Ratree Pranakhon Kannika Sombun Sukanya Saithi Guntima Phueakchroey And Phanicha Pongnarathorn
เครือหมานอย “กรุงเขมา” มหัศจรรย์พืชป่า
ราตรี พระนคร กรรฺณิการ์ สมบุญ สกัญญา สายธิ กันธิมา เผือกเจริญ และ ภานิชา พงศ์นราทร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
Khruea ma noi “Cyclea brabata Miers.” miracle wild plant
Ratree Pranakhon Kannika Sombun Sukanya Saithi Guntima Phueakchroey And Phanicha Pongnarathorn
Rajamangala University of Technology I-San, Sakon Nakhon Campus
บทคัดย่อ
การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกรุงเขมา หรือหมาน้อย (Cyclea brabata Miers.) ของคณะ ทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ได้เริ่มดําเนินการมาตั้งแต่ปี 2538 จนถึงปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์ การขยายพันธุ์ การปลูก ตามภูมิ ปัญญา 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม 3) พัฒนาผลิภัณฑ์เครื่องสําอาง 4) ศึกษาระบบการปลูก 5) ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชุมชน 6) ฟื้นฟูการใช้ประโยชน์ในชุมชน โดยมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลการใช้ ประโยชน์ของท้องถิ่น ที่พบว่าในอดีตมีการใช้ใบ กรุงเขมาหรือ หมาน้อยมาทําอาหารที่เรียกว่า ลาบหมาน้อย และใช้รากเป็นยาแก้ไข้ ซึ่งในคุณประโยชน์ของหมาน้อยมีอย่างหลากหลาย เช่น ใบเป็นยาเย็นช่วยลดอาการ ปวดท้องที่เกิดจากโรคกระเพาะอาหาร ช่วยเพิ่มไฟเบอร์ให้กับร่างกาย ควบคุมระดับน้ําตาลในเลือด แต่ใน ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์ลดลงเพราะในการใช้ใบสดมีความยุ่งยากในการเตรียม และเยาวชนไม่รู้จักเพราะ ส่วนใหญ่ไปเรียนในเมือง จึงไม่ได้สัมผัสกับวิถีชีวิตดั้งเดิม ดังนั้นนักวิจัยจึงได้ศึกษาวิธีการใช้ประโยชน์ที่สะดวก ขึ้น และเพิ่มรูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มกลุ่มใช้ประโยชน์มากขึ้น โดย พัฒนาในรูปอาหาร เป็นเยลลี เป็น เครื่องดื่ม เป็นลาบหมาน้อย และผงพอกหน้าที่ใช้คุณสมบติของเพคตินที่มีในใบหมาน้อยที่ช่วยให้ก่อตัวเป็นเจล หรือ วุ้นได้ แต่ปรับให้ใช้ประโยชน์ได้สะดวกขึ้นโดยใช้ในรูปผงแห้ง และด้วยปริมาณต้นหมาน้อยในธรรมชาติ ลดลง จึงได้มีการศึกษาวิธีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ รวมถึงการไปศึกษาวิธีการขยายพันธุ์โดย การชํารากของชุมชนบ้านห้วยยาง อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร ที่เป็นแหล่งผลิตต้นกล้าไม้ปุารวมทั้งต้นกล้า หมาน้อยส่งจําหน่ายทั่วประเทศ และนําข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปถ่ายทอดให้กับชุมชนในเครือข่ายของ มหาวิทยาลัย และส่งเสริมการทําผลิตภัณฑ์ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พร้อมทั้งให้ความรู้เรื่องของประโยชน์ทั้ง ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นและที่มีการศึกษาพัฒนาเพิ่มเติม เพื่อฟื้นฟูการใช้ประโยชน์รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปลูก เพิ่มเติมเพื่อให้มีใช้ประโยชน์ในชุมชนเพิ่มขึ้น
จากการศึกษานี้ได้องค์ความรู้ในเรื่องของพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในรูปแบบที่ใช้ประโยชน์ได้สะดวก
หลากหลาย มีองค์ความรู้ในเรื่องของการขยายพันธุ์ มีรูปแบบการขยายพันธุ์ การปลูกระบบต่างๆ ถ่ายทอด องค์ความรู้ให้กับชุมชน และชุมชนได้มีการนําไปใช้ประโยชน์เพื่อการบริโภค เสริมความงาม ในครัวเรือน ตลอดจนทําเป็นผลิตภัณฑ์จําหน่ายเพื่อสร้างรายได้
บทนํา
เครือหมาน้อย (Cyclea brabata Miers.) ชื่ออื่นๆ กรุงเขมาของ กรุงบาดาล หรือใบก้นปิด เป็นพืช เถาที่อยู่ในวงศ์ Menispermaceae เป็นพืชผักพื้นเมือง ที่นิยมนําใบมาขยี้กับน้ําต้มสุกแล้วกรองเอากากใบ ออก ปรุงรสด้วยน้ําปลาร้า เนื้อปลาสุก พริกปุน ตามชอบ แล้ว เติม ข้าวคั่ว ตะไคร้ ต้นหอม ผักชี ถั่วฝักยาว หั่น คนให้เข้ากัน ตั้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 15 นาที น้ําคั้นจะเซ็ตตัวกลายเป็นวุ้น รับประทานเป็นอาหาร คาว ในภาคอีสาน หรือ คั้นกับเกลือเล็กน้อย ปล่อยให้แข็งแล้วนํามาปรุงเป็นลาบ ยํา หรืออาหารหวานกับ น้ําเชื่อม ในภาคเหนือ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร หมาน้อยเป็นหนึ่งในสาม พืชที่หน่วยงานคัดเลือกศึกษาในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เริ่มตั้งแต่ปี 2560
ความเป็นมาในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับหมาน้อยของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขต
สกลนคร ได้เริ่มดําเนินการมาตั้งแต่ปี 2538 จากการสํารวจทรัพยากรท้องถิ่นในจังหวัดสกลนครภายใต้ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในปี 2538 จากการสํารวจพบพืชท้องถิ่นที่น่าสนใจและนํามาพัฒนาอย่างต่อเนื่องคือเริ่มจากหมากเม่า จนเกิด ผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นพืชท้องถิ่นที่มีศักยภาพสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการมา จนถึงปัจจุบัน และอีกพืชหนึ่งที่มีคุณสมบัติพิเศษคือหมาน้อย โดยที่ใบของหมาน้อยเมื่อคั้นกับน้ําสามารถก่อตัว เป็นเจลได้โดยไม่ต้องอาศัยปัจจัยอื่น เช่นน้ําตาลหรือกรด จึงได้มีการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจาก การศึกษาชุดโครงการ แผนพัฒนากรุงเขมาสู่พืชเศรษฐกิจ ในปี 2548 ซึ่งประกอบด้วยการขยายพันธุ์ด้วย วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การปลูกดูแลรักษา การสกัดเพคติน ในการศึกษาในครั้งนั้นเกิดผลผลิตใบแห้งจาก การวิจัย ท่ําได้นํามาพัฒนาเป็นผงพอกหน้า และมีการศึกษาต่อมาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งปี 2560 ได้นําเข้าเป็น พืชศึกษาในโครงการ อพ.สธ. ได้มีการศึกษาพัฒนาการใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงอาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ตลอดจนการส่งเสริมและถ่ายทอดสู่ชุมชนเพื่อฟื้นฟูการใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น โดยเริ่มในชุมชนเครือข่ายของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล อีสานวิทยาเขตสกลนคร และผู้ที่สนใจ
วิธีการ
วิธีการในการศึกษาเลือกใช้วิธีการแบบผสมผสาน โดยเริ่มต้นด้วยการสํารวจและรวบรวมข้อมูลจาก ชุมชน ถอดองค์ความรู้การใช้ประโยชน์จากชุมชน และการทดลอง เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การปลูกในแปลง เกษตรกร การพัฒนาใช้ประโยชน์เชิงอาหาร เครื่องสําอาง และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นกลับสู่ชุมชน เครือข่ายของมหาวิทยาลัย
ผลการดําเนินการ
จากการศึกษาข้อมูลของ หมาน้อย หรือ กรุงเขมา พืชท้องถิ่น ของจังหวัดสกลนคร โดยศึกษาตั้งแต่ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ การขยายพันธุ์ การใช้ประโยชน์ การถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน และจากความ เปลี่ยนไปของยุคสมัยที่ทําให้การใช้ประโยชน์ของที่มีอยู่เดิมในท้องถิ่นลดลง อย่างมาก จึงได้มีการฟื้นฟูการใช้ ประโยชน์ในชุมชน ซึ่งมีผลการดําเนินการดังต่อไปนี้
1. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เครือหมาน้อยเป็นไม้เลื้อย ลําต้นไม่มีเนื้อไม้ หรือมีเนื้อไม้ เมื่ออ่อนมีขนแข็งเมื่อแก่เกลี้ยง ใบเป็นใบ แบบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปหัวใจปลายเรียวแหลม โคนใบเป็นแบบก้นปิด ขอบใบเรียบ มีขนแข็ง เส้นใบออก จากโคนใบรูปฝุามือ เส้นใบเป็นร่างแห แผ่นใบด้านบนมีขนสาก ด้านล่างมีขนเล็กน้อย เนื้อใบบางคล้าย กระดาษ ออกดอกเป็นช่อ แยกเป็นช่อดอกเพศผู้ และช่อดอกเพศเมีย ช่อดอกเพศผู้ออกตามง่ามใบ และตาม ลําต้น ดอกเป็นกระจุกอยู่ห่างๆ มีขน ดอกเพศผู้กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน รูประฆัง ช่อดอกเพศเมียคล้ายช่อดอก เพศผู้ แต่มักจะกว้างกว่า และไม่มีก้านดอกย่อย จึงทําให้ดอกเป็นกระจุกแน่นกว่าดอกเพศผู้ ผลเป็นผลสด ทรง กลม หรือรูปไข่กลับ กว้าง 4-5.5 มิลลิเมตร ยาว 5-7 มิลลิเมตร มีขนเล็กน้อย เมื่อแก่จัดสีขาวใส มีเมล็ดข้างใน 1 เมล็ด ระบบรากเป็นระบบรากแก้ว (ภาพที่ 1)
ภาพที่ 1 ลักษณะทรงต้น ใบ ดอก ผล และรากของต้นหมาน้อย
2. การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ หมาน้อยเป็นพืชหลายฤดู ที่ขยายพันธุ์ ได้ทั้งแบบอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศ เป็นพืช ที่มีคุณสมบัติพิเศษคือ ส่วนของใบเมื่อคั้นกับน้ําแล้วสามารถก่อเจลได้ มาทําเป็นอาหารหวาน อาหารคาวที่มี
สรรพคุณส่งเสริมสขภาพ ทําให้มีคนสนใจที่ปลกมากขึ้น จึงมีการขยายพันธุ์เพื่อการจําหน่าย แหล่งใหญ่ที่มีการ
ขยายพันธุ์จําหน่าย คือ บ้านดอนแดง อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร การขยายพันธุ์ที่หมู่บ้านนี้ใช้วิธีชําราก วิธีการชํารากนั้นต้องพิถีพิถันตั้งแต่เริ่มต้นการคัดเลือกราก ต้องเป็นรากที่ไม่มีโรคแมลง หรือ เชื้อรา และต้อง สังเกตให้ดีเพราะลักษณะรากหัวท้ายจะแยกได้ลําบากดังนั้นการตัดแบ่งรากสําหรับการขยายพันธุ์ด้วยการชํา รากให้ตัดรากยาวประมาณ 1 นิ้ว การวางรากต้องเรียงแยกส่วนโคนส่วนปลายให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้สับสนในการ แยกด้านโคนและด้านปลาย เพราะรากหมาน้อยก็มีลักษณะเดียวกับรากพืชอื่นที่ตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของ
โลก ดังนั้นเวลาชําราก ต้องวางทิศทางให้ถูกต้อง โดยตั้งส่วนโคนชี้ขึ้นด้านบน จุ่มในน้ํายาเร่งรากก่อน แล้วนําไปผึ่งไว้ให้แห้ง จากนั้นจึงนําไปปักชําในถุงแกลบดํา ให้โคนโผล่พ้นวัสดุปลูกเล็กน้อย แล้วรดน้ําวันละ 1 ครั้งประมาณ 1 เดือน จะเริ่มมียอดแทงออกมา แต่ยอดที่แทงออกมานั้นเกิดจากอาหารสะสมในราก ที่ทําให้มี การแทงยอดขึ้นมาก่อน แต่ยังไม่มีการสร้างรากใหม่ ดังนั้นแม้จะเห็นว่ามีการแทงยอดออกมาแต่ยังไม่ควรนําไป ปลูก ต้องรอให้ต้นกล้าเจริญเติบโตและมีรากที่แข็งแรงก่อน จึงนําไปปลูก ซึ่งใช้เวลาตั้งแต่เริ่มชํารากจนถึงนํา ออกปลูกได้อย่างน้อย 3 ถึง 5 เดือน เพื่อให้ต้นกล้ามีรากแข็งแรงเสียก่อน (ภาพที่ 2) ระยะเวลาที่เหมาะสมใน การชําราก คือ ช่วงเดือน มิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม ไม่นิยมชําในช่วงฤดูหนาว เพราะเป็นช่วงพักตัว การ เจริญเติบโตไม่ดีทําให้การงอกช้าหรือไม่งอกเลย
ภาพที่ 2 ลักษณะรากหมาน้อย การเตรียมรากเพื่อการชํา และต้นกล้าที่ได้จากการขยายพันธุ์ด้วยการชําราก การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศนอกจากวิธีการชํารากแล้วนอกจากนั้น การแบ่งแยกต้นก็สามารถทํา
ได้แต่จะได้ปริมาณน้อย และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถขยายพันธุ์หมาน้อยได้ผล โดย ราตรี พระนคร และปริญดา แข็งขัน ได้ศึกษาการขยายพันธุ์หมาน้อยด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยใช้ เนื้อเยื่อจากส่วนตาอ่อนของยอดมาเพาะเลี้ยงในอาหารสูตร MS ดัดแปลงเติมสารควบคุมการเจริญเติบโต BA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าสามารถกระตุ้นให้เกิดยอดและรากจากนั้นนําออกปลูกในสภาพ ธรรมชาติได้ ภาพที่ 3
ภาพที่ 3 การขยายพันธุ์กรงุ เขมาด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
กรุงเขมาเป็นพืชที่มีการเกสร ให้เมล็ด และ เมล็ดสามารถเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้ สําหรับการ เพาะเมล็ดมีไม่มากนัก เมล็ดหายาก จะพบในต้นที่สมบูรณ์เต็มที่ หมาน้อยจะออกดอกในช่วงเดือน พฤศจิกายน และเมล็ดแก่พร้อมปลูกได้ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ของทุกปี ลักษณะของผลหมาน้อยที่สุกแก่เต็มที่ จะเป็นสีขาวใส และทยอยสุก และทยอยร่วง จึงทําให้การเก็บเมล็ด ค่อนข้างยาก การเพาะเมล็ดนั้นเมื่อผลสุก เก็บผลแล้วเอาเนื้อผลออก ลักษณะของเมล็ดในจะมีสีดําจะคล้ายเกือกม้า หรือก้นหอย เปลือกเมล็ดแข็ง นํา เมล็ดลงเพาะในวัสดุปลูก รดน้ําวันละ 1 ครั้ง ให้วัสดุปลูกชุ่ม ประมาณ 1-2 เดือน เมล็ดจะเริ่มทยอยงอก พอ ต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 5-6 ใบ ย้ายลงกระถางหรือถุงดําเพื่อรอให้ต้นสมบูรณ์ก่อนที่จะปลูกในสภาพ ธรรมชาติ (ภาพที่ 4)
ภาพที่ 4 ผลที่สกแก่ และต้นกล้าที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ด
3. การปลูกและดูแลรักษา
หมาน้อยเป็นพืชท้องถิ่นที่มักพบในสภาพธรรมชาติในหลากหลายพื้นที่ ทั้งภาคอีสาน ภาคเหนือ และ ภาคใต้ โดยปกติพบในที่ดอน น้ําท่วมไม่ถึง ไวต่อสภาพน้ําท่วมขัง การปลูกมีหลายลักษณะ ทั้งการปลูกใน ระบบผสมผสาน หรือปลูกแบบพืชเดี่ยว ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ปลูก ลักษณะการปลูกแบบผสมผสาน สามารถที่จะปลูกแทรกกับแปลงพืชผักอื่นๆ ได้แต่ต้องมีการทําค้างเนื่องจากการใช้ประโยชน์จากหมาน้อยส่วน ใหญ่ใช้ใบ หากปล่อยให้เลื้อยไปกับพื้นใบจะเปื้อนดิน ทําความสะอาดอยาก ใบช้ําและเปื่อยไม่เหมาะที่จะ นํามาใช้ประโยชน์ การปลูกร่วมกับพืชอื่นๆ เป็นการได้ประโยชน์ร่วมกัน เมื่อให้น้ําพืชผักอื่น ๆ หมาน้อยก็จะได้ น้ําและเจริญเติบโตร่วมด้วย (ภาพที่ 5 ) นอกจากการปลูกแบบผสมผสาน ปลูกเป็นผักสวนครัวประดับบ้านก็ เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพราะลักษณะของใบหมาน้อยเป็นใบรูปหัวใจสวยงาม ใบมีขนเล็กๆละเอียดสวยไปอีก แบบ (ภาพที่ 5) นอกจากนั้นให้รายที่ต้องการใช้ปรมาณมากการปลกเป็นพืชเดี่ยว (ภาพที่ 6) ก็เป็นอีกรูปแบบ หนึ่ง ที่เริ่มมีการปลูกในปัจจุบัน
ภาพที่ 5 การปลูกในรูปแบบผสมผสาน และการปลูกเป็นพืชสวนครัวประดับบ้าน
ภาพที่ 6 การปลูกหมาน้อยในลักษณะพืชเดี่ยว หมาน้อยเป็นพืชท้องถิ่นเป็นพืชที่ดูแลง่ายไม่ค่อยพบปัญหาโรคแมลงมากนัก แต่บางครั้งลักษณะ
อาการของพืชหมาน้อยที่ทําให้ผปลกกังวลคือในฤดูหนาว มักพบกับลักษณะคล้ายเป็นฝูาขาว มีลักษณะเหมือน
เป็นเชื้อราเกาะที่ใบ ทําให้มีลักษณะผิวใบด้าน แกรน เจริญเติบโตช้ามักพบในช่วงฤดูหนาว ลักษณะนี้เกิดช่วง อากาศเย็นจัด อีกปัญหาหนึ่งที่มักพบคือการกระทบกระเทือนรากในเวลาที่กําจัดวัชพืช ซึ่งหากดึงหรือถอนจะ ทําให้ทั้งต้นเหี่ยวและสลัดใบทิ้ง บางครั้งสามารถฟื้นกลับได้แต่ส่วนใหญ่ถ้าในต้นขนาดเล็กมักตาย ในส่วนของ แมลงที่มักจะพบ คือ หนอนหนังเหนียว กัดกินใบ และกัดกินต้นอ่อน จะพบปัญหามากในระยะต้นกล้าเพราะ การที่ถูกกัดกินทําให้ยอดหักและมีโอกาสตายได้ แต่หากเป็นต้นที่มีขนาดใหญ่แข็งแรง แม้จะเจอการทําลาย จากหนอนบ้างก็ไม่เป็นปัญหามากนัก ศัตรูอีกตัวหนึ่งที่พบในฤดูฝนคือหอยทาก (ภาพที่ 7) สําหรับหอยในกลุ่ม หอยทาก เวลาที่หอยเดินจะมีการปล่อยเมือก ในเมือกนั้นจะมีน้ําย่อยที่จะทําลายเนื้อเยื่อพืช ทําให้ส่วนของพืช
