอบถามสถานการณ์การใช้ภาษาของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 59
สารบญ
(ต่อ)
หน้า
• ตัวอย่างแผนการจดประสบการณ์การเรียนรูโดยใช้ภาษากวยในศูนย์พฒนาเด็กเล็ก 61
• ตารางการใช้สื่อและกลวิธีการสอนภาษาทองถิ่น 71
• เรื่องเล่าและนิทานภาษากวย 76
บทที่ 1
บทนํา
1.1 หลกการและเหตุผล
ชาวกวย กุย กูย หรือโกย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาในตระกูลมอญ-เขมร คําว่า กวย กุย กูย หรือโกย ล้วนมีความหมายว่า “คน” แต่มีการออกเสียงแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น ส่วนคําว่า “ส่วย” นั้นเป็นชื่อที่คนไทยเรียกคนกลุ่มน้ี (วรรณา, 2533) ในปี 2544 สุวิไลและคณะ ได้สํารวจจํานวนคนที่พูด ภาษาต่างๆในประเทศไทยเพื่อจัดทําแผนที่ภาษากลุ่มชาติพันธุ์ พบว่ามีคนท่ีพูดภาษากูย/กวย จํานวน ประมาณ 400,000 คน กระจายอยู่ทางภาคอีสานของประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด และนอกจากน้ียังพบว่ามีกระจายอยู่ในชุมชนหมู่บ้านในภาคกลางและ ภาคตะวันออก
ตําบลโพธิ์กระสังข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งหมด 14 หมู่บ้าน มี ชาวกวยอาศัยอยู่จํานวน 13 หมู่บ้าน เป็นประชากรท่ีเรียกตนเองว่า “กวย” ประมาณ 8,185 คน ซึ่งถือ เป็นพื้นที่ที่มีชาวกวยอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ชุมชนนี้ยังใช้ภาษากวยอยู่มาก โดยผู้ใหญ่ในชุมชนมักจะ ส่ือสารกันเป็นภาษากวย มีการแต่งกายแบบชาวกวยไปวัดเมื่อมีงานประเพณีสําคัญต่างๆ สิ่งเหล่านี้ได้มีการ
ปฏิบ ิที่ได้ถ่ายทอดและแสดงออกให้เห็นในชวิี ตประจําวัน ซึ่งชาวกวยถือว่ามีความสําคัญมาก เพราะเป็นสิ่ง
ที่แสดงอตลักษณ์ของความเป็นคนกวย
ที่ผ่านมา ชาวกวยในพ ทตาบลโพธิ์ํี่ กระสังข์ โดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในชุมชนวดไตรราษฎรั ์สามัคคีได้
เล็งเห็นคุณค่าและความสําคัญของการอนุรักษ์ภาษาและวัฒนธรรมกวย โดยในปี 2552 ได้ร่วมกับศูนย์ ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถ่ินจังหวัดศรีสะเกษ ดําเนินโครงการวิจัยเร่ือง “ศึกษากลุ่มเยาวชนกับการฟ้ืนฟู และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีชาติพันธุ์กวย (ส่วย)” ได้ผลลัพธ์ท่ีสําคัญ คือ หนังสั้นเรื่อง “กอนกวยส่วย ไม่ลืมชาติ” หนังส้ันเรื่องนี้มีส่วนช่วยให้ชุมชนเกิดการตื่นตัวในการอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวกวยเป็นอย่าง มาก รวมถึงเด็กและเยาวชนเองก็เริ่มสนใจประเพณีในชุมชนของตนเองมากขึน้
หลังจากการทําหนังส้ันเร่ือง “กอนกวยส่วยไม่ลืมชาติ” ทีมวิจัยมีความต้องการที่จะบันทึกภาษา กวยอย่างเป็นระบบ เพื่อใช้ในการบันทึกและเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ ด้วยภาษากวย ซึ่งเป็นภาษาท้องถ่ิน ที่สําคัญในพื้นที่ จึงได้พัฒนาโครงการวิจัยร่วมกับศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นประเด็นการฟ้ืนฟูภาษา ในภาวะวิกฤต และจัดทําโครงการ “ศึกษากระบวนการสร้างระบบตัวเขียนภาษากวยเพ่ือสืบทอดวิถี วัฒนธรรมของชุมชนวดไตรราษฎร์สามัคคี (บ้านซําและบ้านตาตา) ต.โพธิ์กระสังข์ อ.ขุน👉าญ จ.ศรีสะเกษ” โดยได้ปฏิบัติการวิจัยในชุมชนในปี 2555 และมีผลการวิจัยที่สําคัญเป็นระบบตัวเขียนภาษากวยอักษรไทย ซึ่งได้นําไปใช้เขียนตําราการเลี้ยงไหมและทอผ้าของชาวกวยอันเป็นอัตลักษณ์ท่ีสําคัญของชุมชน ตลอดจน
ได้ผลิตวรรณกรรมท้องถ่ินและนําไปประยุกต์ใช ําเปนส็ ื่อการเรยนการสอนภาษากวยในศนยพฒนาเดกเล็ั์ูี ็ก
บ้านซํา – บ้านตาตา และพบว่าเด็กเล็กต่างให้ความสนใจในสื่อภาษากวยเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีผลต่อ การพัฒนาการเรียนรู้ภาษากวยของเด็กเล็กได้ดีขึ้นอีกด้วย
ในส่วนของเยาวชนในชุมชนก็ได้มีการทํางานเพื่อการฟ้ืนฟูการละเล่นพื้นบ้านในปี พ.ศ. 2558 ใน โครงการ “สานสัมพันธ์ กอนกวยท่รวยอิก” โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสยามกัมมาจลและสํานักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทําให้การละเล่นพื้นบ้านที่เคยถูกละเลยไปได้รับการพูดถึง และนํามาผลิตสื่อเป็นหนังสือเล่มยักษ์ภาษากวย – ภาษาไทยสําหรับการเผยแพร่ในโครงการอีกด้วย
จากการทํางานเพ่ือการอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษากวยด้วยพลังชุมชนท่ีผ่านมาสามารถกล่าวได้ว่า ชาวกวยในพื้นที่ตําบลโพธิ์กระสังข์มีความตระหนักและให้ความสําคัญกับภาษาอันเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน เป็นอย่างยิ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งใช้ภาษาใหญ่ เช่น ภาษาไทย เริ่มมีอิทธิพล เข้ามาสู่ชุมชนผ่านทางส่ือสารมวลชนในรูปแบบของวิทยุโทรทศน์และสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ กับ อีกทั้งที่ชาวกวยเริ่มมีการแต่งงานข้ามกลุ่มมากขึ้น จึงทําให้พ่อแม่ยุคใหม่เริ่มให้ความสําคัญกับ ภาษาไทยซ่ึงเป็นภาษาราชการมากขึ้น และมักสอนลูกให้พูดภาษาไทยเป็นภาษาแรก เด็ก จึงสามารถฟัง – พูดภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่วมากกว่าภาษากวยซ่ึงเป็นภาษาท้องถ่ินของบรรพบุรุษ
ปรากฏการณ์ดังกล่าว สร้างความวิตกกังวลให้กับชุมชนมากเนื่องจากเกรงว่าภาษากวยจะสูญ หายไปถ้าหากเด็กเล็กไม่ได้ใช้ภาษากวยเลย แต่จากประสบการณ์การทํางานวิจัยโครงการเดิมด้านการฟื้นฟู ภาษาที่ได้เร่ิมมีการทดลองนําเอาภาษากวยไปร่วมจัดกระบวนการเรียนรูให้กับเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้าน ซํา – บ้านตาตา พบว่าสามารถทําให้เด็กเล็กสนใจภาษากวยและเรียนรู้ภาษาท้องถิ่นได้อย่างมีความสุข ใน การน้ี ชุมชนจึงเล็งเห็นว่าควรมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ภาษากวยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างเป็นระบบ เพ่ือให้เกิดการเรียนรู้ในภาษาทองถิ่นและทักษะการเรียนรทู้ ี่จําเป็นสําหรับเด็กเล็กที่เหมาะสมและควรขยาย กระบวนการการทํางานนี้ไปสู่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอื่น ๆ ในชุมชน ชาวกวยจึงได้ประสานงานไปยังเทศบาล ตําบลโพธ์ิกระสังข์เพื่อดําเนินการให้มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ภาษากวยให้กับเด็กเล็กเชื้อสายกวยในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด โดยมุ่งหวังว่าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจะเป็นแหล่งบ่มเพาะภาษาท้องถิ่นให้กับลูกหลาน ในชุมชนควบคู่กับการพัฒนาทกษะการเรียนรู้ท่ีเหมาะสมตามพัฒนาการของเด็กเล็กตามมาตรฐานของศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กที่มีอยู่เดิม จนเกิดโครงการ “แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้วยภาษากวยโดยชุมชนมีส่วนร่วมในพื้นที่เทศบาลตําบลโพธ์ิกระสังข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ” โดยมุ่งหวังว่าโครงการน้ีจะมีส่วนช่วยในการฟ้ืนฟูภาษากวยให้กับเด็กเล็กซึ่งเป็นอนาคตและความหวังของ ชุมชนในการสืบทอดภาษากวยให้ดํารงคงอยู่สืบไป
1.2 โจทย์การวิจยั
แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เหมาะสมกับเด็กเล็กเชื้อสายกวย โดยชุมชนมีส่วนร่วม ในพ้ืนที่ของเทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ควรเป็น อย่างไร?
1.3 วัตถุประสงค์
1. เพ่ือศึกษาแนวทางการนําภาษากวยไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือจัดประสบการณ์การ เรียนรูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ อําเภอขุนหาญ จงหวัดศรีสะเกษ
2. เพ่ือศึกษาปัจจัยเง่ือนไขที่มีผลต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมกวย
ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กท่ีเหมาะสมกับเด็กเล็กเช สายกวย
3. เพ่ือศึกษาผลกระทบต่อพัฒนาการการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมกวยของเด็กเล็กในศูนย์พัฒนา เด็กเล็กเขตพื้นที่เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
4. เพื่อสรางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดประสบการณ์การเรียนรใู นศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
1.4 ประเด็นการศึกษา
จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว สามารถแยกเป็นประเด็นการศึกษาได้ดังนี้
1. แนวทางในการจัดประสบการณ์การเรียนรูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวย ประกอบด้วย
- กระบวนการ/ วิธีการสรางการเรียนรูภาษาและวัฒนธรรมกวยสําหรับเด็กเล็ก
- สื่อ/กิจกรรม ท่ีเหมาะสมสําหรับกระบวนการสร้างการเรียนร าษาและวัฒนธรรมกวย
- แนวทางการสร้างความเข้าใจและทัศนคติท่ีถูกต้องเกี่ยวกับการสรางกระบวนการเรียนรู้ ภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้แก่ผู้ปกครองและชุมชน
2. ปัจจัย / เงื่อนไขในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมกวยในศูนย์พัฒนาเด็ก เล็ก ได้แก่
- เง่ือนไข/ปัจจัยภายใน เช่น ความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก ความรู้ความเข้าใจและ ทศนคติของชุมชนและผู้ปกครองเด็ก เป็นต้น
- เง่ือนไข/ปัจจัยภายนอก เช่น สภาพพื้นที่ วิถีชีวิต วัฒนธรรม สภาพทางสังคมและ เศรษฐกิจของชุมชน เป็นต้น
3. พัฒนาการการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมกวยของเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตําบล โพธ์ิกระสงข์
4. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ การมี ส่วนร่วมในการสํารวจสถานการณ์การใช้ภาษาของเด็กเล็ก การมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัด
ประสบการณ์ ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการเป็นปราชญ์และวิทยากรท้องถ่ินให ับศูนย์พฒนาเดกเล็ั ็ก
1.5 วิธีการดําเนินงาน
1) เปิดเวทีชี้แจงโครงการวิจัยสู่ชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนได้รับรู้และเข้าใจในการดําเนินงาน โครงการ พร้อมกับเป็นการเปิดเวทีเพ่ือรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง เช่น เทศบาล ผู้ปกครอง ครู และชุมชน เป็นต้น
2) สํารวจข้อมูลของเด็กเล็กในชุมชน สถานการณ์ทางภาษาของเด็กเล็กในชุมชน เป็นกิจกรรมที่ สํารวจสถานการณ์การใช้ภาษาของเด็กเล็กในครัวเรือน ผ่านการสอบถามจากผู้ปกครอง ซึ่งนอกจากจะทํา ให้ทราบสถานการณ์การใช้ภาษาของเด็กนักเรียนแล้ว ยังสามารถทําให้ผู้ปกครองเกิดความตระหนักในการ ใช้ภาษากวยกับเด็กนกเรียน
3) อบรมให้ความรู้เร่ืองการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน ในศูนย์พัฒนาเด็ก เล็กจากการศึกษากรณีศึกษาจากในประเทศไทยและต่างประเทศ เป็นกิจกรรมที่ทีมพ่ีเล้ียงเติมความรู้ ใน เร่ืองแนวคิดในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน หรือแนวคิดรังภาษา (Language Nest) พร้อมกับการนําเสนอกรณีตัวอย่างท่ีประสบผลสําเร็จทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมี กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรูในการนํามาปรับใช้อีกดวย
4) ศึกษาดูงานการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาท้องถ่ินในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโพธิ์กอง (ภาษาเขมรถิ่นไทย) โดยทีมพ่ีเลี้ยงเป็นผู้จัดกิจกรรมการศึกษาดูงานการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วย ภาษาท้องถิ่นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กท่ีประสบความสําเร็จ เพื่อให้ทีมวิจัยมองเห็นภาพการจัดประสบการณ์ เรียนรู้กับเด็กเล็ก และเกิดแรงบันดาลใจในการทํางาน
5) วางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยภาษากวยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ทางภาษาของนักเรียนและบริบทของชุมชน เป็นการประชุมร่วมกันของทีมวิจัย เพื่อวาง แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยภาษากวยอย่างเหมาะสม โดยใช้เนื้อหา หรือองค์ความรู้ท้องถิ่นจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ ทง้ ในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียน
6) ฝึกกลวิธีการสอนภาษาท้องถ่ินสําหรับเด็กแก่ครูในศูนย์พฒนาเด็กเล็ก โดยทีมพี่เล้ียงจัดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อฝึกหัดให้ครูสามารถใชกลวธิ ีการสอนภาษากวยกับเด็กเล็กได้อย่างถูกต้องและมั่นใจ
7) สร้างสื่อสําหรับเด็กเล็กตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เป็นกิจกรรมที่ทีมวิจัยและคน
ในชุมชนร่วมกันผลิตส่ือสําหรับการจัดประสบการณ์เรียนรู้ภาษากวยให้กับเด็กเล็ก โดยใช้เน ท้องถิ่นของชาวกวย และการมีส่วนร่วมของผูปกครองและชุมชน
หาองค์ความรู้
8) ทดลองจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กเล็กด้วยภาษากวย โดยครูเริ่มจัดประสบการณ์การ เรียนรู้ให้กับเด็กเล็กโดยใช้ภาษากวย ตามแผนที่กําหนด โดยใช้เนื้อหาท้องถ่ิน และมุ่งเน้นการเรียนรู้ทั้ง ภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียน
9) วัดผลประเมินผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยทีมวิจัยร่วมกันคิดกิจกรรมการทดสอบ ความรู้ ความสามารถของเด็กนักเรียนร่วมกัน พร้อมกับพูดคุยกับผู้ปกครอง เพ่ือชี้ให้เห็นพัฒนาการการ เรียนรูและการใช้ภาษาของเด็กนักเรียน
10) ถอดบทเรียนการทํางานวิจัย ผ่านการจัดการประชุมทีมวิจัย ผู้ปกครอง และคนในชุมชน เพื่อ ทบทวนการทํางาน และบทเรียนท่ีเกิดขึ้นจากการทํางานวิจัย พร้อมกับข้อเสนอแนะที่จะนําไปสู่การพัฒนา ในขั้นต่อไป
11) คืนความรู้สู่ชุมชน เป็นกิจกรรมที่นําเสนอผลงานวิจัย เพื่อให้ชุมชนไดร้ ับรู้ เกิดความเข้าใจและ เกิดความตระหนัก เห็นคุณค่าและความสําคัญของภาษาและภูมิปัญญาท้องถ่ินของชาวกวยต่อไป
12) พัฒนาศักยภาพทีมวิจัยโดยการเข้าร่วมเวทีนําเสนอผลงานหรือกิจกรรมท่ีพี่เลี้ยงหรือสกว.
จัดขึ้น
13) เขียนรายงานความกาวหน้ ้าและรายงานฉบบสมบรณูั
14) ประชมทุ ีมวจิ ัยประจําเดือน
1.6 ขอบเขตพืนที่
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดของเทศบาลตําบลโพธ์ิกระสังข์ที่อยู่ในชุมชนผู้ใช้ภาษากวยจํานวน 5 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแต้, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดสดํา, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านซํา – ตาตา, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบานพอกหนองประดิษฐ์ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองขนาน
1.7 กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเด็กเล็กเชือสายกวยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อายุ 2 ขวบครึ่ง – 4 ขวบ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จํานวน 5 แห่ง
1.8 ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผลเชิงวิจยั
1. ได้องค์ความรู้เร่ืองแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นท่ี เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
2. ได้องค์ความรู้ด้านปัจจัยเงื่อนไขท่ีมีผลต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรม กวยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กท่ีเหมาะสมกับเด็กเล็กเชื้อสายกวย
3. ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่อพัฒนาการการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมกวยของเด็กเล็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตพื้นที่เทศบาลตําบลโพธ์ิกระสังข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ผลเชิงพฒนา
ชุมชนชาวกวยในพื้นที่ตําบลโพธิ์กระสังข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มีส่วนร่วมในการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ภาษากวยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
บทที่ 2
ทบทวนวรรณกรรม
โครงการ “แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวยโดยชุมชนมี ส่วนร่วมในพื้นท่ีเทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวทางการนําภาษากวยไปใช้จัดประสบการณ์การเรียนรใู นศูนย์พฒนาเด็กเล็ก ปัจจัยเง่ือนไขท่ีมีผลต่อการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมกวย ผลกระทบต่อพัฒนาการการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมกวย ของเด็กเล็กตลอดจนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทีมวิจัย จึงได้ทบทวนวรรณกรรม 3 ประเด็น ดงนี้
1) ภาษากวย
2) ศูนย์พฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนทองถิ่น
3) แนวคิดเรื่องการจัดการเรียนการสอนโดยนําภาษาท้องถิ่นร่วมจัดการเรียนรู้
2.1 ภาษากวย
ชาวกวย กูย เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุที่พูดภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic) คําว่า กวย กูย มีความหมายว่า “คน” แต่มีการออกเสียงแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น ส่วนคําว่า “ส่วย” นั้นเป็นชื่อที่คน ไทยทั่วไปเรียกคนกลุ่มนี้ ในปี 2544 สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ ได้สํารวจจํานวนคนที่พูดภาษาต่างๆใน ประเทศไทยเพ่ือจัดทําแผนท่ีภาษากลุ่มชาติพันธ์ุ พบว่ามีคนที่พูดภาษากูย/กวย จํานวนประมาณ 400,000 คน กระจายอยู่ทางภาคอีสานของประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด และยังพบว่ามีกระจายอยู่ในชุมชนหมู่บ้านในภาคกลางและภาคตะวันออก นอกจากนี้วรรณา เทียนมี (2533) ยังได้ศึกษาการกระจายของภาษากูยในประเทศไทย พบว่า ที่อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ มี หมู่บ้านชาวกวย กูย กระจายอยู่ตามตําบลต่างๆ ได้แก่ ตําบลโพธิ์กระสังข์ ตําบลกระหวัน ตําบลสิ และตําบล โนนสูง ปัจจุบัน ตําบลโพธิ์กระสังข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งหมด 14 หมู่บ้าน มีชาวกวยอาศัยอยู่จํานวน 13 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านตาตา บ้านโพธิ์กระสังข์ บ้านบกสดํา บ้านหนองประดิษฐ์ บ้านหนองขนาน บ้านซํา บ้านหนองคู บ้านโนนคูณ บ้านพอก บ้านแต้ บ้านโพธิ์กระสังข์เหนือ บ้านสดํา และ บ้านใหม่พัฒนา มีประชากรท่ีเรียกตนเองว่า “กวย กูย” ประมาณ 8,185 คน ซึ่งถือเป็นพ้ืนที่ที่มีชาวกวยอาศัย อยู่อย่างหนาแน่นและยังมีการใชภาษากวยในชีวิตประจําวันกันอยู่มาก
