สัญญาเลขที่ rDg5240007
รายงานผลฉบับสมบูรณ
สัญญาเลขที่ rDg5240007
โครงการ ยุววิจัยประวัตศาสตรทองถิ่นภาคใต
xxx xxxxxxx xxxxxxx
30 กรกฎาคม 2560
รายงานผลฉบับสมบูรณ
สัญญาเลขที่ rDg5240007
โครงการ ยุววิจัยประวัตศาสตรทองถิ่นภาคใต
xxxxxxx xxxxxxx
โครงการยุววิจัยประวัตศาสตรทองถิ่ยภาคใต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ
สนับสนุนโดย สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)
(ความเห็นในรายงานนี้เปนของผูวิจัย สกว.ไมจําเปนตองเหนดวยเสมอไป)
สารบาญ
บทที่ หนา
1. การดําเนินโครงการ 1
การเริ่มตนโครงการ 1
การบริหารโครงการ 3
การเตรียมทีมวิจัยใหมีความพรอม 4
การสนับสนุนการดําเนินงานของโครงการตางๆ 9
การxxxxxสัมพันธโครงการ 12
xxxxxxxxxxxxxxxx 15
การจัดพิมพหนังสือ 19
การจัดทําวิดีโอสารคดี 23
ประโยชนxxxxxรับ 23
ปญหาที่ควรเรียนรู 30
2. ผลงานของยุววิจัยโดยสรุป 36
เรื่องราวที่xxxxxxแสดงใหเห็นตัวตนของคนในทองถิ่น 36
เรื่องราวของคนกลุมเล็กๆxxxxxมีใครสนใจxxxx 69
เหตุการณที่เปนประสบการณสําคัญของคนในทองถิ่น 71
การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจชุมชน 83
ความเปนมาของชุมชนในแงมุมที่สังคมยังไมรูมากอน 97
ทรัพยากรและการจัดการทรัพยากรของชุมชน 110
การxxxรวมกันของกลุมคนที่มีความแตกตางทางวัฒนธรรม 122
การจัดการศึกษาในทองถิ่น 125
สรุป 127
ภาคผนวก 128
บทที่ 1
การด˚าเนินโครงการ
ในบทนี้จะอธิบายให้เห็นว่าทางผู้รับผิดชอบโครงการได้ใช้วิธีด˚าเนินการโครงการนี้อย่างไร มีงาน ส˚าคัญๆของโครงการอะไรบ้าง และผลของโครงการเป็นอย่างไร
การเริ่มต้นโครงการ
1 ทางโครงการได้ก˚าหนดพื้นที่ด˚าเนินโครงการ 6 จังหวัด คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัด สุ ราษฎร์ธานี จังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล การที่เลือกเพียง 6 จังหวัด ก็เพื่อให้มี ขอบเขตพื้นที่xxxxxxxต่อการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ และเป็นพื้นที่ติดต่อกันซึ่งจะช่วยให้เห็นความเป็น กลุ่มก้อนเชื่อมโยงกันของประวัติศาสตร์xxxxxxxxในมิติต่างๆได้ชัดเจนขึ้น
2. สกว. ได้ก˚าหนดให้รับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาเข้าร่วมโครงการ โดย สกว.ให้ความส˚าคัญใน เรื่องการxxxxxxการเรียนรู้ของนักเรียน คือโครงการนี้จะช่วยให้นักเรียนxxxxxxเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัย ด้วยเห็นว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่นักเรียนเป็นทั้งนักค้นคว้าและนักคิด ที่xxxxxxสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ อย่างเป็นระบบ ที่xxxxxxxxxนักเรียนระดับมัธยมศึกษาก็เนื่องจากเป็นช่วงการศึกษาที่อยู่ในช่วงอายุxxxxxxx จะด˚าเนินโครงการนี้ เพราะในด้านหนึ่งเด็กในระดับนี้xxxxxxใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้ได้ ในขณะที่ อีกด้านหนึ่งจะช่วยเป็นการเตรียมนักศึกษาเข้าสู่การเรียนระดับอุดมศึกษาซึ่งจะต้องใช้กระบวนการเรียนรู้ ด้วยการวิจัยอย่างมาก
ส่วนการเลือกสนับสนุนโครงการศึกษาประวัติศาสตร์xxxxxxxxนั้น สกว.มองว่าจะช่วยให้นักเรียน ศึกษาและสร้างความรู้ทางสังคมศาสตร์ได้ เพราะ สกว.มีโครงการยุววิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว xxxx ยุววิจัยยางพารา และxxxxให้นักเรียนเกิดความส˚าxxxxxxxxxxxจากการศึกษาประวัติศาสตร์ ซึ่งจะช่วยให้ xxxxxxควบคุมตัวเองให้เป็นคนดีของสังคมได้มากขึ้น
ศูนย์xxxxxxโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์xxxxxxxxมีความคาดxxxxxxxxxขึ้นอีก โดยเห็นว่าใน การศึกษาประวัติศาสตร์xxxxxxxxตนเองของทีมยุววิจัยโรงเรียนในพื้นที่ต่างๆนั้นจะน˚าพาคนกลุ่มต่างๆใน ชุมชนออกมามีส่วนร่วม เพราะนักเรียนคือลูกหลานของคนในชุมชนเอง และตามxxxxคนในชุมชนก็จะให้ ความร่วมมือกับโรงเรียนดีอยู่แล้ว การที่คนในชุมชนออกมามีส่วนร่วมในการศึกษาประวัติศาสตร์ของ
ตนเองxxxxนี้ จะท˚าให้xxxxxxxxxxxxxxและสร้างสรรค์ความทรงจ˚าร่วมของคนในชุมชนหรือในxxxxxxxxขึ้นมาได้ ซึ่งจะท˚าให้คนในชุมชนหรือxxxxxxxxรู้ว่าเขาคือใคร เขามีดีอะไร เขาจะใช้สิ่งที่เป็นและมีไปสร้างทางเลือกและ สร้างความxxxxxxxxกับคนกลุ่มต่างๆอย่างไร ซึ่งจะท˚าให้คนในxxxxxxxxxxxxxxคิดและสร้างทางเลือกของตน ได้มากและเหมาะสมมากขึ้น พร้อมๆกันนี้ผลงานศึกษาประวัติศาสตร์xxxxxxxxเมื่อเผยแพร่ออกไปก็จะท˚าให้ คนทั่วไปได้รู้จักเรื่องราวและคนในxxxxxxxxนั้นๆมากขึ้น ซึ่งจะท˚าให้คนในxxxxxxxxดังกล่าวเกิดตัวตนใน ความxxxxxxxxกับคนกลุ่มต่างๆ ดังนั้นศูนย์xxxxxxงานจึงxxxxxxxxxจะขับเคลื่อนโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดย ไม่xxxxxxxxxเพียงการxxxxxxการการเรียนรู้ของนักเรียนเท่านั้น แต่xxxxว่าจะมีผลต่อการสร้างความxxxxxxxx และตัวตนให้แก่คนในxxxxxxxxด้วย
3. ในการสมัครเข้าร่วมโครงการของนักเรียนนั้นจะต้องสมัครในนามของโรงเรียน และสมัครเป็น ทีม ทีมละ 3-5 xx xxxที่ให้สมัครในนามโรงเรียนก็เพื่อให้โรงเรียนรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการและสนับสนุน การศึกษาประวัติศาสตร์xxxxxxxxของนักเรียนและxxxxxxเป็นงานของโรงเรียนด้วย รวมทั้งก˚าหนดให้ทุก โครงการต้องมีxxxxxxxxxxปรึกษาอย่างน้อย 1 คน อาจารย์ดังกล่าวจะเป็นเหมือนตัวแทนโรงเรียนที่เข้า มาร่วมดูแลและฝึกฝนนักเรียนให้xxxxxxท˚าวิจัยได้
เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของโรงเรียนต่างๆและชุมชนต่างๆอย่างกว้างขวาง ทางโครงการจึงxxxx นักเรียนจากโรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมเข้ามาร่วมอย่างเปิดกว้าง โดยxxxxxxxxโรงเรียนระดับ มัธยมศึกษาทั่วไปที่สังกัดส˚านักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนขยายโอกาส(การศึกษาระดับ มัธยมศึกษาที่เปิดสอนอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษา) โรงเรียนเอกชนทั้งโรงเรียนเอกชนทั่วไปและโรงเรียน เอกชนสอนศาสนา และโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยทางโครงการxxxxว่าการxxxxโรงเรียน ที่xxxxxxxxxxxxนี้จะเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามามีxxxxxxxxxxxมากขึ้น และเปิดโอกาสให้ประวัติศาสตร์ถิ่น ได้รับการน˚าเสนออย่างหลากหลาย
จากโรงเรียนxxxxxxxxเข้ามาร่วมโครงการพบว่ามีโรงเรียนประเภทต่างๆเข้าร่วมโครงการจ˚านวนมาก นอกจากนนี้ยังxxxxxxศึกษาที่ทางโครงการxxxxxxมีหนังสือxxxxไป แต่ก็มีนักศึกษาที่เทียบได้กับระดับ มัธยมศึกษา คือ นักศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาระดับ ปวช. และนักศึกษาจากศูนย์การศึกษานอก โรงเรียน โดยนักศึกษาดังกล่าวทราบข่าวจากหนังสือพิมพ์ และเห็นว่าตัวเองน่าจะมีสิทธิ์สมัครจึงน˚าเรื่อง ไปปรึกษาอาจารย์
ทั้งนี้โรงเรียนต่างๆจะxxxxxxส่งทีมยุววิจัยกี่ทีมก็ได้ (ทีมหนึ่งก็ศึกษาประวัติศาสตร์xxxxxxxxเรื่อง หนึ่ง) แต่ว่าจะได้รับทุนสนับสนุนเท่ากันหมดทุกโรงเรียน คือ โรงเรียนละ 15,000 บาท
หากพิจารณาจากโรงเรียนที่ท˚าสัญญากับทางโครงการพบว่ามีโรงเรียนประเภทต่างๆสมัครเข้ามา ด้วยจ˚านวนดังต่อไปนี้
1) โรงเรียนมัธยมศึกษา 52 | โรงเรียน | |
2) โรงเรียนขยายโอกาส 60 3) โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 3 | โรงเรียน แห่ง | |
4) โรงเรียนเอกชน 4.1) โรงเรียนเอกชนทั่วไป 4 | โรงเรียน | |
4.2) โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา 5 4) วิทยาลัยอาชีวศึกษา 1 | โรงเรียน แห่ง | |
5) ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.) | 1 | แห่ง |
รวม 126 | แห่ง |
ต่อมามีโรงเรียนขยายโอกาส 1 โรงเรียนขอเลิกสัญญาเนื่องจากครูที่ปรึกษาติดภารกิจ พร้อมคืน จ˚านวนเงินที่จ่ายไปแล้ว จึงเหลือโรงเรียนที่ด˚าเนินการจริง 125 โรงเรียน
การบริหารโครงการ
โครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์xxxxxxxxมีเวลาในการด˚าเนินโครงการ 15 เดือน ส˚าหรับโรงเรียนจะมี เวลาด˚าเนินการประมาณ 1 ปี ดังนั้นการท˚างานจึงต้องกระชับxxxxxx และมีประสิทธิภาพ ทางศูนย์ xxxxxxงานได้เตรียมงานสนับสนุนโรงเรียนต่างๆ โดยการให้มีผู้xxxxxxงานจังหวัด จังหวัดละ 1 คน ผู้ xxxxxxงานดังกล่าวจะท˚าหน้าทีดูแลและสนับสนุนโครงการในจังหวัดที่ตนรับผิด ให้โครงการต่างๆ xxxxxxด˚าเนินการไปด้วยดี มีปัญหาอะไรก็ช่วยหาทางแก้ไข และปรึกษาหารือกับศูนย์xxxxxxงานอย่าง ใกล้ชิด เพื่อหาทางพัฒนาคุณภาพของนักวิจัย กระบวนการท˚าวิจัย และผลงานวิจัยให้มีคุณภาพมากที่สุด โดยทางศูนย์xxxxxxงานxxxxxxหาผู้xxxxxxงานxxxxxxxxxxกับโรงเรียนและเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของ นักเรียนxxxxx รวมทั้งพอเข้าใจมิติทางประวัติศาสตร์ด้วย โดยผู้xxxxxxงานจังหวัดเป็นครูในระดับ มัธยมศึกษา 3 คน นักวัฒนธรรมจังหวัด 1 คน และนักวิชาการxxxxxในจังหวัด 2 คน
ส่วนศูนย์xxxxxxงานกลางนั้นมีผู้xxxxxxงาน 1 และเจ้าหน้าที่xxxxxx 1 คน ซึ่งเมื่อปฏิบัติงาน จริงทางศูนย์มีความจ˚าเป็นต้องสนับสนุนการท˚างานแก่ผู้xxxxxxงานจังหวัดต่างๆอย่างมาก ผู้xxxxxxงาน
โครงการคนเดียวไม่xxxxxxจะท˚าได้ทันและทั่วถึง ทางโครงการจึงxxxxxxxxxผู้ทรงวุฒิไว้ช่วยงาน 2 ท่าน ทั้ง 2 ท่านเป็นนักวิชาการxxxxxxxx ท่านหนึ่งยังเป็นครูระดับมัธยมศึกษาอยู่ อีกท่านหนึ่งเป็นอดีตครูระดับ มัธยมศึกษา โดยทางศูนย์xxxxxxงานไม่มีเงินเดือนประจ˚าจ่ายให้ เนื่องจากไม่มีงบประมาณ แต่ใช้วิธีจ่าย ค่าตอบแทนเป็นรายครั้งเมื่อลงพื้นที่ปฏิบัติงานจริง
ผู้xxxxxxงานนอกจากวางแผนและก˚ากับทิศทางทางวิชาการและการด˚าเนินงานแล้วยังลงไปร่วม เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่โรงเรียนในจังหวัดต่างๆอย่างใกล้ชิด และร่วมกับผู้xxxxxxงานจังหวัดติดตาม สนับสนุนและแก้ปัญหาโครงการของโรงเรียนต่างๆอย่างใกล้ชิดxxxxกัน ส่วนผู้ทรงคุณวุฒิประจ˚าโครงการ จะท˚างานร่วมกับผู้xxxxxxงานโครงการและผู้xxxxxxงานจังหวัดสนับสนุนการท˚างานของ โรงเรียนใน จังหวัดต่างๆในด้านความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์xxxxxxxx เพื่อให้โครงการต่างๆมีความหนักแน่นทาง วิชาการ
ส˚าหรับเจ้าหน้าที่ประจ˚าโครงการนอกจากจะท˚างานด้านxxxxxxและด้านการเงินแล้ว ยังเป็นผู้จัดท˚า เวบไซต์และพัฒนาเวบไซต์ด้วย ซึ่งกล่าวได้ว่าเวบไซต์ของโครงการมีการอัพเดทข้อมูลตลอดเวลา xxxxxxxเป็น กิจกรรมของศูนย์xxxxxxงานและผู้xxxxxxงานต่างๆ กิจรรมของโครงการโรงเรียนต่างๆ รวมทั้งการ เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการที่ทางโครงการสื่อสารกับสังคม ซึ่งในขณะนั้นxxxxxxเวบไซต์ของโครงการได้รับ ความสนใจจากนักประวัติศาสตร์xxxxxxxxมากพอxxxxx
กล่าวได้ว่าทุกฝ่ายในโครงการนี้ได้ร่วมกันท˚างานอย่างxxxxxxxx เพราะโครงการมีระยะเวลาท˚างานใน ระยะสั้นคือเพียง 12 เดือน1 ในขณะที่ปริมาณงานมีมาก ด้วยการด˚าเนินการอย่างจริงจังดังกล่าวการ ด˚าเนินงานของโครงการต่างๆเป็นไปด้วยxx
xxxเตรียมทีมวิจัยให้มีความพร้อม
1. จ˚านวนโครงการของโรงเรียนต่างๆ
ศูนย์xxxxxxงานได้ออกหนังสือxxxxโรงเรียนต่างใน 6 จังหวัดเข้ารวมโครงการทั้งหมด 747 โรงเรียน ครอบคลุมโรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษา ทั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วไป โรงเรียนขยาย โอกาส โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และโรงเรียนเอกชน โดยทางศูนย์xxxxxxงานตั้งเป้าว่า จะมีโรงเรียนสมัครเข้าร่วมกิจกรรมมากพอxxxxx แล้วทางศูนย์xxxxxxงานจะคัดให้เหลือจังหวัดละ 20 โรงเรียน ปรากฏว่าเมื่อครบก˚าหนดแล้วจ˚านวนโรงเรียนxxxxxxxxเข้าxxxxxไม่เป็นไปตามที่คาดxxxx xxxโรงเรียน
1 ในสัญญาระบุระยะเวลาด˚าเนินโครงการไว้ 15 เดือน แต่มีค่าตอบแทนและค่าxxxxเพียง 12 เดือน เวลาอีก 3 เดือนมีไว้เพื่อด˚าเนินการ รวบรวมผลงานและส่งงานเท่านั้น
ยังสมัครมาไม่มากก็ด้วยเหตุผลที่ส˚าคัญ 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรก โรงเรียนมีกิจกรรมมาก ทั้ง กิจกรรมที่เป็นกิจกรรมการศึกษาของตนและของหน่วยงานบังคับบัญชาโดยตรง และของหน่วยงานอื่นๆที่ ประกาศรับสมัครนักเรียนเข้าร่วมโครงการ รวมทั้งโรงเรียนขนาดใหญ่ที่เด็กเรียนเก่งมุ่งเข้าไปเรียนก็จะมี กิจกรรมกวดวิชาของตนxxxxxขึ้นอีก หลายโรงเรียนนักเรียนจึงมีกิจกรรมากเกินกว่าจะสนใจโครงการยุววิจัย ประวัติศาสตร์xxxxxxxx xxxไม่แปลกที่จะพบว่าโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนระดับกลาง ลงมาจนถึงโรงเรียนขยายโอกาส เพราะโรงเรียนระดับนี้จะจะไม่มีเป้าหมายในการแข่งขั้นทางการเรียนจน ถึงกับมุ่งเข้าร่วมกิจกรรมกับเด็กเก่งหรือการกวดวิชามากนัก จึงมีเวลาที่จะเข้าร่วมโครงการได้ ประการที่ สอง โรงเรียนขาดความพร้อม โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขยายโอกาส รวมถึงโรงเรียน ราษฎร์ xxxx บางโรงเรียนมีครูแต่หานักเรียนxxxxxx บางโรงเรียนมีนักเรียนแต่หาxxxxxxxxxxปรึกษาxxxxxx บาง โรงเรียนพอมีครูมีนักเรียนแต่ผู้อ˚านวยการไม่เห็นด้วย ประการที่สาม เกิดจากระบบการสื่อสารภายใน โรงเรียน โรงเรียนส่วนหนึ่งหนังสือไปไม่ถึงผู้อ˚านวยการจึงไม่มีการxxxxxxx เนื่องจากไปรษณีย์ฝากหนังสือไว้ กับภารโรงบ้าง แล้วภารโรงxxxxxxน˚าหนังสือส่งถึงระบบxxxxxxของโรงเรียน บางส่วนxxxxxxท˚าหนังสือหาย เนื่องจากไม่ใช่หนังสือส˚าคัญที่ต้องระมัดระวัง หลายโรงเรียนผู้อ˚านวยการแทงหนังสือแบบxxxxxxให้ ความส˚าคัญ จึงแทงเรื่องไปถึงครูxxxxxxได้สนใจ ในขณะที่ครูที่สนใจก็ไม่รู้เรื่อง
เมื่อทีมผู้xxxxxxงานได้พิจารณาร่วมกันเห็นว่ามีอีกหลายโรงเรียนน่าจะสมัครเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากมีครูที่พอด˚าเนินการxxx xxxได้เข้าไปxxxxxxงานกับโรงเรียนโดยตรง ท˚าให้ได้โรงเรียนเข้ามาร่วม โครงการอีกจ˚านวนหนึ่ง ซึ่งรวมกันแล้วก็ได้จ˚านวนมากพอตามที่คาดxxxx
xxxxxxxxxxxxพบว่าจ˚านวนโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมจะค่อยๆลดน้อยลงจากการยื่นใบสมัคร ถึง วันปฐมนิเทศ xxxxxxร่วมด˚าเนินโครงการจริง ทั้งนี้ก็ด้วยเงื่อนไขดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ท้ายสุดก็xxxxxxxxx จ˚านวนเกินเป้า คือตั้งเป้าไว้จังหวัดละ 20 โรงเรียน ( 6 จังหวัดเท่ากับ 120 โรงเรียน) แต่ทางศูนย์ xxxxxxงานxxxxxxท˚าสัญญากับโรงเรียนต่างๆได้ทั้งหมด 126 โรงเรียน
ทั้งนี้ตัวเลขการเปลี่ยนแปลงของจ˚านวนโรงเรียนเป็นดังนี้
1) จ˚านวนโรงเรียนทียื่นใบสมัครมีทั้งสิ้น 151 โรงเรียน
2) จ˚านวนโรงเรียนที่มาปฐมนิเทศ 139 โรงเรียน
3) จ˚านวนโรงเรียนที่ท˚าสัญญาเข้าร่วมโครงการ 126 โรงเรียน จ˚านวนโรงเรียนที่ท˚าสัญญา 126 โรงเรียน มาจากจังหวัดต่างๆดังนี้
1. นครศรีธรรมราช 23 โรงเรียน
2. สุราษฎร์ธานี | 23 | โรงเรียน |
3. ตรัง | 21 | โรงเรียน |
4. พัทลุง | 22 | โรงเรียน |
5. สงขลา | 20 | โรงเรียน |
5. สตูล 2. การปฐมนิเทศ | 17 | โรงเรียน |
ทางโครงการเปิดปฐมนิเทศทีมวิจัยของโรงเรียนต่างๆที่เข้าร่วมโครงการ โดยให้แต่ละโรงเรียนเข้า ร่วมสัมมนาทั้งxxxxxxxxxxปรึกษาและนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกคน หากโรงเรียนหนึ่งมีมากกว่า 1 โครงการก็ให้xxxxxxxxxxปรึกษาและนักเรียนทุกโครงการเข้าร่มประชุมด้วย ปรากฏว่ามีโรงเรียนเข้าประชุม ทั้งหมด 139 โรงเรียน ประกอบไปด้วยxxxxxxxxxxปรึกษา 156 คน นักเรียน 593 คน นอกจากนี้ในการเข้า ร่วมปฐมนิเทศดังกล่าวทางศูนย์xxxxxxงานได้ขอให้ทางโรงเรียนได้เสนอหัวข้อมาพร้อมกับชื่อนักเรียนและ xxxxxxxxxxปรึกษา ซึ่งพบว่าหัวข้อวิจัยประวัติศาสตร์xxxxxxxxของโรงเรียนต่างๆน่าสนใจมากและสอดคล้อง กับที่ทางโครงการมุ่งxxxx คือ ล้วนแต่เป็นหัวข้อประวัติศาสตร์ที่เป็นเรื่องราวในxxxxxxxxxxxโรงเรียนตั้งอยู่ ซึ่ง แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความหลายหลายของหัวข้อตามความหลากหลายของพื้นที่
เนื่องจากมีผู้เข้าร่วมประชุมจ˚านวนมาก ทางโครงการจึงไปจัดประชุมxxxxxxxxxxxมหาวิทยาลัย รามค˚าแหง วิทยาเขตตรัง ซึ่งมีขนาดใหญ่พอบรรจุคน และเป็นพื้นที่ศูนย์กลางที่โรงเรียนทุกจังหวัดxxxxxx เดินทางเข้ามาได้สะดวก
ในการสัมมนาดังกล่าวทางโครงการได้ชี้แจงให้โรงเรียนต่างๆได้เข้าใจโครงการอย่างละเอียด และ ได้xxxxผู้ทรงคุวุฒิจากภายนอกและผู้ทรงคุณวุฒิภายในxxxxxxxxให้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ xxxxxxxx ในประเด็นเกี่ยวกับ ความหมายของประวัติศาสตร์xxxxxxxx ความส˚าคัญของประวัติศาสตร์xxxxxxxx และวิธีศึกษาประวัติศาสตร์xxxxxxxx ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกได้แก่ xx.xxxxxxxx xxxxxx ศ.xx.xxxxxxxร์ xxxxxxxxxxxx และ ดร.xxxxxxช์ xxxxxxxx ส่วนผู้ทรงคุณวุฒิในxxxxxxxxได้แก่xxxxxxxxxxxx xxxxxxx และ ทั้งหมดได้รับการสรุปในลักษณะที่ทีมยุววิจัยโรงเรียนต่างๆxxxxxxน˚าไปใช้ได้โดยทีมงานผู้xxxxxxงาน โครงการจะช่วยท˚าให้แนวทางต่างๆมีความชัดเจนมากขึ้น
ข้อสรุปxxxxxxxxxxxxxxxจากการปฐมนิเทศที่โครงการต่างๆจะต้องน˚าไปปฏิบัติก็คือ ประวัติศาสตร์ที่ โครงการต่างๆจะต้องศึกษา จะต้องเป็นการศึกษาศึกษาความxxxxxxxxของคนในแง่มุมต่างๆ ต้องศึกษา
อย่างมีมิติเวลา ต้องศึกษาความxxxxxxxxในลักษณะที่มีการเปลี่ยนแปลง และต้องศึกษาอย่างมีเงื่อนไข คือ ศึกษาว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากเงื่อนไขอะไร
กล่าวได้ว่าในการปฐมนิเทศนี้ช่วยท˚าให้ทีมวิจัยได้เข้าใจมากขึ้นว่าประวัติศาสตร์xxxxxxxxxxxทีมของ ตัวเองจะต้องศึกษานั้นเป็นอย่างไร ท˚าให้บางโรงเรียนมถอดใจไม่ท˚าต่อ แม้ว่าทางศูนย์xxxxxxงาน xxxxxxท˚าความเข้าใจเพื่อให้โรงเรียนคลายความวิตกกังวล แต่โรงเรียนดังกล่าวไม่กล้าท˚า แต่โรงเรียนที่ ยอมถอดใจหลังจากมาร่วมปฐมนิเทศก็มีไม่มาก และจะเป็นโรงเรียนxxxxxxxxxxมีความพร้อมอยู่แล้ว คือครูก็ xxxxxxxอยากท˚าในขณะxxxxxรวมทีมเด็กได้ยาก เมื่อเห็นความxxxxxxxxxxxxxของโครงการก็คิดว่าท˚าxxxxxx และแต่เดิมคิดว่าเป็นการเขียนประวัติศาสตร์เพียงxxxxxxหน้าเหมือนที่เขียนบอกxxxxxxxxxxของxxxxxxxxxxxเห็นกัน อยู่ทั่วไป
หลังจากปฐมนิเทศแล้วโรงเรียนต่างๆจะต้องเขียนโครงการวิจัยเสนอให้ศูนย์xxxxxxพิจารณาท˚า สัญญาต่อไป ซึ่งพบว่าทางโครงการต่างๆพอเข้าใจความคิด แต่ส่วนใหญ่ยังเขียนxxxxxx เพราะxxxxxxxxxx ปรึกษาไม่xxxxxxจะช่วยแนะน˚าเด็กได้ เนื่องจากไม่มีความรู้มนเรื่องการวิจัย ส่วนxxxxxxxxxxส˚าเร็จ การศึกษาระดับxxxxxxโทก็มักจะมีประสบการณ์ท˚าวิจัยเชิงปริมาณแบบง่ายๆ ไม่xxxxxxจะออกแบบ วิจัยแบบศึกษาข้อมูลเพื่อน˚ามาวิเคราะห์ในเชิงเนื้อหาได้ ดังนั้นผู้xxxxxxงานจังหวัดจึงต้องท˚างานหนักใน การช่วยให้โรงเรียนต่างๆพอเขียนโครงการเสนอได้ โดยบางจังหวัดใช้วิธีน˚าโรงเรียนต่างๆมาประชุมพร้อม กัน และฝึกฝนโครงการต่างๆให้xxxxxxเขียนโครงการได้ โดยผู้xxxxxxงานโครงการได้ลงไปช่วยอย่าง ใกล้ชิด บางจังหวัดผู้xxxxxxงานใช้วิธีลงไปแนะน˚าถึงโรงเรียนเป็นรายโรงเรียน และเมื่อโรงเรียนต่างๆส่ง โครงการแล้วทางศูนย์xxxxxxงานโดยผู้xxxxxxงานได้ช่วยแก้ไขปรับปรุงให้อีกครั้งเพื่อให้โครงการชัดเจน ขึ้น เพราะหากโครงการชัดเจนก็จะเป็นการง่ายต่อครูและนักเรียนในการท˚าวิจัย
ในการเขียนโครงการวิจัยนั้นทางศูนย์xxxxxxงานจะเน้นองค์ประกอบที่ส˚าคัญ 3 ส่วน ส่วนแรกคือ ส่วนที่ทางโครงการจะต้องเขียนให้ชัดเจนว่าหัวข้อวิจัยดังกล่าวมีความส˚าคัญอย่างไรถึงต้องศึกษา ส่วนที่ สองคือค˚าถามการวิจัย ซึ่งจะต้องชัดเจนและแสดงให้เห็นxxxxxxศึกษาประวัติศาสตร์ตามความหมายที่ทาง โครงการได้สร้างความเข้าใจกับโรงเรียนต่างๆแล้ว ส่วนที่สามคือส่วนของการศึกษาข้อมูล ซึ่งโรงเรียน จะต้องแสดงให้ชัดเจนว่าการจะได้ข้อมูลมาตอบค˚าถามการวิจัยได้นั้นทางโครงการมีวิธีศึ กษารวบรวม ข้อมูลอย่างไร ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นทางโครงการจะค่อยๆให้การเรียนรู้ในขณะที่โรงเรียนต่างๆก˚าลัง ศึกษาข้อมูลอยู่ เพื่อให้ทีมยุววิจัยของโรงเรียนต่างๆxxxxxxเชื่อมโยงการศึกษาข้อมูลกับการวิเคราะห์ ข้อมูลได้
ในที่สุดก็มีโรงเรียนต่างๆxxxxxxพัฒนาโครงการได้ส˚าเร็จและxxxxxxท˚าสัญญากับศูนย์ xxxxxxงานได้จ˚านวน 126 โรงเรียน รวม 149 โครงการ การที่มีจ˚านวนโครงการมากกว่าจ˚านวนโรงเรียนก็ เนื่องจากบางโรงเรียนเสนอโครงการมากกว่า 1 โครงการ แต่เมื่อเริ่มโครงการจริงโรงเรียนส่วนใหญ่จะขอ ถอนโครงการให้เหลือโครงการเดียว เนื่องจากแต่เดิมบางโรงเรียนเข้าใจผิดว่าท˚ากี่โครงการก็จะได้รับทุนเท่า จ˚านวนโครงการ บางโรงเรียนคิดว่าโครงการxxท˚าไม่ยาก แต่พอเข้าใจลักษณะงานจึงปรับตัวใหม่โดยการ น˚านักเรียนมาผสมกันให้เหลือทีมเดียว แต่ว่าก็ยังมีบางโรงเรียนที่ยืนยันท˚ามากกว่า 1 โครงการ โดยในที่สุด เหลือโครงการทั้งสิ้น 134 โครงการ โดยโครงการทั้งหมดxxxxxxจัดกลุ่มเนื้อหาเบื้องต้นได้ดังนี้ (ต่อมาขอ ถอนตัวไป 1 โรงเรียน จึงเหลือโรงเรียนด˚าเนินการจริง 125 โรงเรียน 131 โครงการ)
1. สถานที่และความส˚าคัญ | 25 | เรื่อง |
2. การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลง | 25 | เรื่อง |
3. ศิลปะ กีฬา และการเปลี่ยนแปลง | 10 | เรื่อง |
4. กลุ่มxxxxxxxxxx | 2 | เรื่อง |
5. ทรัพยากรและการผลิต | 18 | เรื่อง |
6. พัฒนาการชุมชน | 13 | เรื่อง |
7. ความเชื่อ พิธีกรรม ประเพณี | 24 | เรื่อง |
8. อาหารพื้นบ้านและสังคม | 3 | เรื่อง |
9. บุคคลและผลงาน | 9 | เรื่อง |
10. การดูแลรักษาสุขภาพ | 2 | เรื่อง |
อย่างไรก็ตามเมื่อด˚าเนินการไปก็มีบางโรงเรียนที่หยุดด˚าเนินการต่อด้วยเหตุผลที่ต่างกัน แต่ก็มีไม่ มากนัก ซึ่งก็ไปเกี่ยวเนื่องกับการสนับสนุนงบประมาณ โดยทางโครงการได้ก˚าหนดการจ่ายเงินสนับสนุน โรงเรียนต่างๆเป็น 3 งวด งวดแรกหลังจากเซ็นสัญญาแล้วจ่าย 8,000 บาท งวดที่สองหลังจากรายงาน ความxxxxxxxxแล้วจ่ายอีก 5,000 บาท งวดที่สามจ่ายเมื่อส่งรายงานเล่มxxxxxxxแล้วอีก 2,000 บาท ซึ่ง โรงเรียนที่หยุดกิจกรรมระหว่างทางก็จะxxxxxxรับการสนับสนุนงบประมาณส่วนที่เหลือ
กล่าวโดยสรุปมีโรงเรียนที่หยุดด˚าเนินโครงการระหว่างทาง และการจ่ายเงินทุนสนับสนุนให้แก่ โครงการดังกล่าวแยกเป็นรายจังหวัดได้ดังนี้
ลักษณะการหยุดด˚าเนินโครงการ | xxxศรีฯ | สงขลา | ตรัง | สตูล | xxxxxxxx |
1. ท˚าสัญญาและเบิกเงินงวดแรก แล้วขอยุติโครงการ พร้อมส่งผลงานงวดแรก หรือส่งรายงานความxxxxxxxx งวดแรกซงึ่ ยังxxเป็นลักษณะแผนงาน แต่ว่าไม่xxxxxx ท˚างานได้ตามแผนจึงขอยุติโครงการ | -- | -- | - | 1 | 1 |
2. ท˚าสัญญาและเบิกเงินงวดแรก แต่มีปัญหาไม่ xxxxxxด˚าเนินโครงการได้ และไม่มีผลงานส่ง จึงยุติ โครงการไปโดยปริยาย | -- | -- | - | -- | 1 |
3. ท˚าสัญญาเบิกเงินงวดแรก มารายงานความxxxxxxxx ด้วย powerpoint ในที่ประชุม เบิกเงินงวดที่สอง แต่ไม่xxxxxxเขยนรายงานxxx xxxxxxxxxรายงาน ความxxx xxxxx เพื่อเบิกเงินงวดที่สาม | -- | - | .. | -- | 2 |
4. ท˚าสัญญาเบิกเงินงวดแรก มารายงานความxxxxxxxx ด้วย powerpoint ในที่ประชุม เบิกเงินงวดที่สอง แต่ไม่ยังไม่ส่งรายงาน และยังมารายงานความxxxxxxxx เพื่อเบิกเงินงวดที่ 3 แต่xxxxxxท˚างานอย่างจริงจังหรือไม่ xxxxxxเขียนรายงานได้จงึ xxxxxxส่งรายงาน | -- | -- | .. | 1 |
การสนับสนุนการด˚าเนินงานของโครงการต่างๆ
ทางโครงการตระหนักมาตั้งแต่ต้นว่าโรงเรียนต่างๆxxมีปัญหาอย่างมากในการท˚าวิจัย เพราะเด็ก เองก็ยากที่จะท˚าวิจัยเองได้ ในขณะที่ครูนอกจากจะขาดความรู้และทักษะในการท˚าวิจัยแล้วยังมีภาระงาน มาก อีกทั้งภาระการท˚าวิจัยนี้ยังxxxxxxเป็นภาระความสมัครใจ จะน˚าไปใช้แทนภาระงานตามxxxxxxxได้ ผลงานก็ไม่xxxxxxน˚าไปใช้ในการขอเลื่อนวิทยฐานะได้ อีกทั้งตามxxxxครูสังกัด สพฐ.ทั่วไปก็ท˚างานแบ ขาดความxxxxxxxxxxxx ซึ่งในการด˚าเนินโครงการก็ประสบปัญหาxxxxนี้เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นทางโครงการจึง วางน้˚าหนักการด˚าเนินงานไว้ที่การสนับสนุนโครงการของโรงเรียนต่างๆอย่างใกล้ชิดและจริงจังโดยมี วิธีด˚าเนินการดังต่อไปนี้
1. การเข้าไปสนับสนุนเป็นรายโรงเรียน
วิธีนี้xxxxxxเป็นวิธีหลักและเป็นวิธีxxxxxxxxxxxที่สุด คือผู้xxxxxxงานจังหวัดโดยการสนับสนุนของผู้ xxxxxxงานโครงการได้เข้าไปติดตามสนับสนุนการด˚าเนินโครงการของโรงเรียนต่างๆถึงในโรงเรียนและใน พื้นที่จริง ซึ่งโรงเรียนหนึ่งได้เข้าไปหลายครั้ง ทั้งxxxxxxxxxกับทีมวิจัยและการลงไปxxxxxxxxxxxการศึกษาข้อ
ของทีมวิจัย โดยให้ข้อเสนอแนะและช่วยเหลือในการแก้ปัญหาอย่างใกล้ชิด ที่กล่าวว่าวิธีนี้xxxxxxxxที่สุด เพราะเป็นการไดพูดคุยกับบนปัญหาจริงของแต่ละโรงเรียนและมีโอกาสพูดคุยกันอย่างใกล้ชิด
2. การจัดประชุมทีมวิจัย
วิธีนี้คือผู้ประสานงานจะเชิญทุกโครงการวิจัยในจังหวัดมาประชุมร่วมกันเพื่อรายงาน ความก้าวหน้า แลกเปลี่ยนปัญหา และหาทางออกร่วมกัน โดยมีภาคบังคับที่ต้องจัดประชุมจังหวัดละ 2 ครั้ง คือรายงานความก้าวหน้า 6 เดือนแรก และรายงานความก้าวหน้า 6 เดือนหลัง โดยทั้ง 2 เวทีนี้ผู้ ประสานงานโครงการจะเป็นวิทยากรหลักในการให้ข้อเสนอแนะ บางเวทีเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาร่วมเป็น วิทยากรด้วย ซึ่งก็พบว่าในรายงานความก้าวหน้านี้ทีมยุววิจัยของโรงเรียนต่างๆจะมีความกระตือรือร้นใน การเสนอผลงานของตน เพราะหมายถึงชื่อเสียงของโรงเรียน จุดเด่นของการประชุมลักษณะนี้คือโรงเรียน ต่างไดได้เห็นตัวอย่างซึ่งกันและกัน ผลที่ได้คือก˚าลังใจที่โครงการต่างๆได้รับและพยายามท˚าโครงการของ ตนให้บรรลุผลอย่างโรงเรียนอื่น แต่ผลที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพโครงการไม่ค่อยชัดเจน เพราะวิธีนี้ทีมยุว วิจัยยังเชื่อมโยงไม่ค่อยได้ว่าโครงการอื่นๆจะมีประโยชน์ต่อโครงการของตนอย่างไร นักวิจัยระดับยุววิจัย ต้องการค˚าแนะน˚าแบบใกล้ชิดมากกว่า แต่การประชุมดังกล่าวช่วยสร้างก˚าลังใจและความกระตือรือร้น ให้แก่นักเรียนได้มาก ทั้งนี้นอกจากการประชุมรายงานความก้าวหน้ารอบ 6 เดือนดังกล่าวแล้ว ในทุกจัง จังหวัดจะมีการจัดประชุมเพิ่มเติมหลายครั้ง แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้ประชุมโรงเรียนทั้งหมดในคราวเดียว แต่ เรียกประชุมเป็นกลุ่มโรงเรียนที่อยู่ใกล้กัน
3. การเชิญผู้ประสานงานโครงการจากต่างภาคมาให้ความคิดเห็น
เนื่องจาก สกว.ได้เปิดโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในทุกภาค แต่ละภาคจะมี ประสบการณ์ของตนเองที่น่าศึกษา หากทีมยุววิจัยได้มีโอกาสได้แล กเปลี่ยนประสบการณ์กันจะมี ประโยชน์มาก แต่การจะให้ทีมยุววิจัยมาประชุมร่วมกันนั้นยากจะเป็นจริงได้เพราะอยู่ไกลกันมาก ศูนย์ ประสานงานโครงการยุววิจัยฯภาคใต้จึงใช้วิธีเชิญผู้ประสานงานจากต่างภาคมารับฟังรายงาน ความก้าวหน้าของทีมยุววิจัยแล้วให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะพร้อมยกตัวอย่างโครงการยุววิจัยในภาค ของตนประกอบด้วย แต่ทางศูนย์ประสานงานฯก็สามารถท˚าได้เพียง 1 ครั้ง เพราะเวลาด˚าเนินโครงการมี น้อย โดยได้เชิญอาจารย์เรณู อรรฐาเมศร์ ผู้ประสานงานภาคเหนือ และ ศ.ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ ที่ ปรึกษาโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคเหนือ .มาร่วมเวทีรายงานความก้าวหน้า 6 เดือนของ โครงการยุววิจัยฯ จังหวัดตรัง ซึ่งเวทีวันนั้นด˚าเนินไปอย่างคึกคัก เพราะมีการแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่าง
สนุกสนานและเห็นภาพ ในขณะเดียวกันผู้ประสานงานภาคเหนือก็ได้ประสบการณ์จากโครงการยุววิจัย ของภาคใต้ที่จะช่วยให้เกิดแนวทางปรับปรุงโครงการของภาคเหนือให้สมบูรณ์มากขึ้น
4. การจัดประชุมศึกษานิเทศก์
หากพิจารณาโครงสร้างการบริหารงานของส˚านักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานจะเห็นว่ามีส่วนงานที่ เรียกว่าศึกษานิเทศก์ประจ˚าอยู่ทุกส˚านักเขตการศึกษา หน้าที่ส˚าคัญของศึกษานิเทศก์คือสนับสนุนการ พัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียน และศึกษานิเทศก์ดังกล่าวจะมีอยู่ทุกสาขาวิชา ดังนั้นศึกษานิเทศก์ใน กลุ่มสังคมศึกษาน่าจะมีส่วนส˚าคัญในการสนับสนุนการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของโรงเรียน ทางศูนย์ ประสานงานฯจึงได้ประสานงานไปยังส˚านักงานการปฐมศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนด้วยดี ด้วยการจัดประชุมศึกษานิเทศก์กลุ่มนี้จาก 6 จังหวัดที่ห้องประชุมวิทยาลัยภูมิปัญญา มหาวิทยาลัยทักษิณ จ.พัทลุง โดยให้ทางศูนย์ประสานงานเข้าไปเสนอโครงการและแนวทางปฏิบัติงานร่วมกัน โดยทางศูนย์ ประสานได้น˚าทีมยุววิจัยจากบางโรงเรียนมาเสนอผลงานเป็นตัวอย่างด้วย แต่ว่าส˚านักงานการศึกษาขั้น พื้นฐานก็เพียงสนับสนุนให้ศึกษานิเทศก์มาร่วมประชุมเท่านั้นแต่ไม่ได้มีค˚าสั่งอะไรเป็นพิเศษหรือมีค่าภาระ งานส˚าหรับการสนับสนุนโครงการนี้ ดังนั้นเมื่อสิ้นสุดการประชุมร่วมกันแล้วสถานการณ์ก็กลับเข้าสู่สถาน เดิมเป็นหลัก คือศึกษานิเทศก์ส่วนใหญ่ท˚างานไม่เข้าขากับโรงเรียน และจะต่างคนต่างอยู่เป็นส่วนใหญ่ มี ศึกษานิเทศก์บางคนเท่านั้นที่ท˚างานกับโรงเรียนด้วยดี สถานการณ์สนับสนุนโครงการยุววิจัยในพื้นที่ก็จะ เข้ารอยเดิมเช่นนี้ คือบางพื้นที่ที่ศึกษานิเทศก์ท˚างานร่วมกับครูได้ดี ศึกษานิเทศก์ก็พอมีบทบาทช่วยเหลือ โครงการยุววิจัยฯของโรงเรียนบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะคงสถานะแบบเดิม ซึ่งทางศูนย์ประสานงาน พยายามประสานความร่วมมือแล้วแต่ได้ผลน้อย
5. การคัดเลือกโครงการเด่นไปน˚าเสนอผลงานวิชาการ
ศูนย์ประสานงานโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้มุ่งหวังว่าโครงการยุววิจัย ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจะสร้างความตื่นตัวให้แก่สังคมในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และเห็น ความส˚าคัญของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่จะเป็นก˚าลังส˚าคัญในการศึกษาเรื่องนี้ เนื่องจากมีโรงเรียนมัธยม กระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่แตกต่างหลากจะถูกสร้างออกมาเป็นความรู้ ส˚าคัญที่จะช่วยให้ท้องถิ่นเลือกหนทางไปข้างหน้าที่สอดคล้องกับตนเองได้ ทางศูนย์ประสานงานฯจึง พยายามคัดเลือกโครงการยุววิจัยที่ด˚าเนินการได้ดีไปร่วมน˚าเสนอผลงานวิชาการในที่ประชุมทางวิชาการที่ เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อให้วงวิชาการได้รู้จักการท˚างานและผลงานของของยุววิจัย โดยทางศูนย์ประสานงาน สามารถท˚าได้ 2 ครั้ง ครั้งแรกได้น˚าโรงเรียนเทพา อ.เทพา จ.สงขลา ซึ่งท˚าวิจัยเรื่อง “แม่ค้าข้าวแกงไก่ทอด
ข้างรถไฟ” ไปเสนอผลงงานในการประชุมเกี่ยวกับการปฏิรูปการเรียนรู้ที่ส˚านักงานการศึกษาพื้นฐา น มอบหมายให้คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้จัด ณ โรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ผลปรากฏว่าว่าที่ประชุมสนใจการน˚าเสนอผลงานของนักเรียนมาก เพราะนักเรียนไปกันทั้งทีมพร้อม อาจารย์ที่ปรึกษา และเตรียมการน˚าเสนอมาอย่างดี ครั้งที่สอง ศูนย์ประสานงานได้เลือกทีมยุววิจัยจาก โรงเรียนราชประชา นุเคราะห์ 6 อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งท˚าวิขัยเรื่อง “ชีวิตกับสายน้˚าของชุมชน คลองปางจากอดีตถึงปัจจุบัน” ไปเสนอผลงานในงานประชุมวิจัยประจ˚าปีที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นผู้ จัด ซึ่งก็ได้รับความสนใจและความส˚าเร็จเป็นอย่างดี โดยมีนักเรียนในโครงการทุกคนและอาจารย์ที่ปรึกษา มาร่วมน˚าเสนอ การน˚าเสนผลงานดังกล่าวนอกจากจะท˚าให้สังคมวิชาการรู้จักโครงการ ยุววิจัย ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมากขั้น ช่วยท˚าให้โครงการที่น˚าเสนอมีความมั่นใจตนเองมากขึ้นแล้ว ทางศูนย์ ประสานงานยังพยายามให้โครงการดังกล่าวไปเล่าประสบการณ์ของตนให้โครงการอื่นๆฟังทั้งในจังหวัด เดียวกันและในจังหวัดอื่น โดยจะไปเล่าให้ฟังในช่วงที่จังหวัดนั้นๆจัดประชุมโครงการวิจัย ซึ่งพบว่ามีส่วน สร้างความคึกคักให้กับการประชุมในครั้งนั้นๆมาก เพราะทีมวิจัยต่างๆเริ่มเห็นว่าโครงการยุววิจัย ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นที่ยอมรับจากฝ่ายอื่นๆ
การประชาสัมพันธ์โครงการ
การระชาสัมพันธ์โครงการมีวัตถุประสงค์ที่ส˚าคัญ 3 ประการ คือ ประการแรกเพื่อให้โรงเรียนที่เข้า ร่วมโครงการได้ติดตามข้อมูลที่ทางศูนย์ประสารงานต้องการบอกกล่าวได้ทันท่วงที ประการที่สอง เพื่อให้ โรงเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ แต่อยากด˚าเนินโครงการด้วยตนเองสามารถจะด˚าเนินโครงการของตนได้ เอง โดยได้รับความรู้ความเข้าใจ และวิธีด˚าเนินการจากการประชาสัมพันธ์ของโครงการดังกล่าว ประการที่ สาม เพื่อให้สังคมที่สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและการด˚าเนินงานของโครงยุววิจัยป ระวัติศาสตร์ ท้องถิ่น สามารถติดตามศึกษาสิ่งที่ตนสนใจได้ต่อเนื่อง โดยทางศูนย์ประสานงานได้ด˚าเนินการ ประชาสัมพันธ์ในหลายช่องทางดังต่อไปนี้
1. การจัดท˚าเวบไซต์
ทางโครงการได้จัดท˚าเวบไซต์ “โครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้” โดยเวบไซต์ดังกล่าว ท˚าหน้าที่ส˚าคัญ 3 เรื่อง เรื่องแรก เผยแพร่ความรู้และแนวทางศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ถึงขั้นที่ผู้ศึกษา แบบต่อเนื่องจะสามารถเข้าใจและศึกษาประวัติท้องถิ่นได้ด้วยตนเอง ความรู้และปราบการณ์ดังกล่าว
ได้มาจากข้อเขียนและค˚าบรรยายในรูปวิดีโอของผู้ประสานงานโครงการ ซึ่งบรรยายให้โครงการต่างๆและ ผู้เกี่ยวข้องฟังหลายครั้ง โดยเป็นบทบรรยายที่ต่อเนื่องกัน รวมทั้งข้อเขียนของผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ โดย ความรู้ดังกล่าวนี้จะมีการอัพเดทตลอดเวลา เรื่องที่สอง เป็นช่องทางส่งข้อมูลจากศูนย์ประสานงานถึง โครงการต่างๆให้ทราบข่าวคราวและแนวปฏิบัติต่างๆ พร้อมเป็นที่โหลดเอกสารต่างๆที่จ˚าเป็นต้องใช้ด้วย เรื่องที่สาม เป็นช่องทางน˚าเสนอกิจกรรมการด˚าเนินโครงการของทีมยุววิจัยโรงเรียนต่างๆ โดยทาง ผู้รับผิดชอบจะติดตามน˚ากิจกรรมต่างๆมาอัพเดทอย่างรวดเร็ว รวมทั้งเผยแพร่ความก้าวหน้าของผลงาน การวิจัยของโครงการต่างๆด้วย เรื่องที่สี่ เป็นช่องทางน˚าเสนอข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะของบุคคลภายนอกที่ มีต่อโครงการ และข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการยุววิจัยของโรงเรียนต่างๆ ที่สื่อสารมวลชนน˚าไปเผยแพร่
ตลอดระยะเวลาการด˚าเนินโครงการกล่าวได้ว่าทางศูนย์ประสานงานฯสามารถพัฒนาเวบไซต์ได้ ตามที่ตั้งใจไว้ และเวบไซต์ดังกล่าวสามารถท˚าหน้าที่ตามที่คาดหวังได้ดี
นอกจากนี้ยังพบว่าการที่ทางศูนย์ประสานงานได้น˚าผลงานของยุววิจัยโรงเรียนต่างๆขึ้นเวบไซต์ เพื่อให้ผู้สนใจได้ติดตามศึกษานี้ ท˚าให้โครงการวิจัยของโรงเรียนต่างๆไปปรากฏอยู่ใน google.com ในปัจจุบันหากใครสนใจศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้จะเห็นเรื่องแปลกๆจ˚านวนมากใน google.com ซึ่งล้วนแต่มาจากโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้
2. การเผยแพร่ข้อมูลทางยูทูบ
ศูนย์ประสานพยามใช้ช่องทางเผยแพร่ข้อมูลทาง youtube.com ให้เป็นประโยชน์ โดยมี ความมุ่งหวังว่าจะสามารถท˚าความเข้าใจกับสังคมถึงความส˚าคัญของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแนวใหม่ และ ซึ่งจะท˚าให้คนในสังคมหันมาสนใจประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมากขึ้น อันจะมีส่วนช่วยให้ชุมชนรู้จักตัวเองมาก ขึ้น ในขณะที่คนกลุ่มอื่นก็เข้าใจผู้คนในชุมชนนั้นมากขึ้น ซึ่งการเผยแพร่ทางยูทูบมีข้อดี คือสามารถเผแพร่ ได้ทั้งภาพและเสียงโดยไม่ต้องลงทุนอะไร โดยทางศูนย์ประสานงานได้น˚าวิดีโอค˚าบรรยายของผู้ ประสานงานและของผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นยูทูบอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะของผู้ประสานงานมีมากกว่าสิบตอน เช่น ท˚าไม สกว.จึงสนับสนุนโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น, การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น, การ จัดยุคประวัติศาสตร์ท้องถิ่น, วิธีศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น, ความส˚าคัญของปัญหาการวิจัย, การเขียน โครงการวิจัย, วิธีศึกษาข้อมูล
พอกล่าวได้ว่าผลงานที่ศูนย์ประสานงานน˚าเผยแพร่ทางยูทูบนั้นช่วยท˚าให้การด˚าเนินงานของ โครงการคึกคักขึ้น เพราะมีงานทางวิชาการเผยแพร่ให้คนศึกษาได้อย่างครอบคลุม ในขณะที่ช่วยสร้าง
บรรยากาศการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นให้น่าสนใจมากขึ้น โดยในปัจจุบันค˚าบรรยายชุดนี้ก็คงยังอยู่ใน ยูทูบ
3. การน˚าเสนอบทความทางวิชาการของผู้ประระสานงาน
