การดําเนินงานโครงการวิจัยนี้ เป็นส่วนหนึ่งในการทํางานชุดนักวิชาการภายใต้สํานักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยเน้นการเสริมสร้างศักยภาพนักวิชาการให้เป็น นักวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR : Participatory Action...
รายงานวิจัยฉบับxxxxxxx รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อxxxxxxxxภายใต้ ความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
โดย xxxxx xxxxxx
xxxxxxx ศรีกังวานใจ
สนับสนุนโดย
สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
สัญญาเลขที่ RDG55E0065
รายงานวิจัยฉบับxxxxxxx รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อxxxxxxxxภายใต้ ความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
โดย xxxxx xxxxxx
xxxxxxx ศรีกังวานใจ
สนับสนุนโดย
สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ก.
คํานํา
โครงการวิจัยรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยขยายเครื่องมืองานวิจัยเพื่อ xxxxxxxxกับนักวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นโครงการที่จัดทําขึ้นเพื่อค้นหารูปแบบดําเนินงานวิจัย เพื่อxxxxxxxxภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยกับมหาวิทยาลัยราช ภัฏเลย
การดําเนินงานโครงการวิจัยนี้ เป็นส่วนหนึ่งในการทํางานชุดนักวิชาการภายใต้สํานักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อxxxxxxxx โดยเน้นการxxxxxxxxxxศักยภาพนักวิชาการให้เป็น นักวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR : Participatory Action Research) และเป็นนักปฏิบัติการ ทางสังคมที่มีบทบาทสําคัญในการนําความรู้ทางวิชาการ ลงไปปรับใช้พัฒนาxxxxxxxxร่วมกับชาวบ้าน โดย คาดxxxxว่าจุดเด่นด้านวิชาการเมื่อผนวกเข้ากับxxxxxxxxxxxxxxxxxและกระบวนการขับเคลื่อนงานแบบมี ส่วนร่วม จะเป็นพลังทวีคูณในการสร้างความรู้ใหม่ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชนxxxxxxxxxxxอย่างมี ประสิทธิภาพ
รายงานฉบับนี้เป็นรายงานฉบับxxxxxxxxxxจัดทําขึ้นภายหลังเสร็จสิ้นการดําเนินงานของ โครงการ เนื้อหาของรายงานประกอบไปด้วย 5 ส่วนหลัก ดังนี้คือ
บทที่ 1 บทนํา
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีการดําเนินงาน
บทที่ 4 ผลการวิจัย
บทที่ 5 สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ผู้เขียนใคร่ขอขอบคุณสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อxxxxxxxx และผู้
มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ที่ให้การสนับสนุนจนการดําเนินโครงการจนสําเร็จ ลุล่วงไปด้วยดี และxxxxว่าบทเรียน ประสบการณ์จากรายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้สนใจและเป็น แนวทางสําคัญเพื่อนําไปปรับใช้ในการจัดทําโครงการความร่วมมือในการสนับสนุนการวิจัยเพื่อxxxxxxxx กับหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาอื่นต่อไป
xxxxx xxxxxx
ข.
บทสรุปสําหรับผู้บริหาร
การวิจัยรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยขยายเครื่องมืองานวิจัยเพื่อxxxxxxxxกับ นักวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มีวัตถุประสงค์หลักจํานวน 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาระบบxxxxxxx เหมาะสมกับการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อxxxxxxxxในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2) เพื่อศึกษากระบวนการ
หนุนเสริมศักยภาพนักวิชาการในการทําวิจัยเพื่อxxxxxxxxxxxเหมาะสมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 3) เพื่อ สังเคราะห์ความรู้ที่เกิดขึ้นกับชุดโครงการย่อย ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราช ภัฏเลย 4) เพื่อค้นหารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อxxxxxxxxภายใต้ความร่วมมือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ในด้านวิธีการดําเนินการวิจัย โครงการนี้เป็นการประยุกต์ใช้กระบวนวิจัยเชิง ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action research) มาใช้ โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมใน การดําเนินโครงการของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งทีมพี่เลี้ยง ทีมที่ปรึกษา นักวิชาการหัวหน้าทีมวิจัย และทีมวิจัยชุมชนให้มากที่สุด โดยเริ่มตั้งแต่ การร่วมคิดออกแบบโครงการ การร่วมวางแผนกิจกรรม ร่วมปฏิบัติการ ร่วมเรียนรู้และร่วมสรุปบทเรียน เครื่องมือสําคัญที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต ประเด็นการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกกิจกรรม และประเด็นการสรุปบทเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลเน้นการ วิเคราะห์เชิงคุณภาพเพื่อตอบโจทย์ตามกรอบวัตถุประสงค์และมีการนําเสนอเป็นการเขียนบรรยายเชิง พรรณนา
ผลการศึกษาวิจัยโดยสรุป
5.1.1 ระบบxxxxxxxเหมาะสมในการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อxxxxxxxxในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ต้องพัฒนามาจากความเข้าใจเป้าหมายร่วมกันและความต้องการที่แท้จริงของผู้จัดทําข้อตกลงทั้งสอง ฝ่าย จากการศึกษาพบว่า xxxxxxxเหมาะสมควรมี 2 ระดับ คือ 1) กลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ผ่านการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยกับมหาวิทยาลัย ราชภัฏเลย 2) กลไกคณะทํางานขับเคลื่อนโครงการวิจัย ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนมหาวิทยาลัย สกว. และนักวิชาการผู้ผ่านงานวิจัยเพื่อxxxxxxxx
5.1.2 การหนุนเสริมศักยภาพนักวิชาการในการทํางานวิจัย ซึ่งเป็นการทดลองรูปแบบการ บริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อxxxxxxxxในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จากผลการศึกษาพบว่า มี กระบวนการทํางานที่แตกต่างกันอยู่ 2 ระยะคือ
5.1.2.1 การหนุนเสริมนักวิชาการในโครงการระยะที่ 1 เป็นการบริหารงานภายใต้ งบประมาณของสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มีกิจกรรมสําคัญดังนี้
1) การค้นหานักวิชาการเข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย (1) การประชุมคณะทํางานเพื่อ วางแผน (2) การประชาสัมพันธ์ผ่านระบบสื่อมหาวิทยาลัยและการxxxxxxเป็นรายบุคคล (3) การ ประชุมทําความเข้าใจแนวคิดและเงื่อนไขงานวิจัยเพื่อxxxxxxxxกับกลุ่มผู้สนใจ
ค.
2) การเสริมศักยภาพในการพัฒนาโจทย์วิจัย ประกอบด้วย (1) ประชุมผู้สนใจเพื่อเลือก ประเด็นและพื้นที่วิจัย (2) นักวิชาการลงสํารวจพื้นที่และประเด็นวิจัย (3) สนับสนุนการประชุมพัฒนา โจทย์วิจัยในพื้นที่ (4) สนับสนุนการเขียนข้อเสนอโครงการ (5) สนับสนุนการจัดเวทีพิจารณากลั่นกรอง โครงการ
3) การเสริมศักยภาพนักวิชาการช่วงการดําเนินงานวิจัย จากผลการศึกษา พบว่ามี กระบวนการเสริมศักยภาพนักวิจัยในการดําเนินงานวิจัยดังนี้ (1) การประชุมทําความเข้าใจสัญญา โครงการ (2) การประชุมเปิดตัวโครงการ (3) การฝึกอบรมเตรียมความพร้อมนักวิจัยในการเก็บข้อมูล
(4) การประชุมประจําเดือนติดตามงานนักวิจัย (5) การจัดเวทีสนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูล (6) การ ติดตามสนับสนุนงานในพื้นที่วิจัย (7) การสนับสนุนการเขียนรายงานความxxxxxxxx (8) การสนับสนุน การนําเสนอผลงานวิจัย
5.1.2.2 การหนุนเสริมนักวิชาการในโครงการระยะที่ 2 เป็นการทดลองบริหารงานภายใต้ งบประมาณของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ผลการศึกษาพบว่า การบริหารงานวิจัยเพื่อxxxxxxxxxx ยใช้ ระเบียบการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัย มีความไม่เหมาะสมกับงานวิจัยเพื่อxxxxxxxx เพราะ กระบวนการเสนอของบประมาณมีหลายขั้นตอนและใช้ระยะเวลานาน ส่งผลให้งานวิจัยในพื้นที่ไม่มี ความต่อเนื่อง และระเบียบการอนุมัติให้ทํากิจกรรมก่อนเพียง 50% xxxxxxxxxxกับการทํากิจกรรมของ งานวิจัยแบบมีxxxxxxxx xxxต้องใช้งบประมาณในการจัดกิจกรรมเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การใช้ ระเบียบการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมาใช้ได้ส่งผลให้การทํางานในรูปแบบคณะทํางาน ขับเคลื่อนโครงการต้องปิดตัวลงและxxxxxxxxxxเรียนรู้ในการบริหารงานวิจัยเพื่อxxxxxxxxร่วมกันของทุก ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
5.1.3 ชุดความรู้ที่เกิดขึ้นจากชุดโครงการสรุปได้ 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) ชุดความรู้แนว ทางการxxxxxxxxxxxป่าชุมชนดงสามขาเพื่อxxxxxxxxxxความxxxxxxxxของเศรษฐกิจชุมชน xxxxxxxxxxพบคือ การปรับใช้ความรู้เชิงเศรษฐศาสตร์ในเรื่องxxxxxx มาปรับใช้ในการวิจัยกระตุ้นให้ชุมชนเห็นคุณค่า ความสําคัญของป่าและร่วมกันบริหารจัดการป่าชุมชน 2) ชุดความรู้การจัดการความรู้xxxxxxxxxxxxxxxxx เพื่อสร้างการเรียนรู้สําหรับเด็กและเยาวชนชุมชนนาหอ จุดเด่นของความรู้ชุดนี้ คือ กระบวนการค้นหา ความรู้แบบมีxxxxxxxxxxxxความรู้บริบทชุมชน xxxxxxxxxxxxxxxxx และสถานการณ์เด็กและเยาวชน การ จัดการและถ่ายทอดความรู้ผ่านปฏิบัติการเรียนรู้xxxxxxxxxในหลักสูตรxxxxxxxx การสอนxxxxxxxxxผ่าน บุญประเพณีและการจัดทําสื่อเผยแพร่ 3) ชุดความรู้การสร้างความมั่นคงของครอบครัวโดยการมีส่วน ร่วมของชุมชน จุดเด่นของชุดความรู้นี้คือ กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวิเคราะห์ ความมั่นคงของครอบครัว ซึ่งมีเครื่องมือสําคัญ คือ การใช้แผนภาพและแผนผังชุมชนในการช่วย วิเคราะห์แบ่งระดับความมั่นคงของครัวเรือน และให้ชาวบ้านช่วยกันตัดสินใจโดยใช้ฐานข้อมูลที่ทํา ร่วมกันมา ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้นําไปสู่การร่วมกันกําหนดกิจกรรมในการทดลองปฏิบัติการแก้ไขปัญหา ร่วมกันของชุมชน 4) ชุดความรู้การอบรมเตรียมความพร้อมนักวิจัย เป็นชุดกิจกรรมในการพัฒนาเตรียม
ความพร้อมนักวิจัยก่อนการเก็บข้อมูล ประกอบด้วยชุดกิจกรรมย่อยจํานวน 4 ชุด คือ ชุดกิจกรรมกลุ่ม xxxxxxxx ชุดกิจกรรมประเมินความต้องการและจัดปรับกําหนดการ ชุดกิจกรรมทบทวนกระบวนการวิจัย เพื่อxxxxxxxx และชุดกิจกรรมการออกแบบเครื่องมือวิจัย ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดใช้หลักการฝึกอบรมเชิง ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้เข้าอบรมจะต้องร่วมxxxxxxxทําทุกขั้นตอนโดยมีงานตามวัตถุประสงค์ โครงการวิจัยตนเองเป็นกรอบงานในการฝึกปฏิบัติการ ใช้ระยะเวลาดําเนินการจํานวน 2 วัน กลุ่มเป้าหมายจํานวน 50 คน
ข้อเสนอแนะ 1) ในการจัดทําโครงการความร่วมมือในครั้งต่อไป ควรมีการวิเคราะห์ความ ต้องการและความเข้าใจของผู้ร่วมจัดทําความร่วมมืออย่างชัดเจนก่อน 2) ในการจัดทําความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยในครั้งต่อไป ควรมีการจัดพิธีกรรมลงนามอย่างเป็นทางการ 3) ในการxxxxxxxxงานวิจัยเพื่อ xxxxxxxxในมหาวิทยาลัย ควรมีการจัดตั้งกลไกคณะทํางานขับเคลื่อนโครงการแยกออกมาจากกลไกการ บริหารงานวิจัยxxxxของมหาวิทยาลัย และมีการกําหนดใช้ระเบียบการบริหารงานวิจัยxxxxxxxxxxx ยืดหยุ่นและมีความสอดคล้องกับการบริหารงานวิจัยเพื่อxxxxxxxx
สารบัญ
เรื่อง | หน้า |
คํานํา | ก |
บทสรุปสําหรับผู้บริหาร | ข |
สารบัญ | จ |
บทที่ 1 บทนํา | |
1.1 ความเป็นมาและความสําคัญ 1.2 คําถามวิจัย 1.3 วัตถุประสงค์ 1.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ | 1 2 3 4 5 |
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง | |
2.1 แนวคิดการวิจัยเพื่อxxxxxxxx | 5 |
2.2 แนวคิดการบริหารจัดการ | 9 |
2.3 แนวคิดการทําบันทึกความเข้าใจ | 15 |
2.4 กรอบแนวคิดในการวิจัย | 22 |
บทที่ 3 วิธีการดําเนินงานวิจัย | |
3.1 ขอบเขตการวิจัย | 23 |
3.2 วิธีการและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล | 24 |
3.3 ขั้นตอนและวิธีการดําเนินการวิจัย | 24 |
3.4 การตรวจสอบข้อมูล | 25 |
3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล | 26 |
บทที่ 4 ผลการวิจัย | |
4.1 ระบบกลไกการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อxxxxxxxxในมหาวิทยาลัย | 27 |
4.2 กระบวนหนุนเสริมศักยภาพนักวิชาการในการทําวิจัยเพื่อxxxxxxxx | 34 |
4.3 ชุดความรู้ภายใต้โครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย | 45 |
4.4 รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อxxxxxxxxภายใต้ความ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย | 52 |
4.5 ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากโครงการ | 55 |
ฉ.
สารบัญ (ต่อ) | |
เรื่อง | หน้า |
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและเสนอแนะ | |
5.1 สรุปผล | 59 |
5.2 การอภิปรายผล | 60 |
5.3 บทเรียนและข้อเสนอแนะ | 61 |
บรรณานุกรม | 63 |
ภาคผนวก ก ตัวอย่างบันทึกกิจกรรม | 65 |
ภาคผนวก ข ประวัติทีมวิจัย | 99 |
สารบญภาพประกอบ | ||
ภาพที่ | หน้า | |
1 | แสดงการประชุมหารอื รายละเอยดความรว่ มมอื กบผอู้ ˚านวยการสถาบนวจิ ยั และพฒั นา | 28 |
2 | การประชุมพฒั นาโจทยว์ จิ ยั ในพนื ท่ี | 36 |
3 | กจิ กรรมลงตดตามสนับสนุนงานวจิ ยในพนื ท่ี | 39 |
4 | กจิ กรรมเสรมิ ศกยภาพนกวชาการในการวเคราะหข์ อ้ มxx | 40 |
5 | เวทรายงานความxxxxxxxxโครงการวจิ ยั ชุดความรว่ มมอื ฯ | 41 |
6 | แสดงการใชผ้ งั ชุมชนในการสรา้ งการมส่วนร่วมในการวเิ คราะหความมน่ xx ของครอบครวั | 50 |
ช.
สารบญั แผนภมู ิภาพ | ||
ลา˚ ดบที่ | หน้า | |
1 | แสดงกรอบแนวคดในการวจิ ยั | 22 |
2 | แสดงแผนผงกระบวนการลงนามความรว่ มมอื | 29 |
3 | แสดงรปแบบความรว่ มมอื แบบแบ่งส่วนกนรบผดชอบของหน่วยงาน | 52 |
4 | แสดงรปแบบการบรหารจดั การงานวจิ ยภายใตโครงการความรว่ มมอื | 53 |
5 | แสดงเมตรกซว์ เคราะหxx xม้ ส่วนไดเสยในโครงการ | 55 |
6 | แสดงวงจรการบรหิ ารงานแบบมส่วนรว่ ม PPDCA | 61 |
สารบญตาราง | ||
ตารางที่ | หน้า | |
1 | แสดงบนทกความรว่ มมอื ระหว่างมหาวทยาลยxxxxxxxxxxxกบส˚านกงาน กองทุนสนบสนุนการวจิ ยั | 17 |
2 | แสดงบนทกความรว่ มมอื ระหว่างมหาวทยาลยแม่โจก้ บั สา˚ นกงานกองทุน สนบสนุนการวจิ ยั | 18 |
3 | แสดงบนทกความรว่ มมอื ระหว่างสถาบนการท่องเทยี วโดยชุมชนกบั สา˚ นกงานกองทุนสนบสนุนการวจิ ยั | 19 |
4 | แสดงบนทกความรว่ มมอื ระหว่างศูนยส์ งคมพฒั นา สงฆxxxxxxxxxxx กบั สา˚ นกงานกองทุนสนบสนุนการวจิ ยั | 20 |
5 | แสดงบนทกความรว่ มมอื ระหว่างมหาวทยาลยราชภฏเลยกบสา˚ นกั งาน กองทุนสนบสนุนการวจิ ยั | 31 |
6 | แสดงขน้ ตอนการสนับสนุนทุนวจิ ยตามระเบยบมหาวทิ ยาลยั ราชภฏเลย | 44 |
7 | แสดงชุดกจิ กรรมในการเตรยมความพรอ้ มนกวจิ ยก่อนเกบขอ้ มxx | 51 |
1
บทที่ 1 บทนํา
1.1 ความเป็นมาของปัญหา
ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ มาตรา 7 กําหนดให้มหาวิทยาลัยราชภัฎเป็น สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาxxxxxxxx และมาตรา 8 กําหนดให้มีภาระหน้าที่หลัก 7 ประการ คือ 1) การ
ผลิตxxxxxx 2) สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการบนฐานxxxxxxxxxxxxxxxxx 3) การสร้างความสํานึกในคุณค่า
วัฒนธรรมxxxxxxxx 4) สร้างความxxxxxxxxของชุมชนxxxxxxxx 5) สร้างความxxxxxxxxของวิชาชีพครู 6) สร้าง ความร่วมมือในการพัฒนาxxxxxxxx และ 7) ศึกษาวิจัยและxxxxxxxxการพัฒนาxxxxxxxxตามแนวพระราชดําริ ดังนั้นโดยเป้าหมาย ทิศทาง และภาระหน้าที่งานของมหาลัยวิทยาลัยราชภัฏ ถือได้ว่าเป็น สถาบันxxxxxxxxxxxxมีความใกล้ชิดกับชุมชนxxxxxxxxมากที่สุด ตั้งอยู่ครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่จังหวัดของ ประเทศ มีการจัดการเรียนการสอนหลายสาขาวิชา มีนักวิชาการหลากความรู้ความxxxxxx และนักวิชาการ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ นับได้ว่าเป็น “ครู” หรือเป็นผู้ทรงความรู้ในสายตาชาวบ้านคนชนบทและประชาชน ที่ด้อยโอกาสในการศึกษาในระบบxxxxxxxxxอยู่ทั่วประเทศ ความรู้และทฤษฏีที่ใช้ในการเรียนการสอนใน มหาลัยราชภัฏ ในความเป็นจริงเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับxxxxxxxx xxxxxxนํามาประยุกต์ใช้กับการแก้ไขปัญหา พัฒนาxxxxxxxxxxxอย่างหลากหลายและล้วนแต่มีความเชื่อมโยงกับความรู้xxxxxxxxxxxxxxxxxแบบทั้งสิ้น ดังนั้น เป้าหมายของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่ว่าด้วย “ราชภัฏเพื่อxxxxxxxx อุดมศึกษาเพื่อประชาชน” อันเป็น พื้นฐานไปสู่การสร้าง สังคมความรู้ และ ชุมชนความรู้ ในxxxxx xxxมีสอดคล้องอย่างลงตัวกับแนวคิดการ
วิจัยเพื่อxxxxxxxxxxxเน้นการสร้างxxxxxเพื่อพัฒนาxxxxxxxxอย่างยั่งยืน
ในปี พ.ศ. 2553 สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้ขยายการ ดําเนินงานเข้ามาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยอย่างไม่เป็นทางการภายใต้โครงการ “รูปแบบการขยาย เครื่องมือวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับนักวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย” โดยมีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้าง นักวิชาการให้เป็นนักวิชาการเพื่อสังคมผ่านกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยคาดหวังว่านักวิชาการกลุ่มนี้ จะเป็นกําลังสําคัญในการทํางานวิชาการเพื่อบริการชุมชนและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนท้องถิ่นต่อไป จาก การดําเนินงาน มา 2 ปี ได้เกิดโครงการวิจัยจํานวน 7 โครงการ มีนักวิชาการเข้ามาร่วมงาน 10 คน และได้ ค้นพบว่า งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมในเสริมสร้างศักยภาพนักวิชาการมหาวิทยาลัยราช ภัฏเลยในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาชุมชนท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง ผลของการดําเนินงานทําให้เกิดการ เรียนรู้ร่วมกันเป็นอย่างดีระหว่างนักวิชาการและชุมชน เกิดแนวทางการแก้ปัญหาชุมชนที่เป็นรูปธรรม และ
มีการปรับใช้กับนักศึกษาให้เข้ามาร่วมเรียนรู้ในกระบวนการวิจัย ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมาย “มหาวิทยาลัย เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” และภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาเป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม การดําเนินงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับนักวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ก็พบข้อจํากัด บางส่วนที่เป็นอุปสรรคสําคัญ ทําให้การทํางานไม่สามารถเป็นไปตามที่คาดหมายไว้อย่างสมบูรณ์ จากการ ถอดบทเรียน 2 ปี การดําเนินงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นชุดนักวิชาการเลยในวันที่ 20 มีนาคม 2555 ได้พบ อุปสรรคที่เป็นข้อจํากัดสําคัญหลายประการดังนี้ 1) อาจารย์ในมหาลัยราชภัฏมีภาระงานสอนมาก รวมถึง งานบริหารจัดการก็มากเช่นกัน อันเกี่ยวเนื่องกับนโยบายการศึกษาสมัยใหม่ที่เน้นการพัฒนาคุณภาพสถาบัน โดยเน้นกระบวนการบริหารจัดการที่ซับซ้อน ดังนั้นการทํางานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจึงเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญ แม้จะสอดคล้องกับเป้าหมายของสถาบันก็ตาม 2) อาจารย์มหาลัยราชภัฏเลยส่วนใหญ่มีความคุ้นเคยกับ งานวิจัยพื้นฐานเดิมที่เน้นการศึกษาตามกรอบความคิดทฤษฏีและเน้นเชิงปริมาณ จึงเป็นการยากที่จะทํา ความเข้าใจในแนวคิดและกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการวิจัยชุมชนแบบมีส่วนร่วม ซึ่งต้องอาศัย เวลาในการเรียนรู้แสวงหาประสบการณ์ใหม่และการสนับสนุนอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง 3) อาจารย์ส่วนใหญ่ มีประสบการณ์รับทุนการวิจัยจากแหล่งทุนอื่น ซึ่งมีระบบการบริหารจัดการไม่ยุ่งยากซับซ้อน งบประมาณใน การสนับสนุนการวิจัยก็มีจํานวนมาก การควบคุมคุณภาพก็เป็นไปตามพื้นฐานงานวิจัย ซึ่งเป็นแนวทางการ วิจัยที่อาจารย์ส่วนใหญ่มีความชํานาญในการดําเนินการอยู่แล้วในเบื้องต้น ในขณะที่งาน วิจัยเพื่อท้องถิ่น ของ สกว. มีความยุ่งยากเข้มงวดและมีจํานวนงบประมาณสนับสนุนที่จํากัด 4) อาจารย์ส่วนหนึ่งที่มี ประสบการณ์ทํางานวิจัยในหลายรูปแบบมาแล้วมองว่า งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นต้องใช้ทั้งเวลาและงบประมาณ ต้องทุ่มเทเสียสละจึงจะประสบผลสําเร็จในการทํางานวิจัย จึงเป็นเรื่องทําใจได้ยากสําหรับคนที่ไม่มีใจรักงาน แนวนี้ 5) มีเพียงอาจารย์บางกลุ่มเท่านั้นที่สนใจทํางานวิจัยชุมชนแบบมีส่วนร่วม และยังเห็นว่าเป็นเรื่องที่ท้า ทายอยากเรียนรู้ อยากมีประสบการณ์ และชุมชนได้ประโยชน์จริง แต่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และการ สนับสนุนจากที่ปรึกษา 5) หากจะให้อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยสนใจทํางาน วิจัยชุมชนแบบมีส่วนร่วม ในแบบงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในปริมาณที่มากขึ้น ต้องสนับสนุนปัจจัยต่างๆ อย่างรอบด้านครอบคลุมและสร้าง แรงจูงใจพอสมควรทั้งจาก สกว.และสถาบันการศึกษาเอง
จากปัจจัยเงื่อนไขความสอดคล้องกันของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นและเป้าหมายของมหาวิทยาลัยรวมถึง
ความสําเร็จและอุปสรรคในการดําเนินงานวิจัยท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยที่ผ่านมา 2 ปี ดังที่ได้กล่าว ในข้างต้น จึงทําให้เกิดแนวคิดในการสร้างความมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย กับ สํานักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น เพื่อค้นหารูปแบบการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ เหมาะสมในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ซึ่งจะเป็นแนวทางสําคัญในการส่งเสริมงานวิจัยเพื่ อท้องถิ่นใน สถาบันการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และสามารถตอบสนองเป้าหมาย “มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” ได้ อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดช่องทางให้อาจารย์ และนักวิชาการผู้สนใจทํางานวิจัยเพื่อสังคมได้
นําเครื่องมือวิจัยเพื่อท้องถิ่นไปปรับใช้ในการเรียนการสอนและการบริการชุมชนท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไป
1.2 คําถามวิจัย
1.2.1 ระบบกลไกที่เหมาะสมกับการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ควรเป็นอย่างไร
1.2.2 กระบวนการหนุนเสริมศักยภาพนักวิชาการในการทําวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่เหมาะสมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ควรเป็นอย่างไร
1.2.3 เกิดชุดองค์ความรู้ใหม่อะไรบ้าง ในการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับนักวิชาการ
1.2.4 รูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภายใต้ความ ร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ควรเป็นอย่างไร
1.3 วัตถุประสงค์
1.3.1 เพื่อศึกษาระบบกลไกที่เหมาะสมกับการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราช
ภัฏเลย
1.3.2 เพื่อศึกษากระบวนการหนุนเสริมศักยภาพนักวิชาการในการทําวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่เหมาะสม
กับมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
1.3.3 เพื่อสังเคราะห์ความรู้ที่เกิดขึ้นกับชุดโครงการย่อย ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
1.3.4 เพื่อค้นหารูปแบบการการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภายใต้ความ ร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
1.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.4.1 ได้ระบบกลไกที่เหมาะสมกับการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
1.4.2 ได้ชุดความรู้กระบวนการหนุนเสริมศักยภาพนักวิชาการในการทําวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่เหมาะสม กับมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
1.4.3 ได้ชุดความรู้ที่เกิดขึ้นในชุดโครงการย่อยอย่างน้อย 3 เรื่อง
1.4.4 ได้รูปแบบการการบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภายใต้ความ ร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
1.4.5 มีนักวิชาการเข้าร่วมเรียนรู้กระบวนการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นอย่างน้อย 10 คน
1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ
1.5.1 การบริหารจัดการ หมายถึง การบริหารจัดการงานวิจัย เพื่อท้องถิ่นที่เป็นชุดโครงการที่อยู่ ภายใต้โครงการบันทึกความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยกับสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
1.5.2 งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น หมายถึง การวิจัยเชิงกระบวนการที่เน้นชุมชนเป็นฐานสําคัญ (Community Based Research : CBR) ยึดหลักการมีส่วนร่วม โจทย์วิจัยและทีมวิจัยมาจากชุมชนเจ้าของ ปัญหา และเน้นการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การสร้างปัญญาและความเข้มแข็ง ให้กับชุมชนท้องถิ่น
1.5.3 นักวิชาการหมายถึง อาจารย์หรือพนักงานราชการ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย ราชภัฏเลย
1.5.4 ชุมชนวิจัย หมายถึง หมู่บ้านหรือชุมชนที่เข้าร่วมโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยเป็นพื้นที่ เป้าหมายในการปฏิบัติการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาความต้องการของชุมชนและสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน
1.5.5 ทีมวิจัยชุมชน หมายถึง ทีมวิจัยที่เป็นคนในชุมชนวิจัยที่มาร่วมงานวิจัยกับทีมนักวิชาการ
ทีมวิจัยชุมชนอาจหมายรวมถึง ตัวแทนหน่วยงาน ข้าราชการในท้องถิ่น ที่เข้ามาร่วมเป็นทีมวิจัย
5
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภายใต้ความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ได้มีการทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการกําหนด กรอบการวิจัย ดังนี้
2.1 แนวคิดวิจัยเพื่อท้องถิ่น
2.2 แนวคิดการบริหารจัดการ
2.3 การบันทึกความเข้าใจ (MOU
2.4. กรอบความคิดการวิจัย
2.1 แนวคิดการวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา งานวิจัยในประเทศไทย มักถูกตั้งโจทย์จากคนนอกทั้งที่เป็นนักวิชาการ หรือหน่วยงานต่างๆ เพียงเพื่อทดสอบทฤษฎีหรือต้องการหาคําตอบบางอย่าง ที่กลุ่มคนเหล่านั้นสนใจ หรือ เป็นการเข้าไปทําเพื่อกําหนดนโยบายในการคลี่คลายปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ แต่ก็ยังเป็นที่กังขาว่า ผลงานวิจัย ได้ถูกนําไปใช้ให้เป็นประโยชน์กับ คนส่วนใหญ่หรือไม่ สามารถตอบคําถามในชุมชน และนําไปแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่ เพราะหลายๆ ปัญหา ยังไม่ได้รับการแก้ไข และในบางปัญหากลับดูเหมือนว่าจะรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากขาดการ คํานึงถึงว่า ชุมชนต้องการจะคลี่คลายปัญหาในสิ่งที่กลุ่มคนภายนอกเข้าไปศึกษาหรือไม่ กล่าวคือ ผู้ที่ เกี่ยวข้องมักจะไม่ได้นํางานวิจัยไปใช้ หรือไม่ตอบสนองกับปัญหาของชุมชนนั่นเอง
สํานักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงพยายามสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ในการสนับสนุน งานวิจัย คือ “ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม ที่จะทําวิจัย โจทย์ควรมาจากชุมชนท้องถิ่น ทําแล้วก่อให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงในชุมชน ทําให้คนในชุมชน ได้เรียนรู้และเก่งขึ้น” บนฐานคิดตามความหมาย การวิจัยของ ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ที่ได้กล่าวไว้ว่า “วิจัยที่แท้จริงนั้น จะต้องเป็นการวิจัย ที่หมายความถึงการแสวง คําตอบที่เป็นระบบเปิด และเรื่องของการพัฒนาจะต้องตั้งโจทย์ที่เป็นระบบเปิด การทํางานวิจัยในรูปแบบนี้ เราจะต้องมองเงื่อนไข ศักยภาพ เพื่อที่จะให้ท้องถิ่น สามารถพัฒนาตัวเองต่อไปได้” ท้ายที่สุดแล้ว เมื่อมี งานวิจัยมีข้อมูลและประสบการณ์จากหลายๆ พื้นที่ หลายๆ ชุมชนทั่วประเทศเพียงพอ ก็คาดว่าจะสามารถ นําไปสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ เพื่อผลักดัน สู่การเปลี่ยนแปลงนโยบาย ในระดับภาค ระดับประเทศ ทําให้ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นคลี่คลายในทางที่ดีขึ้น
ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นที่มาของการวิจัยเพื่อท้องถิ่นหรือ Community Based Research (CBR) ที่ เป็นการปรับเอาเครื่องมือ เทคนิค วิธีการ ของการวิจัยหรือการศึกษาในหลายๆ แบบมาปรับใช้ให้เหมาะสม กับแต่ละโครงการ โดยมีจุดเน้นอยู่ที่เปูาหมายของการวิจัย นั่นคือ “การสร้างปัญญา/ความเข้มแข็งให้กับ ชุมชนวิจัยเป็นหลัก” สําหรับแนวคิดการวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้มีนักวิชาการ ได้สะท้อนความเห็นไว้หลากหลาย มุมมอง ดังนี้
2.1.1 ความสําคัญของการวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ความสําคัญของการวิจัยเพื่อท้องถิ่นในแง่ความยั่งยืนของชนบทและสังคมไทย ความรู้เป็นสิ่ง สําคัญนําการพัฒนา ดังนั้นการพัฒนาสังคมไทยต้องมีการปรับวัฒนธรรม จากวัฒนธรรมอํานาจไปสู่ วัฒนธรรมความรู้ จึงจะแก้ปัญหาได้ วัฒนธรรมความรู้มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ 1) มีฉันทะในเรื่อง ความรู้ 2) มีความสามรถในการสร้างความรู้ได้ 3) ใช้ความรู้ในการดํารงชีวิตและการทํางาน 3) ได้รับ ประโยชน์ คือเกิดผลดีจากการใช้ความรู้ และ 5) มีความสุขจากกระบวนการความรู้ทั้งหมด เป็นแรงจูงใจ วกกลับไปทําให้มีฉันทะในเรื่องความรู้มากขึ้น (ประเวศ วะสี, 2544)
การพัฒนาที่ผ่านมาเป็นแบบเชิงเดี่ยว คือเป็นการพัฒนาที่ทําให้คนคิดและเป็นแบบเดียวกัน เวลาเกิดวิกฤติก็วิกฤติเหมือนกัน มันเป็นโลกาภิวัติ ลดทางเลือกของคนลงเรื่อยๆ ขณะเดียวกันเป็นการดึง เอาอํานาจการควบคุมทรัพยากรจากคนท้องถิ่นไปรวมศูนย์ที่รัฐส่วนกลาง คนก็ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ใน ส่วนการวิจัยที่ผ่านมาก็เช่นกัน เป็นการวิจัยกระแสหลัก ที่มุ่งเน้นโครงสร้างและหน้าที่ คือ ทําให้คนเป็น ปึกแผ่น ยอมรับในอํานาจและอยู่ร่วมกันตามความหมายของผู้ปกครอง เป็นการวิจัยเพื่อการควบคุมไม่ใช่ วิจัยเพื่อการปลดปล่อย อย่างไรก็ตามความยั่งยืนของสังคมทั้งหมดขึ้นอยู่กับความยั่งยืนของสังคมชนบท ดังนั้น ควรคํานึงถึง 8 องค์ประกอบด้วยกัน คือ 1) ทรัพยากรธรรมชาติ 2) โครงสร้างทางกายภาพ
(infrastructure) 3) อาชีพการเกษตร 4) อาชีพนอกการเกษตร 5) เงินทุนและเครดิต และมี 3 องค์ประกอบ ที่อยู่ตรงกลาง คือ 1) การมีองค์กรชุมชน 2) การเรียนรู้ และ 3) ตัวความรู้ (ประเวศ วะสี, 2544 ; อานันท์ กาญจนพันธุ์, 2545)
การวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยที่เน้น กระบวนการ ไม่เน้นเปูาหมาย แต่เป็นกระบวนการที่จะนําไปสู่ขีดความสามารถในการพัฒนาตนเอง ไม่ใช่ เป็นผู้ที่คอยแต่รับผลบวกของการพัฒนา เปูาหมายของการวิจัยเพื่อท้องถิ่นมี 3 ประการด้วยกัน คือ เพื่อให้ ท้องถิ่นพัฒนาตนเองได้ พึ่งตนเองได้ และพัฒนาอย่างยั่งยืน และแนวคิดเกี่ยวกับลักษณะของงานวิจัยเพื่อ ท้องถิ่นว่า ต้องพิจารณาดังนี้ (เสน่ห์ จามริก, 2544 อ้างใน สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2546 : 2-3) 1) การวิจัยเพื่อท้องถิ่นมีความหมายเชิงพลวัต หมายถึง การเปลี่ยนแปลง และพัฒนาศักยภาพของ ท้องถิ่น และสิ่งที่เป็นพลังในการพัฒนาเปลี่ยนแปลงก็คือ ตัวมนุษย์ 2) การวิจัยท้องถิ่นไม่ใช่เป็นการวิจัยที่ปิด กั้นตนเองจากโลกภายนอก แต่ต้องเป็นการวิจัยด้วยทัศนวิสัยที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับบริบท/กระแส โลกาภิวัตน์ 3) มิติงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น มี 3 มิติ คือ (1) มองจากฐานทรัพยากรเขตร้อน (2) คนกับชุมชน และ (3) ภูมิปัญญา ต้องฟื้นภูมิปัญญาและแปลงให้เป็นทรัพย์สินทางปัญญา 4) วิจัยเพื่อท้องถิ่นจากฐาน วัฒนธรรมการเรียนรู้จากภายในของตนเอง เพื่อเข้าไปสัมพันธ์ คัดสรรวิทยาการจากภายนอกได้ การวิจัย ท้องถิ่นจะต้องมีทัศนวิสัยที่จะเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายที่มีปฏิสัมพันธ์กับชนชั้นกลางด้วย 5) วิจัยท้องถิ่นใน มิติความสัมพันธ์กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเชียงใต้ เป็นการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับกลุ่มฐานรากใน ประเทศเพื่อนบ้าน
จากการศึกษาเอกสารความสําคัญของการวิจัยเพื่อท้องถิ่นทําให้ผู้วิจัยพบว่า การพัฒนาในปัจจุบันมี ความจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ความรู้นําการพัฒนา และความรู้ที่ใช้ได้จริงควรเป็นความรู้มือหนึ่งที่คนใน ท้องถิ่นค้นหาและนํามาพัฒนาท้องถิ่นตนเอง ดังนั้นการวิจัยที่สอดคล้องควรเป็นการวิจัยที่มุ่งกระบวนการ
มากกว่าการมุ่งเปูาหมาย ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงจะมุ่งดําเนินการตามแนวคิดการวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Community based research : CBR)
2.1.2 คุณลักษณะของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ในด้านคุณลักษณะของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ปิยะวัติ บุญหลง (2543) ได้นําเสนอลั กษณะ ของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ไว้ดังนี้ 1) เป็นงานที่มีคําตอบอยู่ในชุมชนท้องถิ่น โดยผ่านกระบวนการวิจัย
2) เป็นงานวิจัยที่มีลักษณะเฉพาะเน้นการวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาของชุมชนชุมชนโดยผ่านกระบวนการ เรียนรู้ร่วมกัน 3) เป็นงานที่ให้ความสําคัญกับบริบทของพื้นที่เป็นสําคัญภายใต้ปัจจัยเงื่อนไขอันจํากัดของ ชุมชน 4) เป็นงานที่สามารถขยาย และทําซ้ํา/ผลิตซ้ําได้หากมีความจําเป็นตามบริบทของพื้นที่และเงื่อนไข รวมทั้งปัจจัยอันจํากัดของชุมชนที่มีความคล้ายคลึงกัน 5) งานมักประกอบด้วยสองส่วน คือ ศึกษาสภาพที่ เป็นอยู่และทดลองปฏิบัติการ 6) งานที่มีลักษณะเครือข่ายการทํางานแบบ Area-based research
7) มุ่งเน้นการเกิดเปูาหมายย่อย 5 ระดับ คือ สร้างองค์ความรู้ใหม่ สร้างกระบวนการเรียนรู้ สร้างนักวิจัย ชุมชน ปฏิบัติการทางสังคม และสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายและมาตรการของชุมชน
8) โครงการวิจัย เป็นเครื่องมือในการทํางานของชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้เข้ามาร่วมกระบวนการวิจัยทั้งหมด และเห็นผลจริง เพื่อนําไปสู่การแก้ไขปัญหาของชุมชนและท้องถิ่น
การวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ทางสังคม เพื่อจัดปรับความสัมพันธ์ใหม่ทาง สังคมด้วย ดังนั้น 1) จะคิดและทําคนเดียวไม่ได้ 2) จะต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์ 3) จะต้องมีการแลกเปลี่ยน และโต้ตอบ 3) จะต้องมีความร่วมมือจากคนหลายระดับ เพราะไม่มีใครอยู่โดดเดี่ยว และ 4) จะต้องมีมิติ เชิงซ้อน เนื่องจากความรู้ต่างๆ มีความขัดแย้งกันอยู่ จึงจําเป็นต้องวิพากษ์วิจารณ์หลายระดับ ไม่มองเฉพาะ ปัญหาที่เป็นปลายเหตุเท่านั้น (อานันท์ กาญจนพันธุ์, 2545)
นอกจากนี้จากงานสังเคราะห์งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของ กาญจนา แก้วเทพ (2552: 7-14) ได้อธิบายคุณลักษะของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Community Based Research หรือ CBR) ไว้อย่างชัดเจน 10 ประการ คือ
1) เปูาหมายของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสูงสุดอยู่ที่ “การพัฒนาตัวนักวิจัย” ส่วนความรู้ที่เป็น ผลจากการวิจัยนั้น จะมิใช่ความรู้แบบที่มีคุณค่าอยู่ในตัวเอง (in its own sake) หากทว่าจะต้องเป็น "ความรู้ซึ่งมีคุณค่าอยู่ที่การนําไปแก้ไขปัญหา/หรือพัฒนาท้องถิ่น"
2) เมื่อชาวบ้านมาเป็นนักวิจัย จุดเปลี่ยนที่ผู้เขียนคิดว่า "เป็นจุดพลิกผันที่สําคัญที่สุด" ของ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ก็คือ การเปลี่ยนบทบาทของชาวบ้าน (role shifting) ในกระบวนการวิจัยจากที่เคย เป็น "ตัวประกอบ/กลุ่มตัวอย่าง" มาเป็น "พระเอก-นางเอก/นักวิจัย
3) การวิจัยเพื่อท้องถิ่นเน้นกระบวนการติดตั้งปัญญา/วิธีคิดของนักวิจัย การกล่าวถึง คุณลักษณะข้อนี้ก็เพื่อเป็นการตอกย้ําอีกครั้งหนึ่งตามคําขวัญของ CBR ที่ว่า การวิจัยแบบ CBR นั้นเป็น กระบวนการติดตั้งปัญญา/ยกระดับวิธีคิดให้แก่ชาวบ้านที่เข้ามาร่วมงานวิจัย
4) การออกแบบโครงสร้างและกลไกเพื่อการหนุนช่วย โครงสร้างของสกว.ท้องถิ่นนั้นจะมี ลักษณะทวิลักษณ์ (duality) กล่าวคือ ในการบริหารจัดการองค์กร จะมีทั้ง "กรอบ" ที่ระบุ/กําหนดเอาไว้ อย่างชัดเจน แต่ในเวลาเดียวกันก็มี "ความยืดหยุ่น" (flexibility) เมื่อเวลาลงมือปฏิบัติ
5) คุณค่าสําคัญของงานวิจัย CBR - กลไกใหม่ในการกระจายปัญญาสู่ท้องถิ่น
6) งานวิจัย CBR มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ/บูรณาการสูง ปัจจุบันนี้เริ่มมีกระแสการ ดําเนินการวิจัยเป็นชุดโครงการที่รวมเอานักวิชาการจากหลายสาขาวิชามาทํางานร่วมกัน เฉพาะอย่างยิ่ง งานวิจัยที่เริ่มจากปัญหาชุมชนเป็นหลัก
7) การใช้กระบวนการแบบการจัดการความรู้ "KM" เพื่อปรับระดับฐานความรู้ CBR จึงได้ นําเอาวิธีการแสวงหาความรู้แบบ Knowledge management - KM มาทดแทนการอ่านทบทวน วรรณกรรม ในกิจกรรมของงานวิจัย จึงมักพบรูปแบบการจัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนระหว่างผู้มีประสบการณ์ การดูงานกรณีที่สําเร็จ (best practice) การเชิญผู้มีประสบการณ์มาเป็นวิทยากร เป็นต้น
8) CBR เป็นงานวิจัยที่เน้นการใช้ประโยชน์ได้จริง เป็นงานวิจัยที่เริ่มต้นจาก "ปัญหาในชีวิต ของชาวบ้านนักวิจัย" (problem-based research) ดังนั้น หลังจากผ่านขั้นตอนการพัฒนาโจทย์ การสร้าง เครื่องมือ การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว จะต้องมีข้อเสนอแนะที่ถูกนําไปทดลองปฏิบัติและติดตาม ผลจนถึงจุดหมายปลายทาง ด้วยเหตุนี้ CBR จึงเป็น action research ที่เจ้าของปัญหาเป็นคนลงมือแก้ไข เอง (โดยอาศัยการร่วมมือจากภายนอก)
9) งานวิจัย CBR ต้องมีคุณสมบัติเป็น"Research and Development" (R&D) หรือ "Development and Research" (D&R) แล้วแต่น้ําหนักสัดส่วนว่าจะเป็นการวิจัยหรือการพัฒนามากกว่า กัน
10) การสร้างความเข้าใจร่วมกัน (shared understanding) เกิดขึ้นตลอดเส้นทางของ กระบวนการวิจัยของ CBR เช่น "การคืนข้อมูลให้ชุมชน" ให้ชุมชนตรวจสอบ/แสดงความคิดเห็นต่อการ วิเคราะห์ และสร้างความเข้าใจร่วมกัน
2.1.3 หลักการสําคัญของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเกิดขึ้นภายใต้คําถามว่า “ทําอย่างไรให้งานวิจัยแก้ปัญหาชาวบ้านได้” โดยศาสตราจารย์ ดร.ปิยวัติ บุญ-หลง ได้ให้หลักการสําคัญของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นว่า “งานวิจัยต้อง แก้ปัญหาชาวบ้านได้” โดยมีสมมุติฐาน 3 ประการ ดังนี้ 1) ปัญหาและโจทย์วิจัย (research question) ต้องมาจากชาวบ้านหรือเป็นความต้องการของชาวบ้าน 2) มีปฏิบัติการ (action) เพื่อแก้ปัญหา หรือ มีการทดลองดําเนินการเพื่อแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้ที่ศึกษาร่วมกันมาใช้วางแผนงาน 3) การมีส่วนร่วม (participation) ของชุมชนในกระบวนการวิจัย หรือชาวบ้านร่วมทีมวิจัย (สํานักงานกองทุนสนับสนุนการ วิจัย, 2546: 7-10)
โดยสรุปแนวคิดและเป้าหมายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น สามารถสรุปแนวคิดในเชิงเปูาหมาย
กว้างๆ ได้ 4 ประการ ดังนี้ 1) คน (man) เป็นเรื่องของการสร้างคน การพัฒนาศักยภาพบุคคล (human resource management) ในแง่การพัฒนาความคิด มโนทัศน์ วิสัยทัศน์ และกระบวนทัศน์ใหม่ต่อการ พัฒนาสังคม ที่มีพื้นฐานสอดรับกับสังคมแห่งการเรียนรู้ การมองมนุษย์ทุกคนอย่างมีคุณค่า มีศักยภาพ และ
ได้รับโอกาสการพัฒนาอย่างเท่าเทียม รวมถึงขีดความสามารถในกระบวนการวิจัยทั้งระบบ ระบบฐานข้อมูล เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และการประสานศักยภาพต่างๆ เป็นต้น 2) ความรู้ (knowledge) เป็นเรื่องของการ สร้าง สังคมความรู้แห่งอนาคต ให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน หมายถึง กระบวนการตัดสินใจหรือดําเนินการใดๆ ของ คนท้องถิ่น และสังคม ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ความจริงอย่างเป็นเหตุเป็นผล (knowledge-Based) และการมีส่วนร่วมจากทุกฝุาย ขณะเดียวกันจะเป็นการสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นอย่างหลากหลาย การยกระดับ ความรู้สู่การสร้างแนวคิดทฤษฎีใหม่ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวิจัย และการพัฒนาสังคมแห่งอนาคต
3) เครือข่ายกับการเรียนรู้ (learning network) เปูาหมายระยะยาวแล้วก็เพื่อที่จะพัฒนาสังคมใหม่ให้เป็น สังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นสังคมแห่งการค้นหา และค้นพบความรู้ความจริงอย่างมีส่วนร่วมจากกลุ่มคนอย่าง หลากหลาย โดยเน้นการพัฒนาจากฐานข้อมูลท้องถิ่นของคนท้องถิ่น เพื่อคนท้องถิ่น โดยคนท้องถิ่นเป็น สําคัญ มีการประสานศักยภาพที่หลากหลายจากทุกกลุ่ม ทุกภาคี เพื่อมาหนุนเสริมการพัฒนาท้องถิ่น และ พัฒนาประเทศอย่างเป็นกระบวนการ ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างกัน และเกิด “สังคมแห่งการเรียนรู้” ในที่สุด 4) หน่วยจัดการความรู้ที่เป็นอิสระ หวังไว้ในระยะไกลๆ ว่า จะเกิดกลไก/กลุ่มคนท้องถิ่นที่สามารถ จัดการหรือยกระดับความรู้ โดยการนําความรู้ต่างๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ในท้องถิ่นมาสังเคราะห์ร่วมกับผู้รู้ นักวิชาการในพื้นที่ ไปพร้อมๆ กับประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคีพันธมิตรต่างๆ ในท้องถิ่นทุก ระดับที่มีส่วนเกี่ยวข้องในงานวิจัยและพัฒนา ทุกระดับ เพื่อนําความรู้ต่างๆ มาสู่การกําหนดทิศทางการวิจัย และพัฒนาได้อย่างยั่งยืน บนพื้นฐานการผสมผสานองค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นกับองค์ความรู้จาก ภายนอก (สํานักงานภาค สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 2546: 8-9) ซึ่งผู้วิจัยจะนําแนวคิด หลักการ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นไปเป็นกรอบแนวทางในการสนับสนุนนักวิชาการในการทํางานวิจัยเพื่อท้องถิ่นใน มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยผ่านโครงการความร่วมมือต่อไป
2.2 แนวคิดการบริหารจัดการ
2.2.1 ความหมายของการบริหารจัดการ
คําว่า การบริหาร (administration) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน “administatrae” หมายถึง ช่วยเหลือ (assist) หรืออํานวยการ (direct) การบริหารมีความสัมพันธ์หรือมีความหมายใกล้เคียงกับคําว่า “minister” ซึ่งหมายถึง การรับใช้หรือผู้รับใช้ หรือผู้รับใช้รัฐ คือ รัฐมนตรี สําหรับความหมายดั้งเดิมของคํา ว่า administer หมายถึง การติดตามดูแลสิ่งต่างๆ การบริหาร บางครั้งเรียกว่า การบริหารจัดการ หมายถึง การดําเนินงาน หรือการปฏิบัติงานใดๆ ของหน่วยงานของรัฐ และ/หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ (ถ้าเป็นหน่วยงาน งานภาคเอกชนหมายถึงของหน่วยงาน และ/หรือ บุคคล) ที่เกี่ยวข้องกับคน สิ่งของและหน่วยงาน
มีนักวิชาการได้ให้ความหมายกันไว้มากมาย ตามแนวทางที่แต่ละท่านได้ศึกษามา เช่น ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ (2542: 2) ให้ความหมายว่า การบริหาร คือ กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมมือกัน ดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกัน สมศักดิ์ คงเที่ยง (2542: 1) ให้ ความหมายว่า การบริหาร หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันดําเนินการ เพื่อให้ บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายๆอย่างที่บุคคลร่วมกันกําหนดโดยใช้กระบวนอย่างมีระบบ และให้ทรัพยากรตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม สําหรับ วิรัช วิรัชนิภาวรรณ (2554 : ระบบ
ออนไลน์) ได้ให้ความหมายว่า “การจัดการ คือ กระบวนการ (Process) ของการวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organization) การสั่งการ (Leading) และการควบคุม (Controlling) ความพยายามของ สมาชิกในองค์การและการใช้ทรัพย์กรต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์การกําหนดไว้ ”
2.2.2 แนวคิดในการบริหารจัดการ
ภาวิดา ธาราศรีสิทธิ (2542: 10) นําเสนอว่า แนวคิดทางการบริหารการจัดการได้วิวัฒนาการ เรื่อยมา ซึ่งสามารถ แบ่งออกได้ 4 แนวคิด คือ
1) แนวคิดก่อนยุคการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Pre– Scientific Management) ในยุคนี้เป็น ยุคก่อนปี ค.ศ 1880 ซึ่งการบริหารในยุคนี้อาศัยอํานาจหรือการบังคับให้คนงานทํางาน ซึ่งวิธีการบังคับอาจ ใช้ การลงโทษ การใช้แส้ การทํางานในยุคนี้เปรียบเสมือนทาส คนในยุคนี้จึงต้องทํางานเพราะกลัวการ ลงโทษ
2) แนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) แนวคิดนี้เริ่มในช่วงของ การปฏิวัติอุตสาหกรรม คือประมาณปี ค.ศ 1880 เป็นต้นมาจนถึงปี 1930 ในยุคนี้ได้ใช้หลักวิธีการจัดการ แบบวิทยาศาสตร์มาช่วยในการบริหารการจัดการ ทําให้ระบบบริหารการจัดการแบบโบราณได้เปลี่ยนแปลง ไปมาก ซึ่งบุคคลที่มีชื่อเสียงในการบริหารในยุคนี้มี 2 ท่าน คือ Frederich W. Taylor และ Henri J. Fayol
3) แนวคิดการจัดการยุคมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation) แนวคิดมนุษย์สัมพันธ์เป็นแนวคิด ที่ขัดแย้งกับแนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ที่เน้นประสิทธิภาพของการทํางาน และมองข้าม ความสําคัญของคน เห็นว่ามนุษย์ไม่มีชีวิตจิตใจ ไม่มีความต้องการมากนัก มีพฤติกรรมที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดยอาศัยโครงสร้างขององค์การมาเป็นตัวกําหนด และควบคุม ให้มนุษย์ทํางานให้บรรลุผลสําเร็จ ซึ่งยุค มนุษย์สัมพันธ์นั้นเป็นแนวคิดที่อยู่ในช่วงระหว่างปี ค.ศ 1930 – 1950 เนื่องจากเล็งเห็นว่า การจัดการใด ๆ จะบรรลุผลสําเร็จได้นั้นจะต้องอาศัยคนเป็นหลัก ดังนั้น แนวคิดมนุษย์สัมพันธ์ให้ความสําคัญในเรื่องราว ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จึงทําให้เรื่องราวของมนุษย์สัมพันธ์กลับมามีบทบาทสําคัญมากขึ้น นักวิชาการ สําคัญที่ให้การสนับสนุนและศึกษาแนวคิดนี้ คือ Greorge Elton Mayo
4) แนวคิดการจัดการยุคการบริหารสมัยใหม่ (Modern Management) แนวคิดในยุคนี้เริ่ม ตั้งแต่ปี ค.ศ 1950 – ปัจจุบัน ซึ่งในขณะนี้เศรษฐกิจ และธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว ความสลับซับซ้อนใน การบริหารการจัดการก็มากขึ้น เพราะฉะนั้นการจัดการสมัยใหม่ จึงต้องใช้หลักทางคณิตศาสตร์มาช่วยใน การตัดสินใจ ตลอดจนการจัดการเชิงระบบมาช่วย แต่อย่างไรก็ตาม การบริหารการจัดการสมัยใหม่ก็ยังมิได้ ทิ้งหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์และแนวคิดในด้านมนุษย์สัมพันธ์เสียทีเดียว
2.2.3 หลักการการบริหารจัดการ
หลักการบริหารแบบบูรณาการมีองค์ประกอบที่สําคัญ 3 ประการ คือ 1) ภาวะผู้นํา (Leadership) 2) วัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture) 3) การมีส่วนร่วม (Participative Management) สําหรับลักษณะของการบริหารงานแบบบูรณาการ ควรประกอบด้วย 1) มีเจ้าภาพ 2) มี ส่วนร่วม 3) มียุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ เปูาประสงค์ พันธกิจที่ชัดเจน 4) รวดเร็วลดขั้นตอน 5) แก้ปัญหา เร่งด่วนที่เกิดขึ้น 6) มีประสิทธิภาพประหยัด 7) เกิดผลสัมฤทธิ์ (อนันท์ งามสะอาด ,ระบบออนไลน์)
สําหรับหน้าที่ในการจัดการ ได้ศึกษาว่า นักวิชาการและนักบริหารหลายท่านได้มีการวิเคราะห์ ว่าการจัดการเป็นความรู้ที่มีประโยชน์ ดังนั้นจึงได้จัดการศึกษาหน้าที่ของการจัดการ โดยแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้คือ 1) การวางแผน (Planning) 2) การจัดองค์การ (Organization) 3) การจัดหาคนเข้า ทํางาน (Staffing) 4) ภาวะผู้นํา (Leading) 5) การควบคุม (Controlling) (วิรัช วิรัชนิภาวรรณ, 2554 : ระบบออนไลน์)
นอกจากนี้ วิรัช วิรัชนิภาวรรณ (2554: ระบบออนไลน์) ยังได้ศึกษาหลักบริหารในการจัดการ องค์การ ตามแบบ POSDCORB MODEL ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร มี 7 ประการ ดังนี้คือ
1) P มาจากคําว่า Planning หมายถึงการวางแผนอันเป็นหน้าที่ประการแรกของการเป็นผู้บริหาร ซึ่งจะมีหน้าที่ในการกําหนดโครงการ โครงสร้าง หรือแนวทางในการทํางานอย่างกว้างๆ ตลอดจนแนว ปฏิบัติ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเปูาหมายที่กําหนดไว้
2) O มาจากคําว่า Organizing หมายถึงการจัดองค์การหรือการจัดแบ่งงานซึ่งเป็นหน้าที่ ประการที่สองของนักบริหารที่จะต้องกําหนดโครงสร้างอย่างเป็นทางการของอํานาจหน้าที่ ในการปฏิบัติ จัดแบ่งเป็นหน่วยงานย่อยๆ ในองค์กร ตลอดจนกําหนดวัตถุประสงค์ของหน่วยงานดังกล่าวที่จัดตั้งขึ้น พร้อม กําหนดให้เห็นว่า วัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงานแต่ละหน่วยงานเกี่ยวข้องเชื่อมโยงประสานกัน อย่างไร
3) S มาจากคําว่า Staffing คือการบริหารงานบุคคลหรือการจัดบุคคลเข้าปฏิบัติงาน ซึ่งเป็น หน้าที่ประการที่สามของนักบริหารที่จะต้องมีหน้าที่ทางด้านงานบุคคลทั้งหมด ทั้งการจัดหา คนเข้า ปฏิบัติงาน จัดฝึกอบรมผู้ที่เข้าปฏิบัติงานแล้ว ตลอดจนการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานอยู่ ในสภาพที่น่าพอใจอยู่เสมอ
4) D มาจากคําว่า Directing หมายถึงการอํานวยการหรืออํานวยงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ประการที่สี่ ของนักบริหารในอันที่จะต้องสินใจในการบริหารแล้วนํามากําหนดเป็นคําสั่งหรือคําสั่งเฉพาะเรื่อง ตลอดจน วิธีปฏิบัติตามคําสั่งนั้น ในฐานะที่ตนเป็นผู้นําของหน่วยงาน
5) CO มาจากคําว่า Coordinating หมายถึงร่วมมือประสานงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ประการที่ห้าของ นักบริหารที่มีความสําคัญมากที่สุด ในการที่จําต้องจัดให้มีการเชื่อมโยงประสานกันระหว่างงานต่าง ๆ กัน ในความรับผิดชอบของตน
6) R มาจากคําว่า Reporting หมายถึงการรายงานผลการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ประการที่หา ของนักบริหาร ที่จะต้องคอยดูแลให้ผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของตนได้รับรายงานว่า ปฏิบัติงานได้ผลอย่างไรบ้าง ซึ่งจะทราบได้จากบันทึก (Records) ผลการวิจัย (Research) และการ ตรวจตรา (Inspection)
7) B มาจากคําว่า Budgeting หมายถึงงบประมาณ ซึ่งเป็นหน้าที่ประการสุดท้ายของนักบริหารที่ จะต้องรับผิดชอบในด้านการงบประมาณทั้งในรูปของการวางแผนทางการเงิน (Financial Planning) การ จัดทําบัญชีใช้จ่าย และการควบคุมการใช้จ่ายเงิน
2.2.4 แนวคิดการบริหารงานคุณภาพแบบวงจร PDCA
เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกโดยนักสถิติ Walter Shewhart ซึ่งได้พัฒนาจากการควบคุมกระบวนการเชิง สถิติที่ Bell Laboratories ในสหรัฐอเมริกาเมื่อทศวรรษ 1930 ในระยะเริ่มแรก วงจรดังกล่าวเป็นที่รู้จักกัน ในชื่อ "วงจร Shewhart" จนกระทั่งราวทศวรรษที่ 1950 ได้มีการเผยแพร่อย่าง กว้างขวางโดย W.Edwards Deming ปรมาจารย์ทางด้านการบริหารคุณภาพ หลายคนจึงเรียกวงจรนี้ว่า " วงจร Deming "
เมื่อเริ่มแรก Deming ได้เน้นถึงความสัมพันธ์ 4 ฝุาย ในการดําเนินธุรกิจเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพ และความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งได้แก่ ฝุายออกแบบ ฝุายผลิต ฝุายขาย และฝุายวิจัย ความสัมพันธ์องทั้ง 4 ฝุายนั้น จะต้องดําเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพของสินค้าตามความต้องการของลูกค้าที่ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยให้ถือว่าคุณภาพจะต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด
ต่อมาแนวคิดเกี่ยวกับกับวงจร Deming ได้ถูกดัดแปลงให้เข้ากับวงจรการบริหาร ซึ่ง ประกอบด้วย ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการปฏิบัติ ขั้นตอนการตรวจสอบ และขั้นตอนการดําเนินการให้ เหมาะสม (ซึ่งในระยะเริ่มแรกหมายถึงการปรับปรุงแก้ไข) แต่ยังไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิผล เพราะแต่ละขั้นตอนถูกมอบหมายให้เป็นหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละฝุาย ขณะที่ฝุายบริหารกําหนดแผนงาน และตั้งเปูาหมายสําหรับพนักงาน พนักงานก็ต้องลงมือปฏิบัติให้บรรลุตามเปูาหมายที่ฝุายบริหารได้กําหนด ขึ้น ในขณะที่ผู้ตรวจสอบคอยตรวจสอบผลการปฏิบัติงานของพนักงานเป็นระยะๆและรายงานผลให้ ผู้บริหารทราบ หากการปฏิบัติงานมีความผิดพลาดหรือเบี่ยงเบนไปจากเปูาหมายก็จะได้แก้ไขได้ทันที พนักงานที่สามารถปฏิบัติงานได้ตามเปูาหมายก็จะได้รางวัลเป็นการตอบแทน แต่ถ้าไม่สามารถทําได้ตาม เปูาหมายก็จะถูกประเมินผลการปฏิบัติงานที่ต่ํา การดําเนินงานในลักษณะนี้จะเห็นได้ว่าค่อนข้างแข็ง กระด้าง นอกจากผู้บริหารจะไม่ประเมินศักยภาพของพนักงานซึ่งเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุดเกี่ยวกับกระบวนการทํางาน แล้ว ยังขาดวิสัยทัศน์ที่ดีในเรื่องของการประสานงานภายในหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้พนักงานมี ส่วนร่วมในขั้นตอนการวางแผนและแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น
องค์ประกอบสําคัญของการบริหารงานแบบวงจร PDCA ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ
1) P = Plan คือการวางแผนจากวัตถุประสงค์ และเปูาหมายเราได้กําหนดขึ้น
2) D = Do คือการปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบ และมีความ
ต่อเนื่อง
3) C = Check คือ การตรวจสอบผลการดําเนินงานในแต่ละขั้นตอน ของแผนงานว่ามี
ปัญหาอะไรเกิดขึ้นจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนงานในขั้นตอนใดบ้าง
4) A = Action คือ การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา หรือถ้าไม่มีปัญหาใด ๆ ก็ยอมรับแนว ทางการปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสําเร็จ เพื่อนําไปใช้ในการทํางานครั้งต่อไป เมื่อได้แผนงาน (P) นําไป ปฏิบัติ (D) ระหว่างปฏิบัติก็ดําเนินการตรวจสอบ (C) พบปัญหาก็ทําการปรับปรุงแก้ไข
สําหรับประโยชน์ของ PDCA มีผู้สรุปได้ ดังนี้
1) การวางแผนงานก่อนการปฏิบัติงานจะทําให้เกิดความพร้อมเมื่อได้ปฏิบัติงานจริงการวางแผน งานควรวางให้ครบ 4 ขั้น ดังนี้
1.1) ขั้นการศึกษา คือการวางแผนศึกษาข้อมูล วิธีการและความต้องการของตลาดข้อมูล ด้านวัตถุดิบ ด้านทรัพยากรที่มีอยู่หรืองเงินทุน เป็นต้น
1.2) ขั้นเตรียมงาน คือ การวางแผนเตรียมงานด้านสถานที่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ความ พร้อมของพนักงาน อุปกรณ์ เครื่องจักร วัตถุดิบ เป็นต้น
1.3) ขั้นดําเนินงาน คือ การวางแนวทางการปฏิบัติงานของแต่ละส่วนแต่ละฝุาย เช่นฝุาย ผลิตฝุายขาย ฝุายโฆษณา เป็นต้น
1.4) ขั้นการประเมินผล คือ การวางแผนหรือเตรียมการประเมินผลอย่างเป็นระบบ เช่น ประเมินจากยอดการจําหน่าย ประเมินจากคําติชมของลูกค้า หรือ ประเมินจากเครื่องมือที่สร้างขึ้น
โดยเฉพาะ เพื่อให้ผลทีได้จากการประเมินเกิดความเที่ยงตรง
2) การปฏิบัติตามแผนงาน ทําให้ทราบขั้นตอน วิธีการ และสามารถเตรียมงานล่างหน้าหรือ ทราบอุปสรรคล่วงหน้าด้วย ดังนั้น การปฏิบัติงานก็จะเกิดความราบรื่น และเรียบร้อย นําไปสู่เปูาหมาย
3) การตรวจสอบ ให้ได้ผลที่เที่ยงตรงเชื่อถือได้ ประกอบด้วย
3.1) ตรวจสอบจากเปูาหมายที่ได้กําหนดไว้
3.2) มีเครื่องมือที่เชื่อถือได้
3.3) มีเกณฑ์การตรวจสอบที่ชัดเจน
3.4) มีกําหนดเวลาการตรวจที่แน่นอน
3.5) บุคลกรที่ทําการตรวจสอบต้องได้รับการยอมรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อการ ตรวจสอบได้รับการยอมรับ การปฏิบัติงาน ขั้นต่อไปก็ดําเนินต่อไปได้
4) การปรังปรุงแก้ไข ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนใดก็ตาม เมื่อมีการปรับปรุง แก้ไขคุณภาพก็จะเกิดขึ้น ดังนั้น วงจร PDCA จึงเรียกว่า วงจรบริหารงานคุณภาพงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
สําหรับในงานวิจัยเล่มนี้เป็น “การบริหารจัดการงานวิจัย” ซึ่งเป็นงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่อยู่
ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยกับสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยฝุายวิจัย เพื่อท้องถิ่น ดังนั้นกรอบแนวคิดในการดําเนินงานจะมีการนําเอาแนวคิด “การบริหารจัดการ” มาปรับใช้ให้ เหมาะสม จากความหมายที่ทบทวนมาข้างต้นจะเห็นว่า“การบริหารจัดการ”นั้นเป็น “กระบวนการ” (Process) จึงย่อมประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ซึ่งมีผู้แบ่งไว้แตกต่างกันไปโดยรวมแล้วกระบวนการบริหาร จัดการพื้นฐานจะประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ซึ่งในงานวิจัยนี้จะนํามาเป็นกรอบในการดําเนินงานดังนี้
1) การวางแผน (Planning) หมายถึง ขั้นตอนในการตั้งเปูาหมายงาน การกําหนดจุดประสงค์ การแสวงหาทางเลือกในการทํางานเพื่อเดินไปให้บรรลุเปูาหมาย ถ้าเป็นงานทั่วไปจะเป็นบทบาทของ ผู้บริหาร สําหรับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในชุดความร่วมมือนี้จะเป็นบทบาทของ “คณะทํางาน” ซึ่งเป็นกลไกล ร่วมกันกันของทั้งสองฝุาย กิจกรรมที่ดําเนินการจะเน้นการมีส่วนร่วมและสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน
2) การจัดกลุ่ม/องค์กร (Organizing) หมายถึง การแบ่งงาน และจัดสรรทรัพยากรต่างๆ เช่น กําลังคน สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณเพื่อสนับสนุนกิจกรรมของโครงการ นอกจากการจัดกลุ่มองค์การ ในการทํางานแล้วยังมองในมิติการจัดกลุ่มองค์กรในการเรียนรู้ด้วย
3) การจูงใจ (Leading) เป็นขั้นตอนสําคัญในการสนับสนุนให้ผู้เข้ามาร่วมกันเกิดแรงบันดาลใจ การลงมือทํากิจกรรมให้บรรลุเปูาหมายของโครงการ ซึ่งจะมีหลายระบบกลไก เช่น เงิน ผลงานวิชาการ งาน ประกัน ความภูมิใจ บทบาทในสังคมและองค์กร เป็นต้น
4) การควบคุม (Controlling) ขั้นตอนนี้จะเป็นบทบาทของผู้บริหารและคณะทํางานที่ต้อง ติดตาม ควบคุม ตรวจสอบ สนับสนุนให้งานเป็นไปตามเปูาหมายที่วางไว้ โดยอาจจะใช้เครื่องมือกลไกที่ หลากหลาย เช่น ระบบรายงานประจําเดือน การติดตามในพื้นที่ รายงานความก้าวหน้า รายงานฉบับ สมบูรณ์ รวมถึงเวทีวิชาการนําเสนอผลงาน เป็นต้น
2.2.4 การบริหารงานวิจัย
การวิจัยเป็นบทบาทหลักควบคู่กับการสอนของคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ดังนั้นในแต่ละ สถาบันจึงมีหน่วยจัดการงานวิจัยเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมให้คณาจารย์ และบุคลากรดําเนินการวิจัยเพื่อ นําไปสู่การค้นพบ และประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา และสถานการณ์อื่น ๆ โดยทั่วไปการบริหารจัดการ งานวิจัยแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ (จรัส สุวรรณเวลา, 2545)
1) การบริหารจัดการระดับต้นน้ํา หมายถึง การบริหารจัดการที่นําไปสู่การวิจัยตั้งแต่การกําหนด นโยบายการวิจัย การจัดลําดับความสําคัญในการวิจัย การวางวัตถุประสงค์และเปูาหมาย การวางแผนกล ยุทธ์ แผนปฏิบัติการ รวมทั้งการวางโครงสร้าง และกลไกการดําเนินงานเพื่อให้เกิดการวิจัยที่พึงประสงค์และ กลไกการรักษาคุณภาพของงานวิจัยในประเทศได้การพัฒนาความสามารถเพื่อรองรับระบบวิจัยก็เป็นส่วน ของการพัฒนาต้นน้ํามีทั้งการพัฒนานักวิจัย การพัฒนานักบริหารจัดการงานวิจัย และการพัฒนาผู้ใช้ ผลงานวิจัย
2) การบริหารจัดการ การทําการวิจัยกลางน้ํา การส่งเสริมสนับสนุน และแก้ปัญหาจากการ กระทําวิจัยเป็นสิ่งที่ผู้บริหารจัดการการวิจัยต้องช่วยดูแล และดําเนินการตามจังหวะที่เหมาะสม ระบบบัญชี และการเบิกจ่ายเงิน ตลอดจนการตรวจสอบการใช้เงิน การตรวจสอบการปฏิบัติงาน และการตรวจสอบการ ทําตามระเบียบกฎเกณฑ์ เริ่มมีการพัฒนาขึ้นเพราะจําเป็นต้องกระทําในลักษณะที่ต่างๆไปจากการ บริหารงานตามปกติเพื่อให้ได้ผลสูงสุด ไม่เป็นเครื่องกีดขวาง หรือสร้างความยุ่งยากให้แก่ผู้วิจัย และไม่ รบกวนเสรีภาพทางวิชาการระบบการรักษาคุณภาพ โดยใช้เพื่อนนักวิชาการ วงวิชาการและบุคคลภายนอก ตลอดจนการตีพิมพ์เผยแพร่ การจดสิทธิบัตร และการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาในลักษณะอื่นๆเป็นส่วน ของการบริหารจัดการที่ยังต้องพัฒนาอีกมาก
3) การบริหารจัดการปลายน้ํา เมื่อทําการวิจัยได้ผลงานวิจัยแล้วยังต้องมีการบริหารจัดการในรูป ต่างๆ จึงจะนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้รูปแบบการบริหารจัดการ และการประสานงานวิจัยจึงคงต้องมี ความหลากหลายตามสภาพในแต่ละกรณี สิ่งสําคัญคือการมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุณภาพ และ สอดคล้องสนองเปูาหมายรวมของชาติ
นอกจากนี้ จรัส สุวรรณเวลา (2545) ยังได้กล่าวถึงปัญหาของระบบการวิจัยในประเทศไทย และคุณลักษณะพิเศษของการวิจัยดังนี้ 1) การขาดความเข้าใจและความตระหนักในความสําคัญของการ
วิจัย 2) การวิจัยมีช่องว่างและเป็นส่วนเสี้ยว 3) การวิจัยไม่สมดุล ไม่ได้ทําในสิ่งที่จําเป็นและทําในสิ่งที่ไม่ จําเป็นด้วย 4) การขาดทรัพยากรอย่างรุนแรง 5) การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่น้อยอย่างฟุุมเฟือย ไม่คุ้มค่า และไม่ สนองความจําเป็น 6) คุณภาพของผลงานวิจัยไม่ดีเท่าที่ควร
2.2.5 ระบบวิจัยของมหาวิทยาลัยที่พึงประสงค์
ระบบวิจัยของมหาวิทยาลัยที่พึงประสงค์มหาวิทยาลัยที่เน้นการสอน มุ่งทําวิจัยเพื่อใช้ในการ เรียนการสอนเป็นหลัก จึงมุ่งผลิตนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนมหาวิทยาลัยวิจัย มุ่งวิจัยเพื่อเป็นองค์ ความรู้ และวิจัยประยุกต์จึงเอื้ออํานวยต่อการผลิตนิสิต นักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษาเป็นหลักระบบวิจัยของ มหาวิทยาลัย ประกอบด้วยด้วยหน่วยจัดการวิจัยโดยเฉพาะ มีการคัดเลือกบุคลากรที่ทําหน้าที่วิจัยเป็นหลัก ในขณะเดียวกันก็สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ ๆ สู่นิสิต นักศึกษา อย่างได้ผล มีการนําผลงานวิจัยออกสู่ การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์หน่วยจัดการงานวิจัย ทําหน้าที่บริหารจัดการซึ่งรวมถึงการจัดสรรทุนวิจัย ตลอดจนติดตามประเมินผล และสร้าง Research Career ในมหาวิทยาลัย ไม่ควรนําการเมืองเข้ามาสู่ระบบ การศึกษา และวิจัยของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพื่อลดอุปสรรคที่มีต่อระบบการวิจัยมหาวิทยาลัยควรส่งเสริม สนับสนุนงานวิจัยใน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับชาติซึ่งตอบสนองต่อการพัฒนาที่เชื่อมโยงกับโลกาภิวัตน์ ระดับ ท้องถิ่น มุ่งวิจัยให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและประยุกต์เข้ากับท้องถิ่นที่มหาวิทยาลัยนั้นๆตั้งอยู่ ใน ส่วนของระดับสังคม มุ่งพัฒนางานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาสังคม ทั้งนี้ให้มีสัดส่วนของงานวิจัยพื้นฐานต่อปัญหา สังคมท้องถิ่นเท่ากับ 30 : 70 (ชินานาตย์ ไกรนารถและคณะ, 2549)
2.2.6 การบริหารระบบวิจัยในมหาวิทยาลัย
ในการกําหนดนโยบาย หรือกรอบวิจัยของมหาวิทยาลัยที่สามารถตอบสนองยุทธศาสตร์ของ รัฐบาล หรือภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว และเป็นที่ยอมรับของ ทุกฝุายนั้น มหาวิทยาลัยควร กําหนดนโยบายวิจัยโดยความเห็นชอบร่วมกัน 3 ฝุายคือ รัฐบาล และผู้บริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัย กําหนดนโยบายจากบนลงล่าง และผู้แทนคณะนักวิจัยกําหนดนโยบายจากล่างขึ้นบน แล้วประสานงานปรับ นโยบายให้สอดคล้องกันโครงสร้าง และกลไกการบริหารงานวิจัยในมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพ ควรมี สภาวิจัยประจํามหาวิทยาลัยที่มีการบริหารเป็นอิสระ ซึ่งกรรมการสภาวิจัยประกอบด้วย 4 กลุ่มคือ ตัวแทน นักวิจัยทั่วไปที่ได้จากการเลือกตั้ง ตัวแทนนักวิจัยผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้จากการเลือกตั้งตัวแทนผู้บริหาร มหาวิทยาลัย และตัวแทนภาคเอกชน โดยประธานสภาวิจัยประจํามหาวิทยาลัยต้องอยู่ในกลุ่มของตัวแทน นักวิจัยทั่วไปที่ได้จากการเลือกตั้ง และรองอธิการบดีฝุายวิจัยควรเป็นคนหนึ่งในตัวแทนผู้บริหาร มหาวิทยาลัยในคณะกรรมการสภาวิจัยประจํามหาวิทยาลัย เพื่อทําหน้าที่ประสานงานกับคณาจารย์ และ ประสานงานวิจัยที่เป็นลักษณะสหวิทยาการ ส่วนรองคณบดีฝุายวิจัย ทําหน้าที่คล้ายรองอธิการบดีฝุายวิจัย แต่มีขอบข่ายงานเฉพาะภายในคณะของตนเอง
นอกเหนือจากมีสภาวิจัยประจํามหาวิทยาลัยแล้ว ทุกมหาวิทยาลัยจําเป็นต้องมีสถาบันวิจัยเพื่อ ทําหน้าที่ประสานงานรับนโยบายวิจัยจากสภาวิจัยประจํามหาวิทยาลัย มอบให้กับบัณฑิตวิทยาลัย อาจารย์ ที่ปรึกษา และนักวิจัยนําไปดําเนินการ และทําหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยเชิงรุก อันได้แก่ การดําเนินการหา งบประมาณมาให้นักวิจัย รวมทั้งส่งเสริม และติดตามประเมินผลงานวิจัยให้เป็นไปตามนโยบายวิจัย เช่น การให้งบอุดหนุนเป็นพิเศษแก่งานวิจัยของอาจารย์และวิทยานิพนธ์นักศึกษาในเรื่องที่อยู่ในนโยบายวิจัย และการให้รางวัลนักวิจัยดีเด่นและวิทยานิพนธ์ดีเด่น เป็นต้น ภายใต้สถาบันวิจัยดังกล่าวนี้ มหาวิทยาลัยควร จัดให้มีหน่วยงานที่ทํางานเฉพาะงานวิจัยที่ได้รับมอบหมาย หรืองานวิจัยเฉพาะทางตามความจําเป็น ถ้างาน
ดังกล่าวเกี่ยวข้อง และมีผลกระทบกับประชากรจํานวนมาก หรือต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อ ความคล่องตัว และเพื่อเป็นทางเลือกในการพัฒนาวิชาการสาขาต่างๆ (ชินานาตย์ ไกรนารถและคณะ, 2549)
2.3 แนวคิดการทําบันทึกความเข้าใจ (MOU)
“บันทึกความเข้าใจ”หรือ “เอ็มโอยู” มาจากคําภาษาอังกฤษว่า Memorandum Of Understanding :MOU เป็นเอกสารที่บันทึกข้อตกลง ความร่วมมือ หรือ ความเข้าใจระหว่าง องค์กร หน่วยงาน เมื่อทั้งสองฝุายรับทราบและเข้าใจรายละเอียดในบันทึกความเข้าใจนั้นแล้ว ตัวแทนผู้มีอํานาจ ของทั้งสองฝุายก็จึงจะลงนามในบันทึกความเข้าใจ ซึ่งตามปกติการบันทึกความเข้าใจนี้ไม่ถือว่าเป็นสัญญา ผูกมัด แต่แสดงความต้องการอันแน่วแน่ของผู้ลงนามว่าจะปฏิบัติตามดังที่ระบุไว้ เช่น สถาบันการศึกษาของ ไทยแห่งหนึ่งทําบันทึกความเข้าใจกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศเพื่อความร่วมมือกันในแลกเปลี่ยน นักศึกษา เป็นต้น ในทางการทูตบันทึกความเข้าใจ หรือ “เอ็มโอยู” เป็นส่วนหนึ่งของ “สนธิสัญญา” (treaty) ซึ่ง “สนธิสัญญา” เป็นคําที่มีความหมายทั่วไป โดยอาจมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป อาทิ “ความตก ลง” (agreement) “ข้อตกลง” (arrangement) “บันทึกความเข้าใจ” (memorandum of understanding) “บันทึกความตกลง”(memorandum of agreement) “พิธีสาร” (protocol) “อนุสัญญา” (Convention) ฯลฯ อย่างไรก็ดี ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ ตาม หากเข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย ถือเป็น “สนธิสัญญา” ทั้งสิ้น โดยตัวอย่างของการลงนามความ ร่วมมือในการทําวิจัย โดยสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กับ หน่วยงานต่าง ๆ มีตัวอย่าง ดังต่อไปนี้
บันทึกความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ระหว่าง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กับ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (.สกว(
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น จัดทําขึ้นระหว่าง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดย ศาสตราจารย์ ดร. ประกอบ วิโรจนกูฏ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กับ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดย ศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ ตันตระ รัตน์ ผู้อํานวยการสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สนับสนุนให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยทํางานวิจัยเพื่อท้องถิ่น 2) ผลักดันให้เกิดการบูรณาการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นไปสู่การจัดการเรียนการสอน และการวิจัยของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 3) สนับสนุนให้ บุคลากรของหน่วยงานด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเข้ามามีส่วนร่วมเรียนรู้การบริหารงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
รูปแบบความร่วมมือ
มหาวิทยาลัยอุบลราชจะธานี จะสนับสนุนให้บุคลากรในสังกัดมีส่วนร่วมในการทํางานวิจัย โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติราชการ ตามปกติ ตลอดจนอํานวยความสะดวกในเรื่องสถานที่ พาหนะ อุปกรณ์เครื่องมือ และทรัพยากรอื่นๆ รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณด้านการวิจัย กรณีเกิดงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นขึ้นในวงเงิน 500,000 บาท (ห้าแสนบาท)
สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จะจัดให้มีคณะทํางานเพื่อทําหน้าที่เป็น “พี้เลี้ยง” สนับสนุน หนุนเสริมให้บุคลากรของมหาวิทยาลัย อุบลราชธานีสามารถดําเนินการวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและสําเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และสนับสนุนงบประมาณ ด้านการวิจัย กรณีเกิดงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นขึ้นในวงเงิน 500,000 บาท (ห้าแสนบาท(
ระยะเวลา
ความร่วมมือนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่มีการลงนามเป็นต้นไป เป็นระยะเวลา 1 ปี และอาจขยายความร่วมมือได้อีก ตามความประสงค์ ร่วมกันของทั้งสองฝุาย หากมีความประสงค์จะทําความตกลงในรูปของอนุสัญญาเพิ่มเติมและหรือแก้ไขข้อตกลงดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับ ความเห็นชอบจากทั้งสองฝุาย หรือหากฝุายใดฝุายหนึ่งประสงค์จะยุติบันทึกความร่วมมือนี้ให้แจ้งอีกฝุายหนึ่งทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือน เพื่อแสดงถึงเจตนารมณ์ และความตั้งใจของทั้งสองฝุายในการดําเนินงานเพื่อสนับสนุนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ตามบันทึกข้อตกลงความ ร่วมมือนี้ จึงได้ลงนามไว้เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตําบลเมืองศรีไค อําเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี
(ลงนาม).................................................
(ศาสตราจารย์ ดร. ประกอบ วิดรจนกูฏ) อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
(ลงนาม).................................................
(ผู้ศาสตราจารย์กังวาน ธรรมแสง) รองอธิการบดีฝุายวจัยและบริการวิชาการ พยาน
(ลงนาม).................................................
(.........................................................)
ตําแหน่ง................................................
พยาน
(ลงนาม).................................................
(ศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ ตันตระรัตน์) ผู้อํานวยการสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั
(ลงนาม).................................................