แผนที่ภาษากูย/กวย ในประเทศไทย (สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ, 2544)
ภาษากวยเป็นภาษาที่จัดอยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic) สาขามอญ – เขมร (Mon- Khmer) สาขาย่อยกะตุอิค (Katuic) ซ่ึงแต่ละถิ่นจะมีการใช้สําเนียงภาษาที่แตกต่างกันไป วรรณา เทียนมี (2533) ได้แบ่งภาษากูยในประเทศไทยออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ โดยอาศัยความเก่ียวโยงสัมพันธ์ของสระบาง เสียงมาเป็นเกณฑ์ ได้แก่ กลุ่มภาษากูย (กูย-กูย) และ กลุ่มภาษากวย (กูย – กวย) ในตําบลโพธิ์กระสังข์ อําเภอ ขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า มีทั้งผู้ที่พูดภาษากวย และภาษากูย แต่ทั้งสองภาษานี้มีลักษณะแตกต่างกัน ไม่มากนกั
สมทรง บุรุษพัฒน์ (2537) ได้ศึกษาวิจัยเร่ือง “เรียนภาษาและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกูย-กวย
(ส่วย) จากบทสนทนา” ที่บ้านสร้างใหญ่ ตําบลดินแดง อําเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ ในส่วนของการศึกษา ระบบเสียงภาษากวย พบว่า ภาษากวยเป็นภาษาท่ีไม่มีความแตกต่างของเสียงวรรณยุกต์เหมือนภาษาไทย แต่ มีลักษณะน้ําเสียง (voice quality) หรือ เรจิสเตอร์ (register) โดยมีความแตกต่างของพยางค์ 2 ประเภท คือ พยางค์ท่ีมีเสียงสระแบบธรรมดา ((normal voice) และพยางค์ท่ีมีเสียงสระก้อง-มีลม (breathy voice) และ พบว่า หน่วยเสียงพยัญชนะต้นมี 21 หน่วยเสียง คือ /p, ph, b, m, w, t, th, d, n, s, r, l, ch, dʑ, ɲ, j, k, kh, ŋ, ʔ, h/ หน่วยเสียงพยัญชนะสะกด มี 14 หน่วยเสียง คือ /p, t, c, k, ʔ, h, m, n, ɲ, ŋ, w, r, l, j/ หน่วยเสียงพยัญชนะควบกล้ํา ได้แก่ พยัญชนะต้นที่ควบกลํ้ากับเสียง /r, l/ หน่วย เสียงสระเดี่ยว มี 22 หน่วยเสียง คือ /I, iː, e, eː, æ, æː, a, aː, ɯ, ɯː, ɤ, ɤː, ˄, ˄ː, u, uː, o, oː, ͻ, ͻː, ɑ, ɑː/ และ หน่วยเสียงสระผสมสองส่วน มี 3 หน่วยเสียง คือ /ia, ɯa, ua/
ธิติพร พิมพ์จันทร์ (2547) ศึกษาระบบเสียงภาษากวยที่บ้านไฮน้อย ตําบลกู่ อําเภอปรางค์กู่ จังหวัด ศรีสะเกษ ในวิทยานิพนธ์เรื่อง “ศึกษาเปรียบเทียบคําศัพท์และทัศนคติระหว่างผู้พูดภาษากูย กวย และเยอ ในจังหวัดศรีสะเกษ” พบว่า ระบบเสียงภาษากวยที่บ้านไฮน้อย ประกอบด้วย
เสียงพยัญชนะต้นเด่ียวมี 21 หน่วยเสียง ได้แก่ /p, ph, b, m, w, t, th, d, n, s, r, l, c,
ch, ɲ, j, k, kh, ŋ, ʔ, h/
เสียงพยัญชนะควบกล้ําต้นพยางค์ ได้แก่ พยัญชนะต้นที่ควบกล้ํากับเสียง /r, l/ พบ 11 หน่วยเสียง คือ /pl, pr, tr, kl, khl, kr, khr, phr, phl, br, bl/
เสียงพยัญชนะท้ายมี 14 หน่วยเสียง ไดแก่ /p, t, k, ʔ, c, m, n, ɲ, ŋ, h, r, l, j, w/ สระเด่ียวเสียงส้นมี 11 หน่วยเสียง ไดแก่ /I, e, æ, a, ɯ, ɤ, ˄, u, o, ͻ, ɑ/ สระเด่ียวเสียงยาวมี 11 หน่วยเสียง ได้แก่ /iː, eː, æː, aː, ɯː, ɤː, ˄ː, uː, oː, ͻː, ɑː/ สระผสมมี 3 หน่วยเสียง ได้แก่ /ia, ɯa, ua/
นอกจากนี้ อัมพร ปรีเปรม (2556) ศึกษาเรื่อง “กระบวนการสร้างระบบตัวเขียนภาษากวยโดยใช้
อักษรไทยเพื่อสืบทอดวิถีวัฒนธรรมของชุมชนวัดไตรราษฎร์สามัคคี (บ้านซําและบ้านตาตา) ต.โพธิ์กระ สังข์ อ.ขุนหาญ จ.ศรสะเกษ” พบว่า ระบบตัวเขียนภาษากวย ประกอบด้วย
พยัญชนะต้น จํานวน 20 ตัว คือ /ก ค ง จ ช ซ ญ ด ต ท น บ ป พ ม ย ล ว อ ฮ/ โดย พยัญชนะต้น ญ จะออกเสียงต่างจากเสียงภาษาไทย คือ มีการออกเสียงขึ้นจมูก
พยัญชนะควบกล้ํา จํานวน 9 ตัว คือ /กล คล ตร ทร ทล บล ปล พล มล/
สระจํานวน 25 ตัว คือ /อะ อา อิ อี อึ อือ อุ อู เอะ เอ แอะ แอ โอะ โอ เอาะ ออ เออะ เออ เอียะ เอีย อัวะ อวั เอือะ เอือ เอา/
ตัวสะกดจํานวน 13 ตัว จําแนกตามเสียงท่ีออกเหมือนภาษาไทย คือ /ก ง ด น บ ม ย ว/ และ เสียงท่ีออกต่างจากภาษาไทย ได้แก่ เสียง /จ ล ฮ อ์ ยฮ/
ส่วนลักษณะน้ําเสียง มีลกษณะนํ้าเสียง ทุ้ม – ตํ่า ใช้วรรณยุกต์ ่ เขียนไวบนพยัญชนะที่ออกเสียงทุ้ม
- ตํ่า เช่น เพ่ลียว ค่อง
เมื่อเปรียบเทียบระบบเสียงภาษากวย บ้านสร้างใหญ่ บานไฮนอย และบ้านซํา-ตาตา พบว่า บ้านสร้าง ใหญ่ บ้านไฮน้อย มีพยัญชนะต้น และพยัญชนะสะกด มากกว่าบ้านซํา-ตาตา คือ เสียง /r/ หรือเสียง ร และ พบว่ามีตัวสะกดที่ออกเสียงต่างจากภาษาไทย ได้แก่ เสียง /จ ล ฮ อ์ ยฮ/ ซึ่งสมทรง บุรุษพัฒน์ (2537) ได้ อธิบายวิธีการออกเสียง ดงนี้
จ ออกเสียงโดย เอาส่วนกลางของลิ้นแตะเพดานแข็งและกกเสียงไว้ เช่น อลาจ
ล ออกเสียงโดย เอาปลายลิ้นแตะปุ่มเหงือกและปล่อยลมออกสองข้างลิ้น เช่น กะโตล
ฮ ออกเสียงโดย ปล่อยให้ลมออกมาโดยไม่มีการปิดก ในชองปาก่ เชน่ กะแทะฮ
อ์ พบที่บ้านซํา – ตาตา ออกสียงโดย ออกเสียงสระเสียงยาวและหยุด เช่น อลีอ์ ยฮ พบท่ีบ้านวํา – ตาตา ออกเสียงโดย ออกเสียง ย แล้วมีลมทายเสียง เช่น ปอยฮ
นอกจากน ังพบสระท่ีมีการออกเสียงต่างจากภาษาไทย คือ สระ เออฺะ เออฺ เอาฺะ ออฺ ซึ่งสามารถออก
เสียงได้โดยออกเสียงคล้ายสระเออะ สระเออ สระเอาะ สระออ ในภาษาไทย แต่เปิดปากใหกวางขึน้
ทีมวิจัยได้ศึกษาระบบตัวเขียนภาษากวยเพื่อจัดทําสื่อการเรียนรู้สําหรับเด็กเล็ก ได้แก่ ปรับปรุง รูปภาพในชาร์ตพยัญชนะภาษากวย และทําชาร์ตพยัญชนะภาษากูยเพิ่มสําหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีเด็กพูด ภาษากูย นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือบันทึกนิทานเรื่องเล่าจากปราชญ์ในชุมชนเพื่อถ่ายทอดสู่เด็กในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก
2.2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จากเอกสาร “มาตรฐานการดําเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย” (http://www.dla.go.th/work/e_book/eb1/std210550/0/0.htm) ได้ให้ ความหมายของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กว่า หมายถึง สถานที่ดูแลและให้การศึกษาเด็ก อายุระหว่าง 3 - 5 ปี มีฐานะ เทียบเท่าสถานศึกษา เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดตั้งเอง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของส่วนราชการต่างๆ ที่ถ่ายโอนให้อยู่ในความดูแลรบผดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ศูนย์อบรม เด็กก่อนเกณฑ์ในวัด/มสยิด กรมการศาสนา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กรมการพัฒนาชุมชน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รบถ่ายโอนจากสํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เป็นตน้
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตความรับผิดชอบของเทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2549 ดําเนินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้หลักสูตรเตรียมความพร้อมในระดับก่อนวัยเรียน มีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กศูนย์ที่ 1 บ้านแต้ ครอบคลุมพ้ืนท่ีบริการบ้านโพธิ์กระสังข์ บ้านโนนคูณ บ้าน แต้ และบ้านโพธ์ิกระสังข์เหนือ มีบุคลากรทั้งหมด จํานวน 6 คน ประกอบด้วย ครูผู้ดูแลเด็ก จํานวน 1 คน ผูช้ ่วยครูผดู้ ูแลเด็ก จํานวน 3 คน ภารโรงจํานวน 1 คน
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กศูนย์ท่ี 2 วัดสดํา ครอบคลุมพื้นที่บริการบ้านบก มีบุคลากรท้ังหมด จํานวน 3
คน ประกอบด้วย ครูผดู้ ูแลเด็กจํานวน 2 คน ภารโรงจํานวน 1 คน
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กศูนย์ที่ 3 บ้านซํา – ตาตา ครอบคลุมพ้ืนที่บริการบ้านตา – ตา บ้านซํา มี บุคลากรทั้งหมด จํานวน 3 คน ประกอบด้วย ครูผู้ดูแลเด็กจํานวน 1 คน ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก จํานวน 1 คน ภารโรงจํานวน 1 คน
4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กศูนย์ที่ 4 บ้านพอก ครอบคลุมพื้นที่บริการบ้านหนองประดิษฐ์ บ้านพอก มี บุคลากรท้ังหมด จํานวน 3 คน ประกอบด้วย ครูผู้ดูแลเด็กจํานวน 1 คน ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก จํานวน 1 คน ภารโรงจํานวน 1 คน
5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กศูนย์ท่ี 5 บ้านพยอม ครอบคลุมพื้นท่ีบริการบ้านโคกพยอม มีบุคลากรทั้งหมด
จํานวน 3 คน ประกอบด้วย ครูผู้ดูแลเด็กจํานวน 1 คน ผู จํานวน 1 คน
่วยครูผู้ดูแลเด็ก จํานวน 1 คน ภารโรง
6. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กศูนย์ที่ 6 บ้านหนองขนาน ครอบคลุมพื้นท่ีบริการบ้านหนองขนาน มีบุคลากร จํานวน 1 คน เป็นผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก
7. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กศูนย์ที่ 7 บ้านหนองคู ครอบคลุมพื้นที่บริการบ้านหนองคู บ้านใหม่พัฒนา มี บุคลากรทั้งหมด จํานวน 2 คน ประกอบดวย ครูผู้ดูแลเด็กจํานวน 1 คน ภารโรงจํานวน 1 คน
“คู่มือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ได้กล่าวถึงแนวทางการจัดการศึกษา ปฐมวัย (http://www.dla.go.th/work/e_book/eb6/eb6_3/eb6_3.htm) ดังนี้
1. การสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากวัยและประสบการณ์ของเด็ก เป็นหลักสูตรที่ มุ่งเน้นการพัฒนาเด็กในทุกด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา และลักษณะนิสัย โดยอยู่บน พื้นฐานของประสบการณ์เดิมที่เด็กมีอยู่และประสบการณ์ใหม่ที่เด็กจะได้รับ
2. การสร้างสภาพแวดล้อมท่ีเอ้ือต่อการเรียนรู้ของเด็ก ตอบสนองความต้องการและความสนใจของ เด็กทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน
3. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก มีการปรับปรุงการใช้เทคนิคและการจัด กิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก
4. การบูรณาการการเรียนรู้ หนึ่งแนวคิด เด็กสามารถเรียนรู้ได้หลายกิจกรรม หนึ่งกิจกรรม เด้กสามา รถเรียนรู้ได้หลายทักษะและหลายประสบการณ์ ครูจึงควรวางแผนการจัดประสบการณ์ให้เด็กผ่านการเล่น หลายกิจกรรม หลายทักษะอย่างเหมาะสมกับวัย
5. การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ว่าเด็กเกิดการเรียนรู้และมีความก้าวหน้าเพียงใด เพื่อนําไปใช้ในการวางแผนกิจกรรมและประเมินประสิทธิภาพการจัดการศึกษา
6. ความสัมพันธ์ระหว่างครูผู้ดูแลเด็กและครอบครัวของเด็ก ต้องมีการแลกเปล่ียนข้อมูลทําความ เข้าใจพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กและมีส่วนร่วมในการพฒนาตามหลักการจัดหลักสูตรให้บรรลุเป้าหมาย ร่วมกัน
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จึงได้จัดทํามาตรฐานการดําเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กร ปกครองส่วนท้องถ่ิน ให้สามารถดําเนินงานเพื่อพัฒนาเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยมาตรฐานการ ดําเนินงาน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบุคลากรและการบริหารจัดการ 2) ด้านอาคารสถานที่ ส่ิงแวดล้อมและความ ปลอดภัย 3) ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ท่ีเน้นการจัดในลักษณะของการดูแลและให้เด็กได้รับการ พัฒนาแบบองค์รวมในทุกด้าน ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตามวัยและความสามารถของแต่ ละบุคคล ซึ่งจะใช้ขอบข่ายกิจกรรมประจําวันในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 เป็นแนวทางใน การจัดประสบการณ์เรียนรู้ และ 4) ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากชุมชน ซึ่งในงานวิจยนี้ ทีมวิจัยได้ ดําเนินงานจัดทําแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการดําเนินงานในด้าน วิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรและการมีส่วนร่วมของชุมชนอีกด้วย
2.3 แนวคิดเร่ืองการจัดการเรียนการสอนโดยนําภาษาทองถิ่นร่วมจดการเรียนรู้
จากบทความเร่ือง “แนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยนําภาษาท้องถิ่นร่วมจัดการเรียนรู้” ใน เอกสารประกอบการประชุมปฏิบัติการเรื่องแนวทางและกลวิธีการสอนภาษาท้องถ่ินสําหรับนักเรียนแนว ชายแดนและพื้นที่พิเศษ (2553) ได้กล่าวถึงแนวทางการนําภาษาท้องถ่ินมาร่วมในการจัดการเรียนการสอนมี ส่วนช่วยในการเช่ือมโยงทุนทางภาษาและวฒนธรรมท่ีเด็กมีอยู่จากบริบทชุมชนเข้าสู่การเรียนในระบบโรงเรียน ใช้แนวคิดการจัดการศึกษาตามหลักพ้ืนฐานทางการศึกษา ใช้ผู้เรียนเป็นศูย์กลาง และหลักการ เรียนรู้สิ่งที่ยัง ไม่รู้หรือความรู้ใหม่โดยเชื่อมโยงกับสิ่งท่ีรู้อยู่แล้ว และแนวทางการพัฒนาสมองและการเรียนรู้ของเด็กโดยใช้ ภาษาแม่เป็นส่ือและใช้ลําดับการฟัง – พูด ด้วยความเข้าใจ คิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ ไปสู่การอ่าน – เขียน ด้วย
ความเข้าใจ และความคิดวิเคราะห์สรางสรรค์ในระดับต้นๆเช่นเดียวก
โดยใช้เป็นพ
ฐานสําหรับการฟัง – พูด
– อ่าน – เขียน ภาษาไทย ในลําดับต่อไป ซึ่งรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ใช้ภาษาท้องถิ่นร่วมจัดการ
เรียนร
ี 3 รูปแบบ ได้แก่
รูปแบบที่ 1 การจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษา (ภาษาท้องถ่ิน – ภาษาราชการ) เป็นการจัด
การศึกษาซึ่งเน้นการสอนภาษาท้องถ่ิน (ภาษาแม่) ในช่วงแรกของการเรียนการสอน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ เด็กมีฐานทางภาษาที่เขมแข็งผ่านภาษาแม่ เพื่อเป็นพืนฐานของการเรียนรู้ภาษาไทยและสาระวิชาอื่นๆได้อย่าง เป็นระบบ โดยในเบื้องต้นมีแนวทางพัฒนาสติปัญญา ความคิด และทักษะการส่ือสารของเยาวชนผ่านการ สื่อสารด้วยภาษาแม่ (ทักษะฟัง – พูด) จากนั้นจึงให้เด็กเรียนรู้การอ่านและเขียนภาษาแม่โดยใช้อักษรไทย ซึ่ง จะเกิดการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบการอ่าน – เขียน ภาษาไทยอย่างรวดเร็ว การจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษา ได้ดําเนินการอย่างเป็นรูปธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ สตูล ในโครงการ “จัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาท้องถ่ินและภาษาไทยเป็นสื่อ : กรณีการจัดการศึกษาแบบ ทวิภาษา (ภาษาไทย – มลายูถิ่น) ในโรงเรยนเขตพื้นที่จัง👉วดชายแดนภาคใต”้
รูปแบบที่ 2 การพัฒนาทักษะภาษาไทยโดยเชื่อมโยงจากภาษาท้องถิ่น (ตามแนวทางการจัดการ เรียนการสอนแบบทวิภาษา) เกิดจากปัญหาภาษาไทยไม่เข้มแข็งของเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ในพ้ืนที่ชายแดน ของประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการศึกษาของเยาวชนในพื้นที่ เนื่องจากการไม่เข้าใจภาษาไทยในระดับการ อ่าน – เขียน ทําให้ไม่เข้าใจเน้ือหาของบทเรียนวิชาอื่นๆส่งผลเสียต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา การพัฒนา ภาษาไทยโดยใช้ภาษาท้องถิ่นเป็นฐานในการเรียนรู้ เป็นไปตามหลักการพื้นฐานของการศึกษาซ่ึงเริ่มต้นจากสิ่ง ท่ีรู้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้ โดยใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเชื่อมโยงที่เกิดขึ้นในหลักสูตรการเรียนการสอนแบบทวิภาษา ไม่ได้มีเพียงการเชื่อมโยงระหว่างภาษาแม่ไปสู่ภาษาไทยเท่านั้น ยังมีรายละเอียดของการเชื่อมโยงจากสิ่งที่รู้
ไปสู่ส่ิงที่ไม่รู ีกหลายแนวทาง เชน่ การเชอมโยงระหวางภาษาท่่ื ้องถิ่น – ภาษาไทย อาทิ การเชอมโยงในระ่ื ดับ
เสียง การเช่ือมโยงระหว่างอักษร การเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ และการเชื่อมโยงระหว่างภาพ ไปสู่อักษร เป็นต้น
รูปแบบที่ 3 การจัดการเรียนการสอนเป็นรายวิชาภูมิปัญญา “การจัดการเรียนการสอนวิชาภาษา
ท้องถิ่น” เป็นการนําภาษาและภูมิปัญญาท้องถ่ินเข้าไปสอนในโรงเรียน โดยการทําหลักสูตรวิชาภาษาท้องถ่ิน การผลิตสื่อการสอน และฝึกกลวิธีการสอนภาษาท้องถิ่น ซึ่งเนื้อหาการสอนอาจแตกต่างกันไปตามบริบทของ
แต่ละกลุ่มชาติพนธ์ุและความสามารถในการใชภาษาของกลุ่มน ร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างมาก
ๆ แต่กระบวนการทั้งหมดนีจะต้องได้รับความ
ส่วนการนําภาษาท้องถ่ินร่วมจัดการเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กน้ัน พิบูลย์ชัย สวัสดิ์สกุลไพร และ คณะ (2553) ได้ทําโครงการวิจัยเพ่ือท้องถิ่นเร่ือง “แนวทางการสร้างกระบวนการเรียนรู้ภาษาและ วัฒนธรรมบซี ูที่เหมาะสมกบเด็กเลกชาวบีซู บานดอยชมภู ต.โปร่งแพร่ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย” โดยทดลอง สร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภายในชุมชนและดําเนินการจัดการเรียนการสอนโดยนําภาษาท้องถิ่นร่วมจัดการ เรียนรู้ในรูปแบบรังภาษา (Language Nest)1 ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งในการฟื้นฟูภาษาแม่และวัฒนธรรมชุมชนท่ี กําลังถดถอยหรือกําลังหายไป โดยผ่านการเรียนรู้หรือการสอนท่ีใช้ภาษาแม่ต้ังแต่ในวัยเด็ก แนวคิดรังภาษา ภาษาเร่ิมขึนครั้งแรกในปี ค.ศ. 1980 โดยชาวเมารี ประเทศนิวซีแลนด์ ผลจากการดําเนินงานทําให้เด็กเล็กเริ่ม ฟังและพูดภาษาบีซูได้ สามารถจําคําศัพท์ และปฏิบัติตามคําสั่งด้วยภาษาบีซูได้ นอกจากน้ี สุรัญญา ทะวงศ์ดี และคณะ (2556) ทําโครงการวิจัยเพื่อท้องถ่ินเรื่อง “พัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อการฟื้นฟูภาษาเขมรถิ่น
ไทย บานโพธิ์กอง ต.เช เพลิง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์” เป็นการนําภาษาเขมรถิ่นไทยร่วมจัดการเรยนรี ู้ในศูนย์
พัฒนาเด็กเล็กบ้านโพธิ์กอง ซึ่งสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่าแนวทางการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ภาษาเขมรถิ่นไมยในกลุ่มเด็กเล็กที่เหมาะสม คือ การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ภาษาตามธรรมชาติใน แนวทางของรังภาษาเช่นกัน เน้นการฟัง – พูด ภาษาท้องถิ่น ในชีวิตประจําวนั
การดําเนินงานของโครงการวิจัย “แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วย ภาษากวยโดยชุมชนมีส่วนร่วม ในพ้ืนที่เทศบาลตําบลโพธ์ิกระสังข์ฯ” ทีมวิจัยได้นําแนวคิดและหลักการ
1 Lois M. Meyer and Fernando Soberanes Bojórquez. (2010). The Language Nest Orientation for the Guides. First reprinting. Pedagogical Movement CMPIO-CNEII-CSEIIO Oaxaca.
