เมื่อเข้าสู่ช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 การช่วยเหลือทางสังคม (Social Assistance) เพื่อให้ ความคุ้มครองกับคนยากจนทั้งในเขตเมืองและชนบทเริ่มต้นขึ้นอย่างสําคัญ แบบแผนการ ช่วยเหลือทางสังคมผ่านการทดสอบในระยะหนึ่งที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ระบบการรับรอง...
สัญญาเลขที่ RDG5610025
รายงานวิจัยฉบับxxxxxxx
โครงการ “ผู้สูงอายุในสังคมxxx: การจัดสวัสดิการ ต้นแบบการดูแล และกิจกรรมทางสังคม”
คณะผู้วิจัย สังกัด
1. ผศ.ดร.xxxx สินxxxxxxxxx คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
2. อ.ดร.xxxxxxx xxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxและสังคม
มหาวิทยาลัยxxxxx
3. x.xxxxx xxxxxxxxxxx วิทยาลัยนานาชาติxxxxx xxxxxxx
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
ชุดโครงการ “xxxศกษา”
สนับสนุนโดยสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
(ความเห็นในรายงานนี้เป๐นของผู้วิจัย สกว.ไม่จําเป๐นต้องเห็นด้วยเสมอไป)
บทสรุปผู้บริหาร
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1: ระบบการจัดสวัสดิการสําหรับผู้สูงอายุในประเทศxxx
ตั้งแต่การxxxxxxประเทศเปิดกว้างในประเทศxxxxxxเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ.1978 การ ประกันสังคม (Social Insurance) ได้ถูกเล็งเห็นทั้งรัฐบาลและภาควิชาการในฐานะที่เป๐น เครื่องมือที่มีความเหมาะสมที่สุดในการให้ความมั่นคงทางสังคมในด้านการเงินสําหรับผู้สูงอายุใน ประเทศxxx ในด้านหนึ่ง การประกันสังคมถูกมองในฐานะที่เป๐นการสร้างความรับผิดชอบต่อตัวเอง ของxxจเจกบุคคลให้ควบคู่ไปกับเศรษฐกิจแบบตลาด (Market Economy) ในการxxxxxxประเทศ เปิดกว้างของxxxxxxดําเนินไปข้างหน้า (Chow and Xu, 2001) ในอีกด้านหนึ่ง การประกันสังคม เป๐นเครื่องมือสําคัญของรัฐในการปรับปรุงโครงสร้างภาคธุรกิจให้ง่ายต่อการจัดการให้เป๐นไปตาม นโยบายที่รัฐกําหนด ความxxxxxxหลักของรัฐบาลกลางในการxxxxxxระบบความมั่นคงทางสังคม ได้เน้นไปที่การสร้างแบบแผนการประกันสังคมที่xxxxxxxxกับการxxxxงานที่หลากหลาย โดยให้ความ คุ้มครองในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย บํานาญสําหรับผู้สูงอายุ การว่างงาน การรักษาพยาบาล การ บาดเจ็บจากการทํางานและการxxxxx และการคลอดบุตร แบบแผนแรกที่ถูกสร้างขึ้นถูกใช้ใน เขตเมืองกับแรงงานในระบบแล้วจึงขยายไปสู่เขตชนบทและแรงงานนอกระบบ ในระบบบํานาญ ผู้สูงอายุ xxจจุบันประกอบไปด้วย 4 แบบแผนที่แตกต่างกันตามผู้ให้บริการ ได้แก่ ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน รัฐและองค์กรเพื่อสาธารณะ คนในชนบท และผู้ที่อยู่อาศัยในเขตเมืองนอกสถานที่ ทํางาน ยิ่งในxxจจุบัน การxxxxxขึ้นของจํานวนเมืองได้พัฒนาแบบแผนบํานาญการเกษียณอายุ สําหรับแรงงานที่ย้ายถิ่นจากชนบทxxxxxxxxxxxxxxxขึ้น xxxxxใช้แบบแผนบํานาญสําหรับลูกจ้างที่อยู่ใน เขตเมืองก็ใช้แบบแผนที่ถูกคิดแยกต่างหากออกไป การxxxxxxระบบบํานาญได้เน้นไปที่สถาน ประกอบการภาคเอกชนในเขตเมืองและบํานาญผู้สูงอายุในเขตชนบท ขณะที่แบบแผนอื่น ๆ ถูก ประกาศใช้เพื่อการทดลองระบบ
เมื่อเข้าสู่xxxxxxxxxxxxxxxxx 1990 การช่วยเหลือทางสังคม (Social Assistance) เพื่อให้ ความคุ้มครองกับคนxxxxxxxxxในเขตเมืองและชนบทเริ่มต้นขึ้นอย่างสําคัญ แบบแผนการ ช่วยเหลือทางสังคมผ่านการทดสอบในระยะหนึ่งที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ระบบการรับรอง มาตรฐานการใช้ชีวิตขั้นต่ํา” (The Minimum Living Standard Guarantee System: Dibao) ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองคนยากจนในเขตเมืองทั่วประเทศในปี ค.ศ.1999 และขยาย ครอบคลุมทั่วประเทศในปี ค.ศ.2007 แบบแผนความคุ้มครองนี้ให้ความช่วยเหลือเป๐นเงินสดกับ ครอบครัวผู้ตกอยู่ภายใต้ความยากจนซึ่งวัดผ่านเส้นความยากจน ด้วยความที่โครงการนี้xxxxxxถูก ออกแบบมาเพื่อผู้สูงอายุ จึงxxxxxxเกิดประโยชน์อันใดในการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุxxxxxxxx ใน เขตชนบท โครงการความช่วยเหลือทางสังคมแต่เดิมซึ่งเรียกว่า “ระบบการรับรองห้าด้าน” (Five Guarantee System: Wubao) ให้ความคุ้มครอง 5 ประการสําหรับผู้สูงอายุxxxxxxได้รับการ
สนับสนุนจากครอบครัว ดังนั้น นโยบายความมั่นคงทางรายxxxxxxเป๐นทางการในxxจจุบันสําหรับ ผู้สูงอายุในประเทศxxxxxxมี 2 ระบบได้แก่ ระบบบํานาญสําหรับผู้สูงอายุ (Old-Age Pensions) และระบบความช่วยเหลือทางสังคม (Social Assistance) สําหรับครัวเรือนxxxxxxxx
ในปี ค.ศ.2009 ประเทศxxxมีผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปีขึ้นไปรวม 167 ล้านคน คิดเป๐นร้อยละ
12.5 ของจํานวนประชากรทั้งหมด (National Bureau of Statistics, 2011) โดยประมาณมี ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง 78 ล้านคน อาศัยอยู่ในเขตชนบทมี 89 ล้านคน ในปี ค.ศ.2010 ประมาณ 92 ล้านคนหรือคิดเป๐นร้อยละ 55 ของผู้สูงอายุได้รับความคุ้มครองในระบบบํานาญ สําหรับผู้สูงอายุ ซึ่งเป๐นผู้สูงอายุในเขตเมือง 63 ล้านคน และอยู่ในเขตชนบท 29 ล้านคน (Ministry of Human Resources and Social Security, 2010) ในปี ค.ศ.2009 มีผู้สูงอายุ
15.35 ล้านคนหรือคิดเป๐นร้อยละ10 ของผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปได้รับ Dibao ประกอบด้วย ผู้สูงอายุที่อยู่นอกภาคเกษตรกรรมจํานวน 3.35 ล้านคนหรือคิดเป๐นร้อยละ 5 และจํานวน 12 ล้านคนหรือคิดเป๐นร้อยละ 12 ที่เป๐นผู้สูงอายุที่อยู่ในภาคเกษตรกรรม (Ministry of Civil Affairs, 2011) สําหรับอัตราการจ่ายเงินบํานาญได้มีการจ่ายxxxxxขึ้นจากต่ํากว่า 600 หยวนต่อเดือนในปี ค.ศ.2001 เป๐น 1,300 หยวนต่อเดือนในปี ค.ศ.2009 สําหรับผู้สูงอายุที่อยู่ภายใต้ระบบการ ช่วยเหลือทางสังคมxxxxxxxxxxxxxรายเดือนคิดเป๐น 165 หยวนสําหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตเมือง และ 64 หยวนสําหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในชนบท (Ministry of Civil Affairs, 2009)
กล่าวโดยสรุป การจัดสวัสดิการด้านความมั่นคงทางรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุในxxจจุบันของxxx แบ่งออกเป๐น 2 ระบบ คือ การประกันสังคมและการช่วยเหลือทางสังคม การประกันสังคม ประกอบด้วยความคุ้มครอง 5 ประการ คือ บํานาญสําหรับผู้สูงอายุ การว่างงาน การ รักษาพยาบาล การบาดเจ็บจากการทํางานและการxxxxx และการคลอดบุตร การช่วยเหลือทาง สังคมเป๐นการจัดตั้งกองทุนสนับสนุนของรัฐเพื่อให้ความช่วยเหลือบุคคลและครอบครัวที่ตกอยู่ ภายใต้ความยากจนเพื่อให้มีความเป๐นอยู่ การรักษาพยาบาล การศึกษา ที่อยู่อาศัย หรือความ ต้องการอื่น ๆ ตามxxxxxx
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2: ต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุxxxในพื้นที่ที่มีความน่าสนใจในการดูแลผู้สูงอายุ
ต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุในลักษณะไปเช้าเย็นกลับของทั้งสองพื้นที่ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เทศบาลxxxxxxงไห่ (Shanghai) เขตจิ้งอัน (Jing’an) และxxxxซื่อชวน (Sichuan) เมืองเฉิงตู (Chengdu) เขตเวินเจียง จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลทั้งสองพื้นที่ได้ข้อค้นพบดังต่อไปนี้ การบริการ ในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุย่อมมีความแตกต่างกันไปตามบริบทในแต่ละชุมชน และที่มาของการก่อตั้ง ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เขตจิ้งอัน เริ่มต้นให้ความสําคัญกับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในปี ค.ศ.2010 ซึ่งรัฐบาล เขตจิ้งอันได้ลงนามในสัญญาข้อตกลงกับรัฐบาลเทศบาลxxxxxxงไห่ให้พัฒนาเขตจิ้งอันเป๐นเขต ตัวอย่างในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในเขตจิ้งอันนี้ (Home Care) เป๐น 1 ใน 13 ชุมชนในเทศบาลxxxxxxงไห่ xxxxxxรับรางวัลชุมชนต้นแบบในการดูแลผู้สูงอายุประจําปี ค.ศ.2011 และให้บริการผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตจิ้งอัน สําหรับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในเขตเวินเจียง (Spirit Home) xxxx xxxxขึ้นโดยองค์กรxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx NPO-Non Profit Organization ซึ่งเป๐นหน่วยงาน ภาครัฐ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสาธารณะประโยชน์ทั้งต่อผู้สูงอายุ สตรี เด็ก และคนพิการ ที่ เป๐นเกษตรกรที่ย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ เนื่องจากถูกเวนคืนที่ดินจากรัฐบาล แต่จะเน้นเฉพาะ ผู้สูงอายุเป๐นหลัก เห็นได้ว่า ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุทั้งสองพื้นที่มีความแตกต่างกันในเรื่องของบริการ ผู้สูงอายุในเขตจิ้งอัน ซึ่งอยู่ในเขตเมืองจะต้องการบริการอาหารจากศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ในขณะที่ ผู้สูงอายุในเขตเวินเจียงจะต้องการบริการอาหารเพียงxxxxxxxxเท่านั้น ทั้งนี้อาจเป๐นเพราะลักษณะ ที่ตั้งของ Spirit Home ในเขตเวินเจียง จะตั้งในบริเวณเขตที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ มีความเงียบ สงบ ไม่มีรถผ่านไปมา ซึ่งทําให้ผู้สูงอายุxxxxxxเดินไปมาได้ง่าย ซึ่งทําให้ผู้สูงอายุxxxxxxเดิน กลับไปรับประทานอาหารกลางวันที่บ้านของตนได้ ในขณะที่ Home Care ในเขตจิ้งอัน จะมี ลักษณะเป๐นตึกสูง รถxxxxxxxxx เพราะอยู่ในเขตเมือง จึงทําให้ผู้สูงอายุเกิดความยากลําบากใน การเดินกลับไปรับประทานอาหารกลางวันที่บ้าน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะรับบริการอาหาร กลางวันจากศูนย์ดูแลผู้สูงอายุมากกว่า
การเปลี่ยนผ่านสังคมxxxจากครอบครัวใหญ่มาเป๐นครอบครัวเดี่ยวตามนโยบายลูกคนเดียว ทําให้ผู้สูงอายุมีรูปแบบการอยู่อาศัยที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเข้ามามี บทบาทมากขึ้น xxxx มีศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเกิดขึ้น จึงเกิดอาสาสมัครในชุมชนเข้ามาช่วย ดูแลผู้สูงอายุทําให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างชุมชนและภาครัฐในการเข้ามามีบทบาทร่วมกันใน การดูคนในชุมชน ซึ่งก่อให้เกิดความรัก ความxxxxxxx เกิดความรู้สึกผูกพันเป๐นเจ้าของชุมชนที่ ตนเองอยู่ ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้จะทําให้เกิดความยั่งยืนในการดําเนินการต่อไปในxxxxx xx xxxxสมัครเหล่านี้มาเยี่ยมบ้านของผู้สูงอายุxxxxxxเป๐นหัวใจสําคัญในการดูแลผู้สูงอายุในxxxxxxไม่ xxxxxxมารับบริการที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุได้ ซึ่งผู้สูงอายุบางรายอาจจะอายและไม่กล้ามาจึงทําให้ พวกเขารู้สึกว่าตนเองไม่ถูกทอดทิ้ง นอกจากการxxxxxxสมัครในการดูแลผู้สูงอายุแล้ว จุดเด่นของ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุทั้งสองพื้นที่ ยังมีความคล้ายคลึงกันด้านการให้บริการด้วยxxxxxของเจ้าหน้าที่ ประจําศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ที่มีความตั้งใจทํางานด้วยxxxxx xxxxxxเงินเดือนxxxxxxรับ โดยมีแรงจูงในที่
อยากทํางานนี้เพราะ เป๐นคนที่รักเด็ก รักที่จะดูแลผู้สูงอายุเสมือนพ่อแม่ของตนเอง ไม่รู้สึกว่าเป๐น xxxxxxxจะต้องดูแลผู้สูงอายุเหล่านั้น และเจ้าหน้าที่เหล่านี้มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุมา บ้างหรือเคยดูแลเด็กxxxxxxจึงเข้าใจทักษะในการดูแลผู้อื่นxxxxx นอกจากนี้ภูมิหลังของครอบครัว เจ้าหน้าที่เหล่านี้ต้องอาศัยอยู่ห่างไกลจากพ่อแม่ จึงทําให้เชื่อว่า หากตนเองดูแลผู้สูงอายุxxxxx ก็ เหมือนได้ดูแลพ่อแม่xxxxxด้วยxxxxกัน ส่วนในระดับที่เป๐นผู้ดูแลศูนย์ดูแลผู้สูงอายุจะเรียนจบในสาขา ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งทําให้มีบริการxxxxx ได้มาตรฐานเป๐นมืออาชีพ นอกจากนี้ รัฐบาลxxxให้ความสําคัญกับผู้สูงอายุในเรื่องการจัดการที่อยู่อาศัย โดยนึกถึงสภาพร่างกายและ สุขภาพของผู้สูงอายุเป๐นสําคัญ หากผู้สูงอายุมีสุขภาพxxxxxxxxxxจะจัดสรรที่อยู่ที่เคลื่อนย้ายได้ สะดวกxxxxให้อยู่ในห้องxxxชั้นล่าง
วัตถุประสงค์ข้อที่ 3: ปัจจัยที่ทําให้เกิดกิจกรรมทางสังคมที่xxxxxxxxให้ผู้สูงอายุมีศักยภาพ
กิจกรรมของผู้สูงอายุแบ่งออกเป๐น 3 ลักษณะ 1) กิจกรรมแนวสันทนาการและนันทนาการ ได้แก่ กิจกรรมเต้นแอโรบิค เต้นรํา รําไทเก็ก ประสานเสียงร้องเพลง กิจกรรมxxxxxสด วงxxxxไพ่ รําพัด 2) การเรียนรู้และการฝึกอบรม ได้แก่ การเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยผู้สูงอายุ 3) การ ให้บริการเพื่อทําประโยชน์ให้กับสังคม ได้แก่ ด้านการร่วมเป๐นกรรมการบริหาร ด้านการร่วมลงมือ ดําเนินการ ด้านการร่วมในกิจกรรมของศูนย์ นอกจากกิจกรรมที่แบ่งออกได้ 3 ลักษณะแล้ว กิจกรรมเฉพาะxxxxxxสนใจในxxxxxxxxxไห่ เขตจิ้งอันเกี่ยวกับการหาคู่ให้บุตรเป๐นศูนย์รวมผู้สูงอายุให้ มารวมกลุ่มกันในการทํากิจกรรมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลครอบครัวและบุตรของตน กิจกรรมที่ กล่าวมาข้างต้นเป๐นกิจกรรมด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นทําให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกับสังคมได้ สําหรับใน xxxxxxxxxไห่ ที่เป๐นเขตเทศบาลxxxxxxมีการxxxxxxxxให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ ให้ความรู้และมีกิจกรรม xxxxxxในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมอื่น ๆ xxxx มหาวิทยาลัยผู้สูงอายุสอนเต้นรํา สอนxxxxx สอนร้องเพลง ถ่ายรูป ทําอาหาร ภาษาอังกฤษ การวาดรูป เป๐นต้น
การใช้พื้นที่สาธารณะในประเทศxxx xxxเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าใช้พื้นที่ได้อย่าง xxxxxxxxx จัดได้ว่ามิได้ถูกปิดกั้นโดยรัฐฯ แต่อย่างใด จึงเป๐นxxจจัยxxxxxxxxอย่างสําคัญ ที่ทําให้ผู้คน xxxxxxออกมาใช้ชีวิตในพื้นที่ว่างในเมืองได้อย่างเต็มที่ ผู้สูงอายุ หรือใครก็ตาม xxxxxxจับจอง พื้นที่ในการรวมตัวกันเพื่อทํากิจกรรมได้อย่างกว้างขวาง ปราศจากการxxxxxxx xxxทําให้ผู้สูงอายุ มีพื้นที่ในการแสดงออกโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายรวมถึงพื้นที่ในการทํากิจกรรมเป๐นสถานที่เปิดกว้างไม่มี เวลาปิดเปิดทําการ ไม่มีต้นทุน อันเป๐นxxจจัยสําคัญที่จะxxxxxxxxให้กิจกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ง่าย และดํารงอยู่อย่างสม่ําเสมอ รวมถึงสถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่xxxxชุมชนที่xxxxxxเข้าถึงกิจกรรมได้ง่าย การเดินทางสะดวกจึงทําให้การทํากิจกรรมยังxxดําเนินได้อย่างต่อเนื่อง
การออกกําลังกาย ถือเป๐นกิจกรรมที่ประเทศxxxให้ความสําคัญเป๐นอันดับต้น รัฐบาลยังได้ แสดงความเป๐นห่วงด้านสุขภาพลงไปในระดับเยาวชนเพื่อปลูกฝ๎งค่าxxxxในการรักสุขภาพและหัน มาออกกําลังกายกันให้มากขึ้นตั้งแต่ยังอยู่ในวัยรุ่น ซึ่งส่งผลต่อทัศนคติของผู้สูงอายุในxxxxxxสนใจ การออกกําลังกาย xxxxxxอายว่าตนเองเป๐นผู้สูงอายุหรือ “คนแก่” การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมทํา ให้ชีวิตหลังวัยเกษียณอายุยังxxอยู่อย่างมีความหมายผ่านกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ จึงเห็นได้ว่า ทําไมผู้สูงอายุในxxxxxxไม่อยู่เฉพาะเพียงแต่ในบ้านแต่กลับออกมาทํากิจกรรมทางสังคมตามพื้นที่ สาธารณะอยู่เป๐นจํานวนมาก
ข้อเสนอแนะ
1. การส่งเงินสมทบ พิจารณาเปิดเป๐นทางเลือกให้กับประชาชนมากขึ้นแล้วแต่ความ ต้องการ และการสมทบผู้ประกอบการควรมีสัดส่วนมากขึ้น และส่วนคนจนผู้สูงอายุ ควรจัด สวัสดิการเพิ่มเติม
2. สถานสงเคราะห์บ้านพักคนชรา ควรมีไว้รองรับผู้สูงอายุในxxxxx หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาเตรียมการรองรับสังคมสูงอายุที่ผู้สูงอายุจะขาดคนดูแลในยาม แก่ชรามากขึ้นในxxxxxอันใกล้
3.รัฐบาลควรพิจารณาความเป๐นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในลักษณะไปเช้าเย็น กลับ (day care center) ในทุกชุมชนอย่างเป๐นทางการ รวมxxxxxxบริการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุให้ ทั่วถึงทุกหลังคาเรือน เพื่อให้บริการผู้สูงอายุที่มีความต้องการการดูแลทั้งในเรื่องทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ผ่านการดูแลร่วมกันของคนในชุมชน การตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในลักษณะไปเช้าเย็นกลับ นี้ จะยังxxทําให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกว่าตนเองxxxxxxห่างจากบ้านไปไหน และยังxxxxxxเดินมารับ บริการได้ด้วยตนเองหากศูนย์ฯ xxxxxxรองรับผู้สูงอายุได้อย่างทั่วถึง ทั้งนี้หน่วยงานหลักที่มีความ เหมาะสมในการจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน คือ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์
4.การดูแลผู้สูงอายุในชุมชนด้วยการจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ xxจจัยที่จะทําให้ศูนย์ดูแลนี้มี ความยั่งยืน คือ ชุมชนควรเข้ามาบทบาทสําคัญในการดําเนินงาน หรือให้บริการต่างๆ ต่อผู้สูงอายุ ผ่านอาสาสมัครประจําชุมชน โดยมีเจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ดูแลเป๐นพี่เลี้ยงคอยให้คําแนะนํา เพื่อให้ ชุมชนยั่งยืน และxxxxxxบริหารศูนย์ดูแลผู้สูงอายุได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ การลงเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ
5. รัฐบาลควรพิจารณาให้มีหลักสูตรเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุโดยตรง ซึ่งอาจ xxxxxลงในหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุ
6. รัฐบาลควรแสดงบทบาทนํา เพื่อสร้างพื้นที่สาธารณะให้มากขึ้น โดยเฉพาะ กระทรวงมหาดไทยจัดสรรพื้นที่และทําโครงการต้นแบบในการxxxxxxxxกิจกรรมผู้สูงอายุ โดยxxxxxxx การxxxxxxตัวอยู่ทั่วทุกแห่งในเมือง และที่สําคัญจําเป๐นจะต้องเข้าถึงได้อย่างxxxx การเดินทางไป ในพื้นที่สาธารณะแต่ละแห่งมีการคมนาคมสาธารณะxxxxxxxxxx ทั้งนี้เนื่องจากสถานที่ตั้งและ ระยะทาง เป๐นอีกxxจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจออกไปเข้าร่วมกิจกรรมในที่ต่าง ๆ
7. รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดการประชาสัมพันธ์ รวมถึงปลูกฝ๎งทัศนคติxxxxxใน การเข้าร่วมกิจกรรมของผู้สูงอายุ รวมถึงสนับสนุนให้ครอบครัวของผู้สูงอายุเห็นความสําคัญของ การทํากิจกรรมของผู้สูงอายุด้วย เป๐นการผลักดันบทบาทหน้าของผู้สูงอายุให้รู้สึกว่าชีวิตหลัง เกษียณอายุแล้วยังxxมีความxxxx xxกิจกรรมทางสังคมมากมายที่ทําให้ชีวิตxxxxxxxxxxxxxxxxx
ชื่อโครงการ ผู้สูงอายุในสังคมxxx: การจัดสวัสดิการ ต้นแบบการดูแล และกิจกรรมทางสังคม
ชื่อผู้วิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.xxxx สินxxxxxxxxx1 และคณะ
บทคัดย่อ
ในงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษาระบบการจัดสวัสดิการสําหรับผู้สูงอายุใน ประเทศxxx 2) เพื่อศึกษาต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุxxxในพื้นที่ที่มีความน่าสนใจ 3) เพื่อศึกษาxxจจัยที่ทําให้เกิด กิจกรรมทางสังคมที่xxxxxxxxให้ผู้สูงอายุมีศักยภาพ ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้อาศัยวิธีวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participatory Observe) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Indepth Interview) โดยกําหนดพื้นที่ในการศึกษาไว้ 2 แห่ง ประกอบด้วย เทศบาลxxxxxxงไห่ (Shanghai) เขตจิ้งอัน (Jing’an) และxxxxซื่อชวน (Sichuan) เมืองเฉิงตู (Chengdu)
ผลการศึกษาพบว่า
1) ในการจัดสวัสดิการด้านความมั่นคงทางรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุในxxจจุบันของxxxแบ่งออกเป๐น 2 ระบบ คือ การประกันสังคม (Social Insurance) และการช่วยเหลือทางสังคม (Social Assistance) การ ประกันสังคมประกอบด้วยความคุ้มครอง 5 ประการ คือ บํานาญสําหรับผู้สูงอายุ การว่างงาน การ รักษาพยาบาล การบาดเจ็บจากการทํางานและการxxxxx และการคลอดบุตร การช่วยเหลือทางสังคมเป๐น การจัดตั้งกองทุนสนับสนุนของรัฐเพื่อให้ความช่วยเหลือบุคคลและครอบครัวที่ตกอยู่ภายใต้ความยากจน เพื่อให้มีความเป๐นอยู่ การรักษาพยาบาล การศึกษา ที่อยู่อาศัย หรือความต้องการอื่น ๆ ตามxxxxxx
2) ต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุมีลักษณะไปเช้าเย็นกลับของทั้งสองพื้นที่พบว่า การบริการในศูนย์ดูแล ผู้สูงอายุย่อมมีความแตกต่างกันไปตามบริบทในแต่ละชุมชน และที่มาของการก่อตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เขตจิ้ง อัน เริ่มต้นจากรัฐบาลเขตจิ้งอันได้ลงนามในสัญญาข้อตกลงกับรัฐบาลเทศบาลxxxxxxงไห่ให้พัฒนาเขตจิ้งอัน เป๐นเขตตัวอย่างในการดูแลผู้สูงอายุ สําหรับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในเขตเวินเจียง (Spirit Home) xxxx xxxxขึ้นโดย องค์กรxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx NPO-Non Profit Organization ซึ่งเป๐นหน่วยงานภาครัฐ ทั้งสองพื้นที่มีการ เกิดอาสาสมัครเข้ามาดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเกิดความร่วมมือกันระหว่างชุมชนและภาครัฐในการเข้ามามี บทบาทร่วมกันในการดูคนในชุมชน ซึ่งก่อให้เกิด เกิดความรู้สึกผูกพันและรู้สึกเป๐นเจ้าของชุมชน ผู้สูงอายุรู้สึก ไม่ถูกทอดทิ้ง จุดเด่นของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุทั้งสองพื้นที่ ยังมีความคล้ายคลึงกันด้านการให้บริการด้วยxxxxxของ เจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ส่วนในระดับที่เป๐นผู้ดูแลศูนย์ดูแลผู้สูงอายุจะเรียนจบในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยตรงกับการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งทําให้มีบริการxxxxx ได้มาตรฐานเป๐นมืออาชีพ นอกจากนี้รัฐบาลxxxให้ ความสําคัญกับผู้สูงอายุในเรื่องการจัดการที่อยู่อาศัย โดยนึกถึงสภาพร่างกายและความสะดวกของผู้สูงอายุ เป๐นหลัก
1 Ph.D. (Demography)-International Program, Mahidol University, Thailand, วท.ม. (สถิติประยุกต์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
, วท.บ. (สถิติ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; อาจารย์ประจําคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทรศัพท์ 0 2696 5800 Email: xxxxx.xx@xxxxx.xxx xxxx@xx.xx.xx xx.xxxxx@xxxxx.xxx
3) กิจกรรมของผู้สูงอายุทั้ง 2 เขตพื้นที่ แบ่งออกเป๐น 3 ลักษณะ ได้แก่ กิจกรรมแนวสันทนาการและ นันทนาการ กิจกรรมxxxxxxxxการเรียนรู้และการฝึกอบรม และกิจกรรมการให้บริการเพื่อทําประโยชน์ให้กับ สังคม สําหรับเขตจิ้งอันพบกิจกรรมเฉพาะ คือกิจกรรมหาคู่ให้บุตรเป๐นศูนย์รวมผู้สูงอายุให้มารวมกลุ่มกันใน การทํากิจกรรมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลครอบครัวและบุตรของตน กิจกรรมที่กล่าวมาข้างต้นเป๐นกิจกรรมด้าน ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นทําให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกับสังคมได้ สําหรับในxxxxxxxxxไห่ เป๐นเขตเทศบาลxxxxxxมีการ xxxxxxxxให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ ให้ความรู้และมีกิจกรรมxxxxxxในการเข้าร่วมกิจกรรมจึงมีมหาวิทยาลัยของ ผู้สูงอายุเกิดขึ้น ด้านการใช้พื้นที่สาธารณะในประเทศxxx xxxเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าใช้พื้นที่ได้อย่าง xxxxxxxxx ใกล้ชุมชน เดินทางสะดวก รัฐบาลxxxxxxxxกิจกรรมทางสังคมที่เกิดขึ้นกับประชาชนและผู้สูงอายุทั้ง พื้นที่สาธารณะ การปลูกฝ๎งค่าxxxxในวัยรุ่นให้รักสุขภาพ รักการออกกําลังกาย ส่งผลต่อทัศนคติของผู้สูงอายุให้ รักการออกกําลังกายไปด้วย
Research Project: Elderly in Chinese Society: Welfare Services, Model for Elderly Care and Social Activity
Researcher: Assistant Professor Dr.Teera Sindecharak2 et al
Abstract
The objectives of this research are 1) to study the welfare systems among Chinese elderly in China 2) To study elderly care service provision in China from successful areas and
3) to study the factors that caused the social activity for supporting elderly potentially. In addition, the documentary research, non-participatory observation, and in-depth interview are used in this study. Two areas of this study consist of Jing’An district in Shanghai and Sichuan province in Chengdu city.
The results of this study are as followed:
1) Considering the welfare of income security for elderly in the present, it is divided into two systems; Social insurance and social assistance. Social insurance covers pension for the elderly, unemployment, medical treatment, injury from work and replacement, and childbearing. Social assistance is established by government fund to assist individuals and families who are the poor. These welfares on social security are needed for a good livelihood, healthcare, education, housing or others conventionally.
2) For elderly day care service provision from successful areas, care of the elderly services differ according to the context of each community and the source of establishment on elderly day care service. In Jing’An district, the government has signed an agreement with Shanghai to develop a model of elderly care center. For the elderly care center in Wex Xxxxx (Spirit Home) based on state agency, it is established by Non Profit Organization-NPO. The volunteers of elderly day care center are found to take care of elderly in communities. Besides, the corporation between community and government that leads to the relationship and feeling of ownership in community. Furthermore, elderly are not neglected. The highlight of two elderly day care centers is similar as regard to the service mind of the officials who take care of the elderly. This results in a good standardized professional service. Moreover, regarding the housing management, Chinese government takes into account psychological factors and convenience of suitable habitat for the elderly.
2 Ph.D. (Demography)-International Program, Mahidol University, Thailand, M.A. (Applied Statistics) Thammasat Universtiy, Thailand. X.Xx. (Statistics), Thammasat University, Thailand. Lecturer in Faculty of Sociology and Anthropoloty, Thammasat University. Tel: (66+) 0000 0000 Email: xxxxx.xx@xxxxx.xxx xxxx@xx.xx.xx xx.xxxxx@xxxxx.xxx
3) The activities of the elderly based on two areas of interest are divided into three types namely leisure activities and recreation, the activity on promotion of learning and training, and the service activity that are beneficial to society. The special activity which is found in Jing’An province is match making. This activity is established as an elderly center to gather any elderly for sharing their family and children stories. This match making activity is an interacting aspect of elderly leading to the social participation. On the other hand, Shanghai city, city municipal, encourages the elderly to learn and participate in any learning activities by establishing the university for the elderly. Regarding the use of public space in China, the population has a freedom to use it. It locates nearby the community and convenient. The government supports social activities such as public space for all population and elderly. The emphasis on the value regarding health and exercise has affected the attitude of elderly to enjoy exercising.