ที่ถูกสัมผัสกับเมือกเป็นแผลเปื่อยและตายในที่สุด ซึ่งก็เป็นปัญหาในระยะต้นกล้าเช่นกัน ซึ่งในส่วน หอยทากจะเป็นปัญหามากขึ้นในช่วงฤดูฝนยิ่งหากมีน้ําขังต้นหมาน้อยจะชะงักการเจริญเติบโต เหลือง ใบร่วง ถ้านานก็ถึงตายได้ และยิ่งเจอหอยทากเข้าทําลายยิ่งเป็นช่วงที่ต้องระวัง
ภาพที่ 7 หนอหนังเหนียว และหอยทาก ศัตรูธรรมชาติของหมาน้อย
4. การใช้ประโยชน์
เครือหมาน้อย มีการใช้ประโยชน์หลักๆตามภูมิปัญญา ใน 2 รูปแบบ คือ ใช้เป็นอาหาร และเป็นยา ในส่วนของอาหารดั้งเดิมตามภูมิปัญญา ในภาคอีสาน คือลาบหมาน้อย ด้วยคุณสมบัติของหมาน้อยที่ในส่วน ของใบมีเพคตินเป็นองค์ประกอบสูงถึงร้อยละ 30 (พิเชษฐ เทบํารุง, 2546) และเพคตินของหมาน้อยเป็น เพคตินชนิด low methoxy pectin ที่คุณสมบัติเฉพาะคือสามารถเซ็ตตัวเปนเจลได้ในน้ําเย็นและไม่ต้องมีกรด หรือ น้ําตาล จึงได้มีการนํามาพัฒนาใช้ประโยชน์ในการทําผลิตภัณฑ์ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์เสริม ความงาม ในส่วนของการใช้ประโยขน์ทางยา จะใช้ส่วนราก รากหมาน้อยมีฤทธิ์เย็นลดความร้อน ในอดีตเป็น ตัวยาหนึ่งที่มีติดย่ามของหลวงปูุฝั้นทุกครั้งที่ท่านออกธุดงค์ ท่านใช้เป็นตัวยาหลักในการแก้ไข้ และมีการ นําไปใช้เป็นส่วนระกอบของยาหอม เพราะกลิ่นของรากหมาน้อยมีกลิ่นเฉพาะ แต่อย่างไรก็ดีในปัจจุบัน ค่อนข้างจะหาใช้ลําบากเพราะหมาน้อยในธรรมชาติแทบจะไม่เหลือ จึงมีการใช้ลดลง และยิ่งเป็นการใช้ส่วน ของรากยิ่งไม่ค่อยได้ใช้นัก เพราะหากนํารากมาใช้เท่ากับต้นนั้นจะต้องตายไป หากมีการปลูกในปรมาณมากขนึ้ การฟื้นฟูการใช้ประโยชน์จากรากก็น่าจะนํามาฟื้นฟูใช้ประโยชน์ได้
4.1 การใช้ประโยชน์ในการบริโภค
การใช้ประโยชน์พืชหมาน้อยตามภูมิปัญญาดั้งเดิมใช้เป็นอาหารคาว ที่เรียกว่าลาบหมาน้อย ด้วย สรรพคุณของใบหมาน้อยที่ท้องถิ่นมีการใช้ประโยชน์หมาน้อยมาแต่อดีต เป็นที่ทราบดีว่าเป็นยาเย็นนั้นมี
สรรพคุณช่วยถอนพิษไข้ ดังนั้น จึงเหมาะที่เปนอาหารที่ใหกับผปุวยหรอคนที่ฟื้นไข้ได้รับประทาน จากลักษณะ
ของใบหมาน้อยที่เมื่อขยี้กับน้ําแล้วจะเกิดเป็นเจล หรือ ที่เรียกว่าวุ้นนั้น เมื่อรับประทานจะเคลือบกระเพาะ ช่วยลดอาการแสบร้อนในคนที่เป็นโรคกระเพาะ ซึ่งมีงานวิจัยรองรับถึงผลของน้ําคั้นหมาน้อยช่วยลดการเป็น แผลในกระเพาะอาหารในหนูทดลองที่ได้รับยาแอสไพรินที่มีคุณสมบัติกัดกระเพาะอย่างแรง โดยพบว่าในหนูที่ ได้รับยาแอสไพรินอย่างเดียวหนูเกิดแผลและมีเลือดไหลในกระเพาะ ส่วนในหนูที่ได้รับยาแอสไพรินร่วมกับน้ํา
คั้นใบหมาน้อย 2.5, 5 และ 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ต่อน้ําหนักตัว เมื่อตรวจสอบการเกิดแผลใน กระเพาะอาหารหนู นั้นพบว่าการเกิดแผลต่างกันอย่างมีนัยสําคัญระหว่างการได้รับและการไม่ได้รับน้ําคั้นใบ หมาน้อยโดยหนูที่ได้รับน้ําคั้นใบหมาน้อยในทุกความเข้มข้นไม่พบการเกิดแผลในกระเพาะของหนูทลองในทุก อัตราที่ได้รับ แสดงให้เห็นว่าน้ําคั้นใบหมาน้อยสามารถปูองกันการเกิดแผลในกระเพาะได้ (Siregar and Miladiyah, 2011) และนอกจากนั้น ราตรี พระนคร และคณะ, 2561 พบว่าการให้สารละลายน้ําตาลร่วมกับ วุ้นหมาน้อย มีผลทําให้ระดับน้ําตาลในเลือดของอาสาสมัครปกติมีการเพิ่มขึ้นต่ํากว่าการที่อาสาสมัครได้รับ สารละลายน้ําตาลเพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงเป็นข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนการรับประทานน้ําคั้นจากใบหมาน้อยที่ ช่วยปูองกันการเป็นแผลในกระเพาะอาหารรวมถึงช่วยชะลอการเพิ่มระดับดับน้ําตาลในเลือดขึ้นแบบรวดเร็ว
ซึ่งอาจจะช่วยปูองกันในผู้ปว
ยเบาหวานที่รับประทานของหวานทําให้ระดับน้ําตาลขึ้นลงรวดเรว
ที่อาจทําให้เกิด
การช๊อค ซึ่งต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในผู้ปุวยจริง สําหรับการทําลาบจากหมาน้อยอาหารตามภูมิปัญญาดั้งเดิมของท้องถิ่นในภาคอีสานนั้นทําได้โดย
เลือกใบหมาน้อยที่แก่เต็มที่ ประมาณ 15- 20 ใบ มาล้างให้สะอาด แล้วคั้นกับน้ําสะอาดเพื่อความปลอดภัยใช้ น้ําต้มสุก ประมาณ 1 ถ้วย ขณะที่คั้นใบ น้ําคั้นจะมีลักษณะเป็นเมือกข้น คั้นจนเมือกออกจากใบหมด แล้ว
กรองเอากากใบออก แล้วเติมเครองปรุง น้ําปลาราต้มสก ปลาปุน พริกพ่น ข้าวคั่ว ปรุงรสตามชอบ แล้วเติมผัก
ประกอบด้วย ถั่วฝักยาว หอม ผักชี คนให้เข้ากัน จากนั้นตั้งทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที จะเซ็ตตัวแข็งเป็นก้อน นําไปรับประทานเป็นอาหารคาว หรือ อาหารว่างได้ แต่ในปัจจุบันหมาน้อยจะมีเฉพาะในท้องถิ่น และมีน้อย รายที่มีต้นหมาน้อยอยู่ในบ้าน ที่จะสามารถเก็บมาใช้ปรุงอาหารในเวลาที่ต้องการ ดังนั้นจึงได้มีการทดสอบนํา ใบที่แก่เต็มที่มาตากแห้ง แล้วนํามาขยี้กับน้ํา พบว่ายังสามารถเกิดวุ้นได้เช่นเดียวกับในใบสด แต่สีจะซีดกว่าใบ สดเล็กน้อย นอกจากนั้นได้ทดลองใช้ใบแห้งบดผงมาทําอาหารสามารถใช้ได้เช่นกัน และพบว่าการใช้ใบแห้ง หรือใบแห้งบดผงสมารถนํามาใช้ในการทําลาบหมาน้อยได้ (ภาพที่ 8) และการใช้ใบแห้งบดผงจะสะดวกในการ ตวงที่จะให้ได้วุ้นที่มีลักษณะที่ต้องการมากว่า ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยเพิ่มความสะดวกให้ผู้ที่ไม่มีต้นหมาน้อย สามารถที่จะนําไปปรุงอาหารที่ไหนก็ได้ ซึ่งจะช่วยให้ขยายการใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