ผู้ประสานงานพยายามท˚างานทางวิชาการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไปพร้อมกันด้วย โดย พยายามเขียนบทความเผยแพร่ หรือการไปเป็นวิทยากรในที่ประชุมสัมมนาต่างๆ ช่วยท˚าให้การขับเคลื่อน เรื่องการวิจัยเพื่อท้องถิ่นคลอบคลุมพื้นที่ความสนใจต่างๆได้มากขึ้น เช่น พบว่าการขับเคลื่อนโครงการยุว วิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมีส่วนกระตุ้นให้เกิดความสนใจขึ้นในสถาบันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังพบว่า มีหน่วยงาน 3 แห่งได้จัดสัมมนาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นครั้งใหญ่ขึ้นมา ซึ่งที่จริงหน่วยงานดังกล่าวนี้สนใจ ประวัตศาสตร์ท้องถิ่นมาก่อนหน้านี้แล้วและเคยจัดสัมมนามาก่อนแล้ว แต่ว่าได้เงียบหายไปนานแล้วพร้อม กับกระแสความสนใจประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่จางหายไปด้วย และความสนใจประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของ หน่วยงานดังกล่าวยังคงสนใจประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในแง่มุมของผู้ปกครองเป็นหลัก ในขณะที่การ ขับเคลื่อนยุววิจัยประวัตศาสตร์ท้องถิ่นจะสนใจประวัติศาสตร์ของคนเล็กคนน้อยเป็นหลัก ปรากฏว่าเมื่อ การเคลื่อนไหวของยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้เป็นไปอย่างคึกคัก หน่วยงานเหล่านี้ได้ให้ความ สนใจจัดสัมมนาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นขึ้นอีกครั้ง และเห็นได้ชัดเจนว่าได้ให้ความสนใจประวัติศาสตร์ของ คนเล็กคนน้อยมากขึ้น หน่วยงานดังกล่าวนี้ได้แก่
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีจัดสัมมนาเรื่อง ““สุราษฎร์ธานีในบริบทการเปลี่ยนแปลงของ สมัยใหม่” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผู้ประสานงานโครงการยุววิจัยประวัติท้องถิ่นภาคใต้ได้ เข้าร่วมเสนอบทความเรื่อง “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกับการส่งเสริมกระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น” ต่อมาบทความนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ธารวัฒนธรรม(ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 2553) ฉบับสัมมนา ประวัติศาสตร์สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นสารสารทางวิชาการของมหาวิทยาลัย
จังหวัดพัทลุงจัดสัมมนาเรื่อง “100 ปี ทุนวัฒนธรรมลุ่มทะเลสาบ” เมื่อ 9 – 11 กันยายน 2553 ณ โรงแรมชัยคณาธานี อ.เมือง จ.พัทลุง ผู้ประสานงานได้เข้าร่วมเสนอบทความเรื่อง “จะเข้าใจและจะท˚า
อะไรกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : ประสบการณ์จากการศึกษาการใช้ทรัพยากรของชุมชนรอบ ทะเลสาบสงขลา
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราชจัดสัมมนาเรื่อง “ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราชครั้งที่ 6” เมื่อ จัดสัมมนา 11-13 กุมภาพันธุ์ 2555 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ผู้ประสานงานฯเข้าร่วมเสนอ
บทความเรื่อง “การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในยุคปัจจุบัน” บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือ ประกอบการสัมมนา
นอกจากนี้ผู้ประสานงานยังได้เป็นวิทยากรพูดเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอีกหลายครั้ง ทั้งงานที่จัด โดยส˚านกงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และที่จัดโดยศูนย์ประสานงานโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นใน ภาคอื่นๆ
4. การประชาสัมพันธ์ทางหนังสือพิมพ์
โครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้ได้ปรากฏเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์หลายครั้ง ทั้งการ รายงานข่าวธรรมดา และการที่ผู้สื่อข่าวลงไปในพื้นที่ด˚าเนินโครงการแล้วเขียนเป็นสกู๊ฟข่าวออกมา ซึ่ง ปรากฏว่ามีทั้งข่าวและสกู๊ฟข่าวดังกล่าวหลายครั้ง เช่น สกู๊ฟข่าวของหนังสือพิมพ์แนวหน้า หนังสือพิมพ์ ไทยโพสต์ ซึ่งในการลงพื้นที่นี้ทางศูนย์ประสานงานและทางโครงการยุววิจัยได้อ˚านวยความสะดวกให้อย่าง เต็มที่
การปรากฏข่าวโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตามหน้าหนังสือพิมพ์ช่วยสร้างความคึกคัก และการยอมรับให้แก่สังคม เพราะแต่เดิมนักเรียนยังไม่อายเป็นนักวิจัยได้ และแม้แต่เกิดโครงการนี้เกิดขึ้น มาแล้วก็มีคนจ˚านวนไม่น้อยที่ตั้งค˚าถามว่านักเรียนจะเป็นนักวิจัยได้อย่างไ ร และแต่เดิมการศึกษา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นยังไม่ได้รับความสนใจ และหลายคนอาจจะสงสัยว่าท˚าไม สกว.จึงสนับสนุนให้ นักเรียนท˚าโครงการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเฉพาะเป็นเรื่องเล็กๆ ของคนเล็กคนน้อยที่อยู่ในท้องถิ่นที่ โรงเรียนตั้งอยู่ ซึ่งแต่เดิมหน้าประวัติศาสตร์ให้ความสนใจน้อย การที่หนังสือพิมพ์น˚าเรื่องนี้ไปเผยแพร่ช่วย ท˚าให้โครงการนี้มีความจริงจังมากขึ้น และท˚าให้มิติทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบใหม่เริ่มเป็นค˚าถามที่ สังคมควนให้ความสนใจนอย่างจริงจัง
คุณภาพผลงานวิจัย
แม้ สกว.จะเอาจริงเอาจังกับการสนับสนุนการด˚าเนินโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และ ศูนย์ประสานงานก็เข้าไปสนับสนุนการท˚างานของโรงเรียนอย่างเต็มที่ รวมทั้งหลายฝ่ายก็เอาใจช่วยและ สนับสนุน เพราะเห็นว่าเป็นงานท˚างานของนักเรียนซึ่งคนทั่วไปเห็นว่าเป็นลูกหลาน และยังไม่โตพอที่จะท˚า วิจัยได้อย่างเข้มแข็ง รวมทั้งโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาศึกษาเองก็ยังไม่ใช่สถานศึกษาที่มีความเข้มแข็ง ด้านวิจัย ยิ่งเป็นโรงเรียนขยายโอกาส โรงเรียนราษฎร์ ก็ยิ่งขาดความพร้อมจะผลักดันเรื่องการวิจัย ดังนั้น
ทุกฝ่ายก็คาดมาแล้วแต่ต้นหากพิจารณาเฉพาะผลงานวิจัยคงจะมีปัญหาหากน˚าหลักการวิจัยไปจับ ซึ่งเมื่อ ผลออกมาก็เป็นเช่นนั้นจริง คือ ผลงานยังมีปัญหาในแง่การเป็นงานวิจัยตามหลักการวิจัย
อย่างไรก็ตามผลงานศึกษาประวัติศาสตร์ของโรงเรียนก็ไม่ได้ออกมาเป็นแบบเดียวกับกัน แต่มี ความแตกต่างหลากหลายกันไป โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มดี กลุ่มปานกลาง และกลุ่ม อ่อน
กลุ่มดี หมายถึง โครงการวิจัยที่สามารถน˚าเสนอเนื้อเรื่องได้สอดคล้องกับค˚าถามการวิจัย มีการ แบ่งยุคชัดเจน และเมื่ออ่านดูแล้วก็พอเข้าใจเรื่องราวในมิติทางประวัติศาสตร์ได้ แต่ก็ยังเป็นผลงานที่เล่า เรื่องแบบเล่าเหตุการณ์เป็นเรื่องๆ ที่ไม่ได้แสดงให้เห็นมิติทางความสัมพันธ์ และเรื่องที่เล่ายังไม่ได้เชื่อมโยง ซึ่งกันและกัน ส่วนการตอบค˚าถามการวิจัยแม้ว่าพอจะตอบได้ แต่ยังเป็นการตอบกว้างๆ โครงการเหล่านี้ สามารถพัฒนาให้เป็นโครงการที่สมบูรณ์ถึงขั้นตีพิมพ์ได้ แต่ก็ต้องมีการปรับปรุงเพิ่มเติมอีกพอสมควร โดย ทีมผู้ประสานงานจะต้องท˚างานร่วมกับทางโรงเรียนอย่างใกล้ชิด และทางทีมวิจัย/โรงเรียนต้องมีความ พร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไข เพราะหลายโครงการที่มีผลงานอยู่ในขั้นที่สามารถปรับปรุงให้ถึงขั้นตีพิมพ์ได้ แต่ ทางโรงเรียนไม่พร้อมโครงการก็ต้องยุติเพียงเท่านั้น ที่ไม่พร้อมเช่น อาจารย์ที่ปรึกษาย้ายไปท˚างานที่ โรงเรียนอื่น อาจารย์ที่ปรึกษาไม่อยากเสียเวลามากกว่าที่ท˚าไปแล้ว นักเรียนที่เป็นทีมวิจัยส่วนใหญ่ต้อง ออกจากโรงเรียนไปเนื่องจากเป็นนักเรียนชั้น ม.6
กลุ่มปานกลาง หมายถึง โครงการที่พอพอเห็นเค้าถึงความพยายามตอบค˚าถามการวิจัย แต่ว่าก็ ยังเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์กว้างๆ และหลายส่วนที่เขียนมาก็ไม่เกี่ยวกับการตอบค˚าถามการวิจัย อีกทั้ง เรื่องเล่าก็ยังเป็นเล่าส่วนๆ ไม่เห็นการเชื่อโยงกัน หรือแสดงถึงความสัมพันธ์ของคนกลุ่มต่างๆ แม้จะมีความ พยายามจัดยุคของเรื่องราว แต่ว่าก็ยังไม่สนใจนักว่าเรื่องที่เสนออธิบายเรื่องราวของยุคนั้นหรือไม่อย่างไร
แต่ถาหากได้พูดคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษาและนักเรียนในทีมวิจัยจะพบว่ามีข้อมูลอีกมากที่สอดคล้องกับการ ตอบค˚าถามการวิจัย เพียงแต่ว่าทางทีมวิจัยไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาเขียนได้ งานกลุ่มนี้บาง เรื่องที่น่าสนใจจริงๆสามารถพัฒนาเพื่อการตีพิมพ์ได้ (เพราะความน่าสนใจของเรื่อง ไม่ใช่เพราะทีมวิจัย น˚าเสนอได้ดี) แต่เรื่องลักษณะนี้จะตีพิมพ์ได้ก็ต่อเมื่อโรงเรียนมีความตั้งใจเต็มที่ที่จะแก้ไขเรื่องของตนเอง และทีมผู้ประสานงานต้องทุ่มเทเวลาให้อย่างมากเป็นพิเศษ เพราะทางโรงเรียนถึงจะให้ความร่วมมือเต็มที่ แต่ว่ายังขาดทักษะทางการวิจัยและการเขียน ดังนั้นทีมผู้ประสานงานต้องเข้าไปช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด ซึ่ง ในหนังสือรวมผลงานยุววิจัยที่ทางศูนย์ประสานจัดพิมพ์ก็มีเรื่องจากโครงการลักษณะนี้อยู่บ้าง
กลุ่มอ่อน หมายถึง โครงการที่น˚าเสนอเนื้อหาแบบไม่สนใจค˚าถาม และเนื้อหาส่วนใหญ่จะไปน˚ามา จากเอกสารที่มีคนเขียนอยู่แล้วหรือจากเวบไซต์แบบน˚ามาตัดต่อกัน หากจะมีข้อมูลการสัมภาษณ์อยู่บ้างก็ เป็นการเอาค˚าให้สัมภาษณ์แต่ละคนมาลงไว้ในเรื่องโดยไม่มีการวิเคราะห์ และจะเห็นได้ชัดเจนว่าค˚าให้ สัมภาษณ์ดังกล่าวยังไม่เกี่ยวกับการตอบค˚าถามการวิจัย
การที่ผลงานของยุววิจัยโรงเรียนต่างๆแตกต่างหลากหลายกันดังกล่าว ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ส˚าคัญ
2 ประการ ประการแรก นักเรียนที่ประกอบกันเป็นทีมวิจัยเป็นนักเรียนระดับไหน มีศักยภาพในการเรียนรู้ อย่างไร โดยพบว่าโรงเรียนที่เปิดสอนถึงชั้น ม.6 และมีนักศึกษาให้เลือกมาก จะมีโอกาสได้นักวิจัยทีมี ศักยภาพมากกว่าโรงเรียนที่เปิดสอนถึงชั้น ม.3 และหากเป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนน้อย เช่น โรงเรียนขยาย โอกาส โอกาสที่จะหานักเรียนที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ยิ่งหายาก ประการที่สอง การมีอาจารย์ที่ปรึกษาที่ มีคุณภาพ ซึ่งคุณภาพดังกล่าวมีความหมาย 3 ส่วน คือส่วนแรกมีความรู้ในการวิจัยเชิงอธิบายความ ส่วนที่ สอง มีความเอาจริงในการสนับสนุนให้นักเรียนท˚างานวิจัยให้ประสบผลส˚าเร็จ ส่วนที่สาม มีความสามารถ ในการเขียน ที่สามารถฝึกฝนนักเรียนและช่วยเหลือในการเขียนได้
ด้วยเงื่อนไข 2 ประการดังกล่าว ท˚าให้เกิดข้อเท็จจริงของโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ แตกต่างกันไปได้มาก เช่น โครงการที่มีนักเรียนที่มีความพร้อม อาทิเด็กอยู่ในระดับชั้น ม.5-ม.6 และมี อาจารย์ที่ปรึกษาที่เข้าใจเรื่องการวิจัยพอสมควร และสนับสนุนการท˚างานของนักเรียนอย่างจริงจัง ผลของ โครงการลักษณะนี้ก็มีโอกาสออกมาดีกว่ากลุ่มอื่น โครงการที่มีนักเรียนมีความพร้อม แต่ขาดอาจารย์ที่ ปรึกษาที่มีศักยภาพและทุ่มเมสนับสนุนนักเรียน โครงการก็จะออกมาในลักษณะที่พอเห็นเค้าโครงเรื่องที่ ต้องการเสนอแต่ยังขาดความสมบูรณ์อยู่มาก โครงการที่ขาดนักเรียนที่มีศักยภาพมีแต่ครูที่พอมีศักยภาพ โครงการนี้ก็จะไปไม่ได้มากเพราะครูจะถือว่าไม่ใช่ธุรของตน เนื่องจากทางโครงการต้องการสนับสนุนเด็ก โครงการที่ทั้งนักเรียนและครูขาดศักยภาพและไม่มีใครสนใจจริงจังทั้ง 2 ฝ่าย โครงการนี้ก็จะจบลงอย่างที่ ไม่มีอะไรมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะมีเพียงการน˚าเรื่องเก่าๆที่มีคนเขียนไว้แล้วมาน˚าเสนอใหม่ให้พอมีงานส่ง
อาจมีค˚าถามว่าการเข้าไปหนุนช่วยของผู้ประสานงานมีผลต่อการพัฒนาโครงการลักษณะต่างๆ หรือไม่ ค˚าตอบก็คือผลที่เกิดขึ้นนี้เกิดจากการที่ผู้ประสานงานเข้าไปหนุนช่วยอย่างเต็มที่แล้ว ซึ่งการหนุน ช่วยจะได้ผลมากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่ที่ศักยภาพของทีมวิจัยเป็นส˚าคัญ ดังพบว่าทีมวิจัยของโรงเรียนที่มีความ พร้อมการหนุนช่วยก็จะเป็นไปด้วยดี งานมีความก้าวหน้า ในโครงการที่ขาดความพร้อมลักษณะต่างๆทีมผู้ ประสานงานก็จะท˚างานยากขึ้น เช่นในโรงเรียนที่ขาดการสนับสนุนของอาจารย์ที่ปรึกษาทางผู้ประสานงาน ต้องพยายามนัดทีมนักเรียนพูดคุยเอง ซึ่งก็ไม่ง่ายนัก เพราะตามปกตินักเรียนจะท˚างานภายใต้กฎเกณฑ์
ของโรงเรียนและการสนับสนุนของครู และเมื่อให้ค˚าปรึกษาไปแล้วก็ยากที่นักเรียนจะไปท˚าได้เองทั้งหมด แต่ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่าการท˚าวิจัยของเด็กเป็นเรื่องใหม่ ไม่มีรายวิชาที่เด็กเรียน แม้แต่ครูในระดับนี้ก็ขาด ความสามารถในการวิจัย ดังนั้นผลงานที่ออกมาในลักษณะดังกล่าวก็ถือว่าสอดคล้องกับความเป็นจริง หากฝ่ายต่างๆต้องการสนับสนุนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาสามารถท˚าวิจัยได้ตามสมควรก็ต้องสนับสนุน อย่างต่อเนื่อง และหากต้องการให้โรงเรียนมัธยมศึกษาเป็นหลักในการวิจัยเกี่ยวกับท้องถิ่นก็ต้องสนับสนุน อย่างต่อเนื่องเช่นกัน เพราะถ้าอาศัยศักยภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันถือว่ายังไม่สามารถจะรับภารกิจนี้ได้
การจัดพิมพ์หนังสือ
1. การพิมพ์หนังสือรวมผลงานของยุววิจัย
สกว.ได้มอบนโยบายมาให้ศูนย์ประสานงานตั้งแต่ต้นว่าควรจะมีการคัดเลือกผลงานของโครงการ ในจังหวัดต่างๆที่อยู่ในขั้นดีมาตีพิมพ์หนังสือ ซึ่งทางศูนย์ประสานงานก็เห็นพ้องด้วย ด้วยเห็นว่าจะช่วยท˚า ให้นักเรียนและโรงเรียนเกิดภาคภูมิใจในผลงานของตน น˚าไปสู่การใช้เป็นบทเรียนในโรงเรียนได้ และ โรงเรียนอื่นๆสามารถศึกษาเป็นแบบอย่างเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในพื้นที่ของตนได้ รวมทั้ง สังคมจะได้รับรู้ผลงานยุววิจัยและเกิดความสนใจประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เป็นเรื่องของคนเล็กคนน้อยมาก ขึ้น
ในการเริ่มต้นความคิด สกว.และ ศูนย์ประสานงานยังมองว่าคงเป็นเรื่องไม่ยาก เพราะคงมีผลงาน ดีๆมาให้คัดเลือกมาก เพียงแก้ไขนิดหน่อยก็คงจัดพิมพ์ได้ แต่เอาเข้าจริงแล้วศักยภาพของโรงเรียนระดับนี้ ยังไม่สามารถสร้างผลงานทางวิชาการที่จะพิมพ์เป็นเอกสารทางวิชาการได้ ผลงานที่ดีที่สุดถือว่ามีความ สมบูรณ์ที่พอจะจัดพิมพ์ได้ในระดับ 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น หมายความว่าที่เหลืออีก 50 เปอร์เซ็นต์จะต้องมี การแก้ไขเพิ่มเติม ทั้งในส่วนของการเพิ่มเนื้อหาและการเขียนใหม่ที่แสดงให้เห็นถึงการวิเคราะห์ให้เป็น ความรู้ทางวิชาการ
ศูนย์ประสานงานตั้งใจว่าจะตีพิมพ์ผลงานของยุววิจัยจังหวัดละ 10 เรื่อง โดยแยกหนังสืออกเป็น จังหวัดละ 1 เล่ม เมื่อพิจารณาว่าผลงานยุววิจัยเรื่องใดอยู่ในขั้นที่สามารถพัฒนาเพื่อจัดพิมพ์ พบว่าในแต่ ละจังหวัดมีเกิน 10 เรื่อง ทางศูนย์ประสานงานจึงได้จัดประชุมเพื่อพัฒนางานเขียน โดยเชิญโครงการจาก จังหวัดต่างๆมาจังหวัดละ 5 โครงการ เพื่อฝึกฝนพัฒนาการวิเคราะห์และการเขียนให้ออกมาเป็นโครงการที่ จะเป็นตัวอย่างต่อโครงการอื่นๆได้ โดยการประชุมดังกล่าวจัดทั้งหมด 2 วัน คือวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2552 ผลที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปดังที่หวัง เพราะทีมวิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษารู้ข้อมูลจ˚ากัดเท่าที่เขียนอยู่ในรายงาน จึง
ไม่สามารถจะเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อให้เห็นภาพประวัติศาสตร์ของเรื่องที่ศึกษาได้ ยังคงเขียน แบบมีข้อมูลแค่ไหนก็เขียนเท่านั้นเป็นท่อนๆ ยังไม่สามารถเชื่อมโยงให้เป็นความรู้เดียวกันได้ ใน ขณะเดียวกันครูยังขาดความกระตือรือร้นในการแก้ปัญหาท˚าให้นักเรียนที่มาก็ท˚าอะไรไม่ถูก
ทีมผู้ประสานงานจึงต้องวางแผนลงสู่โรงเรียนเพื่อร่วมมือกับครูและนักเรียนในการพัฒนาผลงาน ซึ่งก็มีโรงเรียนที่ร่วมมืออย่างเต็มที่ พยายามแก้ผลงานเพื่อให้สามารถตีพิมพ์ได้ ซึ่งก็ต้องใช้เวลานาน พอสมควร ท˚าให้ทางศูนย์ประสานงานไม่สามารถเร่งงานพิมพ์หนังสือได้ตามที่ตั้งใจไว้ ในขณะที่ก็มีหลาย โรงเรียนที่ไม่สามารถพัฒนาผลงานต่อไปได้ ซึ่งมาด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น บางโรงเรียนครูที่ปรึกษา ต้องย้ายโรงเรียนตามเทศกาลการย้ายประจ˚าปี ซึ่งมีอยู่หลายโรงเรียน บางโรงเรียนนักเรียนที่เป็นหลักของ กลุ่มจบการศึกษาและไปเรียนต่อระดับอุดมศึกษา บางโรงเรียนครูไม่สู้และโรงเรียนก็ไม่สนับสนุน ดังนั้นแม้ ทางศูนย์ประสานงานจะเข้าไปสนับสนุนอย่างเต็มที่และใช้เวลานานพอสมควรก็ยังไม่สามารถพัฒนา ผลงานของยุววิจัยให้ตามจ˚านวนที่ตั้งใจไว้ โดยสามารถพัฒนาและตีพิมพ์ได้ดังนี้
เล่ม 1 ชื่อเล่ม “กลุ่มคนแห่งสายน้˚า ผืนนา และป่าลุ่ม” ตีพิมพ์ผลงานของยุววิจัยจังหวัด นครศรีธรรมราชจ˚านวน 7 เรื่อง ตีพิมพ์ปี 2554
เล่ม 2 ชื่อเล่ม “วิถีแห่งหมู่เล หมู่ทุ่ง และหมู่เหนือ” ตีพิมพ์ผลงานของยุววิจัยจังหวัดพัทลุง จ˚านวน 6 เรื่อง ตีพิมพ์ปี 2555
เล่ม 3 ชื่อเล่ม “เมืองท่า การค้า และศรัทธาพื้นถิ่น” ตีพิมพ์ผลงานยุววิจัยจังหวัดตรัง จ˚านวน 6 เรื่อง ตีพิมพ์ปี 2555
เล่ม 4 ชื่อเล่ม “ตลาด การสัญจร และถิ่นฐานของผู้คน” ตีพิมพ์ผลงานยุววิจัยจังหวัดสงขลา 4 เรื่อง และยุววิจัยจังหวัดสตูล 2 เรื่อง ตีพิมพ์ปี 2558
จะสังเกตได้ว่าไม่มีผลงานของยุววิจัยจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้รับการตีพิมพ์เลย ทั้งนี้เพราะว่าผู้ ประสานงานจังหวัดเป็นนักวัฒนธรรมสังกัดวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเมื่อการท˚างานโครงการ ครบ 12 เดือนก็ย้ายไปรับต˚าแหน่งใหม่ที่ภาคกลาง ท˚าให้ผู้ประสานงานโครงการไม่สามารถเกาะติดกับ โครงการของโรงเรียนต่างๆได้ เพราะอยู่ไกลกันประการหนึ่ง และไม่สันทัดในพื้นที่ แม้พยายามเต็มที่แล้วก็ ไม่สามารถพัฒนาได้ส˚าเร็จแม้แต่เรื่องเดียว
ส˚าหรับจ˚านวนบทความความที่ตั้งใจไว้ว่าแต่ละเล่มจะตีพิมพ์บทความ 10 เรื่อง แต่ก็ไม่สามารถท˚า ได้ เพราะเป็นการยากมากที่จะพัฒนาเรื่องของโรงเรียนต่างๆให้ถึงขั้นตีพิมพ์ได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาแล้ว แต่ว่าความหนาของแต่เล่มนั้นใกล้เตียงกับที่ก˚าหนดไว้ ทั้งนี้เพราะว่าบทความมีความยาวมากกว่าที่คิดไว้
แต่เดิม นอกจากนี้การตีพิมพ์หนังสือที่ตั้งใจว่าจะตีพิมพ์ทุกเล่มให้เสร็จสิ้นในปี 2554 แต่ในความเป็นจริงไม่ สามารถท˚าได้ เนื่องจากความยากของการพัฒนาบทความ และต้องทอดเวลาต่อมานานพอสมควร ท˚าให้ ต้นทุนการพิมพ์สูงขึ้นตามสมควร แต่ว่าก็สามารถบริหารจัดการได้ในจ˚านวนงบประมาณที่มีอยู่ และยังคงมี งบประมาณเหลือยู่พอสมควร และหากมีบทความพร้อมก็ยังสามารถตีพิมพ์จ˚านวนเล่มได้ตามที่ตั้งใจไว้ โดยในการพัฒนาบทความและด˚าเนินการจัดพิมพ์หนังสือดังกล่าวผู้ประสานงานและทีมงานท˚างานกันโดย ไม่มีค่าตอบแทน
นอกจากนทางโครงการยังได้ตีพิมพ์หนังสืออีกเล่มหนึ่ง แต่เป็นหนังสือขนาดบาง คือหนา 80 หน้า ขนาด 16 หน้ายกพิเศษ โดยเป็นการตีพิมพ์ผลงานของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการในระยะที่สอง แต่ตีพิมพ์ ด้วยงบประมาณเดียวกับการตีพิมพ์หนังสือเล่มดังที่กล่าวข้างต้น ทั้งนี้ สกว.ได้จัดงาน “มหากรรมทาง วิชาการ สกว.วิจัยตามรอยพระยุคลบาท : สร้างสรรค์ปัญญาเพื่อพัฒนาประเทศเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพะชนมาพรรษา 7 รอบ
5 ธันวาคม 2554” โดยจัดที่อิมแพค เมืองทองธานี ซึ่งถือว่าเป็นการจัดงานครั้งใหญ่ของ สกว. ทาง โครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้ได้น˚าคณะนักเรียนจากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูลเข้าไปแสดงผลงานด้วย โรงเรียนนี้ได้เข้าร่วมโครงการขยายผลโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นภาคใต้ (หรือโครงการยุววิจัยฯระยะที่ 2) โดยด˚าเนินโครงการชุมนุมศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง “การเปลี่ยนแปลงประเพณีรอยเรือของชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะ” ทางศูนย์ประสานงานจึงได้น˚าผลงาน ดังกล่าวมาตีพิมพ์เป็นหนังสือเพื่อเผยแพร่ในงานด้วย
นอกจากนี้ทางโครงการยังจัดพิมพ์หนังสือรวมผลงานของยุววิจัยเล่ม 2 และเล่ม 3 ไปเผยแพร่ใน
งานนี้ด้วย รวมทั้งเล่ม 1 ซึ่งตีพิมพ์เรียนร้อยก่อนหน้านี้แล้ว แต่ว่าหนังสือเล่ม 2 และเล่มเล่ม 3 ดังกล่าวไม่ สามารถเข้าโรงพิมพ์ได้ทัน ทางโครงการจึงตีพิมพ์ด้วยเครื่องเล็กจ˚านวนเรื่องละ 50 เล่ม เพื่อให้ทันเผยแพร่ ในงานนี้ ซึ่งก็ต้องใช้งบประมาณเพิ่มอีกจ˚านวนหนึ่ง สรุปแล้วในงานนี้ทางโครงการสามารถน˚าหนังสือไป เผยแพร่ได้ 4 เล่ม คือ หนังสือรวมผลงานของยุววิจัย 3 เล่ม และหนังสือผลงานชุมนุมศึกษาประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น 1 เล่ม
แม้ทางโครงการจะไม่สามารถตีพิมพ์ผลงานได้ตามจ˚านวนที่ตั้งใจไว้ แต่ส˚าหรับคุณภาพนั้นทาง โครงการเคร่งครัดมาก ต้องพัฒนาผลงานได้มีคุณภาพที่พอตีพิมพ์ได้ถึงจะน˚ามาตีพิมพ์ เมื่อตีพิมพ์แล้วประ กฎว่าได้รับความสนใจจากวงวิชาการมากพอสมควร ดังจะเห็นได้ว่าหนังสือทั้ง 4 เล่มได้กลายเป็นหนังสือ ประกอบการเรียนในหลายสถาบัน ทั้งโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาและระดับมหาวิทยาลัย มีผู้สนใจขอ
หนังสือกันมากจนหนังสือไม่พอแจก นอกจากนี้ทางศูนย์ประสานงานยังได้ส่งหนังสือทั้งชุดไปตามห้องสมุด ของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทุกมหาวิทยาลัย และตามโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ ในจังหวัดต่างๆ จรากการส˚ารวจทาง Google.com พบว่าสถานศึกษาต่างๆได้น˚าหนังสือทั้งชุดขึ้นชั้นเป็น หนังสือส˚าหรับค้นคว้า และจากการส˚ารวจจาก Google.com เช่นกันจะพบว่ามีการน˚าข้อมูลจากหนังสือชุด นี้ไปอ้างอิงมากพอสมควร
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการพิมพ์หนังสือผลงานของยุววิจัยดังกล่าวมาได้ผลเป็นอย่างดี และกล่าวได้ ว่าเป็นครั้งแรกส˚าหรับภาคใต้ที่มีการน˚าผลการการศึกษาประวัติศาสตร์ของคนเล็กคนน้อยมาจัดพิมพ์ไว้ อย่างเป็นระบบ
2. การพิมพ์หนังสือสังเคราะห์ผลงานของยุววิจัย
สกว.ต้องการให้เรื่องราวของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นได้รับการยกระดับเป็นประเด็นที่เป็นนามธรรม มากขึ้น เพื่อที่จะสื่อความรู้และความหมายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมากกว่าการรู้เรื่องแต่ละเรื่อง เพื่อที่สังคมจะได้เห็นแง่มุมหรือประเด็นส˚าคัญของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นได้ชัดเจนขึ้น ดังนั้นทางโครงการจึง มีภาระงานอีกประการหนึ่ง คือการเชิญนักวิชาการมาร่วมสังเคราะห์ผลงานของยุววิจัยทุกเรื่อง เพื่อเสนอ แง่มุมทางวิชาการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เป็นประเด็นที่ใหญ่ขึ้น โดยทางโครงการตั้งใจจะสร้างงาน สังเคราะห์ดังกล่าวถึง 20 เรื่อง ทั้งนี้ด้วยความหวังว่าจะช่วยสร้างความคึกคักให้แก่การศึกษา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพิ่มขึ้นอีก พร้อมกับการสามารถน˚าผลงานการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไปใช้ ประโยชน์ได้
ทางวิชาการได้เชิญนักวิชาการในภาคใต้รอบแรกจ˚านวน 17 คนให้เข้ามาท˚างานสังเคราะห์ ดังกล่าว ซึ่งได้รับการตอบรับด้วยดี แต่ในวันประชุมน˚าเสนอความคิดหลักการ มีนักวิชาการเข้ามาเสนอ 15 คน ซึ่งก็ถือว่าเป็นจ˚านวนที่น่าพอใจ และหัวข้อที่เสนอก็น่าสนใจ เมื่อถึงวันน˚าเสนอโครงการวิจัย นักวิชาการทั้ง 15 คนนี้ก็มาน˚าเสนอครบทุกคน แต่เมื่อได้รับการอนุมัติให้ด˚าเนินโครงการได้แล้ว กลับมี ความก้าวหน้าน้อย ทางศูนย์ประสานงานพยายามติดตามก็ได้ผลไม่มาก และพบว่ามีนักวิชาการหลายคน ไม่ได้ท˚างานต่อ ซึ่งมีทั้งเหตุผลของการไม่สาม0ารถท˚างานสังเคราะห์ตามที่เสนอ และการขาดความ รับผิดชอบในฐานะนักวิชาการ ในจ˚านวนนี้เหลือนักวิชาการเพียง 7 คนเท่านั้นที่ด˚าเนินโครงการได้เสร็จสิ้น และผลงานสามารถตีพิมพ์ได้ แต่ก็มีนักวิชาการท่านหนึ่งคืนทุนจ˚านวนหนึ่งให้ทางโครงการ
ทั้งนี้ในการสนับสนุนให้นักวิชาการสังเคราะห์ผลงายยุววิจัยนี้ทางโครงการได้จ่ายค่าตอบแทนแบบ เหมารวมให้บทความละ 35,000 บาท ซึ่งรวมถึงค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นๆของนักวิชาการด้วย โดยแบ่ง จ่ายเป็นงวดๆตามความก้าวหน้าของผลงาน กล่าวคือจ่ายเมื่อเดินทางมาเสนอความคิดเชิงหลักการ 2,000 บาท จ่ายเมื่อโครงการอนุติให้ด˚าเนินการได้ 10.000 บาท ที่เหลือจ่ายเมื่อโครงการเสร็จสิ้นและแก้ไขพร้อม ตีพิมพ์ ซึ่งสรุปให้เห็นถึงการจ่ายงบประมาณและผลงานที่ได้ดังนี้
ผลงานที่ได้ | จ˚านวนโครงการ | ค่าตอบแทนโครงการละ | รวม |
ความคิดเชิงหลักการและเค้า โครงการการสังเคราะห์ | 15 | 12,000 | 180,000 |
บทความพร้อมตีพิมพ์ | 7 | 23,000 | 161,000 |
รวม | 35,000 | 341,000 |
อย่างไรก็ตามทางโครงการได้พยายามเชิญนักวิชาการเพิ่มเติมอีก แต่ก็ต้องระมัดระวังที่จะไม่เกิด กรณีนักวิชาการทิ้งงานอีก โดยมีนักวิชาการที่ตั้งใจท˚างานจนได้ผลงานพร้อมตีพิมพ์อีก 3 คน โดยทาง โครงการจ่ายให้นักวิชาการกลุ่มหลังนี้ท่านละ 30,000 บาท เพราะไม่ต้องเดินทางมาเสนอความคิดเชิง หลักการและเค้าโครงวิจัย
ในที่สุดศูนย์ประสานงานก็สามารถตีพิมพ์หนังสือสังเคราะห์ผลงานของยุววิจัยได้ 1 เล่ม ด้วย จ˚านวนบทความ 10 บทความ โดยให้ชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า “ความหมายบนเลาทาง” แต่ถึงแม้จะตีพิมพ์ หนังสือได้เล่มเดียว แต่ว่าก็เป็นหนังสือที่มีขนาดหนามาก และหนากว่าที่จั้งใจไว้แต่เดิม เพราะแต่เดิมตั้งใจ ว่าจะแยกตีพิมพ์เป็น 2 เล่ม
เมื่อน˚าไปรวมกับหนังสือรวมผลงานของยุววิจัยท˚าให้หนังสือชุดนี้มีทั้งหมด 5 เล่ม กลายเป็นชุด หนังสือที่มีคุณค่า เพราะหนังสือสังเคราะห์ผลงานช่วยให้เรื่องราวของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมีความสมบูรณ์ มากขึ้น ทางโครงการจึงจัดท˚ากล่องใส่รวมชุดให้สวยงาม ในปัจจุบันหนังสือชุดนี้นอกจากปรากฏตามชั้น หนังสือของห้องสมุดของสถานศึกษาต่างๆแล้ว ยังเป็นหนังสือที่ผู้สนใจเรื่องราวของท้องถิ่นแสวงหากันมาก เพราะนอกจากมีคุณค่าในเชิงเนื้อหาแล้วยังมีความสวยงามเหมาะที่จะตั้งประดับชั้นหนังสือได้เป็นอย่างดี
กล่าวได้ว่าการจัดพิมพ์หนังสือดังกล่าวช่วยท˚าให้โครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้มี ความครบถ้วนสมบูรณ์ สามารถฝากผลงานไว้ให้สังคมสืบสานต่อ ไม่ใช่เมื่อจบโครงการแล้วเรื่องราวต่างๆก็ จบลงไปด้วย
การจัดท˚าวิดีโอสารคดี
นอกจากการสนับสนุนให้จัดพิมพ์หนังสือแล้ว สกว.ยังสนับสนุนให้ศูนย์ประสานงานจัดท˚าวิดีโอ สารคดีประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เป็นผลงานศึกษาของยุววิจัย โดยศูนย์ประสานงานตั้งใจว่าจะสร้างให้ ครอบคลุมจังหวัดละ 1 เรื่อง รวม 6 เรื่อง แต่เมื่อลงมือท˚างานจริงถือว่าเป็นภาระงานที่หนักมาก เริ่มตั้งแต่ การเขียนบทซึ่งผู้ประสานงานต้องด˚าเนินการเอง การหาคนบันทึกเสียงค˚าบรรยาย การถ่ายท˚าในพื้นที่จริง ซึ่งต้องมีคนถ่ายภาพมืออาชีพ และผู้ประสานงานต้องลงไปก˚ากับการผลิตด้วย ต้องมีการเตรียมทีมยุววิจัย ส˚าหรับการถ่ายท˚า รวมทั้งการเตรียมชาวบ้านที่เกี่ยวข้องมาเข้าฉากด้วย จากนี้ก็ต้องมีการตัดต่อ ซึ่งก็ต้อง ใช้มืออาชีพ และผู้ประสานงานต้องท˚าบทส˚าหรับการตัดต่อและต้องไปก˚ากับการตัดต่อด้วย ซึ่งทั้งหมดเป็น งานที่หนัก และต้องใช้เวลา และเป็นการด˚าเนินงานในช่วงที่โครงการเสร็จสิ้นไปแล้ว ในที่สุดทางศูนย์ ประสานงานสามารถถ่ายท˚าได้เพียง 2 เรื่อง คือเรื่อง “เดือนสามหลามเหนียว ประเพณีสัมพันธ์ที่บ้านน้˚า แคบ” ซึ่งสร้างจากผลงานของยุววิจัยโรงเรียนวัดโทเอก อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช และเรื่อง “แม่ค้าข้าว แกงไก่ทอดข้างรถไฟ” ซึ่งสร้างจากผลงานของยุววิจัยโรงเรียนเทพา อ.เทพา จ.สงขลา
อย่างไรก็ตามถึงแม้ทางศูนย์ประสานงานจะสร้างวิดีโอสารคดีได้ 2 เรื่อง แต่ก็ถือว่าเป็นผลงาน ระดับมืออาชีพที่สามารถเผยแพร่ได้ สารคดีดังกล่าวจึงสามารถน˚าเสนอได้ในทุกวงการ โดยทางศูนย์ ประสานงานได้ท˚าแผ่นดีวีดีแจกจ่ายไปตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และน˚าเนอในยูทูบ ปัจจุบันก็ยังรับชมได้
ประโยชนที่ได้รับ
1. ประโยชน์เกี่ยวกับการปฏิรูปการเรียนรู้
สกว.ไม่ได้คาดหวังผลของการวิจัยมากนักแต่คาดหวังที่การปฏิรูปการเรียนรู้ของเด็ก จากผลที่ เกิดขึ้นพอกล่าวได้ว่าความคาดหวังของ สกว.นั้นประสบผลส˚าเร็จมากทีเดียว ดังจะเห็นจากความคิดเห็น ของโครงการต่างๆที่น˚าเสนอต่อศูนย์ประสานงาน ซึ่งพบว่าโรงเรียนที่ทีมวิจัยลงศึกษาข้อมูลในพื้นที่จริงล้วน สะท้อนให้เห็นถึงการเรียนรู้ใหม่ๆที่เด็กได้รับ แม้ในการน˚าเสนอผลงานในรูปของการวิจัยนักเรียนอาจไม่ ประสบผลส˚าเร็จ แต่ส˚าหรับประสบการณ์ใหม่ๆที่นักเรียนได้รับถือว่าเกิดขึ้นแล้ว โรงเรียนไหนมีการวางแผน
งานศึกษาข้อมูล และการน˚าข้อมูลมาวิเคราะห์อย่างจริงจัง เด็กก็ยิ่งได้รับประสบการณ์มากยิ่งขึ้น พอกล่าว ได้ว่ามีโรงเรียนไม่ต่˚าร้อยละ 80 ของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมดที่นักเรียนได้ประสบการณการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการวิจัยดังกล่าว เพียงแต่ว่าระดับของประสบการณ์จะแตกต่างกันไปตามความเข้มข้นที่ทีม วิจัยแต่ละทีมสร้างปฏิบัติการจริง ประเด็นประสบการณ์การเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดจากกระบวนการท˚า วิจัยดังกล่าวพอสรุปได้ดังนี้
1) นักเรียนรู้จักตั้งค˚าถามในสิ่งที่ตนเองอยากรู้ รู้วิธีรวบรวมข้อมูลเพื่อตอบค˚าถาม และรู้วิธี วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบค˚าถาม แม้ว่าจะเป็นการรู้หลักการเลาๆ และพอมีประสบการในทางปฏิบัติบ้าง เล็กน้อย แต่นับว่าเป็นการปูพื้นฐานที่ดี และรอวันที่เด็กพวกนี้จะเจริญเติมโตโดยมีทักษะการวิจัยที่สามารถ เรียนรู้เรื่องรอบๆตัวได้ ข้อดีนี้มีหลักฐานยืนยันหลายตัวอย่าง เช่น มีนักเรียนที่เรียนจบและเข้ามหาวิทยาลัย กลับมาเยี่ยมครูที่โรงเรียน ได้เล่าให้ครูฟังว่าเขาได้ไปเรียนวิชาวิจัยในมหาวิทยาลัย ปรากฏว่าเขาตอบ ค˚าถามอาจารย์ได้ดีกว่าคนอื่นๆ โดยอาศัยประสบการณ์ที่ได้จากการท˚าวิจัยในโครงการยุววิจัย ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น จนอาจารย์ตั้งให้เป็นหัวหน้าชั้นในวิชาวิจัย อาจารย์ที่ปรึกษาของยุววิจัยก็ตระหนัก ถึงความเป็นจริงนี้และแสดงความเห็นออกมาคล้ายๆกัน เช่น “กลุ่มนักเรียนสามารถน˚าความรู้และ ประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้ไปใช้ในชีวิตประจ˚าวันและใช้ในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ซึ่ง จากการได้ลงมือปฏิบัติจริงนักเรียนกลุ่มดั่งกล่าวรู้สึกตื่นเต้น รู้สึกกล้าๆกลัวๆ ในการจัดท˚าใน ครั้งแรก แต่พอได้ลงมือปฏิบัติไปได้สักระยะหนึ่งของการปฏิบัตินักเรียนรู้สึกมีความสุข สนุกสนาน และช่วยกันลงมือปฏิบัติกันอย่างจริงจังในการจัดท˚าวิจัย ซึ่งข้าพเจ้าได้เห็นถึง ความตั้งใจและความอยากจะเรียนรู้ท˚าให้ข้าพเจ้าคิดว่าโครงการดังกล่าวมีประโยชน์ส˚าหรับ นักเรียน เพื่อช่วยส่งเสริมการวิจัยให้กับนักเรียนได้เป็นอย่างดี”
2) นักเรียนได้สนใจและได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องรอบตัวของตนเองที่แต่เดิมไม่เคยสนใจและไม่ คิดว่าเป็นความรู้มาก่อน และเห็นว่าความรู้ลักษณะนี้มีความส˚าคัญส˚าหรับตนเอง รวมทั้งยังตระหนักว่ามี ความรู้เรื่องรอบๆตัวเองอีกมากที่ตนสามารถสร้างขึ้นมาได้ ดังที่นักเรียนจากโรงเรียนหนึ่งสะท้อนว่า “โครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของ ท้องถิ่นของตน ที่ตนเองได้อาศัยอยู่ ศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเรื่องที่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้ามและ ละเลยไป เยาวชนรุ่นใหม่มีโอกาสน้อยมากที่ได้เข้าใจประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตัวเองที่ชัดเจน โครงการนี้ จึงท˚าให้เยาวชนได้ศึกษาท้องถิ่นของตนเองในแง่มุมของประวัติศาสตร์”
3) นักเรียนสามารถเกิดช่องทางหรือแหล่งหรือเครือข่ายการเรียนรู้ของตนเอง เช่นในชุมชนเอง นักเรียนไม่เคยเห็นเลยว่าผู้สูงอายุและคนกลุ่มต่างๆในชุมชน แม้กระทั้งคนในครอบครัว เป็นแหล่งความรู้ ส˚าคัญที่นักเรียนสามารถแสวงหาความรู้ได้หลายเรื่อง แต่การมีส่วนร่วมด˚าเนินโครงการยุววิจัย ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นท˚าให้นักเรียนเห็นความส˚าคัญของแหล่งความรู้นี้ “เมื่อคณะทีมยุววิจัยออกส˚ารวจ ข้อมูล พวกหนูมีความตื่นเต้นมากเมื่อเจอ โต๊ะครู ผู้น˚าศาสนา และผู้น˚าท้องถิ่น ทุกคนจะเล่าเรื่อง พัฒนาการประเพณี คอตัม อัล- กุรอาน ของชุมชนเกตรี และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยก่อน ให้ฟังอย่างสนุกสนาน พวกหนูได้รู้จักผู้คนเพิ่มขึ้นมากมาย และยังจดจ˚าใบหน้าที่เต็มไปด้วยความสุขใน ยามที่เขาอธิบายให้พวกเราฟัง”
นอกจากนี้ในกระบวนการท˚าวิจัยนี้ทีมวิจัยจากโรงเรียนต่างต้องไปประชุมเสนอผลงานและ
แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกับโรงเรียนต่างๆหลายครั้ง ท˚าให้เกิดเพื่อนต่างโรงเรียนที่สามารถแลกเปลี่ยน เรียนรู้กันได้ต่อเนื่อง และยิ่งมีความมั่นใจว่าเรื่องราวที่ศึกษาได้จากท้องถิ่นนั้นมีความส˚าคัญ เพราะเพื่อน นักเรียนจากต่างโรงเรียนล้วนมาเสนอเรื่องที่น่าสนใจของตน “จากการไปประชุมรับฟังข้อมูลหรือรายงาน ความก้าวหน้าของโครงการ พวกหนูรู้สึกว่า เป็นโอกาสดีของชีวิต ที่ได้รับความรู้ในเรื่องต่าง ๆ จากอาจารย์ ทุกท่าน และได้รู้จักเพื่อนใหม่ต่างโรงเรียนหลายคน บางครั้งก็กลัวเหมือนกัน กลัวว่าคุยกับเพื่อนแล้วเพื่อน ไม่คุยด้วย แต่ก็ไม่เป็นไปอย่างที่คิด เพื่อน ๆ จะพูดกับเรามากกว่า และมีการถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกด้วย”
4) นักเรียนได้ฝึกฝนการท˚างานเป็นทีม และเห็นความส˚าคัญของการท˚างานเป็นทีมจริงๆ เนื่องจากงานนี้เป็นเรื่องยาก นักเรียนไม่มีประสบการณ์มาก่อน ในขณะที่ต้องท˚างานในท่ามกลางคนใน ชุมชนจ˚านวนมาก ความเป็นน้˚าหนึ่งใจเดียวกัน ต้องพึ่งพาช่วยเหลือกันจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องการ นอกจากนี้ยังพบว่าในสถานการณ์ที่ยากและต้องทุ่มเทนี้ครูที่ปรึกษาและนักเรียนจะมีความซาบซึ้งใจกัน มาก เพราะครูเองก็ไม่สันทัดเรื่องการวิจัยนักแต่ก็ต้องพยายามน˚าพานักเรียนให้ท˚าวิจัยให้ส˚าเร็จ ในขณะที่ นักเรียนเองก็ต้องพึ่งพาครูอย่างมากเนื่องจากเป็นประสบการณ์ใหม่ อีกทั้งครูและนักเรียนต้องท˚างาน ร่วมกันต่อเนื่องยาวนานพอสมควร รวมทั้งมีกิจกรรมที่หลากหลาย ที่ทั้ง 2 ฝ่ายไม่เคยท˚ามาก่อน เช่นการน˚า นักเรียนไปประชุมรายงานความก้าวหน้าร่วมกับอีกหลายโรงเรียน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิคอยให้ข้อเสนอแนะ สภาพการณ์เช่นนี้ ท˚าให้นักเรียนเติบโตทางความคิดในลักษณะที่พร้อมจะท˚างานร่วมกับผู้อื่นอย่างเข้าอก เข้าใจ ดังค˚าบอกเล่าของครูตนหนึ่งว่า “นักเรียนและครูต้องเจอปัญหาร่วมกัน ซึ่งทุกคนก็ไม่ย่อท้อต่อ ปัญหาและอุปสรรค ปัญหาและอุปสรรคเหล่านั้นได้กลับสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างศิษย์และครู มีความ รัก ห่วงใยต่อกัน ถือเป็นเรื่องที่ดีมากส˚าหรับสังคมในยุคปัจจุบัน” และนักเรียนคนหนึ่งเล่าว่า “ได้รู้จักการ
ท˚างานร่วมกันกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ได้ประสบการณ์ท˚างานร่วมกันท˚าให้รู้จักประสานงานและบริหาร จัดการเวลา รู้จักยืดหยุ่นผ่อนปรนและท˚างานร่วมกันอย่างมีความสุข”
5) ไม่เพียงนักเรียนจะเห็นความส˚าคัญและมีความสามารถเบื้องต้นในการวิจัยเพื่อสร้างความรู้ ของท้องถิ่นขึ้นมาได้เท่านั้น แต่การวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตนเอง ซึ่งจะมีบรรพบุรุษในท้องถิ่น ของตนเองเป็นตัวละคร บางครั้งก็มีบรรพบุรุษของตนเองเป็นตัวละคร เรื่องราวและฉากต่างๆล้วนแต่เป็น เรื่องของท้องถิ่นที่ตนคุ้นเคยหรือเคยเห็นมาก่อน การได้รู้เรื่องราวของท้องถิ่นที่พวกตนศึกษาเรียนรู้ด้วย ตนเอง ในขณะที่กระบวนการสร้างความรู้ดังกล่าวก็ต้องคุกคลีกับคนในท้องถิ่นมาก โดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่ ท˚าให้นักเรียนค่อยๆเกิดสิ่งที่เรียกว่า “ความส˚านึกท้องถิ่น” ลักษณะเช่นนี้จะท˚านักเรียนเกิดตัวตนใหม่ที่ไม่ หลงไปกับความก้าวหน้าของโลกสมัยใหม่เพียงอย่างเดียว และสามารถที่จะก˚าหนดชีวิตของตนด้วยคุณค่า ของท้องถิ่นได้มากขึ้น
6) นักเรียนที่ผ่านประสบการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจะเกิดทักษะด้านการเรียนรู้อย่างอื่น ตามมาอีกหลายประการ ดังค˚าบอกเล่าของอาจารย์ที่ปรึกษาว่า “มีความมั่นใจในการพูด คิดและ แสดงออกจากการท˚างานวิจัยที่ต้องพูดคุย ซักถาม สรุปบทเรียนจากการจัดเวทีท˚าให้การมองประเด็น ชัดเจน เรียบเรียงความคิดเป็นล˚าดับและเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น เกิดความมั่นใจในการพูดต่อที่ประชุม ชน”
2. ผลที่เกิดต่อชุมชนท้องถิ่น
โครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไม่ได้หวังเพียงให้เกิดการปฏิรูปการเรียนรู้ของนักเรียนเท่านั้น เพราะนักเรียนได้เคลื่อนไหวเรียนรู้จากสังคมจริง และเป็นสังคมที่เป็นชุมชนหรือท้องถิ่นของตนเอง มีผู้คน ในชุมชนเข้ามาร่วมขับเคลื่อนด้วยอย่างจริงจัง ในขณะที่เรื่องที่ทีมยุววิจัยและชุมชนช่วยกันรื้อฟื้นความทรง จ˚านั้นคือประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ซึ่งก็คือเรื่องของพวกเขาเอง เรื่องดังกล่าวนี้จึงมีผลอย่างน้อย 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรก ช่วยให้เห็นปัญหา จึงหาทางกันแก้ปัญหา ประการที่สอง ช่วยให้เกิดความทรงจ˚าร่วม ว่าพวกเขาเป็นพวกเดียวกัน มีคุณค่าที่ช่วยนิยามความเป็นพวกเดียวกัน ท˚าให้เกิดอัตลักษณ์ร่วม การ เกิดอัตลักษณ์ร่วมดังกล่าวจะท˚าให้ชุมชนสามารถก˚าหนดทิศทางการการก้าวไปข้างหน้าของตนเองได้ เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
แม้ว่าครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่โครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเกิดขึ้น และนักเรียนเพิ่งเข้าไป เคลื่อนไหวในชุมชนเป็นครั้งแรก ในขณะที่ปัญหาของสังคมไม่ว่าระดับไหนล้วนมีความซับซ้อน เพราะ
