CLAUSES CONTRADICTING MAIN PURPOSE OF THE CONTRACT
ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา
โดย
xxxxxx xxxxxxx
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายเอกชน
xxxxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx ปีการศึกษา 2565
CLAUSES CONTRADICTING MAIN PURPOSE OF THE CONTRACT
BY WITTAWAT SANSAWET
A THESIS SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS FOR THE DEGREE OF MASTER OF LAWS
PRIVATE LAW FACULTY OF LAW
THAMMASAT UNIVERSITY ACADEMIC YEAR 2022
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxx
xxxxxนิพนธ
ของ xxxxxxxxx xxxxxxx
เรื่อง ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา
ได้รับการตรวจสอบและอนุมัติ ให้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร นิติศาสตรมหาบัณฑิต
เมื่อ xxxxxx 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
ประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กรศุทธิ์ ขอxxxxxxxx)
กรรมการและxxxxxxxxxxปรึกษาวิทยานิพนธ์
(xxxxxxxxxxxxxx xx. xxxxxxxx xxxxxxx)
กรรมการสอบวิทยานิพนธ์
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ xx. xxxx xxxxxxxxxxxxxx)
คณบดี
(รองศาสตราจารย์ xx. xxxxxx xxxxxxx)
หัวข้อวิทยานิพนธ์ ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา
ชื่อผู้เขียน xxxxxx xxxxxxx
xxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxx
xxxxxxxx/คณะ/xxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxx xxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
xxxxxxxxxxปรึกษาวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ xx. xxxxxxxx xxxxxxx ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญา รวมถึงเสนอแนวทางในการเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงลักษณะนี้ใน ประเทศไทย โดยใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยทางเอกสาร ทั้งนี้ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายไทยกับ กฎหมายฝรั่งเศสและกฎหมายอังกฤษ วิทยานิพนธ์นี้ศึกษากฎหมายของไทยและของต่างประเทศโดยวิธีการ ค้นคว้าข้อกฎหมาย ตํารา บทความ วิทยานิพนธ์ คําวินิจฉัยของศาลและบรรยายในเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบ รวมถึงผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายของไทยและต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า 1) ไม่มีกฎหมาย เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาในกฎหมายไทย พบเพียงกฎหมายทั่วไปxxx xxxนํามาปรับใช้และร่องรอยของกฎหมายในลักษณะของข้อตกลงจํากัดหรือยกเว้นความรับผิดและไม่พบว่า มีการกล่าวถึงหลักการดังกล่าวโดยตรงในแวดวงวิชาการและxxxxxxxxการนําxxxxxxxxxxไปปรับใช้ในคํา พิพากษา 2) ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาหากนํามาปรับใช้โดยอาศัยกฎหมายไทยในปัจจุบัน อาจต้องxxxxxxมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย และเป็นโมฆะตามxxxxxxกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 150 ซึ่งเป็นหลักการอย่างกว้างและไม่มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา หรืออาจต้องอาศัย หลักการตีความการแสดงxxxxxและการตีความสัญญาตามxxxxxxกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 171
และมาตรา 368 ซึ่งไม่มีหลักเกณฑ์xxxxxxxxxและอาจเกิดปัญหาในการค้นหาxxxxxอันแท้จริงของคู่สัญญา ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรxxxxxบทบัญญัติเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาไว้โดยเฉพาะ เพื่อให้กฎหมายเกิดความชัดเจนและมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการพิจารณาเพื่อประโยชน์ในการxxxxx วัตถุประสงค์หลักของสัญญาที่เป็นความxxxxxxxxxxคู่สัญญาเข้าทําสัญญาระหว่างกัน
คําสําคัญ: วัตถุประสงค์หลักของสัญญา, เสรีภาพในการทําสัญญา, ข้อตกลงในสัญญา
Thesis Title CLAUSES CONTRADICTING MAIN PURPOSE OF THE CONTRACT
Author Xxxxxxxx Xxxxxxxx
Degree Master of Laws
Major Field/Faculty/University Private Law
Law
Thammasat University
Thesis Advisor Associate Professor Xxxxx Xxxxxxxxx, Ph.D.
Academic Year 2022
ABSTRACT
The purpose of this thesis was to study legal problems related to clauses that conflict with the main purpose of the contract, and to suggest means to implement laws related to such agreements in Thailand, using method of documentary research comparing Thai law with French and English law. This thesis studied Thai and foreign laws through legal research, textbooks, articles, theses, court rulings, and comparative descriptions, including the impact of law enforcement in Thailand and abroad. The results of the study revealed that 1 ) there is no specific law regarding the agreement that contradicts main purpose of the contract in Thai law, only general law that could be applied and traces of law in clauses restricting or excluding liability for breach of contract and such principles were not mentioned among the scholars and there is no application of this principle to the practice; 2) an agreement that is contrary to the main purpose of the contract, if applied in accordance with current Thai law, may be considered to have an objective that is in conflict with public order and deemed void under the Civil and Commercial Code, Section 150 , which is a broad principle with no criteria for consideration, or it may require the interpretation of the intention and the interpretation of the contract under the Civil and Commercial Code, Section 171 and Section 368, which does not have clear and specific criteria and may cause problems in finding the true intent of
the parties. Therefore, the researcher is of the view that specific provisions concerning the agreement that conflict with the main objectives of the contract should be added to clarify the law and provide certain criteria for consideration in order to achieve the main objectives of the contract, which are the intentions of the parties to make a contract.
Keywords: Main purpose of the contract, Freedom of contract, Contract clause
กิตติกรรมประกาศ
ผู้เขียนขอขอบคุณท่านxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxxx xxxxxxxxxxปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่ xxxxxให้คําแนะนํา ชี้แนะแนวทางในการทําวิทยานิพนธ์และxxxxxช่วยเหลือผู้เขียนในทุกด้าน อย่างเต็มที่จนทําให้ผู้เขียนxxxxxxเขียนวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จนสําเร็จได้ และขอขอบพระคุณ ท่านxxxxxxxxxxx xxxxxxจํารูญลาภ และท่านอาจารย์กรศุทธิ์ ขอxxxxxxxx ที่xxxxxรับเป็นกรรมการสอบ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้และให้ข้อเสนอแนะที่มีคุณค่ายิ่งเพื่อปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาให้xxxxxxxยิ่งขึ้น
ผู้เขียนขอขอบคุณเพื่อน รุ่นพี่ รุ่นน้องทุกคนที่มีความxxxxxxxxxและให้การสนับสนุน เป็นกําลังใจ และช่วยเหลือผู้เขียนในการเขียนวิทยานิพนธ์เล่มนี้มาโดยตลอด รวมถึงคุณกันตxxxx xxxxxxxxxxx ที่ให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกให้ผู้เขียนอย่างเต็มที่มาโดยตลอด
ท้ายที่สุดนี้ผู้เขียนขอขอบคุณพ่อ แม่ และครอบครัวที่เป็นกําลังใจ ให้การสนับสนุนและ เป็นแรงขับเคลื่อนให้ผู้เขียนมีความเจริญxxxxxxในทุกด้าน
xxxxxx xxxxxxx
สารบัญ | หน้า | |
บทคัดย่อภาษาไทย | (1) | |
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ | (2) | |
กิตติกรรมประกาศ | (4) | |
บทที่ 1 บทนํา | 1 | |
1.1 สภาพปัญหาและความสําคัญ | 1 | |
1.2 สมมติฐาน | 8 | |
1.3 วัตถุประสงค์ในการศึกษา | 8 | |
1.4 ขอบเขตการศึกษา | 9 | |
1.5 วิธีดําเนินการศึกษา | 9 | |
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ | 9 | |
1.7 ทบทวนวรรณกรรม | 10 |
บทที่ 2 กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา 12
2.1 xxxxxxกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 13
2.1.1 บทบัญญัติเกี่ยวกับการxxxxxวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยตามมาตรา 150 14
2.1.2 บทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความการแสดงxxxxxตามมาตรา 171 18
2.1.3 บทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความสัญญาตามมาตรา 368 23
2.2 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาxxxxxxเป็นธรรม พ.ศ. 2540 27
2.2.1 มาตรา 4 28
2.2.2 มาตรา 6 30
2.2.3 มาตรา 8 32
บทที่ 3 กฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา 34
3.1 ประเทศฝรั่งเศส 34
3.1.1 หลักกฎหมายเรื่อง “Causa” 35
3.1.2 คดี Chronopost 37
3.1.3 คดี Faurecia 38
3.1.4 มาตรา 1170 แห่งxxxxxxกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส 39
3.2 ประเทศอังกฤษ 40
3.2.1 คดี Glynn v. Margetson 41
3.2.2 คดี Karsales (Harrow) v Wallis 41
3.2.3 คดี Suisse Atlantique Societe d'Armament SA v. NV Rotterdamsche Kolen Centrale 42
3.2.4 คดี Photo Production Ltd v Securicor Transport Ltd 43
3.3 บทสรุป 44
บทที่ 4 บทวิเคราะห์ 45
4.1 กฎหมายxxxxxหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ หลักของสัญญาxxxxxxxไว้หรือไม่และถ้าไม่มีxxxxxxxไว้xxxxxมีบทบัญญัติ เพิ่มเติมหรือไม่ 45
4.1.1 หลักการสําคัญ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาและผลทางกฎหมาย ของหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา 46
4.1.2 หลักการสําคัญ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาและผลทางกฎหมายของ บทบัญญัติในกฎหมายไทย เมื่อเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับ ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา 50
4.1.3 ปัญหาในการใช้xxxxxxxxxxxxมีอยู่ในกฎหมายไทยปรับใช้กับกรณีของหลัก กฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา 63
4.2 หากต้องมีหลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา xxxxxxxไว้ในกฎหมายไทยเป็นการเฉพาะควรกําหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาอย่างไร และควรxxxxxxxเพิ่มเติม ไว้ในกฎหมายฉบับใดส่วนใด 66
4.3 ในกรณีที่มีการกําหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ หลักของสัญญาและผลทางกฎหมายของข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลัก
ของสัญญา ศาลควรมีอํานาจในการใช้ดุลพินิจอย่างไร เพียงใด 67
4.4 ในกรณีที่มีหลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา xxxxxxxไว้ในกฎหมายไทยเป็นการเฉพาะ ควรมีการกําหนดข้อยกเว้นสําหรับ การบังคับใช้บทบัญญัติดังกล่าวสําหรับข้อตกลงในลักษณะใดหรือไม่ อย่างไร 68
บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ
5.1 บทสรุป
5.2 ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ประวัติผู้เขียน
70
70
72
74
78
บทที่ 1
บทนํา
1.1 สภาพปัญหาและความสําคัญ
ในเรื่องของนิติกรรมและสัญญานั้น มีหลักกฎหมายในเรื่องเดียวกัน คือ หลักกฎหมาย ในเรื่องxxxxxxxxxxxเรียกว่า หลักxxxxxในทางแพ่ง หรือ หลักความxxxxxxxxxxxxของxxxxx (Autonomy of The Will) แต่ในทางสัญญามีหลักกฎหมายอันหนึ่งเรียกว่า หลักเสรีภาพในการทําสัญญา หรือ (Freedom of Contract) หลักเสรีภาพในการทําสัญญามี 2 ความหมาย คือ xxxxxxxxxxจะเข้ามา ตกลงทําสัญญาและxxxxxxxxxxจะไม่ถูกแทรกแซงเมื่อสัญญาเกิดแล้ว โดยxxxxแล้วเมื่อคู่สัญญาเอกชน เข้าทําสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างกันสัญญาหรือข้อตกลงที่ทําขึ้นระหว่างกันนั้นต้องxxxxxxบังคับ ใช้ได้เพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความxxxxxxxxxxxxหรือความสําคัญของxxxxxxxxเอกชนแสดงต่อกันอัน เป็นหลักการใหญ่ของกฎหมายเอกชน แต่หลักการดังกล่าวอาจมีข้อยกเว้นที่เกิดจากเหตุผลต่าง ๆ ได้ หลายประการ โดยหลักเสรีภาพในการทําสัญญาได้รับการรับรองในxxxxxxกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์มาตรา 151 อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การทําสัญญาอยู่ในกรอบของกฎหมายและไม่ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมxxxxxของประชาชน เสรีภาพในการทําสัญญาจึงถูกจํากัดในด้านต่าง ๆ xxxx การจํากัดเสรีภาพในการเลือกคู่สัญญา การจํากัดเสรีภาพในการกําหนดวัตถุประสงค์ของสัญญา การจํากัดเสรีภาพในเรื่องแบบของสัญญา การจํากัดเสรีภาพในเรื่องxxxxxเพื่อที่จะคุ้มครองประโยชน์ บุคคลอื่นที่มาเกี่ยวข้องด้วย การจํากัดเสรีภาพในการกําหนดเนื้อหาของสัญญาซึ่งอาจถูกกําหนดโดย กฎหมาย การจํากัดเสรีภาพโดยกฎหมายพิเศษ xxxx กฎหมายคุ้มครองแรงงาน การจํากัดเสรีภาพใน xxxxxxxxของสัญญา แม้โดยxxxx “สัญญาต้องเป็นสัญญา” (Pacta Sund Servanda) แต่ภายหลัง สัญญา ยังไม่มีการปฏิบัติxxxxxxxx แต่มีการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ในการปฏิบัติการณ์ชําระหนี้ไป อย่างมากอย่างxxxxxxอาจคาดหมายได้ในขณะทําสัญญา ก็อาจต้องมาใช้หลัก “มูลเหตุของสัญญา เปลี่ยนแปลงไป” (Rebus Sic Stantibus) การจํากัดเสรีภาพในการทําสัญญาด้วย พ.ร.บ. ว่าด้วย ข้อสัญญาxxxxxxเป็นธรรม พ.ศ. 2540 ซึ่งมีลักษณะเป็นกฎหมายพิเศษ เพราะxxxxxxxขึ้นเพื่อจะใช้ทํา สัญญาบางประเภทและข้อสัญญาบางอย่างที่มีลักษณะไม่เป็นธรรมขึ้น ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าหลักการใน เรื่องความศักดิ์xxxxxของxxxxxหรือเสรีภาพของสัญญาแม้จะเป็นเรื่องสําคัญแต่หากมีเหตุผลxxxxxxxxx xxxxxxมีข้อยกเว้นเกิดขึ้นได้ โดยการกําหนดข้อยกเว้นxxxxนี้มีความเหมาะสมหรือไม่และแนวทางควร เป็นอย่างไรxxxxxxxxได้โดยการเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศและกฎหมายของประเทศไทยใน ปัจจุบัน
ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญามีลักษณะเป็นข้อตกลงที่คู่สัญญาทําขึ้น ระหว่างกันโดยxxxxxxเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา แต่เนื่องด้วยเนื้อหาของข้อตกลงดังกล่าวขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญา ดังนั้นหากข้อตกลงดังกล่าวถูกบังคับใช้จะทําให้วัตถุประสงค์หลักของ สัญญาไม่xxxxxxxxxxxผล หรืออีกนัยยะหนึ่งคือเมื่อมีเหตุการณ์อย่างหนึ่งเกิดขึ้นก่อให้เกิดข้อพิพาท ระหว่างคู่สัญญาการจะนําข้อตกลงxxxxว่านั้นไปปรับใช้กับข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ดังกล่าวจะทําให้ ภาระผูกพันหลักซึ่งเป็นสาระสําคัญแห่งสัญญาไม่xxxxxxบังคับได้หรือสิ้นความสําคัญไป ด้วยลักษณะ ดังกล่าวนี้กฎหมายในบางประเทศจึงกําหนดให้xxxxxxข้อตกลงxxxxว่านี้xxxxxxทําขึ้น ซึ่งถือเป็นการยกเว้น หลักกฎหมายในเรื่องความศักดิ์xxxxxของxxxxxและความเป็นxxxxxในการทําสัญญา
หลักกฎหมายเรื่องข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาปรากฏอยู่ในxxxxxx กฎหมายแพ่งฝรั่งเศสที่แก้ไขใหม่ มาตรา 1170 โดยการแก้xxxxxxกฎหมายแพ่งของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 2016 ก่อให้xxxxxxxเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายหลายด้านโดยxxxxxxxxxxxxถูกxxxxxxxขึ้นxxxxxx จัดจําแนกxxxxxxxในส่วนที่เป็นxxxxxxxxxxxxเกิดขึ้นใหม่ xxxxxxxxxxxxมีที่มาจากกฎหมายเดิม และxxxxxxxxxxxxมีที่มาจากกฎหมายเดิมแต่มีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างจากเดิม ซึ่งมาตรา 1170 ใหม่ ของxxxxxxกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสเป็นมาตราหนึ่งที่มีที่มาจากการวางหลักกฎหมายของศาลในอดีตแต่ มีการกําหนดxxxxxxxxxxกินความมากขึ้นและอาจxxxxxxxxxแตกต่างไปจากเดิมโดยมาตราดังกล่าว กําหนดว่า “ข้อตกลงใดที่มีผลxxxxxxxสาระสําคัญแห่งภาระผูกพันสําคัญของสัญญา ข้อตกลงนั้นxxxxxx xxxxxทําขึ้น”1 ทั้งนี้ หลักการตามมาตรานี้มีที่มาจากหลักกฎหมายที่ศาลฝรั่งเศสได้วางไว้เกี่ยวกับการ จํากัดความรับผิดxxxxxxxxโดยอาศัยหลักกฎหมาย “Causa” ที่ปรากฏในมาตรา 1131 ของ xxxxxxกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสxxxxxxการแก้ไขในหลายคดีโดยมีคดีที่สําคัญคือ คดี Chronopost2 ค.ศ. 1996 ซึ่งผู้รับขนในสัญญารับขนที่มีข้อตกลงจํากัดความรับผิดไม่เกินค่าบริการ ทําการขนส่งพัสดุ ไปไม่ทันเวลาก่อให้เกิดความเสียหาย โดยศาลฝรั่งเศสวางหลักว่า ในสัญญารับขน ผู้ขนส่งมีภาระ ผูกพันในการประกันความน่าเชื่อถือและความรวดเร็วของบริการและเมื่อxxxxxxxxxxxxxกระทําว่า เป็นการละเมิดหนี้สําคัญ (Essential Obligation) ข้อจํากัดความรับผิดxxxxxxxxxxต่อภาระxxxxxxxxxxxx
1 Toute clause qui prive de sa substance l'obligation essentielle du débiteur est réputée non écrite. (Any contract term which deprives a debtor’s essential obligation of its substance is deemed not written.), Legifrance Article 1170. <xxxxx://xxx.xxxxxxxxxx.xxxx.xx/xxxxx/xxxxxxx_xx/XXXXXXXX000000000000> สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2566.
2 Société Chronopost v. Société Banchereau, Cass. com. ( 22 octobre 1996) no. 93-18632.
มิได้ทําขึ้น ซึ่งหลักการดังกล่าวมีการพัฒนาต่อมาในคดีหลัง แม้ต่อมาใน ค.ศ. 2016 จะมีการแก้ไข xxxxxxกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสโดยยกเลิกหลักกฎหมาย “Causa” แต่หลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาที่เริ่มต้นจากคดีดังกล่าวกลับxxxxxxถูกยกเลิกไปด้วย แต่มีการxxxxxxx ขึ้นใหม่ในมาตรา 1170 ของxxxxxxกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสในปัจจุบัน ซึ่งมีเนื้อหาที่ครอบคลุมมากกว่า กรณีข้อตกลงจํากัดความรับผิด
หลักการในมาตรา 1170 ใหม่ของxxxxxxกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสเป็นหลักการxxxxxx เทียบเคียงได้กับหลักการเรื่องการผิดสัญญาที่เป็นสาระสําคัญ (Fundamental Breach of Contract) ในประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์ xxxx ประเทศอังกฤษซึ่งศาลเคยปฏิเสธข้อสัญญาจํากัด ความรับผิดในลักษณะดังกล่าวxxxxกัน3 แต่ศาลได้มีการตัดสินกลับหลักกฎหมายดังกล่าวแล้วใน ภายหลัง4 โดยใช้หลักการตีความข้อสัญญาในขณะเข้าทําสัญญา (Construction Approach)5 ด้วย เหตุผลที่ว่าข้อตกลงของคู่สัญญาต้องได้รับการบังคับตามที่ตกลงกัน6
หลักการดังกล่าวในประเทศไทยแม้ไม่ปรากฏว่ามีxxxxxxxxxxxxเกี่ยวข้องโดยตรงใน กฎหมายไทย แต่พบลักษณะบางประการxxxxxxเทียบเคียงได้กับบทบัญญัติในพระราชบัญญัติว่าด้วย ข้อสัญญาxxxxxxเป็นธรรม พ.ศ. 2540 ในมาตรา 4 มาตรา 6 และมาตรา 8 ดังนี้
ในพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาxxxxxxเป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 47 วรรคหนึ่ง ได้กําหนดให้ ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือในสัญญา
3 Karsales (Harrow) Ltd v. Wallis [1956] EWCA Civ 4.
4 Photo Production Ltd v. Securicor Transport Ltd [1980] UKHL 2.
5 “The court’s view of the reasonableness of any departure from the implied obligations which would be involved in construing the express words of an exclusion clause in one sense that they are capable of bearing rather another, is a relevant consideration in deciding what meaning the words were intended by the parties to bear”
6 Xxxxxx Xxxxx, ‘The new French law of contract’ (2017) 4 International & Comparative Law Quarterly,10<xxxxx://xxxxxxx.xxx.xx.xx/00000/0/Xxxxx_Xxx%00Xxxxxx%00 law_2017.pdf.>
7 มาตรา 4 ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือ ในสัญญาสําเร็จรูป หรือในสัญญาขายฝากที่ทําให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กําหน ด สัญญาสําเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินxxxxx เป็นข้อสัญญาxxxxxxเป็นธรรม และให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอxxxxxแก่กรณีเท่านั้น
สําเร็จรูป หรือในสัญญาขายฝากที่ทําให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กําหนดสัญญา สําเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินxxxxx เป็นข้อสัญญาxxxxxxเป็นธรรม และให้มี ผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอxxxxxแก่กรณีเท่านั้น โดยในมาตรา 4 วรรคสาม (1) กําหนดให้ ข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดที่เกิดจากสัญญาที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีก ฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าxxxxxxxxxxจะพึงคาดหมายได้ตามxxxx เป็นข้อตกลงxxxxxxถือได้ว่า ทําให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่าความในมาตรา 4 ครอบคลุมกรณีสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับ ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ, สัญญาสําเร็จรูป และสัญญาขายฝากเท่านั้น
ในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้ตีความสัญญาสําเร็จรูปไปในทางที่เป็นคุณแก่ฝ่ายซึ่งมิได้เป็นผู้กําหนด สัญญาสําเร็จรูปนั้น
ข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าxxxxxxxxxxจะ พึงคาดหมายได้ตามxxxx เป็นข้อตกลงxxxxxxถือได้ว่าทําให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง xxxx
(1) ข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดที่เกิดจากการผิดสัญญา
(2) ข้อตกลงให้ต้องรับผิดหรือรับภาระมากกว่าที่กฎหมายกําหนด
(3) ข้อตกลงให้สัญญาสิ้นสุดลงโดยไม่มีเหตุผลอันxxxxx หรือให้xxxxxบอกเลิกสัญญาได้โดย อีกฝ่ายหนึ่งมิได้ผิดสัญญาในข้อสาระสําคัญ
(4) ข้อตกลงให้xxxxxxxxจะไม่ปฏิบัติxxxxxxxxข้อหนึ่งข้อใด หรือปฏิบัติxxxxxxxxใน ระยะเวลาxxxxxxxxxได้โดยไม่มีเหตุผลอันxxxxx
(5) ข้อตกลงให้xxxxxคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเรียกร้องหรือกําหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องรับภาระxxxxxขึ้น มากกว่าxxxxxxxเป็นอยู่ในเวลาทําสัญญา
(6) ข้อตกลงในสัญญาขายฝากที่ผู้ซื้อฝากกําหนดราคาxxxxxxสูงกว่าราคาขายบวกอัตรา ดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละสิบห้าต่อปี
(7) ข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อที่กําหนดราคาค่าเช่าซื้อ หรือกําหนดให้ผู้เช่าซื้อต้องรับภาระสูง เกินกว่าที่ควร
(8) ข้อตกลงในสัญญาบัตรเครดิตที่กําหนดให้ผู้บริโภคต้องชําระดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าใช้จ่าย หรือประโยชน์อื่นใดสูงเกินกว่าที่ควรในกรณีxxxxxxxxxหรือที่เกี่ยวเนื่องกับการผิดนัดชําระหนี้
(9) ข้อตกลงที่กําหนดวิธีคิดxxxxxxxxxxxxxxxxทําให้ผู้บริโภคต้องรับภาระสูงเกินกว่าที่ควรใน การพิจารณาข้อตกลงที่ทําให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสาม จะเป็นการได้เปรียบเกิน xxxxxหรือไม่ ให้นํามาตรา 10 มาใช้โดยอนุโลม
ในพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาxxxxxxเป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 68 ได้xxxxxxx เกี่ยวกับข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดไว้xxxxกันในกรณีเพื่อความชํารุดบกพร่องหรือเพื่อการ xxxxxxxx แต่บังคับเฉพาะสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพที่มีการชําระ หนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้บริโภค
ในพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาxxxxxxเป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 89 ได้xxxxxxx เกี่ยวกับข้อตกลง ประกาศ หรือคําแจ้งความxxxxxxทําไว้ล่วงหน้า เพื่อยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดเพื่อ ละเมิดหรือผิดสัญญาไว้เป็นการทั่วไปโดยxxxxxxกําหนดประเภทสัญญาหรือลักษณะของคู่สัญญาเอาไว้
ทั้งนี้ หากพิจารณาบทบัญญัติในพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาxxxxxxเป็นธรรม พ.ศ. 2540 เปรียบเทียบกับxxxxxxกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสแล้วอาจเห็นได้ว่า มาตรา 1170 ของ xxxxxxกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสครอบคลุมข้อตกลงในลักษณะที่กว้างกว่า เนื่องจากครอบคลุมถึง ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาโดยxxxxxxจํากัดแต่ข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิด เท่านั้น ซึ่งอาจมีข้อตกลงประเภทอื่นที่จัดเป็นข้อตกลงในลักษณะดังกล่าว xxxx ข้อตกลงไม่เรียกร้อง ค่าเสียหายต่อผู้ให้เช่ากรณีผู้เช่าถูกรบกวนการใช้อสังหาริมทรัพย์xxxxxxxโดยxxxxสุข หรือข้อตกลงที่ผู้ให้ เช่าหอพักไม่จําเป็นต้องดูแลรักษาพื้นที่xxxxxxxxของหอพักแม้จะอยู่ในสภาพที่เป็นอันตรายต่อ ผู้xxxอาศัยหรือไม่xxxxxxxxxอาศัยได้โดยxxxxสุข ซึ่งหากพิจารณาว่าหน้าที่ในการจัดการให้ผู้เช่า xxxxxxใช้อสังหาริมทรัพย์xxxxxxxได้โดยxxxxสุขและหน้าที่ในการดูแลรักษาพื้นที่เพื่อให้ผู้xxxxxxxใช้และ
8 มาตรา 6 สัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพที่มีการชําระหนี้ ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้บริโภค จะมีข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดของผู้ประกอบ ธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพเพื่อความชํารุดบกพร่องหรือเพื่อการxxxxxxxxxxxได้ เว้นแต่ผู้บริโภคได้รู้ถึง ความชํารุดบกพร่องหรือเหตุแห่งการxxxxxxxxxxxxแล้วในขณะทําสัญญา ในกรณีนี้ให้ข้อตกลงยกเว้น หรือจํากัดความรับผิดนั้นมีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอxxxxxแก่กรณีเท่านั้น
9 มาตรา 8 ข้อตกลง ประกาศ หรือคําแจ้งความxxxxxxทําไว้ล่วงหน้า เพื่อยกเว้นหรือจํากัด ความรับผิดเพื่อละเมิดหรือผิดสัญญาในความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของผู้อื่น อันเกิด จากการกระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ตกลง ผู้ประกาศ ผู้แจ้งความ หรือของบุคคลอื่นซึ่ง ผู้ตกลง ผู้ประกาศ หรือผู้แจ้งความต้องรับผิดด้วย จะนํามาอ้างเป็นข้อยกเว้นหรือจํากัดความรับผิ ด xxxxxx
ข้อตกลง ประกาศ หรือคําแจ้งความxxxxxxทําไว้ล่วงหน้าเพื่อยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดใน กรณีอื่นนอกจากที่กล่าวในวรรคหนึ่ง ซึ่งไม่เป็นโมฆะ ให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและ พอxxxxxแก่กรณีเท่านั้น
ได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ในการเช่าเป็นภาระผูกพันสําคัญของสัญญาเช่า ข้อตกลงข้างต้นก็ อาจจัดได้ว่าอยู่ในลักษณะเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา
ในประเทศไทยไม่พบว่ามีหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของ สัญญาxxxxxxxไว้โดยตรงในxxxxxxกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายหลักที่วางกฎเกณฑ์ เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา เพียงแต่พบร่องรอยของกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลัก ของสัญญาxxxxxอยู่ในพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาxxxxxxเป็นธรรม พ.ศ. 2540 ตามที่ระบุไปแล้ว เท่านั้น อย่างไรก็ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังมีบทบัญญัติบางมาตราที่อาจนํามาปรับใช้ กับกรณีของข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาได้ เช่น บทบัญญัติในเรื่องนิติกรรมที่มี วัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยตามมาตรา 150 และบทบัญญัติในเรื่องการตีความการแสดง เจตนาและการตีความสัญญาในมาตรา 171 และมาตรา 368
จากการพิจารณาเบื้องต้นอาจทําให้เห็นได้ว่าแม้ประเทศไทยจะไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับ ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา แต่เมื่อมีกรณีพิพาทไปสู่ศาลและศาลเห็นได้ว่าข้อตกลง ส่วนใดหากบังคับใช้จะไม่เป็นธรรมต่อคู่สัญญาก็อาจอาศัยบทบัญญัติในเรื่องข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญามาปรับใช้ในคดีโดยข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาอาจถูก พิจารณาว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยตามมาตรา 150 ได้เนื่องจากสัญญาที่ทําขึ้นระหว่างคู่สัญญาย่อม ต้องมีวัตถุประสงค์ที่มุ่งให้บรรลุผล การที่คู่สัญญาอาจตกลงกันให้มีข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลัก ของสัญญาและบังคับตามข้อตกลงดังกล่าวได้ส่งผลให้สัญญาไม่สามารถบังคับกันให้บรรลุวัตถุประสงค์ หลักได้ สัญญาทั้งหลายที่มีข้อตกลงในลักษณะดังกล่าวที่ทําขึ้นระหว่างคู่สัญญาย่อมถือว่าตกเป็นอันไร้ ผลไปได้ ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาหากใช้บังคับได้จึงอาจ เป็นช่องว่างให้มีสัญญาที่ ตกเป็นอันไร้ผลเพราะข้อตกลงในสัญญานั้นในระบบกฎหมายสัญญาของประเทศไทย ถือว่าเป็นการ ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ข้อตกลงเหล่านี้จึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยตามมาตรา 150 และย่อมเป็น โมฆะไปเฉพาะส่วนของข้อตกลงนั้น ๆ
ในส่วนของการตีความการแสดงเจตนาและการตีความสัญญานั้นศาลฎีกาได้เคยตัดสิน คดีที่คู่สัญญาตกลงกันว่า “ถ้าอาคารที่เช่าเกิดอัคคีภัยขึ้นไม่ว่าเพราะเหตุใดก็ตามมากน้อยเท่าใดก็ตาม สัญญาเช่านี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลงทันทีและผู้เช่ายินยอมให้ผู้ให้เช่าริบเงินประกันการเช่าได้ทั้งสิ้น ” โดยในคดีนี้ศาลฎีกาฟังคําเบิกความของผู้ร่างสัญญาและพิจารณาว่าเมื่อตีความตามเจตนาแท้จริงของ คู่สัญญาเงินประกันความเสียหายดังกล่าวเป็นเงินที่วางไว้เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้เช่าจะไม่ทําความ เสียหายให้เกิดแก่ทรัพย์ที่เช่า ผู้ให้เช่าจึงไม่มีสิทธิริบเงินประกัน10 ดังนั้นศาลจึงอาจนําเรื่องการตีความ การแสดงเจตนาหรือการตีความสัญญามาแก้ไขปัญหาโดยตีความการแสดงเจตนาและตีความสัญญา
10 คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4614/2552.