ภาพที่ 8 ส่วนประกอบการทําลาบหมาน้อยและลักษณะของลาบหมาน้อยที่ใช้ผงใบแห้งหมาน้อย
นอกจากมีการใช้ใบหมาน้อยปรุงเป็นอาหารคาวแล้ว ยังมีการปรุงเป็นอาหารหวาน ที่พบในบางพื้นที่ ในประเทศลาว เช่น เวียงจันทร์ หรือ ทางลาวใต้ที่การทําหมาน้อยในน้ําเชื่อมรับแขกที่น้ําตกผาส้วมที่คนไทย นิยมไปเที่ยว และในประเทศไทยเองก็พบมีอาหารแนะนําของร้าน “ยายหม่องแหนมเนือง” อ.ศรีเชียงใหม่ จ. หนองคาย คือวุ้นหมาน้อยในน้ํากระทิ (ภาพที่ 9) และ เป็นอาหารขึ้นชื่อของร้านที่ใครผ่านไปก็มักจะต้องแวะ ไปลิ้มลอง
ภาพที่ 9 หมาน้อยในน้ํากะทิของร้าน ยายหม่องแหนมเนือง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย จากการศึกษาข้อมูลการประโยชน์ใบหมาน้อยสดมาเตรียมอาหารต่างๆ และจากการที่ทดลองเอาใบ
ตากแห้งแล้วขยี้พบว่าน้ําคั้นที่ได้สามารถที่แข็งตัวเป็นวุ้นหรือเจลได้ จึงได้มีการทดลองนํามาทําเป็นอย่างอื่น ร่วมด้วย รวมทั้งการเตรียมเป็นอาหารหวาน ข้อดีของการใช้ผงใบแห้งเตรียมอาหาร คือ สามารถกําหนด ปริมาณได้ชัดเจน และมั่นใจว่าได้วุ้นที่ไม่คายน้ํา ดังเช่นวุ้นที่ได้จากใบสด เนื่องจากในใบสดควบคุมเรื่อง ของ ปริมาณได้ไม่ชัดเจนนัก แต่กรณีที่ใช้ผงใบสามารถกําหนดได้ว่าปริมาณที่เหมาะสมให้ได้วุ้นที่มีความแข็งตามที่ ต้องการได้ ดังนั้นในโครงการพัฒนาใช้ประโยชน์พืชท้องถิ่นซึ่งภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอัน เนื่องมาจากพระราชดําริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในปี 2560 ได้ศึกษาพืชหมาน้อย เพื่อที่จะใช้ในการฟื้นฟูการใช้ประโยชน์พืชท้องถิ่น และช่วยส่งเสริมให้เด็กรับประทานมากขึ้น เนื่องจากเด็กใน ปัจจุบันไม่นิยมรับประทานอาหารที่เป็นรูปแบบตามภูมิปัญญาดั้งเดิมเช่น ลาบหมาน้อยที่มีอยู่ จากการที่ นักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร มีการศึกษาและพัฒนาพืชหมากเม่าจนได้รับการ ยอมรับทั้งรสชาติและคุณประโยชน์ของน้ําหมากเม่า ดังนั้นจึงได้นํามาพัฒนาร่วมกันโดยใช้รสชาติและสีสันจาก หมากเม่า และความสามารถในการก่อเจลของหมาน้อย จนเกิดเป็นเจลลี่เม่าหมาน้อย soft gel เม่าหมาน้อย หรือหมาน้อยในน้ํากะทิ ที่เด็กและคนทั่วไปยอมรับมากขึ้น ซึ่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้ใช้ผงใบหมาน้อย แห้งบดละเอียด มาใช้โดยมีขั้นตอนดังนี้ เก็บไว้หมาน้อยที่แก่เต็มที่จะนํามาล้างให้สะอาดไปตากให้แห้งโดยใช้ เวลาในการตากไม่เกินสองวัน เพื่อให้ ได้สีเขียวสด เมื่อใบหมาน้อย แห้งกรอบ แล้วนําไปบดให้ละเอียดจากนั้น เก็บไว้ใช้ในการเตรียมผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น การทําวุ้นเม่าหมาน้อย เริ่มจากการชั่งน้ําหนักผงหมาน้อ14-18 กรัม และเตรียมน้ําเม่าปริมาตร 1 ลิตร นําผงหมาน้อยค่อยๆ โรยลงในน้ําเม่าคนให้ผงหมาน้อยละลายน้ําไม่ให้ เกาะเป็นก้อน จากนั้นตั้งทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงจะแข็งตัวเป็นก้อนรับประทานเป็นอาหารหวานได้หรือหาก ต้องการให้ได้ความเข้มข้นต่ําเป็นลักษณะของ soft gel ดําเนินการเช่นเดียวกันกับการทําวุ้นหมาน้อยแต่จะใส่
ผงหมาน้อยลดปริมาณลง เป็น 4-6 กรัมต่อลิตร (ภาพที่ 10) และวุ้นหมาน้อยในน้ํากะทิ และ หลังจากที่พัฒนาตํารับแล้วนําข้อมูลที่ได้มาถ่ายทอดให้กับชุมชนในเครือข่ายของมหาวิทยาลัย
ภาพที่ 10 วุ้นเม่าหมาน้อย และ soft gel เม่าหมาน้อย และ วุ้นหมาน้อยในน้ํากระทิ
4.2 การใช้ประโยชน์ ในเชิงผลิตภัณฑ์เสริมความงาม
นอกจากที่ได้มีการใช้ประโยชน์ในด้านอาหารแล้ว ด้วยองค์ประกอบของหมาน้อยที่มีเพคตินเป็น องค์ประกอบ และด้วยสรรพคุณของเพคตินที่มีคุณสมบัติหลายอย่างเช่น ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ความนุ่มเนียน ลดความร้อนให้กับผิว โดยเริ่มที่อาจารย์กมลรัตน์ ณ หนองคาย ได้เริ่มคิดถึงการใช้ระโยชน์ในเชิงความงาม ตามความเชี่ยวชาญของอาจารย์ ซึ่งในส่วนนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2548 ในขณะนั้น คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ยังเป็นสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตร สกลนคร ในขณะนั้นได้จัดทําชุดโครงการพัฒนาการใช้ประโยชน์กรุงเขมาหรือหรือหมาน้อย ในชุดโครงการนั้น ศึกษาในเรื่องของการปลูก การขยายพันธุ์ เรื่องของโรคแมลง แต่เนื่องจากเมื่อปลูกมีผลผลิตที่เก็บจากงานวิจัย ในขณะนั้นอาจาย์กมลรัตน์ ณ หนองคาย ปฎิบัติงานที่วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย ที่อยู่ในสังกัดสถาบัน เทคโนโลยีราชมงคล จังหวัดปทุมธานี ได้ทดลองนํามาพัฒนาเป็นผงพอกหน้า พบว่าช่วยให้หน้าชุ่มชื้น หน้าเด้ง ขาวใส จึงได้เริ่มพัฒนาและมีการอบรมให้กับผู้สนใจมาโดยตลอด ซึ่งในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์หลายอย่างออกมา และหลายผู้ประกอบการที่ทําเป็นผลิตภัณฑ์ (ภาพที่ 11)