กิตติกรรมประกาศ
งานวิจัยนี้เรื่อง “ผู้สูงอายุในสังคมxxx: การจัดสวัสดิการ ต้นแบบการดูแลและกิจกรรมทางสังคม” ภายใต้ชุดโครงการ “xxxศึกษา” เป๐นการขยายพรมแดนของคณะนักวิจัยอีกโครงการหนึ่งทั้งในเชิงองค์ความxxx xxxxxxxวิธีการศึกษา พื้นที่ กว้างขวางในบริบทของสังคมอื่น ความเป๐นมาและเป๐นไป รวมถึงกัลยาณมิตรใหม่ที่อยู่คนละมิติทางวัฒนธรรม คณะผู้วิจัยต้อง ขอขอบพระคุณเป๐นอย่างสูงสําหรับสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่สนับสนุนการวิจัยในหัวข้อดังกล่าวซึ่ง นอกจากผู้วิจัยจะได้มีโอกาสเรียนรู้ ยังเป๐นโอกาสxxxxxทําให้คนไทยที่รู้เรื่องxxxน้อยหรือรู้บ้างไม่รู้บ้างหรือรู้อยู่แล้วได้เข้าใ จ ประเทศมหาอํานาจนี้มากขึ้น
คณะผู้วิจัยต้องกราบขอบพระคุณท่านxxxxxxxxxxxxxx xxxxx xxxxxxxxxxxxx เป๐นอย่างสูงxxxxxxหยิบยื่นทั้งหัวข้อ และโอกาสในการเรียนรู้ครั้งนี้ให้ตั้งแต่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2554 และอีกครั้งที่ท่านได้มอบหมายและให้ความไว้วางใจให้ ทําการศึกษาอีกครั้ง ด้วยความมุ่งหมายประการสาคัญที่สดหนึ่งของท่านคือการสร้างนักวิจัยไทยxxxxxxxxเพื่อศึกษา “xxx” ในอัน ที่จะติดตาม xxxxxx และนํามาใช้เป๐นบทเรียนสําหรับประเทศไทยในทุก ๆ มิติที่เราxxxxxxจะศึกษาได้ต่อไปอีกจนกว่า คณะผู้วิจัยจะหมดแรง
ขอขอบพระคุณท่านรองศาสตราจารย์ ดร.xxทมาxxx xxxxxx ผู้อํานวยการฝุายนโยบายชาติและความxxxxxxxxข้ามชาติ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งได้พิจารณาและxxxxxสละเวลาอ่านข้อเสนอโครงการตั้งแต่ครั้งไปนําเสนอที่ สกว.และเฝูาติดตามผลงานศึกษาอย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่เป๐นผู้ทรงคุณวุฒิให้ความเห็นที่เป๐นประโยชน์และเป๐นคุณูปการกับ ผลการวิจัยนี้เป๐นอย่างมากทําให้คณะผู้วิจัยได้มอง ได้เห็น และได้รู้ในมุมที่ต่างออกไป จนนํามาสู่การปรับเพิ่มเติมในประเด็น ต่าง ๆ ที่ทุกท่านได้xxxxxให้ความเห็นไว้กระทั่งได้งานวิจัยฉบับxxxxxxxxxx ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างจริงใจและด้วยใจ จริง
งานวิจัยนี้ไม่xxxxxxxxxxxผลสําเร็จในท้ายที่สุดได้และทําให้คณะผู้วิจัยซึ่งกําลังนั่งเขียนหน้าxxxxxxxxxxxxxxxxxxได้ หากปราศจากซึ่งความxxxxxและความอนุเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีความสําคัญยิ่งจากผู้ให้ข้อมูล ประกอบไปด้วยนักวิชาการ/ นักวิจัยxxx (xxxxxxxxในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่คณะผู้วิจัยขอรบกวนเวลาอยู่หลายมหาวิทยาลัยและหลายครั้งทั้งการไปพบปะ สนทนาพูดคุยและเมลล์สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม) และผู้สูงอายุxxx รวมทั้งเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ที่คณะผู้วิจัยมีโอกาสแวะ ไปxxxxxxxxxxxและสํารวจxxxxxxxxxxx ตลอดจนอาสาสมัครทุกท่านที่สละความสุขส่วนตัวของชีวิตเพื่อความสุขของคนสูงอายุ มากมายหลายสิบหลายร้อยคนในชุมชนต้นแบบที่เป๐นตัวอย่างxxxxxต่อการปรนนิบัติดูแลผู้สูงอายุอย่างที่ลูกหลานตัวเองxxxxxx
เข้าใจได้เลย คณะผู้วิจัยมีความรู้สกซาบซึ้งในความช่วยเหลอ การต้อนรับ ความอบอุ่น และความมีมิตรไมตรีของทุกท่าน ซึ่งทํา
ให้งานวิจัยนี้เดินทางถึงจุดหมายปลายทางได้ในที่สุด ขอขอบพระคุณเป๐นอย่างสูง
นอกจากนี้ เรายังมีคณะทํางานxxxxxxxxxเรียนรู้ร่วมกันกับคณะผู้วิจัยอย่างจริงจังและปฏิบัติงานที่มอบหมายให้อย่าง เต็มที่ตลอดระยะเวลากว่า ๙ เดือนกับทีมงานได้เรียนรู้ตลอดระยะทางทั้งxxxxxxxxx xxxxxxxxx ศิษย์xxxxxxxสํานักสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา สาขาการวิจัยทางสังคม ผู้กําลังหันไปเอาดีทางญี่ปุุนศึกษา และคุณxxxxxxxxx xxxxxxxxxเวทย์ ญาติผู้น้อง ผู้ฝ๎ง ตัวเรียนxxxนานหลายปีและxxxxxxxxxxxภาษาxxxให้คนไทยที่สนใจ นอกจากนี้ยังมีผู้xxxxxxงาน เลขาฯ และผู้กํากับ (อีก แล้ว) ที่ดูแลไม่เฉพาะแต่หัวหน้าโครงการในฐานะภรรยาทั้งในและนอกเวลาทํางาน ยังมีส่วนช่วยให้ทีมงานนี้เดินทางอย่าง xxxxxxxxxxxด้านการติดต่อ xxxxxx และจัดการเอกสารต่าง ๆ (คุณรุ่งxxx xxxxxxxxxx) จึงขอกล่าวคําว่า “ขอบคุณ” ไว้ ณ ที่นี้ ทุกคน เราxxxxxxxxxตลอดการทํางานและตลอดทางของทริปการทํางานนี้มากจริง ๆ
อย่างไรก็ตาม คณะผู้วิจัยเชื่อว่างานวิจัยนี้xxxxxxxxxxxxxxและถูกต้องครบถ้วนเสียทั้งหมด หากแต่ยังมีจุดที่ คณะผู้วิจัยจําเป๐นต้องศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ต่อไปเพื่อให้ตนเองมีความxxxxxxxxxxxxx ๆ ขึ้น หากแต่ความผิดพลาดประการใด ก็ตามที่ (อาจ) เกิดขึ้นในผลงานศึกษานี้ เราสามคนขอน้อมรับและขออภัยมาในความxxxxxxxxxมา ณ ที่นี้ด้วย
xxxx (xxxxxxx) สินเดชารักษ์ (อนันตคุณวงศ์) //หัวหน้าโครงการวิจัย
ศุทธิดา ชวนวัน และ คมกฤช ธาราวิวัฒน์ //นักวิจัย
19 มีนาคม 2557
สารบัญเรื่อง
หน้า
บทสรุปผู้บริหาร i บทคัดย่อ vii Abstract viiii กิตติกรรมประกาศ xi บทที่ 1 บทนํา
1. ความสําคัญและที่มาของป๎ญหา 1
2. วัตถุประสงค์ 10
3. ขอบเขตของการวิจัย 10
4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 13
บทที่ 2 วิธีดําเนินการวิจัย
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร 14
2. การเลือกกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา 20
3. กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคสนาม 21
4. การนําเสนอและวิเคราะห์ข้อมูล 22
บทที่ 3 การจัดสวัสดิการดูแลผู้สูงอายุในประเทศจีน
1. เกริ่นนํา 23
2. เมื่อไหร่เรียกว่า “คนแก่” 24
3. คนแก่จีน: ประทัดดอกใหญ่ จุดแล้วดังมาก...แต่แปฺบเดียว 25
4. ความน่าสนใจในกระบวนการเป๐นสังคมสูงอายุจีน 29
5. หลักประกันทางสังคมผู้สูงอายุ 31
6. เล่าเรื่อง...การดูแลคนแก่จีนโดยรัฐ 36
7. การจัดสวัสดิการดูแลผู้สูงอายุจีนในอดีตถึงป๎จจุบัน 40
8. สถานสงเคราะห์ บ้านพักคนชรา และอื่น ๆ ในจีน 42
สารบัญเรื่อง (ตอ)
บทที่ 4 การศึกษาต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุจีนในพื้นที่ที่มีความสนใจ
หน้า
1. รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในจีน 50
2. ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแบบไปเช้าเย็นกลับ (Day Care) 52
3. เปูาหมายของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแบบไปเช้าเย็นกลับ (Day Care Center) 52
4. ต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุในเทศบาลนครช่างไห่ เขตจิ้งอัน 53
5. ต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุในมณฑลซื่อชวน เมืองเฉิงตู เขตเวินเจียง 62
6. บทวิเคราะห์ 72
บทที่ 5 กิจกรรมทางสังคม: ความเข้าใจ และปัจจัยที่สนับสนุนให้ผู้สูงอายุจีนมีศักยภาพ
1. ความเข้าในเรื่อง “กิจกรรมทางสังคม 75
2. ประเภทกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ 77
3. แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางสังคม 85
4. กิจกรรมทางสังคมที่น่าสนใจในประเทศจีน 87
5. ป๎จจัยที่ทําให้เกิดกิจกรรมทางสังคมที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีศักยภาพ 97
6. ความเหมาะสม จุดอ่อน จุดแข็ง ผลสัมฤทธิ์ของกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ ของผู้สูงอายุในจีน 98
7. บทวิเคราะห์ 100
บทที่ 6 บทสรุปและข้อเสนอแนะ
1. บทสรุป 102
2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 106
3. ข้อจํากัดในการศึกษา 107 บรรณานุกรม 108 ภาคผนวก
ก. กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนําผลจากโครงการไปใช้ประโยชน์ 113 ข. ภาพการเดินทางไปเก็บข้อมูลที่ประเทศจีน 115 ค. รายงานการเดินทางไปสํารวจพื้นที่ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน 136 ง. บันทึกภาคสนาม ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน 150
สารบัญตาราง
ตาราง 1 ร้อยละผู้สูงอายุจีนที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในปี ค.ศ.2000
หน้า
2050 และ 2100 จําแนกรายทวีป 24
ตาราง 2 ค่าใช้จ่ายต่อห้อง จําแนกตามประเภทห้องในบ้านพักคนชราของรัฐ
เทศบาลนครซ่างไห่ เขตจิ้งอัน 43
ตาราง 3 กิจวัตรประจําวันของผู้สูงอายุในบ้านพักคนชรา บ้านพักคนชราของรัฐ
เทศบาลนครซ่างไห่ เขตจิ้งอัน 45
ตาราง 4 กิจกรรมหลกของศนย์ดแลผ้สงอายุ Spirit Home 65
ตาราง 5 ตัวอย่างตารางกิจกรรมของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ Spirit Home 66
ตาราง 6 กิจกรรมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในมหาวิทยาลัยผู้สูงอายุ
จําแนกตามห้องเรียนและวัน 80
สารบัญภาพประกอบ
ภาพประกอบ 1 ร้อยละของประชากรโลก จําแนกตามกลุ่มอายุ
หน้า
ระหว่างปี ค.ศ.1982-2009 2
ภาพประกอบ 2 ปีระมิดแสดงโครงสร้างเพศและอายุของประชากรของจีนเปรียบเทียบ
ระหว่างปี ค.ศ.2010 กับ ค.ศ.2035 3
ภาพประกอบ 3 ร้อยละของประชากรจีน จําแนกตามเขตที่อยู่อาศัย
ระหว่างปี ค.ศ.1949-2009 4 ภาพประกอบ 4 แผนที่แสดงเทศบาลนครช่างไห่ เขตจิ้งอัน 10 ภาพประกอบ 5 จํานวนประชากรรายกลุ่มอายุและอัตราส่วนพึ่งพิงวัยชรา
จําแนกตามเขตการปกครอง 11 ภาพประกอบ 6 แผนที่แสดงมณฑลซื่อชวน เมืองเฉิงตู 12 ภาพประกอบ 7 จํานวนประชากรโลก ระหว่างปี ค.ศ.1950-2100 25 ภาพประกอบ 8 จํานวนประชากรจีน ระหว่างปี ค.ศ.1950-2100
จําแนกตามกลุ่มอายุ 27 ภาพประกอบ 9 อัตราส่วนพึ่งพิงผู้สูงอายุจีน ระหว่างปี ค.ศ.1950-2100 28 ภาพประกอบ 10 สถานที่ บรรยากาศและกิจกรรมของผู้สูงอายุ บ้านพักคนชราของรัฐ
เทศบาลนครซ่างไห่ เขตจิ้งอัน 42 ภาพประกอบ 11 บ้านพักคนชราของเอกชนเขตจิ้งอัน “เจียง หนิง อี๋ เหม่ย” 47 ภาพประกอบ 12 การดูแลผู้สูงอายุแบบต่อเนื่อง (Continuum of care) 51 ภาพประกอบ 13 แผนที่แสดงเทศบาลนครซ่างไห่ เขตจิ้งอัน 53 ภาพประกอบ 14 ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ: บ้านแสนสุข 55 ภาพประกอบ 15 การทํากิจกรรมของผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ: บ้านแสนสุข 56 ภาพประกอบ 16 รูปบัตรประจําตัวผู้สูงอายุ คูปองรับอาหาร และกล่องข้าว 57 ภาพประกอบ 17 การให้บริการของเจ้าหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุ เทศบาลนครซ่างไห่ เขตจิ้งอัน 58 ภาพประกอบ 18 แผนที่แสดงมณฑลซื่อชวน เมืองเฉิงตู เขตเวินเจียง 62 ภาพประกอบ 19 บ้าน Spirit Home เขตเวินเจียง เมืองเฉิงตู มณฑลซื่อชวน 63 ภาพประกอบ 20 กิจกรรมผู้สูงอายุ บ้าน Spirit Home มณฑลซื่อชวน เมืองเฉิงตู เขตเวินเจียง 64 ภาพประกอบ 21 อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุตามบ้านในมณฑลซื่อชวน เมืองเฉิงตู เขตเวินเจียง
เมืองเฉิงตู เขตเวินเจียง 67 ภาพประกอบ 22 รูปภาพห้องเรียนที่มหาวิทยาลัยผู้สูงอายุ 83 ภาพประกอบ 23 หน่วยให้บริการตรวจสุขภาพที่ลานสาธารณะถนนชางผิง 84 ภาพประกอบ 24 ภาพการทําประโยชน์ให้สังคม เยี่ยมผู้สูงอายุกับ Spirit Home 85 ภาพประกอบ 25 กิจกรรมแอโรบิค ถนนหนานจิง 89 ภาพประกอบ 26 กิจกรรมรําไทเก๊กหน้าลานสาธารณะ ถนนชางผิง 89
สารบัญภาพประกอบ (ต่อ)
หน้า
ภาพประกอบ 27 ภาพกิจกรรมเต้นรํา ถนนหนานจิง 90 ภาพประกอบ 28 กิจกรรมการแสดงดนตรีสด ถนนหนานจิง 91 ภาพประกอบ 29 กิจกรรมการเล่นไพ่โต้ตี้จู้ ถนนหนานจิง 91 ภาพประกอบ 30 กิจกรรมรําไทเก๊กหน้าลานสาธารณะ บริเวณริมแม่น้ําหยางลิ่ว 92 ภาพประกอบ 31 กิจกรรมแอโรบิค บริเวณริมแม่น้ําหยางลิ่ว 92 ภาพประกอบ 32 กิจกรรมออกกําลังกาย บริเวณริมแม่น้ําหยางลิ่ว 93
บทที่ 1 บทนํา
1. ความสําคัญและที่มาของปัญหา
เช่นเดียวกับในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก จีนกําลังประสบกับสภาวะการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของ ประชากรสูงอายุ หรืออาจกล่าวได้ว่ามีอัตราความรวดเร็วมากกว่าทุกประเทศเสียอีก โดยในปี ค.ศ.1990 จีนมี จํานวนประชากรที่มีอายุเกิน 65 ปีเพียงร้อยละ 9 ของจํานวนประชากรทั้งหมด (ภาพประกอบ 1) แต่นั ก ประชากรศาสตร์จีนได้ฉายภาพทางประชากรให้เห็นว่า ในปี ค.ศ.2030 จีนจะมีประชากรผู้สูงอายุคิดเป๐นร้อย ละ 22 ของจํานวนประชากรทั้งหมดหรือเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าภายในระยะเวลาเพียง 40 ปีเท่านั้น และ ประชากรผู้สูงอายุในจีนจะคิดเป๐น 1 ใน 4 ของประชากรสูงอายุของทั้งโลก หากจะดูโครงสร้างเพศและอายุ ของประชากรจีนจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า สัดส่วนของผู้สูงอายุในจีนได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเปรียบเทียบ ระหว่างปี ค.ศ.2010 กับปี ค.ศ.2035 ในขณะที่จํานวนประชากรที่อยู่ในวัยแรงงานลดลง เนื่องมาจากอัตรา การเกิดมีไม่เพียงพอที่จะมาทดแทน (ภาพประกอบ 2) ถึงแม้ว่าป๎ญหาดังกล่าวจะยังไม่ใช่ป๎ญหาที่จะเกิดขึ้นใน อนาคตอันใกล้นัก แต่ด้วยอัตราการเพิ่มขึ้นของจํานวนคนแก่อย่างรวดเร็วนี้ได้ก่อให้เกิดป๎ญหาด้านการขาดดุล ของเงินทุนประกันสังคมซึ่งเป๐นระบบสวัสดิการหนึ่งที่ใช้ในการดูแลผู้สูงอายุในจีนเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องมาจาก ภาระที่กองทุนต้องจ่ายเงินบํานาญที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากคนอายุยืนยาวขึ้นด้วยอีกประการ หนึ่ง จากข้อมูลตัวเลขในทางสถิติ พบว่า ในปี ค.ศ.2002 จีนต้องจ่ายเงินประมาณร้อยละ 2 ของมูลค่า GDP ทั้งหมดเพื่อใช้ในการจ่ายเงินบํานาญให้กับคนที่เกษียณอายุ แต่ในอีก 30 ปีข้างหน้า คาดกันว่าจะต้องใช้เงิน มากถึงร้อยละ 30 ของ GDP เพื่อให้สวัสดิการดังกล่าว ซึ่งถือเป๐นภาระที่หนักมากสําหรับรัฐ และเป๐นอุปสรรค ที่สําคัญต่อการปรับโครงสร้างรัฐวิสาหกิจของจีน
Percent
80
70
60
50
40
30
20
10
0
Aged 0-14
Aged 15-64
Aged 65 and Over
1982
1987
1990
1995
1996
1997
1998
1999
2000
2001
2002
2003
2004
2005
2006
2007
2008
2009
ภาพประกอบ 1 ร้อยละของประชากรจีน จําแนกตามกลุ่มอายุ ระหว่างปี ค.ศ.1982-2009
ที่มา: National Bureau of Statistics of China
จากป๎ญหาดังกล่าวข้างต้นทําให้จีนต้องดําเนินการปฏิรูประบบประกันสังคมและเงินบํานาญในยุคปี
90 ซึ่งหลักสําคัญก็คือ การจัดตั้งกองทุนสํารองเงินและการรวบรวมระบบที่กระจัดกระจายเข้ามาไว้ด้วยกัน โดยจัดทําในลักษณะของการจัดตั้งบัญชีสําหรับการสมทบเงินทุนประกันสังคมของคนงานแต่ละคน โดยอาจหัก จากค่าจ้างของลูกจ้าง นายจ้างเป๐นผู้จ่าย หรือทั้งสองช่วยกันสมทบ และมีการรวบรวมเงินทุนดังกล่าวไปทํา การลงทุนเพื่อให้มีผลกําไรกลับมาเข้าสู่บัญชีของแต่ละคนเหมือนระบบกองทุนประกันสังคม สํานัก งาน ประกันสังคม กองทุนเงินสํารองเลี้ยงชีพ กองทุนเพื่อการเกษียณ หรือกองทุนที่ใช้ชื่ออื่น ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ เดียวกันในประเทศไทย
ภาพประกอบ 2 ปีระมิดแสดงโครงสร้างเพศและอายุของประชากรของจีนเปรียบเทียบ ระหว่างปี ค.ศ.2010 กับ 2035
ที่มา: U.S. Census Bureau, International Data Base, 2010
หากพิจารณาเขตที่อยู่อาศัย จากข้อมูลทางสถิติจะเห็นได้ว่า ในป๎จจุบันผู้สูงอายุในจีนส่วนใหญ่แม้ว่า จะยังคงอาศัยอยู่ในเขตชนบทแต่ตั้งแต่ก่อตั้งและสถาปนาเป๐นสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ.1949 เป๐นต้น มา สัดส่วนของผู้สูงอายุในเขตเมืองก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนป๎จจุบันมีสัดส่วนใกล้เคียงกับคนในเขต ชนบทโดยมีส่วนต่างไม่ถึงร้อยละ 5 (ภาพประกอบ 3) ทั้งนี้เป๐นเพราะส่วนหนึ่งอาจเป๐นเพราะสวัสดิการที่รัฐ ดูแลผู้สูงอายุในเขตเมืองและชนบทมีความแตกต่างกัน นอกเหนือไปจากเหตุผลในเรื่องของพื้นที่ความเป๐นเมือง ที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งเป๐นผลมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจและประเทศอย่างก้าวกระโดดของจีน แต่ผลการศึกษาส่วน ใหญ่กลับพบว่าผู้สูงอายุจีนในเขตชนบทมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและอายุยืนยาวกว่าในเขตเมือง
Percent
100
90
80
70
60
50
40
30
20
10
0
Urban
Rural
Total Population (year-end)
(Unit: 10,000)
160,000
140,000
120,000
100,000
80,000
60,000
40,000
20,000
0
1949
1951
1960
1970
1972
1974
1976
1978
1980
1982
1984
1986
1988
1990
1992
1994
1996
1998
2000
2002
2004
2006
2008
ภาพประกอบ 3 ร้อยละของประชากรจีน จําแนกตามเขตที่อยู่อาศัย ระหว่างปี ค.ศ.1949-2009
ที่มา: National Bureau of Statistics of China
ถึงแม้ว่าประเทศจีนจะยังอยู่ในสภาวะที่เป๐นประเทศกําลังพัฒนา แต่จีนก็เริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว กล่าวคือ จีนมีประชากรผู้สูงอายุเกินกว่าร้อยละ 10 ของจํานวนประชากรทั้งประเทศ มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 และเป๐นประเทศเดียวในโลกที่มีจํานวนผู้สูงอายุเกินกว่า 100 ล้านคน โดยในป๎จจุบันมีประชากรสูงอายุ ประมาณ 149 ล้านคนหรือคิดเป๐นร้อยละ 11.3 ของประชากรทั้งประเทศ และมีสัดส่วนประชากรในวัย แรงงาน 3 คน ต่อการดูแลผู้สูงอายุ 1 คน ซึ่งสาเหตุสําคัญที่ทําให้โครงสร้างประชากรของจีนเป๐นเช่นนี้ เกิด จากผลของนโยบายการวางแผนครอบครัวอย่างเข้มข้นของรัฐบาลจีนที่เรียกว่า “นโยบายลูกคนเดียว” หรือ “One Child Policy” ตั้งแต่ปี ค.ศ.1962 เป๐นต้นมา ซึ่งผลจากการดําเนินนโยบายดังกล่าว ทําให้มีจํานวนเด็ก เกิดใหม่น้อยลงเป๐นอย่างมาก ประกอบกับการที่จีนมีสถานะทางเศรษฐกิจที่ดี ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและการ รักษาพยาบาลดีขึ้นทําให้คนมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้น
ในช่วงการสถาปนาประเทศปี ค.ศ.1949 จีนมีประชากรแค่ 450 ล้านคน โดยมีอายุเฉลี่ยประชากรแค่ 40 ปีเท่านั้น ต่อมาจีนใช้นโยบายส่งเสริมการมีลูกมาก ๆ เนื่องจากต้องการเพิ่มจํานวนแรงง านสําหรับการ พัฒนาประเทศ จึงส่งผลให้ในปี ค.ศ.1958 ประชากรจีนมีจํานวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป๐น 600 ล้านคน จนเกิด ความกังวลว่าประชากรจะล้นประเทศเกินกว่าที่ทรัพยากรจะรองรับได้ รัฐบาลจีนจึงเปลี่ยนนโยบายทางด้าน ประชากรอย่างฉับพลัน ซึ่งก็คือการประกาศใช้นโยบาย “One Child Policy” นั่นเอง ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ กันว่าหากไม่มีการประกาศใช้นโยบายดังกล่าวแล้ว ประชากรจีนในป๎จจุบันอาจมีจํานวนมากถึง 2 พันล้านคน
จากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ การให้ความสําคัญกับการดูแลผู้สูงอายุของจีนจึงมีวิวัฒนาการมาเป๐นลําดับขั้น โดยเฉพาะการจัดสวัสดิการและการดูแลผู้สูงอายุในด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งป๎ญหาที่เกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่ ในอดีตถึงป๎จจุบันที่พอจะรวบรวมได้เบื้องต้นนั้นใคร่ขอนําเสนอเพื่อแสดงให้เห็นถึงความน่าสนใจที่จะศึกษาใน เชิงลึกและสืบค้นในรายละเอียดต่อไปดังนี้
สวัสดิการผู้สูงอายุในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม
ในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม ระหว่างปี ค.ศ.1966-1976 การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุและสวัสดิการทาง สังคมอื่นๆ จะอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ซึ่งจะเป๐นสถานที่ทํางานตลอดอายุการทํางาน ของคนงานแต่ละคน โดยองค์กรจะเป๐นผู้มอบที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาล และสวัสดิการผู้สูงอายุให้ ในขณะ นั้นผู้เกษียณอายุที่จะได้รับเงินบํานาญถือว่ามีจํานวนน้อย และจํานวนเงินบํานาญที่ได้ ซึ่งจะได้เท่ากับเงินเดือน สุดท้าย ก็ถือว่าต่ํามากเนื่องจากจีนยังคงเป๐นประเทศที่ยากจน และค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ก็มีองค์กรรับผิดชอบให้ อยู่แล้ว แต่สําหรับในส่วนของเกษตรกรซึ่งถือเป๐นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศนั้นไม่ได้รับสวัสดิการผู้สูงอายุ ใด ๆ จากรัฐ
ปัญหาด้านความรับผิดชอบขององค์กร ในช่วงการปฏิรูปไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบการตลาด
เมื่อจีนได้ก้าวเข้าสู่ยุคของระบบเศรษฐกิจแบบการตลาด หลังปี ค.ศ.1978 ระบบการให้เงินบํานาญ โดยเงินทุนขององค์กรเริ่มมีความไม่มั่นคง ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือเป๐นเรื่องปกติสําหรับระบบเศรษฐกิจที่ต้องมีการ แข่งขัน แต่สําหรับประเทศจีนแล้ว ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันดูเหมือนจะรุนแรงกว่ามาก เนื่องมาจากเหตุผลดังนี้
1) องค์กรอุตสาหกรรมแบบเก่าขาดแหล่งเงินทุนที่จะนํามาจ่ายบํานาญ ซึ่งเป๐นผลมาจากการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอุปทานที่เกิดจากแรงขับเคลื่อนของระบบการตลาด มีการพัฒนา อุตสาหกรรมแบบใหม่เกิดขึ้น ซึ่งมักจะเป๐นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก หรือได้รับการกระตุ้นโดย เงินลงทุนจากต่างประเทศ จึงทําให้อุตสาหกรรมแบบเก่าต้องประสบภาวะขาดทุน และถูกทิ้งไว้ กับผู้รับเงินบํานาญจํานวนมากแต่มีความสามารถในการจ่ายบํานาญเพียงน้อยนิด
2) ไม่ว่าจะในกรณีใด ๆ องค์กรอุตสาหกรรมเก่าที่มีภาระเงินบํานาญมากมาย ย่อมไม่สามารถจะ แข่งขันกับองค์กรอุตสาหกรรมใหม่ที่มีแต่คนงานอายุน้อยและไม่มีภาระเงินบํานาญได้
3) ระบบเงินบํานาญที่อิงอยู่กับองค์กร จะทําให้ไม่เกิดการเคลื่อนย้ายของคนงาน ซึ่งถือเป๐นสิ่งจําเป๐น สําหรับระบบเศรษฐกิจแบบการตลาด
4) การเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วของค่าจ้าง ทําให้ระดับเงินบํานาญสูงขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งสินค้าและ บริการต่าง ๆ ที่ในอดีตเคยเป๐นสวัสดิการที่องค์กรเป๐นผู้มอบให้ ก็เปลี่ยนเป๐นสินค้าที่ต้องใช้เงินใน การซื้อหา และก็มีราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามกลไกของตลาด จึงเป๐นภาระที่เกิดขึ้นต่อผู้รับเงิน บํานาญ
5) การปลดคนงานที่มากเกินไป กลายเป๐นความจําเป๐นของรัฐวิสาหกิจ แต่ก็มักเกิดความยุ่งยาก เนื่องมาจากความรับผิดชอบในด้านที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาล และสวัสดิการผู้สูงอายุ ที่ องค์กรจะต้องมอบให้กับคนงานที่ถูกปลด การเกษียณอายุก่อนกําหนดจึงมักจะเป๐นทางเลือกที่ถูก นํามาใช้แทนการปลดคนงาน แต่ก็ยังถือว่าลดค่าใช้จ่ายลงได้ไม่มากที่ควร
6) จากภาระด้านเงินบํานาญในอดีต ทําให้เป๐นอุปสรรคในการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งถือว่ามีความ จําเป๐นในการเพิ่มเงินทุนและประสิทธิภาพในการดําเนินการ นักลงทุนย่อมรู้สึกไม่สะดวกใจที่จะ ลงทุนในองค์กรเก่าที่ต้องแบกภาระเงินบํานาญจํานวนมาก
กองทุนบํานาญในระดับเทศบาล
ในช่วงปี ค.ศ.1980-1995 จีนได้มีการทดลองระบบการจ่ายเงินบํานาญในหลายรูปแบบ โดยได้เริ่มทํา การทดลองระบบกองทุนบํานาญในระดับเทศบาลขึ้นในปี ค.ศ.1982 และในปี ค.ศ.1986 ได้มีเอกสารของ State Council ฉบับที่ 77 ประกาศใช้ระบบกองทุนบํานาญในระดับเทศบาลอย่างเป๐นทางการ โดยใช้วิธี บริหารกองทุนเงินบํานาญแบบ Pay-As-You-Go
โดยหลักการแล้ว การใช้ระบบกองทุนบํานาญในระดับเทศบาลจะสามารถแก้บางป๎ญหาข้างต้นได้ใน ระดับหนึ่ง เนื่องจากจะเป๐นการกระจายภาระความรับผิดชอบขององค์กรไปยังขอบเขตที่กว้างขึ้น โดยทุก ๆ บริษัททั้งเก่าและใหม่ต่างก็ต้องจ่ายเงินตามสัดส่วนของค่าแรงในป๎จจุบันเข้าไปในกองทุนเพื่อเป๐นค่าใช้จ่ายเงิน บํานาญให้ผู้เกษียณอายุ จึงทําให้มีความเท่าเทียมกันในด้านภาระเงินบํานาญ และปลดภาระเงินบํานาญที่ต้อง จ่ายให้ผู้เกษียณอายุในอดีต ทําให้นักลงทุนมีความสะดวกใจในการลงทุนในองค์กรเก่าแก่มากขึ้น อีกทั้งการที่มี กองทุนบํานาญครอบคลุมในเขตเทศบาล จะทําให้มีการเคลื่อนย้ายคนงานภายในเขตเทศบาลได้มากขึ้น
หากแต่ในการปฏิบัติจริง ระบบกองทุนบํานาญในระดับเทศบาลก็ได้ก่อให้เกิดป๎ญหาเช่นเดียวกับใน ระดับองค์กร เนื่องจากความไม่เท่าเทียมกันในระดับเทศบาลก็ยังคงมีอยู่ โดยในเขตเทศบาลที่มีอุตสาหกรรมที่ ขาดทุน หรือมีจํานวนผู้ได้รับเงินบํานาญมาก โดยเฉพาะในเขตเทศบาลที่เป๐นพื้นที่อุตสาหกรรมหนักมาตั้งแต่ ในอดีต ก็จะต้องมีอัตราการหักเงินเข้าสู่กองทุนในระดับที่สูง ซึ่งถือเป๐นความเสียเปรียบเมื่อเทียบกับเขต เทศบาลที่พัฒนาอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ซึ่งมีแต่คนงานอายุน้อยและมีจํานวนผู้ได้รับเงินบํานาญน้อย ยกตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ.1995 มีสัดส่วนระหว่างคนงานป๎จจุบันกับผู้เกษียณอายุอยู่ที่ร้อยละ 25.3 แต่หากดู จากข้อมูลแยกตามแต่ละพื้นที่แล้ว จะพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมาก เช่น สัดส่วนดังกล่าวใน Shenzhen จะอยู่ที่ร้อยละ 3 ในขณะที่ใน Shanghai นั้น มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 40 จึงทําให้องค์กรต่าง ๆ ใน Shanghai จะต้องถูกหักเงินเข้าสู่กองทุนในระดับที่สูงกว่าองค์กรใน Shenzhen
อีกป๎ญหาที่เกิดขึ้นก็คือ เนื่องจากสํานักงานเทศบาล ไม่มีความสามารถหรือกําลังคนที่จะบริหาร จัดการระบบประกันสังคมเองได้ ดังนั้น องค์กรต่าง ๆ จึงยังคงเป๐นผู้ดูแลเหมือนเดิม ทั้งการจัดเก็บระเบียบ ประวัติ ขนาดของเงินบํานาญและลักษณะของสิทธิว่าเป๐นการเกษียณอายุแบบปกติหรือก่อนกําหนด รวมถึง การจ่ายเงินบํานาญให้กับผู้รับหากมีเงินพอ โดยจะทําการจัดส่งตัวเลขส่วนต่างระหว่างเงินบํานาญที่จ่ายไปกับ เงินที่จะต้องหักเข้ากองทุนบํานาญให้กับสํานักงานเทศบาลในภายหลัง ซึ่งการที่แต่ละองค์กรแยกกันบริหาร จัดการด้านเงินบํานาญนี้ ก่อให้เกิดป๎ญหาในด้านหลักการ จรรยา และการอนุโลม โดยองค์กรที่เพิ่งเริ่มต้น และ มีจํานวนผู้รับเงินบํานาญน้อย จะไม่ค่อยยินยอมที่จะจ่ายเงินจํานวนมากเข้ากองทุน และสํานักงานเทศบาลก็ไม่ มีความสามารถที่จะบังคับให้จ่ายได้ ซึ่งทําให้องค์กรเก่าที่มีจํานวนผู้รับบํานาญมากต้องถูกกดดันจากผู้ เกษียณอายุให้จ่ายเงินบํานาญเอง ในปี ค.ศ.1997 สํานักงานเทศบาลสามารถเก็บเงินเข้ากองทุนบํานาญได้ เพียงร้อยละ 80 ของยอดเต็มที่ควรจะได้ อีกทั้งยังคาดกันว่ามีการแจ้งยอดค่าแรงที่ต่ําเกินความเป๐นจริง ประมาณร้อยละ 50 ซึ่งจากเหตุดังกล่าว ทําให้ระบบกองทุนบํานาญในระดับเทศบาลเป๐นเพียงแค่ระบบใน เอกสารเท่านั้น แต่ในความเป๐นจริงแล้ว การดําเนินการด้านเงินบํานาญก็ยังคงเป๐นไปตามระบบเดิม
ค่อย ๆ ก้าวเข้าสู่การรวมระบบ จัดตั้งกองทุนเงินสํารอง และการกําหนดเงินหักเข้ากองทุนที่แน่นอน
ในปี ค.ศ.1995 มีเอกสารของ State Council ฉบับที่ 6 ประกาศใช้ "ระบบหลายชั้น" (Multi-Pillar System) ซึ่งเป๐นระบบที่ใช้กันในหลายประเทศทั่วโลก โดยระบบดังกล่าว ประกอบไปด้วย 2 หลักการสําคัญ คือ ใช้การบริหารจัดการระบบการกําหนดผลประโยชน์แบบส่วนรวม เพื่อสร้างตาข่ายนิรภัยทางสังคม และใช้ ระบบการกําหนดเงินสบทบกองทุนเกษียณอายุ เพื่อเน้นถึงความรับผิดชอบและการสะสมเงินออมของแต่ละ บุคคล การเปลี่ยนจากระบบ Pay-As-You-Go เป๐น Pre-Funding นั้น ก็เพื่อหลีกเลี่ยงการหักเงินจํานวนมาก จากองค์กรเพื่อจ่ายเงินบํานาญ เนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากรสูงอายุ ซึ่งจะทําให้ระบบเงิน บํานาญมีความยั่งยืนมากขึ้น และเพิ่มเงินสะสมในระดับประเทศในระยะยาว ผู้จัดการกองทุนจากภาคเอกชน ถูกนํามาใช้ในหลายประเทศ เพื่อเป๐นการหลีกเลี่ยงการแทรกแซงของฝุายการเมือง และเป๐นการเพิ่มอัตรา ผลตอบแทนที่กองทุนจะได้รับ
ในเวลานั้น จีนยังไม่แน่ใจว่าจะให้ระบบหลายชั้นในรูปแบบใด จึงได้ทําการทดลองโดยให้แต่ละเขต เทศบาลเลือกเอาหลักการข้างต้นเพียงหลักการเดียวไปใช้ดําเนินการ แต่ผลที่ได้กลับมาก็คือความแปลกแยก และสับสน ดังนั้น เอกสารของ State Council ฉบับที่ 26 ในปี ค.ศ.1997 และเอกสารของ State Council ฉบับที่ 42 ในปี ค.ศ.2000 จึงได้มีการตีกรอบแนวทางปฏิบัติของระบบดังกล่าวให้แคบลง โดยมี 2 องค์ประกอบ คือ กําหนดให้ผลประโยชน์พื้นฐานจะเท่ากับร้อยละ 20 ของรายได้เฉลี่ยสําหรับการทํางานใน ภูมิภาคนั้น โดยแต่ละองค์กรจะต้องจ่ายเงินร้อยละ 13 ของค่าแรงป๎จจุบันให้กับกองทุนเงินบํานาญในระดับ เทศบาลหรือจังหวัด และกําหนดให้มีการส่งเงินร้อยละ 11 ของค่าแรง เข้าบัญชีเกษียณอายุของแต่ละคน โดย ผู้เกษียณอายุไปแล้วจะรับเงินบํานาญในระบบเดิมต่อไป ส่วนคนงานใหม่ก็เข้าสู่ระบบใหม่ แต่สําหรับคนงาน เก่าที่ยังทํางานอยู่ จะใช้การผสมผสานระหว่างทั้ง 2 ระบบ คือ ในการทํางานช่วงก่อนปี ค.ศ.1996 จะคํานวณ เงินบํานาญตามระบบเดิม ส่วนช่วงหลังจากนั้น ก็จะใช้ระบบใหม่ในการสะสมเงินบํานาญ ทั้งนี้ ได้มีการก่อตั้ง กระทรวงใหม่ คือ Ministry of Labor and Social Security (MOLSS) ขึ้นในปี ค.ศ.1998 เพื่อดูแลในเรื่อง ดังกล่าว
จุดอ่อนของระบบสวัสดิการผู้สูงอายุของจีนในปัจจุบัน
1) ช่องทางของเงินทุนมีจํากัด ทําให้สภาพการรับ-จ่ายไม่สมดุลกันอย่างเห็นได้ชัด
2) หนี้สินจากอดีตมีจํานวนมาก ทําให้มีเงินออมไม่เพียงพอในกองทุน
3) กําหนดเกณฑ์การเกษียณอายุถือว่าอยู่ในระดับต่ํา โดยประชากรเพศชายจะเกษียณอายุที่ 60 ปี ส่วนเพศหญิงจะเกษียณอายุที่ 55 ปี ซึ่งการเกษียณอายุที่เร็วเกินไปก่อให้เกิดการขาดดุลระหว่าง รายรับและรายจ่าย
4) การบริหารจัดการกองทุนมีประสิทธิภาพต่ํา ผลกําไรจากการลงทุนมีน้อยมาก เนื่องมาจากการใช้ เงินผิดวัตถุประสงค์และการทุจริตคอรัปชั่น
5) ขอบเขตของการประกันผู้สูงอายุมีจํากัด การที่จะให้ประชากรผู้สูงอายุทั้งหมดเข้าสู่ระบบสวัสดิการ จึงไม่ควรเร่งรีบเกินไป
ยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาของระบบสวัสดิการผู้สูงอายุของจีน
1) ขยายช่องทางที่มาของเงินทุนที่จะเข้ามาสู่กองทุน
2) เพิ่มเกณฑ์การเกษียณอายุอย่างค่อยเป๐นค่อยไป โดยเฉพาะสําหรับประชากรเพศหญิง ซึ่งมี ผลการวิจัยชี้ว่า หากเพิ่มเกณฑ์การเกษียณอายุออกไปอีก 5 ปี จะทําให้มีจํานวนผู้เกษียณอายุน้อยลง 10 ล้านคน ซึ่งจะลดรายจ่ายในการดูแลผู้เกษียณอายุลงไปถึง 1 ใน 3
3) เสริมการประกันผู้สูงอายุแบบสะสมทรัพย์ให้มากขึ้น เพื่อให้พนักงานได้เห็นถึงความสําคัญของการ ประกันผู้สูงอายุ
4) แยกบัญชีสําหรับพนักงานแต่ละคน เพื่อให้มีการออมเงินสําหรับการเกษียณอายุ
5) สร้างระบบการตรวจสอบการบริหารจัดการกองทุน เพื่อปูองกันไม่ให้เกิดการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ และการทุจริตคอรัปชั่น
6) สร้างระบบสวัสดิการผู้สูงอายุให้ครอบคลุมแรงงานชาวนา ซึ่งนอกจากจะเป๐นประชากรส่วนใหญ่ ของประเทศแล้ว ยังจะช่วยลดระดับป๎ญหาของการดูแลผู้สูงอายุในชนบทอีกด้วย
หน่วยงานหนึ่งที่มีความสําคัญและบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุในจีนนั้นคือ China National Working Commission on Ageing (CNWCA) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ.1999 เป๐นหน่วยงานที่จะ ให้คําปรึกษาและประสานงานกับสภาของรัฐในด้านกลไกทางยุทธศาสตร์และปฏิบัติการในการดูแลผู้สูงอายุ และเตรียมสังคมจีนเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย มีโครงสร้างคณะกรรมการและสํานักงานปฏิบัติอยู่ในทุกระดับ ทั้ง มณฑล จังหวัด เมือง และอําเภอ โดยมีคณะกรรมการนโยบายระดับชาติที่มีรองนายกรัฐมนตรีเป๐นประธานอยู่ ที่ป๎กกิ่ง ซึ่งได้กําหนดเปูาหมายของงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุของจีน 6 ประการ คือ 1) ผู้สูงอายุจะต้องมีคน ดูแล ไม่ถูกทอดทิ้ง 2) ผู้สูงอายุที่เจ็บปุวยจะต้องได้รับการรักษาพยาบาล 3) ผู้สูงอายุจะต้องได้รับการศึกษา ตามที่ต้องการ 4) ผู้สูงอายุจะต้องมีงานทําตามประสงค์ 5) ผู้สูงอายุจะต้องมีความสุขในการใช้ชีวิต 6) ผู้สูงอายุ จะต้องมีความภาคภูมิใจในตนเอง
การจัดระบบสวัสดิการเพื่อดูแลผู้สูงอายุในจีนที่มีความแตกต่างกันทั้งในเชิงของที่มา การบริหาร จัดการ สิทธิประโยชน์ ขอบข่ายความคุ้มครอง ความแตกต่างในเชิงพื้นที่ เงื่อนไขคุณสมบัติ และรายละเอียด อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงเป๐นประเด็นที่น่าสนใจศึกษา นอกจากจะทําความเข้าใจและเรียนรู้แล้ว การศึกษานี้ยัง อาจจะเป๐นต้นแบบของการจัดระบบสวัสดิการการดูแลผู้สูงอายุของประเทศไทยเราในอนาคตอีกด้วย
นอกจากประเด็นศึกษาเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสําหรับผู้สูงอายุแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจศึกษา ก็คือ การศึกษาการดําเนินการกิจกรรมทางสังคมที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีบทบาททางสังคมในเชิงบวก (Productive Role) ภายในชุมชน ซึ่งถือเป๐นการรองรับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในสังคมที่ก้าวเข้าสู่ สังคมสูงวัย การดําเนินกิจกรรมสําหรับผู้สูงอายุถือเป๐นมาตรการทางสังคมที่สําคัญควบคู่ไปกับการสร้าง มาตรการรองรับทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ การจ่ายเบี้ยยังชีพ และการจัดสวัสดิการบํานาญซึ่งเป๐นมาตรการทาง เศรษฐกิจนั้นมีความสําคัญเป๐นอันดับแรก ๆ ที่ใช้แก้ป๎ญหาสังคมสูงวัยในหลายแห่ง แต่กระนั้นเราก็ไม่สามารถ ปฏิเสธได้ว่าการจัดสวัสดิการเป๐นการมอบภาพลักษณ์เชิงลบแก่ผู้สูงอายุโดยให้กลายเป๐นผู้รับสวัสดิการจากรัฐ ภาพลักษณ์และบทบาทเชิงลบดังกล่าวทําให้ผู้สูงอายุถูกมองว่าไม่ได้ทําประโยชน์ให้แก่สังคม และยังทําให้ สังคมมองว่าผู้สูงอายุไม่ได้แสดงบทบาทในการเป๐นผู้กระทํา (Active Role) ที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมทาง สังคมกับคนวัยอื่น ๆ ในแง่นี้ การให้ความสําคัญกับชีวิตของผู้สูงอายุที่นอกเหนือไปจากมิติทางร่างกายและ
เศรษฐกิจแล้ว ควรจะมองชีวิตของผู้สูงอายุในมิติเชิงสังคมและวัฒนธรรมด้วย ในแง่ที่ว่าผู้สูงอายุยังสามารถเป๐น คลังป๎ญญาทางสังคมและวัฒนธรรมซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนบทบาทให้ผู้สูงวัยมีบทบาทเชิงบวก คือ ผู้สูงอายุจะ เป๐นผู้ที่มีส่วนร่วมทางสังคม และเป๐น “ผู้ให้” มรดกทางป๎ญญาแก่คนรุ่นหลังได้
หากมีมาตรการทางสังคมเพื่อรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในสังคมสูงวัยโดยควบคู่กับมาตรการทาง เศรษฐกิจจะทําให้รัฐและสังคมแก้ไขสถานการณ์ของสังคมสูงวัยให้มีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะเป๐นการให้ ความสําคัญต่อผู้สูงอายุแบบองค์รวมทั้งมิติทางร่างกาย จิตใจและสังคม ไปพร้อมกัน ไม่ใช่เพียงมิติใดมิติเดียว เนื่องจากประสบการณ์การรับมือกับสถานการณ์สังคมสูงวัยในหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศในแถบ ตะวันตก สะท้อนให้เห็นแล้วว่าการแก้ป๎ญหาในมิติเศรษฐกิจโดยการให้สวัสดิการบํานาญนั้นยังไม่ใช่วิธีการที่มี ประสิทธิภาพที่สุดในการแก้ป๎ญหาดังกล่าวได้ เพราะในระยะยาวรัฐจะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทั้งในเรื่อง ของการจัดหางบประมาณสําหรับเงินบํานาญ เบี้ยยังชีพ และงบประมาณสําหรับค่ารักษาพยาบาลผู้ปุวยสูงอายุ การจัดจ้างบุคลากรทางการแพทย์ สาธารณสุข และผู้ดูแลผู้สูงอายุ ฯลฯ