โดยพิจารณาถึงวัตถุประสงค์หลักของสัญญาได้ แต่จะครอบคลุมครบถ้วนทุกกรณีหรือไม่นั้นไม่แน่ชัด เนื่องจากในคําพิพากษาข้างต้นนั้นมีข้อเท็จจริงว่าศาลได้ฟังคําเบิกความของผู้ร่างสัญญา หากในกรณี อื่นไม่สามารถพิสูจน์เจตนาของคู่สัญญาเช่นนี้ได้จะใช้การตีความการแสดงเจตนาหรือการตีความ สัญญามาทําให้ข้อตกลงไม่มีผลนั้นจะเป็นการถูกต้องสมควรหรือไม่ หรือหากศาลจะบังคับให้ตาม ข้อความที่ได้ตกลงกันนั้นจะเป็นการถูกต้องสมควรหรือไม่อาจเป็นประเด็นที่ถกเถียงต่อไปได้
ทั้งนี้ในการนําหลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญามาใช้ ในแต่ละกรณียังมีประเด็นที่อาจมีความสําคัญที่จะต้องนํามาพิจารณาอีกมาก เช่น ความสุจริตของ คู่สัญญา การจัดสรรความเสี่ยงระหว่างคู่สัญญา ประเพณีทางการค้า และผลต่อความแน่นอนและ เชื่อถือได้ของสัญญา เป็นต้น ดังนั้นจึงมีประเด็นต้องพิจารณาว่า มีปัญหาที่เกิดขึ้นจากการไม่มีข้อ กฎหมายโดยเฉพาะสําหรับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาหรือไม่ ประเทศไทยควร ปรับปรุงกฎหมายให้ครอบคลุมข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาหรือไม่ ข้อตกลงประเภท ใดควรจัดเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา ศาลควรมีอํานาจในการใช้ดุลยพินิจ กําหนดผลของข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาเพียงใด และควรมีข้อยกเว้นในการบังคับ ใช้ข้อกฎหมายโดยเฉพาะสําหรับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาหรือไม่ อย่างไร
ในการเปรียบเทียบผลทางกฎหมายของข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาผลของการใช้กฎหมายของประเทศไทยในปัจจุบัน และ ผลทางกฎหมาย ที่อาจเกิดขึ้นจากการมีบทบัญญัติเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาเป็นการเฉพาะ จึงยกตัวอย่างกรณีศึกษาขึ้นพิจารณาดังนี้
กรณีศึกษาที่ 1 ผู้ว่าจ้างทําสัญญาจ้างขนส่งพัสดุกับผู้รับจ้างซึ่งเป็นบริษัทรับขนส่ง โดยตกลงกันให้ส่งเอกสารสําคัญซึ่งใช้ในการเสนอราคาประมูลงานก่อสร้างไปให้ทันในวันและเวลา ประมูล โดยในสัญญามีข้อตกลงข้อหนึ่งระบุว่า ในกรณีเกิดความเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา จ้างขนส่งผู้รับจ้างต้องรับผิดต่อผู้ว่าจ้างไม่เกินไปกว่าจํานวนเงินที่เป็นค่าจ้างซึ่งผู้รับจ้างได้รับจํานวน 20,000 บาท ต่อมาผู้รับจ้างนําเอกสารดังกล่าวไปส่งไม่ทันเวลาที่ตกลงกันไว้ทําให้ผู้ว่าจ้างได้รับ ความเสียหายหลายล้านบาท เมื่อผู้ว่าจ้างเรียกร้องค่าเสียหายผู้รับจ้างจึงอ้างว่าตามข้อตกลงดังกล่าว ผู้รับจ้างต้องจะผิดต่อผู้ว่าจ้างไม่เกิน 20,000 บาท เท่านั้น
กรณีศึกษาที่ 2 ผู้ว่าจ้างเป็นบริษัทที่ดําเนินการโดยต้องใช้บริการอินเตอร์เน็ตอย่าง ต่อเนื่องตลอดเวลาจึงทําสัญญาว่าจ้างให้ผู้รับจ้างซึ่งเป็นบริษัทให้บริการอินเตอร์เน็ตจัดการให้ผู้ว่าจ้าง ใช้บริการอินเตอร์เน็ตได้โดยมีข้อตกลงข้อหนึ่งว่า ผู้รับจ้างต้องจัดการให้ผู้ว่าจ้างสามารถใช้สัญญาณ อินเทอร์เน็ตได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา โดยสัญญาณอินเตอร์เน็ตจะขัดข้องได้ไม่เกินครั้งละ 10 นาที เท่านั้น หากสัญญาณอินเตอร์เน็ตจะขัดข้องเกินครั้งละ 10 นาที เกิน 2 ครั้งต่อเดือน ผู้ว่าจ้างสามารถ เรียกค่าเสียหายได้ ต่อมาในระหว่างระยะเวลาตามสัญญาสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่ ผู้รับจ้างให้บริการ
เกิดการขัดข้องไม่สามารถใช้ได้หลายสิบครั้งต่อวัน แต่การขัดข้องในแต่ละครั้งล้วนเกิดขึ้นไม่เกินครั้ง ละ 10 นาที ผู้ว่าจ้างจึงต้องการเรียกค่าเสียหาย แต่ผู้รับจ้างอ้างถึงข้อตกลงดังกล่าวว่าการให้บริการ สัญญาในตลาดของผู้รับจ้างแม้จะเกิดการขัดข้องขึ้นแต่ยังไม่เป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างสามารถบอกเลิก สัญญาและเรียกค่าเสียหายได้ตามข้อตกลง
1.2 สมมติฐาน
ภายใต้กฎหมายแม้ว่าหลักข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาจะปรากฏ ร่องรอยอยู่ในกฎหมายเฉพาะบางฉบับ แต่หลักการดังกล่าวยังไม่ปรากฏเป็นบทบัญญัติทั่วไปใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงอาจทําให้เกิดปัญหาการตีความในบางกรณีที่เป็นเรื่องข้อตกลง ที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาแต่ไม่ตกอยู่ภายใต้กฎหมายเฉพาะนั้น ๆ จึงควรมีบทบัญญัติทั่วไป ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ โดยกําหนดนิยามของ “วัตถุประสงค์หลักของสัญญา” และลักษณะของข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา รวมถึง ผลทางกฎหมายไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพและไม่เกิดข้อ โต้เถียงกันระหว่างผู้ใช้กฎหมาย และแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายไทยที่มีในปัจจุบันที่ อาจมีความคลุมเครือและทําให้การตีความ กฎหมายไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
1.3 วัตถุประสงค์ในการศึกษา
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อพิจารณาว่ามีความเหมาะสมที่ ประเทศไทยจะเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาหรือไม่ และ ควรเป็นไปในทิศทางใด ควรกําหนดผลทางกฎหมายอย่างใดจึงจะเหมาะสม รวมทั้งผลกระทบที่อาจ เกิดขึ้นทั้งในข้อดีและข้อเสีย ตลอดทั้งเสนอแนะแนวทางหลักกฎหมายที่ควรจะเป็น ดังนี้
1. เพื่อศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการไม่มีข้อกฎหมายโดยเฉพาะสําหรับข้อตกลงที่ขัด ต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา
2. เพื่อศึกษาว่าข้อตกลงประเภทใดควรจัดเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของ
สัญญา
3. เพื่อศึกษาว่าศาลควรมีอํานาจในการใช้ดุลยพินิจกําหนดผลของข้อตกลงที่ขัดต่อ
วัตถุประสงค์หลักของสัญญาเพียงใด
4. เพื่อศึกษาว่าควรมีข้อยกเว้นในการบังคับใช้ข้อกฎหมายโดยเฉพาะสําหรับข้อตกลงที่ ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาหรือไม่ อย่างไร
1.4 ขอบเขตการศึกษา
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงลักษณะ และผลทางกฎหมายของหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับ ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา และจะได้มีการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของ ต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษ ซึ่งมีแนวทางเกี่ยวกับหลักกฎหมายในเรื่อง ดังกล่าวที่แตกต่างกัน
1.5 วิธีดําเนินการศึกษา
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้วิธีศึกษาวิจัยทางเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษา รวบรวมข้อมูลสําหรับการค้นคว้าจาก กฎหมาย เอกสาร ตํารา บทความ วิทยานิพนธ์ทางกฎหมาย คําพิพากษาของศาล ข้อเขียนต่าง ๆ ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ โดยใช้การค้นคว้าข้อมูลทาง อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
จากการศึกษาวิจัยในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คาดว่าจะทราบว่ามีความเหมาะสมที่ประเทศ ไทยจะเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาหรือไม่ และควร เป็นไปในทิศทางใด แนวทางในการกําหนดผลทางกฎหมายที่เหมาะสมเป็นอย่างไร รวมทั้งทราบถึง ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งในข้อดีและข้อเสีย ดังนี้
1. ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการไม่มีข้อกฎหมายโดยเฉพาะสําหรับข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญา
2. ทราบว่าข้อตกลงประเภทใดควรจัดเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา
3. ทราบว่าศาลควรมีอํานาจในการใช้ดุลยพินิจกําหนดผลของข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญาเพียงใด
4. ทราบว่าควรมีข้อยกเว้นในการบังคับใช้ข้อกฎหมายโดยเฉพาะสําหรับข้อตกลงที่ขัด ต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาหรือไม่ อย่างไร
1.7 ทบทวนวรรณกรรม
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเกี่ยวกับ “ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา” จากการค้นคว้าไม่พบว่ามีตํารา คําบรรยาย หรือวิทยานิพนธ์ทางกฎหมายที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยตรงแต่พบว่าในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติโดยตรงเช่นในปัจจุบัน อาจนําบทบัญญัติกฎหมายทั่วไปบาง มาตราที่มีอยู่ในกฎหมายไทยในปัจจุบันมาปรับใช้กับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา และพบว่ามีการศึกษาถึงประเด็นในบทบัญญัติกฎหมายทั่วไปที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
บทความเรื่อง “การตีความการแสดงเจตนา: ศึกษาช่วงการก่อนิติกรรม” ของคุณวิวัฒน์ กอสัมพันธ์ ศึกษาเรื่องการตีความการแสดงเจตนาในช่วงเวลาของการก่อนิติกรรมตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 171 เพื่อพิจารณาว่า การแสดงเจตนานั้นควรตีความในกรณีใดบ้าง ในการตีความการแสดงเจตนานี้จะต้องปรับใช้มาตรา 368 (ว่าด้วยการตีความสัญญา) ประกอบด้วย หรือไม่ ความหมายของเจตนาที่แท้จริงตามมาตรา 171 หมายถึงเจตนาใด และมีวิธีการตีความการ แสดงเจตนาอย่างไร
บทความเรื่อง “การตีความเอกสาร” ของคุณอรุณี วสันตยานันท์ ศึกษาเรื่องการตีความ เอกสารตามมาตรา 10 ถึงมาตรา 14 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ภายใต้บทบัญญัติอัน เกี่ยวด้วยการตีความการแสดงเจตนาในมาตรา 171 เพื่อพิจารณาแนวทางในการตีความนิติกรรม ซึ่งมีเอกสารเป็นหลักฐาน ทั้งกรณีที่เจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีไม่ต้องตรงกัน หรือไม่สามารถค้นหา เจตนาที่แท้จริงของผู้ทํานิติกรรม และกรณีที่ข้อตกลงซึ่งปรากฏในเอกสารมีความชัดเจน หรือสามารถสื่อถึงเจตนาของผู้ทํานิติกรรมแล้ว รวมถึงกรณีที่ไม่ปรากฏเอกสารซึ่งเป็นหลักฐานแห่ง การทํานิติกรรม
วิทยานิพนธ์เรื่อง “หลักการตีความสัญญา” ของคุณอภิชาติ คงชาตรี ศึกษาเรื่อง หลักการตีความสัญญาทางแพ่ง ซึ่งเป็นกระบวนการวินิจฉัยความหมายของถ้อยคําแห่งสัญญา เพื่อให้ รู้ถึงสิทธิหน้าที่ของคู่สัญญา ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วางหลักไว้ในมาตรา 171 และ มาตรา 368
บทความและวิทยานิพนธ์ข้างต้นเป็นการศึกษาถึงความหมายของบทบัญญัติและ กระบวนการตีความการแสดงเจตนา และกระบวนการตีความสัญญาตามที่ปรากฏในบทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 171 และมาตรา 368 ซึ่งอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่ สามารถนํามาปรับใช้กับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติเป็น การเฉพาะ อย่างไรก็ตามบทความและวิทยานิพนธ์ข้างต้นไม่ได้ศึกษาถึงข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ หลักของสัญญาเป็นการเฉพาะ และการนําบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 171 และมาตรา 368 มาปรับใช้มีหลักการและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาที่แตกต่าง
จากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาในต่างประเทศดังที่จะได้มี การวิเคราะห์และนําเสนอในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้
บทที่ 2
กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา
โดยทั่วไปแล้วหลักกฎหมายสัญญาระหว่างคู่สัญญาซึ่งเป็นเอกชนของไทยมีลักษณะ เหมือนกับหลักกฎหมายสัญญาซึ่งเป็นหลักกฎหมายเอกชนที่ปรากฎเป็นสากลคือ หลักกฎหมายใน เรื่องนิติกรรมที่เรียกว่า หลักอิสระในทางแพ่ง หรือ หลักความศักดิ์สิทธิ์ของเจตนา (Autonomy of the will) หลักเสรีภาพในการทําสัญญา (Freedom of contract) โดยมีนัยยะ 2 ประการคือ เสรีภาพที่จะเข้ามาตกลงทําสัญญาระหว่างกัน และเสรีภาพที่จะไม่ถูกแทรกแซงเมื่อสัญญาที่ทํา ระหว่างกันเกิดแล้ว ดังนั้นสัญญาที่ทําระหว่างกันของคู่สัญญาที่รวมไปถึงข้อตกลงทุกข้อที่ปรากฏใน สัญญาย่อมต้องสามารถใช้บังคับกันได้ตามที่คู่สัญญาได้ตกลงกัน โดยหลักการนี้ถูกรับรองไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยในมาตรา 151 ความว่า “การใดเป็นการแตกต่างกับ บทบัญญัติของกฎหมาย ถ้ามิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ ประชาชน การนั้นไม่เป็นโมฆะ” อย่างไรก็ตามหลักความศักดิ์สิทธิ์ของเจตนา และหลักเสรีภาพในการ ทําสัญญาย่อมสามารถมีข้อยกเว้นได้ในกรณีต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เพื่อให้การทําสัญญาอยู่ใน กรอบของกฎหมาย และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น การจํากัด เสรีภาพในการเลือกคู่สัญญา การจํากัดเสรีภาพในการกําหนดวัตถุประสงค์ของสัญญา การจํากัด เสรีภาพในเรื่องแบบของสัญญา การจํากัดเสรีภาพในเรื่องเจตนาเพื่อที่จะคุ้มครองประโยชน์บุคคลอื่น ที่มาเกี่ยวข้องด้วย การจํากัดเสรีภาพในการกําหนดเนื้อหาของสัญญา ซึ่งอาจถูกกําหนดโดยกฎหมาย การจํากัดเสรีภาพโดยกฎหมายพิเศษ เช่น กฎหมายคุ้มครองแรงงาน และพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อ สัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 เป็นต้น หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลัก ของสัญญาก็มีลักษณะเช่นเดียวกับข้อยกเว้นของหลักความศักดิ์สิทธิ์ของเจตนา และหลักเสรีภาพใน การทําสัญญาประการอื่น ๆ คือเป็นกรณีที่กฎหมาย เห็นความจําเป็นและเหมาะสมในการกําหนด ข้อจํากัดของเสรีภาพระหว่างคู่สัญญาขึ้น
ในกฎหมายไทยมิได้มีการกําหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลัก ของสัญญาของสัญญาไว้โดยทั่วไปเป็นการเฉพาะ แต่จะสังเกตได้ว่ากฎหมายไทยกําหนดให้ศาล สามารถเข้าแทรกแซงสัญญาระหว่างเอกชนในบางกรณีที่อาจเทียบเคียงกับกรณีข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญาของต่างประเทศได้ แต่จะเทียบเคียงกันได้มากน้อยเพียงใด หลักเกณฑ์ใน การใช้ดุลยพินิจของศาลแตกต่างกันหรือไม่ ผลทางกฎหมายเป็นอย่างไร อาจศึกษาได้จากกฎหมาย ไทยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็น ธรรม พ.ศ. 2540 และแนวทางการใช้กฎหมายที่ปรากฏให้เห็นในคําพิพากษาของศาลไทย
2.1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หลักกฎหมายในเรื่องข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาแท้จริงแล้วเป็นหลัก กฎหมายที่บังคับใช้ในกรณีที่สัญญาที่ทําขึ้นระหว่างคู่สัญญาซึ่งมีข้อตกลงข้อใดข้อหนึ่งที่หากบังคับใช้ แล้วจะทําให้สัญญานั้นไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่สําคัญของสัญญา หลักกฎหมายดังกล่าวมี หลักการสําคัญที่ตั้งอยู่บนรากฐานของความสําคัญของวัตถุประสงค์หลักของสัญญา เมื่อพิจารณาจาก บทบัญญัติที่ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทยพบว่าหลักการเกี่ยวกับ วัตถุประสงค์ของสัญญาปรากฏอยู่ในมาตรา 151 และมาตรา 150 โดยมาตรา 151 เป็นบทบัญญัติที่ ยอมรับหลักการเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของเจตนา และเสรีภาพในการทําสัญญา โดยบัญญัติว่า
“มาตรา 151 การใดเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย ถ้ามิใช่กฎหมายอัน เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นไม่เป็นโมฆะ”
มาตรา 151 จึงเป็นบทบัญญัติที่แสดงให้เห็นว่าโดยทั่วไปแล้วสัญญาระหว่างคู่สัญญาซึ่ง รวมไปถึงข้อตกลงทุกข้อในสัญญาย่อมใช้บังคับกันได้ แต่หลักการดังกล่าวย่อมมีข้อยกเว้นที่ปรากฏอยู่ ตามบทบัญญัติต่าง ๆ โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสัญญาซึ่งปรากฏอยู่ในมาตรา 150 โดยบัญญัติว่า
“มาตรา 150 การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดย กฎหมาย เป็นการพ้น วิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ”
นอกจากบทบัญญัติที่ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 และ
มาตรา 151 แล้ววัตถุประสงค์หลักของสัญญายังมีความเกี่ยวข้องกับบทบัญญัติเรื่องการตีความการ
แสดงเจตนาและการตีความสัญญาดังที่ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 171
และมาตรา 368 เนื่องจากมาตรา 171 กําหนดให้ตีความการแสดงเจตนาเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริง ส่วนมาตรา 368 กําหนดให้ตีความสัญญาไปตามความประสงค์ในทางสุจริต ดังนั้นไม่ว่าเจตนาอัน แท้จริงตามมาตรา 171 หรือความประสงค์ในทางสุจริตตามมาตรา 368 จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ วัตถุประสงค์หลักของสัญญาทั้งสิ้นเนื่องจากวัตถุประสงค์หลักของสัญญาย่อมเป็นเจตนาหรือความ ประสงค์ที่คู่สัญญามุ่งให้บรรลุผลเมื่อเข้าทําสัญญากัน แต่ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา มิใช่กรณีที่ข้อตกลงเช่นว่านั้นคลุมเครือหรือไม่มีความชัดเจนที่จําเป็นที่จะต้องมีการตีความการแสดง เจตนาหรือการตีความสัญญา อย่างไรก็ตามแม้ถ้อยคําที่ปรากฏในข้อตกลงเช่นว่านั้นจะมีความชัดเจน มากน้อยเพียงใดแต่อาจมีข้อโต้แย้งได้ว่าในกรณีที่ข้อตกลงที่ทําขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะทําให้ การบังคับใช้สัญญาให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักไม่เป็นผลการตีความข้อตกลงนั้นโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอัน แท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคําสํานวนหรือตัวอักษร หรือตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยอาศัย บทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความการแสดงเจตนาหรือการตีความสัญญาก็เพียงพอที่จะแก้ปัญหาโดยทํา
ให้การไม่บังคับใช้ หรือบังคับใช้ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาเพียงใดนั้นเป็นไปอย่าง ถูกต้องเหมาะสมโดยไม่ต้องมีบทบัญญัติอื่นใดเป็นการเฉพาะ การพิจารณากฎหมายของประเทศไทยที่ เกี่ยวข้องนั้นจึงจําต้องพิจารณาบทบัญญัติเกี่ยวกับ การตีความการแสดงเจตนาหรือการตีความสัญญา เป็นเบื้องต้นอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นการศึกษาบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องจึงประกอบไปด้วยบทบัญญัติเกี่ยวกับการอันมีวัตถุประสงค์เป็น การขัดต่อความสงบเรียบร้อยตามมาตรา 150 บทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความการแสดงเจตนาตาม
มาตรา 171 และบทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความสัญญาตามมาตรา 368
2.1.1 บทบัญญัติเกี่ยวกับการอันมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย ตามมาตรา 150
โดยทั่วไปแล้วนิติกรรมที่ทําขึ้นระหว่างปัจเจกชน อันมีวัตถุประสงค์ที่จะได้รับ ประโยชน์บางอย่าง เมื่อปัจเจกชนมีเสรีภาพที่จะทํานิติกรรมอะไรก็ได้ ประโยชน์ของนิติกรรมจึงเป็น อะไรก็ได้เช่นกัน ตามหลักอิสระในทางแพ่งที่ได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 151 ไม่ว่าจะเป็นวัตถุประสงค์หรือประโยชน์ของนิติกรรมที่แน่นอนตามรูปของนิติกรรมที่มีชื่อ หรือจะเป็นวัตถุประสงค์หรือประโยชน์อื่น ๆ ของนิติกรรมที่ไม่มีชื่อก็ได้ แต่มีข้อสําคัญอยู่ประการหนึ่ง ว่าวัตถุประสงค์หรือประโยชน์ดังกล่าวจะต้องเป็นวัตถุประสงค์หรือประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมาย หรือกฎหมายยอมรับรองให้1 โดยวัตถุประสงค์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือที่กฎหมายไม่ยอมรับรองให้ ได้แก่ กรณีที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 ได้บัญญัติให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของนิติกรรม ดังนี้
“มาตรา 150 การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็น โมฆะ”
4 กรณี คือ
บทบัญญัติในมาตรา 150 ได้แบ่งวัตถุประสงค์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไว
1. วัตถุประสงค์ที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย
2. วัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย
3. วัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
4. วัตถุประสงค์ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
1 ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, คํำอธิบำยประมวลกฎ👉มำยแพ่งและพำณิชย์นิติกรรมสัญญำ
(พิมพ์ครั้งที่ 25, วิญญูชน 2565) 76.
สําหรับกรณีที่นิติกรรมมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องเป็นโมฆะ เป็นไปตามหลักการที่ว่าประโยชน์ของเอกชนย่อมมีความสําคัญรองลงมาจากประโยชน์ สาธารณะ เนื่องจากมนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม จึงย่อมมีความประสงค์จะได้สังคมที่ตนอาศัยที่มีความ สงบสุข การกระทําใด ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความสงบสุขของสังคมจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจยินยอมให้เกิดขึ้น สิ่งที่เกี่ยวกับสาธารณประโยชน์ ย่อมเป็นกฎหมายสูงสุด (salus populi est suprema lex)2 ทั้งนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กําหนดหลักเกณฑ์เรื่องความสงบเรียบร้อยของประชาชนไว้อย่าง กว้างๆ และไม่มีบทวิเคราะห์ศัพท์ไว้ จึงเปิดช่องให้ศาลใช้ดุลพินิจใช้ได้ในแต่ละกรณี การศึกษาหา ความหมายของคํานี้จึงต้องอาศัยคําอธิบายที่ปรากฏในตํารากฎหมาย
ศาสตราจารย์ ดร.จิ๊ด เศรษฐบุตร ได้อธิบายไว้ว่า3 ความสงบเรียบร้อยของ ประชาชนเป็นข้อห้ามซึ่งสังคมบังคับแก่เอกชน เป็นการแสดงให้เห็นว่าสังคมย่อมอยู่เหนือเอกชน ทั้งนี้ เพื่อสังคมจะได้ดํารงอยู่ได้และได้คุ้มครองปกปักรักษาเอกชนซึ่งอยู่ในสังคมนั่นเอง จําแนกออกเป็น
1. ความสงบเรียบร้อยทางการเมือง ได้วางขึ้นเพื่อ ก. ปกปักรักษาความมั่นคงของรัฐ
ข. ปกปักรักษาความมั่นคงของครอบครัว ค. ปกปักรักษาความมั่นคงของเอกชน
2. ความสงบเรียบร้อยทางเศรษฐกิจ ได้วางขึ้นเพื่อ
ก. ปกปักรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของสังคม ข. ปกปักรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของเอกชน
ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ได้จําแนกความหมายของ “ความสงบ เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน” ไว้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกันโดยแบ่งออกเป็น 5 ประการ4 คือ
2 สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ‘สิ่งที่เกี่ยวกับสาธารณประโยชน์ ย่อมเป็นกฎหมาย สูงสุด’, ต้องยอมสละเพื่อสาธารณประโยชน์ <http://web.krisdika.go.th/data/serve/tha/ acknowledge/acknowledge_2/proverb-1.htm#:~:text=Salus%20populi%20est%20 suprema%20lex> สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2566.
3 จิ๊ด เศรษฐบุตร, คํำอธิบำยกฎ👉มำยนิติกรรมและ👉นี้ (เล่ม 1, แสงทองการพิมพ์ 2512)
21-31.
4 อุกฤษ มงคลนาวิน, ‘ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน’ (2518) 32
บทบัณฑิตย์, 11-32.
1. ความสงบเรียบร้อยของประชาชนในทางการเมืองการปกครอง เนื่องจาก กิจการเกี่ยวกับการเมืองการปกครองถือได้ว่าเป็นหลักในการปกปักษ์รักษาความมั่นคงของรัฐ เช่นอํานาจอธิปไตยของรัฐ การใช้อํานาจอธิปไตยของรัฐในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหารหรือในทาง ตุลาการ อํานาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ของรัฐหรือเจ้าพนักงานของรัฐ การใช้บังคับกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับมหาชน ตลอดจนการที่ประชาชนจะรับบริการจากรัฐ หรือองค์กรต่าง ๆ ของรัฐ ฯลฯ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ จึงถือว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบ เรียบร้อยของประชาชน ตัวอย่างของนิติกรรมที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนในทาง การเมืองการปกครอง เช่น การทําความตกลงให้ถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดินและให้ทรัพย์สินเป็น การตอบแทน (คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2496) การทําสัญญายอมความใช้ค่าเสียหายเพื่อมิให้ ฟ้องร้องคดีอาญาแผ่นดิน (คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2484) และการทําสัญญาออกเงินช่วยเหลือ เพื่อให้บุคคลอื่นเป็นความกันโดยตนเองไม่มีส่วนได้เสียหรือเพื่อต้องการส่วนแบ่งจากคดีที่พิพาทกัน (คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1160-1161/2494) เป็นต้น
2. ความสงบเรียบร้อยของประชาชนในทางครอบครัว สถาบันครอบครัวเป็น สถาบันพื้นฐานของสังคม และมีผลเกี่ยวโยงไปถึงเรื่องมรดกด้วย หากสถาบันครอบครัวและกฎเกณฑ์ ต่าง ๆ ของสังคมในเรื่องมรดกได้รับความกระทบกระเทือน ย่อมมีผลกระทบกระเทือนไปถึง ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศด้วย จึงถือได้ว่าเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวและมรดกเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตัวอย่างของนิติกรรมที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ในทางครอบครัว เช่น การทําสัญญาไม่ให้บุคคลร่วมกินอยู่หลับนอนกับคู่สมรส การที่ผู้ที่จะได้รับ ทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม ตกลงทําสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมกันเสียใหม่ตั้งแต่ผู้ทํา พินัยกรรมยังไม่ตาย (คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2492) และการสัญญาให้เงินตอบแทนการที่หาหญิง มาให้เป็นเมียน้อย (คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 95/2494) เป็นต้น
3. ความสงบเรียบร้อยของประชาชนในทางวิชาชีพ วิชาชีพบางอย่างเป็นเรื่อง สําคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นอย่างมาก เช่น วิชาชีพทนายความ หากปล่อยให้บุคคลกระทําการ ใด ๆ เกี่ยวกับวิชาชีพเช่นนี้ได้อย่างเสรี ไม่มีขอบเขตจํากัด ก็จะกระทบกระเทือนถึงความมั่นคง ปลอดภัยของสังคมหรือประเทศใด จึงถือกันว่าทนายความต้องไม่กระทําการบางอย่าง เช่น โอนลูกความให้แก่กัน กําหนดเงินค่าจ้างโดยวิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่ลูกความจะได้รับจากผล แห่งคําพิพากษา ฯลฯ ตัวอย่างของนิติกรรมที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนในทางวิชาชีพ เช่น สัญญาจ้างว่าความซึ่งเรียกค่าจ้างว่าความโดยวิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะ พึงได้แก่คู่ความ (คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2536) เป็นต้น
4. ความสงบเรียบร้อยของประชาชนในทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจของชาติเป็น เรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างแน่นแฟ้นกับความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ การเอารัดเอาเปรียบกันในทาง
การค้าหรืออุตสาหกรรมย่อมกระทบกระเทือนถึงความมั่นคงปลอดภัยของประเทศด้วย ความสงบ เรียบร้อยของประชาชนในทางเศรษฐกิจย่อมมีความหมายรวมไปถึงแนวความคิดในการคุ้มครองผู้อยู่ ในฐานะด้อยกว่าในทางสังคมและเศรษฐกิจ เช่น ผู้บริโภค ลูกหนี้ ลูกจ้าง ชาวนา เนื่องจากถ้าผู้อยู่ใน สถานะด้อยกว่าในทางสังคมและเศรษฐกิจได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมในสังคม ก็ย่อม มีผลกระทบถึงความมั่นคงปลอดภัยของประเทศด้วย ตัวอย่างของนิติกรรมที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ของประชาชนในทางเศรษฐกิจ เช่น ผู้ขายสุกรแก่ร้านสหกรณ์ทําหนังสือกู้โดยมิได้รับเงินให้แก่ เลขานุการสหกรณ์ผู้ให้ความสะดวกแก่ผู้ขายสุกร (คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1749/2498) การโอนขาย ใบอนุญาตให้ส่งข้าวไปยังต่างประเทศให้ผู้อื่นโดยการได้รับอนุญาตให้ส่งเขาไปต่างประเทศเป็นสิทธิ เฉพาะตัวจะโอนหรือซื้อขายกันไม่ได้ (คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2501) และการตกลงสมยอมกัน ไม่ประมูลแข่งขันในการประกวดราคารับก่อสร้างทางของรัฐ (คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2519) เป็นต้น
5. ความสงบเรียบร้อยของประชาชนในทางคุ้มครองสิทธิมนุษยชน มนุษย์มี สิทธิมูลฐาน เรียกว่า “สิทธิมนุษยชน” ซึ่งสังคมอารยชนยอมรับนับถือ สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่แสดง ให้เห็นถึงศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ สิทธิมนุษยชนนี้ผู้ใดจะทํานิติกรรมจํากัดขัดขวางหรือตัดทอน มิได้ สิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์เป็นเรื่องที่มีความสําคัญมากอีกเรื่องหนึ่ง หาก ปล่อยให้มีการกระทําใด ๆ อันมีผลให้บุคคลต้องสูญเสียความเป็นมนุษย์หรือศักดิ์ศรีแห่งความเป็น มนุษย์สังคมก็จะระส่ําระสายและมีผลกระทบกระเทือนไปถึงความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ตัวอย่างของนิติกรรมที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนในทางคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เช่น ทําความตกลงกันยอมมีชีวิตอย่างสัตว์ ทําสัญญาจ้างแรงงานกันตลอดชีวิตของลูกจ้างเป็นสัญญาที่ทํา ให้มนุษย์มีลักษณะเป็นทาส และสัญญาที่นําตัวมนุษย์มาเป็นวัตถุแห่งหลักประกัน เป็นต้น
จากคําอธิบายซึ่งเป็นความเห็นของนักกฎหมาย และตัวอย่างที่ปรากฏตามคํา พิพากษาศาลฎีกาพบว่าหลักความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนมีลักษณะสําคัญ ดังต่อไปนี้5
1. เป็นหลักพื้นฐานที่มีอยู่ในกฎหมายทุกระบบเนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ สังคม เศรษฐกิจ และศีลธรรมอันเป็นสิ่งสําคัญที่ทําให้สังคมดํารงอยู่ได้
2. เป็นหลักที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์โดยทั่วไปของประเทศชาติหรือประชาชน โดยรวม จึงต้องห้ามมิให้มีการฝ่าฝืน แม้ว่ากฎหมายนั้นจะไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
5 พิชัยศักดิ์ หรยางกูร และ ณัฐนันทน์ อัศวเลิศศักดิ์, ‘หลักความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี ข อ งป ร ะ ช า ช น ’ (stou.ac.th) <https://www.stou.ac.th/schools/slw/upload/ex.40701- 2.pdf.> สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2566.
หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนกําหนดไว้โดยชัดแจ้งก็ตาม และศาลสามารถหยิบยกขึ้นพิจารณาได้ เองแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างขึ้น
3. ถ้อยคํามีความหมายไม่แน่ นอน มีขอบเขตอย่างกว้างขวาง และ เปลี่ยนแปลงไปตามนโยบายของรัฐหรือสภาพสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา เพื่อให้เป็น บทบัญญัติที่ยืดหยุ่นและให้ศาลมีโอกาสใช้ดุลพินิจได้มากอันจะทําให้การรักษาความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนบรรลุผล
4. เป็นกฎหมายที่ยุติธรรม (Ius Aequum) เนื่องจากหลักความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนมีความหมายอย่างกว้างและยากที่จะให้คําจํากัดความ จึงไม่มีการ กําหนดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบไว้แน่ชัด โดยปล่อยให้ศาลมีดุลพินิจในการวินิจฉัยเป็นรายกรณี ไป เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความ
5. เป็นกฎหมายที่เป็นบทบังคับ (Ius Cogens) ไม่ยอมให้คู่กรณีตกลงแก้ไข เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น เป็นบทบังคับเด็ดขาดซึ่งผู้ที่ฝ่าฝืนย่อมได้รับโทษหรือเกิดผลร้ายเสมอ
บทบัญญัติเกี่ยวกับการอันมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยตาม มาตรา 150 จึงเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยตรง และมีความยืดหยุ่น ในการปรับใช้ได้ เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับใช้มาตรา 150 กับข้อเท็จจริงในกรณีที่ถือว่าเป็น ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะได้นําตัวอย่างกรณีศึกษาข้อตกลง ที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญามาวิเคราะห์ถึงผลทางกฎหมายโดยปรับใช้มาตรา 150 ในบทที่ 4 ต่อไป
2.1.2 บทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความการแสดงเจตนาตามมาตรา 171
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 171 บัญญัติหลักการของการตีความ การแสดงเจตนาไว้เป็นหลักทั่วไปว่า “ในการตีความการแสดงเจตนานั้น ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริง ยิ่งกว่าถ้อยคําสํานวนหรือตัวอักษร” หมายความว่าให้ถือเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคําสํานวนที่ กล่าวหรือที่เขียนตามตัวอักษร ทั้งนี้หากยังไม่มีการแสดงเจตนาเลย มีแค่ความคิดอยู่ในใจ จะยังไม่ สามารถตีความการแสดงเจตนาได้ ฉะนั้น จะต้องมีการแสดงเจตนาออกมาให้ปรากฏแล้ว เจตนา แสดงออกจึงจะมีฐานะเป็นวัตถุในการตีความ6 แม้บทบัญญัติดังกล่าวระบุให้ตีความการแสดงเจตนา
6 ประกอบ หุตะสิงห์, กฎ👉มำยแพ่งและพำณิชย์ว่ำด้วยนิติกรรมและสัญญำ (นิติบรรณการ
2518) 67-68 ; เสริม วินิจฉัยกุล, คํำอธิบำยประมวลกฎ👉มำยแพ่งและพำณิชย์ลักษณะนิติกรรมและ
👉นี้ (กรมสรรพสามิต 2515) 74 ; พระยาเทพวิทุร, คํำอธิบำยประมวลกฎ👉มำยแพ่งและพำณิชย์เรียง มำตรำว่ำด้วยนิติกรรม ระยะเวลำ อำยุควำม (กําชัย จงจักรพันธ์ ผู้แก้ไขเพิ่มเติม, เดือนตุลา 2556) 44 ; กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง, นิติกรรม สัญญำ และคํำมั่น (โครงการตําราและเอกสารประกอบการสอน
โดยยึดถือเจตนาอันแท้จริง แต่นักกฎหมายยังมีความเห็นที่ไม่ตรงกันเกี่ยวกับความหมายและการปรับ ใช้บทบัญญัตินี้ในหลายประเด็น เช่น ประเด็นที่ว่าการตีความการแสดงเจตนาต้องกระทําในกรณีใด เจตนาอันแท้จริงตามมาตรา 171 หมายถึงสิ่งใด
ในประเด็นที่ว่าการตีความการแสดงเจตนาต้องกระทําในกรณีใด มีความเห็นของ นักกฎหมายที่แตกต่างกันไปในสองแนวทาง โดยฝ่ายหนึ่งเห็นว่าการตีความการแสดงเจตนาไม่ สามารถใช้ได้ในทุกกรณี ต้องกระทําในบางกรณีเท่านั้น กล่าวคือจะใช้ได้ในกรณีการแสดงเจตนานั้นมี ข้อสงสัย มีความไม่ชัดเจน มีความหมายหลายนัยหรือขัดแย้งกัน ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าการตีความ การแสดงเจตนาต้องใช้เสมอ
ฝ่ายที่เห็นว่าการตีความการแสดงเจตนาไม่สามารถใช้ได้ในทุกกรณี7 มีความเห็น ว่าในกรณีที่การแสดงเจตนามีความชัดเจนอยู่แล้ว ไม่ได้มีส่วนใดที่กํากวม หรือขัดแย้งกัน ย่อมจะ ตีความการแสดงเจตนาในกรณีนั้นไม่ได้ ดังคํากล่าวที่ว่า “เมื่อถ้อยคํามีความชัดเจนแล้วก็ไม่ จําเป็นต้องตีความ” (In Claris Non Fit Interpretatio)8
ทั้งนี้อาจเพื่อป้องกันการบิดเบือนการแสดงเจตนา9 แนวคําพิพากษาของศาลไทย จะเป็นไปตามแนวทางนี้อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2565) 133 ; กิตติศักดิ์ ปรกติ, ‘เอกสารประกอบการศึกษาวิชา กฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น.101)’ (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2563) 31 ; ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช, ประมวลกฎ👉มำยแพ่งและพำณิชย์ว่ำด้วยนิติกรรมและ👉นี้ เล่ม 1 (ภำค 1-2), (มุนินทร์ พงศาปาน ผู้แก้ไขเพิ่มเติม, พิมพ์ครั้งที่ 4, วิญญูชน 2561) 53 ;ดูประกอบ วิวัฒน์ กอสัมพันธ์, ‘การตีความ การแสดงเจตนา: ศึกษาช่วงการก่อนิติกรรม’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต 2565) 65.
