สัญญาเลขที่ RDG60E0079
รายงานฉบับxxxxxxx
ชุดโครงการวิจัยเพื่อxxxxxxxx
โครงการ แนวทางการฟื้นสู่การพัฒนารูปแบบการxxxxxxxxxxวิถีชาวนา ของชนxxxxผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลxxxxx อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
โดย
xxxxxxx xxxxxxไทย และคณะ
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อxxxxxxxx
สัญญาเลขที่ RDG60E0079
รายงานฉบับxxxxxxx
โครงการ แนวทางการฟื้นสู่การพัฒนารูปแบบการxxxxxxxxxxวิถีชาวนา ของชนxxxxผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลxxxxx อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
คณะผู้วิจัย
1. xxxxxxx xxxxxxไทย
2. xxxxxxxxxxxxx xxxxxx
3. ว่าทรต.xxxxxxx xxxxxxไทย
4. นางเพ็ญ คนxxxxx
5. xxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxx
6. xxxxxxx แสงหมื่น
7. xxxxxxxxx xxxxx
8. นางxxxxxx ทะเสนฮด
9. นางสาวสุพิxx xxxxxxไทย
10. xxxxxxx xxxxx
11. นายแวดล้อม xxxxx
12. นางเซิ้น xxxxx
13. xxxxxxxx xxxxxxไทย
14. ร.ต.ต.xxxxxxxx xxxxx
15. xxxxxxxxx xxxxx
16. นายนา คนxxxxx
17. นายสำเร็จ xxxxx
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อxxxxxxxx
บอกเล่าเพื่อความเข้าใจร่วมกัน
งานวิจัยเพื่อxxxxxxxxเป็นxxxxxxxxxxxxคนในชุมชนได้มาร่วมคิดทบทวนสถานการณ์ ตั้งคำถาม วางแผน หาข้อมูล ทดลองทำ วิเคราะห์ สรุปผลการทำงานและหาคำตอบเพื่อปรับปรุงงานต่อไป” กล่าวคือ งานวิจัยเพื่อ xxxxxxxxเป็นเครื่องมือหนึ่งที่เน้นการให้ “คน” ในชุมชนเข้ามาร่วมในกระบวนการวิจัย ตั้งแต่การ xxxxxxxx xxxตั้งคำถาม การวางแผน และค้นหาคำตอบอย่างเป็นระบบเป็นรูปธรรม โดยเรียนรู้จากการ ปฏิบัติการจริง (Action Research) อันทำให้ชุมชนได้เรียนรู้ xxxxxxxงาน มีความเก่งขึ้นในการแก้ปัญหาของ ตนเอง และxxxxxxใช้กระบวนการนี้ในการแก้ไขปัญหาอื่น ๆ ในxxxxxxxx โดยมีกระบวนการศึกษาเรียนรู้อย่าง เป็นเหตุเป็นผล ดังนั้นจุดเน้นของงานวิจัยเพื่อxxxxxxxx xxxอยู่ที่ “กระบวนการ” มากกว่า “ผลลัพธ์” เพื่อให้ ชาวบ้านได้ประโยชน์จากงานวิจัยโดยตรง และให้งานวิจัยมีส่วนในการแก้ปัญหาของชาวบ้าน รวมxxxxxxxxxxx เปลี่ยนแปลงขึ้นจริงในชุมชน ซึ่งจะต้องอาศัย “เวที” (การประชุม เสวนา พูดคุยถกเถียง) เป็นวิธีการเพื่อให้คน ในชุมชน ทั้งชาวบ้าน ครู นักพัฒนา สมาชิกอบต. ข้าราชการ หรือกลุ่มคนอื่นๆ เข้ามาร่วมหา ร่วมใช้ “xxxxx” ในกระบวนการวิจัย
“กระบวนการวิจัยเพื่อxxxxxxxx” หมายxxx xxxทำงานอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อตอบ “คำถาม” หรือ “ความสงสัย” บางอย่าง ดังนั้นสิ่งสำคัญคือประเด็น “คำถาม” ต้องคมชัด โดยมีการxxxxxxประเด็นว่า ข้อ สงสัยอยู่ตรงไหน มีการหา “ข้อมูล” ก่อนทำ มีการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูล มีการ “วางแผน” การ ทำงานบนฐานข้อมูลที่มีอยู่ และในระหว่างลงมือทำมีการ “บันทึก” มีการ “ทบทวน” ความxxxxxxxx “วิเคราะห์” ความสำเร็จและอุปสรรคอย่างสม่ำเสมอ เพื่อ “ถอด” กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นออกมาให้ ชัดเจน ในที่สุดก็จะxxxxxx “สรุปบทเรียน” ตอบคำถามที่ตั้งไว้แล้วอาจจะทำใหม่ให้ดีขึ้น ตลอดจน xxxxxxนำไปใช้เป็นบทเรียนสำหรับเรื่องอื่น ๆ หรือพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป ซึ่งทั้งหมดนี้กระทำโดย “ผู้ที่สงสัย” ซึ่งเป็นคนในxxxxxxxxxxxxxxx ดังนั้นกระบวนการงานวิจัยเพื่อxxxxxxxxxxxเป็นงานวิจัยอีกแบบหนึ่งxxxxxxยึดติดกับ xxxxxxxแบบแผนทางวิชาการมากนัก แต่เป็นการสร้างความรู้ในตัวคนxxxxxxxx โดยคนxxxxxxxx เพื่อคนxxxxxxxx โดยมุ่งแก้ไขปัญหาด้วยการทดลองทำจริง และมีการบันทึกและวิเคราะห์อย่างเป็นxxxxxxx การวิจัยแบบนี้จึง ไม่ใช่เครื่องมือทางวิชาการ ไม่ใช่ของxxxxxxxxxxxxxxxผูกขาดอยู่กับครูบาอาจารย์ แต่เป็นเครื่องมือธรรมดาที่ชาวบ้าน ก็ใช้เป็น เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำxxxxxx
สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อxxxxxxxx xxxใช้วิธีการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อxxxxxxxxตามแนวคิดและหลักการดังกลาว มาแล้วในระยะเวลาหนึ่ง พบว่า ชาวบ้านหรือทีมวิจัยส่วนใหญ่xxxxxxสะท้อนการxxxxxxงานด้วยการบอกเล่า ได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันก็พบว่า การเขียนรายงาน เป็นปัญหาที่สร้างความหนักใจให้แก่นักวิจัยเป็น อย่างยิ่ง ดังนั้นด้วยความตระหนักถึงสถานการณ์ปัญหาดังกล่าว สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อxxxxxxxx xxxได้ปรับรูปแบบ การเขียนรายงานวิจัย ให้มีความยืดหยุ่น และมีความง่ายต่อการนำเสนองานออกมาใน รูปแบบที่นักวิจัยxxxx โดยไม่ยึดติดในเรื่องของภาษาและรูปแบบที่เป็นวิชาการมากเกินไป ซึ่งเป้าหมายสำคัญของรายงานวิจัยยังxx
มุ่งเน้นการนำเสนอให้เห็นภาพของกระบวนการวิจัยมากกว่าผลลัพธ์xxxxxxจากการวิจัย โดยกลไกสำคัญที่จะช่วย ให้นักวิจัยให้มีความxxxxxxเขียนรายงานที่นำเสนอกระบวนการวิจัยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น คือ ศูนย์xxxxxxงานวิจัย
(Node) ในพื้นที่ ซึ่งทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงโครงการวิจัยมาตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งจบการทำงานวิจัย ดังนั้น Node จะรับรู้พัฒนาการของโครงการวิจัยมาโดยตลอด บทบาทการวิเคราะห์เนื้อหาหรือกิจกรรมของโครงการ จึงเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง Node และนักวิจัย ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวได้นำมาซึ่งการถอดบทเรียน โครงการวิจัยสู่การเขียนมาเป็นรายงานวิจัยที่มีคุณค่าในที่สุด
อย่างไรก็ตาม รายงานวิจัยเพื่อxxxxxxxxxxxไม่xxxxxxxแบบดังxxxxรายงานวิจัยเชิงวิชาการโดยทั่วไป หากแต่ได้คำตอบและเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการวิจัย ซึ่งท่านxxxxxxเข้าไปค้นหา ศึกษาและ เรียนรู้เพิ่มเติมได้จากพื้นที่
สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อxxxxxxxx
คำนำ
วัฒนธรรมของxxxxxxxxxxxxxxxxxสะท้อนถึงความเป็นอยู่ที่มีมาช้านาน มีความแตกต่างตามบริบทของ พื้นที่ โดยเฉพาะ“วัฒนธรรมผู้ไท”ที่มีความโดดเด่นและเชื่อมโยงกันในอนุxxxxxxxลุ่มน้ำโขง ผู้ไทใน ประเทศไทย ลาว เวียดนามและxxx xxxxมีความเชื่อมโยงxxxxxxxxกัน ชุมชนบ้านนาโสก เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่ บรรพบุรุษxxxxผู้xx xxxอพยพจากฝั่งประเทศลาวมาxxxxxxxxปักฐานสร้างบ้านแปงเมือง สืบเผ่าพันธุ์กันมาเกือบได้ เกือบ 200 ปีแล้ว วิถีชีวิตการxxxxxxxต่างๆ ที่สืบทอดมาจากxxxxxxxxx xxxมีการวิวัฒนาการไปตามยุคสมัย เพื่อความxxxxxxxในสังคมแต่ละยุค แต่ถึงกระนั้นกลิ่นอายของความเป็นชนxxxxผู้ไท ยังมีอัตลักษณ์เฉพาะชนxxxx xxxxxxxxxเผยแพร่ สื่อสารให้กับสังคมได้เรียนรู้หรือร่วมทำกิจกรรมต่างๆของชนxxxxผู้xxxxxเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่มี อยู่ประเทศไทย ในการศึกษาแนวทางการฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของชนxxxxผู้ไทบ้าน xxxxx ตำบลxxxxx อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เป็นการศึกษาพัฒนาการด้านการxxxxxxxxxxชุมชนผู้xx xxxxxในอดีต xxxxxxxxxxxxการจัดการxxxxxxxxxxในรูปแบบโฮมสเตย์ มาแล้วในระยะหนึ่ง แต่มีปัจจัยที่ยังไม่ xxxxxxระบุได้อย่างxxxxxxxxx xxxxใดการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของชนxxxxผู้ไทบ้านนาxxx xxxมีอันต้องสะดุด และชะงักลงในที่สุด นักท่องเที่ยวไม่รู้จักและไม่xxxxxxเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นในการxxxxxxxxxx ในการศึกษาครั้ง นี้เพื่อเป็นการวิเคราะห์ข้อมูล สภาพปัญหา และแนวทางการพัฒนาการxxxxxxxxxxชุมชนบ้านนาโสกต่อไป ที่จะ เป็นการxxxxxxxxการxxxxxxxxxxชุมชนตามนโยบายรัฐบาล ที่ต้องการจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยอาศัย ศักยภาพของชุมชน ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาจับจ่ายใช้สอยในชุมชน ให้เม็ดเงินสะพัดในชุมชน ให้เกษตรกร โดยเฉพาะชาวนาตามชนบท มีรายได้เข้าสู่ครัวเรือนอีกทางหนึ่ง โดยอาศัยxxxxxxxxx อัตลักษณ์บริบทของ พื้นที่เป็นจุดขายและการหนุนเสริมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
คณะผู้จัดทำ
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทที่ 1 บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญ 5
1.2 คำถามการวิจัย 7
1.3 วัตถุประสงค์โครงการ 7
1.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 7
1.5 xxxxxxxxxxเฉพาะ 8
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 แนวคิดการxxxxxxxxxxโดยชุมชน 9
2.2 ชนxxxxผู้ไท 14
2.3 การฟื้นฟู 24
2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 28
2.5 กรอบแนวคิด 31
บทที่ 3 วิธีxxxxxxการวิจัย
3.1 ขอบเขตการวิจัย 32
3.2 ขอบเขตเนื้อหา 32
3.3 วิธีการเก็บข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้ในการxxxxxxการวิจัย 34
3.4 กระบวนการและขั้นตอนการวิจัย 35
บทที่ 4 ผลการวิจัย
4.1 ประวัติศาสตร์ และบริบทชุมชนที่xxxxxxxx 42 กับการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของคนภูxxxxxxx ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
4.2 สถานการณ์ สาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการxxxxxxxxxx 57 วิถีชาวนาของคนผู้xxxxxxx
4.3 รูปแบบการจัดการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของคนภูไทต้นแบบ 67
4.4 แนวทางการฟื้นฟูการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของชนxxxxผู้ไทบ้านนาโสก 73 ตำบลxxxxx อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
5.1 สรุปผลการวิจัยตามแต่ละวัตถุประสงค์ 84
5.2 ผลการxxxxxxxxxxxxฟื้นฟูการxxxxxxxxxxวิถีชาวนา 86 ของชนxxxxผู้ไทยบ้านนาโสก ตำบลxxxxx อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
5.3 บทเรียนงานวิจัย 92 ภาคผนวก 94 ภาพกิจกรรม 95 xxxxxxxxxxxxxxx 107 บรรณานุกรม 111
บทที่ 1 บทนำ
ชุมชนบ้านนาโสก ตั้งอยู่ตำบลxxxxx อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร อยู่ทางทิศตะวันตก ของอำเภอ เมืองมุกดาหาร ห่างจากตัวจังหวัดมุกดาหาร 30 กิโลเมตร จากการเรียบเรียงของxxxxxxxx หนองแคน (xxxxxxไทย) อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านนาโสก (ประวัติบ้านนาโสก,เอกสารพิมพ์แจก : 2510) กล่าวว่า ย้อนหลังไปราวปีพุทธศักราช 2369 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เจ้าxxxxxxxผู้xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxได้ประกาศตัวเป็นกบฏต่อราชอาณาจักรไทย กองทัพไทยได้ยกไปปราบจน สงบลงได้ หลังจากนั้นไม่นานกองทัพxxxxxxยกเข้ารุกรานอยู่เสมอ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมี พระราชโองการให้พระยาxxxxxxxxฯ ยกทัพจากกรุงเทพมหานคร ไปสมทบกับกำลังหัวเมืองอีสานเข้าตีเมือง ชายแดนxxx เมื่อปีพุทธศักราช 2383 xxxxxxxวัง เมืองตะโปน แล้วกวาดต้อนเอาผู้คนข้ามแม่น้ำโขง ชาวเมืองที่ อพยพมาเหล่านั้นได้แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มแยกย้ายกันออกไป อาทิ xxxxxxxxxxx(สีหนาม)ไปตั้ง เมืองหนองสูง พระธิเบศร์วงศา(ราชวงศ์กอ) ไปตั้งเมืองxxxxxxนารายณ์(เขาวง) เป็นต้น แต่ละxxxxเรียกตนเองว่า “ผู้ไท” ส่วนกลุ่มที่มาตั้งxxxxxxxเมืองหนองสูงxxxxxxxxxxค้นหาทำเลที่เหมาะสมสำหรับประกอบสัมมาอาชีพ โดยมีกลุ่มคนผู้ไทกลุ่มหนึ่งได้เข้าไปยึดชัยภูมิระหว่างหุบเขาภูยูง ภูหินสิ่ว และภูถ้ำพระ ซึ่งมีพื้นที่xxxxxxx xxxxxxxxเป็นที่ลุ่มสลับxxxxxx เวลาฝนตกหนักน้ำจะบ่าเข้าท่วมพื้นที่และจะไหลลงสู่ลำธารหมด พื้นที่ได้ถูกกัด เซาะทำให้เป็นโสก เหว xxxxนี้ชาวบ้านจึงขนานxxxxxx “บ้านนาโสก” และได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2378 บรรพบุรุษของบ้านนาโสกที่มาตั้งถิ่นฐานครั้งแรกนั้น จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่บอกเล่าว่า ได้มีกลุ่มคนผู้ไท รวมกันตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ดานมะเอกเชิงเขาภูหินสิ่วอยู่ห่างจากบ้านนาโสกปัจจุบันไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร เรียกชื่อว่า “บ้านดาน” ด้วยเหตุผลเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะการทำข้าวไร่ เพราะว่าคนโบราณ ของผู้ไทนิยมทำข้าวไร่เป็นหลัก ชาวผู้ไทกลุ่มนี้ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านดานเป็นเวลาหลายปี จึงได้อพยพย้าย หมู่บ้านตามลำดับคือ การย้ายบ้านครั้งที่ 1 ได้ย้ายจากบ้านดานมาตั้งบ้านใหม่ที่บริเวณทิศใต้ของหมู่ที่ 14 ใน ปัจจุบันเรียกว่าบ้านฮ้าง ถัดจากทุ่งนาม่องอยู่ที่บริเวณบ้านฮ้างเป็นเวลาหลายปี ก็มีคนในหมู่บ้านเจ็บป่วยเป็น ไข้แล้วเสียชีวิต ก็อพยพย้ายบ้านไปอยู่ที่แห่งใหม่อีก ครั้งที่ 2 นี้ย้ายข้ามฟากทุ่งนาม่องเข้าทางทิศตะวันตก การ ย้ายครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งข้ามทุ่งนาม่องเข้ามาตั้งบ้านเรือนที่เป็นหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 3 ตอนล่าง ติดกับวัดโพธิ์ศรีแก้ว อีกกลุ่มหนึ่งย้ายจากบ้านฮ้างไปตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศเหนือ ปัจจุบันเรียกว่าบริเวณนา เฮ้อ ห่างจากบ้านนาโสกประมาณ 2 กิโลเมตรเศษ เมื่อเวลาผ่านไปหลายปีบ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุขแล้วกลุ่มที่ อยู่บริเวณนาเฮ้อก็อพยพเข้ามารวมกับกลุ่มข้างวัดซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่กว่า จึงทำให้มีจำนวนหลังคาเรือนเพิ่ มอีก หลายหลัง และมีจำนวนประชากรเพิ่มอีกจำนวนมาก ชาวผู้ไทย กลุ่มนี้เรียกบ้านของตนเองว่าบ้านนาโสก อยู่ มาอีกหลายปี เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้น ก็มีชาวนาโสกกลุ่มหนึ่งแยกไปตั้งบ้านใหม่ อยู่ทางทิศใต้ของบ้านนา โสก โดยมีร่องน้ำและทุ่งนากั้น ห่างจากบ้านนาโสกประมาณ 10 เส้น ตั้งชื่อใหม่ว่า บ้านเหล่าป่าเป็ด (คือบ้าน เหล่าป่าเป็ดในปัจจุบัน)
ปัจจุบันชุมชนบ้านนาโสกได้มีการแบ่งการปกครองออกเป็น 4 หมู่ คือ บ้านนาโสกหมู่ที่ 1,3,13,14 มี จำนวนประชากรชายจำนวน 1,231 คน ประชากรหญิงจำนวน รวม 1,210 รวม 2,441 คน 657ครัวเรือน ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มและดอน เนื่องจากอยู่ระหว่างหุบเขาเหมาะในการปลูกพืชสวน อาทิ มันสำปะหลัง ไร่อ้อย และยางพารา และที่ราบเชิงเขาเป็นที่นากระจายอยู่โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามภูมิ
นิเวศน์ อาทิ นาม่อง นากกเปือย นาบ้าน นาโหโสก นาบ้านฮ้าง นาหนองก๊ะ นาอีเป้ นาอ้วน นาหนองตาบอด ซึ่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์เพราะมีลำห้วยและอ่างเก็บน้ำหลายแห่ง ด้วยความโดดเด่นทางด้านต้นทุนทาง ธรรมชาติโดยมีภูเขาล้อมรอบ อาทิ ภูหัวเมย ภูหินสิ่ว ภูถ้ำช้าง ภูยูง ซึ่งแต่ละภูเขาจะมีอัตลักษณ์เช่น ถ้ำ หน้า ผา หินซ้อน ลานหิน ซึ่งเป็นแหล่งหาอาหาร แหล่งต้นน้ำ และการใช้ประโยชน์ของด้านต่าง ๆ ชุมชนนาโสกมี วิถีวัฒนธรรมของชนเผ่าผู้ไทยที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ทั้งด้านภาษา การแต่งกาย ภูมิปัญญา ประเพณีและวิถี การดำเนินชีวิต ซึ่งในปี 2553 มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย มาร่วมศึกษาดูงาน ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ อะตอมมิคนาโน โดยนายถาวร เผ่าภูไทย เป็นผู้นำศูนย์เรียนรู้ฯ มีเป้าหมายเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับ การทำปุ๋ยอินทรีย์ การปลูกอยู่ปลูกกินในระบบอินทรีย์ ขณะนั้นสามารถเชื่อมกับผู้นำชุมชนได้ จึงมีการต่อยอด กิจกรรมให้เกิดการพักค้างคืนในชุมชน จึงได้มีความสนใจในการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านโฮมสเตย์มีการส่งผู้นำเข้า ร่วมอบรม ขณะนั้นนายชาย นาโสก ที่ดำรงตำแหน่งกำนันตำบลนาโสกเข้าร่วมกิจกรรม ต่อมาจึงได้คัดชุมชน นาโสกเป็นหมู่บ้านโฮมสเตย์เพราะผ่านเกณฑ์ที่ต้องมีโฮมสเตย์อย่างน้อย 10 หลังคาเรือน โดยเริ่มต้นมีชาวบ้าน ในชุมชนนาโสกสมัครใจร่วมกิจกรรม จำนวน 13 หลังคาเรือน จากนั้นก็เริ่มมีกลุ่มศึกษาดูงานจากต่างจังหวัด และจาก สปป.ลาว ในขณะเดียวกันชุมชนโฮมสเตย์ได้รับการส่งเสริมจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้เข้ามาอบรม แนะนำการดำเนินกิจกรรมโฮมสเตย์ โดยมีการเข้ามาตรวจประเมินมาตรฐานในแต่ละ ด้าน ในครั้งนั้นชุมชนนาโสกมีรูปแบบการจัดทำโฮมสเตย์ที่ส่งเสริมให้ผู้เข้าพักมีกิจกรรมร่วมกับชุมชนผ่านการ ซึมซับ เรียนรู้ในด้านวัฒนธรรมของชุมชนชาวผู้ไท อาทิ ช่วงเช้าจะมีกิจกรรมร่วมทำบุญตักบาตร ลงวัดจังหัน (การถวายภัตตาหาร) ช่วงเย็นเป็นการแสดงการละเล่น การฟ้อนรำ ผู้ไทรำวงสามัคคีย้อนยุค การเส็งกลองกิ้ง และรับประทานอาหารพื้นบ้าน และการเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวผู้ไทผ่านการกินอยู่นอนนำ โดยคิดราคาค่าที่พัก คืนละ 100 บาท ค่าอาหารเที่ยง 80 บาท ค่าอาหารเช้า 50 บาท ค่าอาหารเย็น 120 บาท การดำเนินการอย่าง ต่อเนื่องส่งผลให้ชุมชนได้รับรางวัลหมู่บ้านโฮมสเตย์ดีเด่น อีกทั้งกิจกรรมของชุมชนได้รับความร่วมมือจากภาค ส่วนราชการ อาทิ ในปี พ.ศ.2554 สมัยที่นายวิจิตร สายเชื้อ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเมืองมุกดาหาร ได้มา ร่วมงานในบุญเดือน 3 หรือ ประเพณีไขประตูเล้าของชุมชนบ้านนาโสก โดยมีการนำเสนอผ่านสื่อโทรทัศน์ช่อง ททบ.5 การร่วมประเพณีบุญกองข้าวของประธานหอการค้าจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งมีกิจกรรมเชิงการท่องเที่ยว คือการทำบุญตักบาตรรอบหมู่บ้าน+การร่วมบริจาคข้าวแล้วเทเป็นกองของชุมชน และมีการประกอบพิธีกรรม ทางศาสนา พิธีบายศรีสู่ขวัญ การร่วมรับประทานอาหารพื้นเมือง การรับชมการแสดงของลูกหลานเยาวชนผู้ ไท โดยเน้นการแต่งกายของผู้เข้าร่วมงานด้วยชุดผ้าฝ้ายพื้นเมือง นอกจากนี้ยังมีประเพณีบุญห่อข้าวประดับดิน บุญกฐิน บุญผ้าป่า ที่ดำเนินกิจกรรมผ่านประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนในช่วงปีใหม่ของทุกปีชาวบ้านในชุมชน นาโสกกว่า 100 คน จะรวมตัวกันจัดกิจกรรมเคาท์ดาวน์ปีใหม่หลังภูหินสิ่ว มีแนวคิดต่อยอดให้พื้นที่ดังกล่าวมี เส้นทางจักรยานเพื่อการท่องเที่ยวปั่นชมภูมิทัศน์ของชุมชน ส่วนการร่วมงานในกิจกรรมงานกาชาดประจำปี ของจังหวัดมุกดาหาร ทางชุมชนจะมีการจัดทำกิจกรรมวิถีภูไท มีการโชว์ผ้าฝ้ายพื้นเมือง การจำลองการแปร รูปการเข็นฝ้าย การร่วมกิจกรรมนิทรรศการฝ้าย 200 ปี โดยมีความโดดเด่นของฝ้ายตะหลุง ฝ้ายย้อมคราม ซึ่ง ชาวบ้านปลูกเอง แปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายในรูปแบบผ้าผู้ไท