ภาพที่ 11 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์พอกหน้าที่มีในท้องตลาด
ใ น ปี 2560-2561 ที ม นั ก วิ จั ย ข อ ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขต สกลนคร ได้ศึกษาพัฒนาตํารับร่วมกับทาง อาจารย์กมลรัตน์ ณ หนองคาย โดยคัดเลือก 3 ตํารับ คือ 1) ตํารับ สําหรับผู้ที่มีสิวผิวแพ้ง่าย 2) ตํารับสําหรับผู้ที่มีริ้วรอยแห่งวัย และ 3) ตํารับหน้าขาวใส ทีมงานเองได้ศึกษา และพัฒนาตํารับพอกหน้า โดยผ่านโครงการคูปองโอทอป ซึ่งได้นําตํารับที่พัฒนาขึ้นถ่ายทอดให้กับกลุ่ม ผู้ประกอบการในแบรนด์ “ปูาไก่ไทยเฮิร์บ” ภาพที่ 12
ภาพที่ 12 การพัฒนาผลิตภัณฑ์และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กลุ่ม อ.วานรนิวาส และ พัฒนาผลิตภัณฑ์ “ปูาไก่ ไทยเฮิร์บ”
เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน อีกทั้งยังได้ศึกษาถึงคุณสมบัติต่างๆ ของตํารับทั้งเรื่องของรูปแบบ สารสําคัญ เพื่อเตรียมเรื่องของมาตรฐานสารสําคัญ ดังตัวอย่างของรูปแบบสารสําคัญที่ทดสอบในโครงการ (ภาพที่ 13) เรื่องอายุการเก็บรักษา รวมถึงความพึงพอใจในการใช้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่พัฒนานั้นใช้
หมาน้อยเป็นส่วนประกอบหลก ทําให้ได้ผลิตภัณฑ์พอกหน้าสูตรธรรมชาติที่พอกแล้วลอกเป็นแผ่นได้ คล้ายกับ
ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบด้วยสาหร่ายทะเล และในส่วนของสรรพคุณของผลิตภัณฑ์นั้นจะมาจากคุณสมบัติ ของหมาน้อยเองที่ช่วยเรื่องความชุ่มชื้นด้วยการเติมน้ําเข้าผิว และสรรพคุณของสมุนไพรที่ใส่เป็นส่วนประกอบ
ก. ข
ภาพที่ 13 รูปแบบสารสาคัญของตํารบ
เป็นสิวผิวแพ้ง่าย
ผงพอกหน้ากรุงเขมา ก) สําหรับผู้ที่มีริ้วรอยแห่งวัย และ ข) สําหรับผู้ที่
ตํารับผ งพอกกรุงเขมาที่พัฒนาขึ้นมี ดังต่อไปนี้ สูตรสําหรับผู้ที่เป็นสิวผิวแพ้ง่าย (Anti- Acne Krung Kamoa Powder Mask) มีส่วนประกอบ ดังต่อไปนี้ ผงใบกรุงเขมา ผงใบว่านมหากาฬ ผงใบ ทองพันชั่ง ผงใบบัวบก ผงต้นพญายา ผงหัวเปราะหอม ผงเหง้าขมิ้นชัน ผงดินสอพอง และ แปูงท้าวยายม่อม สําหรับตํารับนี้มุ่งเน้นในการรักษาสิวและลดอาการแพ้จากผลิตภัณฑ์เสริมความงามทีมีสารเคมีเป็น ส่วนประกอบ โดยมีผงใบกรุงเขมาเป็นส่วนประกอบหลักเพื่อทําหน้าที่ในการก่อเจล และโดยสรรพคุณของ กรุงเขมาที่มีฤทธิ์เย็นจะช่วยให้ลดความร้อนทําให้เวลาพอกรู้สึกเย็นสบาย และยังช่วยลดอาการแพ้ และเพิ่ม ความชุ่มชื้น ในส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนในการลดสิว ประกอบด้วย ว่านมหากาฬ ทองพันชั่ง บัวบก พญายา เปราะหอม ขมิ้นชัน และ ดินสอพอง สมุนไพรที่ใส่ในตํารับ มีสรรพคุณในการลดผดผื่นคัน ส่วนท้าวยายม่อม ใส่เพื่อช่วยเนื้อผลิตภัณฑ์ให้เนียนขึ้น
อีกตัวอย่างคือผงพอกหน้ากรุงเขมาสูตรสําหรับผู้ที่มีริ้วรอยแห่งวัย (Anti Aging Krung Kamoa
Powder Mask มีส่วนประกอบดังนี้ (ผงใบกรุงเขมา ผงต้นพญายา ผงรากสามสิบ ผงหวกวาวเครือขาว ผงเหง้า
ว่านชักมดลูก ผงใบย่านาง ผงเหง้าว่านนางคํา ผงดินสอพอง และ เกสรทั้ง 5 (มะลิ, พิกุล, บุนนาค, สารพี, เกสรบัวหลวง) สําหรับตํารับนี้มีผงกรุงเขมาเป็นส่วนประกอบหลักเช่นเดียวกัน แต่สมุนไพรที่เติมเข้ามา มี พญายา รากสามสิบ กวาวเครือ ว่าชักมดลูก ว่านนางคํา ที่ช่วยในเรื่องของการลดริ้วรอยและมีย่านาง ที่มีฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสระสูง ในตํารับนี้คาดหวังเรื่องการลดริ้วรอย
ซึ่งจะเห็นว่าส่วนประกอบหลักที่ใช้จะเป็นหมาน้อยเพื่อเป็นตัวก่อเจลให้สามารถลอกเป็นแผ่นได้ และผสมกับส่วนประกอบตามเปูาหมายที่จะให้ได้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติอย่างไร โดยปกติจะใช้ผงหมาน้อย ตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไป จะทําให้ผลิตภัณฑ์ก่อตัวเปนเจลและลอกเปนแผ่นได้ และการที่จะทําให้ผลตภัณฑ์พอก เรียบเนียน นั้นส่วนประกอบทุกตัวต้องละเอียดตั้งแต่ 80 mash ขึ้นไป ซึ่งยิ่งผงละเอียดจะยิ่งพอกง่ายและ เรียบเนียนน่าใช้มากขึ้น สําหรับวิธีการใช้เมื่อผสมผลิตภัณฑ์แล้ว ตักผลิตภัณฑ์ 2 ช้อนชา ใส่ถ้วยขนาด ประมาณ 100-150 มิลลิลิตร เพื่อให้สามารถผสมได้สะดวก แล้วเติมน้ําสะอาด ประมาณ 100 มิลลิลิตร แล้ว คนผสมกับน้ําให้เป็นลักษณะครีมข้นๆ จากนั้นนํามาพอกบนผิวหน้าให้ทั่ว (ภาพที่ 14) จากนั้นพอกทิ้งไว้ ประมาณ 10 นาที ลองเอามือสัมผัสที่ครีมที่พอกไปบนผิวจะไม่ติดมือ และเกาะตัวเป็นแผ่น แต่ให้พอกต่อ ประมาณ 15-20 นาที จนมีน้ําเยิ้มออกจากแผ่นมาร์ค แสดงว่าพร้อมที่จะแกะออกจากหน้าได้ ซึ่งเป็น ระยะเวลาเหมาะสมที่สมุนไพรซึมเข้าผิวหนังได้ดี
วิธีใช้ ผสมผงพอกหน้ากับน้ําให้เข้ากันเป็นคีมข้นๆ