7 ประกอบ หุตะสิงห์ (เชิงอรรถ 6) 67; เสริม วินิจฉัยกุล (เชิงอรรถ 6) 71-75; พระยาเทพวิทุร (เชิงอรรถ 6) 45 ; ปันโน สุขทรรศนีย์, ประมวลกฎ👉มำยแพ่งและพำณิชย์ว่ำด้วยนิติกรรมและสัญญำ (โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2514) 140; หยุด แสงอุทัย, กฎ👉มำยแพ่งลักษณะมูล👉นี้👉นึ่ง (โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2517) 70 ; วิวัฒ น์ กอสัมพันธ์ (เชิงอรรถ 6) 50-51 ; ศักดิ์ สนองชาติ, คํำอธิบำยประมวลกฎ👉มำยแพ่งและพำณิชย์นิติกรรมสัญญำ (พิมพ์ครั้งที่ 11, นิติบรรณการณ์ 2557) 237-241.
8 Stefan Vogenauer, ‘Interpretation’ Commentaries on European Contract Laws, ed. Nils Jansen and Reinhard Zimmermann (Oxford Press 2018) 761-764.
9 อรุณ ภาณุพงศ์, ‘การตีความสนธิสัญญา’ ใน รวมบทควำมทำงวิชำกำรเนื่องในโอกำส ครบรอบ 84 ปี ศำสตรำจำรย์สัญญำ ธรรมศักดิ์ (มูลนิธินิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2534) 209.
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 6563/2545 เมื่อข้อตกลงในสัญญาจํานองมีข้อความระบุ ไว้อย่างชัดเจน จึงไม่ต้องตีความการแสดงเจตนาตามมาตรา 171 จําเลยที่ 2 ย่อมไม่ต้องร่วมรับผิดกับ
จําเลยที่ 1
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2547 เมื่อสัญญามีความไม่ชัดเจนว่าเป็นสัญญาโอน ลิขสิทธิ์หรือสัญญาโอนขายมาสเตอร์เทป ดังนั้น สัญญาจึงต้องตีความตามมาตรา 368 และมาตรา 171 ศาลเห็นว่าเป็นสัญญาโอนขายมาสเตอร์เทปจําเลยจึงไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ พิพากษายกฟ้อง
ฝ่ายที่เห็นว่าการตีความการแสดงเจตนาต้องใช้ในทุกกรณี10 มีความเห็นว่าการ ตีความการแสดงเจตนาต้องใช้เสมอ กล่าวคือ แม้การแสดงเจตนา มีความชัดเจนในตัวมันเอง แต่ก็ต้องตีความการแสดงเจตนานั้นเพราะว่าอาจเป็นกรณีที่เจตนาในใจไม่ตรงกับเจตนาที่แสดงออก หากได้พิจารณาโดยอาศัยพฤติการณ์แวดล้อมประกอบ ถ้อยคําที่เห็นว่าชัดเจนแล้วอาจมีความหมาย เป็นอย่างอื่นได้ แม้คําพิพากษาของศาลไทยจะไม่ได้วินิจฉัยตามแนวความเห็นนี้อย่างชัดเจน แต่คําพิพากษาหลายฉบับก็เเสดงให้เห็นได้ว่าศาลตีความการแสดงเจตนาแม้ในกรณีที่การแสดงเจตนา มีความชัดเจน ตัวอย่างเช่น
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 6886/2542 จําเลยอ้างว่าสัญญาเช่าซื้อระบุวันเริ่มต้น ของสัญญาหลังวันเริ่มต้นของวันทําสัญญาประกันภัยไว้ชัดเจนแล้ว ย่อมไม่ต้องตีความ ศาลเห็นว่า วัตถุประสงค์แห่งสัญญาย่อมมุ่งไปที่การประกันภัยรถยนต์ที่เช่าซื้อสําคัญยิ่งกว่าวันเริ่มต้นสัญญาที่ พิมพ์เป็นตัวอักษร การตีความวันทําสัญญาประกันภัยย่อมต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่า ถ้อยคําสํานวนหรือตัวอักษรตามมาตรา 171 จําเลยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 10421/2551 จําเลยอ้างว่าสัญญาเช่าซื้อระบุวันเริ่มต้น ของสัญญาหลังวันเริ่มต้นของวันทําสัญญาประกันภัยไว้ชัดเจนแล้ว ย่อมไม่ต้องตีความ ศาลเห็นว่า วัตถุประสงค์แห่งสัญญาย่อมมุ่งไปที่การประกันภัยรถยนต์ที่เช่าซื้อสําคัญยิ่งกว่าวันเริ่มต้นสัญญาที่ พิมพ์เป็นตัวอักษร การตีความวันทําสัญญาประกันภัยต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าทําให้คํา สํานวนหรือตัวอักษรตามมาตรา 171 จําเลยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
การแสดงเจตนาก็มีความชัดเจนว่าได้แสดงเจตนาทําสัญญากันในวันที่ที่ได้ระบุไว้ แล้ว หากไม่พิจารณาประกอบพฤติการณ์แวดล้อม จะไม่รู้เลยว่าวันที่ที่ระบุไว้นั้นไม่ได้ตรงกับเจตนาใน ใจ การที่ศาลพิพากษาว่าเจตนาที่แท้จริงของทั้งสองฝ่ายมุ่งให้สัญญาประกันภัยมีผลผูกพันในวันที่มี ส่วนได้เสีย ไม่ใช่วันที่ระบุชัดเจนในกรมธรรม์ ย่อมเป็นผลมาจากการตีความประกอบพฤติการณ์ แวดล้อมทั้งเรื่องเจตนาของคู่สัญญา ทางปฏิบัติหรือปกติประเพณีในการซื้อรถยนต์ประกอบกันแล้ว
10 กิตติศักดิ์ ปรกติ (เชิงอรรถ 6) 31-32 ; กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง (เชิงอรรถ 6) 134 ; วิวัฒน์
กอสัมพันธ์ (เชิงอรรถ 6) 54-55 ; ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์ (เชิงอรรถ 1) 427.
ประเด็นต่อมาที่มีความสําคัญต่อการนํามาวิเคราะห์ การนํามาตรา 171 มาปรับ ใช้กับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาได้แก่ประเด็นในเรื่องของวิธีการตีความการแสดง เจตนาหรือความหมายของเจตนาอันแท้จริง ซึ่งนักกฎหมายไทยมีความเห็นเกี่ยวกับวิธีการตีความการ แสดงเจตนาที่แตกต่างกัน 4 วิธี ดังนี้
1. วิธีตีความตามแต่ละกรณี11 โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่ได้มีหลักเกณฑ์ตายตัวและ ไม่มีหลักเกณฑ์ทั่วไปที่ใช้ได้กับทุกกรณี แต่ต้องไป พิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นกรณีไป ค้นหาเจตนา อันแท้จริง ไม่ยึดติดกับถ้อยคําสํานวนตัวอักษรวิธีการนี้เป็นไปตามความคิดเห็นของนักกฎหมายไทย ส่วนใหญ่ และศาลปรับใช้
2. วิธีตีความแบบรู้หรือไม่รู้เจตนาที่ซ่อนในใจ12 โดยวิธีนี้ตีความการแสดง เจตนาโดยพิจารณาจากเจตนาที่แสดงออกซึ่งสะท้อนทฤษฎีภาวะวิสัยเป็นหลัก เว้นแต่ในกรณีที่ผู้รับ การแสดงเจตนารู้ถึงเจตนาที่อยู่ในใจจึงจะพิจารณาตามเจตนาในใจของผู้แสดงเจตนา
3. วิธีตีความแบบกําหนดหน้าที่13 วิธีนี้กําหนดหน้าที่ให้ผู้แสดงเจตนาต้อง พยายามแสดงเจตนาให้อีกฝ่ายเข้าใจ ส่วนฝ่ายผู้รับการแสดงเจตนาต้องตีความการแสดงเจตนานั้น ตามหลักสุจริต นี้ผู้ที่อธิบายวิธีนี้ก็ไม่ได้อธิบายว่าหน้าที่ดังกล่าวมีลักษณะเช่นใด และมีเกณฑ์พิจารณา อย่างไร
4. วิธีตีความแบบอัตวิสัยกับภาวะวิสัย14 วิธีนี้ใช้การตีความทั้งแบบอัตวิสัยและ แบบภาวะวิสัย โดยแบบอัตวิสัยที่ยึดถือเจตนาในใจของผู้แสดงเจตนาเป็นเจตนาที่มีผลทางกฎหมาย ใช้กับกรณีที่การแสดงเจตนาไม่มีผู้รับการแสดงเจตนาและไม่มีคู่กรณี เช่นนิติกรรมฝ่ายเดียวประเภท พินัยกรรมหรือการสละกรรมสิทธิ์เป็นต้น หรือในกรณีที่ การแสดงเจตนามีผู้รับการแสดงเจตนาหรือมี คู่กรณี แต่บุคคลนั้นไม่ควรได้รับความคุ้มครอง ส่วนการตีความแบบภาวะวิสัยที่ยึดถือเจตนาที่ แสดงออกตามที่วิญญูชนเข้าใจโดยพิจารณาจากการแสดงเจตนาที่มีผู้รับการแสดงเจตนาหรือมีคู่กรณี และบุคคลนั้นควรได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้การค้นหาเจตนาอันแท้จริงต้องอาศัยพฤติการณ์แวดล้อม
11 ประกอบ หุตะสิงห์ (เชิงอรรถ 6) 67; พระยาเทพวิทุร (เชิงอรรถ 6) 43-46 ; ดูประกอบ
วิวัฒน์ กอสัมพันธ์ (เชิงอรรถ 6) 67.
12 หยุด แสงอุทัย (เชิงอรรถ 7) 67-69 ; ดูประกอบ วิวัฒน์ กอสัมพันธ์ (เชิงอรรถ 6) 67.
13 เสริม วินิจฉัยกุล, คํำอธิบำยประมวลกฎ👉มำยแพ่งและพำณิชย์ลักษณะนิติกรรมและ👉นี้,
71-75 ; ดูประกอบ วิวัฒน์ กอสัมพันธ์ (เชิงอรรถ 6) 68.
14 กิตติศักดิ์ ปรกติ (เชิงอรรถ 6) 33-39; กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง (เชิงอรรถ 6) 138-140 ;
ดูประกอบ วิวัฒน์ กอสัมพันธ์ (เชิงอรรถ 6) 68.
ในการพิจารณา เช่น ปกติประเพณี การปฏิบัติต่อกันหลังการเกิดนิติกรรม หรือพฤติการณ์แวดล้อม อื่น ๆ เช่น สถานที่ เอกสารที่เกี่ยวข้องและการกระทําในครั้งก่อนๆ เป็นต้น
วิธีการตีความแบบอัตวิสัย และแบบภาวะวิสัย หมายถึง15 1) กรณีบังคับตาม เจตนาภายใน (เจตนาเชิงอัตวิสัย) เมื่อเจตนาอันแท้จริงซึ่งเป็นเจตนาภายในหรือเจตนาเชิงอัตวิสัยไม่ ต้องตรงกับเจตนาที่แสดงออก ยอมบังคับไปตามเจตนาอันแท้จริงที่เป็นเจตนาเชิงอัตวิสัย 2) กรณี บังคับตามเจตนาภายนอก (เจตนาเชิงภาวะวิสัย) หากเจตนาอันแท้จริงซึ่งเป็นเจตนาภายในต้องตรง กับเจตนาภายนอกย่อมบังคับไปตามเจตนาที่แสดงออก แต่หากปรากฏว่าข้อความในเอกสารซึ่งถือ เป็นเจตนาที่แสดงออก ไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกัน และพิจารณาข้อความแล้วอาจยังทราบเจตนาแท้จริง ของคู่สัญญาได้ ย่อมบังคับไปตามเจตนาอันแท้จริงซึ่งเป็นเจตนาในเชิงภาวะวิสัย
วิธีการตีความหรือความหมายของเจตนาอันแท้จริงตามมาตรา 171 นั้น หากถือเอาว่าเจตนาอันแท้จริง หมายถึงเจตนาที่แสดงออกเท่านั้นโดยการตีความแบบภาวะวิสัยใน ทุกกรณี ย่อมไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย เนื่องจากหากต้องบังคับตามเจตนาที่ แสดงออกในทุกกรณีแล้วก็ย่อมไม่มีความสําคัญที่จะต้องเพ่งเล็งเจตนาอันแท้จริง ตามที่มาตรา 171 บัญญัติไว้ แต่หากถือวิธีการตีความหรือความหมายของเจตนาอันแท้จริงว่าหมายถึงเจตนาภายในใจ โดยการตีความ แบบอัตวิสัยในทุกกรณีแล้ว ก็ย่อมไม่เป็นธรรมต่อฝ่ายของผู้รับการแสดงเจตนาใน กรณีที่ผู้นั้นไม่ทราบถึงเจตนาภายในใจของผู้แสดงเจตนา และผู้นั้นเป็นผู้ที่ควรได้รับความคุ้มครอง การใช้วิธีการตีความแบบอัตวิสัยหรือภาวะวิสัยจึงต้องพิจารณาจากรูปแบบของการแสดงเจตนา ประกอบกับการพิจารณาว่ากรณีนั้นต้องคุ้มครองผู้แสดงเจตนาหรือผู้รับการแสดงเจตนาหรือคู่กรณี มากกว่า ในกรณีที่การแสดงเจตนาไม่มีผู้รับการแสดงเจตนาและไม่มีคู่กรณี ไม่มีความจําเป็นที่จะต้อง คุ้มครองผู้ใดมากไปกว่าผู้แสดงเจตนา การตีความแบบอัตวิสัยโดยถือเอาเจตนาในใจเป็น เจตนาอัน แท้จริงของผู้แสดงเจตนาย่อมสามารถทําได้ ในกรณีของการแสดงเจตนาที่ มีผู้รับการแสดงเจตนา โดยทั่วไปแล้วย่อมต้องคุ้มครองผู้รับการแสดงเจตนาโดยการตีความแบบภาวะวิสัยคือถือเอาเจตนาที่ แสดงออกเป็นเจตนาอันแท้จริง เว้นแต่ผู้รับการแสดงเจตนาเป็นบุคคลที่ไม่ควรได้รับความคุ้มครอง เช่น มีพฤติการณ์ที่ว่าผู้รับการแสดงเจตนารู้ถึงเจตนาภายในใจของผู้แสดงเจตนา ในกรณีเช่นนี้จึง สมควรตีความโดยเอาเจตนาในใจเป็นเจตนาอันแท้จริง ส่วนในกรณีที่การแสดงเจตนาไม่มีผู้รับการ แสดงเจตนาแต่มีคู่กรณี โดยทั่วไปย่อมต้องตีความแบบภาวะวิสัยเพื่อคุ้มครองคู่กรณีเว้นแต่คู่กรณีเป็น บุคคลที่ไม่สมควรได้รับความคุ้มครอง เช่นในกรณีที่คู่กรณีรู้เจตนาภายในใจของผู้แสดงเจตนา การ
15 เฉลิมวุฒิ ศรีพรหม, ‘หลักการตีความสัญญา’ (2559) 72 บทบัณฑิตย์, 61 ; ดูประกอบ อ รุ ณี ว สั น ต ย า นั น ท์ , ‘ก าร ตี ค ว าม เอ กสาร” (วิ ท ย า นิ พ น ธ์ นิ ติ ศ าสตรม ห า บั ณ ฑิ ต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2565) 25-26.
ตีความการแสดงเจตนาตามมาตรา 171 จึงมีทั้งแบบภาวะวิสัยและอัตวิสัยขึ้นอยู่กับว่าการแสดง เจตนานั้นมีผู้รับการแสดงเจตนาหรือคู่กรณีหรือไม่และบุคคลนั้นสมควรได้รับความคุ้มครองยิ่งไปกว่า ผู้แสดงเจตนาหรือไม่โดยอาศัยพฤติการณ์แวดล้อมประกอบในการตีความเสมอ16
นอกจากประเด็นที่ว่าการตีความการแสดงเจตนาต้องกระทําในกรณีใด และ เจตนาอันแท้จริงตามมาตรา 171 หมายถึงสิ่งใดแล้ว การตีความการแสดงเจตนาตามมาตรา 171 ยังอาจมีประเด็นอื่น ๆ ที่นักกฎหมายมีความเห็นไม่ตรงกัน เช่นประเด็นที่ว่า การตีความการแสดง เจตนาตามมาตรา 171 จําเป็นต้องอาศัยการตีความสัญญาตามมาตรา 368 ประกอบด้วยหรือไม่ แต่เนื่องจากวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา ข้อตกลงเหล่านั้น จึงเป็นข้อตกลงที่ปรากฏในสัญญาทั้งสิ้น การตีความจึงต้องอาศัยทั้งการตีความการแสดงเจตนาและ การตีความสัญญา ประเด็นดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อตกลงเหล่านี้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึง ไม่ได้นําเสนอ
2.1.3 บทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความสัญญาตามมาตรา 368
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติหลักการตีความสัญญาไว้ในมาตรา 368 ความว่า “สัญญานั้นท่าน ให้ตีความตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติ ประเพณีด้วย” เนื่องจากการก่อสัญญาเป็นการใช้หลักอิสระในทางแพ่งซึ่งคู่สัญญากําหนดขอบเขต ในทางกฎหมายของตน การตีความสัญญาจึงเป็นการค้นหาความหมายของสิ่งที่คู่สัญญาได้กําหนด โดยมีสัญญาที่ทําขึ้นเพื่อผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญาเป็นวัตถุในการตีความ การตีความสัญญาจึง ไม่ใช่การค้นหาความหมายจากเจตนาของคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นการค้นหาความหมายจาก เจตนาที่มีร่วมกันของคู่สัญญา17
เนื่องจากสัญญาเป็นนิติกรรมประเภทหนึ่ง เมื่อมีปัญหาในการตีความสัญญา ผู้ตีความจึงจะต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ในการตีความการแสดงเจตนาซึ่งก่อให้เกิดนิติกรรม ตามมาตรา 171 ก่อนเป็นอันดับแรกเพื่อกําหนดเนื้อหาของเจตนาที่แสดงออกมาของคู่กรณีแต่ละฝ่าย เพื่อให้ ทราบถึงความสําคัญต่าง ๆ ตามข้อตกลงอันถือเสมือนเป็นกฎหมายที่คู่สัญญาต้องการให้มีผลผูกพัน ระหว่างกัน จากนั้นผู้ตีความจึงจะต้องอาศัยหลักเกณฑ์ในมาตรา 368 คือหลักสุจริตและปกติประเพณี ที่ปฏิบัติกันในกิจการนั้น ๆ มาวินิจฉัยประกอบ โดยปรับหลักสุจริตซึ่งเป็นหลักที่คํานึงถึงความซื่อสัตย์
16 กิตติศักดิ์ ปรกติ (เชิงอรรถ 6) 31; กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง (เชิงอรรถ 6) 135; ดูประกอบ
วิวัฒน์ กอสัมพันธ์ (เชิงอรรถ 6) 58-60.
17 ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์ (เชิงอรรถ 1) 427.
และความไว้วางใจตามความสัมพันธ์ทางกฎหมายและทางเศรษฐกิจ พร้อมทั้งผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง กันของคู่กรณี ขณะเดียวกันก็ต้องคํานึงถึงปกติประเพณีที่พึงปฏิบัติต่อกัน18
ในการตีความสัญญาเพื่อหาเจตนาร่วมกันของคู่สัญญา มีแนวทางสัญญาจาก เนื้อหาของสัญญาที่สามารถนํามาใช้ได้ดังนี้19
1. การตีความสัญญาต้องพิจารณาจากสัญญาทั้งฉบับ (As A Whole) หลักเกณฑ์ในข้อนี้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป และปรากฏในคําพิพากษาของศาลไทยมาโดยตลอด โดย การตีความสัญญาอันกล่าวไว้กว้างๆนั้น ให้ตีความไปในทางที่คู่กรณีมีความตั้งใจต่อกัน โดยอาศัย ข้อความในสัญญานั้นประกอบการทั้งฉบับจะหยิบแต่เฉพาะความตอนใดตอนหนึ่งขึ้นวินิจฉัยเท่านั้น หรือสัญญาข้อใดข้อหนึ่งขึ้นมาแปลไม่ได้ (คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2472, 655/2511, 2342/2521) นอกจากนั้นหากมีสัญญาที่เกี่ยวข้องในเรื่องเดียวกันอยู่หลายฉบับ หรือมีสัญญาประธาน หรือสัญญาอุปกรณ์ หรือสัญญาที่แนบท้ายหรือแก้ไขเพิ่มเติมฉบับอื่น ๆ อยู่ การค้นหาความประสงค์ ของคู่สัญญาต้องทําโดยพิจารณาสัญญาเหล่านั้นรวมกันทุกฉบับ แต่จะต้องถือข้อความในสัญญาเป็น หลักในการพิจารณา ส่วนสัญญาอุปกรณ์หรือสัญญาต่อท้ายพิจารณาประกอบเท่านั้น
2. การตีความค้นหาเจตนาจากถ้อยคํา โดยทั่วไปแล้วการตีความถ้อยคําใน สัญญาจะต้องถือเอาความหมายซึ่งเป็นความหมายสามัญ (Ordinary Meaning of Words) ของ ถ้อยคํานั้น หมายถึง ความหมายที่ชัดเจนเป็นสามัญและนิยมใช้กันโดยทั่วไปหรือจะเป็นเพียงแต่กลุ่ม ใดกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับคู่สัญญาโดยเฉพาะก็ได้ เว้นแต่จะมีข้อเท็จจริงปรากฏว่าคู่สัญญามี ความมุ่งหมายที่จะใช้ถ้อยคํานั้นในความหมายอื่น แต่หากถ้อยคํานั้นมีความหมายพิเศษ การตีความ ถ้อยคําตามความหมายพิเศษ จะเป็นไปได้ต่อเมื่อ ถ้อยคํานั้นเป็นคําศัพท์เฉพาะ หรือมีความหมาย พิเศษที่ใช้กันมานานในทางการค้าหรือทางธุรกิจโดยเฉพาะ หรือเนื้อหาโดยรวมแสดงให้เห็นว่าต้องมี ความหมายจํากัดหรือต่างไปจากปกติ ในกรณีที่ถ้อยคําในสัญญามีความขัดแย้งกัน การตีความต้องทํา เพื่อให้สัญญาใช้บังคับได้ทุกส่วน แต่ในกรณีที่ไม่สามารถทําเช่นนั้นได้ จําเป็นจะต้องพิจารณาโดย เปรียบเทียบแต่ละส่วน โดยหลักในการพิจารณา 3 ประการ คือ ต้องตีความในทางเคร่งครัดแก่ผู้ร่าง สัญญา ในกรณีที่เอกสารมีการเขียนหรือพิมพ์ข้อความแตกต่างกัน หากไม่สอดคล้องกันต้องให้น้ําหนัก
18 ดาราพร ถิระวัฒน์, กฎ👉มำยสัญญำ : สถำนะใ👉ม่ของสัญญำปัจจุบันและปัญ👉ำข้อสัญญำ ที่ไม่เป็นธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2542) 60.
19 อภิชาติ คงชาตรี, ‘หลักการตีความสัญญา’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2545) 60-80<http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789
/819/3/Apichart.pdf>.
แก่ตัวเขียน และกรณีที่สัญญาประกอบด้วยหลักฐานที่เป็นเอกสารหลายฉบับต้องถือเอกสารที่จัดทําใน เวลาล่าสุดเป็นหลัก
3. ถ้าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเลือกใช้ถ้อยคําในการสื่อความหมายซึ่งแตกต่างไป จากความหมายสามัญของถ้อยคํานั้น หรือใช้ถ้อยคําผิดพลาด (Falsa Demonstratio Non Nocet) โดยทั้งสองฝ่ายต่างเข้าใจความประสงค์ที่แท้จริงของกันและกัน ต้องตีความโดยถือเอาความหมายตาม เจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญา โดยมีข้อสําคัญที่ว่าคู่สัญญามีความประสงค์อย่างไร เพราะเมื่อมีความ เข้าใจที่ตรงกันทุกฝ่ายก็ย่อมไม่มีเหตุที่จะคุ้มครองประโยชน์ได้เสียของผู้รับการแสดงเจตนาแต่อย่างใด นอกจากการตีความเพื่อหาเจตนาร่วมกันของคู่สัญญาแล้ว มาตรา 368 ยังกําหนดให้ตีความตามความประสงค์ในทางสุจริต ซึ่งเป็นแนวทางการตีความในทางภาวะวิสัย โดยมุ่งค้นหาความหมายของสัญญาจากข้อเท็จจริงอย่างอื่นที่แน่นอนที่นอกเหนือตัวผู้ทําสัญญา โดยวิธีการเหล่านี้มักตั้งอยู่บนหลักสุจริต (Good Faith)20 หรือปกติประเพณี ด้วยข้อสันนิษฐานที่ว่า ในการทําสัญญาระหว่างบุคคล คู่สัญญาย่อมต้องขาดหมายถึงความซื่อสัตย์สุจริต และความไว้ใจที่มี ต่อกันในการผูกสัมพันธ์กันตามกฎหมายและในทางเศรษฐกิจ และมีการเข้าทําสัญญาระหว่างกันนั้น คู่สัญญาก็มักจะทําสัญญาโดยอาศัยปกติประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมา โดยหากไม่ประสงค์ให้เป็นไป
ตามปกติประเพณีก็คงได้กําหนดไว้ชัดแจ้งเป็นอย่างอื่นในสัญญานั้น
การตีความสัญญาโดยอาศัยหลักสุจริต มีความหมายครอบคลุมกว้างขวางมาก ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมแวดล้อมของแต่ละคดี21 เกี่ยวข้องกับการตีความโดยคํานึงถึงหน้าที่ตามหลักสุจริต ที่คู่สัญญามีอยู่ระหว่างกัน22 เช่น หน้าที่ซื่อสัตย์ (Loyalty) ใช้ความระมัดระวัง (Duty of Care) ให้ ความร่วมมือ แจ้งเตือนข้อมูลสําคัญ และหน้าที่ที่จะไม่ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นต้น โดยหน้าที่ของ คู่สัญญาตามหลักสุจริตที่เกี่ยวข้องกับการนํามาปรับใช้กับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของ สัญญา ได้แก่หน้าที่ที่จะต้องซื่อสัตย์ (Loyalty) หน้าที่ในการใช้ความระมัดระวัง (Duty of Care) และ หน้าที่ที่จะไม่ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนี้
หน้าที่ซื่อสัตย์ (Loyalty) คือหน้าที่ที่คู่สัญญาต้องปฏิบัติตามสัญญากันอย่าง ซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา เพื่อคุ้มครองประโยชน์ที่คาดหมายได้ (Expected Interest) ของคู่สัญญาอีก ฝ่ายหนึ่ง โดยคู่สัญญามีหน้าที่ต้องคุ้มครองให้สามารถปฏิบัติการชําระหนี้ได้ ยิ่งไปกว่านั้นต้องทําให้ คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์ที่คาดหมายไว้ตามสัญญาด้วย
20 Stefan Vogenauer (เชิงอรรถ 8) 769.
21 สมยศ เชื้อไทย, ควำมรู้กฎ👉มำยทั่วไป คํำอธิบำยวิชำกฎ👉มำยแพ่ง : 👉ลักทั่วไป, (วิญญูชน
2565) 163.
22 อภิชาติ คงชาตรี (เชิงอรรถ 19) 97-125
หน้าที่ในการใช้ความระมัดระวัง (Duty of Care) คือหน้าที่ที่คู่สัญญาต้องใช้ ความระมัดระวังมิให้บุคคลหรือทรัพย์สินของคู่สัญญาอีกฝ่ายได้รับความเสียหายในขณะปฏิบัติการ ชําระหนี้ ไม่ว่าหน้าที่ดังกล่าวจะถูกระบุไว้ชัดแจ้งในสัญญาหรือไม่ก็ตาม แม้ว่าไม่ได้ถูกระบุไว้ในสัญญา คู่สัญญาก็ต้องระมัดระวังในการดูแลรักษาชีวิตหรือสุขภาพหรือทรัพย์สินของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่ง อยู่ในความอารักขาหรือครอบครองดูแลของตน
หน้าที่ที่จะไม่ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โดยทั่วไปแล้วการอ้างใช้สิทธิของตนจะต้อง กระทําโดยสุจริต แม้ในบางกรณีสัญญาจะกําหนดสิทธิหน้าที่ของคู่สัญญาไว้แต่ก็มีหลักกฎหมายที่ต้อง มาปรับใช้เพื่อควบคุมการอ้างใช้สิทธิตามข้อความในสัญญา ในกรณีที่ข้อตกลงที่ปรากฏในสัญญาเป็น ผลมาจากการกระทําอันขัดต่อหลักสุจริตคู่สัญญาก็จะอ้างสิทธิตามสัญญานั้นไม่ได้
การตีความสัญญาโดยอาศัยปกติประเพณี ในการทําสัญญาอาจมีประเพณี บางอย่างที่ถือปฏิบัติกันมาเป็นปกติ และคู่ทั้งสัญญาทั้งสองฝ่ายต่างรู้และเข้าใจถึงประเพณีปฏิบัตินั้นดี แม้ในสัญญาไม่ได้มีการระบุถึงประเพณีปฏิบัตินั้นไว้ ก็อาจเข้าใจได้ว่าคู่สัญญาตั้งใจให้ข้อตกลงเป็นไป ตามประเพณีที่ละไว้โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาและบังคับได้ด้วย23 ไม่เช่นนั้นคู่สัญญาคงจะได้ทํา สัญญาไว้ในลักษณะชัดแจ้งเป็นประการอื่น โดยปกติประเพณีไม่จําเป็นต้องเป็นที่ยอมรับกันในกลุ่ม สาธารณชนจํานวนมาก หากแต่อาจเป็นความหมายที่นิยมกันในบุคคลหรือวิชาชีพเฉพาะกลุ่มก็ได้ ปกติประเพณีในมาตรา 368 จึงหมายถึงหลักปฏิบัติในการติดต่อกันในวงอาชีพต่าง ๆ ไม่ได้หมายถึง ขนบธรรมเนียมหรือจารีตประเพณีท้องถิ่น24 ซึ่งปกติประเพณีนี้อาจหมายถึง 1) ปกติประเพณีที่เคยทํา กันมาระหว่างคู่สัญญาด้วยกัน (Course of Dealing) 2) ประเพณีที่มีอยู่ในท้องตลาดหรือปกติ ประเพณีในทางการค้า การตีความสัญญาตามมาตรา 368 นอกจากหลักสุจริตแล้ว หากกรณีที่ พิจารณามีปกติประเพณีปรากฏ ก็ต้องพิเคราะห์ถึงปกติประเพณี ในการตีความสัญญานั้นด้วย
บทบัญญัติบทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความการแสดงเจตนาตามมาตรา 171 ซึ่งให้ ตีความการแสดงเจตนาโดยมุ่งเน้นถึงเจตนาอันแท้จริง และบทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความสัญญาตาม มาตรา 368 ซึ่งให้ตีความสัญญาโดยอาศัยหลักสุจริตและปกติประเพณีในการพิจารณา เมื่อนํามาปรับ ใช้กับกรณีข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา จะมีผลทางกฎหมายเป็นอย่างไร และมี ข้อสังเกตอย่างไรหรือไม่ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะได้นําตัวอย่างกรณีศึกษาข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ หลักของสัญญามาวิเคราะห์ถึงผลทางกฎหมายโดยปรับใช้บทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความการแสดง เจตนาตามมาตรา 171 และบทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความสัญญาตามมาตรา 368 ในบทที่ 4 ต่อไป
23 ไชยยศ เหมะรัชตะ, กฎ👉มำยว่ำด้วยสัญญำ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2539) 241 ;
อภิชาติ คงชาตรี (เชิงอรรถ 6) 126.
24 เพิ่งอ้าง 241.
2.2 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มี อยู่ว่า “เนื่องจากหลักกฎหมายเกี่ยวกับนิติกรรมหรือสัญญาที่ใช้บังคับอยู่มีพื้นฐานมาจากเสรีภาพของ บุคคล ตามหลักของความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนา รัฐจะไม่เข้าแทรกแซงแม้ว่าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เว้นแต่จะเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบ เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่ในปัจจุบัน สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป ทําให้ผู้ซึ่งมี อํานาจต่อรองทางเศรษฐกิจเหนือกว่าถือโอกาสอาศัยหลักดังกล่าวเอาเปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมี อํานาจต่อรองทางเศรษฐกิจด้อยกว่าอย่างมาก ซึ่งทําให้เกิดความไม่เป็นธรรมและไม่สงบสุขในสังคม สมควรที่รัฐจะกําหนดกรอบของการใช้หลักความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนาและเสรีภาพของบุคคล เพื่อแก้ไขความไม่เป็นธรรมและความไม่สงบสุขในสังคมดังกล่าว โดยกําหนดแนวทางให้แก่ศาลเพื่อใช้ ในการพิจารณาว่าข้อสัญญาหรือข้อตกลงใดที่ไม่เป็นธรรม และให้อํานาจแก่ศาลที่จะสั่งให้ข้อสัญญา หรือข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมนั้นมีผลใช้บังคับเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี จึงจําเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้”25
จากเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเป็นการบัญญัติ กฎหมายขึ้นเพื่อให้ศาลเข้าไปแทรกแซงในการบังคับใช้สัญญาระหว่างคู่สัญญาเอกชนโดยเน้นย้ําไปที่ กรณีที่ผู้ซึ่งมีอํานาจต่อรองทางเศรษฐกิจเหนือกว่าเอาเปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมีอํานาจต่อรอง ทางเศรษฐกิจด้อยกว่าอย่างมาก ในเบื้องต้นหากพิจารณาเพียงเท่านี้อาจสันนิษฐานได้ว่ากฎหมายฉบับ นี้ย่อมไม่ใช่เรื่องเดียวกันกับหลักกฎหมายเรื่องข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาเสียทีเดียว เนื่องจากหลักกฎหมายเรื่องข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาเป็นหลักกฎหมายเอกชนซึ่ง ใช้ได้โดยมิได้กําหนดลักษณะแห่งสัญญาหรือลักษณะแห่งคู่สัญญาไว้เป็นการเฉพาะ แตกต่างจาก พระราชบัญญัติฉบับนี้ซึ่งหากมุ่งจะบังคับใช้กับกรณีที่คู่สัญญามีอํานาจต่อรองแตกต่างกันอย่างมีนัยยะ สําคัญย่อมต้องมีการจํากัดลักษณะแห่งสัญญาหรือลักษณะแห่งคู่สัญญาไว้เพื่อให้ส อดคล้องกับ เจตนารมณ์ที่จะบังคับใช้
อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ถือได้ว่าเป็น กฎหมายไทยที่ใกล้เคียงกับหลักกฎหมายเรื่องข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาที่พอจะ เปรียบเทียบกันได้ดีที่สุด เนื่องจากแม้ว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้อาจจะมิได้ครอบคลุมกรณีที่อยู่ใน ขอบเขตของหลักกฎหมายเรื่องข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญ ญา ทั้ งหมด แต่พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้กําหนดเกี่ยวกับกรณีของข้อตกลงเพื่อยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดซึ่งถือ
25 หมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540.