ในภาพรวมของการขับเคลื่อนกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในอดีตได้เกิดการมีส่วนร่วมของบ้าน วัด โรงเรียน และเป็นต้นแบบให้กับภาคส่วนจังหวัดนำโมเดลไปใช้ในงานกาชาดในปี 2553 รูปแบบวิถี วัฒนธรรมของชุมชนได้ถูกสื่อสารและได้รับการยอมรับจากคนภายนอกชุมชน จนกระทั่งในปี 2555 เมื่อหมด วาระทางการเมืองของผู้นำชุมชน ทั้ง อบต.ผู้ใหญ่บ้าน ที่ขณะนั้นมีผู้ใหญ่บ้านเป็นเป็นประธานกลุ่มโฮมสเตย์ บ้านนาโสก จึงส่งผลให้เกิดความไม่ต่อเนื่องของการรับคนเข้าที่พัก การบริหารจัดการ ขาดการประชุมในกลุ่ม โฮมสเตย์ จนประสบปัญหาถึงความไม่คุ้มทุนในเวลาต่อมา ดังนั้น การดำเนินกิจกรรมของกลุ่มโฮมสเตย์ยังคงมี
การเข้าร่วมอบรม และรับการประเมินเพื่อการรักษาสถานภาพของโฮมสเตย์ ยังคงมีการจัดประเพณีวัฒนธรรม แต่ขาดความต่อเนื่องในการเชื่อมประสานภาคีจากภาครัฐ แต่ก็ได้ลดกิจกรรมการแสดงวัฒนธรรมส่วนอื่น ๆ เน้นแค่เพียงกิจกรรมทางศาสนาเป็นหลัก ไม่มีการต่อยอดการจัดกิจกรรมเชิงการท่องเที่ยวที่ต่อเนื่อง ใน ปัจจุบันการดำเนินงานต่าง ๆ ของชุมชนยังขาดการจัดการร่วมกันอย่างมีส่วนร่วมและเป็นระบบ จากการหารือ ร่วมกันของผู้มีส่วนร่วมในชุมชนนาโสกจึงมีข้อสรุปที่ต้องการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อฟื้นฟูการขับเคลื่อน กิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ดังนั้น จึงคาดหวังว่ากระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจะมีกระบวนการเข้ามา หนุนเสริม เปิดเวทีให้ชุมชนได้ร่วมกันแก้ปัญหา การฟื้นฟูการท่องเที่ยวโดยอาศัยวิถีชาวนาผ่านวิถีวัฒนธรรม ของชนเผ่าผู้ไท และนำต้นทุนทางทรัพยากรที่มีอัตลักษณ์ กลับมาสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน ดังนั้นจึงได้เกิด โครงการแนวทางการฟื้นฟูการท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่าผู้ไท บ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร นี้ขึ้นเพื่อหนุนเสริมให้ชุมชนได้กลับมาทบทวน ฟื้นฟูกิจกรรมต่าง ๆ เชิงการท่องเที่ยวให้ได้รับ การแก้ไขปัญหาอย่างถูกจุด เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เกิดพลังและปัญญาและส่งผลให้มีการพัฒนาให้เกิดความ มั่นคงและยั่งยืนในอนาคต
1.2 คำถามการวิจัย
“แนวทางการฟื้นฟูและหนุนเสริมการท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่าผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอ เมือง จังหวัดมุกดาหาร ทำได้อย่างไร”
1.3 วัตถุประสงค์โครงการ
1.) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ และบริบทชุมชนที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยววิถีชาวนาของคนผู้ไทนาโสก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
2.) เพื่อศึกษาสถานการณ์ สาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยววิถีชาวนาของคนผู้ไทนาโสก
3.) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยววิถีชาวนาของคนผู้ไทต้นแบบ
4.) เพื่อให้ได้แนวทางการฟื้นฟูการท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่าผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
1.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผลเชิงวิจัย
1) ได้รับทราบข้อมูลประวัติศาสตร์ และข้อมูลบริบทชุมชนที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยววิถีชาวนา ของคนผู้ไทนาโสก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
2) ได้รับทราบข้อมูลสถานการณ์ สาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยววิถีชาวนาของคนผู้ไท นาโสก
3) ได้เกิดองค์ความรู้และต้นแบบจากแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยววิถีชาวนาของคนผู้ไทต้นแบบ
ผลเชิงพัฒนา
1) ได้แนวทางการฟื้นฟูการท่องเที่ยววิถีชาวนาคนผู้ไทบ้านนาโสก
2) ได้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างคนในชุมชนนาโสก
3) ได้เกิดการสืบทอดประเพณีวัฒนธรรม และวิถีชาวนาระหว่างเด็ก เยาวชนจากปราชญ์ ผู้รู้ใน ชุมชน
4) สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน
5) เกิดการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนผู้ไทนาโสก
6) เกิดนักวิจัยชุมชนอย่างน้อย 15 คน
1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ
ผู้ไท เป็นชนเผ่าอีกชนเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ภูไท เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างบุคคลของชาวผู้ไท แนวทางการฟื้นฟู คือ การค้าหาวิธีรื้อฟื้นการท่องเที่ยวภายในชุมชน
การท่องเที่ยววิถีชาวนา คือ การเดินทางมาท่องเที่ยวในชุมชนนาโสกตามวิถีชีวิตของชาวนาที่มีการ ดำเนินชีวิตในรอบปี
รูปแบบการท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่าผู้ไท คือ ปฏิทินการท่องเที่ยวในแต่ละฤดูกาล ที่สัมพันธ์กับ ความเป็นชาวนาชนเผ่าผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
บทที่ 2
ข้อมูล แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาเรื่องแนวทางการฟื้นฟูการท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่าผู้ไท บ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมืองจังหวัดมุกดาหาร นักวิจัยได้ศึกษาจากเอกสารและการสืบค้นข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต โดยได้ รวบรวมเนื้อหา แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับดังนี้
2.1 แนวคิดการท่องเที่ยว
2.2 ชนเผ่าผู้ไท
2.3 การฟื้นฟู
2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 แนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน
พจนา สวนศรี (2546: 178-179) ได้ระบุว่า แนวคิดและต้นกำเนิดของคำว่า อีโคทัวร์ริซึม (ecotourism) มาจากประเทศตะวันตก มีการให้คำนิยามคำนี้หลากหลายขึ้นอยู่กับภูมิหลังของแต่ละคนหรือ สังคมที่ผู้เขียนหรือนักวิชาการคลุกคลีอยู่ โดยส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาที่คู่ไปกับการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในบริบทสังคมไทยที่คนกับธรรมชาติมีความผูกพันใกล้ชิดกัน แนวคิดนี้จึงเน้นบทบาทของคนและชุมชนมากขึ้น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ให้ความหมายการ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศไว้ว่า “การท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และ แหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศในพื้นที่ โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ การจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษา ระบบนิเวศอย่างยั่งยืน” ซึ่งมองว่าคนและชุมชนเข้าไปมีบทบาทในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในลักษณะของการ เข้าไปมีส่วนร่วมกับส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยมีแหล่งธรรมชาติเป็นฐาน
จากบทเรียนของการพัฒนาประเทศ โครงการพัฒนาหลายโครงการเป็นโครงการที่ดีแต่ไม่สามารถทำ ได้เนื่องจากมองที่โครงการเป็นตัวตั้งไม่ได้มองที่ประชาชน ดังนั้น การให้บทบาทและความสำคัญของประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมและรู้สึกเป็นเจ้าของ เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาที่ยั่งยืน ในส่วนขององค์กรประชาชน และ องค์กรพัฒนาเอกชน เห็นว่าหากจะให้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศยั่งยืนต้องมองที่ชุมชนเป็นศูนย์กลาง จึงเกิด แนวคิดเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชนขึ้น
“การท่องเที่ยวโดยชุมชน (community base sustainable tourism) คือการท่องเที่ยวที่คำนึงถึง ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม กำหนดทิศทางโดยชุมชน จัดการโดยชุมชนเพื่อชุมชน และ ชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของมีสิทธิในการจัดการดูแลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน ” โดยมองว่าการ ท่องเที่ยวต้องทำงานครอบคลุม 5 ด้าน พร้อมกัน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม โดยมีชุมชนเป็นเจ้าของและมีส่วนในการจัดการ
นอกจากนี้การท่องเที่ยวยังสามารถเป็นเครื่องมือในการพัฒนา โดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเงื่อนไขและ สร้างโอกาสให้องค์กรชุมชนเข้ามามีบทบาทสำคัญในการวางแผนทิศทางการพัฒนาชุมชนของตนในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนที่มีแนวโน้มว่าการท่องเที่ยวจะรุกคืบเข้าไปถึง หรือต้องการเปิดเผยชุมชนของตนให้
เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ให้มีการสร้างให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการวางแผน การบริหารจัดการทรัพยากร และกระจายอำนาจการตัดสินใจโดยเน้นความสำคัญของการจัดการธรรมชาติแวดล้อมและใช้การท่องเที่ยว เป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนไปพร้อมกัน
ในช่วง 2 - 3 ปี ที่ผ่านมาคำว่า "Community-based Tourism : CBT" การท่องเที่ยวที่ให้ชุมชน เป็นฐานการบริหารจัดการ "การท่องเที่ยวโดยชุมชน" เป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายๆ ความหมาย ความเข้าใจและประสบการณ์ ซึ่งการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นส่วนหนึ่งที่จะนำไปสู่การท่องเที่ยว อย่างยั่งยืนได้ เป็นเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การจัดการด้านโฮมสเตย์ ที่ต้องมี "ชุมชน" เป็น ส่วนประกอบสำคัญ
อ้างอิงข้อมูล รองคณบดี คณะพัฒนาการท่องเที่ยว ม👉าวิทยาลัยแม่โจ้
การท่องเที่ยวกลายเป็น"เครื่องมือ"ที่รัฐบาลให้ความสำคัญเนื่องจากมีความสำคัญต่อการสร้างรายได้ เพื่อพัฒนาประเทศอย่างมากและยังเป็นรายได้ที่เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ และมีการกระจายไปในหลาย ภาคอย่างค่อนข้างชัดเจน เช่นการเดินทาง ที่พัก การซื้อของที่ระลึก ภัตตาคาร ร้านค้าต่างๆ จึงมีการประกอบ กิจการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ขยายมากขึ้น เช่นการเพิ่มขึ้นของสถานที่พัก ทั้งโรงแรมขนาด 5 ดาว 4 ดาว ไปถึงที่พักแบบพื้นบ้านที่เรียกว่า โฮมสเตย์ การเพิ่มขึ้นของร้านอาหาร และ แหล่งบริการอื่นๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ และการขยายตัวไปในแทบทุก ภูมิภาคของไทย ก่อให้เกิดการตื่นตัวเพราะมองว่าเป็นเรื่องง่ายที่จะมีรายได้เพิ่มจากการท่องเที่ยว ที่เป็นผู้มา ซื้อสินค้าถึงที่ไม่ว่าจะที่ใดก็ตาม
แต่จากการที่ทรัพยากรการท่องเที่ยวมีจำกัดไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวทางด้านธรรมชาติ วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ซึ่งผู้ดูแลหรือเป็นเสมือนเจ้าของก็คือประชาชนที่อยู่ในชุมชนนั้นๆ ว่าจะมีการ บริหารจัดการการท่องเที่ยวได้อย่างไร เพราะทรัพยากรทุกอย่างต้องมีข้อจำกัดในการใช้ทั้งสิ้น อย่างไรคือการ ใช้อย่างยั่งยืน และเป็นไปได้หรือไม่ที่จะดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และควรทำอย่างไร เมื่อ "ชุมชน" กลายเป็น "สินค้า" หรือ "เครื่องมือ" ที่เป็นทั้งผู้กระทำ และผู้ถูกกระทำ ในขณะเดียวกันเป็นสิ่งที่ท้า ทายและละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง เสมือนกับการที่ต้องคำนึงถึงความรู้สึก ความยินดีของผู้เกี่ยวข้อง ทั้งยังเป็นผู้ที่ ถูกกล่าวอ้างถึงอยู่ตลอดเวลาในการที่รัฐบาลจะดำเนินการพัฒนาใดๆจึง "ต้องให้ความสำคัญต่อชุมชนในระดับ ต้นๆ และชุมชนต้องได้รับประโยชน์" อยู่เสมอ
เมื่อชุมชนมาเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวก็จะมีคำใหม่ๆเกิดขึ้น อาทิเช่น การท่องเที่ยวชุมชน การ ท่องเที่ยวโดยชุมชน การท่องเที่ยวผ่านชุมชน การท่องเที่ยวในชุมชน ก็ขึ้นอยู่กับนิยามแห่งการสื่อความหมาย ต่อคำดังกล่าว แต่ที่แน่นอนก็คือ "ชุมชน" เป็นสิ่งที่ต้องถูกกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และอย่างไรคือการ ท่องเที่ยวโดยชุมชน "Community Based Tourism : CBT " ที่เหมาะสมอันจะเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนา ด้านการท่องเที่ยวในชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรมและเห็นผล
การท่องเที่ยวโดยชุมชน : "Community-based Tourism : CBT"
"เป็นเรื่องของการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชนท้องถิ่นและผู้มาเยือน ในการที่จะดูแลรักษาทรัพยากร ด้านต่างๆ ของชุมชนที่มีอยู่แล้ว ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนให้เกิดความยั่งยืน อันเกิดจากการมี ส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน เพื่อประโยชน์แก่ชุมชน"
กระบวนการเรียนรู้ของ CBT : มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
- ศักยภาพของคน ต้องเริ่มที่คนในชุมชนที่จะต้องรู้จักรากเหง้าของตนเองให้ดีเสียก่อน เพื่อความ พร้อมในการบอกเล่าข้อมูลและคนในชุมชนต้องมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ มีความสามัคคี ทำงานร่วมกันได้
- ศักยภาพของพื้นที่ หมายรวมถึง ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ สืบสานต่อกันมา คนในชุมชนต้องรู้จัก ต้องรักและหวงแหนเห็นคุณค่าของทรัพยากรในชุมชนของตน สามารถ ที่จะนำมาจัดการได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน ทั้งนี้แล้วชุมชนต้องมีความพร้อมในการเรียนรู้ ตลอดจนมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องแนวคิด พื้นฐานทางด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน และการจัดการในพื้นที่ได้ด้วย
- การจัดการ เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักที่จะทำอะไร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืน สมดุลใน กลุ่มคนหมู่มาก ดังนั้นชุมชนที่จะสามารถบริหารจัดการ การท่องเที่ยวโดยชุมชน : " Community-based Tourism : CBT" ได้ต้องเป็นชุมชนที่มีผู้นำที่เป็นที่ยอมรับ มีความคิด มีวิสัยทัศน์ ความเข้าใจเรื่องการ ท่องเที่ยวโดยชุมชน ทั้งยังต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ต้องมีการพูดคุยกำหนด แนวทางในการเตรียมความพร้อมชุมชนรู้ว่าพื้นที่ของตนจะมีรูปแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้อย่างไร ควรมี กิจกรรมอะไรบ้าง และจะมีการกระจาย จัดสรรรายได้อย่างไร ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมานั้น สิ่งสำคัญที่สุดของ ชุมชนก็คือการมีส่วนร่วม อันหมายรวมถึง ร่วมในทุกๆสิ่ง ทุกอย่างเพื่อส่วนรวม
- มีส่วนร่วม มีได้อย่างไร การสื่อสารพูดคุย เป็นการสื่อความคิดเห็น การถกปัญหา รวมถึงการหาทาง แก้ไขปัญหาต่างๆจากการระดมความคิดจากประสบการณ์ของนักวิจัยท้องถิ่นพบว่าชุมชนจัดให้มีเวทีพูดคุย ร่วมกันคิดวางแผนดำเนินการ ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องในการทำงานร่วมกัน สร้าง กฎระเบียบของชุมชนทางด้านต่างๆเพื่อให้คนในชุมชนรวมถึงผู้มาเยือนปฏิบัติตาม
- ผลกระทบจากการทำการท่องเที่ยวโดยชุมชน : "Community-based Tourism : CBT" ทุกอย่างที่ดำเนินการย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งที่ตั้งอยู่ สิ่งแวดล้อมโดยรอบทั้งสิ้น ซึ่งมีผลกระทบด้านบวกและ ด้านลบ (วีระพล ทองมา2547:17-22 ) ได้แก่
1. ผลกระทบด้านบวก ส่งผลให้ชุมชนมีจิตสำนึกเกิดการพัฒนาตนเอง พึ่งพาตนเอง คิดเป็น ทำเป็น
มีความพยายามในการเรียนรู้พัฒนา เกิดรายได้เพิ่มขึ้นมีการรวมตัวกัน สร้างความเข้มแข็งในชุมชน นำไปสู่การ พัฒนาที่ยั่งยืน ตามความคาดหวังและความพยายามที่จะดำเนินการเพื่อให้เป็นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3 ด้าน ได้แก่
1) ด้านเศรษฐกิจ
2) ด้านสังคมวัฒนธรรม
3) สิ่งแวดล้อม และสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนคือการรวบรวมองค์ความรู้ ภูมิ ปัญญา สืบสานสืบทอด ตลอดจนการนำไปใช้ประโยชน์ได้ เกิดความรักความภาคภูมิในความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีส่วนร่วมในทรัพยากรของชุมชน และเกิดกระบวนการเรียนรู้การทำงานร่วมกันในที่สุด