ผสมตามตํารับ และบรรจุภาชนะ
พอกครีมบนให้ทั่วใบหน้า
ส่วนที่ลอกออกจะเป็นแผ่นนิ่ม ๆ
ประมาณ 15-20 นาที สามารถลอกออกเป็นแผ่นได้
ภาพที่ 14 การพัฒนาและใช้ประโยชน์หมาน้อยเป็นผงพอกหน้า
นอกจากมีการพัฒนาเป็นผงพอกหน้าแล้ว นักวิจัยของ มทร.อีสาน วข.สกลนคร ยังได้มีการพัฒนาเป็น ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น เจลกรุงเขมาเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวกาย เจลมาร์คหน้าจากสารสกัดกรุงเขมาและหมาก
เม่า สบหมากเม่าเพิ่มความชุมชื้นผิวหน้าและผิวกาย และเจลล้างหน้ารักษาสิวจากสารสกัดกรงุ เขมา ซง
ผศ.ภานิชา พงศ์นราทร ได้พัฒนาขึ้น (ภาพที่ 15)
เจลกรงุ เขมาเพิ่มความชุ่มชื่นผิวกาย | เจลมาร์คหน้าจากสารสกัดกรงุ เขมาและหมากเม่า |
สบู่กรุงเขมาเพิ่มความชุ่มชื่นผิวหน้าและผิวกาย | เจลล้างหน้ารักษาสิวจากสารสกัดกรงุ เขมา |
ภาพที่ 15 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์บํารงุ ผิวพรรณจากหมาน้อยที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้น
5. การส่งเสริมและฟื้นฟูการปลูกและการใช้ประโยชน์
จากการศึกษาและพัฒนาหมาน้อยของนักวิจัยของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขต สกลนคร ที่ได้ดําเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน ได้มีข้อมูล และผลิตภัณฑ์ที่ได้พัฒนา อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้องค์ความรู้ที่ได้ถูกถ่ายทอดสู่ชุมชนเครือข่ายของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร โดยเริ่มถ่ายทอด ตั้งแต่แรก 2560 -2561 ในปี 2560 นําร่อง ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้กับเครือข่ายสมาคมหมากเม่า โดยทําวุ้นเม่าหมาน้อย โดยนําเอาผงกรุงเขมา ผสมกับน้ําหมากเม่า เพื่อเป็น เครื่องดื่มเสริมใยอาหาร ถ่ายทอดการทําน้ําตะคร้อ สบู่ใบเม่า โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชุมชนไปพร้อมๆ กับการฟื้นฟู อนุรักษ์ การใช้ประโยชน์หมาน้อย ให้เป็นที่ยอมรับ และมีการฟื้นฟูการใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง โดยถ่ายทอดให้กับชุมชนที่เป็นเครือข่าย ภายใต้กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการศูนย์ถ่ายทอดองค์ ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชท้องถิ่น ในโครงการ อพ.สธ.ประจําปี 2561 ให้กับเครือข่าย อําเภอ ภูพาน กุดบาก วานรนิวาส และ สว่างแดนดิน ที่มีความตั้งใจที่จะนําความรู้ไปต่อยอดการใช้ประโยชน์ ทรัพยากรท้องถิ่นและยกระดับธุรกิจชุมชนต่อไป (ภาพที่ 16)
ภาพที่ 16 อบรมถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชนเครือข่าย อําเภอภูพาน กุดบาก วานรนิวาส และ สว่างแดนดิน
นอกจากนั้นได้มีการจัดประชุมเพื่อจัดทําแผนพัฒนาหมาน้อยร่วมกับชุมชนเพื่อหาแนวทางในการ อนุรักษ์และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ โดยแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องหมาน้อยระหว่างนักวิจัยและตัวแทนชุมชน ถึง สิ่งที่มีเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ หมาน้อยในชุมชน และเสวนาเพื่อหาแนวทางร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดการใช้ ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง (ภาพที่ 17)
ภาพที่ 17 เสวนาเพื่อวางแผนร่วมกันระหว่างนักวิจัยและชุมชนเพื่อหาแนวทางอนุรักษ์และฟื้นฟูการใช้ ประโยชน์หมาน้อย
อบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับ หมาน้อยให้กับชุมชนบ้านผักคําภู ตั้งแต่เรื่องข้อมูล เบื้องต้นของหมาน้อย สรรพคุณ การใช้ประโยชน์ ทั้งตามภูมิปัญญาและในส่วนที่การศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให ชุมชนเป็นประโยชน์หมาน้อยนอกเหนือจากที่มีการใช้ประโยชน์ตามภูมิปัญญาเดิม เพื่อให้ชุมชนเห็นคุณค่าและ แนวทางการใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น เพื่อเชื่อมโยงถึงเรื่องการฟื้นฟูการใช้ประโยชน์ พร้อมส่งเสริมการปลูกเพื่อใช้ ประโยชน์ในชุมชน (ภาพที่ 18) และส่งเสริมให้ชุมชนมีการปลูกหมาน้อยทุกบ้าน ซึ่งในส่วนนี้ต้องมีการติดตาม โครงการต่อไป
ภาพที่ 18 อบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชุมชนบ้านผักคําภูเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูใช้ประโยชน์ หมาน้อย
จากการศึกษารวบรวมข้อมูลเรื่องหมาน้อยมาได้ระดับหนึ่งจึงได้ทําโครงการศึกษาการปลูกในพื้นที่ เกษตรกรจริง พร้อมกับเรียนรู้ร่วมกับกับเกษตรกรในการ ปลูกหมาน้อยทั้งเชิงพืชเดี่ยว และพืชผสม โดยได้รับ งบประมาณจากกองทุนพัฒนาน้ําบาดาล เพื่อการศึกษาพืชท้องถิ่นที่มีศักยภาพและใช้น้ําน้อย ซึ่งจากผลพบว่า การปลูกในลักษณะพืชเดี่ยวมีการเจริญเติบโตดีกว่าการปลูกในลักษณะพืชผสม (ภาพที่ 19)
ภาพที่ 19 ศึกษาระบบการปลกหมาน้อยทั้งระบบพืชผสม และพืชเดี่ยว
6. สรุป