การจัดการเรียนการสอนโดยนําภาษาท้องถิ่นร่วมจัดการเรียนรู้มาเป็นแนวทางในการวางแผนการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวย และได้นําสื่อและกลวิธีการสอนภาษาท้องถิ่นมา ใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ใหก้ ับเด็กในศูนย์พฒนาเด็กเล็ก โดยเฉพาะส่ือที่เนนการฟัง-พูด ได้แก่ ฉาก ภาพวัฒนธรรม เรื่องเล่าท้องถิ่น และนิทานภาพ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่ใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่ไกลตัว โดยใช้ ภาษาท่ีเด็กคุ้นเคย เพื่อให้เด็กมีความกล้าคิดและกลาแสดงออก ซ่ึงได้รับการหนุนเสริมความรู้ทางวิชาการและ เทคนิควิธีการจากนักวิชาการทางด้านภาษาศาสตร์และพ่ีเลี้ยงทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ในด้านการผลิต ส่ือและฝึกกลวิธีการสอนภาษาแม่ที่เหมาะสมสําหรบเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
บทที่ 3
กระบวนการทํางานวิจัย
โครงการ “แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวยโดยชุมชน มีส่วนร่วม ในพื้นท่ีเทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ” เป็นโครงการวิจัยเชิง
ปฏิบ ิการแบบมีส่วนร่วม มีกระบวนการทํางานวิจัย ดงนั
3.1 ขอบเขตการวิจัย
ขอบเขตเนือหา
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษา แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้วยภาษากวยเป็นกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยชุมชนมีส่วนร่วม ดําเนินการในพื้นที่เทศบาลตําบล โพธ์ิกระสังข์ โดยมีประเด็นการศึกษา ดังนี้
1. แนวทางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวย ได้แก่ กระบวนการ/ วิธีการสร้างการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมกวยสําหรับเด็กเล็ก, ส่ือ/กิจกรรม ที่เหมาะสม สําหรับกระบวนการสร้างการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมกวย และแนวทางการสร้างความเข้าใจและ ทัศนคติที่ถูกต้องเก่ียวกับการสร้างกระบวนการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้แก่ผู้ปกครองและ ชุมชน
2. ปัจจัย / เง่ือนไขในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมกวยในศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก ได้แก่ เงื่อนไข/ปัจจัยภายใน เช่น ความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก ความรู้ความเข้าใจและ ทัศนคติของชุมชนและผู้ปกครองเด็ก เป็นต้น เงื่อนไข/ปัจจัยภายนอก เช่น สภาพพ้ืนท่ี วิถีชีวิต วัฒนธรรม สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชน เป็นต้น
3. พัฒนาการการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมกวยของเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล ตําบลโพธิ์กระสังข์
4. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจดประสบการณ์การเรียนรูในศูนย์พฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ การ มีส่วนร่วมในการสํารวจสถานการณ์การใช้ภาษาของเด็กเล็ก การมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัด ประสบการณ์ ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการเป็นปราชญ์และวิทยากรทองถ่ินให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ขอบเขตพื้นที่
พื้นท่ีปฏิบัติการวิจัยอยู่ในเขตเทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ประกอบด้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดของเทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ท่ีอยู่ในชุมชนผู้ใช้ภาษากวยจํานวน
5 ศูนย์ ไดแก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแต้, ศูนย์พฒนาเด็กเล็กวัดสดํา, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านซํา – ตาตา, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบานพอกหนองประดิษฐ์, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบานหนองขนาน
ขอบเขตกลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเด็กเล็กเชอื สายกวยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อายุ 2 ขวบครึ่ง – 4 ขวบ ในศูนย์พฒนาเด็ก เล็กจํานวน 5 แห่ง
ขอบเขตระยะเวลา
เดือน พฤษภาคม 2559 ถึง เดือน ธันวาคม 2561
3.2 กระบวนการดําเนินงานวิจัย
ในการดําเนินงานวิจยโครงการ “แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พฒนาเด็กเล็กด้วย ภาษากวยโดยชุมชนมีส่วนร่วม ในพ้ืนท่ีเทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ” ได้มี การดําเนินงาน สามารถจําแนกเป็นกิจกรรมหลักของโครงการวิจัย ได้ดังนี้
1) เปิดเวทีช จงโครงการวจิ ัยสู่ชมชนุ
2) สํารวจขอมูลของเด็กเล็กในชุมชน สถานการณ์ทางภาษาของเด็กเล็กในชุมชน
3) เติมความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน
4) ศึกษาดูงานการจดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาท้องถิ่นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
5) วางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยภาษากวยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ทางภาษาของนักเรียนและบริบทของชุมชน
6) สร้างส่ือสําหรบเด็กเล็กตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
7) ฝึกหัดกลวิธีการสอนภาษาท้องถิ่นสําหรับเด็ก
8) ทดลองจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กเล็กด้วยภาษากวย
9) วดผลประเมินผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กเล็กด้วยภาษากวย
10) ถอดบทเรียนการทํางาน
11) จัดเวทีคืนความร ู่ชมชนุ
12) พัฒนาศักยภาพทีมวิจัยโดยการเข้าร่วมงานวันภาษาแม่สากลและการนําเสนอผลงานวิจัยที่ มหาวิทยาลยมหิดล
มีรายละเอียดการดําเนินกิจกรรมดังนี้
3.2.1 เปิดเวทีชีแจงโครงการวิจยสู่ชุมชน
1) เซนสัญญาโครงการวิจยและเปิดบญชีโครงการ
วันที่ 4 กรกฎาคม 2559 ทีมวิจัยได้ประชุมร่วมกับทีมพี่เล้ียงนักวิจัย ณ ห้องประชุมสภา เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ โดยทีมพี่เลี้ยงได้แจ้งให้ทราบว่า โครงการวิจัยได้รับการอนุมัติและออกสัญญา โครงการวิจัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้ทําการอ่านเอกสารและทําความเข้าใจร่วมกันอีกครั้งก่อนการเซน สัญญาโครงการ เม่ือเซนสัญญาโครงการวิจัยเรียบร้อยแล้ว ท้ังตัวแทนทีมวิจัยและพี่เลี้ยง ได้เดินทางไปที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ เพื่อเปิดบัญชีโครงการวิจัย กิจกรรมในวันนี้ดําเนินการผ่านไป ได้ด้วยดี
2) ประชุมวางแผนการจดเวทีชี้แจงโครงการวิจัย
วันที่ 3 สิงหาคม 2559 ทีมวิจยใช้เวลาหลงจากการสอน จัดประชุมกันเพ่ือวางแผนการจัด เวทีช้ีแจงการวิจัยสู่ชุมชน เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เก่ียวข้องได้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการทํางาน โดย นางกษมา จันทเสน หัวหน้าโครงการวิจัย ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าได้มีการเปิดบัญชีโครงการวิจัยเป็นที่ เรียบร้อยแล้ว กิจกรรมแรกที่ทีมวิจัยจะต้องทํา คือ การจัดเวทีชี้แจงโครงการวิจัย เพ่ือให้ชุมชนโดยเฉพาะ ผูปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับทราบว่าไดม้ ีการทําโครงการวิจัย
ทีมวิจัยกําหนดจัดเวทีชี้แจงโครงการวิจัยสู่ชุมชน ในวันที่ 11 สิงหาคม 2559 ซ่ึงเป็นการ จัดร่วมกับการจัดงานวันแม่ของเทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ เนื่องจากมีท้ังเด็กและผู้ปกครองมาร่วมงานเป็น จํานวนมาก เป็นการดึงชุมชนเข้ามารับทราบและนอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ เทศบาลตําบลโพธิ์ กระสังข์จะได้รับทราบการดําเนินงานโครงการและให้ความร่วมมือช่วยเหลือตามวาระโอกาสต่อไป ทั้งนี้ อาจจะขยายผลไปสู่โรงเรียนอื่นๆในเขตตําบลเดียวกันและตําบลใกล้เคียง เพราะส่วนใหญ่ก็คือลูกหลาน เด็กเยาวชนที่พูดภาษากวยได้ และนอกจากนี้ทีมวิจัยได้วางแผนให้มีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานที่เคยทํา จากโครงการท่ีผ่านมา รวมถึงการแต่งกายของเด็กเยาวชน ที่สามารถนํามาใชแสดงถึงความเป็นชาวกวยได้
3) จัดเวทีชี้แจงโครงการวิจัย
วันที่ 11 สิงหาคม 2559 ทีมวิจัยได้จัดเวทีชี้แจงโครงการวิจัยในชุมชนขึ้น ที่อาคาร เอนกประสงค์ เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนในชุมชนได้รับรู้และเข้าใจในการ ดําเนินงานโครงการ พร้อมกับเป็นการเปิดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มคนที่เก่ียวข้อง กิจกรรมคร้ังนี้ มีผู้เข้าร่วมหลากหลาย ได้แก่ ชาวบ้าน ผู้ปกครองเด็กนักเรียน ผู้นําหมู่บ้านและหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา เจ้าหน้าท่ีตํารวจ ผู้นําหมู่บ้าน และนักศึกษา กศน. อําเภอขุนหาญ บรรยากาศภายใน งานมีการจัดนิทรรศการแสดงผลการทํางานฟื้นฟูภาษาในชุมชนท่ีผ่านมา ซึ่งมีทั้งหนังสือนิทานและเกมการ
จัดประสบการณ์ ได้แก่ หนังสือนิทานเล่มยักษ์ของบ้านซํา-ตาตา บัตรคําภาษากวย – ภาษาไทย –
ภาษาอังกฤษ เป็นต้น ซึ่งผูเขาร่วมได้มีการพูดคุยสอบถามกับทีมวิจัย และถ่ายภาพกบผลงานต่างๆ ในส่วนของเวทีนั้น หัวหน้าโครงการวิจัยได้กล่าวรายงานความเป็นมาของการจัดเวทีครั้งน้ี
และแนะนําทีมวิจัยทุกท่านตลอดจนทีมพี่เล้ียงจากมหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้นได้กล่าวเกี่ยวกับรายละเอียด ของโครงการวิจัย พร้อมทั้งสอบถามความคิดเห็นจากชาวบ้าน ผู้ปกครองเด็กที่มาร่วมงาน ซ่ึงส่วนใหญ่เห็น ด้วยและยินยอมให้ความร่วมมือในการทํางาน ดงตัวอย่างคําพูดของผู้ปกครองเด็กบ้านหนองขนาน
“เ👉็นด้วย ดีมากค่ะ เพราะโดยปกติเด็กๆจะอยู่กับตายาย มีแม่ มีพ่อ ไปทํางานต่างจัง👉วัด อีกอย่างเด็กจะได้เรียนรู้ภาษากวยไปด้วย เป็นการอนุรักษ์ภาษาไปในตัว เพราะเดี๋ยวน้ีน้อยมากที่เด็กจะพูด
👉ากว่ามีอะไรท
ามารถพอทจี ะช่วยเ👉ลือได้ กย็ นดีเต็มทีค่ ่ะ”
ผลจากการจัดเวทีครั้งนี้ ทําให้ผู้ปกครองเด็กได้รับทราบว่าจะมีการทําโครงการวิจัยสอน
ภาษากวยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและจะให้ความร่วมมือตามวาระและโอกาส นอกจากนี้ชุมชนและหน่วยงาน ที่มาเข้าร่วมให้ความสนใจและมีการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกนเป็นอย่างดี
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น เนื่องจากในการจัดเวทีคร้ังน้ีมีเด็กเล็กเข้าร่วมด้วย จึงทําให้ เกิดความวุ่นวายและเสียงดังบ้าง ผู้ปกครองบางท่านอาจจะยังไม่เข้าใจในรายละเอียดของโครงการวิจยมาก นัก ซึ่งทีมวิจยจะมีการนดพบปะพูดคุยกันอีกครงั ในแต่ละศูนย์
3.2.2 สํารวจขอมูลของเด็กเล็กในชุมชน สถานการณ์ทางภาษาของเด็กเล็กในชุมชน
1) จัดประชุมทําแบบสํารวจสถานการณ์ทางภาษาของเด็กเล็ก
ทีมวิจัยได้จัดประชุมเพื่อทําแบบสํารวจสถานการณ์ทางภาษาร่วมกับทีมพี่เล้ียง โดยทีมพี่ เลี้ยงได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ ลักษณะของแบบสํารวจ วัตถุประสงค์ของการสํารวจ จากนั้นทีมวิจัยช่วยกัน ออกแบบสํารวจและทีมพ่ีเลี้ยงช่วยให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งแบบสํารวจสถานการณ์ทางภาษาของเด็กเล็ก
แบ่งเป็น 4 ส่วนหลัก ซึ่งมีแนวคําถามที่สําค ดงนั
ส่วนที่ 1 ข้อมูลเด็ก มีรายละเอียด ดังนี้
- ชื่อ – นามสกุล
- อายุ
- ช่วงชั้น
ส่วนที่ 2 ขอมูลผูปกครอง มีรายละเอียด คือ
- สมาชิกในครอบครัว
- ความสัมพันธ์กับเด็ก
- สมาชิกในครอบครัวมีเชือสายอะไรบ้าง เช่น ลาว ไทย กวย กูย เป็นตน้
ส่วนที่ 3 ข้อมูลการใช้ภาษาของเด็ก มีรายละเอียด คือ
- ภาษาแรกที่เด็กพูด คือ ภาษาอะไร
- ภาษาที่เด็กใช้บ่อยที่สุดกับคนในบ้าน คือ ภาษาอะไร
- ภาษาที่เด็กใช้คุยกบเพ่ือน / คนนอกบ้าน คือ ภาษาอะไร
- ภาษาที่ผูปกครองใช้พูดกบเด็กบ่อยที่สุด คือ ภาษาอะไร
ส่วนที่ 4 คือ ส่วนที่แสดงความคิดเห็น
2) สํารวจขอมูลสถานการณ์ทางภาษาของเด็กเล็ก
ทีมวิจัยดําเนินการสํารวจสถานการณ์ทางภาษาของเด็กเล็ก ในระหว่าง วันที่ 3 – 7 ตุลาคม 2559 โดย ทีมวิจัยซ่ึงเป็นครูประจําศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้นัดหมายให้ผู้ปกครองมาพูดคุยกัน ครู แจกแบบสอบถามให้ผู้ปกครองแต่ละคน พร้อมกับอ่านคําถามและทําความเข้าใจทีละข้อ ในกรณีที่ ผู้ปกครองอ่านหนังสือไม่ได้ นักวิจัยจะช่วยเหลือโดยการถามและกรอกแบบสอบสํารวจให้ จากนั้นนักวิจัย ทบทวนคําถามทีละข้อจนครบแล้วให้ผู้ปกครองกรอกและรวบรวมมาส่ง จากนั้นจึงนําแบบสํารวจทั้งหมดไป สรุป
3) สรุปผลจากการสํารวจ
ทีมวิจัยได้ดําเนินการสรุปผลการสํารวจสถานการณ์ทางภาษาของเด็กเล็กโดยนําข้อมูลที่ ได้จากแต่ละศูนย์ฯมาสรุปและวิเคราะห์เป็นร้อยละ ดงรายละเอียดท่ีแสดงในบทที่ 4
3.2.3 การเติมความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน
ทีมพี่เลี้ยงได้ให้ทีมวิจัยดูวีดิโอเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนภาษาแม่ในรูปแบบรัง ภาษาของกลุ่มเมารี ประเทศนิวซีแลนด์ จํานวน 3 เร่ือง ดังนี้
เรื่องที่ 1 เป็นเร่ืองราวเกี่ยวกับการถ่ายทอด การเรียนรู้ภาษาท้องถ่ินในรูปแบบที่มีกลุ่ม ผู้สูงอายุที่เป็นลักษณะการพูดคุย พบปะ และร่วมร้องเพลงกันอย่างมีความสุข และมีการเรียนรู้ภาษา ท้องถิ่นแบบการพูดคุยกันในครอบครัวที่มีท้ัง ปู่ ย่า ตา ยาย และเด็กๆ
เรื่องที่ 2 เป็นการเรียนรู้ภาษาของเด็ก ในลักษณะเป็นสถานท่ีเลี้ยงเด็กเล็ก โดยมี
ผูปกครองมาเรียนร ละหัดพูดคําแบบงายๆ่ เชน่ คําศพท์พื้นฐาน ที่ดจากนิู ทานภาพต่างๆพร้อมกับเด็กเล็ก
เรื่องที่ 3 เป็นการเรียนรู้ของเด็กที่โตข้ึนมากว่าเดิม มีการเรียนรู้คําศัพท์ต่างๆผ่านการ สืบค้นคําศัพท์ที่เป็นภาษาท้องถ่ินจากอินเตอร์เน็ต เป็นการเรียนรู้ที่มีการสร้างข้อตกลง มีป้ายต่างๆใน ห้องเรียน เพื่อให้เด็กไดเรียนรู้ภาษาท้องถ่ินใหด้ ีขึ้น เช่น ป้ายคําศัพท์ ป้ายห้ามพูดภาษาอ่ืน
หลังจากนัน้ ทีมพี่เลียงได้อธิบายเกย่ วกับ หวใจสําคัญของรังภาษา คือ
1. กลุ่มเป้าหมายที่จะทําการสอน / ถ่ายทอด / เรียนรู้ คือ กลุ่มต้ังแต่เด็กเล็กจนถึง 6
ขวบ เพราะสามารถซึมซบข้อมูลได้ดี
2. การสร้างบรรยากาศเรียนรู้ ควรจัดบรรยากาศให้เหมือนบ้าน มีการตกแต่งเครื่องใช้ใน บาน อาจมีพื้นที่สําหรบทํากิจกรรมเหมือนอยู่ท่ีบาน เช่น การทําอาหาร
3. ชุมชนมีส่วนร่วม มีความเข้าใจ เห็นด้วยกับการเรียนรู้ การถ่ายทอดภาษาแม่ จากกิจกรรมนี้ทําให้ทีมวิจัยได้เห็นตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาแม่เป็น
ฐานซึ่งเป็นกรณีศึกษาจากต่างประเทศ
3.2.4 ศึกษาดูงานการจดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาท้องถิ่นในศูนย์พฒนาเด็กเล็ก
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2559 ทีมวิจัยได้เดินทางไปศึกษาดูงานการจัดประสบการณ์การ เรียนรู้ภาษาท้องถิ่นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโพธ์ิกอง ต.เชื้อเพลิง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ โดยมีทีมวิจัย ภาษาเขมรถิ่นไทยบ้านโพธิ์กองให้การต้อนรับเป็นอย่างดีและกล่าวแนะนําชุมชน แนะนําความเป็นมาของ การทําโครงการวิจัย การจัดการเรียนการสอนภาษาเขมรถ่ินไทย ในระดับชั้นประถมศึกษา ระดับอนุบาล และระดับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตลอดจนผลที่เกิดข้ึนกับเด็กนักเรียน ครูผู้สอน และความเปลี่ยนแปลงท่ี เกิดขึ้นในชุมชน
ทีมพ่ีเลี้ยงได้กล่าวช่ืนชมในการทํางานของทีมวิจัยภาษาเขมรถ่ินไทย จึงอยากให้ทีมวิจัย ภาษากวยได้รับทราบถึงการทํางานเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการทํางานวิจัยต่อไป
จากนั้นชมการแสดงตั๊กแตนตําข้าวของเด็กๆ โดยมีพี่อนุบาลท่ีเข้าร่วมโครงการมาแสดง ด้วย จากการสังเกตเด็กๆ จะไม่มีการตื่นเต้น ทําตัวปกติ ชี้ให้เห็นว่ามีระเบียบวินัย เรียบร้อย ไม่อายคน แปลกหน้า สามารถทํากิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ และครูได้ดี
นอกจากนี้ ยังสังเกตการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาเขมรถิ่นไทย คือ
- ครูเก็บเด็กร้องเพลงเป็นภาษาเขมรถิ่นไทย
- เด็กๆ รับฟัง ได้ยินทําตามแลวมานั่งตามที่นั่งตวเอง
- ครูค่อยๆ เปิดภาพชาๆ ชีภาพ ให้เด็กพูดตามแล้วให้เด็กอ่านภาพตามที่ครูชี้
- ครูแจกบัตรภาพให้เด็กทีละคน
- ครูเปิดภาพให้เด็กอ่านตามภาพแล้ว ใหเด็กที่มีภาพตามหนังสือออกมายืนเรียงกระดาน จนครบทุกคน
- ครูพาเด็กอ่านตามภาพพรอมกับเด็ก (เป็นการทบทวน)
- ครูและเด็กกล่าวช่ืนชมโดยพูดเป็นภาษาเขมรถิ่นไทย
หลังรับประทานอาหารกลางวัน ทีมวิจัยได้เดินดูการจัดห้องเรียน การตกแต่ง การจัดทํา สื่อที่เป็นภาษาเขมรถ่ินไทย เช่น นิทานเล่มยกษ์ นอกจากน้ี ยังได้รับคําแนะนําจากการจดประสบการณ์ว่า ในการสอนภาษาถิ่นจะมีการใช้หลักการ คือ
- ค่อยๆ พูด แลวใหเด็กพูดตาม
- ทําความเขาใจกับผู้ปกครอง/ช้แจงในการส่งเสริมการพูดภาษาถิ่นที่บาน
- ไม่ควรพูดปนกันระหว่างภาษาไทยและภาษาถิ่น
- ครูมีการเตรียมตัวก่อนสอน
จากกิจกรรมนี้ ทําให้ทีมวิจัยได้รับความรู้ แนวคิด ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพิ่ม
มากข
และได้รับแรงบนดาลใจ มีการกระตุนการทํางานวิจัยเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
ข้อเสนอแนะ ควรมีการจัดไปศึกษาการจัดประสบการณ์แบบนี้ให้มากกว่า 1 วันเพราะใช้
ระยะเวลาส ๆ เพื่อการเตมเตมของเทคนคตางๆ่ิ็ิ ในการใชภาษาถ้ ิ่นของครูและเดกๆ็
3.2.5 กิจกรรมการวางแผนการจดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยภาษากวยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางภาษาของนกเรียนและบริบทของชุมชน
ทีมวิจัยได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อออกแบบแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วย ภาษากวยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยทีมวิจัยแบ่งงานกันไปทดลองเขียนแผนโดยนําภาษากวย เข้าไปอยู่ใน การสอนผ่าน 6 กิจกรรมหลัก ไดแก่
1. กิจกรรมเคล่ือนไหวและจังหวะ
2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
3. กิจกรรมสร้างสรรค์
4. กิจกรรมเสรี
5. กิจกรรมกลางแจ้ง จากนั้นทีมวิจัยได้ประชุมกันเพ่ือจัดทําแผนและได้ดําเนินการจัดพิมพ์และส่งให้ทีมพี่เลี้ยงดู
ซึ่งทีมพี่เลียงได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า
1. การเรียนรู้ควรมาจากสิ่งใกลตัวก่อนไปไกลตัว
2. ควรเขียนด้วยภาษากวยให ัดเจน
3. ส่ือนิทานภาพ ไม่ควรนํามาจากอินเตอร์เน็ต เพราะจะมีผลต่อลิขสิทธ์ิของคนที่ทําก่อน ควรเป็นสื่อหรือรูปภาพที่วาดเอง
4. การเรียนการสอนจะมีเป้าหมาย คือ การพัฒนาความคิดเป็นลําดับขั้นตามแนวทาง ของ Bloom’s Taxonomy ไดแก่
- รู้/จําได้ : ตอบคําถามในส่ิงที่รู้และจําได้
- เข้าใจ : อธิบายความคิดของตนได้
- ประยุกต์ : นําความรูไปใช้ประโยชน์มากขึ้น
- วิเคราะห์ : เห็นภาพรวมและเปรียบเทียบ ความเหมือนและแตกต่างได้
- ประเมิน : ให้ค่า /ประเมินค่าอย่างมีเหตุผล
- สรางสรรค์ : นําความรูเดิมมาดดแปลง/พัฒนา สร้างสรรค์
5. ให้มีส่ือและกลวิธีการสอนภาษาท้องถิ่นด้วย ซึ่ง ส่ือท่ีใช้ในการสอน ด้านฟัง - พูด ได้แก่ นิทานภาพ ฉากภาพวัฒนธรรม เพลง และสื่อที่ใช้ในการสอนด้านอ่าน-เขียน ได้แก่ หนังสือเล่มเล็ก หนังสือเล่มยักษ์
ทีมวิจัยมีความเห็นว่า ถ้าสอนภาษากวย ทั้ง 6 กิจกรรมหลัก จะส่งผลกระทบต่อการ ประเมินตามแนวทางการประเมินมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน ซึ่งเด็ก จะต้องรู้ท้ังภาษาไทย ภาษาท้องถิ่น และภาษาอังกฤษ ทีมวิจัยจึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการทําแผนการจัด ประสบการณ์ จากเดิมคือเพ่ิมเติมภาษากวยใน 6 กิจกรรมหลัก เป็นการนําภาษากวยเข้าสอนในช่วงเสริม ประสบการณ์ ทุกวัน ๆ ละ 45 นาที และได้ทดลองทําแผนการสอนร่วมกัน โดยวางแผนว่าจะเริ่มสอนใน ภาคเรียนที่ 2 เริ่มจากเดือน พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไป
3.2.6 กิจกรรมการทําส่ือสําหรบเด็กเล็กตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
1) ทบทวนปรับปรุงแก้ไขระบบตัวเขียนภาษากวยและพัฒนาระบบตัวเขียนภาษากูย