2. ผลกระทบด้านลบ เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ จำนวนขยะที่เพิ่มมากขึ้นจากนักท่องเที่ยว การ ใช้น้ำ ระบบนิเวศธรรมชาติ การรับวัฒนธรรมที่เข้ามาอย่างรวดเร็ว เกิดกระแสการเลียนแบบ มีความขัดแย้ง ทางความคิด เสียความเป็นส่วนตัวในการที่จะต้องรองรับนักท่องเที่ยว และที่สำคัญคืออาจถึงกับสูญเสีย เอกลักษณ์ของท้องถิ่น หากมีการตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวมากเกินไป
ในส่วนการตลาดนั้นแต่ละชุมชนจะต้องให้ข้อมูลแนะนำชุมชนตนเองและชุมชนอื่นที่ถูกต้องและ น่าสนใจแก่นักท่องเที่ยว และที่น่าภูมิใจสำหรับชุมชนคือ การรักษ์และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาบรรพบุรุษที่สืบต่อกันมา แต่ชุมชนไม่ได้ละทิ้งพื้นฐานเดิม หรือปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไปตาม กระแสวัฒนธรรม และไม่ได้มุ่งหวังรายได้จากการท่องเที่ยวที่จะได้ให้เป็นรายได้หลักของชุมชนโดยละทิ้งอาชีพ ดั้งเดิมที่จะเป็นการที่จะปรับตัวเพื่อรองรับกระแสการท่องเที่ยวที่เข้าไปในชุมชน
หลักการทำงานการท่องเที่ยวโดยชุมชน
จากแนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่มองชุมชนเป็นศูนย์กลางหรือฐานเพื่อกำหนดทิศทาง แผนงาน แผนปฏิบัติการของตนเองโดยดำเนินการพร้อมกันทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สัง คม วัฒนธรรม และ สิ่งแวดล้อมนั้น จึงทำให้กิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาแบบองค์รวมและเกี่ยวกับ กลุ่มคนต่างๆ มากมาย เมื่อมองในบริบทของการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ต้องการให้ชุมชนมีส่วนร่วมและได้ ประโยชน์จากการท่องเที่ยวจึงควรต้องมีหลักการร่วมกัน ดังนี้
1. การท่องเที่ยวโดยชุมชนต้องมาจากความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ชุมชนได้มีการพินิจ พิเคราะห์สภาพปัญหา ผลกระทบการท่องเที่ยวอย่างรอบด้านแล้ว ชุมชนร่วมตัดสินใจลงมติที่ จะดำเนินการ ตามแนวทางที่ชุมชนเห็นสมควร
2. สมาชิกในชุมชนต้องมีส่วนร่วมทั้งการคิดร่วม วางแผนร่วม ทำกิจกรรมร่วม ติดตามประเมินผล ร่วมกัน เรียนรู้ร่วมกันและรับประโยชน์ร่วมกัน
3. ชุมชนต้องการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เป็นชมรม เป็นองค์กร หรือจะเป็นองค์กรชุมชนเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่นกัน องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ก็ได้ เพื่อกลไกที่ทำหน้าที่แทนสมาชิกทั้ งหมดในระดับหนึ่ง และ ดำเนินการด้านการกำหนดทิศทาง นโยบายการบริหาร การจัดการ การประสานงาน เพื่อให้การท่องเที่ยวโดย ชุมชนเป็นไปตามเจตนารมณ์ของสมาชิกในชุมชนที่เห็นร่วมกัน
4. รูปแบบ เนื้อหา กิจกรรม ของการท่องเที่ยวโดยชุมชน ต้องคำนึงการอยู่ร่วมกันอย่างมีศักดิ์ศรี มี ความเท่าเทียมกัน มีความเป็นธรรม และให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และ วัฒนธรรมในเชิงสร้างสรรค์และลดผลกระทบในเชิงลบ
5. มีกฎ กติกาที่เห็นร่วมจากชุมชน สำหรับการจัดการท่องเที่ยวที่ชัดเจน และสามารถกำกับดูแลให้ เป็นไปตามกติกาที่วางไว้
6. ชุมชนที่จัดการท่องเที่ยว สมาชิกในชุมชน ชาวบ้านทั่วไปและนักท่องเที่ยว ควรมีกระบวนการ เรียนรู้ระหว่างกันและกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการทำงานการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้ ถูกต้องเหมาะสม และมีความชัดเจน
7. การท่องเที่ยวโดยชุมชน จะต้องมีมาตรฐานที่มาจากข้อตกลงร่วมภายในชุมชนด้วย เช่น ความ สะอาด ความปลอดภัย การกระจายรายได้ที่เป็นธรรมของผู้ที่เกี่ยวข้อง และพิจารณาร่วมกันถึงขีด ความสามารถในการรองรับ
8. รายได้ที่ได้รับจากการท่องเที่ยว มีส่วนไปสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและรักษาสิ่งแวดล้อม
9. การท่องเที่ยวจะไม่ใช่อาชีพหลักของชุมชน และชุมชนต้องดำรงอาชีพหลักของตนเองไว้ได้ ทั้งนี้ หากอาชีพของชุมชนเปลี่ยนเป็นการจัดการท่องเที่ยว จะเป็นการทำลายชีวิตและจิตวิญญาณดั้งเดิมของชุมชน อย่างชัดเจน
10. องค์กรชุมชนมีความเข้มแข็งพอที่จะจัดการกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ และพร้อมจะหยุดเมื่อ เกินความสามารถในการจัดการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้หากมองในแง่ความพร้อมของชุมชนและประสิทธิภาพในการ บริหารจัดการท่องเที่ยวในมิติของชุมชนแล้ว การท่องเที่ยวโดยชุมชนจะเป็นไปได้ด้วยดีนั้นยังต้องพิจารณาจาก มิตินอกชุมชนที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยได้แก่ การตลาด นโยบายรัฐที่เข้ามาสนับสนุน และพฤติกรรมของ นักท่องเที่ยว เป็นต้น
กระบวนการทำงานเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยว
หากชุมชนมีความพร้อมมีปัจจัยเอื้ออำนวยต่อการเข้ามีบทบาทจัดการการท่องเที่ยวแล้วนั้น ผู้นำ ชุมชนและแกนนำที่หลากหลาย ตัวแทนกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน เช่น กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่ม สหกรณ์การเกษตร ฯลฯ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น องค์การบริการส่วนตำบล เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ครูอาจารย์ใน โรงเรียน เป็นต้น ร่วมกันประชุมสัมมนาเพื่อสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งเ ป็นการผนึก กำลังความคิดสร้างสรรค์ ประสานแนวคิดของทุกคนให้เห็นเป็นภาพเดียวกัน ในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และนำวิสัยทัศน์ที่ได้มากำหนดเป็นเป้าหมาย เป็นทิศทางของการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน ระยะต่อไป ดังที่พจนา สวนศรี (2546: 185-188) ได้กล่าวไว้ว่า
ที่มา https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&cad=rja&uact=8&ved=0ahUKEwjqjuirzu_XAhVEaVAKHRRkBkkQF ggmMAA&url=http%3A%2F%2Fwww.dnp.go.th%2Ffca16%2Ffile%2Fi49xy4ghqzsh3j1.doc&usg=AOvVaw3Ah0rXVDi1SR3KaRbnsD24
ทีมวิจัยสรุปได้ว่า “การท่องเที่ยวโดยชุมชน” เป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน โดยใช้การท่องเที่ยว เป็นเงื่อนไขและสร้างโอกาสให้องค์กรชุมชนเข้ามามีบทบาทสำคัญในการวางแผนทิศทางการพัฒนาชุมชนของ ตนในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนที่มีแนวโน้มว่าการท่องเที่ยวจะรุกคืบเข้าไปถึง หรือต้องการเปิ ดเผย ชุมชนของตนให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ให้มีการสร้างให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการวางแผน การบริหาร จัดการทรัพยากรและกระจายอำนาจการตัดสินใจโดยเน้นความสำคัญของการจัดการธรรมชาติแวดล้อมและใช้ การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนไปพร้อมกัน
2.2 ชนเผ่าผู้ไท
ชนเผ่าภูไท หรือ ผู้ไท (Phutai) ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวภูไทเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทย และแค้นสิบ สองปันนา (ดินแดนส่วนเหนือของลาวและเวียดนาม ซึ่งติดต่อกับส่วนใต้ของประเทศจีน) ราชอาณาจักไทยได้ สูญเสียดินแดนแค้วนสิบสองจุไทยให้ฝรั่งเศส เมื่อ ร.ศ. 107 (พ.ศ. 2431) ภูไท มีถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัด นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร สกลนคร และบางส่วนกระจายอยู่ในเขตจังหวัดหนองคาย อำนาจเจริญ อุบลราชธานี อุดรธานี ร้อยเอ็ด และยโสธร เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่รักษาวัฒนธรรมของตนไว้ได้อย่างดี
การแต่งกาย
ผู้ชายนิยมนุ่งกางเกงขาก๊วย สีดำหรือนุ่งโสร่งตาหมากรุก เสื้อใช้ผ้าสีครามหรือดำชนิดเดียวกับกางเกง สวมเสื้อคอกลมแคบชิดคอหรือคอจีน ตัวเสื้อผ่าอกตลอด ชายเสื้อผ่าข้าง จะเป็นแขนยาวหรือแขนสั้นก็ได้ มีผ้า คาดเอว และโพกศีรษะ ผู้ชายโบราณมักนิยมสักแขนขา ลายด้วย หมึกสีดำ แดง ถือเป็นเครื่องรางและ แสดงออกถึงความเป็นชายชาตรี
ผู้หญิง นิยมนุ่งผ้าซิ่นที่ทำจากผ้า ซึ่งลักษณะเด่นของซิ่นภูไท คือ การทอและลวดลายเช่น ทอเป็นลาย นาคเล็ก ๆ นอกจากนี้มีลายอื่น ๆ เช่น หมี่ปลา หมี่กระจัง หมี่ข้อ หมี่ขอ ทำเป็นหมี่คั่นหรือหมี่ลวด ต่อด้วยหัว ซิ่นและตีนซิ่นทั้งขิดและจก นอกจากนี้ยังพบผ้ามัดหมี่ฝ้ายสีขาวสลับดำย้อมใบครามหรือมะเกลือสีดำ เย็บต่อ ด้วยหัวซิ่นตีนซิ่น
สตรีชาวภูไทมักสวมเสื้อแขนกระบอก คอตั้งแบบเสื้อคอจีน ติดกระดุมกะลา กระดุมเงิน หรือเหรียญ สตางค์ เช่น เหรียญสตางค์ห้า สตางค์สิบ มาติดเรียงเป็นแถว ตัวเสื้อนิยมใช้ผ้าย้อมครามเข้มหรือสีดำ บาง ท้องที่นิยมตกแต่งสาบเสื้อด้วยผ้าลวดลายต่าง ๆ ตกแต่งไว้อย่างสวยงาม นิยมสวมเครื่องประดับที่ทำด้วยเงิน หรือทอง หญิงภูไททุกคนไม่ว่าสาวหรือแก่ไว้ผมยาวเกล้ามวยสูง มีปิ่นหรือลูกประคำประดับที่มวยผม สำหรับ ชาวภูไทในจังหวัดกาฬสินธุ์ อุดรธานี ร้อยเอ็ด และมุกดาหาร นิยมใช้ผ้ามนหรือแพรมน (แพรฟอย) ทำเป็นผ้า สี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ม้วนผูกมวยผม
เครื่องประดับของชาวภูไท สวมสร้อยคอ สร้อยข้อมือ ข้อเท้า(ก้องแขน-ก้องขา) ด้วยโลหะเงิน ทอง หรือนาก
เครื่องนุ่งห่ม ชาวภูไทเป็นเผ่าที่ทำเครื่องนุ่งห่ม โดยเฉพาะผ้าห่มจนเหลือใช้ (แม้กระทั่งในปัจจุบัน ชาวภูไทก็ยังทำผ้าห่มไว้มาก แขกมาเยี่ยมมาพักมีให้ห่มอย่างพอเพียง) ส่วนเสื้อผ้าก็พอมีใช้ไม่ฟุ่มเฟือย แต่ไม่ ขัดสน ด้วยฝีมือความสามารถของตนเอง ซึ่งบางอย่างสวยงามมีศิลปะ ในอดีตนั้นวัสดุในการผลิตผ้าหามาเอง โดยการปลูกบ้าง เอาจากที่มีอยู่ตามธรรมชาติบ้าง โดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ จนเป็นเครื่องนุ่งห่มล้วนหามา เอง ทำขึ้นเองทั้งสิ้น เช่น ฝ้าย เริ่มตั้งแต่การปลูก จนถึงขั้นทอเป็นผ้า ล้วนแต่ทำเอง ในปัจจุบันนี้มีโรงงานที่ ทันสมัยที่ผลิตวัสดุที่จะทำเครื่องนุ่งห่มแล้ว ราคาไม่แพง สี ลวดลาย แบบ มีให้เลือกมากมาย
ผ้าห่ม (จ่อง) ผ้าห่มผืนเล็ก ๆ เป็นวัฒนธรรมของกลุ่มพื้นเมืองอีสาน ใช้สำหรับห่มแทนเสื้อกันหนาว ใช้คลุมไหล่ เช่นเดียวกับกลุ่มไท–ลาว ที่นิยมใช้ผ้าขาวม้าพาดไหล่ ผ้าห่มของกลุ่มชนต่าง ๆ ในเวลาต่อมาทำให้ มีขนาดเล็กลง ทำเป็นผ้าสไบ และเป็นส่วนประดับแทนประโยชน์ใช้สอย เดิมคือห่มกันหนาว หรือปกติปิด ร่างกายส่วนบนโดยการห่มทับเสื้อ นอกจากนี้ยังมีผ้าแพรวา ซึ่งมีแหล่งใหญ่ที่บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัด กาฬสินธุ์ นับเป็นผ้าจ่องที่สวยงามหาชมได้ยากในปัจจุบันนอกจากผ้าจ่องแล้ว ชาวภูไทยังมีลายผ้า ซึ่งใช้เป็นผ้า กั้นห้องหรือใช้ห่มแทนเสื้อกันหนาวหรือต่อกลางสองผื่นเป็นผ้าห่มขนาดใหญ่พอสมควร
วัสดุที่ใช้ในการทำเครื่องนุ่งห่ม วัสดุที่ใช้ทอผ้าก็มีฝ้ายเป็นหลัก และไหม สีย้อมผ้าก็เป็นสีที่ได้จาก ธรรมชาติ และสีที่ชาวภูไทชอบใช้มากที่สุด คือ สีดำที่ได้จากต้นคราม การใช้ผ้าของชาวภูไทในอดีตนั้นผ้าบาง ชนิดก็มีกาลเทศะในการใช้ เช่น "ผ้าจ่อง" เป็นผ้าที่ทออย่างดี สีย้อมด้วยครั่ง จะใช้คลุมหีบศพ (ผู้มั่งมี) ผ้าสี่เหา ก็ใช้คลุมหีบศพได้เช่นกัน เสื้อผ้าที่ตัดเย็บใหม่ๆ เรียกว่า "ส้งเอาบุญ" หรือ "ชุดเอาบุญ" จะไม่ใส่เล่นจะเก็บไว้ ในหีบอย่างดีพอมีงานบุญจะเอาออกมาใช้ โสร่งไหมเป็นผ้าชั้นดีหายาก จะมีเฉพาะผู้ที่มีภรรยาหรือแม่ที่เลี้ยง ไหม หรือผู้ที่มีฐานะดีสามารถนุ่งไปจีบสาวได้ เวลานั่งใกล้สาวจะถลกโสร่งขึ้นเลยเข่าอวดขาลาย หากเมื่อสมัย 60 ปีก่อน บ่าวใดมีขาลายผู้สาวจะรักมาก ส่วนผ้าขาวม้าเป็นผ้าอเนกประสงค์
ความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องนุ่งห่ม จะเห็นแต่ผ้าคลุมหีบศพ เมื่อหามศพลงเรือนผ้าคลุมหีบจะปลดออกไว้ ใช้ต่อไป ก่อนจะนำมาใช้จะมีพิธีโยนผ้าก่อน ในปัจจุบันการโยนผ้าก็ยังปฏิบัติกันอยู่ และนอกจากนี้ประเพณี ของชาวภูไทเกี่ยวกับเครื่องนุ่งห่ม 4 อย่างนี้ คือ ผ้าห่ม ที่นอน หมอน ผ้าขาวม้า หญิงสาวชาวผู้ไทยต้องจัดสร้าง
ขึ้นมาไว้มาก ๆ เมื่อหนุ่มมาขอแล้วฝ่ายสาวต้องเร่ง ส้างเคิ้ง คือ สร้างเครื่องนุ่งห่มนั่นเอง ในปัจจุบันนี้ก็ยังยึดถือ ประเพณีนี้อยู่ เพียงแต่ว่าหญิงสาวทุกวันนี้ต้องเรียนหนังสือ หรือไปทำงานต่างถิ่นไม่มีเวลาทำ เมื่อใกล้จะ แต่งงาน อาจจะให้ญาติๆ ช่วยทำ หรือซื้อสำเร็จรูป
ลักษณะทางสังคม
ชาวภูไทเป็นกลุ่มชนที่มีความขยัน อดออม และมีวัฒนธรรมในเรื่องการถัก–ทอ เด่นชัด จึงปรากฏ เสื้อผ้าชนิดต่าง ๆ ทั้งผ้าฝ้าย ไหม ในกลุ่มชาวภูไท เช่น ผ้าแพรวา ในปัจจุบัน เป็นผ้าที่ผลิตยากใช้เวลานาน มี ความสวยงาม จึงนับว่าชนกลุ่มนี้มีวัฒนธรรมเรื่องเสื้อผ้าเด่นชัดมาก โดยเฉพาะการทอผ้าซิ่นหมี่ ตีนต่อ เป็นตีน ต่อขนาดกว้าง 4-5 นิ้ว (มือ) เรียกว่า "ตีนเต๊าะ" เป็นที่นิยมในกลุ่มภูไททอเป็นหมี่สาด หมี่หม้อย้อมคราม จน เป็นสีครามแก่เกือบเป็นสีดำ ชาวบ้านมักเรียก "ผ้าดำ" หรือ "ซิ่นดำ"
วิถีชีวิตของชาวภูไท
ความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัวภูไท ก็เหมือนกับครอบครัวไทยทั่ว ๆ ไป คือ ในครอบครัวก็จะมี พ่อเป็นใหญ่ที่สุด รองลงมาคือ แม่ พี่คนโต และรองลงไปตามลำดับ ในอดีตเมื่อ 40 ปีก่อน สังคมภูไทได้ให้ ความสำคัญต่อผู้เป็นสามีมาก ในปัจจุบันก็ยังให้ความนับถืออยู่ เพียงแต่ลดพฤติกรรมบางอย่างลงไป เช่น การ สมมาสามีในวันพระ บางคนไม่ได้ทำเลยโดยเฉพาะภรรยารุ่นใหม่ แต่จะสมมาสามีตอน "ออกคำ" (ออกจาก การอยู่ไฟใหม่ๆ) เหมือนในอดีตเพราะสามีเป็นผู้ลำบากทุกข์ยาก อดตาหลับขับตานอน ตักน้ำหาฟืนดูแลภรรยา ที่อยู่คำ (การอยู่คำภาษาลาวจึงเรียกว่า "อยู่กรรม")
การกินข้าว แต่ก่อนต้องพร้อมกัน เมื่อทุกคนนั่งวงล้อมนาข้าวแล้ว ให้สามีเริ่มก่อนเดี๋ยวนี้ลดลง เพราะ ต่างมีธุระลูกก็รีบไปโรงเรียน สามีก็ติดธุระก็อนุญาตลูกเมียกินก่อน นาน ๆ เข้าก็เลยถือเป็นเรื่องธรรมดาไป แต่ ก็มีแบบเดิมให้เห็นอยู่ไม่มากการเปลี่ยนแปลงนี้เริ่มมีมาประมาณ 30 ปีมาแล้ว
การสืบสายตระกูล
ชาวภูไทส่วนใหญ่ผู้ชายจะเป็นหลักในการสืบสายตระกูล ในการสืบมรดกนั้นในอดีตมักจะให้ผู้ชาย เพราะถือว่าลูกผู้หญิงต้องไปสร้างกับสามี ลูกชายคนที่จะได้มรดกมาก แบ่งดังนี้
1. พี่จะได้มากกว่าน้อง คือ "อ้ายเอาสอง น้องเอาหนึ่ง" เพราะมรดกต่าง ๆ เช่น ที่นา ถือว่าพี่เป็นคน ช่วยพ่อทำมากกว่าน้อง นอกจากนี้พี่ยังเป็นคนเลี้ยงน้องด้วย
2. ผู้ที่รับภาระเลี้ยงดูพ่อแม่มาก ย่อมได้มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นพี่หรือเป็นน้อง ถ้าเป็นผู้ดูแลพ่อแม่จนพ่อ แม่ตาย มรดกส่วนที่ยักไว้ของพ่อแม่ย่อมเป็นของผู้ที่เลี้ยงดูนั้น (พ่อแม่มักอยู่กับลูกชายมากกว่าอยู่กับ ลูกสาว ทั้งในอดีตและปัจจุบัน) มีการให้มรดกแก่ลูกสาวอีกวิธีหนึ่ง คือ การ "กาวลำชาย" (กล่าวเอา ว่าเป็นลูกชาย ) คือ ในกรณีที่ลูกสาวแต่งงานออกเรือนไปอยู่กับสามี แล้วเกิดตกทุกข์ได้ยาก ผู้เป็นพ่อ ก็เอามา "กาวลำชาย" ให้รับมรดกได้ "การกาวลำชาย" นั้นจะกล่าวตอนที่หญิงสาวแต่งงาน โดยแจก ไม้ขีดไฟให้ "เท้าอ้ายเท้าน้อง" (ผู้เฒ่าผู้แก่ฝ่ายพ่อ) และบรรดาเขยทั้งหลาย แล้วประกาศให้ทราบว่า "นาง... ต่อไปนี้จะกล่าวถือว่าเสมือนเป็นลูกชาย...ให้ญาติพี่น้องรับทราบไว้" เมื่อกล่าวแล้ว นาง...ก็มี สิทธิรับมรดกจากพ่อ และบางคนเมื่อถูกกล่าวลำชายแล้วหันมาใช้นามสกุลของพ่อก็มี ในปัจจุบันนี้
การสืบสายตระกูลสืบมรดก ลูกทุกคนมีสิทธิได้รับแบ่งเท่าเทียมกันแต่จะยักไว้ "พูดพ่อแม่" (ส่วนของ พ่อแม่) ไว้ให้ผู้ที่เลี้ยงพ่อแม่จนตาย
ขนาดครอบครัว ในอดีตยังไม่มีการวางแผนครอบครัว ทำให้ครอบครัวมีขนาดใหญ่ บางครอบ ครัวมี ลูกตั้ง 10-12 คน ใครมีลูกมากยิ่งดีจะได้ "กินแฮง" (กินแรง) ลูกคือจะมีผู้มาเลี้ยงดู เวลามีการแต่งงานจะมีการ ให้พรคู่บ่าวสาวว่า "...เฮ่อได้ลุเต๋มบ้านเฮ๋อได้หลานเต๋มเมิง..." (ให้ได้ลูกเต็มบ้าน ให้ได้หลานเต็มเมือง) แต่ใน ปัจจุบันเมื่อมีการรณรงค์การคุมกำเนิด บางครอบครัวก็มีลูก 2 คน หรือ มีแค่คนเดียว
ครอบครัวเดี่ยว ครอบครัวขยาย ในสมัยก่อน 30 ปีมาแล้ว ผู้ที่แต่งงานแล้วจะอยู่กับพ่อแม่ หรือ พ่อตาแม่ยายเสียก่อน ชั่วระยะ 2-3 ปี แล้วจึงค่อยแยกครอบครัวออก แต่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลง คือ พอแต่งงาน อยู่กับพ่อแม่ชั่วระยะเดี๋ยวเดียวก็ออกไปนั้น จะแยกกล่าวดังนี้
ลูกชาย ในสมัยก่อนเมื่อลูกชายแต่งงานแล้วต้องอาศัยอยู่กับพ่อก่อน เพราะต้องพึ่งพ่อแทบทุกอย่าง เงินทองก็ต้องอาศัยพ่อแม่ เวลาที่จะออกเรือนแยกไปไม่แน่นอน หากน้องชายแต่งงานเร็วพี่ชายก็จะแยกเรือน ออกไปเร็ว เดี๋ยวนี้เปลี่ยนไปลูกชายก็เลยหาเงินเอาเอง สร้างฐานะได้ไว จึงแยกครอบครัวได้ไว
ลูกเขย ไม่มีใครอยากจะ "ซูพ่อเฒ่า" เลยเพราะทุกข์ยากทั้งกายและใจ สำรวมทุกอิริยาบถ ต้อง "คะ ลำ" หลายอย่างทำงานสารพัด จนมีคำพูดว่า "เล็กอยู่เฮินว้าเขย" (เหล็กอยู่เรือนเรียกว่า พร้า ข้าอยู่เรือน เรียกว่า เขย) เสมือนว่าเขย คือขี้ข้าคนหนึ่งในเรือนความทุกข์ยากของเขยชูพรรณนาไว้เป็นผญาอีสานดังนี้
" เป็นเขยนี้ทุกข์ยากหัวใจ เฮ็ดแนวใดย่านแต่เพิ่นว่า (ทำอะไรกลัวแต่ท่านว่า)
สานกะต่ากะด้งกะเบียน อยู่ในเฮือนมุมุบมุม้าย (อยู่ในเรือนแบบเจียมตัว ก้ม👉น้าอยู่)
บ่ว่าฮ้ายมันแม่นอีหลี (ไม่ได้ใส่ความ เพราะมันเป็นความจริง) แต่หัวทีเกินอุกเกินอั่ง (ใน👉ัวคิดมีแต่ความกลัดกลุ้ม) นั่งบ่อนใดย่านแต่ผิดแม่เฒ่า (นั่งตรงไ👉นกลัวแต่ผิดแม่ยาย) ชาวมือกะบ่ติง (20 วันก็ไม่ไ👉วติง (อยู่อย่างเจียมตัว)) เถิงบาดยามกินข้าวสองสามคำกะพัดอิ่ม (ยามกินข้าว 2-3 คำก็อิ่ม) ชิมอันนั้นอันนี้หนี้จ้อยบ่อยู่คน (ชิมถ้วยนั้นถ้วยนี้👉นีไปไม่อยู่นาน) ฝูงหมู่คนกินข้าวนำกันก็เหลียวเบิ่ง (ฝูง👉มู่คนกินข้าวด้วยกันก็เ👉ลียวดู)