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ประเด็นที่น่าสนใจในการศึกษาสังคมสูงวัยในประเทศจีนก็คือ การที่จีนเป๐น ประเทศที่มีจํานวนประชากรมากที่สุดในโลก ประกอบกับมีแนวโน้มของประชากรสูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ นั้น จีนได้มีการดําเนินงานและกิจกรรมทางสังคมซึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุจีนมี บทบาทในเชิงบวกในลักษณะใดบ้าง และมีป๎จจัยทางสังคมและวัฒนธรรมใดที่ช่วยผลักดันให้เกิดกิจกรรมทาง สังคมดังกล่าวได้ นอกจากนี้เพื่อเป๐นการยืนยันถึงคุณูปการหรือประโยชน์ที่มาจากการจัดกิจกรรมทางสังคม จึง มุ่งศึกษาผลของการดําเนินงานกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ ในประเทศจีนว่าจะสามารถทําให้ผู้สูงอายุ เป๐น ประชากรที่มีคุณภาพทั้งทางกาย จิตใจ และสังคมได้ในลักษณะใด นอกจากนี้มาตรการทางสังคมจะเป๐นสิ่งที่ เป๐นไปได้หรือไม่ในการช่วยลดภาระเศรษฐกิจของรัฐในการรับมือสถานการณ์สังคมสูงวัยในประเทศจีน ทั้งนี้ ผลการวิจัยที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษาสังคมสูงวัยในประเทศจีนจะทําให้ผู้วิจัยเห็นถึงจุดแข็งจุดอ่อนของ การจัดกิจกรรมทางสังคมสําหรับผู้สูงอายุ ซึ่งจะเป๐นประโยชน์ต่อการนํามาปรับใช้กับสถานการณ์สังคมสูงอายุ ของประเทศไทย
ความสําคัญและที่มาของป๎ญหาตามที่ได้กล่าวมาพอสังเขปข้างต้นนี้ จึงพอจะสรุปเป๐นประเด็นที่มี ความน่าสนใจในการศึกษาเกี่ยวกับ “ผู้สูงอายุในสังคมจีน: การจัดสวัสดิการ ต้นแบบการดูแล และกิจกรรม ทางสังคม” ได้ 3 ประเด็นซึ่งเริ่มจากความน่าสนใจในการศึกษาระบบการจัดสวัสดิการในรูปแบบต่าง ๆ ที่มี ความแตกต่างหลากหลายขึ้นกับการดําเนินงานของรัฐทั้งนโยบายจากส่วนกลางและการปฏิบัติในแต่ละพื้น ที่ โดยเน้นด้านการจัดสวัสดิการดูแลผู้สูงอายุในความมันคงเรื่องรายได้เป๐นสําคัญ ต้นแบบการดูแลที่น่าจะศึกษา เป๐นแบบอย่างในการเรียนรู้ที่ดี และกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุแบบองค์รวมทั้งมิติทางร่างกาย จิตใจและ สังคมพร้อมกัน ซึ่งประเด็นศึกษาทั้งหมดนี้จะช่วยทําให้เราได้เรียนรู้และเป๐นแบบอย่างที่สําคัญในการสร้างหรือ พัฒนาระบบการจัดสวัสดิการดูแลคนสูงอายุโดยศึกษาจากต้นแบบที่ทําได้จริงในทางปฏิบัติจากพื้นที่ศึกษาที่มี ความน่าสนใจและเป๐นแบบอย่างไม่เฉพาะกับเมืองอื่น ๆ ในจีนเท่านั้นหากแต่ยังเป๐นแบบอย่างให้กับประเทศ ไทยเราได้อีกด้วย รวมถึงเป๐นการศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในทุก ๆ มิติผ่านกิจกรรมที่เราจะได้ เรียนรู้ในสังคมจีนอันจะเป๐นประโยชน์ต่อการปรับและประยุกต์ใช้กับสังคมไทยเราได้อีกทางหนึ่งด้วย
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1) เพื่อศึกษาระบบการจัดสวัสดิการสําหรับผู้สูงอายุในประเทศจีน
2) เพื่อศึกษาต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุจีนในพื้นที่ที่มีความน่าสนใจ
3) เพื่อศึกษาป๎จจัยที่ทําให้เกิดกิจกรรมทางสังคมที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีศักยภาพ
3. ขอบเขตของการวิจัย
คณะผู้วิจัยได้กําหนดพื้นที่เปูาหมายในการศึกษา ประกอบไปด้วย เทศบาลนครซ่างไห่ (Shanghai) เขตจิ้งอัน (Jing’an) และมณฑลซื่อชวน (Sichuan) เมืองเฉิงตู (Chengdu) ซึ่งล้วนแต่เป๐นเมืองที่มีความ น่าสนใจในการศึกษาประเด็นระบบการจัดสวัสดิการสําหรับผู้สูงอายุ ต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุ และกิจกรรม ทางสังคมของผู้สูงอายุในประเทศจีนทั้งสิ้น (ภาพประกอบ 4)
1) เทศบาลนครซ่างไห่ (Shanghai) เขตจิ้งอัน (Jing’an)
ภาพประกอบ 4 แผนที่แสดงเทศบาลนครซ่างไห่ เขตจิ้งอัน
จากข้อมูลสถิติปี ค.ศ.2009 เทศบาลนครซ่างไห่หรือเซี่ยงไฮ้ เป๐นเขตการปกครองที่มีอัตราส่วนพึ่งพิง ในวัยชราสูงที่สุด (ภาพประกอบ 5) เฉพาะในเขตจิ้งอันมีผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ทั้งหมดกว่า 82,700 คน จากประชากร 3 แสนกว่าคน ซึ่งถือว่าเป๐นพื้นที่ที่มีผู้สูงอายุมากที่สุดในเทศบาลนครซ่างไห่ ขณะเดียวกัน เขตจิ้งอันยังเป๐นเขตที่มีผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 100 ปี มากเป๐นอันดับหนึ่งอีกด้วย ในปี ค.ศ.2010 รัฐบาล เขตจิ้งอันได้ลงนามในสัญญาข้อตกลงกับรัฐบาลเทศบาลนครซ่างไห่ให้พัฒนาเขตจิ้งอันเป๐นเขตตัวอย่างในการ ดูแลผู้สูงอายุ รวมทั้งสร้าง “หมู่บ้านแสนสุข” สําหรับผู้สูงอายุขึ้น โดยจะทดลองนําร่องที่หมู่บ้านสานเปุยเพื่อ สร้างฐานข้อมูลด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ เพื่อเป๐นการติดตามและดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและรวบรวม ข้อมูลเกี่ยวกับสถานีอนามัยในพื้นที่เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลทั้ง 2 ส่วน ใน “หมู่บ้านแสนสุข” จะดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ เพียงลําพังในเรื่องของความปลอดภัย การส่งช่างตรวจสอบระบบน้ํา ไฟ แก๊ส เป๐นระยะ เพื่อปูองกันอันตราย ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในชุมชนหมู่บ้าน ชุมชนยังให้บริการด้านอาหาร สําหรับผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพน้อย ซึ่ง ทางเขตได้ขอการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ในชุมชน อาทิ สนับสนุนอาหารกลางวันแก่ผู้สูงอายุที่มีรายรับ น้อย ซึ่ง ณ ป๎จจุบัน ในเขตมีผู้สูงอายุที่มีรายรับน้อยประมาณ 36 คน นอกจากนี้ยังมีการอบรมการหนีไฟ มี การจัดกิจกรรมความบันเทิงต่าง ๆ ให้แก่ผู้สูงอายุ กล่าวโดยสรุป “หมู่บ้านแสนสุข” มีบริการดูแลผู้สูงอายุใน ด้านอาหาร การอาบน้ํา ทําความสะอาดบ้าน เหตุการณ์ฉุกเฉิน การดูแลรักษาโรค การเดินทางซึ่งกล่าวได้ว่า ครอบคลุมในทุก ๆด้านของการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ ดังนั้นในพื้นที่นี้จึงถูกยกให้เป๐นต้นแบบที่ติดอันดับการดูแล ผู้สูงอายุในประเทศจีนมานานติดต่อกันหลายปี
Aged 0-14
Aged 15-64
Aged 65 and Over
Old Dependency Ratio
(Unit: 10,000)
70,000
60,000
50,000
40,000
30,000
20,000
10,000
0
Ratio (Unit: 100)
20
18
16
14
12
10
8
6
4
2
0
(http://wenku.baidu.com/view/4510c57b168884868762d609.html สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2554)
Beijing Tianjin Hebei Shanxi
Inner Mongolia
Liaoning
Jilin Heilongjiang
Shanghai Jiangsu Zhejiang Anhui Fujian Jiangxi Shandong
Henan Hubei Hunan Guangdong
Guangxi Hainan
Chongqing Sichuan Guizhou Yunnan Tibet
Shaanxi Gansu Qinghai Ningxia Xinjiang
ภาพประกอบ 5 จํานวนประชากรรายกลุ่มอายุและอัตราส่วนพึ่งพิงวัยชรา จําแนกตามเขตการปกครอง
ที่มา: National Bureau of Statistics of China
2) มณฑลซื่อชวน (Sichuan) เมืองเฉิงตู (Chengdu) เขตเวินเจียง (Wengjiang)
ภาพประกอบ 6 แผนที่แสดงมณฑลซื่อชวน เมืองเฉิงตู เมืองเฉิงตูเป๐นเมืองเอกของมณฑลซื่อชวนหรือเสฉวน ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ําหมินใจกลางมณฑล
อย่างไรก็ตาม เมืองทั้งสองที่ผู้วิจัยได้กําหนดให้เป๐นพื้นที่ในการศึกษาครั้งนี้นั้นมิใช่เมืองที่มีความเป๐น ตัวแทนเมืองทุก ๆ ในประเทศจีน เนื่องจากประเทศจีนนั้นมีความหลากหลายทั้งในทางสังคม วัฒนธรรม และ วิถีชีวิต รวมไปถึงบทบทที่แตกต่างกันออกไปตามพื้นที่ งานศึกษานี้จึงเป๐นเพียงภาพสะท้อนบทเรียนบางอย่าง บางประการที่ผู้วิจัยสามารถศึกษาได้จากเมืองหรือพื้นที่ที่กําหนดเท่านั้น
4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เพื่อนําเสนอผลการวิจัยกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อใช้ ประโยชน์ปรับปรุงระบบการจัดสวัสดิการที่มีอยู่และสร้างหรือพัฒนาระบบที่จะเกิดขึ้นใหม่ให้ครอบคลุม ประชากรสูงอายุไทยทั้งในป๎จจุบันและอนาคตอันใกล้
บทที่ 2 วิธีการดําเนินการวิจัย
ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยมุ่งทําการศึกษาการระบบการจัดสวัสดิการสําหรับผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่เป๐น ต้นแบบ และป๎จจัยที่ทําให้เกิดกิจกรรมทางสังคมที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีศักยภาพ ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการวิจัยเชิง คุณภาพ (Qualitative Methodology Research) โดยอาศัยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทั้งเอกสาร วรรณกรรม งานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วนํามาสังเคราะห์เรียบเรียงและทําความเข้าใจเพื่อหาคําตอบและ คําอธิบายในวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ข้างต้น วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่าวนี้เรียกกันว่า วิธีวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้อาศัยการเก็บข้อมูลจากภาคสนามผ่านการสังเกตและการ สัมภาษณ์บุคคลนัยสําคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการจัดสวัสดิการสําหรับผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่เป๐น ต้นแบบ กิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุในจีน ผ่านการบอกเล่าจากประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่ง จะสามารถทําให้ผู้วิจัยเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้เป๐นอย่างดี วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่กล่าว เพิ่มเติมนี้เรียกกันว่า การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participatory Observe) และการสัมภาษณ์แบบ เจาะลึก (Indepth Interview) โดยผู้วิจัยได้กําหนดพื้นที่ในการศึกษาไว้ 2 แห่ง ประกอบด้วย เทศบาลนคร ซ่างไห่ (Shanghai) เขตจิ้งอัน (Jing’an) และมณฑลซื่อชวน (Sichuan) เมืองเฉิงตู (Chengdu) เขตเวินเจียง (Wenjiang) ในบทนี้ผู้วิจัยจะกล่าวถึง การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การเลือกกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคสนาม และการวิเคราะห์ข้อมูล
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร
การเก็บรวบรวมข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยเชิงเอกสารของการวิจัยครั้งนี้ ได้อาศัยผู้ช่วย นักวิจัยที่มีความสามารถในการสืบค้นข้อมูล แปล และเรียบเรียงในประเด็นที่มีความสําคัญต่อการตอบคําถาม ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่กําหนดไว้ ซึ่งการศึกษานี้มิได้อาศัยวรรณกรรมที่เป๐นภาษาไทยและหรือ ภาษาอังกฤษเหมือนกับงานวิจัยทั่วไปที่ศึกษาในลักษณะของการวิจัยข้ามชาติเพียงอย่างเดียว หากแต่งานวิจัย นี้ยังได้อาศัยข้อมูลที่เป๐นวรรณกรรมภาษาจีนอีกด้วย โดยทําการศึกษาทั้งจากเอกสาร สถิติข้อมูล บทความทาง วิชาการ บทความในหน้าหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือ ตํารา งานวิจัย และอื่น ๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่ เกี่ยวข้องกับการศึกษาในประเด็นเรื่อง “การจัดระบบสวัสดิการผู้สูงอายุในจีน” “การดูแลผู้สูงอายุในจีน”และ “กิจกรรมผู้สูงอายุในจีน” จุดเด่นของงานวิจัยนี้คือ ผู้วิจัยจะได้ทราบข้อค้นพบและข้อเท็จจริงเชิงยืนยัน ทั้งจาก มุมมองของนักวิชาการจีนและมุมมองนักวิชาการต่างชาติที่มีต่อจีน เพื่อเป๐นการกลั่นกรองและวิเคราะห์ เนื้อหาสาระจากข้อมูลที่ได้สืบค้นมาก่อนการลงพื้นที่ในการเก็บข้อมูลจริง เพื่อให้ได้เนื้อหาในการนําเสนอ ข้อมูลได้อย่างรอบด้าน
การเก็บรวมรวมข้อมูลจากเอกสารในการศึกษานี้ได้แบ่งการสืบค้น แปลและเรียบเรียง จากข้อมูล 3 แหล่งที่มาด้วยกันประกอบไปด้วย ฐานข้อมูลทางวิชาการออนไลน์ภาษาจีน ฐานข้อมูลทางวิชาการออนไลน์ ภาษาอังกฤษ ซึ่งทั้งสองฐานข้อมูลมีบทความทางวิชาการ ข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการรายงานข่าว ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ผ่านสื่ออิเล็คทรอนิกส์ที่สืบค้นได้ นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังจะได้อาศัยหนังสือและตําราทั้งจาก นักวิชาการไทยที่ศึกษาเรื่องจีนในประเด็นที่เกี่ยวข้อง หนังสือตําราภาษาอังกฤษที่หาซื้อได้ทั่วไป และหนังสือ ตําราภาษาจีนที่ได้จากการไปสํารวจพื้นที่ ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมทั้งเอกสาร ข้อมูล สถิติ รายงาน แผนที่ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดของฐานข้อมูลที่สืบค้น และรายชื่อของหนังสือ ตําราและ เอกสารต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้
ภาษาไทย หนังสือ
แก้วจันทร์ทิพย์ ไชยสุริยะ. (2546)
ตําราจีน เพื่อสุขภาพดี มีอายุยืน. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.316 หน้า. ปิยากร หวังมหาพร. (2554)
ผู้สูงอายุไทย พัฒนาการเชิงนโยบายภาครัฐจากอดีตสู่ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต. มหาวิทยาลัย ศรีปทุม.152 หน้า.
เว็ปไซต์
กฤษฎา พรหมเวค.
จีนกับการเตรียมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ. สํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ. http://central.opp.go.th/center/index.php/ct-menu-item-6/ct- menu-item-12/10-blog/62-article8 (สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2556)
ควอลิตี้ เอ็กซ์เพรส
ข้อมูลการท่องเที่ยว เซี่ยงไฮ้. http://www.qetour.com/travel-guide/shanghai-travel- guide.php. (สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2556)
ไทยแม็คคลับ
ประวัติมวยไท่เก็ก. 29 เมษายน 2554. http://thaimmaclub.com. (สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2556) น/ปิง
ผู้นําจีน ใ👉้ความสําคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาการกีฬาทั่วประเทศ. 31 สิงหาคม 2556. CRI Online. http://thai.cri.cn/247/2013/08/31/63s213094.htm. (สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2556)
พรชัย ตระกูลวรานนท์.
ผู้ สู ง อ า ยุ ใ น สั ง ค ม จี น . 1 5 กุ ม ภ า พั น ธ์ 2 5 5 3 . ค ลื่ น บู ร พ า . http://eastern- current.blogspot.com/2010/02/blog-post_15.html. (สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2556)
พลเดช ปิ๑นประทีป.
สวัสดิการสังคมในแบบฉบับของจีน. 27 เมษายน 2555. Thai Socialism. http://thaisocialist.com/thaisocialist1/cin_suksa/Entries/2012/4/27_swasdikar_sangkhm
_n_bb_chbab_khxng_cin.html. (สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2556 )
มติชน ออนไลน์.
ดัชนีชี้วัดสากลเผย ทั่วโลกต้องรับมือสังคมผู้สูงอายุ-ไทยเกาะกลุ่มอยู่ระดับกลาง.2 ตุลาคม 2556. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1380717582&grpid=03&catid=06 &subcatid=0600. ( สืบค้นเมื่อ 18 December 2556)
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้.
ข้อมูลพื้นฐานนครเซี่ยงไฮ้. http://www.thaishanghai.com/th/visit_shanghai/shanghai/ (สืบค้นเมื่อ 18 December 2556)
แสนดี สีสุทธิโพธิ์
ปี 2563 ประชากรเซี่ยงไฮ้จะเพิ่มเป๐น 22.5 ล้านคน และกระจายตัวสู่เขตรอบนอกเมืองมากขึ้น. ThaiBiz in China Thailand Business Information Center in China. (2553). http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th2/china-economic- business/result.php?SECTION_ID=466&ID=5138. (สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2556)
สํานักข่าวไทย
จี น ป ลู ก ฝั ง นิ สั ย เ ย า ว ช น รั ก ก า ร อ อ ก กํ า ลั ง ก า ย . 1 กุ ม ภ า พั น ธ์ 2 5 5 6 . http://www.mcot.net/site/content?id=510b64ca150ba04c6f000227#.UrJfY_QW0UN. (สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2556).
สํานักข่ายไทย TNA News.
จี นป ลู ก ฝั ง นิ สั ย เ ย า ว ช น รั กการ ออก กํ า ลั ง ก า ย . 1 กุ มภ า พั น ธ์ 2 5 5 6 .
http://www.mcot.net/site/content?id=510b64ca150ba04c6f000227#.UqPiTfQW0UM. ( สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2556)
หยิง.
ความสําคัญของการออกกําลังกายกับสุขภาพ (1) . 16 July 2556. CRI Interntional.
http://thai.cri.cn/247/2013/07/16/232s211706.htm. (สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2556)
ASTV ผู้จัดการออนไลน์.
ผู้👉ญิงที่เ👉ลือ ในกระแสความรักคนเมืองจีนวันนี้. 16 สิงหาคม 2556. http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9560000101956&Html=1&T abID=3& (สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2556)
เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2553)
สรุปการประชุมวิชาการ เรื่อง พัฒนางานผู้สูงอายุไทยอย่างก้าว👉น้าและยั่งยืน. 10 กันยายน 2553.
ภาษาจีน หนังสือ
运刚, 张. (2005).
人口老龄化背景下的中国养老保险制度. 成都: 西南财经大学出版社.
袁维勤.(2013)
《城乡统筹养老服务法制问题研究》 西南交通大学出版社.年.第1版雒庆举(2010)
《中国农民工养老保险路径选择研究》北京大学出版社.年.第1版金碚、李钢.(2010)
《中国经济的历程与前景》经济管理出版社.2010年.第1版叶茜.(2005)
《中国老龄化背景下的中国养老保险制度》西南财经大学出版社.年.第1版刘晓梅.(2010)
《中国农村社会养老保险理论与实务研究》科学出版社.年.第1版方青、赵怀娟.(2012)
《老年社会工作》安徽师范大学出版社.年.第1版童星、林闽钢.(2011)
《中国农村社会保障》人民出版社.年.第1版徐永祥.(2011)
《社区发展论》华东理工大学出版社.年.第1版吴玉韶.(2013)
《中国老龄事业发展报告》社会科学文献出版社.年.第1版
孙祁祥.(2013)
《中国养老金市场》经济科学出版社.年.第1版肖金明.(2013)
《老年人权益保障法律制度研究》.年.第1版
赵曼、吕国营.
《十一五”国家重点图书农村社会保障制度研究丛书城乡养老博阿章模式比较研究》
เว็ปไซต
张骏斓
《新老年人权益保障法》- “常回家看看”成法定义务
http://www.shmzj.gov.cn/gb/shmzj/node4/node13/node1750/u1ai35772.html
1998年8月18日上海市第十一届人民代表大会常务委员会第四次会议
《上海市老年人权益保障条例》
http://www.shanghai.gov.cn/shanghai/node2314/node3124/node3125/node3133/u6ai 302.
ภาษาอังกฤษ Book
World Bank.(1997)
Sharing rising incomes: Disparities in China.Washington: World Bank.
Papers in Journal
Leea Othelia Eun-Kyoung and Kimb Jeehoon. (2013).
Physical and Social Activities of Older Adults With Functional Limitations. Doi, Vol.37, Issue 2 : 99-120.
Papers in Academic Conference Zhang, X., and Fisher, K. R. (2011)
Evoluating the Elderly Care Community Service in Shanghai. Paper Presented at the Management and Service Science (MASS), 2011 International Conference. (Accessd August 12-14, 2011).
Website
Bartlett, H., and Phillips, D. R. (1997)
Ageing and aged care in the People's Republic of China: national and local issues and perspectives. Health & Place, 3(3), Doi. 149-159. http://dx.doi.org/10.1016/S1353- 8292(97)00008-7. (Accessed December 8, 2013)
China Labour Statistical Yearbook.(2005)
http://w1.mohrss.gov.cn/images/2006-11/16/27110316153762520791.pdf. (Access December 8, 2013)
Dabelko, H. I. and Zimmerman, J. A. (2008)
Outcomes of Adult Day Services for Participants: A Conceptual Model. Journal of Applied Gerontology, doi. Vol,27 (1): 78-92.
E.-K. Othelia Lee and J. Kim. (2012).
Physical and Social Activities of Older Adults With Functional Limitations,
National Bureau of Statistics of China. (2013). http://www.stats.gov.cn/english/. (Accessed October 28, 2013)
Kirwin, P. M., and Kaye, L. W. (1993)
A comparative cost analysis of alternative models of adult day care. Adm Soc Work,Doi. Vol.17(2) :105-122.
Linger Liu. (2013).
Shanghai population now overshadows Taiwan. China Post. http://www.chinapost.com.tw/china/national-news/2013/02/20/370722/ Shanghai-
population.htm. (Accessed December 18, 2013)
Ministry of Civil Affairs. (2009)
Statistical report on the delvolpment of Civil Affairs undertaking in 1997.http://cws.mca.gov.cn/article/tjbg/201006/20100600081422.shtml. (Accessed December 18, 2013)
Ministry of Human Resource and Social Security. (2009)
Statistical communique on human resource and social security undertaking in 2009.http://w1.mohrss.gov.cn/gb/zwxx/2010-05/21/content_391125.htm. (Accessed December 18, 2013)
Ministry of Human Resource and Social Security. (2010)
Statistical communique on human resource and social security undertaking in 2010.http://w1.mohrss.gov.cn/gb/zwxx/2011-05/24/content_391125.htm. (Accessed December 18, 2013)
National Bureau of Statistics. (2011)
Statistical communique on the Third Census in 2010.http://www.stats.gov.cn/tjgb/rkpcgb/qgrkpcgb/t20110428_402722232.htm. (Accessed December 18, 2013)
Population Reference Bureau. (2013).
2013 World Population Data Sheet. Washington DC: Population Reference Bureau.
Rok-Asean. (2013)
Community-based Home Care for older people in South East Asia: HelpAge Korea. www.helpage.org/download/4daefd047e0c2. (Accessed October 28, 2013)
United Nations. (2011).
World Population Prospects-The 2010 Revision Volume I: Comprehensive Tables. New York. http://esa.un.org/wpp/Documentation/pdf/WPP2010_Volume- I_Comprehensive-Tables.pdf. (Accessed October 29,2013)
United Nations. (2010)
Probabilistic Population Projections. Department of Economic and Social Affairs, Population Division, Population Estimates and Projections Section: http://esa.un.org/unpd/ppp/Figures-Output/Population/PPP_Total-Population.htm. (Accessed October 28, 2013)
World Population Review. (2013)
China Population 2013. World Population Review. http://worldpopulationreview.com/china-population-2013/. (Accessed October 28, 2556)
World Population Review. (2013).
Shanghai Population 2013. http://worldpopulationreview.com/shanghai-population- 2013/ . (Accessed October 29, 2013)
Wu, B., Carter, M. W., Goins, R. T., and Cheng, C. (2005).
Emerging Services for Community-Based Long-Term Care in Urban China. J Aging Soc Policy. Doi. Vol. 17(4) : 37-60.
2. การเลือกกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา
การวิจัยในส่วนที่อาศัยระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลใน ภาคสนาม (Field Study) ในการศึกษาครั้งนี้นั้นได้กําหนดกลุ่มตัวอย่างที่จะใช้ในการสัมภาษณ์เพื่อขอข้อมูลใน เชิงลึก (Indept Interview) พร้อมการยืนยันข้อเท็จจริงจากเอกสารวรรณกรรมต่าง ๆ ที่สืบค้นได้จากเอกสาร ก่อนหน้า โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป๐น 3 กลุ่ม ได้แก่
1) กลุ่มนักวิชาการ
2) กลุ่มเจ้าหน้าที่ศูนย์ต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ
3) กลุ่มผู้สูงอายุ
การสัมภาษณ์ข้อมูลนักวิชาการจีนเพื่อให้ทราบการจัดระบบสวัสดิการของผู้สูงอายุในจีนที่มีความ ซับซ้อนในแต่ละเขตพื้นที่ของจีนให้มีความกระจายมากขึ้น และเป๐นการยืนยันจากวรรณกรรมที่ได้มีอ่านและ สืบค้นก่อนหน้านี้ รวมถึงข้อมูลเชิงลึกด้านอื่น ๆ เกี่ยวกับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและสวัสดิการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ผู้สูงอายุ เพื่อให้เห็นมุมมองของระบบสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตเมืองและเขตชนบทของจีน และการจัดการ ดูแลผู้สูงอายุของจีนในพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน
การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ศูนย์ต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ ผู้วิจัยต้องการทราบถึงกระบวนการ ความเป๐นมา ของการก่อตั้ง วัตถุประสงค์ กระการดําเนินการของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับรางวัลต้นแบบในการดูแลผู้สูงอายุ ในจีนว่ามีวิธีการดูแลผู้สูงอายุอย่างไรที่ได้รับรางวัลต้นแบบ เจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ควรมีทักษะอย่างไรตาม นโยบายที่ตั้งไว้ของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุต้นแบบเหล่านั้น ทั้งในเขตเมืองและเขตชนบทภายใต้บริบททางสังคมที่ แตกต่างกัน
การสัมภาษณ์กลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อให้ทราบข้อมูลและเสียงสะท้อนโดยตรง ความจริงที่เป๐นอยู่ใน สถานการณ์ป๎จจุบัน สิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับตัวผู้สูงอายุข้อมูลที่ได้มากกว่าการบอกเล่าแต่เราจะได้ข้อเท็จจริงทั้ง ข้อมูลด้านการจัดการระบบสวัสดิการที่ผู้สูงอายุเหล่านี้ได้รับ การเข้าใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุต้นแบบที่ได้รับ รางวัลสร้างความสุขกายสบายใจให้กับผู้สูงอายุได้ตามประสงค์หรือไม่ รวมถึงกิจวัตรประจําวันของผู้สูงอายุการ เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม และป๎จจัยที่พวกเขาไปร่วมกิจกรรมทางสังคม ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้จะทําให้ทราบ ข้อมูลที่ชัดเจนสะท้อนกับกลุ่มนักวิชาการและเจ้าหน้าที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุได้เป๐นอย่างดี
3. กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคสนาม
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามกลุ่มตัวอย่างเชิงลึกที่กล่าวมาทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มเจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้สูงอายุ ตามเขตพื้นที่การศึกษาในเขตเมืองและเขต ชนบททั้ง 2 แห่งคือ เทศบาลนครซ่างไห่ (Shanghai) เขตจิ้งอัน (Jing’an) และมณฑลซื่อชวน (Sichuan) เมืองเฉิงตู (Chengdu) เขตเวินเจียง (Wenjiang) ผู้วิจัยได้อาศัยขั้นตอนทั้งสิ้น 8 ขั้นตอน ในการเก็บรวบรวม ข้อมูล ดังมีรายละเอียดดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 สืบค้นข้อมูลผลงานอาจารย์หรือนักวิจัยและศูนย์ต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ศึกษาที่กําหนด
ขั้นตอนที่ 2 ติดต่ออาจารย์หรือนักวิจัยและศูนย์ต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ศึกษา โดยอาศัยการติดต่อ พูดคุยโดยตรงผ่านทางโทรศัพท์หรือ Email ที่ปรากฏบนหน้าเวบไซต์หน่วยงานหรือผ่านทางเลขานุการ หน่วยงานเพื่อขอความอนุเคราะห์ในการสัมภาษณ์ในประเด็นศึกษาตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยผู้วิจัย จะได้บอกเล่าความเป๐นมาของโครงการ ความจําเป๐นในการศึกษา วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา และประโยชน์ที่ คาดว่าจะได้รับ
ขั้นตอนที่ 3 ยืนยันการขอเข้าพบเพื่อทําความรู้จักและสร้างความสัมพันธ์เบื้องต้นในการสํารวจพื้นที่ทั้ง 2 แห่ง ในการเดินทางไปเพื่อทําการสํารวจภาคสนามเบื้องต้น ครั้งที่ 1
ขั้นตอนที่ 4 นักวิจัยเดินทางไปสํารวจพื้นที่ ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เทศบาลนครซ่างไห่ เขตจิ้ง อัน และมณฑลซื่อชวน เมืองเฉิงตู เขตเวินเจียง ระหว่างวันที่ 1–7 กันยายน พ.ศ.2556 โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้
1) เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับนักวิชาการจีนและสัมภาษณ์ข้อมูล
2) เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเจ้าหน้าที่ศูนย์ต้นแบบดูแลผู้สูงอายุและสัมภาษณ์ข้อมูล
3) เพื่อสํารวจกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ
4) ซื้อหนังสือ ตํารา เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนที่ 5 ระหว่างนี้ได้มีการติดต่อกับนักวิชาการจีนในเทศบาลนครช่างไห่ผ่าน E-mail เพื่อสอบถามและขอ ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในจีน ในส่วนของเจ้าหน้าที่ศูนย์ต้นแบบดูแลผู้สูงอายุได้มีการติดต่อ ยืนยันขอเข้าสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก ในเขตเมือง พื้นที่การศึกษาเทศบาลนครซ่างไห่ (Shanghai) เขตจิ้งอัน (Jing’an)
ขั้นตอนที่ 6 นักวิจัยเดินทางไปสํารวจพื้นที่ ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ครั้งที่ 2 เทศบาลนครซ่างไห่ เขตจิ้งอัน ระหว่างวันที่ 13–19 ตุลาคม พ.ศ.2556
1) สัมภาษณ์แบบเจาะลึกเจ้าหน้าที่ศูนย์ต้นแบบดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับรางวัล
2) สัมภาษณ์ผู้สูงอายุในเทศบาลนครช่างไห่ เขตจิ้งอัน เกี่ยวกับระบบสวัสดิการและกิจกรรมทางสังคม ของผู้สูงอายุ
3) สํารวจกิจกรรมผู้สูงอายุโดยรอบเทศบาลนครช่างไห่ เขตจิ้งอัน
4) สํารวจศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในเทศบาลนครช่างไห่เพิ่มเติม
5) ซื้อหนังสือตํารา เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนที่ 7 ระหว่างนี้ได้มีการติดต่อกับนักวิชาการจีนในเมืองเฉิงตูผ่าน E-mail เพื่อสอบถามและขอข้อมูล เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในจีน ในส่วนของเจ้าหน้าที่ศูนย์ต้นแบบดูแลผู้สูงอายุได้มีการติดต่อยืนยันขอ เข้าสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก ในเขตชนบท พื้นที่การศึกษามณฑลซื่อชวน (Sichuan) เมืองเฉิงตู (Chengdu) เขต เวินเจียง (Wenjiang)
ขั้นตอนที่ 8 นักวิจัยเดินทางไปสํารวจพื้นที่ ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ครั้งที่ 3 เมืองเฉิงตู เขตเวิน เจียง ระหว่างวันที่ 10–17 มกราคม 2557 โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้
1) สัมภาษณ์แบบเจาะลึกเจ้าหน้าที่ศูนย์ต้นแบบดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับรางวัล
2) ลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุกับศูนย์ต้นแบบดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับรางวัล
3) สัมภาษณ์ผู้สูงอายุในเมืองเฉิงตู เขตเวินเจียง เกี่ยวกับระบบสวัสดิการและกิจกรรมทางสังคมของ ผู้สูงอายุ
4) สํารวจกิจกรรมผู้สูงอายุโดยรอบเมืองเฉิงตู เขตเวินเจียง
5) สํารวจศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในเมืองเฉิงตูเพิ่มเติม
4. การนําเสนอและวิเคราะห์ข้อมูล
หลังจากที่ผู้วิจัยได้ข้อมูลจากการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งจากเอกสารและการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ตามที่ได้กล่าวไว้แล้ว ทั้งบนฐานข้อมูลทางวิชาการออนไลน์ภาษาจีนและภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้อง เอกสาร หนังสือตําราและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างตามกระบวนการเก็บรวบรวม ข้อมูลในภาคสนามทั้ง 8 ขั้นตอนนั้น ผู้วิจัยจะได้นําเสนอข้อมูลในประเด็นต่าง ๆ ที่เป๐นวัตถุประสงค์ของ การศึกษาอันประกอบไปด้วย ระบบการจัดสวัสดิการสําหรับผู้สูงอายุในประเทศจีน ต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุ จีนในพื้นที่ที่มีความน่าสนใจ ป๎จจัยที่ทําให้เกิดกิจกรรมทางสังคมที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีศักยภาพ บทสรุปและ ข้อเสนอแนะ ซึ่งผลการศึกษาทั้งหมดที่แบ่งเป๐นประเด็นการเขียนข้างต้นจะได้อาศัยการนําเสนอข้อมูลทั้งที่เป๐น ตัวเลขสถิติ บทสัมภาษณ์ ภาพประกอบ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์สิ่งที่ได้จากข้อมูลทั้งหมดโดย จําแนกออกเป๐นประเด็นนําเสนอต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยค้นพบ
บทที่ 3 การจัดสวัสดิการดูแลผู้สูงอายุในประเทศจีน
1. เกริ่นนํา
ช่วงชีวิตของมนุษย์จากแรกเกิด ผ่านพ้นวัยเยาว์ เลยวัยผู้ใหญ่ ก็จะเข้าสู่วัยชรา หากพิจารณาในทาง อุดมคติของชีวิตโดยคิดว่าโอกาสในการตายก่อนวัยอันควรเป๐นศูนย์ การกลายเป๐นคนแก่จะเป๐นสิ่งที่ทุกคนไม่ สามารถหลีกเลี่ยงได้ตามอายุที่เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับความตายที่มนุษย์ทุกคนต้องประสบพบเจอ ตั้งแต่ศตวรรษ ที่ 19 มนุษย์โลกเราเริ่มตระหนักถึงการเป๐นสังคมสูงอายุอันมีผลทําให้โครงสร้างทางประชากรเปลี่ยนแปลงไป เริ่มตั้งแต่กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย รวมถึงบางประเทศในเอเชียด้วย สาเหตุที่สําคัญนํามาสู่การเป๐นสังคมสูงอายุ คือ อัตราการเกิดและตายลดลง โดยที่อัตราการตายลดลงก่อนแล้ว อัตราเกิดจึงค่อยลดลงตามมา กระบวนการเปลี่ยนผ่านทางประชากรนี้เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่เข้าสู่ช่วงของ การเปลี่ยนผ่านก่อนประเทศที่กําลังพัฒนา ด้วยความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาการทางการแพทย์ที่ส่งผลให้การ ตายลดลง แต่ป๎จจัยสําคัญที่แท้จริงคือ ในขณะที่การตายลดลง การเกิดยังคงที่แล้วจึงค่อย ๆ ลดลงทําใ ห้ ช่องว่างระหว่างการเกิดและการตายในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้เองมีจํานวนเด็กที่เกิดมากกว่าคนที่ตายมาก เมื่อเวลา ผ่านไปเด็กกลุ่มนี้จะกลายเป๐นผู้ใหญ่ และท้ายที่สุดจะเป๐นคนชรา ซึ่งเมื่อเขาเหล่านี้เป๐นคนชราที่ไม่ได้มี ความหมายและความสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ แล้ว คนชราเหล่านี้จึงถูกมองว่าเป๐นป๎ญหา เนื่องจากอัตราส่วนพึ่งพิงทางประชากรของเด็กรวมทั้งคนชราต่อคนวัยหนุ่มสาวจะเกิดความไม่สมดุล เป๐น ภาระที่สังคมนั้น ๆ จะต้องเผชิญและอยู่กับมันไปอีกหลายทศวรรษจนกว่าเด็กกลุ่มนี้เมื่อหลายทศวรรษก่อนที่ เกิดมาในช่วงของการเปลี่ยนผ่านทางประชากรจะตายหมด จนนํามาสู่ภาวะทางสังคมที่มีอัตราเกิดและตายใน ระดับปกติ โดยที่การเกิดสูงกว่าการตายไม่มากนักหรือต่ํากว่าในทางกลับกัน ดังนั้น ระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านที่ สังคมกลายเป๐นสังคมสูงอายุ รัฐจะดูแลคนแก่เหล่านี้อย่างไร? การจัดสวัสดิการดูแลผู้สูงอายุจึงเ ป๐นประเด็น สําคัญที่คณะผู้วิจัยจะได้กล่าวถึงในบทนี้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุในประเทศจีนที่มีจํานวนมากที่สุดและอัตราการ เพิ่มขึ้นที่เร็วที่สุดประเทศหนึ่งของโลก
2. เมื่อไหร่เรียกว่า “คนแก่”?