(ดร. สมคิดแก้วทิพย์) รักษาการหัวหน้าสํานกั งานภาค พยาน
(ลงนาม).................................................
(นางสาวกาญจนา ทองทั่ว) ผู้อํานวยการสถาบันวจัยเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นฯ
พยาน
ตารางที่ 1 : แสดงบันทึกความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกับสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
บันทึกความร่วมมือ
ระหว่าง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.(
ด้วยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้กําหนดวิสัยทัศน์ และพันธกิจในส่วนของงานวิจัยที่ต้องตอบสนองต่อความต้องการของสังคม โดยเฉพาะใน ระดับภูมิภาค มหาวิทยาลัยตระหนักว่าการที่นักวิชาการจะทําประโยชน์กับชุมชนและสังคมได้จะต้องมีการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน จึงจะมีศักยภาพ ในการกําหนดรู้สภาวะปัญหาเพื่อตั้งโจทย์ในการวิจัยได้ นักวิจัยและนักวิชาการในสาขาต่างๆ ในมหาวิทยาลัยจึงต้องมีการทํางานในเชิงการ เรียนรู้ที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายนักวิจัยภายใน เครือข่ายนี้จะมีพลังในการร่วมแก้ปัญหาและพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมได้ต้องมีการ เชื่อมโยงไปสู่เครือข่ายในชุมชนและมีขั้นตอนของการเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชน
สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พิจารณาเห็นว่าทิศทางและกระบวนการทํางานดังกล่าวของมหาวิทยาลัยแม่โจ้มีความ สอดคล้องกับภารกิจส่วนหนึ่งของ สกว. หากได้มีการร่วมมือกันในการทํางานก็จะช่วยให้ภารกิจของทั้งสององค์กรบรรลุเปูาหมายและยัง ประโยชน์ให้กับชุมชนท้องถิ่นได้ องค์กรทั้งสองได้พิจารณาแล้ว จึงเห็นควรให้มีหน่วยประสานงานความร่วมมือในการวิจัยระหว่างองค์กรทั้งสอง ขึ้นตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
ประเภทของงานวิจัย
ประเภทที่ 1 : งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นมีเปูาหมายเพื่อช่วยจัดกระบวนการให้ชุมชนท้องถิ่นได้เรียนรู้ การแก้ไขปัญหาของตนเองโดยผ่านการ ทบทวนข้อมูล วางแผนและทดลองปฏิบัติจริงให้มี หน่วยประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ขึ้นเพื่อทําหน้าที่ประสานเชื่อมโยงงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเข้า กับกิจกรรมการวิจัย การเรียนการสอนและการบริการชุมชนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประเภทที่ 2 : งานวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีกรอบการดําเนินงานแบบ “บูรณาการในพื้นที่เฉพาะ (Integrated Area Based Research)” มี เปูาหมายเพื่อสร้างข้อมูลความรู้ เทคนิค วิธีการ อุปกรณ์ และระบบการจัดการเพื่อนําไปใช้ประโยชน์ในเรื่องที่เป็นประเด็นสําคัญของภาคเหนือ ตอนบนให้มีหน่วยประสานงานวิจัยบูรณาการในพื้นที่เฉพาะขึ้น เพื่อทําหน้าที่จัดกระบวนการพัฒนากรอบและโจทย์วิจัยของชุดโครงการ ติดตาม
สนับสนุนในระหว่างดําเนินการและเผยแพร่ขยายผลงานวิจัยให้เป็นไปตามเงื่อนไขและความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย ( Stakeholders) ใน ท้องถิ่น
ความร่วมมือเพื่อสนับสนุนงานวิจัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้จะอนุมัติให้บุคลากรในสังกัดเข้าร่วมมืองานวิจัยทั้ง 2 ประเภท ได้โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติราชการตามปกติ ตลอดจนอํานวยความสะดวกในเรื่องสถานที่ พาหนะ อุปกรณ์เครื่องมือ และทรัพยากรอื่นๆ เท่าที่มีอยู่ตามความเหมาะสม สํานักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัยจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานของหน่วยประสานงาน สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาชุดโครงการ สนับสนุน งบประมาณโครงการวิจัยที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาของ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สนับสนุนการติดโครงการ การเสนอผลงานวิจัยและ พัฒนางานวิจัยต่อเนื่อง
ระยะเวลา
ความร่วมมือนี้ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่มีการลงนามเป็นต้นไป เป็นระยะเวลา 2 ปี และอาจขยายความร่วมมือได้อีก ตามความประสงค์ ร่วมกันของทั้งสองฝุาย
เพื่อยืนยันถึงความร่วมมือกัน อันจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาด้านวิชาการ ด้านบริการวิชาการแก่สังคม ทั้งสองฝุายจึงได้ลงนามไว้เป็น หลักฐาน
บันทึกความร่วมมือนี้กระทําขึ้น เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
(ลงนาม( ................................................... (ลงนาม( .......................................................
(รองศาสตราจารย์ ดร.เทพ พงษ์พานิช) (ศาสตราจารย์ ดร.ปิยะวัติ บุญ-หลง) อธิการบดีมหาวิทยาลัยแมโ่ จ้ ผู้อํานวยการสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั
(ลงนาม) .............................................. (ลงนาม) .......................................................
(ดร.สมคิด แก้วทิพย์) (ดร.วีระศักดิ์ ปรกติ)
คณะทํางานโครงการฯ คณะทํางานโครงการฯ พยาน พยาน
ตารางที่ 2 : แสดงบันทึกความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้กับสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั
บันทึกข้อตกลง
ระหว่าง สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.( กับ สถาบันการท่องเทยี่ วโดยชุมชน (CBT-I)
เนื่องด้วย สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน (The Thailand Community Based Tourism Institute: CBT-I) ก่อตั้งขึ้นปลายปี พ.ศ. 2549 เพื่อผลักดันงานด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับนโยบายและสร้างคุณภาพใหม่ของการท่องเที่ยวที่เน้นการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนต่างวัฒนธรรม โดยที่ชุมชนท้องถิ่นเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมในการกําหนดทิศทางการพัฒนา อีกทั้งยังทําหน้าที่ เป็นตัวเชื่อมประสานความเข้าใจและความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการทํางานร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์การท่องเที่ยวที่ยั่ งยืน โดยมีทั้งงานวิจัยและพัฒนาดําเนินการควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดองค์ความรู้และบทเรียนอันจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ เรียนรู้และปรับให้เหมาะสมกับบริบทของตน
สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝุายวิจัยเพื่อท้องถิ่น เห็นว่า แนวทางในการทํางานของ สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีความ สอดคล้องแนวทางการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในประเด็นการท่องเที่ยว หากได้มีการร่วมมือกันในการทํางานก็จะช่วยให้ภารกิจของทั้ง สององค์กรบรรลุเปูาหมายและยังประโยชน์ให้กับชุมชนท้องถิ่นได้
ประเภทของงานวิจัย
งานวิจัยที่มีเปูาหมายเพื่อพัฒนารูปแบบกลไกที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนงานด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน บนฐานภารกิจของการทํา หน้าที่เป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนงานวิจัย การจัดการฝึกอบรม การประสานเชื่อมร้อยเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน 4 ภาค การจัดทําระบบ ฐานข้อมูล และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้งานด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นที่รับรู้
ความร่วมมือเพื่อสนับสนุนงานวิจัย
สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานของ สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในวงเงินปีละไม่เกิน 3,000,000 บาท โดยจะพิจารณาสนับสนุนตามเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานและกระบวนการกลั่นกรองตามปกติของ สกว.
ระยะเวลา
ความร่วมมือนี้ให้มีผลใช้บังคับในระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2550 – 31 กรกฎาคม 2553 และอาจขยายได้อีก ตามความ ประสงค์ร่วมกันของทั้งสองฝุาย
ดังนั้น เพื่อยืนยันถึงข้อตกลงที่มีร่วมกันระหว่าง สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน ทั้งสองฝุายจึงได้ ลงนามเป็นบันทึกข้อตกลงไว้เป็นหลักฐาน
บันทึกความร่วมมือนี้กระทําขึ้น เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550
(ลงนาม) ................................................... (ลงนาม) .......................................................
(นางสาวพจนา สวนศรี) (ศาสตราจารย์ ดร. ปยิ ะวัติ บุญ-หลง) ผู้ประสานงานสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน ผู้อํานวยการสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
(ลงนาม) .............................................. (ลงนาม) .......................................................
นางสาวสุภาวิณี ทรงพรวาณิชย์) (ดร.สมคิด แกว้ ทิพย์) ผู้ประสานงานฝุายส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัย ผู้อํานวยการฝุายวิจัยเพื่อท้องถิ่น พยาน พยาน
ตารางที่ 3 : แสดงบันทึกความร่วมมือระหว่างสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชนกบสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
บันทึกความร่วมมือ ระหว่าง
ศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลราชบุรี กับ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
เนื่องด้วย ศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลราชบุรี เป็นองค์กรทางศาสนา ที่ทํางานด้านการพัฒนา โดยส่งเสริมศักดิ์ศรีของความเป็นคน อยู่ ร่วมกับปวงชน โดยเฉพาะผู้ยากไร้ เพื่อพัฒนาและปลุกจิตสํานึก บนพื้นฐานศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวชีวิตที่พอเพียง อาศัยภูมิปัญญาแต่ละ ท้องถิ่น ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มเด็กเยาวชนและสตรี เป็นต้น ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสงคราม และ กาญจนบุรี ซึ่งกําลังแสวงหาแนวทางการช่วยเหลือกลุ่มเปูาหมายที่เกิดความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง และเห็นว่างานวิจัยเพื่อท้องถิ่นน่าจะเป็นหนึ่ง ในเครื่องมือที่ทําให้เกิดสิ่งดังกล่าวได้ ในขณะเดียวกัน สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในฐานะองค์กรด้านการวิจัย เห็นว่า แนวทาง ในการทํางานของ ศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลราชบุรี มีความสอดคล้องแนวทางการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่มุ่งเน้นทํางานกับคนใน ท้องถิ่น เพื่อให้คนท้องถิ่นสามารถแก้ปัญหาของตนเองได้โดยใช้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ดังนั้น หากได้มีการร่วมมือกันในการทํางานก็จะช่วยให้ ภารกิจของทั้งสององค์กรบรรลุเปูาหมาย และยังประโยชน์ให้กับชุมชนท้องถิ่นได้
องค์กรทั้งสองได้พิจารณาแล้ว จึงเห็นควรให้มีการประสานงานความร่วมมือในการวิจัยระหว่างองค์กรทั้งสองขึ้นตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
ประเภทของงานวิจัย
งานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่มีเปูาหมายเพื่อค้นหารูปแบบการสนับสนุนกลุ่มชาติพันธุ์ใน 3 พื้นที่ของจังหวัดกาญจนบุรี ได้แก่ บ้านองจุ บ้านดงเสลา และบ้านแม่กระบุง ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการปัญหาด้วยตนเอง โดยใช้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเครื่องมือ ความร่วมมือเพื่อสนับสนุนงานวิจัย
• สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จะสนับสนุนความรู้ด้านวิชาการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น และบุคลากรในการทําหน้าที่หนุนเสริม บุคลากรของศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลราชบุรี ให้สามารถทําหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้ รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณด้านการ วิจัย กรณีเกิดงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นขึ้นในพื้นที่ที่ทั้งสองฝุายเห็นชอบในสัดส่วน 70% ของงบประมาณรวม
• ศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลราชบุรี จะสนับสนุนบุคลากรเข้ามาเรียนรู้การทําหน้าที่พี่เลี้ยงงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น และสนับสนุน งบประมาณด้านการวิจัย กรณีเกิดงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นขึ้นในพื้นที่ที่ทั้งสองฝุายเห็นชอบในสัดส่วน 30% ของงบประมาณรวม
โดยทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันในการสร้างต้นแบบ (Model) งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่เหมาะสมกับ ศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลราชบุรี ซึ่ง จะเป็นประโยชน์ในการขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ ทั้งสองฝุายจะพิจารณาหาแนวทางความร่วมมือในการขับเคลื่อน งานวิจัยและพัฒนาในประเด็นกลุ่มชาติพันธุ์ร่วมกัน
ระยะเวลา
ความร่วมมือนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่มีการลงนามเป็นต้นไป เป็นระยะเวลา 2 ปี และอาจขยายได้อีก ตามความประสงค์ร่วมกันของทั้ง สองฝุาย หากฝุายใดฝุายหนึ่งประสงค์จะยุติบันทึกความร่วมมือนี้ให้แจ้งอีกฝุายหนึ่งทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน
ดังนั้น เพื่อยืนยันถึงข้อตกลงที่มีร่วมกันระหว่าง สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลราชบุรี ทั้งสองฝุาย จึงได้ลงนามเป็นบันทึกข้อตกลงไว้เป็นหลักฐาน
บันทึกความร่วมมือนี้กระทําขึ้น เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
(ลงนาม)............................................. (ลงนาม).....................................................
(บาทหลวงประสิทธิ์ รุจิรัตน์) (ศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ ตันตระรัตน์) ผู้อํานวยการศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลราชบุรี ผู้อํานวยการสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
(ลงนาม) ............................................. (ลงนาม).....................................................
(นางสาววิชภา หลวงจอก) (ดร.สมคิด แกว้ ทิพย์) เจ้าหน้าที่ฝุายงานการศึกษา รักษาการหัวหน้าสํานักงานภาค
พยาน พยาน
ตารางที่ 4 : แสดงบันทึกความร่วมมือระหว่างศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลราชบุรี กับสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
จากตัวอย่างบันทึกความร่วมมือในการทําวิจัยของสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กับ หน่วยงานต่าง ๆ สามารถสรุปรูปแบบความร่วมมือได้ดังนี้
1) รูปแบบความร่วมมือกันในการสนับสนุนการทําวิจัยในสถาบันการศึกษา โดยมีข้อตกลงในการใช้ ทรัพยากรบุคล ความรู้และงบประมาณจากทั้งสองฝุาย โดยมีการใช้งบประมาณจากทั้งสองส่วนเท่า ๆ กัน เช่น บันทึกความร่วมมือในการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นระหว่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกับสํานักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
2) รูปแบบความร่วมมือในการนํากระบวนการวิจัยไปใช้ในหน่วยงาน ที่มีข้อตกลงในการสนับสนุน งบประมาณในการทําวิจัยในอัตราส่วน 30:70 ดังตัวอย่างความร่วมมือของ ศูนย์สังคมพัฒนาสังฆมณฑล ราชบุรี กับ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
3) รูปแบบความร่วมมือที่ สํานักงานกองทุนสนับสนุนงบประมาณ 100% เพื่อให้เกิดงานวิจัยใน ประเด็นเฉพาะ เช่น บันทึกข้อตกลงระหว่าง สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กับ สถาบันการ ท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT-I)
4) รูปแบบความร่วมมือที่สนับสนุนงานวิชาการ เป็นความร่วมมือกันในการพัฒนางานวิจัยและงาน วิชาการในสถาบันการศึกษาโดยไม่ได้กล่าวถึงงบประมาณ เช่น บันทึกความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยแม่ โจ้ กับ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ในงานวิจัยนี้จะนํารูปแบบความร่วมมือที่ศึกษามาข้างต้น นํามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดยรูปแบบความร่วมมือในการสนับสนุนงานวิจัยที่จะทดลองใช้ในครั้งนี้คือ ความ ร่วมมือในการพัฒนานักวิชาการและบุคลากรมหาวิทยาลัยผ่านกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยจะสนับสนุนบุคลากร เครื่องมือ และสนับสนุนงบประมาณโครงการวิจัยที่เกิดขึ้น โครงการละ 40% ในส่วนสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จะสนับสนุนบุคลากรและสนับสนุน งบประมาณงานวิจัยที่เกิดขึ้นโครงการละ 60%
กรอบแนวคิดในการวิจัย
ผู้ศึกษาวิจัยได้ดําเนินการสรุปสาระสําคัญของแนวคิด ทฤษฎี มาปรับใช้ในกรอบแนวคิดการวิจัย ประกอบด้วย 1) การวิจัยเพื่อท้องถิ่น 2) การบริหารจัดการงานวิจัย และ 3) การบันทึกความเข้าใจ (Memorandum Of Understanding) โดยกระบวนการศึกษาวิจัยตามกรอบแนวคิดในแผนภาพที่ 1 จะ เริ่มด้วยการจัดทําข้อตกลงร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยกับสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) การจัดตั้งคณะทํางานขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยเพื่อเป็นกลไกการ ขับเคลื่อนโครงการ จากนั้นดําเนินศึกษาความรู้ประสบการณ์การทํางานชุดนักวิชาการเลย เครื่องมือการ ทํางานวิจัยเพื่อท้องถิ่น และแนวคิดการบริหารจัดการงานวิจัย เพื่อนํามาประมวลสรุปวิเคราะห์ใช้ในการ ออกแบบการปฏิบัติการหนุนเสริมศักยภาพนักวิชาการในการทําการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ภายหลังปฏิบัติการจะ มีการสรุปบทเรียน ชุดความรู้ และสรุปรูปแบบที่เหมาะสมของการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อ ท้องถิ่นภายใต้โครงการความร่วมมือต่อไป
ทา˚ ข้อตกลงร่วม (MOU) ระหวา่ ง มหาวิทยาลัยและสกว.
จัดตั้งคณะทํางาน ขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อ ท้องถิ่นในมหาวิทยาลัย ราชภัฏเลย
-ความรู้/ประสบการณ์การ ทํางานชุดนักวิชาการเลย
-ความรู้/เครื่องมือการ
ทํางานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
-แนวคิดการบริหารจัดการ
งานวิจัย
รูปแบบการบริหารจัดการที่ เหมาะสมเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อ ท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย
⋅ สรุประบบการขบเคลอ่ื นงาน
⋅ การสรุปบทเรยนการหนุนเสรมิ
โครงการย่อย
⋅ การสงั เคราะหช์ ุดความรใ้ น โครงการย่อย
ปฏิบตั ิการเสริมศักยภาพ นักวิชาการ
⋅ ค้นหา/คัดเลือกนักวิชาการเข้า
ร่วมโครงการ
⋅ เติมเต็มความรู้ แนวคิด ทักษะ/ เทคนิค
⋅ พัฒนาโจทย์วิจัย
⋅ สนับสนุน ความรู้/ศักยภาพ นักวิชาการในการทํางานวิจัยใน พื้นที่
⋅ เวทีวิชาการเพื่อการเรียนรู้ระดับ สถาบัน
แผนภูมภาพที่ 1 : แสดงกรอบแนวคิดในการวิจัย
23
บทที่ 3 วิธีดําเนินงานวิจัย
การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภายใต้ความ ร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (Community Based-Research : CBR) ที่มีการประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) เป็นวิธีวิทยาในการศึกษา สําหรับรายลละเอียดวิธีดําเนินงานวิจัยจะนําเสนอใน 4 ประเด็น ดังต่อไปนี้
3.1 ขอบเขตการศึกษา
3.2 วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
3.3 ขั้นตอนการดําเนินงาน
3.4 การตรวจสอบข้อมูล
3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล
3.1 ขอบเขตการศึกษา
ในการวิจัยครั้งนี้ได้กําหนดขอบเขตการศึกษา เพื่อเป็นกรอบหรือแนวทางในการศึกษาวิจัยไว้ 3 ด้าน ดังต่อไปนี้
3.1.1 ขอบเขตด้านพื้นที่
การวิจัยครั้งนี้ดําเนินศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฎ เลย และมีพื้นที่ปฏิบัติการของ โครงการวิจัยย่อยในพื้นที่ 3 ชุมชน คือ 1) ชุมชนนาหอ ตําบลนาหอ อําเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย 2) ชุมชน บ้านน้อยคีรี ตําบลโคกขมิ้น อําเภอวังสะพุง จังหวัดเลย และ 3) ชุมชนน้ําแคม ตําบลน้ําแคม อําเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
3.1.2 ขอบเขตด้านกลุ่มเป้าหมาย
ขอบเขตด้านกลุ่มเป้าหมาย แบ่งได้ดังนี้
1) กลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มผู้บริหารเพื่อสนับสนุนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น อันได้แก่ สถาบันวิจัย เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย คณะทีมขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น และนักวิชาการผู้เข้าร่วม โครงการจํานวน 15 คน
2) กลุ่มเป้าหมายที่เป็นทีมวิจัยชุมชน จากพื้นที่โครงการวิจัยย่อย 3 ชุมชน จํานวน 45 คน
3.1.3 ขอบเขตด้านเนื้อหา
ขอบเขตด้านเนื้อหาในเบื้องต้นได้มีการกําหนดขอบเขตประเด็นในการศึกษาดังต่อไปนี้
1) ระบบกลไกที่เหมาะสมกับการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
2) กระบวนการหนุนเสริมศักยภาพนักวิชาการในการทําวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่เหมาะสมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ภัฏเลย
3) ความรู้ที่เกิดขึ้นกับชุดโครงการย่อย ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราช
4) รูปแบบการการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภายใต้ความร่วมมือ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
3.2 วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในครั้งนี้ ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การถอดบทเรียน แบบมีส่วนร่วม การประชุมกลุ่มย่อย การสัมภาษณ์ และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม
3.2.1 การถอดบทเรียนแบบมีส่วนร่วม (Participatory lesson learning) ในการถอดบทเรียนจะดําเนินการใน 2 ระดับ คือ 1) การถอดบทเรียนจากคณะขับเคลื่อน
โครงการความร่วมมือเพื่อให้ได้ชุดความรู้ในการจัดการของทีมสนับสนุน 2) การถอดบทเรียนจาก โครงการวิจัยย่อย เพื่อให้ได้ความรู้การปฏิบัติการตามประเด็นวิจัยในพื้นที่ปฏิบัติการจริง โดยให้โอกาสผู้ ที่ เกี่ยวข้องได้ร่วมแสดงความคิดเห็น เปิดใจเรียนรู้ร่วมกัน และลงมือทําด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของ ตนเองอย่างเต็มที่ รวมไปถึงการให้ข้อเสนอแนะต่อกระบวนการวิจัยในแต่ละขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือ ประเด็นในการถอดบทเรียน
3.2.2 การประชุมกลุ่มย่อย (Focus group discussion) เป็นการจัดประชุมเพื่อเก็บข้อมูลในเชิงลึกในแต่ละประเด็นที่เกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายในแต่ละ
กลุ่ม และเพื่อเป็นการเพิ่มเติมข้อมูลให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการตรวจสอบข้อมูลก่อนที่จะได้ ผลสรุปร่วมกัน นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามประสบการณ์กันด้วย เครื่องมือ ที่ใช้ คือ ประเด็นการประชุมกลุ่มย่อย
3.2.3 การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม (Participatory observation) เป็นการเข้าไปร่วมกิจกรรมของโครงการวิจัยหรือเวทีวิชาการสนับสนุนทุมวิจัยและร่วม
สังเกตการดําเนินกิจกรรมนั้นๆโดยผู้เกี่ยวข้องอาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ เครื่องมือที่ใช้แบบบันทึกการสังเกต แบบมีส่วนร่วม
3.2.4 การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นการสนทนาซักถามผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มโดยเน้นการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง เพื่อให้
เกิดความเป็นธรรมชาติมากที่สุด โดยผู้วิจัยเตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการสัมภาษณ์ไว้ก่อน ได้แก่ ประเด็น สัมภาษณ์ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เครื่องบันทึกเสียง ตลอดจนการเตรียมตัวของนักวิจัยเอง
3.3 ขั้นตอนและวิธีการดําเนินการวิจัย
3.3.1 ขั้นการเตรียมการ กําหนดให้มีการเตรียมการโดยดําเนินกิจกรรมดังนี้คือ
1) ศึกษาทบทวนเอกสาร
เป็นการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานตามประเด็นที่กําหนดไว้ โดยเอกสารที่ ศึกษาจะประกอบด้วย หนังสือ งานวิจัย บทความ วารสาร และจากอินเตอร์เน็ท โดยข้อมูลที่ได้จะนํามาจัด หมวดหมู่วิเคราะห์และเขียนไว้ในบทที่สองของงานวิจัย เพื่อนําไปใช้ในการปฏิบัติการสนามต่อไป
2) จัดทําข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยและ สํานักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย
3) จัดตั้งคณะทํางานขับเคลื่อนโครงการประกอบด้วย สถาบันวิจัยและพัฒนา นักวิชาการด้าน วิจัยเพื่อท้องถิ่นและพี่เลี้ยงวิจัยเพื่อท้องถิ่นชุดนักวิชาการเลย เพื่อทําหน้าที่ในการจัดทําแผนการบริหาร งานวิจัย เพื่อติดตามสนับสนุนโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นให้บรรลุเป้าหมาย
3.3.2 ขั้นปฏิบัติการ
ในขั้นตอนการปฏิบัติการมีการดําเนินการควบคู่กันไปในสองส่วนคือ
1) การทดลองปฏิบัติการระบบการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นใน มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ประกอบด้วย (1) การประชุมวางแผน (Plan) (2) การปฏิบัติการตามแผน (Do) (3) การตรวจสอบประเมินกิจกรรม (Check) (4) การปรับปรุงส่วนที่มีปัญหา (Action)
2) การปฏิบัติการเพื่อหนุนเสริมศักยภาพนักวิชาการในการดําเนินงานโครงการวิจัยย่อย ประกอบด้วย กิจกรรมย่อยดังนี้ คือ (1) การค้นหาคนและพื้นที่วิจัย (2) การพัฒนาโจทย์วิจัย (3) การเสริม ศักยภาพนักวิชาการในการทําวิจัย (4) การสรุปบทเรียนและการจัดทํารายงาน
3.3.3 ขั้นการสรุปผล/บทเรียน
ในขั้นนี้จะเป็นการสรุปผลและบทเรียนการทํางานใน 3 ส่วน คือ
1) ถอดบทเรียนระบบการบริหารเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
2) ถอดบทเรียนและสังเคราะห์ วิธีการหนุนเสริมชุดโครงการวิจัยย่อย
3) สังเคราะห์ความรู้จากการปฏิบัติการของชุดโครงการวิจัยย่อย
3.4 การตรวจสอบข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้เป็นลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บข้อมูลโดยการพูดคุยสอบถาม สังเกต พฤติกรรม สัมภาษณ์ เชิงลึก และจดบันทึก ดังนั้นข้อมูลที่ได้จึงเป็นข้อมูลที่ต้องอาศัยความเข้าใจและตีความ เพื่อตรวจสอบความพอเพียงของข้อมูลที่ได้ว่าสามารถตอบปัญหาการวิจัยได้ และข้อมูลมีความถูกต้อง มี ความตรง และเชื่อถือได้ เพื่อเป็นการป้องกันความลําเอียงที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการตีความของข้อมู ล ผู้วิจัยได้ประยุกต์การตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (triangulation) มีวิธีการ ตรวจสอบดังนี้
3.5.1 การตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล (data triangulation) เป็นการตรวจสอบว่าข้อมูลที่ได้จะ เหมือนกันหรือไม่ แหล่งข้อมูลด้านสถานที่ โดยการตรวจสอบว่าข้อมูลที่ได้เรื่องเดียวกันแต่ต่างสถานที่ เหมือนกันหรือไม่ และด้านบุคคล โดยการตรวจว่าบุคคลที่ให้ข้อมูลเปลี่ยนไปข้อมูลจะเหมือนเดิมหรือไม่
3.5.2 การตรวจสอบสามเส้าด้านวิธีการรวบรวมข้อมูล (methodological triangulation)
เป็นการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับด้วยวิธีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีที่แตกต่างกัน ได้แก่ การเก็บข้อมูลจาก สัมภาษณ์ การสังเกต และการวิเคราะห์จากเอกสาร เป็นต้น
3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการดําเนินงานวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการอธิบายความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์โดยตั้งอยู่บน พื้นฐานแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องตามกรอบแนวคิด โดยนําข้อมูลที่เก็บได้จากกิจกรรมวิจัยทั้งหมด มาเข้าสู่ กระบวนการวิเคราะห์โดยการจําแนก จัดหมวดหมู่ข้อมูล เพื่อให้สามารถเข้าใจง่าย และมีความสัมพันธ์เชิง เหตุผล และตอบวัตถุประสงค์ของโครงการ
27
บทที่ 4 ผลการวิจัย
การวิจัยรูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในมหาวิทยาลัย ราชภัฎเลย มีวัตถุประสงค์หลัก คือ 1)เพื่อศึกษาระบบกลไกที่เหมาะสมกับการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อ ท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2) เพื่อศึกษากระบวนการหนุนเสริมศักยภาพนักวิชาการในการทํา
วิจัยเพื่อท้องถิ่นที่เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 3) เพื่อสังเคราะห์ความรู้ที่เกิดขึ้นกับชุดโครงการ ย่อย ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 4) เพื่อค้นหารูปแบบการการบริหาร จัดการเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภายใต้ความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ผลการวิจัยจะ นําเสนอตามกรอบวัตถุประสงค์การวิจัยเป็นหลัก โดยแบ่งเป็นหัวข้อดังนี้
4.1 ระบบกลไกการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในมหาวิทยาลัย
4.2 กระบวนการหนุนเสริมศักยภาพนักวิชาการในการทําวิจัยเพื่อท้องถิ่น
4.3 ชุดความรู้โครงการย่อยภายใต้โครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
4.4 รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภายใต้ความร่วมมือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
4.5 ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากโครงการ
4.1 ระบบกลไกการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในมหาวิทยาลัย
การดําเนินงานโครงการรูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นใน มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝุายวิจัย เพื่อท้องถิ่นกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มีขั้นตอนวิธีการพัฒนากลไกและระบบกลไกขับเคลื่อนงานวิจัย เพื่อท้องถิ่น ดังต่อไปนี้
4.1.1 ขั้นตอนวิธีการพัฒนากลไกความร่วมมือ
การพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยกับมหาวิทยาลัยราช ภัฏเลยในการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มีขั้นตอนวิธีการดังต่อไปนี้
4.1.1.1 การสร้างรูปธรรมงานวิจัยกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นการดําเนินงานวิจัย เพื่อท้องถิ่นกับนักวิชาการในมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างรูปธรรมงานวิจัย และสร้างการเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง นักวิชาการผู้สนใจ นักวิชาการ และนิสิตนักศึกษา โดยสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยฝุายวิจัยเพื่อ ท้องถิ่นได้เข้ามาดําเนินงานวิจัยกับนักวิชาการในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยโดยไม่ผ่านโครงสร้าง สถาบันการศึกษาในปี พ.ศ. 2553-2554 ผลการดําเนินงานที่ผ่านมามีโครงการวิจัยเกิดขึ้นใน 2 รุ่น จํานวน 6 โครงการ มีนักวิชากรเข้าร่วมเป็นนักวิจัยจํานวน 10 คน ซึ่งทําให้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้เป็นที่ รู้จักของนักวิชาการในมหาวิทยาลัย
4.1.1.2 การนําเสนอผลงานวิจัยสู่ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ในระหว่างที่มีการทํางานวิจัยเพื่อ ท้องถิ่นร่วมกับนักวิชาการได้มีการนําเสนอผลงานวิจัยให้ผู้บริหารได้รับทราบ โดยวิธีการดังนี้ (1) การ เชิญผู้บริหารมหาวิทยาลัยเข้าร่วมเวทีวิชาการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เช่น ร่วมเป็นประธานเปิดงาน และ ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในเวทีรายงานผลการวิจัย เป็นต้น (2) การส่งเอกสารและหนังสือผลงานวิจัย
ให้กับผู้บริหารและสถาบันวิจัย เป็นต้น ผลการดําเนินงานทําให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องรับทราบการ ดําเนินงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอ
4.1.1.3 การประชุมหารือแนวทางความร่วมมือ กิจกรรมนี้เป็นการประสานงานให้ผู้บริหาร มหาวิทยาลัยและผู้บริหาร สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ได้พบปะพูดคุยหารือแนวทาง ความร่วมมือกัน โดยมีกิจกรรมย่อยๆ ดังนี้
1) การประชุมหารือร่วมระหว่างรองอธิการบดีฝุายวิจัย และ ผู้อํานวยการสํานักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย จัดขึ้นในวันที่ 3 มิถุนายน 2554 โดยมีคณะทํางานเข้าร่วมประกอบด้วย ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นและทีมที่ปรึกษางานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในมหาวิทยาลัย เช่น ผศ.ดร.สุทิน สุขคง และผศ.ดร.วัชรินทร์ สายสาระ เป็นต้น ผลการหารือทําให้ได้ แนวทางความร่วมมือในเบื้องต้นและมีแผนในการหารือในรายละเอียดอีกครั้ง
2) การประชุมหารือร่วมระหว่างอธิการบดี และผู้อํานวยการ สกว.ฝุายวิจัยเพื่อท้องถิ่น จัด ขึ้นในวันที่ 30 ตุลาคม 2554 ที่ห้องอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย คณะทํางานผู้ร่วมประชุม ประกอบด้วย ดร.สุพรรณี ศรีปัญญากร ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ผศ.ดร.สุทิน สุขคง ที่ ปรึกษา คุณยุทธนา วงศ์โสภา ผู้ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดเลย นายภาสกร บัวศรี และนางสาว เอมมิกา ศรีกังวานใจ จากศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นชุดนักวิชาการเลย