ทีมวิจัยจัดกิจกรรมทบทวนระบบตัวเขียนภาษากวย โดยครูประภร แต้มงาม และครู ธัญลักษณ์ โพธิสาร ผู้เคยเข้าร่วมในโครงการวิจัย “ศึกษากระบวนการสร้างระบบตัวเขียนภาษากวย เพื่อ สืบทอดวิถีวัฒนธรรมชุมชนวัดไตรราฎร์สามัคคี (บ้านซําและบ้านตาตา) ต.โพธิ์กระสังข์ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ” ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาระบบตัวเขียนภาษากวย เป็นวิทยากรอธิบายระบบตัวเขียนภาษากวย ให้ทีมวิจัยฟัง และได้มีการนําชาร์ตระบบตัวเขียนภาษากวยขึนมาดูและเห็นว่า มีคําบางคํา รูปบางรูป ยังไม่ ชัดเจน อีกทั้งคู่มือระบบตัวเขียนที่ได้จัดทําข้ึนมานั้น ยังมีบางส่วนที่ต้องปรับปรุงแก้ไข ซึ่งในคร้ังนี้จึงได้เป็น การทบทวนและปรับปรุงร่วมกัน
จากนั้นทีมวิจัยจึงดําเนินการแก้ไขคําศัพท์และภาพในชาร์ตพยัญชนะ รวมทั้งแก้ไขคู่มือ ระบบตัวเขียนและตรวจสอบความถูกต้องร่วมกันอีกครั้ง และนอกจากน้ียังได้รวบรวมนิทานภาษากวย
ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ได้แก่ การนํานิทานที่เคยเขียนไว้มาแก้ไขการเขียนให้ถูกต้อง การให้ปราชญ์ใน
ชุมชนเล่าให ังพรอมเดกๆแล็ วจดบนทึก ใหแม่้ เล่าให้ฟงั หรือ ใหท้ ีมวจิ ัยดวยก้ ันเองเล่าให ัง
ทีมพ่ีเล้ียงได้ให้คําแนะนําเพิ่มเติมว่า นิทานที่เก็บรวบรวมมา สามารถทําเป็นคําศัพท์ ใหม่หรือคําศัพท์สําคญไว้ท้ายเรื่องได้ และควรมีการคัดเลือกเรื่องที่มเนื้อหาให้เหมาะสมสําหรับการสอนเด็ก นอกจากนี้ทีมพี่เลี้ยงไดให้คําแนะนําในการจัดทําระบบตัวเขียนภาษากูย โดยฟังจากการอ่านและเปล่งเสียง ของครูกานต์จิราห์ โพธิสาร ซ่ึงเป็นครูผู้ใช้ภาษากูย จากน้ันสามารถทําชาร์ตพยัญชนะโดยใช้ภาพประกอบ ชุดเดียวกันกับชาร์ตพยัญชนะภาษากวยได้ เพียงแก้ไขคําที่อ่านออกเสียงต่างกัน หรือแก้ไขภาพหากคํานั้น ไม่ตรงกนั
หลังจากนั้น ทีมวิจัยได้นัดหมายกันทุกวันพุธ ในการตรวจนิทานร่วมกัน โดยให้ทุกคนอ่าน คนละเร่ืองแล้วตรวจความถูกต้องร่วมกัน ซึ่งในบางครั้งทีมวิจัยมีความไม่มั่นใจในการเขียน ทําให้ต้องใช้ เวลาในการทบทวนนานและต้องดูชาร์ตพยัญชนะประกอบ ส่งผลให้กิจกรรมนี้ใช้เวลาค่อนข้างนานจึงทําให้ เกิดความล่าช้า
2) ผลิตสื่อสําหรับการจัดประสบการณ์เรียนรู้ภาษากวยให้กับเด็กเล็ก
ทีมวิจัยได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพ่ือการผลิตส่ือสําหรับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ภาษากวยให้กับเด็กเล็ก โดยทีมพี่เลี้ยงทําตารางเพื่อเช็คสื่อ นิทาน เพลง ที่ต้องใช้ในการสอน เช็คสิ่งที่มีอยู่ แล้ว และส่ิงที่ตองทําเพิ่ม ซึ่งส่ิงที่จะต้องทําเพ่ิม ได้แก่ ฉากภาพ และ นิทานภาพ
ทีมพ่ีเลี้ยงได้อธิบายลักษณะของนิทานภาพ และฉากภาพ พร้อมทั้งแนวคิดในการใช้สื่อ และกลวิธีการสอน จากนั้น ให้ทีมวิจัยคิดว่าจะทํานิทานภาพและฉากภาพอะไรบ้าง แล้วออกมานําเสนอ พรอมทังรับฟังขอคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทีมพเ่ ลี้ยงและเพื่อนนักวิจัย ก่อนการลงมือวาดภาพระบายสี
3.2.7 กิจกรรมฝึกหัดกลวิธีการสอนภาษาท้องถิ่นสําหรบเด็ก
ทีมพี่เล้ียงจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อฝึกหัดกลวิธีการสอนภาษากวย ให้ครู สามารถใช้กลวิธีการสอนภาษาทองถิ่นกบเด็กเล็กได้อย่างถูกต้องและมั่นใจ โดยฝึกอบรมใหในระหว่างช่วงที่ มีการผลิตสื่อ กล่าวคือ เมื่อผลิตส่ือแลวก็ได้ทําการฝึกกลวิธีการสอนไปพร้อมด้วย
3.2.8 ทดลองจัดประสบการณ์การเรียนรใู ห้เด็กเล็กด้วยภาษากวย
ทีมวิจยเริ่มจดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กบเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยใช้ภาษากวย ตามแผนที่กําหนด และมุ่งเน้นการเรียนรู้ท้ังภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียน โดยเริ่มทําการทดลอง สอนในเดือนพฤศจิกายน 2560 และมีทีมพี่เลียงมาติดตามการสอนและให้ข้อเสนอแนะโดยสรุป ดังนี้
- การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ควรพูดเป็นภาษากวยทั้งหมด ครูไม่ควรปน
- การสอนนิทานภาพ ครูควรแนะนําภาพทุกภาพให้เด็กฟังและเข้าใจก่อน แล้วค่อยให้ เด็กได้สมผัสภาพ ได้พูดคุย
- ครูควรตั้งคําถามให้เหมาะสมกับเด็ก ควรเป็นคําถามท่ีกระตุ้นให้เด็กได้แสดงความคิด ตามระดับพัฒนาการ
- ในกรณีท่ีเด็กตอบครูด้วยภาษาไทย ครูควรพยายามพูดโต้ตอบและอธิบายด้วยภาษา กวย
เรียนร
3.2.9 การวดผลประเมินผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ทีมวิจัยและทีมพี่เลียงได้ร่วมกันออกแบบบนทึกการวดผลประเมินผลการจัดกิจกรรมการ วยภาษากวย ซึ่งประกอบดวยขอมูลสําคัญ ดังน้ี
- ข้อมูลเด็ก / นักเรียน ปี 2560
- ชื่อ – สกุล อายุ ท่ีอยู่
- การใช้ภาษาภายในบานก่อนเรียน / หลงเรียน
สําหรับตัวชี ัดจะมีดงต่ั อไปน
- ความเข้าใจภาษา
- การสนทนาโต้ตอบ
- การออกเสียงภาษาชัดเจน
- การมีความคิดสร้างสรรค์ ในการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิม จากน้ันทีมวิจัยได้ดําเนินการประเมินผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษากวยในศูนย์
พัฒนาเด็กเล็ก ตามแบบประเมินที่ได้ร่วมกันอออกแบบ ทําให้ได้เห็นพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กได้ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
3.2.10 กิจกรรมถอดบทเรียนการทํางานวิจัย
ทีมวิจัยจัดกิจกรรมถอดบทเรียนการทํางานวิจัย โดยมีทีมพี่เล้ียงได้ชวนพูดคุยในประเด็น ต่างๆ ได้แก่ โอกาส อุปสรรค จุดเด่น จุดด้อย ของการทําโครงการนี้ ผลกระทบต่อพัฒนาการการเรียนรู้ ภาษาและวัฒนธรรมกวยของเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพ้ืนที่เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ รวมถึง ปัญหาต่างๆ ของการทําโครงการวิจัยนี้ ทําให้ทีมวิจัยได้ทบทวนถึงสถานการณ์ต่างๆที่ผ่านมา ตลอดจน แนวทางการดําเนินงานต่อในอนาคต
3.2.11 กิจกรรมคือความร ู่ชุมชน /เวทีชีแจงผลการวจิ ัยสู่ชุมชน
กิจกรรมน้ีเป็นการสรุปผลการทํางานวิจัยทั้งโครงการสําหรับนําเสนอต่อคนในชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเพ่ือให้คนในชุมชน หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องได้รับรู้ผลการวิจัย และให้ความร่วมมือ ในการทํางานครั้งต่อไป และที่สําคญเพื่อให้คนในชุมชนตระหนักถึงความสําคัญของการทํางานวิจัยโครงการ “แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวย โดยชุมชนมีส่วนร่วมในพ้ืนที่ เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ อําเภอขุนหาญ จงหวัดศรีสะเกษ”
การจัดกิจกรรมครั้งนี้ ทีมวิจัยได้จัดนิทรรศการภาพรวมของการทําโครงการที่ผ่านมา ทั้งหมดและได้จัดเวทีเสวนา เรื่อง “ความสําคัญของการสอนภาษาถิ่นในสถานศึกษา” และได้จัดแสดง ทดลองการสอนโดยสอนให้กับเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซ่ึงได้รับความสนใจจากชุมชนเป็นอย่างมาก โดยมีผู้มาร่วมกิจกรรมมากถึง 136 คน และยังได้รับความสนใจจากหน่วยงานอื่น ได้แก่ ครูและนักวิชาการ ศึกษาจากเทศบาลตําบลโพธ์ิกระสังข์ ผู้อํานวยการโรงเรียนในเขตตําบลโพธิ์กระสังข์ เป็นต้น
3.2.12 กิจกรรมพฒนาศกยภาพทีมวิจัย
1) เข้าร่วมงานวันภาษาแม่สากลที่มหาวิทยาลัยมหิดล
วันท่ี 21 กุมภาพันธ์ 2560 ทีมวิจัยเข้าร่วมงานวันภาษาแม่สากลที่มหาวิทยาลัยมหิดล ซ่ึงมีชาติพันธุ์ต่างๆมาร่วมงานเป็นจํานวนมาก เช่น เขมรถิ่นไทย โส้ ไทดํา กิจกรรมวันภาษาแม่สากลในปีนี้ เป็นการร่วมแสดงความยินดีกับ 15 ปี แห่งรางวัลภาษาแม่และวัฒนธรรมชุมชนท้องถ่ิน จากชุมชนสู่สากล (2545 – 2560) ซึ่งทีมวิจยภาษากวยก็ได้รับเช่นกัน
ทีมวิจัยได้ร่วมรับฟังปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ระบบเขียนภาษาแม่ : ฐานรากของ ความสําเร็จ รางวลและอนาคตท่ีย่งยืน” นอกจากนี้ ยงร่วมรับฟังในหวขอต่างๆ ดังน้ี
1.) การถอดบทเรียนและประสบการณ์ทํางานฟื้นฟูภาษาของตัวแทนนักวิจัยชาติพนธุ์
2.) งานวิจัยต่อยอดจากงานฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น
3.) ทิศทางการทํางานเพ่ือการฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาทองถ่ินในอนาคต
จากการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ทีมวิจัยได้แลกเปล่ียนความคิดเห็น ความรู้และ ประสบการณ์ ทําให้ทีมวิจัยเกิดความภูมิใจและเชื่อมั่นในการทํางานฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นและ เกิดเครือข่ายระหว่างนักวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างอีกด้วย
2) เข้าร่วมเวทีนําเสนอผลงานวิจัยเพ่ือทองถิ่น
กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกทักษะการนําเสนอผลการทํางานของทีมวิจัย เพื่อเป็น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และผลการทํางานของแต่ละโครงการวิจัย และเพื่อให้ได้ความรู้และ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสําหรับนําไปพัฒนาต่อยอดความรู้ท่ีได้จากการทํางานวิจัย ซึ่งทางทีมวิจัยได้เข้าร่วม
นําเสนอผลงานวิจัยในเวที “การนําเสนอผลงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ประเด็นการฟ้ืนฟูภาษาและภูมิปัญญา ท้องถิ่น : กลุ่มชาติพันธุ์อาข่า กูย กวย และไทดํา” ในวันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน 2561 ณ อาคารภาษา และวัฒนธรรมสยามบรมราชกุมารี สถาบันวิจัยภาษาและวฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล โดยทีมวิจัย ได้นําผลงาน เอกสาร ส่ือต่างๆ ไปร่วมจัดแสดงด้วย จากการนําเสนอผลงานในครั้งนี้ ทําให้ทีมวิจัยได้รับ ข้อเสนอแนะและคําชื่นชมจากผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทํารายงานฉบับสมบูรณ์และพัฒนา ต่อยอดงานในอนาคตต่อไป
3.3 วิธีการเก็บรวบรวมขอมูล
การดําเนินงานในโครงการ “แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วย ภาษากวยโดยชุมชนมีส่วนร่วม ในพ้ืนที่เทศบาลตําบลโพธ์ิกระสังข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ” ได้มี การทํากิจกรรมตามแนวทางท่ีได้กําหนดไว้ โดยใชกระบวนการในการดําเนินงานวิจัยหลากหลายรูปแบบ ซึ่ง เน้นการสรางกระบวนการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของชุมชน ดังนี้
การประชุมกลุ่มย่อย
การดําเนินกิจกรรมโครงการส่วนใหญ่ ทีมวิจัยได้ใช้วิธีการประชุมกลุ่มย่อย เพื่อวางแผน เตรียมงาน หรือแม้แต่การประชุมกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน เช่น การประชุมเพื่อเตรียมจัดเวทีชี้แจง โครงการ ฯ การประชุมเพื่อออกแบบสํารวจข้อมูลสถานการณ์การใช้ภาษาของเด็กเล็กในชุมชน วาง แผนการเก็บข้อมูล การสรุปขอมูลร่วมกัน เป็นต้น
การประชุมเชิงปฏิบัติการ
ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ถือเป็นการประชุมเพ่ือให้ทีมวิจัยได้ฝึกปฏิบัติ และได้เรียนรู้ส่ิง ใหม่ เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทําแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยภาษากวยในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการผลิตสื่อและฝึกกลวิธีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษา แม่ โดยมีทีมวิทยากรจากสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ให้ความรู้ และ ยงทําให้ทีมวิจยไดเรียนรู้ ทดลองปฏิบัติ ทีมวิจัยได้ลองผิด ลองถูก และแก้ไขใหเกิดความถูกต้องเหมาะสม
การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์
ทีมวิจัยได้มีการเก็บข้อมูลสถานการณ์การใช้ภาษาของเด็ก โดยการสัมภาษณ์ผู้ปกครองใน กรณีที่ผู้ปกครองไม่สามารถอ่านหนังสือได้ และได้มีการสัมภาษณ์ปราชญ์ผู้รู้ เรื่องนิทานภาษากวย นอกจากน้ีทีมวิจัยบางคนยังถือเป็นปราชญ์ที่มีความรู้อยู่ในตนเองอยู่แล้ว จึงสามารถถ่ายทอดความรู้ผ่าน การเขียนโดยใช้ระบบเขียนภาษากวยในการบันทึกนิทานได้
การเก็บข้อมูลโดยการสังเกต
ทีมวิจัยเก็บข้อมูลผลจากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษากวยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยใช้ วิธีการสังเกตทักษะการฟัง – พูด พฤติกรรมการสื่อสารโต้ตอบกับครูด้วยภาษากวยของเด็กนักเรียนและ บันทึกในแบบบันทึกการวัดผลประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษากวยของเด็กนักเรียนเป็น รายบุคคล
3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
โครงการ “แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวยโดยชุมชน มีส่วนร่วม ในพื้นที่เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ” เป็นการวิจัยเชิง ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นการฝึกอบรมและปฏิบัติการ แต่ทีมวิจัยได้มีการเก็บรวบรวม ข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณในการศึกษาสถานการณ์การใช้ภาษาของเด็กเล็ก ทําให้ทีมวิจัยได้ เห็นข้อมูลตัวเลขในเชิงสถิติเพื่อประกอบในการวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยภาษากวยให้กับ เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ผลการดําเนินงาน
จากการดําเนินงานของโครงการวิจัย “แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็ก เล็กด้วยภาษากวยโดยชุมชนมีส่วนร่วม ในพื้นท่ีเทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะ
เกษ” ได้ผลการดําเนินงานจําแนกตามหัวข ดงนั
4.1 สถานการณ์ทางภาษาของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพ ที่เทศบาลตาบลโพธกระส์ิํ ังข
4.2 แผนการจดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวย
4.3 สื่อการจัดประสบการณ์การเรียนรูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวย
4.3.1 ระบบเขียนภาษากวย
4.3.2 นิทาน เรื่องเล่าภาษากวย
4.3.3 ฉากภาพวัฒนธรรม
4.3.4 นิทานภาพ
4.3.5 เพลงภาษากวย
4.4 การจัดประสบการณ์การเรียนรูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดวยภาษากวย
4.5 ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดวยภาษากวย โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
4.1 สถานการณ์ทางภาษาของเด็กในศูนย์พฒนาเด็กเล็กในพืนที่เทศบาลตําบลโพธิ์กระสงข์
ทีมวิจัยได้สํารวจสถานการณ์ทางภาษาของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตําบลโพธิ์กระ สังข์ที่อยู่ในชุมชนผู้ใช้ภาษากวย จํานวน 5 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแต้, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัด สดํา, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านซํา – ตาตา, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพอกหนองประดิษฐ์, ศูนย์พัฒนาเด็ก เล็กบ้านหนองขนาน ซึ่งมีผลการสํารวจ ดังนี้
4.1.1 ข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตําบลโพธ์ิกระสังข์ที่ อยู่ในชุมชนของผู้ใช้ภาษากวย
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ ท่ีอยู่ในชุมชนผู้ใช้ภาษากวย มีเด็ก ทั้งหมด จํานวน 88 คน ส่วนใหญ่อยู่ท่ีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแต้ ซึ่งถือเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่บริการ 4 หมู่บ้าน ส่วนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กท่ีมีจํานวนเด็กน้อยที่สุด คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านหนองขนาน มีเด็กนักเรียนจํานวน 8 คน เมื่อเปรียบเทียบอายุของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพบว่า ส่วน ใหญ่เป็นเด็กนักเรียนอายุ 2 ขวบ จํานวน 47 คน และ อายุ 3 ขวบ จํานวน 41 คน ดังรายละเอียดในตาราง ที่ 1
ศูนย์พฒนาเด็กเล็ก | อายุ 2 ปี | อายุ 3 ปี | ||
จํานวน (คน) | ร้อยละ (%) | จํานวน (คน) | รอยละ (%) | |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแต้ | 27 | 57.45 | - | - |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดสดํา | 12 | 25.53 | - | - |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบานซํา – ตาตา | - | - | 20 | 48.78 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพอกหนองประดิษฐ์ | - | - | 21 | 51.22 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองขนาน | 8 | 17.02 | - | - |
รวม | 47 | 100 | 41 | 100 |
ตารางที่ 1 แสดงจํานวนเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ที่อยู่ในชุมชนผู้ใช้ภาษากวย
4.1.2 ขอมูลสมาชิกในครอบครวที่มีความสัมพนธ์กับเด็กในศูนย์พฒนาเด็กเล็ก
ข้อมูลสมาชิกในครอบครัวที่มีความสัมพันธ์กับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตําบลโพธิ์ กระสังข์ ที่อยู่ในชุมชนผู้ใช้ภาษากวย มีจํานวนทั้งหมด 376 คน ส่วนใหญ่มีเชื้อสายกวย จํานวน 174 คน คิดเป็นร้อยละ 46.28 ของจํานวนสมาชิกในครอบครัวท้ังหมด รองลงมาคือมีเช้ือสายกูย จํานวน 135 คน คิดเป็นร้อยละ 35.90 ของจํานวนสมาชิกในครอบครัวทั้งหมด น้อยที่สุด คือ เป็นคนไทยภาคกลาง จํานวน 5 คน คิดเป็นรอยละ 1.33 ของจํานวนสมาชิกในครอบครัวทั้งหมด
เมื่อดูข้อมูลในรายศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อาจกล่าวได้ว่า มีจํานวนประชากรที่มีความสัมพันธ์กับเด็กใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแต้, บ้านซํา-ตาตา และบ้านหนองขนาน ส่วนใหญ่มีเชื้อสายกวย ในขณะเดียวกัน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบานพอกหนองประดิษฐ์มีจํานวนประชากรที่มความสัมพันธ์กับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ส่วนใหญ่มีเชื้อสายกูย นอกจากน้ีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดสดํามีจํานวนประชากรที่มีความสัมพันธ์กับเด็กใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีเชอื สายกูยทั้งหมด ดงรายละเอียดในตารางที่ 2
เชื้อสายของ สมาชิกใน ครอบครัว | บานแต้ | วดสดํา | บ้านซํา-ตาตา | บานพอก หนองประดิษฐ์ | บาน หนองขนาน | รวม | ||||||
จํานวน (คน) | รอยละ (%) | จานวน (คน) | รอยละ (%) | จํานวน (คน) | รอยละ (%) | จํานวน (คน) | รอยละ (%) | จานวน (คน) | รอยละ (%) | จํานวน (คน) | ร้อยละ (%) | |
กวย | 101 | 82.79 | - | - | 46 | 54.12 | 8 | 8.60 | 19 | 54.29 | 174 | 46.28 |
กูย | 2 | 1.64 | 41 | 100.00 | 18 | 21.18 | 73 | 78.49 | 1 | 2.86 | 135 | 35.90 |
ไทย | 1 | 0.82 | - | - | 2 | 2.35 | 1 | 1.08 | 1 | 2.86 | 5 | 1.33 |
อีสาน | 16 | 13.11 | - | - | 9 | 10.59 | 6 | 6.45 | 4 | 11.43 | 35 | 9.31 |
อื่นๆ | 2 | 1.64 | - | - | 10 | 11.76 | 5 | 5.38 | 10 | 28.57 | 27 | 7.18 |
รวม | 122 | 100 | 41 | 100 | 85 | 100 | 93 | 100 | 35 | 100 | 376 | 100 |
ตารางที่ 2 แสดงเชื้อสายของสมาชิกในครอบครวท่ีมีความสัมพันธ์กับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
4.1.3 ขอมูลการใชภาษาของเด็ก
จากการสํารวจ พบว่า ภาษาแรกท่ีเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ ที่อยู่ ในชุมชนผู้ใช้ภาษากวย พูด คือ ภาษาไทย จํานวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 67.05 ของเด็กจํานวนท้ังหมด รองลงมา คือ ภาษากวย จํานวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 18.18 ของเด็กจํานวนทั้งหมด และน้อยที่สุด คือ พูดภาษาแรกเป็นภาษาอีสาน จํานวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.68 ของเด็กจํานวนทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบ ข้อมูลของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดสดํา ซ่ึงมีเด็กท่ีมีเชื้อสายกูยแต่ภาษาแรกท่ีเด็กพูดคือภาษาไทยทั้งหมด ดัง ตารางที่ 3
ภาษาแรกที่ เด็กพูด | บ้านแต้ | วัดสดํา | บานซํา-ตาตา | บานพอก หนองประดิษฐ์ | บาน หนองขนาน | รวม | ||||||
จํานวน (คน) | รอยละ (%) | จํานวน (คน) | รอยละ (%) | จํานวน (คน) | รอยละ (%) | จานวน (คน) | ร้อยละ (%) | จํานวน (คน) | ร้อยละ (%) | จํานวน (คน) | ร้อยละ (%) | |
กวย | 13 | 48.15 | - | - | 2 | 10.00 | 1 | 4.76 | - | - | 16 | 18.18 |
กูย | - | - | - | - | - | - | 8 | 38.10 | - | - | 8 | 9.09 |
ไทย | 11 | 40.74 | 12 | 100.00 | 16 | 80.00 | 12 | 57.14 | 8 | 100.00 | 59 | 67.05 |
อีสาน | 3 | 11.11 | - | - | 2 | 10.00 | - | - | - | - | 5 | 5.68 |
อื่นๆ | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - |
รวม | 27 | 100 | 12 | 100 | 20 | 100 | 21 | 100 | 8 | 100 | 88 | 100 |
ตารางที่ 3 แสดงข้อมูลภาษาแรกที่เด็กพูด