โดยหลักสากลได้มีการกําหนดนิยามของการเป๐น “สังคมสูงอายุ” ไว้สําหรับประเทศที่มีประชากรอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปอย่างน้อยร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด และ/หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปอย่าง น้อยร้อยละ 15 ของประชากรทั้งหมด การพิจารณาจากสัดส่วนของประชากรที่มีอายุต่ํากว่า 15 ปี ซึ่งเรียกว่า วัยเด็ก ทั้งกรณีเทียบกับจํานวนประชากรทั้งหมดและเทียบกับจํานวนประชากรที่เป๐นผู้สูงอายุ รวมถึงการใช้ เกณฑ์อายุมัธยฐาน (Median Age) ก็ถูกนํามาใช้ในการวัดการก้าวผ่านจากสังคมวัยผู้ใหญ่สู่สังคมสูงอายุได้ เช่นกัน หากพิจารณาจากสถิติย้อนหลังการกลายเป๐นสังคมสูงอายุของประเทศต่าง ๆ ผ่านนิยามการเป๐นสังคม ผู้สูงอายุโดยใช้เกณฑ์ประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป อย่างน้อยร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด มนุษย์ เราเป๐นโลกของสังคมสูงอายุมาตั้งแต่ปี ค.ศ.2000 แล้ว และจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าภายในอีก 50 ปี โดยกลุ่มประเทศยุโรปจะมีสัดส่วนของประชากรสูงอายุมากที่สุด คิดเป๐นร้อยละ 34 รองลงมา ได้แก่ อเมริกาเหนือ (27%) ละตินอเมริกาและคาริบเบียน (25%) โอเชียเนีย (24%) เอเชีย (24%) และแอฟริกา (10%) ตามลําดับ โดยที่อัตราเร็วของการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุในละตินอเมริกาและคาริบเบียน เอเชีย และ ยุโรปสูงสุด 3 ลําดับแรก หากพิจารณารายประเทศคาดการณ์ได้ว่า ในปี ค.ศ.2050 ประเทศญี่ปุุนจะมีจํานวน ผู้สูงอายุคิดเป๐นสัดส่วนต่อประชากรในประเทศทั้งหมดมากที่สุดในโลก ด้วยตัวเลข 42.4 % คิดเป๐นเกือบ ครึ่งหนึ่งของประเทศ รองลงมา ได้แก่ สโลเวเนีย (41.5%) เอสโตรเนีย (41.4%) สเปนและลัตเวีย (40.9%)
ตามลําดับ หากมองแนวโน้มของประชากรสูงอายุในอีก 50 ปีต่อไป ประชากรโลกจะมีผู้สูงอายุมากถึงเกือบ 1 ใน 3 ของประชากรโลกทั้งหมด ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือจะเป๐นกลุ่มประเทศที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุมาก ที่สุด คิดเป๐นร้อยละ 37 รองลงมา ได้แก่ โอเชียเนีย (35%) แอฟริกา (33%) ยุโรป (31%) ละตินอเมริกาและ
คาริบเบียน (31%) และ เอเชีย (29%) (ตาราง 1)
ตาราง 1 ร้อยละผู้สูงอายุโลกที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในปี ค.ศ.2000, 2050 และ 2100 จําแนกรายทวีป
ทวีป | 2000 | 2050 | 2100 |
โลก | 10 | 22 | 30 |
แอฟริกา | 5 | 10 | 33 |
เอเชีย | 9 | 24 | 29 |
ยุโรป | 20 | 34 | 31 |
ละตินอเมริกาและคาริบเบียน | 8 | 25 | 31 |
อเมริกาเหนือ | 16 | 27 | 37 |
โอเชียเนีย | 13 | 24 | 36 |
ที่มา: Population Division. 2010. World Population in 2100. New York: United Nations
3. คนแก่จีน: ประทัดดอกใหญ่ จุดแล้วดังมาก...แต่แป๊บเดียว
เมื่อกล่าวถึงประเทศจีน สิ่งที่มักจะถูกกล่าวถึงเป๐นลําดับแรก ๆ คือ ประเทศที่มีจํานวนประชากรมาก ที่สุดในโลก ด้วยจํานวนประชากรที่มากถึง 1,362,391,579 คน คิดเป๐นร้อยละ 19.3 ของประชากรบนโลก ทั้งหมด โดยที่สองเทศบาลนครซ่างไห่ (上海/ Shanghai) และเปุย์จิง (北京/ Beijing) มีจํานวนประชากรมาก ที่สุด 23,710,000 และ 20,693,000 คน ตามลําดับ จากตัวเลขในปี ค.ศ.2012 (World Population Review) จํานวนประชากรเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องตามลําดับนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 จากจํานวน ประชากร 543,776,090 คน เพิ่มขึ้นเป๐น 2 เท่าโดยใช้เวลาไม่ถึง 40 ปี และเพิ่มขึ้นจนสูงสุดจากการคาดการณ์ เป๐น 1,433,916,905 คน ในปี ค.ศ.2030 (United Nations) คิดเป๐นเกือบ 3 เท่าจาก 80 ปีก่อนหน้า หลังจาก นั้นจะเริ่มลดลงและมีแนวโน้มจะลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้สาเหตุหลักเป๐นเพราะการดําเนินนโยบายลูกคนเดียว (One Child Policy) เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของประชากรตั้งแต่การปฏิรูปเปิดกว้างในปลายทศวรรษที่ 70 จนถึงป๎จจุบัน (ภาพประกอบ 7)
ภาพประกอบ 7 จํานวนประชากรโลก ระหว่างปี ค.ศ.1950-2100
เมื่อพิจารณารายกลุ่มอายุที่แบ่งออกเป๐น 3 กลุ่ม คือ วัยเด็ก อายุ 0-14 ปี วัยผู้ใหญ่ อายุ 15-64 ปี และวัยสูงอายุ 65 ปีขึ้นไป จากการฉายภาพประชากรย้อนหลังตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 จนถึงปี ค.ศ.2100 เห็นได้ อย่างชัดเจนว่า ประเทศจีนจะมีโครงสร้างอายุที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ กลุ่มประชากรวัยเด็กมีจํานวนเพิ่มขึ้น ใน 3 ทศวรรษแรก หลังจากนั้นในปี ค.ศ.1980 เริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกลุ่มประชากรวัยผู้ใหญ่ที่ เพิ่มขึ้นโดยตลอดตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 จนถึงปี ค.ศ.2020 จะเริ่มลดลงและลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ ประชากรกลุ่มวัยสูงอายุ เพิ่มขึ้นโดยตลอดและจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี ค.ศ.2010 จนกระทั่งปี ค.ศ. 2060 จะเริ่มลดลง ซึ่งโดยสรุปสามารถกล่าวได้ว่า ทุกกลุ่มประชากรไม่ว่าจะวัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ หรือ วัยสูงอายุ มี จํานวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จนกระทั่งปี ค.ศ.1980 ประชากรวัยเด็กเริ่มลดลง ส่งผลให้อีก 40 ปีต่อมา ประชากรวัยผู้ใหญ่มีแนวโน้มจะลดลง และอีก 50 ปีต่อมา ประชากรวัยสูงอายุจึงจะลดลงตาม แสดงว่า การ เปลี่ยนผ่านทางประชากรจากวัยหนึ่งสู่อีกวัยหนึ่งของประเทศจีนกินระยะเวลา 90 ปี โดยประมาณ โดยจํานวน ผู้สูงอายุจีนจะมีมากที่สุดถึงกว่า 400 ล้านคนเลยทีเดียวในปี ค.ศ.2060 ซึ่งคิดเป๐นเกือบครึ่งหนึ่งของจํานวน ประขากรในทวีปอเมริกาทั้งทวีปในป๎จจุบัน (ภาพประกอบ 8)
27
ภาพประกอบ 8 จํานวนประชากรจีน ระหว่างปี ค.ศ.1950-2100 จําแนกตามกลุ่มอายุ
ด้วยความที่จํานวนประชากรสูงอายุของจีนมีจํานวนมากขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1970-2060 ส่งผลให้ผู้สูงอายุ เหล่านี้เป๐นภาระต้องการการพึ่งพิงจากคนที่อยู่ในวัยแรงงานมากขึ้น ในขณะที่ ประชากรวัยเด็กที่จะมาทดแทน และเป๐นวัยผู้ใหญ่ที่เป๐นแรงงานให้พึ่งพิงได้นั้นมีน้อยลง ทําให้อัตราส่วนพึ่งพิงผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี ค.ศ.2010 จนกระทั่ง ปี ค.ศ.2060 จึงจะเริ่มคงที่ สถานการณ์เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าประชากรในวัยสูงอายุจะเป๐นภาระที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมากตั้งแต่ปี ค.ศ.2010 -2060 กิน ระยะเวลาอย่างน้อย 50 ปี ที่กลุ่มประชากรวัยแรงงานจะต้องแบบรับภาระมากกว่าเดิมเกือบ 5 เท่า (ภาพประกอบ 9)
ภาพประกอบ 9 อัตราส่วนพึ่งพิงผู้สูงอายุจีน ระหว่างปี ค.ศ.1950-2100
ด้วยสถานการณ์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทําให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ปรากฏการณ์ทางประชากรของจีน กําลังก้าวเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านที่สําคัญและจําเป๐นต้องมีความพร้อมต่อการรับสถานการณ์ที่มีคนชราเต็มประเทศ และคนเหล่านี้ยังจะเป๐นภาระให้กับรัฐไปอีกอย่างน้อย 90 ปี จึงน่าที่จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ในขณะที่คนวัย แรงงานจะต้องให้การพึ่งพิงแก่คนชราเหล่านี้มากกว่าในป๎จจุบันไปอีก 5 เท่าจากผลของการดําเนินนโยบายลูก คนเดียวของรัฐเป๐นสําคัญ เปรียบเสมือนกับการจุดประทัดดอกใหญ่ในมือตัวเอง ซึ่งหวังว่ายังพอมีนิ้วเหลือให้ใช้ งานและนิ้วที่เสียไปจะงอกกลับมาใหม่เมื่อถึงเวลาอันควร
4. ความน่าสนใจในกระบวนการเป็นสังคมสูงอายุจีน
นักวิชาการคนหนึ่งชื่อ จาง หยุน กัง (张运刚/ Zhang YunGang) ได้ประมวลเอกลักษณ์และความ เด่นชัดในคุณลักษณะของผู้สูงอายุจีนไว้อย่างน่าสนใจภายใต้กระบวนการกลายเป๐นสังคมสูงอายุของจีน โดย กล่าวไว้ 5 ข้อ ดังนี้
4.1 ประชากรผู้สูงอายุจีนในอนาคตจะมีจํานวนมากและมีการเปลี่ยนแปลงเป๐นประชากรสูงอายุอย่าง
รวดเร็ว
เนื่องจากประเทศจีนมีจํานวนประชากรมาก ทําให้จํานวนผู้สูงอายุจะมีจํานวนมากด้วยเช่นกัน ปลายปี
ค.ศ.2000 จีนมีจํานวนประชากรผู้สูงอายุสูงถึง 1.29 ร้อยล้านคน ใกล้เคียงกับจํานวนประชากรทั้งหมดของ ประเทศรัสเซียเลยทีเดียว อีกทั้งยังมีจํานวนประชากรผู้สูงอายุมากกว่า 2 เท่าของประเทศอังกฤษ 3 เท่าของ ประเทศสเปน 4 เท่าของประเทศแคนาดา คาดการณ์กันไว้ว่าในปี ค.ศ.2050 ผู้สูงอายุของจีนจะมีมากถึง 4.18 ร้อยล้านคน ซึ่งเกือบจะเทียบเท่าทวีปยุโรปด้านตะวันตก ใต้ และเหนือรวมกัน นอกจากนี้หากพิจารณา ประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปนั้น การเพิ่มขึ้นในเชิงสัดส่วนจากร้อยละ 7 เป๐นร้อยละ 14 ในประเทศฝรั่งเศสใช้ เวลา 115 ปี ประเทศสวีเดนใช้เวลา 85 ปี ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้เวลา 66 ปี ประเทศอังกฤษ ใช้ 45 ปี แต่ จีนใช้เวลาเพียง 25-27 ปีเท่านั้น เหตุผลหลักเป๐นเพราะในทศวรรษที่ 60 มีการเกิดของประชากรมากขึ้น ซึ่งถือ เป๐นจุดที่ประชากรจีนเพิ่มสูงสุดในขณะนั้น และในทศวรรษที่ 70 นโยบายลูกคนเดียวของจีนประสบ ความสําเร็จเป๐นผลทําให้การเกิดเป๐นสัดส่วนกับการตาย
4.2 การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุจีนในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน เนื่องจากประเทศจีนมีพื้นที่ที่กว้างขวาง การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจจึงมีความแตกต่างกันออกไป
ในแต่ละพื้นที่ หลังการปฏิรูปเปิดกว้างทําให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงาน แต่ละพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงจํานวนและ
โครงสร้างของผู้สูงอายุแตกต่างกันออกไป ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่สุดคือ นครเทศบาลซ่างไห่ ใน ทศวรรษ 70 ของศตวรรษที่ 20 ซ่างไห่ได้กลายเป๐นเมืองที่มีแต่คนแก่แล้ว และในปลายปี ค.ศ.2000 ตัวเลข สัดส่วนผู้สูงอายุก็สูงถึงร้อยละ 11.46 ในขณะที่เมืองอื่น ๆ มีไม่ถึงร้อยละ 5
4.3 การเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมผู้สูงอายุมีความแตกต่างกันระหว่างเมืองกับชนบท
ตั้งแต่ในทศวรรษ 70 ของศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากการทําสํามะโนครั้งที่ 3 ของจีน ชนบทกับเมืองกลายเป๐นผู้สูงอายุ ระดับและขนาดของการพัฒนามีความแตกต่างกันปรากฏเป๐นที่เด่นชัด ชนบทมีจํานวนผู้สูงอายุสูงกว่า ไม่เพียงแต่ผู้สูงอายุที่มีจํานวนมาก หากยังมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว แต่ใน เมืองจะมีการเปลี่ยนแปลงช้ากว่า ซึ่งสามารถแบ่งได้ 3 พื้นที่ กล่าวคือ ชนบท เมือง และ ชานเมือง (จะมีการ เปลี่ยนแปลงในระดับปานกลาง) ดังนั้น ความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบท ยิ่งจะมีมากขึ้น และจะมีต่อไป เรื่อย ๆ โดยที่สาเหตุหลัก ๆ มาจากการที่คนที่อยู่ในวัยแรงงานย้ายจากชนบทไปหางานทําในเขตเมือง
4.4 การเปลี่ยนแปลงของประชากรมีความแตกต่างระหว่างเพศ กล่าวคือ ตั้งแต่ยุค 70 ไม่ว่าเพศชาย หรือหญิง มีแนวโน้มในการเปลี่ยนเป๐นสังคมสูงอายุเพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากผู้หญิงมีอายุยืนยาวกว่า ดังนั้น จํานวน ผู้สูงอายุหญิงจึงสูงกว่าเพศชาย ในปี ค.ศ.1990-2000 เปรียบเทียบกับ ค.ศ.1982-1990 ในช่วงเวลานี้ อัตราส่วนระหว่างเพศสองเพศค่อนข้างน้อย แต่ว่าอัตราส่วนเพศของผู้สูงอายุมีการเพิ่ มขึ้นของผู้หญิง ค่อนข้างมาก ถ้าเปรียบเทียบกับของโลกในปี ค.ศ.1950-2000 อัตราส่วนของเพศของผู้สูงอายุจะเป๐นตรงข้าม กับที่กล่าวมา คาดการณ์ว่าครึ่งศตวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 ประชากรชายกับหญิงจะมีเพิ่มขึ้นในการเป๐น คนแก่ แต่ว่าอัตราส่วนจะมีลดลง สัดส่วนผู้สูงอายุชายต่อผู้หญิงจะมีความแตกต่างมากขึ้น หลังจากปี ค.ศ. 2030 จะมีการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง (ชลอตัวลง)
4.5 เนื่องจากความแตกต่างของการพัฒนาเศรษฐกิจไม่ทันกับการเป๐นคนสูงอายุ กล่าวคือ ยังไม่ทัน ร่ํารวยก็กลายเป๐นคนแก่เสียแล้ว ในประเทศที่พัฒนาแล้ว การกลายเป๐นสังคมสูงอายุจะมาพร้อม ๆ กับการ พัฒนาอุตสาหกรรม และมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปพร้อม ๆ กัน ในจีนการกลายเป๐นสังคมผู้สูงอายุไม่ได้ เป๐นผลมาจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจ แต่เป๐นผลมาจากการวางแผนนโยบายด้านประชากร ซึ่งทําให้จีน กลายเป๐นสังคมสูงอายุอย่างรวดเร็ว ประเทศที่พัฒนาแล้ว ถ้าประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป GDP ของ ประเทศจะมีเท่ากับ 1 หมื่นดอลลาร์สหรัฐ แต่จีนจะมีเพียง 800 กว่าดอลลาร์สหรัฐ เท่านั้น ซึ่งเป๐นตัวเลขใน ระดับกลางเท่านั้น World Bank ได้กล่าวว่าในปี ค.ศ.2003 GDP ของจีน 1,100 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ในประเทศ ที่กําลังพัฒนาที่เป๐นสังคมสูงอายุเหมือนกันกับจีน เช่น อาร์เจนตินา มี GDP โดยเฉลี่ยต่อคน 3,375 ดอลลาร์ และในประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศสหรัฐอเมริกามีสูงสุด กล่าวคือ 36,924 ดอลลาร์ รองลงมา ได้แก่ ประเทศญี่ปุุน 33,819 ดอลลาร์ ประเทศอังกฤษ 30,355 ดอลลาร์ ประเทศฝรั่งเศส 29,222 ดอลลาร์ ประเทศ เยอรมัน 29,137 เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเหล่านี้แล้วจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะ ไปถึงตอนกลางของศตวรรษที่ 21 GDP เฉลี่ยก็ยังอยู่ระดับกลางของประเทศที่พัฒนาแล้ว ดังนั้น จีนจึงเป๐น ประเทศที่แก่ก่อนที่จะร่ํารวย ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว แก่พร้อม ๆ กับมีความร่ํารวย
คุณลักษณะเด่นดังกล่าวข้างต้นอย่างน้อย 5 ประการนี้ ทําให้เราเห็นความเสี่ยงในสังคมจีนที่เกิดจาก การกลายเป๐นสังคมสูงอายุทั้งในแง่ของจํานวนผู้สูงอายุที่มีจํานวนมหาศาล ยากต่อการจัดการให้ผู้สูงอายุ เหล่านี้อยู่ในช่วงเวลาแห่งความสุขภายหลังจากที่ได้สร้างผลผลิตและเป๐นกําลังให้กับประเทศเป๐นเวลานาน ถึง เวลาที่รัฐควรจะตอบแทนให้มีความเป๐นอยู่ที่ดีทั้งตามอัตภาพและมีคุณภาพ ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วใน พื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะช่องว่างระหว่างความเป๐นเมืองและชนบทที่ถูกถ่างให้ห่างออกจากกันมากยิ่งขึ้น รวมไป ถึงความแตกต่างระหว่างผู้สูงอายุชายและหญิงในมิติความเปลี่ยนแปลงทางประชากร ตลอดจนการทําให้เขา เหล่านั้นแก่ไปพร้อม ๆ กับความร่ํารวย จึงเป๐นสิ่งที่ท้าทายรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น และบุคคล ภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการพัฒนาสังคมอย่างมาก หากแต่การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยมีเวลาคิดอ่านใคร่ครวญและไตร่ตรองจนนํามาสู่ระบบการจัดการหรือที่เรียกว่า การ จัดสวัสดิการเพื่อเป๐นหลักประกันให้กับเขาเหล่านั้น โดยให้ความคุ้มครองตามหลักมนุษยธรรมที่เขาเหล่านั้น เมื่อวันหนึ่งที่ไร้ซึ่งความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจกับความเสี่ยงที่จะเจ็บปุวยประสบป๎ญหาทางด้านสุขภาพมาก ขึ้นจะได้มีชีวิตอยู่ต่อไปยืนยาวอย่างมั่นใจ
5. หลักการประกันทางสังคมผู้สูงอายุ
การสร้างหลักประกันทางสังคมให้กับผู้สูงอายุ สิ่งที่จะต้องคํานึงถึงเป๐นลําดับแรกคือ ใครจะเป๐น ผู้รับผิดชอบ? ความรับผิดชอบต่อผู้สูงอายุนี้จะครอบคลุมถึงการดูแลทางด้านเศรษฐกิจในยามขาดรายได้ ด้าน สุขภาพในยามเจ็บไข้ได้ปุวย ด้านจิตใจในยามเหงาเศร้าใจ ด้านอารมณ์และสังคมในยามต้องเปลี่ยนบทบาท จากเดิมที่มี เหลียวซ้ายแลขวา มองขึ้นบนก้มดูด้านล่าง มีคนอยู่ 4 ประเภทที่ควรจะมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการ รับผิดชอบ ได้แก่
1) ตัวเอง
2) ครอบครัว
3) เอกชน
4) รัฐ
การสร้างหลักประกันดูแลรับผิดชอบเมื่อยามผู้สูงอายุอาจเกิดจากตัวเอง ครอบครัว เอกชน และหรือ รัฐ ซึ่งอาจเกิดจากคนใดคนหนึ่งรับผิดชอบแต่เพียงฝุายเดียวหรือเกิดจากหลายฝุายร่วมมือกันตามแต่หลักการ และแนวคิดของที่มาการสร้างหลักประกันที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ การแบ่งประเภทของการดูแล ยังสามารถแบ่งออกเป๐น 2 ประเภทใหญ่ ๆ โดยพิจารณาจากคนดูแล สามารถแยกได้เป๐นครอบครัวดูแลหรือ ได้รับการดูแลจากสถาบันทางสังคม ในขณะที่ตัวเองจะต้องดูแลตัวเองเป๐นพื้นฐานอยู่แล้ว จึงไม่ได้ถูกจัดกลุ่มไว้ เป๐นกรณีเฉพาะ ที่สําคัญคือ เกณฑ์ในการแบ่งประเภทไม่ได้สําคัญอยู่ที่ว่าใครเป๐นผู้ดูแล แต่ตัดสินจากการที่ว่า ใครเป๐นผู้สนับสนุนทางด้านการเงินเป๐นหลัก ถ้าการเงินในการดูแลหลักมาจากบุคคล มักจะเรียกว่า “การดูแล ด้วยตนเอง” ถ้ามาจากครอบครัว เรียกว่า “การดูแลโดยครอบครัว” แต่ถ้าได้มาจากประเทศ รัฐบาล หรือ องค์กร จะถูกเรียกว่า “การดูแลโดยสังคม” แต่แน่นอนว่า การเลี้ยงดูผู้สูงอายุอาจจะมาจากหลาย ๆ ผู้ดูแล แต่ การจะเรียกว่าเขา (ผู้สูงอายุ) ได้รับการดูแลจากใคร ให้ดูจากเงินที่สนับสนุนเป๐นหลักว่ามาจากผู้ใด
การประกันสังคมของผู้สูงอายุ (Old-Aged Insurance) โดยทั่วไปมักอิงตามข้อบังคับตามกฏหมายที่ รัฐออกเพื่อแก้ป๎ญหาเมื่อผู้ใช้แรงงานเกษียณ หรือว่าการสูญเสียความสามารถในการทํางาน หรือการออกจาก การทํางาน ชีวิตหลังจากการเกษียณจะต้องได้รับความคุ้มครอง ซึ่งจะต้องพิจารณาเรื่องของการเตรียมความ พร้อมก่อนวัยเกษียณหรือก่อนจะประสบกับความไม่สามารถที่จะได้รายได้เหมือนอย่างที่ผ่านมา โดยเป๐นการ พิจารณาในขณะที่ยังมีความสามารถในการทํางานและได้รับรายได้มากพอในระดับที่แบ่งจ่ายส่วนหนึ่งเพื่อใช้ใน อนาคตข้างหน้าเมื่อยามชรา การคุ้มครองผู้สูงอายุจึงเป๐นเรื่องหลักของการคุ้มครองทางสังคม การ ประกันสังคม รัฐหรือองค์กรทางสังคม โดยส่วนใหญ่จะต้องผ่านกระบวนการทางกฏหมายเพื่อจัดตั้งกองทุน ทางสังคม (Social Fund) ขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ภายหลังเกษียณ ทุพพลภาพ เสียชีวิต ฯลฯ แต่ว่าการคุ้มครอง กลับมีความหมายกว้างขวางมากกว่านั้น การให้ความคุ้มครองทางสังคมมักจะครอบคลุมทุกเรื่อง ไม่เฉพาะแต่ การประกัน การดูแล การคุ้มครอง การได้รับบริการทางสังคมก็ถูกรวมอยู่ด้วย
หลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาและและบางประเทศที่กําลังพัฒนาได้มีการออกกฏหมาย เกี่ยวกับการประกันผู้สูงอายุ ซึ่งครอบคลุมการให้ความคุ้มครองทั้งคนแก่ คนพิการ และคนที่ไม่สามารถ ช่วยเหลือตนเองได้ คนตกงาน จะรวมกลุ่มเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน การประกันทั้ง 3 ด้านนี้เป๐นการประกันใน ระยะยาว มีความเกี่ยวข้องกับผู้ใช้แรงงานที่สูญเสียความสามารถในการใช้แรงงาน 3 กลุ่มนี้รวมกันจะเรียกว่า ระบบบํานาญรายปี มีบางประเทศออกกฏหมายเฉพาะกับการประกันผู้สูงอายุ การสร้างระบบประกันผู้สูงอายุ โดยสมบูรณ์ นอกจากจะสามารถยกระดับคุณภาพของสวัสดิการของสังคม ยังเป๐นหนึ่งในด้านมนุษยธรรมขั้น พื้นฐานเพื่อคุ้มครองศักดิ์ศรีของความเป๐นมนุษย์ และเป๐นเครื่องมือสําคัญหนึ่งในการสร้างความเท่าเทียม ความมั่นคงทางสังคมและยังผลให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจจากความปลอดภัยทางสังคมที่คนวัยแรงงาน ได้รับทั้งขณะและหลังเกษียณจากการทํางาน
ความเสี่ยง (Risk) ของการจัดการประกันผู้สูงอายุจะเป๐นความเสี่ยงที่ผู้ใช้แรงงานต้องเผขิญเมื่อตัวเอง แก่ด้วยเช่นกัน ความเสี่ยงจึงเป๐นจุดเริ่มต้นของการประกัน (Insurance) ถ้าเราไม่มีความเสี่ยงก็ไม่มีความ จําเป๐นต้องทําประกัน ดังนั้นความเสี่ยงของผู้ใช้แรงงานจะเป๐นความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดระบบการประกันทาง สังคมขึ้น เมื่อคนในวัยแรงงานก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ จะมีความเสี่ยงดังต่อไปนี้
1) ร่างกายและสติป๎ญญาที่มีประสิทธิภาพลดลง ซึ่งทําให้โอกาสในการทํางานลดลงหรือหายไปเลยก็ ได้ ดังนั้น จึงทําให้ผู้ใช้แรงงานมีรายได้ลดลงเมื่อเข้าสู่วัยชรา
2) รายจ่ายเท่าเดิม แม้ว่าจะไม่ต้องไปทํางานและไม่ต้องเดินทาง แต่ก็ยังมีการใช้จ่ายส่วนตัว แม้ว่าจะ ไม่ต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ (เพราะตายแล้ว) ลูก (ดูแลตัวเองได้) ความเสี่ยงที่รายจ่ายมากกว่ารายรับยังมีอยู่ ค่าใช้จ่าย ในการรักษาสุขภาพเวลาเจ็บปุวยมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น
3) การแบกรับความเสี่ยงเพียงลําพัง จะเป๐นป๎ญหาที่ใหญ่และอายุที่ยืนมากยิ่งขึ้นจะต้องใช้เงินมากขึ้น เงินที่สะสมไว้หลังเกษียณไม่เพียงพอสําหรับการใช้ชีวิตประจําวันแทน ชีวิตในวัยรุ่นไม่สามารถใช้ได้เต็มที่ถ้าเรา มัวแต่สะสมเงินให้มากเพื่อใช้ยามเกษียณ
4) ความเสี่ยงที่เกิดจากรูปแบบครอบครัวที่เล็กลง ความสามารถในการคุ้มครองและรักษาผู้สูงอายุยิ่ง
มากขึ้น
หัวใจสําคัญของป๎ญหาที่เกี่ยวกับการประกันผู้สูงอายุ คือ การระดมทุนและวิธีการบริหารจัดการ เงินทุนที่ได้มา ในด้านนี้ควรจะคํานึงถึงความสามารถในการแบกรับของรัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง และบุคคล การ ระดมเงินทุนที่เพียงพอสําหรับการดูแลผู้สูงอายุ ในขณะเดียวกันจะใช้เงินทุนที่ได้มานี้อย่างไรให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด ถ้าการระดมทุนจะเป๐นตัวตัดสินวิธีการใช้เงินทุน วิธีการใช้เงินทุนก็เป๐นตัวตัดสินการได้มา ซึ่งเงินทุนเช่นกัน ถ้าระดมเงินทุนได้มาไม่มากพอ จะเป๐นป๎ญหาในการใช้จ่ายเมื่อเขาเหล่านั้นเป๐นผู้สูงอายุ ในทางกลับกัน การที่เราสามารถใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพจะสร้างแรงจูงใจให้เขาเหล่านั้นเมื่อวัยแรงงานยินดี จ่ายเงินเข้ากองทุนและมีแนวโน้มจะจ่ายเงินเข้ากองทุนมากยิ่งขึ้นหากเห็นประโยชน์อย่างแท้จริงและมีรูปธรรม ให้เห็น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการทําให้เงินทุนที่ได้มาถูกนําไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเป๐นประโยชน์ต่อการระดม เงินทุนได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง การที่มีระบบการจ่ายเงินที่ชัดเจน การให้บริการที่เท่าเทียมเสมอเหมือนกัน มี ต้นทุนการบริหารงานที่ต่ํา ตลอดจนความที่ระบบการบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้จะประโยชน์ต่อ การระดมเงินทุนด้วยเช่นกัน การระดมเงินทุนทางสังคมโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของการเรียกเก็บภาษีเพื่อจ่าย เข้ากองทุนทางสังคม ค่าประกันสังคมจากนายจ้าง เงินสมทบจากลูกจ้าง
ในหลายประเทศส่วนใหญ่ การจ่ายเงินประกันสังคม นายจ้างกับลูกจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน ประกันสังคมตามเงินเดือนในอัตราที่แตกต่างกันแต่ใช้ฐานคิดอย่างเดียวกัน และบวกกับรัฐจะเพิ่มเติมให้ สามารถแบ่งวิธีการระดมเงินทุน 3 แบบ
1) Pay as You go
2) Fully Funded System
3) Partially Funded System
โดยทั่วไป การประกันสังคมจะถูกบังคับใช้โดยกฏหมาย เป๐นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันผ่านการระดม เงินทุน โดยไม่ได้มีการคิดกําไร และให้การคุ้มครองอย่างเท่าเทียม ซึ่งสามารถแบ่งคุณสมบัติการประกัน ผู้สูงอายุออกเป๐น 3 ลักษณะ คือ
1) บังคับใช้
2) ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
3) ไม่ได้คิดกําไร (Non-profit)
การบังคับใช้ทางกฏหมาย เป๐นการระบุถึงกฏหมายคุ้มครองเกี่ยวกับการประกันผู้สูงอายุ เป๐นการ บังคับคนที่อยู่ในกรอบต้องเข้ารับการประกันในระบบนี้ ซึ่งเป๐นจุดที่อาจกล่าวได้ว่าเป๐นการแบ่งระหว่างการ ประกันสังคมของรัฐและเอกชนออกจากัน การประกันผู้สูงอายุของรัฐจะมีวัตถุประสงค์หลัก คือ
1) การออมเงินตั้งแต่ยังเป๐นวัยรุ่น หากมารู้ตัวอีกทีต้องเตรียมการไว้สําหรับตัวเองยามชรา เพื่อปูองกัน คนที่ไม่ได้คิดถึงอนาคต เมื่อแก่แล้วไม่มีเงินออม
2) คุ้มครองคนที่ไม่พร้อมด้วยความระมัดระวัง รัฐถูกมองว่าจะต้องเป๐นคนคุ้มครองคนที่ไม่มี ความสามารถในการดูแลตัวเอง รัฐมีหน้าที่ต้องทําเช่นนั้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อวิกฤติด้านคุณธรรม มีคนกลุ่ม หนึ่งที่ไม่ได้เตรียมความพร้อมเมื่อยามเกษียณ ซึ่งจะกระทบต่อคนที่ได้มีการเตรียมความพร้อมมาแล้ว เปรียบเสมือนรัฐเป๐นพ่อแม่ มีลูกหลายคน บางคนดูแลตัวเองได้ บางคนดูแลไม่ได้ ในความเป๐นพ่อแม่ทั่วไป มักจะให้ความสําคัญเป๐นห่วงเป๐นใยและเอาใจใส่ทุ่มเทกับคนที่ดูแลตัวเองไม่ได้มากกว่า ซึ่งในฐานะพ่อแม่มักคิด
ว่าเป๐นเรื่องธรรมดา แต่ในมุมของลูกที่ดูแลตัวเองได้ อาจมองได้ว่าเป๐นการได้รับความรักไม่เท่ากัน ได้รับการ ดูแลเอาใจใส่แตกต่างกัน และเสียโอกาสในการได้รับสิ่งที่ตนเองพึงจะได้รับทั้งเวลา เงิน และการสนับสนุนทาง อารมณ์อื่น ๆ จากพ่อแม่ทั้งที่ตนควรจะได้ เกิดความอยุติธรรมในความรู้สึก อาจนํามาซึ่งการต่อต้านและความ ขัดแย้งอย่างรุนแรงจนเกิดวิกฤติได้นั่นเอง
3) การบังคับจะต้องมีเพราะการประกันในภาคเอกชน มีป๎ญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ การบังคับจะเป๐น การแก้ไขในเชิงธุรกิจภาคเอกชน (เอกชนมีป๎ญหา ยังมีรัฐอยู่)
4) เป๐นการสร้างความแน่ใจการจ่ายอีกครั้งเพื่อให้ความช่วยเหลือกับผู้มีรายได้ต่ํา เมื่อเปรียบเทียบกับ การช่วยเหลือทางสังคม การประกันสังคมจะยึดหลักในการคุ้มครองศักดิ์ศรี การสมทบเงินทุน ซึ่งง่ายต่อการ ยอมรับของประชาชนมากกว่าการช่วยเหลือทางสังคม
5) เพื่อที่จะให้ระบบการประกันผู้สูงอายุดําเนินการไปได้อย่างราบรื่น ในส่วนของการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยทั่วไปจะเป๐นการกล่าวถึงคนที่เข้าร่วมการประกันใน
ช่วงเวลาหนึ่ง คือการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หมายถึงการช่วยเหลือทั้งในแนวตั้ง (ตามช่วงอายุ แต่เป๐นบุคคล
เดียว) และแนวนอน/ขวาง (ช่วยเหลือกันหลายคน) การช่วยเหลือทางแนวขวาง เป๐นการช่วยเหลือผู้เข้าร่วม การประกันด้วยกันเอง การช่วยเหลือทางเศรษฐกิจเป๐นความแตกต่างทางอายุ ประเทศโดยส่วนใหญ่ของโลก จะมีระบบการประกันผู้สูงอายุเป๐นแบบแนวขวางมากกว่า แต่มีคนคิดว่า แนวตั้งไม่ได้เป๐นการประกันผู้สูงอา ยุ แต่ผู้เขียนคิดว่าประกันได้ในระดับหนึ่ง จากการระดมเก็บเงินในแต่ละช่วงอายุ คุณสมบัตินี้จะเป๐นการแบ่งแยก ระหว่างการประกันผู้สูงอายุ การดูแลตนเองเมื่อสูงอายุ และการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัว
สําหรับคุณสมบัติของการไม่คิดกําไร (Non-profit) ดําเนินการโดยองค์กรที่ไม่คิดกําไร จุดประสงค์คือ ทําประกันผู้สูงอายุเพื่อสาธารณะ ค่าใช้จ่ายในการดูแลรัฐออกเป๐นหลัก ระบบการประกันผู้สูงอายุในประเทศ โดยส่วนใหญ่มีลักษณะเช่นนี้ ตรงนี้เองแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการประกันผู้สูงอายุโดยรัฐและ เอกชน
เมื่อพิจารณาถึงรูปแบบการประกันทางสังคมผู้สูงอายุที่มีในประเทศต่าง ๆ พบว่า สามารถแบ่งออกได้ เป๐น 4 รูปแบบ คือ
รูปแบบที่ 1 การคุ้มครองโดยทั่วไป
รูปแบบที่ 2 การคุ้มครองที่เกี่ยวข้องกับรายได้
รูปแบบที่ 3 การคุ้มครองแบบหลายระดับ
รูปแบบที่ 4 การออมภาคบังคับ
โดยที่ประเทศต่าง ๆ จะเลือกแนวทางใดนั้น ขึ้นอยู่กับฐานคิดและบริบทของแต่ละประเทศ อันเกิด จากภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ รวมถึงมาตรการในการ ควบคุมดูแลและบริหารจัดการ
รูปแบบที่ 1 เป๐นรูปแบบการคุ้มครองโดยทั่วไป เป๐นรูปแบบที่รัฐบาลให้เงินสนับสนุนโดยเท่าเทียมกัน เพื่อเป๐นค่าครองชีพขั้นต่ํา เช่น ประเทศในแถบยุโรปเหนือ อังกฤษ ออสเตรเลีย เป๐นต้น โดยที่รูปแบบนี้มี ลักษณะเด่น ดังนี้
1) มีการคุ้มครองอย่างทั่วถึง
2) ไม่ได้ขึ้นอยู่กับรายได้ก่อนเกษียณ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเป๐นลูกจ้างประจําหรือไม่ และไม่ได้ขึ้นกับความ มั่นคงทางหน้าที่การงาน
3) รัฐบาลจะให้เบี้ยยังชีพขั้นต่ํา
4) เงินทุนส่วนใหญ่จะมาจากการคลังของรัฐบาล แต่หลังจากทศวรรษ 70 ของ ศตวรรษที่ 20 เป๐นต้น มา จึงเริ่มมีป๎ญหา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ํา หลายประเทศจึงลดเงินทุนการสนับสนุนลง ผลักภาระการ เลี้ยงดูให้เอกชนร่วมรับผิดชอบด้วย จึงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบที่ 1 ไปสู่รูปแบบที่ 3 คือ รูปแบบการ คุ้มครองแบบหลายระดับ
รูปแบบที่ 2 เป๐นรูปแบบการคุ้มครองที่เกี่ยวข้องกับรายได้ เป๐นรูปแบบการคุ้มครองที่สร้างขึ้นโดย องค์กรคุ้มครองของสังคมเพื่อลูกจ้างประจํา ซึ่งรูปแบบนี้เป๐นที่นิยมนํามาใช้ในหลายประเทศ (รวมถึงประเทศ ไทย) โดยมีการระดมเงินทุนมาจาก 3 ฝุาย มีเงินบํานาญ (Pension) ให้โดยพิจารณาจากรายได้ของตัวบุคคล ก่อนเกษียณ และจากการคาดการณ์เมื่อกองทุนดังกล่าวมีเงินทุนที่ระดมมาได้ถึงที่สุดแล้ว ก็ต้องพบกับวิกฤต การเงินอันเกิดจากการที่รายจ่ายมีมากกว่ารายได้ สาเหตุสําคัญเกิดจากกระบวนการเป๐นสังคมสูงอายุ และใน ตัวรูปแบบนี้เองก็มีจุดบกพร่องในการพัฒนาทางเศรษฐกิจอยู่แล้ว หลายประเทศที่ผ่านประสบการณ์ตรงนั้น มาแล้ว โดยเฉพาะประเทศทางตะวันตกจึงมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขโดยปรับลดรายจ่ายลงเพื่อให้เกิดความสมดุล ของเงินทุนที่สามารถจ่ายได้ ผู้เสียประโยชน์จึงมิใช่ใคร นั่นคือผู้ที่สมทบเงินเมื่อยามเกษียณเพื่อแสวงหาความ มั่นคงในยามบั้นปลาย แต่เงินบํานาญที่ได้ไม่เป๐นไปตามคาดเพราะผู้บริหารเงินกองทุนขาดความสามารถในการ จ่าย
รูปแบบที่ 3 รูปแบบการคุ้มครองแบบหลายระดับ เป๐นรูปแบบที่รัฐบาลจัดขึ้นเพื่อคุ้มครองด้านการเงิน ของผู้สูงอายุ โดยที่มีการประยุกต์ใช้หลายรูปแบบ เพื่อที่จะคุ้มครองการเงินในรูปแบบที่แตกต่างกัน หลังจาก สงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มเกิดขึ้นในประเทศที่เป๐นอุตสาหกรรม ได้รับความสนใจในทศวรรษ 80 ของ ศตวรรษที่ 20 ประเทศสวีเดนเป๐นตัวอย่างที่ชัดเจนในรูปแบบนี้
ระดับที่ 1 รัฐบาลบังคับให้มีการเข้าร่วมระบบการประกันรายปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้มีการคุ้มครอง ด้านการเงินของผู้สูงอายุ
ระดับที่ 2 การสร้างการคุ้มครองโดยภาคเอกชน ออกกฎหมายให้เอกชนทําแผนการคุ้มครองผู้สูงอายุ ระดับที่ 3 การสร้างระบบประกันการออมเงินโดยสมัครใจ
รูปแบบที่ 4 รูปแบบการออมภาคบังคับ มีการเปิดบัญชีส่วนบุคคลโดยมีการออมในแต่ละเดือน เมื่อถึง อายุที่เกษียณแล้ว การออมเงินในบัญชีนี้จะเป๐นเงินที่พร้อมจะถูกจ่ายเป๐นก้อนเดียวหรือสามารถจ่ายคืนเป๐น รายเดือนได้ มีต้นแบบการดําเนินการอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์กับชิลี ซึ่งเป๐นที่นิยมในเอเชีย อาฟริกา และละติน อเมริกา โดยภาพรวม ภาคเอกชนทางประกันสังคมของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แบ่งรูปแบบการออมภาค บังคับใน 160 ประเทศ แบ่งออกเป๐น 209 ระบบ ซึ่งการออมแบบบังคับอาจเป๐นการออมโดยรวมหรือใน ภาคเอกชนก็ได้ แบบออมหรือจ่ายเงินสมทบ แบบออมยังสามารถแบ่งออกเป๐นรัฐหรือเอกชนก็ได้ ระบบ ประกันการออมแบบรัฐมี 200 ระบบ ในภาคเอกชนมี 9 รูปแบบ รูปแบบเงินสมทบมี 185 รูปแบบ รูปแบบ การออมมี 24 รูปแบบ ใน 160 ประเทศ มี 134 ประเทศมีการบังคับให้จ่ายเงินสมทบโดยรัฐและดูตาม เงินเดือนที่แตกต่างกันในการจ่าย มี 8 ประเทศ ดําเนินการโดยใช้รูปแบบเงินสมทบ ซึ่งประชาชนจ่ายเงิน สมทบในรูปแบบเดียวกัน มีอีก 19 ประเทศที่ดําเนินการออมเงินทุนความเสี่ยง
6. เล่าเรื่อง...การดูแลคนแก่จีนโดยรัฐ
การประกันสังคมผู้สูงอายุในประเทศจีนเริ่มต้นขึ้นในลักษณะของการจัดตั้งกองทุนการประกันสังคมใน วัยสูงอายุ ซึ่งถ้ามองจากโครงสร้างโดยทั่วไปแล้วข้อกําหนดการพัฒนาประกันสังคมของผู้สูงอายุสามารถแบ่ง ช่วงของการพัฒนาออกเป๐น 2 ช่วง คือ ระหว่างปี ค.ศ.1950-1986 และในช่วงของการเปลี่ยนแปลงปรับปรุง โครงสร้าง ตั้งแต่ปี ค.ศ.1986 จนถึงป๎จจุบัน