ปัญหาต่างๆล้วนเกิดอยู่ในระบบเศรษฐกิจและสังคมที่ใหญ่กว่า ปัญหาทุกปัญหาจึงไม่สามารถคลี่คลายได้ โดยง่าย หรือแม้เพียงการก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ปัญหายังไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งแน่นอนโครงการของ เด็กนักเรียนที่เพิ่งเข้าไปท˚าคงหวังผลขึ้นขนาดนั้นไม่ได้ แต่ก็เห็นตัวอย่างว่าถ้ามีการสนับสนุนอย่าง เหมาะสมโครงการนักเรียนลักษณะนี้สามารถส่งผลกระทบต่อชุมชน/ท้องถิ่นได้
ประการแรก พบว่าในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของโรงเรียนต่างๆนั้น ได้น˚าพาคนในชุมชน
ออกมาสนใจเรื่องราวของตนเอง ตั้งแต่ผู้สูงอายุจนถึงคนรุ่นนักเรียน และท˚าให้คนในชุมชนได้เริ่มเห็น ความส˚าคัญของการมีประวัติศาสตร์ของตนเอง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ พบว่ารายงานจากทุกโรงเรียนรายงาน ออกมาตรงกัน ผู้สูงอายุได้ออกมาร่วมด้วยความดีใจ เนื่องจากข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นส่วนใหญ่จะได้ จากผู้สูงอายุ ในขณะที่ตามปกติผู้สูงอายุได้กลายเป็นคนสูญเสียบทบาทหรือความหมายต่อครอบครัวและ ชุมชนไปแล้ว โดยจะถูกปล่อยทิ้งไว้ที่บ้านโดยไม่มีบทบาทอะไร และถูกมองว่าไม่รู้เรื่องอะไรแล้วส˚าหรับ สังคมปัจจุบัน ดังนั้นเมื่อทีมยุววิจัยจากโรงเรียนในชุมชนหรือท้องถิ่นเข้าไปหาเพื่อขอความรู้ผู้สูงอายุจึงดีใจ มากและยินดีให้ข้อมูล ดังตัวอย่างของทีมยุววิจัยจากโรงเรียนหนึ่งว่า “ ส่งเสริมคุณค่าของผู้สูงอายุ โดย ปกติผู้สูงอายุมักจะเป็นผู้ถูกลืมในสังคมหรือถูกจัดให้เป็นบุคคลที่ต้องพักผ่อนทั้งที่ความจริงข้อมูลต่าง ๆ
..... แทบหาไม่ได้ในคนรุ่นใหม่ การวิจัยครั้งนี้ได้ปลุกความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุให้มีความสุขและ
ภาคภูมิใจ ในขณะที่คนรุ่นใหม่ก็ให้ความส˚าคัญแก่ผู้สูงอายุมากขึ้น” ในขณะเดียวกันคนกลุ่มอื่นก็ให้ ความสนใจด้วย เนื่องจากเมื่อผู้สูงอายุซึ่งเป็นพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายลุกขึ้นมาเล่าเรื่องที่ใครไม่เคยรู้มาก่อน ลูกหลานก็สนใจขึ้นมาด้วย ในขณะเดียวกันทีมวิจัยก็คือลูกหลานของคนในชุมชน พ่อแม่และญาติพี่น้องจึง พร้อมจะช่วยเหลืออย่างเต็มที่ อีกทั้งโรงเรียนคือผู้ประสานงาน คนในชุมชนมักจะให้ความร่วมมือกับ โรงเรียนดีอยู่แล้ว ดังนั้นจึงพอเห็นถึงพลังของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่จะช่วยฟื้นฟูและสร้างความทรงจ˚าร่วม ของผู้คนในชุมชนหรือท้องถิ่นขึ้นมาอีกครั้ง ดังนั้นจึงพบได้ในแทบทุกโครงการที่คนในชุมชนอยากให้ทาง โรงเรียนศึกษาประวัติศาสตร์ของชุมชนหรือท้องถิ่นในมิติอื่นอีก เพราะที่ท˚าไปแล้วก็เป็นเพียงประเด็นเล็ก ประเด็นเดียว ยังคงมีประเด็นอื่นๆให้ศึกษาอีกมาก ดังนั้นถึงแม้การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพียงครั้ง เดียวจะยังไม่เห็นผลที่จะช่วยสร้างความทรงจ˚าร่วมและอัตลักษณ์ร่วมให้แก่คนในชุมชนหรือท้องถิ่นได้ ชัดเจน แต่ก็พอเห็นร่องรอยให้พอสรุปได้ว่าหากมีการเคลื่อนไหวศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยคณะยุว วิจัยของโรงเรียนในท้องถิ่นต่างๆอย่างต่อเนื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นน่าจะมีส่วนสร้างความทรงจ˚าร่วม และอัตลักษณ์ร่วมให้แก่ผู้คนได้อย่างมีความหมายที่จะน˚าพาไปสู่การเผชิญหน้ากับสังคมที่เปลี่ยนแปลง และมีอ˚านาจครอบง˚าสูง
ประการที่สอง มีตัวอย่างของบางโรงเรียนที่ทีมยุววิจัยสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชนที่ แสดงให้เห็นถึงว่าการด˚าเนินโครงการมีผลต่อการเคลื่อนไหวแก้ปัญหาของชุมชน เช่น พบว่าทีมยุววิจัยบาง โรงเรียนท˚าวิจัยเกี่ยวกับประวัติการใช้คลองของชาวบ้านนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมคลองดังกล่าวเป็น เหมือนสายเลือดหล่อเลี้ยงชีวิตของคนหลายหมู่บ้านในหลายด้าน แต่ในปัจจุบันความส˚าคัญดังกล่าวหมด ไป คลองจึงถูกทิ้งให้รกร้างว่างเปล่าและตื้นเขิน รวมทั้งถูกทิ้งขยะให้เน่าสกปรก การรื้อประวัติเรื่องนี้ท˚าให้ คนในชุมชนเห็นความส˚าคัญในการฟื้นฟูคลอง ทั้งเพื่อใช้ประโยชน์ในบางด้าน เช่นใช้น้˚าในการเพาะปลูก ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการเป็นพื้นที่เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของคนหลายชุมชน โดย อบต.ได้รับ ฉันทามติของประชาชนไปด˚าเนินการ ซึ่ง อบต.ขอให้โรงเรียนของทีมยุววิจัยตั้งศูนย์อนุรักษ์ฟื้นฟูคลองที่ โรงเรียน ทีมยุววิจัยของบางโรงเรียนได้ศึกษาประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ของวัดกับชุมชน โดยแสดงให้ เห็นชัดเจนว่าในอดีตวัดอ˚านวยประโยชน์ให้แก่ชาวบ้านอย่างมากในขณะที่ชาวบ้านก็ช่วยดูแล วัดอย่าง ใกล้ชิด การเปลี่ยนแปลงท˚าให้วัดและชาวบ้านเอาใจใส่กันน้อยลง ท˚าให้ในด้านหนึ่งวัดก็มีบทบาทต่อชุมชน น้อย ในขณะที่อีกด้านหนึ่งชาวบ้านก็เข้าไปช่วยดูแลวัดน้อย การศึกษาประวัติศาสตร์ดังกล่าวท˚าให้วัดและ ชุมชนได้มาร่วมเรียนรู้กันอีกครั้ง ท˚าให้วัดและชุมชนปรับตัวเข้าหากัน โดนแกนน˚าชุมชนและชาวบ้านจะเข้า ไปร่วมเป็นกรรมการวัดและจะร่วมกับวัดเพื่อหาทางให้วัดสามารถแสดงบทบาทต่อชุมชนในทางที่เหมาะสม ยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับยุคสมัย ตัวอย่างที่ยกมาแสดงให้เห็นว่าประวัติท้องถิ่นสามารถรื้อฟื้นและสร้าง ความทรงจ˚าร่วมของคนในชุมชนได้ และความส˚านึกร่วมดังกล่าวมีผลท˚าให้ชาวบ้านที่มีความส˚านึกร่วมกัน ได้ร่วมกันหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน
ดังนั้นด้วยความรู้เบื้องต้นดังกล่าวจึงสมควรที่จะสนับสนุนให้มีการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
มากๆ เพื่อจะให้ท้องถิ่นมีความเข้มแข็งพอที่จะร่วมคิดถึงอนาคตของตนเองได้ดีขึ้น แต่การศึกษาดังกล่าว จะต้องกระท˚าโดยคนหรือสถาบันในท้องถิ่นเอง เพื่อเชื่อมโยงไปสู่เป้าหมายว่าชาวบ้านในชุมชนต้องเข้ามา มีส่วนร่วมในการรื้อฟื้นหรือสร้างประวัติศาสตร์ดังกล่าว การสนับสนุนให้เกิดยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ไปอย่างต่อเนื่องก็เป็นทางหนึ่ง แต่น่าเสียดายที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เห็นถึงความส˚าคัญนี้ การสนับสนุน ดังกล่าวจึงเกิดขึ้นในระยะสั้นๆจากนั้นก็ไม่มีใครพูดถึงอีก
3. ผลที่เกิดต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้
โครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไม่เพียงสนับสนุนให้นักเรียนท˚าวิจัยเท่านั้น แต่พยามให้ สังคมภาคใต้ได้สนใจประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยมีกิจกรรมหลายอย่างดังกล่าวรายละเอียดมาแล้วในหัวข้อ การประชาสัมพันธ์ แต่ที่ศูนย์ประสานงานท˚าแล้วได้ผลมากที่สุดได้แก่การจัดพิมพ์หนังสือ 5 เล่ม 4เล่มแรก
เป็นการตีพิมพ์ผลงานวิจัยดีเด่นของยุววิจัยโรงเรียนต่างๆจ˚านวน 25 เรื่อง เล่มที่ 5 เป็นบทความของ นักวิชาการ 10 เรื่องโดยเป็นบทความสังเคราะห์ผลงานของยุววิจัย เอกสารดังกล่าวนี้ทยอยพิมพ์และ ทยอยเผยแพร่ ปรากฏว่าได้รับความสนใจอย่างมาก จนก่อให้เกิดผลอย่างน้อย 2 ประการ ประการแรก มี มหาวิทยาลัยอย่างน้อย 2 แห่ง คือ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณะ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้น˚าผลงานขิงยุววิจัยที่ ตีพิมพ์รวมเล่มดังกล่าวไปให้นักศึกษาที่เรียนวิจัยระดับปริญญาตรีอ่าน เพื่อเป็นตัวอย่างให้นักเรียนออกไป ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประวัตศาสตร์ถิ่นและเขียนเป็นรายงานการวิจัยมาคนละ 1 เรื่อง ที่ผลงานของยุววิจัย กลายเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีได้ศึกษานั้นก็เนื่องจากการเขียนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ เป็นเรื่องของคนเล็กคนน้อยนั้นยังไม่มีใครท˚าอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเลย ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเท่าที่เคย ศึกษากันมาในภาคใต้ยังคงเป็นเรื่องของรัฐในท้องถิ่นและผู้ปกครองเป็นหลัก ในขณะศูนย์ประสานงาน พยายามดูแลให้ผลงานของยุววิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์มีลักษณะเป็นบทความทางวิชาการให้มากที่สุดเท่าที่ จะท˚าได้ นอกจากนี้ยังพบว่าว่ายังมีครู นักพัฒนาเอกชน นักวิชาการสมัครเล่น ยังสนใจประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นตามแนวที่ยุววิจัยทิ้งผลงานไว้ บางส่วนสนใจเพราะเป็นประวัติคนคนเล็กคนน้อยธรรมดาซึ่งมีอยู่ ทั่วไป ซึ่งมีแง่มุมให้ศึกษามากมาย ศึกษาออกมาได้ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจทั้งสิ้น บางส่วนใช้การศึกษา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นกระบวนการพัฒนาชุมชน กล่าวได้ว่าโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ภาคใต้มีส่วนสร้างความสนใจในแก่วงวิชการ วงการพัฒนามากพอสมควร และมีผู้สร้างผลงานต่อเนื่องมา พอสมควร เพียงแต่ว่าความสนใจดังกล่าวนี้ยังกระจัดกระจาย ไม่มีใครจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน จึง ยังไม่เห็นพลังของการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่มีอยู่ในภาคใต้ในปัจจุบัน ซึ่งผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นที่เป็นเรื่องของคนเล็กคนน้อยต่างก็ยอมรับว่าโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคือผู้มีบทบาท ส˚าคัญในการกระตุ้นความสนใจของพวกเขา
ปัญหาที่ควรเรียนรู้
1. ปัญหาจากข้อจ˚ากัดของโรงเรียน
เดิม สกว.หวังใน 2-3 เรื่องเกี่ยวกับความพร้อมของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา เรื่องแรก หวังว่า โรงเรียนจะสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะว่าเป็นการเข้าไปช่วยสนับสนุนการปฏิรูปการเรียนรู้โดยตรง และมี ทุนสนับสนุนให้ด้วย เรื่องที่สอง หวังว่าผู้บริหารระดับสูงของส˚านักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานจะมีนโยบายที่ ชัดเจนในการสนับสนุนให้โรงเรียนขับเคลื่อนเรื่องการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตามโครงการที่ สกว.เข้า ไปสนับสนุน ทั้งนี้เพราะ สกว.ได้ประสานงานกับผู้บริหารของกระทรวงศึกษาธิการแล้ว และถือว่า สกว.เป็น
ฝ่ายเข้าไปช่วย สพฐ.อย่างเต็มตัว ทั้งงบประมาณ บุคลากร และการสร้างกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ เรื่องที่ สาม หวังว่าครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาจะมีความรู้และความตั้งใจพอที่จะน˚าเด็กขับเคลื่อนศึกษา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นได้ดี เพราะเรื่องที่ศึกษาเป็นเรื่องรายรอบโรงเรียนนั้นเองซึ่งครูน่าจะรู้ดีอยู่แล้ว อีกทั้ง ครูก็เรียนระดับบัณฑิตศึกษามากขึ้น อีกทั้งระดับเงินเดือนและค่าวิทยาฐานะของครูก็อยู่ในระดับสูงไม่ต่าง จากอาจารย์ระดับอุดมศึกษา
เมื่อโครงการนี้เกิดขึ้นจริง ปรากฏว่าความคาดหวังดังกล่าวมีผลน้อย กล่าวคือ เรื่องแรก โรงเรียนมี ความสนใจเรื่องนี้น้อย โรงเรียนขนาดใหญ่ที่สอนเด็กเก่งๆเกือบไม่เข้ามาร่วมเลย เนื่องจากโรงเรียนลักษณะ นี้เด็กจะเน้นกิจกรรมที่จะท˚าให้พวกเขาเก่งในการเรียนและสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยในสาขาที่เขา คาดหวังได้เป็นหลัก หลายโรงเรียนเมื่อหนังสือเชิญชวนไปถึงก็เก็บเรื่องไว้ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร โรงเรียนส่วน ใหญ่เมื่อได้รับหนังสือเชิญชวนแล้วก็ไม่ได้มีปฏิกิริยาเชิงลบหรือเชิงบวก แต่แทงหนังสือไปตามสายงาน คือ แทงไปที่หมวดสังคมศึกษาว่าสนใจโครงการนี้หรือไม่ โดยไม่ได้พิจารณาว่าครูที่สนใจชุมชนอาจอยู่ที่หมวด อื่น เช่น หมวดภาษาไทย บางคนอยู่หมวดวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้เมื่อมีครูบางส่วนสนใจและรับด˚าเนิน โครงการ โรงเรียนส่วนใหญ่ก็ไม่ไดอ˚านวยความสะดวก เช่น ไม่ได้ถือว่าเป็นภาระงานที่จะแทนภาระงาน ประจ˚าได้ ไม่มีความดีความชอบให้ ถือว่าเป็นความสมัครใจท˚าของครูเอง นอกจากนี้ยังพบว่าในความเป็น จริงผู้บริหารโรงเรียนก็มีอ˚านาจบังคับบัญชาครูไม่มาก ครูจะท˚างานไปเรื่อยๆแบบที่เคยท˚ามา ผู้บริหารก็ ยากจะเปลี่ยนแปลง เช่น พบว่าผู้บริหารในโรงเรียนขนาดเล็กบางโรงเรียนสนใจโครงการนี้มากด้วยเห็นว่า จะช่วยให้โรงเรียนและชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และเป็นช่องทางช่วยให้โรงเรียนสร้างชื่อเสียงได้ จึง มอบให้ครูที่เกี่ยวข้องรับโครงการไปด˚าเนินการ ซึ่งครูก็รับค˚าสั่งแต่ไม่ท˚าอะไรจริงจัง ไม่ฝึกเด็ก ไม่วางแผน อะไรทั้งสิ้น ทั้งหมดแล้วแต่เด็ก เมื่อศูนย์ประสานงานจัดประชุมโครงการก็ไม่มา ปล่อยให้ผู้บริหารมาเอง แต่ผู้บริหารก็ไม่ใช่ผู้ที่จะไปท˚างานกับเด็ก โครงการลักษณะนี้ถึงผู้บริหารโรงเรียนจะสนับสนุนแต่ก็ขาด คุณภาพ
ศูนย์ประสานงานเริ่มโครงการด้วยการมองโรงเรียนในแง่ดี ในตอนแรกจึงไม่หนักใจในการด˚าเนิน โครงการ และคิดว่าเป้าหมายที่จะคัดเลือกเลือกโรงเรียนจังหวัดละ 20 คนคงไม่ใช่เลือกยาก เพราะทางศูนย์ ได้เชิญโรงเรียนไปเป็นจ˚านวนมาก รวม 6 จังหวัดถึง 747 โรงเรียน แต่เมื่อหมดเวลารับสมัครปรากฏว่ายัง ไม่ได้จ˚านวนโรงเรียนตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่จากการศึกษาข้อมูลของทีมผู้ประสานงานพบว่ามีครูที่ผู้ ประสานงานรู้จักดีและมีความสนใจเรื่องท˚านองนี้แต่กลับไม่ปรากฏว่าส่งโครงการเข้าร่วม ท˚าให้ทาง โครงการต้องใช้วิธีให้ผู้ประสานงานเข้าไปพบปะอาจารย์บางคนโดยตรง จึงท˚าให้ได้โครงการเพิ่มขึ้นอีก
จ˚านวนหนึ่ง จนได้จ˚านวนโครงการที่เข้าร่วมโครงการตามเป้า แต่โรงเรียนส่วนใหญ่ก็คงปล่อยให้ครูท˚างาน ไปโดยส่วนตัว ไม่ได้มีการการสนับสนุนใดๆที่แสดงให้เห็นว่าโรงเรียนสนับสนุนอย่างเต็มที่
เรื่องที่สอง สพฐ.ให้ความร่วมมือกับ สกว.เพียงการเปิดพื้นที่ให้พูดคุยเท่านั้น แต่ไม่ได้ก˚าหนด นโยบายอะไรลงไปที่โรงเรียนเลย เช่น ไม่ได้มอบหมายให้เป็นภารกิจของโรงเรียน หรือใช้เป็นภารงานของครู ได้ ไม่ให้ตัวชี้วัดใดที่จะสนับสนุนให้โรงเรียนด˚าเนินโครงการให้ประสบผลส˚าเร็จ ไม่ให้ความส˚าคัญต่อ งานวิจัยแบบศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่อาจารย์จะน˚าไปเป็นผลงานเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะได้ ในที่สุด แล้วโครงการจะด˚าเนินการไปได้มากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับ สกว.จะไปเคลื่อนไหวกับโรงเรียนเอาเอง
เรื่องที่สาม เรื่องครูที่ทางโครงการหวังว่าจะเป็นผู้ช่วยเหลือเด็กให้ประสบผลส˚าเร็จในการท˚าวิจัย กลับพบว่ายังช่วยเหลือได้น้อย ซึงมาจากทั้งในส่วนการขาดมุมมองทางสังคมและขาดความสามารถในการ วิจัย แต่ส่วนใหญ่จะมาจากความไม่สนใจ ท˚างานแบบไม่จริงจัง ท˚าอะไรนิดหน่อยก็ใช้ได้ ซึ่งถือว่าเป็น วัฒนธรรมการท˚างานตามปกติของครู บางส่วนเห็นว่าตนไม่ได้ประโยชน์อะไร เช่น น˚าไปใช้ในการเพิ่มวิทย ฐานะไม่ได้ ในขณะที่ครูก็มีภารกิจมากอยู่แล้ว จึงสามารถกล่าวอ้างถึงการไม่มีเวลานี้ อย่างไรก็ตามก็ยังมี ครูจ˚านวนหนึ่งที่มีความเอาจริงเอาจังในการน˚านักเรียนศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น แต่ก็มักประสบปัญหา ขาดความสามารถในการวิจัยและการท˚าความเข้าใจสังคม
ที่กล่าวมาเพื่อชี้ให้เห็นว่าการปฏิรูปการเรียนรู้ส˚าหรับนักเรียนชั้นมัธยมมีความส˚าคัญ ใน ขณะเดียวกันบทบาทของโรงเรียนในการน˚าชุมชนศึกษาเรื่องราวที่จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างทางเลือก ของชุมชนก็มีความส˚าคัญ เพราะโรงเรียนมัธยมมีอยู่ทั่วไป หากโรงเรียนสามารถแสดงบทบาทตรงนี้ได้จะมี ส่วนในการแก้ไขปัญหาของชุมชน/ท้องถิ่นได้อย่างมาก แต่ที่ผ่านมากระบวนการเรียนการสอน กระบวนการ บริหารจัดการ และกระบวนการสนับสนุนด้านต่างๆ ยังไม่เอื้อให้โรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้ และมีบทบาท ทางวิชาการที่เหมาะสมต่อชุมชน/ท้องถิ่นได้
จากประสบการท˚างานร่วมกับโรงเรียนในโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสามารถยืนยันถึง ความจ˚าเป็นในการปฏิรูปการเรียนรู้และการแสดงบาทการเป็นผู้น˚าด้านความรู้ต่อชุมชน/ท้องถิ่นของ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา แต่ในขณะเดียวกันก็เห็นถึงข้อจ˚ากัดของโรเรียนอย่างมาก ถึงขั้นที่ว่าหากยัง ปล่อยให้โรงเรียนเป็นผู้เปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างที่เป็นอยู่จะเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะบรรลุเป้าหมายอย่างที่ คาดหวังได้ แม้ปล่อยให้ สพฐ.เป็นผู้ด˚าเนินการเองก็ยาก เพราะ สพฐ.บริหารโรงเรียนแบบใช้ระบบราชการ ธรรมดาเท่านั้น ดังนั้นการปฏิรูปการเรียนรู้และการเพิ่มศักยภาพในการเป็นผู้น˚าชุมชนด้านความรู้ของ โรงเรียนมัธยม หลายฝ่ายต้องช่วยกัน การด˚าเนินโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแม้จะพบปัญหา
มาก แต่ว่าก็ได้ร่วมกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อฝ่าฟันปัญหาอย่างมากด้วย ซึ่งท˚าให้พอเห็นได้ว่าหากมีใครเข้าไป สนับสนุนในลักษณะของการสร้างปฏิบัติการจริง และท˚าอย่างจริงจัง ก็มีทางจะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นก็ดี หน่วยงาน/องค์กรต่างๆที่สามารถสร้างการสนับสนุนได้ ก็ควรจะร่วมกัน แบบคนละไม้คนละมือ เช่น สกว.ควรจะร่วมกับ สพฐอย่างจริงจังที่จะเข้าไปสนับสนุนโรงเรียนมัธยม โดย ความร่วมมือดังกล่าวจะต้องท˚าเป็นนโยบายด้วย เพราะโรงเรียนมัธยมศึกษาจะปฏิบัติตามนโยบาย หากไม่ มีนโยบายอย่างเป็นทางการความสนใจจะมีน้อย
2. ความล่าช้าของโครงการ
โครงการนี้ล่าช้ามานาน ซึ่งมีสาเหตุที่ส˚าคัญดังนี้
1. ปัญหาอันเนื่องมากจาการเป็นโครงการใหญ่ มีขอบเขตโครงการที่กว้างขวางมาก ในขณะที่มี เวลาด˚าเนินการเพียง 12 เดือน หากพิจารณาเพียงโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการก็มีถึง 125 โรง ด้วยโครงการ 131 โครงการ และเป็นโรงเรียนที่กระจายอยู่ในพื้นที่ถึง 6 จังหวัด ในขณะทีมงานที่ท˚าวิจัยยังเป็นเด็ก และครูที่ปรึกษาก็ขาดความเข้าใจเรื่องการวิจัย และส่วนใหญ่ยังขาดความเอาจริงเอาจังด้วย ดังนั้นการ ผลักดันให้ทีมยุววิจัยโรงเรียนต่างๆท˚างานไปได้ตลอดรอดฝั่งก็ถือว่าเป็นงานที่ยากอยู่แล้ว ซึ่งถ้าว่ากันตาม ความเป็นจริงแล้ว ด้วยเวลาของโครงการเพียง 12 เดือน ด้วยจ˚านวนบุคลากรของโครงการที่ได้รับอนุมัติ จาก สกว.และด้วยค่าตอบแทนที่ สกว.อนุมัติจ่ายให้บุคลากร การท˚าให้โครงการของยุววิจัยด˚าเนินไปได้จน เสร็จสิ้นโครงการก็ถือว่าเป็นงานที่หนักมากแล้ว เมื่อเพิ่มงานใหญ่และต้องมีคุณภาพมาอีก 3 อย่าง ได้แก่ การตีพิมพ์หนังสือรวมผลงานของยุววิจัย การสนับสนุนให้นักวิชาการเขียนบทความสังเคราะห์ประเด็นจาก ผลงานยุววิจัยและตีพิมพ์เป็นหนังสือ การจัดท˚าวิดีโอสารคดี โดยเวลาด˚าเนินการยังคงมี 12 เดือนตามเดิม และจ˚านวนบุคลากรและค่าใช้จ่ายต่างๆก็ยังคงเท่าเดิม ประกอบกับงานที่เพิ่มขึ้นนี้จะเริ่มต้นได้ก็ช่วง โครงการด˚าเนินการครบ 12 เดือนไปแล้ว เนื่องจากต้องรอให้ยุววิจัยด˚าเนินโครงการเสร็จสิ้นเสียก่อนจึง สามารถคัดสรรโครงการมาด˚าเนินการต่อได้ ซึ่งก็หมายความว่าทีมงานศูนย์ประสานงานด˚าเนินการเรื่องนี้ โดยไม่มีค่าตอบแทน แต่ส˚าหรับผู้ประสานงานไม่ได้มีปัญหาเรื่องค่าตอบแทน แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ว่าไม่มี ผู้ช่วยท˚างานที่สามารถท˚างานได้อย่างเต็มที่ การที่ศูนย์ประสานงานรับงานต่อเนื่อง 3 อย่างมาท˚านี้ก็เนื่อง ว่าเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก และคงท˚าได้ไม่ยากนัก แต่พอถึงเวลาด˚าเนินการจริงงานทุกอย่างยาก หมด เช่น การตีพิมพ์ผลงานยุววิจัยแต่เดิมก็เข้าใจว่าเมื่อผลงานเสร็จแล้วให้ค˚าแนะน˚าแก่โรงเรียนไปแก้ไข ผลงานอีกเล็กน้อยก็คงจะสามารถจัดพิมพ์ได้เลย แต่เอาเข้าจริงต้องใช้ความพยายามอย่างมาก ผู้
ประสานงานต้องลงไปที่โรงเรียนและพื้นที่วิจัยหลายครั้ง ต้องร่วมแก้ไขงานด้วยหลายครั้ง หลายโรงเรียนถึง จะพยายามแล้วก็ยังไม่สามารถพัฒนาได้ส˚าเร็จ
พอดีกับว่า สกว.ได้สนับสนุนให้ศูนย์ประสานงานด˚าเนินโครงการระยะสอง แต่เป็นงานใหม่ คือ สนับสนุนให้โรงเรียนที่ท˚าโครงการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไปแล้วในโครงการที่กล่าวมา น˚า ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ศึกษาได้ไปพัฒนาเป็นหลักสูตรสถานศึกษา หรือจัดตั้งชมรมด˚าเนินกิจกรรมให้ นักเรียนในโรงเรียนได้ศึกษาเรื่องนี้ตามระเบียบการเรียนรู้ของสถานศึกษา รวมทั้งให้ทุนแก่โรงเรียนใหม่ใน การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยขยายจังหวัดให้ครอบคลุมทั่วภาคใต้ ยกเว้น 3 จังหวัดชายแดนใต้ ในขณะที่ สกว.อนุมัติจ˚านวนบุคลากรที่เป็นผู้ประสานงานทั้งหมด(รวมหัวหน้าโครงการแล้ว) 6 คน ซึ่งน้อย กว่าในโครงการระยะแรกทั้งที่จ˚านวนจังหวัดเพิ่มขึ้นอีกเกือบเท่าตัว และโครงการระยะที่สองเริ่มต้นเมื่อ 27 กันยายน 2553 หลังจากที่โครงการระยะแรกสิ้นสุดแล้วหลายเดือน หมายถึงว่าทางโครงการไม่มีเจ้าหน้าที่ ช่วยงานแบบเดิมถึงเกือบ 7 เดือน มีเพียงผู้ประสานงานที่พยายามท˚างานเพื่อคลี่คลายงานที่ยังคั่งค้างอยู่ แต่ก็ยังท˚าอะไรไม่มาก นอกจากพยายามปิดโครงการของโรงเรียนต่างๆให้เรียบร้อย ดังจะเห็นว่าหนังสือ เล่มแรกเพิ่งพิมพ์ได้เมื่อมกราคม 2554 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อยู่ในโครงการระยะที่สองแล้ว.
เมื่อโครงการระยะที่สองเกิดขึ้นก˚าลังหลักของศูนย์ประสานงานก็ต้องเข้ามารับผิดชอบโครงการ ใหม่ ซึ่งเป็นงานที่ยาก เพราะแบ่งงานเป็นถึง 3 ลักษณะ คือการจัดท˚าหลักสูร การด˚าเนินกิจกรรมชมรม และการวิจัยประวิติศาสตร์ท้องถิ่น โดยพื้นท˚างานต้องขยายไปถึง 11 จังหวัด ในขณะที่เราได้งบประมาณ ว่าจ้างบุคคลช่วยงานลดลงกว่าเดิม คือ ได้ผู้ประสานงานทุกลักษณะรวมทั้งหัวหน้าโครงการด้วย 6 คน (ใน โครงการระยะแรกมีหัวหน้าโครงการ 1 คน ผู้ประสานงานจังหวัด 6 คน รวม 7 คน) ซึ่งหมายความว่าทาง ศูนย์ประสานงานต้องท˚างานของโครงการเดิมควบคู่ไปกับการท˚างานโครงการใหม่ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง ด้วยจ˚านวนบุคลากรที่ลดลงจากเดิม ท˚าให้ทางศูนย์ประสานงานไม่สามารถท˚างานโครงการเดิมได้มากนัก เพราะงานโครงการใหม่ก็ยุ่งยากมากอยู่แล้ว สิ่งที่ศูนย์ประสานงานด˚าเนินงานโครงการระยะที่ 1 ได้ในช่วง นี้ก็คือการเตรียมต้นฉบับหนังสือรวมผลงานยุววิจัยเล่มแรก การเตรียมนักวิชาการส˚าหรับสังเคราะห์ บทความ และการจัดท˚าวิดีโอสารคดีได้ 1 เรื่อง นอกนั้นต้องใช้เวลากับโครงการใหม่
โครงการใหม่หมดเวลาเมื่อ 26 ธันวาคม 2554 แต่ปรากฏว่างานของโครงการต่างๆยังคั่งค้างอีก มาก เพราะเป็นงานที่ต้องใช้เวลาประการหนึ่ง โดยเฉพาะการจัดท˚าหลักสูตรท้องถิ่น ซึ่งต้องการผลถึงการ น˚าไปใช้จริงด้วย นอกจากนี้โรงเรียนต่างๆที่กระจายอยู่ใน 11 จังหวัดนั้นกว้างขวางมาก ในขณะที่ผู้ ประสานงานมีน้อยลง ผู้ประสานงานจึงไม่สามารถติดตามสนับสนุนโรงเรียนได้ใกล้ชิดแบบเดิม ดังนั้นเมื่อ
หมดระยะเวลาของโครงการแล้ว ก็ยังมีโครงการค้างคาที่ทางศูนย์ประสานงานต้องตามสนับสนุนให้เกิด ประโยชน์และละปิดโครงการได้ ในขณะที่โครงการระยะแรก็ยังค้างอยู่ทั้งเรื่องการจัดพิมพ์ผลงานของยุว วิจัย การจัดพิมพ์หนังสือสังเคราะห์ผลงาน และการจัดท˚าวิดีโอสาคดี
ตกลงว่าศูนย์ประสานงานต้องมีงานรับผิดชอบอีกมากทั้งที่ไม่มีเงินเดือนจ้างบุคลากรช่วยงานแล้ว แต่ทางศูนย์ก็พยายามด˚าเนินงานให้เสร็จสิ้น แต่ก็ต้องใช้เวลา ดังจะเห็นว่าหนังสือที่พิมพ์และการจัดท˚า วิดีโอสารคดีจะค่อยๆทยอยออกมา ซึ่งก็เป็นไปตามเงื่อนไขความเป็นจริงคือศูนย์ประสานงานไม่มีบุคลากร ที่จะเร่งขับเคลื่อนงานให้เร็วได้ และงานที่เหลืออยู่นั้นล้วนเป็นงานที่อาศัยคุณภาพทางวิชาการทั้งสิ้น
เล่ม 1 กลุ่มคนแห่งสายน้˚า ผืนนา และป่าลุ่ม ตีพิมพ์เมื่อ มกราคม 2554 เล่ม 2 วิถีแห่งหมู่เล หมู่ทุ่ง และหมู่เหนือ ตีพิมพ์เมื่อ มิถุนายน 2555
เล่ม 3 เมืองท่า การค้า และศรัทธาพื้นถิ่น ตีพิมพ์เมื่อ มิถุนายน 2555
เล่ม 4 ตลาด การสัญจร และถิ่นฐานของผู้คน ตีพิมพ์เมื่อ ตุลาคม 2558 เล่มสังเคราะห์ผลงาน ความหมายบนเลาทาง ตีพิมพ์เมื่อ ตุลาคม 2558
วิดีโอสารคดีเรื่องแรก “เดือนสามหลามเหนียว : ประเพณีสัมพันธ์ที่บ้านน้˚าแคบ” ถ่ายท˚าและ ตัดต่อเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน 2554
วิดีโอสารคดีเรื่องที่สอง “แม่ค้าข้าวแกงไก่ทอดข้างรถไฟ” ตัดต่อเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน 2560
2. ที่จริงทางโครงการจะขอปิดโครงการ เมื่อเวลาตามสัญญาหมดแล้วก็ได้ แม้งานจะยังคงไม่เสร็จ สิ้นทุกอย่าง ซึ่ง สกว.ก็ทราบดีว่าทางโครงการพยายามท˚างานอย่างเต็มที่แล้ว แต่ทางโครงการไม่เคยคิดจะ ขอปิดโครงการเลย ทั้งที่ไม่มีค่าตอบแทนแล้ว เนื่องจากต้องการผลักดันให้การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น กลายเป็นมิติการเคลื่อนไหวอีกมิติหนึ่งที่จะช่วยให้ชุมชน/ท้องถิ่นสามารถคลี่คลายปัญหาของตนได้ดีขึ้น โดยเห็นว่าประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจะท˚าให้คนในท้องถิ่นเกิดตัวตนและน˚าไปสู่การสร้างทางเลือกเกี่ยวกับกับ อนาคตของชุมชน/ท้องถิ่นได้ แต่หากคนในชุมชน/ท้องถิ่นไม่สามารถสร้างตัวตนจากคุณค่าของชุมชน/ ท้องถิ่นเอง ก็จะน˚าไปสู่การถูกครอบง˚าจากภายนอก ซึ่งมีอิทธิพลในการครอบง˚าผู้คนด้วยวัฒนธรรมบริโภค นิยม ดังนั้นทางผู้ประสานงานจึงยังคงพยายามประคับประคองท˚างานโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นมาตลอดเวลา โดยในด้านหนึ่งพยายามท˚างานที่คั่งค้างให้เสร็จ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งก็พยายาม ท˚างานเชิงรุกที่จะให้ผลงานของยุววิจัยเข้าไปมีความหมายต่อสังคม ซึ่งก็ประสบผลส˚าเร็จมากพอสมควร เพราะขณะนี้กระแสการพูดถึงประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในภาคใต้ยังคึกตักอยู่พอสมควร ดังนั้นหากจะมองว่า
โครงการนี้ล่าช้ามาก็คงใช่ แต่ก็สามารถมองได้ว่าโครงการนี้ยังคงมีตัวตนอยู่ในภาคใต้โดยไม่ต้องจ้าง บุคลากรท˚างานเลย
สรุป
จุดเด่นของโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คือ การเปิดพื้นที่ให้เด็กนักเรียนและโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาได้ลุกขึ้นมาท˚าวิจัยและเป็นผู้น˚าทางวิชาการของชุมชน/ท้องถิ่น ท˚าให้ในด้านหนึ่งโรงเรียน สามารถปฏิรูปการเรียนรู้ที่นักเรียนใช้กระบวนการวิจัยเป็นวิธีการเรียนรู้เรื่องราวรอบๆตัว และสามารถสร้าง ความรู้ใหม่ๆขึ้นมาได้จากการะบวนการดังกล่าว อันช่วยให้นักเรียนสามารถน˚าวิธีการเรียนรู้และสิ่งที่เรียนรู้ ไปใช้ในชีวิตประจ˚าวันได้และเป็นการเพิ่มศักยภาพของตัวเองในการเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ในขณะที่อีก ด้านหนึ่งโรงเรียนก็สามารถน˚าชาวบ้านหลายกลุ่มในชุมชนให้ยืนขึ้นมาศึกษาเรื่องของตัวเอง ซึ่งจะไปน˚าสู่ สถานการณ์ใหม่ๆที่คนในชุมชน/ท้องถิ่นสามารถนิยามตนเองได้มากขึ้น แทนที่จะถูกครอบง˚าจากภายนอก อย่างเข้มข้นอย่างที่ผ่านมา นั่หมายถึงว่าประชาชนจะลดการอยู่แบบตัวใครตัวมัน แต่เห็นอกเห็นใจและ ร่วมมือกันฝ่าฟันปัญหามากขึ้น ประชาชนสามารถร่วมกันก˚าหนดทิศทางอนาคตของตนเองได้อย่าง เหมาะสมมากขึ้น
อย่างไรก็ตามการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นซึ่งเป็นเรื่องราวของคนเล็กคนน้อย อย่างที่โครงการ ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้ด˚าเนินการมานั้น ถือได้ว่า สกว.เป็นผู้จุดประกายเรื่องนี้ขึ้นมา แต่ว่าผล ที่มีดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีการด˚าเนินการอย่างต่อเนื่อง การด˚าเนินโครงการเพียงครั้งเดียวหรือปีเดียว ยากที่จะเกิดผลดังที่กล่าวได้ชัดเจน โครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้ที่ได้ปิดตัวลงแล้วนี้ สามารถให้ข้ออธิบายได้ชัดเจนว่าการวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นดังที่ด˚าเนินการในโครงการนี้ สามารถมี ผลได้ทั้งการปฏิรูปการเรียนรู้ของโรงเรียนและการช่วยคลี่คลายปัญหาของชุมชน/ท้องถิ่น แต่ผลที่จะ เกิดขึ้นจริงๆและยั่งยืนต้องการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2
ผลงานโดยสรุปของยุววิจัย
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่คณะยุววิจัยโรงเรียนต่างๆน˚าเสนอจะเริ่มจากการยอมรับว่าประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องราวความสัมพันธ์ของผู้คนที่ต่อเนื่องและเปลี่ยนแปลงจากอดีตมาถึงปัจจุบัน โดยจะเห็นว่า เรื่องราวที่น˚าเสนอล้วนน˚าเสนอออกมาเป็นยุคๆอย่างชัดเจน เพียงแต่ว่าความสัมพันธ์ ที่ต่อเนื่องและ เปลี่ยนแปลงที่ต้องการน˚าเสนอเป็นการน˚าเสนอตามมุมมองของชุมชนหรือของชาวบ้านเอง ดังรายละเอียด ต่อไปนี้
1. เรื่องราวที่เป็นจุดเด่นหรือสามารถแสดงให้เห็นตัวตนของคนในชุมชน/ท้องถิ่นได้
มุมหนึ่งของเรื่องราวที่ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโรงเรียนจ˚านวนมากต้องการเสนอนั้น แสดงให้ เห็นว่าพยายามคัดเลือกมาอย่างดี เพื่อให้เรื่องที่ศึกษาและน˚าเสนออกมาสามารถแส ดงพลังได้ตรง เป้าหมายมากที่สุด คือ เริ่มตั้งแต่แสดงให้เห็นว่าชุมชนของพวกเขามีสิ่งเฉพาะของตนที่คนในชุมชนภูมิใจ เป็นสิ่งที่สามารถเป็นศูนย์รวมของคนในชุมชน เป็นที่พึ่งพาของคนในชุมชนและในท้องถิ่น อย่างที่รัฐหรือ หน่วยงานของรัฐก็ไม่สามารถท˚าได้ คนทั่วไปก็จะรู้จักถึงสิ่งที่ชุมชมก˚าลังเสนอนี้เป็นอย่างดีและเมื่อคนใน ชุมชนจะบอกกลับคนในชุมชนหรือท้องถิ่นอื่นๆให้รู้ว่าเขาเป็นคนที่ไหนก็จะบอกโดยอ้างอิงถึงสิ่งที่กล่าวถึง ดังกล่าว แต่ว่าสิ่งที่ชาวบ้านภาคภูมิใจถูกท˚าให้หมดความหมายไปเรื่อยๆโดยการพัฒนาสมัยใหม่ เรื่อง ต่างๆล้วนแสดงออกด้วยน้˚าเสียงชัดเจนถึงการไม่เห็นด้วยที่การพัฒนาที่รัฐเป็นผู้แสดงบทบาทส˚าคัญนั้น มองไม่เห็นตัวตนของชุมชนหรือท้องถิ่นและไม่เปิดโอกาสให้ชุมชนหรือท้องถิ่นมีทางเลือกของตนเอง แต่มี แบบแผนอย่างเดียวที่ต้องการเปลี่ยนแปลงให้ชุมชนและท้องถิ่นไปถึงคือความทันสมัยอย่างที่รัฐสนับสนุน อย่างไรก็ตามยุววิจัยบาเรื่องสะท้องให้เห็นว่าชาวบ้านสามารถปรับตัวหรือสามารถน˚าความเชื่อเดิมมาผลิต สร้างความหมายใหม่ที่สอดคล้องกับบริบทในสมัยปัจจุบัน ท˚าให้เรื่องราวดังกล่าวยังคงอยู่ในชีวิตประจ˚าวัน ของชาวบ้าน
เรื่องราวที่ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของโรงเรียนต่างๆคัดเลือกมาศึกษาและน˚าเสนอที่เข้า ลักษณะดังที่กล่าวข้างต้น ส่วนใหญ่จะเป็นเลือกที่เกี่ยวกับวัด แต่ว่าวัดหรือสิ่งที่มีอยู่ที่วัดและกลายเป็น
ศูนย์รวมและเป็นความภาคภูมิใจของคนในชุมชน/ท้องถิ่นนั้นก็มีแตกต่างหลากหลายกันไป ดังรายละเอียด ต่อไปนี้
1) วัดมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สืบทอดมาแต่อดีตอยู่ในวัด และมีต˚านานหรือเรื่องเล่าประกอบสิ่ง ศักดสิทธิ์ดังกล่าว ชาวบ้านเชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้องคุ้มครองพวกเขาให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข
โรงเรียนวัดแดง จ.นครศรีธรรมราช เสนอเรื่อง รอยพระพุทธบาทในชุมชนเขาพระบาท : ความ ศรัทธาที่เปลี่ยนแปลงไป เรื่องนี้ผู้ศึกษาต้องการชี้ให้เห็นความเชื่อ พิธีกรรม และงานประเพณีที่แสดงถึง ความยิ่งใหญ่ของชุมชนเขาพระบาท ถึงขนาดที่ชุมชนทกลายเป็นศูนย์กลางของท้องถิ่นมาเป็นระยะเวลา อันยาวนา เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทที่อยู่บนยอดเขาในชุมชน ผู้ศึกษาได้น˚าเสนอ เนื้อหาเป็น 2 ยุค ยุคแรกเริ่มตั้งแต่การบอกเล่าที่มาของรอยพระพุทธบาทจนสามารถสร้างความศรัทธา ให้แก่คนในท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง ชาวบ้านเชื่อว่ารอยพระพุทธบาทเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 1000 ปีมาแล้ว โดยเจ้าเมืองลังกาน˚ารอยพระพุทธบาทมาจากประเทศลังกาเพื่อน˚าไปประดิษฐานที่วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช เมื่อมาถึงบริเวณอ่าวไกรไทยได้เกิดพายุ คณะผู้เดินทางกลัวเรือล่มจึงน˚ารอยพระพุทธ บาทไปตั้งไว้บนหัวเขา ต่อมาพระนางเลือดขาวหรือแม่เจ้าอยู่หัวอัครมเหสีของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชที่ 5 จันทร์ภานุ กษัตริย์เมืองนครศรีธรรมราช เกิดศรัทธาจึงได้สร้างเป็นวัดพระพุทธบาท เป็นที่ประดิษฐานรอย พระพุทธบาท และทรงอุปถัมภ์บ˚ารุงวัดพระพุทธบาทให้เจริญสืบมา ผู้คนในชุมชนและต่างถิ่นมีความเชื่อ ความศรัทธาต่อรอยพระพุทธบาทโดยเชื่อว่า ถ้าได้บูชารอยพระพุทธบาทแล้วจะท˚าให้ได้บุญยิ่งใหญ่ เหมือนได้พบกับองค์พระพุทธเจ้า ท˚าให้ตนเองและครอบครัวมีความสุขความเจริญ ขอสิ่งใดก็ได้ตามที่ขอ เวลาเจ็บไข้น˚าน้˚ามนต์มาดื่มกินและพรมศีรษะก็จะหายจากป่วยไข้ เมื่อเวลามีงานประเพณีประจ˚าปี(ปีๆละ 3วัน 3คืน)และวันทอดกฐินจะมีประชาชนมาร่วมท˚าบุญกันอย่างล้นหลาม ผลที่ประชาชนมีความเชื่อความ ศรัทธาและได้มาประกอบพิธีกรรมและร่วมงานประเพณีกันดังกล่าวท˚าให้คนในชุมชนรูสึกว่าเป็นพวก เดียวกัน อยู่แบบพึ่งพาอาศัยกัน มีปัญหาอะไรก็ร่วมคิดร่วมแก้ปัญหากัน คนในชุมชนอื่นที่ประกอบกันเป็น ท้องถิ่นรู้ได้รู้จักคนต่างชุมชน รู้ว่าใครเป็นใคร มีอะไรก็เคารพนับถือกัน ช่วยเหลือกัน เพราะถือว่าเป็นคน ท้องถิ่นเดียวกัน ยุคที่สองเริ่มจากที่อิทธิพลของการพัฒนาสมัยใหม่เข้าไปมีอิทธิพลเหนือท้องถิ่น ความเชื่อ การร่วมพิธีกรรม การร่วมงานประเพณีก็ค่อยๆเสื่อมคลายลง ดังที่ผู้ศึกษาได้สรุปไว้ท้ายที่สุดว่า “ความ เปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพแบบคนเมืองท˚าให้ความร่วมใจในการจัดงานต่างๆของ วัดลดน้อยลงมาก และประการส˚าคัญผู้น˚าในท้องถิ่นไม่เห็นความส˚าคัญของรอยพระพุทธบาท ไม่ให้การ
ส่งเสริมสนับสนุน ท˚าให้ความส˚าคัญและความศรัทธาเปลี่ยนแปลงไป แต่จากการสัมภาษณ์บอกกล่าว ของคนในชุมชน พบว่ายังมีความเชื่อและความศรัทธาต่อรอยพระพุทธบาทเหมือนเดิม แต่ถ้าหากปล่อย ให้เหตุการณ์เป็นอย่างนี้เรื่อย ๆ ในอนาคตรอยพระพุทธบาทอาจจะถูกลืมก็ได้”
โรงเรียนวัดศรีวิชัย จ.สุราษฎร์ธานี น˚าเสนอเรื่อง พระนารายณ์ที่เขาศรีวิชัยกับวิถีชีวิตของ
ชุมชน โดยชี้ให้เห็นว่าชาวบ้านเขาศรีวิชัยสามารถเชื่อโยงเอาชุมชนโบราณเขาศรีวิชัยมาสร้างตัวตนให้แก่ ชุมชนได้ ทั้งที่ชุมชนในปัจจุบันเป็นชุมชนที่เกิดขึ้นภายหลัง ในขณะที่ชุมชนเขาศรีวิชัยมีอายุเก่าแก่ถึง ประมาณ 1,000-1,500 ปี โดยชุมชนโบราณดังกล่าวมีซากโบราณสถานหลายส่วน ที่สมบูรณ์ที่สุดคือรูป เคารพพระนารายณ์ ชาวบ้านแต่ดั้งเดิมจึงมีเรื่องเล่า ความเชื่อ และพิธีกรรมเกี่ยวกับพระนารายณ์อยู่ มากมาย จนสามารถสร้างความเชื่อสืบทอดกันมาว่าชาวบ้านสามารถอยู่ได้สุขสบายก็เพราะความ ศักดิ์สิทธิ์ของพระนารายณ์ ในขณะที่คนภายนอกรู้จักชาวบ้านก็เพราะเป็นชาว “เขาศรีวิชัย” กระทั่งเข้าสู่ยุค ที่ 2 เมื่อสมเด็จฯ กรมพระยาด˚ารงราชานุภาพได้สั่งให้น˚าเทวรูปพระนารายณ์ไปเก็บไว้ ที่กรุงเทพฯในปี 2740 แม้ความเชื่อเรื่องพระนารายณ์ไม่ได้เสื่อหายไปแต่ก็เสื่อมคลายไปมาก เพราะไม่มีรูปเคารพช่วยผลิต ซ้˚าความเชื่อ ในขณะพิธีกรรมที่ต้องกระท˚าต่อรูปเคารพต้องเลิกไปโดยปริยาย โดยเฉพาะพิธีกรรมส˚าคัญที่ เรียกว่าการอาบน้˚าพระนารายณ์ กระทั่งเข้าสู้ยุคที่สามเมื่อกรมศิลปากรได้สร้างรูปจ˚าลองพระนารายณ์ไว้ที่ โรงเรียนเขาศรีวิชัยในปี 2511 ชาวบ้านจึงค่อยเริ่มฟื้นฟูความเชื่อขึ้นมาได้อีกแม้จะไม่เข้มแข็งเท่าเดิม เพราะมีรูปเคารพให้แสดงความเชื่อความศรัทธา จนถึงปี 2545 โรงเรียนเขาศรีวิชัยและองค์การบริการส่วน ต˚าบลได้ร่วมกันรื้อฟื้นพิธีกรรมอาบน้˚าพระนารายณ์ โดยยังคงลักษณะส˚าคัญของพิธีกรรมนี้ไว้ คือการใช้น้˚า มะพร้าวในการสรงน้˚าเทวรูป โดยจัดขึ้นในวันที่ 14 เมษายนของทุกปี ปรากฏว่าได้รับความสนใจอย่างมาก แม้แต่คนรุ่นลูกหลายที่ไปท˚างานที่อื่นก็จะกลับบ้านเมือมาร่วมพิธีอาบน้˚าพระนารายณ์ดังกล่าว ประกอบ กับในยุคปัจจุบันโบราณสถานเขาศรีวิชัยได้รับความสนใจทางวิชาการมาก และมีคนรู้จักโดยทั่วไป ดังนั้น การที่ชาวบ้านและผู้เกี่ยวข้องสามารถรื้อฟื้นความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับพระนารายณ์ขึ้นมาอีกครั้ง เท่ากับชาวบ้านยังสามารถแสดงตัวตนกับคนภายนอกได้ในฐานะชาวบ้านที่อยู่ชุมชนเขาศรีวิชัยและพระ นารายณ์เป็นสิ่งศกดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องพวกเขาอยู่
โรงเรียนชุมชนวัดคลองรี มิตรภาพที่ 220 จ.สงขลา เสนอเรื่อง ประเพณีตายายย่านของวัดท่า คุระ วัดท่าคุระเป็นวัดเก่าแก่คู่กับชุมชนท่าคุระมาแต่ดั้งเดิม(ต.คลองรี อ.สทิงพระ จ.สงขลา) ที่วัดแห่งนี้มี พระพุทธรูปทองค˚าขนาดเล็ก ขนาดหน้าตักกว้างเพียง 2 นิ้ว แต่เป็นพระเก่าแก่ที่ชาวบ้านเคารพนับถือและ เชื่อถือในความศักดิ์มานาน สันนิษฐานว่าสร้างตั้งแต่ครั้งสุโขทัยตอนปลายหรือกรุงศรอยุธยาตอนต้น
ชาวบ้านเรียกชื่อพระองค์นี้มาแต่ดั้งเดิมและสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันว่า “เจ้าแม่อยู่หัว” และมีต˚านานที่ กล่าวถึงอย่างพิสดาร ด้วยความเคารพนับถือดังกล่าวชาวบ้านจึงได้จัดงานประเพณีสรงน้˚าทุกปีต่อเนื่อง มาแต่อดีตไม่เคยเว้น โดยจะจัดในเดือน 6 ข้างแรม วันพุธและวันพฤหัสรวม 2 วัน(ชาวบ้านเรียกงาน ประเพณีประจ˚าปีนี้ว่า “ประเพณีตายายย่าน” ตายายย่านหมายถึงผีบรรพบุรุษ ซึ่งน่าจะมีนัยว่าเป็นการจัด งานเพื่อแผ่ส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษด้วย) ในวันดังกล่าวมีทั้งพิธีสงฆ์ พิธีสรงน้˚า และการแสดงมหรสพ โดย จัดเป็นพิธีกรรมและงานประเพณีที่ใหญ่มาก ในวันงานลูกหลานของคนในชุมชนไม่ว่าไปท˚างานที่ไหนก็ จะต้องกลับมาร่วมพิธี และไม่เพียงคนในชุมชนท่าคุระเท่านั้น แต่มีคนจากต่างชุมชนจ˚านวนมากเข้ามา ร่วมงาน ดังที่ทีมยุววิจัยได้เสนอข้อมูลให้เห็นว่า “เมื่อเอ่ยนามเจ้าแม่อยู่หัววัดท่าคุระ ก็รู้จักกันทั่วไปในหมู่ ชาวอ˚าเภอระโนด กระแสสินธุ์ สทิงพระ และอ˚าเภออื่นๆ” และ “โดยเฉพาะวันพฤหัสนั้นจะมีประชาชนจาก ต่างอ˚าเภอ ต่างจังหวัด ไปร่วมงานเป็นเรือนหมื่นทุกปี” ผู้อาวุโสในชุมชนที่ได้ร่วมพิธีกรรมและงานประเพณี นี้มาอย่างต่อเนื่องบอกตรงกันว่าเมื่อได้ร่วมงานแล้วมีความสบายใจ การเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยที่ น่าสนใจคือนับวันยิ่งมีคนมาร่วมงานมากขึ้น เพราะถนนที่สะดวกสบายท˚าให้คนขับรถมาที่วัดได้ง่ายขึ้น ซึ่ง ผู้น˚าชุมชนและชาวบ้านจะมีความสุขอย่างมากเมื่อได้เห็นคนจากที่ต่างๆหลั่งไหลมาที่วัด