ได้ว่าเป็นข้อตกลงที่เป็นต้นกําเนิดของหลักกฎหมายเรื่องข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา และเป็นข้อตกลงที่อยู่ในขอบเขตของหลักกฎหมายดังกล่าวอย่างชัดเจนที่สุด ส่วนพระราชบัญญัติ ฉบับนี้จะกําหนดให้ครอบคลุมถึงกรณีใดบ้างและกําหนดผลทางกฎหมายอย่างไร จะได้ศึกษา เชิงเนื้อหา ดังนี้
2.2.1 มาตรา 4
พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 4 บัญญัติว่า “มาตรา 4 ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือ
วิชาชีพ หรือในสัญญาสําเร็จรูป หรือในสัญญาขายฝากที่ทําให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กําหนดสัญญาสําเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร เป็นข้อสัญญาที่ ไม่เป็นธรรม และให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น
ฯลฯ ข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่า
ที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทําให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น
(1) ข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดที่เกิดจากการผิดสัญญา
(2) …
(3) …
(4) ข้อตกลงให้สิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อหนึ่งข้อใด หรือปฏิบัติตามสัญญา ในระยะเวลาที่ล่าช้าได้โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(5) …
ฯลฯ
(9) …
ในการพิจารณาข้อตกลงที่ทําให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสาม จะเป็นการได้เปรียบเกินสมควรหรือไม่ ให้นํามาตรา 10 มาใช้โดยอนุโลม”
จากบทบัญญัติข้างต้นในกรณีที่ข้อสัญญามีข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิด ที่เกิดจากการผิดสัญญา หรือข้อตกลงให้สิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อหนึ่งข้อใด หรือปฏิบัติตาม สัญญาในระยะเวลาที่ล่าช้าได้โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ การค้า หรือวิชาชีพ หรือในสัญญาสําเร็จรูป หรือในสัญญาขายฝาก ข้อตกลงนั้นมีผลบังคับได้เพียง เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น
เมื่อเปรียบเทียบบทบัญญัติในพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 4 กับกรณีข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาโดยเฉพาะข้อตกลงยกเว้น หรือจํากัดความรับผิดนั้น ในกรณีของข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดที่กําหนดความรับผิดของ คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไว้ต่ําอย่างยิ่งหรือยกเว้นความรับผิดของคู่สัญญาฝ่ายนั้นในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายนั้นไม่ ยอมชําระหนี้ในข้อที่เป็นภาระผูกพันสําคัญของสัญญา เช่น กรณีที่ผู้รับขนในสัญญารับขนจํากัดความ รับผิดของตนในกรณีไม่ยอมขนส่งสินค้าภายในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้โดยไม่มีเหตุอันสมควรไม่เกิน ค่าบริการรับขนอันเป็นจํานวนน้อยจนอาจถือได้ว่าผู้รับขนไม่ต้องรับผิดในกรณีที่ผิดสัญญาอันถือได้ว่า เป็นข้อตกลงที่มีผลบั่นทอนสาระสําคัญแห่งภาระผูกพันสําคัญของสัญญารับขนกล่าวคือภาระผูกพันที่ ผู้ขนจะต้องขนส่งของไปให้ทันเวลา เช่นนี้ข้อตกลงนั้นย่อมถือว่าเป็นข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความ รับผิดที่เกิดจากการผิดสัญญาที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่า ที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติและเป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทําให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่าย หนึ่งตามมาตรา 4 วรรคสาม (1) แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วย ซึ่งบัญญัติผลทางกฎหมายให้ศาล เป็นผู้ใช้ดุลยพินิจให้บังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี
ในทํานองเดียวกัน ข้อตกลงให้สิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อหนึ่งข้อใด หรือ ปฏิบัติตามสัญญาในระยะเวลาที่ล่าช้าได้โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหากสัญญาข้อที่จะไม่ปฏิบัติตามได้ นั้นเป็นภาระผูกพันสําคัญหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นวัตถุประสงค์หลักของสัญญา หรือข้อสัญญา เกี่ยวกับการชําระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กําหนดเป็นภาระผูกพันสําคัญหรือวัตถุประสงค์ หลักของสัญญา ย่อมเป็นกรณีที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่า ที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทําให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ตามมาตรา 4 วรรคสาม (4) แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยและมีผลทางกฎหมายให้ศาลเป็นผู้ใช้ดุลย พินิจให้บังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเช่นเดียวกัน
แม้จะเห็นได้ว่ามาตรา 4 วรรคสาม กําหนดให้ใช้หลักเกณฑ์เชิงภาวะวิสัย กล่าวคือหลักเกณฑ์พิจารณาโดยคํานึงถึงสิ่งที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่ วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ ดังนั้นกรณีของข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิด หรือ ข้อตกลงให้สิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อหนึ่งข้อใด หรือปฏิบัติตามสัญญาในระยะเวลาที่ล่าช้าได้ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเฉพาะกรณีที่ตกอยู่ในขอบเขตของวัตถุประสงค์หลักอาจจัดเข้าเป็นข้อตกลง ที่ทําให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และให้ มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีตามมาตรา 4 ได้บางกรณี แต่มาตรานี้จํากัด บังคับอยู่เฉพาะกรณีที่คู่สัญญาเป็นผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือสัญญาใน
ลักษณะสัญญาสําเร็จรูป หรือสัญญาขายฝากเท่านั้น26 จึงมิได้ครอบคลุมในกรณีการทําสัญญาระหว่าง เอกชนทั่วไปที่มิใช่สัญญาสําเร็จรูป หรือสัญญาขายฝากแต่อย่างใด นอกจากนั้นข้อตกลงบางประเภท หากตีความโดยเคร่งครัดอาจไม่เป็นข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดที่เกิดจากการผิดสัญญาหรือ ข้อตกลงให้สิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อหนึ่งข้อใด หรือปฏิบัติตามสัญญาในระยะเวลาที่ล่าช้าได้ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 4 แต่อาจจัดเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาได้ ตัวอย่างเช่น ในสัญญารับขน ของคู่สัญญาตกลงรับขนผักกาดจากจังหวัดอุดรธานีไปยังกรุงเทพมหานคร โดยในสัญญานั้นมี ข้อสัญญาระบุว่าผู้ขนส่งสามารถแวะ ณ สถานที่ต่าง ๆ เพื่อรับสินค้าจากผู้ขนส่งรายอื่น ๆ กี่สถานที่ก็ ได้ ซึ่งต่อมาผู้ขนส่งแวะ ณ สถานที่ต่าง ๆ เป็นจํานวนมากจนทําให้ใช้เวลาในการขนส่งจากจังหวัด อุดรธานีไปยังกรุงเทพมหานครถึง 3 วันทําให้ผักกาดที่ขนส่งมานั้นเน่าเสีย ต่อมาผู้ส่งประสงค์เรียก ค่าเสียหายตามสัญญาจากผู้ขนส่งแต่ผู้ขนส่งยกข้อสัญญาขึ้นอ้างว่าผู้ขนส่งสามารถแวะ ณ สถานที่ ต่าง ๆ เพื่อรับสินค้าจากผู้ส่งรายอื่น ๆ กี่สถานที่ก็ได้ ข้อตกลงในลักษณะเช่นนี้หากจะตีความว่าเป็น ข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดที่เกิดจากการผิดสัญญาย่อมมีการคัดค้านว่าในเนื้อความของ ข้อสัญญาไม่ได้มีการยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดไว้แต่อย่างใดเพียงแต่เป็นการตกลงให้ผู้ขนส่ง สามารถแวะรับสินค้าจากผู้ส่งรายอื่น ๆ ได้เท่านั้น และจะตีความว่าเป็นข้อตกลงให้สิทธิที่จะไม่ปฏิบัติ ตามสัญญาข้อหนึ่งข้อใด หรือปฏิบัติตามสัญญาในระยะเวลาที่ล่าช้าได้โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรก็อาจ ถูกคัดค้านได้ว่าข้อสัญญาไม่ได้มีการให้สิทธิที่จะไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติตามสัญญาในระยะเวลาที่ล่าช้า ได้โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรไว้โดยตรงแต่อย่างใด แต่เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าในสัญญารับขน ผู้ขนส่งมีภาระผูกพันในการประกันความน่าเชื่อถือและความรวดเร็วของบริการและเมื่อพิจารณาถึง ข้อสัญญาดังกล่าว หากบังคับใช้ในลักษณะที่ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดเนื่องจากขนส่งล่าช้าทําให้สินค้า เสียหายแล้วข้อสัญญาดังกล่าวย่อมเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา
2.2.2 มาตรา 6
พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 6 บัญญัติว่า
“มาตรา 6 สัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพที่มีการ ชําระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้บริโภค จะมีข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดของ ผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพเพื่อความชํารุดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิไม่ได้ เว้นแต่ผู้บริโภค
26 อมราลักษณ์ รักษ์วงศ์, ‘สรุปสาระสําคัญพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540’ ( krisdika.go.th) <http://web.krisdika.go.th/data/lawabout/lawdetail/lawdetail_ 115.htm.> สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2566.
ได้รู้ถึงความชํารุดบกพร่องหรือเหตุแห่งการรอนสิทธิอยู่แล้วในขณะทําสัญญา ในกรณีนี้ให้ข้อตกลง ยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดนั้นมีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น”
ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตามมาตรา 6 โดยแท้จริงแล้วเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
ตามมาตรา 4 วรรคสาม (1) อยู่แล้วแต่กรณีนี้มาตรา 6 บัญญัติผลทางกฎหมายไว้เป็นการเฉพาะ เพื่อให้ข้อตกลงในลักษณะนี้ไม่มีสภาพบังคับกันเลยถ้าผู้บริโภคไม่รู้ถึงความชํารุดบกพร่องหรือเหตุแห่ง การรอนสิทธิ์นั้นในขณะทําสัญญาซึ่งต่างจากผลของข้อสัญญาไม่เป็นธรรมตามมาตรา 4 ที่ยังคง สมบูรณ์มีผลผูกพันกันอยู่เพียงแต่ศาลจะบังคับใช้เพียงข้อตกลงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่ กรณี27
บทบัญญัติมาตรานี้ได้กําหนดถึงข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดไว้เช่นกัน กับมาตรา 4 แต่เป็นกรณีของข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือ วิชาชีพเพื่อความชํารุดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิเท่านั้น เมื่อจะพิจารณาว่าบทบัญญัติในมาตรานี้ มีส่วนหนึ่งส่วนใดที่เทียบเคียงได้หรือทับซ้อนกับกรณีของข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของ สัญญาหรือไม่ อาจต้องพิจารณาว่ากรณีของความชํารุดบกพร่องหรือการรอนสิทธินั้นเป็นภาระผูกพัน สําคัญของสัญญาที่มีการชําระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินหรือไม่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วกรณี่ที่จะถือว่าเป็น ความชํารุดบกพร่องหรือการรอนสิทธินั้นเป็นกรณีที่ความชํารุดบกพร่องหรือการรอนสิทธิมิใช่การที่ คู่สัญญาไม่ดําเนินการชําระหนี้ตามภาระผูกพันหลักของสัญญาซึ่งจะกลายเป็นเรื่องของการไม่ชําระ หนี้ เช่น การซื้อรถยนต์แล้วผู้ขายส่งมอบรถยนต์ที่ไม่สามารถเร่งความเร็วได้ถึงระดับตามที่ตกลงกัน หรือการซื้อขายที่ดินแล้วบุคคลภายนอกมีสิทธิเหนือที่ดินบางส่วนที่ซื้อขายนั้นดีกว่าผู้ขายทําให้ผู้ซื้อได้ ที่ดินไปไม่ครบ เช่นนี้เป็นกรณีที่คู่สัญญาต้องรับผิดต่อความชํารุดบกพร่องหรือการรอนสิทธิแต่มิได้ถึง ขั้นที่ทําให้ไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินไปเสียทีเดียว อย่างไรก็ตามอาจมีบางกรณีที่การรอนสิทธิอาจ เกิดขึ้นแล้วทําให้การส่งมอบทรัพย์สินซึ่งเป็นภาระผูกพันธ์หลักของสัญญาไม่สามารถกระทําได้ ได้แก่ กรณีที่มีการซื้อขายที่ดินแล้วบุคคลภายนอกมีสิทธิเหนือที่ดินทั้งหมดหรือที่ดินส่วนใหญ่ที่ซื้อขายนั้น ดีกว่าผู้ขายทําให้ผู้ซื้อไม่ได้รับที่ดินที่ซื้อขายไปเลย กรณีเช่นนี้หากมีข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับ ผิดของผู้ขายไว้ต่ําอย่างยิ่ง อาจเข้ากรณีข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา แต่แท้ที่จริงแล้ว หาเป็นเช่นนั้นไม่ เนื่องจากกรณีที่จะเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาได้นั้นข้อตกลง เช่นว่านั้นต้องมีลักษณะที่ทําให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งอยู่ในฐานะที่คล้ายว่าจะสามารถเลือกได้ว่าจะชําระ หนี้ตามภาระผูกพันสําคัญของสัญญาหรือไม่ก็ได้ แต่กรณีของความรับผิดเพื่อความชํารุดบกพร่องหรือ เพื่อการรอนสิทธินั้นเป็นกรณีที่คู่สัญญาต้องรับผิดเมื่อเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดที่เข้ากรณีเกิดขึ้น
27 จรัญ ภักดีธนากุล, ‘สรุปสาระสําคัญพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.
2540’ (2541) 1 ดุลพาห,118.
โดยมิใช่ความรับผิดจากความผิดของคู่สัญญาฝ่ายนั้นโดยตรง ดังนั้นจึงไม่ถูกต้องนักที่จะกล่าวว่าหากมี ข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดไว้ต่ําอย่างยิ่งจะทําให้ผู้ขายอยู่ในฐานะที่จะสามารถเลือกได้ว่าจะ ชําระหนี้ตามภาระผูกพันสําคัญของสัญญาหรือไม่ก็ได้ เนื่องจากแม้คู่สัญญาจะไม่ต้องรับผิดเพื่อความ ชํารุดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิก็หาใช่ว่าคู่สัญญาจะไม่ต้องรับผิดในกรณีที่จงใจหรือประมาท เลินเล่อไม่ปฏิบัติตามสัญญา ข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดในมาตรา 6 นี้จึงไม่ใช่ข้อตกลงที่ขัด ต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา
2.2.3 มาตรา 8
พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 8 บัญญัติว่า “มาตรา 8 ข้อตกลง ประกาศ หรือคําแจ้งความที่ได้ทําไว้ล่วงหน้า เพื่อยกเว้น
หรือจํากัดความรับผิดเพื่อละเมิดหรือผิดสัญญาในความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของผู้อื่น อันเกิดจากการกระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ตกลง ผู้ประกาศ ผู้แจ้งความ หรือของ บุคคลอื่นซึ่งผู้ตกลง ผู้ประกาศ หรือผู้แจ้งความต้องรับผิดด้วย จะนํามาอ้างเป็นข้อยกเว้นหรือจํากัด ความรับผิดไม่ได้
ข้อตกลง ประกาศ หรือคําแจ้งความที่ได้ทําไว้ล่วงหน้าเพื่อยกเว้นหรือจํากัดความ รับผิดในกรณีอื่นนอกจากที่กล่าวในวรรคหนึ่ง ซึ่งไม่เป็นโมฆะ ให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรม และพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น”
เช่นเดียวกับมาตรา 4 และมาตรา 6 ข้างต้น มาตรา 8 ก็ได้บัญญัติเกี่ยวกับ ข้อตกลงเพื่อยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดไว้เช่นกันโดยเป็นกรณีของข้อตกลงที่ได้ทําไว้ล่วงหน้าซึ่งได้ บัญญัติผลทางกฎหมายแตกต่างกันออกเป็น 2 ลักษณะ สําหรับข้อตกลง 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือข้อตกลง ยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดในความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของผู้อื่นอันเกิดจากการ กระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อคู่สัญญาไม่สามารถนํามาอ้างได้เลย ส่วนข้อตกลงเพื่อยกเว้นหรือ จํากัดความรับผิดที่ได้ทําไว้ล่วงหน้าในกรณีอื่นมาตรานี้บัญญัติให้ใช้ได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและ พอสมควรแก่กรณี
สําหรับกรณีตามมาตรา 8 วรรคหนึ่งนั้นถูกจํากัดไว้เฉพาะกรณียกเว้นหรือจํากัด ความรับผิดในความเสียหายต่อชีวิตร่างกายหรืออนามัยของผู้อื่นเท่านั้น จึงทําให้เทียบเคียงกับเรื่อง ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาไม่ได้มากนัก แต่ในกรณีของมาตรา 8 วรรคสองนั้นถือได้ ว่าเป็นบทบัญญัติที่ครอบคลุมถึงข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดได้ทั้งหมดที่อยู่นอกเหนือจาก ตามที่ปรากฏในวรรคหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าแม้กรณีของข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดที่ไม่อยู่ใน บังคับของบทบัญญัติใด ๆ เลยตามมาตราก่อนหน้านี้ รวมถึงข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดที่ เป็นข้อตกลงที่มีผลบั่นทอนสาระสําคัญแห่งภาระผูกพันสําคัญของสัญญาในกรณีอื่น ๆ ก็ย่อมตกอยู่ใน
บังคับของบทบัญญัติตามมาตรา 8 วรรค 2 ทําให้ต้องใช้ได้เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี เท่านั้น
จากการศึกษาในเชิงเนื้อหาข้างต้นย่อมสังเกตได้ว่าข้อตกลงที่ถือเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญาส่วนหนึ่งตกอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็น ธรรม พ.ศ. 2540 อยู่แต่เดิมแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิด ซึ่งเป็นกรณีที่เด่นชัดและสําคัญอย่างยิ่งสําหรับหลักกฎหมายในต่างประเทศที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญา โดยได้รับการบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าวทั้งในมาตรา 4 มาตรา 6 และมาตรา 8 โดยมีผลทางกฎหมายในแต่ละกรณีแตกต่างกันไปแบ่งได้เป็นประเภทแรกให้อํานาจ ศาลบังคับใช้สัญญาได้เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีและประเภทที่สอง คือมิให้มีการกล่าวอ้าง ถึงข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดนั้นเลย
สําหรับมาตรการส่วนที่ข้อสัญญาจะมีผลบังคับได้เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี นั้นพระราชบัญญัติฉบับนี้ก็ได้บัญญัติไว้เป็นหลักเกณฑ์ในมาตรา 10 ว่าจะต้องคํานึงถึงสิ่งใดบ้าง ดังนี้
“มาตรา 10 ในการวินิจฉัยว่าข้อสัญญาจะมีผลบังคับเพียงใดจึงจะเป็นธรรมและ พอสมควรแก่กรณี ให้พิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ทั้งปวง รวมทั้ง
(1) ความสุจริต อํานาจต่อรอง ฐานะทางเศรษฐกิจ ความรู้ความเข้าใจ ความสันทัด จัดเจน ความคาดหมาย แนวทางที่เคยปฏิบัติ ทางเลือกอย่างอื่น และทางได้เสียทุกอย่างของคู่สัญญา ตามสภาพที่เป็นจริง
(2) ปกติประเพณีของสัญญาชนิดนั้น
(3) เวลาและสถานที่ในการทําสัญญาหรือในการปฏิบัติตามสัญญา
(4) การรับภาระที่หนักกว่ามากของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับคู่สัญญาอีก
ฝ่ายหนึ่ง”
มาตรา 10 นี้จึงเป็นหลักเกณฑ์พื้นฐานสําคัญที่เป็นมาตรฐานในการใช้ดุลพินิจของศาลที่
จะต้องวินิจฉัยว่าสัญญานั้นจะบังคับใช้ได้เพียงเท่าใด
อย่างไรก็ตาม หลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาไม่ได้ จํากัดอยู่ที่ข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดเพียงเท่านั้น การที่พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 บัญญัติครอบคลุมถึงข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดจึงถือไม่ได้ว่าเป็น การบัญญัติครอบคลุมถึงหลักกฎหมายดังกล่าวทั้งหมด
บทที่ 3
กฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงที่ขัดตอวัตถุประสงค์หลักของสัญญา
กฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญานั้นมี ปรากฎในคําพิพากษาของศาลและตัวบทกฎหมายในต่างประเทศโดยได้ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมาย ของประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษเพื่อพิจารณาแนวทางของพัฒนาการของกฎหมายในเรื่อง ดังกล่าว โดยในประเทศฝรั่งเศส ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาปรากฎอยู่ในประมวล กฎหมายแพ่งฝรั่งเศสในมาตรา 1170 ซึ่งเป็นมาตราหนึ่งที่ได้รับการเพิ่มเติมเข้ามาใหม่ใน ค.ศ. 2016 โดยการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสครั้งสําคัญเกี่ยวกับเรื่องหนี้ที่ไม่เคยมีการแก้ไขหรือแทบไม่ เคยมีการแก้ไขเลยนับตั้งแต่ ค.ศ. 18041 โดยใช้คําว่า “ข้อตกลงที่มีผลบั่นทอนสาระสําคัญแห่งภาระ ผูกพันสําคัญของสัญญา” ในขณะเดียวกันหลักกฎหมายในเรื่องนี้ของประเทศฝรั่งเศสยังสามารถ เทียบเคียงได้กับหลักกฎหมายเรื่องการผิดสัญญาที่เป็นสาระสําคัญ (Fundamental Breach of Contract) ของประเทศอังกฤษโดยหลักกฎหมายทั้งสองหลักมีความคล้ายคลึงใกล้เคียงกันแต่มีที่มาที่ แตกต่างกันและมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาไปในทิศทางที่แตกต่างกัน ดังจะเห็นได้จากการศึกษา ที่มาและหลักกฎหมายในแต่ละประเทศ ดังนี้
3.1 ประเทศฝรั่งเศส
หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาในกฎหมาย ฝรั่งเศสก่อนที่จะมีการบัญญัติไว้ในมาตรา 1170 ใน ค.ศ. 2016 นั้น แต่เดิมไม่เคยมีการบัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสมาก่อน แต่หลักกฎหมายดังกล่าวปรากฏขึ้นครั้งแรกในฐานะหลัก กฎหมายที่เกิดจากคําพิพากษาของศาลและมีการพัฒนามาเรื่อย ๆ จนได้รับการบัญญัติลงในประมวล กฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ดังนี้
1 Solène Rowan, ‘The new French law of contract’ (2017) 4 International & Comparative Law Quarterly , 1.<https://eprints.lse.ac.uk/75815/1/Rowan_New%20 French%20law_2017.pdf>.
3.1.1 หลักกฎหมายเรื่อง “Causa”
หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาที่ปรากฏใน ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสในปัจจุบัน แรกเริ่มนั้นเกิดจากแนวคําพิพากษาของศาลฝรั่งเศสในคดี จํานวนหนึ่ง ที่ตัดสินเกี่ยวกับสัญญาที่มีข้อตกลงในสัญญาจํากัดหรือยกเว้นความรับผิด โดยศาลในคดี เหล่านั้นอาศัยหลักกฎหมายเรื่องฐานแห่งสัญญา “Causa” ซึ่งถือเป็นหลักกฎหมายสําคัญที่คงอยู่มา อย่างยาวนานในกฎหมายลักษณะสัญญาของประเทศฝรั่งเศสและมีความเป็นเอกลักษณ์แตกต่างจาก กฎหมายสัญญาในประเทศส่วนใหญ่ เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญา จึงสมควรที่จะต้องศึกษาที่มา และลักษณะของหลักกฎหมายเรื่อง “Causa” ที่ใช้กันอยู่ในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะมีการแก้ไขกฎหมาย
หลักกฎหมายเรื่อง “Causa” เป็นหลักกฎหมายที่มีมาอย่างช้านาน ปรากฏอยู่ใน ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสก่อนจะมีการแก้ไขในปี ค.ศ. 2016 มาตรา 1131 ความว่า “หนี้ที่ ปราศจากฐาน (cause) หรือมีฐาน (cause) ลวงหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมไม่มีผล”2 โดยการแปล คําว่า cause ว่า “ฐาน” อาจไม่ได้สื่อถึงความหมายของหลักกฎหมายเรื่อง “Causa” มากนัก แต่คําว่า cause ในบทบัญญัติมาตรา 1131 ก็ไม่ได้มีความชัดเจนนักเช่นกัน จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติ ดังกล่าวมีลักษณะสั้นมากและไม่ได้มีการอธิบายหลักเกณฑ์ใด ๆ ไปมากกว่านี้ ซึ่งเป็นไปตามความ นิยมในการบัญญัติกฎหมายของฝรั่งเศส ให้มีความกระชับสั้น เปิดโอกาสให้ตีความ เพื่อให้บทบัญญัติ นั้นสามารถใช้ได้เป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้นเนื่องจากบทบัญญัตินี้ปรากฏในประมวล กฎหมายแพ่งฝรั่งเศสโดยไม่ได้มีการแก้ไขเลยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1804 (การจัดทําประมวลกฎหมายแพ่ง โดยนโปเลียน) จนเพิ่งถูกแก้ไขในปี ค.ศ. 20163 ในขณะที่มีการจัดทําประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส คณะผู้จัดทําประมวลกฎหมายจัดทําประมวลกฎหมายขึ้นโดยใช้ระยะเวลาเพียง 4 เดือน ซึ่งถือเป็น ระยะเวลาที่สั้นมากที่จะทําประมวลกฎหมายทั้งฉบับให้สําเร็จได้ บทบัญญัติส่วนใหญ่จึงเป็นการนํา หลักกฎหมายเดิม ที่เคยปรากฏตามแนวคิดของนักกฎหมายในยุคก่อนหน้ามาใช้เป็นแนวคิดในการ จัดทําบทบัญญัติ การจัดทํากฎหมายลักษณะสัญญาก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน โดยคณะผู้จัดทําประมวล กฎหมายหยิบยืมแนวคิดเกี่ยวกับหลักกฎหมายเรื่อง “Causa” มาจากนักกฎหมายในสํานักกฎหมาย
2 L'obligation sans cause, ou sur une fausse cause, ou sur une cause illicite, ne peut avoir aucun effet., Legifrance, Article 1131, <https://www.legifrance.gouv.fr/ codes/article_lc/LEGIARTI000006436262/2004-06-22> สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2566.
3 Irina Cvetkova, ‘The Abolition of the Concept of “Causa” in French Civil Law’
(2 0 2 1) 5 Białostockie Studia Prawnicze, 98 <https://www.researchgate.net/publication
/357208689_The_Abolition_of_the_Concept_of_Causa_in_French_Civil_Law>.
ธรรมชาติในยุคก่อน ได้แก่ โดมาร์ (Jean Domat) และ ปัวทิเย่ร์ (Robert joseph Poitier) ซึ่งรับ แนวคิดมาเป็นจากโทมัส อไควนัส (Thomas Aquinas) ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดของอริสโตเติล (Aristotle) อีกทอดหนึ่ง4 โดยอริสโตเติลมีแนวคิดในเรื่องสัญญาในสองรูปแบบ คือ สัญญาไม่ต่างตอบ แทนซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรมเชิงจัดสรรปันส่วน (Distributive Justice) และสัญญาต่าง ตอบแทนซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรมเชิงชดเชย (Corrective Justice) ดังนี้
อริสโตเติลที่ได้อธิบายไว้ในหนังสือ The Ethics ซึ่งแบ่งความยุติธรรมออกเป็นหลาย ลักษณะรวมถึงความยุติธรรมเชิงแบ่งสรรปันส่วน (Distributive Justice) และความยุติธรรมเชิง แลกเปลี่ยนทดแทน (Commutative Justice) ซึ่งโทมัส อไควนัส (Thomas Aquinas) ได้อธิบายการ เปลี่ยนมือทรัพย์สินไว้ว่ามี 2 ลักษณะ คือ การกระทําที่อาศัยความยุติธรรมเชิงแลกเปลี่ยนทดแทน และการกระทําที่อาศัยเสรีภาพ ในกรณีที่เป็นการกระทําที่อาศัยเสรีภาพนั้นบุคคลฝ่ายหนึ่งย่อมมอบ ทรัพย์สินให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งโดยอาศัยเสรีภาพของตนที่จะกระทําเช่นนั้นได้โดยเป็นการให้เปล่า ส่วน ในการกระทําที่อาศัยความยุติธรรมเชิงแลกเปลี่ยนทดแทนบุคคลฝ่ายหนึ่งย่อมมอบทรัพย์สินของตน ให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินหรือบริการที่ต้องมีมูลค่าเท่าเทียมกันเพราะ ความยุติธรรมเชิงแลกเปลี่ยนทดแทนนี้เป็นเพียงการแลกเปลี่ยน บุคคลทั้งสองฝ่ายควรที่จะอยู่ใน ฐานะที่มีความมั่งคั่งเท่าเดิมไม่สมควรที่บุคคลฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นจากการกระทําใน ลักษณะนี้ ซึ่งการกระทําโดยอาศัยเสรีภาพและการกระทําเชิงแลกเปลี่ยนทดแทนนี้ไม่สามารถรวมเป็น การกระทําเดียวกันได้เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันโดยธรรมชาติ แนวคิดเช่นนี้ทําให้นัก กฎหมายธรรมชาติบางส่วนในสมัยต่อมาเห็นว่าสัญญาต่างตอบแทนต้องมีการตอบแทนที่เท่าเทียมกัน ทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตามแนวความคิดเช่นนี้อาจเป็นแนวความคิดที่แข็งกระด้างมากเกินไปทําให้เกิด การจํากัดเสรีภาพของการทําสัญญาระหว่างเอกชนอย่างมาก แต่ก็เป็นที่มาเบื้องต้นของการบัญญัติ หลักกฎหมายเรื่อง “Causa” ในประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสก่อนจะมีการแก้ไขในปี ค.ศ. 2016 มาตรา 1131 และได้มีพัฒนาการในการตีความและการบังคับใช้มาเรื่อยโดยแตกต่างกันในแต่ละยุค สมัย ซึ่งภายหลังสัญญาก็ยังต้องมีฐาน (cause) ในการทําสัญญาอยู่ ในลักษณะของวัตถุประสงค์ใน การให้เปล่าหรือวัตถุประสงค์ในการต่างตอบแทน แม้หลักการที่ว่าสิ่งที่ตอบแทนกันต้องมีมูลค่าเท่า เทียมกันจะไม่ได้ยึดถือโดยเคร่งครัดอีกต่อไป และบทบัญญัติหลักกฎหมายเรื่อง “Causa” ยังได้ถูกใช้ ตีความไปในกรณีต่าง ๆ อีกมากมาย หลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของ สัญญาก็เกิดขึ้นจากการตีความและปรับใช้หลักกฎหมายเรื่อง “Causa” เช่นเดียวกัน ดังจะเห็นได้จาก แนวคําพิพากษาที่เป็นบรรทัดฐานในการพัฒนาหลักกฎหมายดังกล่าว ต่อไป
4 James Gordley, ‘Myths of the French Civil Code’ ( 1994) 3 The American Journal of Comparative Law 469,478 <https://www.jstor.org/stable/840698>.
3.1.2 คดี Chronopost5
ในคดีนี้มีข้อเท็จจริงอยู่ว่าบริษัท Banchereau ฝากส่งบรรจุภัณฑ์ซึ่งบรรจุ เอกสารการยื่นเรื่องเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ ซึ่งบริษัท Chronopost ยินยอมตกลงที่จะ ดําเนินการจัดส่งให้ถึงปลายทางก่อนเที่ยงของวันรุ่งขึ้น ปรากฏว่าบริษัท Chronopost ดําเนินการ จัดส่งไม่สําเร็จและเมื่อบริษัท Banchereau ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย บริษัท Chronopost ได้ยกข้อตกลงในสัญญาซึ่งจํากัดความรับผิดของบริษัท Chronopost ไว้ไม่เกินค่าบริการขนส่งขึ้นอ้าง ซึ่งบริษัท Chronopost ได้ชําระให้แก่บริษัท Banchereau แล้ว
ศาลอุทธรณ์ในคดีนี้ปฏิเสธคําขอของบริษัท Banchereau โดยยอมรับว่าบริษัท Chronopost กระทําผิดสัญญาที่จะขนส่งบรรจุภัณฑ์ให้ถึงปลายทางก่อนเที่ยงวันถัดจากวันที่ได้รับ บรรจุภัณฑ์ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามความผิดของบริษัท Chronopost ไม่ได้ร้ายแรงถึงขั้นที่จะทําให้ บริษัท Chronopost ไม่สามารถอ้างถึงข้อตกลงจํากัดความรับผิดได้
ศาลสูงในคดีนี้เห็นว่าบริษัท Chronopost ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ยอมตกลง รับภาระโดยรับประกันถึงความน่าเชื่อถือและความรวดเร็วของการบริการที่จะขนส่งพัสดุไปให้ถึง ปลายทางภายในเวลาที่แน่นอน กลับล้มเหลวที่จะรักษาภาระผูกพันสําคัญนี้ ข้อตกลงจํากัดความรับ ผิดของบริษัท Chronopost จึงต้องถือว่าใช้ไม่ได้เนื่องจากขัดหรือแย้งกับภาระผูกพันที่บริษัทยอม ตกลงรับไว้
ด้วยเหตุนี้ศาลสูงจึงกลับคําพิพากษาของศาลอุทธรณ์ เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าในคดีนี้ศาลตัดสินโดยอาศัยหลักกฎหมายเรื่องฐาน
แห่งสัญญา (Causes) ที่มีบัญญัติอยู่ในมาตรา 11316 ของประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสอยู่แต่เดิม ก่อนจะถูกยกเลิกไปในการแก้ไขใน ค.ศ. 2016 โดยถือว่าข้อตกลงจํากัดความรับผิดในคดีนี้ซึ่งมีผลเป็น การขัดหรือแย้งกับหนี้หลักของสัญญาย่อมทําให้สัญญานั้นขาดเหตุแห่งสัญญาไป โดยเริ่มแรกนั้นศาล ปรับใช้กับสัญญาระหว่างผู้ประกอบการและผู้บริโภคและต่อมาได้ขยายผลไปถึงสัญญาทั่ว ๆ ไป7
5 Société Chronopost v. Société Banchereau, Cass. com.,no. 93-18632 (22 octobre 1996).
6 L'obligation sans cause (เชิงอรรถ 2).
7 Latham & Watkins Litigation Department, ‘Cour de Cassation Applies Limitation of Liability Clauses in Case of Breach of Essential Contractual Terms’ (Client Alert) <https://www.lw.com/en/news#sort=%4 0 newsandinsightsdate%2 0 descending.> สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2553.