ส่วนภาษาที่เด็กในศูนย์พฒนาเด็กเล็กสังกดเทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ ที่อยู่ในชุมชนผู้ใชภาษากวย จํานวน 88 คน ใช้บ่อยกับคนในบ้าน คือ ภาษาไทย จํานวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 53.41 ของเด็กจํานวน ทั้งหมด รองลงมา คือ การใช้ภาษาปนระหว่างภาษาไทยกับภาษากวยหรือกูย จํานวน 28 คน คิดเป็นร้อย ละ 31.82 ของเด็กจํานวนทั้งหมด และน้อยที่สุด คือ ใช้ภาษากวยกับคนในบ้าน เพียง 1 คน คิดเป็นรอยละ
1.14 ของเด็กจํานวนทั้งหมด นอกจากนี้ ยังพบว่าภาษาท่ีเด็กใช้บ่อยกับเพื่อนหรือคนนอกบ้าน คือ ภาษาไทย จํานวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 63.64 ของเด็กจํานวนทั้งหมด รองลงมา คือ การใช้ภาษาปน ระหว่างภาษาไทยกับภาษากวยหรือกูย จํานวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 28.41 ของเด็กจํานวนทั้งหมด และ น้อยที่สุด คือ ใช้ภาษากูยจํานวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.41 ของเด็กจํานวนทังหมด ดังตารางที่ 4 และ 5
ภาษาที่เด็ก ใชบ้ ่อยกับ คนในบ้าน | บานแต้ | วัดสดาํ | บ้านซํา-ตาตา | บานพอก หนองประดิษฐ์ | บาน หนองขนาน | รวม | ||||||
จํานวน (คน) | ร้อยละ (%) | จํานวน (คน) | รอยละ (%) | จํานวน (คน) | ร้อยละ (%) | จํานวน (คน) | รอยละ (%) | จํานวน (คน) | ร้อยละ (%) | จํานวน (คน) | ร้อยละ (%) | |
กวย | 1 | 3.70 | - | - | - | - | - | - | - | - | 1 | 1.14 |
กูย | - | - | - | - | - | - | 6 | 28.57 | - | - | 6 | 6.82 |
ไทย | 9 | 33.33 | 12 | 100.00 | 15 | 75.00 | 7 | 33.33 | 4 | 50 | 47 | 53.41 |
ไทยปนกวย/ กูย | 13 | 48.15 | - | - | 4 | 20.00 | 8 | 38.10 | 3 | 37.50 | 28 | 31.82 |
อีสาน | 4 | 14.81 | - | - | 1 | 5.00 | - | - | 1 | 12.50 | 6 | 6.82 |
อ่ืนๆ | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - |
รวม | 27 | 100 | 12 | 100 | 20 | 100 | 21 | 100 | 8 | 100 | 88 | 100 |
ตารางที่ 4 แสดงขอมูลภาษาที่เด็กใช้บ่อยกับคนในบ้าน
ภาษาที่เด็ก ใชบ้ ่อยกับ เพื่อนหรือ คนนอกบ้าน | บานแต้ | วดสดํา | บานซํา-ตาตา | บานพอก หนองประดิษฐ์ | บ้าน หนองขนาน | รวม | ||||||
จํานวน (คน) | รอยละ (%) | จํานวน (คน) | รอยละ (%) | จํานวน (คน) | รอยละ (%) | จํานวน (คน) | รอยละ (%) | จานวน (คน) | ร้อยละ (%) | จํานวน (คน) | ร้อยละ (%) | |
กวย | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - |
กูย | - | - | - | - | - | - | 3 | 14.29 | - | - | 3 | 3.41 |
ไทย | 9 | 33.33 | 12 | 100.00 | 17 | 85.00 | 11 | 52.38 | 7 | 87.50 | 56 | 63.64 |
ไทยปนกวย/ กูย | 16 | 59.26 | - | - | 2 | 10.00 | 7 | 33.33 | - | - | 25 | 28.41 |
อีสาน | 2 | 7.41 | - | - | 1 | 5.00 | - | - | 1 | 12.50 | 4 | 4.55 |
อื่นๆ | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - |
รวม | 27 | 100 | 12 | 100 | 20 | 100 | 21 | 100 | 8 | 100 | 88 | 100 |
ตารางที่ 5 แสดงข้อมูลภาษาที่เด็กใช้บ่อยกับเพื่อนหรือคนนอกบ้าน
จากการสํารวจข้อมูลการใช้ภาษาของเด็ก สามารถสรุปได้ว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแต้, บ้านซํา- ตาตา และบ้านหนองขนาน มีเด็กส่วนใหญ่มีเชื้อสายกวย ส่วนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพอกหนองประดิษฐ์ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดสดํามีเด็กมีเชื้อสายกูย แต่ภาษาแรกที่เด็กพูด ส่วนใหญ่คือภาษาไทย ทําให้มีการ พูดกับคนในบ้านหรือเพื่อน หรือคนอื่นๆทั่วไปด้วยภาษาไทย แต่เนื่องจากยังมีสมาชิกในบ้านคนอื่นๆที่ยัง พูดภาษากวย/ กูย อยู่ เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย จึงส่งผลทําให้เด็กมีการใช้ภาษาปน ระหว่างภาษาไทยและภาษา
กวยหรือกูย จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าภาษากวยและภาษากูยกําลังเข้าสู่ภาวะถดถอย
และตองรีบดําเนินการฟ ฟภาษาอยู ่างเร่งด่วน
4.1.4 ความคิดเห็นของผู้ปกครอง
ในส่วนนี้ จะเป็นการแสดงความคิดเห็นของผู้ปกครอง ซึ่งมีความคิดเห็นที่หลากหลาย ส่วนใหญ่จะ เห็นด้วยกับการสอนภาษาท้องถ่ินในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ดังนี้
- เห็นดีด้วย เพราะสามารถอนุรักษ์ภาษาของตนเองได้ เป็นการสืบทอดภาษาแม่
- เป็นการส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาในการสื่อสาร
- เป็นการส่งเสริมการร นังสือ และฝึกให้เด็กแยกเรื่องต่างๆทไดย้่ี ิน
- เป็นแบบอย่างที่ดีในการใชภาษาของเด็ก เด็กจะได้ใช้ภาษาถิ่นของตนเอง
- พ่อแม่ผู้ปกครองต้องมีส่วนร่วมในการใช้ภาษาในการสื่อสารกบเด็ก
- เป็นเรื่องท่ีดีเพราะเด็กจะได้รู้และไม่ลืมภาษาท้องถิ่นของตนเอง
- ภาษาท้องถิ่นเป็นภาษาเกิดของเรา ถ้าศูนย์พฒนาเด็กเล็กจะสอนถือเป็นเรื่องท่ีดี
- เด็กจะเกิดจิตใตส้ ํานึกในการรักษาภาษาทองถิ่นของตนเอง
- เป็นส่ิงท่ีดี ที่จะให้เด็กได้เรียนรูหลายๆภาษา
- ดีมากที่ได้ใชภาษากวย เพื่อเด็กจะมีความรู้ด้านภาษากวยเพิ่มขน้ึ นอกจากน้ียังมีผู้ปกครองบางส่วน ยังไม่เห็นด้วย อยากให้สอนภาษาไทยมากกว่า และหากสอน
หลายภาษา จะทําให้เด็กสับสน ไม่สามารถแยกแยะได้ ซึ่งทีมวิจัยก็ได้ทําความเข้าใจและยกตัวอย่างกลุ่มที่ ประสบความสําเร็จให้ผูปกครองเด็กนกเรียนฟัง
4.2 แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวย
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตําบลโพธ์ิกระสังข์ พัฒนามาจาก หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งทีมวิจัยได้จัดทําแผนการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยการเพ่ิมเติมภาษากวย/กูย เข้าไปในช่วงกิจกรรมเสริม ประสบการณ์ และเลือกสื่อและกลวิธีการสอนภาษาท้องถิ่นที่เหมาะสมกับแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งมี ตวอย่างของแผนการจัดประสบการณ์ ดังนี้
4.3 ส่ือการจัดประสบการณ์การเรียนรูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวย
ทีมวิจัยได้ดําเนินการผลิตส่ือเพื่อใช้สําหรบการจัดประสบการณ์การเรียนรูให้กับเด็กในศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก ได้แก่ ระบบตัวเขียนภาษากวย/กูย นิทานเร่ืองเล่าภาษากวย ฉากภาพวัฒนธรรม นิทานภาพ และ เพลงภาษากวย ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
4.3.1 ระบบเขียนภาษากวย/ กูย
ทีมวิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการศึกษาภาษากวยที่บ้านสร้างใหญ่ บ้านไฮน้อย และบ้าน ซํา-ตาตา พบว่ามีบางเสียงที่แตกต่างกัน เช่น เสียง ร และสระ เออฺะ เออฺ เอาฺะ ออฺ ที่ออกเสียงคล้ายสระ เออะ สระเออ สระเอาะ สระออ ในภาษาไทย แต่เปิดปากให้กว้างข้ึน จะยังไม่พบที่บ้านซํา-ตาตา อาจเกิด จากความสับสนในการใช้ภาษาในบางตัว ซึ่งจะต้องมีการศึกษาหรือตรวจสอบโดยละเอียดอีกคร้ังในโอกาส ต่อไป
ในการนี้ ทีมวิจัยได้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขคู่มือระบบตัวเขียนและภาพประกอบชาร์ตพยัญชนะ ภาษากวย จากโครงการวิจัยเรื่อง “กระบวนการสรางระบบตวเขียนภาษากวย โดยใช้อักษรไทยเพื่อสืบทอด วิถีวัฒนธรรมของชุมชนวัดไตรราษฎร์สามัคคี (บ้านซําและบ้านตาตา) ต.โพธิ์กระสังข์ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะ เกษ” และนอกจากนี้ทีมวิจัยยังได้นํามาพัฒนาและจัดทําชาร์ตพยัญชนะภาษากูยเพิ่มเติม เพื่อให้เป็น เครื่องมือสําหรับครูใช้ประกอบการสอน ดังชาร์ตพยัญชนะต่อไปนี้
4.3.2 นิทาน เรื่องเล่าภาษากวย
ทีมวิจัยไดไปสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลนิทานภาษากวย จากปราชญ์ในชุมชน เพ่อเป็นเนื้อหาสําหร
ผลิตสื่อการจัดประสบการณ์การเรียนรูภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวกวย ให เล็ก จํานวน 14 เรื่อง ดังนี้
บเด็กในศูนย์พัฒนาเด็ก
1. พื่น ลืง ปันญา อึนซาย บออ์ “นิทานเรื่อง ปัญญากระต่ายขาว”
2. พื่ด ล่ืง ปันญา กวย มัด โซด “นิทานเรื่อง ปัญญาคนตาบอด”
3. พื่น ล่ืง จา กลอง อึนท่รวย “นิทานเรื่อง กินขไี ก่”
4. พื่น ลืง ซุซจั เจียง พื่ด “นิทานเรื่อง ตกใจช้างใหญ่”
5. พื่น ลืง กวย ทุ่ก นะ กลง “นิทานเรื่อง คนจนกับลิง”
6. พ่ืน ลืง จา อึนซาย ทึ่ง กลอง “นิทานเรื่อง กินกระต่ายทั้งขี้”
7. พื่น ลืง กวย อะวะฮ “นิทานเรื่อง คนตะกละ”
8. พื่น ลืง อาแม ดึง กอน จี แซร “นิทานเร่ือง แม่พาลูกไปนา”
9. พ่ืน ลืง กลอชาย นะ กะตาย “นิทานเรื่อง หอยกระต่ายกบกระต่าย”
10. พ่ืน ลืง อาแม จัม กู โบนเน “นิทานเรื่อง แม่รออยู่ตรงนี้”
11. พื่น ลืง แมเฒา พาย “นิทานเรื่อง ยายพาย”
12. พื่น อาจอ จา ชิ่ม “เร่ืองหมากินหมด”
13. พ่ืน ลื่ง แมเทา นะ กะตาม “นิทานเร่ือง คุณยายกบปู”
14. พื่น ล่ืง กลง ปันญา นะ พะญา ญัก “นิทานเร่ือง ลิงปัญญากบพญายกษ์”
4.3.3 ฉากภาพวัฒนธรรม
ทีมวิจัยได้ทําฉากภาพวัฒนธรรม จํานวน 9 ฉาก ดังนี้ ฉากที่ 1 เป็นฉากเกี่ยวกับวันลอยกระทง
ฉากที่ 2 เป็นฉากเก่ียวกับฤดูหนาว
ฉากที่ 3 เป็นฉากเกี่ยวกับกลางวนกลางคืน ฉากที่ 4 เป็นฉากเก่ียวกับนก
ฉากที่ 5 เป็นฉากเกี่ยวกับต้นไม้
ฉากที่ 6 เป็นฉากเก่ียวกับการทํานา ฉากที่ 7 เป็นฉากเกี่ยวกับวันขึนปีใหม่ ฉากที่ 8 เป็นฉากเกี่ยวกับการทําไหม
ฉากที่ 9 เป็นฉากเก่ียวกบจงหวดศรีสะเกษ
ตัวอย่างฉากภาพวัฒนธรรม
4.3.4 นิทานภาพ
ทีมวิจัยได้ทํานิทานภาพ จํานวน 10 เรื่อง ดังน เรื่องที่ 1กวด อีง นะ โค่
เร่ืองที่ 2 นก
เรื่องท่ี 3 อานางนิด กวยออ เรื่องที่ 4 แค่ลลอง
เรื่องที่ 5 ลบดุงฮยั
เรื่องที่ 6 คุณครูของหนู เรื่องท่ี 7 กลอ อึนชาย เร่ืองท่ี 8 เพ่ลียว อะวะฮ
เร่ืองท่ี 9 เพ่ะฮมอม นะ กอนจู เรื่องที่ 10 อาค่อง
ตัวอย่างนิทานภาพ
4.3.5 เพลงภาษากวย
ทีมวิจยไดแต่งเพลงภาษากวย ท่ีมีเน
1. เพ่ลง ดืน ซิบซ่อง
2. เพ่ลง กะยาล จะแงด
3. เพ่ลง กะยาลกะเตา
4. เพ่ลง ปะนาง นะ ดืน
5. เพ่ลง กะเยือล กะเตา
6. เพ่ลง ดืน เบลือง
7. เพ่ลง เด่ือะ
8. เพ่ลง ท่ะนับ พื่ด
9. เพ่ลง เจมอะลีอ์
10. เพ่ลง อานุ มัก อาแม
หาสําหรับเด็ก จํานวน 34 เพลง ดังน
11. เพ่ลง อึนเคื่อะ ซะท่องอ์ คลา
12. เพ่ลง แค่ลลอง พื่ด
13. เพ่ลง แทร
14. เพ่ลง กะมอ ตะมัย
15. เพ่ลง ท่ะฮ เต
16. เพ่ลง เจมกู
17. เพล่ง ซะวัดดี
18. เพล่ง ซะวัดดี ค่ลู
19. เพ่ลง กอนนาง
20. เพ่ลง พูม เปียล อึนตวล
21. เพล่ง เจาะฮ เปียล
22. เพ่ลง มัด นะ กะโตล
23. เพ่ลง กะเยือล จะแงด
24. เพ่ลง กะเยือล กะเตา
25. เพ่ลง กะยึง อัน ซัม
26. เพ่ลง ตอจ คอง
27. เพ่ลง โจ บอย ฮัย
28. เพ่ลง ซะเนง มลอ ญาม
29. เพ่ลง บอย กา จา
30. เพ่ลง กวดโจะ นะ กวดเอบ
31. เพ่ลง ซะวัดดี ค่ลู
32. เพ่ลง ตะโก อนซัม
33. เพ่ลง ตอจ ค่อง เกล
34. เพ่ลง อึน โลด
4.4 การจดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวย
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ ประกอบด้วย กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม เพื่อพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา มี ดังต่อไปนี้
1. กิจกรรมเคล่ือนไหวและจังหวะ
2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์/กิจกรรมในวงกลม
3. กิจกรรมสร้างสรรค์
4. กิจกรรมเสรี / การเล่นตามศูนย์
5. กิจกรรมกลางแจง้
6. กิจกรรมเกมการศึกษา ทีมวิจัยได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยภาษากวยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแต้, บ้านซํา-ตาตา
และบ้านหนองขนาน ซ่ึงเด็กส่วนใหญ่มีเช้ือสายกวย และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยภาษากูยในศูนย์
พัฒนาเด็กเล็กบ้านพอกหนองประดิษฐ์และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดสดํา ซึ่งเด็กมีเช้ือสายกูย โดยจัดในช่วง กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ซึ่งจะมีการสอนทุกวัน วนละ 45 นาที โดยเลือกใช้กลวิธีการสอนภาษาท้องถิ่น ที่เน้นการฟัง – พูด ซึ่งเป็นผลงานจากโครงการ “จัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาท้องถิ่นและภาษาไทย เป็นสื่อ : กรณีการจัดการศึกษาแบบทวิภาษา (ภาษาไทย-มลายูถ่ิน) ในโรงเรียนเขตพื้นที่สี่จังหวัดชายแดน ภาคใต”้ ดังนี้
ฉากภาพวัฒนธรรม
ฉากภาพวฒนธรรม มีลักษณะเป็นภาพวาดขนาดใหญ่ท ีบริบท สภาพแวดล้อม คลายคลึง
กับสถานที่ท่ีเด็กคุ้นเคยในชีวิตประจําวัน เป็นสิ่งท่ีใกล้ตัวเด็ก มีรายละเอียดที่มองเห็นได้ชัดเจน เนื้อหาของ ภาพมีความสอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้นั้นๆ ฉากภาพวัฒนธรรมเป็นสื่อสําหรับการฝึกให้เด็กกล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น เป็นการฝึกและกระตุ้นการใชความคิดวิเคราะห์ของเด็ก และฝึกการโต้ตอบ เป็นการ เพิ่มพฒนาการทางดานภาษาของเด็กโดยเฉพาะทักษะทางด้านการพูด
ครูสอนภาษากวยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยนําฉากภาพวัฒนธรรมมาให้เด็กดูและพูดคุย เกี่ยวกับสิ่งที่เห็นในภาพ เพื่อประเมินในขั้นต้นว่าเด็กเห็นอะไรบ้าง พูดได้ถูกต้องหรือไม่ สังเกตเห็นทุกสิ่งใน ฉากภาพหรือไม่ จากนั้นครูจึงตั้งคําถามปลายเปิดให้ครอบคลุมตามแนวคิดของ Bloom’s Taxonomy คือ
รู้ / จําได เข้าใจ, นําไปใช,้ วเคราะหิ ์, ประเมินค่า, สรางสรรค
นิทานภาพ
นิทานภาพ เป็นภาพวาดที่มีการลําดับเรื่องราวเป็นขั้นตอนให้เห็นอย่างชัดเจน มีความ เชื่อมโยงต่อเนื่องจากภาพหนึ่งไปสู่ภาพหนึ่ง มีความยาวประมาณ 4 – 5 ภาพ ตั้งแต่เริ่มเร่ืองจนกระทั่งจบ เรื่อง โดยเป็นเรื่องที่เด็กคุ้นเคย มีฉากและบริบทที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมของเด็ก ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่ เก่ียวกับอาชีพในชุมชน วันสําคัญ วัฒนธรรม และ ฤดูกาล เป็นต้น ข้ึนอยู่กับผู้วาดภาพจะคิดโครงเรื่องและ จินตนาการลําดับเหตุการณ์แต่ละเร่ือง การสอนด้วยนิทานภาพ เด็กจะสนุกสนาน เพราะเป็นภาพท่ีสวยงาม ดึงดูดความสนใจและเป็นการได้ทํากิจกรรมพร้อมกันหลายคน ดังนั้น นิทานภาพจึงต้องเป็นภาพที่สามารถ สื่อสารได้อย่างชัดเจนและไม่ต้องมีรายละเอียดมากนัก
การสอนด้วยนิทานภาพ เป็นการเพ่ิมพูนทักษะการพูดของเด็กให้สามารถพูดได้เป็นเรื่อง เป็นราวต่อเน่ืองได้ เด็กได้ฝึกทักษะการลําดับเหตุการณ์ ซึ่งแต่ละคนอาจเรียงภาพไม่เหมือนกันแต่สุดท้ายก็ สามารถเล่าเร่ืองและอธิบายเหตุผลการเรียงลําดับเรื่องของตนเองได้
ครูใช้ส่ือนิทานภาพในการสอนโดยมีลําดบขน้ ตอน ดังนี้
1. ครูเตรียมนิทานภาพท่ีจะใช้พร้อมกับแสดงภาพให้เด็กดู
2. เด็กช่วยกันบอกถึงรายละเอียดภาพท่ีครูถือทีละภาพ จนครบทุกภาพ
3. ครูแจกภาพใหเด็กๆได้ดูได ัมผัสกนอย่างทั่วถึง
4. ครูขออาสาสมัครให ักเรียนออกมาถือภาพและพยายามชวยก่ ันเรียงลําดับภาพ
5. ให้ผู้ที่ถือภาพแต่ละภาพบอกเล่าเรื่องราวของตนแล้วเชื่อมโยงกับภาพต่อไปอย่าง สอดคล้องกันหรือใหน้ กเรียนที่ไม่ไดถ้ ือภาพเล่าเร่ืองราวต่างๆอย่างต่อเนื่องกันจนจบ
6. ผลัดเปล่ียนให้นักเรียนกลุ่มอ่ืนออกมาเรียงลําดับและเล่าเรื่องจากนิทานภาพด้วย
ตนเอง
เรื่องเล่าท้องถิ่น
การสอนเรื่องเล่าท้องถิ่นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กเข้าใจและเห็นว่า จากตัวอักษรบน แผ่นกระดาษสามารถเล่าเป็นเรื่องราวได้ เพ่ือฝึกทักษะการฟังและการจับใจความสําคัญ หรือเรื่องราว ตามลําดับเหตุการณ์ได้ และเพ่ือฝึกให้เด็กคิดและทําความเข้าใจให้คล้อยตามเนื้อเรื่อง รวมถึงการคาดเดา เหตุการณ์ล่วงหน้า การเขียนเรื่องเล่าท้องถิ่น ควรเป็นเรื่องเล่าที่สนุกสนาน เหมาะกับวัยเด็ก ตัวละครอาจ เป็นคน หรือสัตว์ที่เด็กคุ้นเคย และเกิดเหตุการณ์ที่ตื่นเต้น แต่สามารถคาดเดาได้ ไม่ควรยาวจนเกินไป เนื้อ เรื่องควรเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ อาจจะสอดแทรกเรื่อง คุณธรรม จริยธรรมได้
ครูสอนเรื่องเล่าท้องถ่ิน โดย ครูกล่าวถึงหน่วยการเรียนรู้ประจําสัปดาห์และเชื่อมโยงเข้าสู่ เรื่องเล่า จากนั้นอ่านเรื่องเล่าขนาดสั้นให้นักเรียนฟังอย่างน่าสนใจ ในขณะที่อ่าน หยุด 3 – 4 ครั้ง เพื่อถาม นักเรียนว่าคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรต่อไป หลังจากที่อ่านเรื่องจบแล้ว ให้นักเรียนเล่าเรื่องหรือบางส่วน ของเรื่องโดยใช้คําพูดของตนเอง (ไม่ตองเหมือนกับคําที่ครูอ่าน)
นอกจากนีแล้วทีมวิจยยังได ัดประสบการณ์การเรียนรูให้เดกโดยการพาไปเรี็ ยนรใู นชมชนุ เชน่ ไป
เรียนรู้เร่ืองการทํานา ไปเรียนรู้ท่ีวัดในโอกาสวันสําคัญทางศาสนา เป็นต้น
4.5 ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดวยภาษากวย
ระหว่างที่ทีมวิจยได้ทดลองจัดประสบการณ์การเรียนรูในศนย์พัฒนาเด็กเลกด้วยภาษากวย ทีมวิจัย ได้เก็บข้อมูลผลจากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษากวย โดยใช้วิธีการสังเกตทักษะการฟัง – พูด พฤติกรรมการสื่อสารโต้ตอบกับครูด้วยภาษากวย ของเด็กก่อนและหลังการได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วย ภาษากวยและบันทึกในแบบบันทึกการวัดผลประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษากวยของเด็ก นักเรียนเป็นรายบุคคล โดยมีตัวอย่างการบันทึก ดังน้ี
จากแบบบันทึกการวัดผลประเมินผลพัฒนาการทางการเรียนรู้ภาษากวยของเด็กเล็ก ทีมวิจัย สามารถสรุปเป็นตารางได้ ดังนี้
ศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก | บ้านแต้ | วดสดาํ | บ้านซํา - ตาตา | บานพอก - หนองประดิษฐ์ | บานหนอง ขนาน | รวม |
การใช้ภาษาในบ้าน | ||||||
ภาษากวย/กูย | 1 | 1 | 2 | 5 | - | 9 |
ภาษากวย/ กู ย ปนภาษาไทย | 22 | 14 | 11 | 3 | 2 | 52 |
ภาษาไทย | 1 | 2 | 2 | 4 | 1 | 10 |
ภาษาอีสาน | 3 | - | 2 | 1 | - | 6 |
รวม | 27 | 17 | 17 | 13 | 3 | 77 |
ทักษะการใช้ภาษากวย/กูยก่อนเรียน | ||||||
ดี | - | 7 | 1 | 6 | 2 | 16 |
พอใช้ | 17 | 7 | 12 | 6 | 1 | 43 |
ศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก | บ้านแต้ | วัดสดํา | บานซํา - ตาตา | บ้านพอก - หนองประดิษฐ์ | บ้านหนอง ขนาน | รวม |
ควรปรับปรุง | 10 | 3 | 4 | 1 | - | 18 |
ทักษะการใช้ภาษากวย/กูยหลังเรียน | ||||||
ดี | 19 | 14 | 14 | 9 | 3 | 59 |
พอใช้ | 8 | 3 | 3 | 4 | - | 18 |
ควรปรับปรุง | - | - | - | - |
ตารางที่ 6 แสดงการวดผลประเมินผลพัฒนาการทางการเรียนรู้ภาษากวยของเด็กเล็ก
จากตารางท่ี 6 ทีมวิจัยได้ทดลองจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวย ให้กับเด็กเล็กจํานวน 77 คน ซึ่งส่วนใหญ่มีการใช้ภาษาปนระหว่างภาษากวยและภาษาไทย จํานวน 52 คน มีเพียง 9 คนเท่านน้ั ที่ใช้ภาษากวยที่บ้าน
ก่อนการเรียนภาษากวยเด็กเล็กส่วนใหญ่มีทักษะการใช้ภาษากวยในระดับพอใช้ จํานวน 43 คน กล่าวคือ เด็กส่วนใหญ่จะพูดภาษากวยปนภาษาไทย มีความสามารถในการฟังภาษากวยแต่ไม่โต้ตอบเป็น ภาษากวย มีเพียงจํานวน 16 คน เท่าน้ัน ท่ีสามารถฟังและและสื่อสารด้วยภาษากวย เนื่องจากส่วนใหญ่อยู่ ที่บ้านกับตายายซึ่งยงคงมีการใช้ภาษากวยในบ้านอย่างเขมข้น ส่วนเด็กที่มที ักษะการใช้ภาษากวย ในระดับ ควรปรับปรุง คือ เป็นเด็กที่ใช้ภาษาไทย อีสาน ในบ้าน และเป็นเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
ภายหลังการเรียนภาษากวย พบว่า เด็กมีทกษะการใช้ภาษากวยดีขึ้น อยู่ในระดับดี จํานวน 59 คน กล่าวคือ เด็กเข้าใจในสิ่งที่ครูส่ือสารและสามารถปฏิบัติตามคําสั่งได้ เด็กสามารถพูดภาษากวยได้อย่าง ชัดเจนและมั่นใจ กล้าตอบคําถาม กล้าสนทนากับครูและเล่าผลงานสั้นๆ หรือถ่ายทอดเรื่องราวใน ชีวิตประจําวันด้วยภาษากวย/กูยให้ครูและเพื่อนฟังได้ และมีเด็กจํานวน 18 คน ที่มีทักษะการใช้ภาษากวย ที่อยู่ในระดับพอใช้ ซึ่งเป็นเด็กที่ก่อนเรียนไม่สามารถฟังพูดภาษากวยได้ ภายหลังจากการเรียนสามารถพูด ได้ในระดับคําศัพท์ และสามารถฟังเพื่อนพูดคุยได้แต่ยังไม่สามารถส่ือสารด้วยภาษากวยได้ จะพูดได้เป็น คําๆเท่านน้ั
บทที่ 5
สรุปและวิเคราะห์ผล
โครงการ “แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวยโดยชุมชน มีส่วนร่วม ในพ้ืนท่ีเทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ” เป็นโครงการวิจัยเชิง ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มุ่งหาแนวทางการนําภาษากวยไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ โครงการวิจัยนีได้ดําเนินการ ระหว่าง เดือน พฤษภาคม 2559 ถึง เดือน ธันวาคม 2561 สามารถสรุปผลการดําเนินงานวิจยได้ดังต่อไปนี้
5.1 สรุปผลการดําเนินงาน
ชาวกวยในพื้นที่ตําบลโพธ์ิกระสังข์ โดยเฉพาะท่ีอาศัยอยู่ในชุมชนวัดไตรราษฎร์สามัคคีได้เริ่ม ทํางานฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาทองถ่ิน ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2552 ซ่ึงโครงการวิจัยนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการ
ได้ทดลองนําระบบตัวเขียนภาษากวยไปประยุกต์ใช ําเป็นสื่อการเรียนการสอนภาษากวยในศนยู ์พฒนาเดก็ั
เล็กบ้านซํา – บ้านตาตา และพบว่าเด็กเล็กต่างให้ความสนใจในสื่อภาษากวยเป็นอย่างมาก จากการ ดําเนินงานดังกล่าว ชุมชนจึงเห็นว่าควรมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ภาษากวยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่าง เป็นระบบและควรขยายกระบวนการการทํางานนี้ไปสู่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอื่น ๆ ในชุมชนชาวกวย โดย มุ่งหวังว่าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจะเป็นแหล่งบ่มเพาะภาษาท้องถิ่นให้กับลูกหลานในชุมชนควบคู่กับการพัฒนา ทักษะการเรียนรู้ท่ีเหมาะสมตามพัฒนาการของเด็กเล็กตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีอยู่เดิม จึง ได้ดําเนินโครงการ “แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวยโดยชุมชน มีส่วนร่วม ในพ้ืนที่เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ” โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญ เพื่อศึกษาแนวทางการนําภาษากวยไปใช้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและผลต่อ พัฒนาการการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมกวยของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตลอดจนปัจจัยเงื่อนไขท่ีมีผล ต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรูภาษาและวัฒนธรรมกวยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
กระบวนการในการดําเนินงานวิจัย ทีมวิจัยได้มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและการสร้างการ เรียนรู้ร่วมกันตามแนวคิดของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ซ่ึงแบ่งได้ 3 ลักษณะ ได้แก่
1. การเก็บรวบรวมและบันทึกข้อมูล ทีมวิจัยได้ดําเนินการเก็บข้อมูลสถานการณ์ทางภาษาของเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยใช้แบบสํารวจสถานการณ์ทางภาษาสอบถามข้อมูลจากผู้ปกครองของเด็กในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กเป็นรายบุคคล นอกจากน้ี ยังได้เก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านภาษาและวัฒนธรรมของชาวกวย เพื่อนํามาทําสื่อการสอน ได้แก่ นิทาน เรื่องเล่าต่างๆ โดยการพูดคุย สัมภาษณ์กับปราชญ์หรือผู้สูงอายุใน ชุมชน
2. การจัดทําแผนและผลิตสื่อการสอนภาษากวย ทีมวิจัยได้จัดทําแผนการจัดประสบการณ์การ
เรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวยและผลิตส่ือการสอนภาษากวย ได้แก่ ดําเนินการปรับปรุงแก้ไข
คู่มือระบบตัวเขียนและชาร์ตพยัญชนะภาษากวย และพัฒนาระบบตัวเขียนภาษากูย ซึ่งมีความต่างจาก ภาษากวยเล็กน้อย ผลิตส่ือฉากภาพวัฒนธรรมและนิทานภาพ
3. การทดลองจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวยโดยทดลองจัด ประสบการณ์ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของทุกๆวัน สอดคล้องตามหน่วยการจัดประสบการณ์ย่อย ของแต่ละวัน
ผลจากการดําเนินงานวิจัย ทําให้ไดผลผลิต ดังนี้
1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวย จํานวน 41 หน่วย สอดคล้องตามสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ของกระทรวงศึกษาธิการ
2. สื่อการสอนภาษากวย ประกอบด้วย ชาร์ตพยัญชนะและคู่มือระบบตัวเขียนภาษากวย นิทาน จํานวน 14 เรื่อง ฉากภาพวัฒนธรรม จํานวน 9 ฉาก นิทานภาพ จํานวน 10 เรื่อง และเพลงภาษากวย สําหรบเด็ก จํานวน 34 เพลง
นอกจากนี้ ผลการดําเนินงานวิจัย ยังเกิดผลลัพธ์ ดังนี้
1. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยภาษากวย/กูย มีทักษะใน การใช้ภาษากวย/กูยเพ่ิมมากขึ้น เข้าใจในสิ่งที่ครูสื่อสารและสามารถปฏิบัติตามคําส่ังได้ เด็กสามารถพูด ภาษากวยได้อย่างชัดเจนและมั่นใจ กล้าตอบคําถาม กล้าสนทนาหรือถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตประจําวัน ด้วยภาษากวย/กูยให้ครูและเพื่อนฟังได้ นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์เพิ่มมากข้ึน มี จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ และมีความกระตือรือร้นอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
2. ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเกิดการพัฒนาศักยภาพตนเอง ในเรื่องการออกแบบเครื่องมือวิจัย การ เก็บข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การจัดทําแผนการสอน ได้ฝึกกลวิธีการสอนภาษาท้องถิ่น ตลอดจนการนําเสนองานต่อชุมชนและคนอื่นๆทั่วไป
3. ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์การเรียนรูในศนย์พัฒนาเด็กเล โดยไดเข้าร่วมในเวท
ชี้แจงโครงการ ได้ร่วมในการทําสํารวจสถานการณ์การใช้ภาษาของเด็ก ร่วมให้ข้อมูลด้านภาษาและ วัฒนธรรมในการจัดทําแผนการจัดประสบการณ์และสื่อการสอนประเภทต่าง เช่น เรื่องเล่าและนิทาน พื้นบ้าน นอกจากนี้ยังได้มีส่วนร่วมในการเป็นปราชญ์หรือครูภูมิปัญญาให้กับเด็กตามแหล่งเรียนรู้ต่างๆใน ชุมชน ตลอดจนร่วมรับรู้สถานการณ์ต่างๆที่เก่ียวข้องกับโครงการวิจัย
5.2 วิเคราะห์ผลการดําเนินงาน
การดําเนินงานในโครงการ “แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วย ภาษากวยโดยชุมชนมีส่วนร่วม ในพ้ืนที่เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ” ได้ บรรลุวัตถุประสงค์ท่ีตั้งไว้ ดังนี้
1. ได้องค์ความรู้เรื่องแนวทางการนําภาษากวยไปใช้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็ก เล็กในเขตพื้นที่เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โดยไดด้ ําเนินการ ดังน้ี
1.1 สํารวจสถานการณ์ทางภาษาของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อนําไปสู่การวาง แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรูให้กบเด็ก
1.2 จัดทําแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวยให้
เหมาะสมกับเด็กและสอดคล้องตามสาระการเรียนรูหลกสูตรปฐมวยั
1.3 ผลิตสื่อการสอนภาษาท้องถิ่น
1.4 ฝึกกลวิธีการใชส้ ื่อและการสอนภาษาท้องถิ่น
ของกระทรวงศึกษาธิการ
1.5 ทดลองจดประสบการณ์การเรียนรู้ใหเด็กในศูนย์พฒนาเด็กเล็ก
1.6 ประเมินผลการทดลองจัดประสบการณ์การเรียนรู้ใหเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2. ได้องค์ความรู้ด้านปัจจัยเงื่อนไขที่มีผลต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรม กวยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กท่ีเหมาะสมกับเด็กเล็กเชือสายกวย
2.1 ปัจจัยเงื่อนไขภายในที่มีผลต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรม กวยในศูนย์พฒนาเด็กเล็ก ได้แก่
2.1.1 ความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กในด้านต่างๆทั้งพัฒนาการทางด้าน
ร่างกายและภาษาท่ีเด็กใช้
2.1.2 ครูผู้สอนตองเป็้ นผู้ที่สามารถสื่อสารภาษากวยได้
2.1.3 ชุมชนและผ กครองต้องมีทัศนคตท่ิ ีดตอภาษาท่ี ้องถิ่นและยนยอมใหิ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาและวฒนธรรมกวยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2.2 เงื่อนไขปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรม กวยในศูนย์พฒนาเด็กเล็ก ได้แก่
2.2.1 นโยบายของรัฐที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาและ วัฒนธรรมท้องถิ่น ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นโยบายสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ประกอบกับจังหวัดศรีสะเกษถือเป็นจังหวัดหนึ่งที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศ ให้เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ทําให้เอ้ือต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยภาษากวยให้กับเด็กใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นับเป็นการสร้างโอกาส สร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ําให้ผู้เรียนทุกคนได้รับ บริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
2.2.2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ เทศบาลตําบลโพธ์ิกระสังข์ ซึ่งเป็น หน่วยงานต้นสังกัด รับรู้และให้การสนับสนุนให้มีการจัดการเรียนการสอนด้วยภาษากวยในศูนย์พัฒนาเด็ก เล็ก ทําให้ผทู้ ี่เกี่ยวของสามารถดาเนินงานได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพและราบร่ืน
3. ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมกวยของเด็กเล็กในศูนย์พัฒนา เด็กเล็กเขตพ้ืนที่เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งสามารถแบ่งพัฒนาการ ของเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
3.1 กลุ่มเด็กที่ไม่ใช้ภาษากวยที่บ้านเลย หลังจากทําวิจัย เด็กกลุ่มนี้สามารถปฏิบัติตาม คําสั่งง่ายๆ ได้ และสามารถพูดภาษากวยได้เป็นคํา หรือประโยคสั้นๆ
3.2 กลุ่มเด็กที่ใช้ภาษากวยปนกับภาษาอื่น หลังจากการทําวิจัย เด็กกลุ่มน้ีกล้าที่จะพูด
ภาษากวยมากยิ่งข และลดอัตราการใชภาษาปนลง้
3.3 กลุ่มเด็กที่ใช้ภาษาถิ่นที่บ้านแต่ไม่กล้าพูดหรือแสดงออก หลังจากการทําวิจัย เด็ก กลุ่มน้ีมีความมั่นใจในการใช้ภาษามากยิ่งขึ้น กล้าแสดงออก มีความชัดเจนทางภาษา ไม่ว่าจะเป็นสําเนียง การพูด หรือการเข้าใจความหมายของประโยค
4. ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยทีมวิจัยได้สร้าง ความตระหนักให้ชุมชนเห็นความสําคัญของการอนุรักษ์และฟ้ืนฟูภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวกวย และสร้างความเข้าใจเรื่องการจัดการเรียนการสอนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวย โดยการเชิญมาเข้า ร่วมในเวทีชี้แจงโครงการ จากนั้นชุมชนได้เข้ามามีส่วนในการร่วมทําแบบสํารวจสถานการณ์ทางภาษาของ เด็ก ร่วมในการเป็นผู้ให้ข้อมูลด้านภาษาและวัฒนธรรมกวยในการจัดทําแผนและสื่อการสอนภาษาท้องถิ่น และนอกจากนี้ยังได้ร่วมสอนในบางกิจกรรม เช่น กิจกรรมพานักเรียนไปเรียนรู้ในสถานที่จริงในชุมชน
บรรณานุกรม
ธตพร พมพจ
นทร.
(2547). การศกษาเปรยบเทยบคาศพทและทศนคตระหว่างผพู้ ูด ภาษากูย, กวย
และเญอ ในจงหวดศรสะเกษ. วทยานิพนธ์ ศลปศาสตรมหาบณฑต มหาวทยาลยมหดล.
สาขาภาษาศาสตร.
วรรณา เทยนม. (2533). การกระจายของภาษากยในประเทศไทย.ู ภาควชาภาษาศาสตร
มหาวทยาลยเกษตรศาสตร.
สุวไล เปรมศรรตน์ และคณะ. (2553). กลวธิ การสอนเพอ่ พฒนาการทางสมองความคดสรางสรรค์ และ
พฒนาการทางภาษาสําหรบเดกปฐมวยในโครงการทวภาษา ฯ. ศูนยศกษาและฟนฟูื้ ภาษาและ
วฒนธรรมในภาวะวกฤต สถาบนวจ
ยภาษาและวฒนธรรมเอเชย
มหาวทยาลยมหดล.
สุวไล เปรมศรรี ตน์และคณะ. (2547). แผนทภี าษาของกลุ่มชาตพิ นธุต์ ่าง ๆ ในประเทศไทย. สานกงาน คณะกรรมการวฒนธรรมแหงชาต.ิ
สานกงานคณะกรรมการการศกษาขนพนฐาน กระทรวงศกษาธการ. (2547).คู่มอหลกสตรการศกษา
ปฐมวยั พุทธศกราช 2546. กรุงเทพฯ : โรงพมพคุรุสภาลาดพราว.
กรมการปกครองสวนทองถน กระทรวงมหาดไทย. (มปป). แนวการจดเตรยมประสบการณ์ศนย
พฒนาเดกเลก็ สงกดองคกรปกครองสวนทองถนิ่ ตามกรอบหลกสตรการศกษาปฐมวยท่
กระทรวงศกษาธการกําหนด. กรุงเทพฯ : โรงพมพชุมนุมการเกษตรแหงประเทศไทย.
สานกงานคณะกรรมการการศกษาขนพนฐาน กระทรวงศกษาธการ.(2546). หลกสตรการศกษา
ขน้ พนื ฐาน พทธศกราช 2546. กรุงเทพฯ : โรงพมพคุรุสภาลาดพราว.
กรมการปกครองสวนทองถน ขององคกรปกครองสวนทองถนิ่ .
กระทรวงมหาดไทย. มาตรฐานการดาเนินงานศูนยพ์ ฒนาเดกเลก็
http://www.dla.go.th/servlet/EbookServlet?_mode=detail&ebookId=19&random=1362641728775
กรมการปกครองสวนทองถน กระทรวงมหาดไทย. มาตรฐานการดาเนินงานศูนยพ์ ฒนาเดกเลก็
ขององคกรปกครองสวนทองถนิ่ ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2559.
http://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2017/4/2199_5930.pdf
กรมการปกครองสวนทองถน กระทรวงมหาดไทย. คู่มอศูนยพ์ ฒนาเดกเลกสงกดองคกร
ปกครองสวนทองถนิ่ . http://www.dla.go.th/work/e_book/eb6/eb6_3/eb6_3.htm
กรมการปกครองสวนทองถน กระทรวงมหาดไทย. คู่มอแนวทางการจดทาหลกสตรของศูนย
พฒนาเดกเลกในสงกดองคกรปกครองสวนทองถนิ่
http://www.dla.go.th/servlet/EbookServlet?_mode=read&ebookColum=5991#/page/1
1. รายชื่อทีมวิจยั
ทีมวิจัย
1. นางกษมา จันทเสน (หัวหน้าโครงการ)
2. นางจุฬาภรณ์ รักษ์วงศ์ (การเงินโครงการ)
3. นางสาวธัญญลักษณ์ โพธิสาร (เลขานุการโครงการ)
4. นางกานต์จิราห์ โพธิสาร
5. นางสาวนันทิชา สิงห์เจริญ
6. นางรําไพ แตมงาม
7. นางสาวหนึ่งฤทัย ภูอ่าว
8. นางสาวประภร แต้มงาม
9. นางสาวละอองดาว แซ่อึง
10. นางสาวณัฐทรียา อนุรุ่งโรจน์
11. นางสาวอรัญญา เลิศบุรภัทร
12. นางสาวอ่อนศรี ประชุมวงษ์
13. นางสาววรรณภา มังคละ
14. นายปิ่นทอง บุญตา
15. นางสายทอง สุดสังข์
16. นางมนต์ จิตรโสม
17. นายเลิศวิทย์ ไตรศรี
18. นายวินัด เรืองคํา
ที่ปรึกษาโครงการ
1. พระครูสงวรวุฒิคุณ
2. นายสุบิน งอนสวัน
3. นายเสวย พิมพ์มาศ (สมาชิกสภาเทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์)
4. นายสํารอง บําเพ็ญ (ปลัดเทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์)
5. นายสุวรรณ บุญมา (รองนายกเทศบาลตําบลโพธ์ิกระสังข์)
6. นางลําไพ สะอาด (สมาชิกสภาเทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์)
7. นางสาวสุขชยานันท์ ศรีสันติแสง (สมาชิกสภาเทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์)
8. นางปราณี ระงับภัย (สมาชิกสภาเทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์)
9. นางสาวดวงนภา อุดด้วง (หวหน้าฝ่ายบริหารงานกองการศึกษา)
2. ตารางการดําเนินกิจกรรมในโครงการวิจัย
ลําดับที่ | การดําเนินกิจกรรม | วันที่ดําเนินกิจกรรม | สถานที่ดําเนินกิจกรรม |
1 | เซนสัญญาโครงการวิจัยและเปิดบัญชี โครงการ | 4 กรกฎาคม 2559 | ห้องประชุมสภา เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ |
2 | ประชุมวางแผนการจัดเวทีชี้แจง โครงการวิจัย | 3 สิงหาคม 2559 | ห้องประชุมกองการศึกษา เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ |
3 | จัดเวทีชแี จงโครงการวจิ ัย | 11 สิงหาคม 2559 | อาคารเอนกประสงค์ เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ |
4 | เติมความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์การ เรียนรู้ดวยภาษาแม่ในศูนย์พฒนาเด็กเล็ก และออกแบบสํารวจสถานการณ์การใช้ ภาษาของเด็กเล็กในชุมชน | 2 กนยายน 2559 | หองประชุมสภา เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ |
5 | สํารวจสถานการณ์ทางภาษาของเด็กเล็กใน ชุมชน | 3 - 7 ตุลาคม 2559 | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสงกัด เทศบาลตําบลโพธิ์กระสงข์ที่ มีเด็กชาวกวย |
6 | ทบทวนระบบตัวเขียนภาษากวย | 13 ตุลาคม 2559 | ห้องประชุมสภา เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ |
7 | ประชุมวางแผนการไปศึกษาดูงานการจัด ประสบการณ์การเรียนรภู าษาทองถิ่นใน ศูนย์พฒนาเด็กเล็ก | 23 พฤศจิกายน 2559 | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แห่งที่ 1 |
8 | ศึกษาดูงานการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ภาษาทองถ่ินในศูนย์พฒนาเด็กเล็ก | 25 พฤศจิกายน 2559 | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโพธิ์ กอง ต.เชือเพลิง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ |
9 | ตรวจนิทานภาษากวย | 5 มกราคม 2560 | หองประชุมสภา เทศบาลตําบลโพธิ์กระสงข์ |
10 | ตรวจนิทานภาษากวย | 18 มกราคม 2560 | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แห่งที่ 1 |
11 | ประชุมทีมวิจัยเตรียมไปร่วมงานวนภาษาแม่ สากลท่ีม.มหิดล | 16 กุมภาพันธ์ 2560 | หองประชุมสภา เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ |
ลําดับที่ | การดําเนินกิจกรรม | วันท่ีดําเนินกิจกรรม | สถานที่ดําเนินกิจกรรม |
12 | พัฒนาศักยภาพทีมวิจัยโดยการเข้าร่วมงาน วนภาษาแม่สากลท่ีมหาวิทยาลยมหิดล | 19 - 21 กุมภาพนธ์ 2560 | มหาวิทยาลยมหิดล |
13 | เช็คระบบตัวเขียนภาษากูยและตรวจนิทาน | 21 เมษายน 2560 | ห้องประชุมสภา เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ |
14 | ทําแผนการสอน | 23 มิถุนายน 2560 | ห้องประชุมสภา เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ |
15 | ทําแผนการสอน | 18 กันยายน 2560 | หองประชุมสภา เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ |
16 | ทําส่ือและฝึกกลวิธีการสอน | 6 – 7 ตุลาคม 2560 | หองประชุมสภา เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ |
17 | ทดลองสอน | พฤศจิกายน 2560 เป็นตนไป | ศูนย์พฒนาเด็กเล็ก |
18 | พี่เลี้ยงติดตามการสอน | 24 พฤศจิกายน 2560 | ศพด.บ้านแต้ |
19 | พ่ีเลี้ยงติดตามการสอน | 25 ธันวาคม 2560 | ศพด.บ้านพอก – หนอง ประดิษฐ์ |
20 | พี่เลี้ยงติดตามการสอน | 9 มกราคม 2561 | ศพด.วัดสดํา |
21 | พี่เลี้ยงติดตามการสอน | 12 กุมภาพันธ์ 2561 | ศพด.บ้านหนองขนาน |
22 | ประชุมทบทวนและออกแบบเครื่องมือวัด ประเมินผล | 1 มิถุนายน 2561 | ห้องประชุมสภา เทศบาลตําบลโพธิ์กระสงข์ |
23 | ประชุมออกแบบเครื่องมือวัดประเมินผล | 2 – 3 กรกฎาคม 2561 | ห้องประชุมสภา เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ |
24 | วัดผลประเมินผลการจัดประสบการณ์การ เรียนรู้ | สิงหาคม 2561 | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
25 | กิจกรรมถอดบทเรียนการทํางาน | 21 กันยายน 2561 | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบานแต้ |
26 | กิจกรรมคืนความรู้สู่ชุมชน/เวทีชีแจง ผลการวิจัยสู่ชุมชน | 19 ตุลาคม 2561 | อาคารกีฬาเอนกประสงค์ เทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์ |
27 | พัฒนาศักยภาพทีมวิจัยโดยการเขาร่วมเวที นําเสนอผลงานวิจยเพ่ือทองถิ่น | 27 พฤศจิกายน 2561 | สถาบนวิจยภาษาและ วัฒนธรรมเอเชีย |
3. ภาพประกอบการดําเนินกิจกรรม กิจกรรมเปิดเวทีชีแจงโครงการวิจัยสู่ชุมชน
กิจกรรมสํารวจข้อมูลของเด็กเล็กในชุมชน สถานการณ์ทางภาษาของเด็กเล็กในชุมชน
ทีมวิจัยประชุมเพ่ือออกแบบสํารวจสถานการณ์ทางภาษาของเด็ก เติมความรูเรื่องการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน
กิจกรรมศึกษาดูงานการจัดประสบการณ์การเรียนรูภาษาท้องถิ่นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
กิจกรรมการวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนร ้วยภาษากวยในศูนยพ์ ัฒนาเดกเล็ ็ก
กิจกรรมการทําสื่อสําหรับเด็กเล็กตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ทบทวนและปรับปรุงแกไขระบบตัวเขียนภาษากวย/ กูย
ทําสื่อสําหรับเด็กเล็กตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
กิจกรรมฝึกหัดกลวิธีการสอนภาษาท้องถิ่นสําหรับเด็ก
4. แบบสอบถามสถานการณ์การใชภาษาของเด็กในศูนย์พฒนาเด็กเล็ก
แบบสอบถามการศึกษาข้อมูลสถานการณ์การใช้ภาษาของเด็กเล็กในชุมชน
(สังกัดเทศบาลตําบลโพธิ์กระสังข์)
ภายใต้การวิจัย เร่ือง “แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยภาษากวย โดยชุมชนมีส่วนร่วม ในพื้นท่ีเทศบาลตําบลโพธ์ิกระสงข์ อําเภอขนหาญ จังหวดศรีสะเกษ”
🞚🞚🞚🞚🞚🞚🞚
คําชี้แจง แบบสํารวจชุดน้ีจัดทําขึ้นเพ่ือสํารวจข้อมูลเด็กเล็กในชุมชน สถานการณ์ทางภาษาของเด็กใน ครัวเรือน เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์การใช้ภาษาของเด็กในชุมชน และนําไปสู่การวางแผนพัฒนาด้านภาษา ถิ่นของเด็กต่อไป จึงขอความร่วมมือกรอกข้อมูลตามจริงใหสมบรณ์ครบถ้วน ขอมูลทีได้จะเกิดประโยชน์อย่าง ย่ิงในการพฒนาภาษาถิ่นให้คงอยู่สืบไป ขอให้ท่านดําเนินการ ดังนี้
1. ผู้ปกครองเด็กกรอกข้อมูลน วยตนเอง (หากผู้ปกครองของเดกไม็ ่สามารถอาน่ หรือกรอกขอมูล
ได้ด้วยตนเอง ครูควรเป็นผู้สมภาษณ์ โดยใชภาษาถิ่น และกรอกให้ผูปกครอง)
2. แบบสอบถามมี 4 ส่วน รวม 1 หน้า เม่ือดําเนินการตอบแบบสอบถามครบถวนแล้ว กรุณานําส่ง ทีมวิจัย
3. ให้ผ อบแบบสอบถามกาเครื่องหมาย 🗸 ใน □ หรือเติมคําในชองว่ ่างที่ตรงกับความเปนจร็ ิง
ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล (ข้อมูลเด็ก)
ชื่อ – นามสกุล (ด.ญ. / ด.ช.) .................................................................................