2) วัดมีพระภิกษุที่ชาวบ้านเคารพนับถือต่อเนื่องมาแต่อดีต แม้บุคคลดังกล่าวจะไม่มีตัวตนให้ เห็นมานานแล้ว แต่ความศักดิ์สิทธิ์หรือผลงานที่ท˚าไว้ยังเป็นที่กล่าวถึงหรือยังสืบเนื่องเป็นประโยชน์แก่ ชาวบ้านถึงปัจจุบัน เพียงแต่ได้รับการปรุงแต่งให้สอดคล้องกับยุคสมัย
โรงเรียนดอนศาลาน˚าวิทยา จ.พัทลุง น˚าเสนอเรื่อง พ่อท่านอโม วัดบ้านสวน และชุมชน มะกอกเหนือ เรื่องนี้คณะยุววิจัยได้น˚าเสนอประวัติพระภิกษุที่ชาวบ้านเคารพศรัทธา และความเตารพ ศรัทธาดังกล่าวได้น˚ามาซึ่งตัวตนและประโยชน์หลายอย่างของชาวชุมชนมะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ภิกษุท่านนี้คือพ่อท่านนอโม ซึ่งเป็นผู้สร้างวัดบ้านสวนในปี 2070 ท่านเป็นใครมาจากไหน ไม่มีใครรู้จัก แต่ เชื่อกับว่าเป็นศิษย์วัดเข้าอ้อ เรื่องที่ชาวบ้านเล่าสืบต่อกันมาก็คือความศักดิ์สิทธิ์ของพ่อท่านมอโนถึงขั้นเคย ทดลองวิชากับหลวงพ่อทวดแบบไม่มีใครเพลี่ยงพล้˚าให้แก่ใคร แม้เมื่อท่านท่านมรณภาพก็ไม่มีใครได้เห็น ท่าน ซึ่งเชื่อว่าท่านได้กลายเป็นแสงแล้วหายไป นอกจากนี้ท่านยังเก่งด้านต˚ารายา ในปัจจุบันมีต˚ารายาวัด บ้านสวนซึ่งเชื่อว่าสืบทอดมาจากพ่อท่านมอโน ชาวบ้านและเจ้าอาวาสวัดบ้านสวนทุกรุ่นจึงพยายามสืบ ทดความศักดิ์สิทธิ์และต˚ารายาของท่านให้เป็นที่รู้จัก เช่น มีการสร้างเหรียญของท่าน โดยครั้งแรกสร้างในปี 2531 ซึ่งปรากฏว่าเหรียญของท่านได้รับการยอมรับอย่างมากว่าเป็นเหรียญศักดิ์จนราคาซื้อขายสูงลิ่ว
โดยเฉพาะเหรียญรุ่นแรก เพราะมีผู้สวมเหรียญแล้วถูกยิงปรากฏว่ายิงไม่เข้า ส่วนต˚ารายาวัดบ้านสวนก็ ยังคงสืบทอดและรักษาคนมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งชาวบ้าน วัด และโรงเรียนในพื้นที่ รวมทั้งผู้ เกี่ยวข้องจึง พยายามถ่ายทอดเรื่องราวของพ่อท่านมอโน เพราะท่านคือสิ่งที่ชุมชนภูมิใจและท˚าให้คนภายนอกรู้จัก ชุมชนได้ดี
โรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษมูลนิธิจ.ตรัง น˚าเสนอเรื่อง“อิทธิพลของพ่อแก่สีทันดรที่มีต่อวิถีชีวิต ชาวนาท่ามใต้” เรื่องนี้เสนอให้เห็นว่าที่วัดศรีสุวรรณาราม(นาท่ามใต้) อ.เมือง จ.ตรัง มีรูปปั้นพ่อแก่สีทันดร์ ในลักษณะที่เป็นรูปปั้นพระภิกษุสูงอายุ โดยรูปปั้นดังกล่าวมีมานานแล้ว และเมื่อสืบสาวราวเรื่องของท่าน ก็ยิ่งมีความลึกลับ เรื่องที่บอกเล่าต่อๆกันมาเป็นเรื่องที่เชื่อว่าท่านมาประทับทรงร่างทรงแล้วบอกถึงประวัติ ของท่านผ่านร่างทรง และน่าจะมีเรื่องที่เล่าเสริมต่อๆกันมาด้วย โดยเรื่องเล่าดังกล่าวไม่มีระบุเวลาแน่ชัด เพียงแต่ทราบว่าท่านบวชเป็นสามเณรแต่เด็กแล้วไม่เคยสึกเลย ท่านเป็นสามเณรที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจน เทวดามาเข้าฝันให้คาถาเกี่ยวกับอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ จากนั้นท่านก็เป็นผู้มีวาจาสิทธิ์ และได้พิสูจน์หลาย ครั้งให้ชาวบ้านเห็น นอกจากนี้ท่านก็แสดงฤทธิ์ให้ชาวบ้านเห็นว่าท่านเดินบนน้˚าได้ ในช่วงท้ายของชีวิต ท่านได้มาจ˚าพรรษาอยู่ที่วัดนาท่ามใต้ ซึ่งเป็นบ้านเกิด ท่านเป็นพระที่ได้รับการเคารพนับถือในด้าน อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เมื่อท่ามรณภาพชาวบ้านจึงร่วมกันสร้างรูปปั้นท่านไว้ ชาวบ้านตั้งแต่อดีตเคารพนับถือ ท่านมาตลอด และเชื่อว่าเมื่อขอพรแล้วจะได้ดังใจ โดยในสมัยก่อนจะขอเกี่ยวกับฝนตกหรือไม่ตกเป็นหลัก เนื่องจากการท˚ามหากินของชาวบ้านต้องพึ่งพาฟ้าฝนในการท˚าการเกษตร นอกจากนี้ความเชื่อเกี่ยวกับ ความศักดิ์สิทธิ์ของท่านยังเป็นอ˚านาจควบคุมทางสังคมของชาวนาท่ามใต้มาโดยตลอด เนื่องจากชาวบ้าน เชื่อว่าพวกเขามีพ่อแก่สีทันดร์อยู่ข้างกายตลอดเวลา ดังนั้นหากใครประพฤติชั่วพ่อแก่ก็จะลงโทษ หากใคร ประพฤติดีพ่อแก่ก็จะให้พรให้ชีวิตประสบความส˚าเร็จ ในปัจจุบันความศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของพ่อแก่ สีทันดร์ก็ยังคงอยู่ แต่ว่าเปลี่ยนแปลงไป คือ คนในพื้นที่ส่วนที่เชื่อก็มีมาก ส่วนที่ไม่เชื่อก็มี ผู้ที่ไม่เชื่อก็จะ เป็นคนรุ่นใหม่ที่หน้าที่การงานไม่เกี่ยวข้องกับโชคลาภและไม่ได้ท˚างานอยู่ในท้องถิ่น แต่ว่ากลุ่มคนที่เชื่อก็ เพิ่มขึ้นอีกมาจากคนต่างถิ่น เพราะมีการท˚าเหรียญและพระเนื้อว่านให้เช่า ซึ่งถือว่าได้รับการยอมรับอย่าง มาก พร้อมๆกับการเดินทางเข้าไปที่วัดนาท่ามใต้ในปัจจุบันกระทบได้โดยง่ายจึงมีคนจากต่างถิ่นเข้าไป เคารพขอพรกันมาก และจุดเน้นของพรจะเหมือนกับการขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วไป คือการขอโชคลาภและ ความส˚าเร็จของปัจเจกบุคคล
โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ จ.พัทลุง น˚าเสนอเรื่อง ประวัติและบทบาททางสังคมของพระ ครูศรัทธานุรักษ์ (ตาหลวงวรรณ วาจาสิทธิ์) เรื่องนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทีมยุววิจัยน˚าเสนอเรื่องราวของ พระภิกษุที่เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน และเป็นพระภิกษุที่มีตัวตนชัดเจน คือมีชีวิตอยู่ในช่วงสมัย รัชกาลที่ 5 ต่อเนื่องถึงถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ในสมัยนั้นบริเวณพื้นที่รอบทะเลสาบสงขลาเต็มไปด้วยโจรผู้ร้าย โดยเฉพาะแถบจังหวัดพัทลุงถือได้ว่าหากใครมีคดีก็จะหนีมาอยู่แถบนี้ ดังนั้นวิชาความรู้เกี่ยวกับไสย ศาสตร์ทั้งหลายจึงเฟื่องฟูมาก พระภิกษุนอกจากเรียนรู้ด้านศาสนาแล้วจะต้องเรียนวิชาทางไสยศาสตร์ ด้วย พระภิกษุที่ยุววิจัยต้องการน˚าเสนอ คือ พระครูศรัทธานุรักษ์ (ตาหลวงวรรณ วาจาสิทธิ์) โดยท่านมี ความรู้ทั้งด้านศาสนา และด้านไสยศาสตร์ ท่านสามารถใช้ความรู้ต่างๆให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ท่านจึง ได้รับยกย่องจากสังคมทั่วไป ทั้งในด้านการเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ การเป็นผู้มีวาจาสิทธิ์ การเป็น เกจิอาจารย์ การรักษาโรคโดยการใช้คาถาอาคม ส่วนในด้านการพัฒนาท่านก็ได้รับการยอมรับทั้งการ บุกเบิกวัดบ่อหมาแป๊ะ(วัดรัตนาราม)ที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส การท˚านุบ˚ารุงศาสนา การส่งเสริมการศึกษา การ เป็นพระนักพัฒนา การส่งเสริมศิลปะการแสดง เป็นต้น ท่านจึงเป็นพระภิกษุรูปหนึ่งที่ได้รับการเคารพนับ ถือจากคนรอบทะเลสาบสงขลามาช้านาน แม้ในปัจจุบันคุณูปการของท่านก็ยังท˚าให้ชุมชนภายนอกรู้จัก ชุมชนรายรอบวัดที่ท่านจ˚าพรรษาจากการรู้จักชื่อเสียงของท่านมากกว่าอย่างอื่น และหากถามว่าของดีใน อ˚าเภอปากพะยูนที่คนทั่วไปรู้จักกันดี ชื่อเสียงของท่านก็จะอยู่ในอันดับต้นๆ
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี น˚าเสนอเรื่อง หลวงพ่อพัฒน์นารโทกับศรัทธามหาชน เรื่องนี้ คล้ายกับ เรื่องก่อนหน้านี้ คือเสนอถึงพระภิกษุที่ได้รับการเคารพศรัทธาสูงสุดจากคนในพื้นที่ และบุคคลที่ ห่างไกลออกไป โดยรู้จักจากอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์และคุณงามความดีของท่าน พระภิกษุท่านี้คือหลวง พ่อพัฒน์นารโท แห่งวัดพัฒนาราม ต.ตลาด อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ท่านเป็นพระที่ศึกษาวิปัสนากรรมฐาน ได้ออกธุดงค์อย่างจริงจัง และได้รู้จักกับภิกษุจากพม่าจากการออกธุดงค์ ได้เรียนวิชาคาถาอาคมจากภิกษุ พม่าดังกล่าว นอกจากนี้ท่านยังเรียนต˚ารายาและคิดค้นต˚ารายาขึ้นอีกมากเพื่อใช้รักษาชาวบ้านที่เจ็บป่วย ตลอดชีวิตของท่าได้แสดงถึงความสมถะ ช่วยเหลือชาวบ้านโดนตลอด ในด้านการเป็นเกจิอาจารย์ท่าน ได้รับยกย่องว่าเป็นอันดับหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในด้านการรักษาผู้เจ็บป่วยท่านถึงกับดัดแปลงหอ ฉันและศาลาวัดเป็นที่พักของผู้ป่วยใน ซึ่งมีผู้ป่วยมาพักให้ท่านรักษาเป็นจ˚านวนมาก จนวัดของท่านได้รับ ยกย่องว่าเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ท่านมรณภาพเมื่ออายุ 80 ปี(พ.ศ. 2491)โดย มรณภาพในท่าที่ก˚าลังนั่งสมาธิ และศพไม่เน่าเปื่อย ถึงแม้ท่านจะมรณภาพแล้วแต่ศรัทธาของมหาชนก็ยัง ไม่เสื่อมคลาย โดยังมีผู้เข้ามากราบไหวขอพรให้คุ้มครอง หรือขอโชคลาภอยู่ตลอดเวลา ในวันที่เป็น
พิธีกรรมส˚าคัญเช่นการสรงน้˚ารูปหล่อนของท่านในวันที่ 15 เดือน 5 ของทุกปีจะมีผู้ศรัทธามาร่วมพิธีกรรม นับหมื่นคน เหรียญของท่านที่ทางวัดท˚าขึ้นก็ได้รับความนิยมอย่างมาก ถึงขั้นที่เชื่อว่าเมื่อน˚ามาคล้องคอ แล้วช่วยให้แคล้วคลาด
โรงเรียนวัดดอนศาลา จ.พัทลุง น˚าเสนอเรื่อง "ตามรอยภูมิปัญญา "แช่ว่านยา กินเหนียวด˚า" ชุมชนดอนศาลา การแช่ว่านยาหรืออาบว่าถือว่าเป็นพิธีทางไสยศาสตร์ขั้นสูง หมายถึงการที่คนลงไปนอน แช่น้˚าว่านที่ได้ท˚าพิธีปลุกเศกตามหลักไสยศาสตร์แล้ว เพื่อประสงค์ให้ตัวเองคงกระพันชาตรี การกินเหนียว ด˚าเป็นการกินข้าวเหนียวด˚าที่ผ่านการท˚าพิธีแล้ว โดยหากได้กินข้าวเหนียวด˚า 3 ครั้ง 3 พิธี จะท˚าให้อยู่ยง คงกระพัน รักษาโรคภัยต่างๆ และเป็นยาอายุวัฒนะ ส˚านักวิชาที่เป็นเจ้าของพีธีกรรมทั้ง 2 นี้ซึ่งได้รับการ ยอมรับโดยทั่วไปว่าขลังจริงคือวัดเขาอ้อ (ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง) ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็น ตักสิลาทางพุทธคม-ไสยเวท ส่วนที่วัดดอนศาลาซึ่งอยู่ไม่ห่างจากวัดเขาอ้อนักได้กลายเป็นแหล่งความรู้ใน เรื่องนี้อีกแหล่งหนึ่งก็เนื่องจากในปี 2459 วัดดอนศาลาขาดเจ้าอาวาส ชาวบ้านจึงไปขอต่อวัดเขาอ้อให้ส่ง พระภิกษุวัดเขาอ้อมาเป็นเจ้าอาวาส พอดีพระภิกษุท่านที่มาเป็นเจ้าอาวาสมีความรู้ในเรื่องการแช่ว่านยา การกินเหนียวด˚า และคาถาอาคมอื่นๆของส˚านักวัดเขาอ้อ ท่านจึงได้เปิดด˚าเนินการในเรื่องนี้ควบคู่ไปกับวัด เขาอ้อด้วย และในช่วงกลางทศวรรษ 2500 เป็นต้นมาวัดดอนศาลามีพระภิกษุที่ช˚านาญในเรื่องนี้ในขณะที่ วัดเขาอ้อขาดผู้ช˚านาญ ท˚าให้ผู้คนหลั่งไหลมาปฏิบัติพิธีกรรมที่วัดดอนศาลาแทน แต่ทั้ง 2 วัดนี้ก็ถือว่าเป็น ตักศิลาในเรื่องนี้ทั้งสิ้น ผู้ศึกษาพยายามชี้ให้เห็นความแตกต่างเป็น 2 ยุค คือยุคแรกเป็นยุคของความเชื่อ ความศรัทธาอย่างแท้จริง ผู้ที่มีความเชื่อความศรัทธายังหนาแน่นอยู่ในภาคใต้เป็นหลัก แต่ในปัจจุบันมี ลักษณะเป็นเชิงพาณิชย์ค่อนข้างมาก ในขณะผู้ที่เชื่อและศรัทธาในท้องถิ่นไม่หนาแน่นเหมือนเดิม แต่ว่า ขยายกลุ่มผู้สนใจไปไกลถึงต่างประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ ซึ่งคณะยุววิจัยไดเสนอไว้อย่าง ชัดเจนว่าในปัจจุบันวัดดอนศาลาท˚าให้คนรู้จักชุมชนมากกว่าอย่างอื่น และคือศูนย์กลางที่ท˚าให้คนใน ชุมชนภาคภูมิใจ ดังข้อความที่ว่า
จากการที่โรงเรียนวัดดอนศาลา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่คณะวิจัยก˚าลังศึกษาอยู่ในปัจจุบันตั้งอยู่ติดกับ วัดดอนศาลา และด้านหน้าโรงเรียนเป็นส˚านักของภูมิปัญญาผู้ประกอบพิธีแช่ว่านยา กินเหนียวด˚า ส˚านัก หนึ่ง วันดีคืนดีจะเห็นรถยนต์ส่วนตัว รถตู้ รถบัสคันใหญ่มาจอดในสนามโรงเรียน น˚าผู้คนภายในจังหวัด บ้าง ต่างจังหวัดบ้าง และบางครั้งก็เป็นชาวต่างประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง อันได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ เห็นผู้คนมากมายมาเข้าร่วมพิธี และบางครั้งได้มีโอกาสอ่านหนังสือพิมพ์ หรือชมโทรทัศน์ เห็น ข้อความที่ลงหนังสือพิมพ์เป็นภูมิปัญญาแช่ว่านยา กินเหนียวด˚า ของชุมชนดอนศาลา ทั้งบรรพชิตและ
ฆราวาสประกอบพิธีในชุมชนดอนศาลาบ้าง นอกสถานที่บ้าง ท˚าให้คณะวิจัยเกิดความภาคภูมิใจในภูมิ ปัญหาท้องถิ่น รักท้องถิ่น และต้องการศึกษาข้อมูลจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อร่วมกันสืบสานให้ลูกหลาน ได้เรียนรู้ต่อไป
โรงเรียนสามบ่อวิทยา จ.สงขลา น˚าเสนอเรื่อง พ่อเฒ่าวัดนกกับวิถีชีวิตของชุมชนวัดสน
อ˚าเภอระโนด จังหวัดสงขลา เรื่องนี้เกิดขึ้นที่หมู่ที่ 3 ต.วัดสน อ.ระโนด จ.สงขลา ณ บริเวณป่ายางริมทุ่ง นาจะมีสิ่งก่อสร้างที่สร้างง่ายๆเรียกว่า “โรง” ในโรงมีรูปปั้นหลายรูปขนาดต่างๆกัน รูปที่ใหญ่ที่สุดและถือ ว่าเป็นประธานของรูปปั้นทั้งหมดชาวบ้านเรียกว่า “พ่อเฒ่าวัดนก” โดยพ่อเฒ่าวัดนกเป็นใครมาจากไหนไม่ มีใครรู้จัก มีแต่ผู้บอกว่าเมื่อเกิดมาก็เห็นโรงพ่อเฒ่าวัดนกและพ่อเฒ่าวัดนกอยู่แล้ว โดยโรงพ่อเฒ่าวัดนก ดังกล่าวได้รับการซ่อมแซมปรับปรุงจากชาวบ้านมาเป็นระยะ พร้อมกับเรื่องราวต่างๆของพ่อเฒ่าวัดนกก็ ได้รับการสืบทอดและเสริมแต่งต่อเนื่องมา จนกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่กับชุมชนตลอดมา เรื่องที่เล่า ต่อๆกันมาระบุว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวบ้านนก ชุมชนวัดสน (บ้านนกเป็นกลุ่มบ้านหนึ่งของชุมชนวัดสน)ที่ มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 700 ปีที่แล้ว เนื่องจากเป็นคนดี ได้รับการเคารพนับถืออย่างมาก เมื่อเสียชีวิตจึงมี ผู้สร้างรูปปั้นไว้แสดงความเคารพ รูปปั้นดังกล่าวนี้จึงอยู่ในที่ดังกล่าวสืบเนื่องต่อมาหลายชั่วอายุคน ชาวบ้านเชื่อในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของพอเฒ่าวัดนกมาตลอด และเป็นที่พึ่งทางจิตใจของชาวบ้านมา โดย ตลอดเช่นกัน ทั้งในแง่ลงโทษผู้ประพฤติชั่ว ให้โชคแก่ผู้ประพฤติดี มีเรื่องเล่าของขาวบ้านมากมายที่แสดง ให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพ่อเฒ่าวัดนก ในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่สองที่รายงานวิจัยน˚าเสนอ ความเชื่อนี้ น่าจะลดน้อยลง เพราะสังคมเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมสมัยใหม่มากแล้ว แต่การกลับมิได้เป็นเช่นนั้น เพราะ ความเชื่อนิ้ยิ่งขยายตัวไปสู่ผู้คนวงกว้าง ดังที่มีผู้อาวุโสในชุมชนยืนยันว่า “ความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของ พ่อเฒ่าวัดนกนั้นได้เปลี่ยนจากความเชื่อที่เกี่ยวกับพ่อเฒ่าวัดนกซึ่งจ˚ากัดอยู่เพียงลูกหลานบ้านนก วัดสน ได้ขยายเป็นวงกว้างสู่สังคมภายนอก” แต่ว่าสาระของความเชื่อก็เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน โดยเปลี่ยนไปสู่การ หวังผลประโยชน์เชิงปัจเจก มากขึ้น เช่นการขอโชคลาภ การขอให้ได้งานท˚า การเปลี่ยนไปสู่แนวโน้มของ ความเชื่อเช่นนี้ท˚าให้ความเชื่อไม่จ˚าเป็นต้องเป็นสมบัติของคนในกลุ่มแคบๆที่ความเชื่อนั้นถือก˚าเนิดขึ้นมา แต่สามารถขยายพื้นที่ไปได้กว้างตราบใดยังสามารถท˚าให้ปัจเจกบุคคลเชื่อว่าความศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวจะ ดลบันดาลให้เขาได้ประโยชน์ แต่ว่าชุมชนก็ได้ประโยชน์ในมุมใหม่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ชุมชนเป็นที่รู้จักมากขึ้น ชาวบ้านประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากผู้ที่แวะเวียนเข้ามากราบไหว้และขอพรจากพ่อเฒ่าวัดนก
โรงเรียนสมเด็จเจ้าพะโคะ จ.สงขลา น˚าเสนอเรื่อง ความเชื่อความศักดิ์สิทธิ์หลวงปู่ทวดเหยียบ น ˚าทะเลจืดกับวิถีชีวิตชุมชนชุมพล เรื่องนี้ผู้ศึกษาน˚าเสนอเกี่ยวกับประวัติของหลวงพ่อทวดฉบับของ
ชาวบ้านในแถบอ˚าเภอสทิงพระที่ผูกเรื่องชีวประวัติของหลวงพ่อทวดตั้งแต่เกิดไว้กับพื้นที่แถบนั้น และโยง ไปถึงกรุงศรีอยุธยาที่ท่านมีโอกาสช่วยเหลืออยุธยาแก้ปัญหาธรรมกับชาวต่างชาติจนได้รับชัยชนะและ ได้รับพระราชทานเงินทองจ˚านวนมากจากพระมหากษัตริย์ และท่านก็น˚าเงินทองดังกล่าวมาบูรณะวัดที่ บ้านเกิดของท่านคือวัดพะโคะ จากนั้นก็กล่าวถึงอิทธิฤทธิ์ของพ่อทวดในแง่มุมต่างๆมากมาย รวมทั้งการ เหยียบน้˚าทะเลจืด และชี้ให้เห็นถึงความศรัทธาอย่างลึกซึ้งของประชาชนที่มีต่อหลวงพ่อทวด แต่ว่า ลักษณะความเชื่อดังกล่าวก็คล้ายเรื่องที่ผ่านมาคือในยุคแรกความเชื่อนั้นยังอยู่ในชุมชนและในท้องถิ่นเป็น หลัก และยังเป็นความเชื่อที่มีลักษณะให้ความส˚าคัญต่อส่วนรวม คือช่วยผลิตซ้˚าการอยู่ร่วมกันของคนใน ท้องถิ่น แต่ในยุคสมัยใหม่ความเชื่อมุ่งตอบสนอบความต้องการเชิงปัจเจกเป็นหลัก และความเชื่อได้ ขยายตัวไปสู่พื้นที่ต่างๆอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงเฉพาะประเทศไทยแต่ขยายไปถึงต่างประเทศ การ ขยายตัวของความเชื่อเช่นนี้อาจจะถูกมองว่าถูกผลิตสร้างความหมายเพื่อการพาณิชย์ แต่ว่าการขยาย พื้นที่ของความเชื่อดังกล่าวได้ช่วยสร้างตัวตนให้แก่ชุมชน ดังที่ทีมยุววิจัยได้เสนอไว้ในรายงานว่า “ดังนั้น เยาวชนและคนในชุมชนชุมพลมีความภูมิใจ เชิดชูหลวงปู่ทวดเหยียบน้˚าทะเลจืดว่าเป็นบุคคลส˚าคัญและ เป็นบุคคลตัวอย่าง เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชนชุมพล ของชาวอ˚าเภอสทิงพระ ที่ได้ท˚าชื่อเสียง ให้กับบ้านเกิด ให้ลูกหลานได้เอาตัวอย่างจากอดีตสู่ปัจจุบันและอนาคต”
ผลงานยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบางเรื่องน˚าเสนอเรื่องของพระภิกษุอันเป็นที่เคารพนับถือของ ประชาชนและช่วยให้วัดกลายเป็นศูนย์กลางของชุมชน แต่ไม่ใช้เพราะมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ที่จะดลบันดาล ให้ประชาชนได้หรือเป็นในสิ่งที่ตนมุ่งหวัง แต่เพราะมีความรู้ที่สามารถช่วยประชาชนได้ในโลกของความ เป็นจริง เช่น การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ การเป็นพระนักพัฒนา
โรงเรียนวชิรธรรมสถิต จ.พัทลุง น˚าเสนอเรื่อง ส˚านักวัดเจ็นกับน ˚ามันเอ็นพ่อท่านเมฆ โดยเสนอ
ให้เห็นถึงคุณูปการของวัดเจ็นตกที่มีต่อบุคคลใกล้ไกลมาอย่างต่อเนื่อง คือการรักษาโรคกระดูกและเอ็น หากเกิดโรคกระดูกและเอ็นไม่ว่าจะรุนแรงเพียงใดที่วัดเจ็นตกหรือชื่ออย่างเป็นทางการว่าวัดประจิมทิศา ราม(หมู่ที่ 3 ต.ต˚านาน องเมือง จ.พัทลุง) สามารถรักษาให้กลับเข้าสู่สภาพปกติ โดยรักษาด้วยน้˚ามันที่ เรียกว่า “น้˚ามันเอ็นพ่อท่านเมฆ” พ่อท่านเมฆเป็นเจ้าอาวาสของวัดเจ็นตกในช่วง พ.ศ. 2490-2520 ท่านมี ความรู้เรื่องการท˚าน้˚ามันรักษากระดูก นอกจากนี้ท่านยังมีความรู้เรื่องคาถาอาคมและใช้คาถาอาคม ประกอบการรักษาด้วย จึงมีผู้ที่มีปัญหากระดูกทุกลักษณะมาให้ท่านรักษา จนท่านต้องสร้างที่พักอาศัย ของคนไข้ไว้แยกชายหญิง เพราะมีคนไข้จ˚านวนมากที่ต้องพักรักษาตัวที่วัด อีกทั้งท่านยังสามารักษาใน ลักษณะที่เรียกว่า “ดูดกระสุน” คือรักษาผู้ที่ถูกยิงและกระสุนฝังอยู่ในร่างกายโดยสามารถดูดลูกกระสุน
ออกจากร่างกายได้ พ่อท่านเมฆยังเป็นพระนักพัฒนา ที่เห็นได้ชัดเจนคือการพัฒนาวัดและโรงเรียน จน โรงเรียนต้องใส่ชื่อของท่านไว้ด้วย คือโรงเรียนเรียนวัดประจิมทิศาราม(เมฆประชาบ˚ารุง) เมื่อพ่อท่านเมฑ มรณภาพแล้วก็มีพระในวัดเจ็นตกสืบทอดการท˚าน้˚ามันรักษากระดูกของพ่อท่านเมฆต่อเนื่องมาจนถึงยุค ปัจจุบัน ทั้งนี้เหตุการณ์ที่กล่าวถึงมาทั้งหมดเป็นยุคแรก คือยุคทีคนยังพึ่งพาการรักษากระดูกที่วัดเจ็นตก อย่างคึกคัก แต่ไม่ต˚ากว่า 10 ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงของยุคที่สอง คือความคึกคักดังกล่าวได้ลดลง การมา รักษากระดูที่วัดเจ็นตกจะเหลือเฉพาะที่เป็นไม่มากและผู้มารักษาอยู่ในบริเวณไม่ห่างวัดนัก กลุ่มที่ไม่มีเงิน ไปโรงพยาบาล และกลุ่มที่ไปรักษามาหลายโรงพยาบาลและเสียเงินไปมากแล้วแต่อาการไม่หาย จึงเลือก มาที่วัดเจ็นตกเป็นที่สุดท้าย จ˚านวนผู้มารักษาจึงลดลงมาก จนอาคารที่พักก็ต้องยกเลิกไปแล้ว ทั้งนี้เพราะ สังคมได้เปลี่ยน สถานพยาบาลสมัยใหม่เกิดขึ้นมาก และชาวบ้านเข้าถึงได้ง่าย อีกทั้งทางราชการก็ไม่ได้ ยอมรับการรักษาของวัด และมองว่าเป็นการรักษาแบบเถื่อน ทีมยุววิจัยได้เสนอว่าวิชาความรู้ของวัดเจ็น ตกยังอยู่ครบ พระที่จะเป็นผู้รักษาก็ยังมี ทุกฝ่ายควรจะร่วมกันสร้างสรรค์ให้วัดเจ็นตกกลายเป็นศูนย์กลาง ของชุมชนและเป็นสถาบันส˚าคัญของท้องถิ่นอีกครั้ง โดยการฟื้นฟูเรื่องการรักษาโรคกระดูกขึ้นมาอย่าง สอดคล้องกับยุคสมัย เช่น การสร้างบรรจุภัณฑ์ให้น้˚ามันเอ็น การสร้างอาคารในการดูแลรักษาสุขภาพอย่าง เป็นทางการ รวมทั้งต้องมีการประชาสัมพันธ์ด้วย
โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี 1 (ดอนสักผดุงวิทย์ ) น˚าเสนอเรื่อง "ประวัติและ
ผลงานพ่อหลวงจ้อย " พระภิกษุที่ทีมยุววิจัยน˚าเสนอเรื่องนี้คือพระกิตติมงคลพิพัฒน์ หรือชื่อที่ชาวบ้าน ทั่วไปเรียกด้วยความเคารพนับถือว่า “หลวงพ่อจ้อย” (วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ ต.ดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี) ท่านได้รับความเคารพนับถืออย่างสูงในฐานะที่เป็นนักพัฒนา การพัฒนาดังกล่าวไม่ เฉพาะการพัฒนาวัดและการด˚าเนินภารกิจของวัดเท่านั้น แต่รวมถึงพัฒนาชุมชนจนเกิดความก้าวหน้า อย่างเด่นชัด เช่น การสร้างถนน ไฟฟ้า น้˚าประปา ส่วนในวัดเองท่านก็สามารถพัฒนาวัดจากวัดเล็กๆจน เป็นสัดที่ใหญ่โต ท่านได้ร่วมกับชาวบ้านเป็นผู้สร้างโรงเรียนดอนสักผดุงวิทย์(แต่เดิมตั้งอยู่ในวัด ต่อมา จ˚านวนนักเรียนเพิ่มขึ้นมากจ˚าเป็นต้องยายจากวัดออกมาอยู่ในที่ปัจจุบัน) และได้ช่วยสนับสนุนการจัด การศึกษาของโรงเรียนวัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษามาแต่ต้น ท่านยังจัดตั้ง โรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมขึ้นมาในวัดด้วย นอกจากนี้ท่านยังมีความรู้ในเรื่องการรักษาโรคแผนโบราณ และได้เปิดการรักษาที่วัด ท่านได้เรียนเรื่องเวทย์มนต์ คาถาอาคมด้วยเช่นกันท่านจึงได้รับความศรัทธาใน ด้านนี้จากประชาชนไปพร้อมกันด้วย ดังจะเห็นว่าเหรียญของท่านที่ทางวัดสร้างขึ้นมาหลายรุ่นล้วนได้รับ ความนิยมอย่างสูง ท่านมีความรู้เรื่อหลักธรรมเป็นอย่างดีและสามารถสอนประชาชนด้วยค˚า พูด
ง่ายๆ หลวงพ่อจ้อยได้สร้างผลงานไว้มากมาย และเป็นพระภิกษุที่ได้รับการเคารพนับถืออย่างสูงรูปหนึ่ง ทั้งที่ท่านเพิ่งบวชหลังจากการมีครอบครัวแล้วและมีบุตรธิดาถึง 7 คน(เคยบวชครั้งหนึ่งเมื่ออายุครบ 20 ปี แต่บวชอยู่พรรษาเดียวก็สึก) การบวชดังกล่าวก็ตั้งใจเพียงบวชแก้บนแล้วจะสึก แต่ด้วยบุญกุศลท่านจึง ไม่ได้สึก ท่านได้อุทิศตนในการท˚างานอย่างเต็มที่ทั้งในการการบ˚ารุงพระศาสนาและการพัฒนาคน พัฒนา สังคม จนชื่อเสียงท่านเป็นที่รู้จักกันทั่วไป แม้เมื่อท่านมรภาพไปแล้ว(ชาตะ 2448 มรณะ 2536)ท่านก็ยัง ได้รับความเคารพนับถือจนถึงปัจจุบัน
คณะศิษยานุศิษย์ทั่วทุกสาระทิศ ได้ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมทุนกันจัดสร้าง "มณฑปหลวงพ่อ จ้อย" ไว้เป็นอนุสรณ์สถาน เพื่อให้ทุกท่านได้สักการะบูชาที่ "วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์" ต.ดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในอันที่จะสรรค์สร้างคุณงามความดี เจริญรอยตามจริยาอันดีงาม ของท่าน ซึ่งปัจจุบันมีศิษญานุศิษย์ ข้าราชการ พ่อค้า และประชนหลั่งไหลมาจากทั่วทุกสาระทิศมา สักการะบูชาอยู่ทุกวัน จนแทบจะกล่าวได้ว่า "กลิ่นธูป แสงเทียน ไม่เคยขาดหายไปจากมณฑปหลวงพ่อ จ้อย" อย่างแท้จริง
3) วัดเป็นศูนย์กลางชุมชนในฐานะที่วัดเป็นสถาบันของสังคม ไม่ใช่อิงอยู่กับอภินิหารหรือคุณงาม ความดีของพระภิกษุ ชาวบ้านภาคภูมิใจในวัดของชุมชน และต้องการบอกให้คนอื่นรู้ถึงคุณูปการของวัด ดังกล่าว
โรงเรียนวัดเนกขัมมาราม จ.นครศรีธรรมราช น˚าเสนอเรื่อง“วัดนาคคาม:ศูนย์กลาง ความสัมพันธ์ของชุมชนบ้านหน้ากาม” วัดนาคคามหรือวัดเนกขัมมาราม ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 14 ชุมชนบ้าน หน้ากาม ต˚าบลร่อนพิบูลย์ อ˚าเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความ รุ่งเรืองมายาวนาน มีถ้˚าซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่เป็นที่เคารพบูชาของคนในชุมชนนอก ในถ้˚า ดังกล่าวยังมีรูปปั้นของบุคคลส˚าคัญที่เกี่ยวข้องกับการสร้างวัดซึ่งมีเรื่องเล่าและอภินิหารเป็นที่เชื่อถือของ คนจ˚านวนมากอีกด้วย วัดนาคคามมีความสัมพันธ์กับพระสงฆ์รูปส˚าคัญของภาคใต้หลายรูป ดังเช่น พ่อ ท่านคล้าย วัดสวนขัน หลวงปู่คลิ้ง วัดถลุงทอง เป็นต้น พระสงฆ์สองรูปนี้มีชื่อเสียงและเป็นที่ศรัทธาของ ผู้คนในวงกว้าง ท่านได้ให้ความส˚าคัญต่อวัดนาคคาม โดยท่านได้รับมาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในการ บูรณะวัดครั้งส˚าคัญ โดยเฉพาะในครั้งที่วัดได้บูรณะอุโบสถจากการสนับสนุนของคหบดีเหมืองแร่ในตระกูล อึ่งค่ายท่าย ในวาระที่วัดมีกิจกรรมทางประเพณีศาสนาพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้และไกลจะมาร่วมใน กิจกรรมของวัดนาคคามอย่างเนื่องแน่นทุกครั้ง วัดนาคคามจึงมีฐานะเป็นศูนย์กลางของชุมชนบ้านหน้า
กามในการจัดกิจกรรมต่างๆ มาตั้งแต่อดีต ดังเช่น วันสารทเดือนสิบ การสรงน้˚าพระและการรดน้˚าผู้ใหญ่ ในวันสงกรานต์ ประเพณีชักพระ การให้ทานไฟ เป็นต้น นอกจากนั้นสถานที่แห่งนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ ส˚าคัญทางด้านการศึกษาโดยเฉพาะต่อนักเรียนของโรงเรียนวัดเนกขัมมาราม ที่จะเข้า,kประกอบพิธีกรรม ทางศาสนาร่วมกับชาวบ้าน ปัจจุบันบทบาทของวัดได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเนื่องจากการเปลี่ยนแปลง ของสังคม ท˚าให้คนเข้าวัดเหลือแต่ผู้สูงเป็นหลัก ส่วนคนกลุ่มอื่นๆจะเข้ามาประกอบพิธีกรรมที่วัดเป็นครั้ง คราวตามงานประเพณีส˚าคัญที่ยังหลงเหลืออยู่ แต่วัดก็พยายามปรับตัวแสดงหน้าที่ใหม่ๆเพื่อให้วัดยังคงมี ความส˚าคัญอยู่โดยได้ปรับตัวไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางศาสนาที่เป็นทางการมากขึ้น เช่น การเป็นสนาม สอบสอบนักธรรมตรี นักธรรมโท และนักธรรมเอก ของพระและสามเณรจากวัดในอ˚าเภอร่อนพิบูลย์และใน อ˚าเภอใกล้เคียงซึ่งเข้ามาสอบเป็นจ˚านวนมากในแต่ละปี
โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดกะพังสุรินทร์)จ.ตรัง น˚าเสนอเรื่อง “วัดกะพังสุรินทร์ก่อนจะเป็นพระ อารามหลวง” ผู้ศึกษาได้เสนอให้เห็นว่าในอดีตวัดกะพังสุรินทร์(ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง) กับชุมชนมี ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันอย่างมาก เพราะวัดเป็นสถานที่ที่ชาวบ้านได้มาพบปะกัน มาเรียนรู้มาศึกษา ร่วมกัน วัดเป็นที่ปรึกษาปัญหาแก่ชาวบ้านทุกเรื่อง เป็นสถานที่สร้างความสามัคคี เป็นที่พึ่งในยามเจ็บป่วย ในด้านประเพณีต่างๆ วัดก็เป็นศูนย์กลางของชุมชนในการประกอบพิธีกรรมทั้งประเพณีเกี่ยวกับชีวิต และ ประเพณีทางศาสนา นอกจากนี้วัดยังเป็นสถานศึกษาของชุมชนทั้งทางโลกและทางธรรม พระท˚าหน้าที่ สอนหนังสือให้ลูกหลานของชาวบ้าน และยังเปิดสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลี เปิดสอน โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ซึ่งจะเห็นได้ว่ากิจกรรมและงานประเพณีต่างๆได้เชื่อมโยงให้ชุมชนกับวัดมี ความสัมพันธ์กันตลอดเวลา วัดกลายเป็นสถานที่ที่ได้รวมคนในชุมชนให้มาร่วมแรงร่วมใจท˚างาน ในขณะที่ วัดก็ช่วยดูแลชุมชนในด้านต่างๆเป็นอย่างดี วัดกะพังสุรินทร์จึงเป็นเป็นสถาบันทางสังคมที่แสดงตัวตนของ ชุมชนอย่างชัดเจน จนกระทั่งมาถึงยุคสมัยใหม่รัฐได้สร้างโรงเรียน โรงพยาบาล ประกอบกับทางวัดห้าม การละเล่นเพื่อความบันเทิงเพื่อป้องกันเหตุร้าย ท˚าให้ความส˚าคัญของวัดลดน้อยลง และงานประเพณี ต่างๆ ได้เสื่อมความนิยมไป การร่วมแรงร่วมใจเพื่อประกอบกิจกรรมส่วนรวมของคนชุมชนได้ลดหายไป ส่วนประเพณีบางอย่างที่ยังคงมีอยู่ก็เปลี่ยนรูปแบบและเนื้อหาสาระไป เช่น การทอดกฐินเปลี่ยนจากการ จัดในเวลากลางคืนมาเป็นการจัดงานในเวลากลางวัน กิจกรรมกรรมต่างๆ ที่คนเคยร่วมกันด˚าเนินการก็ เปลี่ยนมาเป็นการจ้างแทน แต่วัดกะพังสุรินทร์ยังคงด˚ารงอยู่ เพียงแต่กิจกรรมและประเพณีต่างๆได้ สะท้อนให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชนได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
โรงเรียนวัดเจดีย์งาม (เจริญศักดิ์ประชาสรรค์) น˚าเสนอเรื่อง "วัดพระเจดีย์งาม : ศูนย์กลาง ชุมชนจากอดีตถึงปัจจุบัน" วัดพระเจดีย์งามเป็นวัดที่เก่าแก่ เชื่อว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยศรีวิชัย วัดจึงเป็น ศูนย์กลางชุมชนมาตั้งแต่อดีต เช่น การเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านการค้าขาย และด้าน การจัดพิธีกรรมและงานประเพณี โดยเฉพาะด้านการศึกษานั้นได้ด˚าเนินการเรื่องนี้มาอย่างจริงจัง โดย ในช่วงที่ยังไม่เกิดโรงเรียนของรัฐวัดได้เปิดสอนหนังสือให้แก่ลูกหลานของชาวบ้านมาโดยตลอด แม้เมื่อเกิด โรงเรียนของรัฐแล้ว ทางราชการก็ไม่มีเงินสร้างอาคารเรียน ท่านเจ้าอาวาส พระในวัด และชาวบ้านก็ ร่วมกันสร้างอาคารเรียนให้ และช่วยอุปถัมภ์ค้˚าจุนโรงเรียนมาโดยตลอด กล่าวได้ว่าวัดพระเจดีย์งามเป็น ศูนย์กลางของชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง แต่ในยุคของการพัฒนาสมัยใหม่ความส˚าคัญของวัดค่อยๆลดลงเป็น ล˚าดับ ทีมยุววิจัยจึงพยายามน˚าเสนอให้เห็นถึงความส˚าคัญของวัด ซึ่งสามารถจะรื้อฟื้นให้เป็นพื้นที่ส˚าคัญ ของสังคมปัจจุบันได้
ที่กล่าวมานั้นเป็นการกล่าวถึงวัดในแง่ที่เป็นสถาบันทางสังคมที่ส˚าคัญของชาวพุทธ ซึ่งในท˚านอง เดียวกันคณะยุววิจัยที่เป็นชาวมุสลิมก็เสนอให้เห็นว่าในชุมชนมุสลิมก็มีสถาบันทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับ ศาสนาอิสลามที่ถือได้ว่าสามารถแสดงตัวตนของชุมชนได้เช่นกัน
โรงเรียนดารุลมาอาเรฟ จ.สตูล เสนอเรื่อง ย้อนรอยดารุลมาอาเรฟปอเนาะหลังแรกใน จังหวัดสตูล ผู้ศึกษาได้เสนอให้เห็นพัฒนาการของโรงเรียนสอนศาสนาแห่งแรกในจังหวัดสตูลจากอดีตถึง ปัจจุบัน โดยชี้ให้เห็นว่าจังหวัดสตูลเป็นจังหวัดหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และหลัก ศาสนาได้เป็นแนวทางส˚าคัญในการก˚ากับการใช้ชีวิตของชาวบ้าน แต่ว่าในอดีตที่สตูลกลับไม่มีโรงเรียน สอนศาสนา ผู้ปกครองต้องส่งลูกหลานไปเรียนยังจังหวัดอื่น กระทั่งปี พ.ศ. 2440 โต๊ะครูฮัจยีมูฮ˚ามัดซิกิร์ บิน อับดุลมานัน นาปาเลน ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามอย่างดีเยี่ยม ได้เดินทางมาจากประเทศ อินโดนีเซียมาพ˚านักอาศัยอยู่กับญาติในจังหวัดสตูล เมื่อชาวบ้านทราบข่าวจึงส่งบุตรหลานไปศึกษาหา ความรู้กับโต๊ะครูดังกล่าว นอกจากนี้ผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิงก็ไปร่วมศึกษาเรียนรู้กับโต๊ะครูด้วย โดย ชาวบ้านมีความอุ่นใจที่มีผู้รู้มาอยู่ใกล้ๆคอยให้ค˚าปรึกษาชี้แนะแนวทางการปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบ บทบัญญัติของศาสนา เมื่อโต๊ะครูท่านนี้มีลูกศิษย์จ˚านวนมากขึ้น และลูกศิษย์ของท่านก็เป็นผู้ที่มีความรู้ อีกทั้งสามารถถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นได้อีกด้วย ท่านได้รพัฒนาการเรียนการสอนในด้านต่างๆอย่าง ต่อเนื่องโดยได้รับความร่วมมือและความช่วยเหลือจากชาวบ้านเป็นอย่างดี โดยท่านใช้ชื่อสถานที่เรียนแห่ง นี้ว่า “โรงเรียนอูลูมิดดีนิลอิสลามียะฮ์” และต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “โรงเรียนดารุลมาอาเรฟ”
จึงนับได้ว่าท่านได้ก่อตั้งโรงเรียนสอนศาสนาแห่งแรกในจังหวัดสตูล และกล่าวได้ว่าจังหวัดสตูลได้เริ่มมี ปอเนาะหลังแรกที่นี่เช่นกัน (ปอเนาะคือที่พักของนักเรียน) เมื่อท่านได้เสียชีวิตทายาทของท่านได้รับช่วง เป็นโต๊ะครูต่อและพัฒนาโรงเรียนดารุลมาอาเรฟจนเป็นที่รู้จักของคนในจังหวัดสตูลและต่างจังหวัด ต่อมา โรงเรียนดารุลมาอาเรฟได้รับการสนับสนุนจากทางราชการด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอิสลาม ศึกษาจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน และได้จดทะเบียนเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามตาม พระราชบัญญัติการศึกษาเอกชน เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ ในหลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐานและหลักสูตรอิสลามศึกษา โดยนักเรียนที่ส˚าเร็จการศึกษาจากที่นี่ได้เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ในมหาวิทยาลัยต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นจ˚านวนมาก
โรงเรียนสันติศาสตร์จ.สตูล เสนอเรื่อง วิถีชีวิตของเด็กปอเนาะจากยุคโรงเรียนปอเนาะถึงยุค โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม : กรณีศึกษา โรงเรียนแสงประทีปวิทยา อ.เมือง จ.สตูล ซึ่ง เสนอให้เห็นถึงการตั้งปอเนาะของโต๊ะครู 3 คนในอดีต ซึ่งเป็นการด˚าเนินงานแบบเสียสละ เพื่อสอนศาสนา อิสลามให้แก่ผู้สนใจ โดยปอเนาะแห่งนี้เป็นปอเนาะรุ่นแรกๆใน จ.สตูล มีอายุต่อเนื่องถึงปัจจุบันและเปลี่ยน ชื่อมาเป็นโรงเรียนประทีปวิทยา บทความเน้นให้เห็นชีวิตของนักเรียนหรือเด็กปอเนาะตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ครั้งโรงเรียนยังเป็นปอเนาะแบบดังเดิมจนพัฒนามาสู่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา บทความพยายามชี ให้เห็นว่าปอเนาะแห่งนี้เป็นหลักของการเรียนศาสนาอิสลามของคนในท้องถิ่น เป็นความเหนื่อยาก ความ เสียสละ และความภาคภูมิในร่วมกันระหว่างโรงเรียน นักเรียน และชุมชน
โรงเรียบ้านเกตรี จ.สตูล เสนอเรื่อง พัฒนาการประเพณีคอตัมอัล-กุรอานของชุมชนเกตรี พื้นที่ศึกษาของเรื่องนี้คือชุมชนเกตรี ต.เกตรี อ.เมือง จ.สตูล โดยงานศึกษานี้อธิบายให้เห็นว่าคอตัมอัล-กุ รอานของชุมชนเกตรี คือพิธีฉลองการจบอัล-กุรอานเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้ที่ได้รับการเข้าพิธีนี้ถือว่าเป็นผู้ที่ จบการศึกษากฎระเบียบของศาสนาอิสลาม และเป็นผู้เรียนรู้ โดยการท˚าพิธีฉลองการจบ ในพิธีดังกล่าวจะ มีการเชิญผู้น˚าและผู้รู้ศาสนามาหลายคนเพื่อมาประกอบพิธี คล้ายๆมาทดสอบหรือรับรองการจบอัล -กุ รอานของผู้เรียน ในพิธีดังกล่าวผู้เรียนจะต้องท่องอัล-กูรอานให้ผู้รู้ฟังตามแบบแผนที่ปฏิบัติต่อๆกันมา นอกจากนี้จะมีการเลี้ยงฉลองกันในหมู่บ้านด้วย ซึ่งตามปกติผู้ที่จบอัล-กูรอ่านในชุมชนจะรอพร้อมกัน หลายๆคนจึงจะจัดพิธีคอ-ตัมอัลกูรอานครั้งหนึ่ง ซึ่งประเพณีนี้เป็นประเพณีเฉพาะถิ่นที่ปฏิบัติสืบทอดกัน มานานแล้ว ปัจจุบันพิธีคอตัมอัล – กุรอาน ของชุมชนเกตรีมีการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จากในอดีตที่มีผู้คนในหมู่บ้านได้ท˚าการเล่าเรียนเกือบทุกคนในหมู่บ้านเกตรี ทั้งอายุน้อยอายุมาก ทุกเพศ
ทุกวัย แต่ปัจจุบันเปลี่ยนไป ผู้คนจะส่งลูกส่งหลานไปเรียนไกลๆ โอกาสที่ได้เรียนอัล – กุรอานจึงอยู่ในวัย เด็ก และไม่ครอบคลุมทุกครัวเรือนเหมือนในอดีต แต่ก็ยังมีพิธีฉลองการจบ อัล – กุรอานอยู่ แต่มีการ พัฒนาการจากประเพณีดั้งเดิม มาเป็นประเพณีที่เข้ากับยุคปัจจุบัน
มีงานยุววิจัยประวัติศาสตร์อีกจ˚านวนหนึ่งที่น˚าเสนอจุดเด่นของชุมชนในมุมของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ นอกวัดหรือไม่เกี่ยวกับวัด แต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวมีความส˚าคัญต่อชุมขนอย่ามาก ไม่ว่าจะพิจารณาจาก การเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน การมีบทบาทในการก˚ากับระเบียบแบบแผนของชุมชน การเป็นที่พึ่ง ของคนในชุมชนในด้านต่างๆ คนในชุมชนจึงมีพิธีกรรมต่างๆที่แสดงถึงการเคารพศรัทธาและการเป็นพื้นที่ที่ ช่วยสร้างความทรงจ˚าร่วมกันของผู้คน
โรงเรียนสามบ่อวิทยา จ.สงขลา น˚าเสนอเรื่อง พ่อเฒ่าวัดนกกับวิถีชีวิตของชุมชนวัดสน อ˚าเภอระโนด จังหวัดสงขลา เรื่องนี้เกิดขึ้นที่หมู่ที่ 3 ต.วัดสน อ.ระโนด จ.สงขลา ณ บริเวณป่ายางริมทุ่ง นาจะมีสิ่งก่อสร้างที่สร้างง่ายๆเรียกว่า “โรง” ในโรงมีรูปปั้นหลายรูปขนาดต่างๆกัน รูปที่ใหญ่ที่สุดและถือ ว่าเป็นประธานของรูปปั้นทั้งหมดชาวบ้านเรียกว่า “พ่อเฒ่าวัดนก” โดยพ่อเฒ่าวัดนกเป็นใครมาจากไหนไม่ มีใครรู้จัก มีแต่ผู้บอกว่าเมื่อเกิดมาก็เห็นโรงพ่อเฒ่าวัดนกและพ่อเฒ่าวัดนกอยู่แล้ว โดยโรงพ่อเฒ่าวัดนก ดังกล่าวได้รับการซ่อมแซมปรับปรุงจากชาวบ้านมาเป็นระยะ พร้อมกับเรื่องราวต่างๆของพ่อเฒ่าวัดนกก็ ได้รับการสืบทอดและเสริมแต่งต่อเนื่องมา จนกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่กับชุมชนตลอดมา เรื่องที่เล่า ต่อๆกันมาระบุว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวบ้านนก ชุมชนวัดสน (บ้านนกเป็นกลุ่มบ้านหนึ่งของชุมชนวัดสน)ที่ มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 700 ปีที่แล้ว เนื่องจากเป็นคนดี ได้รับการเคารพนับถืออย่างมาก เมื่อเสียชีวิตจึงมี ผู้สร้างรูปปั้นไว้แสดงความเคารพ รูปปั้นดังกล่าวนี้จึงอยู่ในที่ดังกล่าวสืบเนื่องต่อมาหลายชั่วอายุคน ชาวบ้านเชื่อในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของพอเฒ่าวัดนกมาตลอด และเป็นที่พึ่งทางจิตใจของชาวบ้านมาโดย ตลอดเช่นกัน ทั้งในแง่ลงโทษผู้ประพฤติชั่ว ให้โชคแก่ผู้ประพฤติดี มีเรื่องเล่าของขาวบ้านมากมายที่แสดง ให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพ่อเฒ่าวัดนก ในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่สองที่รายงานวิจัยน˚าเสนอ ความเชื่อนี้ น่าจะลดน้อยลง เพราะสังคมเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมสมัยใหม่มากแล้ว แต่การกลับมิได้เป็นเช่นนั้น เพราะ ความเชื่อนี้ยิ่งขยายตัวไปสู่ผู้คนวงกว้าง ดังที่มีผู้อาวุโสในชุมชนยืนยันว่า “ความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของ พ่อเฒ่าวัดนกนั้นได้เปลี่ยนจากความเชื่อที่เกี่ยวกับพ่อเฒ่าวัดนกซึ่งจ˚ากัดอยู่เพียงลูกหลานบ้านนก วัดสน ได้ขยายเป็นวงกว้างสู่สังคมภายนอก” แต่ว่าสาระของความเชื่อก็เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน โดยเปลี่ยนไปสู่การ หวังผลประโยชน์เชิงปัจเจก มากขึ้น เช่นการขอโชคลาภ การขอให้ได้งานท˚า การเปลี่ยนไปสู่แนวโน้มของ