ส่งบาดยุ้มบาดแย้มแนมเจ้าว่าจังใด (ส่งยิ้มเป็นนัยๆว่าเจ้าเขยเป็นอย่างไร ละอาย👉รือเปล่า)"
ในปัจจุบันนี้เขยชูประเภทที่ออกเรือนได้ จะออกเรือนเร็วกว่าอดีต เพราะหาเงินหาทองเพื่อสร้างฐานะ ได้เร็วกว่าอดีต ถึงแม้จะมีการชูพ่อเฒ่า พ่อเฒ่าก็หัวสมัยใหม่ พยายามทำให้ลูกเขยอยู่อย่างสบายใจเป็นกันเอง สำหรับฮีตสำคัญก็ยังปฏิบัติอยู่ เช่น ห้ามกระทำบางอย่างบนบ้านพ่อตา เช่น ลับพร้า ขัดฝักพร้า ดีด สี ตี เป่า ร้อง รำ ทำเพลง จับมือถือแขนน้องสาวภรรยายังห้ามทุกกาลเทศะ
บทบาทของสมาชิกครอบครัว บทบาทของสมาชิกในครอบครัวนั้นจะแตกต่างกันไปดังนี้
ผู้ที่เป็นสามี บทบาทต่อครอบครัว มีบทบาทในการเป็นผู้นำครอบครัว ต้องเป็นคนขยันทำมาหา กิน "เฮ่อตืนดึ้กลุกเช้า" (ให้ตื่นดึก ลุกเช้า) "ตื่นมื้อเช้าเฮ้อได้ 9 ทางหยาม" (ตื่นเช้าให้ได้ 9 ทางไปหาอยู่หา
กิน หาเงินหาทอง) ไม่เป็นคนละเลย ไม่นิ่งดูดาย "มีเฮ่อก้มหน้าอยู่ด๋ายหงายตาอยู่เบา" (ไม่ให้ก้มหน้าอยู่ดาย หงายตาอยู่เปล่า) ไปนั่นมานี่ให้รู้จักมองหาสิ่งที่จะเป็นประโยชน์แล้วนำมาใช้ คือ "ไป๋ด๋งอย่าได้มาเปา ไปเลา อย่าได้มาด๋าย เฮ่อฮักไม้ต๋ายมาแก้งก้นหม้อ" (ไปดงอย่ามาเปล่า ไปเหล่าอย่ามาดาย ให้หักไม้ตายมาชำระก้น หม้อ คือ เอามาเป็นฟืน)
ให้เป็นคนมีความเพียร ประกอบสิ่งใดก็ทำให้สำเร็จ คือ "มุดน้ำมิเฮ่อเอ็ดก้นฟู จกฮูมิเฮ่อเอ็ดมือ สั้น" (ดำน้ำอย่าให้ก้นฟู ล้วงรูอย่าทำมือสั้น) เหล่านี้ล้วนเป็นคำสั่งสอนของผู้เฒ่าผู้แก่ตั้งแต่โบราณนานมา ทุก วันนี้ก็ยังใช้อยู่ โดยเฉพาะจะสอนเน้นในตอนผู้จะเป็นเจ้าบ่าวตอนเข้าพิธีแต่งงาน นอกจากนี้ยังต้องดูแลให้ ความคุ้มครองแก่ภรรยาและบุตร คือ ปฏิบัติตนเป็นสามีที่ดีภรรยา เป็นพ่อที่ดีแก่บุตร ตามหลักธรรมคำสอน ของพระพุทธศาสนา ให้สมกับเป็นช้างเท้าหลัง
บทบาทต่อบุพการี ต้องให้ความเคารพ ให้การดูแลเอาใจใส่ให้การเลี้ยงดูพ่อแม่ของตนเองสมเองกับ เป็นลูกที่ดี พ่อแม่ของภรรยา คือ พ่อตาและแม่ยาย ยิ่งให้ความยำเกรงเป็นพิเศษในอดีตถึงขั้นเอาผีเรือนมาว่า เลย ถ้าเขยทำไม่ดีไม่งามจะผิดผีเรือน ต้อง "เม๋อ" (ปรับไหม) สิ่งที่เขยทำแล้วผิดนั้นเป็นการกระทำที่บ้านพ่อตา เช่น ห้ามลับพร้า ใส่หมวก ขัดมีดขัดฝักพร้า ร้องรำทำเพลง ดีดสีตีเป่า เดินเตะเตี่ยวลอยชาย (นุ่งผ้าขาวม้าไม่ เหน็บชาย) ใส่รองเท้าย่ำบนบ้าน จับมือถือแขนน้องสาวภรรยา ละลาบละล้วงกระด้างกระเดื่องต่อฝ่ายพ่อตา มี คำสอนอยู่ว่า "เซ้อพ้อแม้ลุงต๋า โต๋ท้อก้อย น้อยท้อทู เฮ่อเคารพย๋ำแหยง" (เชื้อสายทางพ่อตาตัวเท่านิ้วก้อย น้อยเท่าไม้ตะเกียบ ให้เคารพยำเกรง) ในปัจจุบันนี้ที่กล่าวมาทั้งหมดก็ยังถืออยู่ เพียงแต่ไม่ค่อยจะอ้างผี (ข้อ ห้ามเหล่านี้ที่จริงก็เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมทั้งนั้น)
บทบาทของภรรยาต่อครอบครัว ถึงแม้ภรรยาจะเป็นผู้ "อยู่กับเหย้า เฝ้ากับเฮิน" (อยู่กับเหย้า เฝ้ากับ เรือน) แต่รับภาระหนัก เช่น เลี้ยงลูก หุงหาอาหาร ตักน้ำตำข้าว "น้ำมิเฮ่อฮาดแอ่ง แกงมิเฮ่อฮาดหม้อ" (น้ำ ไม่ให้ขาดแอ่ง แกงมิให้ขาดหม้อ) ซักเสื้อผ้าเก็บกวาดเหย้าเรือน จัดหาเครื่องนุ่งห่มตั้งแต่ อิ้วฝ้าย ปั่นฝ้าย ทอผ้า ตัดเย็บ(ด้วยมือ) จนสำเร็จเป็นเครื่องนุ่งห่มได้ ยังไปช่วยงานสามีนอกบ้านด้วย เช่น งานไร่งานสวน ทั้งยังต้อง ปรนนิบัติพ่อปู่แม่ย่าอีก ในปัจจุบันนี้ก็ยังเหมือนเดิม แต่มีเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คือ ภรรยาบางคนก็ออกไป ทำงานนอกบ้านเทียบเท่าสามี โดยฝากการเลี้ยงดูลูกให้กับปู่ ย่า ตา ยาย สาเหตุการเปลี่ยนแปลงก็เนื่องมาจาก สภาวะเศรษฐกิจรัดตัว ถ้าปล่อยแต่สามีหาเลี้ยงครอบครัวก็คงจะลำบาก
บทบาทต่อชุมชน ในอดีตภรรยาไม่ค่อยจะมีบทบาทต่อชุมชน เพราะได้รับการอบรมสั่งสอนให้รู้หน้าที่ แม่บ้าน ให้อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปตามภาวะเศรษฐกิจและสังคม ถ้าขลุกแต่ในบ้านก็ จะไม่ทันสมัย หูไม่กว้าง ตาไม่ไกล บางครั้งก็เสียผลประโยชน์ต่อครอบครัวด้วย เช่น การเป็นกลุ่มสมาชิกกลุ่ม แม่บ้านต่าง ๆ การเข้าร่วมพัฒนาหมู่บ้าน การเข้ารับการอบรมความรู้ด้านต่าง ๆ เป็นต้น
บทบาทต่อบุตร ภรรยาจะเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับลูกมากกว่าสามี เพราะเป็นผู้เลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด ดังนั้นการ อบรมสั่งสอนลูกจะเป็นหน้าที่ของภรรยามากกว่า การอบรมเลี้ยงดู ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันก็มีการเปลี่ยนแปลงไม่ มากนัก ผู้ที่รับภาระหนักที่สุดก็คือ แม่ การหาพี่เลี้ยงยังไม่มี ถ้าจำเป็นทั้งพ่อทั้งแม่มีภาระหนัก เช่น ต้องออก ดำนาก็ให้ปู่ย่าตายาย หรือน้องสาว หรือลูกหลานที่โตพอที่จะดูแลเด็กได้แล้วเป็นผู้เลี้ยงดูชั่วคราว อาหารการ กินสำหรับลูกนั้น แยกเป็นระยะดังนี้ (ไม่กล่าวถึงนมแม่ ซึ่งเป็นอาหารหลักอยู่แล้ว)
• ทารกอายุ 1 สัปดาห์ ถึง 8 เดือน ให้กินข้าวหมก ข้าวหมกนี้มาจากข้าวเหนียวแม่จะเอามาเคี้ยวจน ละเอียดแล้วคายใส่ใบตองไม้เป้า (เป็นใบเรียบยาวกว้างหาได้ง่ายใกล้บ้าน) 1 มื้ออาจเคี้ยว 5-6 คำ ใหญ่ แล้วห่อแบบห่อหมก เอาไม้ปิ้งหนีบแล้วไปย่างไฟจนสุก กลิ่นรสหอมหวานอร่อยมาก
• อายุประมาณ 9 เดือน ถึง 1 ปีครึ่ง ให้กินข้าวย่ำ ย่ำ(เสียงนาสิก) เป็นภาษาอีสาน คือเคี้ยว การป้อน ข้าวย่ำคือการที่แม่ หรือพ่อเอาข้าวมาย่ำ พร้อมกับคือเนื้อปลา ไก่ เป็นต้น ให้ละเอียดเข้ากันแล้วคาย
ออกให้ลูกกิน ดังนั้นเมื่อลูกไม่อยู่ในโอวาทพ่อแม่มักจะดุด่าลูกว่า "เสแฮงกูย่ำข้าวป้อนเห้าปากกู๋แซบ แต๊ะ ยังได้คายเฮ่อกิ๋น..." (เสียแรงกูเคียวข้าวป้อน เข้าปากกูแสนที่จะอร่อย ก็ยังคายให้กิน)
• อายุประมาณ 2 ปี ก็ให้อดนม อายุ 3 ปี ก็กินเองได้อย่างพ่อแม่เพียงแต่ลดรสเผ็ด
ในอดีตบทบาทในการอบรมลูกหลานนี้ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน คือ จะอบรมสั่งสอนตามสถานการณ์ บางครั้งก็เอาสิ่งที่เกิดขึ้นจริงมาสั่งมาสอน ยกเอาบุคคลอื่นมาอ้าง หรือ เอานิทาน หรือคำสุภาษิตโบราณขึ้นมา สั่งสอน ที่อบรมสั่งสอนที่ใช้บ่อยที่สุดคือ ที่ พาข้าว เพราะตอนนั้นลูกๆ จะพร้อมกัน
ด้านศีลธรรมจรรยา
ไม่ว่าลูกหญิงลูกชายจะได้รับการอบรมเหมือนกัน คือ ให้มีสัมมาคารวะทุกอิริยาบทให้สำรวม เช่น การ ยืน ต้องดูกาลเทศะ ใกล้ผู้ใหญ่ห้ามยืนใกล้ (มิเห้อยืนโท่มเก้า โท้มโห) ไม่ให้ยืนท่วมเกล้าท่วมหัว พูดกับผู้ใหญ่ ถ้าผู้ใหญ่นั่ง ต้องนั่งพูดด้วย สำหรับหญิงจะเน้นพิเศษอีก คือ "อย่ายื๋นเค่อปอง" อย่ายืนใกล้ช่องกระดาน (พื้น เรือน) คงจะกลัวผู้ชายแอบเข้าไปส่องที่ใต้ถุน ไม่ให้ยืนกลางแดด (เช้า หรือ บ่าย) มีคำสอนว่า "ขี้ค้านอย่าเอ็ด นาฮิมทาง นุ้งซีนบ๋างอย่ายื๋นก๋างแดด" (ขี้คร้านอย่าทำนาริมทางนุ่งซิ่นบางอย่ายืนกลางแดด) เพราะถ้า แสงแดดเข้าทางหน้าหรือทางหลัง คนผู้ทางตรงข้ามจะมองเห็นเงาขาในผ้าถุง
การเดิน ไม่ให้เดินท้าวหนัก "อย่าย้างสะลื๋งตึ๋งตั๋ง" (อย่าเดินแบบม้าดีดกะโหลก) เดินผ่านหน้าผู้ใหญ่ ต้องก้มตัวลง ถ้าอยู่ใกล้ให้เดินเข่าหรือคลาน "ย้างก๋ายหน้าก๋ายต๋าผู้ใหญ่ พอก้มเห้อก้ม พอคา" การนั่ง ชาย ให้นั่งขัดสมาธิ หญิงให้ "นั่งตะมอบ" (นั่งพับเพียบ ) ถ้านั่งกินข้าว (กับพื้น ) เป็นเด็กไม่ว่าหญิงหรือชายให้นั่ง พับเพียบหมด
นอน หญิงห้ามนอนในที่เปิดเผย ถ้านอนที่เปิดเผยให้ระมัดระวังให้นอนตะแคง ผ้าถุงเหน็บหว่างขา ห้ามนอนหงาย ห้ามนอนใกล้ "ป่อง" (ช่องกระดานพื้นเรือนหรือช่องข้างฝา) กลัวจะถูกชาย "จก" (ล้วง) ผู้ชาย ไม่ค่อยมีการห้ามเรื่องการนอน แต่ไม่ว่าหญิงหรือชายจะมีสถานที่ห้ามนอน คือ ใต้ขื่อบ้าน เพราะขื่อบ้านเป็น สิ่งที่วางศพ แม้แต่พาข้าวก็ห้ามวางใต้ขื่อ และอีกอย่าง ห้ามนอนเอามือทับหน้าอก เพราะผีจะอำ (ผีทับ)
การพูด ชาวภูไทเมื่อ 40 ปี ก่อนมักใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่งว่า กู บุรุษที่สองใช้คำว่า มึง ลูกพูดกับพ่อ แม่ ปู่ย่า ตายาย ก็ใช้คำนี้ ส่วนคำว่า ข้อย และ เจ้า เป็นคำพูดที่สุภาพมาก จะใช้อยู่ระหว่างบ่าวสาว คู่ผัวเมีย ลูกเขยกับพ่อตาแม่ยาย ลูกสะใภ้กับพ่อปู่แม่ย่า ปัจจุบันเปลี่ยนไปเพราะการศึกษาเจริญขึ้น คำว่า กู มึง ที่เด็ก ใช้กับพ่อแม่ไม่ได้ยินอีกแล้ว
วัฒนธรรมการกิน แหล่งที่มาของอาหารการกิน ชาวภูไทเป็นคนที่พิถีพิถันในเรื่องการเลือกทำเลที่จะ ตั้งหมู่บ้าน จะต้องเป็นที่ราบใกล้ภูเขาหรือแหล่งน้ำ ในอดีตแหล่งอาหารก็ใกล้บ้านนั่นเอง พวกสัตว์บกสัตว์น้ำ เก้ง หมูป่า กระรอก กระแต มีให้เห็นอยู่ทุกวัน หาได้ง่าย และมีกินบ่อย พืชผักต่าง ๆ ก็มีมาก ทั้งพืชบ้าน พืช
สวน พืชป่า ดังมีผญาคำสอนบทหนึ่งว่า "อย่าไป๋เก็บดอกหว่านบ้านเพิ๋นมาบ๋าน เฮ่อเจ้ายื๋นงอยชานเก็บดอก กะเจ๋วฮิมโฮ้" (อย่าไปเก็บดอกหว่านบ้านอื่นมาบ้าน ให้เจ้ายืนที่ชานเก็บดอกกระเจียวริมรั้ว) ชี้ให้เห็นว่า สมัยก่อนดอกกระเจียวก็เก็บเอาที่ริมรั้วติดกับชานบ้าน แสดงว่าอุดมสมบูรณ์มากจริง ๆ
อาหารจำพวกเนื้อสมัยอดีตไม่ค่อยได้กิน หมู เป็ด ไก่ วัว ควาย มีมากมาย แต่ไม่มีใครฆ่ากิน อาจจะ เป็นเพราะเคร่งศีลธรรมก็ได้นาน ๆ ที เช่น มีงานบุญ บุญกฐิน บุญพระเวส ฆ่าทีหนึ่ง ผู้ที่ฆ่าขายก็หายากเตมที ฆ่าแล้วก็ไม่ค่อยมีผู้ซื้อ สมัย 40 ปีมาแล้วเนื้อวัวควายราคาถูกมาก ซื้อ 10 บาทได้เนื้อ 1 หาบ หมูโตเต็มที่ตัวละ 200 บาท ไก่ตัวใหญ่ตัวละ 5 บาท ในสมัยปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมากผู้คนมากขึ้นของกินก็หายากระบบการ ซื้อขายเข้ามา ผู้คนจึงหาซื้อกันที่ตลาดเป็นส่วนมาก
อุปนิสัยในการกิน ชาวภูไทมีอุปนิสัยในการกินแบบเรียบง่าย และในการกินอาหารก็เหมือนอีสานทั่ว ๆ ไป คือ กินข้าวเหนียว นั่งกินกับพื้น ไม่มีช้อนกลาง ช้อน 2-3 คัน เปลี่ยนกันซด บางครอบครัวก็กินในห้องครัว บางครอบครัวก็กินที่ระเบียงหน้าบ้าน ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง บางครอบครัวที่มีฐานะดีหน่อยก็มี โต๊ะอาหาร (บางทีกินข้าวเจ้า) คือ พยายามปรับตัวเหมือนกับคนภาคกลาง
ความเชื่อเกี่ยวกับอาหาร ชาวภูไทมีความเชื่อเกี่ยวกับอาหารที่จะต้อง "คะลำ" เพราะมีความเชื่อว่า อาหารบางชนิดกินเข้าไปแล้วจะทำให้ผิดต่อโรค โดยเฉพาะ "แม่อยู่คำ" (ผู้หญิงที่กำลังอยู่ไฟ) จะกินแต่ข้าวจี่ หน่อข่า ผักต่าง ๆ ปูจี่ กบ เขียด ยังพอกินได้ แต่ในปัจจุบันนี้ได้รับการอบรมด้านโภชนาการ ความเชื่อก็ เปลี่ยนไปบ้างแล้ว แต่กระต่ายและเก้ง ในปัจจุบันก็ยังกินไม่ได้ ซึ่งถ้ากินเข้าไปแล้วจะ"ผิดกรรม"
ที่อยู่อาศัย สภาพบ้านเรือนของชาวผู้ไทยในอดีตสมัย 40 ปี มาแล้วเป็นเรือนทรงมนิลา คือ มีหลังคา ทรงเหลี่ยมยอดแหลมดั้งสูง ใต้ชานสูงประมาณ 2 เมตร มีฝาล้อมรอบ มีประตูหน้าบ้านเข้า 2 ประตู มีหน้าต่าง แห่งเดียวเล็ก ๆ พอเอาศีรษะลอดเข้าออกได้ ภาษาผู้ไทยเรียกว่า "ประตูบอง" ถ้าเป็นบ้านของผู้มีฐานะหน่อย หน้าต่างจะสูงเท่าประตู ตรงหน้าต่างจะมี "เสาปากช้าง" หรือ "เสาคาช้าง" ค้ำทอดบ้านตรงหน้าต่าง ภาษาภู ไทเรียก "หอนทอด" จะตีติดเคร่า เสาคางช้าง หรือ ปากช้างจะปาดเป็นบ่าค้ำทอดไว้ จะเป็นเสาใหญ่กว่าเสา บ้านทุกต้น เป็นเสาโชว์พิเศษสลักเสาลวดลาย ปลายเสาจะปาดเป็นรูปกลีบบัว หรือ กาบพรหมศร
ชาวภูไทในอดีตอาจจะเห็นเป็นรูปคล้ายปากช้าง หรือคางช้าง ก็เลยเรียกเสาคางช้าง หรือเสาปากช้าง มีระเบียงยื่นออกมาด้านหน้า ภาษาภูไทเรียกว่า "เก๋ย" หลังคาระเบียงถ้าต่อจากหลังคาเรือนใหญ่ลาดลงมา เรียกว่า "หลังคากะเทิบ" ถ้าหลังยกเป็นหน้าจั่วยอดแหลมเหมือนเรือนใหญ่จะเรียก "หลังคาโหลอย" (หลังคา หัวลอย) เรียกทั้งตัวบ้านว่า "เฮินโหลอย" (เรือนหัวลอย) ระหว่างหลังคาเรือนใหญ่และหลังคาหัวลอยจะมีราง น้ำ ซึ่งเจาะต้นไม้ทั้งลำแบบหลัง คากะเทิบจะเป็นบ้านของผู้ที่มีฐานะไม่คอยดี บ้านหลังคาหัวลอย หรือเรือนหัว ลอยจะเป็นบ้านของผู้ที่มีฐานะดี นอกจากนั้นก็ดูที่ฝาและหลังคา ถ้าฝาและหลังคาเป็นกระดานแสดงว่ามีฐานะ ดี ถ้าหลังคามุงด้วยหญ้า ฝาเป็นฝาขัดแตะแสดงว่าฐานะไม่ดี
"เฮินซู" (เรือนสู่) เป็นบ้านอีกรูปทรงหนึ่งซึ่งสร้างแบบง่ายๆ "เสาไม้เมาะ แตะไม้ลื่ม" (เสาไม้มอก ตอกไม้ลิ่ม-มอก คือ กระพี้ , ไม้ลื่ม คือ ไม้ไผ่ที่ยังไม่แก่) เสาทำด้วยต้นไม้เนื้อแข็งที่ต้นยังเล็กอยู่ ขนาดพอดีเป็น เสา โดยไม่ต้องถากเพียงแต่ปอกเปลือก (เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 ซม.) ตัดหัวท้ายยาวตามขนาดที่ ต้องการ การเข้าไม้ประกอบเป็นตัวบ้านไม่ใช้ตะปู (เพราะในอดีตไม่มีตะปู) จะใช้ "เคออู้ย" (เครืออู้ย–เถาวัลย์
ชนิดหนึ่งเหนียวมาก) และ "เตาะไม้ลื่ม" คือเอาไม้ไผ่ที่ยังไม่แก่อายุประมาณ ๑๐-๑๒ เดือน มาจักเป็นตอกมัด ตอกไม้ลื่มจะเหนียวไม่เปราะเหมือนตอกไม้แก่ (ไม้แก่ ภูไทว่า ไม้กล้า)
ตัวไม้ทำโครงบ้านก็เหมือนบ้านโบราณดั้งเดิมทั่วไป คือ หลังคามุงหญ้าคา ฝาเป็น "ฝาพะล่าน" ไม่มี เกย ไม่มีชาย ไม่มีเรือนครัว เฮินซู เป็นบ้านที่เขยมาสร้างไว้ก่อนแต่งงาน สร้างให้เฉพาะลูกเขยที่จะมา "ซูพ่อ เฒ่า" (สู่พ่อตา) คือ ลูกเขยที่แต่งงานแล้วขออาศัยอยู่กับพ่อตาชั่วคราว เมื่อพอเลี้ยงตัวได้แล้ว หรือบางทีอยู่ 2- 3 ปีก็ขยับขยายไปสร้างบ้านใหม่ในที่อื่น บางทีพ่อตากลัวลูกสาวลำบาก ลูกเขยสร้างบ้านใหม่ก็ให้สร้างบริเวณ ที่ดินพ่อตาเลย กล่าวถึงการสร้างเฮินซูนั้น เมื่อหาวัสดุพร้อมแล้ว ก็จะวานเพื่อนบ้านมาช่วยกันคนละไม้คนละ มือ ให้เสร็จภายในวันเดียว ปัจจุบันไม่มีการตั้งเฮินซูแล้ว ประการแรกเพราะเขยก็จะอยู่ร่วมบ้านเดียวกับพ่อตา โดยยกห้องใดห้องหนึ่งให้ ประการที่สองไม่ค่อยมีการซูพ่อเฒ่า ในปัจจุบันนี้บ้านรูปทรงดังกล่ าวนี้หายากแล้ว เพราะผู้ที่สร้างบ้านใหม่ก็จะสร้างตามสมัยนิยมกันหมด
ประโยชน์ใช้สอยบ้าน บ้านชาวภูไทเมื่อสมัย 40 ปีมาแล้วแบ่งประโยชน์ใช้สอย ดังนี้
ห้องใน เรียกว่า "โก๋ง" ภายใน "โก๋ง" จะกั้นเป็นห้องนอนอีก มี 1 ประตู ภูไทเรียกว่า "โก๋ง โส้ม" สำหรับเป็นที่นอนของลูกสาว บางบ้านภายใน "โก๋งโส้ม" อาจจะกั้นห้องหรือเอาตู้ กั้นให้เป็นที่นอนของ พ่อแม่ด้วย ข้างโก๋งโส้มอาจจะทางซ้ายหรือขวาเรียกว่า "ฮอง"เป็นที่นอนของพ่อแม่หรือลูกชาย
ห้องนอกหรือเกย ภาษาผู้ไทยว่า "เก๋ย" ไม่มีฝา มีแต่หลังคาเป็นที่นั่งเล่น เป็นที่รับแขก เป็นที่ รับประทานอาหาร หรือกั้นเป็นห้องให้ลูกเขยอยู่
"เฮินไฟ" (เรือนครัว) จะตั้งต่อจากเกยออกไป บางหลังคาเรือนอาจจะตั้งแยกออกไป มีเพียงกระดาน 1-2 แผ่นพาดเชื่อมกับเกย เนื้อที่ภายใน "เฮินไฟ" นั้นมีเตาไฟ มีลักษณะเป็นกระบะยกพื้นสูง สูงขึ้นจากพื้น เรือนครัวประมาณ 5-10 ซม. กว้าง 1x1 เมตร ขอบกระบะสูงประมาณ 1 คืบ ใส่ดินให้เต็มเพื่อป้องกันไฟไหม้ พื้น ที่ก่อไฟนั้นอยู่กลางล้อมด้วยก้อนเส้า 3 ก้อน เป็นที่วางหม้อหรือบางทีใช้ "เคง"(เคียง) คือ ที่วางหม้อเวลา ต้มแกง เป็นที่วางที่เป็นเหล็กมี 3 ขา ด้านบนขาจะเชื่อมติดกับแผ่นเหล็กบาง งอเป็นรูปวงกลมเป็นที่สำหรับรับ ก้นหม้อ รอบตามฝาเรือนครัวจะวางสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น กระติบข้าว ตะกร้า ไหปลาร้า ไหเกลือ เป็นต้น เหนือเตาไฟจะมีห้างสูงระดับหน้าผาก มีไว้สำหรับห้อยเนื้อที่จะทำเนื้อแห้ง ห้อยข้อง ตะกร้าที่เพิ่งสานใหม่ๆ เพื่อป้องกันแมลงกินไม้ เช่น มอด มิให้มากินข้อง ตะกร้า ฯลฯ เหล่านี้
ชาน (ซาน) เป็นพื้นที่ต่อกับเกยหรือเรือนครัว สำหรับวางตุ่มน้ำดื่ม น้ำอาบ น้ำใช้ ริมชานมัก จะวาง รางผัก ไม่มีหลังคาไม่มีฝา พื้นชานจะต่ำกว่าเกยหรือเรือนครัว มีบันไดเรียกว่า "ขั้นบันได๋ซาน"
การใช้บริเวณบ้าน อดีตเมื่อ 40 ปีมาแล้วการใช้บริเวณบ้านของชาวภูไท พอกล่าวได้ดังนี้
1. ใต้ถุนบ้านจะเป็นที่ผูกควาย คือ ทำเป็นคอกควาย โดยตีไม้ล้อมรอบ มีประตูซัด เอาเสาบ้านเป็นเสา คอกและมีเสาเสริมอีกเพื่อให้แข็งแรง บางคนที่ไม่ชอบผูกวัวควายไว้ใต้ถุนบ้าน ก็ออกผูกนอกใต้ถุน ข้างๆ บ้าน เรียกว่า "แลงควาย" (แหล่งควาย) หรือ "แลงโง " (แหล่งวัว)
2. ด้านหลังบ้าน หรือด้านข้างจะสร้าง "เล้าข้าว" (ยุ้งข้าว) ใต้ยุ้งข้าวจะทำเล้าไก่หรือเล้าหมู
3. หน้าบ้าน ปล่อยโล่งไว้นั่งผิงแดดเรียกกว่า "ลานหน้าบ้าน" มีปลูกไม้ยืนต้นบ้างพอเป็นร่ม
ความเชื่อเกี่ยวกับบ้าน ในอดีตชาวผู้ไทยยังคงมีความเชื่อเกี่ยวกับบ้าน ดังนี้
1. เกี่ยวกับไม้ที่จะนำมาสร้างบ้านนั้น จะห้ามเอาไม้ดังต่อไปนี้มาสร้างบ้าน เช่น ไม้ฟ้าผ่า ผู้ไทยเชื่อว่าไม้ที่ ถูกฟ้าผ่านั้นเพราะ "มันเข็ด มันขวง" (มัน อัปรีย์ จัญไร) ไม้แยงเงา (ไม้ส่องเงา) คือ ต้นไม้ ที่อยู่ริม ห้วย ลำต้นเอนเข้าหาลำห้วย (อาจจะเป็นเพราะโค่นยาก ปล้ำยาก อันตราย) ไม้ที่ชื่อไม่เป็นมงคล เช่น ไม้กระบก คำว่า "บก" คือ บกพร่องหรือขาด นำมาสร้างบ้านจะทำให้สร้างไม่ขึ้น ขาดเขินอยู่เป็น ประจำ
2. เกี่ยวกับการใช้บ้าน ห้ามวางพาข้าวหรือนอนใต้ขื่อ (ยังหาคำอธิบายไม่ได้) ศพจะวางไว้ใต้ขื่อ อันนี้คิด ว่าตรงใต้ขื่อมันจะตรงกับคานของบ้านพอดี ซึ่งจะรับน้ำหนักของหีบศพได้ดีกว่าบริเวณอื่น ส่วนประกอบ เช่น บันได จำนวนขั้นบันไดจะเป็นจำนวนคี่ เช่น 5 ขั้น 7 ขั้น 9 ขั้น เป็นต้น
ยารักษาโรค ในอดีตการแพทย์ยังไม่เจริญ ชาวภูไทเมื่อเจ็บป่วยก็ทำการรักษาเยียวยาตามความเชื่อ หรือ ทางด้านสมุนไพร การรักษาด้วยสมุนไพรนี้ อาศัยความรู้ และประสบการณ์ของบรรพบุรุษสืบทอดต่อๆ กันมา บางคนมีความรู้มากในด้านสมุนไพรรักษาโรค จนรักษาโรคด้วยสมุนไพรได้ เรียกว่า "หมอฮะไม้" (หมอ รากไม้) และยังมีหมอเฉพาะโรค เช่น หมอกระดูก หมอหมากไม้ (รักษาอาการไข้ชนิดหนึ่ง เรียกไข้หมากไม้)
วัสดุและแหล่งที่มา วัสดุก็เป็นพืชต่าง ๆ และบางอย่างก็ได้จากสัตว์ ซึ่งหาได้จากป่า และภูเขาใกล้บ้าน การใช้ตัวยาสมุนไพรที่ได้จากพืชมีการใช้ไม่เหมือนกัน บางชนิดใช้รากบางชนิดใช้ลำต้น บางชนิดใช้ทั้งราก ลำ ต้น ใบ ดอก ผล และวิธีใช้ก็มีทั้งต้ม แช่น้ำ ฝน อาบ ดื่ม ทา แล้วแต่โรค และแล้วแต่สมุนไพร