ซึ่งคําตัดสินในคดีนี้อาจจะมีส่วนที่ทําให้หลักกฎหมายในเรื่องเหตุแห่งสัญญา (Causa) ถูกยกเลิกไป8 ด้วยเหตุที่หลักกฎหมายนี้มีความลื่นไหลและอาจจะก่อให้เกิดความไม่แน่นอนในสัญญาที่ทําระหว่าง คู่สัญญาได้ แต่ทั้งนี้เพื่อให้ยังมีผลทางกฎหมายเช่นเดิมในเรื่องของข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับ ผิดจึงมีการบัญญัติมาตรา 1170 ขึ้นแต่มาตรา 1170 ก็ไม่ได้ใช้เฉพาะแต่ในเรื่องของข้อตกลงยกเว้น หรือจํากัดความรับผิดเท่านั้น
3.1.3 คดี Faurecia9
ในคดีนี้บริษัท Faurecia ทําสัญญากับบริษัท Oracle ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Services) โดยบริษัท Oracle มีหน้าที่ในการจัดเตรียมโปรแกรม บริหารจัดการทรัพยากรขององค์กร (Enterprise Resource Planning (ERP) Software) และ จัดเตรียมการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องให้แก่บริษัท Faurecia ข้อเท็จจริงปรากฏว่าบริษัท Oracle ไม่ สามารถส่งมอบโปรแกรมดังกล่าวในรุ่นล่าสุด (V12) ให้แก่บริษัท Faurecia ได้ทันตามกําหนดเวลาใน สัญญาทําให้บริษัท Faurecia เรียกร้องค่าเสียหาย บริษัท Oracle จึงยกข้อตกลงจํากัดความรับผิดขึ้น อ้าง ใน ค.ศ 2005 ศาลอุทธรณ์แรกในคดีนี้ (Versailles Court of Appeal) ตัดสินให้จํากัดความรับ ผิดของบริษัท Oracle ไว้ตามข้อตกลงจํากัดความรับผิด
ต่อมาใน ค.ศ. 2007 เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลสูง ศาลสูงได้ตัดสินยกคําพิพากษาของศาล อุทธรณ์แรกโดยอาศัยหลักกฎหมายจากคดี Chronopost และวินิจฉัยว่าข้อตกลงจํากัดความรับผิดไม่ สามารถใช้ได้ด้วยเหตุที่ว่าบริษัท Oracle ล้มเหลวในการปฏิบัติตามภาระผูกพันสําคัญภายใต้สัญญา กล่าวคือการจัดเตรียมโปรแกรมที่ตกลงกันไว้ให้แก่ลูกค้า
หลังจากนั้นคดีนี้ได้เข้าสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ที่สอง (Paris Court of Appeal) เพื่อพิจารณาถึงความรับผิดและค่าเสียหายที่บริษัท Oracle ต้องจ่ายแก่ลูกค้าคือบริษัท Faurecia ซึ่งศาลอุทธรณ์ที่สองนี้ได้ปฏิเสธคําพิพากษาของศาลสูงและพิพากษาเช่นเดียวกับศาล อุทธรณ์แรกว่า ค่าสินไหมทดแทนของลูกค้าต้องถูกจํากัดโดยข้อตกลงจํากัดความรับผิดที่มีอยู่
เมื่อคดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลสูงของฝรั่งเศส (Cour de Cassation) อีกครั้ง ในวันที่ 29 มิถุนายน 2010 ในที่สุดศาลสูงก็ยอมเห็นด้วยกับคําพิพากษาของศาลอุทธรณ์ทั้งสองที่จะ ยอมบังคับใช้ข้อตกลงจํากัดความรับผิด ด้วยเหตุนี้บริษัท Oracle จึงถูกสั่งให้จ่ายค่าเสียหายเป็น จํานวนเงิน 200,000 ยูโร (เป็นจํานวนเงินสูงสุดที่จํากัดความรับผิดไว้ภายใต้สัญญา) โดยที่จํานวน ค่าเสียหายที่บริษัท Faurecia เรียกร้องนั้นสูงถึง 60 ล้านยูโร โดยศาลสูงให้เหตุผลว่าข้อตกลงจํากัด
8 Hugh Beale et al., Cases, Materials and Text on Contract Law (3rd ed., Hart Publishing 2019).
9 Faurecia v. Oracle, Cass. com., 29 juin 2010, no. 09-11841.
ความรับผิดที่ขัดหรือแย้งกับภาระผูกพันสําคัญภายใต้สัญญาเท่านั้นที่จะถือว่าไม่สามารถบังคับ ใช้ได้ ในคดีนี้ศาลสูงเห็นว่าข้อตกลงจํากัดความรับผิดได้สมดุลดีแล้วกับส่วนลดราคาที่บริษัท Oracle มอบให้แก่บริษัท Faurecia และสถานะพิเศษที่บริษัท Faurecia ได้รับจากสัญญา ด้วยเหตุนี้ศาลสูง จึงตัดสินว่าการบังคับใช้ข้อตกลงจํากัดความรับผิดจะไม่เป็นการทําให้หน้าที่สําคัญภายใต้สัญญา สูญเสียไป
จากคําพิพากษาในคดีนี้จะเห็นได้ว่าหลักกฎหมายในเรื่องนี้ได้รับการเพิ่มเติมหรือ มีการเปลี่ยนแปลงไปจากคดี Chronopost โดยศาลให้ความสําคัญกับความแน่นอนของสัญญามาก ขึ้นและลดการแทรกแซงโดยศาลลงโดยวินิจฉัยไปในแนวทางที่เป็นอัตวิสัยมากขึ้น โดยมุ่งเน้นการ พิจารณาเจตนาและพฤติการณ์ของคู่สัญญา หรืออาจกล่าวได้ว่าข้อตกลงจํากัดความรับผิดสามารถ ใช้ได้ในกรณีที่สัญญามีการให้สิ่งตอบแทนคู่สัญญาอีกฝ่ายอย่างเพียงพอโดยถือเป็นการจัดสรรความ เสี่ยงในสัญญา เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการละเว้นอย่างรุนแรง (Gross Negligence) หรือเป็นการกระทํา มิชอบโดยจงใจ (Willful Misconduct) การวางหลักการใหม่เช่นนี้ทําให้การวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว อ่อนไหวต่อข้อเท็จจริงเป็นอย่างมาก10
3.1.4 มาตรา 1170 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส
มาตรา 1170 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส บัญญัติว่า “ข้อตกลงใดที่มีผลบั่นทอนสาระสําคัญแห่งภาระผูกพันสําคัญของสัญญา
ข้อตกลงนั้นถือว่ามิได้ทําขึ้น”
บทบัญญัติที่ถูกเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่นี้ถือเป็นนวัตกรรมทางกฎหมายประการหนึ่งที่ เกิดขึ้นจากการปรับปรุงประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสโดยมีพื้นฐานมาจากหลักกฎหมายที่เกิดจากคํา พิพากษาของศาลซึ่งแต่เดิมศาลฝรั่งเศสใช้หลักกฎหมายในเรื่องเหตุแห่งสัญญาในมาตรา 1131 เดิมมา ปรับใช้ แต่ในปัจจุบันเนื่องจากหลักกฎหมายเรื่องเหตุแห่งสัญญาได้ถูกยกเลิกไปแล้วการที่ศาลจะเข้า ไปแทรกแซงสัญญาระหว่างเอกชนจึงต้องอาศัยบทบัญญัติอื่นที่บัญญัติขึ้นมาแทน ซึ่งมาตรา 1170 เป็นหนึ่งในมาตราเหล่านั้น แต่เดิมแล้วหลักกฎหมายที่เกิดจากคําพิพากษาของศาลนั้นแม้จะมีการระบุ เหตุผลและหลักเกณฑ์ในคําพิพากษาคล้ายกับบทบัญญัติในมาตรา 1170 นี้ แต่คดีที่ปรากฏนั้นจํากัด อยู่ในเฉพาะเรื่องของข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดเท่านั้น แต่เมื่อมาตรา 1170 มิได้จํากัดให้มี ผลบังคับใช้อยู่แต่เฉพาะในเรื่องของข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิด อีกทั้งยังใช้ถ้อยคําที่มี ลักษณะเป็นการทั่วไป และบทบัญญัติดังกล่าวก็ยังเป็นบทบัญญัติที่ใหม่อยู่มาก ยังไม่มีการตีความจาก
10 Philippe Stoffel-Munck, ‘The Revolution in Unfair Terms’ in The Code Napoléon Rewritten French Contract Law after the 2016 Reforms, (ed. John Cartwright and Simon Whittaker, Hart Publishing 2017) 146-149.
ศาลพอที่จะเป็นแนวทางว่าเมื่อบทบัญญัติดังกล่าวถูกนําไปใช้จริงจะมีขอบเขตและหลักเกณฑ์ในการ ตีความอย่างไร จึงทําให้ต้องอาศัยการวิเคราะห์จากตัวบทและบริบทที่ผ่านมาว่ามาตรา 1170 แท้จริง แล้วจะครอบคลุมกรณีใดบ้าง แต่ก็ไม่เป็นการยากนักที่จะคาดการณ์ในกรณีดังกล่าว เนื่องจากสามารถ ทําได้โดยการพิจารณาจากลักษณะของข้อตกลงจํากัดความรับผิดเป็นหลัก11ซึ่งจะทําให้เห็นได้ว่า มาตรา 1170 สามารถใช้ได้กับข้อตกลงทุกรูปแบบในสัญญาที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดสําหรับการไม่ ชําระหนี้ตามสัญญา และการชําระหนี้โดยเฉพาะเจาะจงนั้นเป็นสาระสําคัญของภาระผูกพันตาม สัญญา เช่น ข้อตกลงสละสิทธิ์ในการบังคับชําระหนี้ให้เป็นไปตามสัญญา ข้อตกลงยกเว้นหน้าที่ซึ่งเป็น หน้าที่สําคัญในสัญญาบางลักษณะ เช่นหน้าที่ของผู้ให้เช่าในการจัดการให้ผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์ สามารถเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ที่เช่าได้ตามสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือข้อสัญญาเกี่ยวกับการ รับประกันโดยยกเว้นไม่รับประกันคุณภาพของสินค้าหรือบริการตามสัญญาซึ่งถือเป็นสาระสําคัญแห่ง สัญญานั้น ๆ เช่น การตกลงกันว่าผู้ขายไม่รับประกันว่ารถยนต์ซึ่งผู้ซื้อได้รับจะสามารถใช้งานขับขี่บน ท้องถนนได้จริงซึ่งปรากฏอยู่ในสัญญาซื้อขายรถยนต์12 เป็นต้น
3.2 ประเทศอังกฤษ
หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาในกฎหมาย อังกฤษเป็นหลักกฎหมายที่เรียกว่าหลักการผิดสัญญาที่เป็นสาระสําคัญ (Fundamental Breach of Contract) ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนอยู่บ้างเนื่องจากในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์คําว่า Fundamental Breach ถูกใช้สลับไปมากับคําว่า Repudiatory Breach เพื่อสื่อถึงการผิดสัญญาที่ ทําให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดประโยชน์อย่างสําคัญที่ควรจะได้ตามสัญญาถึงขั้นที่ทําให้คู่สัญญา ฝ่ายนั้นสามารถหยุดชําระหนี้และฟ้องร้องเพื่อเรียกค่าเสียหายได้ โดยแท้ที่จริงแล้วหลักกฎหมายทั้ง สองนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงแต่บางครั้งก็ถูกนําไปรวมกันและใช้ถ้อยคําแทนกันได้13 ซึ่งในบริบทของ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้หลักการผิดสัญญาที่เป็นสาระสําคัญที่กล่าวถึงเป็นคนละหลักกฎหมายโดยสิ้นเชิง กับหลัก Repudiatory Breach และหมายถึงหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์
11 เพิ่งอ้าง.
12 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเช่นเดียวกันกับที่ปรากฏในคดี Karsales (Harrow) Ltd. v Wallis ดังที่ จะได้กล่าวถึงต่อไปในส่วนของกฎหมายประเทศอังกฤษ
13 Jassmine Girgis, ‘Fundamental Breach and Repudiatory Breach of Contract’
<https://ablawg.ca/2 0 1 3 / 1 1 / 0 7 / fundamental-breach-and-repudiatory-breach-of-
contract/.> สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2566.
หลักของสัญญาเท่านั้น ซึ่งหลักกฎหมายดังกล่าวได้รับการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ในกฎหมายอังกฤษ ดังนี้
3.2.1 คดี Glynn v. Margetson14
โดยเริ่มแรกหลักการผิดสัญญาที่เป็นสาระสําคัญมีที่มาจากหลักการเกี่ยวกับ เดินเรือออกนอกเส้นทางที่ตกลงกันในสัญญาขนส่งสินค้าทางทะเล (The Doctrine of Deviation) ในคดีนี้ผู้รับขนได้รับการว่าจ้างให้ขนส่งสินค้าจากเมือง Malaga ประเทศสเปน ไปยังโรงงานในเมือง Liverpool ประเทศอังกฤษ ในสัญญามีข้อตกลงกันว่าสามารถที่จะเดินเรือโดยเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือใด ๆ ในลําดับอย่างไรก็ได้ ซึ่งในคดีนี้เรือเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือต่าง ๆ ในประเทศสเปนและทวีปแอฟริกา เหนือก่อนที่จะมุ่งหน้าไปที่ Liverpool ทําให้สินค้าเกิดความเสียหายและตลาดสําหรับสินค้าลดลง ศาลตัดสินว่าข้อตกลงเช่นนี้แท้ที่จริงแล้วเป็นข้อตกลงยกเว้นความรับผิด และศาลได้วางหลักกฎหมาย ในเรื่องของหลักวัตถุประสงค์หลัก "Main Purpose Rule" ซึ่งมีใจความว่าข้อตกลงจํากัดหรือยกเว้น ความรับผิดจะขัดหรือแย้งต่อต่อวัตถุประสงค์หลักแห่งสัญญาไม่ได้ ผู้รับขนจึงไม่สามารถยกข้อตกลง ดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อให้ตนไม่ต้องรับผิด
3.2.2 คดี Karsales (Harrow) v Wallis15
ในคดีนี้ผู้เช่าซื้อเลือกดูและตกลงเช่าซื้อรถยนต์ที่ผ่านการใช้งานแล้ว ปรากฏว่า เมื่อมีการส่งมอบรถยนต์นั้นรถยนต์ถูกลากมาส่งมอบให้ที่บ้านของผู้ซื้อและเมื่อผู้ซื้อตรวจดูปรากฏว่า สภาพของรถยนต์เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อเวลาที่ผู้เช่าซื้อเลือกดูรถยนต์ครั้งแรกเป็นอย่างมาก เช่น วิทยุที่มีอยู่ในรถยนต์หายไป ตัวรถมีการเปลี่ยนแปลง ล้อถูกเปลี่ยนเป็นล้อเก่า และส่วนที่สําคัญที่สุด นั้นคือรถยนต์อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถวิ่งได้ทําให้ผู้เช่าซื้อปฏิเสธที่จะชําระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้ให้ เช่าซื้อจึงฟ้องร้องเพื่อเรียกให้ชําระหนี้โดยอ้างข้อตกลงที่ว่าผู้ให้เช่าซื้อไม่รับประกันว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อ จะสามารถใช้งานบนท้องถนนได้จริงและไม่รับประกันถึงอายุ สภาพ หรือความสมบูรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น ในคดีนี้ศาลอุทธรณ์โดยลอร์ดเดนนิ่ง (Denning LJ) เป็นผู้ตัดสินวินิจฉัยว่าภายใต้สัญญาเช่าซื้อใน ลักษณะนี้เมื่อผู้เช่าซื้อเข้าตรวจดูรถยนต์ที่เช่าซื้อแล้วตัดสินใจเช่าซื้อเพราะการได้เข้าตรวจดู กรณีเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดภาระผูกพันต่อผู้ให้เช่าซื้อที่จะต้องส่งมอบรถยนต์ที่มีสภาพโดยรวม เช่นเดียวกันกับตอนที่ผู้เช่าซื้อเข้าตรวจดู โดยเฉพาะกรณีนี้ที่เป็นการเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งรถยนต์จะต้องมี คุณสมบัติที่จะขับเคลื่อนเองได้ ดังนั้นรถยนต์ที่ส่งมอบจึงไม่ใช่รถยนต์ที่สมบูรณ์ แม้จะมีข้อตกลงเช่น ว่านั้นผู้ให้เช่าซื้อก็ยังต้องรับผิด
14 Glynn v. Margetson [1893] A.C. 351.
15 Karsales (Harrow) Ltd v. Wallis [1956] EWCA Civ 4.
การตัดสินคดีนี้จึงเป็นการวางหลักการใหม่เกี่ยวกับหลักการผิดสัญญาที่เป็น สาระสําคัญซึ่งการผิดสัญญาเช่นว่านั้นมีผลกระทบต่อรากฐานแห่งสัญญาและการผิดสัญญารุนแรงถึง ขั้นที่เมื่อมีการผิดสัญญาเช่นว่านี้สัญญาจะคงอยู่ต่อไปไม่ได้ โดยคําตัดสินนี้เป็นการขัดแย้งโดยตรงกับ หลัก Strict Construction Rule ซึ่งมุ่งเน้นให้ศาลตีความและใช้กฎหมายตามที่มีข้อความชัดเจนอยู่ ในสัญญาและไม่ควรตีความให้นอกเหนือไปจากนั้น
3.2.3 คดี Suisse Atlantique Societe d'Armament SA v. NV Rotterdamsche Kolen Centrale16
ในคดีนี้คู่สัญญาได้ทําสัญญากันขึ้นโดยเจ้าของเรือจะต้องขนส่งถ่านหินจากทวีป ยุโรปไปยังสหรัฐอเมริกาโดยทําการเดินทางให้ได้หลายรอบมากที่สุดและเจ้าของเรือจะได้ค่าตอบแทน จากผู้ว่าจ้างโดยคิดจากจํานวนรอบที่ขนส่งได้ทั้งหมดถ้ามีการล่าช้าของผู้ว่าจ้างทําให้ถ่านหินอยู่ใน ความครอบครองของเจ้าของเรือนานเกินปกติ (Laytime) ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายค่าปรับ (Demurrage) เป็นจํานวน 1,000 ดอลลาร์ต่อวัน ข้อเท็จจริงปรากฏว่าเมื่อมีการขนส่งจริงเกิดความล่าช้าเป็น อย่างมากเนื่องจากผู้ว่าจ้างมีอุปสรรคในการขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือและบรรจุสินค้าลงเรือ ไปจนถึง ขั้นตอนของการนําสินค้าขึ้นจากเรือ อย่างไรก็ตามเจ้าของเรือก็ไม่ได้ยกเลิกสัญญาแต่รอจนครบ ระยะเวลาตามสัญญา 2 ปี ปรากฏว่าเรือทําการขนส่งถ่านหินได้เพียงแค่ 8 รอบ โดยที่เจ้าของเรือ อ้างว่าถ้าไม่มีความล่าช้าเรือจะขนส่งถ่านหินได้เพิ่มอีก 6 รอบ แต่ค่าปรับทั้งหมดที่รวมกันได้เป็น เงินเพียง 10,000 ดอลลาร์ เจ้าของเรือฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าค่าเสียหายไม่ควรถูกจํากัดอยู่ เพียงจํานวนของค่าปรับดังกล่าวเนื่องจากการที่ผู้ว่าจ้างกระทําการล่าช้าเป็นอย่างมากถือเป็นการผิด สัญญาที่เป็นสาระสําคัญ
ศาลสูงของอังกฤษ (The House of Lords) ระบุว่าเมื่อคู่สัญญาไม่ได้ตกลงกันถึง จํานวนขั้นต่ําสุดของรอบการขนส่งสินค้าจึงถือไม่ได้ว่ามีการผิดสัญญาโดยผู้ว่าจ้างโดยที่การขนส่ง สินค้าทําได้เพียง 8 รอบจากจํานวน 17 รอบที่เจ้าของเรืออ้างว่าเป็นไปได้ ข้อตกลงว่าด้วยค่าปรับใน กรณีที่ผู้ว่าจ้างกระทําการล่าช้าแสดงให้เห็นว่าคู่สัญญาคาดหมายถึงความเป็นไปได้ของการล่าช้าไว้ แล้ว ความล่าช้าดังกล่าวจึงไม่ใช่การผิดสัญญาที่เป็นสาระสําคัญนอกจากนั้นแล้วศาลยังได้ระบุอีกว่า ศาลในคดี Karsales v. Wallis กล่าวถึงกฎหมายไว้ผิดพลาดเกินจริงไป การที่การผิดสัญญาที่เป็น สาระสําคัญจะทําให้จําเลยไม่สามารถอ้างถึงข้อต่อสู้ใดหรือไม่เป็นปัญหาของสัญญาและเจตนาของ คู่สัญญา (Question of Construction) ไม่ใช่ปัญหาทางกฎหมาย (Question of Law)
16 Suisse Atlantique Societe d'Armament SA v. NV Rotterdamsche Kolen Centrale [1967] 1 AC 361.
การตัดสินในคดีนี้ถือเป็นการที่ศาลสูงกลับหลักกฎหมายที่เกิดขึ้นจากคดี Karsales v. Wallis แต่ทั้งนี้ศาลสูงไม่ได้กลับหลักกฎหมายเกี่ยวกับเดินเรือออกนอกเส้นทางที่ตกลง กัน ใน สัญ ญาขนส่งสินค้าทางทะเล (The Doctrine of Deviation) ดังเช่น ในคดี Glynn v. Margetson
3.2.4 คดี Photo Production Ltd v Securicor Transport Ltd17
แม้ศาลสูงได้มีคําพิพากษาในคดี Suisse Atlantique ไปแล้วแต่ปรากฏว่าในคดี ต่อ ๆ มาศาลอุทธรณ์ยังคงใช้หลักการผิดสัญญาที่เป็นสาระสําคัญ (Fundamental Breach) อยู่จน มาถึงคดี Photo Productions ซึ่งเข้าสู่การพิจารณาของศาลสูง
ในคดีนี้บริษัท Photo Productions Ltd จ้างให้บริษัท Securicor ดูแลความ ปลอดภัยในสถานที่ของบริษัทในเวลากลางคืน ลูกจ้างของบริษัท Securicor ซึ่งเป็นผู้เฝ้ายามในเวลา กลางคืนก่อไฟขึ้นในเตาถ่านในโรงงานของบริษัท Photo Productions Ltd เพื่อใช้ในการอบอุ่น ร่างกายแต่ไฟเกิดลุกลามโดยอุบัติเหตุและโรงงานของบริษัท Photo Productions Ltd ถูกเพลิงไหม้ เสียหายทั้งหมดคิดเป็นความเสียหายได้ 648,000 ปอนด์สเตอร์ลิง บริษัท Photo Productions Ltd จึงฟ้องร้องบริษัท Securicor ให้ชําระค่าเสียหายแต่บริษัท Securicor ต่อสู้ว่าบริษัท Securicor ไม่จําต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากข้อตกลงยกเว้นความรับผิดในสัญญาซึ่งระบุว่าไม่ว่า ในสถานการณ์ใดก็ตามบริษัท Securicor ไม่จําต้องรับผิดต่อการกระทําที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือ ความผิดของลูกจ้าง เว้นแต่การกระทําหรือความผิดนั้นสามารถคาดการณ์ได้หรือสามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยการตรวจสอบของบริษัท Securicor18 บริษัท Photo Productions Ltd ต่อสู้ว่าข้อตกลงดังกล่าว ไม่สามารถปรับใช้ได้ในกรณีนี้เนื่องจากเป็นการผิดสัญญาที่เป็นสาระสําคัญและการผิดสัญญานั้น รุนแรงไปถึงรากฐานแห่งสัญญา
ในคดีนี้ศาลอุทธรณ์โดยลอร์ดเดนนิ่งยังคงปรับใช้หลักการผิดสัญญาที่เป็น สาระสําคัญแล้วตัดสินให้ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดนั้นไม่สามารถใช้ได้ แต่เมื่อคดีเข้าสู่การพิจารณา ของศาลสูงคําพิพากษาของศาลอุทธรณ์ถูกกลับโดยใช้การตีความข้อตกลงยกเว้นความรับผิดโดยค้นหา
17 Photo Production Ltd v Securicor Transport Ltd [1980] UKHL 2.
18 Jill Poole, Casebook on Contract Law (11th ed., Oxford University Press 2012) 260. “The defendant’s standard form included the following clause "under no circumstances shall Securicor be responsible for any injurious act or default by any employee… unless such act or default could have been foreseen and avoided by the exercise of due diligence on the part of Securicor."
ขอบเขตของข้อตกลงจากการพิจารณากระบวนการในการทําข้อตกลง (Rule of Construction) ถือ เป็นจุดสิ้นสุดของหลักการผิดสัญญาที่เป็นสาระสําคัญ
ในกรณีของประเทศอังกฤษ หลักการผิดสัญญาที่เป็นสาระสําคัญเป็นเรื่องของข้อตกลง ยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดโดยเฉพาะในขณะที่หลักนี้ยังมีผลบังคับใช้อยู่ ข้อตกลงใด ๆ ที่จะอยู่ ภายใต้บังคับของหลักนี้ศาลก็มักจะต้องตีความว่าข้อตกลงนั้นเป็นข้อตกลงที่มีผลยกเว้นหรือจํากัด ความรับผิดก่อนเสมอ
3.3 บทสรุป
จากการพิจารณากฎหมายของประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษจะเห็นได้ว่าหลัก กฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่มีผลบั่นทอนสาระสําคัญแห่งภาระผูกพันสําคัญของสัญญามีที่มาจากหลัก กฎหมายที่เกิดจากคําพิพากษาของศาลในทั้งสองประเทศแต่พัฒนาการของกฎหมายกลับแตกต่างกัน โดยสิ้นเชิงโดยในประเทศฝรั่งเศสหลักกฎหมายดังกล่าวได้รับการบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งที่ เพิ่งแก้ไขเมื่อ ค.ศ. 2016 โดยเมื่อพิจารณาจากถ้อยคําเป็นการบัญญัติให้มีลักษณะครอบคลุมกรณี ต่าง ๆ มากขึ้นโดยอาจไม่ใช่กรณีของข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดก็ได้ จึงอาจเรียกได้ว่าหลัก กฎหมายดังกล่าวได้รับการยอมรับและเจริญในประเทศฝรั่งเศส อย่างไรก็ตามหลักกฎหมายดังกล่าว ในประเทศอังกฤษกลับถูกยกเลิกเนื่องจากศาลสูงกลับเห็นว่าจะต้องพิจารณาจากพฤติกรรมต่าง ๆ ขณะที่คู่สัญญาก่อให้เกิดสัญญาทั้งนี้เพื่อให้เกิดความแน่นอนในสัญญาระหว่างเอกชนแต่ทั้งนี้ก็อาจจะ ยังเห็นผลทางกฎหมายที่หลงเหลืออยู่บางส่วนในกรณีที่เกี่ยวกับเดินเรือออกนอกเส้นทางที่ตกลงกันใน สัญญาขนส่งสินค้าทางทะเล (The Doctrine of Deviation) ซึ่งในประเทศอังกฤษแยกออกเป็นหลัก กฎหมายอีกหลักหนึ่งต่างหากและยังคงมีผลบังคับใช้อยู่
บทที่ 4
บทวิเคราะห์
จากการศึกษากฎหมายไทยที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา เปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ ผู้เขียนจึงแยกการวิเคราะห์ออกเป็น 4 ประเด็น ได้แก่
ประเด็นที่หนึ่ง กฎหมายไทยมีหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ หลักของสัญญาบัญญัติไว้หรือไม่และถ้าไม่มีบัญญัติไว้สมควรมีบทบัญญัติเพิ่มเติมหรือไม่
ประเด็นที่สอง หากต้องมีหลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของ สัญญาบัญญัติไว้ในกฎหมายไทยเป็นการเฉพาะควรกําหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญาอย่างไร และควรบัญญัติเพิ่มเติมไว้ในกฎหมายฉบับใดส่วนใด
ประเด็นที่สาม ในกรณีที่มีการกําหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญา และผลทางกฎหมายของข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา ศาลควรมีอํานาจในการใช้ดุลพินิจอย่างไร เพียงใด
ประเด็นที่สี่ ในกรณีที่มีหลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของ สัญญาบัญญัติไว้ในกฎหมายไทยเป็นการเฉพาะ ควรมีการกําหนดข้อยกเว้นสําหรับการบังคับใช้ บทบัญญัติดังกล่าวสําหรับข้อตกลงในลักษณะใดหรือไม่ อย่างไร
เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับลักษณะของหลักกฎหมายเกี่ยวกับ ข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญา ส่วนที่สองเป็นการวิเคราะห์ถึงเหตุผลและความจําเป็นว่าประเทศไทย จะต้องมีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาโดยตรงหรือไม่ ส่วนที่สาม เป็นผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหากประเทศไทยมีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลัก ของสัญญา และส่วนที่สี่เป็นแนวทางและวิธีการในการบัญญัติบทบัญญัติที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญา
4.1 กฎหมายไทยมีหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาบัญญัติ ไว้หรือไม่และถ้าไม่มีบัญญัติไว้สมควรมีบทบัญญัติเพิ่มเติมหรือไม่
ในการพิจารณาว่ากฎหมายไทยมีหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ หลักของสัญญาบัญญัติไว้หรือไม่ จําเป็นต้องพิจารณาถึงหลักการสําคัญ หลักเกณฑ์ในการพิจารณา และผลทางกฎหมายของหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา เพื่อนํา ลักษณะเหล่านี้มาเปรียบเทียบกับบทบัญญัติในกฎหมายไทยว่ามีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกัน
เพียงใด และพิจารณาว่าอาจมีปัญหาใดเกิดขึ้นจากการใช้บทบัญญัติในกฎหมายไทยทดแทน บทบัญญัติเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาหรือไม่
4.1.1 หลักการสําคัญ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาและผลทางกฎหมายของหลัก กฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา
หลักการสําคัญ ห ลักเกณ ฑ์ ในการพิจารณาและผลทางกฎหมายของ หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาในกฎหมายฝรั่งเศส
หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญามีที่มาที่ แตกต่างกันในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษ ในกฎหมายฝรั่งเศสหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับ ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันมีที่มาจากการปรับใช้หลัก กฎหมายเรื่อง “Causa” ในการพิพากษาคดีของศาลฝรั่งเศส โดยบทบัญญัติที่เกี่ยวกับหลักกฎหมาย เรื่อง “Causa” มีปรากฏเป็นบทบัญญัติสั้นๆ ในประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสก่อนที่จะมีการแก้ไขใน ปี ค.ศ. 2016 ในมาตรา 1131 ความว่า “หนี้ที่ปราศจากฐาน (cause) หรือมีฐาน (cause) ลวง หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมไม่มีผล” ซึ่งคําว่า “Cause” ในบทบัญญัติมาตรา 1131 ไม่ได้มีบท นิยามความหมายไว้โดยชัดเจน แต่จากการพิจารณาถึงที่มาในการร่างกฎหมาย และการปรับใช้ กฎหมายในคดีต่าง ๆ อาจเห็นได้ว่า “Cause” มีความหมายถึงเหตุผล หรือรากฐานในการก่อให้เกิด สัญญานั้น ๆ ดังนั้นจึงมีความหมายคล้ายกับ “วัตถุประสงค์” ตามกฎหมายไทย แต่การจะถือว่า “Cause” เป็นเรื่องเดียวกับวัตถุประสงค์ตามกฎหมายไทยนั้นอาจไม่ถูกต้องนัก เนื่องจากการตีความ วัตถุประสงค์ที่ใช้ในกฎหมายไทย เช่น การตีความวัตถุประสงค์ของสัญญาซื้อขายว่าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง มีวัตถุประสงค์ในการได้รับชําระราคาและคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมีวัตถุประสงค์ได้รับสิ่งของ อาจไม่กิน ความลักษณะทั้งหมดของ “Cause” เพราะศาลฝรั่งเศสตีความหลักกฎหมายเรื่อง “Cause” อย่าง กว้างขวาง ในบางครั้งกินความถึงลักษณะโดยธรรมชาติซึ่งอาจเป็นรายละเอียดของสัญญานั้น จน บางครั้งทําให้การใช้กฎหมายเรื่อง “Cause” ไปซ้ําซ้อนกับหลักกฎหมายเรื่องอื่น เช่น การสําคัญผิด หรือกลฉ้อฉล
ศาลฝรั่งเศสได้วางหลักกฎหมายไว้ในคดีที่ที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญาหลายคดีจนกลายเป็นแนวบรรทัดฐานโดยได้อาศัยบทบัญญัติมาตรา 1131 ในการปรับใช้กับคดี แต่เมื่อพิจารณารายละเอียดในคําพิพากษาแล้ว มีการวินิจฉัยในข้อเท็จจริง โดยอาศัยหลักเกณฑ์และเหตุผล ในรายละเอียดจํานวนมากจนอาจเรียกได้ว่าศาลได้วางหลักกฎหมาย ใหม่ขึ้น โดยอาศัยหลักกฎหมายเรื่อง “Cause” เป็นรากฐานเพียงเท่านั้น ปรากฏตามคําพิพากษาซึ่ง เป็นบรรทัดฐานสําคัญที่ทําให้เกิดหลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา คือ ในคดีระหว่าง บริษัท Banchereau กับบริษัท Chronopost ศาลได้พิจารณาเกี่ยวกับข้อตกลง
จํากัดความรับผิดในสัญญา โดยวางหลักเกณฑ์ในการพิจารณาถึงภาระผูกพันสําคัญของสัญญาว่าการ ที่ข้อตกลงจํากัดความรับผิดในสัญญากําหนดให้จํากัดความรับผิดของคู่สัญญาในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตาม สัญญาไว้น้อยเกินไปจนถือว่าผู้ผิดสัญญาไม่ต้องรับผิดในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญา ข้อตกลงเกี่ยวกับ ความรับผิดนั้นย่อมขัดต่อภาระผูกพันหลักของสัญญาและไม่อาจใช้ได้ และศาลได้พัฒนาหลักเกณฑ์ใน การพิจารณาต่อมาในคดีระหว่าง บริษัท Faurecia กับบริษัท Oracle โดยวางหลักเกณฑ์ว่าหาก ข้อตกลงจํากัดความรับผิดที่มีอยู่ในสัญญาเกิดขึ้นโดยมีเหตุผลเบื้องหลัง คือมีการต่างตอบแทนกันบาง ประการ และมีการเจรจาในรายละเอียดนั้นมาก่อน ข้อตกลงจํากัดความรับผิดนั้นก็ถือว่าไม่ขัดต่อ ภาระผูกพันหลักของสัญญา และข้อตกลงจํากัดความรับผิดนั้นสามารถใช้ได้ โดยสรุปแล้วบรรทัดฐาน หรือหลักเกณฑ์ในคดีเหล่านี้จึงมีอยู่ว่า ข้อตกลงจํากัดความรับผิดไม่สามารถใช้ได้ ในกรณีที่จํากัดความ รับผิดไว้ต่ํามาก จนทําให้การเยียวยา (Remedy) ในกรณีที่คู่สัญญาผิดสัญญาในสาระสําคัญหลักของ สัญญาไม่มีอยู่จริง และทําให้สาระสําคัญแห่งภาระผูกพันสําคัญของสัญญานั้นถูกบั่นทอนหรือหายไป โดยในการวินิจฉัยนั้นต้องคํานึงถึงการประเมินมูลเหตุจูงใจให้คู่สัญญาชําระหนี้ตามสัญญาและ ความสําคัญของภาระผูกพันที่ถูกกระทบกระเทือนหรือบั่นทอน การปรับใช้บทกฎหมายนี้จึงขึ้นอยู่กับ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างมาก1 อย่างไรก็ดีภายหลังบทบัญญัติตามมาตรา 1131 ถูกยกเลิก ถือเป็นการ ยกเลิกหลักกฎหมายเรื่อง “Cause” ออกไปจากกฎหมายสัญญาของฝรั่งเศส แต่ไม่ได้หมายความว่า หลักกฎหมายที่ศาลสร้างขึ้นโดยอาศัยบทบัญญัติตามมาตรา 1131 จะถูกยกเลิกไปเสียทั้งหมด ในทาง ตรงกันข้ามหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา ยังได้รับการยืนยัน ตามบทบัญญัติที่มีขึ้นใหม่ มาตรา 1170 ของประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสที่ถูกแก้ไขเมื่อปี ค.ศ. 2016 ความว่า
“ข้อตกลงใดที่มีผลบั่นทอนสาระสําคัญแห่งภาระผูกพันสําคัญของสัญญา ข้อตกลงนั้นถือว่ามิได้ทําขึ้น”
และเมื่อพิจารณาจากเนื้อหาสาระของบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว เห็นได้ว่ายังเป็น การขยายขอบเขตการบังคับใช้ของหลักการดังกล่าวและกําหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาด้วย โดยมี ลักษณะที่ชัดเจนคือข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ถูกจํากัดให้ใช้พิจารณากับข้อตกลงจํากัดหรือยกเว้นความ
1 Philippe Stoffel-Munck, ‘The Revolution in Unfair Terms’ in The Code Napoléon Rewritten French Contract Law after the 2016 Reforms, (ed. John Cartwright and Simon Whittaker, Hart Publishing 2017) 146-149.