ภาพที่ 1 : แสดงการประชุมหารือรายละเอียดความร่วมมือกับผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา
ผลการหารือได้ความชัดเจนในการดําเนินงานและกําหนดแนวทางร่วมกันที่ชัดเจนมาก ยิ่งขึ้น ทางผู้บริหารโดยอธิการบดีมีความเห็นด้วยกับโครงการความร่วมมือและได้มอบหมายให้ สถาบันวิจัยและพัฒนาเป็นฝุายรับผิดชอบร่วมกับศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นชุดนักวิชาการเลย จัดทําร่างรายละเอียดความร่วมมือมานําเสนออีกครั้ง
3) ประชุมหารือรายละเอียดโครงการความร่วมมือ เป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง สถาบันวิจัยและพัฒนากับศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นชุดนักวิชาการเลย โดยได้หารือใน รายละเอียดความร่วมมือและมีข้อตกลงรายละเอียดร่วมกันเพื่อนําเสนอต่ออธิการบดีต่อไป
4) การลงนามความร่วมมือ ในกระบวนการทํางานเดิมที่คณะทํางานได้วางไว้ กําหนดให้มี เวทีแถลงข่าวและจัดพิธีลงนามร่วมกันระหว่า คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยและผู้บริหาร สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) แต่ด้วยเงื่อนไขเวลาที่แต่ละฝุายว่างไม่ตรงกัน ทําให้การลง นามความร่วมมือในครั้งนี้ไม่มีการจัดพิธีการอย่างเป็นทางการ และมีปรับใช้วิธีการส่งเอกสารให้ผู้บริหาร แต่ละหน่วยงานได้ลงนามแล้วจัดส่งเอกสารฉบับสมบูรณ์ให้แต่ละส่วนได้เก็บรักษาไว้ ซึ่งในขั้นตอนนี้ ผู้วิจัยวิเคราะห์ว่า การไม่ได้จัดพิธีการลงนามความร่วมมืออย่างเป็นทางการกลายเป็นอุปสรรคส่วนหนึ่ง
ของการดําเนินงานที่ทําให้ผู้บริหารสถาบันที่ร่วมโครงการความร่วมมือไม่ให้ความสําคัญกับการ ขับเคลื่อนโครงการอย่างเต็มที่
ผลการดําเนินงานทําให้เกิดการลงนามความร่วมมือในการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นใน มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยร่วมกัน ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยกับสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝุายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ซึ่งรายละเอียดความร่วมมือจะนําเสนอในผลการศึกษาช่วงต่อไป
โดยสรุป ขั้นตอนวิธีการพัฒนากลไกความร่วมมือประกอบด้วย การสร้างรูปธรรมงานวิจัย การ เชิญผู้บริหารร่วมเวทีการวิจัย การหารือแนวทางความร่วมมือ การทํารายงานละเอียดโครงการ และการ ลงนามความร่วมมือ สรุปได้เป็นแผนผังได้ดังภาพที่ 2 สําหรับปัญหาอุปสรรคที่พบ คือ ในขั้นตอนการ ลงนามความร่วมมือ ผู้บริหารหน่วยงานทั้งสองฝุายมีเวลาว่างไม่ตรงกัน จึงทําให้ไม่สามารถจัดพิธีการลง นามร่วมกันได้ ทางคณะทํางานได้แก้ไขปัญหาโดยการจัดทําเอกสารส่งให้แต่ละฝุายหมุนเวียนกันลงนาม และส่งเอกสารลงนามความร่วมมือฉบับสมบูรณ์ให้แต่ละหน่วยงานเก็บไว้
สร้างรูปธรรม
งาน CBR ใน
เชิญผ้บริหาร
มหาวิทยาลยั เข้า
มหาวิทยาลย
ั ร่วมเวทีวิชาการ งาน CBR
ประชมหารือ แนวทางความ ร่วมมือของ
ผ้บริหาร
คณะท˚างาน
ท˚ารายละเอียด โครงการMOU
ลงนาม
MOU
แผนภาพที่ 1: แสดงแผนผังแสดงกระบวนการลงนามความร่วมมือ
4.1.2 กลไกที่เกิดขึ้นในโครงการความร่วมมือ
จากการดําเนินกิจกรรมตามขั้นตอนวิธีการการลงนามความร่วมมือที่กล่าวมาข้างต้น ได้เกิด กลไกในการสนับสนุนการวิจัยในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ใน 2 ระดับดังนี้
4.1.2.1 กลไกความร่วมมือระดับสถาบัน/หน่วยงาน
ผลจากการหารือร่วมกันระหว่างสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและมหาวิทยาลัย ราชภัฏเลย ได้เกิดโครงการความร่วมมือในการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขึ้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลไกความร่วมมือระดับสถาบัน ภายใต้ชื่อ “โครงการความร่วมมือในการขับเคลื่อน งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย” ซึ่งเป็นการลงนามความร่วมมือโดย ผู้ช่วย ศาสตราจารย์สนิท เหลืองบุญนาค อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และศาสตราจารย์สวัสดิ์ ตันตะ รัตน์ ผู้อํานวยการสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยมี พยานในฝุายมหาวิทยาลัยราชภัฏ เลย จํานวน 2 คน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชาว์ อินใย รองอธิการฝุายวิจัยและพัฒนา และ ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร.สุทิน สุขคง ประธานหลักสูตรสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา ในส่วนพยานฝุายสํานักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัยประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญชร แก้วส่อง ผู้อํานวยการ สกว.ฝุาย วิจัยเพื่อท้องถิ่น และนายภาสกร บัวศรี ผู้ประสานงานศูนย์วิจัยเพื่อท้องถิ่นชุดนักวิชาการเลย ซึ่งในส่วน
การลงนามระดับผู้บริหารสถาบันถือได้ว่าเป็นกลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงานที่ใช้เป็น กรอบในการขับเคลื่อนงาน โดยมีรายละเอียดความร่วมมือดังตารางที่ 1
บันทึกความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย กับ สํานักงานกองทนสนับสนุนการวิจัย ).สกว( บันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น จัดทําขึ้นระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สนิท เหลืองบุตรนาค อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย กับ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการ วิจัย (สกว.) โดย ศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ ผู้อํานวยการสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สนับสนุนให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยทํางานวิจัยเพื่อท้องถิ่น 2) ผลักดันให้เกิดการบูรณาการงานวิจัยเพื่อ ท้องถิ่นไปสู่การจัดการเรียนการสอน และการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 3) สนับสนุนให้บุคลากรของ หน่วยงานด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยเข้ามามีส่วนร่วมเรียนรู้การบริหารงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น รูปแบบความร่วมมือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จะสนับสนุนให้บุคลากรในสังกัดมีส่วนร่วมในการทํางานวิจัย และบุคลากรผู้มี ประสบการณ์เข้าร่วมเป็นทีมพี่เลี้ยงสนับสนุนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติราชการตามปกติ ตลอดจนอํานวยความสะดวกในเรื่องสถานที่ พาหนะ อุปกรณ์เครื่องมือ และทรัพยากรอื่นๆ รวมทั้งสนับสนุน งบประมาณด้านการวิจัย กรณีเกิดงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นขึ้นในวงเงินไม่เกิน 240,000 บาท )สองแสนสี่หมืนบาท( สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จะจัดให้มีคณะทํางานเพื่อทําหน้าที่เป็น “พี้เลี้ยง” สนับสนุน หนุนเสริม ให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย สามารถดําเนินการวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและสําเร็จลุล่วงตาม วัตถุประสงค์ของโครงการ และสนับสนุนงบประมาณด้านการวิจัย กรณีเกิดงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นขึ้นในวงเงินไม่เกิน 360,000 บาท )สามแสนหกหมื่นบาท( ระยะเวลา ความร่วมมือนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่มีการลงนามเป็นต้นไป เป็นระยะเวลา 15 เดือน(เริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2555 ถึงเดือนกรกฎาคม 2556) และอาจขยายความร่วมมือได้อีก ตามความประสงค์ร่วมกันของทั้งสอง ฝุาย หากมีความประสงค์จะทําความตกลงในรูปของอนุสัญญาเพิ่มเติมและหรือแก้ไขข้อตกลงดังกล่าวข้างต้น จะต้อง ได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองฝุายหรือหากฝุายใดฝุายหนึ่งประสงค์จะยุติบันทึกความร่วมมือนี้ให้แจ้งอีกฝุายหนึ่ง ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือน เพื่อแสดงถึงเจตนารมณ์ และความตั้งใจของทั้งสองฝุายในการดําเนินงานเพื่อสนับสนุนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ จึงได้ลงนามไว้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ตําบล เมือง อําเภอเมือง จังหวัดเลย | |
......................................... (ลงนาม) (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สนิท เหลืองบุตรนาค) อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย | ………..............................................(ลงนาม) (ศาสตราจารย์สวัสดิ์ ตันตระรัตน์) ผู้อํานวยการสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย |
........................................................ (ลงนาม) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชาว์ อินใย รองอธิการบดีฝุายวิจัยและพัฒนา (พยาน) | ...............................................................(ลงนาม) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญชร แก้วส่อง ผู้อํานวยการ สกว.ฝุายวิจัยเพื่อท้องถิ่น (พยาน) |
..............................................................(ลงนาม) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทิน สุขคง ประธานหลักสูตรสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา (พยาน) | ............................................................(ลงนาม) นายภาสกร บัวศรี ผู้ประสานงานศูนย์วิจัยเพื่อท้องถิ่นชุดนักวิชาการเลย (พยาน) |
ตารางที่ 1 : แสดงบันทึกการลงนามความร่วมมือระหวา่ งมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยกับสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั
จากเอกสารการลงนามความร่วมมือข้างต้น ได้มีการให้รายละเอียดที่เป็นเหตุผลของการจัดทํา โครงการความร่วมมือในครั้งนี้ คือ
1) มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มีภารกิจที่สอดคล้องกับการพัฒนาท้องถิ่น ตาม
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ มาตรา 7 กําหนดให้มหาวิทยาลัยราชภัฎเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อ การพัฒนาท้องถิ่น และมาตรา 8 กําหนดให้มีภาระหน้าที่หลัก 7 ประการ คือ (1) การผลิตบัณฑิต (2)
สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) การสร้างความสํานึกในคุณค่าวัฒนธรรม
ท้องถิ่น (4) สร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น (5) สร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพครู (6) สร้างความ ร่วมมือในการพัฒนาท้องถิ่น และ (7) ศึกษาวิจัยและส่งเสริมการพัฒนาท้องถิ่นตามแนวพระราชดําริ ดังนั้นโดยเปูาหมาย ทิศทาง และภาระหน้าที่งานของมหาลัยวิทยาลัยราชภัฏ ถือได้ว่าเป็น สถาบันอุดมศึกษาที่มีความใกล้ชิดกับชุมชนท้องถิ่นมากที่สุด มีที่ตั้งกระจายครอบคลุมอยู่เกือบทุกพื้นที่ จังหวัดของประเทศ มีการจัดการเรียนการสอนหลากหลายหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของ ท้องถิ่น และมีนักวิชาการที่หลากหลายความรู้ความสามารถ ดังนั้นนักวิชาการในมหาวิทยาลัยราชภัฏ จึงนับได้ว่าเป็นผู้ทรงความรู้และเป็นครูที่เชื่อถือในสายตาชาวบ้านในชุมชนชนบท
2) ภารกิจของการวิจัยเพื่อท้องถิ่น คือ การสร้างความเข้มแข็งให้ท้องถิ่น โดยการวิจัยเพื่อ ท้องถิ่นเป็นกระบวนการวิจัยที่มุ่งสร้างพลังอํานาจให้กับชุมชน (Empowerment) ไปพร้อม ๆ กับการ เคลื่อนไหวทางสังคม (Movement) โดยมีที่ปรึกษาวิจัย (Research Counselor) และหน่วยงานวิจัย เพื่อท้องถิ่น (Node) คอยให้การสนับสนุนชุมชนวิจัยอย่างใกล้ชิด ภายใต้หลักการใหญ่ ๆ 3 ประการคือ
(1) โจทย์วิจัยต้องมาจากปัญหาความต้องการของชาวบ้าน (2) ชาวบ้านเป็นทีมวิจัยหรือทีมร่วมวิจัย และ
(3) มีการทดลองปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน ทั้งนี้มีเปูาหมายเพื่อสร้างการเรียนรู้ของคนในชุมชน ท้องถิ่นให้สามารถพัฒนาตนเองและแก้ไขปัญหาชุมชนท้องถิ่นร่วมกันได้อย่างมีระบบแบบแผน สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เริ่มสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เมื่อเดือนตุลาคม 2541 โดยจัดตั้งสํานักงานภาค(สกว.สํานักงานภาคหรือ สกว.ฝุายวิจัยเพื่อท้องถิ่นในปัจจุบัน) ขึ้นที่จังหวัด เชียงใหม่ และได้ขยายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นออกไป เพื่อให้ครอบคลุมทั่วทุกภาคของประเทศไทยในเวลา ต่อมา สําหรับภาคอีสานได้มีการดําเนินการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นครั้งแรกในปี 2544 ซึ่งตลอด ระยะเวลาการดําเนินงานที่ผ่านมา ในภาคอีสานมีการดําเนินงานโครงการวิจัยกว่า 200 โครงการ โดยมี หน่วยประสานงานในพื้นที่และพี่เลี้ยงชุดโครงการรวม 17 หน่วย ทํางานครอบคลุมพื้นที่ 14 จังหวัดของ ภาคอีสาน
3) มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยมีชุดบทเรียนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นมาก่อนจึงมีความพร้อมในการ จัดทําโครงการความร่วมมือ กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2553 สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยได้เริ่มขยาย งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับนักวิชาการในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดยมีเปูาหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ
นักวิชาการในการทํางานเพื่อสังคมท้องถิ่นผ่านกระบวนการวิจัย ผลการดําเนินงานโครงการได้พิสูจน์ อย่างชัดเจนว่า พลังจากกลุ่มคนชั้นกลางที่เป็นนักวิชาการมีความสําคัญอย่างยิ่งในการสร้างการ เปลี่ยนแปลงให้กับสังคม เพราะนักวิชาการเป็นผู้มีความรู้ด้านวิชาการ มีหน้าที่ในการผลิตบุคลากรไป ทํางานรับใช้สังคมและมีหน้าที่ในการบริการวิชาการกับชุมชนโดยตรง จากการสรุปบทเรียนการทํางาน
2 ปี พบว่า ชุมชนได้ประโยชน์อย่างยิ่งจากการได้เติมเต็มองค์ความรู้จากนักวิชาการและการประสาน ภาคีภายนอกเข้ามาสนับสนุนการแก้ไขปัญหาของชุมชน ในขณะเดียวกันนักวิชาการก็จะได้ประโยชน์ จากการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การปรับทัศนคติในการทํางานกับชุมชน การทํางานแบบมีส่วนร่วมกับ ชุมชน รวมถึงการมีพื้นที่ปฏิบัติการในการจัดเรียนการสอนสําหรับนิสิตนักศึกษา จึงนับได้ว่าเป็นการ ผนวกพลังการทํางานแบบทวีคูณของทั้งสองภาคส่วนร่วมกัน ซึ่งเป็นการตอบสนองเปูาหมาย “มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” ได้เป็นอย่างดี
4) ด้วยภารกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏและสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยฝุายวิจัย เพื่อท้องถิ่น มีความสอดคล้องกันที่จะนําไปสู่ความร่วมมือในการพัฒนาท้องถิ่นได้ จึงเป็นที่มาของการ ประชุมหารือในการสร้างความร่วมมือกันอย่างเป็นทางการระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย กับ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อสนับสนุนการนําเครื่องมือวิจัยเพื่อท้องถิ่นเข้าไปเป็น ทางเลือกหนึ่งในสนับสนุนการบริการชุมชนท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ เพื่อประโยชน์ใน การขยายงานกระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นอันเป็นเปูาหมายของ สกว.ฝุายวิจัย เพื่อท้องถิ่น และการส่งเสริมภารกิจงาน “มหาวิทยาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” อันเป็นเปูาหมายของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
นอกจากนี้ในรายละเอียดเงื่อนไขความร่วมมือ จากการหารือแนวทางความร่วมมือใน รายละเอียดพบว่า ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยติดขัดเรื่องระเบียบการใช้งบประมาณการวิจัย จึงไม่ สามารถส่งงบประมาณไปรวมกันไว้ที่สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยได้ เพื่อให้โครงการความร่วมมือ เดินหน้าต่อได้จึงขอสนับสนุนงบประมาณในช่วงระยะที่สองโดยใช้ระเบียบการจัดการงบประมาณของ มหาวิทยาลัยและให้สํานักงานกองสนับสนุนการวิจัยสนับสนุนงบประมาณในระยะที่หนึ่ง ซึ่งใน รายละเอียดเอกสารเชิงหลักการในการสร้างความร่วมมือในการสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยกับ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝุายวิจัยเพื่อท้องถิ่น แต่ ละฝุายตกลงที่จะดําเนินการตามบทบาทและภารกิจ ดังนี้
1) มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จะสนับสนุน (1) สนับสนุนให้มีการจัดตั้งคณะทํางานเพื่อ ขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในสถาบัน โดยมีบุคลากรจากสถาบันวิจัยและนักวิชาการผู้มี ประสบการณ์ในสถาบันเข้าร่วมเป็นคณะทํางานโดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติราชการตามปกติ (2) สนับสนุนให้บุคลากรในสังกัดเข้าร่วมทําโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ ราชการตามปกติ ตลอดจนอํานวยความสะดวกในเรื่องสถานที่ พาหนะ อุปกรณ์เครื่องมือ และ ทรัพยากรอื่นๆ (3) สนับสนุนทุนโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่เกิดขึ้นใน ปี พ.ศ. 2555 ในการทํา โครงการวิจัยในระยะที่สอง จํานวน 3 โครงการ ๆ ละไม่เกิน 80,000 บาท ในวงเงิน 240,000 บาท (สองแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)
2) สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝุายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สนับสนุน (1) สนับสนุนบุคลากรเข้าร่วม“คณะทํางานขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย” ทํา หน้าที่เป็นผู้ประสานงานการขับเคลื่อนโครงการร่วมกับมหาวิทยาลัย (2) สนับสนุนงบประมาณในการจัด
กิจกรรมหนุนเสริมบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ให้สามารถดําเนินการวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้อย่างมี ประสิทธิภาพและสําเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ (3) สนับสนุนทุนโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ที่ขึ้นในปีที่ 2555 ในการทําโครงการวิจัยระยะที่ 1 จํานวน 3 โครงการๆละ 120,000 บาท (สมทบเพิ่ม
จากทางมหาวิทยาลัยโครงการละ 80,000 บาท) ในวงเงิน 360,000 บาท (สามแสนหกหมื่นบาท) (4) สนับสนุนการสังเคราะห์ความรู้จากการดําเนินงานร่วมกัน และสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยเพื่อ ท้องถิ่นในเวทีระดับชาติ
4.1.2.2 กลไกคณะทํางานขับเคลื่อนโครงการ
จากโครงการความร่วมมือดังกล่าวข้างต้นได้นํามาสู่การจัดตั้งกลไกคณะทํางานขับเคลื่อน โครงการความร่วมมือฯ เพื่อทําหน้าที่ในการบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อขับเคลื่อนงานภายใต้ วัตถุประสงค์ในข้อตกลงของหน่วยงาน โดยคณะทํางานได้มาจากสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัย ราชภัฏเลยซึ่งเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ชุดนักวิชาการเลยซึ่งเป็นผู้แทนของสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และทีมนักวิชาการที่มี ประสบการณ์เชี่ยวชาญงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นมาก่อน ซึ่งรายนามคณะทํางานจะประกอบด้วยบุคคล ดังต่อไปนี้
1) ดร. สุพรรณี ศรีปัญญากร ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา
2) ผศ.ดร. สุทิน สุขคง นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิด้านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
3) ผศ.ดร. วัชรินทร์ สายสาระ นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิด้านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
4) ผศ.ดร. อานนท์ ผกากรอง นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิด้านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
5) นายภาสกร บัวศรี ผู้ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นชุดนักวิชาการเลย โดยบทบาทหน้าที่ของคณะทํางานขับเคลื่อนโครงการความร่วมมือฯ จะทําหน้าที่ในการบริหาร
จัดการงานวิจัยเพื่อสนับสนุนนักวิชาการสามารถดําเนินงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภายใต้โครงการความร่วมมือ ได้ โดยจะทําหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง (Coaching) ที่ปรึกษา และผู้อํานวยความสะดวกต่างๆ ตามกรอบความ ร่วมมือ นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการสร้างการเรียนรู้ด้านการบริหารจัดงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นร่วมกัน โดย กระบวนการทํางานจะใช้หลักการบริหารจัดการตามวงจร PDCA โดยเริ่มจากการประชุมวางแผนการ ทํางานร่วมกัน ปฏิบัติการตามแผน สรุปบทเรียน และมีการปรับปรุงการทํางานในครั้งต่อไป เนื่องจาก คณะทํางานมีองค์ประกอบจากหลายภาคส่วน จึงมอบหมายให้ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นชุด นักวิชาการเลยเป็นกองเลขาในการประสานงานขับเคลื่อนโครงการ ซึ่งการดําเนินงานสนับสนุนการวิจัย ที่เกิดขึ้นทั้งหมดที่จะกล่าวถึงหัวข้อถัดไป
ผลกการศึกษาผ่านการทดลองปฏิบัติการพบว่า กลไกการทํางานระดับสถาบันหรือหน่วยงานมี จุดบกพร่องในกระบวนการลงนามความร่วมมือที่ไม่มีพิธีกรรมลงนามร่วมกันอย่างเป็นทางการและ ประกาศต่อสาธารณะผ่านสื่อ ทําให้การลงนามในครั้งนี้ไม่มีเป็นที่รับทราบของคนทั่วไปมากนัก ส่งผลต่อ การปฏิบัติงานที่ไม่เข้มข้นมากนัก และอีกประการที่พบ คือ กลไกการคณะทํางานขับเคลื่อนโครงการฯ ในส่วนของสถาบันไม่มีการประกาศแต่งตั้งบุคคลที่จะเข้ามาร่วมเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นทางการ เมื่อมี การทํางานจึงเป็นไปในรูปแบบการหมุนเวียนกันมาประชุมร่วมกับคณะทํางาน ส่งผลต่อการเรียนรู้ การ ตัดสินใจในการทํางาน และส่งผลต่อการสนับสนุนโครงการวิจัยภายใต้ความร่วมมือ ดังนั้นข้อค้นพบใน เรื่องกลไกความร่วมมือ คณะผู้วิจัยจึงเสนอว่า รูปแบบกลไกที่เหมาะสมผู้ร่วมจัดทําความร่วมมือควรมี ความเข้าใจร่วมกันอย่างชัดเจน มีการจัดพิธีกรรมลงนามอย่างเป็นทางการ และกลไกขับเคลื่อนโครงการ
ควรมีความเป็นอิสระจากกลไกการบริหารงานวิจัยแบบปกติดของสถาบันการศึกษาและควรมีการแต่งตั้ง บุคคลที่ชัดเจนเข้ามาร่วมเป็นคณะทํางานที่ต้องทํางานอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอ
4.2 กระบวนการหนุนเสริมนักวิชาการในการทําวิจัยเพื่อท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
การหนุนเสริมศักยภาพนักวิชาการในการทําวิจัยเพื่อท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ถือได้ว่า เป็นการทดลองปฏิบัติการร่วมกันของกลไกลคณะทํางานขับเคลื่อนโครงการความร่วมมือฯ เพื่อค้นหา รูปแบบการบริหารจัดการงานวิจัยภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยกับ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย โดยขั้นตอนการหนุนเสริมนักวิชาการในการทําวิจัยภายใต้ชุด โครงการความร่วมมือ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการเล่าเรื่องผู้วิจัยได้แบ่งการนําเสนอเป็น 2 ระยะ ดังนี้คือ ระยะที่ 1 การดําเนินงานภายใต้งบประมาณของสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และระยะ ที่ 2 การดําเนินงานภายใต้การสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
4.2.1 การดําเนินงานภายใต้งบประมาณของสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จากข้อตกลง ความร่วมมือในระยะที่ 1 สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยจะสนับสนุนงบประมาณในการสนับสนุน
งบประมาณในการจัดกิจกรรมหนุนเสริมบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ให้สามารถดําเนินการ วิจัยเพื่อท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและสําเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และสนับสนุนทุน โครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ขึ้นในปีที่ 2555 ในการทําโครงการวิจัยระยะที่ 1 จํานวน 3 โครงการๆละ 120,000 บาท ในวงเงิน 360,000 บาท (สามแสนหกหมื่นบาท) ในกิจกรรมหนุนเสริมศักยภาพ นักวิชาการได้มีการแบ่งกิจกรรมเป็น 4 ช่วง คือ 1) ช่วงการค้นหานักวิชาการร่วมโครงการ 2) ช่วงการ
พัฒนาโจทย์วิจัย 3) ช่วงเสริมศักยภาพนักวิชาการในการดําเนินงานวิจัย 4) ช่วงการสรุปบทเรียนและ สังเคราะห์ชุดความรู้ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
4.2.1.1 ช่วงการค้นหานักวิชาการเข้าร่วมโครงการ
ในการค้นหานักวิชาการเข้าร่วมงานวิจัยของชุดโครงการรูปแบบการบริหารจัดการที่ เหมาะสมเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับนักวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย ได้มีกระบวนการ ดําเนินงานดังนี้
1) ประชุมหารือคณะทํางาน ในการค้นหาคนเข้าร่วมโครงการทางชุดโครงการวิจัย ได้นั่งประชุมหารือกับคณะทํางานขับเคลื่อนโครงการฯ ซึ่งประกอบด้วย ดร.สุพรรณี ศรีปัญญากร ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ผศ.ดร สุทิน สุขคง และ ผศ.ดร.วัชรินทร์ สายสาระ ที่ปรึกษาชุด โครงการ และทีมงานชุดประสานงานอันประกอบด้วย นายภาสกร บัวศรีและนางสาวเอมมิกา ศรีกังวาล ใจ คือ เพื่อกําหนดแนวทางและแผนกิจกรรมร่วมกัน โดยที่ประชุมได้ข้อสรุปร่วมกันคือ 1) ให้มีการ ประชาสัมพันธ์เพื่อหาผู้สนใจเข้าร่วมโครงการโดยทางสถาบันวิจัยจะเป็นผู้ดําเนินการประชาสัมพันธ์ผ่าน ระบบการสื่อสารของมหาวิทยาลัย 2) การทาบทามคนจากฐานประสบการณ์งานด้านชุมชนท้องถิ่น
2) การประชุมทําความเข้าใจโครงการ เมื่อเห็นกลุ่มคนที่สนใจในเบื้องต้น ทางชุด โครงการโดยทีมประสานงานและที่ปรึกษา ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อทําความเข้าใจในงานวิจัยเพื่อ ท้องถิ่นสําหรับนักวิชาการ และเพื่อคัดเลือกคนพื้นที่ในการพัฒนาโจทย์วิจัยร่วมกันต่อไป โดยได้จัด ประชุมขึ้นในวันที่ 22 มีนาคม 2555 ที่ห้องประชุมสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยทีมจัดการ ทีมที่ปรึกษา นักวิชาการผู้สนใจจํานวน 12 คน และวิทยากรจากศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดเลย การแลกเปลี่ยนเริ่มด้วยการทําความรู้จัก
กัน การฉายวีดีทัศน์แนะนํางานวิจัยเพื่อท้องถิ่น อภิปรายนําถึงความจําเพาะแตกต่างจากงานวิจัยแบบ ทั่วไปอย่างไร รวมถึงยกตัวอย่างงานวิจัยที่ผ่านมากของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เปิดให้มีการซักถาม แลกเปลี่ยน และสุดท้ายเป็นการนําเสนอเงื่อนไขการสนับสนุนของ สกว. และแลกเปลี่ยนหาคนและ ประเด็นที่สนใจ
ผลจากการจัดกิจกรรมนี้ทําให้ได้เห็นคนที่สนใจอยากทําวิจัย เห็นแนวคิดเบื้องหลังคน และเห็นประเด็นในเบื้องต้นที่เขาสนใจเพื่อนํามาพัฒนาเป็นวิจัย โดยมีนักวิชาการผู้สนใจมาจากคณะ วิทยาการจัดการ 1 ทีม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1 ทีม และคณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ 3 ทีม สําหรับปัญหาอุปสรรคในเชิงกระบวนการที่พบในช่วงนี้ คือ ตัวแทนจากสถาบันวิจัย และพัฒนาติดภารกิจเข้าร่วมเวทีไม่ได้ ซึ่งทําให้การเรียนรู้ร่วมกันของคณะกลไกขับเคลื่อนงานไม่สมบูรณ์ มากนัก
4.2.1.2 ช่วงการพัฒนาโจทย์วิจัย
การสนับสนุนการพัฒนาโจทย์วิจัยในงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจะเน้นโจทย์วิจัยที่เป็นปัญหา ความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ในกรณีนักวิชาการที่จะเข้ามาร่วมงานกับชุมชนจะต้องลงพื้นที่เพื่อ พัฒนาโจทย์วิจัยร่วมกับชุมชน โดยทางชุดพี่เลี้ยงได้มีกระบวนการสนับสนุนในการพัฒนาโจทย์วิจัยของ นักวิชาการดังนี้
1) การประชุมเลือกพื้นที่และประเด็นวิจัย ภายหลังจากการเห็นกลุ่มนักวิชาการผู้สนใจ
ทําวิจัยแล้ว ทางศูนย์ประสานงานได้จัดประชุมเพื่อทําความเข้าใจเพิ่มเติมและคัดเลือกประเด็นและพื้นที่ สําหรับการลงพัฒนาโจทย์วิจัย ผลการประชุมได้เห็นประเด็นที่นักวิชาการสนใจตามกลุ่มพื้นที่ ดังต่อไปนี้
1.1) อาจารย์ พยุงพร นนทวิศรุต จากสาขาวิชาภาษาไทย สนใจประเด็นงานเชิง วัฒนธรรมในพื้นที่ตําบลนาหอ อําเภอด่านซ้าย เพราะเป็นพื้นที่เคยเข้าไปร่วมทํากิจกรรมาก่อน จึงมี ความคุ้นเคยกับพื้นที่อยู่ในระดับหนึ่ง
1.2) อาจารย์ วิชญ์ มะลิต้น จากสาขาวิชาพัฒนาชุมชน อยากทําประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาท้องถิ่น ดังนั้นประเด็นจึงกว้างและเลือกได้หลายพื้นที่
1.3) อาจารย์อนุชา วิลัยแก้ว จากสาขาเศรษฐศาสตร์ สนใจด้านเศรษฐกิจชุมชน โดยมีพื้นที่สนใจอยู่ที่บ้านน้ําแคม ตําบลน้ําแคม อําเภอท่าลี่
1.4) กลุ่มอาจารย์ไทโรจน์ พวงมณี จากสาขาศิลปะ มีความสนใจด้านการท่องเที่ยว โดยมีพื้นที่ในตําบลนาซ่าว อําเภอเชียงคาน
2) การสนับสนุนการพัฒนาโจทย์วิจัยในพื้นที่ ภายหลังจาการประชุมหาประเด็นและ พื้นที่เบื้องต้นแล้ว ได้มีการกําหนดวันลงประชุมพัฒนาโจทย์วิจัย โดยให้นักวิชาการเจ้าของประเด็นลงไป
นัดหมายพื้นที่และเตรียมผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมเวที เมื่อได้วันเวลาการนัดหมายทางนักวิชาการจะแจ้งมา ทางศูนย์ประสาน และทางพี่เลี้ยงก็จะประสานทีมที่ปรึกษาเพื่อร่วมกันลงไปพัฒนาโจทย์วิจัยช่วย นักวิชาการในพื้นที่ ดังนี้
2.1) ทีมบ้านนาหอ นําโดย ผศ.ดร.พยุงพร นนทวิศรุต ได้มีการจัดเวทีประชุมพัฒนา โจทย์วิจัยในวันที่ 30 มีนาคม 2555 และได้มีการลงพื้นที่ทํากิจกรรมอย่างต่อเนื่องจนได้โจทย์วิจัย
2.2) ทีมบ้านน้ําแคม ตําบลน้ําแคม อําเภอท่าลี่ โดย อาจารย์อนุชา วิลัยแก้ว ได้ประชุมพัฒนาโจทย์วิจัยในวันที่ 29 พฤษภาคม 2555 ที่สถานีอนามัยบ้านน้ําแคม
2.3) ทีมวิจัยบ้านน้อยคีรี ตําบลโนนขมิ้น อําเภอวังสะพุง โดยอาจารย์วิชญ์ มะลิต้น ได้ประชุมพัฒนาโจทย์วิจัยในวันที่ 25 เมษายน 2555 ที่บ้านห้องประชุมโรงเรียนบ้านน้อยคีรี
2.4) ทีมวิจัยบ้านนาซ่าว โดย อาจารย์ ไทโรจน์ พวงมณี ได้ประชุมพัฒนาโจทย์วิจัย ในวันที่ 26 เมษายน 2555 ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตําบลนาซ่าว
ภาพที่ 2 : การประชุมพัฒนาโจทยว์ ิจัยวิจัยในพื้นที่
สําหรับกระบวนวิธีในการประชุมพัฒนาโจทย์วิจัยในแต่ละพื้นที่จะดําเนินการจัด ประชุมแบบมีส่วนร่วมให้ชาวบ้านที่เข้าร่วมได้ระดมปัญหาและวิเคราะห์หาประเด็นการวิจัยร่วมกัน ใน แต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างในเนื้อประเด็นที่เป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละพื้นที่ซึ่งมีประเด็นต่างกันไป โดย สามารถสรุปกระบวนการประชุมได้ดังนี้
(1) นักวิชาการเจ้าของพื้นที่เปิดการประชุม แนะนําคนเข้าร่วม แนะนําทีมจาก สกว.
(2) ทีมพี่เลี้ยงแนะนําตัวเพิ่มเติม แนะนํางานวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยการ ฉายวีดีทัศน์ และนําอภิปรายสรุป รวมถึงการยกตัวอย่างงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ทําแล้วประสบความสําเร็จในที่อื่นๆ
(3) ทีมพี่เลี้ยงและที่ปรึกษา สอบถามความสนใจของชาวบ้านหรือผู้เข้าร่วมเวทีว่ามี ความสนใจอยากทําหรือไม่ ถ้าอยากทําก็ดําเนินการต่อ
(4) พี่เลี้ยงและที่ปรึกษาช่วยกันดําเนินการค้นหาโจทย์วิจัย โดยการระดมคําถามเพื่อ ค้นหาปัญหาและร่วมวิเคราะห์หาสาเหตุ ให้เวทีจัดลําดับความสําคัญของปัญหา
(5) พเลี้ยงและทีมที่ปรึกษาช่วยกันชวนผู้เข้าร่วมอภิปรายลงลึกในประเด็นปัญหาที่เขา สนใจร่วมมากที่สุด และร่วมกันกําหนดเปูาหมายที่อยากเห็น อยากแก้ไข
(6) หลังจากนั้นร่วมกันกําหนดคําถามวิจัย วัตถุประสงค์ ขั้นตอน และคนที่จะเข้ามา ร่วมกันเป็นทีมทํางาน
(7) มอบหมายเวทีให้กับนักวิชาการเจ้าของประเด็นสรุป และนัดหมายในการนํา ประเด็นที่คุยกันไปร่างเป็นข้อเสนอโครงการวิจัย นํามาประชุมปรึกษาหารือกันอีกครั้ง
ในการจัดเวทีประชุมพัฒนาโจทย์วิจัยในแต่ละพื้นที่พบว่า มีการใช้เวลาแตกต่างกันไป บางพื้นที่จัดประชุมครั้งเดียวสามารถหาประเด็นวิจัยได้เลย แต่บางพื้นที่พบว่าจะต้องมีการจัดประชุมซ้ํา อีกครั้งสองครั้งจึงจะได้ประเด็นวิจัยที่ชัดเจน บทเรียนสําคัญของการจัดเวทีพัฒนาโจทย์วิจัยคือ องค์ประกอบของเวทีประชุมจะต้องมีผู้เกี่ยวข้องกับประเด็นวิจัยที่ครบถ้วน ถ้านัดหมายได้ไม่ครบจะต้อง มีการจัดประชุมหลายครั้ง และที่สําคัญการจัดประชุมผู้ดําเนินการจะต้องกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมได้แสดง ความคิดเห็นอย่างทั่วถึง
3) การสนับสนุนการเขียนข้อเสนอโครงการ หลังจากการประชุมพัฒนาโจทย์วิจัยใน พื้นที่แล้วขั้นตอนต่อมาคือ การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย ซึ่งในขั้นตอนนี้จะเป็นบทบาทของนักวิชาการ
หัวหน้าโครงการ ทางพี่เลี้ยงได้มีวิธีการสนับสนุนในการเขียนข้อเสนอโครงการโดยการ แนะนํากรอบ
ประเด็นการเขียน และส่งตัวอย่างข้อเสนอโครงการที่ดีไปให้ดูเป็นตัวอย่าง และนัดหมายวันในการส่ง เพื่อให้พี่เลี้ยงและที่ปรึกษาช่วยตรวจสอบความถูกต้องและเสนอแนะในการเขียนส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ ในช่วงของการเขียนถ้าหากข้อมูลไม่สมบูรณ์ก็เป็นหน้าที่ของนักวิชาการต้องลงไปหาข้อมูลเพิ่มเติมใน พื้นที่ หรือเมื่อร่างโครงการแล้วเสร็จในระดับหนึ่งก็ต้องนําไปให้ทีมในพื้นที่ได้ร่วมกันตรวจสอบความ ถูกต้องและแลกเปลี่ยนเติมเต็มข้อมูล
จาการดําเนินงานในลักษณะนี้พบว่า นักวิชาการสามารถทําได้ดี นับว่าเป็นจุดแข็งของ นักวิชาการเลยก็ว่าได้ แต่จะมีปัญหาบ้างในเรื่องเวลาที่จํากัดทําให้มีเวลาน้อยในการไปทบทวนเอกสาร และการสร้างการเรียนรู้กับพื้นที่ ดังนั้นงานเขียนที่ออกมาจึงไม่สมบูรณ์มากนัก และบางโครงการต้องมี การปรับหลายครั้ง
4) การพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการ เวทีพิจารณากลั่นกรองโครงการวิจัยเป็น
การจัดเวทีเพื่อสนับสนุนให้ร่างข้อเสนอโครงการมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ในการจัดเวทีพิจารณา กลั่นกรองชุดโครงการความร่วมมือในครั้งนี้ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในส่วนของกลไกวิจัยเพื่อท้องถิ่นใน ระดับภาคเข้ามาร่วมเวทีในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยแทนการนําโครงการไปเสนอที่ส่วนกลางเหมือน แบบเดิม และมีตัวแทนทีมวิจัยเข้าร่วมนําเสนอโครงการวิจัยด้วยตนเอง ทําให้ลดการสื่อสารหลายต่อ และทําให้ทีมวิจัยเข้าใจรายละเอียดข้อเสนอแนะได้มากขึ้น ซึ่งได้มีการจัดขึ้นในวันที่ 13 มิถุนายน 2555 ที่ห้อง 137 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ผลการดําเนินการพัฒนาโจทย์วิจัยทําให้ได้ โครงการวิจัยภายใต้การสนับสนุนของชุดตาม เปูาหมาย จํานวน 3 โครงการ ดังนี้คือ
(1) โครงการแนวทางการเพิ่มมูลค่าปุาชุมชนดงสามขาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของ เศรษฐกิจชุมชน บ้านน้ําแคม ตําบลน้ําแคม อําเภอท่าลี่ จังหวัดเลย โดยอาจารย์อนุชา วิลัยแก้ว และทีม
(2) โครงการการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างการเรียนรู้สําหรับเด็กและ เยาวชน ชุมชน นาหอ ตําบลนาหอ อําเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์พยุงพร นนทวิ ศรุตและทีม
(3) โครงการสร้างความมั่นคงของครอบครัวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษา บ้านน้อยคีรี ตําบลโคกขมิ้น อําเภอวังสะพุง จังหวัดเลย โดยอาจารย์วิชญ์ มะลิต้นและทีม
4.2.1.3 ช่วงการเสริมศักยภาพนักวิชาการในการดําเนินงานโครงการวิจัย
การหนุนเสริมเติมศักยภาพทีมวิจัย เป็นอีกหนึ่งแผนงานหลักที่ต้องหาข้อสรุปรูปแบบที่ เหมาะสมกับนักวิชาการในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยที่เข้ามาร่วมทําโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในการ ดําเนินงาน มีรูปแบบวิธีการดังนี้คือ
1) การประชุมทําความเข้าใจสัญญาโครงการ ภายหลังจากปรับปรุงข้อเสนอโครงการ
สุดท้ายส่งกลับไปที่สํานักงานงานกองทุนสนับสนุน (สกว.) ทางหัวหน้าโครงการก็จะได้รับสัญญา โครงการพร้อมจดหมายขอเปิดบัญชีโครงการ ในช่วงนี้ทางพี่เลี้ยงก็จะทําหน้าที่ในการทําความเข้าใจ โครงการ สัญญาโครงการและแนวทางในการบริหารจัดการงานวิจัย วิธีการคือนัดหมายหัวหน้าทีมวิจัย และผู้นําชุมชนผู้ร่วมเปิดบัญชีโครงการมาประชุม และอธิบายตามเงื่อนไขในเอกสารสัญญา ที่ สกว.ส่ง แนบมากับสัญญา
ผลจากการดําเนินกิจกรรม จากการดําเนินการทําความเข้าใจสัญญาตั้งแต่ต้นทําให้ หัวหน้าโครงการและทีมเข้าใจเงื่อนไขการบริหารจัดการโครงการวิจัยตั้งแต่เริ่มแรก เป็นการปูองกัน ความผิดพลาดในการใช้จ่ายเงิน
สําหรับบทเรียนที่พบ คือ สัญญาโครงการจะส่งมาไม่พร้อมกัน หรือมาพร้อมกันแต่ทีม วิจัยมักจะว่างไม่พร้อมกัน จึงไม่สามารถดําเนินการประชุมทําความเข้าใจในครั้งเดียวได้ จะต้องทํา หลายครั้งขึ้นอยู่กับเวลาที่ทีมมีความพร้อม อีกประการ ในการทําความเข้าใจงานบริหารโครงการ พี่ เลี้ยงที่ดําเนินการต้องมีความชัดเจนในรายละเอียดสัญญาและหลักการการบริหารงานวิจัยจึงจะสร้าง ความเชื่อมั่นให้กับทีมได้
2) การประชุมเปิดตัวโครงการ เมื่อโครงการวิจัยได้ลงนามสัญญาเสร็จแล้ว ก็ได้เริ่มมีการ ดําเนินการตามแผนงาน กิจกรรมแรกที่ทุกโครงการดําเนินการ คือ การประชุมทีมเพื่อทําความเข้าใจ โครงการ การบริการจัดการงานวิจัย และการแบ่งบทบาทหน้าที่ภายในทีม ในกิจกรรมนี้ทีมพี่เลี้ยงให้ ความสําคัญมากและจะเข้าร่วมทุกโครงการ เพราะเป็นการเข้าไปช่วยทําความเข้าใจแนวทางการบริหาร จัดการโครงการและบริหารจัดการการเงิน วิธีการดําเนินการคือ (1) แจ้งหัวหน้าโครงการขอเข้าร่วม ประชุมตามแผนที่เขาวางไว้ (2) ในการประชุมร่วมชี้แจงหลักการจัดการเงินโครงการวิจัยและแนว ทางการบริหารทีม (3) ให้คําปรึกษาเพิ่มเติมเมื่อทีมประชุมกําหนดแนวทางของทีม
ผลการดําเนินกิจกรรมนี้ทําให้ทีมวิจัยเข้าใจแนวทางการบริหารจัดการโครงการ และมี ความชัดเจนในแนวทางการดําเนินงานโครงการมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลทําให้การทํากิจกรรมต่อๆไปของ โครงการวิจัยทําได้ง่ายยิ่งขึ้น ปัญหาอุปสรรคที่พบคือ เรื่องเวลาที่ว่างไม่ตรงกันของนักวิชาการและ ชาวบ้าน ซึ่งในช่วงแรกจะมีความแข็งตัวเรื่องการนัดหมายเวลาทํากิจกรรม เพราะต่างฝุายต่างยึด ภารกิจของตนเองเป็นหลักก่อน แต่ในระยะหลังมีการปรับเข้าหากันได้ดียิ่งขึ้น
3) การฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมทีมวิจัยในการศึกษาข้อมูล การจัดกิจกรรมนี้ขึ้น เพื่อเป็นการทําความเข้าใจแนวคิดและกระบวนการทํางานวิจัยเพื่อท้องถิ่นร่วมกัน ทีมวิจัยได้ร่วมกันแตก
กรอบประเด็นในการเก็บข้อมูล สร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยกิจกรรมนี้จัดขึ้นในวันที่ 21 - 22
ตุลาคม 2555 ห้องเรียน 20205 ชั้น 2 อาคาร 20 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มีจํานวนผู้เข้าร่วมจาก โครงการวิจัย จํานวน 40 คน จาก 3 โครงการ สําหรับเนื้อหาสําคัญในการจัดเวทีฝึกอบรมจะประกอบ ไปด้วย
(1) การทําความรู้จักคุ้นเคยกันของทีมวิจัยระหว่างโครงการ
(2) แนวคิด หลักการ และขั้นตอนวิธีการดําเนินงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
(3) ทบทวนโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุน
(4) การแตกกรอบประเด็นการเก็บข้อมูล
(5) การแนะนําเครื่องมือวิจัยแบบมีส่วนร่วม
(6) ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือวิจัย
(7) สรุปผลและกําหนดแผนการดําเนินงานแต่ละโครงการ
ผลการดําเนินงานพบว่า กิจกรรมการเตรียมความพร้อมนักวิจัยทําให้นักวิจัยชาวบ้านและ นักวิชาการมีความเป็นทีมและสนิทสนมกันมากยิ่งขึ้น มีความเข้าใจแนวคิดหลักการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น และเรียนรู้การออกแบบเครื่องมือร่วมกัน ได้แผนการทํางานร่วมกันซึ่งจะนําไปใช้ในการทํางานโครงการ
ต่อไป สําหรับปัญหาอุปสรรคที่พบ คือ เรื่องการจัดการเวลาที่ทีมวิจัยต้องใช้เวลาเดินทางไกจึงเริ่ม กระบวนการได้ช้า และสถานที่ที่เป็นห้องเรียนไม่มีเครื่องเสียง สําหรับรายละเอียดผลการจัดฝึกอบรม เชิงปฏิบัติการจะนําเสนอในบันทึกผลการฝึกอบรมในภาคผนวก
4) การประชุมติดตามงานประจําเดือน การประชุมติดตามงานโดยการจัดประชุม
ประจําเดือนนักวิชาการหัวหน้าโครงการมีจุดประสงค์เพื่อติดตามสถานการณ์การดําเนินโครงการวิจัย ของแต่ละโครงการ และเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนรู้กระบวนการทํางานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของนักวิชาการ ใน รายละเอียดมีวิธีการดําเนินการดังนี้
4.1) ประสานงานนัดหมายหัวหน้าโครงการแต่ละโครงการ ซึ่งมักจะมีเวลาว่างไม่แน่นอน ทางพี่เลี้ยงต้องประสานให้ได้วันเวลาที่ตรงกัน เพราะถ้ามาไม่พร้อมกันก็จะเห็นเฉพาะความก้าวหน้าของ แต่ละทีมและไม่ได้เกิดการเรียนรู้ระหว่างกันของนักวิชาการหัวหน้าโครงการ
4.2) ประสานที่ปรึกษาเข้าร่วม ในกิจกรรมการประชุมจะมีช่วงการแลกเปลี่ยน กระบวนการทํางานให้กับทีมวิวิจัย ซึ่งในชุดโครงการมีทีมที่ปรึกที่มีประสบการณ์และช่วยให้ ข้อเสนอแนะได้เป็นอย่างดี
4.3) ในการจัดประชุม ทีมพี่เลี้ยงจะแจ้งประเด็นการประชุมล่วงหน้า ซึ่งในการประชุม ก็จะดําเนินการตามประเด็นการประชุมซึ่งจะประกอบด้วย (1) การแจ้งสถานการณ์ทั่วไป ถามข่าว สารทุกข์สุกดิบกัน (2) การเล่าสถานการณ์และความคืบหน้าการดําเนินโครงการแต่ละโครงการ (3) การ แลกเปลี่ยนและให้ข้อเสนอแนะ (4) แผนปฏิบัติช่วงเดือนต่อไปของแต่ละโครงการ
4.4) ทีมพี่เลี้ยงสรุปการรายงานประชุมและส่งให้แต่ละโครงการ
ผลการดําเนินงานพบว่า กิจกรรมนี้มีข้อดี คือเป็นเวทีให้นักวิชาการมาพบปะแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างกัน เกิดแรงกระตุ้นในการทํางานเป็นอย่างดีเมื่อเห็นความคืบหน้าของโครงการอื่น แต่พบ ข้อจํากัดคือ นักวิชาการมักจะมีเวลาที่จํากัด บางครั้งอยู่ไม่ครบกระบวนการประชุม ซึ่งต้องแก้ไขโดยการ นัดหมายล่วงหน้าและพยายามหาช่วงเวลาให้ตรงกัน
5) การติดตามหนุนเสริมงานในพื้นที่ เป็นกิจกรรมการหนุนเสริมการทํางานของ โครงการวิจัยภายใต้ชุดโครงการ การลงติดตามงานในพื้นที่จะมีข้อดีคือ ทําให้เราทราบสถานการณ์จาก
พื้นที่อย่างแท้จริง ซึ่งในบางครั้งการฟังจากนักวิชาการหัวหน้าโครงการอย่างเดียวทําให้นึกภาพไม่ออก การลงไปสนับสนุนในพื้นที่นอกจากจะเป็นการช่วยให้คําแนะนําเสนอแนะต่อทีมวิจัยแล้วยังเป็นการให้ กําลังใจกับทีมวิจัยชุมชนได้เป็นอย่างดี ในขั้นตอนวิธีการการดําเนินงานมีการปฏิบัติดังนี้
5.1) ประสานงานหัวหน้าโครงการเพื่อเช็คแผนกิจกรรมที่เขาแจ้งไว้ และสอบถามเรื่อง
การขอลงไปร่วมกิจกรรมในพื้นที่ หรือ ในบางโครงการจะร้องขอให้พี่เลี้ยงเข้าไปร่วมกิจกรรมของ โครงการ
ภาพที่ 3 : กิจกรรมการลงติดตามสนับสนุนงานวิจัยในพื้นที่
5.2) ในการเข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่ ทางพี่เลี้ยงจะให้ทีมวิจัยเป็นแกนหลักในทํา กิจกรรม และจะเข้าไปมีส่วนร่วมเสริมกิจกรรมหรือให้ข้อเสนอแนะช่วงท้ายของกิจกรรม
5.3) ในบางครั้งเป็นการนําวิทยาการเข้าไปเสริมเติมความเข้าใจให้ทีมวิจัย เช่น ทีม บ้านนาหอเชิญผู้ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเลยเข้าไปช่วยให้และเปลี่ยนวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น
ผลการดําเนินงาน ในการติดตามสนับสนุนงานพื้นที่ทําให้ทราบสนถานการณ์กิจกรรม งานวิจัยและคนวิจัย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวางแผนสนับสนุนนักวิชาการลงไปทํางาน ข้อจํากัดที่พบคือ ในบางโครงการนักวิชาการไม่ค่อยแจ้งแผนการทํากิจกรรม และไม่ประสานการหนุน เสริมมาทางชุดพี่เลี้ยง ทําให้การลงพื้นที่หนุนเสริมมีน้อย ในกรณีแบบนี้ทางทีมพี่เลี้ยงและคณะทํางาน ได้แก้ไขโดย การประสานแผนในเวทีประชุมประจําเดือนและแจ้งกําหนดวันลงไปเยี่ยมโครงการวิจัย ล่วงหน้า
6) การจัดเวทีสนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูล กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริม ศักยภาพนักวิจัยในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกําหนดแนวทางการทดลองปฏิบัติการในระยะที่สอง และเพื่อ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างโครงการวิจัย สําหรับในชุดโครงการความร่วมมือในปีนี้จัด กิจกรรมขึ้นในวันที่ 26 มีนาคม 2556 มีผู้เข้าร่วมเป็นทีมวิจัยจาก 3 โครงการและทีมสนับสนุนจํานวน 40 คน โดยได้รับการสนับสนุนวิทยากรจากกลไกวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคอีสาน คือ คุณบุญเสริฐ เสียงสนั่น และทีมวิทยากรจากคณะทํางานขับเคลื่อนโครงการ คือ ผศ.ดร. สุทิน สุขคง สําหรับขั้นตอน กระบวนการดําเนินการมีดังนี้
6.1) ประชุมทีมคณะทํางานขับเคลื่อนโครงการและหัวหน้าทีมวิจัยเพื่อออกแบบ กระบวนการร่วมกัน
6.2) ทีมวิจัยไปจัดทําข้อมูลและสรุปวิเคราะห์ข้อมูล
6.3) ทีมวิจัยจัดทําเอกสารผลการวิเคราะห์ส่งให้ทีมจัดการส่งต่อวิทยากร
6.4) จัดเวที โดยให้ทีมวิจัยนําเสนอข้อมูลและผลการวิเคราะห์ จากนั้นทีมวิทยากรและผู้ ร่วมประชุมร่วมกันให้ข้อคิดเห็นเสนอแนะ
6.5) ทีมพี่เลี้ยงสรุปประเด็นสําคัญส่งให้ทีมวิจัยไปปรับปรุงรายงานความก้าวหน้า
ภาพที่ 4 : กิจกรรมการเสริมศักยภาพนักวิจัยในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการดําเนินงาน ทําให้ทีมวิจัยชาวบ้านและนักวิชาการได้ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล มีความเข้าใจ ที่ตรงกัน ได้ข้อเสนอแนะนําไปปรับปรุงข้อมูลในพื้นที่และได้แนวทางการการเขียนผลการวิเคราะห์ข้อมูล ในรายงานความก้าวหน้า (รายละเอียดผลการจัดเวทีวิเคราะห์ข้อมูลคณะผู้วิจัยจะนําเสนอในภาคผนวก) ปัญหาอุปสรรคที่พบ คือ การจัดเวทีใช้เวลาสองวันแต่สถานที่จัดอยู่ในมหาวิทยาลัยไม่มีที่พักทําให้ทีม
วิจัยบางทีมต้องเดินทางไปกลับ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการจัดการเรื่องเวลา ข้อเสนอแนะคือ ควรหาสถานที่ ผู้เข้าร่วมสามารถเข้าพักและทํากิจกรรมร่วมกันได้อย่างต่อเนื่อง
7) การสนับสนุนการเขียนรายงานความก้าวหน้า การจัดทํารายงานความก้าวหน้าเป็น ขั้นตอนสําคัญขั้นตอนหนึ่งของการทําวิจัย ในการจัดทํารายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยภายใต้ความ
ร่วมมือฯ มีความสัมพันธ์กับการจัดเวทีรายงานความหน้า ซึ่งได้มีการออกแบบเวทีให้มีการพิจารณา รายงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยและเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งสองหน่วยงานเข้ามาร่วมพิจารณา รายงานร่วมกันในครั้งเดียว เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการสนับสนุนงบประมาณในระยะที่สองต่อไป ดังนั้นรายงานความก้าวหน้าจึงต้องมีการดําเนินการให้แล้วเสร็จก่อนการจัดเวทีรายงานความก้าวหน้า ทางคณะทํางานได้สนับสนุนทีมวิจัยดังนี้
7.1) จัดประชุมหัวหน้าโครงการวิจัยเพื่อทําความเข้าใจกรอบประเด็นในการเขียน รายงานความก้าวหน้างานวิจัยเพื่อท้องถิ่น พร้อมแจกเอกสารกรอบประเด็นในการเขียนรายงาน
7.2) จัดส่งตัวอย่างรายงานวิจัยของทีมวิจัยรุ่นก่อนให้หัวหน้าโครงการวิจัยไปเป็น
ตัวอย่างในการเขียน โดยคัดเลือกเล่มรายงานที่คุณภาพเป็นแบบอย่างที่ดีได้
7.3) ทีมพี่เลี้ยงช่วยติดตามและสนับสนุนโดย ช่วยอ่านรายงานและส่งข้อเสนอแนะ กลับไปให้ทีมวิจัยปรับปรุง
ผลจาการดําเนินงานพบว่า ทีมวิจัยส่งรายงานมาให้คณะทํางานช้า และเมื่อ คณะทํางานส่งข้อเสนอแนะกลับไปแล้ว จึงมีเวลาปรับรายงานน้อยจึงทําให้รายงานที่ออกมาไม่มีความ สมบูรณ์มากนักในการการนําเข้าเวทีรายงานความก้าวหน้า
8) การสนับสนุนการนําเสนอรายงานความก้าวหน้า กิจกรรมนี้จัดขึ้นจะมีการจัดเวที
ความก้าวหน้าในวันที่ 24 เมษายน 2556 จัดที่ห้องประชุมพลเอกอาทิตย์ กําลังเอก มหาวิทยาลัยราช ภัฏเลย ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ทีมวิจัยจํานวน 40 คน นักวิชาการ 5 คน ทีมผู้ทรงคุณวุฒิจากสํานักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย 2 คน คือ รศ.ดร.สุจินต์ สิมารักษ์ และ ผศ.ดร.บัญชร แก้วส่อง ทีม ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จํานวน 2 คน คือ ผศ.ดร. เสาวภา สุขประเสริฐ และ ผศ.ดร. สุวารีย์ ศรีปูณะ และนักศึกษาผู้สนใจจํานวน 20 คน โดยแต่ละทีมวิจัยจะมีเวลาการนําเสนอ ความก้าวหน้าทีมละ 30 นาที จากนั้นผู้ทรงคุณวุฒิจะช่วยให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงรายงานให้ สมบูรณ์มากขึ้น ในงานให้แต่ละทีมจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัย และส่งเล่มรายงานที่ประกอบด้วย บทที่ 1 ความเป็นมาและความสําคัญการวิจัย บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 วิธีการ ดําเนินการ บทที่ 4 ความก้าวหน้าการศึกษา และบทที่ 5 สรุปบทเรียน ปัญหาอุปสรรคและวิเคราะห์ แนวทางในระยะที่ 2
ภาพ 5 : เวทีรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยชุดความร่วมมือระหวา่ งมหาวทยาลัยราภัฏเลยกับสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั
ในพิธีเปิดเวทีรายงานความก้าวหน้ามีการกล่าวรายงานโดย ผศ.ดร.สุทิน สุขคง ตัวแทนคณะทํางานขับเคลื่อนโครงการฯ ประธานกล่าวเปิดโดย ผศ.สนิท เหลืองบุญนาค อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และมีการอภิปรายให้มุมมองต่องานวิจัยเพื่อท้องถิ่น วิทยากรประกอบด้วย ตัวแทนมหาวิทยาลัยโดย ผศ.ดร.เชาว์ อินใย รองอธิการบดี ตัวแทน สกว. โดย ผศ.ดร.บัญชร แก้วส่อง ผู้อํานวยการสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยฝุายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ตัวแทนนักวิชาการที่เป็นนักวิจัย โดย ผศ.ดร. อานนท์ ผกากรอง และตัวแทนนักวิจัยชุมชน โดย ร้อยตรีไพฑูรย์ มนัส จากนั้นเป็นนําเสนอ รายงานความก้าวหน้าพร้อมกับวิทยากรให้ข้อเสนอแนะ
ผลการดําเนินงานพบว่า แต่ละทีมได้มีการนําเสนอผลงานความก้าวหน้าด้วย กระบวนการมีส่วนร่วมของทีมวิจัย หมายถึง ทึมวิจัยชุมชนและทีมวิจัยที่เป็นนักวิชาการได้ร่วมกัน นําเสนอผลงาน เนื่องจากมีเล่มรายงานส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาล่วงหน้าจึงได้ข้อเสนอแนะอย่าง ละเอียดและเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงรายงานอย่างดียิ่ง สําหรับปัญหาอุปสรรคที่พบ เป็นปัญหาใน เชิงการจัดการต่อเนื่องของคณะทํางานขับเคลื่อนโครงการ โดยพบว่า คณะทํางานจากสถาบันวิจัยและ พัฒนามีความเข้าใจไม่ตรงกันในการพิจารณารายงานวิจัย ประกอบกับมีการเปลี่ยนผู้บริหาร ในการ อนุมัติงบประมาณระยะที่สองซึ่งเป็นส่วนมหาวิทยาลัยรับผิดชอบจึงไม่ได้ใช้ผลการพิจารณารายงานจาก เวทีรายงานความก้าวหน้าตามที่ตกลงได้ แต่ให้ยึดระเบียบขั้นตอนปกติของมหาวิทยาลัย คือ ให้มีการ จัดทําโครงเสนอของบประมาณ และส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาใหม่อีกครั้งก่อนมีการอนุมัติงบประมาณ ซึ่งในขั้นตอนนี้ได้ส่งผลให้การทํางานล่าช้าไปกว่าเจ็ดเดือนส่งผลกระทบทั้งต่อนักวิจัยและทีมวิจัย ชาวบ้านในพื้นที่เพราะทําให้กระบวนการวิจัยขาดความต่อเนื่อง
4.2.2 การดําเนินงานภายใต้งบประมาณของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ในข้อตกลงโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยกับสํานักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย ในช่วงระยะที่สองระบุว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยจะสนับสนุนทุนโครงการวิจัยเพื่อ ท้องถิ่นที่เกิดขึ้นใน ปี พ.ศ. 2555 ในการทําโครงการวิจัยในระยะที่สอง จํานวน 3 โครงการ ๆ ละไม่เกิน 80,000 บาท ในวงเงิน 240,000 บาท (สองแสนสี่หมื่นบาทถ้วน) ซึ่งในรายละเอียดการสนับสนุน งบประมาณ สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ให้ทีมวิจัยไปจัดทําโครงการเสนอใหม่ซึ่งเป็นการดําเนินการตาม ระเบียบมหาวิทยาลัย โดยมีรายละเอียดดังนี้
4.2.2.1 การเบิกจ่ายงบประมาณโครงการวิจัย ภายหลังจากการพิจารณารายงาน ความก้าวหน้าโครงวิจัยทั้งสามโครงการในระยะแรกเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556 สถาบันวิจัยได้ให้ หัวหน้าโครงการวิจัยที่เป็นนักวิชาการจัดทําเอกสารขอสนับสนุนงบประมาณวิจัยตามระเบียบ มหาวิทยาลัย โดยยึดแนวปฏิบัติการบริหารจัดการงานวิจัยและขั้นตอนการพิจารณาให้ทุนสนับสนุนการ วิจัยจากเงินกองทุนสนับสนุนการวิจัยของบุคลากร
1) เงื่อนไขการขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย ตามระเบียบของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยมี เงื่อนไขการขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยดังนี้
1.1) ผู้รับทุนจะได้รับทุนแบ่งจ่ายเป็น 2 งวด โดยงวดที่ 1 (50%) งวดที่ 2 (50%)
1.2) ผู้รับทุนต้องส่งรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (ฉบับร่าง) จํานวน 1 เล่ม ให้ สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบแก้ไขก่อนเข้ารูปเล่มเพื่อประกันคุณภาพงานวิจัย
1.3) ผู้รับทุนต้องส่งรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ให้แก่มหาวิทยาลัยจํานวน 10 ฉบับ พร้อมแผ่นบันทึกข้อมูล จํานวน 1 แผ่น
1.4) ในรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์จะต้องลงข้อความว่าผลการวิจัยได้รับ ทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินกองทุนสนับสนุนการวิจัยของบุคคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
1.5) นักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยจะต้องนําเสนอผลงานวิจัยต่อ สาธารณชนอย่างน้อย 1 ครั้ง
2) ขั้นตอนการบริหารจัดการทุนวิจัย
ขั้นตอน | ผู้รับผิดชอบ | ระยะเวลาให้บริการ |
1. รับข้อเสนอโครงการวิจัยตามแบบ ว.1 จํานวน 4 ฉบับ ผ่าน ทางคณะตามระบบสถาบัน | สถาบันวิจัยและพัฒนา | 3 – 4 วัน |
2. พิจารณาเค้าโครงการวิจัยของผเสนอโครงการ 2.1 พิจารณาผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้านงานวิจัยที่ สอดคล้องกับข้อเสนอโครงการ 3 ท่าน 2.2 ส่งข้อเสนอให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา 2.3 ผู้ทรงคุณวุฒสิ ่งข้อเสนอแนะกลับสถาบันวิจัยและพัฒนา | สถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ทรงคุณวุฒิ | 3 -4 วัน 4 – 8 สัปดาห์ 2 สัปดาห์ |
3.ผู้เสนอโครงการวิจัยปรับแก้ตามผู้ทรงคุณวุฒิ 3.1 สถาบันวิจัยสรุปข้อเสนอให้ผู้เสนอโครงการวิจัยปรับแก้ 3.2 ผู้เสนอโครงการปรับแก้และส่งสถาบันวิจัยและพัฒนา | สถาบันวิจัย ผู้เสนอโครงการ | 3 – 4 วัน 2 สัปดาห์ |
4. คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติให้ทุน 4.1 พิมพ์หนังสือเชิญประชุมคณะกรรมการ 4.2 คณะกรรมการประชุมพิจารณาทุน | สถาบันวิจัย คณะกรรมการกองทุนฯ | ประชุม คกก. เดือนละ 1 ครั้ง |
5. ส่งมติคณะกรรมการกองทุนให้นักวิจัยปรับแก้ไขข้อเสนอ โครงการ 5.1 สถาบันวิจัยวิจัยสรุปมติคณะกรรมการกองทุนฯ ให้ผู้ เสนอโครงการวิจัยปรับแก้ 5.2 ผู้เสนอโครงการปรับแก้และส่งสถาบันวิจัยและพัฒนา 5.3 นําเสนอเข้าที่ประชุม คกก.กองทุน | สถาบันวิจัย ผู้เสนอโครงการ สถาบันวิจัย | 3 -4 วัน 2 สัปดาห์ เดือนละ 1 ครั้ง |
6. เสนออธิการบดีอนุมัติให้ทุนสนับสนุน 6.1 จัดพิมพ์ประกาศ 6.2 ลงนามอนุมัติทุน/ลงนาม | สถาบันวิจัยและพัฒนา | 2 สัปดาห์ |
7. ทําสัญญารับทุน 7.1 ผู้วิจัยทําสัญญารับทุนกับมหาวิทยาลัย/ลงนาม | นักวิจัย | 30 วัน |
8. ส่งหลักฐานการเบิกเงินงวดที่ 1 8.1 ผู้วิจัยบันทึกขอเบิกเงินเพื่อดําเนินการวิจัย งวดที่ 1 8.2 ส่งหลักฐานการเบิกเงินที่สถาบันวิจัย 8.3 สถาบันดําเนินการเบิกจ่ายจากกองทุนโดยอนุมัติจาก ผู้บริหาร 8.4 สถาบันวิจัยแจ้งนักวิจัยรับเงินที่สถาบันวิจัย | นักวิจัย นักวิจัย สถาบันวิจัย สถาบันวิจัย | 7 วัน 7 วัน 7 วัน 1-2 สัปดาห์ |
9. นักวิจัยส่งรายงานการเงินฉบับสมบูรณ์ 9.1 พิมพ์หนังสือถึงผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบแก้ไขรายงานการ วิจัย/ลงนาม | สถาบันวิจัย | 3 -4 วัน |
9.2 ส่งไปยังผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบตามที่อยู่ 9.3 ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบรายงานวิจัย 9.4 ผู้ทรงคุณวุฒิส่งกลับสถาบันวิจัย | สถาบันวิจัย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ทรงคุณวุฒิ | 1 สัปดาห์ 4 -8 สัปดาห์ 2 สัปดาห์ |
10. ผู้วิจัยปรับแก้ตามตามผู้ทรงคุณวุฒิ 10.1 พิมพ์หนังสือแจ้งนักวิจัยปรับแก้รายงานการวิจัยฉบับ สมบูรณ์ (ฉบับร่าง) ตามผู้ทรงคุณวุฒิ 10.2 ส่งหนังสือแจ้งนักวิจัยปรับแก้รายงานการวิจัยฉบับ สมบูรณ์ตามผู้ทรงคุณวุฒิ 10.3 นักวิจัยปรับแก้รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ตาม ผู้ทรงคุณวุฒิ | สถาบันวิจัย สถาบันวิจัย นักวิจัย | 3 -4 สัปดาห์ 3 -4 สัปดาห์ 4 สัปดาห์ |
11. ส่งรายงานวิจัยและส่งหลักฐานการเบิกเงิน 11.1 บันทึกส่งรายงานการวิจัยพร้อมเบิกเงินงวดที่ 2 11.2 ส่งหลักฐานการเบิกเงินที่สถาบันการวิจัย 11.3 สถาบันวิจัยและพัฒนาดําเนินการเบิกจ่ายจากกองทุน โดยอนุมัติจากผู้บริหาร 11.4 สถาบันวิจัยแจ้งนักวิจัยรับเงินที่สถาบันวิจัย | นักวิจัย สถาบันวิจัย สถาบันวิจัย | 7 วัน 7 วัน 7 วัน 1 -2 สัปดาห์ |
12. นักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุน นําเสนอผลงานวิจัยสู่ธารณะ 12.1 พิมพ์ลงวารสารที่ Peer review หรือนําเสนอ ผลงานวิจัยในการประชุมระดับชาติหรือนานาชาติ | นักวิจัย | - |
ตารางที่ 6 : แสดงขั้นตอนการสนับสนุนทุนวิจัยตามระเบียบมหาวิทยาลัยราชภฏเลย
ที่มา : สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภฏเลย
ผลจาการบริหารจัดการงานวิจัยในระยะที่สองที่สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏ เลยให้ยึดระเบียบปฏิบัติของมหาวิทยาลัยที่กล่าวไว้ข้างต้นได้ส่งผลต่อโครงการความร่วมมือและ โครงการวิจัยย่อยที่อยู่ภายใต้โครงการความร่วมมือ ดังต่อไปนี้
1) โครงการวิจัยย่อยภายใต้ชุดโครงการความร่วมมือขาดความต่อเนื่องเพราะรอ กระบวนการอนุมัติงบประมาณ จึงต้องหยุดชะงักโครงการประมาณ 7 เดือน เพราะต้องรอ กระบวนการ อนุมัติโครงการตามขั้นตอนของระเบียบมหาวิทยาลัยที่ต้องมีการจัดทําข้อเสนอโครงการ เสนอให้ กรรมการพิจารณา มีการเสนอผู้ทรงคุณวุฒิ และปรับแก้ส่งสถาบันวิจัยอีกครั้ง ซึ่งส่งผลกระทบอย่างสูง ต่อนักวิจัยที่เป็นนักวิชาการอย่างมากเพราะต้องทํางานซ้ําซ้อนหลายครั้ง และไม่เป็นไปตามข้อตกลง ก่อนทําวิจัยได้มีการคุยรายละเอียดว่าเมื่อเสนอรายงานวิจัยในระยะที่หนึ่งที่ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสองส่วนมา ให้ข้อเสนอแนะแล้วจะมีการอนุมัติประมาณในระยะที่สองให้ทําวิจัยต่อเนื่องได้เลย แต่ทางสถาบันวิจัย ให้เหตุผลว่าต้องยึดระเบียบมหาวิทยาลัยตามรองอธิการฝุายวิจัยและพัฒนาคนใหม่ ซึ่งทําให้ต้องใช้เวลา ไปประมาณ 7 เดือนในการอนุมัติงบประมาณ
2) ผลจากการที่โครงการวิจัยย่อยหยุดชะงักไป 7 เดือน ส่งผลให้งานวิจัยในพื้นที่ขาดความ ต่อเนื่อง ชาวบ้านมีทัศนคติไม่ดีต่อทีมนักวิชาการผู้ทําวิจัยและมหาวิทยาลัย เพราะคิดว่าทาง มหาวิทยาลัยยกเลิกโครงการเหมือนกับงานวิจัยแบบเดิม ๆ ที่เคยเห็นมา คือ ลงมาเก็บข้อมูลแล้วเงียบ หายไป โดยในงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจะแตกต่างจากงานวิจัยโดยทั่วไปตรงที่ต้องยึดกลุ่มเปูาหมายเป็นหลัก เพราะตัวชี้วัดสําคัญคือ ชาวบ้านต้องเปลี่ยนแปลงตนเองผ่านกระบวนการวิจัย เมื่อการวิจัยขาดตอนจึง
เป็นปัญหาใหญ่สําหรับนักวิจัยที่เป็นนักวิชาการต้องใช้เวลาในการไปทําความเข้าใจและรื้อฟื้น ความสัมพันธ์กับชุมชนใหม่เมื่อจะเริ่มงานวิจัยอีกครั้งหลังจากการอนุมัติงบประมาณแล้ว
3) ตามระเบียบของมหาวิทยาลัยงบประมาณที่ได้รับในการทําวิจัยจะได้ก่อนเพียง 50 % และอีก 50 % จะได้เมื่อส่งรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว การนําระเบียบการบริหารงานวิจัยใน ระบบปกติมาใช้กับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นนั้นเป็นอุปสรรคอย่างมาก โดยในงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นต้องทํางาน เป็นทีมกับงานวิจัยชาวบ้าน เน้นการมีส่วนร่วม และมีการปฏิบัติการทดลองแก้ไขปัญหา เมื่อมีการ อนุมัติงบประมาณจากมหาวิทยาลัยเพียงครึ่งเดียว ทําให้เกิดอุปสรรคในช่วงทดลองปฏิบัติการ บาง โครงการงบประมาณไม่พอทําให้ต้องลดกิจกรรมบางส่วนออกไป บางโครงการหัวหน้าทีมวิจัยต้องหา งบประมาณส่วนอื่นเข้ามาเสริม แต่ที่เป็นปัญหามากคือ ทีมวิจัยชาวบ้านมีการเปรียบเทียบการใช้ งบประมาณกับการทํางานในระยะที่ 1 ที่สะดวกมากกว่าและมีค่าตอบแทนสําหรับนักวิจัยชุมชนด้วย ทํา ให้ทีมนักวิชาการหัวหน้าทีมวิจัยต้องใช้เวลาการอธิบายทําความเข้าใจเพิ่มขึ้น
4) การวิจัยระยะที่สองที่ใช้ระเบียบการบริหารงานวิจัยปกติของมหาวิทยาลัยส่งผลให้ คณะทํางานกลไกขับเคลื่อนโครงการความร่วมมือฯ ต้องหยุดการทํางานไปโดยปริยาย กล่าวคือ เมื่อมี การใช้ระเบียบการบริหารจัดการทุนวิจัยของมหาวิทยาลัยที่มีระเบียบตายตัวทําให้คณะทํางานมีบทบาท น้อยลง ประกอบกับการใช้เวลาในการเบิกจ่ายทุนวิจัยที่ยาวนาน ทําให้คณะทํางานบางส่วนแยกย้ายไป ทําภารกิจอื่นและในส่วนของศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่เป็นพี่เลี้ยงงานวิจัยที่ได้รับงบประมาณ สนับสนุนจาก สกว. ก็สิ้นสุดระยะเวลาโครงการการทํางาน ดังนั้นการสนับสนุนทีมวิจัยภายใต้โครงการ ความร่วมมือจึงเป็นการดําเนินการอย่างไม่เป็นทางการเต็มรูปแบบเหมือนเดิม และไม่ผ่านรูปแบบ คณะทํางานเหมือนในระยะที่ 1
ข้อค้นพบโดยสรุป พบว่า การหนุนเสริมงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในรูปแบบคณะทํางานต้องมีการ จัดตั้งเป็นกลไกที่ชัดเจน ควรมีระเบียบเฉพาะในการบริหารจัดการโดยไม่ยึดติดระเบียบการบริหาร งานวิจัยที่ใช้กับงานวิจัยโดยทั่วไปของมหาวิทยาลัย เพราะงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นมีความแตกต่างตั้งแต่ แนวคิด หลักการ กระบวนการและวิธีการดําเนินงาน รวมไปถึงเปูาหมายของงานที่เน้นการพัฒนาคน เป็นหลัก การสนับสนุนนักวิชาการในการทํางานวิจัยเพื่อท้องถิ่นมหาวิทยาลัยควรมีกลไกและระบบการ บริหารงานวิจัยที่แตกต่างจากงานวิจัยที่ทั่วไปที่ใช้ปกติในมหาวิทยาลัย
4.3 ชุดความรู้โครงการย่อยภายใต้โครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
โครงการวิจัยย่อยภายใต้ชุดโครงการความร่วมมือระหว่างสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยมี จํานวน 3 โครงการ คือ 1) โครงการแนวทางการเพิ่มมูลค่าปุาชุมชนดงสามขาเพื่อเสริมสร้างความ เข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน บ้านน้ําแคม ตําบลน้ําแคม อําเภอท่าลี่ จังหวัดเลย โดยอาจารย์อนุชา วิลัย แก้ว และทีม 2) โครงการการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างการเรียนรู้สําหรับเด็กและ เยาวชน ชุมชน นาหอ ตําบลนาหอ อําเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์พยุงพร นนทวิ ศรุตและทีม และ 3) โครงการสร้างความมั่นคงของครอบครัวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษา บ้านน้อยคีรี ตําบลโคกขมิ้น อําเภอวังสะพุง จังหวัดเลย โดยอาจารย์วิชญ์ มะลิต้นและทีม รายละเอียด ชุดความรู้สําคัญที่เกิดขึ้น สามารถสรุปได้ดังนี้
4.3.1 ชุดความรู้แนวทางการเพิ่มมูลค่าปุาชุมชนดงสามขาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของ เศรษฐกิจชุมชน บ้านน้ําแคม ตําบลน้ําแคม อําเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
จากผลการศึกษาพบว่า ปุาชุมชนดงสามขาเป็นทรัพยากรที่สําคัญโดยชาวน้ําแคมใช้ ประโยชน์จากปุาชุมชนดงสามขาในการเป็นแหล่งหารายได้เสริม แหล่งอาหาร ยารักษาโรค การใช้ไม้ เพื่อประดิษฐ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้และซ่อมแซมที่อยู่อาศัย โดยการบริหารจัดการปุาชุมชนชาวน้ําแคม ได้ตั้งคณะกรรมการปุาชุมชนซึ่งมีหน้าที่ในการจัดทําแผนการดําเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพปุาให้ สมบูรณ์ จัดทํามาตรการและดําเนินการปูองกันการบุกรุกทําลายปุา จัดทํามาตรการการใช้ประโยชน์จาก ปุาชุมชน ตลอดจนปรึกจิตสํานึกให้ชาวน้ําแคมมีจิตสํานึกในการอนุรักษ์ปุา โดยการบริหารจัดการปุา ชุมชนในปัจจุบันได้กําหนดระยะเวลาในการเปิด-ปิด ปุาชุมชนเพื่อให้ปุาชุมชนฟื้นฟูสภาพ การกําหนด บทลงโทษแก่ผู้ละเมิดกติกาปุาชุมชนที่ชัดเจนและรุนแรงขึ้น (กฎกาติกาปุาชุมชนจะต้องเห็นชอบจากมติ ประชาคมหมู่บ้าน) โดยเฉพาะการเผาปุา ซึ่งส่งผลให้การกระทําผิดลดลง ตลอดจนการดําเนินกิจกรรม เพื่อสร้างจิตสํานึกให้ชาวน้ําแคมโดยเฉพาะเยาวชนน้ําแคมให้เห็นคุณค่าจากปุาชุมชน ซึ่งพบว่าปัจจุบัน ชาวน้ําแคมได้เห็นคุณค่าปุาชุมชนมากขึ้นโดยพิจารณาจากการให้ความร่วมมือในการดูแลรักษาปุาชุมชน หากพิจารณาความสําคัญของปุาชุมชนดงสามขาที่มีต่อเศรษฐกิจของชาวน้ําแคม ซึ่งพิจารณาได้จากการ ประเมินมูลค่าปุาชุมชนดงสามขาทั้ง 5 ด้าน ณ ราคาปี 2556 พบว่าปุาชุมชนดงสามขามีมูลค่าปริมาณไม้ คิดเป็น 9,357,327,230.86 บาท มูลค่าการใช้ประโยชน์ทางตรง (มูลค่าของปุา) คิดเป็น 7,782,817.92 บาท มูลค่าการใช้ประโยชน์ทางอ้อม (น้ําเพื่อการเกษตร) คิดเป็น 538,290.09 บาท มูลค่าเผื่อไว้ใน อนาคตคิดเป็น 43,634,764.90 บาท และมูลค่าให้คงอยู่คิดเป็น 26,310,326.10 บาท ซึ่งตัวเลข ดังกล่าวนํามาซึ่งความภาคภูมิใจของชาวน้ําแคมและเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการหวงแหนปุาชุมชนเพื่อ การใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน จากตัวเลขมูลค่าปุาชุมชนดงสามขาดังกล่าวจะเห็นว่า ชาวชุมชนน้ําแคม ได้พึ่งพิงทรัพยากรปุาชุมชนดงสามขาโดยเฉพาะในการเป็นประโยชน์ทางตรงซึ่งปุาชุมชนดงสามขา สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านน้ําแคมคิดเป็นมูลค่าสูงโดยเฉลี่ยถึง 17,836.71 บาท/ครัวเรือน/ปี หรือคิดเป็นร้อยละ 8.43 ของรายได้โดยเฉลี่ยต่อครัวเรือนของชาวน้ําแคม (รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน ชาวน้ําแคม 211,596 บาท/ครัวเรือน/ปี)
สําหรับแนวทางการเพิ่มการใช้ประโยชน์ เพิ่มรายได้จากปุาชุมชน หรือเพิ่มมูลค่าปุาชุมชน นั้น ในการวิจัยครั้งนี้ได้ทําการดําเนินการทดลองปฏิบัติการได้พบว่า สามารถเพิ่มมูลค่าเนื้อไม้ของปุา ชุมชนโดยการปลูกปุาทดแทน และการเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากปุาชุมชนโดยการแปรรูปผลผลิตจากปุา เช่น การแปรรูปหน่อไม้ เป็นต้น นอกจากนี้การกําหนดระเบียบการเปิด-ปิด การใช้ประโยชน์จากปุา ตลอดจนการกําหนดบทลดโทษที่รุนแรงขึ้นหากมีการละเมิดกฎกติกาปุาชุมชน เพื่อเป็นการพักฟื้นฟู สภาพปุาชุมชนให้สามารถมีผลผลิตจากปุาได้มากขึ้นในปีถัดไป และผลการดําเนินงานสร้างความเข้าใจ ร่วมกันนั้นส่งผลให้การกระทําผิดลดลงได้และปุามีการฟื้นตัวได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้เพื่อการใช้ ประโยชน์จากปุาชุมชนได้อย่างยั่งยืนการวิจัยครั้งนี้ได้นําเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการสํารวจ ปุา และการบวชปุาเพื่อเป็นการชี้ให้เห็นถึงมูลค่าและคุณค่าปุาชุมชน ตลอดจนปลูกจิตสํานึกในการใช้ ประโยชน์จากปุาชุมชนให้ยั่งยืนในอนาคต โดยพบว่าเยาวชนน้ําแคมมีความรู้เรื่องการใช้ประโยชน์จาก ปุาชุมชนเป็นอย่างดี อีกทั้งยังเห็นคุณค่าของปุาชุมชนและมีความคิดที่จะร่วมดูแลปุาชุมชนเพื่อให้ใช้ ประโยชน์ได้ในอนาคตต่อไป และจากผลการบริหารจัดการปุาชุมชนดงสามขา คณะกรรมการปุาชุมชน ดงสามขาได้รับเชิญให้เป็นพี่เลี้ยงในการบริหารจัดการปุาห้วยเดื่อ บ้านห้วยพุก อําเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ซึ่งชาวบ้านห้วยพุกต้องการที่จะบริหารจัดการปุาห้วยเดื่อในรูปแบบปุาชุมชนเพื่อประโยชน์ของชุมชน ห้วยพุก