พืชหมาน้อย เป็นพืชท้องถิ่นที่พบหลากหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสานที่มีภูมิปัญญาการใช้
ประโยชน์หมาน้อยทั้งในรูปอาหารและยามาอย่างยาวนาน แต่ในปัจจุบันที่สังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป ทํา ให้การใช้ประโยชน์จากพืชท้องถิ่นที่เคยมีมาแต่ในอดีต ห่างหายจากชีวิตของคนในชุมชน พืชหมาน้อยก็เช่นกัน ดังนั้น ทีมดําเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยาม บรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ได้เห็นความสําคัญจึงได้กําหนดพืช ศึกษาของหน่วยงานเพื่อศึกษาพัฒนาก่อนคือ หมากเม่า หมาน้อย และ คราม จะเห็นว่าหมาน้อย เป็นพืชหนึ่ง ที่อยู่ในเปูาหมายของการพัฒนา และฟื้นฟูให้เกิดการใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น จึงได้มีการศึกษาตั้งแต่การปลูก การ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้กับชุมชนเครือข่าย เพื่อให้ชุมชนเห็นถึง ประโยชน์ และหวนกลับมาใช้ประโยชน์ และพัฒนาใช้ประโยชน์ให้กับชุมชน มุ่งสร้างรายได้ให้กับชุมชนด้วย ทรัพยากรในท้องถิ่น ที่จะช่วยลดปัญหาหลายอย่างเช่น เรื่องการจัดหาวัตถุดิบ เมื่อเป็นวัตถุดิบท้องถิ่นหากไม่ เพียงพอต้องมีการขยายพันธุ์และเพิ่มการปลูกการขยายพันธุ์อันจะเป็นการอนุรักษ์ให้คงอยู่ต่อไป และเมื่อเกิด รายได้จากจากทรัพยากรท้องถิ่นย่อมส่งต่อให้กับชุมชนลดการย้ายถิ่นฐาน ซึ่งทางทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ได้ศึกษาและพัฒนาเพื่อหาแนวทางในการสร้างผลิตภัณฑ์ และ ถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้กับชุมชน เพื่อเป็นแนวทางให้ชุมชนเห็นถึงประโยชน์ของพืชหมาน้อยที่สามารถพัฒนา
ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายกว่าที่มีการใช้ประโยชน์ แบบเดิม ซึ่งจากการถ่ายทอดองค์ความรู้ทําให้เห็น ว่าชุมชนให้ความสนใจในส่วนของการใช้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น และในขั้นต่อไป จะมุ่งต่อในการสร้างมูลค่าของ ผลิตภัณฑ์เพื่อเปิดช่องทางให้กับชุมชนได้สร้างรายได้ ซึ่งในปัจจุบันมีการสร้างรายได้แต่ยังไม่กว้างขวางนัก จึง ต้องมีการศึกษาและพัฒนาต่อไป
บรรณานุกรม
กัญจนา. ดีวิเศษ และ อร่ามคุ้มกลาง, 2542. ผักพื้นบ้านอีสาน. โรงพิมพ์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. กรุงเทพฯฬ 302 น.
ก่องกานดา ชวามาน และ ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทย ตอนที่ 7 โรงพิมพ์ประชาชนจํากัด กรุงเทพ.
258 น.
พิเชษฐ เทบํารุง. 2546. การสกัดเพคตินจากใบกรุงเขมา. วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
134 น.
ราตรี. พระนคร ศุภนิดา ทองดวง และ สุกัญญา ไชยพาพิมพ์ .2651. ผลของวุ้นหมาน้อย ต่อ (กรุงเขมา ) วารสารวิทยาศาสตรเกษตร ฉบับที่ .ระดับนย้ําตาลในเลือดในอาสาสมัครปกติ60: 1 หน้า (พิเศษ) 119-123.
ราตรี. พระนคร และปริญดา แข็งขัน. 2548. ผลของเบนซิลอะดินินต่อการเจริญเติบโตของปลายยอดกรุงเขมา (Cissampelos paerira ) ในสภาพปลอดเชื้อ. ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Iskandar Muda Siregar and Isnatin Miladiyah. 2011. Protective effects of Cyclea barbata Miers. leaves against aspirin-induced gastric ulcer in mice. Universa Medicina. May- August, Vol 33 (2) : 88-94.
Dimes Atika Permanasari, Elly Nurus Sakinah and Ali Santosa. 2016. The activity of ethanolic extract of Cyclea barbata Miers. as inhibitor of bacterial biofilm formation of Salmonella typhi. Journal of Agromedicine and Medical Sciences: Vol. 2 No. 2 (2016) Apasara Arkarapanthu, Visith Chavasit, Pongtorn Sunpuag and Leena Phuphthanaphong. 2005. Gel extracted from Khruea-ma-noi (Cyclea Barbara Miers) leaves: chemical composition and gelatin properties.Journal of the Science of Food and
Agriculture.85:1741-1749.
Siti Kusmardiyani, Muhammad Insanu and Ma’sum Al Asyhar. 2014. Effect a Glycoside flavonoid Isolated from green grass jelly (Cyclea brabata Miers.) leaves. Pro edit Chemistry. 13: 194-197.
Shendy Chandra Sulamanda, Irda Fidrianny, Andreanaus A. Soemardji. 2011. Pectin ulcer prevention in female Wistar rats with gel from Cincau hijab fresh leave (Cyclea brabata Miers). Journal of Medika Planta. Vol.1. No. 3. April 2011. 1-7.
Yuraporn Sahasakul , Parunya Thiyajai Wantanee Kriengsinyos and Somsri Charoenkiatkul. 2558. Nutrients and Phenolic acids in Krung Ba Dan (Cyclea brabata Miers) leaves and aqueous extract ferromagnetic Ubon Ratchathani Province. วารสารวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ปีที่ 17 ฉบับที่ 12 พฤษภาคม-มิถุนายน 2558. น.1-8