รับผิดเท่านั้น แต่ก็ไม่ได้ถือว่าข้อตกลงทุกข้อในสัญญาที่เกี่ยวข้องกับภาระผูกพันสําคัญของสัญญาจะ ถือว่าไม่ได้ทําขึ้น เพราะต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ในการพิจารณา 2 ประการ2 ดังนี้
1) ภาระผูกพันที่ถูกกระทบกระเทือน ต้องเป็นภาระผูกพันสําคัญของสัญญา
2) ข้อตกลงที่กระทบกระเทือนภาระผูกพันสําคัญของสัญญา ต้องกระทบกระเทือน ถึงขั้นที่บั่นทอนสาระสําคัญของภาระผูกพันสําคัญของสัญญา
ข้อตกลงที่มีลักษณะทั้ง 2 ประการ จึงจะถือว่าไม่ได้ทําขึ้นตามผลของมาตรา 1170 หลักการสําคัญ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาและผลทางกฎหมายของหลัก
กฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาในกฎหมายอังกฤษ หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาในกฎหมาย
อังกฤษ แตกต่างกับกรณีของประเทศฝรั่งเศสเพราะไม่มีบทบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรที่ศาลจะ นํามาปรับใช้ได้ ดังเช่นที่ศาลฝรั่งเศสปรับใช้หลักกฎหมายเรื่อง “Causa” แต่หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับ ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาในกฎหมายของประเทศอังกฤษก็เกิดจากการวางหลัก กฎหมายตามแนวคําพิพากษาของศาลเช่นเดียวกับประเทศฝรั่งเศส โดยในประเทศอังกฤษหลัก กฎหมายดังกล่าวถูกเรียกว่าหลักการผิดสัญญาที่เป็นสาระสําคัญ (Fundamental Breach of Contract) โดยหลักกฎหมายนี้ถูกปรับใช้กับกรณีของข้อตกลงจํากัดความรับผิดเช่นเดียวกับกรณีของ ประเทศฝรั่งเศส โดยศาลอังกฤษวางหลักการไว้ว่าสัญญาแต่ละชนิดย่อมมีรากฐานแห่งสัญญา การผิด สัญญาบางกรณีอาจรุนแรงถึงขั้นที่เมื่อมีการผิดสัญญาเช่นว่านี้สัญญาจะคงอยู่ต่อไปไม่ได้ ข้อตกลงใน สัญญาที่มีผลทําให้คู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญาไม่ต้องรับผิดในกรณีเหล่านี้จึงไม่สามารถบังคับใช้ได้ แต่ หลักการผิดสัญญาที่เป็นสาระสําคัญ (Fundamental Breach of Contract) ไม่ได้ถูกพัฒนาอย่าง ราบรื่นเช่นในประเทศฝรั่งเศส หลักการนี้ถูกผลักดันโดยคําพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ในหลายคดี โดยเฉพาะนักกฎหมายที่ผลักดันหลักการนี้อย่างเต็มที่คือลอร์ดเดนนิ่ง (Denning LJ) อย่างไรก็ตาม เมื่อคดีขึ้นถึงสภาขุนนาง (House of Lords) ซึ่งทําหน้าที่เป็นศาลสูงสุดของอังกฤษในขณะนั้นสภาขุน นางกลับไม่เห็นด้วยและปฏิเสธการใช้หลักกฎหมายดังกล่าว โดยเฉพาะในคดี “Suisse Atlantique Societe d'Armament SA v. NV Rotterdamsche Kolen Centrale” แต่ศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะ
2 Yousef Mohammad Shandi and Osama Ismail Mohammad Amayreh, ‘Depriving the Debtor’s Essential Obligation of its Substance and its Remedies under the Provisions of Article 1170 of the French Civil Code,’ (2020) 2 Journal of Politics and Law 129,143 <https://www.researchgate.net/publication/341645100_Depriving_ the_Debtor's_Essential_Obligation_of_its_Substance_and_its_Remedies_under_the_Pr ovisions_of_Article_1170_of_the_French_Civil_Code.>.
ลอร์ดเดนนิ่ง ยังยืนยันหลักการหลักการผิดสัญญาที่เป็นสาระสําคัญเรื่อยมาจนในคดี “Photo Production Ltd v Securicor Transport Ltd” ศาลอุทธรณ์โดยลอร์ดเดนนิ่งก็ยังคงปรับใช้ หลักการนี้ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของสภาขุนนางคําพิพากษาของศาลอุทธรณ์ถูกกลับโดยใช้การ ตีความข้อตกลงยกเว้นความรับผิดโดยค้นหาขอบเขตของข้อตกลงจากการพิจารณากระบวนการใน การทําข้อตกลง (Rule of Construction) ซึ่งอาจจัดเป็นหลักการในขั้นตีความสัญญารูปแบบหนึ่งทํา ให้หลักการผิดสัญญาที่เป็นสาระสําคัญไม่ถูกใช้อีกต่อไป
อย่างไรก็ดีในขณะที่หลักการผิดสัญญาที่เป็นสาระสําคัญ (Fundamental Breach of Contract) ยังถูกบังคับใช้อยู่ เมื่อพิจารณาจากแนวคําพิพากษาแล้วพบว่ามีหลักเกณฑ์ใน การพิจารณาว่าการผิดสัญญาในลักษณะใดที่เป็นการผิดสัญญาที่เป็นสาระสําคัญ และทําให้ข้อตกลง ยกเว้นความรับผิดหรือข้อตกลงในลักษณะเดียวกันไม่สามารถใช้ได้ มีหลักเกณฑ์ 2 ประการคือ
1) การผิดสัญญาที่เป็นสาระสําคัญต้องเป็นการผิดสัญญาที่มีผลกระทบต่อ
รากฐานแห่งสัญญา ไม่ได้
2) การผิดสัญญารุนแรงถึงขั้นที่เมื่อมีการผิดสัญญาเช่นว่านี้สัญญาจะคงอยู่ต่อไป เมื่อกรณีเข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าว พอตกลง จํากัดความรับผิด หรือข้อตกลงใน
ลักษณะเดียวกันที่มีผลทําให้ ฝ่ายที่ผิดสัญญาไม่ต้องรับผิด หรือรับผิดน้อยจนเสมือนไม่ต้องรับผิดไม่ สามารถนํามาใช้ได้
เมื่อพิจารณาหลักการสําคัญ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาและผลทางกฎหมายของ หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายฝรั่งเศส และกฎหมายอังกฤษแล้ว แม้จะมีลักษณะการปรับใช้กฎหมายที่แตกต่างกันแต่พบว่า มีลักษณะ คล้ายคลึงกันทั้งในเรื่องของหลักการสําคัญ หลักเกณฑ์ในการพิจารณา และผลทางกฎหมาย ดังนี้
หลักการสําคัญของบทบัญญัติ ตามประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสมาตรา 1170 และหลักการผิดสัญญาที่เป็นสาระสําคัญ (Fundamental Breach of Contract) เกิดขึ้นจากการ ตระหนักถึงความสําคัญของวัตถุประสงค์หลักของสัญญาซึ่งเป็นเหตุให้คู่สัญญาเข้าทําสัญญากัน และ ความสําคัญ ของระบบกฎหมายสัญญา ที่จะต้องจัดการให้วัตถุประสงค์หลักของสัญญานั้นสามารถ บังคับให้บรรลุผลได้
หลักเกณฑ์ในการพิจารณามีความคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ภาระผูกพันสําคัญของ สัญญาในกฎหมายฝรั่งเศส และรากฐานแห่งสัญญาก็มีความหมายเหมือนกันกล่าวคือ หมายถึง วัตถุประสงค์หลักของสัญญาที่เป็นวัตถุแห่งการพิจารณา ในลักษณะที่เป็นประโยชน์ที่วิญญูชนพึง คาดหมายเป็นหลักจากการเข้าทําสัญญาในลักษณะเช่นนั้น และหากไม่มีประโยชน์เช่นนั้นวิญญูชน ย่อมไม่เข้าทําสัญญา ส่วนลักษณะของข้อตกลงที่บั่นทอนสาระสําคัญแห่งภาระผูกพันสําคัญของ
สัญญาของฝรั่งเศส และข้อตกลงที่ไม่สามารถบังคับใช้ได้เนื่องจากการผิดสัญญาที่เป็นสาระสําคัญของ อังกฤษ เมื่อพิจารณาแนวทางที่ปรากฏในคําพิพากษาของศาลในทั้งสองประเทศแล้ว สรุปความได้ เหมือนกันว่า หมายถึง ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาที่หากมีผลบังคับใช้จะทําให้ไม่สามารถบังคับใช้ สัญญาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักของสัญญาได้
หนทางกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสมาตรา 1170 และหลักการผิด สัญญาที่เป็นสาระสําคัญ (Fundamental Breach of Contract) เหมือนกัน กล่าวคือข้อตกลงที่เข้า หลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้ถือว่าไม่ได้ทําขึ้น หรือว่าไม่มีผลทางกฎหมายนั่นเอง
ข้อสรุปที่ได้ในเรื่องหลักการสําคัญของกฎหมายหลักเกณฑ์ในการพิจารณาและ ผลทางกฎหมายที่สรุปได้จากการวิเคราะห์กฎหมายของประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศส ถือเป็น หลักการทั่วไปของหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา และจะได้ นําไป พิจารณา วิเคราะห์ร่วมกับบทบัญญัติที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายไทย เพื่อค้นหาว่ากฎหมายไทยมี หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาบัญญัติไว้ หรือบทบัญญัติที่ใช้ ทดแทนกันได้หรือไม่
4.1.2 หลักการสําคัญ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาและผลทางกฎหมายของ บทบัญญัติในกฎหมายไทย เมื่อเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายที่ เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญา
ในการพิจารณาว่าในกฎหมายไทยมีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญาบัญญัติไว้หรือไม่หรือมีบทบัญญัติที่ใช้ทดแทนกันได้หรือไม่จะอาศัย หลักการทั่วไปของหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญามาพิจารณา เปรียบเทียบประกอบ และจะได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่จัดเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของ สัญญาเพื่อเปรียบเทียบ ความเหมือนหรือความแตกต่าง ของหลักการสําคัญ หลักเกณฑ์ในการ พิจารณา และผลทางกฎหมาย ให้เห็นได้อย่างเห็นชัดขึ้น ดังนี้
1) บทบัญญัติเกี่ยวกับการอันมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150
บทบัญญัติตามมาตรา 150 เป็นบทบัญญัติที่กําหนดในเรื่องวัตถุประสงค์ของ นิติกรรม ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีผลให้นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ จึงมีหลักการสําคัญและลักษณะที่ ใกล้เคียงกันอย่างยิ่งกับหลักกฎหมายเรื่อง “Causa” อันเป็นที่มาของหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลง ที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาในประเทศฝรั่งเศส อ่าจึงมีความคล้ายคลึงกันในแง่ของหลักการ สําคัญของกฎหมาย แม้จะไม่ปรากฏว่ามีรายละเอียดที่เกี่ยวกับหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัด ต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาไว้โดยเฉพาะก็ตาม
ในด้านหลักเกณฑ์ในการพิจารณา มาตรา 150 บัญญัติว่า “การใดมี วัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบ เรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ” เป็นบทบัญญัติที่มีความกระชับสั้น และ ไม่มีบทนิยามความหมายไว้โดยเฉพาะ และเนื่องจากมาตรา 150 กําหนดวัตถุประสงค์ที่ไม่ชอบด้วย กฎหมายไว้ 3 ประการ คือ 1) วัตถุประสงค์ที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย 2) วัตถุประสงค์ที่เป็นการ
พ้นวิสัย 3) วัตถุประสงค์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และ 4) วัตถุประสงค์ที่ขัดต่อ ศีลธรรมอันดีของประชาชน ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาไม่ได้มีข้อห้ามชัดแจ้งไว้ใน กฎหมายไทย และไม่เป็นการพ้นวิสัยในการดําเนินการ อีกทั้ง ยังไม่ใช่เรื่องที่ประชาชนทั่วไปจะเห็นว่า ขัดต่อศีลธรรม ส่วนที่น่าจะนํามาปรับใช้ได้ใกล้เคียงที่สุดจึงเป็นกรณีของวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อความ สงบเรียบร้อยของประชาชน ตามที่ได้กล่าวไปในบทที่ 2 แล้วว่า “ความสงบเรียบร้อยของประชาชน” ตามมาตรา 150 เป็นถ้อยคํามีความหมายไม่แน่นอน มีขอบเขตอย่างกว้างขวาง และเปลี่ยนแปลงไป ตามนโยบายของรัฐหรือสภาพสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา การนิยามความหมายที่ชัดเจน แน่นอนจึงทําได้ยาก แต่นักกฎหมายได้จําแนกประเภทของความสงบเรียบร้อยของประชาชน ออกเป็นประเภทต่าง ๆ ซึ่งค่อนข้างจะครอบคลุมและครบถ้วน ดังนี้
1) ความสงบเรียบร้อยของประชาชนในทางการเมืองการปกครอง
2) ความสงบเรียบร้อยของประชาชนในทางครอบครัว
3) ความสงบเรียบร้อยของประชาชนในทางวิชาชีพ
4) ความสงบเรียบร้อยของประชาชนในทางเศรษฐกิจ และ
5) ความสงบเรียบร้อยของประชาชนในทางคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เนื่องจากสัญญาเป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนในทางแพ่ง และ
ทางเศรษฐกิจ ความหมายของความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามมาตรา 150 ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับ ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญามากที่สุด น่าจะเป็นความสงบเรียบร้อยของประชาชน ในทางเศรษฐกิจ ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน อธิบายไว้ว่า เศรษฐกิจของชาติเป็นเรื่องที่ เกี่ยวข้องอย่างแน่นแฟ้นกับความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ การเอารัดเอาเปรียบกันในทางการค้า หรืออุตสาหกรรมย่อมกระทบกระเทือนถึงความมั่นคงปลอดภัยของประเทศด้วย
เมื่อนําความหมายของความสงบเรียบร้อยของประชาชนในทางเศรษฐกิจมา พิจารณากับกรณีข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา พบว่าเหตุผลหลักการของหลัก กฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา เป็นไปเพราะเห็นความสําคัญของ วัตถุประสงค์หลักที่มีปรากฏอยู่ในทุกสัญญาอันเป็นเหตุให้ปัจเจกบุคคลเข้าทําสัญญาระหว่างกัน เมื่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญาเป็นเหตุเริ่มแรกให้ ปัจเจกบุคคลเข้าทําสัญญาระหว่างกันแล้ว วัตถุประสงค์หลักของสัญญาจึงต้องถือว่ามีความสําคัญอย่างยิ่งต่อรากฐานของระบบสัญญา ดังนั้น
สัญญาจึงควรต้องบังคับตามวัตถุประสงค์หลักของสัญญาได้ ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของ สัญญาเป็นข้อตกลงในสัญญานั้นเอง หากยินยอมให้ข้อตกลงในสัญญามีผลทําให้วัตถุประสงค์หลักของ สัญญาไม่สามารถบังคับได้แล้ว ก็ย่อมมีผลต่อรากฐานของระบบกฎหมายสัญญา ข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญาจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนในทางเศรษฐกิจ
เมื่อข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาขัดต่อความสงบเรียบร้อย ของประชาชน จึงมีผลให้ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 150 อย่างไรก็ดี แม้ข้อตกลงจะตกเป็นโมฆะแต่ย่อม ไม่ทําให้สัญญาตกเป็นโมฆะด้วย เนื่องจากข้อตกลงมีลักษณะขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา ข้อตกลงนั้นย่อมแยกออกจากสัญญาส่วนที่เหลือได้ เป็นกรณีที่พึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่ง กรณีว่า คู่กรณีเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะนั้นแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ โมฆะเฉพาะข้อตกลง ที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา แต่ข้อตกลงในสัญญาส่วนที่เหลือยังบังคับต่อกันได้ตาม มาตรา 173
เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยจะได้นํากรณีศึกษาที่จัดเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญา มาปรับใช้กับบทบัญญัติเกี่ยวกับการอันมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 ดังนี้
กรณีศึกษาที่ 1 ผู้ว่าจ้างทําสัญญาจ้างขนส่งพัสดุกับผู้รับจ้างซึ่งเป็นบริษัทรับ ขนส่ง โดยตกลงกันให้ส่งเอกสารสําคัญซึ่งใช้ในการเสนอราคาประมูลงานก่อสร้างไปให้ทันในวันและ เวลาประมูล โดยในสัญญามีข้อตกลงข้อหนึ่งระบุว่า ในกรณีเกิดความเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตาม สัญญาจ้างขนส่งผู้รับจ้างต้องรับผิดต่อผู้ว่าจ้างไม่เกินไปกว่าจํานวนเงินที่เป็นค่าจ้างซึ่งผู้รับจ้างได้รับ จํานวน 20,000 บาท ต่อมาผู้รับจ้างนําเอกสารดังกล่าวไปส่งไม่ทันเวลาที่ตกลงกันไว้ ทําให้ผู้ว่าจ้าง ได้รับความเสียหายหลายล้านบาท เมื่อผู้ว่าจ้างเรียกร้องค่าเสียหายผู้รับจ้างจึงอ้างว่าตามข้อตกลง ดังกล่าวผู้รับจ้างต้องจะผิดต่อผู้ว่าจ้างไม่เกิน 20,000 บาท เท่านั้น
พิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 150 ได้ว่า สัญญาจ้างขนส่งเป็น สัญญาประเภทหนึ่งซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักของสัญญา ฝ่ายหนึ่งคือการได้รับชําระค่าจ้าง และอีกฝ่าย หนึ่งคือการให้พัสดุที่ขนส่งถูกขนส่งไปยังจุดหมายปลายทางภายในระยะเวลาและปราศจากความ เสียหาย คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายย่อมเข้าทําสัญญากันโดยมีวัตถุประสงค์เช่นนี้เป็นสําคัญ ข้อตกลงจํากัด ความรับผิดที่ปรากฏในสัญญาจํากัดความรับผิดไว้ในจํานวนเงินเพียง 20,000 บาท เมื่อเทียบกับความ เสียหายที่เกิดขึ้นจริงแล้ว เป็นค่าเสียหายจํานวนน้อยมากจนอาจถือได้ว่าผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดในการ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างขนส่ง และเป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญาในข้อที่ถือว่าเป็นวัตถุประสงค์หลัก ของสัญญา หากข้อตกลงจํากัดความรับผิดนี้สามารถใช้บังคับได้ก็ย่อมหมายความว่า สัญญาจ้างขนส่ง ไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หลักได้ตั้งแต่ต้น ข้อตกลงจํากัดความรับผิดในกรณีนี้จึงขัด
ต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเป็นโมฆะตามมาตรา 150 ส่วนข้อตกลงอื่นในสัญญายัง สามารถบังคับกันได้ตามเดิมเนื่องจากแยกออกจากข้อตกลงนี้ได้ ตามมาตรา 173
กรณีศึกษาที่ 2 ผู้ว่าจ้างเป็นบริษัทที่ดําเนินการโดยต้องใช้บริการอินเตอร์เน็ต อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาจึงทําสัญญาว่าจ้างให้ผู้รับจ้างซึ่งเป็นบริษัทให้บริการอินเตอร์เน็ตจัดการให้ ผู้ว่าจ้างใช้บริการอินเตอร์เน็ตได้โดยมีข้อตกลงข้อหนึ่งว่า ผู้รับจ้างต้องจัดการให้ผู้ว่าจ้างสามารถใช้ สัญญาณอินเทอร์เน็ตได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา โดยสัญญาณอินเตอร์เน็ตจะขัดข้องได้ไม่เกินครั้งละ 10 นาทีเท่านั้น หากสัญญาณอินเตอร์เน็ตจะขัดข้องเกินครั้งละ 10 นาที เกิน 2 ครั้งต่อเดือน ผู้ว่าจ้าง สามารถเรียกค่าเสียหายได้ ต่อมาในระหว่างระยะเวลาตามสัญญาสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่ ผู้รับจ้าง ให้บริการเกิดการขัดข้องไม่สามารถใช้ได้หลายสิบครั้งต่อวัน แต่การขัดข้องในแต่ละครั้งล้วนเกิดขึ้นไม่ เกินครั้งละ 10 นาที ผู้ว่าจ้างจึงต้องการเรียกค่าเสียหาย แต่ผู้รับจ้าง อ้างถึงข้อตกลงดังกล่าวว่าการ ให้บริการสัญญาในตลาดของผู้รับจ้างแม้จะเกิดการขัดข้องขึ้นแต่ยังไม่เป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างสามารถบอก เลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายได้ตามข้อตกลง
พิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 150 ได้ว่า สัญญาระหว่างผู้ว่าจ้าง และผู้รับจ้างซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตมีวัตถุประสงค์หลักของสัญญาต้องการให้ผู้รับจ้าง จัดการให้ผู้ว่าจ้างสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง เมื่อการให้บริการสัญญาณ อินเทอร์เน็ตเกิดการขัดข้องหลาย 10 ครั้งต่อวัน ผู้ว่าจ้างซึ่งต้องเป็นบริษัทที่ต้องดําเนินการโดยอาศัย สัญญาณอินเตอร์เน็ตย่อมไม่สามารถดําเนินการได้ ทําให้ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์หลักที่เขาทําสัญญา การที่ผู้รับจ้างอ้างข้อตกลงว่าการขัดข้องแต่ละครั้งไม่เกิน 10 นาที จึ งไม่จําเป็นต้องรับผิดชดใช้ ค่าเสียหาย ย่อมทําให้ผู้ว่าจ้างไม่มีหนทางใดที่จะบังคับตามสัญญาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หลักได้ ข้อตกลงเช่นนี้หากใช้บังคับได้ย่อมทําให้ไม่สามารถบังคับตามสัญญาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หลัก ของสัญญา จึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยและตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 150 ส่วนข้อตกลงอื่นในสัญญา ยังสามารถบังคับกันได้เนื่องจากแยกออกจากข้อตกลงดังกล่าวได้ตามมาตรา 173
จากการปรับใช้บทบัญญัติในมาตรา 150 กับกรณีศึกษาของข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญาทําให้พบว่าสามารถใช้บทบัญญัติในมาตราดังกล่าวทําให้ข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญาตกเป็นโมฆะ และมีผลทางกฎหมายเหมือนกับ การปรับใช้หลักกฎหมาย เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักในสัญญาของต่างประเทศ แต่การปรับใช้มาตรา 150 ยังมี ข้อจํากัดบางประการโดยเฉพาะในเรื่องของความชัดเจนของบทบัญญัติ ซึ่งจะได้วิเคราะห์ต่อไป
2) บทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความการแสดงเจตนาตามมาตรา 171 และ บทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความสัญญาตามมาตรา 368
ตามที่ได้อธิบายไว้ในบทที่ สอง โดยแยกเกณฑ์การพิจารณาระหว่าง บทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความการแสดงเจตนาตามมาตรา 171 และบทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความ
สัญญาตามมาตรา 368 ออกต่างหากจากกัน เนื่องจากบทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความการแสดงเจตนา อาจสามารถปรับใช้ได้โดย แยกต่างหากจากบทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความสัญญาตามมาตรา 368 แต่ เนื่องจากกรณีที่ทําการพิจารณานั้นเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาจึงจําเป็นจะต้อง เป็นข้อตกลงในสัญญาการตีความข้อตกลงนั้นจึงต้องใช้ทั้งหลักการตีความการแสดงเจตนาและ หลักการตีความสัญญาอยู่ด้วย จึงวิเคราะห์ไปทีละส่วนแต่จะได้นําบทบัญญัติทั้งสองปรับใช้กับ กรณีศึกษาพร้อมกัน
หลักการสําคัญของบทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความการแสดงเจตนาตาม มาตรา 171 และ บทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความสัญญาตามมาตรา 368 เป็นการค้นหาความหมาย และขอบเขตของการแสดงเจตนาที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ทําการแสดงเจตนานั้นออกมา หรือสัญญาที่ พิจารณา ดังนั้น ความจําเป็นที่จะต้องค้นหาความหมายหรือขอบเขตของการแสดงเจตนาหรือสัญญา ย่อมเกิดขึ้นต่อเมื่อการแสดงเจตนาหรือสัญญานั้นถือว่ามีผลเท่านั้น หากการแสดงเจตนานั้นถือว่า ไม่ได้มีผลตั้งแต่ต้นการตีความการแสดงเจตนานั้นย่อมไม่มีความจําเป็นต้องกระทํา ดังนั้น หากมีการ ปรับใช้บทบัญญัติเกี่ยวกับการอันมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 กับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาและถือว่าเป็น โมฆะไปแล้ว ย่อมไม่มีความจําเป็นที่จะต้องอาศัยบทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความการแสดงเจตนาตาม มาตรา 171 และ บทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความสัญญาตามมาตรา 368 กับกรณีดังกล่าวอีก อย่างไรก็ ดีในกรณีที่ อาจมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการปรับใช้มาตรา 150 ในลักษณะดังกล่าว การนําบทบัญญัติ เกี่ยวกับการตีความการแสดงเจตนาตามมาตรา 171 และ บทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความสัญญาตาม มาตรา 368 มาปรับใช้กับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา ก็อาจเป็นวิธีการหนึ่งที่ สามารถทําได้ เนื่องจากมาตรา 171 ได้กล่าวถึงการตีความโดยมุ่งเน้นถึงเจตนาอันแท้จริง ซึ่งเมื่อ พิจารณาแล้วอาจมีความเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์หลักของสัญญาด้วย และมาตรา 368 ยังได้กล่าวถึง การตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตซึ่งอาจเชื่อมโยงได้กับหลักการเบื้องหลังหลักกฎหมายที่ เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาได้
บทบัญญัติตามมาตรา 171 ซึ่งกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการตีความการ แสดงเจตนา โดยมีประเด็นสําคัญที่เกี่ยวข้องข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาอยู่ว่า การ ตีความการแสดงเจตนาในกรณีที่ถ้อยคํามีความชัดแจ้งสามารถทําได้หรือไม่ และวิธีในการตีความการ แสดงเจตนาในกรณีของข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาต้องทําเช่นไร ในประเด็นแรกจะ เห็นได้ว่า แม้ในประเทศไทยจะมีแนวคําพิพากษาของศาลฎีกาไปในทางที่ชี้ให้เห็นว่าการตีความการ แสดงเจตนาทําได้เฉพาะในกรณีที่ถ้อยคํามีความไม่ชัดเจนกํากวมหรือตีความหมายได้หลายนัยยะ เท่านั้น และมีความเห็นของนักกฎหมายหลายท่านที่เห็นไปในทางดังกล่าว แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาใน คําพิพากษาของศาลฎีกาอีกส่วนหนึ่งก็พบว่าในกรณีที่ถ้อยคํามีความชัดเจนศาลฎีกาก็มีการตีความ
การแสดงเจตนา และเมื่อพิจารณาถ้อยคําที่ปรากฏตามมาตรา 171 แล้ว เห็นได้ การยึดถือถ้อยคําใน การแสดงเจตนามากเกินไปจนไม่คํานึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมและเจตนาของผู้แสดงเจตนา ย่อมไม่ เป็นการสมควร เนื่องจากบทบัญญัติในเรื่องการตีความการแสดงเจตนาใช้กับนิติสัมพันธ์ระหว่าง เอกชนในทุกฐานะทั้งทางแพ่งและทางพาณิชย์ ผู้แสดงเจตนาอาจเป็นบุคคลทั่วไปที่มี ความรู้ ความชํานาญในการใช้ภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าใจภาษาทางกฎหมายมากน้อยต่างกัน แม้แต่ ในกรณีของผู้มีวิชาชีพ หรือผู้ประกอบการในทางพาณิชย์ ก็ยังอาจมีข้อผิดพลาดในการกําหนดถ้อยคํา ในการแสดงเจตนาได้ การตีความการแสดงเจตนาจึงสามารถทําได้ ในทุกกรณีไม่จําเพาะแต่กรณีที่ ถ้อยคํามีความไม่ชัดเจนกํากวม หรือตีความได้หลายนัยยะเท่านั้น ในประเด็นที่เกี่ยวกับวิธีการตีความ การแสดงเจตนานั้น เห็นว่า การตีความการแสดงเจตนาโดยยึดถือเอาตามเจตนาที่อยู่ในใจเป็นหลัก (การตีความแบบอัตวิสัย) หรือการตีความการแสดงเจตนาโดยยึดถือเอาเจตนาที่แสดงออกเป็นหลัก (การตีความแบบภาวะวิสัย) เหมาะสมที่จะใช้กับกรณีของการตีความข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ หลักของสัญญา ย่อมพิจารณาได้ว่า แม้ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาเป็นข้อตกลงที่อยู่ ในสัญญานั้นและมีข้อความชัดเจน แต่วัตถุประสงค์หลักของสัญญามีลักษณะเช่นใดย่อมไม่ใช่เรื่องที่ ซ่อนเร้นปิดบัง คู่สัญญาทุกฝ่ายย่อมทราบดีเพราะเป็นภาระผูกพันสําคัญในสัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติตาม การตีความเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาตามมาตรา 171 จึงต้องกระทําโดย คํานึงถึงเจตนาภายในใจของคู่สัญญาเมื่อเข้าทําสัญญาโดยอาจเรียกว่าเป็นการตีความแบบอัตวิสัยก็ได้ กล่าวคือคู่สัญญาย่อมมีเจตนาอันแท้จริงในการดําเนินการตามสัญญาให้วัตถุประสงค์หลักของสัญญา บรรลุผล เพราะโดยปกติแล้วย่อมไม่มีบุคคลใดเข้าทําสัญญากันโดยมีความมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่กลับประสงค์ให้การบังคับให้บรรลุความมุ่งหมายนั้นไม่อาจกระทําได้ เมื่อตีความการแสดงเจตนา โดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงเช่นนี้แล้ว ย่อมต้องตีความว่า ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของ สัญญาไม่อาจใช้ได้
นอกจากนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ยังได้มีบทบัญญัติในมาตรา 10 ถึงมาตรา 14 ที่กําหนดถึงหลักการในการตีความการแสดงเจตนาในเรื่องต่าง ๆ ไว้อีกด้วย กล่าวคือ มาตรา 10 เรื่องการตีความให้นิติกรรมมีผล3 มาตรา 11 เรื่องการตีความไปในทางที่เป็นคุณ แก่คู่กรณีฝ่ายที่ต้องเสียในมูลหนี้4 มาตรา 12 เรื่องกรณีที่จํานวนเงินหรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้ทั้ง
3 มาตรา 10 บัญญัติว่า “เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งในเอกสารอาจตีความได้สองนัย นัยไหนจะ ทําให้เป็นผลบังคับได้ ให้ถือเอาตามนัยนั้นดีกว่าที่จะถือเอานัยที่ไร้ผล”
4 มาตรา 11 บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่ง จะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น”
ตัวอักษรและตัวเลข5 มาตรา 13 เรื่องกรณีจํานวนเงินหรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้เป็นตัวอักษรหรือ เป็นตัวเลขหลายแห่ง6 และมาตรา 14 เรื่องกรณีที่เอกสารทําขึ้นไว้หลายภาษา7 ซึ่งมีความเห็นทาง
กฎหมายบางส่วนเห็นว่าการนํามาตรา 10 ถึง 14 มาใช้ต้องอยู่ภายใต้มาตรา 171 ในหลักการให้ถือ เจตนาที่แท้จริงเป็นใหญ่เช่นกัน8 แต่เมื่อพิจารณาแล้วเห็นได้ว่าแม้ว่าข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ หลักของสัญญาสามารถมีได้ในกรณีของข้อตกลงที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญาส่วนใหญ่เป็นข้อตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษรในสัญญาเนื่องจากสัญญาที่ มีลักษณะซับซ้อนมีข้อตกลงเป็นจํานวนมากมักทําเป็นลายลักษณ์อักษรและย่อมมีโอกาสที่ข้อตกลง เหล่านั้นจะมีลักษณะที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาได้มากกว่า ข้อตกลงเหล่านี้โดยปกติมีความ ชัดเจนในถ้อยคําอยู่แล้วและไม่ได้ขัดหรือแย้งกับส่วนอื่นของสัญญาในด้านถ้อยคํา มาตรา 10 ถึง 14 จึงไม่สามารถนํามาปรับใช้ได้กับข้อตกลงเหล่านี้
บทบัญญัติตามมาตรา 368 ซึ่งกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการตีความสัญญาย่อม อาจใช้ตีความได้ในทุกกรณี ไม่จํากัดแต่เฉพาะกรณีที่ สัญญาไม่ชัดเจน กํากวม หรือตีความได้หลายนัย ยะ โดยเหตุผลประการเดียวกับที่ได้กล่าวในกรณีของมาตรา 171 โดยมาตรา 268 กําหนดหลักเกณฑ์ ในการตีความให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณี เมื่อปกติ ประเพณี อาจปรากฏอยู่ในสัญญาบางอย่าง แต่ไม่มีในสัญญาบางอย่างจึงต้องตีความข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญาโดยอาศัยหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตีความสัญญาทั่วไปที่ยอมรับกันและการ ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยการตีความสัญญามีหลักการทั่วไปที่ยอมรับเป็นสากล
5 มาตรา 12 บัญญัติว่า “ในกรณีที่จํานวนเงินหรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้ทั้งตัวอักษรและ ตัวเลข ถ้าตัวอักษรกับตัวเลขไม่ตรงกัน และมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ ให้ถือเอาจํานวนเงิน หรือปริมาณที่เป็นตัวอักษรเป็นประมาณ”
6 มาตรา 13 บัญญัติว่า “ถ้าจํานวนเงินหรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้เป็นตัวอักษรหลายแห่ง หรือเป็นตัวเลขหลายแห่ง แต่ที่แสดงไว้หลายแห่งนั้นไม่ตรงกัน และมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริง ได้ ให้ถือเอาจํานวนเงินหรือปริมาณน้อยที่สุดเป็นประมาณ”
7 มาตรา 14 บัญญัติว่า “ในกรณีที่เอกสารทําขึ้นไว้หลายภาษา ไม่ว่าจะเป็นฉบับเดียวกันหรือ หลายฉบับก็ตามโดยมีภาษาไทยด้วย ถ้าข้อความในหลายภาษานั้นแตกต่างกัน และมิอาจหยั่งทราบ เจตนาของคู่กรณีได้ว่าจะใช้ภาษาใดบังคับให้ถือตามภาษาไทย”
8 บุญช่วย วณิกกุล (พระยาเทพวิทุร), คํำอธิบำยประมวลกฎ👉มำยแพ่งและพำณิชย์ บรรพ 1-2 มำตรำ 1-240 (ไทยพิทยา 2447-8) 57; ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล, กฎ👉มำยแพ่ง : 👉ลักทั่วไป : คํำอธิบำย ประมวลกฎ👉มำยแพ่งและพำณิชย์ มำตรำ 4-14 (นิติธรรม 2554) 359 ดูประกอบ อรุณี วสันตยานันท์, ‘การตีความเอกสาร’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2565) 52.