ศูนย์พฒนาเด็กเล็ก ...............................................................................
1) เพศ □ ชาย □ หญิง
2) อายุ □ 2 ปี □ 3 ปี □ 4 ปี
3) ช □ น้องเล็ก □ พใหญ่ี
ส่วนท่ี 2 ข้อมูลผูปกครอง/ครอบครัว
1) สมาชิกในครอบครัวมีจํานวน ........................ คน ได้แก่
ลําดับท่ี | ช่ือ – นามสกุล | ความสมพนธ์กบั เด็กนกเรียน | เชือสาย (กูย กวย หรืออื่น ๆ โปรดระบุ) |
ส่วนที่ 3 ข้อมูลการใช้ภาษาของเด็ก
1) ภาษาแรกที่เด็กพูดคือภาษาอะไร
□ กวย □ กูย □ ไทย □ อีสาน
□ อ่ืนๆ (ระบุ)
2) ภาษาท่ีเด็กใช้บ่อยท่ีสุดกบคนในบ้านคือภาษาอะไร
□ กวย □ กูย □ ไทย □ ไทยปนกวย/กูย
□ อีสาน □ อื่น ๆ (ระบุ)
3) ภาษาท่ีเด็กใช้บ่อยกับเพื่อนหรือคนนอกบานคือภาษาอะไร
□ กวย □ กูย □ ไทย □ ไทยปนกวย/กูย
□ อีสาน □ อ่ืน ๆ (ระบุ)
4) ภาษาที่ผู้ปกครองใช้บ่อยที่สุดกับเด็กคือภาษาอะไร
□ กวย □ กูย □ ไทย □ ไทยปนกวย/กูย
□ อีสาน □ อื่น ๆ (ระบุ)
(สามารถเพิ่มคําถามอ่ืน ๆ ไดที่อยากรู )
ส่วนที่ 4 ความคิดเห็นของผู้ปกครอง
ผูปกครองมีความคิดเห็นอย่างไรต่อการทําวิจัยในครงั นี้ เพ่ือให้เด็กได้เรียนรูภาษาถิ่นของตนเอง
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
ชื่อผู้ตอบแบบสอบถาม.......................................................................
ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามในครั้งนี้
วัน / เดือน / ปี ที่ตอบแบบสอบถาม......................................................
5. ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรูโดยใช้ภาษากวยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
สาระการจดประสบการณ์ที่ 3 ธรรมชาติรอบตัว หน่วยการจดประสบการณ์ นานาสตว์โลก ครั้งท่ี 1 หน่วยการจัดประสบการณ์ย่อย สัตว์บก
สอนวนที่.............เดือน.............................. พ.ศ. …………..
1. ช่ือกิจกรรม เสริมประสบการณ์
2. เนือหา สตว์บก คือ สตว์ที่อาศยอยู่บนพืนดิน เช่น จิงเหลน ว
3. วัตถุประสงค์การเรียนรู้
ควาย ไก่ หมา แมว กระต่าย เป็ด หมู กวาง
3.1 เพ่ือให้เด็กได ักสัตว์บก
3.2 เพื่อให้เด็กร กที่อยู่อาศัยของสัตว์บก
3.3 เพ่ือให้เด็กได้รูจ้ ักประโยชน์และโทษของสัตว์บก
4. วิธีการจดกิจกรรม
4.1 ขั้นนํา
4.1.1 ครูเก็บเด็กดวยเพลง “ซัด อยั ญาม”
4.1.2 ครูทบทวนบทเรียนที่เรียนในสปดาห์ท่ีแลว้ เรื่อง ตนไม้คืนป่า
4.2 ข้นสอน
4.2.1 ครูใหเด็กน่งเป็นรูปคร่ึงวงกลม ครูและเด็กสร้างข้อตกลงร่วมกัน ดังน
- ขณะท่ีครูพูดเด็กๆ ควรทําอย่างไร
4.2.2 ครูและเด็กร่วมกนสนทนาเก่ียวกบเนื้อหาของเพลง “ซ ที่อยู่ในเนื้อเพลง
อย ญาม” ว่ามีสัตว์ชนิดใดบ้าง
4.2.3 ครูนําฉากภาพสัตว์บกมาใหเด็กดู แล้วถามคําถามเพือกระตุ้นให้เด็กเกิดการคิด เช่น มี อะไรในภาพบ้าง สัตว์ตัวใดท่ีอาจทําอันตรายเราได้ เด็กๆ เคยเห็นสัตว์ชนิดใดบ้าง เป็นต้น และให้เด็กบอกช่ือ สัตว์บกที่ตนเองรู้จักคนละหนึ่งชื่อ
4.2.4 ครูอธิบายเพ่ิมเติมเก่ียวกับความหมายของสัตว์บก ชื่อของสัตว์บก ท่ีอยู่อาศัยของสัตว์ บก ประโยชน์และโทษของสตว์บก
4.3 ขนั สรุป
4.3.1 ครูและเด็กสรุปร่วมกนเก่ียวกับ “สตว์บก”
5. สื่อ
5.1 เพลง “ซด
อัย ญาม”
5.2 ฉากภาพสัตว์บก
6. การประเมินผล
6.1 สังเกตการพูด การตอบคําถามของเด็กเก่ียวกับ “สตว์บก”
6.2 สังเกตการคิดและการกล้าแสดงออก
6.3 สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกนั
สาระการจัดประสบการณ์ที่ 3 ธรรมชาติรอบตัว
หน่วยการจัดประสบการณ์ นานาสตว์โลก คร หน่วยการจัดประสบการณ์ย่อย สตว์น้ํา
ท่ี 2
สอนวนที่.............เดือน.............................. พ.ศ. …………..
1. ชื่อกิจกรรม เสริมประสบการณ
2. เนือหา สตว์นํ ค
สัตว์ท่ีอาศัยอยู่ในนํ
หรือมีชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ํา เช่น ก
หอย ปู ปลา
3. วัตถุประสงค์การเรียนรู้
3.1 เพื่อให้เด็กได้ร
ักสตว์น้ํา
3.2 เพื่อให้เด็กร ักท่ีอยู่อาศัยของสัตว์นํา้
3.3 เพ่ือให้เด็กได้รจู้ ักประโยชน์และโทษของสัตว์น้ํา
4. วิธีการจดกิจกรรม
4.1 ขั้นนํา
4.1.1 ครูและเด็กทบทวนความรเู ดิมในชั่วโมงท่แลว้ เรื่อง สตว์บก
4.1.2 ครูนําเด็กเขาสู่บทเรียนด้วยเพลง “บอย กา จา”
4.2 ข้ันสอน
4.2.1 ครูให้เด็กน่งเป็นรูปครึ่งวงกลม ครูและเด็กสร้างข้อตกลงร่วมกัน ดงนี้
- ขณะที่ครูพูดเด็กๆ ควรทําอย่างไร
4.2.2 ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกบเนื้อหาของเพลง “บอย กา จา” ว่ามีสตว์ชนิดใดบ้างท่ี
อยู่ในเนื้อเพลง
4.2.3 ครูอานน่ ิทานเรื่อง “แมเทา นะ กะตาม” ใหเด็กฟงั 1 รอบ ครูอานน่ ิทานทีละประโยค
และพูดเป็นคําๆ ช้าๆ เด็กเล่าเรื่องตาม สมผสภาพ และออกมาเล่าเรื่องจากภาพโดยครูให้เด็กสามารถเปล่ียน ตําแหน่งของภาพแล้วเล่าเร่ืองได้ เด็กแสดงบทบาทสมมุติ
4.2.4 ครูอธิบายเพ่ิมเติมเก่ียวกบความหมายของสัตว์น้ํา ชื่อของสัตว์น ประโยชน์และโทษของสัตว์น้ํา
4.3 ขั้นสรุป
ท่ีอยู่อาศัยของสัตว์นํา้
5. สื่อ
4.3.1 ครูและเด็กสรุปร่วมกนเกี่ยวกับ “สตว์นํ
5.1 เพลง “บอย กา จา”
5.2 นิทานภาพเรื่อง “แมเทา นะ กะตาม”
” โดยการวาดภาพสัตว์น้ําตามจินตนาการ
6. การประเมินผล
6.1 สงเกตการพูด การออกเสียง การตอบคําถามเก่ียวกับสัตว์น้ํา
6.2 สังเกตการคิดและการกล้าแสดงออก
6.3 สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกนั
สาระการจัดประสบการณ์ที่ 3 ธรรมชาติรอบตัว หน่วยการจัดประสบการณ์ นานาสตว์โลก ครั้งที่ 3 หน่วยการจัดประสบการณ์ย่อย สตว์ครึ่งบกคร่ึงนํา้
สอนวนท่ี.............เดือน.............................. พ.ศ. …………..
1. ชื่อกิจกรรม เสริมประสบการณ
2. เนือหา สตว์ครึ่งบกคร่ึงน
3. วัตถุประสงค์การเรียนรู้
คือ สัตว์ที่อยู่ได
ง้ บนบกและในน้ํา เช่น กบ จระเข้ งู เต่า เขียด อึ่งอ่าง
3.1 เพื่อให้เด็กได้รู้จักสตว์ครึ่งบกครึ่งน้ํา
3.2 เพ่ือให้เด็กรู้จักที่อยู่อาศัยของสัตว์ครึ่งบกคร่ึงน้ํา
3.3 เพื่อให้เด็กได้รู้จักประโยชน์และโทษของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ํา
4. วิธีการจัดกิจกรรม
4.1 ขั้นนํา
4.1.1 ครูและเด็กทบทวนความรูเดิมในช่วโมงที่แล้ว เรื่อง สตว์นํา้
4.1.2 ครูนําเด็กเข้าสู่บทเรียนด้วยเพลง “กวด โจะ นะ กวด เอบ”
4.2 ขั้นสอน
4.2.1 ครูให้เด็กน่งเป็นรูปครึ่งวงกลม ครูและเด็กสร้างข้อตกลงร่วมกัน ดงนี้
- ขณะท่ีครูพูดเด็กๆ ควรทําอย่างไร (ต้งใจฟัง ตั้งใจดู ครูถามแล้วตอบ)
4.2.2 ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเก่ียวกบเน ชนิดใดบ้างที่อยู่ในเนื้อเพลง
หาของเพลง “กวด โจะ นา กวด เอบ” ว่ามีสัตว์
4.2.3 ครูนําฉากภาพวงจรชีวิตสตว์ครึ่งบกครึ่งบกครึ่งนํามาให้เด็กดู ครูใช้คําถามเพื่อกระตุ้น
การเรียนร
องเด็กเช่น ในฉากภาพเด็กๆ เห็นอะไรบ้าง สัตว์เหลาน
กําลังทําอะไร ท่ีอยู่อาศัยของสัตว์ท
เด็กๆ เห็นอยู่ที่ไหนบาง สัตว์แต่ละชนิดออกลูกเป็นอะไร เด็กๆ คิดว่าสัตว์เหล่านั้นมีประโยชน์และโทษอย่างไร
4.2.4 ครูอธิบายเพิ่มเติมเก่ียวกบความหมายของสัตว์ครึ่งบกคร่ึงน้ํา ชอ่ื ที่อยู่อาศัย ประโยชน์ และโทษของสตว์ครึ่งบกครึ่งนํา้
5. สื่อ
4.3 ข้นสรุป
4.3.1 ครูและเด็กสรุปร่วมกนเก่ียวกับ “สตว์ครึงบกครึ่งนํ้า”
5.1 เพลง “กวด โจะ นะ กวด เอบ”
5.2 ฉากภาพวงจรชีวิตสตว์คร่ึงบกครึ่งนํ้า เต่า กบ จระเข้
6. การประเมินผล
6.1 สังเกตการบอกช่ือ ที่อยู่อาศ
ประโยชน์และโทษของสัตว์นํา้
6.2 สังเกตการคิดและการกล้าแสดงออก และสังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกัน
สาระการจัดประสบการณ์ที่ 3 ธรรมชาติรอบตัว หน่วยการจัดประสบการณ์ นานาสตว์โลก ครังที่ 4 หน่วยการจัดประสบการณ์ย่อย สัตว์ป่า
สอนวนที่.............เดือน.............................. พ.ศ. …………..
1. ชื่อกิจกรรม เสริมประสบการณ์
2. เนือหา สตว์ป่า คอื สตว์ที่อาศัยอยู่ในป่า เช่น ช้าง เสือ กระต่าย งู นก กวาง หมูป่า
3. วตถุประสงค์การเรียนรู้
3.1 เพื่อให้เด็กได้ร ักสัตว์ปา่
3.2 เพื่อให้เด็กรู้จักท่ีอยู่อาศยของสัตว์ป่า
3.3 เพ่ือให้เด็กได้ร
4. วิธีการจัดกิจกรรม
4.1 ขั้นนํา
กประโยชน์และโทษของสัตว์ป่า
4.1.1 ครูและเด็กทบทวนความรู้เดิมในชั่วโมงท่ีแล้ว เรื่อง สตว์ครึ่งบกครึ่งนํา้
4.1.2 ครูเก็บเด็กด้วยเพลง “ตะโก แซง ค่อย ค่อย”
4.2 ขั้นสอน
4.2.1 ครูให้เด็กน่งเป็นรูปครึ่งวงกลม ครูและเด็กสร้างข้อตกลงร่วมกัน ดังนี้
- ขณะท่ีครูพูดเด็กๆ ควรทําอย่างไร (ตั้งใจฟัง ตังใจดู ครูถามตองตอบ)
4.2.2 ครูถือหนังสือเล่มยักษ์เรื่อง ปัญญาคองกวย โดยครูปิดหน้าปกไว้ และเกร่ินนําพูดคุยกบั เด็กเพ่ือนําเข้าสู่เนื้อหาในหนงสือเล่มยักษ์ ครูชวนเด็กดูรูปในหนังสือเล่มยักษ์ และซักถามถึงตัวละครที่ปรากฏ อยู่ในภาพแต่ละหนาว่ามีใคร ทําอะไร ทีไหน อย่างไร ก่อนจะเปิดหนงสือหน้าถัดไป
4.2.3 ครูอ่านรอบที่หน่ึง โดยการอ่านออกเสียงตง้ แต่ต้นจนจบเร่ือง พร้อมกบชี้ไปตาม ตัวหนงสือ (เด็กไม่ต้องอ่าน) ครูอ่านรอบที่สองโดยครูอ่านพร้อมกับเด็กโดยเด็กจะคาดเดาคําจากภาพที่ตน เขาใจ การอ่านรอบที่สาม ครูลองใหเด็กอ่านแต่ละหน้าด้วยตนเองเป็นรายกลุ่ม
4.2.4 ครูถามคําถามง่ายๆ แลวใหเด็กตอบ เช่น ใคร ทําอะไร ท่ีไหน ทําไม อย่างไร เท่าไหร่
เม่ือเด็กตอบคําถามได้ แสดงว่าเด็กเข้าใจในเร่ืองท่ีอ่าน และสามารถเล่าเรื่องได วยตนเอง
4.2.5 ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความหมายของสัตว์ป่า ช่ือของสัตว์ป่า ที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ประโยชน์และโทษของสัตว์ป่า
4.3 ข้นสรุป
4.3.1 ครูและเด็กสรุปร่วมกันเกี่ยวกับ “สตว์ป่า” โดยใช้ปริศนาคําทาย
5. สื่อ
5.1 เพลง “ตะโก แซง ค่อย ค่อย”
5.2 หนังสือเล่มยกษั ์เรื่อง “ปญญาคองกวยั ”
5.3 ปริศนาคําทาย
6. การประเมินผล
6.1 สังเกตการบอกชื่อ ที่อยู่อาศัย ประโยชน์และโทษของสัตว์ป่า
6.2 สังเกตการเล่าเรื่องและการการแสดงออก
6.3 สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกนั
สาระการจัดประสบการณ์ที่ 3 ธรรมชาติรอบตัว หน่วยการจัดประสบการณ์ นานาสตว์โลก ครั้งที่ 5 หน่วยการจัดประสบการณ์ย่อย สัตว์เลียง
สอนวนที่.............เดือน.............................. พ.ศ. …………..
1. ช่ือกิจกรรม เสริมประสบการณ์
2. เน้ือหา
สัตว์เลยี ง คือ สัตว์ท่ีมนุษย์เลียงไวเพือเปนเพื่อน หรือเลียงไว้เปนอาหาร เช่น ไก่ หมู หมา แมว เป็ด ววั ควาย ม้า ห่าน เป็นต้น
3. วัตถุประสงค์การเรียนรู้
3.1 เพ่ือให้เด็กได้รจู้ ักสัตว์เลี้ยง
3.2 เพ่ือให้เด็กรูจ้ ักท่ีอยู่อาศยของสตว์เลี้ยง
3.3 เพ่ือให้เด็กไดร้
4. วิธีการจัดกิจกรรม
ักประโยชน์และโทษของสัตว์เลี้ยง
4.1 ข นํา
4.1.1 ครูและเด็กทบทวนความรูเดิมในชั่วโมงที่แล้ว เรื่อง สตว์ป่า
4.1.2 ครูเก็บเด็กด้วยเพลง “ท่ะฮ เต”
4.2 ขันสอน
4.2.1 ครูให้เด็กน่งประจําท่ีน่งของตนเอง ครูนําเขาสู่บทเรียนโดยถามเด็กเก่ียวกับสัตว์เลี้ยงท
เด็กเลี้ยงไว
ีอะไรบาง แล้วเชื่อมโยงเข้าสู่เรื่องเล่า เร่ือง “กอนจู นะ เพ่ะมอม”
4.2.2 ครูถือกระดาษเรื่องเล่าไว้ในมือให้เด็กเห็นแลวเริ่มเล่าเร่ืองโดยการใส่น้ําเสียงและอารมณ
ขณะอ่าน อ่านออกเสียงชดเจน ครูชําเรืองมองดูเด็กให้ท่วหอง
4.2.3 ครูถามคําถามเกี่ยวกบเนือเร่ืองว่า ใคร ทําอะไร ที่ไหน อย่างไร ในเนื้อเร่ืองมีสัตว์ชนิดใด
4.2.4 ครูอธิบายเพิ่มเติมเก่ียวกับความหมายของสัตว์เล สัตว์เลียง ประโยชน์และโทษของสัตว์เลี้ยง
ง ชื่อของสัตว์เลียง ที่อยู่อาศัยของ
5. สื่อ
4.3 ข้นสรุป
4.3.1 ครูและเด็กสรุปร่วมกันเก่ียวกับ “สตว์เลี้ยง”
5.1 เพลง “ท่ะฮ เต”
5.2 เรื่องเล่า “กอนจู นะ เพ่ะมอม”
6. การประเมินผล
6.1 สังเกตการบอกชื่อ ที่อยู่อาศัย ประโยชน์และโทษของสัตว์เลี้ยง
6.2 สังเกตการคิดและการกล้าแสดงออก และสังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกัน
6. ตารางการใช ื่อและกลวธิ ีการสอนภาษาท้องถนในการจ่ิ ัดประสบการณ์การเรียนรใู นศนยพ์ู ัฒนาเด็กเล็ก
ตามหน่วยการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ | สื่อและกลวิธีการสอนท่ีใช้ |
1. หน่วย วันลอยกระทง | 1. เพ่ลง ดืน ซิบซ่อง. 2. พ่ืน ลืง งัย ลอย กระทง. 3. พ่ะญา เดื่อะ อะลัง. 4. พ่ืน ลืง เพ่ลียว อะวะฮ. 5. ฉากวัฒนธรรมวันลอยกระทง 6. ฉากวัฒนธรรมวันลอยกระทง |
2. หน่วย ฤดูกาลหรรษา | 1. เพ่ลง กะยาล จะแงด. 2. เพ่ลง กะยาลกะเตา. 3. พ่ะญา พ่ละฮ มา แซะแซะ. 4. พ่ะญา ปัย อืนเตอ. 5. พ่ืน ลืง กวดอีง นะ โค่. 6. นิทานภาพ กวดอีง นะ โค่. 7. ฉากวฒนธรรมฤดูหนาว. |
3. หน่วย วันคืน ชื่นอุรา | 1. ชุดคําส่งั ท่ะฮ เต. 2. เพ่ลง ปะนาง นะ ดืน. 3. เพ่ลง กะเยือล กะเตา. 4. พ่ะญา มูย เตอะ อึน เจดฮ. 5. เพ่ลง ดืน เบลือง. 6. พืน ลืง ปะนาง นะ อึนทร่วยโท่ง 7. ฉากวัฒนธรรมกลางวัน 8. ฉากวัฒนธรรมกลางคืน |
4. หน่วย หนองซํา | 1. เพ่ลง เด่ือะ. 2. เพ่ลง ท่ะนับ พ่ืด. 3. พ่ะญา เดื่อะ ละพ่ัง. 4. พ่ะญา มูย เตอะ อึนเจดฮ. 5. พื่น ลืง เพ่ลียว อะวะฮ. |
5. หน่วย นกน้อยเริงร่า | 1. พ่ะญา เจม. 2. พ่ะญา เจม วอ อึนโปะ. 3. พ่ะญา เจมตะบัล. |
4. เพ่ลง เจมอะลีอ์. 5. พื่น ลืง จอ เจม. 6. ฉากภาพนก 7. ภาพอาหารของนก 8. นิทานภาพ จอ เจม 9. บัตรภาพการดูแลรักษานก | |
6.หน่วย วันสําคญั แห่งชาติ | 1. เพ่ลง อานุ มัก อาแม 2. พ่ะญา ซะดัจ โท่ล ซะดัจ กัน. 3. พ่ะญา เบือ เต อานุ 4. พ่ะญา คุ่น อานุ ฮัย. 5. พื่น ลืง อานุ นะ กอน 6. พื่น ลืง อานาง นิด กวย ออ. 7. นิทานภาพ อานางนิด กวยออ 8. ภาพรัชกาลที่ 9 9. ภาพดอกพุทธรักษา ของจริง |
7.หน่วย ต้นไม้คืนป่า | 1. เพ่ลง อึนเคื่อะ ซะท่องอ์ คลา 2. เพ่ลง แค่ลลอง พื่ด. 3. พ่ะญา คุ่น เค่ลลอง. 4. พ่ะญา แค่ลลอง. 5. พื่น ลืง แค่ลลอง. 6. นิทานภาพ แค่ลลอง 7. บัตรภาพการบํารุงรักษาต้นไม้ 8. บัตรภาพประโยชน์ของต้นไม้ 9. บัตรภาพโทษของต้นไม้ 10. ฉากภาพการเจริญเติบโตของตนไม้ |
8.หน่วย ขาวสวย | 1. พ่ะญา จา ดอย. 2. เพ่ลง แทร. 3. พื่น ลืง จอ เจม. 4. ฉากวัฒนธรรมการปลูกข้าว 5. ภาพถ่ายอุปกรณ์การทํานา 6. ฉากวัฒนธรรมการเก่ียวข้าว |
9. หน่วย วันขึนปใหม่ | 1. เพ่ลง กะมอ ตะมัย. 2. เพ่ลง ท่ะฮ เต. |
3. พื่น ลืง ลบ ดุง ฮัย. 4. ฉากวัฒนธรรมวันขึ้นปีใหม่ 5. นิทานภาพ ลบดุงฮัย. | |
10. หน่วย วันเด็ก วันครู | 1. เพ่ลง เจมกู. 2. เพล่ง ซะวัดดี. 3. เพล่ง ซะวัดดี ค่ลู. 4. พ่ะญา งัย คลู่. 5. พื่น ลืง อานาง นิด กวย ออ. 6. พื่น ลืง ค่ลู ค่อง ฮยั 7. นิทานภาพคุณครูของหนู 8. นิทานภาพ อานางนิด กวยออ. |
11. หน่วย ผาไหม | 1. พ่ะญา ฒุย เตอะ อึน เจดฮ. 2. เพ่ลง กอนนาง. 3. พ่ะญา อึนชิ่ โซด กวย. 4. พื่น ลืง ปันญา กวย มัด โซด. 5. ฉากวัฒนธรรมขั้นตอนการทําไหม |
12. หน่วย ดอกลําดวน | 1. พ่ะญา เปียล อึนตวล. 2. ชุดคําสั่ง คะนม เปียล บู. 3. พ่ะญา เปียล. 4. เพ่ลง พูม เปียล อึนตวล. 5. เพล่ง เจาะฮ เปียล. 6. พื่น ลืง เปียล อึนตวล. 7. บัตรภาพดอกไมชนิดต่างๆ 8. ฉากภาพการปลูกต้นไม้ 9. บตรภาพดอกลําดวน |
13. หน่วย เดินทางท่วไทย | 1. พ่ะญา จี นะ นา. 2. พ่ะญา เทื่อย ฮยั เกิด กะดัย. 3. เพื่น ลืง ฮัย จี ทีว. 4. พ่ะญา ละบิน. 5. บตรภาพ รถ เคร่ืองบิน เรือ เกวียน 6. นิทานภาพ ลบ ดุง ฮัย |
14. หน่วย นักประดิษฐ์ตัวน้อย | 1. ชุดคําสั่ง ท่ะฮ เต. ปัวะ นะ พัยพา. 2. เพ่ลง มัด นะ กะโตล. |
3. พ่ะญา นุเทา นะ แมเทา เกิด มัด ปอน. 4. เพ่ลง กะเยือล จะแงด. 5. เพ่ลง กะเยือล กะเตา. 6. พื่น ลืง ฮัย วอ บืน. 7. บล็อกไม้ของจริง 8. เหรียญ 1 5 10 บาท ของจริง 9. การชั่ง ตวง ของจริง 10. ไม้บรรทัด ยางลบ ดินสอ ของจริง | |
15. หน่วย หัวใจนกคิด | 1. พ่ะญา มูย เตอะ อึน เจดฮ. 2. เพ่ลง กะยึง อัน ซัม. 3. เพ่ลง ตอจ คอง. 4. พ่ะญา ซะตาง. 5. นิทานภาพกลอ อึนชาย. |
16. หน่วย โลกไรพรมแดน | 1. เพ่ลง โจ บอย ฮัย. 2. พ่ะญา ซูล อึนเต. 3. พ่ะญา ซูล. 4. พ่ะญา มูย เตอะ อึน เจดฮ. 5. บตรภาพอุปกรณ์การสื่อสาร 6. นิทานภาพ กลอ อึนชาย. |
17. หน่วย จังหวัดศรีสะเกษ | 1. พ่ะญา จี ทีว. 2. พ่ะญา กวย ซะเกด. 3. ฉากวัฒนธรรมของจังหวัดศรีสะเกษ 4. บัตรภาพดอกลําดวน 5. บัตรภาพหอมกระเทียม 6. บตรภาพอาชีพ ครู ตํารวจ ชาวนา |
18. หน่วย นานาสตว์โลก | 1. เพ่ลง ซะเนง มลอ ญาม. 2. เพ่ลง บอย กา จา. 3. เพ่ลง กวดโจะ นะ กวดเอบ. 4. ปะนาย เทื่อย.(ฮัย เกิด กะดัย.) 5. พื่น ลืง ปันญา กวย มัด โซด. 6. บตรภาพสัตว์บกสัตว์นํา้ 7. นิทานภาพ กวดอีง นะ โค่. 8. นิทานภาพ เพ่ลียว อะวะฮ. 9. ฉากภาพนกต่างๆ |
19. หน่วย สิ่งของเครื่องใช้ | 1. เพ่ลง ซะวัดดี ค่ลู. 2. พ่ะญา ดุง คอง ฮัย. 3. เพ่ลง แทร. 4. พื่น ลืง จา อึนซาย ทึ่ง กลอง. |
20. หน่วย หลวงพ่อโพธาธิมุติ | 1. เพ่ลง ตะโก อันซัม. 2. พ่ะญา เปียล อึนตวล. 3. พื่น ลืง จา กลอง อึนทร่วย. 4. นิทานภาพเพ่ะฮมอม นะ กอนจู. |
21. หน่วย โตไปไม่โกง | 1. ชุดคําส่งนับ 1 2 3 2. เพ่ลง ตอจ ค่อง เกล. 3. เพ่ลง อึน โลด. 4. พื่น อานาง นิด กวย ออ. 5. พ่ืน ลืง ปันญา ค่อง อึนซาย. 6. นิทานภาพอานางนิด กวยออ. 7. นิทานภาพ เพ่ะฮมอม นะ กอนจู. 8. นิทานภาพอาค่อง. |
7. เรื่องเล่าและนิทานภาษากวย
1) พื่น ลืง ปันญา อึนซาย บออ์. (นิทานเร่ืองปัญญากระต่ายขาว)
ผูเล่า คุณตาเฉลิม โพธิสาร
ผูเรียบเรียง นางสาวธัญญลักษณ์ โพธิสาร
เกิด อึนซาย บออ์ มูยกลัม บอย จา กวั (มีกระต่ายขาวตัวหนึ่งหากินอยู่ในป่า) อึนซาย บออ์ จาแบด เอม อาแลง. (กระต่ายขาวกินหญาอย่างเอร็ดอร่อย) พ่อ อึนซาย บออ์ จา แบด ปะซัย แลว. (เมื่อกระต่ายขาวกินหญาจนอิ่มแล้ว)
เนิง ปาเกาะฮ.