ความเชื่อเช่นนี้ท˚าให้ความเชื่อไม่จ˚าเป็นต้องเป็นสมบัติของคนในกลุ่มแคบๆที่ความเชื่อนั้นถือก˚าเนิดขึ้นมา แต่สามารถขยายพื้นที่ไปได้กว้างตราบใดยังสามารถท˚าให้ปัจเจกบุคคลเชื่อว่าความศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวจะ ดลบันดาลให้เขาได้ประโยชน์ แต่ว่าชุมชนก็ได้ประโยชน์ในมุมใหม่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ชุมชนเป็นที่รู้จักมากขึ้น ชาวบ้านประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากผู้ที่แวะเวียนเข้ามากราบไหว้และขอพรจากพ่อเฒ่าวัดนก
โรงเรียนห้วยนางราษฎร์บ˚ารุง จ.ตรัง เสนอเรื่อง การเปลี่ยนแปลงของความเชื่อเรื่อง "การตั ง ตายาย" กับวิถีชีวิตชาวห้วยนาง เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของชาวบ้านในต˚าบลห้วยนาง อ˚าเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง โดยชาวบ้านมีความเชื่อเรื่องบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วหรือผีบรรพบุรุษซึ่งเรียกกันว่า“ตายาย” โดยทั่วไปในแต่ละบ้านจะมีการตั้งหิ้งบูชาจัดเครื่องสังเวยให้กับผีตายายซึ่งเรียกว่า “การตั้งตายาย” เมื่อ ลูกหลานเดือดร้อนจะมีการบนบานให้ผีตายายช่วยเหลือ เมื่อมีสมาชิกเกิดใหม่ หรือเมื่อได้ลาภผลตาม ปรารถนาจะมีการบูชาซึ่งเป็นการแสดงความกตัญญู และเชื่อกันว่า “ การตั้งตายาย ” ถือเป็นการใช้บารมี ของผู้ที่เราเคารพนับถือที่ได้ล่วงลับไปแล้วมาช่วยลดความขัดแย้งและความมีอคติของลูกหลานได้ เพราะ การที่ลูกหลานได้ตระหนักว่ามีบรรพบุรุษร่วมกัน ไหว้บรรพบุรุษเดียวกัน ท˚าให้มีความรู้สึกเป็นพวก เดียวกัน เมื่อถึงวันที่มี “ การตั้งตายาย ” ลูกหลานจะมาอยู่รวมกันเพื่อร่วมประกอบพิธีกรรมนี้ ความเชื่อ เรื่องตายายและการตั้งตายายนี้ได้อยู่คู่ต˚าบลห้วยนางมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและจะยังคงสืบทอดต่อๆ กันไปเรื่อยๆ เพียงแต่ว่าในปัจจุบันความเชื่อเรื่องนี้ได้ลดน้อยลง เนื่องจากมีการจัดตั้งโรงเรียนเพื่อให้คน ในชุมชนห้วยนางได้รับการศึกษา และหลังจากนั้นก็มีเทคโนโลยีต่างๆที่ตามเข้ามา โดยเฉพาะเทคโนโลยี ทางการแพทย์ รวมถึงปัจจัยต่างๆอีกมากมาย ท˚าให้คนส่วนหนึ่งละจากความเชื่อที่อิงอยู่กับอ˚านาจลึกลับ กลุ่มคนที่ยังมีความเชื่ออยู่ก็จะเป็นกลุ่มคนที่มีอายุค่อนข้างมากและมีความศรัทธามาแต่เดิม ในขณะที่ ลูกหลานรุ่นใหม่ๆจะไม่ค่อยสนหรือสนใจลดน้อยลง
โรงเรียนตรังวิทยา จ.ตรัง น˚าเสนอเรื่อง ทวดควนหานกับความศรัทธาของชุมชนที่ เปลี่ยนแปลงไป พื้นที่ของเรื่องนี้คือชุมชนสวนจันทร์ซึ่งเป็นชุมชนในเขตเมือง คือตั้งอยู่ในเขตเทศบาล นครตรัง ชุมชนนี้ไม่มีวัด ไม่มีโรงเรียน ไม่มีอะไรที่น่ารู้จัก นอกจากศาลทวดควนหานและพิธีกรรมที่มีในศาล นี้ซึ่งมีบ่อยๆและต่อเนื่อง คนในชุมชนส่วนใหญ่ยึดเอาศาลทวนควนหานเป็นสถานที่ยึดมั่นรวมจิตใจ ศาล ทวดควนหานเพิ่งเกิดเมื่อปี 2532 เมื่อหญิงคนหนึ่งชื่อป้าจิตรเจ็บป่วยมาตลอด จนวันหนึ่งหมดสติไป เหมือนคนสิ้นชีวิต เมื่อฟื้นขึ้นมาจ˚าได้ว่ามีวิญญาณศักดิ์สิทธิ์เรียกว่าทวดควนหานบอกว่ามาหาและบอกป้า จิตรเสียชีวิตแล้ว แต่ท่านจะช่วยให้ฟื้นขึ้นมาแต่ต้องสร้างศาลให้ท่านอยู่และรับเป็นร่างทรงของท่าน และ
บอกว่าท่านเก่งในทางรักษาโรค ป้าจิตรจึงสร้างศาลให้และรับเป็นนคนทรง แต่ในระยะแรกเมื่อบอกว่ามี ทวดควนหานรักษาโรคได้ก็ไม่มีใครเชื่อ มิหน˚าซ้˚ายังด่าว่าเป็นพวกลวงโลก กระทั่งมีผู้ยากไร้มาให้รักษาโรค และปรากฏว่าหาย เมื่อเกิดขึ้นหลายรายต่อเนื่องกัน ชื่อเสียงก็เป็นที่โจษจัน และได้รับการยอมรับมากขึ้น เรื่อยๆ ที่กล่าวมานั้นถือว่าเป็นยุคแรกซึ่งมีทวดควนหานสิงสถิตอยู่องค์เดียวและศาลเจ้ายังเป็นศาลเจ้า เล็กๆ ส่วนยุคที่สองเริ่มต้นเมื่อป้าจิตรบอกกับชาวบ้านที่ศรัทธาว่าเมื่อมีประชาชนมาบูชาศาลทวดควนหาน อย่างมาก ท˚าให้มีวิญญาณศักดิ์สิทธิ์อีกหลายองค์ขอมาสิงสถิตอยู่ด้วย ซึ่งมีทั้งวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ทางสาย จีน เช่น เทพสามตา เจ้าแม่กวนอิม ทางสายพุทธ เช่น ครูหมอโนรา ตาพราน และทางสายเทพ เช่น พระ นารายณ์ พระพรหม พระศิวะ เป็นต้น เมื่อเป็นนี้ศาลเจ้าขนาดเท่าเดิมจึงไม่พอป้าจิตรและผู้ศรัทธาจึง ช่วยกันสร้างศาลใหม่ให้มีขนาดใหญ่โตขึ้น ต่อจากนี้ศาลทวดควนหานจึงคึกคักกว่าเดิมหลายเท่า เพราะมี คนทรงหลายท่าน ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ มีวิญญาณเข้าทรงหลายองค์ กลุ่มผู้ศรัทธาก็มีหลากหลายกลุ่ม การท˚าพิธีก็มีทั้งแบบพราหมณ์ แบบพุทธ และแบบจีน โดยเฉพาะในวันจัดงานถือศีลและท˚าบุญประจ˚าปีจะ เห็นความหลากหลายนี้อย่างชัดเจน ศาลทวดควนหายจึงมีอิทธิพลต่อประชาชนในวงกว้าง ส˚าหรับชาวบ้าน ในชุมชนแสงจันทร์กล่าวได้ว่าเคารพนับถือศาลทวดหาญมาก ดังเสียงสะท้อนของผุ้สูงอายุท่านหนึ่งว่า “ดี มาก เพราะเป็นสถานที่ช่วยคนไข้ บางทีนักเรียนจากวิทยาลัยเทคนิคตรังมีอาการที่เชื่อว่าถูกของก็จะมี การประทับร่างทรงเพื่อมาช่วย แถมหากไม่มีเงินก็มารักษาได้อีกด้วยนะ แล้วเวลามีงานยายเป็นแม่ครัว ใหญ่อยู่ที่งานทุกปีเลย ถึงแม้ยายไม่เคยไปรักษาตัวที่นั่นเลยเพราะยายยังแข็งแรงดีอยู่ แต่ว่าลูกชายยาย มันเคยไปรักษาแล้วนะ ผลปรากฏว่าก็หายดีเลยแหละ คนที่นี่ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์นับถือศาลทวดแห่ง นี้”
โรงเรียนห้วยนางราษฎร์บ˚ารุง จ.ตรัง น˚าเสนอเรื่อง ความเชื่อเรื่องการทรงเจ้ากับวิถีชีวิต ชาวบ้านหนองช้างแล่น เรื่องนี้เกิดขึ้นในพื้นที่ต˚าบลหนองช้างแล่น อ.ห้วยยอด จ.ตรัง โดยในหมู่บ้านนี้ นอกจะมีคนในท้องถิ่นตั้งถิ่นฐานมาแต่เดิมแล้วยังมีชาวต่างชาติอพยพเข้ามาอยู่ด้วย คนต่างชาติกลุ่มใหญ่ ก็คือชาวจีน โดยชาวจีนกลุ่มแรกเข้ามาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งต่อมาแม้ชาวจีนจะแต่งงานกับคนใน ท้องถิ่นและนับถือศาสนาพุทธอย่างคนในท้องถิ่น แต่ว่าชาวจีนก็ยังรักษาประเพณีของชาวจีนบางอย่างไว้ ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือประเพณีการทรงเจ้า ผู้ศึกษาได้แบ่งการอธิบายประเพณีการทรงเจ้าของชาวบ้านหนอง ช้างแล่นเป็น 2 ยุค คือยุคแรก เป็นยุคที่ประเพณีนี้ยังจัดเล็กๆในหมู่คนจีน คนกลุ่มอื่นๆยังมองว่าเป็น ประเพณีที่ลึกลับน่ากลัว และเข้าใจว่าการทรงเจ้าคือการถูกผีเข้า ส่วนยุคที่สองเป็นยุคที่ลูกหลานคนจีนมี จ˚านวนมากขึ้นและงานทรงเจ้าได้ถูกจัดอย่างยิ่งใหญ่มากขึ้น ในขณะที่คนในท้องถิ่นก็รู้จักประเพณีทรงเจ้า
มากขึ้น อันเนื่องมาจากมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้เป็นที่รับรู้ทั่วไป และจากการที่การทรงเจ้ามีโอกาส ช่วยเหลือคนในท้องถิ่นมากขึ้นทั้งด้านการรักษาโรคและการท˚านายโชคชะตา อีกทั้งในงานจะมีมีอาหารเจ เลี้ยงดูผู้คนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง ประเพณีการทรงเจ้าในยุคนี้จัดอย่างใหญ่โตมากตลอด 9 วัน 9 คืน โดยใน ปัจจุบันไม่เพียงมีเฉพาะคนจีหรือทายาทคนจีนเท่านั้นที่เข้าร่วมพิธี แต่คนไทยท้องถิ่นก็เข้าร่วมพิธีได้ ความ ยิ่งใหญ่ของประเพณีในปัจจุบันเป็นไปตามที่ผู้ศึกษาอธิบายไว้ว่า
ชาวไทยเชื้อสายจีนและผู้เลื่อมใสในพิธีนี้จะพากันนุ่งขาวห่มขาว ละเว้นการเบียดเบียนสัตว์ด้วย การงดรับประทานเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่ท˚าจากสัตว์ หันมารับประทานอาหารมังสวิรัติโดยมีผักเป็น หลักหรือที่เรียกว่าอาหารเจ การรับประทานอาหารเจส˚าหรับผู้ศรัทธามีความเชื่อว่าจะได้ผลบุญคือเกิด ความบริสุทธิ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ การรับประทานผักท˚าให้ร่างกายบริสุทธิ์สะอาด การงดฆ่าสัตว์ จะท˚าให้จิตใจบริสุทธิ์ คุณค่าของการถือศีลกินเจถือเป็นการช่วยสะเดาะเคราะห์ปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ แสดงออกถึงการเคารพบรรพบุรุษ ผู้ที่นับถือจะตั้งโต๊ะพร้อมกับเครื่องเซ่นไหว้บูชา เทพเจ้าจะแสดง อิทธิฤทธิ์ให้เห็นอย่างน่าหวาดเสียว โดยผ่านร่างทรงจากการทรงเจ้าเพื่อแสดงความน่าเชื่อถือและท˚าให้ดู ยิ่งใหญ่เหนือมนุษย์ มีการแสดงอิทธิฤทธิ์ เช่น อมควันธูป เดินลุยไฟ เดินบนเศษแก้ว เล่นฟุตบอล ไฟ เป็นต้น และมีการเสกของ จัดสร้างวัตถุมงคล ท˚านายทายทัก รักษาโรคภัยไข้เจ็บ ท˚าไสยศาสตร์ เล่น ของด˚า นอกจากเรื่องเข้าทรงยังมีปาฏิหาริย์ การเห็นภาพนิมิต พูดภาษาแปลกๆ ซึ่งเราจะพบเห็นได้ บ่อยครั้ง พิธีกรรมเหล่านนี้เด่นชัดที่สุดในช่วงของการถือศีลกินผักหรือการกินเจนั่นเอง
โรงเรียนบ้านขนุน จ.สงขลา น˚าเสนอเรื่อง ย้อนรอยการนั่งปริวาสกรรมที่ป่าช้าเกาะฝ้าย การ นั่งปริวาสกรรมเป็นพิธีกรรมของพระภิกษุที่ต้องการออกจากอาบัติสังฆาทิเสส ซึ่งเป็นอาบัติที่ร้า ยแรง พระภิกษุที่ที่กระท˚าผิดในขั้นอาบัติสังฆาทิเสสก็จะหาโอกาสเข้าร่วมพิธีกรรมนี้เพื่อให้ตัวเองพ้นจากอาบัติ ดังกล่าว คณะยุววิจัยเสนอเรื่องการจัดการนั่งปริวาสกรรมที่ป่าช้าเกาะฝ้าย (หมู่ที่ 6 ต.วัดขนุน อ.สิงหนคร จ.สงขลา) ซึ่งจัดต่อเนื่องมาเกือบ 50 ปีแล้ว จากการริเริ่มของชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง โดยป่าช้าดังกล่าวเป็นป่า ช้าชุมชนที่ใช้เผาศพคนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงมาแต่อดีต ปรากฏว่าการนั่งปริวาสกรรมดังกล่าวนี้เป็น ที่รู้จักมากขึ้นและมีพระภิกษุเข้ามาร่วมปริวาสกรรมจ˚านวนมาก ปีที่มากที่สุดมีถึง 70 รูป แม้จะจัดขึ้นใน พื้นที่เล็กๆ โดยชาวบ้านให้ความร่วมมืออย่างดีมาก ทั้งในแง่การจัดเตรียมพื้นที่และการถวายอาหารแด่ พระภิกษุ ผู้ศึกษาได้สรุปให้เห็นว่าพิธีกรรมนั่งปริวาสกรรมมีประโยชน์ต่อชุมหลายด้าน เช่น ท˚าให้ครอบครัว มีความรัก ความอบอุ่น มากขึ้น เพราะพ่อแม่ลูกมีโอกาสได้ท˚าบุญร่วมกันถึง 15 วันต่อเนื่องกัน ลูกหลานที่ อยู่ไกลๆเมื่อถึงวันออกปริวาสกรรมก็จะมาร่วมท˚าบุญหรือทอดผ้าป่า ประชาชนมีความรัก ความสามัคคี มี
ความเห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น เพราะได้ร่วมท˚างานร่วมเสียสละตั้งแต่ก่อนพระภิกษุนั่งปริวาสกรรม 15 วัน และขณะพระภิกษุนั่งปริวาสกรรมอีก 15 วัน ชาวบ้านได้ฟังเทศน์ฟังธรรมต่อเนื่องกันหลายวัน เป็นต้น
โรงเรียนวัดหนองหอย จ.สงขลา น˚าเสนอเรื่อง โนราโรงครูกับความสัมพันธ์ของผู้คนในชุมชน วัดขนุน เรื่องนี้ทีมยุววิจัยต้องการชีให้เห็นพัฒนาการของพิธีกรรมโนราโรงครูที่ ต.วัดขนุน อ.สิงหนคร จ.สงขลา โนราโรงครูเป็นพิธีกรรมที่มีปรากฏทั่วไปในภาคใต้ เป็นพิธีกรรมของครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลที่มี ครูหมอโนรา โดยจะท˚าพิธีอัญเชิญวิญญาณของครูหมอประจ˚าวงศ์ตระกูลให้ลงทรงในร่างของคนใน ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูล ด้วยจุดมุ่งหมายหลายประการ ส˚าหรับในชุมชนวัดขนุนได้แก่การรักษาโรคภัยไข้ เจ็บให้แก่คนในครอบครัวหรือวงศ์ตระกูล การท˚านายอนาคต การปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย การกราบไหว้เพื่อเป็นสิริ มงคล นอกจากนี้พิธีกรรมดังกล่าวยังหน้าที่ทางสังคมที่ส˚าคัญได้แก่การช่วยให้เกิดความแน่นแฟ้นของกลุ่ม เครือญาติ กระทั่งยุคปัจจุบันความเชื่อและการประกอบพิธีกรรมในเรื่องนี้ได้เสื่อมคลายไปพอสมควร เนื่องจากเกิดการแยกย้ายไปท˚างานหรือไปแต่งงานมีครอบครัวในที่ห่างไกลของคนรุ่นหลัง อิทธิพล ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และคนรุ่นหลังไม่ได้รับการปลูกฝั่งอย่างจริงจัง
โรงเรียนนาโยงวิทยา จ.ตรัง เสนอเรื่อง ความเชื่อเรื่องตาพรานร่างทรงกับวิถีชีวิตชาวบ้านไส ขัน ผู้ศึกษาเสนอให้เห็นว่าชาวบ้านไสขัน(หมู่ที่ 6 ต.โคกสะบ้า อ.นาโยง จ.ตรัง) ครัวเรือนส่วนใหญ่ใน ชุมชนนี้มีเชื้อสายโนรา และครัวเรือนเหล่านี้จะตั้งหิ้งครูหมอไว้ที่บ้าน ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่า ”จะท˚าให้เกิดสิ่งที่ดี กับครอบครัว และเชื่อว่าสิ่งดีที่เกิดขึ้นกับครอบครัวได้สมาชิกในครอบครัวก็ต้องเป็นคนดี เพราะสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์จะคอยช่วยเหลือคนที่ท˚าดี ดังนั้นความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับครูหมอโนราจึงช่วยให้ผู้ที่ยึดถือ เป็นคนที่ปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีและถูกต้อง” นอกจากนี้ยังเห็นได้ว่าชาวบ้านซึ่งตามปกติจะผูกพันเป็นเครือญาติ กันโดยสายเลือดกันแล้ว การมีครูหมอโนราเดียวกันก็ก่อรูปความเป็นเครือญาติกันอีกลักษณะหนึ่งขึ้นมา ท˚าให้ชุมชนมีความแน่นแฟ้นมาก การนับถือครูหมอโนราที่บ้านไสขันด˚าเนินต่อเนื่องมายาวนาน กระทั่งเมื่อ อิทธิพลการพัฒนาแบบใหม่ผนวกหมู่บ้านเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมที่ใหญ่กว่ามากขึ้น ในขณะที่ ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังยากจน การเข้าถึงการพัฒนาสมัยใหม่ท˚าได้ยาก ชุมชนจึงปรับตัวเผชิญหน้ากับการ พัฒนาสมัยใหม่โดยการใช้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ต่อเนื่องมาแต่เดิม แต่พัฒนาให้สามารถตอบสนองต่อความ ต้องการของยุคสมัยได้ จึงเกิดความเชื่อลักษณะใหม่คือความเชื่อเรื่องร่างทรงและวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ โดยในระยะยะแรกวิญญาณศักดิ์สิทธิที่เข้าทรงจะเป็นวิญาณของบุคคลที่ควรเคารพทั่วไป แต่ต่อมาได้ พัฒนาเป็นวิญญาณของตาพราน ซึ่งสามารถเชื่อมโยงเข้ากับเรื่องโนราที่มีตาพรานเป็นตัวละครส˚าคัญอยู่
ด้วย จุดส˚าคัญของการเกิดความเชื่อในลักษณะร่างทรงที่เข้ามามีความส˚าคัญแทนครูหมอที่มีมาแต่เดิมก็ คือ สามารถตอบสนองความต้องการส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นมากับการพัฒนาสมัยใหม่ แต่ชาวบ้านไม่สามารถ เข้าถึงได้เนื่องจากขาดแคลนทุนทรัพย์ วิญญาณศักดิ์โดยผ่านร่างทรงจะสามารถช่วยตอบสนองได้ เช่น ขอ โชคลาภ ขอให้ได้งาน ขอให้สอบเรียนต่อได้ ขอให้ท˚ามาหากินคล่อง ขอให้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ(ไม่มี ค่าใช้จ่ายส˚าหรับเข้าโรงพยาบาล) เป็นต้น
นอกจานี้ในบางชุมชนจะมีงานประเพณีที่จัดเป็นประจ˚าทุกปี และเป็นงานประเพณีที่ทุกคนใน ชุมชนรวมทั้งในชุมชนใกล้เคียง หรือชุมชนที่พอมาถึงได้จะร่วมงาน ท˚าให้งานประเพณีดังกล่าวเป็นไม่เพียง เป็นศูนย์กลางความสัมพันธ์ของคนในชุมชนเท่านั้นแต่ยังน˚าให้คนในหลายชุมชนมาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ผ่านงานประเพณีดังกล่าวด้วย งานประเพณีจึงเป็นสิ่งที่ส˚าคัญของชุมชนท้องถิ่น และเป็นสิ่งที่ช่วยแสดง ตัวตนให้แก่ชุมชนท้องถิ่นดังกล่าว
โรงเรียนวัดโทเอก จ.นครศรีธรรมราช น˚าเสนอเรื่อง “เดือนสามหลามเหนียว : ประเพณสัมพันธ์
ที่บ้านน ˚าแคบ เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับประเพณีของท้องถิ่นที่เปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขของยุคสมัย งาน ศึกษานี้ได้แบ่งช่วงเวลาการศึกษาออกเป็น 2 ยุค คือยุคอดีต (ก่อน พ.ศ. 2520) และยุคปัจจุบัน (หลัง พ.ศ.2520 ถึงปัจจุบัน) ในยุคแรกเริ่มต้นจากการชี้ให้เห็นความเชื่อความศรัทธาที่คนในท้องถิ่นมีต่อศาสน บุคคล คือพระรัตนธัชมนี(ม่วง) เจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์ ซึ่งท่านมีบทบาทส˚าคัญในการวางรากฐานการศึกษา ให้แก่หัวเมืองภาคใต้และการพัฒนาชุมชนในบริเวณแถบนี้ โดยครั้งหนึ่งท่านได้น˚าแรงงานชาวบ้านขุด คลองที่คดเคี้ยวให้ตรงเพื่อสะดวกต่อการสัญจรไปมา เมื่อเสร็จสิ้นลงท่านก็ได้ด˚าริ ที่จะจัดงานฉลอง ความส˚าเร็จของภารกิจดังกล่าว โดยได้จัดงาน "เดือนสามหลามเหนียว" ขึ้นในวันแรม 8 ค่˚า เดือน 3 ที่ "วัด สวนป่า" ซึ่งเดิมเคยเป็นสวนป่าที่ท่านได้มาพักค้างแรมในช่วงน˚าคนพัฒนาขุดลอกคลองดังกล่าว งาน ฉลองดังกล่าวได้กลายเป็นประเพณีที่ชาวบ้านในท้องถิ่นจัดต่อเนื่องกันมาทุกปี และถือได้ว่าเป็นสายใยถัก ร้อยความสัมพันธ์ของกลุ่มคน และกลุ่มวัดที่มีความศรัทธาตัวท่านและพุทธศาสนาร่วมกัน ประเพณีนี้ได้ ดึงเอากลุ่มคนและกลุ่มวัดจากในเมือง จากชุมชนชาวนา และจากชุมชนเชิงเขา มาสัมพันธ์กันบนพื้นที่งาน บุญและการเอื้อปันสิ่งของอุปโภคบริโภคซึ่งกันและกัน โดยมีข้าวหลามจากบ้านน้˚าแคบเป็นหัวใจหลักที่จะ ถูกแจกจ่ายแบ่งปันให้แก่กลุ่มคนและกลุ่มวัดต่างถิ่นที่ได้มาร่วมงานบุญ แม้ต่อมาพระรัตนธัชมนีได้ มรณภาพลงประเพณีดังกล่าวก็ยังสืบเนื่องอย่างคึกคักและยิ่งใหญ่ต่อมาอีกหลายสิบปี ครั้นการพัฒนา ถนนแทนการสัญจรผ่านสายน้˚ามาถึงชุมชนบ้านน้˚าแคบในทศวรรษที่ 2520 ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก็ได้
ส่งผลกระทบต่อประเพณีนี้ และส่งผลให้ความสัมพันธ์ผ่านประเพณีดังกล่าวราโรยและอ่อนแรงลง ตามล˚าดับ
โรงเรียนจุ๋งฮัวโซะเซียว จ.ตรัง น˚าเสนอเรื่อง “ย้อนรอยประเพณีชักพระกับวิถีชีวิตชาวย่านซื่อ”
ผู้ศึกษาอธิบายให้เห็นว่าประเพณีชักพระของชาวย่านซื่อในยุคก่อนจะชักพระทางน้˚า เนื่องด้วยสภาพทาง ภูมิศาสตร์ของต˚าบลย่านซื่อเป็นที่ราบลุ่มแม่น้˚า อีกทั้งยังไม่มีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้˚า โดยเรียกชื่อเรือ พระทางน้˚านั้นว่า “เรือพระน้˚า” ซึ่งถือเป็นประเพณีที่สืบทอดเจตนาความเชื่อในทางพระพุทธศาสนา คนใน ยุคก่อนเชื่อว่าอานิสงส์ในการลากพระจะท˚าให้ฝนตกตามฤดูกาล เกิดคติความเชื่อว่า "เมื่อพระหลบหลัง ฝนจะตกหนัก" การลากพระจึงสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมเกษตร อีกทั้งยังเชื่อว่าใครได้ ลากพระทุกปีจะได้บุญมาก และส่งผลให้ประสบความส˚าเร็จในชีวิต ดังนั้นเมื่อลากพระผ่านหน้าบ้านของ ใคร คนที่อยู่ในบ้านจะออกมาช่วยลากพระด้วย และคนบ้านอื่นจะมารับทอดลากพระต่ออย่างไม่ขาดสาย ยุคนี้ถือว่าประเพณีชักพระสัมพันธ์กับชีวิตจริงและชาวบ้านท˚าด้วยความศรัทธา ดังนั้นชาวบ้านจึงไม่ต้อง เตรียมตัวอะไรมาก กล่าวคือเมื่อถึงช่วงเทศกาลชักพระผู้คนในชุมชน ชุมชนใกล้เคียง และทางวัด จะ ร่วมกันจัดจัดท˚าเรือพระขึ้น ซึ่งเป็นการจัดท˚าแบบง่ายๆ เมื่อถึงวันชักพระก็ร่วมงานกันอย่างสนุกสนาน ต่อมาชุมชนพัฒนาเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่มากขึ้น จึงมีการก่อสร้างสะพานและมีการตัดถนน ท˚าให้การชัก พระทางน้˚าเสื่อมความนิยมลง และมีการชักพระทางบกแทน โดยเรียกเรือพระทางบกนี้ว่า “เรือพระบก” ยุค นี้ถือว่าเป็นยุคที่สอง ซึ่งการชักพระหมดความสัมพันธ์กับชีวิตไปมาก แต่ชาวบ้านได้จัดแต่งเรือลากพระ (ใช้ รถตกแต่งเป็นเรือพระ)เพื่อไปประกวดในงานที่ทางราชการจัดขึ้น ไม่ได้สัมพันธ์กับชีวิตการท˚าเก ษตร แบบเดิม สิ่งที่มุ่งหวังคือการชนะรางวัล เพราะ “รางวัลในการประกวดเรือพระจะเป็นเงินสด ซึ่งวัดใดที่ได้รับ รางวัลก็จะเป็นที่ร่˚าลือกันในจังหวัดตรัง และจังหวัดใกล้เคียง”
โรงเรียนบ้านเกาะมุกด์ จ.สุราษฎร์ธานี น˚าเสนอเรื่อง ประเพณีเข้าเทียนแต่งงานที่บ้านเกาะ มุกด์ เรื่องนี้เกิดที่บ้านเกาะมุกด์ (หมู่ที่ 6 ต.ประสงค์ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี) ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีชาวไทย มุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่ เรื่องราวที่ทีมยุววิจัยต้องการเสนอคือ “ประเพณีเข้าเทียนแต่งงาน” ซึ่งเป็น ประเพณีที่มีเฉพาะบ้านเกาะมุกด์ ประเพณีดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีแต่งงาน โดยจัดขึ้นในตอน กลางคืนวันที่สองของงาน ประเพณีส่วนนี้จัดขึ้นเพื่อผู้ใหญ่ของชุมชน เช่น โต๊ะครู โต๊ะอิหม่าม ญาติผู้ใหญ่ ได้มาร่วมให้พรแก่บ่าวสาว ในขณะเดียวกันก็มีวงดิเกร์มาแสดงเป็นส่วนส˚าคัญของพิธีด้วย วงดิเกร์เป็นการ ขับร้องที่ไพเราะสนุกสนานเข้ากับจังหวะการตีกลองร˚ามะนา(ร˚ามะนา 3 ใบ คนขับร้อง 3-4 คน) ชาวบ้าน จ˚านวนจะมาชมการแสดงดิเกร์เหมือนการมาชมมหรสพ ในคืนนี้เจ้าสาวจะแต่งตัวให้สวยที่สุดเข้ามาอยู่ใน พิธี โดยจะนั่งอยู่ในซุ้มที่มีตกแต่งสวยงาม สาวๆชาวบ้านเกาะมุกด์ต่างหวังว่าชีวิตตนจะมีโอกาสเข้านั่งอยู่ ในซุ้มในคืนดังกล่าว เพราะถือว่าเป็นคืนที่ภูมิใจของเจ้าสาวและพ่อแม่ ที่เรียก “ประเพณีเข้าเทียนแต่งงาน”
เนื่องจากมีเทียนเป็นส่วนประกอบส˚าคัญของพิธี โดยผู้ท˚าพิธีจะจุดเทียวในพานต่อเนื่องกันตลอดพิธี และมี การจุดเทียนประดับในงานให้สวยงามด้วย ที่ใช่แสงสว่างของเทียนเป็นสัญลักษณ์ของพิธีก็เพื่อให้มี ความหมายว่าชีวิตแต่งงานของคู่บ่าสาวจะสุกสว่างและร่มเย็นเหมือนแสงเทียน ผู้ศึกษาชี้ให้เห็นว่า ประเพณีเข้าเทียนแต่งงานไม่ใช่ประเพณีที่ก˚าหนดไว้ตามพระคัมภีร์ของศาสนาอิสลาม แต่เป็น “พิธีที่ ผสมผสานวัฒนธรรมของชุมชนเข้าไปในประเพณีการแต่งงานที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน” และ เป็นพิธีที่ชาวพุทธจะเข้ามามีส่วนร่วมได้เต็มที่ ทั้งการมาร่วมช่วยงานเจ้าภาพ ร่วมให้พร และร่วมสนุกสนาน ประเพณีจึงเหมือนกับการสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นพื้นที่สร้างสรรค์การอยู่ร่วมกันของคนที่นับถือศาสนาต่างกันที่ อยู่ในชุมนเดียวกันนั่นเอง หน้าที่ทางสังคมที่ส˚าคัญของประเพณีนี้ที่ผลการศึกษาเสนอไว้ก็คือ เพื่อให้ผู้หญิง ในชุมชนเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เชื่อฟังค˚าสั่งสอนของพ่อแม่ และช่วยให้ชีวิตการแต่งงานของหนุ่มสาวมี ความมั่นคง เพราะมีทั้งผู้น˚าศาสนา ญาติอาวุโส และผู้อาวุโสในชุมชนมาร่วมให้พร และมีประชาชนจ˚านวน มากร่วมเป็นสักขีพยาน ในยุคปัจจุบันประเพณีเสื่อมคลายไปพอสมควรเนื่องจากมีคนในชุมชนส่งลูกไป เรียนศาสนาจากแหล่งที่เคร่งครัด เช่น ปัตตานี ท˚าให้เมื่อกลับมาได้มีบทบาทในการวิจารณ์มากขึ้นเรื่อยๆว่า ประเพณีเข้าเทียนแต่งานไม่ต้องด้วยหลักศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ก็เนื่องจากการจัดประเพณีดังกล่าวต้อง ลงทุนมากซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน รวมทั้งผู้หญิงในปัจจุบันออกไปท˚างานภายนอก หมู่บ้านมากขึ้นและบางส่วนได้มีความสัมพันธ์กับผู้ชายก่อนแต่งงานท˚าให้ไม่สามารถเข้าพิธีเข้าเทียน แต่งงานได้ เพราะพิธีนี้เจ้าต้องยังบริสุทธิ์อยู่ถึงจะเข้าพิธีได้
ผลงานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอีกกลุ่มหนึ่งที่ยุววิจัยโรงเรียนเรียนต่างๆสนใจน˚าเสนอคือ
งานบันเทิง และงานกีฬาของท้องถิ่น ที่เรื่องราวลักษณะนี สามารถเป็นจุดเด่นหรือสามารถแสดง ความเป็นตัวตนของท้องถิ่นได้ก็เนื่องจากมีผู้สนใจร่วมงานมาก และงานดังกล่าวมีลักษณะ เฉพาะที่ยากจะหาชมจากที่อื่นได้ จนท˚าให้ชุมชนหรือท้องถิ่นเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป
โรงเรียนพัทลุง จ.พัทลุง น˚าเสนอเรื่อง "งานกรีฑา" ในความทรงจ˚า งานศึกษาเรื่องนี้คณะยุววิจัย มุ่งศึกษาประวัติและพัฒนาการของงานรื่นเริงประจ˚าปีของจังหวัดพัทลุงที่เรียกกันว่า "งานชุมนุมกรีฑา" ซึ่ง ถือว่าเป็นงานประเพณีที่แปลกเพราะสามารถเชื่อมโยงการแข่งขันกีฬาและกรีฑาซึ่งเป็นกิจกรรมสมัยใหม่ เข้ากับงานประเพณีของท้องถิ่นซึ่งตามปกติจะจัดตามวัดได้อย่างกลมกลืน งานศึกษานี้ได้แบ่งยุค พัฒนาการของงานประจ˚าปีดังกล่าวออกเป็นสี่ยุคคือ ยุคเริ่มต้น ยุคลงหลักปักฐาน ยุครุ่งเรือง และยุคเสื่อม ถอย โดยในยุคแรกผู้ศึกษาได้น˚าเสนอที่มาของการเกิดงานชุมนุมกรีฑาพัทลุงที่เกิดจากนโยบายระดับชาติที่ มุ่งให้แต่ละจังหวัดจัดงานประจ˚าปีของตน ซึ่งจังหวัดพัทลุงเลือกที่จะจัดการแข่งขันกีฬาและกรีฑาเป็นงาน
ประจ˚าปีขึ้นด้วยความเชื่อที่ว่ากีฬาจะสร้างความสามัคคีของคนในจังหวัดได้ตามนโยบายรัฐในสมัยนั้น อย่างไรก็ตามในยุคนี้หน่วยงานทางราชการหน่วยอื่นยังไม่มีความพร้อมทั้งด้านก˚าลังคน สถานที่ และ อุปกรณ์ ภาระดังกล่าวจึงตกเป็นของโรงเรียนพัทลุงซึ่งเป็นโรงเรียนประจ˚าจังหวัดที่มีความพร้อมมากที่สุด งานชุมนุมกรีฑาพัทลุงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2493 โดยคณะกรรมการจัดงานได้ก่อตั้งสมาคม นักเรียนเก่าพัทลุงขึ้นมาเป็นองค์กรรับผิดชอบในการจัดงาน ลักษณะของงานในยุคแรกนี้เน้นไปที่การ แข่งขันกีฬาและกรีฑาของนักเรียนและประชาชน โดยมีเป้าหมายการสร้างความสามัคคีของคนในจังหวัด ครั้นในปีที่สองก็เริ่มมีการจัดงานสวนสนุกรื่นเริงภาคกลางคืนที่มีมหรสพซึ่งเป็นที่นิยมของท้องถิ่น เช่น หนัง ตะลุง มโนห์รา ร˚าวง ขึ้นด้วย ทั้งนี้เพื่อหางบประมาณสมทบในการจัดงานและเพื่อให้บรรดานักกีฬาและ ผู้ติดตามที่มาพักค้างระหว่างการแข่งขันได้พักผ่อนในเวลากลางคืน และในปีที่สองนี้ ผู้จัดงานได้ติดต่อ ร้านค้ามาขายสินค้าในส่วนที่เตรียมไว้ซึ่งมีโรงเรือนหลังคาชั่วคราวแบบไม่เก็บค่าสถานที่เพื่อดึงดูดให้คนมา เที่ยวงานนี้มากๆ ในยุคที่สองของงานศึกษาคณะยุววิจัยได้น˚าเสนอความเปลี่ยนแปลงของงานประจ˚าปี ดังกล่าวทั้งในภาพของขบวนพาเหรดและขบวนนักกีฬา คนมาเที่ยวงานก็เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังได้เพิ่มประเภท ของกีฬาขึ้นด้วย เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล ตะกร้อลอดห่วง พร้อมกับขยายวันในการแข่งขันกรีฑาเพิ่มเป็น สามวัน ในส่วนของภาคกลางคืนก็จัดให้มีการประชันของมหรสพท้องถิ่นทั้งหนังตะลุงและมโนห์รา และมี หนังฉายกลางแปลงเข้ามาเพิ่ม ในส่วนของร้านค้าผู้จัดงานก็มีการประสานผู้ค้ารายใหญ่ๆทั้งจากในจังหวัด และต่างจังหวัดให้มาร่วมขายสินค้าในงานนี้มากขึ้น โดยในยุคนี้ได้มีการจัดเก็บคาผ่านประตูเข้าชมงาน และจัดเก็บรายได้จากร้านค้าบ้างแล้วเพื่อน˚ามาเป็นทุนในการจัดงานของปีต่อๆไป ในยุคที่สามซึ่งถือเป็น ยุครุ่งเรืองของงานชุมนุมกรีฑาพัทลุงเริ่มตั้งแต่ทศวรรษ 2520 ช่วงเวลาการจัดงานขยายออกมาเป็น 7 วัน 7 คืน ในยุคนี้ถือได้ว่างานประจ˚าปีดังกล่าวเป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดพัทลุง เพราะเป็นงานที่ ยิ่งใหญ่มากตั้งแต่ขบวนพาเหรด การแข่งขันกีฬาและกรีฑา ร้านขายสินค้าที่มีจ˚านวนมาก มหรสพ หลากหลายประเภท ในยุคนี้งานชุมนุมกรีฑาไม่เพียงแต่ดึงดูดให้คนในจังหวัดพัทลุงออกมาเที่ยวชมงานนี้ กันอย่างคับคั่งเท่านั้น หากแต่ได้ดึงดูดเอากลุ่มคนจากต่างจังหวัดในอ˚าเภอที่ใกล้กับจังหวัดพัทลุงเดินทาง มาเที่ยวงานนี้อีกเป็นจ˚านวนมาก ในยุคสุดท้ายที่ถือเป็นยุคเสื่อมถอยเริ่มตั้งแต่ทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา ผู้ ศึกษาได้น˚าเสนอเงื่อนไขของความเสื่อมถอยของงานประจ˚าปีดังกล่าวไว้ 4 ประการ กล่าวคือ ความ ทันสมัยจากสื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่ การขยายตัวของสินค้าสมัยใหม่เข้าสู่ท้องถิ่นอย่างแพร่หลาย (ชาวบ้านไม่ต้องมางานชุมนุมกรีฑาเพื่อหาซื้อสินค้า)ประกอบกับคณะผู้จัดงานได้ให้เอกชนประมูลงานไป จัดเพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดทุนก˚าไรก็ท˚าให้ทุกกิจกรรมของความรื่นเริงมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ค่าผ่าน
ประตูในการเข้าชมงานก็ขยับราคาสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ยิ่งค่าเช่าที่ของบรรดารวงร้านที่เข้ามาขายสินค้าก็ ยิ่งสูงจนหาก˚าไรได้ยาก รวมทั้งการแข่งขันกีฬาและกรีฑาได้ถูกน˚าเข้าสู่มาตรฐานทางการกีฬาที่เป็นทางการ ท˚าให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันถูกคัดกรองจนท˚าให้สีสันและการแข่งเพื่อความสนุกสนานและการก่อเกิดความ สามัคคีค่อยๆเลือนหายไป
โรงเรียนบ้านควนรุย จ.นครศรีธรรมราช เสนอเรื่อง นกกรงหัวจุกกับชาวควนรุย : จากกรง
แขวนชายคาถึงลานแข่งเสียง เรื่องนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของคนในชุมชนมุสลิมที่บ้านควนรุย(ต. เสาธง อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช) ผ่านกิจกรรมนันทนาการการเลี้ยงนกกรงหัวจุก ผู้ศึกษาได้แบ่งช่วง การศึกษาออกเป็นสองยุค คือ ยุคกรงแขวนชายคาที่ผู้เลี้ยงนกมุ่งเน้นความสุขส่วนตัวในยามพักผ่อนจาก การท˚างาน และยุคลานแข่งเสียงที่การเลี้ยงนกพัฒนาจากความพึงใจส่วนตัวมาเป็นกิจกรรมทางสังคม เอา กิจกรรมมาเป็นเครื่องมือในการระดมทุนให้แก่สถาบันทางศาสนาและการศึกษา ซึ่งเป็นการสร้างพื้นที่ทาง สังคมขนาดเล็กออกไปสู่การสร้างพื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่ร่วมกัน โดยในยุคแรกนั้นการเลี้ยงนกเพื่อการ พักผ่อนหย่อนใจส่วนตนของผู้เลี้ยงรายสองรายได้ขยายตัวออกไปเป็นผู้เลี้ยงมากราย พร้อมๆกับที่ได้เกิด กลุ่มคนเลี้ยงนกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคในการเลี้ยงที่มีร้านน้˚าชาในชุมชนเป็นศูนย์กลางการพูดคุย ที่ นัดพบดังกล่าวของกลุ่มผู้เลี้ยงนกไม่เพียงเป็นสถานที่ที่พวกเขาได้แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการเลี้ยงนก การ แบ่งปันอาหาร อุปกรณ์ ในการเลี้ยงนกเท่านั้น หากแต่ยังเป็นสถานที่ที่พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับการงานของตน รวมทั้งการนัดหมายในการแลกเปลี่ยนแรงงานกันอีกด้วย กิจกรรมการเลี้ยงนก เพื่อฟังเสียงอันไพเราะจึงบอกเล่าประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ทางสังคมที่น่าสนใจ การเปลี่ ยนผ่านของ กิจกรรมการเลี้ยงนกเพื่อฟังเสียงเอาความสุขได้เกิดขึ้นเมื่อมีการประชันเสียงระหว่างนักเลงนกในกลุ่มเล็กๆ ที่ต่อมาก็ได้เกิดแนวคิดการประชันเสียงในลักษณะการแข่งขันขึ้นในระดับชุมชน โดยมีรางวัลล่อใจจาก ผู้จัดการแข่งขัน กิจกรรมนี้เป็นที่สนใจของกลุ่มคนที่ขยายใหญ่ขึ้นตามล˚าดับกระทั่งได้กลายเป็นสนามแข่ง ขันที่ถูกจัดขึ้นบ่อยครั้ง โดยกลุ่มแกนน˚าในชุมชนและผู้เลี้ยงนกได้ใช้กิจกรรมนี้ไปในทางสร้างสรรค์ กล่าวคือ ในการแข่งขันจะมีการเรียกเก็บเงินจากผู้สมัคร แล้วรวบรวมเงินที่ได้มาไปสนับสนุนสถาบันทางศาสนา และ สถาบันทางการศึกษาในชุมชน ในขณะที่กลุ่มคนดังกล่าวก็ระวังไม่ให้กิจกรรมการแข่งขันของตนมีการพนัน ขันต่อเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นความหมายของการเลี้ยงและการแข่งขันนกกรงหัวจุกที่บ้านควนรุยที่สื่อผ่าน งานศึกษาเรื่องนี้จึงแตกต่างจากความเข้าใจโดยทั่วไปซึ่งมักจะเข้าใจว่าเป็นการเล่นพนัน
โรงเรียนควนโดนวิทยา จ.สตูล เสนอเรื่อง ดาระศิลปะการแสดงพื นบ้านของควนโดน ยุววิจัย อธิบายให้เห็นว่าศิลปะการแสดงที่เรียกว่า ”ดาระ” เป็นศิลปะการแสดงที่มีเฉพาะที่ควนโดน โดยได้แบ่งการ
น˚าเสนอเป็น 2 ยุค ยุคแรกเป็นยุคที่ศิลปะการแสดงคาระได้รับความนิยม ผู้ศึกษาเสนอให้เห็นว่า ศิลปะ พื นบ้าน ดาระ เป็นการแสดงที่ไม่เหมือนใคร ไม่ใช่รองแง็ง ลิเกฮูลู หรือสิละ แต่เป็นการแสดงที่มี เอกลักษณ์เฉพาะตัว กล่าวคือเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงมีกลองร˚ามะนาเพียงอย่างเดียว สามารถ ท˚าให้การร้อง การร˚า เกิดความสนุกสนานไม่ว่าจะเป็นผู้แสดงหรือผู้ชม เสียงกลองร˚ามะนาท˚าให้คนที่ได้ ยินมีความรู้สึกว่าอยากจะเข้าร่วมกิจกรรม ศิลปะการแสดงประเภทนี้มีถิ่นก˚าเนิดในหมู่บ้านเล็ก ๆ แขวง เมืองฮ˚าดาระตนเมาฟ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้เข้าสู่ประเทศไทยโดยผ่านประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ทางจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่จังหวัดสตูล โดยการไปมาค้าขายของพ่อค้าละนักท่องเที่ยวในสมัยนั้น ศิลปะการแสดงชนิดนี้เข้ามายังประเทศไทยเมื่อประมาณ 300 ปีมาแล้ว ถิ่นที่นิยมเล่นดาระกันมากใน สมัยนั้นคือเขตอ˚าเภอเมืองสตูล ที่ต˚าบลแป-ระ และต˚าบลควนโดน ต่อมาในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวบ้านต้องอพยพหนีสงครามการละเล่นชนิดนี้จึงหยุดชะงักไป เมื่อสงครามสงบการแสดงสมัยใหม่ได้ เข้ามามีอิทธิพลต่อประชาชนในท้องถิ่น เช่น ร˚าวง ภาพยนตร์ วงดนตรี ท˚าให้ดาระเลือนหายไปจาก ความทรงจ˚าของคนในท้องถิ่น ต่อมาเข้ายุคที่สองคือยุคของความพยายามฟื้นฟูศิลปะประเภทนี้ให้กลับมา อีกครั้ง โดยหลังจากที่ศิลปะการแสดงประเภทนี้หายไปนานพอสมควรก็มีชาวควนโดนกลุ่มหนึ่งพยายาม ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ โดยเสาะหาอดีตผู้แสดงซึ่งสูงอายุหมดแล้วให้มาช่วยสอน ในที่สุดก็ฟื้นฟูคณะแสดงดาระ ขึ้นมาได้ 1 คณะ และมีโอกาสได้แสดงหน้าพระที่นั่ง แต่เมื่อแสดงแล้วปรากฏว่าได้ถูกผู้น˚าศาสนาอิสลามที่ เคร่งครัดวิจารณ์ว่าท่าแสดงบางท่าเหมือนท่ากราบในศาสนกิจซึ่งถือว่าเป็นบาปอย่างมหันต์ เมื่อมีเสียง วิจารณ์เช่นนี้ประชาชนทั่วไปก็ไม่กล้ายอมรับหรือชื่นชม ผู้แสดงก็ไม่กล้าแสดงต่อ วงดาระก็ต้องล้มไปอีก และเหมือนจะต้องสูญหายไป กระทั่งถึงปัจจุบันโรงเรียนควนโดนวิทยาจึงพยายามที่จะฟื้นฟู ศิลปะการแสดงนี้ขึ้นมา โดยมีครูบางท่านไปเรียนรู้จากผู้สูงอายุที่พอมีความรู้อยู่ แต่การฝึกฝนของโรงเรียน ก็มีข้อจ˚ากัด เพราะต้องเป็นการแสดงที่มีการก˚าหนดบทร้องและท่าร˚า รวมทั้งจังหวะการตีร˚ามะนาแบบ ตายตัว เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้และแสดงได้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปฏิภาณของผู้แสดงเช่นแต่เดิม ในขณะที่ ครูผู้สอนก็มีความรู้และทักษะจ˚ากัด ดังนั้นผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะพร้อมกับแสดงความห่วงใยไปพร้อม กันด้วยว่า “สิ่งที่ดาระขาดหายไปและต้องเร่งพัฒนาให้ได้ก็คือ ความหลากหลายในการแสดง ไม่ว่าจะ เป็นเพลงที่จะต้องช่วยกันแต่งขึ้นมาใหม่อาจเป็นเพลงไทยด้วยก็ได้เพื่อให้มีความหลากหลาย และท่าร˚าที่ สวยงามและอ่อนช้อยเหมือนดั่งในอดีต จังหวะและลูกเล่นในการตีกลองที่ชัดเจน เพื่อเพิ่มสุนทรียภาพของ ผู้ชมไห้มีความสุขมากยิ่งขึ้นและไม่รู้สึกจ˚าเจกับการแสดงในแต่ละครั้งที่เกือบจะเหมือนกันทุกครั้งก็ว่าได้”
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๒ จังหวัดสตูล เสนอเรื่อง ควายบนฟ้ากับพัฒนาการแข่งขันว่าว ของชาวสตูล เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับพัฒนาการของการแข่งขันว่าวที่จังหวัดสตูล ซึ่งถือว่าเป็นงานที่คน รู้จักกันมากงานหนึ่ง และจัดแข่งขันต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2519 จนถึงปัจจุบัน โดยผู้ที่คิดริเริ่มจัดแข่งขันว่าว ดังกล่าวคือคณะครูอาจารย์โรงเรียนสตูลวิทยาและชาวบ้านต˚าบลคลองขุด อ˚าเภอเมือง จังหวัดสตูล ปรากฏว่าได้รับความสนใจเป็นอย่างดี โดยในปีแรกใช้ว่าวนกเป็นสัญลักษณ์ประจ˚างาน แต่ว่าวที่น˚ามาแข่ง และกลายเป็นที่สนใจอย่างมากกลับเป็นว่าวควาย ซึ่งมีความสง่า ขึ้นสูง และมีเสียงดัง ปีต่อๆมาจึงใช้ว่าว ควายเป็นสัญลักษณ์ของงานมาโดยตลอด และเมื่อใครพูดถึงการแข่งขันว่าวที่สตูลก็มักจะพูดถึงว่าวควาย ควบคู่ไปด้วย การจัดแข่งขันว่าได้เป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้นเรื่อยๆ ดังจะเห็นว่ามีจังหวัดต่างๆขอเชิญว่าวจาก สตูลไปแสดงโชว์อยู่เนืองๆ กระทั่งปี 2535 ก็สามารถจัดแข่งขันว่าวนานาชาติได้โดยมีประเทศจากยุโรป หลายประเทศเข้าร่วมแข่งขัน กล่าวได้ว่างานแข่งขันว่าวของจังหวัดสตูลเป็นงานที่ช่วยท˚าให้คนรู้จังหวัด สตูลได้มาก และช่วยสร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดสตูลไปในทางที่ดี รวมทั้งชาวบ้านก็มีความสนุกสนานเป็น อย่างดีทั้งกลุ่มที่เตรียมว่าวเข้าแข่งขันและกลุ่มที่เข้ามาชมและเชียร์ อย่างไรก็ตามปัญหาของการจัดการ แข่งขันว่าวที่มีมาโดยตลอดก็คืองบประมาณ ซึ่งต้องหากันแบบปีต่อปี หากปีใดผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ สนับสนุนการจัดการแข่งขันก็ขลุกขลัก บางปีถึงกับต้องหยุดการแข่งขัน นับตั้งแต่ปี 2547 ทางจังหวัดก็มอบ ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลเป็นผู้รับผิดชองจัดการแข่งขัน แต่ว่าก็ต้องขอรับการสนับสนุน งบประมาณจากฝ่ายต่างๆเช่นเดิม ปัญหาอีกประการหนึ่งที่เกิดชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ผู้เข้าแข่งขันว่าวมี มากขึ้น แต่คนดูเริ่มน้อยลง เนื่องจากการแข่งขันยังอยู่ในรูปแบบเดิมๆ คนที่เคยดูแล้วจึงไม่อยากมาดูอีก
โรงเรียนจริยธรรมอิสลามมูลนิธิ จ.สตูล เสนอเรื่อง ย้อนรอย ซาเยาะห์ สุนทรพจน์พัฒนา ชุมชน ต˚าบลบ้านควน ซาเยาะห์เป็นบทสุนทรพจน์ภาษามาลายู เกิดขึ้นในแถบชุมชนมาลายู (พบได้ใน ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย) ส่วนในประเทศไทยแพร่หลายมากับชาว มาลายูที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในภาคใต้ตอนล่าง ซาเยาะห์เป็นการใช้ค˚าที่แตกต่างจากค˚าพูดทั่วไป คือ เป็นค˚าพูดที่แฝงด้วยพลัง หนักแน่น คมคาย ในแต่ละเนื้อหามีความหมายที่ลึกซึ้งและแตกต่างกันขึ้นอยู่ กับวัตถุประสงค์ของเรื่องนั้น ส˚าหรับผู้แสดงหรือผู้ที่กล่าวซาเยาะห์ต้องเป็นคนที่มีบุคลิกภาพดี สุขุมเยือก เย็น สุภาพอ่อนโยน สามารถสอดแทรกอารมณ์ในการกล่าวซาเยาะห์ พร้อมแสดงลีลาท่าทางให้ สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของเรื่องนั้น ๆ ในสมัยก่อนซาเยาะห์ได้ถูกใช้ในหลายโอกาส เช่น ใช้สอดแทรกในการแสดงละคร งานรื่นเริงของหมู่บ้าน งานมัสยิด งานมงคลต่าง ๆ นับเป็นกิจกรรม หนึ่งที่มีคุณค่าได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ส่วนจังหวะการอ่านซาเยาะห์นั้นเปรียบเสมือนการวิ่งของ