และได้รับการยอมรับตามแนวคําพิพากษาของศาลฎีกา คือหลักการตีความสัญญาโดยพิจารณาจาก สัญญาทั้งฉบับ (As A Whole) ไม่ใช่แต่ข้อตกลงข้อใดข้อหนึ่ง ทําให้อาศัยวัตถุประสงค์หลักที่ปรากฏ อยู่ในสัญญาทั้งฉบับมาตีความข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาได้ และเมื่อวิเคราะห์ถึง ความประสงค์ในทางสุจริตแล้วพบว่าคู่สัญญาที่เข้าทําสัญญาย่อมต้องมีหน้าที่ต่อกันตามหลักสุจริต กล่าวคือ หน้าที่ซื่อสัตย์ (Loyalty) ใช้ความระมัดระวัง (Duty of Care) และหน้าที่ที่จะไม่ใช้สิทธิโดย ไม่สุจริต เป็นต้น โดยหน้าที่ซื่อสัตย์ (Loyalty) หมายถึงคู่สัญญาต้องปฏิบัติตามสัญญากันอย่างซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา เพื่อคุ้มครองประโยชน์ที่คาดหมายได้ของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง และยิ่งไปกว่านั้นต้องทํา ให้คู่สัญญาอีกฝ่าย หนึ่ง ได้รับประโยชน์ตามที่คาดหมายไว้ตามสัญญาด้วย หน้าที่ในการใช้ความ ระมัดระวัง (Duty of Care) หมายถึง คู่สัญญาต้องใช้ความระมัดระวังมิให้บุคคลหรือทรัพย์สินของ คู่สัญญาอีกฝ่ายได้รับความเสียหาย และหน้าที่ที่จะไม่ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โดยทั่วไปแล้วการอ้างใช้ สิทธิของตนจะต้องกระทําโดยสุจริต แม้ในบางกรณีสัญญาจะกําหนดสิทธิหน้าที่ของคู่สัญญาไว้แต่ก็มี หลักกฎหมายที่ต้องมาปรับใช้เพื่อควบคุมการอ้างใช้สิทธิตามข้อความในสัญญา เมื่อคู่สัญญามีหน้าที่ เช่นนี้แล้ว การบังคับใช้ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา ยิ่งขัดต่อหน้าที่ของคู่สัญญาฝ่าย หนึ่ง ที่จะต้องมีความซื่อสัตย์รักษาผลประโยชน์ให้อีกฝ่ายหนึ่งด้วยความระมัดระวัง และต้องถือว่าการ ยกข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาขึ้นอ้าง เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเพื่อให้ไม่ต้อง ปฏิบัติตามภาระผูกพันสําคัญของสัญญา การตีความสัญญาทั้งฉบับไปความประสงค์ในทางสุจริตของ คู่สัญญา จึงย่อมต้องส่งผลให้ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาไม่อาจใช้ได้
เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยจะได้นํากรณีศึกษาที่จัดเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญา มาปรับใช้กับบทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความการแสดงเจต นาตาม มาตรา 171 และบทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความสัญญาตามมาตรา 368 ดังนี้
กรณีศึกษาที่ 1 ผู้ว่าจ้างทําสัญญาจ้างขนส่งพัสดุกับผู้รับจ้างซึ่งเป็นบริษัทรับ ขนส่ง โดยตกลงกันให้ส่งเอกสารสําคัญซึ่งใช้ในการเสนอราคาประมูลงานก่อสร้างไปให้ทันในวันและ เวลาประมูล โดยในสัญญามีข้อตกลงข้อหนึ่งระบุว่า ในกรณีเกิดความเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตาม สัญญาจ้างขนส่งผู้รับจ้างต้องรับผิดต่อผู้ว่าจ้างไม่เกินไปกว่าจํานวนเงินที่เป็นค่าจ้างซึ่งผู้รับจ้างได้รับ จํานวน 20,000 บาท ต่อมาผู้รับจ้างนําเอกสารดังกล่าวไปส่งไม่ทันเวลาที่ตกลงกันไว้ ทําให้ผู้ว่าจ้ าง ได้รับความเสียหายหลายล้านบาท เมื่อผู้ว่าจ้างเรียกร้องค่าเสียหายผู้รับจ้างจึงอ้างว่าตามข้อตกลง ดังกล่าวผู้รับจ้างต้องจะผิดต่อผู้ว่าจ้างไม่เกิน 20,000 บาท เท่านั้น
พิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 171 ได้ว่า แม้ข้อตกลงจะปัดความรับ ผิดจะมีระบุไว้ในสัญญาอย่างชัดเจน แต่การตีความการแสดงเจตนาต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่ง กว่าถ้อยคําสํานวนหรือตัวอักษร ในขณะเข้าทําสัญญาผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างขนส่งย่อมทราบดีอยู่แล้ว ผู้ว่าจ้างย่อมมีวัตถุประสงค์หลักในการทําสัญญาครั้งนี้เพื่อให้ส่งพัสดุไปถึงจุดหมายปลายทางให้ทัน
ภายในวัน เวลาประมูล ข้อตกลงจํากัดความรับผิดไว้ไม่เกินไปกว่าค่าจ้างย่อมมีผลเสมือนว่าผู้รับจ้างไม่ ต้องรับผิดในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามภาระผูกพันสําคัญของสัญญาดังกล่าว แม้มีระบุเป็นลายลักษณ์อักษร ชัดเจนไว้ในสัญญาแต่ต้องถือว่าขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาซึ่งเป็นเจตนาอันแท้จริงที่คู่สัญญา ต่างทราบดี เมื่อตีความโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างย่อมไม่สามารถอ้าง ข้อตกลงดังกล่าวในกรณีที่ตนเองไม่ดําเนินการตามภาระผูกพันซึ่งเป็นสาระสําคัญของสัญญา
พิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 368 ได้ว่า เมื่อพิจารณาจากสัญญา ทั้งฉบับ โดยตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตแล้ว ผู้รับจ้างซึ่งเป็นบริษัทรับขนส่ง ย่อมต้องมี มาตรฐานทางวิชาชีพในการขนส่งสินค้าให้ทันเวลาโดยไม่มีความเสียหาย ซึ่งเป็นภาระผูกพันประการ สําคัญในสัญญาขนส่ง รวมทั้งมีหน้าที่ในการดูแลรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าไม่ให้สูญเสียไป การที่ ผู้รับจ้างอ้าง ข้อตกลงจํากัดความรับผิด เพื่อให้ตนไม่ต้องรับผิดในกรณีส่งพัสดุไม่ทัน ย่อมไม่เป็นไป ตามความประสงค์ในทางสุจริตของคู่สัญญาในขณะเข้าทําสัญญา ผู้รับจ้างย่อมไม่อาจอ้างข้อตกลง จํากัดความรับผิด ในกรณีที่ตนได้ละเมิดภาระผูกพันสําคัญของสัญญาเช่นนี้ได้ เนื่องจากเป็นการใช้ สิทธิโดยไม่สุจริต
กรณีศึกษาที่ 2 ผู้ว่าจ้างเป็นบริษัทที่ดําเนินการโดยต้องใช้บริการอินเตอร์เน็ต อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาจึงทําสัญญาว่าจ้างให้ผู้รับจ้างซึ่งเป็นบริษัทให้บริการอินเตอร์เน็ตจัดการให้ ผู้ว่าจ้างใช้บริการอินเตอร์เน็ตได้โดยมีข้อตกลงข้อหนึ่งว่า ผู้รับจ้างต้องจัดการให้ผู้ว่าจ้างสามารถใช้ สัญญาณอินเทอร์เน็ตได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา โดยสัญญาณอินเตอร์เน็ตจะขัดข้องได้ไม่เกินครั้งละ 10 นาทีเท่านั้น หากสัญญาณอินเตอร์เน็ตจะขัดข้องเกินครั้งละ 10 นาที เกิน 2 ครั้งต่อเดือน ผู้ว่าจ้าง สามารถเรียกค่าเสียหายได้ ต่อมาในระหว่างระยะเวลาตามสัญญาสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่ ผู้รับจ้าง ให้บริการเกิดการขัดข้องไม่สามารถใช้ได้หลายสิบครั้งต่อวัน แต่การขัดข้องในแต่ละครั้งล้วนเกิดขึ้นไม่ เกินครั้งละ 10 นาที ผู้ว่าจ้างจึงต้องการเรียกค่าเสียหาย แต่ผู้รับจ้าง อ้างถึงข้อตกลงดังกล่าวว่าการ ให้บริการสัญญาในตลาดของผู้รับจ้างแม้จะเกิดการขัดข้องขึ้นแต่ยังไม่เป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างสามารถบอก เลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายได้ตามข้อตกลง
พิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 171 ได้ว่า แม้ในสัญญาจะมีข้อตกลงที่ ระบุข้อความไว้อย่างชัดเจนว่าให้ผู้ว่าจ้างเรียกค่าเสียหายได้ในกรณีที่สัญญาณอินเตอร์เน็ตขัดข้องเกิน ครั้งละ 10 นาที เกิน 2 ครั้งต่อเดือน แต่คู่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายย่อมทราบถึงเจตนาอันแท้จริงอยู่แล้วว่า มีความประสงค์ที่จะใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา กําหนดข้อตกลงในลักษณะดังกล่าว เป็นไปเพื่อระบุขอบเขตของภาระผูกพันเบื้องต้นเท่านั้น ผู้รับจ้างจึงไม่อาจอ้างข้อตกลงดังกล่าวเพื่อให้ ตนไม่ต้องชําระค่าเสียหายในกรณีที่ สัญญาณอินเตอร์เน็ตเกิดความขัดข้อง หลาย 10 ครั้งต่อวัน เพียง เพราะเหตุแค่ว่าการขัดข้องแต่ละครั้งไม่เกิน 10 นาที เพราะการกล่าวอ้างข้อตกลงในลักษณะดังกล่าว ย่อมไม่เป็นไปตามเจตนาอันแท้จริงของสัญญา
พิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 368 ได้ว่า เมื่อพิจารณาจากสัญญาทั้ง ฉบับ โดยตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตแล้ว คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายย่อมเข้าใจตรงกันดีว่าที่ ผู้ว่าจ้างยินยอมเข้าทําสัญญากับผู้รับจ้างย่อมมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ได้รับบริการสัญญาณ อินเตอร์เน็ตที่ต่อเนื่อง ไม่ติดขัด ผู้รับจ้างซึ่งเป็นบริษัทให้บริการอินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะ จึงมีหน้าที่ ตามหลักสุจริตต่อผู้ว่าจ้างในการรักษาผลประโยชน์ซึ่งพึงจะได้ตามสัญญา การอ้างเอาข้อตกลงที่ ปรากฏในสัญญา ซึ่งอยู่ในลักษณะของการกําหนดขอบเขตของภาระผูกพันเบื้องต้นเท่านั้นมาใช้เพื่อให้ ตนไม่ต้องรับผิดในกรณี ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันหลักของสัญญาได้ ย่อมไม่เป็นไปตาม ความประสงค์ในทางสุจริตของคู่สัญญาในขณะเข้าทําสัญญา และเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต ผู้รับจ้างยก ข้อตกลงนั้นขึ้นกล่าวอ้างไม่ได้
แม้ว่าการปรับใช้บทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความการแสดงเจตนาตามมาตรา 171
และบทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความสัญญาตามมาตรา 368 กับกรณีข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลัก ของสัญญาสามารถกระทําได้ดังที่ได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษามาแล้ว แต่มีข้อจํากัดอยู่หลายประการ เนื่องจาก ความเห็นที่ไม่ตรงกันของนักกฎหมายในเรื่องดังกล่าว และปัญหาในการสร้างบรรทัดฐาน และความชัดเจนของกฎหมาย
การปรับใช้มาตรา 171 กับกรณีข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญามี ประเด็นที่น่าพิจารณาปรากฏอยู่ในคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4614/2552 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจาก คําให้การของจําเลยที่ 1 และคําเบิกความของพยานจําเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรของจําเลยที่ 1 และเป็น ผู้ร่างสัญญาเช่าดังกล่าวว่า เงื่อนไขของสัญญาเช่าในข้อดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ให้โจทก์ต้องใช้ความ ระมัดระวังดูแลทรัพย์ที่เช่ามิให้เกิดอัคคีภัยขึ้น แล้วศาลฎีกาอาศัยข้อเท็จจริงดังกล่าวในการตีความ การแสดงเจตนาของคู่สัญญาว่าข้อสัญญาในการประกันความเสียหายจากอัคคีภัยในสัญญาเช่าเป็น การประกันว่าโจทก์จะไม่ทําความเสียหายให้เกิดแก่ทรัพย์ที่เช่าเท่านั้น ไม่รวมถึงการเกิดอัคคีภัยใน กรณีอื่น ตามความเห็นของนักกฎหมายฝ่ายที่เห็นว่าไม่สามารถตีความสัญญาได้ในกรณีที่ถ้อยคํามี ความชัดเจนอยู่แล้วย่อมเห็นว่าแนวการตีความตามคําพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวอาจเป็นการไม่ ถูกต้องนัก เนื่องจากแม้ว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 171 จะกําหนดให้ในการตีความ การแสดงเจตนา ต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคําสํานวนหรือตัวอักษร แต่เป็นที่ทราบ โดยทั่วไปว่าในบางกรณีที่มีการกําหนดข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน การเข้าไปตีความ เจตนาของคู่สัญญาให้แตกต่างเป็นอย่างอื่นอาจไม่สมควรนักดังสุภาษิตกฎหมายที่ว่า เมื่อถ้อยคําใดมี ความชัดเจนแล้วก็ไม่จําเป็นต้องตีความอีก (In Claris Non Fit Interpretatio) เช่นเดียวกับในกรณีนี้ ที่คู่สัญญามีข้อตกลงกันว่าถ้าอาคารที่เช่าเกิดอัคคีภัยขึ้นไม่ว่าเพราะเหตุใดก็ตาม มากน้อยเท่าใดก็ตาม สัญญาเช่านี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลงทันที และผู้เช่ายินยอมให้ผู้ให้เช่าริบเงินประกันการเช่าได้ทั้งสิ้น การ ที่ฟังข้อเท็จจริงได้จากพยานว่าข้อตกลงนี้มีวัตถุประสงค์ให้โจทก์ต้องใช้ความระมัดระวังดูแลทรัพย์ที่
เช่ามิให้เกิดอัคคีภัยขึ้นมิได้หมายความว่าคู่สัญญาเจตนาจะให้ริบเงินประกันได้เฉพาะแต่กรณีที่อัคคีภัย เกิดขึ้นจากความผิดของโจทก์เท่านั้น แม้จะตกลงกันให้ริบเงินประกันได้ในกรณีอื่ นด้วยก็ยังสม ประสงค์ที่จะให้โจทก์ต้องใช้ความระมัดระวังนั่นเอง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ วัตถุประสงค์ของคู่สัญญาที่ จะให้โจทก์ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นเหตุให้ต้องมีข้อตกลงขึ้น แต่ข้อตกลงนั่นอาจมิได้จํากัดบังคับ เฉพาะแต่กรณีที่จะสนองตอบต่อวัตถุประสงค์ข้างต้นเท่านั้น เนื่องจากข้อตกลงข้อนั้นอาจมีขึ้นเพื่อ วัตถุประสงค์อื่นที่รวมอยู่ด้วย เช่น วัตถุประสงค์ในเรื่องการจัดสรรความเสี่ยงของสัญญา (Allocation of Risk) อีกทั้งข้อตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างคู่สัญญาในกรณีนี้มีข้อความที่ค่อนข้างจะ ชัดเจนแน่นอนว่าเป็นกรณีที่อัคคีภัยจะเกิดขึ้นจากเหตุใดก็ตาม หรือมากน้อยเพียงใดก็ตามก็อยู่ใน บังคับ เช่นนี้การตีความการแสดงเจตนาให้ต่างออกไปจึงไม่ถูกต้อง
สําหรับนักกฎหมายอีกฝ่ายหนึ่งที่เห็นว่าการตีความสัญญาสามารถทําได้แม้ใน กรณีที่ถ้อยคํามีความชัดเจนการตีความในกรณีเช่นในคําพิพากษาศาลฎีกานี้ก็ย่อมอาจไม่เหมาะสมที่ จะนําไปใช้กับกรณีข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาเนื่องจากข้อเท็จจริงในคดีนี้มีการนํา ข้อเท็จจริงปรากฏจากคําให้การของจําเลยที่ 1 และคําเบิกความของพยานจําเลยที่ 1 มาพิจารณา ประกอบจึงปรากฎข้อเท็จจริงในทางพิสูจน์ถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญา หากนํามาเปรียบเทียบกับ กรณีข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา ย่อมเห็นได้ว่ากรณีของข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญาส่วนใหญ่อาจไม่ได้มีพยานหลักฐานที่พิสูจน์ได้ถึงเจตนาอันแท้จริงของ คู่สัญญาดังที่ปรากฏตามคําพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ และในกรณีที่ไม่มีข้อเท็จจริงที่สามารถพิสูจน์ถึง เจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาได้ การจะตีความให้ข้อตกลงที่ปรากฏอย่างชัดเจนในสัญญาไม่มีผลย่อม เป็นไปได้ยากและอาจขัดต่อความเห็นของนักกฎหมายแม้ในฝ่ายที่เห็นว่าสัญญาควรตีความได้แม้ใน กรณีที่ถ้อยคํามีความชัดเจน ส่วนการจะถือว่าข้อตกลงในลักษณะนี้ขัดกับหลักสุจริตไปเลย ก็ย่อมอาจ ไม่เหมาะสมเนื่องจากข้อตกลงบางประเภทมีขึ้นเพื่อเป็นการจัดสรรความเสี่ยงของสัญญา (Allocation of Risk) หากข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ขัดหรือแย้งต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาโดยตรงจนถึงขั้นที่จะ ทําให้วัตถุประสงค์หลักของสัญญานั้นบังคับใช้ไม่ได้ก็อาจจะถือว่าข้อตกลงนั้นทําขึ้นโดยไม่สุจริตหรือ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยตามมาตรา 150 ไม่ได้ หากไม่เช่นนั้นแล้วข้อตกลงทุกข้อที่เพียงมีความ เกี่ยวพันกับวัตถุประสงค์หลักของสัญญาแต่ไม่ได้ขัดแย้งถึงขั้นจะทําให้วัตถุประสงค์หลักของสัญญานั้น บังคับไม่ได้ หรือข้อตกลงบางข้อที่ขัดต่อภาระผูกพันอื่นจนทําให้ภาระผูกพันนั้นบังคับไม่ได้แต่ที่ภาระ ผูกพันนั้นไม่ใช่วัตถุประสงค์หลัก อาจถูกตีความให้ไม่สามารถใช้ได้และก่อให้เกิดความสับสนในทาง กฎหมาย จึงมีความจําเป็นที่จะต้องมีบทบัญญัติโดยเฉพาะที่กําหนดถึงลักษณะของข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญาไว้ให้ชัดเจนและมีหลักของการใช้ดุลพินิจเพื่อให้เกิดการสร้างบรรทัดฐาน เดียวกันระหว่างผู้ใช้กฎหมายต่อไป
3) บทบัญญัติในพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540
พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มีความเชื่อมโยง กับหลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาบางส่วนเนื่องจากมีบทบัญญัติ ที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดปรากฏอยู่ ซึ่งข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับ ผิดเป็นที่มาสําคัญของหลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญ าทั้งใน ประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษ พัฒนาการทางกฎหมายที่ปรากฏในแนวคําพิพากษาของทั้งสอง ประเทศ ล้วนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อตกลงจํากัดหรือยกเว้นความรับผิดเป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่ง ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสมาตรา 1170 ขยายหลักการดังกล่าวโดยไม่จํากัดประเภทของข้อตกลง จึงสมควรที่จะเปรียบเทียบหลักการสําคัญ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาและผลทางกฎหมายของ บทบัญญัติในพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะในส่วนของข้อตกลงจํากัดหรือ ยกเว้นความรับผิด กับหลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา
หลักการสําคัญของพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมเป็นเรื่อง ที่เกี่ยวกับ อํานาจต่อรองทางเศรษฐกิจเหนือกว่าถือโอกาสอาศัยหลักดังกล่าวเอาเปรียบคู่สัญญาอีก ฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมีอํานาจต่อรองทางเศรษฐกิจด้อยกว่าอย่างมาก ซึ่งทําให้เกิดความไม่เป็นธรรมและไม่สงบ สุขในสังคม จึงมีการบัญญัติกฎหมายขึ้นเพื่อแก้ไขความไม่เป็นธรรมและความไม่สงบสุขในสังคม ดังกล่าว ดังที่ปรากฏตามหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม จึงมีความ แตกต่างกับหลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา ที่ใช้บังคับในกรณี ทั่วไปโดยไม่ได้คํานึงถึง อํานาจต่อรองหรือฐานะในทางเศรษฐกิจของคู่สัญญาเลย
จากการศึกษาในเชิงเนื้อหาพบว่าข้อตกลงที่ถือเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญาส่วนหนึ่งตกอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็น ธรรม พ.ศ. 2540 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดซึ่งเป็นกรณีที่ เด่นชัดและสําคัญอย่างยิ่งสําหรับหลักกฎหมายในต่างประเทศที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ หลักของสัญญา โดยได้รับการบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าวทั้งในมาตรา 4 มาตรา 6 และ มาตรา 8 โดยมีผลทางกฎหมายในแต่ละกรณีแตกต่างกันไปแบ่งได้เป็นประเภทแรกให้อํานาจศาล บังคับใช้สัญญาได้เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีซึ่งครอบคลุมข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความ รับผิดทั้งหมดที่ไม่เข้ากรณีของอีกประเภทหนึ่ง และประเภทที่สองคือมิให้มีการกล่าวอ้างถึงข้อตกลง ยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดนั้นเลย ปรากฏอยู่ในกรณีของข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดของ ผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพเพื่อความชํารุดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิตามมาตรา 6 และ ข้อตกลงที่ได้ทําไว้ล่วงหน้าเพื่อยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดเพื่อละเมิดหรือผิดสัญญาในความเสียหาย ต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของผู้อื่นอันเกิดจากการกระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ตกลง และมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาแยกย่อยลงไปตามแต่ละกรณี โดยในกรณีที่บัญญัติให้สัญญาใช้ได้
เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี ยังต้องคํานึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 10 ในการพิจารณาด้วย กล่าวคือ
(1) ความสุจริต อํานาจต่อรอง ฐานะทางเศรษฐกิจ ความรู้ความเข้าใจ ความสันทัดจัดเจน ความคาดหมาย แนวทางที่เคยปฏิบัติ ทางเลือกอย่างอื่น และทางได้เสียทุกอย่าง ของคู่สัญญาตามสภาพที่เป็นจริง
(2) ปกติประเพณีของสัญญาชนิดนั้น
(3) เวลาและสถานที่ในการทําสัญญาหรือในการปฏิบัติตามสัญญา
(4) การรับภาระที่หนักกว่ามากของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ
คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาจึงมีความแตกต่างเป็นอย่างมากกับหลักกฎหมาย
เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา แต่อาจปรับใช้ได้กับข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญาในบางลักษณะ โดยจะเห็นได้จากการปรับใช้กับตัวอย่างกรณีศึกษาต่อไป กรณีศึกษาที่ 1 ผู้ว่าจ้างทําสัญญาจ้างขนส่งพัสดุกับผู้รับจ้างซึ่งเป็นบริษัท
รับขนส่ง โดยตกลงกันให้ส่งเอกสารสําคัญซึ่งใช้ในการเสนอราคาประมูลงานก่อสร้างไปให้ทันในวัน และเวลาประมูล โดยในสัญญามีข้อตกลงข้อหนึ่งระบุว่า ในกรณีเกิดความเสียหายจากการไม่ปฏิบัติ ตามสัญญาจ้างขนส่งผู้รับจ้างต้องรับผิดต่อผู้ว่าจ้างไม่เกินไปกว่าจํานวนเงินที่เป็นค่าจ้างซึ่งผู้รับจ้าง ได้รับจํานวน 20,000 บาท ต่อมาผู้รับจ้างนําเอกสารดังกล่าวไปส่งไม่ทันเวลาที่ตกลงกันไว้ ทําให้ผู้ว่า จ้างได้รับความเสียหายหลายล้านบาท เมื่อผู้ว่าจ้างเรียกร้องค่าเสียหายผู้รับจ้างจึงอ้างว่าตามข้อตกลง ดังกล่าวผู้รับจ้างต้องจะผิดต่อผู้ว่าจ้างไม่เกิน 20,000 บาท เท่านั้น
พิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็น ธรรม ได้ว่า ข้อตกลงจํากัดความรับผิด ในสัญญาเป็นข้อตกลงจํากัดความรับผิดระหว่างผู้ว่าจ้างใน ฐานะผู้บริโภคกับผู้รับจ้างในฐานะผู้ประกอบธุรกิจการค้า เมื่อพิจารณาถึงความสุจริต ของคู่สัญญา แล้วพบว่า ตามปกติ ผู้ประกอบธุรกิจการค้าโดยเป็นบริษัทที่รับจ้างขนส่งพัสดุเป็นอาชีพย่อมต้อง คํานึงถึงประโยชน์ของผู้ใช้บริการในความประสงค์ที่จะให้ส่งพัสดุให้ถึงที่หมายภายในกําหนด ระยะเวลา การกําหนดข้อตกลงจํากัดความรับผิดในกรณีที่ผู้รับจ้างไม่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพัน ดังกล่าว จึงเป็นข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดที่เกิดจากสัญญา ที่ทําให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร เป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม จึงมีผลบังคับใช้ได้เท่าที่เป็นธรรม และพอสมควรแก่กรณีตามมาตรา 4 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
กรณีศึกษาที่ 2 ผู้ว่าจ้างเป็นบริษัทที่ดําเนินการโดยต้องใช้บริการ อินเตอร์เน็ตอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาจึงทําสัญญาว่าจ้างให้ผู้รับจ้างซึ่งเป็นบริษัทให้บริการอินเตอร์เน็ต จัดการให้ผู้ว่าจ้างใช้บริการอินเตอร์เน็ตได้โดยมีข้อตกลงข้อหนึ่งว่า ผู้รับจ้างต้องจัดการให้ผู้ว่าจ้าง
สามารถใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ตได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา โดยสัญญาณอินเตอร์เน็ตจะขัดข้องได้ไม่ เกินครั้งละ 10 นาทีเท่านั้น หากสัญญาณอินเตอร์เน็ตจะขัดข้องเกินครั้งละ 10 นาที เกิน 2 ครั้งต่อ เดือน ผู้ว่าจ้างสามารถเรียกค่าเสียหายได้ ต่อมาในระหว่างระยะเวลาตามสัญญาสัญญาณอินเตอร์เน็ต ที่ ผู้รับจ้างให้บริการเกิดการขัดข้องไม่สามารถใช้ได้หลายสิบครั้งต่อวัน แต่การขัดข้องในแต่ละครั้ ง ล้วนเกิดขึ้นไม่เกินครั้งละ 10 นาที ผู้ว่าจ้างจึงต้องการเรียกค่าเสียหาย แต่ผู้รับจ้าง อ้างถึงข้อตกลง ดังกล่าวว่าการให้บริการสัญญาในตลาดของผู้รับจ้างแม้จะเกิดการขัดข้องขึ้นแต่ยังไม่เป็นเหตุให้ผู้ว่า จ้างสามารถบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายได้ตามข้อตกลง
พิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็น ธรรม ได้ว่า ข้อตกลงที่ว่าหากสัญญาณอินเตอร์เน็ตจะขัดข้องเกินครั้งละ 10 นาที เกิน 2 ครั้งต่อเดือน ผู้ว่าจ้างสามารถเรียกค่าเสียหายได้ เป็นเพียงการกําหนดขอบเขตทั่วไปของภาระผูกพันในสัญญา เท่านั้นไม่ใช่ข้อตกลงจํากัดหรือยกเว้นความรับผิดแต่อย่างใด และไม่ได้กําหนดให้ต้องรับผิดหรือ รับภาระมากกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้โดยตรง จึงไม่เข้าลักษณะของข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และมีผลบังคับใช้ได้เป็นปกติ
เห็นได้ว่าบทบัญญัติในพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรมมี หลักการที่มาแตกต่างกับหลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา และยัง ใช้ได้กับบางกรณีเท่านั้นโดยเฉพาะกรณีที่เป็นข้อตกลงจํากัดหรือยกเว้นความรับผิด หากเป็นข้อตกลง ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาประเภทอื่นก็เป็นการยากที่จะปรับใช้ได้
4.1.3 ปัญหาในการใช้บทบัญญัติที่มีอยู่ในกฎหมายไทยปรับใช้กับกรณีของหลัก กฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา
ตามที่ได้มีการวิเคราะห์และยกกรณีศึกษาขึ้นปรับใช้กับบทบัญญัติที่มีอยู่ใน กฎหมายไทย พบว่า บทบัญญัติที่มีอยู่ในกฎหมายไทยบางมาตราอาจปรับใช้ให้มีผลทางกฎหมาย เหมือนหรือคล้ายคลึงกับหลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาใน ต่างประเทศได้ แต่เมื่อพิจารณาจากหลักการสําคัญ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาและผลทางกฎหมาย อาจมีข้อจํากัดดังนี้
บทบัญญัติเกี่ยวกับการอันมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 เป็นบทบัญญัติที่มีหลักการของกฎหมายคล้ายคลึงกับ หลักกฎหมายเรื่อง “Causa” ของประเทศฝรั่งเศสมากที่สุด ซึ่งหลักกฎหมายเรื่อง “Causa” เป็นที่มา เบื้องต้นของหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา อีกทั้งหลักเกณฑ์ใน การพิจารณายังคล้ายกับการปรับใช้หลักกฎหมายเรื่อง “Causa” ของศาลฝรั่งเศส แต่การปรับใช้ บทบัญญัติตามมาตรา 150 จําเป็นจะต้องมีการตีความความหมายของความสงบเรียบร้อยของ ประชาชน ซึ่งมีลักษณะเป็นคําที่มีความหมายอย่างกว้างขวาง และไม่ชัดเจน เปิดโอกาสให้ผู้พิพากษา
ใช้ดุลพินิจในการตีความเป็นรายคดีไป ทําให้เป็นการยากต่อการสร้างบรรทัดฐานในการตีความที่ เป็นไปในแนวทางเดียวกันของนักกฎหมาย นักกฎหมายบางฝ่ายอาจเห็นด้วยกับการตีความว่า ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ นัก กฎหมายบางฝ่ายอาจเห็นว่าการตีความในลักษณะนั้น เป็นการตีความ ที่กว้างขวางและเกินเลย ขอบเขตความหมายของความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ว่าการตีความเช่นนี้จะไม่ได้ขัดแย้งต่อ บทบัญญัติในมาตรา 150 แต่อาจถูกมองว่าเป็นการปรับใช้มาตรา 150 ในขอบเขตที่กว้างขวางยิ่งขึ้น และอาจกว้างขวางเกินไปหรือไม่ และอันที่จริงแล้วมีผู้ให้ความเห็น9ว่าการตีความใช้หลักกฎหมาย เรื่อง “Causa” อย่างกว้างขวางเกินไป ไม่ชัดเจน และไปซ้อนทับกับหลักกฎหมายเรื่องอื่น เป็นเหตุผล หนึ่งที่ทําให้หลักกฎหมายดังกล่าวถูกยกเลิกในการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 2016 และแม้วันในกรณีที่นักกฎหมายยอมรับว่าข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาขัดต่อความ สงบเรียบร้อยของประชาชนก็ยังมี ปัญหาอยู่ว่า ไม่มีหลักเกณฑ์หรือคํานิยามที่จะใช้ในการพิจารณาว่า ข้อตกลงอย่างไรจึงจะถือว่าเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา
บทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความการแสดงเจตนาตามมาตรา 171 และบทบัญญัติ
เกี่ยวกับการตีความสัญญาตามมาตรา 368 เป็นบทบัญญัติที่มีหลักการของกฎหมายแตกต่างไปจาก หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาในต่างประเทศ กล่าวคือ และ กฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาถือว่าข้อตกลงนั้นไม่มีผลมาตั้งแต่ เริ่มทําสัญญา แต่การใช้หลักการของการตีความการแสดงเจตนาหรือการตีความสัญญาย่อม หมายความว่า ในเบื้องต้นข้อตกลงนั้นมีผลในทางกฎหมายแต่ไม่อาจใช้ได้ในบางกรณีจากการตีความ การแสดงเจตนาหรือการตีความสัญญา อย่างไรก็ดีการปรับใช้หลักการตีความการแสดงเจตนาหรือ การตีความสัญญาให้ผลในลักษณะคล้ายคลึงกับหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ หลักของสัญญาในต่างประเทศ กล่าวคือมีผลให้ข้อตกลงนั้นใช้ไม่ได้ แต่การปรับใช้มาตรา 171 และ มาตรา 368 แทนกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา เนื่องจากจะเริ่ม หลักการดังกล่าวก็เป็นที่ถกเถียงของนักกฎหมายหลายประเด็นอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ประเด็น ที่ว่า หากถ้อยคํามีความชัดเจนจะทําการตีความการแสดงเจตนาหรือสัญญาได้หรือไม่ แม้ในฝ่ายที่เห็น ด้วยว่าการตีความการแสดงเจตนาและสัญญาต้องทําในทุกกรณีก็อาจไม่เห็นด้วยกับการใช้มาตรา 171 และมาตรา 368 ในลักษณะนี้ เนื่องจากไม่ใช่กรณีการตีความถ้อยคําที่มีความชัดเจนอยู่แล้วเท่านั้น แต่เป็นการตีความให้ข้อตกลงที่มีอยู่อย่างชัดเจนในสัญญาไม่อาจใช้ได้ และยังมีประเด็นในเรื่องวิธีใน
9 Irina Cvetkova, ‘The Abolition of the Concept of “Causa” in French Civil Law’ (2021) 5 Białostockie Studia Prawnicze 97,102. <https://www.researchgate.net/ publication/357208689_The_Abolition_of_the_Concept_of_Causa_in_French_Civil_Law>.