6.1 ระหว่างปี ค.ศ.1950-1985
1) ระยะเริ่มต้น (ระหว่างปี ค.ศ.1950-1957)
หลังจากการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ.1949 ประเทศจีนได้มีการฟื๒นฟูทางด้าน เศรษฐกิจเพื่อทําให้เกิดความมั่นคงเป๐นจุดมุ่งหมายหลักของประเทศ โดยเริ่มต้นจากการสร้างระบบ หลักประกันสุขภาพรูปแบบใหม่และประกาศใช้ ในปี ค.ศ.1951 โดยมีการประกาศว่าด้วย “ข้อกําหนดเงื่อนไข ของการประกันสังคมของแรงงานของสาธารณประชาชนจีน” ซึ่งในช่วงของการเริ่มต้นพัฒนาประเทศ โครงสร้างการประกันสังคมเป๐นสิ่งที่มีความสําคัญในลําดับแรก โดยรวมถึงข้อกฎหมายการประกันในวัยชรา การรักษาพยาบาล การศึกษาและความคุ้มครองการได้รับบาดเจ็บอันมีสาเหตุจากการทํางาน ซึ่งเนื้อหาทั้งหมด ได้รวมไว้ในเรื่องประกันสังคม (Social Insurance) ระบบประกันสังคมในเขตเมืองได้ถือกําเนิดขึ้นพร้อม ๆ กับ ระบบบําเหน็จบํานาญในช่วงนี้อีกด้วย ต่อมา ในปี ค.ศ.1955 จีนได้ออกประกาศข้อบังคับทางกฏหมายว่าด้วย การจัดการโครงสร้างของผู้ที่เกษียณ, การจัดการเกี่ยวกับแรงงานหลังจากเกษียณการทํางาน และการคิด คํานวนเวลากําหนดการทํางาน ในปี ค.ศ.1956 จีนได้มีการออกกฏหมายให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมแรงงาน ทั่วประเทศมากถึง 16 ล้านคน และได้ลงนามข้อตกลงว่าด้วยกลุ่มแรงงานกับลูกจ้างมากถึง 23 ล้านคน ในการ ให้ความคุ้มครองด้านสุขภาพในยามชรา โดยตัวเลขเหล่านี้คิดเป๐นในสัดส่วนของรัฐวิสาหกิจและในส่วนของ กิจการมีจํานวนคนงานมากถึงร้อยละ 94 ในขณะนั้น
2) ระยะการพัฒนา (ระหว่างปี ค.ศ.1958-1966)
ในช่วงนี้เองเป๐นช่วงของการปรับปรุงการประกันสังคมผู้สูงอายุในเขตเมืองให้มีรูปแบบที่เป๐นมาตรฐาน มากยิ่งขึ้น สิทธิประโยชน์มีมากขึ้น ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยในปี ค.ศ.1958 ประเทศจีนได้ออกกฏหมายว่า ด้วยการจัดการลูกจ้างที่เกษียณและคนงาน โดยมีการขยายกว้างทางด้านเงื่อนไขการเกษียณ มีการยกระดับให้ ได้ผลประโยชน์ตอบแทนที่สูงเพื่อให้สอดคล้องกับการดํารงชีวิตตามอัตภาพมากยิ่งขึ้น และครอบคลุมกลุ่มคนที่ ควรจะได้รับความคุ้มครองมากยิ่งขึ้น
3) การประกันสังคมผู้สูงอายุโดยภาคเอกชน (ระหว่างปี ค.ศ.1967-1985) ในช่วงเวลานี้เองมีลักษณะพิเศษคือข้อกําหนดของประกันสังคมผู้สูงอายุในเขตเมืองมีข้อกําหนดโดย
ได้รับอิทธิพลมาจากหลายป๎จจัยโดยทางด้านประกันสังคมและสังคมมีส่วนช่วยเหลือในการช่วยตัดลดให้อ่อน
แรงมากขึ้นและในที่สุดก็ทําให้กลายเป๐นในลักษณะของประกันสังคมภาคเอกชน หลังจากช่วงของการปฎิวัติ ผ่านพ้นไป การประกันสังคมของผู้สูงอายุได้รับการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง โดยการเปลี่ยนแปลงของ ประกันสังคมของภาคเอกชนนั้นได้รับการเปลี่ยนแปลงของพื้นฐาน ซึ่งลักษณะพิเศษนี้เองได้รักษาระดับมา จนถึงปี ค.ศ.1985
นักวิชาการจีน อาจารย์ จาง หยุน กัง (张运刚/ Zhang YunGang) ได้พยายามวิเคราะห์และอธิบาย ลักษณะพิเศษของระบบประกันผู้สูงอายุในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1950-1985 นี้ว่าเป๐นผลมาจากการวางแผน โครงสร้างทางเศรษฐกิจในช่วงต้นของการดําเนินเศรษฐกิจในรูปแบบของสังคมนิยม ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ ดังต่อไปนี้
ข้อที่ 1 รูปแบบประกันสังคมในอดีต ประเทศและภาคเอกชนที่ทํางานมีหน้าที่ร่วมกันในการ ประกันสังคม แต่ความรับผิดชอบยังคงเป๐นภาคเอกชนนั้น รัฐและเอกชนจึงกลายเป๐นการประกันรับผิดชอบ ทางด้านการเงินโดยตรงของการประกันสังคม ในช่วงของการปฎิวัติทางด้านวัฒนธรรม ประเทศและ ภาคเอกชนที่ทํางานนั้นท้ายที่สุดแล้วยังคงมีหน้าที่รับผิดชอบหลักของภาคเอกชนที่จะต้องรับผิดชอบเกือบ ทั้งหมด ซึ่งลักษณะนี้เองทําให้เกิดเป๐นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันของภาคเอกชน
ข้อที่ 2 เนื่องจากในอดีตนั้นภาคเอกชนที่ทํางานนั้นมีหน้าที่สําคัญเพียงเพื่อการจัดทําละสิทธิประโยชน์ ทางด้านสวัสดิการนั้นมีความเชื่อมโยงกับผลประกอบการณ์ในช่วงขณะนั้น ด้วยเหตุนี้เองทําให้ส่งผลให้แต่ละ ภาคเอกชนนั้นมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดถึงความแตกต่างของสวัสดิการอย่างเห็นได้ชัด ความเป๐น มาตรฐานของข้อกําหนดที่มีความแตกต่าง และสิ่งสําคัญคือ มีลักษณะของของประกันสุขภาพในลักษณะปิด ดังนั้นสิ่งสําคัญอยู่ที่ภาคเอกชนนั้นมีหรือไม่มีเงื่อนไขของเงื่อนไขสวัสดิการประกันสังคมทางด้านผู้สูงอายุ
ข้อที่ 3 รูปแบบทางด้านการเงินมักมีลักษณะเดียวคือรับขณะนั้นจ่ายขณะนั้น ในช่วงเวลานั้นเอง เงื่อนไขของทางด้านประกันสังคมนั้นทั้งหมดอยู่ในลักษณะของเงื่อนไขรับเงินขณะนั้นจ่ายขณะนั้น โดยทั่วไป แล้วจะไม่อยู่ในลักษณะของการเก็บเข้าไปสู่ระบบกองทุนเงินสะสม และแน่นอนนี่คือสิ่งที่เป๐นลักษณะพิเศษ ของความต้องการในการจัดสรรตามความต้องการของสังคม เนื่องจากลูกจ้างมีระดับเงินเดือนที่ต่ํา จึงไม่ สามารถที่จะใช้ระบบของกองทุนเงินสะสมนํามาใช้ได้
ข้อที่ 4 มีความครอบคลุมที่แคบ ระดับของการประกันสังคมที่ต่ํา โดยระบบประสังคมของผู้สูงวัยมี ข้อจํากัดครอบคลุมเพียงแค่คนเมือง คนในชนบทจะยังไม่ได้รับสิทธิประโยชนืนี้ หรือได้รับแต่จะรับในเงื่อนไขที่ น้อยและแคบ และลักษณะพิเศษของการจัดสรรคือเป๐นการก้าวเข้าไปสู่การลดระดับของมาตรฐานในการ ครอบคลุมของรูปแบบของประกันสังคมของผู้สูงอายุ
6.2 ตั้งแต่ปี ค.ศ.1986 ถึงป๎จจุบัน
1) การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงโครงสร้างของประกันสังคมผู้สูงอายุ (ระหว่างปี ค.ศ.1986-2000) ในช่วงเวลานี้เองเป๐นช่วงของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโดยเริ่มต้นจากปี ค.ศ.1986 จนถึงป๎จจุบัน
ในช่วงนี้เป๐นช่วงของการก้าวเข้าไปสู่ประกันสังคมผู้สูงอายุในรูปแบบใหม่ โดยการยึดเอาข้อกําหนดของ
ภาคเอกชนเป๐นสําคัญ ในท้ายที่สุดทําให้เกิดเป๐นการรวมกันของข้อกําหนดทางด้านพื้นฐานของระเบียบการ ประกันสังคมในผู้สูงอายุ ในปี ค.ศ.1986 มีการออกกฏหมายที่ว่าด้วยเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศจีนครั้งที่ 7 ตามแผนพัฒนา 5 ปี โดยมีความชัดเจนที่จะสร้างเงื่อนไขข้อกําหนดทางด้านประกันสังคม ของผู้สูงอายุให้มีความเหมาะสม โดยมีการให้ความสําคัญกับการบริหารควบคุมดูแลทางด้านสังคมเป๐นหลัก และหลังจากปี ค.ศ.1986 เป๐นต้นมาประเทศจีนได้เริ่มเข้าสู่การสร้างข้อกําหนดเกี่ยวกับการเกษียณของลูกจ้าง โดยการยึดเอาระบบที่ว่าด้วยการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม การให้ลูกจ้างจ่ายเงินค่ากองทุน ประกันสังคมผู้สูงอายุอย่างเป๐นทางการ เริ่มต้นในปี ค.ศ.1987 จีนได้ออกกฏหมายว่าด้วยการดําเนินการ ทางด้านแรงงานของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป๐นการดําเนินการทางด้านการประกันสังคมของผู้สูงอายุที่มีผลมาจากรัฐ โดยที่มาของเงินประกันสังคมนั้นมาจากภาคเอกชนที่ทํางานและการสะสมเงินทุนมาจากคนงาน
ต่อมาจีนได้ออกกฏหมายว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงปฎิรูปว่าด้วยประกันสังคมลูกจ้างผู้สูงอายุโดย เนื้อความชี้ให้เห็นถึงเงินประกันสุขภาพนั้นมาจากกิจการภาคเอกชนที่ทํางานและตัวลูกจ้างเองร่วมกัน รับผิดชอบ เป๐นการรวมกันของตัวเลขสองบัญชีรวมกัน ในปี ค.ศ.1995 ทุกเขตมณฑล เมือง เขตปกครองพิเศษ ได้ร่วมกันพิจารณาเปลี่ยนแปลงการประกันสุขภาพผู้สูงอายุ เป๐นการเพิ่มกองทุนประกันสังคมให้กับประเทศ โดยมีรูปแบบทั้งสามส่วนร่วมกัน คือ ลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐ ด้วยเหตุนี้เองรัฐจึงได้กําหนดให้นําเอาบัญชีส่วน บุคคลรวมเข้ากับกองทุนประกันสังคม ในลักษณะของรูปแบบนี้เอง นายจ้างและลูกจ้างมีอัตราส่วนการจ่ายเงิน ประกันสังคมที่แน่นอนโดยการแยกสัดส่วนที่ชัดเจน บัญชีส่วนบุคคลแต่ละบุคคลนั้นถือว่าเป๐นของลูกจ้างเอง ต่อมา ในปี ค.ศ.1995 เกี่ยวกับการรวบรวมการวางแผนเกี่ยวกับบัญชีส่วนตัวและทางด้านกองทุนประกันสังคม ผู้สูงอายุนั้นได้มีข้อกําหนดออกมามากถึง 11 ข้อ สามารถทําการแก้ไขได้ตามลักษณะสภาพของแต่ละพื้นที่ที่มี ความแตกต่างกัน ดังนั้นจึงทําให้ในแต่ละเขตพื้นที่มีแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันไป แต่มีหลักการ เดียวกันที่ใช้เป๐นหลักคือการที่รวบรวมเอาประกันสังคมและบัญชีรายได้ของแต่ละคนมารวมกัน ซึ่งทั้งหมดเป๐น ในลักษณะของภาพรวมและเป๐นพื้นฐานโดยทั่วไปในทําแบบอย่างในการเปลี่ยนแปลง
2) ขอบเขตของประกันสังคมผู้สูงอายุ (ตั้งแต่ปี ค.ศ.2001 จนถึงป๎จจุบัน)
ในช่วงเวลานี้เอง ระบบการประกันสังคมผู้สูงอายุมีจุดมุ่งหมายที่สําคัญคือ การออกแบบสร้างเพื่อให้ เป๐นไปตามความต้องการของโครงสร้างทางเศรษฐกิจ พร้อมทั้งเป๐นการประกันส่วนบุคคลในรอบด้าน เพื่อให้ เกิดเป๐นความเอกเทศของกิจการ มีข้อกําหนดทางด้านประกันสังคมผู้สูงอายุ ไม่หยุดที่จะร่วมกันออกแบบให้มี การรวมกันเข้าระหว่างบัญชีส่วนบุคคลและการทําประกันสังคมผู้สูงอายุอยู่ในที่เดียวกัน ขอบเขตของประกัน ผู้สูงอายุก็ยังไม่หยุดที่จะขยายการครอบคลุมขอบเขต จนถึงปี ค.ศ.2006 มีตัวเลขของลูกจ้างในคนเมืองเข้า ร่วมโครงการมากถึง 18,766 หมื่นคน มีการเติบโตเพิ่มจากปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 12.79 ล้านคน ในนั้นเองเข้าร่วม การประกันรักษาตําแหน่งงาน 14131 หมื่นคน และการประกันหลังจากที่เกษียณของลูกจ้างมากถึง 46.35 ล้านคน โดยสามารถแบ่งตัวเลขเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาออกเป๐น 10.11 ล้านคน และ 2.68 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2006 มีตัวเลขจํานวนของเกษตรกรที่เข้าร่วมการประกันสังคมผู้สูงอายุมากถึง 14.17 หมื่นคน ในขณะเดียวกัน
มีจํานวนของตัวเลขของกิจการที่เข้าร่วมการประกันสุขภาพของผู้สูงอายุมีตัวเลขมากถึง 168 .57 ล้านคน มี ตัวเลขการเติบโตเพิ่มขึ้นเมื่อคิดจากปีที่แล้วคือ 11.41 ล้านคน และมีตัวเลขของการเข้าร่วมของการเข้าสู่การ บริหารควบคุมดูแลประกันสังคมผู้สูงอายุทั้งหมด 28.33 หมื่นคน โดยคิดเป๐นสัดส่วนของจํานวนผู้ที่เกษียณคิด เป๐นร้อยละ 68.8 และในปี ค.ศ.2006 การประสังคมผู้สูงอายุของคนเขตเมืองมีรายได้ทั้งหมด 6.31 แสนล้าน หยวน มีตัวเลขของการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.9 ในนั้นเองมีการเรียกเก็บรายได้เข้ากองทุนมากถึง 5.215 แสนล้านหยวน มีตัวเลขเติบโตร้อยละ 20.9 และมีการได้รับเงินสมทบมาจากภาคเอกชนทางการเงินอื่น ๆ มาก ถึง 9.71 หมื่นล้านหยวน และส่วนของรัฐคาดการณ์จะจัดสรรเงินประมาณ 7.74 หมื่นล้านหยวน ซึ่งทั้งปีมี เงินกองทุนใช้จ่ายทั้งหมด 4.897 แสนล้านหยวน มีตัวเลขของการเติบโตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาร้อยละ
21.2 และในปลายปีมีการสะสมเงินกองทุนผู้สูงอายุมากถึง 5.489 แสนล้านหยวน
ในช่วงเวลานี้เอง ข้อกําหนดเกี่ยวกับประกันสุขภาพของผู้อายุในเขตชนบท ในช่วงเวลานี้เองก็ได้รับ การพัฒนา ซึ่งต้องพบกับแนวโน้มของจํานวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นบวกกับป๎ญหาความอ่อนแอของสถาบัน ครอบครัวของจีนที่เพิ่มมากขึ้น จากทศวรรษ 80 ในศตวรรษที่ 20 ในหลายเขตพื้นที่ของประเทศจีนได้เริ่มเข้าสู่ การสํารวจว่าด้วยข้อกําหนดประกันสุขภาพของผู้สูงอายุ พร้อมกับมองย้อนกลับในการพัฒนาประกันสังคมของ ผู้สูงอายุในภาคชนบทให้มีการพัฒนามากขึ้น
โครงสร้างหลักใหญ่ ๆ ในการทําการสํารวจและเข้าสู่ช่วงแรกของการสร้างคือปี ค.ศ.1986-1992 เริ่มทดลองผลักดันคือช่วงปี ค.ศ.1992-1998 ช่วงของการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุง อยู่ในช่วง ค.ศ.1999 จนถึงป๎จจุบัน เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 การประกันสังคมของผู้สูงอายุในเขตชนบทเป๐นช่วงของการได้รับการ ผลักดัน ขอบเขตการครอบคลุมก็ไม่หยุดที่จะขยายการครอบคลุมถึงสิทธิประโยชน์ มีการยกมาตรฐานให้เป๐น สากลมากขึ้น ในช่วงต้นปี ค.ศ.2003 ทั้งประเทศ มีทั้งหมด 1870 อําเภอ ตามที่แต่ละเขตเมืองเขตมณฑลที่มี ความแตกต่างกันมีการเปิดการพัฒนาการประกันสังคมผู้สูงอายุในเขตชนบท โดยมี 54.28 ล้านคนเป๐นคน รับรอง มีตัวเลขของมูลค่ามากถึง 259 ร้อยล้านหยวน และมี 1.98 ล้านคนที่มีรับเงินจากกองทุนประกันสังคม ผู้สูงอายุ จนถึงปลายปี ค.ศ.2006 ทั้งประเทศมีตัวเลขคนชนบทที่เข้าร่วมประกันสังคมผู้สูงอายุมากถึง 53.74 ล้านคน ทั้งปีมีเกษตรกรคนชนบทจํานวน 3.55 ล้านคนมารับเงินกองทุนนี้มีตัวเลขการเติบโตเพิ่มขึ้น 5 แสนคน ทั้งปีมีตัวเลขการจ่ายเงินของกองทุนนี้มากถึง 3 พันล้านหยวน และในปี ค.ศ.2006 ในภาคชนบทมีตัวเลขของ การฝากเงินสะสมเงินกองทุนมากถึง 3.54 หมื่นล้านหยวน
7. การจัดสวัสดิการดูแลผู้สูงอายุจีนในอดีตถึงปัจจุบัน
ตั้งแต่การปฏิรูปประเทศเปิดกว้างในประเทศจีนได้เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ.1978 การประกันสังคม (Social Insurance) ได้ถูกเล็งเห็นทั้งรัฐบาลและภาควิชาการในฐานะที่เป๐นเครื่องมือที่มีความเหมาะสมที่สุดใน การให้ความมั่นคงทางสังคมในด้านการเงินสําหรับผู้สูงอายุในประเทศจีน ในด้านหนึ่ง การประกันสังคมถูกมอง ในฐานะที่เป๐นการสร้างความรับผิดชอบต่อตัวเองของป๎จเจกบุคคลให้ควบคู่ไปกับเศรษฐกิจแบบตลาด (Market economy) ในการปฏิรูปประเทศเปิดกว้างของจีนที่ดําเนินไปข้างหน้า (Chow and Xu, 2001) ในอีกด้าน หนึ่ง การประกันสังคมเป๐นเครื่องมือสําคัญของรัฐในการปรับปรุงโครงสร้างภาคธุรกิจให้ง่ายต่อการจัดการให้ เป๐นไปตามนโยบายที่รัฐกําหนด ความพยายามหลักของรัฐบาลกลางในการปฏิรูประบบความมั่นคงทางสังคม ได้เน้นไปที่การสร้างแบบแผนการประกันสังคมที่สัมพันธ์กับการจ้างงานที่หลากหลาย โดยให้ความคุ้มครองใน ด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย บํานาญสําหรับผู้สูงอายุ การว่างงาน การรักษาพยาบาล การบาดเจ็บจากการทํางาน และการทดแทน และการคลอดบุตร แบบแผนแรกที่ถูกสร้างขึ้นถูกใช้ในเขตเมืองกับแรงงานในระบบแล้วจึง ขยายไปสู่เขตชนบทและแรงงานนอกระบบ ในระบบบํานาญผู้สูงอายุ ป๎จจุบันประกอบไปด้วย 4 แบบแผนที่ แตกต่างกันตามผู้ให้บริการ ได้แก่ ผู้ประกอบการภาคเอกชน รัฐและองค์กรเพื่อสาธารณะ คนในชนบท และผู้ ที่อยู่อาศัยในเขตเมืองนอกสถานที่ทํางาน ยิ่งในป๎จจุบัน การเพิ่มขึ้นของจํานวนเมืองได้พัฒนาแบบแผนบํานาญ การเกษียณอายุสําหรับแรงงานที่ย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมืองมากยิ่งขึ้น ไม่ก็ใช้แบบแผนบํานาญสําหรับลูกจ้างที่ อยู่ในเขตเมืองก็ใช้แบบแผนที่ถูกคิดแยกต่างหากออกไป การปฏิรูประบบบํานาญได้เน้นไปที่สถานประกอบการ ภาคเอกชนในเขตเมืองและบํานาญผู้สูงอายุในเขตชนบท ขณะที่แบบแผนอื่น ๆ ถูกประกาศใช้เพื่อการทดลอง ระบบ
เมื่อเข้าสู่ช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 การช่วยเหลือทางสังคม (Social Assistance) เพื่อให้ความ คุ้มครองกับคนยากจนทั้งในเขตเมืองและชนบทเริ่มต้นขึ้นอย่างสําคัญ แบบแผนการช่วยเหลือทางสังคมผ่าน การทดสอบในระยะหนึ่งที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ระบบการรับรองมาตรฐานการใช้ชีวิตขั้นต่ํา” (The Minimum Living Standard Guarantee System: Dibao) ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองคนยากจนใน เขตเมืองทั่วประเทศในปี ค.ศ.1999 และขยายครอบคลุมทั่วประเทศในปี ค.ศ.2007 แบบแผนความคุ้มครองนี้ ให้ความช่วยเหลือเป๐นเงินสดกับครอบครัวผู้ตกอยู่ภายใต้ความยากจนซึ่งวัดผ่านเส้นความยากจน ด้วยความที่ โครงการนี้ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อผู้สูงอายุ จึงไม่ได้เกิดประโยชน์อันใดในการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ ยากจน ในเขตชนบท โครงการความช่วยเหลือทางสังคมแต่เดิมซึ่งเรียกว่า “ระบบการรับรองห้าด้าน” (Five Guarantee System: Wubao) ให้ความคุ้มครอง 5 ประการสําหรับผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจาก ครอบครัว ดังนั้น นโยบายความมั่นคงทางรายได้ที่เป๐นทางการในป๎จจุบันสําหรับผู้สูงอายุในประเทศจีนจึงมี 2 ระบบได้แก่ ระบบบํานาญสําหรับผู้สูงอายุ (Old-age Pensions) และระบบความช่วยเหลือทางสังคม (Social Assistance) สําหรับครัวเรือนที่ยากจน
ในปี ค.ศ.2009 ประเทศจีนมีผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปีขึ้นไปรวม 167 ล้านคน คิดเป๐นร้อยละ 12.5 ของ จํานวนประชากรทั้งหมด (National Bureau of Statistics, 2011) โดยประมาณมีผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขต เมือง 78 ล้านคน อาศัยอยู่ในเขตชนบทมี 89 ล้านคน ในปี ค.ศ.2010 ประมาณ 92 ล้านคนหรือคิดเป๐นร้อยละ 55 ของผู้สูงอายุได้รับความคุ้มครองในระบบบํานาญสําหรับผู้สูงอายุ ซึ่งเป๐นผู้สูงอายุในเขตเมือง 63 ล้านคน และอยู่ในเขตชนบท 29 ล้านคน (Ministry of Human Resources and Social Security, 2010) ในปี ค.ศ. 2009 มีผู้สูงอายุ 15.35 ล้านคนหรือคิดเป๐นร้อยละ10 ของผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปได้รับ Dibao
ประกอบด้วยผู้สูงอายุที่อยู่นอกภาคเกษตรกรรมจํานวน 3.35 ล้านคนหรือคิดเป๐นร้อยละ 5 และจํานวน 12 ล้านคนหรือคิดเป๐นร้อยละ 12 ที่เป๐นผู้สูงอายุที่อยู่ในภาคเกษตรกรรม (Ministry of Civil Affairs, 2011) สําหรับอัตราการจ่ายเงินบํานาญได้มีการจ่ายเพิ่มขึ้นจากต่ํากว่า 600 หยวนต่อเดือนในปี ค.ศ.2001 เป๐น 1,300 หยวนต่อเดือนในปี ค.ศ.2009 สําหรับผู้สูงอายุที่อยู่ภายใต้ระบบการช่วยเหลือทางสังคมได้ผลประโยชน์ รายเดือนคิดเป๐น 165 หยวนสําหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตเมืองและ 64 หยวนสําหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในชนบท (Ministry of Civil Affairs, 2009)
กล่าวโดยสรุป การจัดสวัสดิการด้านความมั่นคงทางรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุในป๎จจุบันของจีนแบ่ง ออกเป๐น 2 ระบบ คือ การประกันสังคมและการช่วยเหลือทางสังคม การประกันสังคมประกอบด้วยความ คุ้มครอง 5 ประการ คือ บํานาญสําหรับผู้สูงอายุ การว่างงาน การรักษาพยาบาล การบาดเจ็บจากการทํางาน และการทดแทน และการคลอดบุตร การช่วยเหลือทางสังคมเป๐นการจัดตั้งกองทุนสนับสนุนของรัฐเพื่อให้ ความช่วยเหลือบุคคลและครอบครัวที่ตกอยู่ภายใต้ความยากจนเพื่อให้มีความเป๐นอยู่ การรักษาพยาบาล การศึกษา ที่อยู่อาศัย หรือความต้องการอื่น ๆ ตามอัตภาพ
8. สถานสงเคราะห์ บ้านพักคนชรา และอื่น ๆ ในจีน
8.1 บ้านพักคนชราของรัฐ เทศบาลนครซ่างไห่ เขตจิ้งอัน
ภาพประกอบ 10 สถานที่ บรรยากาศและกิจกรรมของผู้สูงอายุ บ้านพักคนชราของรัฐ เทศบาลนครซ่างไห่ เขตจิ้งอัน
1) ข้อมูลทั่วไป
เป๐นบ้านพักคนชราที่ดําเนินการโดยรัฐ โดยจะต้องเสียค่าเช่าพื้นที่ตึกประมาณ 3.5 ล้านหยวนต่อปี ทั้งนี้ก่อนที่จะเป๐นบ้านพักคนชราจะเริ่มจากการเป๐นบ้านแสนสุขมาก่อน ที่มีลักษณะให้ผู้สูงอายุไปเช้าเย็นกลับ หลังจากนั้นจึงยกระดับมาเป๐นการสร้างอาคารดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจรอย่างทุกวันนี้
2) ลักษณะของสถานที่ตั้ง
สถานที่ตั้งของบ้านพักคนชราแห่งนี้ จะมีลักษณะเป๐นตึก 4 ชั้น โดยแต่ละชั้นจะแบ่งเป๐น
ชั้นที่ 1 ห้องนั่งเล่น และห้องสําหรับการกิจกรรม ชั้นสําหรับทําอาหาร ซึ่งเป๐นพื้นที่สําหรับผู้สูงอายุ รับประทานอาหาร ทํากิจกรรมต่างๆ ดูโทรทัศน์ ฟ๎งเพลง ร้องเพลง การพบปะพูดคุยกัน พบญาติ เป๐นต้น
ชั้นที่ 2 ห้องพักสําหรับคนชราที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ภายใน 1 ห้องจะมี 5 เตียงนอน และมี
พยาบาลดูแลตลอด 24 ชั่วโมง
ชั้นที่ 3-4 ห้องพักสําหรับคนชราที่ช่วยเหลือตัวเองได้ ภายใน 1 ห้องจะมี 3 – 4 เตียง ผู้สูงอายุส่วน ใหญ่จะมาอยู่ที่นี่เพราะลูกอาจไปต่างประเทศ
การตกแต่งอาคารของที่บ้านพักคนชราแห่งนี้ เน้นการจัดห้องให้เหมือนโรงแรมโดยชั้นที่ 2 จะมี ลักษณะห้องคล้ายโรงแรม มีทั้งหมด 30 เตียงในชั้นนี้มีผู้สูงอายุสูงสุด 90 ปี ส่วนชั้นที่ 4 จะมีรูปแบบการ
ตกแต่งแบบจีน จํานวนเตียงที่รองรับคนชราได้ทั้ง 4 ชั้น มีอยู่ 100 เตียง (ภาพประกอบ 10)
3) การบริหารจัดการเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ
3.1) เกณฑ์ในการรับผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุที่จะมาอยู่ในบ้านพักคนชราแห่งนี้ได้นั้น จะต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และเป๐นคนที่อาศัยอยู่ใน พื้นที่แห่งนี้ และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้เป๐นอย่างดี และจะไม่รับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่ง ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ที่สถานสงเคราะห์แห่งนี้เพราะลูกทํางานอยู่ต่างประเทศ สําหรับจํานวนผู้สูงอายุที่ อยู่ในบ้านพักคนชราแห่งนี้ในป๎จจุบันมีจํานวน 130-140 คน อายุสูงที่สุดคือ 102 ปี ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีอายุ เฉลี่ย 80 ปี
3.2) ค่าใช้จ่ายสําหรับผู้สูงอายุ สําหรับค่าใช้จ่ายในการเข้ามาเป๐นอยู่ในบ้านพักคนชราแห่งนี้จะขึ้นอยู่กับลักษณะของห้องพักที่
ผู้สูงอายุต้องการอาศัย ขึ้นอยู่กับจํานวนผู้สูงอายุที่พักอยู่ในห้องเดียวกัน (ตาราง 2)
ตาราง 2 ค่าใช้จ่ายต่อห้อง จําแนกตามประเภทห้องในบ้านพักคนชราของรัฐ เทศบาลนครซ่างไห่ เขตจิ้งอัน
ประเภทห้อง | ราคา |
ชั้น 2 (2 เตียง/ห้อง) | 4,000-5,000 หยวน/เตียง/เดือน |
ชั้นที่ 3 และ 4 (5 เตียง/ห้อง) | ราคา 4,000-5000 หยวน/เตียง/เดอื น |
ห้องเตียงเดี่ยว | 6,000 กว่าหยวน/คน/เดือน |
นอกจากนี้ที่บ้านพักคนชราแห่งนี้ยังมีห้อง Health Station ไว้เพื่อตรวจสุขภาพให้คนชราสามารถ เข้ามาตรวจและรอรับผลได้เลย ฟรีค่าบริการสําหรับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตจิ้งอันเท่านั้น ที่นี่ ผู้สูงอายุจะต้องตรวจสุขภาพเสมอ เพื่อดูว่าร่างกายไม่ได้เจ็บปุวยหนักมากเท่าไรนัก จึงจะเข้าใช้บริการที่แห่งนี้ ได้
3.3) เจ้าหน้าที่ให้บริการ
สําหรับผู้ที่จะมาเป๐นเจ้าหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุแห่งนี้ จะต้องผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มงวด โดย ผ่านการสอบ และการฝึกอบรม รวมถึงต้องมีความรู้เฉพาะทางในการดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะประวัติการ ทํางาน รวมถึงทัศนคติที่มีต่อผู้สูงอายุ ก็เป๐นส่วนสําคัญในการคัดเลือกผู้ที่จะมาเป๐นผู้ดูแลผู้สูงอายุ ดังบท สนทนาดังต่อไปนี้
“การจะมาเป็นพนักงานที่นี่ต้องผ่านการสอบคัดเลือกและฝึกอบรมก่อนจากภาครัฐบาลก่อนที่จะมา ใ👉้บริการคนชรา พนักงานจะต้องเขียนบันทึกประจําวันเกี่ยวกับคนชราที่ตนเองดูแลทุกวัน จํานวน พนักงานของที่นี่มีอยู่ 20 กว่าคน การงานที่นี่ค่อนข้างมั่นคงได้รับเงินเดือนจากรัฐบาลแต่จะมีกฎที่ สําคัญของการเป็นพนักงานที่นี่คือ “👉้ามรับเงิน สิ่งของ 👉รือ Tips จากคนชรา👉รือญาติไม่ว่ากรณีใด ๆ 👉ากพบว่ารับเงิน👉รือสิ่งของจะถูกไล่ออกทันที ที่นี่เงินเดือนไม่สูงมากนักแต่มั่นคง ระดับพนักงาน ปฏิบัติการจะได้รับเงินสูงกว่าระดับ👉ัว👉น้างาน เพื่อจะได้ดูแลคนชราใ👉้ดี สวัสดิการจะใ👉้ทุกปีพา พนักงานเ👉ล่านี้ไปเที่ยว ฤดูร้อนจะได้รับแอร์ ฤดู👉นาวจะได้รับฮิตเตอร์ มีค่าที่พัก และวันเกษียณอายุ ใ👉้พนักงาน พนักงานจะรู้สึกว่าที่นี่เ👉มือนบ้านของพวกเขา พนักงานจะคอยช่วยเ👉ลือเกื้อกูลกัน ที่นี่ เราต้องการใ👉้พนักงานอยู่อย่างมีความสุขจะได้ดูแลคนชราใ👉้มีความสุข ตอนสัมภาษณ์จะต้องพูดคุยดู ประวัติการทํางานและใ👉้มั่นใจว่าพวกเขาจะบริการได้ดี” เพราะการที่พนักงานเข้ามาทํางานก็ ด้วย เพราะที่นั่น มีงาน มีเงิน ก็จะมีคนมาสมัครมากเราจึงต้องคัดเลือก” (เจ้าหน้าที่บ้านพักคนชรา, หญิง)
นอกจากนี้ยังพบว่า เจ้าหน้าที่ในบ้านพักคนชราแห่งนี้จะบริการผู้สูงอายุทุกคนอย่างเท่าเทียมกันไม่ ว่าพวกเขาจะมีเงินมากหรือน้อยก็ตาม ผู้สูงอายุบางคนก็มีทิฐิในตัวเองสูง ดื้อรั้น ทางบ้านพักคนชราก็ต้องค่อย ๆ พูดให้พวกเขาปรับทัศนคติใหม่ให้เข้ากับเพื่อน ๆ ได้ ส่วนเรื่องความไม่พอใจของคนชรากับพนักงานก็อาจจะ มีบ้างคนชราก็ไม่สามารถไปทุบตีเหมือนลูกของตนและพนักงานก็ไม่สามารถไปเถียงคนชราเหล่านั้นได้
ในการการดูแลผู้สูงอายุในที่แห่งนี้ยังไม่เคยพบว่าเกิดอุบัติเหตุ เช่น ทําคนชราล้ม แต่ทางบ้านพัก คนชราจะต้องบอกกับลูกหลานให้พวกเขาเข้าใจว่าการล้มเป๐นเหตุสุดวิสัย และจําเป๐นที่ต้องซื้อประกันการหก ล้มให้กับคนชราเหล่านี้ ซึ่งที่นี่รัฐบาลจะจ่ายเงินในการซื้อประกันให้ ตั้งแต่ตอนลงทะเบียนสมัครเข้ามา ใช้ บริการจะมีสัญญาระบุไว้ชัดเจน คนชราเหล่านี้ต้องรับข้อบังคับนั้น ๆ จึงจะใช้บริการได้
4) กิจกรรม กิจวัตรประจําวัน ของผู้สูงอายุ และการบริการต่อผู้สูงอายุ
ตาราง 3 กิจวัตรประจําวันของผู้สูงอายุในบ้านพักคนชรา บ้านพักคนชราของรัฐ เทศบาลนครซ่างไห่ เขตจิ้งอัน
ช่วงเวลา | กิจกรรม |
เช้า | รับประทานอาหารเช้า เดินเล่น ดูข่าว ดูทีวี เดินไปพบเพื่อนในห้อง มีแขกมาเยี่ยมเยือน |
กลางวัน | รับประทานอาหารกลางวัน นอนกลางวัน เล่นไพ่ |
บ่าย | รับประทานอาหารเย็น |
บ้านพักคนชราแห่งนี้ จะมีการบริการการตรวจสุขภาพ ซึ่งจะมีห้องตรวจสุขภาพไว้บริการสําหรับ ผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังมีอาหารให้บริการในแต่ละมื้อ ซึ่งอาหารในแต่ละมื้อก็มีความแตกต่างกันไป คือ อาหาร กลางวันที่มีบริการให้ผู้สูงอายุจะประกอบไปด้วย กับข้าวที่มีเนื้อสัตว์เป๐นส่วนประกอบเป๐นหลัก กับข้าวที่มี เนื้อสัตว์เล็กน้อย ผัก น้ําซุป และข้าว ซึ่งจะมีลักษณะการจัดอาหารแบบนี้ทุก ๆ 3 มื้อ สําหรับราคาอาหาร/ คน อยู่ที่ราคา 550 หยวน/3มื้อ/เดือน ซึ่งรวมอยู่กับ ค่าห้องเรียบร้อยแล้ว (ตาราง 3)
นอกจากนี้ภายในอาคารจะมีสวนให้เดินฟรี เพื่อให้คนชราได้พักผ่อนหย่อนใจในวันที่อากาศดี และจะ มีอาสาสมัครพาผู้สูงอายุไปเดินเล่นบริเวณริมแม่น้ําอีกด้วย
ผู้สูงอายุที่มารับบริการที่บ้านพักคนชราแห่งนี้ส่วนใหญ่จะเป๐นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงอายุ ยืนกว่า ซึ่งพวกเธอจะมีความสุขกับการได้เข้าเรียนหนังสือที่บ้านพักคนชราจัดขึ้นให้ เหมือนพวกเธอได้เติมเต็ม ความฝ๎นที่ขาดหายไปในวัยเด็กที่ไม่สามารถเรียนหนังสือได้ แต่เมื่อมาอยู่ที่นี่ได้เรียนหนังสือมีครูมาสอน จึงทํา ให้พวกเธอมีความสุขมาก
5) การมีส่วนร่วม และการให้ความช่วยเหลือจากภาครัฐ เอกชน และชุมชน บ้านพักคนชราแห่งนี้จะมีหลายหน่วยงานเข้ามาช่วยดูแลในเรื่องมาตรฐาน ความปลอดภัย และความ
สมบูรณ์ของอุปกรณ์ภายในที่พัก รวมทั้งมีการบริการตรวจสุขภาพให้กับผู้สูงอายุอีกด้วย ถึงแม้จะมีการตรวจ
บ้านพักคนชราทุกแห่งแบบนี้เหมือนกัน แต่ไม่ใช่ว่าทุกแห่งจะดีเหมือนกันทุกที่ จะขึ้นอยู่กับการอํานวยความ สะดวกของภาครัฐ ดังบทสนทนาต่อไปนี้
“รัฐบาลช่วยเงินมากก็จะมีสิ่งอํานวยความสะดวกมาก 👉ากมีเงินสนับสนุนน้อยความสะดวกสบายก็ จะถูกตัดออกไปด้วย”
สําหรับหน่วยงานองค์กรอื่น ๆ ของภาครัฐ ก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุใน บ้านพักคนชรานี้อยู่ตลอด โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสําคัญ ๆ เช่น ในวันปีใหม่รัฐบาลก็จะให้อั่งเปากับผู้สูงอายุ ทุกคน คนละ 100 หยวน และในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงทางบ้านพักคนชราร่วมกับหน่วยงานภายนอก จะมีการจัดทัศนศึกษาให้กับผู้สูงอายุได้มีโอกาสออกไปเที่ยวนอกสถานที่ เป๐นต้น
นอกจากนี้รัฐบาลจะช่วยเหลือเงินให้กับคนชราที่ไม่มีบุตร อายุ 90 ปีขึ้นไป ร่างกายไม่เจ็บปุวย บ้าน ไม่มี เงินไม่มี และอายุ 70-80 ปีที่ไม่มีรายได้ ไม่มีบ้าน รัฐบาลจะรีบเข้าไปช่วยเหลือ โดยที่เงินช่วยเหลือที่ คนชราจีนได้รับเริ่มต้นที่ 2,700 หยวนต่อเดือน ในระดับคนที่เป๐นคนงาน และจะเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเสียชีวิต ส่วนถ้าเป๐นครูจะเริ่มต้นที่ 4,000 หยวนต่อเดือน และเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี จนกว่าจะเสียชีวิต เช่นกัน
“รัฐบาลทุกแ👉่งทุกประเทศไม่ใช่ว่าจะไม่มีเงินนะเพียงแต่คิดจะเอาเงินเ👉ล่านี้ไปพัฒนาส่วนอื่น ๆ กัน
👉มดผู้นําของจีนมองว่าในวัน👉นึ่งข้าง👉น้าเขาเองก็ต้อง แก่จึงควรรีบทําระบบการช่วยเ👉ลือคนชราเพื่อที่ทํา วันนี้ใ👉้กับคนในอนาคตได้สบายกัน จึงเป็นเ👉ตุใ👉้จีนได้คิดเริ่มต้นว่าเราต้องทําสิ่งเ👉ล่านี้เพื่อคนชราได้แล้ว ทุก อย่างขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของผู้นําว่าจะเ👉็นความสําคัญเรื่องผู้สูงอายุ👉รือเปล่า”
6) ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่รับบริการ
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่อยู่ในบ้านพักคนชราแห่งนี้ มีความพึงพอใจกับการบริการ ดังบทสนทนาดังต่อไปนี้ ผู้สูงอายุที่มารับบริการที่บ้าน Spirit Home นี้ มีความพึงพอใจในบริการของสถานสงเคราะห์คนชรา
แห่งนี้ เพราะผู้สูงอายุเหล่านี้จะรู้สึกมีความสุข มีเพื่อนใหม่ และมีกิจกรรมทําทุกคน ในสภาวะที่ลูกต้องไป ทํางานทื่อื่น การที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะคิดว่า ไม่อยากเป๐นภาระต่อลูกหลาน จึงทําให้ตัดสินใจมารับบริการ ในสถานที่แห่งนี้ ดังบทสนทนาดังต่อไปนี้
“คนที่นี่ยังมีความคิดที่โบราณอยู่เกี่ยวกับการส่งพ่อแม่มาอยู่บ้านพักคนชรา เพราะทุกวันนี้ใน👉นึ่ง ครอบครัวต้องดูแลคนชรา 4 คน แต่คนที่สามารถมีเวลาดูแลพวกเขาได้มีเพียงแค่คนเดียว พวกเขา อยู่บ้านทุกอย่างจะต้องดูแลตนเอง แต่มาอยู่บ้านพักคนชราจะมีคนทําอา👉ารใ👉้ที่สดใ👉ม่ทุกวัน พนักงานที่นี่ก็มีจิตใจดีที่จะใ👉้บริการพวกเขา ลูก👉ลานควรอธิบายว่ามาที่นี่แล้วมีความสุข ลูก ๆ ก็ไม่ ต้องกังวลกับพ่อแม่ของพวกเขาด้วย ช่วงเวลาสุดท้ายของพ่อแม่ควรอยู่อย่างมีความสุข เราในฐานะที่ เป็นลูกควรเลือกสถานที่ๆดีเพื่อใ👉้ ชีวิตบั้นปลายของเขามีความสุขก่อนการตาย”
“ความสุขของคนชราที่นี่คือการมีเพื่อน ลองถามวัยรุ่นทุก ๆ คนซิว่ามีใคร อยากอยู่กับตายายทั้ง วันทั้งคืนบ้าง”
8.2 บ้านพักคนชราของเอกชนเขตจิ้งอัน “เจียง หนิง อี๋ เหม่ย”
ภาพประกอบ 11 บ้านพักคนชราของเอกชนเขตจิ้งอัน “เจียง หนิง อี๋ เหม่ย”
1) ข้อมูลทั่วไป
บ้านพักคนชรา “เจียง หนิง อี๋ เหม่ย” เป๐นสถานที่สําหรับดูแลผู้สูงอายุของภาคเอกชน ที่ตั้งอยู่ใน เขตจิ้งอัน วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งบ้านพักคนชรานี้ขึ้นมาเกิดขึ้นจากเศรษฐีชาวจีนคนหนึ่ง มีธุรกิจอยู่หลาย แห่ง มีความต้องการที่จะทําประโยชน์ให้กับสังคม จึงเล็งเห็นความสําคัญของการสร้างธุรกิจบ้านพักคนชราขึ้น เพื่อตอบแทนสังคมด้วยการสละพื้นที่ของตนเองมาสร้างบ้านพักคนชรา เพราะการสร้างบ้านพักคนชรานี้เป๐น ธุรกิจเพื่อสังคมรูปแบบหนึ่งที่ไม่ได้กําไร จึงนําเงินส่วนหนึ่งมาลงทุนเพื่อสร้างบ้านพักคนชราแห่งนี้ขึ้น ถึงแม้ว่า ธุรกิจนี้จะเป๐นธุรกิจที่มีกําไรต่ําก็ตาม (ภาพประกอบ 11)
2) ลักษณะของสถานที่ตั้งบ้านพักคนชรา ลักษณะของบ้านพักคนชราแห่งนี้จะมีลักษณะกึ่งบ้าน กึ่งอพาตเม้นต์
3) โครงสร้างการบริหารจัดการดูแลผู้สูงอายุ
3.1) เกณฑ์ในการรับผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุที่จะมาอยู่ในบ้านพักคนชราแห่งนี้ได้นั้น จะต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และเป๐นคนที่อาศัยอยู่ใน พื้นที่แห่งนี้ ซึ่งผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่มารับบริการจะเป๐นผู้สูงอายุที่ครอบครัวดูแลไม่ไหว แต่ก็ยินยอมที่จะมาด้วย ความสมัครใจ เพราะไม่อยากเป๐นภาระรบกวนลูกที่ต้องทํางาน ดังบทสนทนาดังต่อไปนี้