สัตว์ชนิดหนึ่ง คือ กระจง วิ่ง วิ่ง กระโดด ผู้ที่อ่านจะต้องแสดงบทบาทให้เยอะ อ่านวรรคไหนที่เศร้าก็ ต้องแสดงความเศร้าขึ้นมาให้ผู้ฟังรับรู้ ถ้าเป็นบทที่โกรธก็ต้องแสดงความโกรธออกมาให้เห็น เนื้อหาของ ซาเยาะห์เป็นเนื้อหาที่พูดออกมาโดยไม่ได้มีการจัดเตรียมมาก่อน เป็นค˚าที่ออกมาจากใจ เป็นค˚าที่แสดง มาจากความรู้สึกและถ่ายทอดเป็นค˚าพูดออกมาให้เป็นท่วงท˚านอง แต่ซาเยาะห์ที่ดีไม่ได้เป็นค˚าพูดอย่าง เดียว จะต้องให้ข้อคิดที่ทุกคนจะต้องเอาไปคิดในสังคม ส˚ารับประโยชน์นั้นซาเยาะห์ช่วยขัดเกลาจิตใจคน ในชุมชน บางครั้งอาจใช้บทเพื่อเป็นการโน้มน้าวจิตใจ ตักเตือน อบรมสั่งสอน เน้นด้านคุณธรรม จริยธรรม เชิญชวน หรือใช้ในการประชาสัมพันธ์ ซึ่งบทของซาเยาะห์ในแต่ละบทจะช่วยดึงดูดให้ทุกคน ได้รับรู้และคล้อยตามไปกับบทที่ได้ฟัง ยุคปัจจุบันการกล่าวซาเยาะห์ที่บ้านควนซบเซาไปมากพอสมควร เนื่องจากต้องใช้ภาษามลายูในการกล่าว แต่เด็กในปัจจุบันเติบโตมาในสังคมสมัยใหม่ไม่สนใจเรียนภาษา มลายู หรือไม่ก็ออกไปท˚างานภายนอก ความนิยมในการกล่าวซาเยาะห์จึงลดลง อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่า ในอนาคตความคึกคักของการกล่าวซาเยาห์อาจจะกลับมาได้อีก เพราะทุกฝ่ายพยายามสนัยสนุนให้ เด็กเรียภาษามลายู
โรงเรียนละงูพิทยาคม เสนอเรื่อง กลิ่นอายรองแง็งที่บ้านปากบาง ที่บ้านปากบาง อ.ละงู จ.สตูล มีศิลปะการแสดงประเภทหนึ่งที่รู้จักกันดี ได้แก่ รองแง็ง ในอดีตรองแง็งบ้านปากบางเคยเป็นที่นิยมของ ชาวบ้าน สร้างความสนุกสนานรื่นเริงเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันบทเพลงรองแง็งยังมีผู้คนในสมัยนี้นิยมเอามา ร้องติดปากด้วยท่วงท˚านองที่โต้ตอบกันด้วยฝีปาก ท˚าให้ผู้คนได้ลับฝีปากและลองปัญญาด้วยบทเพลงที่ โต้ตอบกันอย่างเฉียบพลัน แต่การร้องร˚าท˚าเพลงที่เป็นแบบแผนการแสดงหาดูได้ยากแล้ว นางร˚าบางคนที่ มีชีวิตอยู่ได้เล่าถึงรองแง็งที่เคยรุ่งเรืองในอดีตว่าเป็นที่ติดหูติดตา น่าภาคภูมิใจ มีการแต่งกาย ที่ท่าร˚า โบราณที่คนรุ่นใหม่ไม่มีโอกาสได้ชื่นชม ในปัจจุบันนี้การแสดงสมัยใหม่ได้หลั่งไหลเข้ามาในชุมชนจนท˚าให้ ทั้งผู้แสดงและผู้ชมมีจ˚านวนลดลงเรื่อยๆ จะหานักร˚าที่ร่ายร˚าด้วยความเรียบร้อยสวยงามคงหาไม่ได้แล้ว เพราะปัจจุบันท่วงท่าลีลาการร˚าเปลี่ยนไปตามยุคสมัย การนุ่งผ้าปาเต๊ะ สวมเสื้อแขนยาว ออกมาร่าย ร˚าด้วยท่วงท่าลักษณะที่เชื่องช้าได้เลือนหายไป เหลือแต่คนที่เคยได้เห็นได้สัมผัส
โรงเรียนจะนะวิทยา จ.สงขลา เสนอเรื่อง บังสะหม้อกับวิถีชีวิตและการปรับเปลี่ยนทาง วัฒนธรรมของชาวสะกอม ผู้ศึกษาอธิบายให้เห็นว่าบังสะหม้อตัวตลกหนังตลุงที่เป็นที่รู้จักกันดีนั้นสร้าง มาจากบุคลิกภาพของชาวสะกอม (ต.สะกอม อ.จะนะ จ.สงขลา) โดยบุคลิกภาพดังกล่าวรวมถึงการใช้ ภาษา วัฒนธรรม และนิสัยใจคอ ดังที่รายงานเรื่องนี้สรุปไว้ว่า “กลุ่มชนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตน มีความโด
เด่นที่ภาษา ความเรียบง่าย รักสนุกอารมณ์ดี มีมุขตลกที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะคือ “ชมก่อนติ” ความสามารถในการเปรียบเปรยที่แผงด้วยอารมณ์ขัน” นายหนังตะลุงที่น˚าบุคลิกของชาวสะกอมไปสร้าง เป็นตัวหนังตะลุงเริ่มจากหนังหนังเลื่อน บ้านสะพานยาว ต่อมาหนังกั้น ทองหล่อได้น˚าไปสร้างสรรค์ให้มี ลักษณะชัดเจนและเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ส˚าหรับชาวสะกอมแล้วยอมรับอย่างเต็มใจว่าบังสะ หม้อคือชาวสะกอม และบอกว่าหากอยากรู้ว่าคนสะกอมเป็นอย่างไรให้ไปดูบังสะหม้อในหนังตะลุง และมี ความพึงพอใจที่หนังตะลุงน˚าบุคลิกภาพของชาวสะกอมไปแพร่หลายให้คนรู้จักกันทั่วไปผ่านบังสะหม้อตัว ตะลกในหนังตะลุง มีเรื่องเล่าว่าหากหนังโรงใดเล่นให้บังสะหม้อเสียเปรียบหรือแพ้ตัวละครตัวอื่นและการ แสดงครั้งนั้นมีชาวสะกอมชมอยู่ด้วยนายหนังก็จะถูกโห่ฮาป่าจนต้องเปลี่ยนบทใหม่ ผู้ศึกษาชี้ให้เห็นว่าการ ได้ท˚าความเข้าใจถึงที่มาของ “บังสะหม้อ” จะท˚าให้เยาวชนรุ่นหลังเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาว สะกอม รักหวงแหน และผูกพันกับวัฒนธรรมท้องถิ่น รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่ก˚าลัง เป็นอยู่ในปัจจุบัน รู้จักปรับใช้วัฒนธรรมใหม่อย่างเหมาะสมกับภาวการณ์ในปัจจุบัน
โรงเรียนอุดมวิทยายน จ.พัทลุง เสนอเรื่อง ลิเกป่า บ้านสุนทรา ความสัมพันธ์ระหว่างผู้แสดง ผู้ชม และคนอื่น ๆ ในบริบทท้องถิ่น ลิเกป่าเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านอย่างหนึ่งของภาคใต้ ในอดีต ได้รับความนิยมมากพอสมควร โดยเฉพาะที่จังหวัดพัทลุงมีคณะลิเกป่าอยู่หลายคณะ ลิเกป่าบ้านสุนทรา (หมู่ที่ที่ 8 และ 9 ต.ปันแต อ.ควนขนุน จ.)ยุคแรกเกิดขึ้นมาเมื่อมีชายคนหนึ่งจากบ้านสุนทราไปแต่งงานกับ สาวที่บ้านหนึ่ง พอดีว่าที่บ้านนั้นมีคณะลิเกป่าที่มีชื่อเสียง หนุ่มจากบ้านสุนทราจึงขอเรียนด้วย ต่อมาได้ กลับมาที่บ้านสุนทราและตั้งคณะลิเกป่าขึ้น เมื่อมีคณะลิเกป่าเกิดขึ้นชาวสุนทราอีกคนหนึ่งชื่อ “แดง” มี ความสนใจและขอฝึกฝนด้วย แต่เมื่อออกท˚าการแสดงนายแดงมักมีการประยุกต์การแสดงออกไปตามแนว แปลกๆที่ไม่ได้เป็นไปตามที่ครูสอน ในที่สุดก็ถูกให้ออกจากคณะ(ปีพ.ศ.2502) แต่ว่านายแดงก็มีใจรักการ แสดงลิเกป่า จึงพยายามฝึกฝนตนเองและฝึกฝนผู้สนใจอีกจ˚านวนหนึ่ง ในที่สุดก็สามารถจัดตั้งคณะลิเกป่า ของตนขึ้นมาขึ้นมา แต่เนื่องจากในตอนนั้นยังมีคณะลิเกป่าอยู่มาก คณะของนายแดงซึ่งตั้งขึ้นใหม่จึงได้รับ ความสนใจน้อย ในที่สุดก็ต้องเลิกราไป ต่อมาเมื่อความบันเทิงสมัยใหม่เกิดขึ้นและเข้าไปมีอิทธิพลเหนือ หมู่บ้านมากขึ้นเป็นล˚าดับ ลิเกป่านับเป็นการแสดงอันดับต้นๆที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากเป็นการแสดงที่ เรียบง่าย มีผู้แสดงเพียงสี่คน เครื่องดนตรีประกอบก็มีเพียงร˚ามะนา ปี่ ฉิ่ง โหม่ง จึงเข้าสู่ยุคที่สอง คือยุคที่ นายแดงพยายามกลับมาตั้งคณะลิเกป่าอีกครั้ง(หลังปี 2520) ซึ่งตอนนั้นลิเกป่าในภาคใต้เหลือน้อยแล้ว ที่ จ.พัทลุงเกือบไม่มีคณะใดเหลืออยู่เลย นายแดงซึ่งยังชื่นชอบลิเกป่าอยู่จึงพยายามยืดอายุลิเกป่าโดยกลับ เข้ามาตั้งคณะลิเกป่าอีกครั้ง โดยพยายามสร้างจุดเด่นของคณะขึ้นมา ที่เห็นได้ชัดเจนคือท่าเต้นแขกใน
ตอนออกแขก ซึ่งนายแดงเป็นคนเต้นเอง และได้รับยกย่องจากผู้ชมว่าเป็นการเต้นที่สวยงามและสนุกสนาน จนนายแดงได้รับขนานนามว่าเป็น “แขกแดง” นายแดงน˚าคณะลิเกป่าออกแสดงด้วยความรักใน ศิลปะการแสดงนี้เป็นส˚าคัญ และสามารถต่อลมหายใจของลิเกป่าได้ต่อเนื่องมา จนถึงปี 2551 นายแดงก็ เสียชีวิต ซึ่งในช่วงนี้กล่าวได้ว่าเกือบไม่เหลือคณะลิเกป่าในภาคใต้อีกแล้ว โดยเฉพาะในจังหวัดพัทลุงคณะ ของนายแดงถือว่าเป็นคณะสุดท้าย ปรากฏว่าผู้แสดงคนหนึ่งในคณะของนายแดงซึ่งได้รับการปลูกฝังการ รักศิลปะการแสดงลิเกป่ามาจากนายแดงพยายามตั้งคณะลิเกป่าของตนต่อมา ชื่อคณะ “เด่นชัยสงวน ศิลป์” แต่ว่าลิเกป่าในช่วงนี้หางานแสดงได้ยากแล้ว งานแสดงจึงมีไม่มาก พอดีกับว่าโรงเรียนในบ้าน สุนทราทั้งทั้งโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษาได้สนใจลิเกป่า และให้คณะลิเกป่าเข้าไปช่วย สอนนักเรียน ท˚าให้ให้คณะลิเกป่าพอมีชีวิตอยู่ได้จากการสนับสนุนของโรงเรียนทั้ง 2 แห่งดังกล่าว ส่วน นักเรียนในระดับประถมได้รับการปูพื้นฐานในระดับหนึ่งแล้วเมื่อเข้าเรียนต่อในระดับมัธยมซึ่งก็อยู่ในบ้าน สุนทราเช่นกัน (ร.ร.อุดมวิทยายน) ก็ได้รับการฝึกฝนต่ออีกเล็กน้อยก็สามารถออกแสดงได้ ดังนั้นลิเกป่า คณะ”เด่นชัยสงวนศิลป์” จึงมีนักเรียนร่วมแสดงด้วย หรือบางครั้งหากเป็นกิจกรรมทางการศึกษาอาจจะ เห็นผู้แสดงเป็นนักเรียนทั้งหมด นอกจากนี้ผู้ศึกษายังเสนอประเด็นของลิเกป่าที่ช่วยถักทอความสัมพันธ์ ของคนในชุมชน เพราะเป็นการแสดงที่ทุกฝ่ายตั้งแต่ผู้แสดง เจ้าภาพ คนชม คนขายของในงาน(ขายขนม และอื่น)ล้วนมาสัมพันธ์บนพื้นที่การแสดงของลิเกป่าแบบเคารพและชื่นชมการแสดงและความเป็นศิลปิน ของผู้แสดง เคารพการมีน้˚าใจของเจ้าภาพที่จัดให้มีการแสดง ในขณะที่ผู้ชมกันเองก็เคารพนับถือกันเพราะ ล้วนแต่รู้จักกันทั้งสิ้น และต่างฝ่ายต่างก็ตั้งใจมาชมการแสดงเหมือนกัน
มีบางโรงเรียนที่เลือกหยิบจุดเด่นในชุมชนในแง่มุมอื่นมาศึกษา โดยมีความมั่นใจว่า เรื่องราวดังกล่าวสามารถสะท้อนความเป็นตัวตนหรือเป็นจุดที่จะท˚าให้คนอื่นๆรู้จักชุมชนได้เป็น อย่างดี เพราะเป็นเรื่องที่มีลักษณะของความเป็นท้องถิ่น เช่น เรื่องเกี่ยวกับการรักษาแบบ พื นบ้าน ความสัมพันธ์ด้านอาหาร เป็นต้น
โรงเรียนบ้านพรุแชง จ.สุราษฎร์ธานี เสนอเรื่อง เพลงกล่อมเด็กที่บ้านพรุแชง เรื่องนี้ทีมยุววิจัย ต้องการเสนอถึงอิทธิพลทางสังคมของเพลงกล่อมเด็ก พื้นที่ศึกษาคือบ้านพรุแซง ต.บ้านส้อง อ.เวียงสระ จ. สุราษฎร์ธานี รายการศึกษาเสนอให้เห็นว่าบ้านพรุแซงเป็นชุมชนเกิดขึ้นไม่นานนัก ผู้อาวุโสในชุมชน ปัจจุบันที่อายุเกินกว่า 80 ปีขึ้นไปจะได้แก่คนรุ่นลูกที่อพยพมาพร้อมพ่อแม่ ผู้อพยพมาตั้งถิ่นฐานส่วนใหญ่ เป็นคนจาก จ.นครศรีธรรมราช เพลงกล่อมเด็กที่แพร่หลายอยู่ในหมู่บ้านส่วนใหญ่จึงสืบทอดมาจาก นครศรีธรรมราช ทั้งนี้ในหมู่บ้านพ่อแม่และปู่ย่าตายายจะนิยมใช้เพลงกล่อมเด็กส˚าหรับกล่อมให้ลูกหลาย
นอน ซึ่งรายงานการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการใช้เพลงกล่อมเด็กที่บ้านพรุแซงไม่เพียงช่วยให้เด็กนอนหลับได้ดี เท่านั้น แต่ลีลาการกล่อมช่วยให้เด็กเติบโตมาเป็นคนอ่อนโยนและเนื้อหาของเพลงช่วยปลูกฝังคุณธรรม และการเป็นพลเมืองดีของสังคม ในยุคปัจจุบันเกือบไม่มีการกล่อมเด็กอีกแล้ว เด็กในวันนี้จึงเติบโตขึ้นมา แบบเป็นเด็กที่มีปัญหา ดังค˚าบอกเล่าของผู้สูงอายุในชุมชนว่า
สังเกตว่าเด็กในสมัยก่อนและเด็กในสมัยนี้มีความประพฤติแตกต่างกัน เด็กในสมัยก่อนจะไม่ ก้าวร้าว รู้จักผู้หลักผู้ใหญ่ มีสัมมาคารวะ รู้จักที่สูงที่ต่˚า แต่เด็กในสมัยนี้ไม่ค่อยมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ ไม่รู้จักว่าอะไรควรอะไรไม่ควร กิริยามารยาทแบบเมื่อก่อนจะหมดไป ไม่ว่าจะเป็นการไหว้ การพูดจา การ ท˚าความเคารพ แม้กระทั่งการแต่งกาย การรักนวลสงวนตัวของผู้หญิงก็มีน้อยไม่เหมือนสมัยก่อน เป็นไป ได้ว่าสมัยก่อนนั้นเมื่อเด็กได้ฟังเพลงกล่อมเด็กแล้ว เกิดมีความคิด รู้จักรักนวลสงวนตัว รู้คุณค่าของสตรี และรู้จักที่สูงที่ต่˚า วัฒนธรรมไทยแบบเดิมๆยังคงอยู่แต่พอถึงสมัยนี้เพลงกล่อมเด็กหมดไป หรือมีบ้างก็ น้อยเต็มที เด็กๆไม่ค่อยได้ฟัง ความละเอียดอ่อนทางความคิดก็ค่อยๆหายไปด้วย
โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล จ.สตูล เสนอเรื่อง ดินปั้นบ้านย่านซื่อ ผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ สินค้าโอทอป ต˚าบลย่านซื่อ(อ.ควนโดน จ.สตูล.)เป็นชุมชนที่ประชากรเป็นชาวมุสลิมทั้งหมด พื้นที่ส่วน ใหญ่เป็นพื้นที่นา แต่เมื่อขุดลึกไปจะเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินเหนียว ในอดีตทุกๆท้ายฤดูเก็บเกี่ยว ข้าวชาวบ้านที่ไม่มีงานอื่นท˚าจะหาดินปลวกที่เกิดขึ้นตามหัวเพื่อน˚าไปท˚าเครื่องปั้นดินเผา โดยใช้ฟางข้าว เป็นเชื้อเพลิงในการเผา เครื่องปั้นดินเผาส่วนหนึ่งชาวบ้านจะน˚าไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือน ส่วนที่เหลือจะ น˚าไปขายตามตลาดนัด ซึ่งท˚าให้เครื่องปั้นดินเผาจากย่านซื่อแพร่หลายไปยังต่างชุมชน และเป็นรายได้ เสริมให้แก่ครัวเรือนต่างๆ บางครัวเรือนผลิตเครื่องปั้นดินเผาส่งไปขายต่างชุมชนโดยส่งผ่านทางเรือที่แล่น ผ่านคลองดูสน รวมทั้งสามารถส่งไปถึงต่างจังหวัด เช่น จ.ตรัง บางครั้งส่งไปถึงต่างประเทศ เช่น ประเทศ มาเลเซีย เป็นต้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 เป็นต้นมาชาวบ้านเริ่มมีงานใหม่ๆหลายอย่างมารองรับ จึงได้ละมือ จากการท˚าเครื่องปั้นดินเผา กระทั่งปีปี 2547 อบต.ย่านซื่อพยายามสนับสนุนให้เกิดการผลิต เครื่องปั้นดินเผาอีกครั้งเพื่อให้เป็นสินค้าโอทอป โดยให้งบประมาณสนับสนุนส˚าหรับจัดหาอุปกรณ์การผลิต ที่ทันสมัย และจัดให้มีวิทยากรมาให้ความรู้ แต่การผลิตเครื่องปั้นดินเผาในยุคใหม่นี้ไม่ได้ท˚ากันอย่าง แพร่หลายเหมือนในอดีต มีเพียงแค่กลุ่มคนที่เป็นสมาชิกการผลิตสินค้าโอทอปเท่านั้น และจะผลิตเมื่อมี ลูกค้าสั่งของ แต่ว่าก็พยายามคงเอกลักษณ์ด้านรูปททรงและลวดลายที่แสดงถึงความเป็นย่านซื่อเอาไว้ ในหมู่บ้านเองก็ยังมีบางบ้านที่ใช้เครื่องปั้นดินเผาควบคู่ไปกับเครื่องใช้ไฟฟ้า
โรงเรียนบ้านกลาง จ.สุราษฎร์ธานี เสนอเรื่อง ปัดซาง : การรักษาโรคแบบพื นบ้านที่คลอง พา เรื่องนี้ผู้ศึกษาต้องการเสนอเรื่องการรักษาโรคซางในต˚าบลคลองพา อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี โดย อธิบายให้เห็นว่าในพื้นที่ดังกล่าวซึ่งตั้งอยู่ในเขตป่าจะมีโรคภัยไข้เจ็บอยู่มากมาย โรคหนึ่งคือโรคซาง ซึ่งมี อยู่หลายชนิด จะเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดในเด็ก การรักษาสมัยก่อนจะใช้หมอ พื้นบ้าน เรียกว่าการปัดซาง โดยหมอบางท่านจะใช้คาถาอย่างเดียว บางท่านใช้ทั้งคาถาและใช้ยาสมุนไพร บ้ายปาก ซึ่งก็ถือว่ารักษาหายมาโดยตลอด โดยใน ต.คลองพามีหมอพื้นบ้านอยู่หลายคน และหมอพื้นบ้าน ดังกล่าวจะรักษาทุกโรคไม่ใช่รักษาเฉพาะโรคซาง กระทั่งปลายทศวรรษ 2520 เกิดถนนที่เชื่อมโยงการเดิม ทางระหว่าง ต.คลองพากับภายนอกได้สะดวก ท˚าให้ชาวบ้านออกไปโรงพยาบาลได้สะดวก ในขณะที่ ข่าวสารสมัยใหม่ก็เข้าสู่หมู่บ้านมากขึ้น ดังนั้นความต้องการพึ่งพาหมอพื้นบ้านก็ลดน้อยลง แต่ว่าก็ไม่ได้ สูญหายไปเสียทีเดียว เพียงแต่ว่าได้ลดจากการเป็นแนวทางหลักในยุคก่อนเหลือเป็นการแพทย์ทางเลือก คือคนที่ไม่อยากจะออกไปโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขาดแคลนเงินทอง ไม่อยากเสียเวลา หรือเพราะยัง เชื่อมั่นระบบการแพทย์พื้นบ้าน ยังเลือกที่จะใช้บริการของหมอพื้นบ้านเป็นบางครั้งบางคราว ในปัจจุบันมี หมอพื้นบ้านที่รับรักษาโรคซางหรือปัดซางอยู่ใน ต.คลองพาทั้งหมด 4 คน
โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล จ.สตูล เสนอเรื่อง โรตี ชาดี ชาวฉลุง จากวันวานสู่ ปัจจุบัน พื้นที่ศึกษาเรื่องนี้คือ บ้านฉลุง (ต.ฉลุง อ.เมือง จ.สตูล) พื้นที่นี้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจมาแต่ อดีต โดยในอดีตเป็นศูนย์กลางค้าขายทางน้˚า ส่วนในปัจจุบันเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่ผู้คนสามารถ สัญจรไปมาได้สะดวก เป็นบริเวณที่สามารถแยกไป จ.สงขลา และ จ.ตรังได้ ผู้ศึกษาต้องการเสนอเรื่องเด่น ของชาวชุมชนฉลุงเรื่องหนึ่ง คือวัฒนธรรมการดื่มน้˚าชาและการกินโรตี ดังที่ผู้ศึกษาชี้ให้เห็นว่า “การกินโรตี ดื่มน้˚าชา มีความหมายมากกว่าการกินหรือดื่มเหมือนชุมชนอื่นๆ เพราะชาวฉลุงไม่ว่าลูกเด็กเล็กแดงซึมซับ วัฒนธรรมการกินโรตี ดื่มน้˚าชา เป็นกิจวัตรหนึ่งในการด˚ารงชีวิต และร้านน้˚าชา โรตี เปรียบเสมือนแหล่ง พบปะสังสรรค์ที่ก่อให้เกิดมิตรภาพและความสามัคคีของผู้คนในชุมชน” ร้านโรตี น้˚าชา ที่ชุมชนฉลุงเริ่มมา ตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันในช่วงเช้าหากไปไปที่ชุมชนฉลุง จะเห็นร้านโรตี น้˚าชา จ˚านวนมาก กระจายตัวทั่วไป “ผู้คนในร้านส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ตั้งแต่วัยกลางคนถึง วัยสูงอายุ ผู้คนในร้านจับกลุ่มพูดคุยกันถึงเรื่องต่างๆด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม ทักทายผู้คนที่ผ่านไปมาและที่เดิน ข้าวมาในร้าน บางคนนั่งอ่านหนังสือพิมพ์ แม้อากัปกิริยาของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันแต่พวกเขามีน้˚าชา 1 แก้วและโรตีวางอยู่บนโต๊ะเหมือนกัน” ผู้คนที่อยู่ในร้านกาแฟในตอนเช้าส่วนใหญ่จะได้แก่คนวัยกลางคน ถึงวัยสูงอายุเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่ไม่ได้ออกไปท˚างานเป็นข้าราชการหรือในองค์กรธุรกิจ ท˚าให้มีเวลา
นั่งอยู่ที่ร้านโรตี น้˚าชา การออกมาอยู่ร้านโรตี น้˚าชาของชาวฉลุงในตอนเช้านี้ไม่ได้มุ่งที่การกินอาหารเป็นแต่ เพียงประการเดียว ดังที่ชายวัยชาวมุสลิมวัยกลางคนคนหนึ่งเล่าว่า “โรตี น้˚าชา เป็นของคู่กัน และให้ รสชาติที่ดี เวลานั่งที่ร้านจะคุยเรื่องทั่วไป ข่าวสารบ้านเมืองทั้งของประเทศและท้องถิ่น คิดว่าร้านน้˚าชา โรตี กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมท้องถิ่น เพราะเป็นกิจวัตรของคนในชุมชนก็ว่าได้ เวลาเช้าๆออกมา พบปะพูดคุยกัน บอกเรื่องราวราวสารทุกข์สุขต่างๆ เป็นแหล่งที่เชื่อมความสัมพันธ์ของคนในชุมชน” ร้าน ขายโรตีส่วนใหญ่จะเปิดขายตอนเช้ารอบหนึ่ง และตอนเย็นเปิดอีกรอบหนึ่ง บางร้านก็เปิดเฉพาะตอนเช้า หรือตอนเย็น ในตอนเย็นร้านโรตี น้˚าชา ก็จะเต็มไปด้วยผู้คนเช่นกัน แต่จะเป็นคนทุกกลุ่มตั้งแต่เด็กจนถึง ผู้สูงอายุ และทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่จะเห็นภาพที่แตกต่างกันคือจะมีรถจอดเต็มไปหมด ซึ่งหมายถึงกลุ่ม คนที่เรียนหนังสือและที่ท˚างานในภาคราชการและองค์กรธุรกิจคือกลุ่มลูกค้าส˚าคัญในตอนเย็น ร้านโรตี น้˚า ชาจึงเป็นเหมือนพื้นที่ร่วมส˚าคัญที่ช่วยสร้างความทรงจ˚าร่วมให้แก่ชาวชุมชนฉลุงนั่นเอง
โรงเรียนสทิงพระวิทยา เสนอเรื่อง เมืองสทิงพาราณสี : ความหมายและความทรงจ˚าที่ เปลี่ยนไป เรื่องนี้ทีมยุววิจัยต้องการอธิบายให้เห็นว่าบริเวณโรงเรียนในเมือง และโรงเรียนสมพงศ์จะทิ้ง พระ ซึ่งอยู่ในหมู่ที่ 5 ต.จะทิ้งพระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา เป็นเขตเมืองเก่าในอดีตคือเมืองสทิงพาราณสี แต่ ปัจจุบันไม่มีใครสนใจแล้ว ทีมยุววิจัยพยายามค้นคว้าให้เห็นว่าเมืองสทิงพาราณสีเดิมเป็นอย่างไร เจริญรุ่งเรืองอย่างไร โดยใช้หลักฐานเอกสารที่เคยมีผู้ศึกษาไว้แล้ว การสัมภาษณ์ผู้สูงอายุในชุมชน และ การลงส˚ารวจพื้นที่จริง โดยเฉพาะการส˚ารวจพื้นที่จริงทีมยุววิจัยสามารถอธิบายคูเมืองเดิมได้ชัดเจน เปรียบเทียบกับสภาพปัจจุบันที่เป็นเพียงคูระบายน้˚า แม้ปัจจุบันจะไม่มีร่องรอยของเมืองเก่าให้เห็น และทีม ยุววิจัยเห็นว่า “อดีตที่รุ่งเรือง ที่คอยรับเรือสินค้าจากต่างชาติ ปัจจุบันท˚าหน้าที่รองรับเศษสิ่งปฏิกูล เส้นทางขับของเสียให้พ้นจากบ้านและชุมชน” แต่พวกเขาก็เห็นว่าผลงานการศึกษาของเขาจะช่วยให้ “มี ความภูมิใจท้องถิ่นของเรา”
ผลงานวิจัยบางโรงเรียนน˚าคนดีของชุมชนมาศึกษา โดยเห็นว่าคนดีดังกล่าวนอกจาก สมควรยกย่องเพราะท˚าความดีให้แก่ส่วยรวมแล้ว ยังเป็นตัวแทนชุมชนที่ท˚าให้คนจากพื นที่อื่น รู้จักชุมชนได้ดีขึ น
โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม จ.สงขลา เสนอเรื่อง เปรม ชูเกลียง บุรุษผู้พลิกฟื้นผืนดินระโนด
เรื่องนี้ผู้ศึกษาต้องการเสนอเรื่องราวของบุคคลธรรมดาที่ชาวระโนดยกย่องเขาเป็นวีรบุรุษของท้องถิ่น โดย ช่วยให้ทุ่งระโนดมีน้˚าท˚านาอย่างอุดมสมบูรณ์และน้˚าไม่ท่วมนาในฤดูฝนอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต บุคลนี้มี นามว่า “เปรม ชูเกลี้ยง” โดยในช่วงต้นทศวรรษ 2510 เป็นต้นมาเปรม ชูเกลี้ยงพยายามท˚าแผนงานไปเสนอ
กรมชลประทานทั้งที่เขาไม่ได้มีหน้าที่อะไรเลย แต่เนื่องจากเขาต้องการแก้ปัญหาของคนระโนดสมัยนั้นที่มี อาชีพท˚านาเป็นหลัก แต่นามักจะเสียหายเนื่องจากยังต้องท˚านาแบบพึงฟ้าพึ่งฝน ปีไหนฝนแล้งข้าวชาวนา ก็เสียหาย ปีไหนฝนมากน้˚าก็ท่วมขังนาจนข้าวเสียหานเช่นกัน เปรม ชูเกลี้ยงได้เสนอภาพของชาวระโนด และหัวไทรที่อยู่พื้นที่ต่อเนื่องกันที่ต้องทุกข์ยากเพราะข้าวเสียหาย และชี้ให้เห็นว่าหากแก้ปัญหาของชาวนา ได้ก็เท่ากับว่าสังคมโดยส่วนรวมได้ประโยชน์ด้วย เขาได้ประสานงานกับกรมชลประทานหลายครั้งอย่างไม่ รู้สึกท้อถอยจนในปี 2510 กรมชลประทานเริ่มมาด˚าเนินการโครงการเพื่อแก้ปัญหาให้ชาวนาระโนด ทั้งใน การตั้งเครื่องสูบน้˚าจ˚านวนมาก และการสร้างคลองส่งน้˚า และมีผลต่อการแก้ปัญหาของชาวนาระโนดอย่าง ดียิ่ง ไม่เพียงพวกเขาพ้นจากปัญหาฝนแล้งและน้˚าท่วมเท่านั้น แต่ว่าพวกเขาสามารถท˚านาได้เพิ่มขึ้นเป็นปี ละ 2-3 ครั้งด้วย ชาวระโนดจึงยกย่องเปรม ชูเกลี้ยงมาก จนถึงกับร่วมกันสร้างรูปปั้นไว้ที่หน้าส˚านักงาน ชลประทานทุ่งระโนด-กระแสสินธุ์
โรงเรียนสุราษฎร์ธานี คุณครูล˚ายองและชาวบ้านดอน วีรชนเมืองคนดี เช้าตรู่ ของวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ กองก˚าลังของญี่ปุ่นที่น˚าโดย พลโทอิอิดา ได้มุ่งหน้าเข้าสู่ บ้านดอน สุราษฎร์ธานี เมืองที่ ไม่มีค่ายทหารอยู่เลย เมื่อชาวบ้านดอนทราบว่าญี่ปุ่นจะยกพลขึ้นบุกบ้านดอน หลวง จึงได้มีการเป่า แตรบอกเหตุ เมื่อได้ยินเสียงแตรเช่นนั้น เนื่องจากบ้านดอนเป็นเมืองที่ไม่มีค่ายทหาร ฉะนั้นผู้ที่ไปรับอาวุธ ปืนจึงมีเพียงต˚ารวจ ประชาชนและลูกเสือสมุทรเสนาเท่านั้น และได้ไปตั้งแนวรบบริเวณหน้าสถานีต˚ารวจ จวนผู้ว่า ศาลากลางจังหวัด ไปตามแนวคูเมือง จนกระทั่งกองทัพญี่ปุ่นเดินทัพมาถึงสะพาน หน้าสถานี ดับเพลิงเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน ก็ได้มีการเจรจากัน แต่เมื่อญี่ปุ่นทราบ แล้วว่าฝ่ายไทยไม่ ยินยอมให้ผ่านทางไปยังพม่า จึงท˚าให้เกิดการปะทะกันขึ้น และจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ท˚าให้เห็นวีรกรรมอัน กล้าหาญของวีรบุรุษผู้รักชาติหลายๆท่าน
การปะทะด˚าเนินต่อไป ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียชีวิตหรือ ทรัพย์สิน มีการเผาท˚าลายศาลากลางจังหวัดเพื่อท˚าลายข้อมูลต่างๆเพี่อจะได้ไม่เป็นประโยชน์แก่ญี่ปุ่น นอกจากนี้วีรบุรุษอันเป็นที่รักของลูกศิษย์ชาวชมพู-เขียวซึ่งก็คือคุณครูล˚ายอง วิศุภกาญจน์ ได้สละชีพเพื่อ ปกป้องผืนแผ่นดินอันเป็นเอกราชของชาติไทยไว้ด้วยความกล้าหาญ
การสู้รบในครั้งนี้มีเพียงต˚ารวจ ชาวบ้านดอนและลูกเสือสมุทรเสนาเท่านั้นที่ร่วมกันปกป้องผืน แผ่นดินสุราษฎร์ธานี เนื่องจากในสมัยนั้นจังหวัดสุราษฎร์ธานีไม่มีค่ายทหารตั้งอยู่เลย แต่ผู้ร่วมรบทุกคนก็ ได้ร่วมกันต่อสู้ด้วยความกล้าหาญ ไม่ได้เกรงกลัวต่อศัตรูที่ก˚าลังคืบคลานเข้ามาข้างหน้าแต่อย่างใด การ ปะทะจึงด˚าเนินไปท่ามกลางสายฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง
ในที่สุด การปะทะยุติลงด้วยการที่รัฐบาลไทยยอมให้ญี่ปุ่นผ่านแดนไปได้ การสูญเสียประจักษ์แก่ สายตาของทั้งสองฝ่าย ชาวชมพู-เขียวสูญเสียคุณครูล˚ายอง วิศุภกาญจน์และลูกเสือคอย อั้นอุยไปอย่างไม่ มีวันกลับ รวมไปถึงชาวสุราษฎร์ธานีที่สูญเสียวีรชนผู้ร่วมศึกในครั้งนี้ไปไม่มีวันกลับเช่นกัน...
2. การเสนอวิถีชีวิตของคนกลุ่มเล็กๆที่สังคมไม่เคนสนใจ และไม่มีพื นที่ให้ แต่คนกลุ่มนี ได้ต่อสู้ดิ นรนเพื่อมีชีวิตรอด และสามารถสร้างพื นที่ของตนเองอย่างน่าสนใจ
โรงเรียนบ้านไทรงาม จ.สตูล น˚าเสนอเรื่อง สามล้อและบทบาทของสามล้อในตลาดพิมาน ผู้ ศึกษาเสนอให้เห็นชีวิตประจ˚าวันและความรู้สึกนึกคิดของคนสามล้อตั้งแต่ยุคที่รถสามล้อรับจ้างยังเป็น พาหนะส˚าคัญส˚าหรับชาวตลาดพิมานจนถึงยุคที่เกิดพาหนะใหม่ๆและรถสามล้อค่อยๆหมดหน้าที่ไป โดย งานวิจัยเน้นให้เห็นถึงชีวิตประจ˚าวันของคนถีบสามล้อที่รับชอบต่อหน้าที่ของตนและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับ ผู้โดยสาร จนกลายเป็นคนรู้จักหรือขาประจ˚ากัน ในยุคนั้นคนถีบสามล้อนับเป็นผู้สื่อข่าวของสังคมตลาด พิมานที่ดี เพราะใครอยากรู้ว่ามีอะไรอยู่ไหนก็ถามสามล้อได้ เนื่องจากวันหนึ่งๆตั้งแต่เช้ายันมืดค่˚าพวกเขา ล้วนถีบสามล้อไปทั่วไปตลาด ในขณะที่อารมณ์ความรู้สึกของพวกเขานั้นเขามีความสุขและความผูกพันใน อาชีพ มีความรับผิดชอบต่อลูกค้าอย่างเต็มเปี่ยม ดังจะเห็นว่าคนถีบสามล้อส่วนใหญ่มักอยู่ในอาชีพนี้จน แก่เฒ่าไม่เปลี่ยนไปท˚าอาชีพอื่น เมื่อเข้าสู่ยุคของพาหนะสมัยใหม่ไม่มีใครต้องการนั่งสามล้ออีก แต่คนถีบ สามล้อก็พยามยื้อลมหายใจของตนด้วยการพยายามปรับหน้าที่ไปเป็นพาหนะช่วยขนสินค้าของแม่ค้า แต่ งานก็มีไม่มาก ทว่าคนถีบสามล้อก็ไม่อาจจะหันไปท˚างานอื่น เพราะว่าพวกเขาล้วนเข้าสู่วัยสูงอายุใน ขณะที่พวกเขายังผูกพันกับสามล้อ ดังนั้นคนในยุคปัจจุบันจึงยังคงพอมองเห็นชายชราน˚ารถสามล้อมาถีบ หรือมาจูงอยู่ริมถนน โดยไม่มีใครสนใจ เพราะนั่นคือชีวิตของพวกเขา บางคนถีบสามล้อไม่ไหวแล้วแต่ยังคง เก็บรักษารถสามล้อไว้อย่างดี และคอยเช็ดถูท˚าความสะอาดอย่างดี เพราะเขาคิดว่าสามล้อคือเพื่อคู้ทุกข์ คู่ยากของเขา
โรงเรียนเทพา จ.สงขลา เสนอเรื่อง ข้าวแกงไก่ทอดเทพาข้างรถไฟ เรื่องนี้เป็นเรื่องของผู้หญิงใน ชุมชนใกล้สถานีรถไฟเทพา จ.สงขลา ที่ยึดถืออาชีพขายข้าวแกงไก่ทอดให้แก่ผู้โดยสารรถไฟมาตั้งแต่หัวรถ จักรยังเป็นหัวรถจักรไอน้˚า หรือเมื่อห้าสิบกว่าปีที่ผ่านมา โดยผู้หญิงที่ขายข้าวแกงไก่ทอดดังกล่าวมีทั้งที่
เป็นชาวพุทธและชาวมุสลิม แม่ค้าแต่ละคนล้วนมีประวัติการค้าขายอยู่ข้างรถไฟมายาวนาน สามารถใช้ รายได้ที่ได้จากข้าวแกงไก่ทอดเลี้ยงลูกๆมาได้ทุกคน รวมทั้งบางรายมีคนรุ่นลูกสืบอาชีพนี้ต่อมาจากแม่ด้วย แม่ค้าข้าวแกงไก่ทอดได้ร่วมกันสร้างอัตลักษณ์ให้แก่ข้าวแกงไก่ทอด จนสามารถเข้าไปสู่การรับรู้ของ ผู้โดยสารรถไฟว่าข้าวแกงไก่ทอดเทพามีลักษณะ “ข้าวใส่กระทงใบตอง ราดด้วยแกงเขียวหวานไก่ ไก่ทอด ต้องกรอบนอก นุ่มใน ไม่มีหนัง และใช้ไม้ฟืน” ด้วยความหมายที่สามารถเข้าไปสู่หัวใจของผู้โดยสารรถไฟ ดังกล่าวจึงท˚าให้ข้าวแกงไก่ทอดข้างสถานีรถไฟยังคงมีลูกค้าซื้อหาอยู่ตลอดเวลาจากอดีตถึงปัจจุบัน ในขณะแม่ค้าก็พยายามรักษาคุณภาพข้าวแกงของตนให้เป็นไปตามอัตลักษณ์ดังกล่าว และพยายามคิด สูตรอาหารของตนให้มีลักษณะเฉพาะตัวขึ้นอีก เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าจนเกิดเป็นลูกค้าประจ˚า ขึ้นมา เพราะในที่สุดแม่ค้าข้าวแกงไก่ทอดก็ยังคงต้องขายอยู่ข้างรถไฟ ในขณะที่ลูกค้าก็คือคนโดยสารรถไฟ ที่มีประสบการณ์เดินทางไปมาเป็นประจ˚า หรือกล่าวอีกอย่างพวกเขาเหมือนคนรู้จักกันผ่านข้าวแกงไก่ทอด การขายและการบริโภคข้าวแกงไก่ทอดจึงไม่ใช่เรื่องของการแสวงหาก˚าไรล้วนๆแต่คือความสัมพันธ์ที่แต่ละ ฝ่ายต้องเอาใจใส่กัน ดังนั้นจึงเห็นการพิถีพิถันในการท˚าข้าวแกงไก่ทอดของแม่ค้าแต่ละราย ความสัมพันธ์ ลักษณะต่างๆในชีวิตของพวกเขาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าแสดงออกบนพื้นฐานของการเป็นแม่ค้าข้าว แกงไก่ทอด ความอยู่รอดของพวกเขาจึงขึ้นอยู่กับการที่พวกเขาสามารถสร้างพื้นที่การขายข้าวแกงไก่ทอด ข้างรถไฟขึ้นมาได้นั่นเอง
โรงเรียนก˚าแพงวิทยา จ.สตูล น˚าเสนอเรื่องซาไกแห่งเทือกเขาบรรทัดในชุมชนวังสายทอง : การปรับตัวของเจ้าแห่งพงไพรในวิถีการท่องเที่ยว เรื่องนี้ผู้ศึกษาเสนอให้เห็นถึงน้˚ามิตรของชาวซาไก กับคนพื้นล่างที่บุกเบิกป่าเข้าไปตั้งถิ่นฐานใกล้ถิ่นที่อยู่ของชาวซาไก ด้วยการพึ่งพากันด้านอาหารการกิน และมีการผูกมิตรเป็นเหมือญาติใกล้ชิดกัน เมื่อการพัฒนาสมัยใหม่รุกล้˚าเข้าไปในพื้นที่ป่า ไม่ว่าจะจะเป็น การขยายตัวของพื้นที่ปลูกยาง การขยายตัวของการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ทีมยุววิจัยใช้ศึกษามีการ ขยายตัวของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างกว้างขวาง มีคนภายนอกเข้ามาตั้งรีสอร์ท โฮมสเตย์ ร้านอาหาร ท˚าให้ชาวซาไกด˚ารงชีวิตอยู่แบบเดิมได้ยากขึ้น เพราะไม่มีของป่าให้หาได้เช่นเดิม แต่งานศึกษาเรื่องนี้ให้ ภาพที่มีชีวิตชีวาผิดจากความเข้าใจของคนทั่วๆไปที่มักมองภาพว่าพวกซาไกจะอยู่ไม่ได้เมื่อป่าเขาล˚าเนา ไพของพวกเขาหายไป แต่เรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่าชาวซาไกสามารถปรับตัวได้ ต่อรองได้ รู้จักใช้เครือข่ายที่มีกับ ชาวบ้านเข้าสู่การปรับตัวดังกล่าว ซาไกในเรื่องนี้จึงไม่ใช่คนน่าสมเพชเวทนา แต่คือคนที่มีชีวิตชีวา เช่น พวกเขารู้ดีว่านักท่องเที่ยวต้องการถ่ายรูปกับพวกเขาในฐานะที่เป็นชนเผ่าพื้นเมือง แต่นักท่องเที่ยวจะต้อง จ่ายเงินให้เป็นค่าตอบแทนพวกเขาจึงจะถ่ายรูปด้วย เป็นต้น
โรงเรียนล˚าภูราเรืองวิทย์ จ.ตรัง น˚าเสนอเรื่อง นายขุกมิ่ง เค้กขุกมิ่ง และล˚าภูรา งานศึกษานี้ คณะยุววิจัยได้สืบค้นประวัติบุคคลผู้ให้ก˚าเนิดขนมเค้กขุกมิ่งที่เลื่องชื่อของเมืองตรัง โดยเรื่องราวเกิดที่บ้าน ล˚าภูราซึ่งเป็นชุมชนเล็กๆที่เกิดขึ้นริมทางเดินที่เป็นเส้นทางติดต่อระหว่างเมืองส˚าคัญ ชุมชนเล็กๆแห่งนี้ เติบโตขึ้นจากคนจีนกลุ่มเล็กๆที่มาตั้งหลักแหล่งค้าขายแก่คนเดินทางและคนจากชุมชนรายรอบ โดยราย รอบจะมีชุมชนต่างๆที่ชาวบ้านยึดอาชีพการท˚าสวนยางพารากันเป็นส่วนใหญ่ หนึ่งในร้านค้าของคนจีนได้ กลายเป็นศูนย์กลางการพบปะของคนในท้องถิ่นจากชุมชนรายรอบ คือร้านน้˚าชากาแฟ โดยนายขุกมิ่งที่ อพยพมาจากเมืองจีนแบบตัวคนเดียวและมือเปล่าได้เริ่มอาชีพตนที่ชุมชนแห่งนี้ด้วยการชงชากาแฟขาย และด้วยความมานะอุตสาหะในการการงานของตนจึงได้คิดท˚าขนมส˚าหรับกินกับชากาแฟขึ้นมา เพราะ ขนมที่ซื้อมาขายแก่ลูกค้าจากเมืองตรังไม่ถูกปากของบรรดาลูกค้า นายขุกมิ่งลองผิดลองถูกจนสามารถ พัฒนาขนมของตนจนเป็นที่ถูกปากของลูกค้าและได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในเวลาต่อมา กระทั่งขนม เค้กของท่านถูกน˚าไปเขียนถึงในนิตยสารชื่อดังอย่างฟ้าเมืองทองในสมัยนั้นโดย ม.ร.ว.ถนัดศรี เจ้าของ คอลัมม์ "เซลล์ชวนชิมของถนัดศอ" นายขุกมิ่งซึ่งเริ่มเข้ามาอยู่ที่ล˚าภูลาแบบตัวเปล่าได้มีส่วนส˚าคัญที่ท˚า ให้ผู้คนทั้งประเทศรู้จักบ้านล˚าภูราในฐานะเป็นที่ถิ่นที่ให้ก˚าเนิด "เค้กขุกมิ่ง" ซึ่งต่อมาได้ท˚าให้เกิดขนมเค้ก เจ้าอื่นเอาตามอีก 7 ราย ล˚าภูราจึงคึกคักในด้านการค้าขายขนมที่มีชื่อ จนเป็นแหล่งสร้างงานและรายได้ แก่ชาวล˚าภูราไปในตัว ในทศวรรษ 2540 ที่กระแสอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้พัฒนาขึ้นอย่างมากใน จังหวัดตรัง เค้กขุกมิ่งก็กลายมาเป็นหนึ่งในสินค้าที่ใช้ในการโปรโมทการท่องเที่ยว และเป็นสัญลักษณ์อย่าง หนึ่งของจังหวัดตรัง
3. การเสนอเหตุการณ์ในชุมชนหรือในท้องถิ่นที่ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ส˚าคัญ ที่ในด้าน หนึ่งจ˚าเป็นต้องบันทึกไว้เพื่อเป็นบทเรียนให้แก่คนรุ่นหนัง ในขณะที่อีกด้านหนึ่งก็เพื่อให้เห็นถึง มุมมองของคนที่อยู่ในเหตุการณ์ ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์ และต้องพยายามดิ นรน ปรับตัวให้อยู่รอดได้ต่อไป ซึ่งจะแตกต่างจากคนนอกที่มองเข่าไป ท˚าให้เห็นความส˚าคัญของ มุมมองจากคนใน ซึ่งจะช่วยให้การอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมมีความรอบคอบและรัดกุมมาก ขึ น
ร.ร.ตะแพนพิทยา จ.พัทลุง เสนอเรื่อง เขาแก้วดินแดนประวัติศาสตร์การสู้รบ เรื่องนี้เป็นเรื่อง เกี่ยวกับค่ายเขาแก้วซึ่งเป็นค่ายผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในช่วง พ.ศ. 2508 ถึง พ.ศ. 2524 ค่ายนี้ตั้งอยู่บน เทือกเขาบรรทัดซึ่งอยู่ไม่ไกลจากชุมชนเขาแก้ว อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุงนัก ซึ่งเรื่องที่พูดถึงค่ายคอมมิวนิสต์ ลักษณะดังกล่าวคงมีมากพอสมควร เพราะเหตุการณ์ที่ประชาชนลุกขึ้นต่อสู้กับรัฐโดยการน˚าของพรรค
คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.)ในช่วงปลายทศวรรษ 2500 ถึงกลางทศวรรษ 2520 ปรากฏขึ้นทั่วไปใน ขอบเขตทั่วประเทศ แต่ส˚าหรับงานศึกษาเรื่องนี้มีจุดเด่นตรงที่ว่าเป็นงานศึกษาของคนใน คือลูกหลานของ คนที่ประสบการณ์ในการขึ้นเขาสู้รบเป็นผู้เขียนเรื่องราวพ่อแม่ของพวกเขา ดังนั้นจึงเห็นที่ไปที่มาของ เหตุการณ์อีกมุมหนึ่งที่จะช่วยท˚าให้คนรุ่นหลังสามารถเข้าใจบรรพบุรุษของพวกเขาดีขึ้น และคนทั่วไป เข้าใจการสู่รบของชาวบ้านในชุมชนเขาแก้วและชุมชนใกล้เคียงที่ขึ้นไปต่อสู่ที่ค่ายเขาแก้วได้ดีขึ้น โดยงาน ศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการที่ชาวบ้านต่อสู่กับรัฐนั้นพวกเขาไม่ได้ตั้งใจมาก่อนและก็ไม่ได้มีอุดมกา รณ์เป็น แรงจูงใจมาแต่เดิม แต่เกิดจากการที่พวกเขาไม่ได้รับความเป็นธรรมจากทางราชการ และเมื่อเมื่อเกิดค่าย ขึ้นแล้วทางราชการได้เคลื่อนก˚าลังเข้ามาปราบปรามก็เป็นการปราบปรามแบบเหวี่ยงแหจนชาวบ้านเกิด ความเดือดร้อนไปทั่ว ท˚าให้ชาวบ้านจ˚านวนมากหนีขึ้นไปพึ่งพา ผกค. นอกจากนี้เรื่องนี้ยังชี้ให้เห็นว่า ชาวบ้านบนค่ายได้รับการช่วยเหลือจากคนข้างล่างเป็นอย่างดีทั้งในแง่อาหารและเวชภัณฑ์ แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ เพราะผู้สนับสนุนดังกล่าวเป็นแนวร่วมหรือเลื่อมใสอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ แต่เพราะเขาต้องการช่วยเหลือ ญาติพี่น้องเขาที่อยู่บนค่าย ซึ่งทางราชการไม่เข้าใจจึงใช้ความรุนแรงกับคนกลุ่มเสมือนว่าเขาเป็นสมาชิก พคท. ต่อจากนี้งานศึกษาเรื่องนี้ก็ชีให้เห็นถึงการใช้ชีวิตของชาวบ้านที่แปรไปเป็นนักรบบนค่ายเขาแก้วว่ามี การฝึกฝนอย่างมีวินัยอย่างไร มีชีวิตความเป็นอยู่ด้านต่างๆอย่างไร กระทั่งบอกถึงการสู้รบกับกองก˚าลัง ของรัฐ ตอนสุดด้ายบอกถึงการยุติการสู้รบ นักรบลงจากเขาไปใช้ชีวิตอย่างชาวบ้านทั่วไปหลังจากต้องใช้ ชีวิตอยู่บนเขาถึงประมาณ 20 ปี ซึ่งนักรบเหล่านี้มีประสบการณ์ชีวิตที่ยากล˚าบากและสูญเสียมาแล้ว ในขณะที่คนที่อยู่ข้างล่างแม้จะเป็นผู้ร่วมกับทางราชการสู้รบมาแล้ว แต่ก็รับรู้ถึงการสูญเสียของทั้ง 2 ฝ่าย ดังนั้นเมื่อเหตุการณ์สู้รบยุติลงทุกฝ่ายจึงไม่มีใครคิดจะรื้อฟื้นเรื่องที่ผ่านมาและร่วมกันสร้างหมู่บ้าน ส่วน ของนักรบที่ลงมาจากเขานั้นเป็นคนที่มีคุณภาพทางความคิดดังนั้นเมื่อกลับลงมาก็สามารถสร้าง ความส˚าเร็จในการประกอบอาชีพได้ไม่ยาก
โรงเรียนพ่วงพรมครวิทยา จ.สุราษฎร์ธานี ได้เสนอเรื่อง ย้อนรอยประวัติศาสตร์ ค่าย 514 ซึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสู้รบของ พคท.เช่นเดียวกัน เรื่องนี้ผู้ศึกษาเสนอถึงค่าย พคท.ในเขตผืนป่า อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี 2514 เพื่อรองรับงานของ พคท.ที่ขยายตัวขึ้นมากในช่วงนี้ ใน เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่นักศึกษาประชาชนถูกล้อมปราบที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปรากฏว่ามี นักศึกษาจ˚านวนมากหนีเข้าป่าไปอยู่ในค่ายนี้ ท˚าให้ค่ายนี้มีการเคลื่อนไหวอย่างคึกคัก ผู้ศึกษาได้น˚าเสนอ งานเป็น 3 ยุค ยุคแรกเป็นยุคที่กล่าวถึงป่าเคียนซาก่อนที่จะเกิดค่านคอมมิวนิสต์ โดยขณะนั้นมีชุมชนตั้งอยู่ 1 ชุมชน โดยชาวบ้านเข้ามาบุกเบิกป่าเพื่อหาที่ท˚ากิน ซึ่งส่วนใหญ่ท˚าสว นยางและสวนปาล์ม มีการ
ปกครองกันแบบใช้อิทธิพล ยุคที่สองเป็นยุคที่ พคท.เข้ามาตั้งค่าย 514 ทีมวิจัยได้สัมภาษณ์อดีตสมาชิก พคท.ค่าย 514 หลายคน ทุกคนอธิบายเหมือนกันว่าเข้าป่าเพราะอุดมการณ์ เนื่องจากเห็นว่า พคท. เคลื่อนไหวเพื่อปกป้องชาวบ้าน เช่น ช่วยปราบปรามโจรผู้ร้าย ผู้มีอิทธิพล ยาเสพติด การพนัน และ ต้องการสร้างความเป็นธรรมให้ชาวบ้าน ชาวบ้านจึงสนับสนุน พคท. พวกที่ไม่ขึ้นเขาไปร่วมสู้รบก็ช่วยเป็นหู เป็นตาให้ นอกจากนี้ก็เป็นข้อมูลชีวิตความเป็นอยู่ในค่ายซึ่งมีการเรียนรู้และฝึกฝนกันในหลายๆด้าน ถึงแม้ ชีวิตในค่ายจะยากล˚าบาก แต่ทุกคนก็ไม่เคยย่อท้องและภูมิใจในการต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ของตน ยุคที่สาม เริ่มจากการที่รัฐประกาศค˚าสั่ง 63/23 ที่ยอมให้สมาชิก พคท.ออกจากป่ามาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย สมาชิกค่าย 514 จึงทยอยออกจากป่ากลับคืนถิ่น และกลับมาท˚ากินตามปกติ แต่เนื่องจากกลุ่มคนนี้เป็นผู้ ที่มีอุดมการณ์หลายคนจึงกลายเป็นเป็นผู้น˚าท้องถิ่น แต่ว่าในท่ามกลางสังคมแบบใหม่ที่ขยายตัวเช้าไปสู่ หมู่บ้านอย่างเข้มข้นมากขึ้นผู้น˚าท้องถิ่นไม่ว่าจะมีอุดมการณ์ขนาดไหนก็ไม่สามารถสะกัดกั้นอิทธิพล ดังกล่าวได้ ดังนั้นความจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่อดีตสหายจากค่าย 514 มองเห็นก็คือ “ผิดกับเดี๋ยวนี้ คน อยู่แบบตัวใครตัวมัน มีขโมย ยาเสพติดก็เยอะ การพนันไม่ต้องบอกนะเต็มไปหมด”, “แต่ต่อมาเมื่อผ่านไป เป็นเวลานานวัฒนธรรมความเป็นอยู่ก็เปลี่ยนไปด้วยอ˚านาจเงินตรา ท˚าให้คนอยู่กันอย่างตัวใครตัวมัน มี การเอาเปรียบกัน...” และท˚าให้พวกเขาย้อนนึกไปเมื่อครั้งยังมีค่าย 514 ว่า “ที่หายไปคือความรักสามัคคี และการไม่มัวเมากับอบายมุข มันเริ่มหมดไปตามการจากไปของค่าย 514”
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ จ.นครศรีธรรมราช เสนอเรื่องมหาวาตภัยแห่งแหลมตะลุมพุกใน ความทรงจ˚าของคนที่รอดชีวิต เรื่องนี้เขียนขึ้นจากค˚าบอกเล่าของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์วันที่เกิดมหาวาต ภัยในปี 2505 หลายคน จึงเห็นภาพชัดเจนถึงชุมชนบริเวณแหลมตะลุมพุกทั้งในช่วงที่ที่เป็นความสุขและ ความเจริญของชุมชนก่อนเกิดมหาวาตภัย ช่วงที่เกิดมหาวาตภัยและชะตากรรมของผู้คนที่ต้องต่อสู่กับภัย พิบัติดังกล่าว และช่วงหลังมหาวาตภัยที่เกิดความสูญเสียอย่างมหาศาลทั้งต่อชีวติชาวบ้านที่ต้องสูยเสียไป นับพันคนและหมู่บ้านที่พังทลายไปเกือบหมด ในขณะที่ความช่วยเหลือเกือบไม่มีและกว่าจะมาก็ล่าช้ามาก เรื่องนี้ได้บรรยายให้เห็นภาพและเข้าใจถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้สูญเสียได้เป็นอย่างดี และยากจะหาใคร เขียนที่ให้ภาพได้ชัดเจนเท่ากับผลงานของทีมยุวววิจัยอีกแล้ว เช่น ตอนหนึ่งเล่าถึงเหตุการณ์วันมหาวาตภัย ไว้ว่า
คุณยายผ่าง สุดถือ อายุ 83 ปี ....เล่าเรื่องที่ประสบกับมหาวาตภัยว่า ตอนค่˚าของวันที่ 25 ตุลาคม 2505 มีลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดมาอย่างรุนแรง มีบ้านพังบ้างแล้วน้˚าทะเลหนุนสูงขึ้น ผู้คน ชุลมุน หนีตายกันอลหม่าน คุณยายได้หนีพร้อมลูก 3 คนไปยังบ้านนางเชือบ ต่อมาบ้านนางเชือบพังลง
ได้หนีไปยังบ้านนางยัง บ้านก็พังลงอีก จึงคิดจะพาลูกไปอยู่ที่โรงพระจีนเพราะคิดว่าแข็งแรง แต่ไปไม่ถึง เพราะลมแรงขึ้นเรื่อยๆ ตัดสินใจอยู่ที่บ้านนางโดบ จนถึงประมาณสี่ทุ่มลมก็ไม่เห็นว่าจะสงบลงจนกระทั่ง ดึกพอสมควรลมเริ่มเบาบางลง น้˚าเริ่มลด ได้ยินเสียงคนร้องเรียกครอบครัวร้องหาญาติๆกันจอแจ จนกระทั่งประมาณครึ่งชั่วโมงลมกลับทวีรุนแรงขึ้น เป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ ท˚าให้บ้านพังราบเป็นหน้า กลอง ผู้คนล้มตายเป็นอันมาก จนกระทั่งพายุสงบลง สิ่งที่เห็นคือศพนอนตายเกลื่อนกลาดไปหมด แม่ และพี่สาวของคุณยายได้เสียชีวิต......