การตีความการแสดงเจตนาและสัญญาโดยอาจมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในการใช้ วัตถุประสงค์หลักของสัญญาเป็นเจตนาอันแท้จริงหรือความประสงค์ในทางสุจริตตามมาตรา 171
และมาตรา 368
บทบัญญัติในพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม เมื่อพิจารณาแล้วเห็น ว่ามีส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาเพียงแค่ การกําหนดผลทางกฎหมายของข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดเท่านั้น แต่หลักการที่มา หลักเกณฑ์ในการพิจารณาและผลทางกฎหมาย ล้วนแตกต่างจากหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาทั้งสิ้น อีกทั้งการปรับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็น ธรรมกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา อาจทําได้ในบางกรณีที่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับ ข้อตกลงจํากัดหรือยกเว้นความรับผิดเท่านั้น หากเป็นข้อตกลงประเภทอื่น ย่อมเป็นการยากที่จะ ตีความให้เข้ากับหลักการของพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อ สัญญาไม่เป็นธรรม จึงไม่มีความเหมาะสมในการนํามาใช้แทนหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญา
เมื่อไม่มีบัญญัติเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาไว้ โดยเฉพาะและมีข้อจํากัดในการปรับใช้บทบัญญัติที่มีในกฎหมายไทยประจุปัจจุบัน จึงจําต้องพิจารณา ว่าควรมีการบัญญัติกฎหมายใหม่ขึ้นหรือไม่ แต่เมื่อมีการบัญญัติกฎหมายใหม่ขึ้นย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ จะต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากบทบัญญัตินั้น ดังที่เป็นที่ยอมรับกันว่าความแน่นอน และใช้บังคับได้ของสัญญาเป็นหลักการสําคัญอย่างยิ่งในกฎหมายเอกชนและมีผลถึงความน่าลงทุน ของประเทศ การที่คู่สัญญาทําสัญญากันแล้วสัญญานั้นกลับใช้บังคับไม่ได้ตามที่ตกลงอาจทําให้ คู่สัญญาซึ่งเป็นนักลงทุนไม่ต้องการที่จะทําสัญญาที่จะต้องถูกบังคับใช้โดยกฎหมายไทย และหากหลัก กฎหมายนี้ใช้บังคับอาจอาจมีผู้เห็นว่าจะเกิดความไม่แน่นอนของสัญญาขึ้นเพราะเป็นหลักกฎหมาย ใหม่ไม่เคยมีตัวอย่างในการใช้บังคับมาก่อน แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ประการหนึ่งโดยการบัญญัติ กฎหมายที่มีความชัดเจนเพียงพอ และอีกประการหนึ่งโดยศาลไทยจะต้องมีแนวทางในการตัดสินที่ เสมอต้นเสมอปลาย ผลในเรื่องความไม่แน่นอนของสัญญาก็จะค่อย ๆ หมดไปเพราะความชัดเจนของ กฎหมายและแนวทางคําตัดสินของศาลจะทําให้สามารถคาดเดาได้ว่าข้อตกลงใดจะบังคับใช้ได้หรือไม่ หากมีการบังคับใช้หลักกฎหมายดังกล่าวคู่สัญญาจะต้องระมัดระวังไม่ให้มี ข้อตกลงที่จะไปขัดหรือแย้งต่อหนี้หลักหรือภาระผูกพันหลักของสัญญาเพราะแม้จะมีการระบุข้อตกลง ดังกล่าวไว้ชัดเจนในสัญญา ข้อตกลงดังกล่าวก็จะไม่สามารถใช้ได้แล้วทําให้ความเสี่ยงในสัญญาหรือ ความรับผิดของคู่สัญญาเปลี่ยนแปลงไป ถือว่าข้อตกลงส่วนหนึ่งที่คู่สัญญาเคยทําได้และใช้บังคับได้ ศาลจะไม่บังคับให้ตามที่ตกลงกันอีกต่อไป เป็นการลดเสรีภาพของคู่สัญญาในการที่จะตกลงกัน ข้อควรระวังนี้ย่อมใช้อยู่เฉพาะกรณีที่ข้อตกลงดังกล่าวทําให้ภาระผูกพันหลักไม่สามารถใช้ได้เท่านั้น
อย่างไรก็ตามหลักกฎหมายนี้จะทําให้รัฐโดยศาลสามารถจัดการกับสัญญาที่ดูจะไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง ได้ และผลกระทบดังกล่าวสามารถจํากัดโดยการกําหนดหลักเกณฑ์ในการใช้ดุลยพินิจของศาลในสอง ส่วน คือ หลักเกณฑ์ในการใช้ดุลยพินิจว่าข้อตกลงใดจะเข้าลักษณะบังคับใช้ของกฎหมายดังกล่าว และหลักเกณฑ์ในการใช้ดุลยพินิจว่าผลทางกฎหมายของข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นเช่นไร เป็นการจํากัด ไม่ให้ศาลใช้อํานาจในการเข้าแทรกแซงสัญญาของเอกชนอย่างกว้างขวางมากเกินไป เมื่อพิจารณา แล้วย่อมเห็นได้ว่าการกําหนดบทกฎหมายใหม่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา ย่อมเป็นประโยชน์ต่อระบบสัญญาโดยรวมส่วนข้อเสียที่เกิดขึ้นย่อมควบคุมได้โดยหลักเกณฑ์ที่บัญญัติ ไว้ในกฎหมายและแนวทางที่ชัดเจนของศาล ซึ่งย่อมเป็นผลดีกว่าในปัจจุบันที่อาจจําต้องอาศัย กฎหมายที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงเพื่อปรับใช้กับกรณีของข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา และบทกฎหมายเหล่านั้นมีข้อโต้แย้งที่เห็นเด่นชัดอยู่ในปัจจุบัน
จากปัญหาในการใช้บทบัญญัติที่มีอยู่ในกฎหมายไทยปรับใช้กับกรณีของหลัก กฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา เหล่านี้จึงทําให้ได้ข้อสรุปที่ว่าสมควร ที่จะต้องมีบทบัญญัติใหม่ที่เกี่ยวข้องกับหลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของ สัญญาเป็นการเฉพาะเพื่อให้กฎหมายมีความชัดเจน สร้างบรรทัดฐานเดียวกันได้ง่าย และมีหลักเกณฑ์ หรือคํานิยามที่ใช้ในการพิจารณา
4.2 หากต้องมีหลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาบัญญัติไว้ใน กฎหมายไทยเป็นการเฉพาะควรกําหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค หลักของสัญญาอย่างไร และควรบัญญัติเพิ่มเติมไว้ในกฎหมายฉบับใดส่วนใด
เมื่อพิจารณาหลักการของหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลัก ของสัญญาในต่างประเทศ พบว่าเป็นหลักกฎหมายที่พิจารณาอยู่ในชั้นความมีผลของข้อตกลง กล่าวคือหากข้อตกลงขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาก็ย่อมไม่มีผลมาตั้งแต่ต้น หรือถือว่าข้อตกลง นั้นไม่ได้มีการทําขึ้นนั่นเอง เมื่อเทียบเคียงกับบทบัญญัติในกฎหมายไทยแล้ว เห็นได้ว่ามีความ คล้ายคลึงกับบทบัญญัติในเรื่องเจตนาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 มากที่สุด เพียงแต่มีปัญหาในประเด็นที่ว่าจะเป็นการใช้หลักกฎหมายอย่างกว้างขวาง เกินไปหรือไม่ และไม่มีคํานิยามหรือหลักเกณฑ์ที่จะใช้ในการพิจารณาว่าข้อตกลงใดขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญาหรือไม่และวัตถุประสงค์หลักของสัญญามีลักษณะเช่นใด เท่านั้น จึงมี ความจําเป็นที่จะต้องบัญญัติกฎหมายใหม่ขึ้นโดยกําหนดถึงหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ด้วยเพื่อให้กฎหมาย มีความชัดเจน แน่นอน คาดหมายได้ เมื่อมีข้อพิจารณาเช่นนี้แล้วจึงเห็นว่าควรบัญญัติบทบัญญัติโดย ระบุผลทางกฎหมายของข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาความว่า “ข้อตกลงใดขัดต่อ
วัตถุประสงค์หลักของสัญญา ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ” และระบุถึงความหมายของวัตถุประสงค์หลัก ของสัญญาความว่า “วัตถุประสงค์หลักของสัญญา หมายถึง ประโยชน์ที่วิญญูชนพึงคาดหมายเป็น หลักจากการเข้าทําสัญญาในลักษณะเช่นนั้น และหากไม่มีประโยชน์เช่นนั้นวิญญูชนย่อมไม่เข้าทํา สัญญา” และระบุถึงลักษณะของข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาความว่า “ข้อตกลงที่ขัด ต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา หมายถึง ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาที่หากมีผลบังคับใช้จะทําให้ไม่ สามารถบังคับใช้สัญญาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักของสัญญาได้” หากมีการระบุรายละเอียดเช่นนี้ แล้วย่อมทําให้กฎหมายเกิดความชัดเจน และสามารถสร้างบรรทัดฐานในการใช้กฎหมายเดียวกันได้
บทบัญญัติที่สร้างขึ้นใหม่นี้เป็นบทบัญญัติที่ต้องถือว่าเป็นข้อยกเว้น หลักความศักดิ์สิทธิ์ ของการแสดงเจตนาและหลักเสรีภาพในการทําสัญญาอีกหลักการหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนย่อยลงมาของ หลักการตามมาตรา 150 บทบัญญัตินี้จึงควรบัญญัติไว้ในที่เดียวกับมาตรา 150 ดังนี้
“มาตรา 150/1 ข้อตกลงใดขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ วัตถุประสงค์หลักของสัญญา หมายถึง ประโยชน์ที่วิญญูชนพึงคาดหมายเป็นหลักจาก
การเข้าทําสัญญาในลักษณะเช่นนั้น และหากไม่มีประโยชน์เช่นนั้นวิญญูชนย่อมไม่เข้าทําสัญญา ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา หมายถึง ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาที่หาก
มีผลบังคับใช้จะทําให้ไม่สามารถบังคับใช้สัญญาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักของสัญญาได้”
4.3 ในกรณีที่มีการกําหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของ สัญญา และผลทางกฎหมายของข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา ศาลควรมีอํานาจ ในการใช้ดุลพินิจอย่างไร เพียงใด
ขั้นตอนหรือประเด็นที่ศาลอาจใช้ดุลพินิจในเรื่องของข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลัก ของสัญญาได้แบ่งเป็น สองขั้นตอน กล่าวคือ การใช้ดุลพินิจในการพิจารณาว่าข้อตกลงใด ๆ เป็น ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาหรือไม่ และการใช้ดุลพินิจว่าข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญาควรมีผลทางกฎหมายเช่นใด
จากการพิจารณาแนวทางของหลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลัก ของสัญญาในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษพบว่า ในขั้นตอนของการพิจารณาว่าข้อตกลงใด ๆ เป็นข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาหรือไม่ศาลควรใช้ดุลพินิจในการพิจารณาใน สอง ประเด็น ประเด็นแรกคือ สาระสําคัญของภาระผูกพันที่ถูกกระทบโดยข้อตกลงในสัญญานั้นเป็น วัตถุประสงค์หลักของสัญญาหรือไม่ ประเด็นที่สอง คือ ข้อตกลงในสัญญานั้นกระทบต่อวัตถุประสงค์ หลักของสัญญาถึงขั้นที่ว่าหากข้อตกลงนั้นสามารถใช้บังคับได้ จะทําให้ไม่สามารถบังคับใช้สัญญาเพื่อ บรรลุวัตถุประสงค์หลักของสัญญานั้นหรือไม่
การใช้ดุลพินิจว่าข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาควรมีผลทางกฎหมาย เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าการกําหนดให้ศาลใช้ดุลพินิจ กําหนดผลทางกฎหมาย ในลักษณะเดียวกันกับ พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม คือให้มีผลบังคับใช้สัญญาได้เท่าที่เป็นธรรมและ พอสมควรแก่กรณี อาจไม่เหมาะสมกับกรณีของข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา เพราะเมื่อข้อตกลงใด ๆ ในสัญญามีผลเป็นการขัดขวางไม่ให้สัญญานั้นสามารถบังคับให้บรรลุ วัตถุประสงค์หลักของสัญญา ก็เท่ากับว่าข้อตกลงนั้นเป็นการขัดแย้งกับสัญญานั้นในตัวเอง จึงไม่สมควรมีผลบังคับใช้ และหากกําหนดให้ศาลบังคับใช้เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่กรณีที่ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงอย่างละเอียดอ่อนและผลทางกฎหมายขึ้นอยู่กับ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างมากเช่นนี้ที่ศาลจะมีบรรทัดฐานเป็นอันเดียวกันไปทุกกรณี อีกทั้งเป็นการให้ อํานาจศาลเข้าแทรกแซงสัญญาที่จัดทําขึ้นโดยคู่สัญญา โดยพยายามเข้าไปจัดสมดุลในสัญญาใหม่ ซึ่งศาลอาจไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในกิจการหรือสัญญาในลักษณะนั้น ๆ และเป็นไปได้ยากที่จะเข้าใจ พฤติกรรมแวดล้อมในการทําสัญญานั้นระหว่างคู่สัญญาได้ทั้งหมด ศาลจึงไม่ควรใช้ดุลพินิจในการ กําหนดผลทางกฎหมายของข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา เมื่อศาลเห็นว่าข้อตกลงได้ เป็นข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาย่อมควรที่จะกําหนดผลทางกฎหมายให้สัญญานั้น เป็นโมฆะไปเสีย เช่นเดียวกับบทบัญญัติในมาตรา 150
4.4 ในกรณีที่มีหลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาบัญญัติไว้ใน กฎหมายไทยเป็นการเฉพาะ ควรมีการกําหนดข้อยกเว้นสําหรับการบังคับใช้บทบัญญัติดังกล่าว สําหรับข้อตกลงในลักษณะใดหรือไม่ อย่างไร
ดังที่ได้อธิบายมาแล้วว่าหลักการเบื้องหลังหลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญามาจากการตระหนักถึงความสําคัญในวัตถุประสงค์หลักของสัญญา ในฐานะที่เป็นรากฐาน หรือเป็นเหตุผลสําคัญที่ทําให้คู่สัญญาเข้าทําสัญญาระหว่างกันและเป็น ประโยชน์หลักที่มุ่งหมายจากการเข้าทําสัญญานั้น วัตถุประสงค์หลักของสัญญาจึงมีอยู่ในสัญญาทุก สัญญาและควรที่จะบังคับกันได้ หลักกฎหมายนี้จึงไม่ได้มุ่งหมายคุ้มครองเพียงแต่คู่สัญญากลุ่มใดกลุ่ม หนึ่ง หรือสัญญาประเภทใดประเภทหนึ่ง และจากการศึกษากฎหมายต่างประเทศพบว่าบทบัญญัติ เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาแม้มีจุดเริ่มต้นโดยพัฒนามาจากกรณีของ ข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิด แต่ในปัจจุบันสําหรับประเทศที่ยังใช้หลักการดังกล่าวอยู่ก็ได้ ขยายขอบเขตการบังคับใช้ หลักกฎหมายดังกล่าวให้ใช้บังคับกับข้อตกลงเป็นการทั่วไปไม่ได้จํากัด ประเภทของข้อตกลงหรือประเภทของสัญญา หรือลักษณะของคู่สัญญา เพราะไม่มีเจตนารมณ์บังคับ กับสัญญาประเภทไหน หรือบุคคลกลุ่มใดเป็นการเฉพาะ ภาพหลักกฎหมายดังกล่าวไม่ควรใช้บังคับ
กับข้อตกลงได้ เพราะสามารถใช้หลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้เพื่อพิจารณาได้ว่าข้อตกลงนั้นไม่ใช่ข้อตกลงที่ ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาอยู่แล้ว หลักกฎหมายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกําจัดตัดทอนข้อตกลงที่ ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา กล่าวคือ ทําให้ภาระผูกพันหลักซึ่งเป็นสาระสําคัญแห่งสัญญาไม่ สามารถบังคับได้หรือสิ้นความสําคัญไปนั่นเอง หลักกฎหมายนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อกําจัดข้อตกลงที่ ทําขึ้นโดยไม่สอดคล้องกับภาระผูกพันหลักของสัญญา (Arbitrary Terms) แต่ไม่ใช่ว่าข้อตกลงที่ทํา ขึ้นโดยไม่สอดคล้องภาระผูกพันหลักของสัญญาจะไม่สามารถใช้บังคับได้ในทุกกรณี หากข้อตกลง ดังกล่าวไม่กระทบต่อภาระผูกพันหลักโดยทําให้ไม่สามารถบังคับได้แล้วข้อตกลงนั้นย่อมไม่ถูกกระทบ จากหลักกฎหมายนี้ จึงเห็นว่าหากมีการบัญญัติบทบัญญัติโดยมีหลักเกณฑ์การใช้ดุลยพินิจไว้โดย เหมาะสมแล้วก็ไม่จําเป็นต้องมีข้อยกเว้นใดอีก
บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ
5.1 บทสรุป
หลักข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา หมายถึงข้อตกลงที่ทําให้เมื่อบังคับใช้ ข้อตกลงนั้นแล้วภาระผูกพันหรือหนี้สําคัญของสัญญาไม่สามารถบังคับใช้ได้หรือจะเกิดผลเสมือนเป็น เช่นนั้นเพราะถ้าไม่ชําระหนี้ก็ไม่มีผลเสียอย่างไรหรือถ้าจะมีผลเสียในลักษณะของค่าเสียหายที่ต้อง จ่ายก็เป็นจํานวนที่น้อยมากจนเรียกได้ว่าแทบจะไม่มีค่าเสียหายเลย โดยหลักแล้วศาลจะต้องไม่เข้าไป แทรกแซงสัญญาระหว่างเอกชนโดยไม่จําเป็น การวางหลักกฎหมายเช่นนี้จึงไม่ใช่การที่ศาลจะเข้าไป แทรกแซงในสัญญาที่คู่สัญญามีอํานาจต่อรองที่ไม่เท่ากันในทุกกรณีแต่เป็นเฉพาะกรณีที่ศาลเห็นว่า หากข้อตกลงมีขอบเขตและผลดังที่จะใช้ปรับกับกรณีจะทําให้ภาระผูกพันหลักของสัญญาไม่สามารถ บังคับได้จนถึงขนาดที่วิญญูชนทั่วไปย่อมไม่ยอมที่จะเข้าทําสัญญาที่มีลักษณะดังกล่าว
หลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาในประเทศฝรั่งเศส และประเทศอังกฤษมีที่มาจากหลักกฎหมายที่เกิดจากคําพิพากษาของศาลในทั้งสองประเทศแต่ พัฒนาการของกฎหมายในระยะต่อมากลับแตกต่างกันโดยในประเทศฝรั่งเศสหลักกฎหมายดังกล่าว ได้รับการบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งที่เพิ่งแก้ไขเมื่อ ค.ศ. 2016 โดยเมื่อพิจารณาจากถ้อยคําเป็น การบัญญัติให้มีลักษณะครอบคลุมกรณีต่าง ๆ มากขึ้นโดยอาจไม่ใช่กรณีของข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัด ความรับผิดก็ได้ จึงอาจเรียกได้ว่าหลักกฎหมายดังกล่าวได้รับการยอมรับในประเทศฝรั่งเศส อย่างไรก็ ตามหลักกฎหมายดังกล่าวในประเทศอังกฤษกลับถูกยกเลิกเนื่องจากศาลสูงเห็นว่าจะต้องพิจารณา จากพฤติกรรมต่าง ๆ ขณะที่คู่สัญญาก่อให้เกิดสัญญาทั้งนี้เพื่อให้เกิดความแน่นอนในสัญญาระหว่าง เอกชน
กฎหมายไทยที่เทียบเคียงได้กับหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่มีผลบั่นทอน สาระสําคัญแห่งภาระผูกพันสําคัญของสัญญาในกฎหมายไทยปัจจุบันคือ บทบัญญัติเกี่ยวกับการอันมี วัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150
บทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความการแสดงเจตนาตามมาตรา 171 บทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความสัญญา ตามมาตรา 368 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 โดยมีข้อพิจารณา ดังนี้
บทบัญญัติเกี่ยวกับการอันมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 เป็นบทบัญญัติที่มีหลักการของกฎหมายคล้ายคลึงกับ หลักกฎหมายเรื่อง “Causa” เป็นที่มาเบื้องต้นของหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อ
วัตถุประสงค์หลักของสัญญา และอาจนํามาปรับใช้กับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของสัญญาโดยมี ผลคล้ายคลึงกัน คือทําให้ข้อตกลงนั้นตกเป็นโมฆะ แต่การปรับใช้บทบัญญัติตามมาตรา 150 จําเป็น จะต้องมีการตีความความหมายของความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งมีลักษณะเป็นคําที่มี ความหมายอย่างกว้างขวาง และไม่ชัดเจน เปิดโอกาสให้ผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจในการตีความเป็นราย คดีไป ทําให้เป็นการยากต่อการสร้างบรรทัดฐานในการตีความที่เป็นไปในแนวทางเดียวกันของนัก กฎหมาย และอาจถูกมองว่าเป็นการปรับใช้มาตรา 150อาจกว้างขวางเกินไป และไม่มีความชัดเจนใน ด้านหลักเกณฑ์หรือคํานิยามที่จะใช้ในการพิจารณาว่าข้อตกลงอย่างไรจึงจะถือว่าเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญา
บทบัญญัติเกี่ยวกับการตีความการแสดงเจตนาตามมาตรา 171 และบทบัญญัติเกี่ยวกับ การตีความสัญญาตามมาตรา 368 มีหลักการของกฎหมายแตกต่างไปจาก หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับ ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาในต่างประเทศ กล่าวคือ และกฎหมายที่เกี่ยวกับ ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาถือว่าข้อตกลงนั้นไม่มีผลมาตั้งแต่เริ่มทําสัญญา แต่การใช้ หลักการของการตีความการแสดงเจตนาหรือการตีความสัญญาย่อมหมายความว่า ในเบื้องต้น ข้อตกลงนั้นมีผลในทางกฎหมาย แต่อาจไม่อาจใช้ได้ในบางกรณีจากการตีความการแสดงเจตนาหรือ การตีความสัญญา แม้จะให้ผลทางกฎหมายในลักษณะคล้ายคลึงกับหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาในต่างประเทศ กล่าวคือมีผลให้ข้อตกลงนั้นใช้ไม่ได้ แต่มาตรา 171 และมาตรา 368 เป็นที่ถกเถียงของนักกฎหมายในหลายประเด็นอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณี ของข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาที่เป็นการตีความข้อตกลงที่มีอยู่อย่างชัดเจนใน สัญญาให้ไม่มีผลใช้บังคับ และอาจมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในการใช้วัตถุประสงค์หลักของ สัญญาเป็นเจตนาอันแท้จริงหรือความประสงค์ในทางสุจริตตามมาตรา 171 และมาตรา 368
บทบัญญัติในพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่ามี ส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาเพียงแค่การ กําหนดผลทางกฎหมายของข้อตกลงยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดเท่านั้น แต่หลักการที่มาหลักเกณฑ์ ในการพิจารณาและผลทางกฎหมาย ล้วนแตกต่างจากหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญาทั้งสิ้น อีกทั้งการปรับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรมกับ ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา อาจทําได้ในบางกรณีที่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับข้อตกลง จํากัดหรือยกเว้นความรับผิดเท่านั้น หากเป็นข้อตกลงประเภทอื่น ย่อมเป็นการยากที่จะตีความให้เข้า กับหลักการของพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็น ธรรม จึงไม่มีความเหมาะสมในการนํามาใช้แทนหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ หลักของสัญญา
จากปัญหาในการใช้บทบัญญัติที่มีอยู่ในกฎหมายไทยปรับใช้กับกรณีของข้อตกลงที่ขัด ต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาเหล่านี้จึงทําให้ได้ข้อสรุปที่ว่าสมควรที่จะต้องมีบทบัญญัติใหม่ที่ เกี่ยวข้องกับหลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาเป็นการเฉพาะเพื่อให้ กฎหมายมีความชัดเจน สร้างบรรทัดฐานเดียวกันได้ง่าย และมีหลักเกณฑ์ หรือคํานิยามที่ใช้ในการ พิจารณา และเนื่องจากบทบัญญัติที่สร้างขึ้นใหม่นี้เป็นบทบัญญัติที่ต้องถือว่าเป็นข้อยกเว้น หลักความ ศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนาและหลักเสรีภาพในการทําสัญญาอีกหลักการหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนย่อยลงมา ของหลักการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 บทบัญญัตินี้จึงควรบัญญั ติไว้ในที่ เดียวกับมาตรา 150 โดยกําหนดผลทางกฎหมายของข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา ความหมายของวัตถุประสงค์หลักของสัญญา และลักษณะของข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของ สัญญาไว้เพื่อให้กฎหมายมีความชัดเจน แน่นอน คาดหมายได้ โดยเป็นการกําหนดให้ศาลสามารถใช้ ดุลพินิจในขั้นตอนของการพิจารณาว่าข้อตกลงใดเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของสัญญาหรือไม่ บนพื้นฐานของบทนิยามและลักษณะที่บัญญัติไว้ในบทบัญญัติ แต่ผลทางกฎหมายของข้อตกลงนั้นให้ ตกเป็นโมฆะเช่นเดียวกันกับมาตรา 150 โดยไม่จําเป็นต้องให้ศาลใช้ดุลพินิจกําหนดผลทางกฎห มาย ใหม่ โดยบทบัญญัตินี้สามารถใช้ได้กับข้อตกลงในสัญญาทุกประเภทโดยไม่มีข้อยกเว้นเช่นเดียวกันกับ มาตรา 150 ความว่า
“มาตรา 150/1 ข้อตกลงใดขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ วัตถุประสงค์หลักของสัญญา หมายถึง ประโยชน์ที่วิญญูชนพึงคาดหมายเป็นหลักจาก
การเข้าทําสัญญาในลักษณะเช่นนั้น และหากไม่มีประโยชน์เช่นนั้นวิญญูชนย่อมไม่เข้าทําสัญญา ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา หมายถึง ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาที่หาก
มีผลบังคับใช้จะทําให้ไม่สามารถบังคับใช้สัญญาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักของสัญญาได้”
5.2 ข้อเสนอแนะ
ผู้เขียนเสนอให้มีการบัญญัติกฎหมายเพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมข้อตกลงที่ขัดต่อ วัตถุประสงค์หลักของสัญญาทุกกรณีให้ใช้ได้กับสัญญาทั่วไปทุกประเภทมีเนื้อความว่า
“มาตรา 150/1 ข้อตกลงใดขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ วัตถุประสงค์หลักของสัญญา หมายถึง ประโยชน์ที่วิญญูชนพึงคาดหมายเป็นหลักจาก
การเข้าทําสัญญาในลักษณะเช่นนั้น และหากไม่มีประโยชน์เช่นนั้นวิญญูชนย่อมไม่เข้าทําสัญญา ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา หมายถึง ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาที่หาก
มีผลบังคับใช้จะทําให้ไม่สามารถบังคับใช้สัญญาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักของสัญญาได้”
โดยในการปรับใช้หลักกฎหมายตามบทบัญญัตินี้ ศาลอาจใช้ดุลพินิจได้ในการวินิจฉัย ประเด็นที่ว่า ข้อตกลงได้เป็นข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาหรือไม่เท่านั้น หากศาลเห็น ว่าข้อตกลงได้เป็นข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญาแล้วข้อตกลงนั้นย่อมมีผลเป็นโมฆะ ศาลจะใช้ดุลพินิจในการกําหนดผลของข้อตกลงเป็นอย่างอื่นไม่ได้
บรรณานุกรม
หนังสือและบทความในหนังสือ ภาษาไทย
กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง, นิติกรรม สัญญำและคํำมั่น (โครงการตําราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2565).
จิ๊ด เศรษฐบุตร, คํำอธิบำยกฎ👉มำยนิติกรรมและ👉นี้ (เล่ม 1, วิญญูชน 2512). ไชยยศ เหมะรัชตะ, กฎ👉มำยว่ำด้วยสัญญำ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2539).
ดาราพร ถิระวัฒน์, กฎ👉มำยสัญญำ: สถำนะใ👉ม่ของสัญญำปัจจุบัน และปัญ👉ำข้อสัญญำที่ไม่เป็น ธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2542).
บุญช่วย วณิกกุล (พระยาเทพวิทุร), คํำอธิบำยประมวลกฎ👉มำยแพ่งและพำณิชย์ บรรพ 1-2 มำตรำ 1-240 (ไทยพิทยา 2447).
ปันโน สุขทรรศนีย์, ประมวลกฎ👉มำยแพ่งและพำณิชย์ว่ำด้วยนิติกรรมและสัญญำ (โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2514).
ประกอบ หุตะสิงห์, กฎ👉มำยแพ่งและพำณิชย์ว่ำด้วยนิติกรรมและสัญญำ (นิติบรรณการ 2518). ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล, กฎ👉มำยแพ่ง : 👉ลักทั่วไป : คํำอธิบำยประมวลกฎ👉มำยแพ่งและพำณิชย์ มำตรำ
4-14 (นิติธรรม 2554).
พระยาเทพวิทุร, คํำอธิบำยประมวลกฎ👉มำยแพ่งและพำณิชย์เรียงมำตรำว่ำด้วยนิติกรรม ระยะเวลำ อำยุควำม (ภำค 1-2) (กําชัย จงจักรพันธ์ ผู้แก้ไขเพิ่มเติม, เดือนตุลา 2556).
ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช, ประมวลกฎ👉มำยแพ่งและพํำณิชย์ว่ำด้วยนิติกรรมและ👉นี้ เล่ม 1 (ภำค 1-2). (มุนินทร์ พงศาปาน ผู้แก้ไขเพิ่มเติม, พิมพ์ครั้งที่ 4,วิญญูชน 2561).
ศักดิ์ สนองชาติ, คํำอธิบำยประมวลกฎ👉มำยแพ่งและพำณิชย์นิติกรรมสัญญำ (พิมพ์ครั้งที่ 11,
นิติบรรณการณ์ 2557).
ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, คํำอธิบำยประมวลกฎ👉มำยแพ่งและพำณิชย์นิติกรรมสัญญำ (พิมพ์ครั้งที่ 25,
วิญญูชน 2565).
สมยศ เชื้อไทย, ควำมรู้กฎ👉มำยทั่วไป คํำอธิบำยวิชำกฎ👉มำยแพ่ง : 👉ลักทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 29,
วิญญูชน 2565).
เสริม วินิจฉัยกุล, คํำอธิบำยประมวลกฎ👉มำยแพ่งและพำณิชย์ลักษณะนิติกรรมและ👉นี้
(กรมสรรพสามิต 2515).
หยุด แสงอุทัย, กฎ👉มำยแพ่งลักษณะมูล👉นี้👉นึ่ง (โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2517).
อรุณ ภาณุพงศ์, ‘การตีความสนธิสัญญา’ ใน รวมบทควำมทำงวิชำกำรเนื่องในโอกำสครบรอบ 84 ปี ศำสตรำจำรย์สัญญำ ธรรมศักดิ์ (มูลนิธินิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2534).
<https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:147160>.
ภาษาต่างประเทศ
Beale, Hugh, Bénédicte Fauvarque-Cosson, Jacobien Rutgers, and Stefan Vogenauer.
Materials and Text on Contract Law, (3rd ed., Hart Publishing 2019).
Poole, Jill., Casebook on Contract Law (11th ed., Oxford University Press) 2012. Stoffel-Munck, Philippe., ‘The Revolution in Unfair Terms’ In The Code Napoléon
Rewritten French Contract Law after the 2016 Reforms (edited by John Cartwright and Simon Whittaker, Hart Publishing 2017).
Vogenauer, Stefan, ‘Interpretation’ In Commentaries on European Contract Laws, (edited by Nils Jansen and Reinhard Zimmermann, Oxford University Press 2018).
บทความวารสาร ภาษาไทย
จรัญ ภักดีธนากุล, ‘สรุปสาระสําคัญพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540’ 1 (2541) 1 ดุลพาห 154.
เฉลิมวุฒิ ศรีพรหม, ‘หลักการตีความสัญญา’ (2559) 72 บทบัณฑิตย์ 11-32.
วิวัฒน์ กอสัมพันธ์, ‘การตีความการแสดงเจตนา: ศึกษาช่วงการก่อนิติกรรม’ (2566)1 วารสาร บัณฑิตศึกษานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 16.
อรุณี วสันตยานันท์, ‘การตีความเอกสาร’ (2566) 1 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
<https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/498/925>.
อุกฤษ มงคลนาวิน, ‘ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน’ (2518) 32 บทบัณฑิตย์
11-32.
ภาษาต่างประเทศ
James Gordley, ‘Myths of the French Civil Code’ (1994) 3 The American Journal of Comparative Law 469,478 <https://www.jstor.org/stable/840698>.
วิทยานิพนธ์ ภาษาไทย
วิวัฒน์ กอสัมพันธ์, ‘การตีความการแสดงเจตนา: ศึกษาช่วงการก่อนิติกรรม’ (วิทยานิพนธ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2565).
อภิชาติ คงชาตรี, ‘หลักการตีความสัญญา’ วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2545). <http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/819/3/Apichart.pdf>. อรุณี วสันตยานันท์, ‘การตีความเอกสาร’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ 2565).
เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ภาษาไทย
กิตติศักดิ์ ปรกติ, ‘เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น.101)’ (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
พิชัยศักดิ์ หรยางกูร และ ณัฐนันทน์ อัศวเลิศศักดิ์, ‘หลักความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี ของ ประชาชน’ (stou.ac.th) <https://www.stou.ac.th/schools/slw/upload/ex.40701- 2.pdf>. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2566.
สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ‘สิ่งที่เกี่ยวกับสาธารณประโยชน์ ย่อมเป็นกฎหมายสูงสุด’ต้องยอม สละเพื่อประโยชน์สาธารณประโยชน์. <http://web.krisdika.go.th/data/serve/tha/ acknowledge/acknowledge_2/proverb-1.htm#:~:text=Salus%20populi% 20est%20suprema%20lex> สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2566.
อมราลักษณ์ รักษ์วงศ์, ‘สรุปสาระสําคัญพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540’ ( krisdika.go.th) <http://web.krisdika.go.th/data/lawabout/lawdetail/lawdetail_ 115.htm.> สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2566.
ภาษาต่างประเทศ
Irina Cvetkova, ‘The Abolition of the Concept of “Causa” in French Civil Law’ (2021) 5
Białostockie Studia Prawnicze, 98 <https://www.researchgate.net/publication
/357208689_The_Abolition_of_the_Concept_of_Causa_in_French_Civil_Law>.
Girgis, Jassmine, ‘Fundamental Breach and Repudiatory Breach of Contract.’
<https://ablawg.ca/2013/11/07/fundamental-breach-and-repudiatory-breach- of-contract/> 16 เมษายน 2566..
Latham & Watkins Litigation Department, ‘Cour de Cassation Applies Limitation of Liability Clauses in Case of Breach of Essential Contractual Terms’ (Client Alert) <https://www.lw.com/en/news#sort=%4 0 newsandinsightsdate%2 0
descending.> สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2553.
Rowan, Solène, “The new French law of contract,” International & Comparative Law
Quarterly 66, no. 4 (August 2017): 1-20.
<https://eprints.lse.ac.uk/75815/1/Rowan_New%20French%20law_2017.pdf.>
Yousef Mohammad Shandi and Osama Ismail Mohammad Amayreh, ‘Depriving the Debtor’s Essential Obligation of its Substance and its Remedies under the Provisions of Article 1170 of the French Civil Code,’ (2020) 2 Journal of Politics and Law 129,143 <https://www.researchgate.net/publication/341645100_ Depriving_the_Debtor's_Essential_Obligation_of_its_Substance_and_its_Remed ies_under_the_Provisions_of_Article_1170_of_the_French_Civil_Code.>.
ประวัติผู้เขียน
ชื่อ วิทวัส สารเศวต
วุฒิการศึกษา ปีการศึกษา 2558: นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562: เนติบัณฑิตไทย สมัยที่ 72 สํานักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ผลงานทางวิชาการ
วิทวัส สารเศวต. “ข้อตกลงที่ขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของสัญญา.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตร มหาบัณฑิต (กฎหมายเอกชน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2566.