ความเชื่อเรื่องยารักษาโรค หมอรักษาโรคในอดีตนั้น ยังมีความเชื่อในเรื่องของการรักษาหรือฮีต คลอง อยู่ถ้าผิดฮีตแล้วจะรักษาไม่หาย แต่หมอจะพูดว่า "ผิดครู ผิดคาย" คำว่า "คาย หรือ ค่ายกครู" ซึ่งจะขอแยก กล่าวกระบวนการดังนี้
1. การไปหาหมอต้องมีดอกไม้เทียนคู่ คือ ดอกไม้ 1 คู่ เทียน 1 คู่ ไปหาอย่างกิจจะลักษณะจนถึงบ้าน ยกเว้นจำเป็นจริงๆ พบกันที่กลางบ้านก็พากันที่กลางบ้านเลยก็ได้ แต่ต้องมีดอกไม้เทียนคู่ดังกล่าว
2. ฝ่ายผู้ป่วยต้องแต่งคาย จำนวนเงินใส่ในคายตามที่หมอบอก เงินใส่คายนี้จะเกิดที่ครูบอกไม่ได้ เช่น 6 สลึง 12 บาท เป็นต้น ส่วนค่าป่วยการของหมอนั้นแล้วแต่ฝ่ายผู้ป่วยจะให้ ค่าป่วยการภูไทเรียกว่า "ค้า เซิงติ๋น" (ค่าเชิงตีน) และหมอรากไม้ทุกคนมักจะมีมนต์ในการรักษาด้วย
3. รื้อคาย จะรื้ออยู่ 3 กรณี คือ คนไข้หาย คนไข้ไม่หาย คนไข้ตายก็รื้อได้
4. เครื่องยาบางอย่างมีข้อ "คะลำ" อยู่ตั้งแต่การไปหาการใช้ เช่น น้ำมันงา ห้ามหญิงแตะต้อง การคั้น น้ำมันงาต้องให้ผู้ชายหา เมื่อนำไปใช้ก็ต้องเก็บไว้ให้ดีไม่ให้ผู้หญิงไปถูกต้อง ไม่เช่นนั้นมันจะไม่ขลังใน ปัจจุบันนี้ ผู้ที่เป็นหมอรากไม้หายาก เนื่องจากการสาธารณสุขไปถึงชนบท ผู้ป่วยจะไปโรงพยาบาล จะมีก็เพียงผู้ที่รู้เกี่ยวกับสมุนไพรรากไม้บางอย่าง และหาต้มดื่มเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเท่านั้น
หมอเป่า หมอทรง หมอธรรม ในกลุ่มชาวภูไทตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ยังไม่ปรากฏมีผู้มีอาชีพแพทย์ แผนโบราณโดยเฉพาะ มีเพียงผู้มีความรู้เรื่องสมุนไพร รากไม้ รากยา พอช่วยเยียวยาผู้เจ็บไข้ได้ป่วยแล้วได้ ค่าตอบแทนเล็ก ๆ น้อย ๆ พอเป็นสินน้ำใจ ถ้าทางฝ่ายคนไข้ไม่มีเงินก็รักษาฟรีเอาพี่เอาน้องไว้
หมอเป่า ในอดีตยังมีหมออีกประเภทหนึ่งที่รักษาคนไข้ด้วยการใช้คาถาเป่า (เรียกว่า หมอเป่า) คน ป่วยเป็นไข้ ตกต้นไม้ ควายชน แข้งหักขาบวมช้ำ หมอก็ใช้คาถาเป่าได้ ชาวบ้านในอดีตมักจะไปหามหมอมาเป่า ในเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยในสมัยอดีตมักจะโยนให้ผี ที่ถูกใส่ความบ่อยที่สุด คือ ผีปอบ และผีป่า
ผีปอบ คือ คนที่เรียนคาถาประเภทเดรัจฉานวิชา และ "คะลำ" ถือปฏิบัติตามที่ครูบอกไม่ได้ เมื่อเป็น ปอบแล้ว จะมีวิญญาณลึกลับอยู่ในตัวคนนั้น และเป็นวิญญาณร้ายที่ออกหากินคน ผู้ที่ถูกกินจะป่วยลงเมื่อหา หมอเป่าคนป่วยก็จะเพ้อออกมาว่าเป็นผู้นั้นมาเข้า การที่คนป่วยเพ้อออกมา ภูไทเรียกว่า "เอาะป้ะ" (ออกปาก) หมอเป่าก็จะใช้คาถาเป่า คุมจนปอบยอมออกจากร่าง เมื่อปอบออกจากร่าง แล้วคนไข้ลุกขึ้นนั่งเดิน ได้ ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้นป่วยนอนซมอยู่ไปไหนมาไหนไม่ได้
ผีป่า เป็นผีที่สิงสถิตอยู่ในป่า ต้นไม้ใหญ่ ถ้าคนไปทำผิด เช่น ไปตัดไม้ หรือไปกวนบ่อน้ำในแหล่งน้ำซับ กลางป่า หรือของป่าบางอย่าง ผีป่าก็จะเข้าทับร่างทำให้เป็นไข้ได้ป่วย หรือบางทีเห็นหญิงสาวสวยผีป่ารัก ก็ เข้ามาทับร่างได้เหมือนกัน อาการป่วยก็เหมือนผีปอบ แต่พอเป่าคนไข้เพ้อไปทางป่าว่าอยู่ที่นั่นต้นไม้นั่น หนอง น้ำนี่ "พวกสูไปรื้อบ้านกู" (ตัดต้นไม้) เป็นต้น หมอก็จะคุมจนออกเช่นกัน
หมอทรง เป็นหมอที่ทำพิธีอัญเชิญวิญญาณต่าง ๆ ตามที่ผู้มาหาบอก เพื่อให้เข้าร่างหมอทรงแล้วจะได้ บอกกล่าวเรื่องราวระหว่างวิญญาณกับผู้มาหาหมอ
หมอธรรม เป็นหมอที่นั่งทรงทางในเพื่อดูดวงชะตา หรือสิ่งที่มากระทำต่อคนใดคนหนึ่งที่มาหาหมอ หรือไล่เลขไล่ยาม ผู้ไทยเรียกว่า "นั่งธรรม" หมอธรรมจะเป็นสื่อระหว่างวิญญาณกับคน คล้ายหมอทรง แต่ไม่มี พิธีสลับซับซ้อนเท่าหมอทรง
การเหยา เป็นพิธีกรรมในการรักษาคนป่วยของคนภูไท เพราะเชื่อว่าคนที่เจ็บไข้ได้ป่วยก็เนื่องมาจาก ถูกผีกระทำ อาจจะเป็น ผีดง ผีป่า ผีแถน ผีปอบ ผีเป้า ผีบรรพบุรุษหรือถูกคุณไสย ผู้ที่เก่งกล้าในการขจัดปัด เป่าความเจ็บความไข้ออกไปได้ คือ หมอเหยา และหมอเป่า โดยหมอเป่าจะใช้คาถาเป่าขับไล่ผี แต่หมอเหยาใช้ ไม้นวม คือ พูดจาหว่านล้อมด้วยถ้อยคำอ่อนหวานและเป็นทำนองเหยา (คล้ายลำ)
ภาษา ภาษาที่ใช้เป็นภาษาภูไท และยังคงรักษาไว้ได้ด้วยดีตลอดมา ภาษาภูไทเป็นภาษาที่พูดแปร่งไป จากภาษาลาวและภาษาไทยภาคกลาง ซึ่งไม่สามารถอธิบายเป็นภาษาเขียนได้ เพราะหลายคำเสียงไม่ตรงกับ วรรณยุกต์ใดจะยกตัวอย่างคำบางคำที่พอจะอธิบายเป็นภาษาเขียนได้พอใกล้เคียง ดังนี้
1. คำที่มีสระ เ-ีย , เ-ือ , -ัว จะเป็นสระ เ-, เ-อ, โอ เช่น เมีย - เม , เขียน - เขน , เขียด - เคด เสื่อ - เสอ
, เลือด - เลิด , เมือง - เมิง , ผัว - โผ , ด่วน - โดน , - โสน
2. สระ ไ, ใ, -ัย บางคำจะเป็นสระ เ-อ เช่น ใต้ – เต้อ ( เสียงแปร่งอยู่ระหว่างวรรรณยุกต์เอกและโท คือ
.่. ) ใส่ – เชอ ให้ ( สิ่งของ ) – เห้อ ( เสียงแปร่ง ) ใหม่ – เมอ
3. พยัญชนะ ข จะเป็นตัว ห เช่น เขียง-เหง ขาย- หาย ของเขา- หองเหา,เขา (สัตว์ )- เหา
4. พยัญชนะ ร จะเป็น ฮ เช่น เรือ – เฮือ เรือน – เฮือน รอย – ฮอย ร้อง – ฮ้อง รีบ – ฮีบ
5. คำที่สะกดด้วย ก. ไก่ จะไม่มีเสียงตัวสะกด และสระจะเป็นสระเสียงสั้น เช่น แตก-แต้ะ แบก – แบ้ะ ผูก – พุ สาก – ซะ ปาก – ป้ะ
6. บางคำที่มีเสียงสระ –ึ จะเป็นเสียงสระ เ-อ เช่น ลึก - เล็ก ผึ้ง- เผิ่ง (เสียงแปร่ง = .่...๋. ้.)
7. บางคำมีคำเรียกเฉพาะที่ไม่มีเค้าทางภาษาไทยเลย เช่นสิ่งของหาย- เฮ้ / หายเจ็บหายไข้ - ดี๋เจ็บดี๋ไข้ ( แปร่ง ) / ท้ายทอย - กะด้น ( แปร่ง ) / หัวเข่า - โหโค้ย / ผิดไข้ - มึไข้ ( แปร่ง )/ ตาตุ่ม - ป๋อมเพอะ
/ไปไหน - ไป๋ซิเลอ / ผู้ใด - ใคร - เพอ / อยากกินข้าว - เยอะกิ๋นข้าว ( แปร่ง ) ฯลฯ
ผักผลไม้บางชนิดที่เรียกต่างกันมาก เป็นไปได้ว่าช่วงที่คนไทยรวมอยู่ด้วยกัน ไม่มีมะละกอ ฟักทอง ส้มโอ ต้นไม้ 3 ชนิดนี้ คนไทยอาจรับเข้ามาภายหลังที่แยกตัวออกไปตามที่ต่าง ๆ แล้วส่วนคู่เปรียบ เทียบคำใน ภาษาภูไทกับภาษาไทยอีสานก็พบว่าเหมือนกันร้อยละ 37.67 คล้ายกันร้อยละ 52.14 หากรวมเข้าด้วยกัน เท่ากับร้อยละ 89.81 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ภาษาภูไท กับภาษาไทยอีสานก็เป็นภาษาตระกูลเดียวกัน และเป็น กลุ่มที่ใกล้กันมาก มีแตกต่างกันเพียงร้อยละ 12.86 จึงเป็นไปได้มากกว่าคน 2 กลุ่มนี้อยู่บริเวณเดียวกันมา ก่อน ดังที่กล่าวไว้ในพงศาวดารเมืองแถง มาแยกกันเมื่อคนลาวอพยพ มาตั้งรกรากในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง จาก หลวงพระบางลงมาทางเวียงจันทน์และแอ่งสกลนคร ส่วนกลุ่มภูไทก็ยังอยู่บริเวณสิบสองจุไท และยังขึ้นกับลาว ตลอดมาด้วยภาษาจึงใกล้เคียงกันมาก
คู่เปรียบเทียบคำในภาษาภูไท กับภาษาไทดำ
มีคำเปรียบเทียบกันน้อยจากทั้งหมด 89 คำ พบว่าเหมือนกันร้อยละ 34.83 คล้ายกันร้อยละ 44.94
รวมร้อยละ 79.77 ต่างกันร้อยละ 20.23 จึงอาจสรุปได้ว่าภาษาของคน 2 กลุ่มนี้ตระกูลเดียวกัน และคงอยู่ บริเวณเดียวกันมาก่อนด้วย แต่ได้แยกกันมา 200 ปีขึ้นไป โดยกลุ่มภูไทบ้านหนองโอใหญ่นี้ แยกจากเมืองแถง ไปอยู่เมืองวัง เมืองคำอ้อ แล้วจึงอพยพมาอยู่ที่ อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร ส่วนผู้ไทยดำกลุ่มที่ให้ข้อมูล แยกจาก เมืองแถงไปอยู่เชียงขวาง จากเชียงขวางไปอยู่บ้านอีไล ในแขวงเวียงจันทน์ และในที่สุดก็อพยพมาอยู่ที่ศูนย์ผู้ อพยพ จ.หนองคาย ในปี พ.ศ. 2518 ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ศตวรรษ ที่ 2 กลุ่มนี้ไม่ได้ติดต่อกัน และต่างฝ่าย ก็รักษาภาษาของกลุ่มที่อยู่ใกล้เคียง เช่น รองเท้า ภูไทเรียก เกิ้บ แต่ไทดำเรียก ฮาย ซึ่งน่าจะเป็นภาษาญวน ญวนเรียกรองเท้าว่า ไย่ บางคำอาจจะคิดขึ้นภายหลังจากแยกย้ายออกไปจากเมืองแถงแล้ว เช่น กระดุม ภาษา ภูไทเรียกว่า มะติง แต่ภาษาไทดำเรียก มะห่อ แต่อย่างไรก็ตามคำหลักๆ ของสองภาษานี้คล้ายกันมาก
การทำมาหากิน ชาวภูไท ขยันทำงานหลายอาชีพ เช่น ทำไร่ ทำนา ทำสวน ค้าวัว-ควายนำกองเกวียน ไปขายต่างถิ่นทเรียกว่า นายฮ้อย ชาวภูไทวาริชภูมิมีความรู้ในการปลูกหวายไว้รับประทาน
ด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิต นอกจากเอกลักษณ์ทางด้านการแต่งกายแล้ว ชาวภูไทมีการสร้างทำนอง ตนตรี ที่เรียกกันว่า ลาย มีแบบบ้านภูไท แต่ปัจจุบันมักปลูกบ้านอาศัยแบบไทย และในการแสดงฟ้อนภูไท ผู้ ฟ้อนจะสวมเล็บยาว ปลายมีพู่สีแดง ฟ้อนเพื่อถวายองค์พระธาตุ และฟ้อนในพิธีต้อนรับแขกบ้านเมือง งาน ประเพณีของชาวผู้ไทยส่วนใหญ่แล้วจะคล้ายๆ กัน ในส่วนของชาวผู้ไทวาริชภูมิ คือ พิธีบวงสรวงเจ้าปู่มเหสักข์ ในวันที่ 6 เมษายน ทุกปี
ที่มา http://www.isangate.com/isan/paothai_phutai.html
ทีมวิจัยได้สรุปข้อมูลว่า ชนเผ่าผู้ไทเป็นอีกชนเผ่าหนึ่งของมนุษยชาติ ที่มีอารยะธรรมของตนเองมาช้า นาน มีภาษาพูดเป็นของตนเองเดิมทีอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่โขง ต่อมาได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาสร้างหลักปัก ฐานอยู่บริเวณพื้นที่ภาคอีสาน โดยจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มชน มีอาชีพทำการเกษตร ต่อมาเมื่อประเทศได้รับ
การพัฒนาชาวผู้ไท ได้เข้ารับการศึกษาระบบ บางส่วนประกอบอาชีพเป็นข้าราชการ พ่อค้า นักการเมือง เป็น อีกหนึ่งกำลังที่จะพัฒนาประเทศไทยไปพร้อมกัน
2.3 การฟื้นฟู
แนวทางการฟื้นฟูการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ข้อเท็จจริง
1. อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทยเติบโตมายาวนานกว่า 54 ปีจนกลายเป็นอุตสาหกรรมที่ สามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นลำดับแรกๆ มีสัดส่วนถึงร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ มีการว่าจ้างแรงงานทั้งทางตรงและทางอ้อมถึงกว่า 8 ล้านคน และก่อให้เกิดการกระจายรายได้ไปในส่วน ภูมิภาค อัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 12.79 ทำให้ในปี 2556 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศถึง 26.55 ล้านคน นำรายได้เข้าประเทศ 1.17 ล้านล้านบาท และหากมองในภาพรวมจะพบว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสามารถสร้างรายได้รวมถึง 1.80 ล้านล้านบาท
2. ปัจจุบันมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่กำกับดูแลการท่องเที่ยวโดยตรง ประกอบด้วยกระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมการท่องเที่ยว สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและ นิทรรศการ (องค์การมหาชน) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การ มหาชน) รวมถึง สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
3. สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เป็นองค์กรที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นตัวแทนของ ภาคเอกชนทางการท่องเที่ยวในการประสานการทำงานร่วมกับภาครัฐและเสนอแนะนโยบายที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
4. อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าเสียดายว่าตลอด 10 ปีที่ผ่านมา การเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะ สะดุดลงเป็นระยะเนื่องจากผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตการทางธรรมชาติและวิกฤตการความขัดแย้ง ภายในประเทศ โดยที่ยังไม่นับรวมถึงปัญหาทางโครงสร้างหลายประการที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา ยาวนานโดยไม่ได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง ทำให้เป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงต่อการเติบโตของการท่องเที่ยว ไทย ประกอบด้วย
4.1 ปัญหาการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของหลากหลายภาคส่วนที่มีอยู่ กระจัด กระจายทำให้ขาดบูรณาการในการทำงานและไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้ไม่มีกลไกความ เชื่อมโยง
4.2 ปัญหาความไม่ปลอดภัยในความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินระหว่างการเดินทาง ท่องเที่ยว ในประเทศ และปัญหาการหลอกลวง เอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว
4.3 ปัญหาความแออัดของแหล่งท่องเที่ยว ปัญหาแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม และขาดการ พัฒนา แหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่มีศักยภาพ
4.4 ปัญหาการไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้นให้กับสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวได้ ส่งผลต่อการเพิ่มการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวและการสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว
มาตรการเร่งด่วน
1. ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายการท่องเท่ียว แห่งชาติ (ท.ท.ช.) ตาม พ.ร.บ.นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ.2551 เพื่อเป็นกลไกในการกำหนดนโยบาย และบริหารจัดการท่องเที่ยวของประเทศให้เป็นไปอย่างมีระบบสอดรับและเชื่อมโยงกันทั้งในระดับชาติระดับ
ภูมิภาค และระดับท้องถิ่น ทำให้การบริหารและการพัฒนามีเอกภาพและมีความเหมาะสม ซึ่งตามกฎหมายมี กำหนด โครงสร้างของการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องถึง 14 หน่วยงาน โดยประเด็นเร่งด่วนที่ ท.ท.ช. ควรดำเนินการทันที เช่น การบูรณาการการทำงานด้านการท่องเที่ยวให้เกิดประโยชน์สูงสุด การสื่อสาร ทำความเข้าใจ เพื่อสร้างความมั่นใจกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ การแก้ไขปัญหาผู้มีอิทธิพล เป็นต้น นอกจากนี้ เพื่อให้การทำงานของ คณะกรรมการ ท.ท.ช. สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรให้มีการ ยกระดับเป็นสำนักงาน เช่นเดียวกับสำนักงานส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้การทำงานไม่ซ้ำซ้อน และเป็นไปใน ทิศทางเดียวกัน
2. ให้มีการปราบอิทธิพลเถื่อนท้องถิ่นในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว ที่มีผลกระทบต่อความ ปลอดภัยของ นักท่องเที่ยว ทั้งในบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ หน้าพระบรมมหาราชวัง ภูเก็ต เชียงใหม่ เกาะสมุย
3. เร่งรัดการประชาสัมพันธ์เชิงบวกและทำความเข้าใจกับสื่อทั่วโลกให้เห็นสถานการณ์ที่ แท้จริงในความปลอดภัยของประเทศ ทั้งนี้ควรมีการบูรณาการข้อมูลข่าวสารของทุกหน่วยงานภาครัฐและ เอกชนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ให้อาศัยช่องทางการสื่อสารโดยตรงของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ เข้ามาท่องเที่ยวจริง โดยให้มุ่งเป้าในตลาดหลักที่เคยมีศักยภาพสูงและสามารถฟื้นตัวได้เร็ว เช่นตลาดเอเชีย ที่ ปัจจุบันมีสัดส่วนมากถึง ร้อยละ 65 หรือ 2 ใน 3 ของนักท่องเที่ยวทั้งหมดทั้งนี้ให้มีส่วนร่วมของภาคเอกชนใน การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
3.1 ให้มีกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในลักษณะ Mega Events อาทิ กีฬาระดับสากล คอนเสิร์ตเพื่อสร้าง ภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศ
3.2 ให้มีการจัดกิจกรรม Mega Fam trip โดยเน้นที่กลุ่มเป้าหมายท่องเที่ยวช่วงนอกฤดูกาล ท่องเที่ยว
3.3 ให้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย Roadshow ในกลุ่มเป้าหมายที่สามารถเข้ามาได้เร็ว อาทิ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี รัสเซีย
3.4 ให้มีนโยบายในการสร้างแรงจูงใจ (Incentive) ให้กับสายการบินในการเพิ่มจำนวน นักท่องเที่ยวตามสัดส่วน
3.5 สร้างหลักประกันในเรื่องความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว โดยอาจให้มีสินไหมทดแทน ในกรณีประสบ อุบัติเหตุในประเทศ เนื่องจากการออกประกาศเตือนนักท่องเที่ยวของต่างประเทศ Travel Warning เป็นอุปสรรค ต่อการท าประกันการเดินทางของนักท่องเที่ยว
4. ให้มีมาตรการกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสร้าง ความสมานฉันท์ให้เกิดกับทุกฝ่ายโดย
4.1 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทุกหน่วยงานเร่งรัดการจัดประชุมสัมมนาและทัศนศึกษา ดูงานภายในประเทศโดยเร็ว ข้อเสนอแนวทางการฟื้นฟูการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยสภา อุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (2) 3 มาตรการเร่งด่วน (2 เดือน)
4.2 ให้พิจารณาอนุญาตให้ข้าราชการ พนักงานของรัฐและเอกชนสามารถสลับหรือเลื่อน วันหยุดนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ ให้ต่อเนื่องกับวันหยุดสุดสัปดาห์ (เสาร์-อาทิตย์) เพื่อให้มีวันหยุดต่อเนื่องใน อันที่จะสนับสนุนให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น
4.3 ให้มีโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบเป็นรางวัลแก่ข้าราชการ พนักงานทหาร ตำรวจ และนักเรียนดีเด่นทั่วประเทศในวงเงินคนละไม่เกิน 10,000 บาท
4.4 ให้มีนโยบายในการนำค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ทั้งในส่วนของที่ พักและบริษัทนำเที่ยวที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ในวงเงินรวมไม่เกิน 20,000 บาท มาหัก ลดหย่อนเพื่อ คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
4.5 ให้มีนโยบายในการนำค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมสัมมนาและการท่องเที่ยวแบบเป็น รางวัลของบริษัทเอกชนมาหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า
5. ให้มีมาตรการบรรเทาผลกระทบของผู้ประกอบการท่องเที่ยว
5.1 ให้ธนาคารของรัฐจัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษให้กับผู้ประกอบการท่องเที่ยวใช้ ปรับปรุง บูรณะกิจการหรือธุรกิจ รวมทั้งเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการด้วย โดยขอให้แยกวงเงิน ของภาคท่องเที่ยวเนื่องจากผู้ประกอบการท่องเที่ยวเป็นกลุ่มที่ต้องใช้เกณฑ์การพิจารณาที่แตกต่าง จากภาคอุตสาหกรรม
5.2 ให้มีการอนุญาตการผ่อนชำระภาษีต่าง ๆ ของผู้ประกอบการท่องเที่ยวในปี 2557-2558 อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีบำรุงท้องถิ่น โดยขอชำระก่อนร้อยละ 50 และให้ผ่อนชำระส่วนที่เหลือภายใน ระยะเวลา 2 ปี
6. ให้มีมาตรการเสริมเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยว โดย
6.1 ให้มีการลดค่าเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการขายทั้งในประเทศและต่างประเทศที่จัดโดย การ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การ มหาชน) เพื่อสนับสนุน ให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรม
6.2 ให้มีการยกเว้นค่าธรรมเนียมเข้าแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศระยะสั้นเพื่อจูงใจ นักท่องเที่ยว
6.3 ให้มีการยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่าจีนชั่วคราว 6 เดือนซึ่งเป็นตลาดที่สามารถกระตุ้นได้เร็ว นอกจากนี้ขอให้มีการปรับปรุงระบบ VISA On Arrival ให้มีความสะดวกและรวดเร็ว
6.4 ให้การบินไทยนำร่องกิจกรรมส่งเสริมการขายโดยเสนอราคาพิเศษที่จูงใจร่วมกับ ผู้ประกอบการภาคเอกชนในลักษณะ Big Promotion เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
6.5 ให้มีการลดภาษีสนามบิน Airport Tax ลงร้อยละ 50 เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเดินทาง ท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
มาตรการระยะกลาง (1 ปี)
1. เร่งรัดการขยายสนามบินนานาชาติและสนามบินภูมิภาค ที่จะเป็น Gateway เข้าสู่ ประเทศไทยและเชื่อมโยง ไปประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะสนามบินสุวรรณภูมิที่ยังติดปัญหาการ ก่อสร้าง Runway ที่ 3
2. เร่งรัดการก่อสร้างส่วนต่อขยายสนามบินภูเก็ตให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อรองรับการเติบโต ของนักท่องเที่ยวอัน ดามันที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึง ขอให้มีการพัฒนาสนามบินนานาชาติอู่ ตะเภาให้เป็นสนามบินพาณิชย์อย่าง เต็มรูปแบบเพื่อช่วยกระจายผู้โดยสารจากสนามบินสุวรรณภูมิที่ ขณะนี้เต็มขีดความสามารถในการรองรับแล้ว
3. ให้มีนโยบายตรึงราคาค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบินของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในภาคราชการและรัฐวิสาหกิจ อาทิ วิทยุการบิน กรมการบินพลเรือน และ การท่าอากาศยาน เป็น ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี
4. แก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทย โดยเฉพาะบริเวณชายหาดชะอำ/หัวหิน รวมถึงปัญหาการบุกรุก ชายหาดของชุมชนท้องถิ่น มีการท าถนนยื่นลงไปในหาดทราย เพื่อสะดวกใน
การทำประมง ทำให้น้ำทะเลเปลี่ยน กระแส มีการสร้างเขื่อนกั้นแนวคลื่นเพื่อจอดเรือประมง ซึ่งเป็น อุปสรรคต่อการท่องเที่ยว
5. ให้มีการกำหนดค่าไฟฟ้า TOU Rate สำหรับโรงแรมขนาดใหญ่ในอัตราเดียวกับกลุ่ม โรงแรมขนาดเล็ก ซึ่ง ปัจจุบันมีอัตราสูงกว่าถึงร้อยละ 5 ทั้งนี้ควรใช้เกณฑ์เดียวกับระบบของโรงงาน อุตสาหกรรม
6. ให้มีการปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ปัจจุบัน รวมถึงกำหนดให้พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอยู่ในสังกัดการควบคุมดูแลของ หน่วยงานเดียวกันเพื่อให้เกิดความเป็น เอกภาพ
7. ให้มีการปรับปรุงระเบียบการจดทะเบียนบริษัทนำเที่ยว เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพและ มาตรฐาน ผู้ประกอบการ
8. ให้มีการปรับปรุงกฎหมายส่งเสริมการลงทุนสำหรับธุรกิจท่องเที่ยว ในเงื่อนไขที่ไม่ถูก จำกัดวงเงินลงทุนโดย
8.1 ให้สามารถสนับสนุนการสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์ สร้างขึ้น ManMade Attraction
8.2 ให้มีการส่งเสริมการปรับปรุงสถานประกอบการที่พักแรม สวนสนุก (Renovate) เพื่อให้ เกิดการ ท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ และเป็นการส่งเสริมการรักษามาตรฐานและ/หรือยกระดับคุณภาพ มาตรฐานความปลอดภัย ให้กับผู้ใช้บริการ ลดการใช้พลังงาน ลดมลภาวะ อีกทั้งยังเป็นการรักษา ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย
9. ให้มีการปรับปรุงโครงสร้างระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานแห่งชาติโดยให้ คำนึงถึงการมี ส่วนร่วมของผู้ประกอบการท่องเที่ยวและชุมชน รวมถึงปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก ที่จำเป็นต่อการท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานให้ได้มาตรฐานสากล 10. ให้มีการปรับปรุงระบบสารสนเทศ ให้มีความทันสมัยและให้มีการติดตั้ง Free High Speed Internet ในสถานที่ท่องเที่ยวให้กว้างขวาง ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวและให้นักท่องเที่ยว สามารถช่วยประชาสัมพันธ์แหล่ง ท่องเที่ยวได้
11. ให้มี Campaign หลักของประเทศซึ่งดำเนินการไปพร้อมกันทั้งรัฐและเอกชนในการ ดึงดูด นักท่องเที่ยวเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นเอกภาพในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว เช่น Visit Thailand Year
12. ให้มีการจัดระบบการเดินทางสาธารณะที่สะดวก ปลอดภัยตามความเหมาะสมภายใน เมือง ท่องเที่ยว
13. ให้มีการจัดทำระบบมาตรฐานสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวเพื่อเร่งรัดให้มีการ ยกระดับ คุณภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยขอให้มีการจัดทำข้อตกลงระหว่างกระทรวง อุตสาหกรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่ง พระราชบัญญัติของแต่ละ หน่วยงานต่างกำหนดให้เป็นผู้ดูแลเรื่องมาตรฐาน จึงควรแบ่งภารกิจให้ ชัดเจนและให้มีบูรณาการ ได้แก่ กระทรวง อุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานประสานและกำกับในภาพรวม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นหน่วยงานกำหนด มาตรฐานแต่ละกิจกรรม และสภาอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวฯเป็นหน่วยงานจัดระบบการรับรองมาตรฐานของ ผู้ประกอบการท่องเที่ยว
ข้อมูล ณ วนั ที่ 5 มิถนุ ายน 2557 ที่มา สภาอุตสาหกรรมทอ่ งเที่ยวแห่งประเทศไทย
ทีมวิจัยได้สรุปข้อมูลการฟื้นฟู เรื่อง “แนวทางการฟื้นฟูการท่องเที่ยวของประเทศไทย” ว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย มีพัฒนาการความเติบโตมาแล้ว 54 ปี สามารถสร้างรายได้ให้กับ ประเทศไทยได้ ถึงร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ เกิดการสร้างงานทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ว่าในระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ซบเซาลงเนื่องจากผลกระทบของวิกฤต เศรษฐกิจ วิกฤตการทางธรรมชาติและวิกฤตการความขัดแย้ง ภายในประเทศ โดยที่ยังไม่นับรวมถึงปัญหาทาง โครงสร้างหลายประการที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา ยาวนานโดยไม่ได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง ทำ ให้เป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงต่อการเติบโตของการท่องเที่ยวไทย ทำให้รัฐบาลได้มีมาตรการเร่งด่วนและ มาตรการระยะกลาง(1ปี)ในการแก้ไขปัญหาเรื่องการท่องเที่ยวในประเทศไทยให้มีศักยภาพดีขึ้นเหมือนในอดีต
2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.4.1 ศักยภาพด้านการทองเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนผูไทบานโพน
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุงหมายเพื่อศึกษาศักยภาพดานการทองเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน ผูไทบานโพน อําเภอคํามวง จังหวัดกาฬสินธุ ที่มีชื่อเสียงดานขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและการผลิตผาไหมแพรวาเพื่อ พัฒนาการทองเที่ยวใหเกิดประโยชนตอชุมชนอยางเปนธรรม โดยใชวิธีการรวบรวมขอมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ยวของ และเก็บขอมูลภาคสนามดวยการสังเกตแบบมีสวนรวมและแบบไมมีสวนรวม และสัมภาษณประชากร จากกลุมประชากรภายในชุมชนบานโพน นอกจากนั้นยังไดเก็บขอมูลจากหนวยงานตาง ๆที่เกี่ยวของ เพื่อศึกษาถึง ความสัมพันธที่มีตอศักยภาพดานการทองเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนผูไทบานโพน และคณะผูวิจัยยังไดศึกษา แหลงทองเที่ยวเสริม จํานวน 2 แหง ซึ่งตั้งอยูที่อําเภอสหัสขันธ จังหวัดกาฬสินธุ คือ หลุมขุดคนศูนยวิจัยและพิพิธ ภัณฑไดโนเสารภูกุมขาว อีกแหงหนึ่งไดแกวัดพุทธนิมิต ภูคาว ซึ่งไดทําการวิเคราะห์ขอมูลและเสนอขอมูล โดยวิธี พรรณนาวิเคราะห ผลการวิจัยพบวา ชุมชนผูไทบานโพนยังมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่เหนียวแนน มีการนับถือ พุทธศาสนาอยางเขมแข็ง มีการทําบุญตามจารีตประเพณี 12 เดือน สําหรับบุญประเพณีที่ชาวบานโพนให ความสําคัญ และจัดไดยิ่งใหญที่สุด คือ บุญบั้งไฟ ซึ่งใชเวลา 2 วันจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคมของทุกป ดานวัฒนธรรม การผลิตผาไหมแพรวา พบวาสตรีชาวผูไทบานโพนมีความสามารถทอผาไหมแพรวาไดตั้งแตอายุประมาณ 8 ขวบ ป จจุบันประมาณ 90% ของครอบครัวชาวบานโพนยังทอผาไหมแพรวาและความงดงามของผาไหมแพรวาทําใหเกิด การทองเที่ยวในชุมชนผูไทบานโพน ดานการตอนรับนักทองเที่ยว ชาวบานโพนมีอุปนิสัยใจคอในการตอนรับนักทอง เที่ยวดีมาก การตอนรับนักทองเที่ยวเปนหมูคณะกลุมแมบานจะเปนกําลังที่เขมแข็ง แบงหนาที่รับผิดชอบกันตาม ความเหมาะสม บางโอกาสมีการแสดงมีดนตรีและการฟอนรําใหนักทองเที่ยวไดชมดวย ดานรูปแบบการทองเที่ยว สามารถจัดการทองเที่ยวได 2 รูปแบบ รูปแบบที่ 1 คือ การทอง เที่ยวแบบไป-กลับ ภายใน 1 วัน โดยเริ่มเดินทาง จากตัวเมืองกาฬสินธุเขาสูแหลงทองเที่ยวเสริมที่ อําเภอสหัสขันธ และเขาสูชุมชนบานโพน ในชวงบายชื่นชม วัฒนธรรมบุญประเพณี ประเพณีการทอผาไหมแพรวาเลือกซื้อผาไหมแพรวา และเดินทางกลับในตอนเย็น รูปแบบ ที่ 2 การทองเที่ยวแบบคางคืน ซึ่งปจจุบันยังไมเปนรูปธรรมชัดเจน
ดานที่พักและสิ่งอํานวยความสะดวกจากชุมชนบานโพน 932 ครัวเรือนมีความพรอมในการ รับนักทอง เที่ยวใหเขาพักอาศัยดวย ประมาณ 200 หลังคาเรือน นอกจากนั้นมีความรวมมือตอการพัฒนา ไปสูการรองรับ นักทองเที่ยวกวา 50% ของจํานวนครอบครัวทั้งหมด และในสวนที่เหลือมีความยินดีตอการเกิดการทองเที่ยวและ
สนับสนุนใหเกิดการทองเที่ยวในหมูบานทุกๆ วิธี สําหรับองคกรตางๆ ที่เกี่ยวของใหความรวมมือกับกิจกรรมทาง วัฒนธรรมและกิจกรรมอื่นๆ ที่สงเสริมการทองเที่ยวในระดับ ดีปานกลางและควรศึกษาความตองการที่แทจริงใน ระดับลึกและความเปนไปไดอยางตอเนื่องและยั่งยืนกอนดําเนินการสงเสริมในแตละกิจกรรมของชาวบาน ดานสิ่ง อํานวยความสะดวกตาง ๆ ในหมู บานในเรื่องน้ำดื่มน้ำใช ไฟฟา หองน้ำ สถานีอนามัย ถนนในหมูบานและการ
รักษาความปลอดภัยอยูใน ระดับดีปานกลาง เพียงพอตอนักทองเที่ยวประมาณ 200 คนตอครั้ง สําหรับราน อาหารไมเพียงพอ เนื่องจากชาวบานประกอบอาหารรับประทานเองแตหากชาวบาน ทราบลวงหนาวา จะมีนักท องเที่ยวตองการรับประทานอาหารรวมดวย ก็สามารถจัดเตรียมอาหารใหไดตามความตองการ ดานศักยภาพของ แหลงทองเที่ยวเสริม จุดแรก คือ หลุมขุดคนศูนยวิจัยและพิพิธภัณฑ ไดโนเสารภูกุมขาว เปนแหลงทองเที่ยวที่มี จุดแสดงนิทรรศการไดโนเสารที่ใหญที่สุดในประเทศไทย มีนักทองเที่ยวเขาเที่ยวชมทุกวัน จุดทองเที่ยวเสริมที่ 2 คือ วัดพุทธนิมิต ภูคาว เปนแหลงโบราณสถาน และโบราณวัตถุที่สําคัญ อยูหางจากอําเภอสหัสขันธประมาณ 7 กิโลเมตรนักทองเที่ยวที่แวะชม ไดโนเสารภูกุมขาว มักจะเดินทางมาทองเที่ยวที่วัดพุทธนิมิต ภูคาวเปนสวนใหญ และนักทองเที่ยวจาก แหลงทองเที่ยวเสริม 2 แหงดังกลาวมีสวนนอยที่เดินทางทองเที่ยวตอไปถึงชุมชนผูไทบาน โพน เนื่องจากขาดการประชาสัมพันธเชื่อมโยง แหลงทองเที่ยวทั้งสาม นับวาชุมชนผูไทบานโพนมีความเขมแข็ง ในดานขนบธรรมเนียมในประเพณีในรอบ 1 ป ดานวัฒนธรรมการผลิตผาไหมแพรวา ดานการตอนรับ และรูปแบบ การทองเที่ยวที่สามารถเชื่อมโยง แหลงทองเที่ยวอื่น มีที่พักและสิ่งอํานวยความสะดวกและ ความปลอดภัย สําหรับปญหาที่ชาวบานโพนควร ตองปรับปรุงและพัฒนาไปสูการทองเที่ยวอยางยั่งยืน ไดนั้น คือความเขาใจต อการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของความเปนชาวผูไท และบทบาทของตนเองที่จะ ตองกระทํากับนักทองเที่ยว
2.4.2 เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
การวิจัยเรื่อง “เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยว ศึกษาค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว ระยะเวลาที่ใช้ในการ ท่องเที่ยวเฉลี่ยต่อคน และเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม งานวิจัย ดังกล่าวเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใน ลักษณะการ สำรวจ และสัมภาษณ์นักท่องเที่ยว ในสถานที่ ท่องเที่ยว 7 สถานที่ ๆ ละ 5 คน รวม 35 คน ได้แก่ (1) วัดเพลง (2) วัดโพธิ์บางโอ (3) วัดชลอ (4) วัดบางขนุน (5) วัดบางไกรใน (6) วัดบางอ้อยช้าง และ(7) ถนนสายไม้ ดอกไม้ประดับบางกรวย (ถนนบางกรวย-จงถนอม) โดยผลการวิจัยทำให้ทราบถึง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมา ท่องเที่ยว ได้แก่ คำบอกเล่า การแสวงหาสถานที่ ทำบุญ การมาไหว้พระ การชมโบราณสถาน และศึกษา ศิลปวัฒนธรรม มีคนรู้จักชักชวน มาให้อาหารปลา ทราบจากสื่อออนไลน์ ( Internet) เห็นป้าย ประชาสัมพันธ์ตาม ไหล่ทาง มาซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น หนังสือแนะนำการท่องเที่ยวเป็นเส้นทางผ่าน การแนะนำจากรายการ โทรทัศน์ และตั้งใจมาทานอาหาร ส่วนค่าใช้จ่ายในการ ท่องเที่ยวประกอบด้วย ค่าน้ำมันรถยนต์ ค่ารถโดยสาร(กรณี ที่ไม่ได้ใช้รถยนต์ส่วนตัว) เงินทำบุญ ค่าดอกไม้ธูปเทียน ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ซื้อของฝากของที่ระลึก ค่าอาหาร ปลา ค่าเช่าวัตถุมงคล ค่าต้นไม้ ค่าปุ๋ย ค่าดิน และค่ากระถางต้นไม้ สำหรับระยะเวลาที่ใช้ในการท่องเที่ยวเฉลี่ยทั้ง 7 สถานที่ใช้เวลาทั้งสิ้น 7.40 ชั่วโมง (ไม่รวมการเดินทางระหว่างสถานที่) จำนวนสมาชิกที่มา ท่องเที่ยวโดยเฉลี่ยไม่ ต่ำกว่า 2 คน จำนวนครั้งที่มาท่องเที่ยวในสถานที่เดิมโดยเฉลี่ยคนละ 2 ครั้ง และจากการสอบถามนักท่องเที่ยว 34 คน จาก 35 คน ตอบว่าจะกลับมาท่องเที่ยวอีก ส่วนรูปแบบ การท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวจะได้รับประโยชน์สูงสุด จากการเดินทาง โดยเริ่มต้นที่วัดบางไกรใน และสิ้นสุดที่วัดบางขนุน โดยมีระยะทางที่ใช้ในการเดินทางทั้ง 7 สถานที่ รวมทั้งสิ้น 24 กิโลเมตร ต้นทุนค่าน้ำมันประมาณ 96 บาท ระยะเวลาที่ใช้เดินทางทั้ง 7 สถานที่ คือ 1 ชั่วโมง 14 นาที และ ระยะเวลาที่ใช้ท่องเที่ยวในแต่ละสถานที่ใช้ระยะเวลา 7 ชั่วโมง 40 นาที รวมระยะเวลาที่ใช้ในการ เดินทางและท่องเที่ยวทั้ง 7 สถานที่ คือ 8 ชั่วโมง 54 นาที ข้อเสนอแนะจากการศึกษา หน่วยงาน ราชการในระดับ ท้องถิ่น ควรมีการสำรวจความต้องการของชุมชนถึงความพร้อมในการปรับปรุง พัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวใน ระยะยาวเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมเพื่อให้ เกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน หน่วยงานราชการ ระดับท้องถิ่นหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรมีการจัดทำ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามีการจัดสรรงบประมาณการพัฒนา
และส่งเสริม การท่องเที่ยว ในด้าน การพัฒนาทางกายภาพควรมีการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ เส้นทางการเดินทาง และสาธารณูปโภค ต่าง ๆ ในสถานที่ท่องเที่ยวให้พร้อมสำหรับการบริการนักท่องเที่ยว
2.5 กรอบแนวคิด
ปัจจัยนำเข้า | กระบวนการ | ผลลัพธ์ |
1. ศึกษาประวัติศาสตร์ และ บริบท ชุมชนที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยววิถี ชาวนาของคนภูไทนาโสก ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน | 1. เก็บข้อมูลจากผู้รู้/สัมภาษณ์/สำรวจ /จัดเวทีระดมข้อมูลกับปราชญ์ชาวบา้ น ผู้รู้ และกลุ่มเป้าหมายในชุมชนนาโสก 2. ศึกษาข้อมูลจากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ และแหล่งดูงาน 3. เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ชวน คุย สังเคราะห์ข้อมูล 4.ปฏิบัติการตามแนวทางการฟื้นฟู การท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่าผู้ไท บ้านนาโสก - การฟื้นฟูวิถีวัฒนธรรมชาวนาผ่าน ประเพณีของชุมชน - การสืบทอดทายาทวัฒนธรรมกับ ลูกหลานเยาวชน - ส่งเสริมการการจัดทำศูนย์เรียนรู้ ตามวิถีชาวนา - จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชาวนาบ้านนาโสก 5. ถอดบทเรียนการดำเนินงานเป็น ระยะ ๆ 6. สรุปผลการปฏิบัติการ | -ได้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ -ได้ความรู้ด้านวิถีชาวนา -ได้ความรู้ด้านสังคม,วัฒนธรรม,ประเพณี -ได้ความรู้ด้านเศรษฐกิจ -ได้รูปแบบการสร้าง และพัฒนาโปรแกรมการ ท่องเที่ยว |
2. ศึกษาสถานการณ์ สาเหตุและ ปัจจัยที่สงผลต่อการท่องเที่ยววิถี ชาวนาของคนภูไทนาโสก | -ได้ข้อมูลสถานการณ์การท่องเที่ยวภายในและ ภายนอก -ถอดบทเรียนด้านการท่องเที่ยวชุมชนนาโสกที่ ผ่านมา | |