โดยสรุป ชุดความรู้ที่เป็นจุดเด่นของงานวิจัยชิ้นนี้คือ การปรับใช้ความรู้เชิงเศรษฐศาสตร์ใน เรื่องมูลค่า คุณค่า มาปรับใช้ในการกระตุ้นให้ชุมชนเห็นความสําคัญและร่วมกันบริหารจัดการปุาชุมชน
4.3.2 ชุดความรู้การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างการเรียนรู้สําหรับเด็กและเยาวชน ชุมชนนาหอ ตําบลนาหอ อําเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ชุดความรู้เรื่องการจัดการความรู้ภูมิปัญญา ท้องถิ่นเพื่อสร้างการเรียนรู้สําหรับเด็กและเยาวชนบ้านนาหอ ประกอบด้วยกระบวนการสําคัญดังนี้
4.3.2.1 การค้นหาความรู้ ในช่วงการค้นหาความรู้ ซึ่งเป็นความรู้ที่อยู่ภายในชุมชน ทั้งที่ อยู่กับตัวบุคคลและเอกสาร ได้มีการค้นหาความรู้สําคัญตามกรอบการวิจัย ดังนี้
1) บริบทชุมชน การศึกษาบริบทชุมชน ใช้วิธีสนทนากลุ่ม จัดเวทีระดมความคิด การสัมภาษณ์ การสํารวจนั้นพบว่า ชุมชนนาหอมีบริบท 4 ด้านคือ 1) บริบทด้านสังคม การเมือง การ ปกครอง ซึ่งพบว่าชุมชนนาหอเป็นชุมชนดั้งเดิมเชื่อว่าบรรพบุรุษได้อพยพมาจากหลวงพระบาง เวียงจันทน์มาตั้งรกรากก่อน พ.ศ. 2035 ดังหลักฐานที่ปรากฏในประวัติวัดศรีภูมิ ชุมชนนาหอเคยเป็น ที่ตั้งของหอโฮงเจ้าเมืองด่านซ้าย เจ้าเมืองคนสําคัญได้แก่ พระมหาณรงค์ พระแก้วอาสา มีลักษณะทาง สังคมแบบช่วยเหลือเกื้อกูลแบบญาติพี่น้อง มีสายตระกูลเสนานุชเป็นตระกูลหลักของชุมชน นับถือเจ้า พ่อกวนและเจ้าแม่นางเทียมเป็นผู้นําทางวัฒนธรรมควบคู่กับปราชญ์ท้องถิ่น 2) บริบทด้านเศรษฐกิจ พบว่าผู้คนชุมชนนาหอส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม รายได้ส่วนใหญ่มาจากการขายผลผลิตในเรือกสวน ไร่นา แต่ยังไม่เพียงพอต่อรายจ่ายชุมชนได้ตั้งกลุ่มช่วยเหลือกันทางเศรษฐกิจแต่ก็ถือว่ายังมีน้อย 3) บริบทด้านสิ่งแวดล้อม พบว่าชุมชนนาหอตั้งอยู่ที่ราบระหว่างภูผาแดดกับภูนาเบี้ย และตั้งอยู่ริมข้าง แม่น้ําหมัน ซึ่งเป็นแม่น้ําสําคัญ นอกจากนั้นยังมีปุาสาธารณะริมภูผาแดด และแหล่งน้ําอื่นๆ ได้แก่ ลําน้ํา ตับ ลําน้ําห้วยม่วง การเกษตร บุ่งใหม่ ทรัพยากรธรรมชาติดังกล่าวเป็นแหล่งอาหารที่สําคัญของชุมชน ในแง่ พืชผักธรรมชาติ ของปุาและสัตว์น้ํา ตลอดจนประโยชน์ต่อวิถีการเกษตรที่สําคัญ และ 4) บริบท ด้านสังคมและวัฒนธรรมพบว่าชุมชนนาหอยังคงสืบสานประเพณีตามฮีต 12 หากแต่ชุมชนได้ให้ ความสําคัญกับพิธีกรรมเลี้ยงปี พิธีไหว้ภูผาแดด ประเพณีบุญหลวงเช่นเดียวกับชุมชนอื่นๆในอําเภอด่าน ซ้าย และยังคงมีความเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์และไสยศาสตร์ เช่นเดียวกัน
2) ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น จากการศึกษาภูมิปัญญาที่สําคัญของชุมชน สามารถแบ่งภูมิปัญญาเป็น 5 ประเภทคือ (1) ภูมิปัญญาด้านการเกษตร แบ่งเป็นภูมิปัญญาในการทํานา และภูมิปัญญาในการทําไร่ ซึ่งผู้คนในชุมชนได้ผลิตสร้างเครื่องมือการเกษตรที่สําคัญคือพัด เพื่อพัดน้ํา หมันเข้าสู่พื้นที่การเกษตร (2) ภูมิปัญญาด้านคหกรรม พบว่า ผู้คนในชุมชนได้สืบสานการประกอบ อาหารที่สัมพันธ์กับธรรมชาติที่เป็นภูเขา ปุาไม้ และแม่น้ํา ประกอบกับการคมนาคมที่ห่างไกลจากเมือง ตัวอย่างเช่น ภูมิปัญญาในการทําน้ําผักสะทอน แทนการใช้ปลาร้า ภูมิปัญญาในการทําเมี่ยงโค้น เมี่ยง ขิง-เมี่ยงทูน และแจ่วดํา เป็นต้น (3) ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรม พบว่าชุมชนนาหอเป็นชุมชนดั้งเดิม มี สถาปัตยกรรมผ่านเจดีย์ โบสถ์ วิหาร บ้านไม้ และกะฎี (กุฏิ) โบราณ ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ที่ จัดเก็บในพิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดศรีภูมิซึ่งแสดงถึงภูมิปัญญาด้านสถาปัตยกรรมที่สําคัญ (4) ภูมิปัญญาด้าน สาธารณสุข พบว่า ผู้คนชุมชนนาหอยังคงสืบทอดภูมิปัญญาด้านสาธารณสุขแบบดั้งเดิม และภูมิปัญญา ในการใช้สมุนไพร ควบคู่กับวิถีการแพทย์แผนใหม่ และ (5) ภูมิปัญญาด้านภาษาและวรรณกรรม พบว่า ในอดีตชุมชนแห่งนี้เคยเป็นสถานศึกษาของผู้คนในอดีตดังปรากฏผ่านวรรณกรรมใบลานจํานวนมากใน
พิพิธภัณฑ์ชุมชน และชุมชนยังคงสืบสานวรรณกรรมมุขปาฐะผ่าน คําทวย ผญา ภาษิตต่างๆ ตลอดจน วรรณกรรมนิทาน และวรรณกรรมตํานาน แต่ปราชญ์ท้องถิ่นในด้านนี้ยังเหลืออยู่น้อยมาก
3) ด้านแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนนาหอ สามารถแบ่งเป็น 3 แหล่ง คือ แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาที่อยู่ในบุคคล แหล่งเรียนรู้ที่เป็นสถานที่สําคัญในชุมชน และแหล่งเรียนรู้ทาง ธรรมชาติ แหล่งเรียนรู้ทั้งสามแหล่งดังกล่าวมีสภาพปัญหาโดยวิเคราะห์เป็นรายด้านแยกเป็น ปัญหา ด้านบุคคล ปัญหาด้านแหล่งเรียนรู้ ปัญหาด้านการจัดการความรู้ ปัญหาขาดงบประมาณและการ สนับสนุน และปัญหาจากปัจจัยภายนอก
4) ปัญหาของเด็กและเยาวชน สิ่งที่ค้นพบที่สําคัญได้แก่ ปัญหาเรื่องระบบของ การศึกษา ปัจจัยความเปลี่ยนแปลงทางสังคมส่งผลต่อค่านิยมและวิถีชีวิตของเด็กและเยาวชน เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เยาวชนไม่เห็นคุณค่าความสําคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.3.2.2 การจัดการและถ่ายทอดความรู้ จาการวิเคราะห์แหล่งเรียนรู้ของชุมชนในอดีต พบว่า การถ่ายทอดความรู้ในอดีต บุตรชายจะถูกสอนให้ฝึกเลี้ยงควาย ไถนาโดยให้มีส่วนร่วม หรือ
สังเกต จากผู้เป็นพ่อก่อน เมื่อฝึกหลายปี มีความชํานาญ จึงจะปล่อยให้ทําเอง ส่วนลูกสาวก็เน้นการฝึก ทําอาหารโดยเริ่มให้มีส่วนร่วมในการทําครัว ต่อมาเกิดความชํานาญแม่ก็จะปล่อยให้ทํา โดยสรุปคือ ได้รับการถ่ายทอดความรู้ผ่านระบบครอบครัวสําหรับการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ของเยาวชนในปัจจุบัน พบว่าเยาวชนส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างกับการดูทีวี โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต โรงเรียน และเพื่อน
ดังนั้นทีมวิจัยจึงได้กําหนดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การผสมผสานแบบดั้งเดิม และกําหนดกิจกรรมและแหล่งเรียนกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การผสมผสานแบบดั้งเดิม ส่วนการเลือก ภูมิปัญญาที่โดดเด่นของชุมชนเพื่อจัดกิจกรรมนั้น ทีมวิจัยและชุมชนได้เลือก 3 ด้านคือ 1) ภูมิปัญญา ด้านอาหาร ด้วยเหตุผลว่า เด็กและเยาวชนในยุคปัจจุบัน ได้ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการบริโภคจาก อาหารท้องถิ่น มารับประทานอาหารฟาสฟููด ด้วยเพราะสื่อโฆษณาที่รุกคืบเข้ามาสู่ครอบครัว ความสําคัญของอาหารนอกจากแสดงถึงอัตลักษณ์ความเป็นท้องถิ่นแล้ว อาหารยังแสดงถึงภูมิปัญญา ของบรรพชนต่อการปรับตัวกับธรรมชาติ โดยเฉพาะท้องถิ่นอําเภอด่านซ้าย มีภูมิประเทศที่เป็นภูเขา มี ต้นสะทอนเกิดขึ้นตามธรรมชาติ จึงมีวัฒนธรรมการทําน้ําผักไว้รับประทานในครัวเรือนแทนน้ําปลา นอกจากนั้นอาหารยังสะท้อนสํานึกสู่มาตุภูมิของคนพลัดถิ่น ทีมวิจัยเชื่อว่า หากเด็กและเยาวชนเห็น คุณค่าของภูมิปัญญาด้านอาหาร แม้ว่ากระแสวัฒนธรรมด้านอาหารจากภายนอกจะไหลบ่าเขามา อย่างไร เขาจะไม่ลืม“อาหารท้องถิ่น” ของตน นั่นแสดงให้เห็นว่าอาหารได้ทําหน้าที่สร้างสํานึกต่อ ท้องถิ่นและไม่รากลืมรากเหง้าทางวัฒนธรรมของตนเอง 2) คือภูมิปัญญาด้านสมุนไพร ชุมชนนาหอมี ภูมิปัญญาด้านสมุนไพรที่โดดเด่น แม้ว่าการแพทย์แผนใหม่จะเข้ามาทดแทนการแพทย์แบบทางเลือกก็ ตาม ชุมชนนาหอได้เลือกที่จะผสมผสานความเป็นสมัยใหม่ควบคู่กับสมัยเก่า อีกทั้งยังมีการสืบสานที่ เป็นรูปธรรม เหมาะสมอย่างยิ่งที่เด็กและเยาวชนจะได้เรียนรู้ในคุณค่าของภูมิปัญญาด้านสมุนไพรที่ปูุย่า ตายายได้ใช้เพื่อรักษาโรคภัยในอดีตซึ่งจะส่งผลให้เขาเกิดความภาคภูมิใจที่บรรพบุรุษมีความรู้เรื่องการ รักษาโรคภัยไข้เจ็บกันมาอย่างไร 3) ภูมิปัญญาด้านด้านศิลปกรรม (การทําทุงหรือตุง) ทีมวิจัยเห็นว่า วัฒนธรรมของชุมชนนั้นให้ความสําคัญกับฮีตสิบสองที่เกี่ยวข้องกับศาสนาซึ่งจะมีทุงเป็นอุปกรณ์หนึ่งเข้า มาเกี่ยวข้อง ชุมชนเห็นว่า หากสอนให้เยาวชนทําทุงจะเป็นกุศโลบายของการชวนเยาวชนเข้าวัด และ เกิดความซึมซับในศาสนาโดยไม่รู้ตัว
จากการระดมความคิดถึงความสําคัญของภูมิปัญญา วิธีการเรียนรู้ภูมิปัญญา ทีมวิจัย และชุมชนได้กําหนดกิจกรรมการเรียนรู้โดยผสมผสานแบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่ได้ 6 กิจกรรม คือ
1) โครงการจัดทําหนังสือเล่มเล็ก เพื่อเผยแพร่ข้อมูลบริบทชุมชนและภูมิปัญญาสําคัญของชุมชนนาหอ
2) โครงการเผยแพร่ข้อมูลในเวปไซต์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลการสืบค้นบริบทชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น ของชุมชนนาหอ สําหรับเยาวชนและผู้สนใจสื่อออนไลน์ 3) โครงการทดลองจัดการเรียนการสอนภูมิ ปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน เพื่อนําภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สําคัญของท้องถิ่น สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ใน ระบบโรงเรียน 3) โครงการกิจกรรมเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ภูมิ ปัญญาท้องถิ่นของชุมชนร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย แล้วสามารถถ่ายทอดภูมิปัญญา ท้องถิ่น เห็นคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน 4) โครงการสอนภูมิปัญญาผ่านงานบุญประเพณี เพื่อ สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาจากปราชญ์ท้องถิ่นไปสู่เด็กและเยาวชนในโอกาสงานบุญประเพณี ได้แก่ การให้เยาวชนได้ร่วมเรียนรู้ในขั้นตอนการเตรียมอาหารงานบุญประเพณี การเตรียมและดําเนิน พิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญพระเวสสันดร การเตรียมทุง (ตุง) เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมในงานวันสงกรา นต์ และงานบุญหลวง 5) โครงการทําวีดิทัศน์วิถีชุมชนคนนาหอ มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอวิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สําคัญของผู้คนในชุมชนนาหอ ผ่านสื่อสมัยใหม่ในรูปแบบวีดีทัศน์
4.3.2.3 ผลการการจัดการความรู้ การจัดการความรู้ผ่านกิจกรรมจัดกิจกรรมเชิงทดลอง
ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ทําให้ชุมชนได้รับผลตามที่วางเปูาหมายไว้ดังนี้ 1) เด็กและเยาวชนเกิด ความรู้ในภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติชุมชน บุคคลสําคัญ สามารถอธิบายภูมิปัญญาท้องถิ่น และข้อมูล ของชุมชน สามารถเรียนรู้และทําได้จริง เช่น ทําทุง ทําอาหารที่ปรุงด้วยน้ําผักสะทอน หลังจากที่ร่วม กิจกรรมเรียนรู้ผ่านบุญประเพณี2) เยาวชน และผู้คนในชุมชน เกิดความภาคภูมิใจ และเห็นคุณค่าของ ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) เด็กและเยาวชนเกิดทักษะชีวิตในการปรับตัวในสังคมสมัยใหม่ 4) เกิดการสืบทอด ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนนาหอจากรุ่นสู่รุ่น 5) ทีมวิจัยและผู้คนในชุมชนเกิดการเรียนรู้ มีจิตสาธารณะ มีความเสียสละ 6) ชุมชนและเยาวชนมีแหล่งเรียนรู้ และมีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย เหมาะสมกับ ยุคสมัย นอกจากนั้นผลจากการดําเนินโครงการทีมวิจัยท้องถิ่นฯ ได้จัดพิมพ์หนังสือ “วิถีชุมชน และภูมิ ปัญญาท้องถิ่นของชุมชนนาหอ อ.ด่านซ้าย จ.เลย” ซึ่งเป็นการนําเสนอองค์ความรู้วิถีวัฒนธรรม ภูมิ ปัญญาท้องถิ่นของชุมชน เป็นการบันทึกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อนําไปเผยแพร่และต่อยอดการ พัฒนาชุมชนในด้านต่างๆได้ เช่น ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชน ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นถูก นําไปสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หน่วยที่ 2 “ชุมชนของเรา ชุมชนนาหอ” ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3-6 โรงเรียนบ้านหนองผือ สํานักงานพื้นที่การประถมศึกษาเลย เขต 3 และนําไปใช้สอนในรายวิชา ไทเลยศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น คติชนวิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย นอกจากนั้นทีมวิจัยยังได้จัดทําวี ดีทัศน์ “ชุดวิถีวัฒนธรรมชุมชนนาหอ” เผยแพร่ในโลกโซเชียลมีเดีย และในเว็ปไซต์ในท้องถิ่น ส่งผลให้ ผู้คนในชุมชนภาคภูมิใจในวิถีวัฒนธรรมของตน และชุมชนนาหอเป็นที่รู้จักแก่บุคคลภายนอกมากยิ่งขึ้น
4.3.3 ชุดความรู้การสร้างความมั่นคงของครอบครัวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาบ้าน น้อยคีรี ตําบลโคกขมิ้น อําเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
โครงการวิจัยการสร้างความมั่นคงของครอบครัวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษา บ้านน้อยคีรี ตําบลโคกขมิ้น อําเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เป็นโครงการวิจัยเดียวภายใต้ชุดโครงการความ ร่วมมือที่ไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนในระยะที่สอง เนื่องจากทีมวิจัยปรับปรุงข้อเสนอโครงการไม่ทัน
ตามกรอบเวลาของสถาบันวิจัยและพัฒนา ดังนั้นหัวหน้าทีมวิจัยได้แก้ไขโดยนํางบประมาณที่เหลือจาก ระยะที่หนึ่งมาปรับใช้ในการวางแผนทดลองปฏิบัติการ และทําการสรุปโครงการเท่าที่จะทําได้กับทาง พื้นที่ แต่อย่างไรก็ตาม ชุดความรู้ที่เกิดขึ้นในโครงการนี้ที่เป็นจุดเด่น คือ กระบวนการค้นหาและ วิเคราะห์ความมั่นคงของครัวเรือนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งมีขั้นตอนโดยสรุปดังนี้
1) การจัดตั้งคณะทํางานหรือทีมวิจัยเพื่อเป็นแกนนําในการทํางานร่วมกัน
2) การศึกษาบริบทชุมชนและภูมิหลังของครอบครัว ซึ่งเป็นปัญหาความมั่นคงของ ครอบครัวในชุมชนบ้านน้อยคีรี
3) การร่วมกันกําหนดนิยามความมั่นคงของครอบครัวในชุมชนบ้านน้อยคีรี โดยชาวบ้าน ร่วมกันกําหนดความหมาย และแบ่งระดับความมั่นคงของครอบครัวออกเป็น 3 ระดับ คือ (1) ครอบครัว ที่พึ่งตนเองได้ (2) ครอบครัวที่พึ่งตนเองได้บางส่วน (3) ครอบครัวที่พึ่งตนเองไม่ได้ นอกจากนี้ยังได้มีการ แบ่งความมั่นคงของครอบครัวเป็น 8 มิติ คือ (1) ด้านการมีงานทําและรายได้ (2) ด้านอาหาร (3) ด้าน สัมพันธภาพของครอบครัว (4) ด้านสุขภาพอนามัย (5) ด้านการศึกษา (6) ด้านความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน (7) ด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม (8) ด้านการสนับสนุนทางสังคม
4) ศึกษาข้อมูลรายครัวเรือน ในขั้นตอนนี้ทีมวิจัย ผู้นําชุมชนและนักศึกษา ได้ร่วมกัน สัมภาษณ์ข้อมูลรายครัวเรือน โดยมีเครื่องมือสําคัญคือ แบบสัมภาษณ์ และการจัดทําแผนผังชุมชน
5) การวิเคราะห์ข้อมูลและจัดแบ่งระดับความมั่นคงของครอบครัวในชุมชน ในขั้นตอนนี้ ทีมวิจัยได้จัดทําเครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ผัง flow - chart การวิเคราะห์รายรับรายจ่าย และ แผนผังชุมชน เป็นต้น จากนั้นจัดประชุมทีมวิจัยและผู้นําชุมชนเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลและและจัด ระดับความมั่นคงของครัวเรือน
6) การประชุมชาวบ้านเพื่อนําเสนอข้อมูล ร่วมกันวิเคราะห์แบ่งระดับครัวเรือน และ กําหนดแนวทางในการพัฒนาความเข้มแข็งของครัวเรือนร่วมกัน
ภาพที่ 6 : แสดงการใช้ผังชุมชนสร้างการมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ความมั่นคงของครอบครัว
ที่มา : วิชญ์ มะลิต้นและคณะ. (2558). รายงานวิจัยโครงการวิจัยการสร้างความมั่นคงของครอบครัวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
โดยสรุป จุดเด่นของงานวิจัยโครงการวิจัยการสร้างความมั่นคงของครอบครัวโดยการมี ส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาบ้านน้อยคีรี ตําบลโคกขมิ้น อําเภอวังสะพุง จังหวัดเลย คือ
กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวิเคราะห์ความมั่นคงของครอบครัว ซึ่งมีเครื่องมือ สําคัญคือ การใช้แผนภาพและแผนผังชุมชนในการช่วยวิเคราะห์แบ่งระดับความมั่นคงของครัวเรือน และให้ชาวบ้านช่วยกันตัดสินใจโดยใช้ฐานข้อมูลที่ทําร่วมกันมา ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้นําไปสู่การร่วมกัน กําหนดกิจกรรมในการทดลองปฏิบัติการแก้ไขปัญหาร่วมกันของชุมชน
4.3.4 ชุดความรู้การอบรมเตรียมความพร้อมนักวิจัย ในชุดกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพทีมวิจัยชุดนักวิชาการภายใต้โครงการความร่วมมือฯ
กิจกรรมการเตรียมความพร้อมนักวิจัยก่อนการเก็บข้อมูล ได้ออกแบบมาเพื่อให้ทีมวิจัยที่มีทั้งชาวบ้าน และนักวิชาการ มีความเข้าใจงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น มีความพร้อมในการเก็บข้อมูล และมีการทํางานเป็น ทีมร่วมกัน สําหรับชุดกิจกรรมในการพัฒนาศักยภาพทีมวิจัยก่อนการเก็บข้อมูล ได้สังเคราะห์มาจากการ ปฏิบัติการจริง สรุปได้ดังตาราง
ชุดกิจกรรมในการเตรียมความพร้อมทีมวิจัยก่อนการเก็บข้อมลู | |
ชุดกิจกรรมนี้ใช้เวลาทั้งหมด 2 วัน กิจกรรมตาง ๆ ประกอบด้วย | |
1. กิจกรรมกลมสมพันธ์ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ทีมวิจัยรู้จักคุ้นเคยกันเกิดความสัมพันธ์ที่ดีเพื่อจะนําไปสู่การ พัฒนาศักยภาพในการทํางานร่วมกันเป็นทีม (60 นาที) | |
1.1 กิจกรรมปรบมือ | 10 นาที |
1.2 กิจกรรมแนะตัวทีละคนโดยคนสองและคนถัดไปต้องแนะนําคนแรกก่อน แนะนําตนเอง | 20 นาที |
1.3 กิจกรรมจับคู่พร้อมเพลงตา หู จมูก ปาก | 10 นาที |
1.4 กิจกรรมทําความรู้จักกันเป็นคู่ เป็นกลุ่ม | 20 นาที |
2. กิจกรรมประเมินความต้องการและปรับกําหนดการ ( 40 นาที) | |
2.1 แจกกระดาษระดมความคาดหวัง | 10 นาที |
2.2 นําเสนอในกลุ่มใหญ่ | 15 นาที |
2.3 จัดปรบกับวัตถุประสงค์และกําหนดการ | 15 นาที |
3. กิจกรรมทบทวนกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น (60 นาที) | |
3.1 ฉายวิดิทัศน์แนะนํางานวิจัยเพื่อท้องถิ่น | 10 นาที |
3.2 ทบทวนแนวคิดและความหมายงานวิจัย | 20 นาที |
3.3 กระบวนการ เทคนิค วิธีการ วิจัยเพื่อท้องถิ่น | 30 นาที |
4. กิจกรรมการออกแบบเครื่องมือวิจัยเพื่อท้องถิ่น (2 ชั่วโมง 30 นาที) | |
4.1 เทคนิคการแตกกรอบประเด็นวิจัย | 30 นาที |
4.2 ฝึกปฏิบัติการแตกกรอบประเด็นวิจัย | 60 นาที |
4.3 การกําหนดเครื่องมือในการวิจัย | 30 นาที |
4.4 การกําหนดแผนปฏิบัติการวิจัย | 30 นาที |
ตารางที่ 7 : แสดงชดกิจกรรมในการเตรียมความพร้อมทีมวิจยก่อนเก็บข้อมล
ชุดกิจกรรมในการพัฒนาเตรียมความพร้อมก่อนการเก็บข้อมูล ประกอบด้วยชุดกิจกรรมย่อย จํานวน 4 ชุด คือ ชุดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ชุดกิจกรรมประเมินความต้องการและจัดปรับกําหนดการ ชุดกิจกรรมทบทวนกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น และชุดกิจกรรมการออกแบบเครื่องมือวิจัย ซึ่งกิจกรรม ทั้งหมดใช้หลักการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้เข้าอบรมจะต้องร่วมคิดร่วมทําทุกขั้นตอน
โดยมีงานตามวัตถุประสงค์โครงการวิจัยของแต่ละพื้นที่เป็นกรอบงานในการฝึกปฏิบัติการ ใช้ระยะเวลา ดําเนินการจํานวน 2 วัน กลุ่มเปูาหมายจํานวน 50 คน สําหรับรายละเอียดผลการจัดฝึกอบรม คณะผู้วิจัยนําเสนอไว้ในภาคผนวก
4.4 รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภายใต้ความร่วมมือมหาวิทยาลัย ราชภัฏเลย
4.4.1 รูปแบบการสนับทุนวิจัยแบบแบ่งส่วนรับผิดชอบ
ในงานวิจัยนี้ได้ออกแบบโครงการความร่วมมือไว้ในรูปแบบการสนับสนุนทุนวิจัยแบบ แบ่งส่วนงานรับผิดชอบของหน่วยงานที่ลงนามความร่วมมือ กล่าวคือ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการ วิจัย (สกว.) สนับสนุนงบประมาณโครงการวิจัยย่อยภายใต้โครงการความร่วมมือในระยะที่หนึ่ง คือ ระยะการพัฒนาโจทย์วิจัย การพัฒนาทีม ศึกษาข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และจัดเวทีรายงาน ความก้าวหน้า สําหรับการวิจัยในระยะที่สอง มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยจะสนับสนุนงบประมาณในการ ทดลองปฏิบัติการ การสรุปบทเรียน และการจัดเวทีนําเสนอผลงานวิจัย ในส่วนการบริหารจัดการได้มี การจัดตั้งคณะทํางานขับเคลื่อนรงการเข้ามาบริหารจัดการขับเคลื่อนโครงการ และใช้ระเบียบการใช้ งบประมาณของตามที่มาของงบประมาณแต่ละหน่วยงานในแต่ละช่วง
การวิจัยระยะท่ี 1
- สา˚ นกงานกองทนสนบสนนการวจิ ยั (สกว.) สนบสนนุ ทนวิจยละ 120,000 บาท จ˚านวน 3 โครงการ รวมเป็นเงิน 360,000 บาท
- การบริหารงบประมาณใช้ระเบียบของสานกั งาน
กองทนสนบสนนการวิจยั (สกว.)
การวิจัยระยะท่ี 2
- มหาวิทยาลยราชภฏั เลย สนบสนนทนวิจยโครงการ ละ 80,000 บาท จ˚านวน 3 โครงการ รวมเป็นเงิน จ˚านวน 240,000 บาท
- การบริหารงบประมาณใช้ระเบียบการเงินของ มหาวิทยาลยราชภฏั เลย
การน˚าเสนอผลงานวิจยั
การสรุปวิเคราะห์ผล
การทดลองปฏิบตการ
เตรียมพร้อมทดลองปฏิบติการ
การน˚าเสนอรายงาน
การวิเคราะห์ข้อมลู
การเก็บข้อมลู
การพฒนาทีมวจิ ยั
การพฒนาโจทย์วจิ ยั
แผนภาพที่ 3 : แสดงรูปแบบความร่วมมือแบบแบ่งส่วนกันรับผิดชอบของหน่วยงาน
ผลการทดลองรูปแบบความร่วมมือในการสนับการวิจัยเพื่อท้องถิ่นในสถาบันการศึกษา ได้ข้อค้นพบว่า รูปแบบการแบ่งส่วนงานรับผิดชอบของหน่วยงานที่ลงนามความร่วมมือ ไม่มีความ เหมาะสมสําหรับการทําวิจัยแบบมีส่วนร่วมแบบงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เพราะเหตุผลดังต่อไปนี้
1) การแบ่งการบริหารเป็นสองส่วน ทําให้นักวิจัยเกิดความความสับสนและความยุ่งยาก ในการทํางานเพิ่มมากขึ้น โดยจากการสรุปบทเรียนพบว่า ทีมวิจัยต้องทํางานซ้ําซ้อนในการจัดทํา รายงานการเงินและรายงานวิจัยส่งแหล่งทุน นอกจากนี้ระเบียบการเบิกจ่ายและการเก็บหลักฐาน การเงินที่แตกต่างกันทําให้ต้องใช้เวลาในการอธิบายทําความเข้าใจกับทีมวิจัยชาวบ้านเพิ่มมากขึ้น
2) ในการวิจัยแบบมีส่วนร่วมแบบงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ต้องการให้ชาวบ้านเข้ามาเรียนรู้ งานวิจัยและเป็นเจ้าของปัญหาด้วยตนเอง แต่การบริหารงานแบบแบ่งส่วนงบประมาณทําให้ กระบวนการทํางานขาดความต่อเนื่อง โดยพบว่า การรอกระบวนการเบิกจ่ายงบประมาณในระยะที่สอง ที่ใช้ระยะเวลานานถึงเจ็ดเดือน ทําให้กิจกรรมในพื้นที่หยุดชะงักและเกิดคําถามขึ้นมากมายกับคนทํางาน ที่เป็นนักวิชาการหัวหน้าโครงการ เมื่อกลับไปทํางานใหม่อีกครั้งต้องใช้เวลาในการกระตุ้น ทบทวน และ สร้างความเป็นเจ้าของร่วมกันอีกครั้ง นอกจากนี้ยังพบว่า โครงการวิจัยการสร้างความมั่นคงของ ครอบครัวบ้านน้อยคีรีไม่สามารถดําเนินงานต่อเนื่องในระยะที่สองได้ ด้วยติดขัดเรื่องกระบวนการ เบิกจ่ายงบประมาณในระยะที่สอง
3) ในเชิงการบริหารจัดการที่ยึดระเบียบของสถาบันจนไม่มีข้อยกเว้นสําหรับโครงการ ความร่วมมือ ได้ส่งผลปิดกั้นการเรียนรู้ของนักวิชาการผู้ทําวิจัยและบุคลากรของสถาบันวิจัยเอง โดยจะ ไม่มีโอกาสได้เรียนรู้การบริหารงานวิจัยแบบอื่นที่หลากหลาย จะได้เรียนรู้เฉพาะในกรอบระเบียบ แบบเดิมเท่านั้น
4.4.2 รูปแบบการการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ภายใต้ข้อตกลงในกลไกความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยกับสํานักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย ได้มีการกําหนดรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ซึ่งอธิบายได้ดังภาพ
แผนภาพที่ 4 : แสดงรูปแบบการบริหารจัดการงานวจัยภายใต้โครงการความร่วมมือ
1) การบริหารจัดการใช้รูปแบบคณะทํางาน ซึ่งมีมาจาก 3 ภาคส่วน คือ สถาบันวิจัย และพัฒนา ซึ่งเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ผู้ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ซึ่งเป็นตัวแทน ของสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และ นักวิชาการผู้มีประสบการณ์งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ซึ่งเป็น นักวิชาการในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
2) โดยคณะทํางานจะทําหน้าที่สนับสนุนให้นักวิชาการ เข้าไปทําวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับ ชุมชน โดยกระบวนการสับสนับสนุนคณะทํางานจะมีการคิดวางแผน ปฏิบัติการ และสรุปประเมินผล ร่วมกันทุกขั้นตอน
3) นักวิชาการที่เป็นนักวิจัยจะมีบทบาทเป็นนักกระบวนกร (Facilitator) ไปสร้างการ เรียนรู้กับทีมวิจัยชุมชน เพื่อกระตุ้นให้นักวิจัยชุมชนลุกขึ้นมาศึกษาวิเคราะห์ปัญหาความต้องการของ ตนเองและหาหนทางจัดการกับปัญหาร่วมกัน
4) ในการวิจัยนี้ ชุมชนจะเป็นเจ้าของปัญหา เป็นผู้กําหนดโจทย์วิจัย กําหนดกิจกรรม วิจัย และกําหนดแนวทางการจัดปัญหา โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน ตามหลักการของการวิจัย เพื่อท้องถิ่น (Community-based Research)
ผลการทดลองรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นใน มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดยการปฏิบัติการสนับสนุนนักวิชาการในการทําโครงการวิจัยย่อยจํานวน 3 โครงการ ได้ข้อค้นพบสําคัญซึ่งสรุปได้ตามวงจรการบริหารงานวิจัยแบบ PDCA ดังนี้
1) ขั้นการวางแผน (Plan) เป็นการวางแผนจากวัตถุประสงค์และเปูาหมายที่กําหนดไว้ ในการดําเนินงานโครงการนี้ พบว่า คณะทํางานได้มีการประชุมวางแผนกันทํางานร่วมกันอย่างเข้มข้น ทุกกิจกรรมในระยะเริ่มต้น แต่ในระยะหลัง ๆ พบว่า มีการประชุมกันน้อยลงและตัวแทนจาก สถาบันวิจัยและพัฒนามีการเปลี่ยนคนเข้าร่วมประชุมบ่อยครั้ง ทําให้ขาดความต่อเนื่องในการทํางาน ร่วมกัน นอกจากนี้ในการวิจัยระยะที่สอง ที่ใช้งบประมาณในส่วนมหาวิทยาลัยไม่มีการประชุมเพื่อวาง แผนการทํางานร่วมกันเลย เป็นการปรับเปลี่ยนไปใช้ระบบการติดตามงานวิจัยแบบปกติของ มหาวิทยาลัยแทน
2) ขั้นการปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงาน (Do) เป็นการปฏิบัติการสนับสนุนงานวิจัย ตามได้วางแผนไว้ร่วมกัน ในขั้นตอนนี้ พบว่า คณะทํางานตัวแทนจากสถาบันวิจัยและพัฒนาจะสามารถ เข้าร่วมกิจกรรมได้เฉพาะการจัดเวทีวิชาการในมหาวิทยาลัยเป็นส่วนใหญ่ สําหรับการสนับสนุนงานใน พื้นที่วิจัยส่วนใหญ่จะเป็นคณะทํางานที่เป็นนักวิชาการและผู้ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ ลงไป สนับสนุนงาน
3) ขั้นการตรวจสอบ (Check) เป็นการตรวจสอบผลการดําเนินงานในแต่ละขั้นตอน และร่วมกันสรุปบทเรียน ซึ่งส่วนมากจะใช้รูปแบบเวทีประชุมคณะทํางานในการสรุปบทเรียนและผลการ
ทํากิจกรรม ปัญหาอุปสรรคที่พบ คือ คณะทํางานเข้าประชุมไม่พร้อมเพรียงกัน และบางหน่วยงานส่ง ตัวแทนเข้าประชุมแทนทําให้ขาดความเข้าใจและขาดความต่อเนื่องในการทํางานร่วมกัน
4) ขั้นการปรับปรุงแก้ไข (Action) คือ เป็นการปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา ซึ่งใน โครงการวิจัยนี้ ได้ดําเนินการต่อเนื่องจากการสรุปบทเรียนกิจกรรม และนําผลจากบทเรียนไปปรับปรุง ในการทํากิจกรรมขั้นต่อไป ซึ่งพบอุปสรรคว่า ในการดําเนินงานระยะที่สอง ติดเงื่อนไขระเบียบการ เบิกจ่ายงบประมาณของมหาวิทยาลัยและใช้ระเบียบการบริหารปกติของสถาบันวิจัยในการบริหารงาน จึงส่งผลให้การทํางานในรูปแบบคณะทํางานจึงถูกปรับลดบทบาทไปปริยาย
4.4.3 การวิเคราะห์ผลการพัฒนารูปแบบ
4.4.3.1 การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย (Stack holders) ในโครงการรูปแบบการบริหาร จัดการเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภายใต้ความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย สามารถวิเคราะห์ ผู้มีส่วนได้เสียที่ส่งผลต่อความสําเร็จของงานได้ดังแผนภาพ
- ผู้บริหารมหาวิทยาลัย | - ผู้บริหารสํางานกองทุนสนับสนุนการวิจัย |
- ผู้บริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา - เจ้าหน้าที่สถาบันฯ | - นักวิชาการหัวหน้าโครงการวิจัย - ทีมวิจัยชุมชน - พี่เลี้ยงวิจัย/ผู้ประสานงานวิจัย - นักวิชาการที่เป็นที่ปรึกษา |
สงู
อ˚านาจหน้าท
ต˚่า
ความสนใจ สงู
แผนภูมภาพที่ 5 : แสดงเมตริกซ์วิเคราะห์ผู้มีส่วนไดเสยในโครงการ
จากแผนภาพเมตริกซ์ด้านบนอธิบายได้ว่า ผู้มีอํานาจหน้าที่สูงและมีความสนใจสูงจะ
ส่งผลทําให้การทํางานประสบผลสําเร็จสูง ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้มีอํานาจหน้าที่ต่ําและมีความสนในจน ต่ําไปด้วยงานก็จะมีโอกาสล้มเหลวได้มากเช่นกัน ซึ่งในโครงการนี้จะเห็นว่า ผู้ที่อํานาจหน้าที่สูงและมี ความสนใจสูงในการจัดทําโครงการร่วมมือ คือ ผู้บริหารสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่ง ในขณะนั้นมีนโยบายในการจัดทําโครงการความร่วมมือเพื่อขยายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในหน่วยงานและ สถาบันการศึกษาที่มีแนวคิดและแนวทางคล้ายกัน จึงถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีความสนใจสูงและมีอํานาจ หน้าที่สูง สําหรับผู้บริหารมหาวิทยาลัยเป็นผู้มีอํานาจสูงแต่ให้ความสนใจกับโครงการความร่วมมือน้อย จึงไม่มีการปฏิบัติการที่กระตือรือร้นให้งานบรรลุเปูาหมาย ในส่วนผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัย และพัฒนาซึ่งได้รับมาอบหมายจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยในโครงการนี้ถือได้ว่า เป็นการทําตามนโยบาย ปกติและให้ความสําคัญกับโครงการความร่วมมือไม่มากนัก ดังจะเห็นจากการเข้าร่วมจัดกิจกรรม การ สนับสนุนโครงการวิจัยภายใต้โครงการร่วมมือจึงไม่มีความแตกต่างจากโครงการปกติมากนัก สําหรับ กลุ่มสุดท้าย คือ นักวิชาการหัวหน้าโครงการวิจัย ทีมวิจัยชุมชน ผู้ประสานงานศูนย์วิจัย และนักวิชาการ ด้านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น กลุ่มนี้เป็นกลุ่มสนใจที่อยากทํางานวิจัยเพื่อท้องถิ่น มีความตั้งใจและความ สนใจงานสูงแต่ไม่มีอํานาจหน้าที่ในการขับเคลื่อนงานภายใต้โครงการความร่วมมือจึงทําให้งานวิจัย ขับเคลื่อนไปไม่ได้เต็มที่มากนัก
4.5 ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากโครงการ
จากการดําเนินงานชุดโครงการความร่วมมือระหว่างสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ในช่วงระยะแรกของโครงการได้เกิดผลกระทบกับกลุ่มเปูาหมายที่เกี่ยวข้องใน โครงการดังต่อไปนี้
4.5.1 สถาบันและหน่วยสนับสนุนการวิจัย
คําว่า “สถาบัน”ในที่นี้หมายถึง มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และ “หน่วยสนับสนุนการวิจัย” หมายถึง สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ภายหลังเกิดโครงการความร่วมมือพบว่า มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยและพัฒนาให้ความสําคัญกับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น นอกจากการ สนับสนุนงบประมาณในการทําวิจัยในระยะที่สองตามโครงการแล้ว ทางมหาวิทยาลัยยังอํานวยความ สะดวกทั้งสถานที่จัดประชุม วัสดุอุปกรณ์ และรถยนต์ในการเข้าร่วมกิจกรรมสําคัญๆ เช่น การสนับสนุน รถตู้ในการเดินทางเข้าร่วมนําเสนอผลการวิจัยที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเห็นความสําคัญและให้บุคคลากรมาร่วมเรียนรู้กับคณะทํางานเป็น ระยะๆ ซึ่งถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดีในการทํางานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในมหาวิทยาลัย
4.5.2 นักวิชาการผู้เข้าร่วมโครงการ
ในการดําเนินโครงการชุดนี้กําหนดให้นักวิชาการเข้ามาทํางานกันเป็นทีม ซึ่งทั้ง 3 โครงการจะ มีนักวิชาการมาร่วมเรียนรู้จํานวน 10 คน ผลจากการดําเนินงานที่ผ่านมาพบว่านักวิชาการที่เป็นหัวหน้า ทีมจะมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในหลายด้าน ทั้งแนวคิด วิธีการทํางานในการทํางานแบบมีส่วนร่วมที่มี การปรับบทบาทมาเป็นผู้จัดกระบวนการที่รับฟังความคิดเห็นของคนในชุมชนแทนการทํางานที่ยึด อาจารย์เป็นศูนย์กลาง สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ นักวิชาการชุดนี้เน้นการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน โดยการ เข้าร่วมกิจกรรมชุมชนทั้งในและนอกงานวิจัย เป็นการสร้างความไว้วางใจกันก่อนที่จะทํางานร่วมกัน ทํา ให้การทํางานวิจัยดําเนินไปอย่างเป็นทีมที่กลมกลืนได้ นอกจากนี้ยังพบว่า นักวิชาการชุดนี้เป็นนั ก บูรณาการคือ มีการบูรณาการงานหลายๆอย่างกับงานวิจัย ทั้งงานบริการวิชาการและการเรียนการสอน เช่น การนําโครงการบริการวิชาการเข้าไปในพื้นที่วิจัย การนํานักศึกษาลงไปปฏิบัติการงานเรียนใน รายวิชาที่สอนในพื้นที่วิจัย เป็นต้น ในส่วนนักวิชาการที่มาร่วมเป็นทีมจะเข้ามาเรียนรู้เป็นครั้งคราวไม่ สม่ําเสมอ จึงยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมากนัก
4.5.3 นักศึกษา
ในโครงการวิจัยชุดนี้พบว่านักศึกษาได้เข้ามามีบทบาทในโครงการและเข้ามาร่วมเรียนรู้ใน 3 รูปแบบคือ การเข้ามาร่วมเป็นทีมวิจัย การเข้ามาร่วมเป็นกิจกรรม และการช่วยในการเก็บข้อมูล ซึ่งมีรายละเอียดต่อไปนี้
1) การเข้ามาเป็นทีมวิจัย จะพบในโครงการแนวทางการสร้างความมั่นคงของครอบครัวแบบ มีส่วนร่วมของชุมชนบ้านน้อยคีรี พบว่า อาจารย์หัวหน้าโครงการได้นํานักศึกษาเอกพัฒนาชุมชนเข้ามา เป็นทีมวิจัยจํานวน 5 คน ผลที่เกิดขึ้นพบว่า นักศึกษาได้ร่วมเรียนรู้กระบวนการวิจัยทุกขั้นตอนไปพร้อม ๆ กับชุมชน จากการประเมินการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษาพบว่า มีความเข้าใจงานวิจัยแบบมีส่วน ร่วม สามารถปฏิบัติการสร้างเครื่องมือ เก็บข้อมูล และนําเสนอข้อมูลร่วมกับทีมวิจัยชุมชนได้ เกิดความ มั่นในในการทํางานวิจัยนําไปปรับใช้ในการเรียนวิชาอื่น ๆ ได้