อึนซาย บออ์ เกอะฮ อึนโลด จี บิอ์ กัว กะดอบ แค่ลลอง พื่ด.
(กระต่ายขาวก็กระโดดไปนอนอยู่ใต ้นไม้ใหญ่)
อึนซาย บออ์ เซีย เพ่อะอ์ อะเช่ิล บิอ์ กว กะดอบ แคลลอง่ พด.่ื
(กระต่ายขาวมองเห็นเสือนอนอยู่ใต้ต้นไมใหญ่) อะเชิ่ล เซีย เพ่อะอ์ อึนซาย บออ์. (เสือมองเห็นกระต่ายขาว)
อะเชิ่ล อึนเต อึนซาย บออ์ ปาย. (เสือบอกกระต่ายขาวว่า)
“ เกอ เพ่อะ จา มัย เออะอ์.” “ ข้าไม่กินเจ้าหรอก ”
อึนซาย บออ์ เกอะฮ อึนโลด ลบ เกลย.
(กระต่ายขาวก็กระโดดกลับหลัง)
กลาจเซาะฮ. เช้าวันรุ่งขึ้น
อึนซาย บออ์ เกอะฮ อึนโลด โจ บอย อะเช่ิล บอน กะดอบ แค่ลลอง พื่ด. (กระต่ายขาวก็กระโดดมาหาเสือที่ใต้ต้นไม้ใหญ่)
อึนซาย บออ์ อาอ์ เค่ลย. (กระต่ายขาวคายไส้เดือน)
แลว อึนซาย บออ์ อึนเต อะเชิ่ล ปาย. (แล้วกระต่ายขาวบอกเสือว่า)
“ แน ตะบูย เจียง พ่ืด.” “ นี่ งวงช้างใหญ่ ”
อึนซาย บออ์ อาอ์ ปลัยละกาย. (กระต่ายขาวคายเมล็ดกระบก)
แลว อึนซาย บออ์ อึนเต อะเชิ่ล ปาย. (แล้วกระต่ายขาวบอกเสือว่า)
“ แน ลอม อะเช่ิล พื่ด.” “ นี่ ตับเสือใหญ่ ”
อะเชิ่ล เพ่อะอ์ อึนซาย บออ์ อาอ์ เค่ลย. (เสือเห็นกระต่ายขาวคายไส้เดือน)
อะเชิ่ล เพ่อะอ์ อึนซาย บออ์ อาอ์ ปลยละกาย. (เสือเห็นกระต่ายขาวคายคายลูกกระบก)
อะเชิ่ล ซุซัจ อะแลง. (เสือตกใจมาก)
อะเช่ิล เพื่อว อึนปลอน เลาะฮ จี กัว ปา เกาะฮ ตะม . (เสือรีบว่ิงออกไปอยู่ที่ป่าแห่งใหม่)
อึนซาย บออ์ กะจัง ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า. (กระต่ายขาวหัวเราะ ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า)
2) พื่ด ลื่ง ปนญาั กวย มดั โซด. (นิทานเรื่องปัญญาคนตาบอด)
ผู้เล่า คุณตาต
ผู้เขียน นางสาวละอองดาว แซ่อึง
เกิด กวยปลูอ์ มดั โซด บืน อึนแดล. (มีชายหนุ่มตาบอดใสไดเมีย)
เนา ตวง อึนแดล ดีง ปาย เนา มัด โซด. (เขากลวเมียรู้ว่าเขาตาบอด)
เนา เกอะฮ วอ จะ คื่อ กวย ออซ . (เขาก็ทําตัวเหมือนคนปกติ)
วอ คื่อ เนา เซีย เพ่อะอ์. (ทําเหมือนเขามองเห็น)
กลาจเซาะฮ เนา แอ เตรียะ จี แทร. (เชาวันรุ่งขึ้นเขาเอาควายไปนา)
เนา เตอะ เตรียะ จี ซัด เดาะอ์ คื่อ คู่ตะงัย.
(เขาจูงควายไปผูกไว้เหมือนทุกว )
ซะแน เนา เปาะ จี อึนท่รุ เดือะอึนเปาะฮ.
(ทีนี้เขาเดินไปตกบ่อนํ )
เดือะอึนเปาะฮ เพ่อะ เกิด เดือะ นอล แต ปาย อัย ซะแตล.
(บ่อน้ําไม่มีน เลย แตวาม่่ ันลน่ื )
เนา เนิง เซาะฮ เกอะฮ เซาะฮ เพ่อะ บืน. (เขาจะขึ้นก็ขึ้นไม่ได้)
ซะแน เกิด นุเทา เปาะ โจ เพ่อะอ์ แลว เมาะฮ ปาย. ทีนี้ มีคุณตา เดินมาเห็น แลวถามว่า
“ มอง แซง จี วอ มลอ คี่.”
“ คุณลงไปทําอะไรน ”
“ มอง อึนท่รุ เดือะ เปาะฮ บอ. ” “ เจาตกบ่อน้ําเหรอ ”
“ มอง เซาะฮ เพ่อะ บืน บอ. ”
“ เจ้าข ไม่ไดเหรอ้ ”
กวยปลูอ์ มัด โซด อึนเต ปาย. (ชายหนุ่มตาบอดเลยตอบว่า)
“ ฮัย แซง โจ บอย กวด มูยเค่ลือว ฮยั
“ ข้าลงมาหากบ เดี๋ยวก็จะขึ้นไปแล้วล่ะ ”
เกอะฮ เซาะฮ เฮย. ”
ดูนดิฮ กวย ปลูอ์ มดั โซด เกอะฮ ดอง เซาะฮ เพ่อะ บืน. (นานมากชายหนุ่มตาบอดก็ยงขึ้นไม่ได)้
นุเทา เกอะฮ เปาะ โจ เพ่อะอ์ เทิ่นอ์. คุณตาก็เดินมาเห็นอีก
“ ฮือ มอม นะนา เพ่อะ เซาะฮ โจ. ” “ อ้าว ทิด ทําไมยังไม่ขึ้นมา ”
กวย ปลูอ์ มด โซด อนเตึ ปาย.
ชายหนุ่มตาบอด บอกว่า
“ อัย ซะแตล แอ ตองท่รอง โจ อัน ฮัย เนิจ. ” “ มันลื่น เอาบันไดมาให้ฉันหน่อย ”
นุเทา เกอะ แอ ตองท่รอง โจ อัน. (ตาก็เอาบันไดมาให้)
แตปาย ตองท่รอง อัย อึนท่รืง เลิจ เดือะอึนเปาะฮ . (แต่ว่าบันไดมนยาวเลยบ่อน้ํา)
กวย ปลูอ์ มด โซด เกอะฮ อนโดจ เซาะฮ จี ซด ตะนัว ตองท่รอง.
(ชายหนุ่มตาบอดเลยไต่ข จนสุดปลายบันได)
เนา อึนโดจ เซาะฮ อึนโดจ เซาะฮ อึนโดจ เซาะฮ. (เขาไต่ขึ้น ไต่ขึน้ ไต่ขึ้น)
นุเทา เกอะฮ เมาะฮ ปาย. ตาก็ถามว่า
“ ฮือ! มอม มอง มัด โซด บอ. ” “ อ้าว! ทิด เจ้าตาบอดเหรอ ”
“ มอง เซาะฮ จี บอย มลอ.” “ เจ้าขึ้นไปหาอะไร ”
“ นะนา เพ่อะ แซง โจ.” “ ทําไมไม่ลงมา.”
กวย ปลูอ์ มด โซด อนเตึ ปาย.
(ชายหนุ่มตาบอดบอกว่า)
“ ฮัย เซาะฮ โจ อังปอง เซีย เตรียะ กวั
“ ฉนขึ้นมาข้างบน ดูควายท่ีอยู่ข้างล่าง ”
อัง กะดอบ. ”
ซะแน กวย ปลูอ์ มัด โซด เกอะฮ อึนโดจ ตองท่รอง แซงโจ. (ทีนี้ชายหนุ่มตาบอดก็ไต่บันไดลงมา)
ตะบือ กวย ปลูอ์ มดั โซด แอ เตรียะ ลบ ดุง. (ตอนเย็นชายหนุ่มตาบอดเอาควายกลับบ้าน)
เนา เพ่ือว เตอะ เตรียะ ลบ ดุง. (เขารีบจูงควายกลับบ้าน)
พ่อ เตอะ ดุง อึนแดล เมาะฮ ปาย. (พอถึงบาน เมียถามว่า)
“ฮือ! อาย มอง เตอะ เตรียะ กะดัย โจ” (อาว! พี่จูงควายใครมา)
กวย ปลูอ์ มด โซด อนเตึ ปาย.
“ ชายหนุ่มตาบอดบอกว่า”
แน เตรียะ ฮ อาย เตอะ โจ แลว.
“นี่ไง ควายเราพี่จูงมาแล้ว ”
อึนแดล บืน ดีง ปาย เกิด กะเยื่อะ มัด โซด. (เมียจึงรู้ว่ามีผวเป็นคนตาบอด)
3) พ่ืน ลื่ง จา กลอง อึนท่รวย (นิทานเรื่อง กินขไี ก่) เล่าโดย คุณตาสมัย เรืองคํา
เรียบเรียงโดย นางจุฬาภรณ์ รักษ์วงศ์
ลูกอ เกิด เพ่ะมอม นะ กอนจู กัวเนิงดอ. (แต่ก่อนมีพระและเณรอาศยอยู่ด้วยกัน) งัยมูยเพ่ะมอม เนิงเลาะฮ จี อังเกลา.
(วนหนึ่งพระ จะออกไปข้างนอก)
เพ่ะมอม อึนเต กอนจู ปายกัวกุติเซียอึนท่รวย อันออ เดอ. (พระบอกเณรว่าอยู่กุฎิดูไก่ให้ดีๆนะ)
บิ อึนท่รวย เนิง กลอง ซัยกุติ แค่น อึนท่รวย กลอง ซัยกุติเนิง อัน กอนจู แญลเลาะฮ. (เด๋ียวไก่จะขี้ใส่กุฎิ ถาไก่ขี้ใส่กุฎิจะให้เณรเลียออก)
กอนจู บิอ์เกลอะอึนท่รวย โจ กลอง ซยกุติ. (เณรนอนหลับไก่มาขี้ใส่กุฎิ)
กอนจู ตวง เพ่ะมอม อนั แญล กลอง อึนทร่วย. (เณรกลัวพระใหเลียขี้ไก่)
กอนจู เกอะฮแอ นามออย จี เปดดอฮ เลียบ เลียบ กลอง อึนท่รวย. (เณรจึงเอาน้ําอ้อยไปแปะไว้ข้างๆ ขีไก่)
เพ่ะมอม โจเพ่อะฮ กลอง อึนท่รวย เกอะฮอัน กอนจู แญล กลอง อึนท่รวย เลาะฮ. (พระมาเห็นขี้ไก่ จึงให้เณรเลียขี้ไก่ออก)
กอนจู ดีงแลวเกอะแญล แอ ตี นามออยแลว อึนเต เพ่ะมอม ปาย กลอง อึนท่รวย งาม อาแลง. (เณรรู้แลวจึงเลียเอาแต่นําอ้อย แล้วบอกพระว่า ขี้ไก่หวานมาก)
แลวกอนจู เกอะฮแญล แอ แญล แอ.
(แลวเณรก็เลียเอาเลียเอา)
เพ่ะมอม เพ่อะฮนะกีแลว ตะโก แซง แลวแญล แอ กลอง อึนท่รวย. (พระเห็นอย่างนั้นแล้ว ก็นั่งลงแล้วเลียเอาขี้ไก่)
เพ่ะมอม ปายอัย งาม บอน นา. กอนจู อึนเต ปายแญลเซีย ตะม
(พระว่ามันหวานตรงไหน เณรบอกว่าใหเลียดูใหม่ซิ)
เบิง.
เพ่ะมอม ปะฮกอนจู ซูอ์ อ แญล กลอง อนทึ ่รวย จน ชมิ่ .
(พระโดนเณรหลอกให้กินขี้ไก่จนหมด)
4) พ่ืน ลืง ซุซัจ เจียง พื่ด (นิทานเรื่องตกใจช้างใหญ่)
เล่าโดย แม่ประทีป โพธ์ิกระสงข์
เรียบเรียงโดย กษมา จันทเสน
ซะมัย ลูเตีย ดูน โจ แลว เพ่อะ เกิด ตะเพ่ลิง. (สมัยแต่ก่อน นานมาแล้วไม่มีไม้ขีดไฟ)
นุเทา ปาเยือจ เยาะ เกาะอ์. (คุณตาอยากสูบบุหรี่)
ปะฮอม คึ่ด ปาย วอ นะนา เนิง บืน เยาะ เกาะอ์. (ใจคิดว่าจะทําอย่างไรจะได้สูบบุหรี่)
นุ เทา แอ อะลอง พะลังเซด โจ เบือ ท่อน. (คุณตาเอาต้นสาบเสือมา 2 ท่อน)
ท่อน มูย แอ โจ เจาะ พ่ลอง. (ท่อนหนึ่งเอามาเจาะรู)
เท่ิน มูย ท่อน แอ โจ คล.
(อีกท่อนเอามาปั่น)
เนา คัล อูยฮ กัว เกลอะ เพ่อะ บืน เซีย พะแนอ์ เซียแปอ์ เซียตัม. (เขาปั่นไฟจนเผลอ ไม่ได้มองขางหนา้ ข้างซ้าย ข้างขาว)
ซะแน เกิด เจียง พ่ืด มูย อึนซัย เปาะ โจ พะแนอ์ นุเทา. นุเทา เกอะฮ คลั อูยฮ กัว. (ต่อมามีช้างใหญ่หน่ึงเชือกเดินมาข้างหน้าคุณตา คุณตาก็ปั่นไฟอยู่)
เท่ลง เจียง ปะเยือจ เยาะ เกาะอ์ เท่. (เจ้าของชางอยากสูบบุหรี่ด้วย)
เนา เท่ือล เยาะ เกาะอ์ เนิง. นุ เทา เง่ย มัดเซาะฮ เพ่อะอ์ เจียง พื่ด. ซุซจ ปาย มลอ พด่ื ลึฮ.
(เขาขอสูบบุหรี่ด้วย คุณตาเงยหนาขึ้นมาเจอช้างใหญ่ ตกใจว่าอะไรใหญ่จัง) แลว ปลอน มูด เกาะฮ อะลา. นุเทา ตะฮ ซุซัจ เกอะฮ เลาะฮ เพ่อะ บืน. (แล้วว่ิงเข้าไปในป่าหนาม คุณตาหายตกใจก็ออกไม่ได้)
เท่ลง เจียง เพ่อะอ์ แลว กะจงั . นุเทา เพ่อะอ์ เท่ลง เจียง กะจัง. นุเทา เช่ เท่ลง เจียง ปาย. (เจาของช้างเห็นแล้วก็หัวเราะ คุณตาเห็นเจ้าของช้างหัวเราะ คณตาด่าเจ้าของช้างว่า)
มัย กะจ
เกอ วอ มลอ. เกอ กัว เนิง เกาะฮ อะลา. เกอ เลาะฮ เพ่อะ บืน. มัย วอ อ
เกอ ซุซัจ.
(มึงหัวเหราะกูทําไม กูอยู่ในป่าหนาม กูออกไม่ได้ มึงทําให้กูตกใจ) มัย โจ แอ เกอ เลาะฮ เนิจ เกอ เลาะฮ เพ่อะ บืน แลว.
(มึงมาเอากูออกหน่อย กูออกไม่ได้แล )
5) พื่น ลืง กวย ทุ่ก นะ กลง (นิทานเรื่อง คนจนกับลิง) เล่าเรื่องโดย นายวิเชียร อนุรุ่งโรจน์
เรียบเรียงโดย นางสาวณฐทรียา อนุรุ่งโรจน์
ดูน โจ แลว เกิด กวยโท่ล มูย นะ. ทุ่ก อะแลง เพ่อะ เกิด มลอเนิง จา . (นานมาแล้วมีผู้ชายหน่ึงคน ยากจนมาก ไม่มีอะไรจะกิน)
เนา เปาะ มูด เกาะฮ จี บอย อะเลา บอย ปอง จา อ ตะมอง.
(เขาเดินเขาไปในป่า ไปหา เผือก หามัน กินพอปะทังชีวิต)
เนา ละแกะฮ เกอะฮ บิอ์ เช่า. เกิด กลง มูย โพง เปาะ โจ เพ่อะอ์. (เขาเหนื่อยก็นอนพัก มีลิงฝูงหน่ึงเดินผ่านมาเห็น)
กลง แอ เต เปอะเซีย กลองมด เนา เบิง เกอะแลว.
(ลิงเอามือเปิดเปลือกตาเขาดูแล้ว)
กลง แอ กะดอย เต จัด อึนเกง เกอะฮ แลว. (ลิงเอานิ้วมือจี้ท่ีเอวก็แล้ว)
กลง แอ อะลอง เคือย เบิง เกอะฮ แลว. (ลิงเอาไม้เข่ียก็แล้ว)
วอ นะ นา กวยโท่ล ค่ี เกอะฮ เพ่อะ ยูล. (ทํายังไงชายคนนั้นก็ไม่ยอมต่ืน)
กลง คึ่ด ปาย เนา และฮ แลว. (ลิงคิดว่าเขาตายแล้ว)
กลง เลย ปะเค่ลาะ ดอ ปาย เนิง อึนกลาง จี ตบ พ่ลอง ปละ ลือ ตบ พ่ลอง แยง. (ลิงเลยปรึกษากันว่า จะหามไปฝังหลุมเงิน หรือ หลุมทอง)
กลง ปะเค่ลาะ ดอ ปาย แอ จี ตบ ปา พ่ลอง แยง.
(ลิงตกลงกนว่าจะเอาไปฝังท่ีหลุมทอง)
โพ่งกลง ตบ แลว แลว โพ่งกลง เกอะฮ เปาะ เลาะฮ จี. (ฝูงลิงฝังเสร็จแลวฝูงลิงก็พากันเดินออกไป)
กวยโท่ล แน เกอะฮ ยูล เซาะฮ เปะ แอ แยง จี ตัจ เลย มี อะแลง.
(ผ ายคนนี้ลุกขนึ มาขุดเอาทองไปขาย จนร่ํารวยมาก)
กวยโท่ล แน ลบ จี ดุง ซูล อัน กวย เลียบ ดุง จะงัด. (ผู้ชายคนนีกลบไปบานเล่าให้คนข้างบ้านฟัง)
กวย เลียบ ดุง แอ จี วอ ตะโปน. (คนข้างบ้านเอาไปทําตาม)
เนา วอ ตัง จี บอย คอง เกาะฮ จา พ่อ ละแกะฮ แลว เกอะ บิอ์ เช่า. (เขาทําทีไปหาของป่ากินจนเหนื่อยแล้วนอนพัก)
กลงโพ่ง เดล เปาะฮ โจ เพ่อะอ์. (ลิงฝูงเดิมเดินมาเห็น)
กลง แอ เต เปอะเซีย กลองมด
(ลิงเอามือเปิดเปลือกเขาดูแลว้
เนา เบิง เกอะฮ แลว.
)
กลง แอ กะดอย เต จัด อึนเกง เกอะฮ แลว. (ลิงเอานิ้วมือจี้ที่เอวก็แล้ว)
กลง แอ อะลอง เคือย เบิง กะ แลว. (ลิงเอาไม้เขี่ยก็แลว้ )
วอ นะ นา กวยโท่ล คี่ เกอะฮ เพ่อะ ยูล.
(ทํายังไงชายคนน ก็ไม่ยอมตื่น)
กลง คึด ปาย เนา และฮ แลว.
(ลิงคิดว่าเขาตายแล )