“ผู้สูงอายุก็มักจะมาโดยความยินยอม เพราะไม่อยากเป็นภาระรบกวนลูก ๆ ที่ต้องทํางาน และก็จะทํา ใ👉้เกิดความสะดวกสบายมากกว่า บางรายก็อยู่ที่นี่จนกระทั่งวาระสุดท้ายเลยก็มี โดย👉ากมีผู้สูงอายุที่ เริ่มมีอาการเจ็บป่วยก็จะเริ่มแจ้งไปยังครอบครัวแล้วส่วน👉นึ่ง”
อย่างไรก็ตาม การที่ลูกหลานจะนําผู้สูงอายุมาอาศัยอยู่ในบ้านพักชราแห่งนี้ได้นั้น จะต้องปฏิบัติตาม ข้อกําหนดของบ้านพักคนชรา ถือว่าเป๐นกฎที่ลูกหลานต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและเป๐นประจํา ถือเป๐น ข้อตกลงก่อนที่ผู้สูงอายุจะเข้ามาอยู่ในบ้านพักคนชราแห่งนี้ นั่นคือ การที่ลูกหลานจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบใน การมาเยี่ยมเยียนพ่อแม่ของตนเป๐นประจําทุกอาทิตย์ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกไม่ถูกทอดทิ้ง มีลูกหลานอยู่ ใกล้ๆ และมาเยี่ยมเยียนอย่างสม่ําเสมอ
สําหรับจํานวนผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักคนชราแห่งนี้ในป๎จจุบันมีจํานวน 130-140 คน อายุสูงที่สุดคือ 106 ปี ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีอายุเฉลี่ย 80 ปี และมากกว่าร้อยละ 70 จะเป๐นเพศหญิง
3.2) ค่าใช้จ่ายสําหรับผู้สูงอายุ
สําหรับค่าใช้จ่ายในการเข้ามาเป๐นอยู่ในบ้านพักคนชราแห่งนี้จะขึ้นอยู่กับลักษณะของห้องพักที่ ผู้สูงอายุต้องการอาศัย ขึ้นอยู่กับจํานวนผู้สูงอายุที่พักอยู่ในห้องเดียวกัน และเงื่อนไขสุขภาพของแต่ละบุคคล ด้วย โดยค่าใช้จ่ายมีราคาตั้งแต่ 1,100 – 1,800 หยวนต่อเดือน ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายทุกอย่าง แต่ไม่รวมค่า รักษาพยาบาล
3.3) เจ้าหน้าที่ให้บริการ
การดูแลผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราแห่งนี้แบ่งออกเป๐น 2 ส่วน คือ 1) ผู้ที่ดูแลตัวเองได้ และ 2) ผู้ที่ต้อง ดูแลอย่างใกล้ชิดเนื่องจากมีการเจ็บปุวย บ้านพักคนชราแห่งนี้ยังมีหมอประจําศูนย์เพื่อดูแลรักษาอาการใน เบื้องต้นสําหรับผู้สูงอายุที่มีโรคภัยไข้เจ็บด้วย และมีพยาบาลประมาณ 30 คน เป๐นผู้ดูแลผู้สูงอายุทั้งหมด หรือ คิดเป๐นสัดส่วน พยาบาล 1 คน ต่อ ผู้สูงอายุประมาณ 3 คน (1: 2.5) แต่ในกรณีที่ผู้ปุวยมีการเจ็บปุวยหนักก็จะ ส่งไปที่โรงพยาบาล
4) กิจกรรม กิจวัตรประจําวัน ของผู้สูงอายุ และการบริการต่อผู้สูงอายุ กิจวัตรประจําวันของผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราแห่งนี้คือ ทานข้าว พูดคุย ดูทีวี นอนกลางวัน เดินคุย
อาบน้ํา เล่นไพ่นกกระจอก รําไทเก๊ก คาราโอเกะ ปาเปูา ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีการบริการตรวจสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ โดยจะมีหมอประจําศูนย์เพื่อดูแลรักษาอาการ ในเบื้องต้น และมีพยาบาลคอยดูแลอย่างตลอดเวลา
5) การมีส่วนร่วม และการให้ความช่วยเหลือจากภาครัฐ เอกชน และชุมชน
บ้านพักคนชราแห่งนี้ ได้รับการสนับสนุนเป๐นอย่างดีจากภาครัฐ หรือที่เรียกว่า “จื้อเต้า”เนื่องจาก ภาครัฐเล็งเห็นว่า ธุรกิจบ้านพักคนชรา เป๐นธรุกิจที่ทําประโยชน์ให้กับสังคมเป๐นอย่างมาก แต่ได้กําไรในการ บริหารจัดการไม่มากนัก ดังนั้นภาครัฐจึงเข้ามาช่วยดูแลและช่วยเหลือโดยเฉพาะในเรื่องการเงินในช่วง 3 ปี แรกที่เปิดบริการ และป๎จจุบันก็ยังคงให้ความช่วยเหลืออยู่เสมอ เช่น สนับสนุนค่ารักษาพยาบาลมีผู้สูงอายุอยู่ ในการดูแลทั้งสิ้น
นอกจากนี้ภาครัฐก็จะเข้ามาช่วยบ้านพักคนชราแห่งนี้ในเรื่องการดูแลความเรียบร้อยให้เป๐นไปตาม เงื่อนไข ถูกหลักการ และตรงตามมาตรฐานของเกณฑ์บ้านพักคนชรา และมีความปลอดภัย เช่น จํานวน ผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการ ต้องไปเกิน 240 คน จํานวนห้องพัก หน้าต่าง และเตียง ให้เหมาะสมกับจํานวน ผู้สูงอายุที่มารับบริการ ความสมบูรณ์ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในบ้านพัก เป๐นต้น
6) ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่รับบริการ ผู้สูงอายุจํานวนมากที่อยู่ที่บ้านพักคนชราแห่งนี้มักจะมีอาการไม่ชอบใจ และไม่ยอมรับในช่วงแรก ๆ
แต่เมื่ออยู่ไปแล้วก็จะเริ่มเข้าใจมากขึ้น จะมีความรู้สึกว่า สถานที่แห่งนี้สะดวกสบาย และดีกว่าอาศัยอยู่ที่บ้าน
ของตนเอง เพราะมีเพื่อน มีคนดูแลใกล้ชิด มีระเบียบ ไม่เหงา รวมถึงการมีกิจกรรมมากมายที่ได้ทําร่วมกัน เช่น ทานข้าว พูดคุย ดูทีวี นอนกลางวัน เดินคุย อาบน้ํา เล่นไพ่นกกระจอก รําไทเก๊ก คาราโอเกะ ปาเปูา ฯลฯ ทําให้มีสุขภาพจิตที่ดี และมีการดูแลสุขภาพร่างกายให้อย่างเหมาะสม
บทที่ 4 การศึกษาต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุจีนในพื้นที่ที่มีความสนใจ
ประเทศจีน เป๐นประเทศที่มีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง ป๎จจุบันจีนที่ได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยแล้ว ซึ่งดูได้จากการมีสัดส่วนผู้สูงอายุเกิน 65 ปี มากกว่าร้อยละ 7 ของ ประชากรทั้งหมด ทั้งนี้ในป๎จจุบันจีนมีสัดส่วนผู้สูงอายุอยู่ร้อยละ 9 ของประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นจนกลายเป๐นสังคมสูงวัยแบบสุดยอด (Super Aged Society) หรือมีสัดส่วนผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 20 ในอีก 20 ปีข้างหน้า (Population Reference Bureau, 2013) หลายพื้นที่ในจีน ได้ให้ความสําคัญกับการ เพิ่มขึ้นของสัดส่วนผู้สูงอายุอย่างจริงจัง จากนโยบายการมีลูกคนเดียว (One Child Policy) ได้ทําให้โครงสร้าง ครอบครัวของจีนเปลี่ยนแปลงไป การมีลูกเพียงคนเดียวประกอบกับค่านิยมในการย้ายถิ่นของบุตรไปทํางานใน เมืองที่ห่างไกลบิดามารดา ทําให้บิดามารดาที่อยู่ในวัยสูงอายุต้องอาศัยอยู่เพียงลําพังโดยไม่มีคนดูแล ถึงแม้ว่า สังคมจีนจะยังให้ความเคารพผู้สูงอายุและยังยึดถึงเรื่องความกตัญํูกตเวที แต่ก็ยังพบว่ามีจํานวนผู้สูงอายุจีน ไม่น้อย ที่ต้องอาศัยอยู่ตามลําพังโดยไม่มีคนดูแล ดังนั้นจึงทําให้รัฐบาลจีนได้ตระหนักถึงป๎ญหาดังกล่าว และได้ มีการให้ความสําคัญการให้การดูแลผู้สูงอายุในชุมชน (Aged Care Community Service) ซึ่งป๎จจุบันรูปแบบ การดูแลผู้สูงอายุในชุมชนนี้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน หรือชุมชน (Bartlett & Phillips, 1997; Zhang & Fisher, 2011) ได้เห็นความสําคัญ และจัดตั้งขึ้นในเกือบทุกพื้นที่ในจีน เพื่อรองรับผู้สูงอายุที่ต้องการความ ช่วยเหลือทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ทั้งนี้รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุได้มีอย่างแพร่หลายในจีน ซึ่งแต่ ละพื้นที่จะมีรูปแบบการดูแลที่แตกต่างกันไปตามงบประมาณ และตามลักษณะพื้นที่ เช่น Home Care service centre, home and day care center, meals, aged care residential facilities and others (Wu, Carter, Goins, & Cheng, 2005; Zhang & Fisher, 2011) นอกจากนี้ระดับการดูแลและการให้บริการ ยังขึ้นอยู่กับทรัพยากรในพื้นที่ดังกล่าว ลักษณะทางภูมิศาสตร์, ความสามารถและความสนใจของคนในพื้นที่ รวมถึงเจ้าหน้าที่ให้บริการ เป๐นต้น (Zhang & Fisher, 2011)
1. รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในจีน
รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในจีนกําลังพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มมีความสําคัญมากขึ้นในสังคมจีนป๎จจุบัน เกือบทุกพื้นที่ในจีนได้มีการจัดรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท ซึ่งมีความแตกต่างกัน ผู้สูงอายุจีนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีคุณสมบัติที่สามารถรับบริการการดูแลผู้สูงอายุนี้ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับรายได้ ของผู้สูงอายุแต่ละคน ผู้สูงอายุที่รายได้น้อยหรือไม่มีงานทํา จะได้รับสิทธิในการไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้ารับ บริการ ป๎จจุบันมีผู้สูงอายุจีนจํานวนมากเข้ารับบริการนี้ทั้งแบบอยู่อาศัยเป๐นประจํา (residential Home Care) หรือที่เรียกว่า บ้านพักคนชรา และแบบไปกลับ (day care center) ที่เรียกว่า สถานสงเคราะห์คนชรา ดังนั้นจึงทําให้หลายพื้นที่ในจีนมีการจัดตั้งระบบการดูแลผู้สูงอายุขึ้นแตกต่างกันไป บางแห่งมีรูปแบบการดูแล ผู้สูงอายุที่ดี ที่สามารถนํามาเป๐นแบบอย่างในการเรียนรู้การเป๐นต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดี ซึ่งการศึกษา ต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุนี้จะเป๐นแบบอย่างสําคัญในการสร้างและพัฒนาระบบการจัดสวัสดิการดูแลผู้สูงอายุ โดยการศึกษาจากต้นแบบจากพื้นที่ที่มีความน่าสนใจ ที่สามารถนําเป๐นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่นๆ ในจีน รวมถึง ประเทศไทยเอง ก็สามารถเรียนรู้การดําเนินงาน วิสัยทัศน์ การทํางานต่างๆ จากพื้นที่ต้นแบบทั้งสองแห่งนี้
ในการดูแลผู้สูงอายุ สามารถแบ่งออกระดับการดูแลออกเป๐นลักษณะขั้นบันไดตามความต้องการการ ดูแลของผู้สูงอายุ โดยการดูแลผู้สูงอายุในขั้นแรก จะเป๐นการดูแลโดยสมาชิกครอบครัว หรือการดูแลโดย อาสาสมัครอื่นที่ไม่ใช่ญาติพี่น้องที่เป๐นการดูแลแบบสมัครใจโดยไม่มีค่าใช้จ่าย (Home Care (Volunteer)) ใน ขั้นที่สอง จะเป๐นการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (Home Care (Professional) โดยผู้ดูแลจะเป๐นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ เฉพาะ ขั้นที่สามจะเป๐นการดูแลผู้สูงอายุแบบ Day care ซึ่งจะเป๐นแบบลักษณะการดูแลผู้สูงอายุที่ศูนย์ดูแล ผู้สูงอายุแบบไปเช้าเย็นกลับสําหรับผู้สูงอายุที่แข็งแรง ช่วยเหลือตนเองได้ หรือผู้ดูแลที่ติดบ้าน ไม่สามารถออก นอกบ้านได้ จะเป๐นการดูแลกลางวัน ขั้นที่สี่จะเป๐นการดูแลผู้สูงอายุในลักษณะ short stay สําหรับผู้สูงอายุที่ อาศัยอยู่ในสถานดูแลผู้สูงอายุเพียงระยะสั้น หรือมีผู้ดูแลมาดูแลผู้สูงอายุที่บ้านแบบระยะสั้น และขั้นสุดท้าย จะเป๐นการดูแลแบบ Nursing home คือ การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะปุวย ผู้ดูแลจะเป๐นผู้มีความเชี่ยวชาญ เฉพาะสําหรับดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บปุวย
นอกจากนี้ระดับการดูแลผู้สูงอายุที่กล่าวมาข้างต้น ยังสามารถแบ่งตามลักษณะของผู้สูงอายุได้ คือ ผู้สูงอายุที่มีความยากลําบากในการเคลื่อนไหว จะเลือกใช้บริการในลักษณะการดูแลที่บ้าน (Home Care) ผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ไม่สามารถออกนอกบ้านได้ หรือผู้สูงอายุที่ต้องการสังคม สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จะ เลือกรับบริการแบบ Homecare (Professional), Day care และ Short stay ทั้งสองรูปแบบนี้จะเป๐นการ ดูแลผ่านชุมชน (Community care) สําหรับ Nursing Home จะเหมาะสมกับผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บปุวย ซึ่ง จะผ่านการดูแลแบบระบบสถาบัน (Institutional care) (ภาพประกอบ 12)
ภาพประกอบ 12 การดูแลผู้สูงอายุแบบต่อเนื่อง (Continuum of care)
ที่มา: ROK-ASEAN, n.d. Community-based Home Care for older people in South East Asia: HelpAge Korea.
ในการศึกษาพื้นที่ต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุในจีนครั้งนี้ จะทําการศึกษาสองพื้นที่ที่เป๐นตัวแทนเขต เมืองและเขตชนบทในจีน และยังเป๐นพื้นที่ที่มีจํานวนผู้สูงอายุสูงมากเป๐นสองอันดับแรกของประเทศจีน ได้แก่ เทศบาลนครซ่างไห่ เขตจิ้งอัน และมณฑลซื่อชวน เมืองเฉิงตู เขตเวินเจียง ทั้งสองพื้นที่ต้นแบบนี้ จะให้ ความสําคัญในเรื่องของการดูแลผู้สูงอายุเป๐นอย่างมาก โดยมีการพัฒนาให้เป๐นเขตตัวอย่างในการดูแลผู้สูงอายุ และถูกยกให้เป๐นต้นแบบในการดูแลผู้สูงอายุในประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การศึกษานี้จะเน้นศึกษา ต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุในลักษณะแบบไปเช้าเย็นกลับ (day care center) หรือเรียกว่า “ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ” ซึ่งเป๐นรูปแบบหนึ่งของการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน (aged care community service)
ระเบียบวิธีวิจัยจะเป๐นการศึกษาในเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview และการสนทนากลุ่ม (focus group) รวมทั้งใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม สําหรับกลุ่ม ตัวอย่าง จะทําการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่ดูแลผู้สูงอายุในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุทั้งสองแห่ง และสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ ที่มารับบริการที่ศูนย์ฯ รวมถึงผู้สูงอายุที่ไปเยี่ยมบ้าน
ดังนั้นการศึกษาต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุในจีน จะทําให้ทราบแนวคิด การปฏิบัติ รูปแบบ ความท้า ทาย รวมถึงความสําเร็จในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อนําไปเป๐นต้นแบบสําหรับประเทศไทยในการจัดสวัสดิการเพื่อ ดูแลผู้สูงอายุไทยต่อไปในอนาคต
2. ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแบบไปเช้าเย็นกลับ (Day care center)
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแบบไปเช้าเย็นกลับ (Day care center) คือ การให้การดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชน ซึ่ง จะมีการบริการทั้งทางด้านสุขภาพ โภชนาการ และการบริการทางสังคมกับผู้สูงอายุที่จัดตั้งขึ้นในสถานที่ที่ ให้บริการระหว่างวัน (Dabelko & Zimmerman, 2008) ป๎จจุบันจํานวนศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแบบไปเช้าเย็นนี้มี อย่างแพร่หลาย และจัดตั้งในเกือบทุกตําบลของประเทศจีน ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแบบไปเช้าเย็นกลับนี้ จะเหมาะ สําหรับผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ เพื่อช่วยรองรับผู้สูงอายุที่ไม่อยากออกจากบ้านไปอาศัยอยู่ในบ้านพัก คนชรา เพราะยังมีความต้องการอาศัยอยู่ในบ้านของตน ถึงแม้จะอาศัยอยู่คนเดียวก็ตาม รูปแบบการดูแล ผู้สูงอายุในศูนย์ดูแลแบบไปเช้าเย็นกลับนี้ สามารถแบ่งออกได้เป๐น 3 ลักษณะ คือ การดูแลและให้บริการ ทางด้านสังคม การให้บริการด้านสุขภาพ และการดูแลที่แบบผสมผสานกันระหว่างการให้บริการสุขภาพและ ทางสังคม (Kirwin & Kaye, 1993) ซึ่งเป๐นรูปแบบหลักในการดูแลผู้สูงอายุ ลักษณะการดูแลดังกล่าวย่อมมี ความแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณ และหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนในพื้นที่นั้นๆ ไม่ว่าจะเป๐นหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชน ลักษณะการให้บริการก็มีความแตกต่างเช่นกัน ส่วนใหญ่แล้ว ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะสามารถรับบริการฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่หากผู้สูงอายุต้องการให้ดูแลเรื่อง อาหารการกินด้วย ผู้สูงอายุก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ทั้งนี้รูปแบบการดูแลก็จะมีความแตกต่างกันไป ตามแต่ละพื้นที่
3. เป้าหมายของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแบบไปเช้าเย็นกลับ (Day care center)
ในลักษณะของการเปลี่ยนผ่านทางสังคมจีน ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ.1980 ที่ขนาดครอบครัวจีนเริ่มเล็กลง อันเนื่องมาจากนโยบายการมีลูกคนเดียว (One Child Policy) จึงทําให้ขนาดบุตรในครัวเรือนมีน้อยลง ประกอบกับผลกระทบในเรื่องการย้ายถิ่นของบุตรไปทํางานในเมือง จึงทําให้พ่อแม่ที่อยู่ในวัยสูงอายุต้องอาศัย อยู่เพียงลําพัง และตระหนักว่าครอบครัวไม่สามารถที่จะดูแลตนเองได้ จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมดังกล่าว ทําให้รัฐบาลได้ตระหนักถึงรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในรูปแบบต่างๆ การดูแลผู้สูงอายุผ่านชุมชนในลักษณะไป เช้าเย็นกลับนี้ (Day care center) สามารถรองรับผู้สูงอายุที่ยังมีความต้องการอาศัยอยู่ในบ้านของตน ไม่ ต้องการไปอยู่ในสถาบันการดูแลต่างๆ ดังนั้นรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุแบบไปเช้าเย็นกลับนี้จึงตอบโจทย์ สําหรับผู้สูงอายุที่ต้องการผู้ดูแล ต้องการการสนับสนุนทางจิตใจ และต้องการเครือข่ายทางสังคม
เปูาหมายของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแบบไปเช้าเย็นกลับนี้ เพื่อต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดย ผ่านมิตรภาพและการสนับสนุนทางจิตใจระหว่างผู้สูงอายุที่มารับบริการด้วยกันเอง รวมถึงการให้การดูแลจาก เจ้าหน้าที่ที่มีใจรักการบริการ นอกจากนี้ยังมีการเน้นเรื่องการให้ผู้สูงอายุมีคนดูแล ไม่ถูกทอดทิ้ง มีสังคมกลุ่ม เพื่อนมาทํากิจกรรมร่วมกันประจําวัน มีการดูแลเรื่องสุขภาพโดยผู้มีความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ รวมถึงการ ไปเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่ไม่สามารถมารับบริการที่ศูนย์ดูแลได้
4. ต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุในเทศบาลนครซ่างไห่ (Shanghai) เขตจิ้งอัน (Jing’an)
1.1 ข้อมูลทั่วไป
เทศบาลนครซ่างไห่ หรือที่รู้จักและคุ้นเคยสําหรับคนไทยในชื่อ “เซียงไฮ้” เป๐นเมืองสําคัญที่สุดแห่ง หนึ่งทางเศรษฐกิจในประเทศจีนที่จํานวนประชากรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในป๎จจุบันประชากรใน เทศบาลนครซ่างไห่ มีจํานวน 23.9 ล้านคน ซึ่งมากที่สุดในจีนและมากที่สุดในโลก ความหนาแน่นของ ประชากรเท่ากับ 3,700 คนต่อตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 9,700 คน ต่อตารางไมล์ พื้นที่ของเทศบาลซ่าง ไห่เท่ากับ 6,340.5 ตารางกิโลเมตร (World Population Review, 2013) (ภาพประกอบ 13)
ภาพประกอบ 13 แผนที่แสดงเทศบาลนครซ่างไห่ เขตจิ้งอัน จากข้อมูลสํานักงานสถิติแห่งชาติจีนใน ค.ศ.2010 (National Bureau of Statistics of China,
2013) พบว่า มากกว่าร้อยละ 90 ของประชากรทั้งหมดในเทศบาลนครซ่างไห่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ในขณะที่
มากกว่าร้อยละ 39 ของผู้อาศัยในนครซ่างไห่นี้เป๐นผู้ย้ายถิ่นถาวร และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป๐น 3 เท่าในอีก 10 ปี ต่อมา นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราเพิ่มประชากรติดลบในเทศบาลนครซ่างไห้ตั้งแต่ปี ศ.ศ.1993 เนื่องจากการ ลดลงของภาวะเจริญพันธุ์
อย่างไรก็ตาม เทศบาลนครซ่างไห่ เป๐นพื้นที่หนึ่งที่เผชิญกับเพิ่มขึ้นของจํานวนผู้สูงอายุ และยังเป๐น เมืองที่มีประชากรสูงอายุมากเป๐นเมืองแรก ๆ ของประเทศจีน ประชากรสูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่าง รวดเร็ว เป๐นป๎ญหาหนักใจของรัฐบาลนครซ่างไห่ในป๎จจุบัน จะเห็นได้ว่าจํานวนประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีเพิ่มขึ้นจาก 2.66 ล้านคน เมื่อ ค.ศ.2005 เป๐น 3.67 ล้านคน ใน ค.ศ. 2013 (National Bureau of Statistics of China, 2013) คิดเป๐นอัตราส่วนผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 19.58 ในปี ค.ศ.2005 เป๐นร้อยละ 22.54 ในปี ค.ศ.2009 ในทางตรงกันข้าม ประชากรที่มีอายุต่ํากว่า 14 ปี กลับมีจํานวน เพียง 1.7 ล้านคน คิดเป๐นอัตราส่วนเพียงร้อยละ 8.3 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งต่ํากว่าอัตราเฉลี่ยของทั้ง ประเทศคิดเป๐นร้อยละ 10.2 จะเห็นได้ว่า การเป๐นสังคมสูงวัยอย่างรวดเร็วของจีนทําให้โครงสร้างอายุของ ประชากรเปลี่ยนแปลงไป เมื่อเข้าสู่สังคมสูงอายุ แน่นอนว่าสัดส่วนประชากรวัยเด็ก มีแนวโน้มลดลง ใน ขณะเดียวกัน ประชากรวัยทํางานก็จะมีแนวโน้มลดลงไปด้วย
คณะกรรมาธิการประชากรและการวางแผนครอบครัวเทศบาลนครซ่างไห่ (Shanghai Population and Family Planning Commission) (ThaiBiz in China Thailand Business Information Center in China, 2553) กล่าวว่า ประเด็นที่มีนัยสําคัญเกี่ยวกับโครงสร้างประชากรของเทศบาลนครซ่างไห่ ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา ได้แก่ 1) ผู้อาศัยต่างถิ่นที่เข้ามาพํานักในนครเซี่ยงไฮ้มีจํานวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 2) ความไม่สมดุล
ของจํานวนผู้สูงอายุและคนวัยหนุ่มสาว 3) อัตราความหนาแน่นต่อตารางกิโลเมตรของประชากรเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว และ 4) ประชากรมีอายุยืนขึ้น และในการแก้ป๎ญหาการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากรสูงวัย รัฐจะต้องมี ความเข้มแข็งในเรื่องสิ่งอํานวยความสะดวกในการรักษาพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ
จากข้อมูลสถิติปี ค.ศ.2009 เทศบาลนครซ่างไห่ เป๐นเขตการปกครองที่มีอัตราส่วนพึ่งพิงในวัยชราสูง ที่สุด เฉพาะในเขตจิ้งอันมีผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ทั้งหมดกว่า 82,700 คน จากประชากร 3 แสนกว่า คน ซึ่งถือว่าเป๐นพื้นที่ที่มีผู้สูงอายุมากที่สุดในเทศบาลนครซ่างไห่ ขณะเดียวกัน เขตจิ้งอันยังเป๐นเขตที่มี ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 100 ปี มากเป๐นอันดับหนึ่งอีกด้วย
รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุแบบ aged care community service ในนครซ่างไห่นี้ ได้เริ่มต้นนําร่องขึ้น ในปี ค.ศ.2000 จัดการโดย Ministry of Civil Affairs รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุประเภทดังกล่าวได้มีขยาย กว้างขึ้น จนในปี ค.ศ.2005 รูปแบบนี้ได้ขยายครอบคลุมทุกพื้นที่ในนครซ่างไห่ ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่การ จัดรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุนี้จะถูกจัดลําดับความสําคัญให้กับเฉพาะพื้นที่ที่มีความพร้อม และมีงบประมาณ เพียงพอก่อน อย่างไรก็ตามป๎จจุบันการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนนี้ได้ดําเนินการอย่างกว้างขวาง และผู้สูงอายุให้ การตอบรับเป๐นอย่างดี และเห็นความสําคัญในการมีบริการผู้สูงอายุในรูปแบบต่างๆ
การศึกษานี้จะทําการศึกษาศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่เป๐นต้นแบบในเขตจิ้งอัน (Jing’an) ซึ่งเป๐นพื้นที่ที่มี จํานวนผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปมากที่สุดในเทศบาลนครซ่างไห่ ในเขตจิ้งอันนี้มีจํานวนผู้สูงอายุมากกว่า แปดหมื่นคนจากประชากรในเทศบาลนครซ่างไห่ 3 แสนกว่าคน และยังเป๐นเขตที่มีศตวรรษิกชน หรือคนที่มี อายุหนึ่งร้อยปีขึ้นไปมากเป๐นอันดับหนึ่งอีกด้วย นอกจากนี้แล้วเขตจิ้งอันยังประสบความสําเร็จในเรื่องการดูแล ผู้สูงอายุ ในปี ค.ศ.2010 เขตจิ้งอันได้ถูกพัฒนาให้เป๐นเขตตัวอย่างในการดูแลผู้สูงอายุ โดยทดลองนําร่องที่ หมู่บ้านสานเปุย และสร้าง “บ้านแสนสุข” หรือ “Home Care” สําหรับผู้สูงอายุขึ้น ซึ่งจะมีการให้บริการทั้ง ในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ และการดูแลที่บ้าน
1.2 ลักษณะทั่วไปของพื้นที่ต้นแบบ
พื้นที่ต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุในการศึกษาครั้งนี้ ซึ่งเป๐นตัวแทนของต้นแบบในพื้นที่เขตเมืองใน เทศบาลนครซ่างไห่ คือ บ้านแสนสุขชุมชนเวยไห่ (乐龄家/Le Ling Jia Yuan) นั่นคือ “ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ: บ้านแสนสุข” ซึ่งมีลักษณะเป๐นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแบบไปเช้าเย็นกลับ (day care center) เหตุผลที่เลือกพื้นที่นี้ เป๐นต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุเนื่องจาก ในปี ค.ศ.2010 รัฐบาลเขตจิ้งอันได้ลงนามในสัญญาข้อตกลงกับรัฐบาล เทศบาลนครซ่างไห่ให้พัฒนาเขตจิ้งอันเป๐นเขตตัวอย่างในการดูแลผู้สูงอายุ รวมทั้งสร้างบ้านแสนสุขสําหรับ ผู้สูงอายุนี้ขึ้นมา เพื่อทดลองนําร่องที่หมู่บ้านสานเปุย เป๐นการสร้างฐานข้อมูลด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในเขต พื้นที่ อย่างไรก็ตามบ้านแสนสุขแห่งนี้ ตั้งอยู่ในชุมชน “เวยไห่” (威海/ Weihai) เขต “หนาน จิง ซี ลู่” (南京路/Nanjing Road) ซึ่งเป๐น 1 ใน 13 ชุมชนในเทศบาลนครซ่างไห่ ที่ได้รับรางวัลชุมชนต้นแบบในการดูแล ผู้สูงอายุประจําปี ค.ศ.2011 (ภาพประกอบ 14)
ภาพประกอบ 14 ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ: บ้านแสนสุข ลักษณะที่ตั้งของบ้านแสนสุขนี้ จะมีขนาดเท่ากับหนึ่งห้องแถวในบริเวณชุมชนที่มีตึกขนาดใหญ่
ล้อมรอบ เป๐นชุมชนใจกลางเมือง ที่มีบรรยากาศล้อมรอบเงียบสงบ คนไม่พลุกพล่าน ลักษณะภายในบ้านแสน สุข จะเป๐นห้องขนาดเล็กที่มีโต๊ะสําหรับผู้สูงอายุประมาณ 5-6 โต๊ะเท่านั้น มีเก้าอี้สําหรับผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถ บรรจุผู้สูงอายุได้ไม่เกิน 20 คนเท่านั้น และมีโทรทัศน์หนึ่งเครื่อง ไว้ให้ผู้สูงอายุไว้ผ่อนคลาย รวมถึงมีเก้าอี้นวด สําหรับผู้สูงอายุไว้คลายกล้ามเนื้อ และมีห้องน้ําสําหรับอาบน้ําไว้สําหรับผู้สูงอายุอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า บ้านแสนสุขนี้จะมีขนาดเล็ก แต่ก็แลดูสะอาดตา และรับรู้ได้ถึงความอบ อุ่นที่ ผู้สูงอายุทุกคนได้รับจากผู้ดูแลที่เป๐นเจ้าหน้าที่ประจําในสถานที่แห่งนี้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความทุ่มเทอย่างใจ จริงจากการบริการของผู้ดูแลในบ้านแสนสุขนี้
ในช่วงเริ่มต้นของการตั้งบ้านแสนสุขนี้ขึ้น ในปี ค.ศ.2010 มีผู้สูงอายุมารับบริการเพียง 30 กว่าคน เท่านั้น แต่ป๎จจุบันมีผู้สูงอายุมากกว่า 100 คน เข้ามารับบริการ และจะเป๐นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อัน เนื่องมาจากจํานวนผู้สูงอายุส่วนใหญ่ในจีนเป๐นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย จึงทําให้ผู้ที่ไปรับบริการในบ้านแสนสุข ส่วนใหญ่จะเป๐นผู้หญิง นอกจากนี้ผู้สูงอายุทั้งหมดที่มารับบริการจะเป๐นผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตจิ้งอัน ชุมชนเวยไห่ ฉะนั้นจึงทําให้ผู้สูงอายุมีความสะดวกในการมารับบริการ ทั้งที่เดินมาจากบ้านด้วยตนเอง และมีผู้สูงอายุบาง ท่านที่มีลูกหลานมารับส่ง ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่มารับบริการจะเป๐นผู้สูงอายุตอนปลาย คือ มีอายุมากกว่า 80 ปี ขึ้นไป แต่สุขภาพร่างกายของคนเหล่านี้ก็ยังคงแข็งแรง รวมถึงการมีสุขภาพจิตที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส
ผู้สูงอายุสามารถมารับบริการและมาทํากิจกรรมในบ้านแสนสุขนี้ จะต้องเป๐นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้น ไป ป๎จจุบันมีผู้สูงอายุจํานวนร้อยกว่าคนแล้ว อายุสูงสุดคือ 95 ปี สุขภาพของผู้สูงอายุที่นี่ส่วนใหญ่จะเป๐น ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี สามารถเดินมารับบริการได้ด้วยตนเอง บ้านแสนสุขจะเปิดทุกวันตั้งแต่แปดโมงครึ่งจนถึง เย็น (ภาพประกอบ 15)
บ้านแสนสุขแห่งนี้จะมีการบริการให้ผู้สูงอายุแบบลักษณะไปเช้าเย็นกลับ ดูแลตัวเองได้ รวมถึงมีการ บริการไปเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมารับบริการในสถานที่ทําการได้ ซึ่งจะมีการไปเยี่ยมบ้าน อาทิตย์ละสองวัน คือ ทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี ซึ่งจะสังเกตได้ว่า ผู้สูงอายุที่มาบ้านแสนสุขนี้จะเดินมาเอง และกลับบ้านเอง ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ก็จะมีอายุสูงเกินกว่า 80 ปีแล้วทั้งนั้น แต่ทุกคนก็ยังแข็งแรง เดินไปไหนมา ไหนได้ด้วยตนเอง
ภาพประกอบ 15 การทํากิจกรรมของผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ: บ้านแสนสุข
1.3 กิจกรรมที่ดําเนินการในพื้นที่ต้นแบบ
กิจกรรมที่จัดขึ้นใน “ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ: บ้านแสนสุข” แห่งนี้ มีอยู่หลายกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมส่วนใหญ่ จะเป๐นการทํากิจกรรมไปพร้อม ๆ กัน มีผู้สูงอายุจํานวนมากกว่า 50 คน มาทํากิจกรรมร่วมกันในบ้านแสนสุข ในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป๐นการรับประทานอาหารร่วมกัน จิบชา พูดคุย นั่งดูโทรทัศน์ ร้องเพลง เล่นไพ่ นกกระจอก รวมถึงมีสถานที่สําหรับการนอนกลางวัน หรือห้องน้ําสําหรับอาบน้ํา ตกเย็นผู้สูงอายุแต่ละคนก็จะ เดินกลับบ้าน และวันรุ่งขึ้นก็จะเดินมาบ้านแสนสุขนี้ด้วยตัวเอง นอกจากนี้แล้วจะมีการดูแลผู้สูงอายุที่อาศัย ตามลําพังในเรื่องของความปลอดภัย การบริการด้านอาหาร สําหรับผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพน้อย สําหรับ ผู้สูงอายุที่พอจะมีกําลังจ่ายไหว จะสามารถรับบริการอาหารกลางวันได้โดยผ่านบัตรประจําตัวผู้สูงอายุ ซึ่ง จะต้องมีการเติมเงินเข้าไปในบัตรเช่นเดียวกับบัตรคูปองอาหารในห้างสรรพสินค้า เมื่อมีการสั่งอาหารแต่ละ ครั้ง เงินในบัตรก็จะลดลงไป นอกจากนี้แล้ว เจ้าหน้าที่ที่บ้านแสนสุข ยังได้ลงพื้นที่ไปเยี่ยมบ้าน สําหรับ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมาบ้านแสนสุขได้ ดังนั้น “บ้านแสนสุข” จึงถูกยกย่องให้เป๐นชุมชนต้นแบบที่มี การดูแลผู้สูงอายุในประเทศจีนที่ดีมานานติดต่อกันหลายปีแล้ว (ภาพประกอบ 16)
ภาพประกอบ 16 รูปบัตรประจําตัวผู้สูงอายุ คูปองรับอาหาร และกล่องข้าว
1.4 กระบวนการเข้ามารับบริการของผู้สูงอายุ
การเข้ามารับบริการของผู้สูงอายุจะเป๐นไปด้วยความสมัครใจ ผู้สูงอายุสามารถเลือกรับบริการได้ใน หลายรูปแบบ ในช่วงแรกๆ เมื่อบ้านแสนสุขเปิดทําการใหม่ๆ จะมีจํานวนผู้สูงอายุเป๐นส่วนน้อยเท่านั้นที่ทราบ ว่ามีศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแห่งนี้ตั้งขึ้น หลังจากนั้นมีผู้สูงอายุให้ความสนใจมากขึ้น อันเนื่องจากการบอกต่อๆ กัน ของผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุที่บ้านแสนสุขนี้ถือประสบความสําเร็จเป๐นอย่างมาก เพราะมีผู้สูงอายุจํานวน มากที่สมัครใจเข้ามาเป๐นสมาชิกและร่วมกิจกรรมด้วยตนเอง และยังมีการชักชวนเพื่อนให้มาเข้าร่วมทํา กิจกรรมในที่แห่งนี้ด้วย นอกจากนี้ถึงแม้ว่าผู้สูงอายุจะไม่สามารถเดินทางมารับบริการได้ ในหนึ่งอาทิตย์ก็จะมี เจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ฯ ไปเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุเป๐นประจํา เพื่อให้สามารถบริการผู้สูงอายุได้อย่างทั่วถึง
1.5 การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ภาครัฐ เอกชน
บ้านแสนสุขแห่งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล สังกัด Min Zheng Ju (民政局/Civil Affairs) ซึ่ง มีหน้าที่คล้ายกับกรมการปกครองหรือกรมประชาสงเคราะห์ รัฐเป๐นผู้จัดซื้อสถานที่สําหรับบ้านแสนสุขนี้ให้ใช้ ในการบริการในชุมชน มีลักษณะคล้ายห้องแถวห้องหนึ่งในตึกขนาดใหญ่โตใจกลางเมือง เป๐นเพียง ห้อง ขนาดเล็กที่สามารถนั่งกันอยู่ได้อย่างไม่เบียดเสียดราว 20 คน บรรยากาศสะอาดตา มีโต๊ะและ เ ก้ าอี้ ตั้ งอ ยู่ เป๐นกลุ่ม ๆ และมีทีวีอยู่เครื่อง นอกจากนี้ผู้สูงอายุในบ้านแสนสุขจะยังได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐเป๐นรายบุคคล โดยพิจารณาจาก 2 ส่วน คือ อายุ และประสบการณ์การทํางาน
ในช่วงเทศกาลต่าง ๆ เช่น วันผู้สูงอายุ วันชาติ บ้านแสนสุขจะมีบุคคลจากหน่วยงานต่างๆ ทั้ง ภาครัฐ และเอกชน และคนในชุมชน เข้ามาร่วมจัดกิจกรรมต่างๆ ให้กับผู้สูงอายุ เช่น เล่นเกมส์ ร้องเพลง แจก สิ่งของ รวมถึงการมาร่วมพูดคุยกับผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุผ่อนคลายความเหงา (ภาพประกอบ 17)
ภาพประกอบ 17 การให้บริการของเจ้าหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุ เทศบาลนครซ่างไห่ เขตจิ้งอัน
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุบ้านแสนสุขนี้ มีเจ้าหน้าที่ประจําจํานวน 3 คน ประกอบด้วย หัวหน้าประจําศูนย์ฯ