2) การเข้ามาร่วมเป็นรายกิจกรรม จะพบในโครงการการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น บ้านนาหอ อําเภอด่านซ้าย โดยอาจารย์พยุงพร นนทวิศรุต หัวหน้าโครงการได้บูรณาการวิชาการเรียน กับงานโครงการวิจัยเข้าด้วยกันทําให้เด็กได้มาเรียนรู้กับชุมชน เช่น ให้นักศึกษาเอกภาษาไทยเข้ามา ศึกษารวบรวมนิทานพื้นบ้านและจัดเวทีถ่ายทอดนิทานกับเด็กในพื้นที่วิจัย ทําให้นักศึกษา ได้เรียนรู้กับ ทีมวิจัย เป็นต้น ผลการเปลี่ยนแปลงพบว่านักศึกเข้าใจวิธีการทํางานร่วมกับชุมชนเพิ่มมากขึ้นและมี ทัศนคติที่ดีต่อการทํางานกับชุมชน
3) การเข้ามาร่วมเก็บข้อมูล เป็นการเข้ามาช่วยทีมวิจัยชาวบ้านในการเก็บข้อมูลตามความ ถนัดของวิชาที่เรียนของนักศึกษา จะพบในโครงการแนวทางการเพิ่มมูลค่าปุาชุมชนบ้านน้ําแคม อําเภอ ท่าลี่ ซึ่งอาจารย์อนุชา วิลัยแก้วและทีม ได้นํานักศึกษาสาขาสิ่งแวดล้อมเข้ามาร่วมเก็บข้อมูลสภาพภาพ ปุาและข้อมูลแบบสอบถาม เป็นต้น ถือว่าเป็นการบูรณาการพื้นที่เป็นวิจัยเป็นห้องเรียนสําหรับนักศึกษา สิ่งแวดล้อมในการประเมินสภาพปุาชุมชน ทําให้นักศึกษาได้เรียนรู้ในวิชาเรียนและการทํางานกับชุมชน
4.5.3 ทีมวิจัยและชุมชนวิจัย
จากการดําเนินงานที่ผ่านมากพบว่า ทีมวิจัยชุมชนได้มีการเรียนรู้กระบวนการวิจัยตั้งแต่ต้น ทั้งแนวคิด กระบวนการ ขั้นตอนการทํางาน และการร่วมลงมือปฏิบัติการ ผลการเปลี่ยนแปลงที่พบ คือ ทีมวิจัยชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงทั้งแนวคิดและแนวปฏิบัติอย่างชัดเจน มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ และ อยากร่วมกันหาแนวทางพัฒนาท้องถิ่นตนเอง เช่น 1) ชุมชนบ้านนาหอ มีการประชุมอย่างต่อเนื่องใน การคิดงานต่อยอดที่มากกว่าการวิจัย ทั้งการฝึกอ่านใบลาน การปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ รวมไปถึงการกล้า แลกเปลี่ยนต่อรองกับคณะวิจัยอื่น ๆ ที่จะเข้าไปในชุมชนโดยให้เงื่อนไขว่าชาวบ้านต้องมีส่วนร่วมด้วย
2) ชุมชนน้ําแคม ได้ร่วมกันหาแนวทางในการบริหารจัดการปุา โดยร่วมกันออกเงินค่าน้ํามันรถไปศึกษา ดูงาน นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงกฎระเบียบการจัดการปุา พัฒนาวิธีการทํางานของชุมชนไปในทางที่ดี ขึ้น 3) ชุมชนบ้านน้อยคีรี เป็นชุมชนที่มีเวลาน้อยในการทํากิจกรรมเพราะมีอาชีพรับจ้างเป็นหลัก แต่ก็ ได้เข้าร่วมทําข้อมูลร่วมกันตั้งแต่เก้าโมงเช้าจนถึงสี่ทุ่มโดยไม่หนีไปไหน เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้แสดงถึง ความตกผลึกในเรื่องความคิดที่อยากร่วมกันหาทางออกให้กับชุมชนท้องถิ่นตนเองของทีมวิจัยชุมชน
58
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
โครงการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ภายใต้ความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นการวิจัยเพื่อท้องถิ่น(Community Based Research) ที่ประยุกต์การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) มาปรับใช้ในการ ดําเนินงาน ผลการวิจัยมีบทสรุป อภิปรายผลและข้อเสนอในการดําเนินงานในระยะต่อไปดังต่อไปนี้
5.1 สรุปผล
การดําเนินงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักจํานวน 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาระบบกลไกที่
เหมาะสมกับการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2) เพื่อศึกษากระบวนการ
หนุนเสริมศักยภาพนักวิชาการในการทําวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 3) เพื่อ สังเคราะห์ความรู้ที่เกิดขึ้นกับชุดโครงการย่อย ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราช ภัฏเลย 4) เพื่อค้นหารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภายใต้ความร่วมมือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ในด้านวิธีการดําเนินการวิจัย โครงการนี้เป็นการประยุกต์ใช้กระบวนวิจัยเชิง ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action research) มาใช้ โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมใน การดําเนินโครงการของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งทีมพี่เลี้ยง ทีมที่ปรึกษา นักวิชาการหัวหน้าทีมวิจัย และทีมวิจัยชุมชนให้มากที่สุด โดยเริ่มตั้งแต่ การร่วมคิดออกแบบโครงการ การร่วมวางแผนกิจกรรม ร่วมปฏิบัติการ ร่วมเรียนรู้และร่วมสรุปบทเรียน เครื่องมือสําคัญที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต ประเด็นการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกกิจกรรม และประเด็นการสรุปบทเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลเน้นการ วิเคราะห์เชิงคุณภาพเพื่อตอบโจทย์ตามกรอบวัตถุประสงค์และมีการนําเสนอเป็นการเขียนบรรยายเชิง พรรณนา
ผลการศึกษาวิจัยโดยสรุป พบว่า
5.1.1 ระบบกลไกที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ต้องพัฒนามาจากความเข้าใจเป้าหมายร่วมกันและความต้องการที่แท้จริงของผู้จัดทําข้อตกลงทั้งสอง ฝ่าย จากการศึกษาพบว่า กลไกที่เหมาะสมควรมี 2 ระดับ คือ 1) กลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ผ่านการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยกับมหาวิทยาลัย ราชภัฏเลย 2) กลไกคณะทํางานขับเคลื่อนโครงการวิจัย ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนมหาวิทยาลัย สกว. และนักวิชาการผู้ผ่านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
5.1.2 การหนุนเสริมศักยภาพนักวิชาการในการทํางานวิจัย ซึ่งเป็นการทดลองรูปแบบการ บริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จากผลการศึกษาพบว่า มี กระบวนการทํางานที่แตกต่างกันอยู่ 2 ระยะคือ
5.1.2.1 การหนุนเสริมนักวิชาการในโครงการระยะที่ 1 เป็นการบริหารงานภายใต้ งบประมาณของสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มีกิจกรรมสําคัญดังนี้
1) การค้นหานักวิชาการเข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย (1) การประชุม คณะทํางานเพื่อวางแผน (2) การประชาสัมพันธ์ผ่านระบบสื่อมหาวิทยาลัยและการทาบทามเป็น รายบุคคล (3) การประชุมทําความเข้าใจแนวคิดและเงื่อนไขงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับกลุ่มผู้สนใจ
2) การเสริมศักยภาพในการพัฒนาโจทย์วิจัย ประกอบด้วย (1) ประชุมผู้สนใจ เพื่อเลือกประเด็นและพื้นที่วิจัย (2) นักวิชาการลงสํารวจพื้นที่และประเด็นวิจัย (3) สนับสนุนการ ประชุมพัฒนาโจทย์วิจัยในพื้นที่ (4) สนับสนุนการเขียนข้อเสนอโครงการ (5) สนับสนุนการจัดเวที พิจารณากลั่นกรองโครงการ
3) การเสริมศักยภาพนักวิชาการช่วงการดําเนินงานวิจัย จากผลการศึกษา พบว่า มีกระบวนการเสริมศักยภาพนักวิจัยในการดําเนินงานวิจัยดังนี้ (1) การประชุมทําความเข้าใจสัญญา โครงการ (2) การประชุมเปิดตัวโครงการ (3) การฝึกอบรมเตรียมความพร้อมนักวิจัยในการเก็บข้อมูล
(4) การประชุมประจําเดือนติดตามงานนักวิจัย (5) การจัดเวทีสนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูล (6) การ ติดตามสนับสนุนงานในพื้นที่วิจัย (7) การสนับสนุนการเขียนรายงานความก้าวหน้า (8) การสนับสนุน การนําเสนอผลงานวิจัย
5.1.2.2 การหนุนเสริมนักวิชาการในโครงการระยะที่ 2 เป็นการทดลองบริหารงาน ภายใต้งบประมาณของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ผลการศึกษาพบว่า การบริหารงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นโดย ใช้ระเบียบการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัย มีความไม่เหมาะสมกับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เพราะ กระบวนการเสนอของบประมาณมีหลายขั้นตอนและใช้ระยะเวลานาน ส่งผลให้งานวิจัยในพื้นที่ไม่มี ความต่อเนื่อง และระเบียบการอนุมัติให้ทํากิจกรรมก่อนเพียง 50% ไม่เพียงพอกับการทํากิจกรรมของ งานวิจัยแบบมีส่วนร่วม ที่ต้องใช้งบประมาณในการจัดกิจกรรมเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การใช้ ระเบียบการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมาใช้ได้ส่งผลให้การทํางานในรูปแบบคณะทํางาน ขับเคลื่อนโครงการต้องปิดตัวลงและไม่เกิดการเรียนรู้ในการบริหารงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นร่วมกันของทุก ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
5.1.3 ชุดความรู้ที่เกิดขึ้นจากชุดโครงการสรุปได้ 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) ชุดความรู้แนว ทางการเพิ่มมูลค่าป่าชุมชนดงสามขาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน จุดเด่นที่พบคือ การปรับใช้ความรู้เชิงเศรษฐศาสตร์ในเรื่องมูลค่า มาปรับใช้ในการวิจัยกระตุ้นให้ชุมชนเห็นคุณค่า ความสําคัญของป่าและร่วมกันบริหารจัดการป่าชุมชน 2) ชุดความรู้การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างการเรียนรู้สําหรับเด็กและเยาวชนชุมชนนาหอ จุดเด่นของความรู้ชุดนี้ คือ กระบวนการค้นหา ความรู้แบบมีส่วนร่วมทั้งความรู้บริบทชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสถานการณ์เด็กและเยาวชน การ จัดการและถ่ายทอดความรู้ผ่านปฏิบัติการเรียนรู้ภูมิปัญญาในหลักสูตรท้องถิ่น การสอนภูมิปัญญาผ่าน บุญประเพณีและการจัดทําสื่อเผยแพร่ 3) ชุดความรู้การสร้างความมั่นคงของครอบครัวโดยการมีส่วน ร่วมของชุมชน จุดเด่นของชุดความรู้นี้คือ กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวิเคราะห์ ความมั่นคงของครอบครัว ซึ่งมีเครื่องมือสําคัญ คือ การใช้แผนภาพและแผนผังชุมชนในการช่วย วิเคราะห์แบ่งระดับความมั่นคงของครัวเรือน และให้ชาวบ้านช่วยกันตัดสินใจโดยใช้ฐานข้อมูลที่ทํา ร่วมกันมา ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้นําไปสู่การร่วมกันกําหนดกิจกรรมในการทดลองปฏิบัติการแก้ไขปัญหา ร่วมกันของชุมชน 4) ชุดความรู้การอบรมเตรียมความพร้อมนักวิจัย เป็นชุดกิจกรรมในการพัฒนาเตรียม
ความพร้อมนักวิจัยก่อนการเก็บข้อมูล ประกอบด้วยชุดกิจกรรมย่อยจํานวน 4 ชุด คือ ชุดกิจกรรมกลุ่ม สัมพันธ์ ชุดกิจกรรมประเมินความต้องการและจัดปรับกําหนดการ ชุดกิจกรรมทบทวนกระบวนการวิจัย เพื่อท้องถิ่น และชุดกิจกรรมการออกแบบเครื่องมือวิจัย ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดใช้หลักการฝึกอบรมเชิง ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้เข้าอบรมจะต้องร่วมคิดร่วมทําทุกขั้นตอนโดยมีงานตามวัตถุประสงค์ โครงการวิจัยตนเองเป็นกรอบงานในการฝึกปฏิบัติการ ใช้ระยะเวลาดําเนินการจํานวน 2 วัน กลุ่มเป้าหมายจํานวน 50 คน
5.2 การอภิปรายผล
จากผลการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ภายใต้ความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เมื่อนํามาเปรียบเทียบกับตัวอย่างบันทึกความร่วมมือใน การทําวิจัยของสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่ผ่านมา ซึ่งมีหลาย รูปแบบความร่วมมือ คือ
1) รูปแบบความร่วมมือกันในการสนับสนุนการทําวิจัยในสถาบันการศึกษา โดยมีข้อตกลงใน การใช้ทรัพยากรบุคล ความรู้และงบประมาณจากทั้งสองฝ่าย โดยมีการใช้งบประมาณจากทั้งสองส่วน เท่า ๆ กัน เช่น บันทึกความร่วมมือในการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นระหว่างมหาวิทยาลัย อุบลราชธานีกับสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
2) รูปแบบความร่วมมือในการนํากระบวนการวิจัยไปใช้ในหน่วยงาน ที่มีข้อตกลงในการ สนับสนุนงบประมาณในการทําวิจัยในอัตราส่วน 30:70 ดังตัวอย่างความร่วมมือของ ศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลราชบุรี กับ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
3) รูปแบบความร่วมมือที่ สํานักงานกองทุนสนับสนุนงบประมาณ 100% เพื่อให้เกิดงานวิจัยใน ประเด็นเฉพาะ เช่น บันทึกข้อตกลงระหว่าง สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กับ สถาบันการ ท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT-I)
4) รูปแบบความร่วมมือที่สนับสนุนงานวิชาการ เป็นความร่วมมือกันในการพัฒนางานวิจัยและ งานวิชาการในสถาบันการศึกษาโดยไม่ได้กล่าวถึงงบประมาณแต่เป็นการสนับสนุนทางวิชาการ เช่น บันทึกความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบจะพบว่า รูปแบบความร่วมมือในการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จะมีความแตกต่างในเรื่อง การจัดการทุนในการสนับสนุนการวิจัย โดยมีการ แบ่งการสนับสนุนอย่างชัดเจนตามระยะการวิจัยและมีการใช้งบประมาณและระเบียบบริหารจัดการของ แต่ละหน่วยงาน ผลการศึกษาดังกล่าว ได้สะท้อนปัญหาในการบริหารจัดงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภายใต้ โครงการความร่วมมือในรูปแบบการแบ่งส่วนงานและการใช้ระเบียบการจัดการที่แตกต่างกันนั้น มีความ ไม่เหมาะสมกับการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่มีเป้าหมายสําคัญ คือการเปลี่ยนแปลงของชุมชนท้องถิ่นเป็น สําคัญ การทํางานจึงต้องการความต่อเนื่องและระเบียบที่ยืดหยุ่น
5.2.2 ตามวงจรการบริหารงาน PDCA (Deming in Mycoted, 2004 อ้างถึงในสมศักดิ์
สินธุระเวชญ์.2542 : 45) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1) P = Plan คือการวางแผนจาก วัตถุประสงค์ และเป้าหมายเราได้กําหนดขึ้น 2) D = Do คือการปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียน
ไว้อย่างเป็นระบบ และมีความต่อเนื่อง 3) C = Check คือ การตรวจสอบผลการดําเนินงานในแต่ละ ขั้นตอน ของแผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนงานในขั้นตอนใดบ้าง 4) A = Action คือ การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา หรือถ้าไม่มีปัญหาใด ๆ ก็ยอมรับแนวทางการปฏิบัติ ตามแผนงานที่ได้ผลสําเร็จ เมื่อนํามาอภิปรายผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานตามวงจร PDCA สามารถทําได้ดีในระยะที่ 1 ที่มีการทํางานร่วมกันของคณะทํางานซึ่งกระบวนการทํางานเป็นไปตาม วงจรดังนี้ 1) ขั้นการวางแผน (Plan) เป็นการวางแผนจากวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กําหนดไว้ในการ ดําเนินงานโครงการนี้ พบว่า คณะทํางานได้มีการประชุมวางแผนการทํางานแบบมีส่วนร่วมอย่างเข้มข้น ทุกกิจกรรมในระยะเริ่มต้น 2) ขั้นการปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงาน (Do) เป็นการปฏิบัติการแบบมีส่วน ร่วมในการสนับสนุนงานวิจัยตามได้วางแผนไว้ร่วมกัน 3) ขั้นการตรวจสอบ (Check) เป็นการตรวจสอบ ผลการดําเนินงานในแต่ละขั้นตอนและสรุปบทเรียนแบบมีส่วนร่วม ซึ่งส่วนมากจะใช้รูปแบบเวทีประชุม คณะทํางานในการสรุปบทเรียนและผลการทํากิจกรรม 4) ขั้นการปรับปรุงแก้ไข (Action) คือ เป็นการ ปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา ซึ่งในโครงการวิจัยนี้ ได้ดําเนินการต่อเนื่องจากการสรุปบทเรียนกิจกรรม และนําผลจากบทเรียนไปปรับปรุงในการทํากิจกรรมขั้นต่อไป จากการดําเนินงานตามวงจรจะเน้นการ บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม โดยองค์ความรู้ที่ค้นพบ คือ การเพิ่มการมีส่วนร่วม (Participatory) เข้า ไปในตรงการวงจร PDCA จะเกิดกระบวนการบริหารงานแบบ PPDCA ขึ้นมา ดังแผนภาพ
Plan
Check
(P)
Participation
Act
DO
แผนภมิภาพที่ 6 : แสดงวงจรการบริหารงานวิจยแบบมีสว่ นร่วม PPDCA
5.3 บทเรียนและข้อเสนอแนะ
ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อค้นหารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ภายใต้ความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มีปัญหาอุปสรรคในการทํางานที่เป็นบทเรียนและข้อเสนอ สําคัญ ดังต่อไปนี้
1) ความเข้าใจและความต้องการของผู้บริหารสถาบันเป็นปัจจัยสําคัญในการจัดทําโครงการ ความร่วมมือ เพราะจากการดําเนินงานโครงการชุดนี้ พบว่า คณะผู้บริหารสถาบันการศึกษาที่ทํา โครงการความร่วมมือกับสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ยังไม่มีความเข้าใจแนวคิดการวิจัยเพื่อ
ท้องถิ่นอย่างเพียงพอ แม้จะมีกิจกรรมร่วมกันหลายครั้ง แต่กระบวนทัศน์ยังเห็นว่างานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เป็นงานวิจัยที่ไม่แตกต่างจากงานอื่นทั่วไป จึงยังไม่เห็นความสําคัญในการจัดทําโครงการความร่วมมือ ที่เป็นโครงการพิเศษในการพัฒนางานในรูปแบบใหม่ร่วมกัน ดังนั้นในการจัดทําโครงการความร่วมมือใน ครั้งต่อไป ควรมีการวิเคราะห์ความต้องการและความเข้าใจของผู้ร่วมจัดทําความร่วมมืออย่างชัดเจน และให้หน่วยงานผู้จะทําความร่วมมือแสดงความสนใจและความต้องการที่แท้จริงออกมาก่อน
2) ในกระบวนการลงนามความร่วมมือ พบว่า ในขั้นตอนการลงนามความร่วมมือไม่มีการจัด พิธีกรรมและแถลงข่าวให้สาธารณชนได้รับทราบอย่างเป็นทางการ เป็นเพียงการจัดทําหนังสือเวียน กันลงนามแต่ละหน่วยงานเท่านั้น ในการดําเนินการในลักษณะนี้จะส่งผลต่อความศักดิ์สิทธิ์ของการลง นามความร่วมมือ ส่งผลให้การปฏิบัติการตามข้อตกลงที่ลงนามร่วมกันไม่เต็มที่มากนัก ในการจัดทํา ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในการทําวิจัยร่วมกันในครั้งต่อไปเสนอว่า ควรมีการจัดพิธีกรรมลงนาม อย่างเป็นทางการและมีการแถลงข่าวต่อสื่อท้องถิ่นหรือสื่อในมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นสักขีพยานในการตก ลงร่วมมือกัน จะส่งผลต่อการทํางานให้มีความสะดวกและมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
3) รูปแบบการบริหารจัดการงบประมาณ เป็นปัจจัยหนึ่งที่สําคัญยิ่งในการจัดทําโครงการความ ร่วมมือ จากการทดลองปฏิบัติการแบ่งการบริหารจัดการงบประมาณตามระเบียบของแต่ละหน่วยงาน พบว่า เป็นอุปสรรคต่อการทํางานมากกว่าการหนุนเสริมการทําวิจัยในโครงการความร่วมมือ โดยเฉพาะ ระเบียบการบริงานวิจัยแบบปกติในหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัยไม่มีความเหมาะสามกับงานวิจัยเพื่อ ท้องถิ่น ดังนั้น โครงการความร่วมมือในการสนับสนุนการทํางานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ควรมีการใช้ระเบียบ การบริหารจัดการงบประมาณแบบสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเท่านั้น เพราะมีความชัดเจนและ ยืดหยุ่นในการบริหารงาน รวมทั้งมีความสอดคล้องกับกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นเพราะได้ผ่านการ ทดลองปฏิบัติการมามากกว่า 20 ปี
4) การจัดตั้งกลไกคณะทํางานร่วมในการขับเคลื่อนโครงการ เป็นหัวใจของการสนับสนุนการ วิจัยเพื่อท้องถิ่นในสถาบันการศึกษา จุดประสงค์หลักของการจัดตั้งคณะทํางานภายใต้โครงการความ ร่วมมือ นอกจากการร่วมกันขับเคลื่อนโครงการแล้วยังมีจุดประสงค์เพื่อสร้างการเรียนรู้การบริหาร งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสําหรับบุคคลากรของมหาวิทยาลัยด้วย ดังนั้นการจัดตั้งกลไกคณะทํางานควรแยก ออกมาจากกลไกการบริหารวิจัยปกติของมหาวิทยาลัย และมีคณะบุคคลที่มีประสบการณ์ มีความสนใจ งานเพื่อท้องถิ่นเข้ามาร่วมเป็นคณะทํางาน และควรมีการกําหนดใช้ระเบียบการบริหารงานวิจัยที่ คล่องตัวและยืดหยุ่นมีความสอดคล้องกับการบริหารงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นมากที่สุด จึงจะสามารถสร้าง แรงจูงใจให้นักวิชาการเข้ามาร่วมทํางานวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้
บรรณานุกรม
กชกร ชิณะวงค์. (2547). งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น สื่อความหมายผ่านฐานคิดและประสบการณ์.
พิมพ์ครั้งที่ 3. เชียงใหม่ : วนิดา เพลส.
กาญจนา แก้วเทพ. (2538). การพัฒนาแนววัฒนธรรมชุมชน. กรุงเทพฯ : สภาคาทอลิกแห่งประเทศ ไทยเพื่อการพัฒนา.
. ( 2552). คุณลักษณะ และวิธีวิทยาของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
. ( 2553). การบริหารจัดการวัฒนธรรมพื้นบ้านแบบมีส่วนร่วมด้วยนัตกรรมการวิจัย. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจํากัดภาพพิมพ์.
จังหวัดเลย.[อินเตอร์เน็ท]< http://www.loei.go.th/New%20web%20Loei/loei-intro1.html> (2553, 20 กันยายน)
จรัส สุวรรณมาลา. (2545). ระบบวิจัยโลกกับระบบวิจัยไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสาธารณสุข
แห่งชาติ.
ชินานาตย์ ไกรนารถและคณะ. (2549). การบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อพัฒนาโจทย์วิจัยและข้อเสนอ โครงการวิจัยแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาข้าวหอมมะลิ จังหวัดร้อยเอ็ด. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
ชัชจริยา ใบลี และคณะ. (2552). การพัฒนานวัตกรรมระบบบริหารจัดการงานวิจัยมหาวิทยาลัย ราชภัฏเลย. เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ปิยะวัติ บุญ-หลง. (2543). การวิจัยเพื่อท้องถิ่น. รายงานการประชุมการวิจัยเพื่อท้องถิ่นครั้งที่ 1. วันที่ 25-26 เมษายน 2543. ณ. โรงแรมเชียงใหม่ออคิด จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่.
ประเวศ วะสี. (2546). ระบบการวิจัยของประเทศ ระบบสมองของประเทศ. กรุงเทพฯ: สํานักงาน
กองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ประเวศ วะสี. (2552). กระบวนทรรศน์ใหม่ในการพัฒนาประเทศไทยท้องถิ่นเข้มแข็ง.
กรุงเทพมฯ : บริษัททีคิวพีจํากัด.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามค าแหง.
ภาสกร บัวศรี (2553). รูปแบบการขยายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับนักวิชาการในภาคอีสานตอนเหนือ.
สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วิรัช วรัชนิภาวรรณ. (2554). ความหมายของการบริหารและการบริหารจัดการ. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา http://www.wiruch.com/articles%20for%. (10 มีนาคม 2554).
เสน่ห์ จามริก ( 2543). ฐานคดการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ก้าวย่างหนึ่งสู่กระบวนการพัฒนาท้องถิ่น.
รายงานการประชุมการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ครั้งที่ 1. วันที่ 25-26 เมษายน 2543. ณ. โรงแรมเชียงใหม่ออ คิด จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่.
สุภางค์ จันทวานิช ( 2536). “วิธีการเก็บข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ” ใน คู่มือการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่องาน พัฒนา. ขอนแก่น : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุวารีย์ ศรีปูณะ และคณะ (2546). การวิจัยและพัฒนาการจัดการงานวิจัยของสถาบันราชภัฏเลย เพื่อการ พัฒนาวิสาหกิจชุมชน (ระยะที่1). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สุวรรณา บัวพันธ์. (2554). กระบวนการสนับสนุนของพี่เลี้ยงโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่มีคุณภาพใน ภาคอีสาน. ดุษฏีนิพนธ์, เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. [อินเตอร์เน็ท] < http://www.lru.ac.th/html/index.php> (2553, 20 สิงหาคม)
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2542). มุ่งสู่คุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.[อินเตอร์เน็ท]
<http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=139 > (2553, 30 กันยายน) อนันท์ งามสะอาด. (2551). การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิค
เดชอุดมด้วยกิจกรรมเรียนรู้เชิงบูรณาการ. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2545). การวิจัยภาคประชาชน : การวิจัยเพื่อการปลดปล่อย. เชียงใหม่ : Node กป.อพช. อีสาน. สกว. สํานักงานภาค.
65
ภาคผนวก ก ตัวอย่างบันทึกสรุปกิจกรรม
รายละเอียดเงื่อนไขการขึ้นโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นชุดนัดวิชาการเลย ปี 2555
เนื่องจากในปีงบประมาณ 2555 สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝุายวิจัยเพื่อ ท้องถิ่น มีนโยบายการสร้างความร่วมมือ(MOU)กับหน่วยงาน สถาบัน ในการสร้างความร่วมมือพัฒนา ความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นผ่านกระบวนการวิจัย ที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริงทุก ขั้นตอน จากบทเรียนการทํางาน 2 ปี ในการร่วมงานกับ นักวิชาการมหาวิทยาลัย ค้นพบว่ามีข้อจํากัด สําคัญในการทํางานคือ นักวิชาการมีเวลาในการทําวิจัยน้อย ไม่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของ ชุมชนมากนัก และมองว่างานวิจัยเป็นแค่แหล่งทุน ไม่มองผลในการแก้ปัญหาของชุมชนอย่างแท้จริง ดังนั้นในปี 2555 จึงได้มีการกําหนดรายละเอียดการขึ้นโครงการร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ดังมี รายละเอียดดังนี้
ทําไมต้องมีงานวิจัย เพื่อท้องถิ่น | • สังคมไทยมีการใช้ความรู้เพื่อการพัฒนาน้อย • งานวิจัยทั่วไปนํามาใช้ประโยชน์น้อย (ขึ้นหิ้ง) หรือ ส่วนมากรับใช้ภาคส่วน ธุรกิจ • ชุมชนท้องถิ่นเข้าไม่ถึงงานวิจัย เป็นเพียงผู้ให้ข้อมูล และรอคอยความหวัง ซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์โดยตรง • กระแสการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของโลก (Globalization) ชุมชน/ท้องถิ่น /คนเล็กคนน้อยปรับตัวไม่ทัน และเป็นผู้ได้รับผลกระทบรุนแรงโดยไม่รู้ตัว |
เปรียบเทียบลําดับ ความสําคัญของ เปูาหมายวิจัย | • งานวิจัยแบบ CBR 1) พัฒนานักวิจัย (ชาวบ้าน) 2) นําความรู้ไปใช้แก้ปัญหา ได้จริง 3) ได้ความรู้ใหม่ทางวิชาการ • งานวิจัยแบบวิชาการ 1) แสวงหาความรู้ใหม่ทางวิชาการ 2) มีข้อเสนอที่ แก้ไขปัญหาได้ 3) พัฒนาตัวนักวิจัย (ซึ่งไม่เน้นมากนักเพราะเป็นคนมีความ รู้อยู่แล้ว) |
โจทย์วิจัย CBR | • เป็นปัญหาความต้องการของชุมชน หรือ เป็นประเด็นที่สนใจร่วมกันระหว่าง คนในกับคนนอก • เป็นเรื่องที่ไม่ซ้ํากับงานวิจัยที่ทําไปแล้ว หรือถ้าเรื่องเดียวกันต้องมีแง่มุมที่ แตกต่าง • ต้องพัฒนาโจทย์ร่วมกับชุมชน และให้ชุมชนตัดสินใจร่วมว่าอยากทําเรื่องนี้ |
ทีมวิจัยนักวิชาการ (คนนอก) | • เป็นนักวิชาการที่พร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ • มีเวลาทํางานกับชุมชนสม่ําเสมอ (งานสอนไม่มาก งานวิจัยไม่เยอะ งาน บริหารไม่มี) • มีความรับผิดชอบสูง รับฟังความคิดเห็นคนอื่น • ทํางานกันเป็นทีมอย่างน้อยต้องมี 2 คน ขึ้นไป • มีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้กับโครงการอื่นๆทุกครั้ง • พร้อมที่ลดบทบาทจากผู้รู้ ผู้ให้ ฝุายเดียว มาเป็นผู้ฟังและจัดกระบวนการ เติมเต็มความรู้ส่วนที่ขาดให้ทีมชุมชนอย่างเหมาะสม |
ทีมวิจัยชุมชน | • ต้องมีคนในชุมชน เช่น ผู้นําหรือ ผู้เกี่ยวข้องหลัก เข้าร่วมเป็นทีมวิจัย • อาจเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักๆเข้าร่วมเป็นทีมด้วย เช่น ตัวแทนหน่วยงาน ในท้องถิ่น เป็นต้น • ทีมวิจัยชุมชนมีจํานวนเท่าใดก็ได้แต่ต้องมีอย่างน้อยไม่ต่ํากว่า 7 คน ที่เข้าใจ สามารถอธิบายกระบวนการวิจัยได้ หลังผ่านงานวิจัยแล้ว |
มีการบูรณาการกับ การเรียนการสอน | • มีนิสิตนักศึกษาเข้าร่วมเรียนรู้ด้วย • มีการออกแบบงานวิจัยเพื่อสร้างการเรียนรู้กับนักศึกษา ทีมวิจัยชุมชน เช่น ใช้พื้นที่วิจัยเป็นห้องเรียนภาคสนาม • มีนําองค์ความรู้มาปรับใช้ในการเรียนการสอน |
ทุนวิจัยและการ บริหารจัดการทุน วิจัย | • สกว. /มหาวิทยาลัย สนับสนุนทุนวิจัย จํานวน 200,000 บาท ต่อโครงการ • งบประมาณจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เป็นงบกิจกรรม 70% งบ ค่าตอบแทน 30% • ในค่าตอบแทน 30% ต้องมีการตกลงเรื่องการบริหารร่วมกันกับทีมวิจัย ชาวบ้าน • ทีมวิจัยชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการบริหารงบประมาณทุกขั้นตอน (คิด ตัดสินใจ ทํา) • การเปิดบัญชีโครงการเป็นการเปิดบัญชีร่วมและต้องมีทีมชุมชนร่วมเปิด บัญชี 2 คน • การเบิกจ่ายเงินทุกครั้งต้องมีการประชุมทีม เพื่อวางแผนกิจกรรมร่วมกัน ก่อน • มีทีมวิจัยชุมชนเป็นผู้ร่วมทําบัญชีและหลักฐานการเงิน • งบค่าตอบแทนสามารถปรับเป็นงบกิจกรรมได้ แต่งบค่ากิจกรรมไม่สามารถ ปรับเป็นค่าตอบแทนได้ • งบประมาณใช้ซื้อวัสดุอุปกรณ์ได้ แต่ ไม่สามารถซื้อครุภัณฑ์ได้ • ค่าเดินทางจ่ายได้ไม่เกิน 6 บาท ต่อกิโลเมตร • มีการส่งเอกสารการเงินให้พี่เลี้ยง สกว. ทุกๆ 2 เดือน |
หลักการบริหาร กิจกรรม | • การออกแบบกิจกรรมวิจัย ทีมต้องมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน • มีการลงชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง • ต้องมีการทําบันทึกสรุปกิจกรรมทุกครั้งพร้อมภาพถ่าย • ต้องมีการสรุปบทเรียนการทํากิจกรรมของทีมบ่อยๆ • หัวหน้าทีม(นักวิชาการ) ทําหน้าที่หลักในการเป็นผู้สร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้ทีม • ทีมที่ปรึกษาจะสนับสนุนในการออกแบบกิจกรรม ผ่านเวทีการประชุมเรียนรู้ ประจําเดือน |
กิจกรรมเรียนรู้ร่วม ระหว่างโครงการ | • หัวหน้าทีมเข้าร่วมเวทีนําเสนอข้อเสนอโครงการวิจัยกับผู้ทรงคุณวุฒิ ในเวที พิจารณากลั่นกรองโครงการ • ทีมวิจัยเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมการเงิน 1 ครั้ง • ทีมวิจัยเข้าร่วมการฝึกอบรมการเตรียมความพร้อมในการเก็บข้อมูลวิจัย 1 ครั้ง • ทีมวิจัยเข้าร่วมเวทีนําเสนอรายงานความก้าวหน้า 1 ครั้ง • ทีมวิจัยร่วมกิจกรรมเวทีนําเสนอผลงานวิจัย 1 ครั้ง • หัวหน้าทีมและทีมวิจัยเข้าร่วมนําเสนอผลงานวิจัยในเวทีของเครือข่ายวิจัย เพื่อท้องถิ่นชุดวิชาการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ • ทีมต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพงานวิจัยอื่นๆ ที่ศูนย์ประสานงาน สถาบันวิจัยและเครือข่ายจัดขึ้น • หัวหน้าทีมเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมติดตามงานทุกครั้ง (8ครั้ง/ปี) |
ระยะเวลาโครงการ | • โครงการมีระยะเวลาดําเนินงาน 1 ปี ตั้งแต่เริ่มสัญญาโครงการ |
CBR = Community Based Research (วิจัยเพื่อท้องถิ่น)
ตวอยา่ งการบน
ทึกขอ
มูลสนาม
แบบบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการวิจัย
วัน/เดือน/ปี..30..../.มีนาคม..../.2555....เวลา.09.00-15.30......
สถานที่.โรงเรียนบ้านหนองผือ อําเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย.....
1. ชื่อกิจกรรม...พัฒนาโจทย์รุ่นที่ 3 ลงพื้นที่ทําความเข้าใจกับชาวบ้าน..
2. วัตถุประสงค์กิจกรรม
เพื่อสอบถามความเห็นของคนในชุมชนว่ามีปัญหาอะไรในพื้นที่และต้องการแก้ไขในจุดใดบ้าง เพื่อทําความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.)
3. ผู้เข้าร่วม
จํานวน 30 คน ประกอบด้วย .ผู้ประสานงานวิจัยชุดนักวิชาการเลย ที่ปรึกษาโครงการ นักปราชญ์ในชุมชน ผู้นําในชุมชน หัวหน้าโครงการ พระ ชาวบ้านในชุมชน
4. สรุปเนื้อหากิจกรรมโดยย่อ
ขั้นตอนแรกหัวหน้าโครงการแนะนําตัวและความเป็นมาในการมาทําโครงการวิจัยพร้อมทั้ง อธิบายเหตุผลในการเลือกพื้นที่หลังจากนั้นผู้อํานวยการโรงเรียนแนะนําความเป็นมาของบ้านหนองผือ และผู้นําชุมชนทั้ง 9 หมู่บ้านและได้มีการเปิดวีดีทัศน์เกี่ยวกับโครงการวิจัยขยะบ้านหนองบัว หลังจาก นั้นมีการสักถามเกี่ยวกับปัญหาในหมู่บ้านและบริบทของหมู่บ้านโดยบ้านนาหอมีทั้งหมด 63 ครัวเรือน มี จํานวนประชากรทั้งหมด 263 คน มีศูนย์วัฒนธรรมพิพิธภัณฑ์ชุมชนที่วัดศรีภูมิปัญหาที่พบคือ คน ภายนอกเข้ามาซื้อที่ดินในหมู่บ้านและคนในพื้นที่อพยพบออกไปข้างนอกมากขึ้นต้องไปเป็นแรงงาน รับจ้างในทางด้านเครือญาติมีการช่วยเหลือกันและมีการพูดคุยกันบางในบางครั้งแต่กระบวนการมีส่วน ร่วมนั้นจะเป็นผู้ตามกันมากว่าผู้นํา แต่ก็มีข้อสังเกตที่ว่าเด็กในหมู่บ้านไม่ค่อยรู้จักภาษาในใบลาดมากสัก เท่าไรส่วนมากจะอยู่แค่ในวงแคบๆคือคนที่สามารถอ่านอักษรจากใบลาดได้และอยู่ที่พิพิธภัณฑ์จึงอยาก ให้มีการสืบทอดเพื่อการอนุรักษ์ไม่ว่าเป็น ยารักษาโรค ประวัติต่างๆที่อยู่ในใบลาด นิทานชาดก คาถา ต่างๆ รวมถึงการทราบลักษณะตัวอักษรที่แบบไหนเป็น อักษรธรรม หรือว่า เป็น อักษรไทน้อย โดยการ ร่วมมือกันภายในชุมชนและนักปราชญ์ในชุมชน และผู้นําชุมชน โดยชื่อโครงการได้มีการตั้งไว้คราวๆ ว่า โครงการวิจัยสืบค้นสานต่อภูมิปัญญาจากใบลาดเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของชุมชน บ้านนาหอ
5. ข้อสังเกตที่สําคัญ
1) การเดินทางอาจใช้เวลามากเนื่องจากเป็นเส้นทางขึ้นเขา
2) ผู้นํามีความเข้มแข็งและสามัคคีกันมากในชุมชน
3) มีการนําเสนอปัญหาที่ชัดเจนพร้อมทั้งให้คําอธิบายที่แน่ชัดและมีการเจาะจงปัญหาว่า ต้องการอะไร
4) พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนที่วัดศรีภูมิยังไม่ค่อยมีใครรู้และยังเก็บใบลาดที่ไม่เป็นสัดส่วน
ลงชื่อ. นางสาวเอมมิกา ศรีกังวานใจ .ผู้บันทึก
แบบบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการวิจัย
วัน/เดือน/ปี..25..../.เมษายน..../.2555. เวลา.09.00-15.30 สถานที่.โรงเรียนบ้านกุดลันน้อยคีรี บ้านน้อยคีรี อําเภอวังสะพุง จังหวัดเลย.....
1. ชื่อกิจกรรม...พัฒนาโจทย์รุ่นที่ 3 ลงพื้นที่ทําความเข้าใจกับชาวบ้าน..
2. วัตถุประสงค์กิจกรรม
1) .เพื่อค้นหาปัญหาความต้องการของชุมชนว่ามีปัญหาอะไรในพื้นที่และต้องการแก้ไขในจุด
ใดบ้าง
2) เพื่อทําความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) และพัฒนาโจทย์วิจัย
3. ผู้เข้าร่วม
ผู้เข้าร่วมจํานวน .50..คน ประกอบด้วย .ผู้ประสานงานวิจัยชุดนักวิชาการเลย ที่ปรึกษา โครงการ ผู้นําในชุมชน หัวหน้าโครงการ อสม. นักพัฒนาชุมชน อบต. ชาวบ้านในชุมชน.