เหตุการณ์หลังมหาวาตภัยทีมยุววิจัยก็ให้ภาพได้ชัดเจน เช่น “เช้าของวันที่ 26 ตุลาคม 2505
หลังจากพายุสงบลง บ้านส่วนใหญ่ในชุมชนพังเรียบเป็นหน้ากอง เหลืออยู่เพียงไม่กี่หลัง ศพนอนเกลื่อน กลาดไปทั้งหมู่บ้าน พ่อแม่เรียกหาลูก พี่น้องเรียกหากัน เสียงร้องไห้ดังระงมไปทั่วหมู่บ้าน ไม่มีอาหาร น้˚า จืด เสื้อผ้า คนที่บาดเจ็บนอนร้องครวญคราง หมู่บ้านถูกตัดขาดจากโลกภายนอก ผู้คนที่เหลือช่วยกันน˚า ศพที่พบขณะนั้นมาฝังรวมกันเป็นหลุมๆ หลุมหนึ่งนับเป็น 10 ศพ หรือมากกว่านั้นมีสัตว์เลี้ยงที่รอดชีวิต คือ เป็ด ไก่ ชาวบ้านก็น˚ามาต้มโดยใช้น้˚ามะพร้าวแทนน้˚าจืดในการกินและประกอบอาหารประทังชีวิต ประมาณบ่ายสี่โมงเย็นมีเรือต˚ารวจน้˚ามารับผู้คนส่วนหนึ่งไปอยู่ที่ตลาดใหม่ในตัวอ˚าเภอปากพนัง อีกส่วน หนึ่งยังคงอยู่ที่หมู่บ้าน ชาวอิสลามที่รอดชีวิตก็เดินไปยังตัวอ˚าเภอปากพนังเพื่อกลับไปปัตตานี
โรงเรียนชุมชนวัดกะทูนเหนือมิตรภาพที่ 218 เสนอเรื่อง ชาวกะทูนก่อนและหลังภูเขาถล่ม เรื่อง นี้มีเหตุการณ์ภูเขาไฟถล่มเป็นจุดส˚าคัญของเรื่อง โดยแบ่งเหตุการณ์ที่ศึกษา คือการเปลี่ยนแปลงของชุมชน เป็น 3 ช่วง คือ ช่วงก่อนภูเขาถล่ม ช่วงภูเขาถล่ม และช่วงหลังภูเขาถล่ม เหตุการณ์ภูเขาถล่มที่กะทูนนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18-23 พฤศจิกายน 2531 โดยในวันดังกล่าวพื้นที่ อ.พิปูน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องกันหลายวัน จนก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ที่ ต.กะทูน อ.พิปูน นับว่าเกิด ความเสียหายมากที่สุด ผลงานของยุววิจัยได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่กะทูนในช่วงก่อนภูเขาถล่มในด้านที่ ชาวบ้านมีความภาคภูมิใจ คือชาวบ้านสามารถท˚ามาหากินประกอบอาชีพได้มั่นคงและสามารถร่วมกัน พัฒนาชุมชนจนประสบผลส˚าเร็จหลายด้าน ท˚าให้ต˚าบลและหมู่บ้านได้รับรางวันด้านการพัฒนาหลาย รางวัล ในขณะเดียวกันก็ชี้ให้เห็นอีกด้านหนึ่งว่าการมุ่งประกอบอาชีพเพื่อให้เกิดรายได้ก็เกิดผลที่ชาวบ้าน ไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะเป็นส่วนส˚าคัญที่น˚าไปสู่เหตุการณ์ภูเขาถล่ม คือการท˚าลายป่าทั้งเพื่อการปลูกพืช เศรษฐกิจและการตัดไม้ขายของคนบางกลุ่ม จนเป็นเหตุส˚าคัญที่ท˚าให้ดินถล่มเนื่องจากลักษณะธรณีของ เทือกเขามีลักษณะกร่อนผุ เมื่อป่าไม้ถูกบุกรุกถากถางไปมากจึงขาดรากไม้ที่จะพยุงดินไว้ และขาดต้นไม้ที่ จะขวางทางน้˚าให้ช้าลง ส่วนการน˚าเสนอเหตุการณ์ในช่วงภูเขาถล่มนั้นทีมยุววิจัยสามารถพูดคุยกับคนที่
อยู่ในเหตุการณ์ได้หลายคน จึงสามารถเสนอภาพการเกิดเหตุการณ์และความสูญเสียได้อย่างสนใจ เช่น “ฝนเริ่มตกตั้งแต่ตอนเช้ามืดวันที่ 18 เม็ดฝนที่ตกลงมาเป็นเม็ดใหญ่ ตกต่อเนื่องหนักหน่วงตั้งแต่เช้าจดเย็น ตอนหัวค่˚าวันนั้น ตอนที่ทุกคนในครอบครัวกินมื้อค่˚า เม็ดฝนซาไปสักครึ่งชั่วโมง แต่หลังจากนั้นก็ตกลงมา หนักเหมือนตอนกลางวัน น้˚าหนักของเม็ดฝนที่ตกกระทบหลังคาสังกะสีท˚าให้ตนนอนไม่หลับ ลุกนั่งตลอด คืน ในใจก็คิดว่ารุ่งเช้าฝนก็คงหยุดตก เพราะที่ผ่านๆ มาทุกปีก็จะเป็นแบบนี้ ช่วงนี้ เป็นช่วงฝนหนัก ธรรมดาๆ ลูกชายตนพร้อมเมีย และหลานๆอีก 2 คน เข้านอนแต่หัวค่˚า วันที่ 19 ตอนสายๆ ตนเริ่มผิด สังเกต เพราะสายน้˚าในล˚าคลองด้านเหนือของบ้านมีกิ่งไม้ใบไม้ถูกเกลียวน้˚าแทงเสียงดังอย่างน่ากลัว ครั้น ถึงค่˚า น้˚าก็เอ่อล้นสองฝั่งคลองขึ้นมาเรี่ยใต้ถุนบ้านแล้ว วันนั้นเม็ดฝนที่ตกอย่างหนักหน่วงได้ขังทุกชีวิต เอาไว้ในบ้าน ไม่สามารถออกไปไหนได้”
ท้ายสุดทีมยุววิจัยสามารถอธิบายให้เห็นภาพการปรับตัวของชาวบ้านที่ต้องท˚ากินในสภาพที่เทือ สวนไร่นาของตนต้องกลายเป็นอ่างเก็บน้˚าในขณะที่ที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินต้องเสียหายไปจ˚านวนมาก อีก ทั้งญาติพี่น้องก็ต้องสูญเสียชีวิตไปจ˚านวนมากเช่นกัน แต่ในที่สุดชาวกะทูนก็ค่อยสร้างตัวขึ้นมาได้อีกครั้ง พร้อมกับประสบการณ์และบทเรียนชีวิตที่พวกเขาจะไม่มีวันลืม
โรงเรียนวัดโคกเมรุ จ.นครศรีธรรมราช เสนอเรื่อง เขาศูนย์ความเจริญในความทรงจ˚าของชาว อ˚าเภอฉวาง เขาศูนย์ที่กล่าวถึงนี้แต่เดิมชาวบ้านอาศัยขึ้นไปท˚าสวนและหาของป่า แต่ว่าก็ขึ้นไปอย่าง ยากล˚าบาก กระทั่งปี 2512 ชาวบ้านรายหนึ่งขณะขุดหลุมปลูกยางก็พบก้อนแร่วุลแฟรม และเป็นแร่แท้ทั้ง ก้อน เมื่อน˚าไปขายก็ได้ราคาดี ในที่ดินที่เขาจับจองไว้มีแร่ดังกล่าวอุดมสมบูรณ์มาก แม้เขาพยายามปิดบัง ไม่ให้ใครรู้ แต่จากการที่เขาน˚าแร่ลงไปขายเพียงไม่กี่วันก็มีคนรู้และเล่าลือไปอย่างรวดเร็ว จึงมีคนใน ท้องถิ่นจ˚านวนมากทยอยขึ้นไปขุดแรบนเขาศูนย์ และเพียงไม่นานก็มีคนต่างถิ่นทั้งต่างอ˚าเภอ ต่างจัดหวัด ต่างภาค กระทั่งมีบริษัทต่างชาติขอสัมปทานขึ้นไปขุดแรบนเขาศูนย์ เพียงปี 2512 – 2514 เขาศูนย์ที่เคยเป็นภูมเขาที่เดินทางขึ้นไป ยาก กลายเป็นพื้นที่ที่มีคนขึ้นไปอยู่ที่นั่นไม่ต่˚ากว่า 20,000 คน และเป็นการขึ้นไปอยู่แบบทางราชการไม่ได้ขึ้น ไปควบคุมใดๆ คงปล่อยให้ประชาชนอยู่กันเอง แก่งแย่งกันเอง ใครมีก˚าลังมากก็แย่งได้มาก ในขณะที่ ผลต่างๆก็มีประโยชน์มหาศาล บางคนขายแร่ได้วันละหลายแสนบาท เขาศูนย์จากการที่ไม่มีใครอยู่เลย กลายเป็นเมืองที่อยู่กับแบบแออัด ดังที่ผู้ศึกษาอธิบายไว้ว่า “บนเขาศูนย์มีทุกอย่างที่ในเมืองมีขาย กล่าวคืออาหารทุกชนิดใหม่สดเหมือนอาหารในเมือง อาหารทะเลบางอย่างในเมืองไม่มีขายแต่กลับมี จ˚าหน่ายที่เขาศูนย์ เสื้อผ้าบนเขาศูนย์เป็นยี่ห้อจากต่างประเทศ บางยี่ห้อไม่มีขายที่ตัวเมือง นครศรีธรรมราช แต่สามารถหาซื้อได้บนเขาศูนย์ เหล้าบุหรี่เป็นสินค้าน˚าเข้าจากต่างประเทศ กางเกงลี
วายส์การเกงยีนส์ยี่ห้อดีๆมีขายบนเขาศูนย์ เจ้าของหลุมบางคนใช้เพียงสองสามครั้งก็ยกให้กรรมกรหรือ ลูกจ้างใส่ อาหารบนเขาศูนย์จะแพงกว่าตลาดทานพอถึงสองเท่าตัว บนเขาศูนย์มีโรงภาพยนตร์ มีอาหาร พาณิชย์ มีสถานบันเทิงเริงรมย์ มีศูนย์การค้าที่เลือกสรรที่ดีที่สุดมาขายในราคาที่สูงกว่าตลาดในเมือง เพราะการขายแร่แต่ละวันบางหลุมบางอุโมงค์เจ้าของมีรายได้เฉลี่ยวันละ 100,000 – 600,000 บาท ”
แต่ในอีกด้านหนึ่งที่นั่นก็เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน คือใช้อ˚านาจและอิทธิพลกันอย่างเต็มที่ และทั้งหมดไม้มี ทางการขึ้นไปจัดการใดๆ จึงมีการฆ่ากันตายตลอดเวลา ทั้งฆ่าเพื่อแย้งชิงหลุมแร่ (ชาวบ้านที่พบแร่คนแรก และน˚าลงไปขายดังกล่าวถึงข้างต้นก็ถูกยิงตายเพื่อแย่งชิงหลุมแร่) ฆ่ากันตายเพราะต้องการชิงทรัพย์ ถูก ฆ่าเพราะเป็นชู้กับเมียคนอื่น ฆ่ากันเพราะทะเลาะวิวาทหรือต้องการแสดงอิทธิพล แม้กระทั่งฆ่ากันเพราะมี เรื่องโกรธเคืองกันมาแต่เดิมเมื่อพาพบกันก็หาทางแก้แค้น หากคนตายเป็นคนจากต่างถิ่นก็มักจะถูกโยนทิ้ง ไปในหลุมแร่ร้าง โดยไม่มีคนสนใจ เพราะต่างคนต่างก็มุ่งขุดหาแร่ของตน กระทั่งในช่วงเวลาประมาณปี 2517 เป็นต้นมาผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ก็พยายามขยายอิทธิพลเข้ามาเพื่อใช้เขาศูนย์เป็นแหล่งเสบียง แต่ว่าที่เขาศูนย์ก็มีคนที่รู้จักกับผู้ที่เป็น ผกค.มาก่อน และเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีผลประโยชน์สูง ผกค.ที่เข้า มาในระยะแรกจึงมักจะเข้ามาร่วมมือกันคนรู้จักเมื่อแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งก็ยิ่งท˚าให้การเข่นฆ่ากันบน เขาศูนย์เข้มข้นยิ่งขึ้นอีก ในระยะต่อมา ผกค.เข้ามาด˚าเนินการอย่างเป็นทางการมากขึ้น จึงสนับสนุนให้ ชาวบ้านท˚าหากินอย่างเป็นธรรม และควบคุมผู้ใช้อิทธิพลต่างๆ โดยใครไม่เชื่อฟังก็จะถูกสั่งเก็บ ท˚าให้ ผกค. มีอิทธิพลบนเขาศูนย์อยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งข้อมูลไปถึงฝ่ายทหารคือกองทัพภาคที่ 4 ฝ่ายทหารจึงเข้ามา จัดการที่เขาศูนย์ โดยอ้างว่าเข้ามาปราบปรามคอมมิวนิสต์ ซึ่งก็ท˚าได้ไม่ยาก เพราะเขาศูนย์ไม่ใช่ค่าย ผกค. และไม่ใช้ท˚าเลที่ ผกค.จะตั้งค่ายได้ ดังนั้นจึงไม่มีการต่อต้านการขึ้นไปของฝ่ายทหาร กองทัพภาคที่ 4 จึงสั่งปิดเขาศูนย์ในปี 2524 และถัดจากนั้นกองทัพภาคที่ 4 ก็สั่งให้ก˚าลังทหารและต˚ารวจตระเวน ชายแดนเข้าด˚าเนินการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างบนเขาศูนย์ทั้งหมด พร้อมทั้งขนสัมภาระของประชาชนลงมาจาก เขาศูนย์ทั้งหมดภายในวันเดียวคือวันที่ 24 เมษายน 2525 ชุมชนเขาศูนย์จึงปิดประวัติศาสตร์ของตนเอง มาตั้งแต่บัดนั้น การสั่งปิดเขาศูนย์มีผลกระทบต่อผู้ที่ลงทุนท˚าธุรกิจและยังไม่ได้ทุนคือ ต้องกลับมาเป็นหนี้ ใหม่ ส่วนดีที่เห็นได้ชัดเจนคือช่วยท˚าให้การท˚าลายป่าหมดไป ระบบนิเวศมีโอกาสฟื้นตัวอีกครั้ง
โรงเรียนท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี เสนอเรื่อง เขาคันธุลีกับสงครามโลกครั งที่ 2 เรื่องนี้เกิด
ขึ้นที่ต˚าบลคันธุลี อ˚าเภอท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นเหตุการณ์เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ทหารญี่ปุ่น เข้ามาตั้งค่ายอยู่บริเวณดังกล่าวเนื่องจากเป็นท˚าเลที่ดี แต่เรื่องที่เกิดขึ้นในที่แห่งนี้ไม่ใช่ชาวบ้านแสดงความ กล้าหาญหรือแสดงความเป็นชาตินิยมต่อสู้กับทหารญี่ปุ่น ผลงานที่ยุววิจัยน˚าเสนอกลับเป็นเรื่องที่ชาวบ้าน
มีความร่วมมืออย่างดีกับทหารญี่ปุ่น โดยทหารญี่ปุ่นจ้างคนในหมู่บ้านเข้าไปท˚างานให้ทหารญี่ปุ่น เช่น การ ท˚าครัว ท˚าถนน เป็นการจ้างที่ชาวบ้านเต็มใจรับ เพราะให้ค่าจ้างดี ไม่มีการบังคับ และทหารญี่ปุ่นก็มี อัธยาศัยที่ดี ในขณะที่ชาวบ้านสามารถเข้าไปขายของในค่ายทหารได้ ความเป็นมิตรไมตรีของทั้ง 2 ด˚าเนิน ต่อเนื่องมาเป็นอย่างดี ซึ่งทหารญี่ปุ่นเองก็พยายามผูกมิตรกับชาวบ้าน จนถึงกับไปเยี่ยมเยียนชาวบ้านถึง บ้านแต่ละบ้าน บางครั้งก็ช่วยชาวบ้านด˚านาและซื้อของจากชาวบ้าน จนชาวบ้านบางส่วนสามารถพูด ภาษาญี่ปุ่นได้มากพอสมควร นอกจากนั้นในช่วงปลายของสงครามซึ่งค่ายทหารญี่ปุ่นถูกกองทัพพันธมิตร ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดอยู่เนื่องๆ ทหารญี่ปุ่นก็เอาใจใส่คุ้มครองแรงงานที่ท˚างานอยู่ในค่ายให้ปลอดภัย โดยจัดแจงให้เข้าไปอยู่ในหลุมหลบภัยอย่างเรียบร้อย จึงไม่มีชาวบ้านเสียชีวิตจากการเข้ามาทิ้งระเบิด ดังกล่าว เรื่องค่ายทหารญี่ปุ่นที่เขาคันธธุรีจึงยังคงอยู่ในความทรงจ˚าของชาวบ้าน และเป็นความทรงจ˚าที่ดี และเป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นว่าชาวบ้านสามารถปรับตัวเข้ากับเงื่อนไขความเป็นจริง และสามารถเลือก ด˚ารงชีวิตอยู่ในเงื่อนไขความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม ชาวบ้านไม่ได้คิดอะไรแบบตายตัวอย่างที่คนทั่วไป มักคิดแทนให้
โรงเรียนมหาวชิราวุธจ.สงขลา เสนอเรื่อง มหาวชิราวุธกับสงครามโลกครั งที่ 2 ซึ่งถึงแม้จะเป็น
เรื่องสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นเรื่องของทหารญี่ปุ่นเช่นเดียวกับเรื่องที่ผ่านมา แต่ว่าได้เสนอเรื่องราวไป อีกแนวหนึ่ง คือกล่าวถึงทหารญี่ปุ่นไปในทางที่เป็นผู้ท˚าลาย และความกล้าหาญของชาวมหาวชิราวุธที่ เผชิญหน้ากับทหารญี่ปุ่นในลักษณะเท่าที่จะท˚าได้ ผลงานชิ้นนี้ทีมยุววิจัยพยายามอธิบายให้เห็นภาพว่า โรงเรียนมหาวชิราวุธ ครู และนักเรียนเข้าไปเกี่ยวข้องกับทหารญี่ปุ่นอย่างไร โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงแรก เป็นช่วงที่ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่สงขลาในปลายปี 2484 และเข้าไปยึดสถานที่ราชการต่างๆ รวมทั้ง โรงเรียนมหาวชิราวุธ โดยทหารญี่ปุ่นใช้โรงเรียนมหาวชิราวุธเป็นสถานพยาบาลภาคสนามและเป็นที่อยู่ อาศัยของทหาร รวมทั้งใช้เป็นที่ฝังศพทหารด้วย ส˚าหรับการเรียนการสอนถือว่าหยุดไปอย่างสิ้นเชิง ช่วงนี้ นับว่าเป็นช่วงที่โรงเรียนเสื่อมโทรมมากเพราะทหารญี่ปุ่นได้รื้อค้นและน˚าไม้มาใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิง เช่น โต๊ะเก้าอี้จึงถูกน˚ามาใช้เป็นฟืนทั้งหมด ส่วนทหารญี่ปุ่นก็ใช้ความรุนแรงกับประชาชน เช่น ถ้าสงสัยว่า ใครเป็นฝ่ายตรงข้ามก็จะจับมาทรมานเพื่อให้รับสารภาพด้วยการกรอกน้˚าสบู่เข้าท้อง และขู่จะยิงทิ้งหาก ประชาชนเข้าไปในเขตหวงห้าม ส˚าหรับครูและนักเรียนไม่สามารถจะต่อต้านทหารญี่ปุ่นแบบตรงไปตรงมา แต่พยายามต่ต้านในเชิงสัญลักษณ์ เช่น นักเรียนต่างพากันไปสมัครยุวทหาร ครู นักเรียน ประชาชนต่างพา กันปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลคือการยืนเคารพธงชาติในเวลา 8.00 น. ทั้งนี้ไม่ได้เพราะเชื่อผู้น˚า แต่เพื่อ แสดงให้ทหารญี่ปุ่นเห็นถึงความพร้อมเพรียงของคนไทย ครูและนักเรียนพยายามส่งความหมายบางอย่าง
ถึงทหารญี่ปุ่นอยู่เสมอ เช่น “ไทยเป็นชาติที่ดีที่สุดต่อมิตรแต่ร้ายที่สุดต่อศัตรู” ,“ไทยเป็นชาตินักรบชั้น เยี่ยม” ใครที่พอจะกลั่นแกล้งทหารญี่ปุ่นได้ก็จะท˚า ทหารญี่ปุ่นยึดโรงเรียนมหาวชิราวุธไว้ประมาณ 1ปีก็น˚า ก˚าลังลงไปยังประเทศมาเลเซีย จึงเข้าสู่ช่วงที่สอง คือช่วงที่โรงเรียนเปิดสอนได้อีกครั้งหนึ่ง แต่ว่าการเรียน การสอนก็เป็นไปอย่างยากล˚าบากเพราะญี่ปุ่นท˚าให้โรงเรียนทรุดโทรมมาก นักเรียนไม่มีแม้โต๊ะเก้าอี้จะนั่ง เรียน ต้องนั่งเรียนกับพื้น ในปี 2487 ญี่ปุ่นเริ่มเพลี่ยงพล้˚าในการรบ จึงส่งทหารจ˚านวนหนึ่งกลับมาคุมเชิงที่ สงขลา แต่กลับเข้ามาไม่มากนัก และแบ่งแยกเป็นหน่วยย่อยๆ โรงเรียนมหาวชิราวุธจึงยังคงเปิดสอนต่อไป ได้ แต่อยู่ในลักษณะ“เรียนก็เรียนกันไป รบก็รบกับไป” คือครูนักเรียนก็ยังหาโอกานต้อต้านในเชิง สัญลักษณ์ต่อทหารญี่ปุ่น จนกระทั่งสงครามสิ้นสุดและญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ก็เข้าสูช่วงที่สามที่ทีมยุว วิจัยน˚าเสนอคือนักเรียนต้องประสบกับยุคข้าวยากหมากแพง พวกเขาเกือบไม่มีเสื้อผ้าใส่ กระดาษจะใช้ เขียนก็หายาก สีจะใช้ในการเรียนวิชาศิลปะก็ต้องท˚ากันขึ้นเอง เหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สองอาจมีผู้ กล่าวถึงมาก แต่ส˚าหรับชาวหมาวชิราวุธมีแง่มุมที่เป็นความทรงจ˚าของตนที่ไม่มีใครรู้ และเมื่อกล่าวถึงเรื่อง นี้ขึ้นมาทีไรชาวมหาวชิราวุธก็จะยอมรับว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่สร้างชีวิตชีวาให้แก่ประวัตศาสตร์ของมหา วชิราวุธ ในขณะที่ใครได้ศึกษาก็จะเข้าใจถึงแง่มุมของสงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทยในแง่มุมที่ หลากหลายขึ้น
โรงเรียนสิชลคุณาธารxxxxx จ.นครศรีธรรมราช เสนอเรื่อง เหมืองเชียร่ากับผลกระทบต่อวิถี ชีวิตของชาวต˚าบลxxxx เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการท˚าเหมืองxxxxxxน˚าการเปลี่ยนแปลงมาสู่ชุมชน ซึ่งทีม ยุววิจัยเสนอข้อมูลxxxxxเนื่องจากยังมีผู้คนที่มีประสบการในการเป็นคนงานอยู่เหมือแร่อยู่หลายคน เพราะ เหมืองxxxxxxxxหยุดด˚าเนินการไปเมื่อปี 2530 นี้เอง หลังจากที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนสังคมโลกครั้งที่ 2 เรื่องนี้ เสนอให้เห็นทั้งแง่มุมของชาวต่างชาติที่เข้ามาท˚าเหมืองตามสัมปทานxxxxxxรับ ชาวต่างชาติที่เข้ามาท˚างาน ในเหมืองแร่ คนในxxxxxxxxxxxเข้ามาเป็นหัวหน้าแรงงานและแรงงานขุดแร่ จุดเด่นของเรื่องคือการอธิบายให้ เห็นชีวิตของคนกลุ่มต่างๆxxxxxxxxxxxกันในเหมือง ความเจริญด้านต่างๆที่xxxxxผู้ได้รับสัมปทานท˚าให้เกิดขึ้นใน xxxxxxxxบริเวณxxxxxxรับสัมปทานนั้นเป็นป่ารกทึบ ชุมชนที่อยู่บริเวณนั้นก็อยู่อย่างยากล˚าบาก xxxx การท˚า เหมืองแร่ท˚าให้เกิดเส้นทางรถรางส˚าหรับขนแร่ ชาวบ้านได้อาศัยรถรางขนแร่เดินทางออกxxxxxภายนอก ชาวบ้านมีรายได้จากการเป็นคนงานและการxxxxxxxขายให้แก่บริษัท เป็นต้น ในขณะฝ่ายของบริษัทxxxxxเอง ก็เข้าใจผู้คนในxxxxxxxxxxxเข้ามาท˚างานหรือเป็นแรงงานอยู่ในเหมือง และxxxxxxxxxว่าตนเองเป็นเพียงผู้มา จากxxxxxx จึงด˚าเนินงานแบบเอาใจใส่ผู้ร่วมงานทุกคน ไม่เพียงมุ่งที่ก˚าไรสูงสุดของตนเท่านั้น ชาวบ้านที่
ท˚างานในเหมืองยุคนั้นจึงรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของเหมือง และเห็นว่าการเกิดขึ้นของเหมืองxxxxxxน˚าความ xxxxxxxสู่ชุมชน และนับเอาช่วงการท˚าเหมืองเป็นช่วงประวัติศาสตร์หนึ่งของxxxxxxxxแถบนั้น
โรงเรียนxxxxxxxxxxxเกียรติxxxxxxxxxxxxxx จ.นครศรีธรรมราช เสนอเรื่อง ร่องรอยวิถีชีวิตและ เศรษฐกิจของชาวxxxxxxxxxxxในยุคการท˚าเหมืองแร่ โดยเสนอให้เห็นว่าxxxxxxxxxxxเป็นอ˚าเภxxxxมีแร่ ธาตุมาก ชีวิตของชาวบ้านจึงผูกพันอยู่กับการท˚าเหมืองแร่อย่างมาก ซึ่งทีมยุววิจัยได้แบ่งยุคการน˚าเสนอ เป็น 3 ยุค คือยุคก่อนท˚าเหมืองแร่ ยุคท˚าเหมืองแร่ และยุคหลังท˚าเหมืองแร่ โดยในยุคก่อนท˚าเหมืองแร่นั้น xxxxxxxxx อ.xxxxxxxxxจะท˚าสวน ท˚าไร่ และท˚านา เป็นหลัก ท˚าสวนคือท˚าxxxxxxxx ท˚าไร่ก็คือการปลูก ข้าวไร่ บางพื้นที่ที่เป็นที่ลุ่มก็ท˚านาด˚า ยุคท˚าเหมืองแร่เริ่มจากบริษัทxxxxxจากประเทศมาเลเซียซึ่งขณะนั้นยัง เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ได้ขอสัมปทานขุดแร่จากทางราชการ และน˚าเรือขุดแร่เข้ามาขุดหาแร่ธาตุอย่าง กว้างขวางจนพื้นที่ x.xxxxxxxxxxxเต็มไปด้วยหลุมแร่ และป่าไม้ถูกท˚าลายไปเป็นจ˚านวนมาก แต่xxxxxxxxx ยุคนั้นเห็นว่าการท˚าเหมืองแร่น˚าความxxxxxxxให้ เพราะประการแรกบริษัทxxxxxxสร้างความxxxxxxxxxใดๆ ให้แก่ชาวบ้าน เนื่องจากท˚าอยู่ในเขตป่าซึ่งยังไม่มีชาวบ้านเข้าไปตั้งxxxxxxx และสมัยนั้นประชากรของ อ˚าเภอxxxxxxxxxยังมีน้อยมาก ประการที่สอง การท˚าเหมืองแร่ช่วยท˚าให้ชาวบ้านมีเศรษฐกิจดีขึ้นมาก ทั้ง การเข้าไปเป็นลูกจ้างในเหมืองแร่ การลักลอบขุดแร่ขาย และการประกอบอาชีพค้าขาย โดยชาวบ้าน จ˚านวนหนึ่งประกอบอาชีพขายเครื่องกินเครื่องใช้ให้แก่คนงานในเหมืองซึ่งมีอยู่เป็นจ˚านวนมาก ประกอบ กับxxxxxเจ้าของเหมืองมีน้˚าใจต่อชาวบ้านด้วย xxxx มีการจ่ายค่าท˚างานล่วงเวลา ให้มีการเบิกเงินล่วงหน้าได้ เมื่อมีความจ˚าเป็น มีการเลี้ยงอาหารในโอกาสพิเศษ รวมทั้งการเอาใจใส่ชีวิตความเป็นอยู่ของคนงาน xxxx จัดคนมาสอนภาษาอังกฤษให้ ยุคหลังการท˚าเหมืองxxxxxxxxเกิดในช่วงปลายxxxxxx 2520 ซึ่งขณะนั้นแร่ ธาตุเหลือน้อยแล้วไม่คุ้มทุนที่บริษัทจะด˚าเนินการต่อไป บริษัทจึงเลิกท˚าเหมืองไป แต่ว่าก็ยังมีชาวบ้าน ลักลอบขุดแร่อยู่จนถึงปัจจุบัน แต่ก็เหลือน้อยมากแล้ว ปรากฏว่าในยุคนี้กลับมีเหตุการณ์ร้ายxxxxxxx ชาวบ้าน คือการท˚าเหมืองแร่ท˚าให้สารหนูxxxxxxxxxxซึมสู่แหล่งน้˚าต่างๆท˚าให้เกิดพิษภัยแก่ประชาชน ซึ่ง ประชาชนน่าจะได้รับสะสมมานานแล้ว แต่ว่ายุคนี้เพิ่งปรากฏอาการให้เห็นทั้งผู้เจ็บป่วย และผู้ล้มตาย น˚ามาสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจของชาวบ้านอย่างมาก เนื่องจากไม่มีใครกล้าซื้อผลผลิตทางการเกษตรของ xxxxxxx xxปัจจุบันพิษภัยสารหนูxxxxxxxxxxxxxxก็ยังxxxxxxxxxxอยู่และไม่มีใครxxxxxxแก้ไขให้หมดไป อย่างสิ้นเชิงได้
โรงเรียนวัดคีรีวิหาร จ.ตรัง เสนอเรื่อง ชุมชนห้วยยอดก่อนและหลังการท˚าเหมืองแร่ เรื่องนี้ผู้ ศึกษาต้องการชี้ให้เห็นว่าชุมชนตลาดห้วยยอดในปัจจุบันเติบโตมาจากพัฒนาการการท˚าเหมื องแร่ ซึ่ง ด˚าเนินต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ x.xxxxxxxตั้งอยู่ในเขตที่เต็มไปด้วยห้วยน้˚าและภูเขา ในปี 2400 มีการขุดพบสายแร่ดีบุก ท˚าให้xxxxxxxขุดแร่กันอย่างจริงจังมาตั้งแต่บัดนั้น โดยในระยะแรกชาวบ้าน จะขุดกันเอง โดยใช้xxxxxขุดลึกไปประมาณ 10 เมตร จากนั้นน˚าหินปนแรจากสายแร่ขึ้นมาล้างหรือทุบย่อย เอาก้อนแร่ออก ต่อมาคนคนxxxเข้ามาสัมปทาน และมีxxxxxxxตามเข้ามาอีกเป็นจ˚านวนมาก การท˚าเหมือง xxxxxxเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น โดยมีกรรมวิธีการท˚าเหมืองที่ทันสxxxxxxขึ้น ปี 2458 มีxxxxxxอีกกลุ่มหนึ่ง เข้ามาสัมปทานโดยได้พื้นที่สัมปทานถึง 3,000 ไร่ การท˚าเหมืองแร่ในช่วงนี้ใช้เทคโนโลยีxxxxxxxxxxxไปอีก โดยมีทั้งเหมืองรู เหมืองแล่น เหมืองเรือขุด และเมืองฉีด ในช่วงเวลานี้ก็มีคนxxxหลายคนเข้ามาเป็นพ่อค้า ซื้อแร่ ทั้งหมดนี้ท˚าให้ชุมชนxxxxxxเติบโตขึ้นมาก จนถึงขั้นมีการสร้างโรงเรียนให้ลูกหลานคนxxxxxxเรียน โดยเฉพาะ รวมทั้งมีการสร้างศาลเจ้าขึ้นด้วย ปี 2467 มีบริษัทจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาขอสัมปทาน มาถึง ณ เวลานี้พื้นที่การท˚าเหมือxxxxxxขยายไปอย่างกว้างขวาง และเศรษฐกิจของห้วยยอดสมัยนั้นจะ ขึ้นอยู่กับดีบุก สิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่มากับการท˚าเหมืองแร่ คือตลาด โดยศูนย์กลางชุมชนของกลุ่มท˚าเหมืองxxxxxคือ บริเวณที่มีการสร้างศาลเจ้า ซึ่งเป็นบริเวณเดียวกับที่มีการตั้งโรงงานคัดแยกแร่ การรับซื้อแร่ ท˚าให้เกิดตลาด ใหญ่ขึ้นบริเวณนี้ และบริเวณตลาดดังกล่าวนี้คือศูนย์กลางความเจริญในสมัยนั้น ความใหญ่โตของตลาด อาจxxxxxจากสถานบันเทิงซึ่งมีอยู่มากมาย xxxxสโมสรกีฬาห้วยยอด โรงภาพยนตร์ซึ่งมีอยู่ 3 โรง แหล่ง บันเทิงประเภทบ่อนชนวัว บ่อนชนไก่ บ่อนปลากัด ก็มีอยู่ครบถ้วน ตลาดดังกล่าวได้พัฒนาต่อเนื่องมาเป็น ตลาดห้วยยอดในปัจจุบัน ระหว่างปี 2525 – 2528 บริษัทxxxxxxxxยกเลิกกิจการท˚าเหมือแร่ และมีนักธุรกิจ xxxxxxจาก จ.ภูเก็ต และ จ.ตรัง ได้เข้ามาด˚าเนินกิจการต่อ แต่ก็ด˚าเนินxxxxxxนานเพราะสายแร่ดีบุกเริ่มหมด ในขณะที่ราคาดีบุกในตลาดโลกตกต่˚า ในที่สุดอุตสาหกรรมเหมือแร่ดีบุกใน x.xxxxxxxก็ต้องปิดตัวลง อย่างสิ้นเชิง แต่ว่าตลาดห้วยยอดก็ไม่xxxxxxxx กระทบอะไร เนื่องจากขณะนั้นภาคพาณิชยกรรมของห้วย ยอดได้เติบโตอย่ามากแล้ว หรือเศรษฐกิจหลักของห้วยยอดได้ปรับตัวจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไปสู่การ พาณิชย์ได้แล้ว เนื่องจากท˚าxxxxxตั้งของตลาดห้วยยอดเป็นทางผ่านไปสู่ 3 จังหวัดส˚าคัญ ได้แก่จังหวัดตรัง จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดxxxxxxxxxราช จึงเกิดอาคารร้านค้า และภาคบริการต่างๆไว้รองรับคนผ่านทาง xxxxมีโรงแรมถึง 5 แห่ง เพิ่งมาประมาณ 10 ปีที่ผ่านมานี้เอง ที่ตลาดห้วยยอดต้องอยู่ในสภาพxxxxxxxx เนื่องจากทางราชการได้สร้างถนนสายเลี่ยงเมืองกว้าง 4 xxx ท˚าให้ผู้คนxxxxเดินทางโดยถนนสายนี้ ซึ่ง
หมายถึงว่าเลิกใช้สายxxxxxxxต้องผ่านตลาดห้วยยอด ตลาดxxxxxxxxxxมีผู้คนแวะเวียนเข้าไปซื้อขายหรือใช้ บริการลดลงมาก
โรงเรียนห้วยนางราษฎร์บ˚ารุง จ.ตรัง เสนอเรื่องเศรษฐกิจ สังคม ของชุมชนต˚าบลท่างิ วยุค เหมืองแร่ เรื่องนี้คณะยุววิจัยเสนอให้เห็นประเด็นxxxxxxต่างจากสองเรื่องข้างต้นนัก คือชี้ให้เห็นว่าการท˚า เหมืองแร่ขนาดใหญ่ของบริษัทxxxxxxรับสัมปทานจากรัฐน˚าความxxxxxxxสูxxxxxxxx xxxxในแง่เศรษฐกิจ สังคม และการเกิดโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยผู้ศึกษาได้น˚าเสนอเนื้อหาเป็น 3 ยุค คือต˚าบลท่างิ้วยุคก่อนเกิด เหมืองแร่ ยุคเหมืองแร่ และหลังยุคเหมืองแร่ โดยในยุคก่อนเหมืองแร่นั้นยังมีประชากรไม่มาก ประชาชนจะ ท˚าสวน ท˚าไร่ ท˚านา และเก็บของป่าเป็นหลัก ยุคเหมืองแร่เริ่มต้นในปี 2490 มีบริษัทเหมืองxxxxxxรับ สัมปทาน xxxxxxxจริงผู้ศึกษาก็เสนอให้เห็นว่าก่อนหน้าที่จะมีบริษัทได้รับสัมปทาน ชาวบ้านคือผู้ที่พบสายแร่ ก่อนและได้หาแร่ธาตุขายxxxxxxโดยใช้เครื่องมือและวิธีการแบบชาวบ้าน ต่อมาเมื่อทางราชการทราบเรื่อง จึงเปิดให้มีการสัมปทาน ลักษณะxxxxนี้พบว่าทุกเรื่องที่น˚าเสนอเกี่ยวกับการท˚าเหมืองxxxxxxกล่าวถึง เหตุการณ์นี้ทั้งสิ้น เพียงแต่xxxxxxxxxหยิบขึ้นมาเป็นประเด็นส˚าคัญ เพราะจะเห็นถึงกระบวนการพัฒนา เศรษฐกิจxxxxxxxxxxxรัฐได้เข้ามาแย่งยึดทรัพยากรจากxxxxxxxxไปตอบxxxxการลงทุน โดยชาวบ้านเองก็ไม่ ทราบเรื่องนี้ และยังไม่มีความคิดในการต่อต้าน แต่ได้เข้าไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับการเข้ามาลงทุน ดังกล่าว ดังจะเห็นxxxxxxกล่าวถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่การท˚าเหมืองน˚ามาให้แก่xxxxxxxx xxxx การเก็บ หรือxxxxxxxขาย การxxxxแรงงาน การเกิดอาชีพต่อเนื่องขึ้นมากมายทั้งการค้าขายและการบริการ รวมทั้ง ตลาดในตัวเมือง (x.xxxxxxx จ.ตรัง) ก็คึกคักจากการสะพัดของเงินจากการท˚าเหมืองดังกล่าว ในด้าน สังคมการท˚าเหมืองก็น˚าประโยชน์มาให้แก่xxxxxxxxxxxxกัน ได้แก่xxxxxxxอพยพเข้ามาท˚างานของคนจาก หลากถิ่น บางส่วนก็มาตั้งxxxxxxxxxอยู่ในที่แห่งใหม่ ท˚าให้เกิดประชากรxxxxxมากขึ้นและเป็นพลังในการ ช่วยพัฒนาxxxxxxxx และท้ายสุดคือการท˚าเหมืองแร่ช่วยให้เกิดความเจริญในด้านโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นที่ ต้องการของชาวบ้าน xxxx ถนน ไฟฟ้า เป็นต้น ยุคหลังการท˚าเหมืองแร่นับแต่ปี 2528 เป็นต้นมา แม้ งานวิจัยนี้จะสะท้อนให้เห็นเสียงของxxxxxxxxxมุมการท˚าลายทรัพยากรของเหมืองxxx xxxx การโค่นป่า การ บุกรุกเข้าไปท˚าเหมืองในพื้นที่นอกเขตสัมปทาน การท˚าลายผืนดินและแม่น้˚าล˚าxxxx แต่ชาวบ้านก็ยังมอง ว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่ เนื่องจากพวกเขาก็ยังปรับตัวใช้ประโยชน์จากที่ดินเหมืองร้างได้ เนื่องจากที่ดินที่ให้ สัมปทานท˚าเหมืองรัฐจะทิ้งรกร้างไว้ เพราะไม่xxxxxxใช้ประโยชน์อะไรได้ แต่ส˚าหรับชาวบ้านxxxxxx ปรับตัวเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ตามสภาพของพื้นที่ xxxx xxxxxxใช้ประโยชน์จากหลุมบ่อขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้น
จากการท˚าเหมืองในการหาปลาและเลี้ยงปลา เป็นต้น สภาพการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นได้เพราะชาวบ้าน มองเห็นว่า "การเข้ามาของเหมืองxxxxxxมาเอาเพียงอย่างเดียวแต่ก็ให้ความเจริญแก่ชุมชนด้วยxxxxกัน”
โรงเรียนวรxxxxเฉลิม จังหวัดสงขลา เสนอเรื่อง การหยุดเดินรถไฟขบวนสงขลา-หาดใหญ่กับ ผลกระทบต่อประชาชนในต˚าบลบ่อยาง" เรื่องนี้ได้ช่วยให้คนปัจจุบันได้รับรู้ว่าแต่เดิมมีรถไฟเดินจาก หาดใหญ่มาสงขลา โดยมีมาตั้ง 1 มากราคม ปี 2456 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 เพิ่งเลิกไปอย่าง สิ้นเชิงเมื่อ17 xxxxxx 2521และช่วยให้ผู้xxxxxxนั่งรถไฟสายดังกล่าวและยังมีชีวิตอยู่ได้ย้อนถึงชีวิตในวัย เด็กหรือวัยหนุ่มสาวของตนxxxxxxพึ่งพารถไฟสายหาดใหญ่-สงขลาและสร้างสรรค์ชีวิตชีวาของตนมากับ พัฒนาการของรถไฟสายดังกล่าว ทั้งนี้ตัวเมืองสงขลาอยู่นอกเส้นทางรถไฟ รางรถไฟทอดแนวจากจังหวัด พัทลุงเข้าสู่อ˚าเภอหาดใหญ่และมุ่งตรงต่อไปยังจังหวัดปัตตานี รถไฟที่ไปสงขลาต้องสร้างรางขึ้นใหม่แบบ เฉพาะเจาะจงโดยแยกจากชุมทางหาดใหญ่ ทีมยุววิจัยอธิบายเหตุการณ์ให้เห็นเป็น 2 ยุค ยุคแรกคือยุค การเกิดขึ้นและความส˚าคัญของรถไฟ ยุคที่สองคือยุคสิ้นสุดรถไฟสายหาดใหญ่สงขลา ในยุคแรกทีมยุววิจัย ได้แสดงให้เห็นประวัติการเกิดขึ้นของรถไฟสายนี้ ความส˚าคัญต่อเหตุการณ์ส˚าคัญในประวัติศาสตร์ xxxx สงครามโลกครั้งที่สองที่ทหารxxxxxxxยกพลขึ้นบกxxxxxxxx แต่xxxxxxจะถือเป็นจุดเด่นของการน˚าเสนอในช่วงนี้ คือการแสดงให้เห็นอย่างมีชีวิตชีวาถึงความส˚าคัญของรถไฟต่อชาวสงขลาทั้งในแง่ของการเดินทางไปมา การเดินทางไปเรียนหนังสือที่หาดใหญ่แบบไปกลับทุกวันของนักเรียนจ˚านวนมาก การบรรทุกสินค้าซึ่งท˚าให้ xxxxxxxค้าขายทั้งระดับxxxxxxxx ระดับจังหวัด และระดับประเทศ โดยทีมยุววิจัยxxxxxxตามไปสัมภาษณ์ผู้ ที่มีชีวิตอยู่ในยุคนั้นและได้ใช้ประโยชน์รถไฟสายนี้ลักษณะต่างๆมากมายหลายคน จึงได้ข้อมูลที่ไม่มี ปรากฏอยู่ในที่ใด ยุคที่สองทีมยุววิจัยเสนอให้เห็นอย่างชัดเจนว่าท˚าไมรถไฟสายนี้ถูกยกเลิกไป และแสดง ให้เห็นทั้งความผูกพันและการยอมรับการเปลี่ยนแปลงของคนสงขลาที่ใช้ประโยชน์รถไฟตลอดมา แต่แง่มุม ใหม่ที่ทีมยุววิจัยน˚าเสนออย่างน่าสนใจคือความเสื่อโทรมและการสูญเสียของส่วนประกอบต่างๆxxxxxx ปรากฏออกมาเป็นความยิ่งใหญ่ของรถไฟ xxxx ตัวสถานีรถไฟ รางรถไฟ แม้กระทั่งที่ดินของการรถไฟ ที่เมื่อ ยกเลิกการเดินรถแล้วการรถไฟก็ไม่เข้ามาดูแลใดๆ ท˚าให้ถูกบุกรุกโดยชาวบ้านเพื่อเข้าไปใช้ ประโยชน์ ลักษณะต่างๆ
4. การเสนอเศรษฐกิจของชุมชน โดยเริ่มตั งแต่ยุคxxxxxxxชุมชนต่างๆยังxxxxxxสร้างสรรค์ เส้นทางเศรษฐกิจของตนขึ นมาอย่างมีชีวิตชีวาและชาวบ้านxxxxxxก่อรูปความxxxxxxxxต่างๆ ได้ อย่างสอดคล้องกับชีวิตทางเศรษฐกิจ และต่อมาหมู่บ้านและxxxxxxxxxxxถูกผนวกเขาสู่ระบบ เศรษฐกิจของประเทศ ชีวิตทางเศรษฐกิจของxxxxxxxxxxxxxxxxxxxอยู่ในลักษณะxxxxxxxxxxxx ก˚าหนดความเป็นไปของตนเองxxxxxxxเดิม
ผลงานของยุวววิจัยกลุ่มแรกซึ่งมีอยู่หลายเรื่องได้เสนอให้เห็นถึงxxxxxของตลาดนัด ตลาดลักษณะนี ถือเป็นชีวิตชีวาของxxxxxxxxเพราะเป็นเรื่องxxxxxxxxxxxสร้างสรรค์กันขึ นมาเอง คน ในชุมชนต่างๆยังเป็นตัวละครส˚าคัญไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าแม่ค้าหรือเป็นผู้บริโภค ตลาดนัดจึงช่วย ให้เศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองของชุมชนเป็นจริงได้ เพราะเป็นพื xxxxการแลกเปลี่ยนซื อขายขาย xxxxxxxxxช่วยให้ชาวบ้านxxxxxxหาสิ่งขาดแคลนส˚าหรับการด˚ารงชีวิตได้ เพราะไม่มีชาวบ้านที่ ไหนที่xxxxxxผลิตสิ่งจ˚าเป็นส˚าหรับการด˚ารงชีวิตได้ทุกอย่างครบถ้วนทุกอย่าง งานยุววิจัย ประวัติศาสตร์xxxxxxxxxxxให้ภาพชีวิตของผุ้คนและการเปลี่ยนแปลงตลาดนัดxxxxx เพราะว่า xxxxxxศึกษาข้อมูลมูลจากชาวบ้านxxxxxxมีประสบการณ์ค้าขายอยู่ในตลาดนัดที่กล่าวถึงทั งสิ น
โรงเรียนxxxxxxxxxxxxxx จ.พัทลุง น˚าเสนอเรื่อง ตลาดนาxxxxบนเส้นทางการเปลี่ยนแปลงจาก ยุคสายน ˚าและทางพลีถึงยุคถนนสายเอเชีย งานศึกษานี้มุ่งเน้นน˚าเสนอการแลกเปลี่ยนซื้อขายผลผลิต ผ่านตลาดที่เป็นจุดเชื่อมระหว่างคนสามกลุ่มคือ คนเมือง(พ่อค้า) ชาวนา และชาวสวนเชิงเขา ตลาดแห่งนี้ คือตลาดนาxxxx (ต.นาxxxx อ.เมือง จ.พัทลุง) ผู้ศึกษาได้แบ่งยุคของตลาดไว้ 3 ยุค คือ ยุคสายน้˚าและทาง พลี ยุคถนนหนทาง และยุคถนนสายเอเชีย ตลาดนาxxxxในยุคแรกยังเรียกว่า "บ่อนต้นชด" เพราะเกิด ตลาดขึ้นใต้ร่มเงาของ “ต้นชด” ต้นไม้แถบเชิงเขาที่มีร่มเงากว้างใหญ่ ซึ่งช่วยบอกเล่าถึงเงื่อนไขการเกิด ตลาดว่า มาจากสถานที่ดังกล่าวเป็นจุดหยุดxxxxxxxxxxของคนเดินทางระหว่างชุมชนชาวนากับชุมชนเชิง เขา ในยุคนี้กิจกรรมการซื้อขายจึงเกิดขึ้นระหว่างคนสองกลุ่ม คือ "หมู่ทุ่ง" (ชาวนา) กับ "หมู่เหนือ" (ชาวไร่/ ชาวสวน)จากชุมชนเชิงเขา สินค้าที่น˚ามาแลกเปลี่ยนซื้อขายกันคือผลผลิตของชาวนาและพืชไร่พืชสวนของ ชาวไร่และชาวสวนจากชุมชนเชิงเขา ปลายๆยุคได้มีคนxxxจากชานเมืองเข้ามาตั้งร้าน หรือ "กว้าน" ขึ้นที่ ตลาดแห่งนี้ ในยุคที่สองซึ่งมีเงื่อนไขให้ตลาดนาxxxxเข้าสู่ยุคxxxxxxxxxตั้งแต่ต้นxxxxxx 2490 เงื่อนไขดัง กล่าวคือ การเปิดป่าให้ชาวบ้านพื้นล่างเข้าไปxxxxxxxxxxท˚ากินโดยรัฐจะรับรองxxxxxในการท˚ากิน เงื่อนไขนี้ท˚า ให้เกิดผู้คนจ˚านวนมากเคลื่อนไปตั้งรกรากแถบเชิงเขาและส่งผลต่อการxxxxxผลผลิตภาคเกษตรออกมาสู่ ตลาด ซึ่งพร้อมๆกันนี้ถนนสายพัทลุง-ตรัง xxxxxxรับการกรุยทางไว้มาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สองก็ได้รับ การพัฒนาจนใช้การxxxxx อีกทั้งถนนทางพลีที่เชื่อมชุมชนเชิงเขากับตลาดxxxxxxxxxxxรับการพัฒนาให้ขน
สินค้าจากเชิงเขาลงมาได้สะดวกขึ้น ซึ่งถนนสายนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า "ถนนท่านช่วย" ตามพระสงฆ์ผู้น˚า การพัฒนา สามเงื่อนไขดังกล่าวท˚าให้ตลาดนาxxxxxxความxxxxxxxxxมาก ชาวบ้านน˚าผลผลิตออกมาส่งขาย กับแม่ค้าทั้งรายย่อยและรายใหญ่อย่างคึกคัก และในยุคนี้ต้นชดล้มลงเพราะอุทกภัย ตลาดจึงเปลี่ยนชื่อ เป็นตลาดนาxxxxตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในปลายxxxxxx 2490 ตลาดxxxxxxxxxพัฒนาขึ้นเป็นโรงเรือนของ ตลาดขนาดใหญ่ ถนนที่สะดวกขึ้นท˚าให้บรรดาแม่ค้าต่างถิ่นเข้ามารวบรวมซื้อสินค้าจากตลาดแห่งนี้ไป ขายต่อ ความxxxxxxxxxของตลาดนี้ยาวนานอยู่กว่าสี่xxxxxx กระทั่งเมื่อเข้าสู่xxxxxx 2520 อันเป็นยุคที่ สามของงานศึกษานี้ ตลาดxxxxxxxxเข้าสู่การxxxxx xxxxxxxเพราะเงื่อนไขใหม่นั้นคือการตัดถนนสายxxxxxxxxx ผ่านจังหวัดพัทลุงที่สี่แยกบ้านท่ามิหร˚าซึ่งไม่ผ่านตลาดนาxxxx และเมื่อย่างเข้าสู่ปลายxxxxxx 2520 การ ผลิตของชาวบ้านทั้งแถบเชิงเขาและชุมชนxxxxxxxxเปลี่ยนไปxxxxxxxเศรษฐกิจxxxxยางพาราเป็นหลักมาก ขึ้น พร้อมๆกับที่ตลาดย่อยๆตามหมู่บ้านชนบทขอบนอกเริ่มพัฒนาขึ้นเป็นตลาดประจ˚าชุมชน เงื่อนไข ดังกล่าวท˚าให้ตลาดนาxxxxลดขนาดลงเหลือแค่เป็นตลาดการซื้อของกินในครัวเรือนไปในที่สุด
โรงเรียนxxxxxxx จ.สตูล เสนอเรื่องย้อนอดีตบาตูอ˚าปา ตลาดสินค้าของหมู่xxxกับหมู่เล เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับตลาดนัดอีกเรื่องหนึ่ง เกิดขึ้นในปี 2471 ณ ชายฝั่งทะเลบ้านท่าเรือ หมู่ที่ 6 ต. ควน โพธิ์ อ.เมือง จ.สตูล โดยในสมัยนั้นสถานที่แห่งนี้ยังห่างไกลความเจริญมาก บรรพบุรุษของหมู่บ้าน“บาตูอ˚า ปา”(ปัจจุบันเรียกว่าบ้านท่าเรือ) ซึ่งอพยพมาจากลังกาxxxxxคิดตั้งตลาดแห่งนี้ขึ้น ปรากฏว่าตลบาดเติบโต ขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากบริเวณพื้นที่ดังกล่าวไม่มีตลาดตั้งอยู่เลย ตลาดแห่งนี้เป็นที่แลกเปลี่ยนซื้อขายกัน ระหว่างxxxxxxหรือชาวบกที่มาจากต่างต˚าบล ต่างอ˚าเภอ บางคนต้องเดินทางไกลประมาณ 20 -30 กิโลเมตร การเดินทางเต็มไปด้วยความยากล˚าบากมาก กับอีกพวกหนึ่งคือชาวเลซึ่งเดินทางมาจากเกาะ ต่างๆ โดยใช้เรือแจวเป็นพาหนะ ซึ่งกว่าจะถึงตลาดต้องใช้เวลาหลายสิบชั่วโมง สินค้าของหมู่xxxได้แก่ ข้าวสาร น้˚าตาล หมากxxx xxไม้ เผือก มัน พืชผักต่างๆ อาหารแห้งทุกประเภท ส่วนสินค้าของหมู่เลเป็น ประเภท xxxx หอย ปู ปลา ที่แปรรูปแล้ว ตลาดนัดเปิดสัปดาห์ละวันคือวันเสาร์ โดยในทุกวันศุกร์ชาวบ้านxxxx xxxxxxและชาวเลจะมานอนxxxxxxตลาดนัด ในคืนนี้จะมีมโหรสพมาแสดงให้ชมเพื่อสร้างความเพลิดเพลิน แก่ผู้ค้างคืน ตลาดแห่งนี้จึงไม่เพียงเป็นพื้นที่การแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายผลผลิตเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นที่ที่คน ใกล้ไกลxxxxxxสร้างเครือข่ายการพึ่งพากันได้อย่างกว้างขวาง จากยุคความxxxxxxxxxของตลาดดังที่กล่าวมา ก็เข้าสู่ยุคความเสื่อมถอย ซึ่งเกิดจากความเจริญxxxxxxxxxxxเปลี่ยนพื้นที่ความเจริญแบบใหม่ที่อิงอยู่กับการ เดินทางและขนส่งทางถนน ท˚าให้ศูนย์กลางความเจริญแบบxxxxxxxอิงอยู่กับการเดินทางแบบเดิมก็เปลี่ยนไป บ้าน”บาตูอ˚าปา”ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางการค้าขายจึงกลายเป็นพื้นที่ชายขอบส˚าหรับการพัฒนาสมัยใหม่ ชื่อ
“บาตูอ˚าปา” ที่หมายถึงหินที่เรียงกันอยู่ในล˚าxxxxxxหมดความหมาย หมู่บ้านจึงมีชื่อแบบใหม่ที่ตั้งโดย ทางการ
โรงเรียนวัดxxxxxxx จ.นครศรีธรรมราช เสนอเรื่อง ตลาดนอกท่า : ชุมทางเศรษฐกิจของ อ˚าเภxxxxxxxxx เรื่องนี้ผู้ศึกษาได้อธิบายถึงตลาดนอกท่าซึ่งเป็นตลาดส˚าคัญของxxxxxxxxในเขต x.xxxx xxxx จ.นครศรีธรรมราช โดยตลาดนี้แต่เดิมอยู่ริมxxxxนอกท่าซึ่งเป็นxxxxส˚าคัญของxxxxxxxxxxxเชื่อมโยง ชุมชนในแถบxxxxxxกับที่ลุ่มเข้าด้วยกัน เนื่องจากxxxxดังกล่าวก˚าเนิดมาจากเทือกเขาหลวงแล้วไหลลงมา ผ่านxxxxxxและที่ลุ่มและลงทะเลในที่สุด ตลาดนอกท่าในยุคนี้จึงเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนซื้อขาย ผลผลิตของคนในพื้นที่ต่างๆดังกล่าวโดยอาศัยxxxxนอกท่าเป็นเส้นทางการติดต่อ แต่ที่ผลงานของยุววิจัย ต้องการน˚าเสนอเป็นตลาดนอกท่าที่ย้ายมาอยู่ริมถนน ณ สถานที่ในปัจจุบัน ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่การสร้างถนน สายนครศรีธรรมราช-xxxxxxxx ซึ่งเป็นช่วงที่การเดินทางทางถนนเข้ามาแทนที่การเดินทางทางน้˚า รายงาน ฉบับนี้ได้แบ่งยุคการเปลี่ยนแปลงของตลาดนอกท่านับแต่ย้ายมาอยู่ริมถนนเป็นสามยุค คือ ยุคแรกถนน หนทางยังไม่สะดวกนัก ตลาดนอกท่าจึงยังxxเป็นตลาดที่ชาวบ้านน˚าพืชผักมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน เหมือนเดิม ยุคที่สองเป็นยุคที่ถนนหนทางได้รับการพัฒนามมากขึ้น ทั้งเกิดถนนลาดยางเกิดถนนก้างปลา เชื่อต่อชุมชนต่างๆเข้ากับถนนใหญ่ ท˚าให้ชาวบ้านมีรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ใช้มากขึ้น ส่งผลให้xxxxxxxน˚า สินค้ามาขายและมาจับจ่ายใช้สอยที่ตลาดนอกท่ากันมาก รวมทั้งมีพ่อค้าคนกลางมารอรับซื้อพืชผักจาก ชาวบ้านไปขายยังที่อื่น และมีพ่อค้าจากในเมืองน˚าสินค้ามาขายได้สะดวก การค้าขายที่ตลาดนอกท่าจึง เติบโตขึ้นมาก จนถึงยุคที่สามคือยุคที่การเดินทางโดยถนนเจริญเต็มที่ การค้าขายที่ตลาดนอกท่าถึงขั้นที่มี พ่อค้าแม่ค้าเข้ามาตั้งร้านขายของxxxxมากมายหลายร้าน รวมทั้งคนจากต่างถิ่นด้วย ในขณะที่ตลาดนัด แบบเดิมก็ยังxxเป็นหัวใจส˚าคัญ คือชาวบ้านยังxxน˚าพืชผักและการท˚าอาหารต่างๆมาจ˚าหน่าย และได้xxxxx xxxนัดจากเดิมมีเพียง 2 วัน คือวันxxxxxxxและxxxxxx มาเป็นวันอื่นด้วย แต่วันอื่นๆจะเริ่มจากเที่ยงถึงเย็น จุดเด่นของงานศึกษาเรื่องนี้ก็คือการชี้ให้เห็นถึงความxxxxxxในการปรับตัวของตลาดxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxและขยายตัวอยู่ได้ในบริบทของการพัฒนาเศรษฐกิจสมัยใหม่