จะที่มีหน้าที่ดูแลทุกส่วนในสถานสงเคราะห์ทั้งหมด ตั้งแต่การให้การบริหารงาน การบริการต่าง ๆ การติดต่อ ประสานงาน และการดูแลผู้สูงอายุทุกอย่าง และเจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ฯ อีก 2 ท่าน คนแรกจะมีหน้าที่หลักใน การดูแล และให้การบริการทั่วไปกับผู้สูงอายุ และอีกท่านจะมีหน้าที่หลักในการลงไปเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ สําหรับผู้สูงอายุที่เดินทางมาสถานสงเคราะห์ลําบาก และไม่มีลูกหลานดูแล
เมื่อศึกษาเหตุผลที่เข้ามาทํางานอยู่ในหมู่บ้านนี้ ก็ได้รับคําตอบว่า เป๐นเพราะรักการทํางานนี้ ไม่ได้รู้สึก ว่าเป๐นภาระที่จะต้องดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพการบริการด้านผู้สูงอายุที่มีพื้นฐานการให้บริการด้วย ความทุ่มเทอย่างจริงใจได้เป๐นอย่างดี ดังบทสนทนาดังต่อไปนี้
“ทํางานนี้เพราะรักงานนี้ ก่อนเกษียณอายุก็เป็นครูอนุบาล มาก่อน ชอบเด็กและคนแก่” “เข้ามาทํางานตั้งแต่ปี 2010 ด้วยความรักในคนแก่ ชอบฟังคนแก่พูด”
“มีผู้สูงอายุที่อายุมากที่สุดคือ 95 ปี...👉ากสมาชิกมีความต้องการอะไรเพิ่มเติม ก็สามารถทํา👉น้าที่ใน การเสนอได้”
(หัวหน้าประจําสถานสงเคราะห์บ้านแสนสุข, หญิง อายุ 60 ปี)
1.7 ผลสําเร็จของชุมชนต้นแบบ
ผลสําเร็จของบ้านแสนสุขสามารถรับประกันได้จากการได้เป๐นหนึ่งใน 13 ชุมชนในเซี่ยงไฮ้ ที่ได้รับ รางวัลชุมชนต้นแบบในการดูแลผู้สูงอายุประจําปี ค.ศ.2011 นอกจากนี้ผลสําเร็จที่ได้รับมาจากการบริการของ เจ้าหน้าที่ในสถานสงเคราะห์แห่งนี้ ที่มีการบริการที่ดี มีผู้สูงอายุเป๐นจํานวนมากที่มีความประทับใจต่อการ บริการของเจ้าหน้าที่ และเห็นประโยชน์ต่อการมีสถานสงเคราะห์แห่งนี้ขึ้นมา จึงทําให้มีผู้สูงอายุเป๐นจํานวน มากสมัครใจเข้ามารับบริการในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแห่งนี้ และเพิ่มจํานวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทําให้บ้านแสน สุขแห่งนี้ ไม่เพียงพอต่อจํานวนผู้สูงอายุที่เข้ามารับบริการ ซึ่งจากการสอบถามพบว่า ผู้สูงอายุที่มารับบริการจะ ไม่เคยเจ็บปุวย เพราะมีความสุข และสุขภาพก็จะแข็งแรงตามไปด้วย ดังบทสนทนาดังต่อไปนี้
“เพื่อที่จะได้เข้ามาทําอะไรร่วมกัน อยู่คนเดียวมันจะเ👉งา ลูก ๆ 👉ลาน ๆ ก็จะได้ไม่ต้องเป็น👉่วง สบายใจกับการทํางานได้เต็มที่ โดยเริ่มต้นจากการตื่นเช้า👉กโมง ไปเดินในสวน แล้วก็กลับมากินข้าวที่นี่ตอน สาย ๆ คุยกัน ทํากิจกรรมเล็กน้อย (อ่าน👉นังสือพิมพ์ ดูทีวี เพราะคนที่นี่อายุมากแล้ว ทํากิจกรรม👉นักมาก ไม่ได้) กลับบ้านไปสักพัก 👉รืออยู่เล่นไพ่นกกระจอก บางคนก็กลับไปนอนกลางวัน แล้วกลับมากิน ข้าวเย็น
👉รือบางบ้านก็กินกับลูก ๆ ที่เลิกงานแล้ว”
“ตั้งแต่มาอยู่ที่นี่เป็นกิจวัตรที่ต้องมา ก็ไม่เคยต้องเจ็บไข้ได้ป่วยเลย เพราะมีความสุข และสุขภาพก็จะ แข็งแรงตามไปด้วย”
(หญิง 4 คน อายุ 90 ปี, 85 ปี, 82 ปี และ 90 ปี)
1.8 จุดเด่นของพื้นที่ที่นํามาศึกษาเป็นต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุ
จากการวิเคราะห์การดําเนินงานที่เป๐นต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุในบ้านแสนสุข สามารถสรุปจุดเด่นที่ สามารถนํามาเป๐นต้นแบบในการดูแลผู้สูงอายุ ในเรื่องดังต่อไปนี้
1) การบริการของเจ้าหน้าที่ประจําบ้านแสนสุข
เจ้าหน้าที่ประจําในบ้านแสนสุขแห่งนี้จะดูแลผู้สูงอายุเป๐นอย่างดี มีใจรักในการบริการ ทุ่มเทให้กับ งาน และดูแลผู้สูงอายุด้วยใจจริงเสมือนเป๐นพ่อแม่ของตน ถึงแม้จะเหนื่อย แต่ก็ยังยิ้มได้ ไม่ท้อ และมีความสุข ในการทํางานทุกวัน การบริการที่ดีและเช่นนี้นี่เองน่าจะเป๐นจุดเด่นของบ้านแสนสุขแห่งนี้ ที่ทําให้ได้รับรางวัล ต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุ
“เราทําจากใจ ไม่ได้แอบแฝง คํานึงถึงคนแก่เป็นอันดับแรก และใ👉้การดูแลคนแก่เ👉มือนพ่อแม่ของ เราเอง โดยจะใ👉้ความสําคัญกับคนที่มีอาการป่วยก่อน”
(เจ้าหน้าที่ประจําบ้านพักคนชรา, หญิง) 2) ทําเลที่ตั้ง
พื้นที่ตั้งบ้านแสนสุข เป๐นทําเลที่อยู่ในชุมชนที่เงียบสงบ และอยู่ในบริเวณที่ไม่ไกลจากที่อยู่อาศัยของ ผู้สูงอายุมากนัก ดังนั้นจึงทําให้ผู้สูงอายุสามารถเดินทางไปใช้บริการได้ด้วยตนเอง ผู้สูงอายุจึงเกิดความรู้สึก คุ้นเคยและรู้สึกเหมือนอยู่บ้านตัวเอง และแวดล้อมไปด้วยกลุ่มเพื่อนที่อยู่ในวัยสูงอายุเหมือนกัน การที่ผู้สูงอายุ ไม่ต้องเดินทางไปไกลจากบ้านของตน ทําให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกว่าตนเองไม่ได้ย้ายออกไปไกลจากบ้าน เสมือน กับตอนเช้าไปโรงเรียน ไปพบปะเพื่อนฝูง ทํากิจกรรมร่วมกัน ตอนเย็นก็กลับบ้านไปอยู่กับครอบครัว ลักษณะ การรับบริการการดูแลผู้สูงอายุแบบไปเช้าเย็นกลับนี้ จะสามารถจัดตั้งขึ้นได้ มีศูนย์ดูแลผู้สูงอายุอยู่ในบริเวณ ชุมชนที่อยู่อาศัย ซึ่งทําให้ผู้สูงอายุยังอยู่สิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคย จึงทําให้ผู้สูงอายุมีความสุข
1.9 ปัญหาและความต้องการผู้สูงอายุในพื้นที่ต้นแบบ
แม้นบ้านแสนสุขจะเป๐นต้นแบบในการดูแลผู้สูงอายุ แต่ป๎ญหาที่พบคือ ขาดเจ้าหน้าที่ในการดูแล ผู้สูงอายุ ถึงแม้ว่าป๎จจุบันเจ้าหน้าที่ที่เป๐นผู้ดูแลผู้สูงอายุในบ้านแสนสุขจะมีเพียง 3 คนเท่านั้น แต่การบริการ และการดูแลต่างๆ ต่อผู้สูงอายุ ก็ไม่ขาดตกบกพร่อง มีการบริการที่ดี และดูแลด้วยความจริงใจ และความรั ก อย่างไรก็ตามหากมีเจ้าหน้าที่มากขึ้น ก็จะยิ่งทําให้ดูแลผู้สูงอายุได้ทั่วถึงมากขึ้น
สําหรับการแก้ไขป๎ญหาในเรื่องการขาดแคลนเจ้าหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุในบ้านแสนสุขนี้พบว่า
ยังไม่สามารถแก้ไขป๎ญหานี้ได้ เพราะเป๐นตําแหน่งที่รัฐแต่งตั้ง และได้รับเงินเดือนจากรัฐ และมีการกําหนด เกณฑ์จํานวนเจ้าหน้าที่สําหรับดูแลเอาไว้ตายตัวแล้ว ดังนั้นจึงเป๐นไปได้ยากที่จะรับเจ้าหน้าที่เพิ่มเติม
ป๎ญหาอีกอย่างหนึ่งที่พบว่า ขนาดบ้านแสนสุขที่มีขนาดเล็ก ไม่เพียงพอต่อจํานวนผู้สูงอายุที่มารับ บริการ ทําให้มีผู้สูงอายุเพียงบางส่วนเท่านั้นที่มารับบริการอยู่เป๐นประจํา การแก้ไขป๎ญหานี้พบว่า เจ้าหน้าที่ได้ ใช้วิธีการเยี่ยมบ้าน เพื่อเข้าถึงผู้สูงอายุทุกคน พร้อมกับมีอาสาสมัครเข้ามาช่วยด้วย นอกจากนี้ในการขยาย ขนาดบ้านแสนสุขก็ทําได้ยาก เพราะเป๐นสถานที่ที่รัฐจัดหาให้ ดังนั้นซึ่งสิ่งที่ทําได้ในอนาคตคือ การย้ายบ้าน แสนสุขไปอยู่ที่อื่น แต่วิธีการนี้ไม่เหมาะสมกับลักษณะการดูแลผู้สูงอายุแบบไปเช้าเย็นกลับ เพราะมีป๎ญหา เรื่องการเดินทางไปรับบริการของผู้สูงอายุ ดังบทสนทนาดังต่อไปนี้
“ เราก็ไม่รู้จะแก้ไขยังไง เพราะได้ที่มาแค่นี้ ก็อาศัยไปเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่มาไม่ได้แทน”
(เจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ, หญิง)
1.10 ความยั่งยืนของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ
บ้านแสนสุขเป๐นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่ตอบโจทย์กับสภาพสังคมในป๎จจุบันของจีนได้เป๐นอย่างดี ในขณะ ที่ลูกๆ ต้องออกไปทํางานนอกบ้าน และทิ้งให้ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ในบ้านเพียงลําพัง ดังนั้นการมีบ้านแสนสุขจะ ช่วยทําให้ผู้สูงอายุได้มีเพื่อน ไม่เหงา ได้ทํากิจกรรมร่วมกันกับผู้สูงอายุด้วยกันเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทําให้ ชะลอการเจ็บปุวย เพราะได้มีการเคลื่อนไหว ออกกําลังกาย การเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุมีสังคมของผู้สูงอายุ ด้วยกันเอง จากการที่ได้พบปะเพื่อนๆ ที่อยู่ในวัยสูงอายุเหมือนกัน หรือการช่วยให้ผู้สูงอายุมีความสุขใจที่จะมี กําลังใจที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างมีความสุข จากการได้รับความรัก การดูแลเอาใจใส่เป๐นอย่างดีจากสถาน สงเคราะห์คนชรานี้
ถือได้ว่า บ้านแสนสุขนี้เป๐นสังคมของผู้สูงอายุสังคมเล็กๆ ที่เปี๑ยมไปด้วยการแบ่งป๎นความรัก ความสุข ของผู้สูงอายุด้วยกันเอง เจ้าหน้าที่ที่ดูแล รวมถึงคนในชุมชน ที่ให้ความสําคัญกับการดูแลผู้สูงอายุ ดังนั้นบ้าน แสนสุขนี้ก็น่าจะมีความยั่งยืนและดําเนินการต่อไปได้ หากไม่มีเงินสนับสนุนจากรัฐบาล คนในชุมชนก็ให้ ความสําคัญกับสถานที่แห่งนี้ เพราะเป๐นสถานที่ที่เป๐นความต้องการของผู้สูงอายุด้วยกันเองที่จะเข้ามาทํา กิจกรรมร่วมกัน คลายความเหงา และพบความสุข ความสบาย ที่ได้รับจากการดูแลที่นี่ ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่า ศูนย์ ดูแลผู้สูงอายุบ้านแสนสุขนี้ จะมีความยั่งยืนต่อไป และเป๐นสถานที่ที่สนองตอบสถานการณ์การเพิ่มขึ้นของ ผู้สูงอายุจีนได้เป๐นอย่างดี ดังบทสนทนาต่อไปนี้
“เพราะสถานที่แ👉่งนี้เป็นความต้องการของผู้สูงอายุด้วยกันเองที่จะเข้ามาร่วมกัน และพบความสุข และความสบายที่ได้รับการดูแลที่นี่”
(หัวหน้าประจําสถานสงเคราะห์บ้านแสนสุข, หญิง อายุ 60 ปี)
5. ต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุในมณฑลซื่อชวน (Sichuan) เมืองเฉิงตู (Chengdu) เขตเวิน เจียง (Wengjiang)
ภาพประกอบ 18 แผนที่แสดงมณฑลซื่อชวน เมืองเฉิงตู เขตเวินเจียง
2.1 ข้อมูลทั่วไป
เมืองเฉิงตูเป๐นเมืองเอกของมณฑลซื่อชวนหรือเสฉวน ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ําหมินใจกลางมณฑล ประชากรเมืองเฉิงตูมีราว 10 ล้านคน จัดเป๐นอันดับ 3 ของประเทศจีน ป๎จจุบันเป๐นทั้งศูนย์กลางด้านการเมือง การทหาร และด้านการศึกษาของภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อราว 2,000 ปีที่แล้วในสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ ได้มีการ จัดการชลประทานขึ้น เพื่อแก้ไขป๎ญหาน้ําท่วมที่เกิดเป๐นประจําทุกปี เมื่อแก้ไขป๎ญหาน้ําท่วมได้ ชาวนาชาวไร่ เพาะปลูกได้ดี ชีวิตความเป๐นอยู่ดีขึ้น คนจึงเริ่มอพยพมาที่เมืองนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ (ภาพประกอบ 18)
จากการสํารวจสํามะโนประชากรครั้งที่ 6 ของประเทศจีน เมื่อปี ค.ศ.2010 พบว่า เฉินตูเป๐นเมือง อันดับสองที่มีจํานวนผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 1 ล้านคน ในจีน มี 27 มณฑล ที่มีจํานวนผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 65 ปี มากกว่า 1 ล้านคน โดยมีมณฑลเสฉวน เป๐นอันดับ 23
(http://www.cncaprc.gov.cn/en/index.html สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2554) มณฑลเสฉวนเริ่มมีโครงการสร้าง Model เพื่อเป๐นต้นแบบในการดูแลผู้สูงอายุในเขตเวินเจียง
(Wenjiang) ตั้งแต่ปี ค.ศ.2008 ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับการยกย่องจากสํานักงานดูแลผู้สูงอายุในเมืองเฉิงตู เป๐นอย่างมากและถูกส่งเข้าประกวดเพื่อคัดเลือกให้เป๐นต้นแบบในการดูแลผู้สูงอายุของจีน ป๎จจุบันโครงการนี้ อยู่ระหว่างการประกวดการคัดเลือก Model ต้นแบบรอบที่ 3
เขตเวินเจียง (Wenjiang) เปนเขตที่ใหความสําคัญในเรื่องของการดูแลผูสูงอายุ โดยชนะการประกวด การคัดเลือก Model ตนแบบ ในรอบที่ 1 และ 2 และไดรับการยกยองจากสํานักงานดูแลผูสูงอายุในเมืองเฉิงตู
2.2 ลักษณะทั่วไปของพื้นที่ต้นแบบ
“Spirit Home” หรือ “Xin Jia Yuan” ที่นํามาเป๐นต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุในเขตชนบท ใน การศึกษาครั้งนี้ ตั้งขึ้นโดยองค์กรที่ไม่แสวงหาผลประโยชน์ NPO-Non Profit Organization ซึ่งเป๐นหน่วยงาน ภาครัฐ ที่เริ่มก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2008 โดยใช้อาสาสมัคร ขอลงทะเบียนกับกรมการปกครอง เมืองเฉิงตู ศูนย์ ดูแลผู้สูงอายุ หรือ Spirit Home (Xin Jia Yuan) แห่งนี้ เริ่มก่อตั้งขึ้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.2011 โดยมี วัตถุประสงค์หลักเพื่อสาธารณะประโยชน์ทั้งต่อผู้สูงอายุ สตรี เด็ก และคนพิการ แต่จะเน้นเฉพาะผู้สูงอายุเป๐น หลัก ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแห่งนี้มีพื้นที่ทั้งหมด 130 ตารางเมตร โดย 70 ตารางเมตร จะเป๐นพื้นที่สําหรับ ให้บริการผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุกลุ่มดังกล่าวเป๐นเกษตรกรที่ย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ เนื่องจากถูก เวนคืนที่ดินจากรัฐบาล จึงทําให้การดํารงชีวิตของผู้สูงอายุต้องเปลี่ยนแปลงจากอาชีพเดิมที่เคยทํานาทําไร่ กลายเป๐นผู้ว่างงาน เพื่อให้บั้นปลายชีวิตของคนเหล่านี้ใช้ไปได้อย่างคุ้มค่าและมีความสุข จึงทําให้มีการก่อตั้ง Spirit Home ขึ้นในพื้นที่นี้
ที่ตั้งของบ้าน Spirit Home นี้ จะเป๐นสถานที่ที่รัฐบาลจัดหาให้ฟรี ซึ่งถือว่าเป๐นแบบอย่างการ ให้บริการแบบไม่คิดค่าตอบแทน สถานที่ตั้งจะมีลักษณะเป๐นตึกเล็กๆ ซึ่งดูสะอาดตา โปร่ง และมีแสงสว่าง ทั่วถึง ภายในอาคารมีชั้นวางหนังสือสําหรับให้ผู้สูงอายุอ่าน และมีการแสดงรูปภาพกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้สูงอายุ ได้ร่วมกันทํา และมีข้อความภาษาจีนเป๐นจํานวนมาก ถูกแสดงไว้ที่ผนัง ซึ่งเป๐นข้อกําหนดต่าง ๆ ของสถาน สงเคราะห์คนชราแห่งนี้ นอกจากนี้แล้วภายในอาคารยังมีห้องดูโทรทัศน์ขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยเก้าอี้เป๐น จํานวนมากได้รองรับผู้สนใจราว 30-40 ตัว คล้าย ๆ กับห้องดูภาพยนตร์ สําหรับผู้สูงอายุที่มีความชอบในการ ดูโทรทัศน์หรือดูภาพยนตร์ ในขณะเดียวกันก็มีจักรยานสําหรับออกกําลังกาย โต๊ะเขียนหนังสือ ไว้ในห้องต่าง ๆ อีกด้วย (ภาพประกอบ 19)
ภาพประกอบ 19 บ้าน Spirit Home เขตเวินเจียง เมืองเฉิงตู มณฑลซื่อชวน ผู้สูงอายุที่มารับบริการและทํากิจกรรมใน Spirit Home นี้ จะต้องเป๐นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่
อาศัยอยู่ในระแวกใกล้เคียง หรือผู้สูงอายุในเขตอื่นก็สามารถเข้ามารับบริการได้ การเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้สูงอายุจะเป๐นไปด้วยความสมัครใจ หากผู้สูงอายุไม่ประสงค์จะร่วมกิจกรรมใดก็สามารถปฏิเสธการเข้า ร่วมได้ ทางสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุจะไม่มีการบังคับใด ๆ ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามป๎จจุบันมีผู้สูงอายุจํานวนไม่ น้อยที่เห็นความสําคัญและเข้ามารับบริการในสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุแห่งนี้ประมาณ 70-80 คน มีผู้สูงอายุที่ มีอายุเกินหนึ่งร้อยปีจํานวน 3-4 คน ที่เข้ามารับบริการ นอกจากนี้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีสุขภาพดีเพราะเคย ทํางานเกษตรกรรมมาก่อน อย่างไรก็ตามหากมีผู้สูงอายุท่านใดที่ไม่สามารถเข้ามารับบริการที่สถานสงเคราะห์ ผู้สูงอายุแห่งนี้ได้ ก็จะมีอาสาสมัครไปเยี่ยมบ้านเพื่อวัตถุประสงค์ในการดูแลทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และ สังคม
2.3 กิจกรรมและการบริการที่ดําเนินการในพื้นที่ต้นแบบ
กิจกรรมที่ดําเนินการใน Sprit home นี้ มีอยู่หลายกิจกรรม ทั้งเป๐นกิจกรรมเพื่อการบันเทิง และ กิจกรรมเพื่อฝึกทักษะต่าง ๆ ซึ่งผู้สูงอายุสามารถเลือกปฏิบัติได้ตามความชอบ เช่น การมีหนังสือให้อ่าน การดู หนังโดยจะมีโรงหนังขนาดย่อมให้ผู้สูงอายุที่มีความสนใจในการนั่งดูหนังที่ตนสนใจ สถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ แห่งนี้ยังมีพื้นที่กว้างขวางให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางสังคมกับเพื่อนที่อยู่ในวัยสูงอายุด้วยกัน เช่น การเล่นไพ่ นกกระจอก การมีคอมพิวเตอร์ไว้ฝึกทักษะ ซึ่งจะมีอาสาสมัครเข้ามาช่วยสอน เช่นเดียวกับการสอน ภาษาอังกฤษ และสอนการใช้มือถือ นอกจากนี้ก็ยังมีจักรยานออกกําลังกาย โต๊ะเขียนหนังสือ ไว้ในห้องต่าง ๆ ด้วย นอกจากนี้ยังมีการบริการอาหารให้กับผู้สูงอายุ ซึ่งคิดราคาย่อมเยาคือ 5 หยวน ต่ออาหาร 3 อย่าง ซุป 1 อย่าง อย่างไรก็ตามจะพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะกลับไปทานอาหารที่บ้านในตอนกลางวัน และจะกลับมา รับบริการที่สถานสงเคราะห์แห่งนี้ในทุก ๆ วัน (ภาพประกอบ 20)
ภาพประกอบ 20 กิจกรรมผู้สูงอายุ บ้าน Spirit Home มณฑลซื่อชวน เมืองเฉิงตู เขตเวินเจียง Spirit Home แห่งนี้ จะเปิดทําการในวันจันทร์ถึงศุกร์ โดยกิจกรรมที่ผู้สูงอายุได้ทําร่วมกันก่อนเข้ามา
รับบริการที่ Spirit Home นี้ คือ ในตอนเช้าประมาณ 6 โมงเช้า ผู้สูงอายุจะออกมาออกกําลังกายด้วยการรํา ไทเก็ก และกลับบ้าน เมื่อเวลาสายๆ ก็จะออกมาที่บ้าน Spirit Home ซึ่งเป๐นกิจกรรมที่ทําเป๐นประจํา กิจกรรมระหว่างวันก็จะสับเปลี่ยนกันไปตามตารางกิจกรรมที่เจ้าหน้าที่จัดหมุนเวียนกันไป เช่น การตรวจ สุขภาพ การให้ความบันเทิงด้านวัฒนธรรม การกายภาพให้ผู้สูงอายุที่ปุวย เป๐นต้น และตอนเย็นประมาณห้า โมงเย็นผู้สูงอายุก็จะเดินกลับบ้านด้วยตนเอง (ตาราง 4)
ตาราง 4 กิจกรรมหลักของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ Spirit Home
ชื่อรายการ | ผู้ที่สามารถ เข้าใช้ บริการ | เวลาให้บริการ/เวลาทํา การ | เนื้อหาในการให้บริการ | หน่วยงานที่ให้การ บริการ |
การดูแลประจําวัน | ผู้ที่มีอายุ60 ปีขึ้นไป | ย ก เ ว้ น วั น ห ยุ ด เ ส า ร์ , อาทิตย์หรือวันหยุดตาม ราชการ | มีการจัดการดูแลทั้งวัน | พนักงานของศุนย์ ju jia yang lao fu wu zhong xin |
การฟื๒นฟูสมรรถภาพและ การดูแลสุขภาพ | ย ก เ ว้ น วั น ห ยุ ด เ ส า ร์ , อาทิตย์หรือวันหยุดตาม ราชการ | ออกกําลังฟื๒นฟูร่างกายทั้งมือ และเท้า | พนักงานของศุนย์ ju jia yang lao fu wu zhong xin | |
การออกกําลังกาย(ฟิตเนส) | วันอังคาร/วันศุกร์ตอนเช้า | กิ จ ก ร ร ม อ อ ก กํ า ลั ง ก า ย กลางแจ้ง | พนักงานของศุนย์ju jia yang lao fu wu zhong xin | |
วัฒนธรรมและความบัเทิง | ย ก เ ว้ น วั น ห ยุ ด เ ส า ร์ , อาทิตย์หรือวันหยุดตาม ราชการ | ดูหนัง,อ่านหนังสือ,วาดภาพ ,หัดเขียนตัวอักษรจีน,เล่น หมากรุกเป๐นต้น | พนักงานของศุนย์ju jia yang lao fu wu zhong xin | |
อาหารของผู้สูงอายุ | ย ก เ ว้ น วั น ห ยุ ด เ ส า ร์ , อาทิตย์หรือวันหยุดตาม ราชการ | อาหารกลางวันมต้มยา | พนักงานของศุนย์ju jia yang lao fu wu zhong xin | |
บริการทําผม | ทุกเดือนในวันที่20ทั้งวัน | ย้อมผม | ร้านทําผม xin shi ji | |
การจัดส่งสินค้าถึงบ้าน | ย ก เ ว้ น วั น ห ยุ ด เ ส า ร์ , อาทิตย์หรือวันหยุดตาม ราชการ | มีการแบ่งป๎นข้าวสารน้ํามัน ของใช้ในบ้านที่จําเป๐นให้กับ ผู้สูงอายุ | hong zhu ซุปเปอร์ (ร้านขายของชํา) | |
ก า ร เ รี ย น ทั่ ว ไ ป / ก า ร ให้บริการแบบครอบครัว | ย ก เ ว้ น วั น ห ยุ ด เ ส า ร์ , อาทิตย์หรือวันหยุดตาม ราชการ | ซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟูา ทํา ความสะอาด | พ นั ก ง า น ร หั ส 24365 เป๐นผู้ ให้บริการ | |
การให้คําปรึกษาทางด้าน จิตใจ/ใช้จิตวิทยา | นัดล่วงหน้า | การให้คําปรึกษาทางจิตวิทยา การดูแลทางจิตวิญญาณและ การสนับสนุนทางจิตวิทยา พฤติกรรม | ห้องทําการประจํา ถนนหย่งฉวน | |
ให้ความช่วยเหลือสนับสนุน ทางด้านกฏหมาย | นัดล่วงหน้า | ให้คําแนะนําทางกฎหมาย ปกปูองผลประโยชน์ถูกต้อง ตามกฎหมายของผู้สูงอายุ | สํานักงานกฏมาย |
นอกจากนี้ในช่วงเวลาที่นักวิจัยลงพื้นที่ศึกษา Spirit Home ทางศูนย์ฯ จะแสดงตารางกิจกรรมโดย เจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ฯ จะเขียนไว้ที่บอร์ดทางเข้า เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มารับบริการทราบว่าวันนี้จะมีกิจกรรม อะไรบ้าง ซึ่งผู้สูงอายุจะสามารถเลือกทํากิจกรรมได้ตามความต้องการโดยสมัครใจ ซึ่งกิจกรรมก็จะมีการ เปลี่ยนแปลงกันไปตามแต่ละสัปดาห์ ดังต่อไปนี้
ตาราง 5 ตัวอย่างตารางกิจกรรมของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ Spirit Home
วันที่ | เวลา | กิจกรรม |
วันจันทร์ที่ 13 | 8:30-9:00 | ออกกําลังกายตอนเช้า |
9:20-10:20 | ประชุมอาสาสมัคร | |
15:00-16:00 | กิจกรรมถักผ้าพันคอ | |
วันอังคารที่14 | 8:30-9:00 | ออกกําลังกายตอนเช้า |
14:00-16:00 | สัมภาษณ์อาสาสมัคร | |
วันพุธที่15 | 8:30-9:00 | ออกกําลังกายตอนเช้า |
14:00-15:00 | ดําเนินการด้านสิ่งแวดล้อม | |
15:20-16:20 | สัมมนาด้านสิ่งแวดล้อม | |
วันพฤหัสบดี16 | 8: 30-9:00 | ออกกําลังกายตอนเช้า |
9:30-10:30 | บรรยายวัฒนธรรมประจําชาติ | |
14:00-16:00 | กิจกรรมแจกโทรศัพท์มือถือ | |
วันศุกร์ที่17 | 8: 30-9:00 | ออกกําลังกายตอนเช้า |
9:30-10:30 | ร้องเพลง | |
14:00-16:00 | ดูภาพยนตร์ |
ขอใ👉้ผู้สูงอายุทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง มีความสุขมากๆ
ศูนย์ใ👉้การดูแลผู้สูงอายุประจําเฉิงตู วันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2557
กิจกรรมการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ
กิจกรรมที่เป๐นจุดเด่นของ Spirit Home อีกอย่างหนึ่งคือ การเยี่ยมบ้าน สําหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถ มารับบริการได้ด้วยตนเอง Spirit Home แห่งนี้ จะดูแลผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามโซนต่างๆ มีลักษณะแบบ คอนโดมิเนียม ซึ่งประกอบด้วย โซน A B C และ D ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในโซนดังกล่าวมี จํานวนทั้งสิ้น 1,100 คน จากประชากรทั้งหมดที่เป๐นกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการเวนคืนที่ดินจากรัฐบาลจํานวน 8,200 คน ที่อาศัยอยู่ในโซนดังกล่าว ที่รัฐบาลสร้างขึ้นเพื่อทดแทนที่อยู่อาศัยเดิม ผู้สูงอายุที่เจ้าหน้าที่ไปเยี่ยม บ้านนั้น ส่วนใหญ่จะเป๐นผู้สูงอายุที่มีการเจ็บปุวย ไม่สามารถเคลื่อนไหวไปมาได้ด้วยตนเอง เจ้าหน้าที่ประจํา ศูนย์ฯ กับอาสาสมัคร จะลงพื้นที่เพื่อไปเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มดังกล่าว ในทุกวันอังคารตอนบ่าย ทั้งนี้ในแต่ละครั้ง ที่ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ จะมีอาสาสมัครประมาณ 5-8 คน เข้าร่วมเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุด้วย โดย อาสาสมัครจะประกอบด้วยบุคคลในวัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป๐นวัยเด็ก วัยทํางาน รวมถึงวัยผู้สูงอายุที่มีความแข็งแรง และมีใจรักที่จะไปเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมารับบริการที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุนี้ได้ สําหรับ อาสาสมัครที่ลงพื้นที่ไปเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุกับเจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ฯ ด้วยนั้น จะมีชุดเครื่องแบบเพื่อแสดงถึง การเป๐นอาสาสมัครคือ เสื้อกั๊ก และหมวกสีน้ําเงิน (ภาพประกอบ 21)
ภาพประกอบ 21 อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุตามบ้านในมณฑลซื่อชวน เมืองเฉิงตู เขตเวินเจียง สําหรับกิจกรรมที่ทําในการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุจะมีความแตกต่างกันตามความเหมาะสมและความชอบ
ของผู้สูงอายุแต่ละคนเป๐นพื้นฐาน ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุจะต้องผ่านขั้นตอนการสํารวจ และการเยี่ยม บ้านผู้สูงอายุมาหลายครั้ง เพื่อให้ได้กิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละคน
นักวิจัยได้มีโอกาสติดตามเจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ Spirit Home พร้อมกับอาสาสมัครจํานวน 8 ท่าน ลง พื้นที่เพื่อไปเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่ไม่สามารถมารับบริการที่ศูนย์ฯ ได้ ซึ่งนักวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ฯ จะให้การดูแลและเอาใจใส่กับผู้สูงอายุกลุ่มดังกล่าวเป๐นอย่างมาก กิจกรรมที่ไปทํากับผู้สูงอายุกลุ่มนี้ก็จะเป๐น การไปพูดคุยเพื่อให้ผู้สูงอายุคลายเหงา การเลือกทํากิจกรรมที่ผู้สูงอายุท่านนั้นชอบ เช่น ผู้สูงอายุที่ชอบร้อง เพลง เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครก็จะไปร้องเพลงกับผู้สูงอายุ หรือในกรณีที่ผู้สูงอายุร่างกายไม่แข็งแรง ไม่ สามารถเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว กิจกรรมที่ทําก็จะเป๐นการไปช่วยผู้สูงอายุออกกําลังกายมือเบา ๆ ในท่าต่าง ๆ เป๐นการกายภาพบําบัดให้กับผู้สูงอายุได้มีการเคลื่อนไหว นอกจากนี้ก็จะมีการไปช่วยผู้สูงอายุทําความ สะอาดบ้าน เล่นเกมส์ และให้คําปรึกษา เป๐นต้น ทั้งนี้กิจกรรมย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของ ผู้สูงอายุ
“เราจะจัดกิจกรรมใ👉้ตามที่ผู้สูงอายุต้องการ กว่าเรา จะทราบว่าผู้สูงอายุชอบอะไร เราก็ต้องมา👉าท่าน👉ลายครั้ง แล้วพอเราแน่ใจว่าท่านชอบอะไร เมื่อเรามาอีก เราก็มาทํากิจกรรมนั้นใ👉้เค้า อย่างวันนี้ผู้สูงอายุเค้าชอบร้องเพลง ทุกครั้งที่เรามาก็จะมาร่วมร้องเพลงกัน ซึ่ง ผู้สูงอายุก็ดูมีความสุข และสนุกเพราะมีเพื่อนคุยด้วย”
(เจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ, หญิง)
2.4 กระบวนการเข้ามารับบริการของผู้สูงอายุ
ในช่วงแรกผู้สูงอายุจะยังไม่ทราบว่ามีศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแห่งนี้ เจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ฯ ก็จะต้องใช้เวลา และมีความอดทนในการเข้าถึงผู้สูงอายุเพื่อประชาสัมพันธ์ และชี้ให้ผู้สูงอายุรวมถึงลูกหลานของผู้สูงอายุเห็น ประโยชน์ในการเข้ามารับบริการ เมื่อมีผู้สูงอายุกลุ่มแรก ๆ มาใช้บริการ ก็จะมีการบอกต่อ ๆ กันไป ถึงข้อดี และกิจกรรมที่ทางศูนย์ฯ ให้บริการ จนป๎จจุบันการดําเนินการของ Spirit Home นี้ ได้รับการยอมรับ และ ผู้สูงอายุเกือบทุกคนได้เข้ามาใช้บริการโดยสมัครใจ ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถมารับบริการที่ศูนย์ฯ ก็ตาม ทั้งนี้ กระบวนการเริ่มแรกในการประชาสัมพันธ์ให้ผู้สูงอายุเข้ามารับบริการกับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุนั้นมีความสําคัญ เพราะเป๐นเรื่องยากที่จะทําให้ผู้สูงอายุและลูกหลานของผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกไว้วางใจ และเชื่อมั่นว่าผู้สูงอายุ ที่มารับบริการจะได้รับความสุข ดังนั้นจุดเริ่มต้นในการตั้งศูนย์บริการผู้สูงอายุเป๐นเรื่องสําคัญมาก การทํางาน โดยไม่หวังผลกําไรของ NPO และเข้าถึงใจผู้สูงอายุในชุมชนทําให้การดําเนินงานนี้มีความราบรื่น ผู้สูงอายุ เกือบทุกคนให้การตอบรับ และบอกต่อกัน รวมถึงการที่ให้คนในชุมชนรู้สึกว่าตนเองเป๐นเจ้าของศูนย์ฯ โดยการ เปิดโอกาสให้คนในชุมชนเข้ามาเป๐นอาสาสมัครในการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่ไม่สามารถมารับบริการได้ กระบวนการทํางานดังกล่าว จึงทําให้การดําเนินงานของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ Spirit Home ประสบความสําเร็จ ในทุกวันนี้
“ตอนแรกก็ยากเ👉มือนกันกว่าพวกเค้าจะยอมรับและเข้ามาทํากิจกรรมที่ศูนย์ พอมีผู้สูงอายุบางส่วน มารับบริการ พอเค้าเ👉็นว่าดี ก็ไปบอกต่อกันเรื่อย ๆ จนตอนนี้มีมากันเยอะแล้ว”
(เจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ, หญิง)
2.5 การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ภาครัฐ เอกชน
Spirit Home มีอาสาสมัครชุมชนเข้ามาช่วยดูแลผู้สูงอายุทั้งในศูนย์ดูแลฯ และการออกไปเยี่ยมบ้าน ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมารับบริการได้ ป๎จจุบันมีอาสาสมัครทั้งหมดประมาณ 30 คน ที่สับเปลี่ยนกัน ออกไปเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุเมื่อตนเองว่างจากการทํางาน และในแต่ละครั้งจะมีอาสามัครเข้าไปเยี่ยมบ้าน ผู้สูงอายุประมาณ 5-8 คน นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาจีน หรือชาวต่างชาติเข้ามาเป๐นครูอาสาสมัครเพื่อสอน ทักษะต่างๆ กับผู้สูงอายุ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ มือถือ เรียนภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง เป๐นต้น
นอกจากนี้ในบางครั้งจะมีเจ้าหน้าที่ของ Civil Affairs เข้ามาตรวจสอบมาตรฐาน และการบริการของ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแห่งนี้อยู่เป๐นประจํา จึงทําให้เกิดความเชื่อมั่นได้ว่า ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแห่งนี้มีความเป๐น มาตรฐาน มีการบริการที่ดี จึงได้รับความเชื่อมั่นจากคนในชุมชนว่าจะมาช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุให้ดี ขึ้น
2.6 การให้บริการของเจ้าหน้าที่ในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
บ้าน Spirit Home แห่งนี้ มีเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 5 คน ประกอบด้วย หัวหน้าโครงการ 1 คน ผู้ช่วย หัวหน้าโครงการ 2 คน และพนักงานทําความสะอาด ทําอาหาร 2 คน เจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ฯ ที่ดูแลผู้สูงอายุ เป๐นหลักจะมี 2 คน ในแต่ละวันเจ้าหน้าที่จะทําหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุที่มาทํากิจกรรมในทุก ๆ วัน ไม่ว่าจะ เป๐นในเรื่องการอํานวยความสะดวกต่าง ๆ การนํากิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางศูนย์ฯ ได้จัดขึ้น หรือแม้กระทั่งการให้ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ และความรู้กับผู้สูงอายุ
ผู้ดูแลศูนย์ดูแลผู้สูงอายุนี้ จะมีหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุที่มารับบริการในทุกๆ วัน โดยมีหน้าที่ในการ จัดกิจกรรมต่าง ๆ ดังตารางกิจกรรมที่ได้กําหนดไว้ล่วงหน้าแต่ละอาทิตย์ อย่างไรก็ตามกิจกรรมดังกล่าวจะ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้สูงอายุเองว่าชอบทํากิจกรรมดังกล่าวหรือไม่
เมื่อศึกษาเหตุผลที่เข้ามาทํางานศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ Spirit Home นี้ ก็ได้รับคําตอบว่า เป๐นเพราะรัก การทํางานนี้ และคิดว่าหากตนเองดูแลผู้สูงอายุได้ดี พ่อแม่ของตนก็จะมีคนดูแลที่ดีด้วย ดังบทสนทนา ดังต่อไปนี้
“ฉันเพิ่งเรียนจบมาด้านนี้โดยตรง และมาทํางานนี้เพราะใจรัก ฉันคิดว่าผู้สูงอายุกลุ่มนี้ก็เสมือนพ่อแม่ ของฉัน 👉ากฉันดูแลพวกท่านดี ก็เ👉มือนว่าฉันได้ดูแลพ่อแม่ที่ดีด้วย ซึ่งฉันก็คาด👉วังว่าการที่ฉันดูแลผู้สูงอายุดี ก็จะทําใ👉้มีคนดูแลพ่อแม่ฉันอย่างดีด้วยเ👉มือนกัน”
(เจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ, หญิง)
2.7 ผลสําเร็จของชุมชนต้นแบบ
Spirit Home ได้รับการพิจารณาจากเมืองเฉิงตูว่า เป๐นหน่วยงานดีเด่นเป๐นเลิศในด้านกลุ่มทางสังคม เมื่อปี 2012 ดังนั้นจึงมีหลายหน่วยงานให้ความสนใจและมาศึกษาดูงานใน Spirit Home ชี้ให้เห็นว่าสถาน สงเคราะห์นี้น่าจะมีรูปแบบการดําเนินงานที่ดี และเป๐นต้นแบบที่ดีในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งเจ้าหน้าที่ดูแล ผู้สูงอายุก็มีความรู้สึกเป๐นเกียรติเป๐นอย่างมาก และดีใจที่ได้รับรางวัลนี้ ดังบทสนทนาดังต่อไปนี้
“พวกเราไม่เคยประกาศใ👉้คนอื่นรู้ แต่ก็เคยแปะเอาไว้ วางรูปเอาไว้ ความรู้สึกก็คือรู้สึกว่าเป็นเกียรติมากที่ได้ ทํางานที่นี่”
(เจ้าหน้าที่ประจําสถานสงเคราะห์ฯ, หญิง) นอกจากนี้ผลสําเร็จที่ทําให้ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแห่งนี้ประสบความเร็จ และบรรลุเปูาหมายในเรื่องการ
ดูแลผู้สูงอายุ คือ ความสุขของผู้สูงอายุที่มารับบริการ ซึ่งพบว่า ผู้สูงอายุทุกคนมาเข้ารับบริการโดยสมัครใจ มี ความสุขทั้งทางกาย และจิตใจ ที่ได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ เพิ่มขึ้น และได้มาทํากิจกรรมร่วมกัน ดังบทสนทนาต่อไปนี้
“การมาที่บ้าน Spirit Home ทําใ👉้ได้รู้จักคนมากขึ้น มี👉ลายกิจกรรมใ👉้ทํา รู้สึกมีความสุขมาก ได้ รู้จักคนมากขึ้น”
(ผู้สูงอายุที่มารับบริการ, ชาย 80 ปี)
“การมาอยู่ที่นี่ทําใ👉้พวกเรามีเพื่อน มีสังคม ได้ใช้ความคิด ดีกว่าการอยู่บ้านเฉยๆ ตามลําพัง ไม่มี เพื่อนรุ่นเดียวกันใ👉้พูดคุย อยู่ที่นี่จึงทําใ👉้มีความสุขมากขึ้น”