4. สรุปเนื้อหากิจกรรมโดยย่อ
มีการแนะนําหน่วยงานของทาง สกว. พร้อมแนวทางในการทํางานวิจัยและมีการเปรียบเทียบ งานวิจัยแบบนักวิชาการกับแบบวิจัยโดยชาวบ้านในชุมชนที่จะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง บ้านน้อยคีรี ส่วนมากคนที่เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านเป็นคนที่อพยพมาจากที่อื่นเป็นส่วนใหญ่และเข้ามาจับจองพื้นที่ในการ สร้างบ้านเรือนและพื้นที่ทําการเกษตร โดยมีทั้งหมด 987 คน 225 ครัวเรือน และกลุ่มในหมู่บ้านแบ่ง ออกเป็น3กลุ่ม คือ กลุ่มที่ยากจนไม่มีที่ทํากินหาเลี้ยงโดยการรับจ้างไปเป็นรายวัน กลุ่มที่พึ่งตนเอง และ กลุ่มปานกลาง เคยมีกลุ่มกองทุนในหมู่บ้านแต่ก็เลิกไปเนื่องจากรายได้ไม่เท่ากับการรับจ้างและปัญหาที่ พบในหมู่บ้าน คือความยากจน การศึกษาที่ขาดโอกาสและมีการออกกลางทัน หนี้สินที่มีทั้งในระบบและ นอกระบบ วัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่นที่ได้ขาดหายไป
5. ข้อสังเกตที่สําคัญ
1) มีการเสนอปัญหาของชุมชนที่หลากหลายแต่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าจะเล่นไปทางไหนเพื่อ ครอบคลุมปัญหาทั้งหมด
2) มีความอยากที่จะแก้ไขปัญหาในชุมชน
3) ได้รับแรงสนับสนุนทั้งจากผู้นําในท้องถิ่นและหน่วยงานจากรัฐ
ลงชื่อ. นางสาวเอมมิกา ศรีกังวานใจ .ผู้บันทึก
สรุปข้อเสนอแนะในเวทีพิจารณากลั่นกรองโครงการชุดนักวิชาการเลย 13 มิถุนายน 2555
ณ ห้อง 137 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
โครงการ | ประเด็น | ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ |
1. โครงการ บ้านนาหอ | การแลกเปลี่ยน ทั่วไป | - เป็นพื้นที่ที่น่าสนใจมาก มีศักยภาพหลายอย่างที่น่าจะทํา วิจัย ทั้งวัดแก้วอาสา ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา พิพิธภัณฑ์ และมีงานวิจัยเดิม ซึ่งเป็นคุณค่าสําคัญของชุมชน - แต่ไม่เข้าใจว่าทําไมจึงเลือกเฉพาะเรื่องใบลาน และที่เขียน มาไม่มีข้อมูลเชื่อมโยงว่าเรื่องใบลานกับปัญหาของชุมชน - ควรเป็นงานที่คิดต่อจากงานเดิมที่ อ.ศรีสักร ทําไว้ ซึ่งซบเซา เพราะอะไร จะนําไปจัดการปัญหาชุมชนอย่างไร เพื่อสร้าง คุณค่าใหม่ - ควรมีการระบุปัญหาชุมชนที่ชัด และเน้นเกี่ยวกับประเด็นที่ จะทํา |
ชื่อโครงการ | -ให้ไปหารือกับชุมชนอีกครั้งสนใจอยากทําเรื่องอะไรกันแน่โดยมี ประเด็นให้เลือก 3 ทาง 1. การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาแหล่ง เรียนรู้ชุมชน 2. การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนพิพิธภัณฑ์ แบบมีชีวิต 3. การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างการเรียนรู้กับ เด็กและเยาวชน บ้านนาหอ | |
หลักการและ เหตุผล | - ถ้ามีการเลือกด้านใดด้านหนึ่งต้องมีการระบุบทบทพื้นที่ เกี่ยวกับกลุ่มเปูาหมาย - ควรมีการระบุปัญหาให้ชัด เช่นเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้เด็ก และเยาวชน ต้องระบุสถานการณ์ปัญหาเยาวชนคืออะไร ทําแล้วจะเกิดผลอย่างไร เป็นต้น - ดูแล้วโครงการเป็นการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยเดิม ควรมีการ ระบุงานเก่าที่ทํามีอะไรบ้าง เกิดการพัฒนาต่อเนื่องอย่างไร มีปัญหาอะไรบ้างที่ยังเป็นปัญหา | |
คําถามวิจัย | - เมื่อเลือกเรื่องได้แล้ว ให้เขียนให้ล้อกับเรื่อง | |
วัตถุประสงค์ | - เขียนให้ล้อ หรือสอคล้องกับวัตถุประสงค์ | |
แนวคิดทฤษฎี | - ที่ทํามาดีแล้ว ...แต่ถ้าเลือกเรื่องการจัดการเรียนรู้ ควร Review เรื่องการจัดการเรียนรู้ด้วย |
โครงการ | ประเด็น | ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ |
2. โครงการบ้าน น้อยคีรี | แลกเปลี่ยน ทั่วไป | - “ความมั่นคง” โจทย์มันกว้าง - Unit of analysis คืออะไร - ปัญหาไม่มั่นคงคืออะไร จะทํากับคนกลุ่มไหน - การเพิ่มศักยภาพกรรมการอาจจะไม่ช่วยแก้ปัญหาได้ ทั้งหมด - สิ่งที่ทางพื้นที่สนใจคือ พัฒนาบทบาทกรรมการกับการ จัดการปัญหาความไม่มั่นคง - ที่ประชุมเห็นว่าถ้าเลือกตัวเล่นให้แคบคงจะทําให้งานง่ายขึ้น |
ชื่อโครงการ | - เสนอเป็นเรื่อง “การสร้างความมั่นคงของครอบครัวและ ชุมชนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน” | |
หลักการและ เหตุผล | - เพิ่มข้อมูลพื้นที่ ที่ระบุปัญหาของเรื่องที่ชัดเจน ที่จะต้อง นํามาสู่การทําโครงการนี้ - เพื่อให้เห็นความสําคัญควรเน้นว่าถ้าไม่ทําจะเกิดอะไรและ ถ้าทําจะเกิดอะไร | |
คําถามวิจัย | - ปรับให้สอดคล้องกับชื่อเรื่อง - มีคําถามหลักที่สอดคล้องกับชื่อเรื่อง - อาจมีคําถามรอง เพื่อขยายว่าอยากค้นหาอะไรใน รายละเอียด | |
วัตถุประสงค์ | - เขียนให้สอดคล้องกับคําถามวิจัย และลําดับสิ่งที่จะทํา โดยข้อสุดท้ายต้องสอดคล้องกับชื่อเรื่อง | |
อื่นๆ | - ควรมีการนิยาม “ความมั่นคง”ให้ชัด โดยชุมชน - ควรมีการกําหนดตัวชี้วัด ความมั่นคง - เครื่องมือการศึกษาควรมีหลากหลาย | |
3. โครงการ นา ซ่าว | แลกเปลี่ยน ทั่วไป | - เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านวัฒนธรรม ทั้งวัด/วัฒนธรรม/ ประเพณี/วิถีชีวิต/การเกษตร/หัตถกรรม - การท่องเที่ยวแนวนี้ไม่ควรเน้นเรื่องเศรษฐกิจเป็นหลักควร มุ่งการสร้างคุณค่าให้ด้านวัฒนธรรมให้คนตระหนักเป็นหลัก - การทํางานควรขับเคลื่อน กับอบต.กับชุมชนไปพร้อมๆกัน เน้นการมีส่วนร่วมในการทํางาน - ควรมีการศึกษาศักยภาพชุมชนในแต่ละมิติที่เป็นจุดเด่นด้าน วัฒนธรรม รวมถึงข้อมูลของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาว่ามี เท่าไหร่ เป็นประเภทไหน สนใจอะไร - ควรมีการประเมินผลการท่องเที่ยว - ถ้ามีการไปดูงานการจัดการท่องเที่ยวแนวนี้จะเห็นแนว ทางการทํางานชัดเจนขึ้น |
โครงการ | ประเด็น | ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ |
ชื่อโครงการ | - ปรับเป็น “การบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการมีส่วน ร่วมขององค์การบริหารส่วนตําบลนาซ่าวและชุมชน” | |
หลักการ และเหตุผล | - เขียนอธิบายข้อมูลพื้นที่น้อย ควรอธิบายให้มากเพื่อให้เห็น ความสําคัญของการวิจัย - ควรเติมเรื่องยุทธศาสตร์จังหวัดเรื่องการท่องเที่ยว/บทบาทหน้าที่ อบต.ในเรื่องการท่องเที่ยว - เพิ่มข้อมูลบริบทพื้นที่ ที่เป็นฐานศักยภาพการท่องเที่ยว เช่น 1) คน 2) ภูมิปัญญา 3) สิ่งแวดล้อมการบริการสาธารณะ/ การเข้าถึง/ สิ่งดึงดูด ด้านวัฒนธรรมในเบื้องต้นที่เป็นจุดเด่น - สถานการณ์การท่องเที่ยวที่ผ่านมามีมากน้อยแค่ไหน และศักยภาพ อื่นๆที่จะสนับสนุนการจัดการท่องเที่ยวเช่น ผลิตภัณฑ์ เป็นต้น - เพิ่มข้อมูลรูปแบบการจัดจัดการท่องเที่ยวที่ผ่านมา (ข้อดี/ปัญหา/ ข้อจํากัดที่พบ) - บทบาท อบต. ชุมชน และหน่วนงานในท้องถิ่นในการจัดการท่องเที่ยว ที่ผ่านมา - ประมวลสรุปเพื่อให้เห็นความสําคัญในเรื่องที่จะทํา | |
คําถามวิจัย | - ปรับให้สอดคล้องกับชื่อเรื่อง - มีคําถามหลักที่สอดคล้องกับชื่อเรื่อง - อาจมีคําถามรอง เพื่อขยายว่าอยากค้นหาอะไรเพิ่ม | |
วัตถุประสงค์ | - เขียนให้สอดคล้องกับคําถามวิจัย และลําดับสิ่งที่จะทํา โดยข้อ สุดท้ายต้องสอดคล้องกับชื่อเรื่อง เช่น 1. ศึกษาบริบทหรือภูมิวัฒนธรรม ที่เป็นทุนการในการจัดการท่องเที่ยว 2. ศึกษาบทบาทของ อบต.และชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวที่ผ่านมา 3. เพื่อหารูปแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการมีส่วน ร่วมของ | |
แนวคิด ทฤษฎี | - ควรมีการสรุปในตอนท้ายว่าจะนําไปใช้อย่างไรในงานวิจัยนี้ - นํากรอบแนวคิดมาใส่ต่อจากเรื่องนี้ - ควรทําเพิ่มเรื่อง การบริหารจัดการ บทบาท อบต. และศึกษา งานวิจัยในแนวเดียวกัน | |
ทีมวิจัย | - ควรเพิ่มเติมรายละเอียดทีมวิจัย ชื่อ ที่อยู่ ประวัติ เลขบัตรประชาน - ควรเพิ่มเติมทีมวิจัยชุมชนให้ครอบคลุมกลไกที่จะขับเคลื่อนโครงการ เช่น ตัวแทน อบต. โรงเรียน ชุมชน สภาวัฒนธรรม วัด และผู้นําทั้งที่ เป็นทางการไม่ทางการที่มีบทบาทในเรื่องนี้ |
โครงการ | ประเด็น | ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ |
4. โครงการ น้ําแคม | แลกเปลี่ยน ทั่วไป | - จะทําเรื่องเศรษฐศาสตร์ให้ชาวบ้านเข้าใจได้อย่างไร และเข้าใจบน ฐานการใช้ประโยชน์ได้จริงด้วย - ควรมีการมองเรื่องคุณค่า ด้วยไม่ใช่มูลค่าเพียงด้านเดียว - น่าจะเป็นเศรษฐกิจครัวเรือนมากกว่าชุมชน - ต้องอธิบายให้ได้ว่าการใช้ประโยชน์จากปุาจะส่งผลต่อเศรษฐกิจ ครัวเรือนอย่างไร ดังนั้นมีมีข้อมูลเรื่องความสําคัญของปุากับคนบ้านนี้ มาอธิบายในหลักการและเหตุผล ให้เห็นทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ |
ชื่อโครงการ | - ปรับเป็น “แนวทางการเพิ่มมูลค่าปุาชุมชนสามขาเพื่อเสริมสร้างความ เข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน บ้านน้ําแคม ตําบลน้ําแคม อําเภอท่าลี่ จังหวัดเลย” | |
หลักการ และเหตุผล | - เขียนอธิบายข้อมูลพื้นที่น้อย ควรอธิบายให้มากเพื่อให้เห็น ความสําคัญของการวิจัย - ควรเพิ่มข้อมูลชุมชน ทั้งเรื่อง ความเป็นมา ที่ตั้ง อาณาเขต จํานวน ครัวเรือน ประชากร การทํามาหากิน รายได้โดยเฉลี่ย การพึ่งพาปุา และทรัพยากรธรรมชาติ สภาพปัญหาด้านเศรษฐกิจ - ควรเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับปุาชุมชนสามขา ที่ตั้ง ขนาด ประวัติความ เป็นมา สภาพ การใช้ประโยชน์(อดีต/ปัจจุบัน) การบริหารจัดการ คณะกรรมการ ความสัมพันธ์ปุากับคน สภาพปัญหา - เขียนให้สรุปให้เห็นความสําคัญความสัมพันธ์เรื่องปัญหาเศรษฐกิจ ครัวเรือนกับปุา การทําเรื่องนี้จะส่งผลอย่างไร (รายละเอียดข้อมูลบริบทมีในเล่มวิจัยของนักศึกษา ติดต่อขอได้ที่ อ.สุ ทิน และคุณสุทิน) | |
คําถามวิจัย | - ปรับให้สอดคล้องกับชื่อเรื่อง - มีคําถามหลักที่สอดคล้องกับชื่อเรื่อง - อาจมีคําถามรอง เพื่อขยายว่าอยากค้นหาอะไรเพิ่ม | |
วัตถุประสงค์ | • เขียนให้สอดคล้องกับคําถามวิจัย และลําดับสิ่งที่จะทํา โดยข้อ สุดท้ายต้องสอดคล้องกับชื่อเรื่อง เช่น • เพื่อศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจครัวเรือนบ้านน้ําแคม • เพื่อศึกษาความเป็นมา การบริหารจัดการ และการใช้ประโยชน์ปุาสาม ขาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน • ประเมินสภาพเศรษฐกิจครัวเรือนบ้านน้ําแคม และประเมินมูลค่า/ คุณค่าการใช้ประโยนช์จากปุาสามขา • ศึกษาแนวทางการเพิ่มมูลค่าปุาชุมชนสามขาเพื่อเสริมสร้างความ เข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน บ้านน้ําแคม ตําบลน้ําแคม อําเภอท่าลี่ จังหวัดเลย |
แนวคิด ทฤษฎี | - ควรมีการสรุปในตอนท้ายว่าจะนําไปใช้อย่างไรในงานวิจัยนี้ - นํากรอบแนวคิดมาใส่ต่อจากเรื่องนี้ | |
ทีมวิจัย | - ควรเพิ่มเติมรายละเอียดทีมวิจัย ชื่อ ที่อยู่ ประวัติ เลขบัตรประชาน - ควรเพิ่มเติมทีมวิจัยชุมชนให้ครอบคลุมกลไกที่จะขับเคลื่อน |
บันทึกสรุปการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเตรียมความพร้อมนักวิจัยในการศึกษารวบรวมข้อมูล”
วันที่ 21-22 ตุลาคม 2555 ณ ห้องเรียน 20205 ชั้น 2 ตึก 20 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
กิจกรรมสร้างความคุ้นเคยและระดมความคาดหวัง
ช่วงเริ่มแรกในการอบรมมีกิจกรรมสร้างความคุ้นเคยให้กับวิจัยชุมชนทั้งสามกลุ่มได้คลายเครียด กันโดยมีกิจกรรมตบมือตามลักษณะจํานวนขาของสัตว์นั้นๆ เช่น เป็ด มีสองขา ก็ตบสองครั้ง เป็นต้น และกิจกรรมร้องเพลงสวัสดีโดยให้ทีมวิจัยออกมายืนเป็นวงกลมแล้วให้หันหน้าจับคู่กันแล้วร้องเพลง สวัสดีแนะนําชื่อตัวเองจากนั้นก็ได้มีการแนะนําชื่ออีกครั้งเนื่องจากยังไม่รู้จักกันหมดทุกคนการแนะนํา รอบนี้เป็นการแนะนําโดยใช้ภาษาในประเทศอาเซียน เช่น ซินจ่าว ภาษาทักทายของประเทศเวียดนาม เมื่อการแนะนําตัวเสร็จก็ได้มีการระดมความคาดหวังที่จะได้รับในการฝึกอบรมในครั้งนี้โดยในชาวบ้าน เขียนใส่กระดาษและสรุปออกมาได้ดังนี้ คือคาดหวังจะได้รับความรู้เพื่อนําไปปรับใช้กับการทํางาน โครงการวิจัย พร้อมเข้าใจถึงแก่นแท้ของงานวิจัย รวมถึงเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ข้อสุดท้ายคือการได้ เพื่อนเพิ่มมากขึ้น
กิจกรรมปรับทัศนคติผู้เข้าอบรม
พอมีการระดมความคาดหวังแล้วก็ได้มีการมองรูปภาพที่มีลักษณะเป็นวงกลมโดยวิธีการให้ ชาวบ้านมองรูปภาพแล้วเห็นอะไรให้พูดออกมา ซึ่งมุมมองการมองแตกต่างกันออกเช่นบางคนมองเป็น แผ่นซีดี โดนัท แผ่นเสียง เลขสูตร จาน ไข่เป็ด วงกลม วงรี วงโคจรของจักรวาล ภาพรวมเพื่อนรวมแผน ซึ่งภาพนี้แสดงถึง ว่าทําไมภาพเดียวกันจึงเห็นไม่เหมือนกัน และบ้างครั้งความเห็นไม่เหมือนกัน ต่างคน ต่างคิด อะไรเป็นสาเหตุที่ทําให้ทัศนคติแตกต่างกัน นั้นก็คือ มีประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม ความรู้ ต่าง เพศต่างวัย เหตุการณ์เดียวอาจมองต่างกันได้เสมอ และที่ผ่านมาไม่เคยเหตุผลว่าทําไมถึงมองต่างและ การตัดสินใจบางอย่างอาจจะไม่ถูกต้องเสมอดังนั้นการทํางานเป็นทีม เป็นกลุ่ม ทุกคนมีความคิดที่จะ แตกต่างกันออกไปได้และต้องมีการยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นและการที่ทุกคนกล้าพูดกล้าคิดไม่ ต้องกลัวว่าจะผิดแต่นั้นคือผลสําเร็จของงานวิจัยนั้นเอง
ความสําคัญของการทําวิจัยเพื่อท้องถิ่น
วิทยากรเริ่มต้นด้วยการเปิดเพลงแรงงานข้าวเหนียวของ ต่าย อรทัย จากนั้นฉายหนังสั้นเรื่อง ของยายสุ่ม พร้อมทั้งฉายภาพสถานการณ์ปัญหาที่เกิดในสังคมปัจจุบันพร้อมตั้งคําถามให้ผู้เข้าประชุมได้ แลกเปลี่ยนกัน โดยมีข้อสรุปคือ โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะเป็นยุคการสื่อสารไร้ พรมแดนที่มีสื่อดาวเทียม วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต ทําให้คนทุกมุมโลกเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่าง รวดเร็วกลุ่มคนที่ปรับตัวได้อย่างภาคธุรกิจก็จะได้ประโยชน์จากสถานการณ์นี้ แต่สําหับคนยากจน ชาวบ้านซึ่งปรับตัวช้าก็จะตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์ ทําให้เกิดเหตุการณ์ปัญหาต่างๆมากมายใน ปัจจุบันและจะเกิดขึ้นเพิ่มเรื่อยๆถ้าหากคนเราปรับตัวและความคิดไม่ทันก็จะทําให้ตกอยู่ในสถานการณ์ เช่นเหมือนกับเพลงที่ว่า ทําไมคนเลี้ยงไหมถึงไม่มีเสื้อผ้าใส่ ทําไมคนปลูกข้าวถึงไม่มีข้าวดีๆกิน นี้คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันของสังคมไทยที่เห็นเงินเป็นตัวสําคัญมากกว่าคุณภาพชีวิตของตนเอง และยังมีเหตุการณ์อีกมากไม่ว่าจะเป็น ทําไมยิ่งพัฒนาคนยากจนยิ่งมากขึ้น ทําไมยิ่งพัฒนาการศึกษาเด็ก ยิ่งมีปัญหา ทําไมมีหมอมีโรงพยาบาลมากเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอ ทําไมยิ่งจับปัญหาอาชญากรรมยิ่งมาก นั้นคือเหตุผลที่ทําให้เราต้องร่วมกันพัฒนาเตรียมความพร้อมให้กับชุมชน โดยใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือใน
การรวมคนให้หันหน้าเข้าหากันร่วมกันคิดร่วมกันคุยเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชนตนเองเหมือนกับการจุด เทียนขึ้นมาสักเล่มดีกว่าไปด่าทอความมืด หมายถึงการเป็นแบบอย่างที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้และ เท่าทันกับเหตุการณ์เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตัวเราเองให้ดีขึ้น
ความสําคัญของการวิจัยเพื่อท้องถิ่น หรือ CBR เป็นเครื่องมือหนึ่งที่เน้นการให้ “คน” ในชุมชน เข้ามาร่วมในกระบวนการวิจัย ตั้งแต่การเริ่มคิด การตั้งคําถาม การวางแผน และค้นหาคําตอบอย่างเป็น ระบบ โดยมีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ทําให้ชุมชนได้เรียนรู้อย่างเป็นเหตุ เป็นผล ดังนั้น จุดเน้นของ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ก็คือ เน้นที่ “กระบวนการ” มากกว่า “ผลลัพธ์” เพื่อให้ชาวบ้าน ได้ประโยชน์จาก งานวิจัยโดยตรง ให้งานวิจัย มีส่วนในการแก้ปัญหาของชาวบ้าน และเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นจริง ใน ชุมชน
ขั้นตอนหรือเส้นทางการวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ในด้านขั้นตอนการทํางานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจะเริ่มจากการพัฒนาโจทย์ในชุมชนโดยการวิเคราะห์ ชุมชนออกมาว่ามีปัญหาอะไรที่อยากแก้ไขโดยคนในชุมชนรวมกันคิดแสดงความคิดเห็นว่าตรงไหนเป็น ปัญหาของชุมชนอย่างแท้จริงเมื่อพบปัญหาที่เจอแล้วจากนั้นก็เข้าสู่ระบบการเตรียมการคือการหาคนใน ชุมชนมาสร้างเป็นทีมนักสํารวจสักประมาณ 10—15 คน ในการเป็นแกนนําในชุมชนและแบ่งบทบาท หน้าที่ตามความถนัดร่วมถึงความสมัครใจที่จะเข้าร่วมมาเป็นทีมวิจัยพร้อมระดมความคิดในการตั้งโจทย์ วิจัยให้คนในทีมเข้าใจและชาวบ้านในชุมชนรับทราบว่าต้องการที่จะทําอะไรในชุมชนและเพื่อประโยชน์ ชุมชนอย่างแท้จริงเมื่อมีการเตรียมทีมก็ต้องมีการหาเครื่องมือในการเก็บข้อมูลไม่ว่าจะเป็น แบบสํารวจ แบบสอบถามหรือแม้กระทั่งแบบสังเกตการณ์ เมื่อเราได้เครื่องมือแล้วก็ลงมือเก็บข้อมูลชุมชนโดยจะ แยกได้ออกเป็นสองส่วนคือในส่วนที่เป็นข้อมูลบริบทชุมชน และในส่วนที่เป็นประเด็นปัญหาวิจัยในการ เก็บข้อมูลชุมชนต้องครอบคลุมทุกด้านที่เป็นส่วนประกอบกันที่ทําให้เกิดชุมชนนี้ขึ้นมา เช่น อาณาเขต ที่ตั้ง จํานวนประชากร เป็นต้น ในการเก็บข้อมูลนั้นถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับประเพณีไม่จําเป็นต้องเก็บตาม ช่วงเวลาขอประเพณีนั้นแต่อาจะเก็บบ้างส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวงานวิจัยก็พอเมื่อได้มีการทดลองเก็บ ข้อมูลแล้วก็ต้องนํามาวิเคราะห์ข้อมูลโดยให้ชุมชนเป็นผู้ตรวจสอบว่าถูกต้องรึไม่ และอาจจะเชิญที่
ปรึกษาโครงการหรือแม้แต่พี่เลี้ยงโครงการก็จะลงมาช่วยในการxxxxxข้อมูลอีกด้านเพื่อที่จะได้ข้อมูลที่ ถูกต้องและแม่นยําก่อนที่จะลงมือปฏิบัติในชุมชนจริงๆในการปฏิบัติงานทุกครั้งต้องมีการบันทึกข้อมูล และสรุปผลทุกครั้งเพื่อง่ายแก่การติดตามงานในพื้นที่ชุมชนเมื่อได้ลงปฏิบัติเก็บข้อมูลตามxxxxxxวางแผนไว้ แล้วนั้นก็นํามาสรุปวิเคราะห์ผลว่าสิ่งxxxxxxนั้นตอบโจทย์มากน้อยแต่นั้นไม่ใช่หัวใจหลักทั้งหมดแต่การ ทํางานวิจัยแบบxxxxxxxxจะเน้นกระบวนการทํางานที่xxxxxxเปลี่ยนแปลงคนในชุมชนให้กล้าคิด กล้า แสดงออกมาขึ้น เมื่อมีการวิเคราะห์แล้วต่อจากนั้นต้องนําเสนอผลผ่าน “เวที” (การประชุมเสวนา ถกเถียง) เพื่อให้คนในชุมชน ได้มีxxxxxxxx xxxxกลุ่มชาวบ้าน ครู โรงเรียน สมาชิก อบต. ข้าราชการ หรือกลุ่มคนอื่นๆ ที่จะเข้ามาร่วมใช้ “xxxxx” ในกระบวนการวิจัยเพื่อเป็นการขยายผลxxxxxxไปใช้ ประโยชน์มากขึ้น
เป้าหมาย/ความสําเร็จที่อยากเห็นของงานวิจัยเพื่อxxxxxxxx
ความสําเร็จที่อยากเห็นเมื่อได้ลงมือทําแล้วคือชุมชนได้รับการแก้ไขไปในแนวทางxxxxxขึ้นและ ตอบxxxxความต้องการจากxxxxxxxxxชุมชนอย่างแท้จริงไม่ใช่ตอบxxxxจากคนนอกพื้นที่ในส่วนของ ทีมวิจัยเองxxxxxxxxxxในด้านเปลี่ยนแปลงในเชิงผู้นํามากขึ้นมีทักษะในด้านความคิดและยอมรับฟังความ คิดเห็นของคนในชุมชนด้วยกันเมื่อเราได้ลงมือปฏิบัติสิ่งที่อยากเห็นอีกด้านหนึ่งคือการได้ฝึกเขียน เอกสารเพื่อนําความรู้xxxxxxไปขยายผลต่อไปหรืออาจเป็นพื้นที่ต้นแบบให้ที่อื่นมาศึกษาเป็นแนวทางต่อไป ในด้านคุณสมบัตินักวิจัยแบบชาวบ้านต้องเป็นนักxxxxxxxxxxx มีความคิด ความรู้ในxxxxxxxเรา xxxxและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่รู้นอกจากที่เรารู้ มีการวางแผนก่อนการลงมือปฏิบัติหา คําตอบ และมีการจดบันทึกทุกครั้งเมื่อมีข้อสงสัยและเมื่อหาคําตอบได้รวมxxxxxxจัดเวทีเพื่อนําเสนอ
ข้อมูลxxxxxxมาเผยแพร่แก่คนในชุมชนเพื่อระดมความคิดต่อไป ปัจจัยxxxxxxจะทํางานวิจัยล้มเหลว
วิทยากรให้ผู้เข้าร่วมอบรมระดมความคิดเห็น “ผีสามตัวที่จะทําให้งานวิจัยล้มเหลวมีอะไรบ้าง” ในการทํางานวิจัยยอมมีผีที่จะทําให้งานวิจัยไม่สําเร็จ(สิ่งxxxxxxxxxxxแสดงออกมาในทีมที่จะทําให้เกิดความ ล้มเหลวหรือเป็นxxxxxxxxxxทําให้การทํางานวิจัยไม่ประสบผลสําเร็จ)ในกิจกรรมนี้ชาวบ้านช่วยxxxxxxxx ออกมาโดยมีข้อสรุปของผีล้มเหลวดังนี้ ผีขี้เกียจ(xxxxxxx) มักง่าย ขี้ลืม เห็นแก่ตัว ไม่เอาถ่าน(ไม่ทําอะไร เลยสักอย่าง) การพนัน สุรา xxxxxxxxxx ยาบ้า ไม่ให้ความร่วมมือ ไม่กล้าพูด xxxxxxxxxx ไม่เข้าเพื่อนเอาใจ ตัวเองเป็นใหญ่ ท้อแท้ ขี้อาย ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น ไม่เสียสละเพื่อส่วนร่วม กลัวคนอื่นxxxxx ไม่ รู้ หลงในอํานาจ ไม่มีเหตุผล ไม่ให้ข้อมูลความเป็นจริง พูดมากไม่มีสาระ ขี้โรค คัดแย้งเพื่อน เอาเปรียบ สังคม โลภมาก มือถือสากปากถือศีล กินดินกินทรายกินเหล็ก ไม่รักษาเวลา นั่งหลับ สิ่งที่นําเสนอมานี้ ถ้าเราขจัดสิ่งพวกนี้xxxxxจะทําให้การทํางานประสบผลสําเร็จและทําให้ทีมวิจัยมีความxxxxxxxxxxxxxมากขึ้น
การแตกกรอบประเด็นในการศึกษาข้อมูล
แนวคิดและการแตกองค์ประกอบประเด็นวิจัย เป็นการนําแนวคิดเชิงระบบมาปรับใช้ โดยใช้ หลักคิดว่า ระบบต่างๆ มีองค์ประกอบใหญ่ องค์ประกอบย่อยๆ เรียงลําดับกันไป การแตกองค์ประกอบ ต่างๆให้ละเอียดจะได้ข้อมูลรายละเอียดครบถ้วนมากขึ้น
เศรษฐกิจ
สิ่งแวดล้อม/
ทรัพยากร
xxxxx
การเมือง/
xxxxxx
สังคม/
วัฒนธรรม ประเพณี
ในการศึกษาข้อมูลก็xxxxกัน จะต้องนําชื่อเรื่องมาแตกองค์ประกอบ ซึ่งจะได้องค์ประกอบใหญ่ ตามวัตถุประสงค์ในแต่ละข้อ และให้นําวัตถุประสงค์แต่ละข้อมาแตกองค์ประกอบย่อยๆไปอีก จนได้ เป็นประเด็นในการเก็บข้อมูล
วตถxxxxxxx 3
ประเด็นเฉพาะ
วตถxxxxxxx 2
ประเด็นเฉพาะ
วตถxxxxxxx 1
บริบทชมชน
ประเด็นวจิ ยั
จุดเริ่มต้นของการตั้งวัตถุประสงค์ในโครงการวิจัยซึ่งจะมองเห็นอยู่หลักๆอยู่แค่สองตัวคือ ตัว บริบทชุมชน กับตัวประเด็นปัญหาของโจทย์วิจัยที่เราจะทําการศึกษาร่วมกันในชุมชน ตัวอย่างการแตก กรอบประเด็นเราจะยึดวัตถุประสงค์ในโครงการเป็นหลัก โดยจะเริ่มจากบริบทชุมชนซึ่งแบ่งออกได้เป็น ด้านทรัพยากรประกอบด้วยที่ดิน แหล่งน้ํา xxxxxx xxxxสังคม ประกอบด้วย ที่ตั้งอาณาเขต ประชากร ประวัติชุมชน การศึกษา สาธารณูปโภค สุขภาพ ด้านเศรษฐกิจประกอบไปด้วยรายได้ รายจ่าย หนี้สิน ด้านวัฒนธรรมประกอบไปด้วย ความเชื่อ ประเพณี xxxxxxxxx ซึ่งในการวางแผนหาข้อมูลต้องทําให้ตรง กับสภาพปัญหาที่เราได้ตั้งโจทย์ไว้เพื่อความสอดคล้องในการหาข้อมูลและง่ายต่อการตอบโจทย์วิจัย
นี่คือหลักการเก็บข้อมูลที่จะxxxxxxทําให้เราเก็บแต่ละประเด็นได้แต่ไม่จําเป็นต้องเก็บทั้งหมด (ช่วยในหลักการวิเคราะห์เบื้องต้น)แต่เราต้องตั้งคําถามในประเด็นนั้นเนื่องจากบริบทแต่ละพื้นที่ไม่
เหมือนกันก็คือการคิดเป็นระบบในการแตกกรอบประเด็นต้องมีการจัดกลุ่มประเด็นให้เข้ากับกลุ่มถ้า แยกเรื่องใหญ่ก่อนแล้วจะxxxxxxแยกย่อยข้อมูลออกไปได้อีกเพื่อข้อมูลxxxxxxxxxx และเอาองค์ประกอบ ของชุมชนมาใช้ประกอบ หลักการคิดคือการเขียนไว้ก่อนแล้วค่อยมาพิจารณาที่หลังด้วยกัน
เมื่อวิทยากรได้ยกตัวอย่างการแตกองค์ประกอบให้ดูและจากนั้นเป็นการแบ่งกลุ่มตาม โครงการวิจัยเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ไปฝึกปฏิบัติการจริงกับโครงการตนเอง
เครื่องมือสําคัญในการเก็บข้อมูลแบบมีส่วนร่วม
เครื่องมือสําคัญในการเก็บข้อมูลแบบมีส่วนร่วมเป็นขั้นตอนที่ใช้วิธีการโส่กัน(พูดคุยกันของคน ในชุมชน)ที่มีการxxxxผู้xxxxผู้แก่และคนในชุมชนมานั่งร่วมพูดคุยกันว่ามีอะไรบ้างที่ประกอบกันเป็น ชุมชนและยังมีอีกหลายเครื่องมือที่ต้องใช้การมีส่วนร่วมของชุมชน เครื่องมือสําคัญมีดังนี้
1. แผนผังชุมชนหรือแผนที่ทางสังคม
4. ปฏิทิน (Calendars) xxxxxxปรับใช้ได้หลายรูปแบบดังนี้
• ฤดูกาลผลิต
• ปฏิทินประเพณี
• ปฏิทินแรงงาน
ขั้นตอนการจัดทําเส้นเวลา
• พูดคุย สัมภาษณ์ผู้xxxxxxxxxรู้เหตุการณ์ในอดีตและผลกระทบที่เกิดขึ้นในชุมชน
• ผู้จัดกระบวนการช่วยกระตุ้นชาวบ้านให้นึกถึงเหตุการณ์สําคัญในอดีต ปีหรือช่วงเวลาที่ เกิดเหตุการณ์นั้น แล้วมันส่งผลกระทบอย่างไรบ้างกับชุมชน
• เขียนข้อมูลหรือวาดภาพลงในกระดาษแผ่นใหญ่ที่ให้ชาวบ้านทุกคนมองเห็นได้
ประโยชน์ของเส้นเวลา
• ฟื้นเหตุการณ์สําคัญในประวัติศาสตร์ของชุมชนให้กลับคืนมา
• ช่วยทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต เพื่อทําความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันของชาวบ้าน เงื่อนไข หรือทรัพยากรในชุมชน
• เป็นแนวทางสําหรับกิจกรรมพัฒนาในxxxxx เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งxxxxxxสร้างปัญหาให้ ชาวบ้าน หรือช่วยxxxxxxxxสิ่งดีๆ ในอดีตให้นําxxxxxxปฏิบัติใหม่
7. xxxxxxxxxxxxxx หรือ Family tree
ใช้สําหรับการสืบค้นตระกูลสําคัญในชุมชน รวมถึงวิเคราะห์ความxxxxxxxxระหว่าง ตระกูลกับงานด้านต่างๆของชุมชน xxxx ด้านการเมืองการxxxxxx การxxxxxxทรัพยากร ประวัติศาสตร์xxxxxxxx ด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น
ตัวอย่าง xxxxxxxxxxxxxx
การฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือเก็บข้อมูล
ในช่วงของxxxxxxสองการเตรียมการฝึกเก็บข้อมูลโดยจะใช้พื้นที่หมู่บ้านน้ําภูทั้งหมู่ 4,5,10 เป็น พื้นที่ตัวอย่างในการทดลองเก็บเครื่องมือ ในครั้งนี้ได้มีการแบ่งกลุ่มของทีมโครงการวิจัยออกเป็นสาม กลุ่มในหนึ่งกลุ่มใหญ่ซึ่งได้ทั้งหมดเก้ากลุ่มย่อยโดยมีหัวข้อที่ต้องลงไปเก็บในพื้นที่ดังนี้ 1 ด้านเศรษฐกิจ xxxx มีอาชีพอะไรบ้างในหมู่บ้านที่ทําxxx xxxxxรายรับรายจ่ายมีตรงไหนบ้าง 2 ด้านสังคม จะต้องไปค้น เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชุมชนแต่ละช่วงเวลารวมถึง ประเพณี การเมืองการxxxxxxและทําออกมาเป็น แผนผังชุมชน และ3 ด้านทรัพยากรเป็นการศึกษาบริเวณรอบนอกหมู่บ้าน ตั้งแต่ ที่ดิน xxxxxxที่ใช้ xxxxxxxx xxแม่น้ําอะไรบ้างที่ไหลผ่านอาจจะทําเป็นแผนผังเพื่อนําเสนอ การลงพื้นที่ครั้งนี้ได้มีกลุ่ม นักศึกษาจากพัฒนาชุมชนเข้ามาช่วยในตอนเดินเก็บข้อมูลในชุนชนพร้อมพี่เลี้ยงนําทีมในการลงมือ ปฏิบัติการครั้งนี้ใช้เวลาทั้งหมดสองชั่วโมงคือตั้งแต่ 10.00 – 12.00 น.
การนําเสนอผลการฝึกใช้เครื่องมือ
เมื่อได้มีการลงพื้นที่แล้วก็ได้นํามาสรุปผลโดยรวมดังนี้
1. กลุ่มแรกxxxxxxนําเสนอคือกลุ่มจากทีมบ้านนาหอโดยมีร้อยตรีxxxxxxx นําเสนอพอสรุปได้ว่า ใน แต่ละประเด็นxxxxxxมีการลงไปสํารวจในด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจใช้วิธีการแบบxxxxผู้xxxxผู้แก่ใน หมู่บ้านมาประชุมxxxxxxศาลาอเนกประสงค์ของหมู่บ้าน(แบบxxxxxxxx)เป็นแค่การยกกลุ่มตัวอย่างขึ้นมา เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลส่วนในด้านทรัพยากรก็ได้มีการวางแผนรูปขอบเขตชุมชนออกมาและระบุแต่ ตรงที่สําคัญของชุมชน พร้อมมีการสอบถามถึงตระกูลเก่าแก่ของหมู่บ้านน้ําภูอีกด้วย ในส่วนปัญหาที่พบ เจอในการลงพื้นที่ครั้งนี้ คือการติดต่อxxxxxxงานที่ยังไม่เข้าใจกันว่ามาทําอะไรเลยทําให้เสียเวลากับ การรอและต้องมีการเลือกกลุ่มบุคคลเปูาหมายที่เราจะถามให้ชัดเจนเพื่อสะดวกแก่การหาข้อมูล
2. กลุ่มของบ้านน้อยคีรี โดยผู้ใหญ่xxxเป็นผู้นําเสนอ ทีมนี้เก็บข้อมูลได้น้อยเนื่องจากเกิด ปัญหาความไม่เข้าใจในทีมว่าต้องการอะไรเลยทําให้ต้องเสียเวลากับการอธิบายข้อมูลเลยทําให้ข้อมูลxxx xxxไม่ครอบคลุมมากสักเท่าไหร่ และ
3. กลุ่มสุดท้ายบ้านน้ําแคม สิ่งที่ต้องเพิ่มเติมในทีมนี้คือการยกตัวอย่างด้านวัฒนธรรมอาจจะ ต้องยกตัวอย่างเด่นของวัฒนธรรมนั้นขึ้นมาไม่ใช่เขียนแค่ว่ามีวัฒนธรรมแค่ฮิตสิบสองxxxxสิบสี่แต่ต้อง ยกแนวคิดการจัดการมีรูปแบบไหนเพื่อหาความแตกต่าง (บ้านน้ําภูย้อนไปเมื่อไป121 ปี อยู่ทางทิศ ตะวันออกของหมู่บ้านปัจจุบันเดิมอยู่บ้านทุ่งใหญ่ เดิมชื่อบ้านนาดีต่อมาเกิดโรคระบาดชุมชนหนี้แยกกัน ออกไป ปี 2464 เกิดผู้นําชุมชนคนแรก นายถอน xxxxxxxxxx และเปลี่ยนเป็นชื่อบ้านน้ําxxxxจากลําห้วย ปัจจุบัน นายประxxx xxxxxxxxxxx ใช้วิธีxxxxxxxxxxxxxxxxxxภายในชุมชน เอื้อเฟื้อ พึ่งพาอาศัยกันแบบพี่ แบบน้อง มีสองหมู่ คือ 4 กับ 10 มีหัวหน้าคุ้ม ทั้งหมด 6 คุ้มในด้านประเพณีมีเหมือนกันต่างกันตรงที่ ประเพณี ชําฮะบ้าน ทางด้านทรัพยากร คือ xxx ที่ดินสาธารณะ แหล่งน้ําxxxxxภูฮวด อ่างศรีเสียด บ่อ จําปา มีภูเขาล้อมรอบ เศรษฐกิจ รายได้หลักมาจากการเกษตร ยางพารา ข้าวโพด ถั่วเหลือง เลี้ยงสัตว์
โรงสีข้าว รายได้เสริม รับจ้างทั่วไป ช่างก่อสร้าง รับจ้างกรีดยาง เสริมสวย ตีเหล็กตีมีด รายจ่ายจากการ ลงทุนทางการเกษตร ค่าใช้จ่ายทั่วไป ภาษีสังคม การศึกษาบุตร หนี้ มีแต่ในระบบไม่มีหนี้นอกระบบ)
แผนปฏิบัติการงานวิจัยของแต่ละทีม
วิทยากรให้แต่ละทีมได้ประชุมวางแผนปฏิบัติการร่วมกัน บนเงื่อนไขงบประมาณ และเวลาที่ จํากัด และต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนxxxxxx 2556 เพื่อให้ทันเวทีรายงานความxxxxxxxx ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 โดยนักวิชาการหัวหน้าโครงการได้เป็นดําเนินการประชุม และได้มีการ นําเสนอผลการหารือของแต่ละทีมดังนี้
1.ทีมบ้านนาหอ จากอําเภอด่านซ้าย ในด้านการเก็บข้อมูลจะให้ชุมชนเป็นผู้เก็บและอาจารย์ จากทางราชภัฏเป็นผู้เรียบเรียงโดยจะมีการแบ่งหัวข้อในการศึกษาตามวัตถุประสงค์xxxxxxเขียนไว้ในโจทย์ วิจัย พร้อมทั้งจะมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ตามความxxxxและความสมัครใจโดยจะไม่มีการบังคับ ในด้าน การเงินทีมวิจัยจะเป็นจัดการเองทั้งค่าตอบxxxxxxxxจ่ายเมื่องานเสร็จครบถ้วนตามxxxxxxวางไว้และค่าใช้ สอยจะมีการประชุมก่อนทุกครั้งว่าจะเบิกในส่วนของกิจกรรมไหนบ้างและทําสมุดบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อเป็นการตรวจสอบโดยใช้ระบบความโปร่งใสในกาทํางาน และอีกไม่นานหลังจากนี้จะมีการเปิดตัว โครงการวิจัยอย่างเป็นทางการและจะเรียนxxxxผู้หลักผู้ใหญ่เข้ามาร่วมฟังไม่ว่าจะเป็น นายอําเภอ นายก อบต. นาหอ ผู้ใหญ่บ้าน วัฒนธรรมจังหวัดเลย ผู้xxxxผู้แก่ในชุมชนและxxxxxxxxxชุมชนเพื่อให้รับรู้ว่า จะมีงานโครงการวิจัยเข้ามาทําในพื้นที่ และเพื่อxxxxxxxxxxxxxไปสู่หน่วยงานในการทําหนังสือแจกจ่าย ให้แก่คนในชุมชนและหน่วยงานของรัฐและจะมีการทดลองในระยะที่ 2 ต่อไป
2. ทีมบ้านน้อยคีรี จากวังสะพุง แผนการดําเนินงานจะเริ่มจากการให้ชุมชนนิยาม ความมั่นคง ขึ้นมาเองเพื่อให้สอดคล้องกับคนในชุมชนโดยไม่ยึดจากหลักเกณฑ์ภายนอก จะมีการลงพื้นที่เพื่อสํารวจ ของมูลในxxxxxx 23 xxxxxx 2555 เนื่องจากที่ทําไว้เป็นเพราะชาวบ้านจะต้องเริ่มตัดอ้อยในช่วง xxxxxxxxxพฤศจิกายน พร้อมทั้งเกี่ยวข้าวเลยทําให้อาจจะทําให้ล่าช้ากว่ากลุ่มอื่นและมีการxxxxxx หน้าที่ก่อนหน้าที่จะเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเป็นการแบ่งหน้าที่xxxxxxxxxในการทํางาน ในส่วนขอกิจกรรม อาจจะมีการเคลื่อนอีกxxxxxxxเดือนเมษายน และจะมีการนําข้อมูลมาสรุปผลทุกครั้งเพื่อxxxxxxxxข้อมูลที่ ขาดหายไป
3. ทีมบ้านน้ําแคม จากท่าลี่ แผนงานที่จะทําต่อไป เริ่มจาการพัฒนาทีมวิจัย และจะทําแบบ สํารวจพร้อมชี้แจงทําความเข้าใจให้กับชุมชนโดยมุ่งให้เห็นว่าจะพัฒนาคุณค่าxxxไปด้านไหนเพื่อxxxxx xxxxxxxxxให้xxxxxxxมากขึ้นในส่วนของอาจารย์ก็จะเข้าไปร่วมงานในชุมชนโดยการสนับสนุนและหนุน เสริมพร้อมทั้งนําความรู้ทางวิชาการเข้าไปร่วมกับชุมชน(ให้ชุมชนเป็นตัวเดินเรื่อง) จะมีการประชุม หารือเรื่องการทําเครื่องมือวิจัยต่อในวันพรุ่งนี้(23 ต.ค.55)
สรุปการอบรมและสะท้อนผลการประชุม
วิทยากรได้สรุปผลการอบรม 2 วัน และให้ตัวแทนผู้เข้าอบรมจํานวน 2 คนได้สะท้อนความรู้สึก ซึ่งได้ผลดังนี้
กํานันตําบลน้ําแคม: ได้เรียนรู้เรื่องแนวคิดการการพัฒนา การทําวิจัย และเทคนิค เครื่องมือ สําคัญในการศึกษาข้อมูลนําไปปรับใช้ในการทํางานในพื้นที่ตนเอง การอบรมครั้งนี้มีประโยชน์มากได้ เรียนรู้หลายอย่างจากทั้งวิทยากรและเพื่อนผู้เข้าอบรม
ตาดําบ้านน้อยคีรี:สิ่งxxxxxxและอยากเห็นเมื่อมีการทํางานคือการร่วมกันเป็นทีมเดียวกันในการ พัฒนาหมู่บ้าน ต้องสร้างคนให้เป็นคนและสร้างความxxxxxxxxxxxxxxxxxดึงคนในชุมชนเข้ามาร่วมในการ ทํางาน(การเข้าใจในด้านกระบวนการทํางาน xxxxxxxพัฒนาคนทั้งในทีมและชุมชน)นั่นละคือผลสําเร็จ ของการทํางาน
บันทึกสรุปผลการประชุมปฏิบัติการการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกําหนดกิจกรรมในระยะที่ 2
xxxxxx 26 มีนาคม 2556
ณ ห้องเรียน 20205 ชั้น 2 ตึก 20 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เกริ่นนําโดยxxxxxxxx xxxxxx ผู้xxxxxxงาน
วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้เนื่องจากในปีนี้จะมีผู้ทรงคุณวุฒิลงมาช่วยดูเล่มก่อนส่งไป xxxxxxxxxxxเนื่องจากการทํางานแบบเก่าทําให้ขาดช่วงในการดําเนินงานระยะที่ 2 แต่ถ้าหากมีผู้ทรงลง
มาก็จะทําให้งานเดินเร็วขึ้นและงบประมาณช่วงที่ 2 เกี่ยวข้องกับทางมหาวิทยาลัยอาจจะมีผู้ทรงทาง
มหาวิทยาลัยมาดูว่าทิศทางการดําเนินในระยะที่ 2 จะออกมาในรูปไหนพร้อมอนุมัติงบประมาณระยะที่
2 ได้เร็วมากขึ้น
ที่ผ่านมาได้มีการลงไปพัฒนาโจทย์ซึ่งก็ได้โจทย์ออกมาอย่างชัดเจนพอxxxxxและมี วัตถุประสงค์คําถาม วิธีการชัดเจนพอxxxxx และเครื่องมือxxxxxxxxxในการนําไปสู่การเก็บข้อมูล
สิ่งสําคัญเมื่อนําข้อมูลมาแล้วจะจัดการกับข้อมูลได้อย่างไร วิเคราะห์อย่างไร หรืออีกอย่างหนึ่ง คือการให้ความหมายข้อมูล ซึ่งเป็นหัวใจสําคัญหลักที่สุดในการพัฒนาและการวิจัย (การตีความคือการ ให้ความหมายจะทําให้ไปสู่การพัฒนาได้)
แต่ปัญหาปัจจุบันคือการให้ความหมายของข้อมูลxxxx การเก็บข้อมูล จปฐ หรือข้อมูลสําxxx ครัว เป็นต้น ทําไมการให้ความหมายของข้อมูลจึงต้องตีความให้ชัดเจนเพราะความหมายข้อมูลอาจ แตกต่างได้ขึ้นอยู่กับคนให้ข้อมูลเมื่อได้ข้อมูลมาอาจจะมีวิธีการxxxxxxxxxหลายอย่างxxxxการเปรียบเทียบ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ส่วนวิธีการหาสาเหตุ คือ การตั้งคําถามโจทย์ว่าทําไมเป็นแบบนี้หรือการถามให้ ลึก ถ้าเราให้ความหมายดีและอยู่บนฐานบริบทจะใช้ประโยชน์ได้ในการวางแผนพัฒนา
การนําเสนอของแต่ละทีมจะเริ่มจากการทบทวนโจทย์วิจัยว่าคืออะไร สาเหตุที่ทํา มีคําถาม วัตถุประสงค์ แบบไหน กรอบการเก็บข้อมูลเราให้ความหมายการตีข้อมูลแบบไหนเพื่อการวางแผน แก้ปัญหาโจทย์วิจัย
การนําเสนข้อมูลและผลการวิเคราะห์ข้อมูล
๑. โครงการ การจัดการความรู้xxxxxxxxxxxxxxxxxเพื่อสร้างการเรียนรู้สําหรับเด็กนักเรียนและเยาวชน ของชุมชนนาหอ ตําบลนาหอ อําเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยxxxxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxทีม
นอกจากการศึกษาบริบทแล้วในช่วงที่ผ่านมาทีมได้มีการทดลองปฏิบัติการเรียนรู้ไปด้วยซึ่งเป็น กิจกรรมคู่ขนานเพราะต้องทําตามช่วงเวลา เรื่องของการเก็บข้อมูลมีการวางแผนว่าจะเก็บข้อมูลแบบ ไหนและ 3 ข้อแรกในตัววัตถุประสงค์จะเก็บในชุมชนทั้งหมด
1. เพื่อศึกษาบริบทและxxxxxxxxxxxxxxxxxที่สําคัญของชุมชนนาหอ
2. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้xxxxxxxxxxxxxxxxxชุมชนนาหอ
3. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาเด็กและเยาวชนรวมถึงภาวะความเสี่ยงในการดําเนินชีวิตของเด็ก และเยาวชนชุมชนนาหอ
4. เพื่อหารูปแบบการจัดการความรู้xxxxxxxxxxxxxxxxxเพื่อสร้างการเรียนสําหรับเด็กและเยาวชน
นาหอ
โดยการใช้วิธีการสนทนากลุ่มมีการระดมความคิด การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วน
ร่วมบริบทแรกที่เก็บคือ บริบทชุมชนซึ่งข้อมูลxxxxxxมาจะเป็นประวัติศาสตร์ในเชิงการบอกเล่าจากคุณxxxx คนแก่ในชุมชนและในเชิงวิชาการก็จะได้มีการหาข้อมูลอีกด้านเพื่อความxxxxxxxxxและน่าเชื่อถือมา