โรงเรียนไทยรัฐxxxxx ๗๔ (ชุมชนบ้านคีรีวง)จ.นครศรีธรรมราช เสนอxxxxxxxxxxเหนือ : วิถีชีวิต ชุมชนคนคีรีวง จากปากค˚าคนใน เรื่องนี้xxxxxxน˚าเสนอเกี่ยวกับตลาดนัดโดยตรง แต่เสนอให้เห็นมุมของ ชุมชนxxxxxxxxxเดินทางไปสู่ตลาดนัดหรือกลุ่มชุมชนต่างๆแม้จะอยู่ห่างไกล เพื่อน˚าxxxxxxxxxตนผลิตได้ มากไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งที่จ˚าเป็นต่อการด˚ารงชีวิตและตนเองผลิตไปได้ ชุมชนที่งานศึกษาเรื่องนี้กล่าวถึง
คือชุมชนคีรีวง ซึ่งเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในหุบเขา หนทางติดต่อกับคนนอกคือการใช้เรือร่องลงมาตามน้˚า เรียกว่าเรือเหนือ ในขณะxxxxxxxxxxxxชุมชนนี้ปลูกได้เฉพาะผักและผลxxx xxxxxxxxxท˚าxxxxx xxx จ˚าเป็นต้องน˚าผักและผลไม้ลงไปแลกเปลี่ยนซื้อขายกับคนพื้นล่าง โดยบรรทุกลง “เรือเหนือ” ไป ซึ่งชาวคีรี วงจะน˚าเรือเหลือบรรทุกผักผลไม้ลงไปพร้อมกันหลายล˚า เพื่อช่วยเหลือกัน เนื่องจากการเดินทางล˚าบาก เพราะxxxxxxxxxxxxและกระแสน้˚าเชี่ยวกราก ชาวคีรีวงน˚าผักผลไม้ลงเรือเต็มล˚า เพื่อไปแลกเปลี่ยนซื้อขาย กับชาวพื้นล่างโดยแลกเปลี่ยนกันตรงระหว่างผลผลิตกับผลผลิตบ้าง ซื้อขายxxxxxxx ขากลับก็จะได้ข้าวได้ ปลาและสิ่งขาดแคลนอื่นๆxxxxxx ขบวนการเรือเหนือของชาวคีรีวงจึงเป็นที่รูจักกันดี ยุคนี้xxxxxxเป็นยุคของ เรือเหนือ ต่อมาถึงยุคสิ้นสุดเรือเหนือโดยเริ่มต้นเมื่อปี 2505 ซึ่งเกิดมหาxxxxxxxxxแหลมxxxxxxxx แต่ว่า ผลได้สะท้อนไปไกล รวมทั้งล˚าxxxxxxxชาวคีรีวงใช่xxxxเหลือเหนือด้วย คือดินถล่มลงxxxxท˚าให้ล˚าxxxxตื้น เขินใช้เดินทางxxxxxx ผู้น˚าชาวคีรีวงxxxxxxxเป็นพระภิกษุและที่เป็นชาวบ้านต้องน˚าชาวบ้านบุกเบิกท˚าถนน ติดต่อกับภายนอก เพราะหากพวกเขาไม่xxxxxxเดินทางออกไปแลกเปลี่ยนซื้อขายกับภายนอกได้พวกเขา ก็ไม่xxxxxxด˚ารงชีวิตอยู่ได้
โรงเรียนxxxxxx จ.ตรัง น˚าเสนอเรื่อง ท่าเรือกะลาเสนุ้ยในอดีต ชุมทางชีวิตของชาวกะลาเส
เรื่องนี้คณะยุววิจัยได้เสนอแง่มุมของตลาดนัดxxxxxขึ้นอีกแง่มุมหนึ่ง คือชาวบ้านxxxxxxใช้กลไกตลาดนัด สร้างการติดต่อและค้าขายกับชาวต่างชาติได้ ตลาดนัดแห่งนี้คือตลาดท่าเรือกะลาเสนุ้ย(ต.กะลาเส อ.สิเกา จ.ตรัง) ผู้ศึกษาได้น˚าเสนอผลการศึกษาเป็น 2 ยุค คือยุคxxxxxxxxxและยุคถดถอยของตลาดกะลาเสนุ้ย ตลาดแห่งนี้xxxxxxxxxxxxxxxเป็นเป็นท่าเรือการค้าระหว่างคนพื้นถิ่นกับชาวต่างชาตินานถึงเกือบ100 ปี โดย มีพ่อค้าจากหลายประเทศแต่งส˚าเภาเข้ามาค้าขาย xxxx xxx สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย xxxxxxx ฝรั่งเศส สินค้าจากxxxxxxxxxxxเป็นที่ต้องการของชาวต่างชาติได้แก่ไม้ประเภทต่างๆ xxxx ไม้เคี่ยม ไม้ไผ่ หวาย ใน ขณะเดียวกันพ่อค้าเหล่านี้ก็น˚าสินค้าจากประเทศของตนเข้ามาขายด้วย xxxx พ่อค้าจากประเทศxxxจะน˚า สินค้าประเภทยาสูบ ฝิ่น ยาสมุนไพร ผ้าแพร มาค้าขาย พ่อค้าจากสิงคโปร์จะน˚าสินค้าประเภทถ้วยโถโอ ชาม กระเบื้องเคลือบที่มีสีสันสวยงาม มาค้าขาย พ่อค้าจากมาเลเซียและอินโดนีเซียจะน˚าสินค้าประเภทผ้า ปาเต๊ะมาค้าขาย พ่อค้าจากxxxxxxxจะน˚าสินค้าประเภทที่ใช้ส˚าหรับการก่อสร้างมาค้าขาย xxxx xxxx เหล็ก ปูน สังกะสี ในบรรดาพ่อค้าเหล่านี้คนxxxจะมามากที่สุด และคนxxxบางส่วนได้เข้ามาตั้งxxxxxxxอยู่ที่บริเวณ ท่าเรือและได้แต่งงานกับคนในxxxxxxxxxxxxเป็นต้นตระกูลที่ส˚าคัญ 4 ตระกูล โดยทั้ง 4 ตระกูลนี้ได้มี บทบาทส˚าคัญในการค้าขายของตลาดแห่งนี้มาโดยตลอด ตลาดแห่งนี้เริ่มถดถอยเมื่อสินค้าที่เป็นที่ต้องการ ของชาวต่างชาติคือไม้ประเภทต่างๆ เริ่มหายาก เนื่องจากเป็นสินค้าที่ชาวบ้านตัดจากxxxxxxxxอย่างเดียว
ไม่มีการปลูกxxxxx เรือของพ่อค้าชาวต่างชาติจึงลดน้อยลงเรื่อยๆ ปรากฏการณ์นี้เห็นได้ตั้งแต่กลาง xxxxxx 2480 กระทั่งต้นxxxxxx 2500 ตลาดท่าเรือxxxxxxxxxxxxxxxแห่งนี้ก็ปิดตัวลง พ่อค้าชาวต่างชาติก็ หยุดเข้ามาติดต่อซื้อขาย xxxxxxและxxxxxxxxxxxxxxxxxxxปรับตัวไปสู่การการค้าอย่างอื่นและท˚าอาชีพอื่นๆ แทน กลุ่มคนxxxxxxxxxxxxได้อพยพออกจากพื้นที่เพื่อไปหาลู่ทางการค้า ณ ที่ใหม่
การศึกษานอกโรงเรียน อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง เสนอเรื่อง เศรษฐกิจและสังคมของชุมชนตลาด บางแก้ว จากอดีตถึงปัจจุบัน เสนอให้เห็นถึงความเติบโตของตลาดในxxxxxxxxซึ่งเริ่มคึกคักมาจาก xxxxxxxxxxxxxxxxxเป็นผู้แสดงส˚าคัญ แต่ว่าถูกท˚าให้วับซ้อนขึ้นจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ โดยเฉพาะการพัฒนาเส้นทางคมนาคม ท˚าให้เกิดคนกลุ่มอื่นๆเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น และการค้าขาย ขยายตัวมากขึ้น ตลาดที่ทีมยุววิจัยน˚าเสนอในเรื่องนี้ก็คือตลาดบางแก้ว xxxxxxxxxxxxxxxxxxอย่างมากอัน เนื่องมาจากการพัฒนารถไฟสายใต้ แต่ที่ตลาดแห่งนี้ยิ่งมีเงื่อนไขที่ท˚าให้ตลาดเติบโตเป็นพิเศษ คือบริเวณ ใกล้กันนั้นมีxxxxxxกลุ่มใหญ่มาเช่าที่ดินขนาดใหญ่จากรัฐบาลตั้งบริษัทท˚าการเกษตร ต่อมารัฐบาลเลิกให้ เช่าที่ดินxxxxxxจ˚านวนหนึ่งจึงกลายมาเป็นพ่อค้าที่ตลาดบางแก้ว และมีส่วนส˚าคัญที่สร้างความเติบโต ให้แก่ตลาดบางแก้ว แต่ว่าเมื่อรถไฟหมดความส˚าคัญและการเดินทางด้วยรถยนต์เข้ามาแทนที่ อีกทั้งถนน สายsลักของภาคใต้ก็ไม่ผ่านบางแก้ว บางแก้วจึงกลายเป็นจุดอับส˚าหรับเส้นทางคมนาคมxxxxxxx ตลาด บางแก้วจึงเข้าสู่วงจรของการเสื่อมถอยและกลายเป็นตลาดขนาดเล็ก ส่วนพ่อค้าจ˚านวนมากโดยเฉพาะคน xxxxxxย้ายออกไปxxxxxxxxค้าขายยังตลาดที่เกิดขึ้นใหม่ตามริมถนนสายส˚าคัญต่างๆ ผู้เขียนจึงแบ่งยุคการ น˚าเสนอเป็น 2 ยุค ยุคแรกคือยุคที่ตลาดบางแก้วยังxxxxxxxxx โดยใช้ชื่อยุคว่า “มากับรถไฟ” และยุคที่สองคือ ยุคที่ตลาดบางแก้วเสื่อมโทรมแล้ว โดยใช้ชื่อยุคว่า “ไปกับรถยนต์”
ผลงานยุววิจัยประวัติศาสตร์xxxxxxxxบางเรื่องสนใจศึกษาเศรษฐกิจของชุมชนในแง่มุมการ ผลิตของครัวเรือน โดยเสนอให้เห็นxxxxxxเปลี่ยนแปลงการผลิตของครัวเรือนในชุมชนจากอดีต ถึงปัจจุบัน ซึ่งช่วยให้เข้าใจถึงเส้นทางการเปลี่ยนแปลงและเงื่อนไขที่ท˚าให้ครัวเรือนในชุมชน เปลี่ยนแปลงการผลิตได้อย่างชัดเจน
โรงเรียนไทยรัฐxxxxx 39 (บ้านนาโต๊ะหมิง) เสนอเรื่อง สวนยางพารากับความเปลี่ยนแปลงของ ชุมชนนาโต๊ะหมิง พื้นที่ศึกษาของเรื่องนี้คือ ต.นาโต๊ะหมิง อ.เมือง จ.ตรัง ต˚าบลนี้มีอายุมากกว่า 100 xx xxxxxปรากฏว่าเมื่อประมาณ 100 ปีเศษที่มีการน˚ายางพารามาปลูกในจังหวัดตรังเป็นครั้งแรก ที่บ้านนา โต๊ะหมิงก็เป็นชุมชนรุ่นแรกที่น˚ายางพารามาปลูก โดยในขณะนั้นคนในต˚าบลส่วนใหญ่ท˚านาในพื้นที่ราบลุ่ม
และใช้พื้นที่xxxซึ่งเป็นพื้นที่ป่าในการท˚าสวน เมื่อมีการน˚ายางมาปลูกก็ปลูกในพื้นที่xxxดังกล่าวโดยปลูก ปนกับไม้อื่น จึงเรียกการปลูกยางในช่วงนี้ว่า “ป่ายาง” ยางจึงให้น้˚ายางไม่มาก แต่ว่ายางที่กรีดxxxxxขายได้ ทั้งหมด “ผลผลิตยางxxxxxxขายได้ทุกคุณภาพ ไม่ว่ายางคุณภาพเลวเพียงใดก็ขายได้ ขี้ยางปน ดิน ปนทรายก็ขายได้ ขายxxxxxxxxต้องง้อxxxxxxเพราะยางไม่บูดเน่า ” ในขณะที่ยางก็ดูแลง่าย ดังนั้นชาวบ้านจึงต่างxxxxxxปลูกยาง และxxxxxxขยายพื้นที่ปลูกยาง ทั้งการบุกเบิกพื้นที่ป่า เพิ่มเติมและการโค่นไม้ในพื้นที่เดิมออกและค่อยๆปลูกยางxxxxx ในขณะที่พื้นที่xxxxxxxxxยัง ท˚านาอยู่xxxxเดิม ในยุนี้หากครัวเรือนใดท˚าทั้งนาและสวนจะxxxxxxเป็นครัวเรือนxxxxxxxxx กระทั่ง ต้นxxxxxx 2500 ที่รัฐบาลได้จัดตั้งกองทุนสงเคราะห์การท˚าสวนยางเพื่อช่วยเหลือเจ้าของสวน ยางปรับปรุงสวนยางให้ทันสมัย ท˚าให้ป่ายางxxxxxx xมาเป็นสวนยางทั้งหมด การท˚าสวน ยางพาราของชาวบ้านxxxxxxxxอย่างรวดเร็ว ทั้งวิธีการปลูกและxxxxxxxxx ท˚าให้ผลผลิตน้˚ายาง ต่อต้นมีมากขึ้น และมีอาชีพที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นอย่างหลา กหลาย ยางพารามีบทบาทในxxxxx อุตสาหกรรมอย่างxxxxxxxxx xxxต˚าบลนาโต๊ะหมิงการท˚าสวนยางจึงxxxxxxxมาเป็นวิถีชีวิตหลัก ของชาวบ้าน ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น คนมีงานท˚ามากขึ้น มีโรงงานอุตสาหกรรมการ แปรรูปไม้ยางพาราเกิดขึ้น มีอาชีพค้าขายที่เกี่ยวเนื่องจากการท˚า สวนยางพาราเกิดขึ้นอย่าง หลากหลาย ต˚าบลนาโต๊ะหมิงจึงเป็นตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของชุมชนชาวนาภาคใต้ที่ เปลี่ยนแปลงอาชีพไปสู่การท˚าสวนยาง เปลี่ยนจากวัฒนธรรมชาวนาไปสู่วัฒนธรรมของชาวสวน ยาง ชาวบ้านผ่านประสบการณ์ทั้งความส˚าเร็จและล้มเหลวและxxxxก้าวไปข้างหน้าxxxxนี้อี ก นานในนามของชาวสวนยาง
โรงเรียนวัดxxxxx จ.นครศรีธรรมราช เสนอเรื่อง การใช้ที่ดินในการผลิตของชุมชนบ้านป่าพรุ จากยุคก่อตั งถึงปัจจุบัน ทีมยุววิจัยของโรงเรียนนี้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ความxxxxxxxxของกลุ่มคนใน บ้านป่าพรุผ่านการใช้ประโยชน์จากที่ดินในการผลิต โดยน˚าเสนอการเปลี่ยนผ่านของชุมชนถึง 4 ยุค คือ ยุค เลี้ยงควายหักนา ยุคชุมชนชาวนา ยุคสวนมานารั้ง และยุคพืชเศรษฐกิจและการขายแรงงาน โดยเริ่มจาก การเสนอให้เห็นภาพก่อตั้งชุมชนที่เริ่มจากกลุ่มผู้เลี้ยงควายฝูงที่มาจากชุมชนรายรอบพื้นที่ป่าพรุชุ่มน้˚า และต่อมาได้มาxxxค้างด้วยการสร้างที่พักชั่วคราว และด˚ารงชีวิตด้วยผักหญ้า ปลา ในบริเวณป่าพรุแห่งนั้น ต่อมาก็เริ่มสร้างที่พักให้xxxxขึ้นพร้อมๆกับบุกเบิกที่ดินเป็นที่ปลูกข้าว ในยุคก่อตั้งนี้คนกลุ่มแรกๆที่เข้ามา xxxxxxxxxxพึ่งพาและxxxxxxxกันในด้านของแรงงานในxxxxxxxxโดยเฉพาะแรงงานสัตว์อย่างควายฝูงในการ ท˚านาในxxxxxxxxxมีน้˚าขังตลอดปี เมื่อเห็นว่าสถานที่แห่งนี้xxxxxxตอบxxxxต่อปัจจัยสี่ได้ ครอบครัวในกลุ่ม
xxxxxxxxxของคนกลุ่มแรกก็xxxxxxxxเข้ามาร่วมสร้างชุมชนด้วย ยุคก่อตั้งของชุมชนนี้ใช้เวลาประมาณ 2 xxxxxx ที่ดินซึ่งมีไม่มากก็ถูกจับจองเป็นที่ท˚ากินจนหมดทั้งในป่าพรุและขอบป่าพรุ ในช่วงปลายxxxxxx 2530 วิถีชาวนาเริ่มxxxxxxxxกระทบจาการเปลี่ยนแปลงทั้งจากxxxxxxxxและผลพวงของการพัฒนา โดยเฉพาะความต้องการเงินสดจับจ่ายในการด˚ารงชีวิตสมัยใหม่ได้ท˚าให้การท˚านาสูญหายไป โดยxxxxx ขอบพรุxxxxxxxเป็นxxxxxxxx ขณะxxxxxxปลูกข้าวในxxxxxxxxxถูกปล่อยทิ้งร้าง ซึ่งในระยะแรกxxxxxxxxจะ สร้างความxxxxให้กับชาวบ้าน แต่เมื่อราคาพืชสวนตกต่˚า การใช้ที่ดินในชุมชนก็ปรับเปลี่ยนอีกครั้งxxxxxxx xxxxxxxเศรษฐกิจอย่างสวนยางพาราและปาล์ม พร้อมๆกับการออกไปเป็นแรงงานในตัวเมืองของกลุ่มคน ในชุมชน ความจ˚าเป็นทางเศรษฐกิจในการด˚ารงชีวิตสมัยใหม่ส่งผลให้ความxxxxxxxxของผู้คนในการใช้ที่ดิน ในการผลิตของชุมชนปรับเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลง
โรงเรียนวัดxxxใคร จ.นครศรีธรรมราช เสนอเรื่อง การเปลี่ยนแปลงแบบแผนการผลิตกับ ความxxxxxxxxในชุมชน : ศึกษากรณี ชุมชนกลาย อ˚าเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ ศึกษาได้แบ่งการน˚าเสนอเนื้อหาเป็น 2 ยุค คือยุคการผลิตแบบเดิม และยุคการผลิตแบบสมัยใหม่ โดยที่ ต.กลายเป็นพื้นที่ที่มีทั้งส่วนที่ติดทะเล ส่วนที่เป็นที่ราบ มีล˚าxxxxสายใหญ่ไหลผ่าน และส่วนที่เป็นxxxxxx ดังนั้นในต˚าบลนี้จึงมีกลุ่มคนที่ท˚าการผลิตหลักแตกต่างกันไป ในขณะเดียวกันผู้ที่เข้ามาตั้งxxxxxxxxxใน ต˚าบลก็มีความหลากหลายทางศาสนาและทางxxxxxxxxxx กล่าวคือนอกจากคนไทยในxxxxxxxxแล้วก็มีกลุ่ม xxxxxx และชาวมุสลิมอยู่ด้วย ท˚าให้ใน ต.นี้มีความxxxxxxxxxxxด้านการผลิตและด้านวัฒนธรรม ในยุคนี้ผู้ ศึกษาxxxxxxxxxให้เห็นถึงความxxxxxxxในการผลิตและและความxxxxxxxทางวัฒนธรรม โดยชี้ให้เห็นตั้งแต่ การถือครองที่ดินในการผลิต การใช้แหล่งน้˚า รายxxxxxxxxxxผลิตและความxxxxxxxxของกลุ่มคนที่เกิดขึ้น ในการผลิต ทั้งการปลูกข้าวไร่ การปลูกยากลาย(ยาสูบ) การท˚านา การท˚าประมงชายฝั่ง ซึ่งพอสรุปการ ผลิตการใช้ทรัพยากร และความxxxxxxxxในยุคนี้ได้ว่า “การท˚าการผลิตจากฐานทรัพยากรของชุมชนในอดีต ประกอบด้วยการประมงชายฝั่ง ท˚านา ปลูกยาสูบ เลี้ยงสัตว์ และสวนที่มีพืชพรรณต่างๆ ขึ้นอยู่ปะปนกัน ตามxxxxxxxx ซึ่งเรียกว่า “xxxxxรม” แบบแผนการผลิตของคนในชุมชนกลายในอดีตเป็นการผลิตแบบ ดั้งเดิม อาศัยแรงงานจากคนและสัตว์ ใช้xxxxxxxxxความรู้ในการxxxxxxx ด้วยการสืบสานมาจากคนรุ่น ก่อนๆ ความxxxxxxxxในชุมชนมีทั้งความxxxxxxxxระหว่างคนกับกัน คนกับxxxxxxxx และกับอ˚านาจเหนือ xxxxxxxx เป้าหมายในการใช้ทรัพยากรเป็นไปเพื่อตอบxxxxการกินการอยู่ภายในชุมชน มีการพึ่งพาอาศัย กันภายในชุมชนสูง และพึ่งพาภายนอกต่˚า” ยุคที่สองเริ่มต้นเมื่อชุมชนต่างๆ ถูกผนวกเข้ากับการพัฒนา ของรัฐ โครงสร้างพื้นฐานต่างๆที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับการพัฒนา เครื่องมือในการผลิต รวมทั้งการสื่อสาร
ต่างๆ ท˚าให้xxxxxxxเปลี่ยนแปลงการผลิต จากการผลิตเพื่อกินเพื่ออยู่แบบดั้งเดิม มาเป็นการผลิตเพื่อขาย จึงเห็นxxxxxxเปลี่ยนxxxxxเป็นพืชเศรษฐกิจต่างๆ xxxxทุเรียน ยางxxxxxxxx ปาล์มน้˚ามัน มังคุด มีการเลี้ยงสัตว์ โดยการรับจ้างเลี้ยง xxxx การเลี้ยงไก่เนื้อ ในด้านประมงชายฝั่ง เริ่มมีปัญหาจากเรือคราดหอยและอวนรุน เข้ามารุกล้˚าพื้นที่ท˚ามาหากิน จนชาวไทยมุสลิมต้องปรับตัวทั้งด้านเครื่องมือท˚าการประมง การค้าขาย สินค้าอย่างอื่น และการออกไปรับจ้างท˚างานในโรงงานต่างๆ การเปลี่ยนแปลงแบบแผนการผลิตดังกล่าวนี้ เห็นได้ชัดว่าชุมชนได้เปลี่ยนแปลงจากการพึ่งพากันภายในชุมชน เป็นการพึ่งพาภายนอกมากขึ้น ซึ่งมีผล ท˚าให้ความxxxxxxxxรูปแบบต่างๆ xxxxxxมีอยู่ในชุมชน เปลี่ยนแปลงไปด้วย
โรงเรียนxxxxxxxศึกษา จ.ตรัง เสนอเรื่อง จากนาข้าวถึงสวนปาล์ม วิถีชีวิตชาวนาวง ผู้ศึกษาได้ น˚าเสนอเนื้อหาเป็น 3 ยุค คือยุคนาข้าว ยุคสวนยาง และยุคสวนปาล์ม โดยยุคนาข้าวนั้นผู้ศึกษาได้อธิบาย ให้เห็นว่าชุมชนนี้(ต.นาวง จ.ห้วยยอด จ.ตรัง)เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา โดยคนรุ่นแรกอพยพเข้า มาอยู่ในพื้นที่ก็เพื่อต้องการพื้นที่ในการท˚านา เพราะพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ราบ xxxxx เหมาะแก่การท˚านา และมี สายน้˚าไหลผ่านท˚าให้มีน้˚าxxxxxxxxxxx ข้าวที่ผลิตได้จะใช้เพื่อการบริโภคเป็นเบื้องต้น ที่เหลือก็น˚าไป แลกเปลี่ยนกับผลผลิตอย่างอื่นหรือซื้อขาย ในยุคแรกจึงมีคนรู้จักชุมชนนาวงในฐานะที่เป็นชุมชนท˚านา ยุคที่สองเริ่มประมาณปลายxxxxxx 2530 เมื่อในพื้นที่ต˚าบลมีการสร้างถนนหลายสาย ท˚าให้ทิศทางน้˚า เปลี่ยนแปลงไป น้˚าxxxxxxxxxxxxxxเหมือนเดิม ในขณะที่ราคาข้าวก็ตกต่˚า ซึ่งสวนทางกับความต้องเงินxxx xxใช้จ่ายในยุคสังคมสมัยใหม่ ประกอบกับราคายางดีกว่า ได้ต่อเนื่องมากกว่า และดูแลได้ง่ายกว่า ชาวนา วงส่วนใหญ่จึงทยอยน˚ายางไปปลูกในพื้นที่นาแทนการปลูกข้าว แต่ก็ประสบผลส˚าเร็จไม่มาก เพราะยางไม่ เหมาะที่จะปลูกในxxxxxซึ่งมีความชื้นมาก ยางจึงมีล˚าต้นเล็กและจะกรีดได้ผลดีเพียง 2-3 ปีแรกเท่านั้น
ดังนั้นเมื่อราคาปาล์มดีขึ้นจึงท˚าให้ชาวนาวงปรับตัวอีกครั้งในช่วงปี 2549 คือการทยอยปลูกปาล์มแทนยาง
เนื่องจากปาล์มต้องการความชื้นมาก จึงเหมาะส˚าหรับปลูกปาล์ม ท้ายสุดผู้ศึกษาได้สรุปให้เห็นxxxxxx ทางการเปลี่ยนแปลงการผลิตดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนแปลงจากการผลิตแบบพึ่งตนเองไปสู่การผลิตพืชเชิง พาณิชย์ที่ต้องพึ่งพาตลาดและต้องใช้การxxxxทั้งสิ้น ท˚าให้ความxxxxxxxxแบบใกล้ชิด และพึ่งพาอาศัยกัน เสื่อมคลายไป และคนในชุมชนอยู่กันแบบxxxxxxxxxxxxมากขึ้น
โรงเรียนตรังxxxxxxxx จ.ตรัง น˚าเสนอเรื่อง การเปลี่ยนแปลงการผลิตในชุมชนบ้านทุ่งค่ายจาก ยุคบุกเบิกผืนป่าเป็นxxxxxยุคสวนยางพารา งานศึกษาประวัติศาสตร์ความxxxxxxxxของผู้คนในชุมชน บ้านทุ่งค่ายผ่านการผลิตของxxxxxxxxxชุมชนเรื่องนี้ ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ยุค คือ ยุคก่อตั้งชุมชน
และบุกเบิกผืนป่าเป็นนา ยุคชาวนาและบุกเบิกป่าเป็นป่ายาง และยุคทิ้งนาพึ่งพาสวนยาง โดยในยุคเริ่ม แรกเริ่มจากการเข้ามาตั้งxxxxxxxของคนจากสามตระกูลในช่วงxxxxxx 2460 เพื่อหาที่ดินท˚านาปลูกข้าว ต่อมาได้มีการขยายครัวเรือนจากการแต่งงานของระหว่างสามตระกูลดังกล่าวจนเกิดเป็นชุมชนขนาดย่อม ขึ้นในxxxxxxถัดมา ความxxxxxxxxระหว่างกลุ่มคนในยุคก่อตั้งชุมชนนี้มีความเกี่ยวพันกันระหว่างตระกูล xxxxxxxxสูงเพราะต้องพึ่งพากันและกันในด้านแรงงานในการผลิต ตั้งแต่การปลูกข้าว หาของxxx xxxสัตว์ และการเดินทางออกไปติดต่อกับชุมชนภายนอกที่ต้องออกกันไปเป็นกลุ่มๆ เพราะมีอันตรายจากสัตว์ป่า การคมนาคมมีเพียงการเดินเท้าและการแจวเรือผ่านทางล˚าน้˚าเท่านั้น ในยุคนี้ชุมชนเปลี่ยนแปลงxxx xxxxการ ขยายตัวของชุมชนและการเปลี่ยนแปลงในด้านเทคโนโลยีทางการผลิต ยุคที่สองเริ่มประมาณxxxxxx 2480 โดยครัวเรือนได้ขยายออกไปประมาณ 30 ครัวเรือนแล้ว ซึ่งมาจากการขยายตัวของครอบครัวที่เป็น ตระกูลดั้งเดิมและการอพยพเข้ามาสมทบของเพื่อนบ้านในเครือข่ายของxxxxxxxxxของผู้ที่เข้ามาอยู่ก่อน ในยุคนี้ได้เกิดโรงเรียนขึ้นในวัดประจ˚าชุมชนที่ชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างขึ้นมาตั้งแต่ยุคแรก การขยายตัวของ ชุมชนในยุคนี้เป็นไปอย่างรวดเร็วจนท˚าให้ครัวเรือนเริ่มxxxxxxxxxท˚ากิน ชาวบ้านจึงเริ่มออกไปบุกเบิกพื้นที่ ใหม่ทางด้านตะวันออกของชุมชน ซึ่งเป็นทุ่งสงวนเลี้ยงสัตว์ เพียงย่างปลายxxxxxxxxxชาวบ้านก็เริ่มปลูก ข้าวเพื่อขายมากขึ้น ทั้งนี้มาจากเงื่อนไขสองประการคือ การเข้ามาตั้งครอบครัวชายxxxxxxชื่อกี่งวด ซึ่งมา แต่งงานกับหญิงสาวในหมู่บ้าน ซึ่งต่อมาxxxxxxผู้นี้ได้ใช้ฐานทรัพยากรของชุมชนท˚าธุรกิจหลายอย่าง xxxx เตาถ่าน เตาอิฐ โรงสี และรวบรวมข้าวสีขายตลาดภายนอก ประการที่สองxxxxxxผู้นี้ได้ก่อตั้งตลาดขึ้นใน ชุมชน ท˚าให้xxxxxxxซื้อขายขึ้น แรงงานในการผลิตxxxxxxช่วยเหลือก็เริ่มมีการxxxxxxxกัน แต่การท˚านาก็ยัง เป็นหลักของชุมชน ในยุคที่สามคือยุคทิ้งนาพึ่งพาสวนยางซึ่งเป็นยุคเปลี่ยนแปลงความxxxxxxxxอย่างเห็นได้ ชัดเจน ในยุคนี้แรงงานในxxxxxxxxมีเพียงการxxxxบ้างxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxแบบเต็มตัว คือในการท˚านา มีการxxxxแรงงานเป็นเงินในทุกขั้นตอนของการผลิต การช่วยเหลือแรงงานต่อกันหมดไป การท˚านาเริ่ม ขาดทุน ชาวบ้านจึงxxxxxเลิกท˚านาแล้วหันมาสร้างสวนยางพารากันอย่างxxxxxxxxxxxxx เพราะเป็นพืชที่ สร้างรายxxxxxxมากกว่าการท˚านา ในยุคนี้ความxxxxxxxxระหว่างคนในเรื่องการผลิตมีเงินตราเข้ามาเป็น ตัวก˚าหนดความxxxxxxxxแทนทั้งสิ้น ที่ดินที่เป็นที่ xxxxxxxxxxx หรือที่ว่างจะถูกปรับเปลี่ยนสวนยางพารา ทั้งหมดตั้งแต่xxxxxx 2520
โรงเรียนวัดสระ จ.นครศรีธรรมราช เสนอเรื่อง ป่าจาก : ฐานxxxxxxxทางเศรษฐกิจของชุมชนท่า พญา ผู้ศึกษาได้น˚าเสนอเกี่ยวกับเศรษฐกิจของครัวเรือนในชุมชนชายฝั่งที่พึ่งพาป่าจากเป็นทรัพยากรหลัก ในการสร้างรายได้ให้ครัวเรือนมาแต่อดีต แม้ในช่วงหนึ่งxxxxxxxxxชุมชนจะรือป่าจากออกเนื่องด้วยเห็นว่า
การผลิตแบบใหม่จะท˚าให้มีรายได้แบบใหม่ แน่นเมื่อไปสักระยะชาวบ้านกลับไม่ประสบผลส˚าเร็จในการ ผลิตแบบใหม่และมีหนี้สินจ˚านวนมาก ชาวบ้านจึงxxxxxxกลับไปฟื้นฟูป่าจากให้xxxxxxเป็นฐานการผลิต ของครัวเรือนอีกครั้ง ชุมชนดังกล่าวนี้คือชุมชนปากพญา อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ผู้ศึกษาได้แบ่งการ น˚าเสนอเนื้อหาเป็น 3 ยุค คือยุคการใช้สอย ยุคนาxxxxและเขื่อน และยุคฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน โดยในยุคแรก นั้นxxxxxxxxxชุมชนนี้xxxxxxxxxxxxจากเป็นเศรษฐกิจหลักของครัวเรือน ในขณะที่การท˚าxxxxxxxxxxxxเป็น การผลิตหลักของอ˚าเภอปากพนังนั้นแต่ที่นี่เป็นเพียงการท˚านาเพื่อการบริโภคเท่านั้น ชาวบ้านxxxxxxท˚า น้˚าตาลจาก น้˚าส้มจาก น้˚าผึ้ง น้˚าxxxxxx ท˚าเหล้าจาก ท˚าตับจากมุงหลังคา ส่วนกรรมสิทธ์เกี่ยวกับป่า จากนั้นพบว่าครัวเรือต่างๆได้ยึดถือเอาป่าจากเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนตัวมานานแล้ว คนรุ่นปู่ย่าตายายก็ไม่เคย เห็นป่าจากที่เป็นทรัพย์สินส่วนรวม ในยุคนี้ชาวบ้านxxxxxxอาศัยรายได้จากป่าจากส่งลูกเรียนสูงๆได้ อย่างxxxxxxxx ยุคที่สอง เป็นยุคxxxxxxxxxxขยายตัวของการเลี้ยงxxxxในพื้นที่อย่างมาก เพราะชาวบ้านเห็นว่า จะช่วยให้ร่˚ารายxxx xxxมีการรื้อป่าจากออกจ˚านวนมากเพื่อเปลี่ยนเป็นบ่อเลี้ยงxxxx แต่ว่าเพียงไม่ถึง 10 ปี ชาวบ้านต้องล้มเหลวจากการเลี้ยงxxxxพร้อมกับการเป็นหนี้สินจ˚านวนมากพร้อมๆกับการเกิดขึ้นของเขื่อน อุทกxxxxxxxxxxxxxซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้˚าปากพนัง ท˚าให้xxxxxxxแยกน้˚าเค็มและ น้˚าจืดออกจากันอย่างเด็ดขาด ชุมชนปากพญาซึ่งแต่เดิมอยู่ในเขตน้˚ากร่อยอันเป็นลักษณะน้˚าที่ป่าจากจะ ขึ้นxxxxx ต้องกลายมาเป็นพื้นที่ที่อยู่ในโซนน้˚าเค็มซึ่งถึงแม้จากจะพอขึ้นได้แต่ว่าก็แตกต่างจากน˚ากร่อยมาก อย่างไรก็ตามเมื่อล้มละลายจากการเลี้ยงxxxxชาวบ้านก็xxxxxxxxxxxxใช้ประโยชน์จากป่าจากอีก โดย ชาวบ้านที่ยังพอมีป่าจากเหลืออยู่บ้างก็xxxxยามฟื้นฟูขึ้นมาใช้ประโยชน์ ใครพอปลูกขึ้นใหม่xxxxxท˚า ประกอบกับหน่วยราชการและโครงการพัฒนาหลายโครงการเข้าสนับสนุนให้ชาวบ้านฟื้นฟูและปลูกจาก เพิ่มเติม ถึงแม้ว่าจากจะให้ผลผลิตได้น้อยกว่าเดิม แต่ว่าการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ก็ช่วยให้ ชาวบ้านxxxxxxxxxxxประโยชน์จากการใช้ป่าจากได้มากขึ้น โดยเฉพาะการท˚าสุรา xxxxxxxxxxxxxชุมชน ร่วมกันตั้งกลุ่มผลิตสุราขึ้นมาอย่างxxxxxxxx ท˚าให้ในปัจจุบันชาวบ้านจ˚านวนมากในชุมชนจึงxxxxxxสร้าง รายได้จากป่าจากเป็นรายได้หลักของครอบครัว
มียุววิจัยประวัติศาสตร์xxxxxxxxบางเรื่องที่มุ่งเสนอปัญหา และการดิ นรนต่อสู้ การ ปรับตัวของชาวบ้านหรือของxxxxxxxxในระบบเศรษฐกิจใหญ่ ซึ่งก็สะท้อนให้เห็นทั งมุมปัญหาที่ ยากจะแก้ไขและมุมที่ชาวบ้านxxxxxxดิ นรนปรับตัวได้
โรงเรียนสตรีปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เสนอเรื่องความxxxxxxxxxทางเศรษฐกิจของปากพนัง ยุคโรงสีไฟ ทีมยุววิจัยน˚าเสนอให้เห็นยุคที่อ˚าเภอปากพนังxxxxxxxxxในด้านการท˚านา จนกลายเป็นเมืองท่า
ส่งออกข้าวที่ส˚าคัญของภาคใต้ สัญลักษณ์ที่แสดงว่าปากพนังเป็นแหล่งผลิตข้าวขนาดใหญ่ก็คือการมีโรงสี ไฟซึ่งเป็นโรงสีขนาดใหญ่เกิดขึ้นเป็นจ˚านวนมาก ซึ่งยุคนี้ถือเป็นยุคxxxxxxxxxทางเศรษฐกิจของชาวปากพนัง และเมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่สองการค้าขายข้าวxxxxxxxxxxก็xxxxxxxxลงเพราะรัฐบาลได้ประกาศเป็นผู้ ผูกขาดการxxxxxxxกับต่างประเทศแต่เพียงผู้เดียว เมื่อการxxxxxxxหยุดชะงักลงการผลิตข้าวของxxxxxxxต้อง ลดตามไปด้วย เพราะขายข้าวxxxxxxหรือขายได้ราคาถูก ต้นxxxxxx 2500 จึงเริ่มมีคนอพยพออกไปหางาน ท˚าที่อื่น ในปี 2505 ที่เกิดมหาxxxxxxxxxแหลมxxxxxxxxซึ่งอยู่ในเขต อ.ปากพนังxxxxxxxxxxxท˚าให้การท˚านา ประสบความยุ่งยากไปอีกเพราะเกิดน้˚าเค็มเข้าxxxxx เศรษฐกิจปากพนังที่พึ่งพาการท˚าxxxxxxเสื่อมถอยลง อย่างรวดเร็ว ท˚าให้อ˚าเภอxxxxxxxxxเคยxxxxxxxxxอย่างมากxxxxxxxเป็นอ˚าเภxxxxชาวบ้านมีรายได้น้อยที่สุดใน ภาคใต้ในปี 2536
โรงเรียนป่าบอนพิทยาคม จังหวัดพัทลุง น˚าเสนอเรื่อง สับปะรดป่าบากของฝากจากป่าบอน : เศรษฐกิจของชาวสับปะรดในอ˚าเภอป่าบอน งานศึกษานี้คณะยุววิจัยจากโรงเรียนป่าบอนพิทยาคมได้ สืบค้นข้อมูลความเป็นมาของพืชเศรษฐกิจชนิดพืชไร่ที่มีชื่อเสียงของชุมชน นั่นคือ สับปะรด หรือ "xxxxห นัด" ในภาษาของxxxxxxxx เพราะพืชที่เป็นทั้งผักและผลไม้ชนิดนี้ได้สร้างงานและรายได้ให้แก่xxxxxxxxx บ้านป่าบาก อ˚าเภอปากพะยูน อย่างมีความส˚าคัญ งานศึกษานี้ได้แบ่งพัฒนาการของการxxxxxxxไร่ชนิดนี้ ออกเป็น 2 ยุคตามลักษณะการขยายพันธ์ของสับปะรด กล่าวคือยุคหัวจุกสับปะรดกับยุคหน่อสับปะรด โดยคณะศึกษาได้ร่วมการสืบค้นความเป็นมาของสับปะรดจนได้ความว่า เมื่อประมาณxxxxxxxxx 2470 ชาวบ้านจากปากพะยูนได้ไปเยี่ยมญาติที่รัฐเคดะในประเทศมาเลเซีย ในตอนกลับบ้านก็ได้น˚า "หัวจุก" สับปะรด (ส่วนบนของลูกใช้ขยายพันธ์ได้)xxxxxxบ้าน ต่อมาก็ได้ขยายพันธ์ออกมาและได้แจกจ่ายๆ "หัว จุก" ไปยังญาติและเพื่อนฝูง ในเวลาxxxxxxปีสับปะรดก็ขยายพันธ์ออกไป เพราะปลูกง่าย แค่มีที่ว่างและ แสงแดดxxxxxxxxx น้˚าไม่ขัง และไม่ถูกร่มเงาจากไม้ใหญ่มาบดบังแสง ก็ปลูกได้แล้ว หลายปีต่อมาการ ขยายพันธ์ของสับปะรดก็xxxxxพื้นที่การxxxxxxxxจากการปลูกเพื่อกินเพื่อฝากxxxxxxxxxและเพื่อนบ้านก็ ขยายไปสู่การน˚าไปขายที่ตลาด สับปะรดเป็นxxxxxxxxxไม้และผัก xxxxผักแกง ผักผัด แปรรูปเป็นน้˚าส้ม ถนอมอาหารเป็นสับปะรดกวน สับปะรดจึงเป็นพืชไร่ที่อเนกประสงค์ในการบริโภคชนิดหนึ่ง สับปะรดขยาย พันธ์ออกไปเรื่อยๆเพราะเมื่อเหลือจากรับประทานแล้ว คนปลูกก็จะน˚าออกไปขายในตลาดละแวกหมู่บ้าน ในการน˚าไปขายคนปลูกจะตัดสับปะรดทั้งลูกซึ่งจะติดจุกไปด้วย xxxxxxไปรับประทานก็จะหักหัวจุกไปปลูก ในพื้นที่ว่างในที่ดินของตน จากการขยายพันธ์แรกรเริ่มที่บ้านควนดินแดงและบ้านควนเคี่ยม ก็ขยายการ ปลูกออกไปยังบ้านอื่นของอ˚าเภอปากพะยูน โดยเฉพาะที่บ้านควนเคี่ยมในช่วงxxxxxx 2480 ได้มีการปลูก
สับปะรดกันอย่างxxxxxxxx และมีการซื้อขายกันอย่างจริงจังแล้ว ในปลายxxxxxx 2490 มีคลื่นคนจากระ โนดและปากพะยูนเข้าไปบุกเบิกผืนป่าเชิงเขาด้านตะวันตกเพื่อขยายที่ท˚ากินตามค˚าประกาศจากภาครัฐ ที่ดินใหม่หลังปลูกข้าวไร่ผ่านไประยะหนึ่งก็มีการปลูกยางพารา ในระหว่างช่วงสามปีแรกก็มีการแซม สับปะรดลงในระหว่างร่อง ซึ่งช่วยสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านได้อย่างxxxxx ในช่วงที่มีการปลูกกันอย่างxxx xxxxxxxxxxและมีพื้นที่ปลูกเป็นจ˚านวนมากนี้เอง ชาวสับปะรดได้ค้นพบว่า การปลูกด้วยหัวจุกที่ติดมากับผล สับปะรดนั้นใช้เวลานานกว่าการปลูกด้วยแขนง ต่อมาจึงมีการปลูกทดลองเปรียบเทียบจนเห็นผลชัดเจน การปลูกสับปะรดโดยใช้xxxxxxxเข้ามาแทนที่การปลูกโดยการใช้จุกแบบเดิม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงxxxxxxxxปลูกไปด้วย ดังนั้นหลังจากxxxxxx 2500 การปลูกแบบใช้จุกและพันธ์ สับปะรดจากเคยน˚ามาจากมาเลเซียก็จบสิ้นลง ชาวสับปะรดได้หันไปใช้แขนงพันธ์จากประจวบคีรีขันธ์ซึ่ง เป็นแหล่งสับปะรดxxxxxxxxที่รู้จักกันดี คือ พันธุ์xxxxxxxxx นับแต่นั้นพันธุ์สับปะรดก็ได้เปลี่ยนไปพร้อมกับที่ พื้นที่การปลูกได้ขยายออกไปอย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง โดยมีทั้งตลาดภายในจังหวัดและต่างจังหวัด รองรับผลผลิตของพืชไร่ชนิดนี้ ในxxxxxx 2520 ที่ถนนสายเอเชียได้ตัดผ่านบ้านป่าบากอันเป็นพื้นที่หลัก ของการปลูกสับปะรด ได้มีชาวบ้านที่มีบ้านอยู่ใกล้ถนนได้ทดลองน˚าสับปะรดวางบนร้านที่สร้างขึ้นชั่วคราว หน้าบ้านของตน ต่อมาก็ได้คิดวางขายบนร้านยกพื้นที่เรียกว่า "อัฒจันทร์" ขึ้น จนท˚าให้มีรถยนต์ที่ผ่านทาง แวะซื้อและกลายเป็นสับปะรดป่าบากของฝากจากป่าบอนไปในที่สุด หลังxxxxxx 2520 เป็นต้นมาการ ปลูกของสับปะรดได้ขยายพื้นที่ปลูกออกไปในต่างอ˚าเภxxxxมีพื้นที่เหมาะสมมากขึ้นเพราะเป็นพืชที่สร้าง รายได้ให้แก่ผู้ปลูกสูง ตลาดรองรับมีทั้งโรงงาน ตลาดกลางอย่างตลาดหัวอิฐที่จังหวัดนครศรีธรรมราช รถยนต์นักxxxxxxxxxหรือผู้เดินทางผ่านบ้านป่าบาก หรือแม้แต่ตลาดต่างประเทศอย่างสิงคโปร์ เป็นต้น
โรงเรียนไทยรัฐxxxxx 37( วัดหัวถิน ) จ.สงขลา เสนอเรื่อง วิถีชีวิตชาวนาบ้านหัวถินก่อนและ หลังการเกิดนาxxxx เรื่องนี้xxxxxxเสนอให้เห็นประสบการณ์ของชาวบ้านที่สังคมส่วนใหญ่ในภาคใต้ xxxxxxxx ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงการเปลี่ยนแปลงการผลิตที่ชาวบ้านไปสู่การผลิตที่ชาวบ้านxxx xxxxxxx โดยมีแรงxxxxxxxxxxxxxxได้เป็นแรงกระตุ้นที่ส˚าคัญ คือประสบการณ์การเปลี่ยนจากการท˚านาข้าวไป ท˚านาxxxx โดยผู้ศึกษาเสนอให้เห็นว่าบ้านหัวถิน(ต.xxxxxx อ.ระโนด จ.สงขลา) แต่เดิมท˚านาข้าวเป็นหลัก สังคมวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นก็สอดคล้องกับสังคมชาวนาข้าว แต่ประมาณxxxxxx 2530 เป็นต้นมาการ ขยายตัวเข้ามาในลุ่มน้˚าทะเลสาสงขลาของการเลี้ยงxxxxท˚าให้ชาวบ้านจ˚านวนมากในชุมชนหันไปเลี้ยงxxxx โดยน˚าxxxxxมาขุดเป็นบ่อเลี้ยงxxxx รวมทั้งมีนายทุนจากภายนอกมากว้านซื้อที่ดินแล้วขุดเป็นบ่อเลี้ยงxxxx ซึ่ง ในระยะแรกxxxxxxxxผลตอบแทนดีมาก จึงมีเงินใช้จ่ายอย่างสบายมือ และใช้ไปโดยง่าย ท˚าให้เกิด
ร้านอาหาร ร้านคาราโอเกะ ร้านค้าสิ่งบันเทิงและสิ่งอ˚านวยความสะดวกต่างๆ โดยเกิดขึ้นบริเวณใกล้ๆ ชุมชน ชาวบ้านที่ร่˚ารวยจากการเลี้ยงxxxxxxxxxxxxxxxxxเองและที่เป็นลูกจ้างล้วนน˚าเงินมาใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้า และบริการดังกล่าวอย่างคึกคัก แต่ว่าการเลี้ยงxxxxxxxผลดีระยะหนึ่งเท่านั้น ในขณะที่ต้นทุนการเลี้ยงสูงขึ้น เรื่อยๆ และผู้เลี้ยงประสบภาวะxxxxตายxxxxxขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดก˚าไรxxxxxxก็xxxxxและหมดไป ทุนที่มีก็หมด ตามไปด้วย ต้องไปกู้หนียืมสินเพิ่มเติม ในที่สุดชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ไปไม่รอดและต้องหยุดเลี้ยงxxxx แต่ก็มีผู้ เลี้ยงบางส่วนที่xxxxxxxxxxxxต่อ โดยxxxxxความระมัดระวังมากขึ้น xxxx เลี้ยงให้น้อยลง ใช้อาหารและ สารเคมีให้น้อยลง เป็นต้น และชาวบ้านที่เลิกเลี้ยงxxxxบางรายที่ยังพอเหลือxxxxxอยู่ก็xxxxxxxxxxxxท˚านา อีก แต่xxxxxxxxxxxxคือมีบ่อxxxxร้างถูกทิ้งอยู่ทั่วไป เพราะใช้ประโยชน์อะไรxxxxxx จะน˚าไปใช้ในการเพ ราะ ปลูกดินก็ยังเค็มอยู่ ในขณะที่สังคมวัฒนธรรมในชุมชนนับแต่มีการเลี้ยงxxxxxxเปลี่ยนไปในลักษณะที่ชีวิตของ ผู้คนมีความตึงเครียดมากขึ้น การเอาใจใส่กัน การพึ่งพาอาศัยกันก็เลือนหายไป เพราะxxxxxxxxxxxxxxxx หรือที่เสียครั้งใหม่นี้มหาศาลเกินกว่าจะใช้กลไกทางสังคมแบบเดิมเยียวยาได้
โรงเรียนบ้านxxxxเต็ง จ.ตรัง เสนอเรื่อง"ถ ˚าเล" กับการเปลี่ยนแปลงของชุมชนเขากอบ เรื่องนี้ แสดงให้เห็นxxxxxxเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของชุมชนอันเนื่องมาจากชุมชนมีทรัพยากรธรรมชาติซึ่ง ต่อมาxxxxxxxเป็นแหล่งxxxxxxxxxxส˚าคัญและกลายเป็นแหล่งรายได้ของชุมชน พื้นที่ศึกษาดังกล่าวได้แก่ ต.เขากอบ x.xxxxxxx จ.ตรัง โดยผู้ศึกษาได้แบ่งเนื้อหาเป็น 2 ยุค คือยุคก่อนถ้˚าเลกลายเป็นแหล่ง xxxxxxxxxx และยุคหลังถ้˚าเลกลายเป็นแหล่งxxxxxxxxxx โดยเศรษฐกิจในยุคแรกนั้น ต.เขากอบจะเหมือนกับ พื้นที่ทั่วไปในบริเวณนั้นคือประชากรส่วนใหญ่ท˚านาเป็นอาชีพหลัก จะต่างตรงที่ว่าxxxxxxxxxชุมชนนี้มีเขา และถ้˚าเลเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ส˚าคัญ โดยรอบๆเขาดังกล่าวจะมีล˚าน้˚าล้อมรอบชาวบ้านจึงอาศัยจับ ปลาในxxxxดังกล่าวเป็นอาหาร บนเขามีสัตว์ต่างๆมากมายที่ชาวบ้านxxxxxxจับมาเป็นอาหาร ในถ้˚าxx xxxค้างข้าวที่ชาวบ้านเก็บมาเป็นปุ๋ยส˚าหรับท˚านา แต่โดยภาพรวมแล้วชาวบ้านก็xxxxxxแบบxxxxxxxxx xxxxเดียวกับหมู่บ้านอื่นๆ แต่ถ้˚าที่ภูเขาซึ่งชาวบ้านเรียกว่าถ้˚าเลและอาศัยเก็บขี้ค้างคาวนั้นเมื่อถึงยุคการ xxxxxxxxxxปรากฏว่าถ้˚าเลกลายเป็นแหล่งท่อเที่ยวที่มีคุณค่า เพราะเป็นถ้˚าขนาดใหญ่ที่มีถ้˚าย่อยxxxxxxxxx มากมาย เมื่อทางอ˚าเภอเข้ามาพัฒนาให้เป็นแหล่งxxxxxxxxxxและทางองค์การบริหารส่วนต˚าบลได้เข้ามา ด˚าเนินการต่อ ท˚าให้ถ้˚าเลเป็นแหล่งที่คนxxxxมาxxxxxxxxxxมาก ท˚าให้ชาวบ้านxxxxxxxxxxxขึ้นอีกนอกจาก อาชีพเกษตรที่มีอยู่แต่เดิมแล้ว จึงนับว่าเศรษฐกิจของชาวบ้านทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ที่เรียกว่าซื้อง่ายขายxxxxx แม้ในปัจจุบันชาวบ้านก็ยังได้รับประโยชน์จากการxxxxxxxxxxถ้˚าเล
โรงเรียนชะอวดวิทยาคาร จ. นครศรีธรรมราช น˚าเสนอเรื่อง ตลาดชะอวดจากตลาดxxxxxxxxถึง ตลาดเทศบาล งานศึกษานี้เป็นการน˚าเสนอให้เห็นถึงความxxxxxxxxxและความเสื่อมถอยของตลาดในเมือง ในxxxxxxxxxxxช่วงหนึ่งมีเงื่อนไขของที่เอื้ออ˚านวยก็เติบโตอย่างมาก แต่เมื่อเงื่อนไขที่เอื้ออ˚านวยเปลี่ยนไป ตลาดดังกล่าวก็ต้องปรับตัวเองเพื่อให้อยู่ได้ ตลาดดังกล่ าวนี้คือตลาดชะอวด (อ.ชะอวด จ. นครศรีธรรมราช) ผู้ศึกษาได้แบ่งการน˚าเสนอเนื้อหาเป็น 4 ยุค คือ ยุคxxxxxxx (ตลาดxxxxxxxx) ยุคxxxxxxxxx ยุคถดถอย และยุคตลาดเทศบาล โดยผู้ศึกษาสืบค้นและน˚าเสนอข้อมูลย้อนไปถึงยุคการxxxxxxxตลาดที่ บ้านxxxxxxxxในช่วงxxxxxx 2440 ซึ่งเป็นยุคที่การสัญจรทางน้˚ายังคึกคัก กระทั่งมีกลุ่มคนxxxแจวเรือทวน สายน้˚าขึ้นมาท˚าการซื้อขาย จนเกิดเป็นตลาดขึ้นที่ท่าน้˚าแห่งหนึ่งของบ้านxxxxxxxx ในท่ามกลางการก่อตัว ของตลาดxxxxxxxขยายตัวขึ้นนี้ทางรถไฟสายใต้ที่ผ่านชะอวดก็ได้กลายเป็นตัวเร่งให้ตลาดชะอวดทะยานเข้า สู่ยุคxxxxxxxxx การค้าทั้งทางน้˚าและทางราง ท˚าให้ตลาดชะอวดในยุคนี้กลายเป็นศูนย์กลางการค้าxxxxxxxxx กว่าตัวเมืองนครศรีธรรมราชเสียด้วยซ้˚า สินค้าทั้งข้าว ของป่า ไม้ ปลา ผัก สัตว์เลี้ยง ผลไม้ ฯลฯ จากชุมชน ใกล้ไกลถูกตลาดดึงดูดเข้ามาไว้ที่นี่ก่อนจะxxxxxxออกไปสู่ตลาดภายนอกถึงกรุงเทพฯและต่างประเทศ ใน ขณะเดียวกันตลาดแห่งนี้ก็เป็นxxxxxxxxxสินค้าจากโรงงานออกไปสู่ตลาดย่อยๆ ที่เข้ามาxxxxxxxxอยู่กับ ตลาดชะอวดอย่างxxxxxxxxxxกัน ความxxxxxxxxxดังกล่าวยาวนานอยู่ 3-4 xxxxxx xxxxxถนนสายเอเชียตัดผ่าน ขอบนอกของอ˚าเภอชะอวดและxxxxxxจากอุทกภัย อัคคีภัยและโจร ในxxxxxxxxx 2510 ตลาดชะอวดก็เข้า สู่ยุคเสื่อมถอย เพราะเงื่อนไขดังกล่าวได้ส่งผลให้กลุ่มผู้ค้าซึ่งได้สะสมxxxxxxว่าสามxxxxxxxxxมั่นใจใน สวัสดิภาพของชีวิตและทรัพย์สิน จึงทยอยย้ายแหล่งประกอบการค้าไปยังxxxxxxปลอดภัยกว่า xxxx ตลาดทุ่ง สง ตลาดxxxxxxxxxxx ในปลายxxxxxx 2510 ตลาดชะอวดก็ตกอยู่ในสภาพร่วงโรย หลังxxxxxx 2520 ตลาดชะอวดได้กลับฟื้นคืนขึ้นมาอีกครั้ง ขณะxxxxxxxxxชุมชนและรายรอบใกล้ๆได้ปรับเปลี่ยนการผลิต มาสู่การxxxxxxxเศรษฐกิจแทนการท˚านา และบางส่วนก็ผันไปเป็นแรงงานในอุตสาหกรรมขนาดเล็กxxxx การท˚าโรงอิฐเพื่อป้อนการก่อสร้างในตัวเมืองต่างๆที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวใหม่ ของตลาดชะอวดในยุคนี้ก็xxxxxxxxxxxxxxแบบตลาดขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับยุคxxxxxxxxx เพราะ บรรดาเงื่อนไขที่ท˚าให้ตลาดชะอวดได้เปลี่ยนไปแบบไม่มีทางหวนxxxxxxอีก การเกิดถนนรถยนต์ตั้งแต่ xxxxxx 2510 จนปัจจุบันได้ท˚าให้เครือข่ายตลาดย่อยๆ ที่ไปสนับสนุนความxxxxxxxxxของตลาดชะอวดได้ พัฒนาเป็นตลาดที่ตอบxxxxชุมชนรายรอบของตัวเองได้อย่างxxxxxxx ตลาดชะอวดในxxxxxxพัฒนามาเป็น ตลาดเทศบาลในปัจจุบันจึงเป็นตลาดจับจ่ายอาหารสด แห้ง เหมือนตลาดเทศบาลทั่วๆไป