(ผู้สูงอายุที่มารับบริการ, หญิง 75 ปี)
2.8 จุดเด่นของพื้นที่ที่นํามาศึกษาเป็นต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุ
จากการวิเคราะห์การดําเนินงานที่เป๐นต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุในบ้าน Spirit Home สามารถสรุป จุดเด่นที่สามารถนํามาเป๐นต้นแบบในการดูแลผู้สูงอายุ ในเรื่องดังต่อไปนี้
1) การให้การบริการที่ดี และเป๐นมาตรฐานของเจ้าหน้าที่ที่เป๐นผู้ดูแลผู้สูงอายุ
2) เจ้าหน้าที่จะมีประสบการณ์ในการทํางาน และเรียนจบเอกสังคมสงเคราะห์ รวมถึงได้รับการอบรม หลักสูตรในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ ดังนั้นจึงทําให้มีการดูแลผู้สูงอายุอย่างดีเยี่ยม และผู้สูงอายุก็มีความสุข
3) กิจกรรมที่ได้จัดบริการให้ผู้สูงอายุจะมีความโดดเด่น เพราะกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป๐นการเล่นไพ่ นกกระจอกหรือการทํากิจกรรมร่วมกัน จะไม่มีการเกี่ยวข้องกับการพนันทั้งสิ้น
4) การลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุเป๐นกิจกรรมที่ Spirit Home ทําเป๐นประจําทุกอาทิตย์ เป๐นการ เข้าถึงกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่สามารถมารับบริการได้เอง ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุนี้มีการบริการที่ ทั่วถึงกับผู้สูงอายุทุกกลุ่ม
2.9 ปัญหาและความต้องการผู้สูงอายุในพื้นที่ต้นแบบ
ป๎ญหาที่พบใน Spirit Home คือ ยังมีผู้สูงอายุหลายคนในพื้นที่นี้ที่ไม่ได้เข้ามาใช้บริการ เพราะชุมชน โดยรอบ 4 ชุมชนนี้จะมีผู้สูงอายุมากกว่า 1,000 คน จึงทําให้ไม่สามารถบริการได้ทั่วถึง
ในการแก้ไขป๎ญหาการให้การบริการที่ไม่ทั่วถึงนี้ ทางบ้าน Spirit Home ได้มีการลงเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ พร้อมกับอาสาสมัครสําหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมารับบริการได้ ซึ่งก็เป๐นวิธีการที่ทําให้ดูแลผู้สูงอายุได้ ทั่วถึงขึ้น และทําให้ผู้สูงอายุมีความสุข ถึงแม้ว่าจะอยู่ในบ้านของตนเองก็ตาม
2.10 ความยั่งยืนของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ
การมีอาสาสมัครที่เป๐นคนในชุมชน ในการเข้ามาช่วยให้บริการผู้สูงอายุเพื่อลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ที่ไม่สามารถมารับบริการได้นั้น จะทําให้การดําเนินการดูแลผู้สูงอายุมีความยั่งยืน และดําเนินการต่อไปได้ หาก ในอนาคตหน่วยงานที่เข้ามาช่วยดูแลผู้สูงอายุ หรือ Spirit Home ได้หยุดดําเนินการ ซึ่งอาจเป๐นเพราะการที่ มองเห็นว่า ชุมชนนี้มีความเข้มแข็ง และชุมชนสามารถที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชนของตนได้ ดังนั้นการทํา ให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมดูแลผู้สูงอายุในชุมชน จะทําให้พวกเขาเกิดความรู้สึกหวงแหน และความตั้งใจที่ จะช่วยกันดูแลคนในชุมชน ซึ่งเป๐นเรื่องที่ดีหากมีหน่วยงานภาครัฐดังกล่าวเข้ามาช่วยเป๐นพี่เลี้ยงในช่วงแรก และเมื่อชุมชนสามารถยืนได้ด้วยตนเอง ก็จะสามารถดําเนินการต่อไปได้ ก็จะทําให้ทุกคนในชุมชนหันมาดูแล ซึ่งกันและกัน ชุมชนนั้นก็จะมีความยั่งยืน และมีความสามัคคีขึ้น
6. บทวิเคราะห์
ต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุในลักษณะไปเช้าเย็นกลับของทั้งสองพื้นที่ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เทศบาล นครซ่างไห่ (Shanghai) เขตจิ้งอัน (Jing’an) และมณฑลซื่อชวน (Sichuan) เมืองเฉิงตู (Chengdu) เขตเวิน เจียง จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลทั้งสองพื้นที่ได้ข้อค้นพบดังต่อไปนี้
1. การบริการในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุย่อมมีความแตกต่างกันไปตามบริบทในแต่ละชุมชน และที่มาของ การก่อตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เขตจิ้งอัน เริ่มต้นให้ความสําคัญกับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในปี ค.ศ. 2010 ซึ่งรัฐบาล เขตจิ้งอันได้ลงนามในสัญญาข้อตกลงกับรัฐบาลเทศบาลนครซ่างไห่ให้พัฒนาเขตจิ้งอันเป๐นเขตตัวอย่างในการ ดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในเขตจิ้งอันนี้ (Home Care) เป๐น 1 ใน 13 ชุมชนในเทศบาลนครซ่างไห่ ที่ ได้รับรางวัลชุมชนต้นแบบในการดูแลผู้สูงอายุประจําปี ค.ศ.2011 และให้บริการผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตจิ้งอัน สําหรับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในเขตเวินเจียง (Spirit Home) นั้น ตั้งขึ้นโดยองค์กรที่ไม่แสวงหาผลประโยชน์ NPO- Non Profit Organization ซึ่งเป๐นหน่วยงานภาครัฐ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสาธารณะประโยชน์ทั้งต่อ ผู้สูงอายุ สตรี เด็ก และคนพิการ ที่เป๐นเกษตรกรที่ย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ เนื่องจากถูกเวนคืนที่ดินจาก รัฐบาล แต่จะเน้นเฉพาะผู้สูงอายุเป๐นหลัก เห็นได้ว่า ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุทั้งสองพื้นที่มีความแตกต่างกันในเรื่อง ของบริการ ผู้สูงอายุในเขตจิ้งอัน ซึ่งอยู่ในเขตเมืองจะต้องการบริการอาหารจากศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ในขณะที่ ผู้สูงอายุในเขตเวินเจียงจะต้องการบริการอาหารเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ทั้งนี้อาจเป๐นเพราะลักษณะที่ตั้งของ Spirit Home ในเขตเวินเจียง จะตั้งในบริเวณเขตที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ มีความเงียบสงบ ไม่มีรถผ่านไปมา ซึ่งทําให้ผู้สูงอายุสามารถเดินไปมาได้ง่าย ซึ่งทําให้ผู้สูงอายุสามารถเดินกลับไปรับประทานอาหารกลางวันที่ บ้านของตนได้ ในขณะที่ Home Care ในเขตจิ้งอัน จะมีลักษณะเป๐นตึกสูง รถพลุกพล่าน เพราะอยู่ในเขต เมือง จึงทําให้ผู้สูงอายุเกิดความยากลําบากในการเดินกลับไปรับประทานอาหารกลางวันที่บ้าน ผู้สูงอายุส่วน ใหญ่จึงเลือกที่จะรับบริการอาหารกลางวันจากศูนย์ดูแลผู้สูงอายุมากกว่า
2. ถึงแม้ว่าการดูแลผู้สูงอายุของทั้งสองพื้นที่จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของความเป๐นเมือง แต่ จุดเด่นของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุทั้งสองแห่งที่มีเหมือนกันคือ การให้บริการด้วยใจรักของเจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ดูแล ผู้สูงอายุ ที่มีความตั้งใจทํางานนี้ด้วยใจรัก ไม่ได้นึกถึงเงินเดือนที่จะได้รับ และมีความเข้าใจในสภาพสังคมจีนใน ป๎จจุบันว่า ผู้สูงอายุจะต้องอาศัยอยู่คนเดียว อันเนื่องมาจากลูกหลานไปทํางานในเมือง การดูแลผู้สูงอายุให้มี ความสุขเสมือนกับดูแลพ่อกับแม่ของตน ทําให้การปฏิบัติหน้าที่เพื่อดูแลผู้สูงอายุเต็มไปด้วยความรัก และเอา ใจใส่ ไม่มีป๎ญหาในเรื่องการทําร้ายผู้สูงอายุ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุที่เข้ามาทํางานจะไม่ได้คิดในเรื่องเงิน หรือค่าตอบแทน ทําด้วยความสมัครใจ ซึ่งมีเหตุป๎จจัยในการทํางานนี้คือ
2.1) เป๐นคนรักเด็ก รักที่จะดูแลผู้สูงอายุเสมือนเป๐นพ่อแม่ของตน ไม่ได้รู้สึกว่าเป๐นภาระที่จะต้องดูแล
ผู้สูงอายุ
2.2) มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุ หรือการดูแลเด็กมาก่อน เช่น เป๐นครูอนุบาล
2.3) ภูมิหลังของครอบครัวที่ต้องอาศัยอยู่ห่างไกลพ่อแม่ จึงทําให้มีความเชื่อว่า “หากตนเองดูแล
ผู้สูงอายุได้ดี ก็เหมือนว่าได้ดูแลพ่อแม่ที่ดีด้วย รวมทั้งพ่อแม่ของตนก็จะมีคนดูแลที่ดีด้วยเช่นกัน”
3. การเปลี่ยนผ่านสังคมจีนจากครอบครัวใหญ่มาเป๐นครอบครัวเดี่ยวตามนโยบายลูกคนเดียว ทําให้ ผู้สูงอายุมีรูปแบบการอยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงไป การอยู่คนเดียว หรืออยู่กันโดยลําพังของผู้สูงอายุ จึงพบเห็นได้ ทั่วไปทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนในรูปแบบต่างๆ จึงได้รับการยอมรับ อย่างกว้างขวางในสังคมจีนป๎จจุบัน เพื่อรองรับผู้สูงอายุที่ต้องการผู้ดูแลทั้งในลักษณะแบบไปเช้าเย็นกลับหรือ การอยู่อาศัยประจําในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามจากการศึกษานี้พบว่า รูปแบบการอยู่อาศัยแบบไปเช้า เย็นกลับของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุทั้งสองแห่งนี้ สามารถรองรับผู้สูงอายุในชุมชนได้เป๐นอย่างดี เพราะลักษณะการ ตั้งศูนย์ดูแลฯ จะอยู่ในชุมชนที่ผู้สูงอายุสามารถเดินมารับบริการเองได้ ดังนั้นจากการศึกษาจึงพบว่าผู้สูงอายุ เกือบทุกคนจะเดินมารับบริการด้วยตนเองในตอนเช้า และเดินกลับเองในตอนเย็น ซึ่งทําให้ผู้สูงอายุรู้สึกมี ความสุข ที่ยังคงได้อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดิมๆ ไม่ต้องไปอาศัยอยู่ที่อื่น อีกทั้งยังได้มีสังคมเพื่อนใหม่ที่มีอายุ ใกล้เคียงกัน มาทํากิจกรรมร่วมกัน เสมือนกับมาโรงเรียนในตอนเช้าและกลับตอนเย็น
เมื่อเปรียบเทียบการดูแลผู้สูงอายุของประเทศไทยในลักษณะไปเช้าเย็นกลับแล้วจะคล้ายคลึงกับชมรม ผู้สูงอายุที่มีอยู่ในทุกตําบลของประเทศไทย ที่มีลักษณะการดูแลผู้สูงอายุทางด้านสังคม โดยให้มาร่วมกันทํา กิจกรรม อย่างไรก็ตามสิ่งที่มีความแตกต่างกันคือ กิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุจะไม่ได้มีเป๐นประจําทุกวัน โดย ปกติแล้วในแต่ละตําบลจะมีจัดขึ้นเดือนละครั้งเพื่อให้ผู้สูงอายุได้มาทํากิจกรรมร่วมกัน นอกจากนี้ยังพบว่า ลักษณะการเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรมของผู้สูงอายุไทย จะไม่ได้เดินมาเข้าร่วมกิจกรรมด้วยตนเองเท่าไรนัก ส่วนมากจะมีลูกหลานมาส่ง และมารับกลับ ทั้งนี้อาจเป๐นเพราะศูนย์กลางหรือสถานที่ตั้งสําหรับทํากิจกรรม ของชมรมผู้สูงอายุอาจอยู่ไกลเกินกว่าที่ผู้สูงอายุจะเดินทางมาเองได้ นอกจากนี้จะพบว่าบริบทของสังคมไทย และสังคมจีนมีความแตกต่างกันในเรื่องของรูปแบบการอยู่อาศัย ผู้สูงอายุไทยจะยังคงอาศัยอยู่กับลูกหลาน และชอบที่จะอยู่กับบ้าน ไม่ต้องการที่จะเดินทางไปไหน แตกต่างกับผู้สูงอายุจีนที่มีความกระตือรือร้นมารับ บริการด้วยตนเอง ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ทําเลที่ตั้งของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุมีความสําคัญเป๐นอย่างมากที่จะทําให้ ผู้สูงอายุมีความต้องการมารับบริการหรือไม่ ทั้งนี้ก็ย่อมขึ้นอยู่กับบริบทของสังคมที่แตกต่างกันนั่นเอง
4. สาขาที่เรียนจบของผู้ดูแลในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุมีความสําคัญต่อการให้การบริการผู้สูงอายุ จะเห็นได้ ว่า เจ้าหน้าที่ที่ดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ต้นแบบทั้งสองแห่งจะเรียนจบสาขาที่เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุโดยตรง นั่น คือ สาขาสังคมสงเคราะห์ ทั้งนี้การมีผู้ดูแลที่มีความเชี่ยวชาญ และมีความรู้ในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ จะทําให้มี การดูแลผู้สูงอายุด้วยใจรัก และมีจิตวิญญาณในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อสภาพร่างกายและ จิตใจของผู้สูงอายุที่มารับบริการอีกด้วย นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ประจําศูนย์ดูแลผู้สูงอายุทุกคนจะผ่าน กระบวนการอบรมในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุก่อนจะเข้ามาทํางานเพื่อดูแลผู้สูงอายุจริง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการ ดูแลผู้สูงอายุที่ได้มาตรฐาน และการบริการที่เป๐นมืออาชีพ
5. การให้การบริการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ถือว่าเป๐นหัวใจในการดูแลผู้สูงอายุจีน สําหรับผู้สูงอายุที่ไม่ สามารถมารับบริการได้ที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งทําให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกว่าตนเองไม่ถูกทอดทิ้ง ซึ่งศูนย์ดูแล ผู้สูงอายุทั้งสองแห่ง ที่เป๐นอยู่ในเมืองและชนบทได้ให้ความสําคัญกับการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ และมีการจัดตาราง ไปเยี่ยมบ้านในทุกอาทิตย์ สัปดาห์ละสองครั้ง
6. การมีอาสาสมัครในชุมชนเข้ามาช่วยดูแลผู้สูงอายุทั้งในศูนย์และการลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทําให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างชุมชนและภาครัฐในการเข้ามามีบทบาทเพื่อ ช่วยเหลือและดูแลคนในชุมชนของตน การเปิดโอกาสให้คนในชุมชนเข้ามาเป๐นอาสาสมัครนั้น นอกจากจะทํา ให้เกิดความสามัคคีกันในชุมชน และการได้พบปะ ทําความรู้จักกับคนในชุมชนเดียวกันแล้ว ยังทําให้เกิดความ เอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งจะส่งผลทําให้การดูแลผู้สูงอายุนี้มีความยั่งยืนต่อไปในอนาคต หาก ภาครัฐที่เป๐นผู้มาตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุดังกล่าวได้ออกไปจากพื้นที่เพื่อไปจัดบริการให้กับผู้สูงอายุในพื้นที่แห่งอื่น คนที่เป๐นอาสาสมัครเองก็จะสามารถสานต่อเจตนารมย์การให้บริการผู้สูงอายุดังกล่าวได้ ดังนั้นการมี อาสาสมัครเข้ามาร่วมทํากิจกรรมต่าง ๆ หรือช่วยดูแลผู้สูงอายุนี้เป๐นสิ่งที่ดี และสมควรที่จะนําเป๐นต้นแบบใน การดูแลผู้สูงอายุ ในขณะที่สังคมไทย ก็จะมีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (มผส.) ในแต่ละหมู่บ้าน เพื่อดูแล ช่วยเหลือผู้สูงอายุ เฝูาระวังและเตือนภัย รวมทั้งการจัดบริการและสวัสดิการ แต่หากเปรียบเทียบรูปแบบของ กิจกรรมในการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุของสังคมจีนกับไทยจะมีความแตกต่างกัน คือ มผส.ของไทย จะมีการแต่งตั้ง ตําแหน่งอย่างเป๐นทางการ หมู่บ้านละหนึ่งคน แต่ มผส.ของจีน จะไม่มีการแต่งตั้งอย่างเป๐นทางการ แต่มี อาสาสมัครจํานวนมากที่มีความตั้งใจเข้ามาดูแลผู้สูงอายุ นอกจากนี้ลักษณะกิจกรรมก็ยังมีความแตกต่างกัน คือ มผส.ไทย จะเป๐นการไปเยี่ยมบ้านเพื่อพูดคุย ช่วยเหลือ และจัดบริการ สวัสดิการต่างๆ แต่ในขณะที่ มผส. จีน จะมีการทํากิจกรรมที่นึกถึงความต้องการ และความชอบของผู้สูงอายุเป๐นหลัก จะไม่ได้เน้นบริการและ สวัสดิการเพียงอย่างเดียว แต่เน้นการให้การบันเทิง เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความสุข เช่น การร้องเพลง เต้นรํา เล่น ไพ่ หรือเล่นเกมส์ ตามความชอบของผู้สูงอายุแต่ละคน ดังนั้นในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน มผส.ไทย อาจนํา กิจกรรมของ มผส.จีน ดังกล่าวไปปรับใช้กับผู้สูงอายุไทย โดยเฉพาะในเรื่องการให้ความบันเทิงใจ เพื่อให้ ผู้สูงอายุคลายความเหงา ซึ่งจะทําให้ผู้สูงอายุมีความสุขมากขึ้น
7. ในการจัดที่อยู่อาศัยให้กับผู้สูงอายุของจีน โดยเฉพาะการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่อยู่ในคอนโดมี เนียม จะมีการจัดสรรห้องพักโดยนึกถึงสภาพร่างกาย และสุขภาพของผู้สูงอายุเป๐นสําคัญ นั่นคือ สําหรับ ผู้สูงอายุหรือประชาชนที่มีสภาพร่างกายไม่แข็งแรง ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเอง รัฐบาลจะมีการจัดสรร โดยให้อาศัยอยู่ในชั้นล่าง และสําหรับผู้สูงอายุที่สามารถช่วยตัวเองได้ ก็จะอาศัยอยู่ชั้นที่สูงขึ้น
บทที่ 5
กิจกรรมทางสังคม: ความเข้าใจ และปัจจัยทสนับสนุนให้ผู้สูงอายุจีนมีศักยภาพ
1. ความเข้าใจในเรื่อง “กิจกรรมทางสังคม”
“มนุษย์เป็นสัตว์สังคม”...มนุษย์โดยสภาพธรรมชาติจะต้องมีชีวิตอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่น ๆ ติดต่อ สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ไม่สามารถดํารงชีวิตอยู่อย่างอิสระตามลําพังแต่ผู้เดียวได้...และนั่นทําใ👉้สังคมเกิดขึ้น...
-- อริสโตเติล (Aristotle) –
จากคํากล่าวข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า เรา ในฐานะมนุษย์ มิอาจใช้ชีวิตอยู่ได้โดยลําพัง สังคมกับมนุษย์ จะแยกจากกันไม่ได้ ต้องพึ่งพาอาศัย สร้างความสัมพันธ์ และกระทําต่อกันทางสังคมเพื่อประโยชน์แห่งตนและ สังคมที่เราเป๐นส่วนหนึ่งอยู่ด้วย
เมื่อเป๐นเช่นนี้ “กิจกรรมทางสังคม” จึงถือเป๐นสิ่งสําคัญประการหนึ่ง ที่ชักนํามนุษย์ให้มารวมตัวกัน สร้างความสัมพันธ์ให้เป๐นรูปแบบ และกลายเป๐นสังคมในท้ายที่สุด จึงมิอาจจะปฎิเสธได้ว่า หากจะพยายามทํา ความเข้าใจผู้คนในที่ใดที่หนึ่งให้ได้นั้น จําเป๐นอย่างยิ่งที่เราจะต้องเข้าใจความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นให้ได้ก่อน เพราะ มนุษย์สะท้อนภาพตนเอง จากการสัมพันธ์กับสังคมและผู้คนรอบข้าง (George H. Mead)
การศึกษาเพื่อทําความเข้าใจกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุในประเทศจีนครั้งนี้ คณะผู้วิจัยจึงเล็งเห็น ความสําคัญที่จะทําความเข้าใจกิจกรรมทางสังคมที่มีอยู่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุที่ได้ช่วย สนับสนุนให้พวกเขามีศักยภาพ เพื่อนํามาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สําหรับประเทศไทยได้ต่อไปในอนาคต
1.1 นิยามกิจกรรมสังคมของผู้สูงอายุ
มีผู้ที่กล่าวถึง และให้คํานิยามที่เกี่ยวข้องกับคําว่า “กิจกรรมทางสังคม” ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ พฤฒินันท์ เหลืองไพบูลย์ (2530) กล่าวไว้ว่า ชมรมผู้สูงอายุเป๐นลักษณะการจัดสวัสดิการสังคม
สําหรับผู้สูงอายุรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีจุดหมายที่สําคัญ เพื่อเป๐นการกระตุ้นให้ผู้สูงอายุได้มีการรวมตัวกัน เพื่อการ พัฒนาตนเอง และพัฒนาสังคมท้องถิ่น โดยมีสถาบันครอบครัว และชุมชนเป๐นสถาบันพื้นฐานในการ ดําเนินการ
กิจกรรม หมายถึง การที่บุคคลพอใจ และกระทําการต่าง ๆ ในชีวิตประจําวันของตน โดยทฤษฎี สําหรับกิจกรรม เชื่อว่ากิจกรรมเป๐นสิ่งที่สําคัญสําหรับคนทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยสูงอายุ เนื่องมาจาก กิจกรรมเป๐นสิ่งที่ทําให้สุขภาพของผู้สูงอายุดี ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ กิจกรรมจึงมีความสําคัญ และมีความ จําเป๐นต่อผู้สูงอายุ และทําให้ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในชีวิต ทั้งนี้เพราะการที่ผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมใด ๆ ก็ตาม หมายถึงผู้สูงอายุนั้นได้มีสถานภาพ และบทบาทอยู่ในระดับหนึ่งในสังคม จากการที่ผู้สูงอายุได้มีสถานภาพและ บทบาทเหล่านั้น ทําให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกว่าตนยังเป๐นบุคคลที่มีคุณค่า และเป๐นที่ยอมรับจากสังคม สามารถที่ จะทํากิจกรรมต่าง ๆ ในสังคมได้ และไม่เป๐นผู้ไร้บทบาท (พฤฒินันท์ เหลืองไพบูลย์, 2530)
สําเนียง พาติกบุตร (2542, น.7) ได้ให้ความหมายของกิจกรรมว่า หมายถึง การที่บุคคลพอใจ และ กระทําการต่าง ๆ ในชีวิตประจําวันของตน
ในส่วนของนักวิชาการตะวันตก มักมองกิจกรรมทางสังคมที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย Orsega-Smith และคณะ (2007, p.102) ได้ยืนยันจากผลการวิจัยของเขาว่า การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม (Social Activity) การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว และเพื่อนฝูง มีศักยภาพที่จะให้ผลประโยชน์แก่ผู้สูงอายุได้เทียบเท่ากับ การออกกําลังกายเป๐นประจํา
ในขณะที่ Buchman (2009) กล่าวว่า บรรดาผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม เป๐นอาสาสมัคร และมีความสัมพันธ์กับเพื่อนในวัยเดียวกันนั้น จะมีแนวโน้มของการมีป๎ญหาทางด้านอารมณ์ และป๎ญหา ทางด้านสุขภาพร่างกายลดลงอย่างเห็นได้ชัด
และงานวิจัยของ E.-K. Othelia Lee และ J. Kim (2012) ได้ทําการศึกษา กิจกรรมทางสังคมของ ผู้สูงอายุ โดยใช้หลักเกณฑ์ของ National Long Term Care Survey ที่สนใจกิจกรรมทางสังคมในแง่ความถี่ ของการพบปะกับญาติสนิทของตนเอง
จากข้างต้นนี้ ทําให้เห็นความแตกต่างกันของการให้คํานิยามในมุมมองของประเทศไทย และมุมมอง ของตะวันตกที่ชัดเจนว่า ประเทศไทยให้ความสําคัญกับกิจกรรมทางสังคมในรูปแบบของการมีส่วนร่วมใน สังคมเชิงสุขภาพ ที่เน้นการออกกําลังกาย หรือการทํากิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในชุมชนและสังคมเสียเป๐นส่วนมาก ในขณะที่อีกฝ๎๑งหนึ่งให้ความสําคัญกับการพบเจอกับคนใกล้ชิด การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและเพื่อน ฝูงเป๐นสําคัญ
อย่างไรก็ดี “กิจกรรมสังคมของผู้สูงอายุ” ในมุมมองต่าง ๆ เหล่านั้น ต่างมุ่งเปูาไปที่ความมีศักยภาพ และคุณภาพชีวิตที่มีคุณค่าของผู้สูงอายุทั้งสิ้น กิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุจึงมีรูปแบบที่กว้างขวางเป๐น กิจกรรมในแง่ของการมีส่วนร่วมกับผู้อื่นในสังคม ไม่ว่าจะเป๐นการเข้าสังคมพื้นฐานในรูปแบบของการพบปะ พูดคุย หรือกิจกรรมรวมกลุ่มในลักษณะของการออกกําลังกาย สังสรรค์ อาสาสมัคร ทั้งนี้ทั้งนั้น กิจกรรมทาง สังคมไม่ว่าในรูปแบบใด จะเป๐นสิ่งที่ช่วยให้สุขภาพของผู้สูงอายุ ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ มีแนวโน้มเป๐นไป ในทางที่ดียิ่งขึ้น ช่วยทําให้ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในชีวิต ทั้งนี้เพราะการเข้าร่วมกิจกรรมของผู้สูงอายุใด ๆ ก็ ตาม หมายถึงผู้สูงอายุเหล่านั้นได้มีตัวตน มีบทบาทอยู่ในสังคมระดับหนึ่ง กล่าวได้ว่า กิจกรรมที่จัดขึ้นให้กับ ผู้สูงอายุนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นให้ผู้สูงอายุได้มีการรวมตัวกัน เพื่อพัฒนาตนเอง รวมถึงพัฒนาสังคม ใช้ เวลาว่างไปกับการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อให้มีสิ่งยึดเหนี่ยว โดยมีสถาบันครอบครัว และชุมชนเป๐น สถาบันพื้นฐานในการดําเนินการและให้การสนับสนุน
จากการเดินทางไปสํารวจภาคสนามที่ประเทศจีนในครั้งแรก โดยเฉพาะในเทศบาลนครซ่างไห่ เขตจิ้ง อัน คณะผู้วิจัยได้พบเห็นกิจกรรมทางสังคมมากมาย กระจายตัวอยู่ทั่วไปในพื้นที่สาธารณะ และกิจกรรม ทั้งหมดนั้นถูกขับเคลื่อนโดยผู้สูงอายุทั้งสิ้น ทําให้ภาพของคําว่า “กิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ” ในเขตเมือง ซ่างไห่นี้ มีลักษณะเป๐นไปตามคํานิยามอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป๐นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการรวมตัว กัน สร้างเสริมสุขภาพกายและใจ อันเกิดจากความต้องการของผู้สูงอายุเอง มิได้ถูกบังคับ หรือจัดขึ้นเป๐นครั้ง คราวเท่านั้น แต่เกิดขึ้นอย่างเป๐นประจําและสม่ําเสมอ เช่นเดียวกันกับกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุในเมือง เฉิงตู เขตเวินเจียง ผู้สูงอายุจะออกมารวมกลุ่มกันเพื่อทํากิจกรรมร่วมกันหลากหลายรูปแบบ ซึ่งการเดินทางไป สํารวจพื้นที่ภาคสนามที่เขตเวินเจียงตรงกับเดือนธันวาคม สภาพอากาศหนาวเย็นในระดับ 0 องศาเซลเซียสถึง ติดลบก็ไม่อาจจะทําให้การทํากิจกรรมที่บรรดาผู้สูงอายุมารวมตัวกันจัดขึ้นนั้นต้องจบลงได้
2. ประเภทของกิจกรรมสังคมทางของผู้สูงอายุ
จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุโดยทั่วไป คณะผู้วิจัยพบว่า กิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ มิได้มีความหลากหลายในการแบ่งประเภทมากนัก สามารถจัดกลุ่มของ กิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในลักษณะเดียวกันได้ใน 3 ลักษณะ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้การศึกษามีแนวทางในการทําความ เข้าใจกิจกรรมแต่ละประเภทที่แตกต่างกันในเปูาหมายของการจัดกิจกรรม ซึ่งสามารถแยกออกจากกันได้อย่าง ชัดเจน
1) กิจกรรมแนวสันทนาการและนันทนาการ
กิจกรรมประเภทแรกนี้ ถือเป๐นกิจกรรมพื้นฐานที่มีความเรียบง่ายที่สุด เกิดขึ้นทุกที่ที่เราสังเกตเห็ น ผู้สูงอายุรวมตัวกันในช่างไห่ ด้วยเหตุที่ผู้สูงอายุมีเงื่อนไขทางกายภาพที่อาจทําให้ไม่สามารถจะร่วมกิจกรรมใด ๆ ที่มีความคล่องตัวได้มากนัก กิจกรรมเชิงสันทนาการและนันทนาการจึงเป๐นกิจกรรมที่ง่ายที่สุด แต่ ตอบสนองความรู้สึกทางจิตใจได้มากที่สุดกิจกรรมหนึ่ง
จากการลงภาคสนาม คณะผู้วิจัยพบว่า ผู้สูงอายุหลายท่าน ไม่ว่าจะเป๐นที่บ้านแสนสุขเวยไห่ (威海/ Weihai) รวมถึงบ้านพักคนชราในเขตจิ้งอัน ทุกแห่งที่เราได้ไปเยี่ยมชม ต่างให้ความเห็นไม่แตกต่าง กันว่า การได้มาพบปะพูดคุยกับกลุ่มผู้สูงอายุ หรือการ ได้เข้ามาเป๐นสมาชิกและใช้ชีวิตอยู่ในการดูแลลักษณะ ต่าง ๆ ร่วมกันกับคนอื่น ๆ ทําให้พวกเขา “ไม่รู้สึก เหงา” ซึ่งความรู้สึก “เหงา” จะเกิดขึ้นมากกับผู้สูงอายุ ที่อาศัยอยู่ที่บ้านและให้ครอบครัวของตนเองเลี้ยงดู
ในขณะที่กิจกรรมในกลุ่มนี้ได้สร้างความบันเทิงใจ ทําให้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดในทุก ๆ ด้าน ผู้สูงอายุ จึงมีความชื่นชอบและเข้าร่วมกันเป๐นจํานวนมาก
ส่วนกิจกรรมสันทนาการและนันทนาการที่เมืองเฉิงตู เขตเวินเจียงรูปแบบของกิจกรรมยังคงคล้ายคลึง กัน เป๐นกิจกรรมการออกกําลังกายซึ่งผลพลอยได้จากการออกกําลังกายไม่พียงแค่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง แต่ยังคงเป๐นการได้ ออกกําลังใจมีจิตใจที่สดชื่นเมื่อได้มาพบปะกับเพื่อนในวัยเดียวกัน ในเขตเวินเจียงจะพบ การออกมาทํากิจกรรมของผู้สูงอายุมากับบุตรหลานหรือครอบครัวมากกว่าผู้สูงอายุในเขตจิ้งอัน
ในการลงพื้นที่ภาคสนามในเขตเวินเจียงอาจพบความแตกต่างจากช่างไห่ด้านพื้นที่การทํากิจกรรมของ ผู้สูงอายุ ในเขตเมืองอย่างช่างไห่การทํากิจกรรมสันทนาการจะพบเห็นทั้งบริเวณลานหน้าห้างสรรพสินค้าที่มี อยู่เป๐นจํานวนมากรวมถึงบริเวณสวนสาธารณะของเมือง แต่การทํากิจกรรมสันทนาการในเขตเวินเจียงจะพบ เห็นเพียงบริเวณสวนสาธารณะเป๐นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะบริเวณรอบริมแม่น้ําหยางลิ่วเหอ ตลอดทั้งสายจะมี การทํากิจกรรมโดยรอบตลอดแนวของแม่น้ํา ด้วยบริบทของความเป๐นพื้นที่เขตเมืองและเขตชนบทจึงทําให้ ขอบเขตของพื้นที่สาธารณะที่ให้ผู้สูงอายุทํากิจกรรมสันทนาการมีความแตกต่างกัน แต่การมารวมกลุ่มกันเพื่อ ความบันเทิงใจยังคงให้ผลลัพธ์ที่ไม่แตกต่างกัน คือ ความรู้สึกที่ไม่เหงา และยังคงอยู่ในพื้นที่อาศัยใกล้กับบ้าน และครอบครัวของตนเองอยู่จึงไม่แปลกว่าการทํากิจกรรมสันทนาและนันทนาการทั้งในเขตจิ้งอันและเขตเวิน เจียง ทําไมจึงมีผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมเป๐นจํานวนมากอย่างทุกวันนี้
2) กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และการฝึกอบรม นิภา จวนโสม (2550) กล่าวไว้ว่า กิจกรรมต่าง ๆ
เป๐นแหล่งรวบรวมภูมิป๎ญญา ในการให้ผู้สูงอายุในบริเวณ ใกล้เคียง ได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ เพื่อนําไปใช้ประโยชน์
จากข้างต้นนี้ เราได้สังเกตเห็นกิจกรรมการ เรียนรู้มากมายในหน่วยต่าง ๆ ที่ให้การดูแลผู้สูงอายุ เช่น การสอนให้ใช้คอมพิวเตอร์ การสอนให้ใช้อินเตอร์เนท
การฝึกเขียนตัวอักษรจีนดั้งเดิม เป๐นต้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะความรู้ใหม่ ๆ ขึ้น แม้ ผู้สูงอายุจะอยู่ในช่วงบั้นปลายของชีวิต แต่การฝึกฝนและสร้างความรู้ใหม่ ๆ ยังจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสมาธิ มีจุด สนใจให้ยึดมั่นที่จะดําเนินชีวิตอย่างไม่ฟุูงซ่าน และที่สําคัญยังสร้างความรู้สึกของการมีคุณค่าให้เกิดขึ้นในจิตใจ ของผู้สูงอายุแต่ละบุคคล ทําให้รู้สึกมีกําลังใจในการดํารงชีวิตในช่วงบั้นปลายได้อย่างมีความสุข
Edward Arnold (1992, p.116) ได้กล่าวถึงว่า มีการจัดตั้งวิทยาลัยที่จัดขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เข้าไป ศึกษาเล่าเรียน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ไม่รู้สึกว่าตัวเอง ไร้ค่า ยังคงมีบทบาทอยู่ในสังคม
จากการลงภาคสนามในการเดินทางครั้งที่ 2 คณะผู้วิจัยได้มีโอกาสเข้าไปสํารวจมหาวิทยาลัยสําหรับ ผู้สูงอายุ (上海老龄大学/SHANGHAI LAO LING University) ทําให้ได้เห็นภาพกิจกรรมการเรียนรู้ การ อบรม และการเรียนการสอน รวมถึงได้รับข้อมูลหลักสูตรจากเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย โดยมีการออกเป๐น ตารางเรียนสําหรับปีการศึกษา 2013 โดยเริ่มเปิดเรียนตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2013 ไปจนถึง 27
ธันวาคม 2013 โดยมีหลักสูตรการเรียนการสอนในช่วงปี 2013 (ตาราง 6)
ตาราง 6 กิจกรรมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในมหาวิทยาลัยผู้สูงอายุ จําแนกตามห้องเรียนและวัน
ห้องเรียน | รับ จํานวน | จันทร์ | อังคาร | พุธ | พฤหัสบดี | ศุกร์ | |||||
เช้า | บ่าย | เช้า | บ่าย | เช้า | บ่าย | เช้า | บ่าย | เช้า | บ่าย | ||
1204 | 25 | เต้นรํา | บัลเล่ | รํา,เต้นชนเผ่า | งิ้วสําหรับ ผู้สูงอายุ | ไทเก็ก | เต้น | โยคะ | แฟชั่น | การเต้น พื้นเมือง ระดับกลาง | การเต้น พื้นเมือง ระดับสูง |
1205 | 35 | พูดอังกฤษ | วาดภาพ จีน | ชมสามก๊ก | ภาพน้ําหมึก | วาดรูป ธรรมชาติ ขั้นพื้นฐาน | งวเซี่ยงไฮ้ | วาดภาพ | แฟชั่น | ภาษาอังกฤษ เริ่มต้น | การเต้นเพื้น เมือง ระดับกลาง |
1206 | 46 | ใช้พู่กันจีน | ใช้พู่กันจีน | งิ้วของ ผู้สูงอายุ | นวดบําบัด | งิ้ว | เรียนจีน Shui shan ระดับกลาง | งิ้ว | พู่กันจีน | วาดภาพ ธรรมชาติ | วาดภาพ ธรรมชาติ ระดับเริ่มต้น |
1207 | 28 | ซอสองสาย | เปุาฟลุต | ซอ | ซอ | กู่เจิ้ง | กู่เจิ้ง | กู่เจิ้งระดับต้น | กู่เจิ้งระดับสูง | ซอสองสาย ของจีน | พิณจีน |
1209 | 55 | ร้องเพลง | ร้องเพลง | ดนตรี | ดนตรีเริ่มต้น และดนตรี ระดับสูง | ฟ๎งเพลง ระดับสูง | ชมดนตรี | ดนตรีระดับสูง | เพลงฮิตสากล | หนังสือจีน Zhong yuang ระดับเริ่มต้น | พื้นฐานการ รักษาแบบแผน จีน |
1401 | 35 | เขียน ปากกาคอ แร้ง | อ่าน กลอน,เล่า เรื่อง | เรียงความ ,ร้อยแก้ว | งานฝีมือถัก ,ตัดเย็บ | พู่กันจีน | พู่กันจีนตัวหวัด | หีบเพลงปาก (ฮาโมนี่) | ซอจีน | ดรตรีระดับสูง | การเรียนพู่กัน เขียนอักษรจีน |
1404 | 65 | การแสดงงิ้ว | ร้องเพลง | ฝ๎งเข็ม | เพลงและ ดนตรี | ฟ๎งเพลง ระดับสูง | ฟ๎งเพลง ระดับสูง | ดนตรี | ดนตรี | ดนตรีระดับสูง | เสียงเพลง ผู้ชาย/ผู้หญิง |
ห้องเรียน | รับ จํานวน | จันทร์ | อังคาร | พุธ | พฤหัสบดี | ศุกร์ | |||||
เช้า | บ่าย | เช้า | บ่าย | เช้า | บ่าย | เช้า | บ่าย | เช้า | บ่าย | ||
1406 | 30 | ทําขนม | จัดดอกไม้ | โภชนาการ | การจัดอาหาร ว่าง | ทําขนา พื้นบ้าน | ทําอาหารยุโรป | ชีวจิต | โภชนาการ | อาหารว่างแบบ ตะวันตก | อาหารว่าง แบบตะวันตก |
1505 | 48 | ชีวจิต | พยากรณ์, ฮวงจุ้ย | งานประพันธ์ | สถานการณ์ บ้านเมือง | ศาสนาและ วัฒนธรรม | นวดแผนจีน | การรักษษแผน จีน Gua sha | การดูแล สุขภาพ | วิจารณ์บทกวี | วัฒนธรรม ท่องเที่ยวแบบ สากล |
1507 | 45 | การถ่ายรูป | วาดภาพ เรื่องราว | ถ่ายภาพให้ รูปมี ความหมาย | ตัดต่อภาพ | การสร้าง วีดีโอ | จัดรูปภาพ | คอมพิวเตอร์ พื้นฐาน | คอมพิวเตอร์ ระดับกลาง | Photoshop CS4 | การใช้คอมฯ หลายดาน |
1510 | 70 | ฝ๎งเข็ม แพทย์แผน จีน | นวดแผน โบราณ | เทคนิคการ ถ่ายภาพ | พยากรณ์กับ สุขภาพที่ แข็งแรง | ถ่ายภาพ | ถ่ายภาพขั้น พื้นฐาน | วัฒนธรรม | การดูแล สุขภาพ | เทคนิคการ ถ่ายภาพวิธีต่าง ๆ | ถ่ายถาพ |
1512 | 45 | เรียน ภาษาจีน Shan sui ระดับสูง | บทกวีบท กลอน | เขียนจีน | วัฒนธรรมจีน | วาดภาพ แบบจีน | วัฒนธรรมด้าน อาหารและ ธุรกิจ | ถักทอ | ภาษาอังกฤษ เพือการ ท่องเที่ยว | การใช้พู่กัน เขียนจีน ระดับกลาง | การวาดภาพ จีนระดับสูง |
1601 | 30 | อ่านอังกฤษ | พูด อังกฤษ | ภาษาจีน ระดับ มหาวิทยาลัย เบื้องต้น | เปียโน | เย็บป๎กถักร้ อย | พูด ภาษาอังกฤษ ทั่วไป | สังคม | ภาษาอังกฤษ | ภาษาอังกฤษ เพื่อการ ท่องเที่ยว | การใช้ ภาษาอังกฤษ เริ่มต้น |
1602 | 20 | เปียโนโอเป ร่า | เปียโน | เขียนจีน สําหรับผู้สู อายุ | เปียโนโอเปร่า | เปียโน | เปียโน | เปียโน | เปียโน | เปียโน | เปียโน |