3. ศึกษาระบบการจัดการท่องเที่ยว เที่ยววิถีชาวนาของคนภูไทต้นแบบ | -ได้องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยววิถีชาวนาของ คนภูไทต้นแบบ -พัฒนาเส้นทางการโปรแกรมการท่องเที่ยว -ระบบบริหารจัดการ (งาน,/เงิน/คน) -การพัฒนาศักยภาพคน (ไกด์/บ้านพัก/นักบัญชี) -การตลาดและการท่องเที่ยว -การจัดทำสื่อไวนิล + VCD 4. เกิดการทดลองปฏิบัติการตามแนวทางการ ฟื้นฟูการท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่าผู้ไทบา้ น นาโสก | |
4.แนวทางการฟื้นฟูการท่องเที่ยววิถี ชาวนาของชนเผ่าผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัด มุกดาหาร | -ฟื้นฟูวิถีชาวนา -ฟื้นฟูการปลูกฝ้าย/การทอผ้า -บุญผะเหวด -บุญออกพรรษา -ประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรู้เรื่องข้าว -สืบทอดทายาทวิถีชาวนา -พิพิธภัณฑ์ชาวนา -ทดลองการท่องเที่ยว และการประชาสัมพนั ธ์ -การประเมินผล |
คนภูไทนาโสก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาสถานการณ์ สาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยววิถีชาวนาของ คนภูไทนาโสก ศึกษาระบบการจัดการท่องเที่ยวเที่ยววิถีชาวนาของคนภูไทต้นแบบ เพื่อค้นหาแนวทางการฟื้นฟู การท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่าผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยแนวทางการฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่าผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดหาร นี้มีการดำเนินการผ่านกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ของ ชาวบ้านในชุมชนนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งมีวิธีการดังนี้
3.1 ขอบเขตการวิจัย
- กลุ่มเป้าหมาย
3.1.1 กลุ่มเป้าหมายหลัก
- ชาวบ้านในชุมชนนาโสก 4 หมู่บ้าน จำนวน 500 คน
- เด็กและเยาวชนในชุมชนนาโสก 4 หมู่บ้าน จำนวน 200 คน
- คณะครูโรงเรียนชุมชนนาโสก จำนวน 14 คน
- คณะสงฆ์วัดโพธิ์ศรีแก้ว จำนวน 7 รูป
- เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลนาโสก และผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลนาโสก จำนวน 7 คน
3.1.2 กลุ่มเป้าหมายรอง
- ภาคส่วนราชการในพื้นที่
- การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมุกดาหาร
- พัฒนาชุมชนจังหวัดมุกดาหาร
- วัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร
- สภาเกษตรกรจังหวัดมุกดาหาร
- หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่จังหวัดมุกดาหาร (นพค.24)
3.1.3 พื้นที่เป้าหมาย
- ชุมชนบ้านนาโสก ทั้ง 4 หมู่บ้าน หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 13 หมู่ที่ 16
3.1.4 ระยะเวลา
- ตั้งแต่ 1 กันยายน 2560 ถึง 31 มกราคม 2562
3.2 ขอบเขตเนื้อหา
3.2.1 ศึกษาประวัติศาสตร์ บริบทชุมชนที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยววิถีชาวนาของคนภูไท นาโสก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
- ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงของชุมชนนาโสก
- บริบทชุมชนสัมพันธ์กับการท่องเที่ยววิถีชาวนาของคนภูไทนาโสกตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน ดังนี้
- ด้านเกษตรกรรม
- วิถีการทำนา
- วิถีการทำไร่ฝ้าย
- วิถีการทำสวน
- ด้านสังคมและวัฒนธรรม
- ประเพณีไขประตูเล้า
- ประเพณีบุญผะเหวด
- ประเพณีสู่ขวัญภูไท
- ประเพณีเลี้ยงผีปู่ตา
- ประเพณีเส็งกลองกิ้ง
- ด้านสิ่งแวดล้อม
- นาโคก
- นาดง
- ภูหินสิ่ว
- ภูหัวเมย
- ภูถ้ำช้าง
- ภูยูง
- ห้วยกะหลอง
- น้ำตกอ่างจี่ไก่
- ห้วยคำจิงพิ้ง
- ถ้ำเหล็กไหล
- ด้านเศรษฐกิจ
- อาชีพ (ข้าว,อ้อย,มัน,ยางพารา,ฝ้าย,อาชีพนอกภาคเกษตร,อื่นๆ)
- การแปรรูป (ฝ้ายตะหลุง,ฝ้ายย้อมคราม,จักสาน,อื่น ๆ)
- การปศุสัตว์ (เลี้ยงวัว,ควาย,หมู,เป็ด,ไก่,อื่น ๆ)
3.2.2 ศึกษาสถานการณ์ สาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยววิถีชาวนาของคนภูไทนาโสก
- สถานการณ์การท่องเที่ยววิถีชาวนานอกชุมชน
- สถานการณ์การท่องเที่ยววิถีชาวนาในชุมชน
- ถอดบทเรียนสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยววิถีชาวนาของคนภูไทนาโสก
3.2.3 ศึกษาระบบการจัดการท่องเที่ยวเที่ยววิถีชาวนาของคนภูไทต้นแบบ
- หมู่บ้านวัฒนธรรมภูไทบ้านภู อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร
- หมู่บ้านวัฒนธรรมภูไทโคกโก่ง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์
3.2.4 แนวทางการฟื้นฟูการท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่าผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
- ฟื้นฟูวิถีชาวนา
- ฟื้นฟูการปลูกฝ้าย/การทอผ้า
- ฟื้นฟูประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรู้เรื่องข้าว
- บุญผเหวด
- บุญออกพรรษา
- สืบทอดทายาทวิถีชาวนา
- การสร้าง และพัฒนาโปรแกรมการท่องเที่ยว
- ระบบบริหารจัดการ (งาน,/เงิน/คน)
- การพัฒนาศักยภาพคน (ไกด์/บ้านพัก/นักบัญชี)
- การตลาดและการท่องเที่ยว
- พิพิธภัณฑ์ชาวนา
- ทดลองการท่องเที่ยว และการประชาสัมพันธ์
3.3 วิธีการเก็บข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย
ทีมนักวิจัยแนวทางการฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่าผู้ไท บ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ได้ใช้เครื่องมือและวิธีการเก็บข้อมูลงานวิจัยในแต่ละวัตถุประสงค์ ดังนี้
1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ และบริบทชุมชนที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยววิถีชาวนาของคนภูไทนาโสก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทีมนักวิจัยจะใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ
1. แบบสัมภาษณ์ เพื่อเก็บข้อมูล มี 5 ประเด็น ได้แก่ อดีตเป็นอย่างไร /เปลี่ยนแปลงเมื่อใด / อะไรเป็นสาเหตุให้เปลี่ยนแปลง /ส่งผลให้เกิดอะไร /ปัจจุบันเป็นอย่างไร
2. การสนทนากลุ่ม ทำความเข้าใจในแต่ละประเด็นที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยว ทั้งการทำนา ทำไร่ ทำสวน เก็บข้อมูล กระบวนการและวิวัฒนาการของชุมชนบ้านนาโสกตามบริบท เพื่อให้เกิด ความชัดเจนในการวิเคราะห์ข้อมูลมากขึ้น
3. ประเด็นเวทีประชาคม ใช้เก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจ พื้นดูบริบทชุมชนด้าเศรษฐกิจ
2) เพื่อศึกษาสถานการณ์ สาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยววิถีชาวนาของคนภูไทนาโสก ทีม นักวิจัยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ
1. ใช้ข้อมูลจากเวทีวิเคราะห์ข้อมูลของทีมวิจัย และการสังเคราะห์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. ใช้ข้อมูลมือสองจากการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมุกดาหารโดยอาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัว ของทีมวิจัย
3. ใช้ข้อมูลจากข่าวและบทความ
3) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยววิถีชาวนาของคนภูไทต้นแบบ ทีมนักวิจัยใช้เครื่องมือในการ เก็บข้อมูล คือ
1. แบบสัมภาษณ์ เพื่อเก็บข้อมูล มี 5 ประเด็น ได้แก่ อดีตเป็นอย่างไร /เปลี่ยนแปลงเมื่อใด / อะไรเป็นสาเหตุให้เปลี่ยนแปลง /ส่งผลให้เกิดอะไร /ปัจจุบันเป็นอย่างไร
2. การสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลกระบวนการและวิวัฒนาการของชุมชน
4) เพื่อให้ได้แนวทางการฟื้นฟูการท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่าผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอ เมือง จังหวัดมุกดาหาร ทีมนักวิจัยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ
1. ใช้ข้อมูลจากเวทีวิเคราะห์ข้อมูลของทีมวิจัย และการสังเคราะห์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.4 กระบวนการและขั้นตอนการวิจัย
3.4.1 เวทีพัฒนาโครงการ ครั้งที่ 1
เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2560 ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร จังหวัดมุกดาหาร โดยมี ผศ.ดร.บัญชร แก้วส่อง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยท้องถิ่น สำนักงานกองทุนสนับสนุน
งานวิจัย เข้าร่วมประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการท่องเที่ยววิถีชาวนา มีผู้เข้าร่วมประชุมรับฟังการ ชี้แจงความเป็นมาของโครงการ จำนวน 25 คน ซึ่งผศ.ดร.บัญชร แก้วส่อง กล่าวว่าได้รับนโยบายจาก พล.อ. อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ว่าอยากให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการจิวัยทำการศึกษาว่าทำ อย่างไรชาวนาในชนบทถึงสามารถมีรายได้ที่นอกเหนือจากการขายผลผลิตที่เป็นข้าวเท่านั้น
3.4.2 เวทีพัฒนาโครงการ ครั้งที่ 2
เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2560 ณ วัดโพธิ์ศรีแก้ว บ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัด มุกดาหาร ซึ่งมีนายนิรัตน์ ศรีชำนิ ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงโครงการวิจัยที่พื้นที่ดูแลอยู่ใน 3 จังหวัด คือ จังหวัด ยโสธร อำนาจเจริญและมุกดาหาร โดยมีชาวบ้านชุมชนนาโสกเข้าร่วมประชุมพัฒนาโครงการ ทั้งหมด 40 คน ในการประชุมมีประเด็นการตั้งชื่อโครงการวิจัย กำหนดวัตถุประสงค์งานวิจัย,การกำหนดกิจกรรมการวิจัย การ ประมาณการค่าใช้จ่ายในการศึกษาวิจัยพร้อมทั้งมีการแต่งตั้งทีมวิจัยและทีมที่ปรึกษา โดยทีมวิจัยแนวทางการ ฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่าผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 17 คน ทีมที่ปรึกษา จำนวน 12 คน หลังจากนั้นได้จัดทำโครงการเสนอสำนักงาน กองทุนสนับสนุนงานวิจัย เพื่อขอรับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัย
3.4.3 เวทีประชุมทีมวิจัย
เกิดขึ้นวันที่ 13 ตุลาคม 2560 เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า เกษตรบ้านนาโสก ซึ่งมีทีมวิจัยและชาวบ้านเข้าร่วมจำนวน 24 คน ทีมพี่เลี้ยงจำนวน 4 คน รวมผู้เข้าร่วมเวที ทั้งหมด 29 คน เมื่อผู้เข้าร่วมเดินทางมาถึงที่ประชุมแล้วนายถาวร เผ่าภูไทย ซึ่งเป็นครัวหน้าโครงการ ได้กล่าว ต้อนรับชาวบ้านที่เข้าร่วมและนำชาวบ้านสวดมนต์ไหว้พระและเคารพธงชาติ จากนั้นได้ขึ้นกล่าวชี้แจงชื่อ โครงการและวัตถุประสงค์ของโครงการให้ทีมวิจัยและชาวบ้านได้ร่วมรับฟัง นายนิรัตน์ ศรีชำนิ ซึ่งเป็นพี่เลี้ยง โครงการวิจัย ได้กล่าวเสริมหัวหน้าโครงการฯในส่วนของเส้นทางงานวิจัยให้ชาวบ้านได้เห็นกระบวนการทำงาน วิจัยตั้งแต่กระบวนการแรกจนถึงกระบวนการสุดท้าย จากนั้นจึงได้เปิดโอกาสให้ชาวบ้านและทีมวิจัยร่วม สอบถามแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น
บทเรียนที่ได้รับ
1. ชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุมได้รู้เส้นทางการทำงานและกระบวนการทำงานวิจัยมากขึ้น ทีมงานวิจัยฯได้จัดประชุมคณะทีมงานชี้แจงโครงการแนวทางการฟื้นฟูการท่องเที่ยววิถีชาวนาของชน
เผ่าผู้ไท บ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ในวันที่ 13 ตุลาคม 2560 เวลา 09.00 น. มี คณะทำงานและที่ปรึกษาเข้าร่วมประชุม จำนวน 24 คน โดยมีทีมพี่เลี้ยงจากหน่วยจัดการร่วมจังหวัดยโสธร เข้าร่วมประชุมด้วยจำนวน 4 คน ในที่ประชุมได้ชี้แจงขั้นตอนการดำเนินงาน ตามโครงการ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 14 กิจกรรม โดยเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2560 สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย ได้โอนงบประมาณในงวดแรก ที่มาให้ทีมวิจัย จำนวน 170,740 บาท
3.4.4 เวทีแตกประเด็นสร้างเครื่องมือเก็บข้อมูล
วันที่ 21 ตุลาคม 2560 ทีมวิจัยฯได้ประชุมชี้แจงโครงการตามกิจกรรม มีทีมวิจัยฯและทีมที่ปรึกษาเข้า ร่วมประชุม ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 29 คน โดยในที่ประชุมได้แตกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิถีชาวนาตามบริบทชุมชนออกได้เป็น 5 เรื่อง คือ
1. เรื่องการเกษตร
2. เรื่องการเมืองการปกครอง
3. เรื่องสังคมวัฒนาธรรม
4. เรื่องสาธารณูปโภค
5. เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. เรื่องเศรษฐกิจ พร้อมกันนี้ที่ประชุมทีมวิจัยฯได้มอบหมายให้จัดตั้งคณะทำงานเก็บข้อมูลในแต่ละประเด็น ว่ามีความ
เป็นมาอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ส่งผลอะไรต่อชุมชนและสัมพันธ์กับการท่องเที่ยวอย่างไร โดยมี คณะทำงานจัดเก็บข้อมูลในละประเด็นดังนี้
1. เรื่องการเกษตร
นายจตุรพร เผ่าภูไทย,นายธีรยุทธ สิงห์ศร,นายสำเร็จ นาโสก,นายแวดล้อม นาโสก, นางสาวสุพิชา เผ่าภูไทย
2. เรื่องการเมืองการปกครอง
นายอิ่มศักดิ์ รูปสวย,ร.ต.ต.ธนสิทธิ์ นาโสก,นายผดุง นาโสก,นายสุพจน์ นาโสก,นายบานใจ นาโสก
,นางประมวล ทะเสนฮด 3. เรื่องสังคมวัฒนธรรม
นายแวดล้อม คนหาญ,นายชาย นาโสก,นางอรดิน ศรีทอง,นางสาววราภรณ์ อ่อนคำ, ยายเกี้ยว นาโสก,ยายเซี้ยน ชัยทะ
4. เรื่องสาธารณูปโภค
นายคำก้อน นาโสก,นางสาวสุดาวัลย์ คนเพียร,นางรำพาย นาโสก,นางแจ่มนภา พึ่งทรัพย์,นางเพ็ญ คนคล่อง,นางเซิ้น นาโสก, นางสาวนิรมล นาโสก,
5. เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นายอั้ว แสงหมื่น,นายนา คนเพียร, นายคึดหาญ บับพาน, นายศรีสุนทร นาโสก,นายชัย สิงห์ศร, ว่าที่ร.ต.ณัฐวุฒิ เผ่าภูไทย
6. เรื่องเศรษฐกิจ
นายถาวร เผ่าภูไทย ว่าที่ร.ต.ณัฐวุฒิ เผ่าภูไทย นายอภิวัฒน์ จันทร์ทองสุข
3.4.5 เวทีเก็บข้อมูล 22 ต.ค.-3 พ.ย. 60
หลังจากเวทีแตกประเด็นและสร้างเครื่องมือเก็บข้อมูลแล้ว ที่ประชุมคณะทีมวิจัยฯได้มีมติให้ คณะทำงานจัดเก็บข้อมูลในแต่ละประเด็น ทำการจัดเก็บข้อมูลโดยมีเรื่องเน้นย้ำว่าในแต่ละประเด็นให้มีข้อมูล ว่า อดีต พัฒนาการ ปัจจุบัน ให้เวลาในการจัดเก็บข้อมูล 2 สัปดาห์ แล้วนำเสนอทีมวิจัย ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2560
3.4.6 เวทีนำเสนอข้อมูล 4 พ.ย.60
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2560 ทีมวิจัยฯได้เปิดเวทีนำเสนอข้อมูลจากที่ได้ไปเก็บข้อมูลมา ทั้งในแบบ สัมภาษณ์ แบบสังเกตและแบบกลุ่ม โดยมีนายนิรัตน์ ศรีชำนิ พี่เลี้ยงและทีมงานมาสังเกตการณ์และให้ คำแนะนำในการนำเสนอ การบันทึกข้อมูล ซึ่งมีทีมวิจัยและชาวบ้านนาโสกเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอข้อมูล จำนวน 35 คน จากประเด็นที่ได้รับมอบหมายมีคนนำเสนอประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. เรื่องการเกษตร นำเสนอโดยนายจตุรพร เผ่าภูไทย
2. เรื่องการเมืองการปกครอง นำเสนอโดยนายธีรยุทธ สิงห์ศร
3. เรื่องสังคมวัฒนธรรม นำเสนอโดยนายชาย นาโสก
4. เรื่องสาธารณูปโภค นำเสนอโดยนางสาวสุดาวัลย์ คนเพียร
5. เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำเสนอโดยว่าที่ร.ต.ณัฐวุฒิ เผ่าภูไทย
6. เรื่องเศรษฐกิจ นำเสนอโดยนายถาวร เผ่าภูไทย
3.4.7 เวทีเขียนรายงานความก้าวหน้างานวิจัย 5 พ.ย.60
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2560 หน่วยจัดการร่วม (Node) ได้เปิดเวทีการเขียนรายงานความก้าวหน้า งานวิจัย ที่ร้านกาแฟชิล ชิล ถนนรัตนเขต ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร โดยมีทีมวิจัยจากทั้ง 3 จังหวัด คือจังหวัดยโสธร จังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดมุกดาหาร รวมทั้งหมด 11 โครงการ ได้มานำเสนอ ความก้าวหน้าของงานวิจัย ในรูปแบบ Power Point ให้ที่ปรึกษาหน่วยจัดการร่วม ได้แสดงข้อคิดเห็น เพื่อ การปรับปรุง พัฒนาการจัดเก็บข้อมูลของงานวิจัยได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3.4.8 การเก็บข้อมูลตามวัตถุประสงค์ (แหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยววิถีชาวนาของคนภูไท พื้นที่ต้นแบบ) เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2560 ทีมวิจัยแนวทางการฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยววิถีชาวนาของ ชนเผ่าผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ได้ขอเข้าศึกษาข้อมู ลการท่องเที่ยวโดย ชุมชนที่บ้านภู หมู่ที่ 1 และ 2 ตำบลบ้านเป้า อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ที่มีการจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน โฮมสเตย์ตามกิจกรรมงานวิจัย ซึ่งเป็นชนเผ่าผู้ไทเหมือนกัน โดยทีมวิจัยและที่ปรึกษาที่มีความพร้อมเดินทาง
ไปศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชน จำนวน 11 คน
3.4.9 เวทีทดลองการจัดการท่องเที่ยววิถีชาวนา 19-20 มกราคม 2560
เมื่อวันที่ 19-20 มกราคม 2561 คณะทีมวิจัยพร้อมกับผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่นได้ร่วมกันจัดประเพณี บุญเดือน 3 ออกใหม่ 3 ค่ำ บุญไขประตูเล้า เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีและเพื่อให้มีเวทีพบปะของคนทุกวัย ในชุมชน
3.4.10 เวทีสังเคราะห์ข้อมูลชุดโครงการมุกดาหาร
เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561 ทีมพี่เลี้ยงโดยนายนิรัตน์ ศรีชำนิ และทีมงานได้เปิดเวทีสังเคราะห์ข้อมูล จากที่ทีมวิจัยในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ณ หอประชุมสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยจังหวัดมุกดาหาร โดยมีชุดทีมวิจัย ทั้งหมด 3 โครงการเข้าร่วมเวทีสังเคราะห์ข้อมูลคือ
1. โครงการแนวทางการฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่าผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
2. โครงการ “รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติมุกดาหารในเขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษ กรณีศึกษา เกษตรกรอำเภอหว้านใหญ่และอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
3. โครงการ “ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการปลูกกล้วยอินทรีย์เพื่อสร้างรายได้ให้สมาชิกเครือข่าย เกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติมุกดาหาร”
ซึ่งมีทีมพี่เลี้ยงได้ฝึกให้นักวิจัยทั้ง 3 โครงการ สังเคราะห์ข้อมูลทั้งในรูปแบบของทฤษฎีแม่น้ำ ทฤษฎี ต้นไม้ปัญหาและทฤษฎีจักรยาน ในการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ปัญหารวบยอด และสาเหตุของปัญหารวบ ยอด พร้อมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาในแต่ละด้าน ซึ่งมีคนเข้าร่วมเวทีทั้งหมด 19 คน
3.4.11 เวทีนำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัยแนวทางการฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการ ท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่าผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561 ว่าที่ร.ต.ณัฐวุฒิ เผ่าภูไทย ตัวแทนหัวหน้าโครงการแนวทางการฟื้นฟสู่ การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่าผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัด มุกดาหาร พร้อมกับพี่เลี้ยงอีก 2 คน ได้นำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัยฯ ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุน งานวิจัย ฝ่ายท้องถิ่น ส่วนกลาง ชั้น 23 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ เลขที่ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวง สามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ มีโครงการฯ ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สกว.ให้ทำการวิจัยการ ท่องเที่ยวชุมชนและส่วนที่ข้อง จำนวน 10 โครงการ ได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการวิจัย ให้ ผู้ทรงคุณวุฒิได้เพิ่มเติมประเด็นความถูกต้องและความชัดเจนของข้อมูลที่จะนำมาเขียนเป็นข้อมูลงานวิจัย
3.4.12 เวทีวิเคราะห์ข้อมูลกับชุมชน 10 กุมภาพันธ์ 2561
เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 ทีมวิจัยแนวทางการฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยววิถีชาวนา ของชนเผ่าผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ได้เปิดเวทีวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับชุมชน โดยเครื่องมือด้วยการ SWOT มีทีมพี่เลี้ยงนายนิรัตน์ ศรีชำนิ และทีมงานพี่เลี้ยงมาร่วมจัดเวที มีนักวิจัยและผู้ มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน เพื่อค้นหาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่าผู้ไท บ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
3.4.13 เวทีสังเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย
เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 ทีมวิจัยแนวทางการฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยววิถีชาวนา ของชนเผ่าผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ได้เปิดเวทีสังเคราะห์ข้อมูลร่วมกับผู้มี ส่วนได้เสียภายนอก คือประชาสัมพันธ์จังหวัดมุกดาหาร วัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร เกษตรจังหวัดมุกดาหาร เกษตรอำเภอเมืองมุกดาหาร เรือนจำชั่วคราวนาโสก ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมุกดาหาร อุตสาหกรรมจังหวัดมุกดาหาร พร้อมกับผู้นำท้องถิ่น ชาวบ้านนาโสกอีกส่วนหนึ่ง ร่วมเวทีสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อ ค้นหาปัญหารวบยอด รูปแบบการท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่าผู้ไทบ้านนาโสก มีผู้เข้าร่วมเวทีทั้งหมด 31 คน
3.4.14 เวทีการเขียนรายงานความก้าวหน้า
เมื่อวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2561 ทีมพี่เลี้ยงได้เปิดเวทีการเขียนรายงานความก้าวหน้า ชุดเกษตร อินทรีย์จังหวัดยโสธร จังหวัดมุกดาหารและจังหวัดอำนาจเจริญ ที่โรงแรมยโสธรออร์คิด การ์เด้นท์ อ.เมือง จ.ยโสธร มีทีมวิจัยเข้าร่วมเวทีเขียนรายงานความก้าวหน้าทั้งหมด 8 โครงการ รวมผู้เข้าร่วมเวที 23 คน
ผลการดำเนินงานเมื่อได้แนวทางการฟื้นฟูการท่องเที่ยววิถีชาวนา
3.4.15 เวทีรายงานความก้าวหน้าผลงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นชุดเกษตรอินทรีย์
เมื่อวันที่ 12-13 มีนาคม 2561 ทีมพี่เลี้ยงได้จัดเวทีรายงานความก้าวหน้า ชุดเกษตรอินทรีย์จังหวัด ยโสธรและจังหวัดอำนาจเจริญ ที่โรงแรม เดอะกรีนปาร์ค จังหวัดยโสธร โดยมีผู้ ทรงคุณวุฒิจากสำนักงาน กองทุนสนับสนุนงานวิจัยมาให้คำแนะนำ มีทีมวิจัยเข้าร่วมเวทีเขียนรายงานความก้าวหน้าทั้งหมด 8 โครงการ
3.4.15 อบรมการเส็งกลองกิ้ง ให้กับเยาวชน
ทีมวิจัยที่รับผิดชอบเรื่องการฟื้นฟูดนตรีพื้นบ้าน ได้จัดฝึกอบรมการเส็งกลองกิ้งให้กับเยาวชนโรงเรียน ชุมนนาโสก โดยมีชาวบ้าน ครูและนักเรียนเข้าร่วมอบรม จำนวนกว่า 100 คน ในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนเมษายน
ถึงเดือนกันยายน 2561 และได้รับสมัครเยาวชนเข้าร่วมวงดนตรีพื้นบ้านของชุมชนนาโสก และมีการซ้อม ดนตรีเป็นประจำทุกเย็นวันศุกร์ เสาร์ และได้รับการประสานจากหมู่บ้าน ชุมชนอื่นให้ไปร่วมเล่นดนตรี การ แข่งขันเส็งกลองกิ้งในเทศกาลงานบุญ และยังได้รับเชิญจากจังหวัดมุกดาหารให้ไปแสดงโชว์ในการจัดกิจกรรม “Bike อุ่นไอรัก”จังหวัดมุกดาหาร ในวันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม 2561 ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร
3.4.16 อบรมการออกแบบเสื้อผ้าฝ้ายตะหลุง
ทีมวิจัยที่รับผิดชอบเรื่องได้จัดอบรมการออกแบบเสื้อผ้าให้กับกลุ่มสตรี ในช่วงเวลาตั้งแต่เดือน เมษายนถึงเดือนสิงหาคม 2561 เพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มอาชีพฝ้ายตะหลุง จำนวน 15 คน และได้ประชุม คณะกรรมการฝ้ายตะหลุง ระดมหุ้นตั้งต้น รณรงค์ให้ชาวบ้านปลูกฝ้ายตะหลุง ฝ้ายพื้นเมือง โดยชาวบ้านชุมชน นาโสก ได้ปลูกฝ้ายตะหลุง ฝ้ายพื้นเมือง ราว 600 ครัวเรือน มีการแปรรูปเป็นเสื้อผ้าพื้นเมือง เพราะผ้าตะหลุง เป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น สามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มอาชีพได้เดือนละประมาณ 6,000 บาท ทำให้เป็น กระแสให้คนส่วนมากหันมาปลูกฝ้ายพื้นเมือง
3.4.17 อบรมกลุ่มโฮมสเตย์
ทีมวิจัยที่รับผิดชอบเรื่องโฮมสเตย์ ได้สร้างลานวัฒนธรรมที่วัดโพธิ์ศรีแก้ว และประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน โฮมสเตย์ จำนวน 5 คน เพื่อรับผิดชอบในด้านโฮมสเตย์ ดังนี้
1. นายอภิวัฒน์ จัทร์ทองสุข
2. นายอุดม นาโสก
3. น.ส.สุพิชา เผ่าภูไทย
4. นางบุญเพ็ง เผ่าภูไทย
5. น.ส.จารุณี ศรีทอง
โดยมีหน้าที่ในการประสานบ้านพัก การแสดงดนตรีพื้นบ้าน ความปลอดภัย การเงิน ฐานเรียนรู้ 6 ฐาน วิถีชุมชน(ตักบาตร) และประชุมชาวบ้านประเด็นการรับรองนักท่องเที่ยว การทำความสะอาด ทำให้ สมาชิกบ้านโฮมสเตย์มีความเข้าใจในการดำเนินการในเรื่องโฮมสเตย์มากขึ้น จนมีจำนวนบ้านพักโฮมสเตย์ เพิ่มขึ้นอีก 5 หลัง รวมเป็น 10 หลัง และมีการต้อนรับนักท่องเที่ยว 3 ครั้ง รวม 17 คน และได้รับคำแนะนำ จากนักท่องเที่ยวว่าอยากให้ชุมชนมีความพร้อมมากกว่านี้ทั้งในด้านฐานการเรียนรู้ จุดชมวิว อื่นๆ และใน ระหว่างการดำเนินการวิจัย มีกลุ่มเกษตรกรที่เดินทางเข้ามาศึกษาดูงานที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตสินค้าเกษตรอำเภอเมืองมุกดาหาร จำนวนประมาณ 3,000 คน และมีนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมจุดชมวิว “มานาโคกเด้อ” วันละไม่น้อยกว่า 200 คน แต่ไม่มีเกษตรกรหรือนักท่องเที่ยวพักนอนโฮมสเตย์ชุมชนนาโสกเลย
3.4.18 เส้นทางการท่องเที่ยว
ทีมวิจัยที่รับผิดชอบเรื่องสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวฯ ได้ประสานงานผู้นำชุมชนประชาสัมพันธ์ให้ ชาวบ้านได้รับรู้ถึงแนวทางการฟื้นฟูการท่องเที่ยววิถีชาวนา นัดหมายปฏิบัติการ แบ่งบทบาทหน้าที่ วาง แผนการสำรวจเส้นทาง,จัดทำทำป้าย ในระหว่างเดือนสิงหาคม – กันยายน 2561 ได้ระดมชาวบ้านนาโสก จำนวน กว่า 30 คน ช่วยกันทำการปรับปรุงเส้นทางการท่องเที่ยวและปรับภูมิทัศน์จุดชมวิวในป่าชุมชนภูหินสิ่ว เตรียมพร้อมสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในชุมชน และมีข้อตกลงเรื่องการแต่งกายชุดผู้ไทใส่บาตรตอนเช้า ในทุกวันธรรมสวนะ และชุมชนได้ปรับตัวแต่งกายชุดผู้ไทใส่บาตรทุกวันธรรมสวนะประมาณ 200 ครัวเรือน
3.4.19 เกษตรอินทรีย์
ทีมวิจัยที่รับผิดชอบประเด็นเกษตรอินทรีย์ได้ประสาน สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดมุกดาหาร เกษตร อำเภอเมืองมุกดาหาร ศูนย์อารักขาพืชสำนักงานเกษตรจังหวัดมุกดาหาร สภาเกษตรกรจังหวัดมุกดาหาร อบรมการทำเกษตรอินทรีย์ การปราบศัตรูพืช การคัดพันธุ์ปน จัดทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้ในกระบวนการเกษตร อินทรีย์ จัดทำเชื้อไตรโคเตอร์ม่าเพื่อใช้ในกระบวนการเกษตรอินทรีย์ และมีกลุ่มเกษตรอินทรีย์จำนวน 30 คน พื้นที่ทำการเกษตรอินทรีย์ คนละ 5 ไร่ รวม 150 ไร่ และมีเป้าหมายต่อไปคือการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตร อินทรีย์
3.4.20 แพ็คเกจการท่องเที่ยว
ทีมวิจัยที่รับผิดชอบประเด็นการจัดทำแพ็คเกจการท่องเที่ยวได้ประสานคณะกรรมการท่องเที่ยวฯ กลุ่มอาชีพประชุมจัดทำแพ็กเกจการท่องเที่ยว 2 วัน 1 คืน และประสานจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ นักท่องเที่ยวรับรู้ มีแพ็กเกจการท่องเที่ยว วิถีชาวนาผู้ไทนาโสก เดือนตุลาคม 2 วัน 1 คืน เกี่ยวข้าวดอ กิน ข้าวเม่า ขุดมันอ้อน นอนตูบฟาง
3.4.21 สร้างกลไก ทีมงานในการจัดการท่องเที่ยว
ประสานทีมวิจัย ผู้นำท้องถิ่น ประชุมจัดตั้งคณะทำงาน มีคณะกรรมการท่องเที่ยวบ้านนาโสก 1 คณะ จำนวน 13 คน ที่ปรึกษา 1 ท่าน ดังนี้
1. นายอิ่มศักดิ์ รูปสวย กำนันตำบลนาโสก
2. นายบานใจ นาโสก
3. นายภักดี นาโสก
4. นางประมวล ทะเสนฮด
5. นายถาวร เผ่าภูไทย
6. นายอภิวัฒน์ จันทร์ทองสุข
7. นางบุญมา ภานุโรจนากร
8. น.ส.พลอยปภัส นาโสก
9. นายอุดม นาโสก
10. น.ส.วราภรณ์ อ่อนคำ
11. นายอั้ว แสงหมื่น
12. นายชาย นาโสก
13. นายแวดล้อม คนหาญ
14. พระครูโพธิธรรมธาดา
และมีฝ่ายการขับเคลื่อนการท่องเที่ยว 10 ฝ่าย คือคณะโฮมสตย์, คณะเกษตรอินทรีย์, คณะฝ้ายตะหลุง
, คณะการมีส่วนร่วม, คณะมัคคุเทศก์, คณะแพ็คเกจการท่องเที่ยว, คณะดนตรีพื้นบ้าน, คณะความปลอดภัย, คณะประชาสัมพันธ์และคณะการเงิน
3.4.22 สร้างสื่อ สร้าง Story ของฝ้ายตะหลุงและข้าวเป็นยา, ประชาสัมพันธ์ประเพณีไขประตูเล้า
ทีมวิจัยได้ประสานงานฝ่ายการตลาด สกว.นักข่าวพลเมือง Thai PBS เผยแพร่กิจกรรมไขประตูเล้าผ่าน ช่องโทรทัศน์ Thai PBS เผยแพร่กิจกรรมของผู้ไทนาโสกผ่านวารสารของฝ่ายการตลาด สกว. ได้เผยแพร่การ ท่องเที่ยวผู้ไทนาโสกผ่านสื่อออนไลน์ของฝ่ายการตลาด และยังได้ส่งเยาวชนในชุมชนเข้ารับการอบรมการจัดทำ
สื่อประชาสัมพันธ์สร้างเพจ facebook/ท่องเที่ยววิถีผู้ไทนาโสก เพื่อเผยแพร่กิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน มีผู้ติดตาม ชมสื่อ Facebook/ท่องเที่ยววิถีผู้ไทนาโสก จำนวน 214 ราย และมีการชมสื่อที่เผยแพร่มากกว่า 10,000 ครั้ง
3.4.23 สร้างการมีส่วนร่วม ระหว่างท้องที่และท้องถิ่น
ประสานผู้นำท้องที่เชิญเข้าร่วมกิจกรรมจัดฝึกอบรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการท่องเที่ยวชุมชน จำนวน 50 คน เพื่อให้ชาวบ้านได้รับรู้นโยบายของรัฐบาล จังหวัด ท้องถิ่น ในเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยว ชุมชน
บทที่ 4 ผลการวิจัย
ทีมวิจัยแนวทางการฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่าผู้ไท บ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ได้ดำเนินการศึกษาข้อมูลตามวัตถุประสงค์ ของโครงการฯ โดย วิธีการ Focus Group การสังเกตและการสัมภาษณ์ชาวบ้านนาโสกและผู้ที่เกี่ยวข้องและทีมวิจัยฯได้ประมวล รวบรวมข้อมูลได้ดังนี้
4.1) ประวัติศาสตร์ และบริบทชุมชนที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยววิถีชาวนาของคนภูไทนาโสก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
กลุ่มชาวผู้ไท ที่มาตั้งถิ่นฐานเมืองหนองสูงได้แยกย้ายค้นหาทำเลที่เหมาะสมสำหรับประกอบสัมมา อาชีพ โดยมีกลุ่มคนผู้ไทกลุ่มหนึ่งได้เข้าไปยึดชัยภูมิระหว่างหุบเขาภูยูง ภูหินสิ่ว และภูถ้ำพระ ซึ่งมีพื้นที่ไม่ค่อย ราบเรียบเป็นที่ลุ่มสลับที่ดอน เวลาฝนตกหนักน้ำจะบ่าเข้าท่วมพื้นที่และจะไหลลงสู่ลำธารหมด พื้นที่ได้ถูกกัด เซาะทำให้เป็นโสก เหว เช่นนี้ชาวบ้านจึงขนานนามว่า “บ้านนาโสก” และได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2378 บรรพบุรุษของบ้านนาโสกที่มาตั้งถิ่นฐานครั้งแรกนั้น จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่บอกเล่าว่า ได้มีกลุ่มคนผู้ไท รวมกันตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ดานมะเอกเชิงเขาภูหินสิ่วอยู่ห่างจากบ้านนาโสกปัจจุบันไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร เรียกชื่อว่า “บ้านดาน” ด้วยเหตุผลเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะการทำข้าวไร่ เพราะว่าคนโบราณ ของผู้ไทนิยมทำข้าวไร่เป็นหลัก ชาวผู้ไทกลุ่มนี้ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านดานเป็นเวลาหลายปี จึงได้อพยพย้าย หมู่บ้านตามลำดับคือ การย้ายบ้านครั้งที่ 1 ได้ย้ายจากบ้านดานมาตั้งบ้านใหม่ที่บริเวณทิศใต้ของหมู่ที่ 14 ใน ปัจจุบันเรียกว่าบ้านฮ้าง ถัดจากทุ่งนาม่องอยู่ที่บริเวณบ้านฮ้างเป็นเวลาหลายปี ก็มีคนในหมู่บ้านเจ็บป่วยเป็น ไข้แล้วเสียชีวิต ก็อพยพย้ายบ้านไปอยู่ที่แห่งใหม่อีก ครั้งที่ 2 นี้ย้ายข้ามฟากทุ่งนาม่องเข้าทางทิศตะวันตก การ ย้ายครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งข้ามทุ่งนาม่องเข้ามาตั้งบ้านเรือนที่เป็นหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 3 ตอนล่าง ติดกับวัดโพธิ์ศรีแก้ว อีกกลุ่มหนึ่งย้ายจากบ้านฮ้างไปตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศเหนือ ปัจจุบันเรียกว่าบริเวณนา เฮ้อ ห่างจากบ้านนาโสกประมาณ 2 กิโลเมตรเศษ เมื่อเวลาผ่านไปหลายปีบ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุขแล้วกลุ่มที่ อยู่บริเวณนาเฮ้อก็อพยพเข้ามารวมกับกลุ่มข้างวัดซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่กว่า จึงทำให้มีจำนวนหลังคาเรือนเพิ่มอีก หลายหลัง และมีจำนวนประชากรเพิ่มอีกจำนวนมาก ชาวผู้ไท กลุ่มนี้เรียกบ้านของตนเองว่าบ้านนาโสก อยู่มา อีกหลายปี เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้น ก็มีชาวนาโสกกลุ่มหนึ่งแยกไปตั้งบ้านใหม่ อยู่ทางทิศใต้ของบ้านนาโสก โดยมีร่องน้ำและทุ่งนากั้น ห่างจากบ้านนาโสกประมาณ 10 เส้น ตั้งชื่อใหม่ว่า บ้านเหล่าป่าเป้ด (คือบ้านเหล่า ป่าเป้ดในปัจจุบัน)
ปัจจุบันชุมชนบ้านนาโสกได้มีการแบ่งการปกครองออกเป็น 4 หมู่ คือ บ้านนาโสกหมู่ที่ 1,3,13,14 มี จำนวนประชากรชายจำนวน 1,231 คน ประชากรหญิงจำนวน รวม 1,210 รวม 2,441 คน 657ครัวเรือน ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มและดอน เนื่องจากอยู่ระหว่างหุบเขาเหมาะในการปลูกพืชสวน อาทิ มันสำปะหลัง ไร่อ้อย และยางพารา และที่ราบเชิงเขาเป็นที่นากระจายอยู่โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามภูมิ นิเวศน์
สรุปผลการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนนาโสก
ประวัติศาสตร์ชุมชน
เนื่องจากนโยบายรัฐบาลและกุศโลบาย ของบรรพบุรุษ
ชุมชนขยายตัวออกเป็น 4 หมู่บ้าน ยังคงยึดถือฮีต12 ครอง14 ประเพณี วัฒนธรรมของชาวผู้ไท
ชาวบ้านอยากให้มีการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อเป็นการเผยแพร่และสืบทอด วัฒนธรรมวิถีชีวิตของชาวผู้ไท
ในอดีตอพยพมาจากหนอง สูงมาตั้งหมู่บ้านอยู่ระหว่าง หุบเขาภูหินสิ่วกับ ภูถ้ำช้าง
ได้กำหนดเอาบุญไขประตูเล้าเป็น ประเพณียิ่งใหญ่ประจำปี
บริบทของชุมชนนาโสกได้แบ่งออกได้เป็น 6 ด้าน คือ 4.1.1) ด้านการเกษตร
ในการแตกประเด็นศึกษาหัวข้อด้านการเกษตรทีมวิจัยยังได้แบ่งการเกษตรออกเป็น 3 ประเด็น คือ ประเด็นไร่ ประเด็นสวนและประเด็นนา
ไร่อ้อย
นายจตุรพร เผ่าภูไทย ได้เล่าให้ฟังว่า ในปี พ.ศ.2506 จังหวัดมุกดาหารมีโรงงานน้ำตาลอยู่ที่ บ้าน ม่วงไข่ อ.นิคมคำสร้อย ซึ่งเริ่มจากปี พ.ศ.2513 นายเจริญ นาโสก ได้นำอ้อยมาปลูกเป็นคนแรก ซึ่งในสมัยนั้น การปลูกอ้อยต้องใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่โดยมีการขุดหลุมปลูก ใช้คนตัด ต่อมาปี พ.ศ.2520 เริ่มมีการใช้รถ ไถเข้ามาใช้ทุ่นแรง การขนส่งขึ้นรถบรรทุกไปโรงงานน้ำตาลสหเรือง ปี พ.ศ.2540 เริ่มมีการใช้เครื่องจักรกลใน การทำไร่อ้อย มีรถไถยกร่องแต่ยังใช้แรงงานคนปลูก ตัดและขนขึ้นรถบรรทุก ต่อมาวิถีการทำไร่อ้อยของชาวผู้ ไทนาโสกได้ใช้เครื่องจักรกลเกือบครบวงจร คือ ใช้รถไถยกร่อง รถปลูกและกลบใช้รถคีบขนอ้อยแทน แรงงานคน ปัจจุบันในจังหวัดมุกดาหารมีโรงงานน้ำตาลที่มีกำลังการผลิตสูง คือโรงงานน้ำตาลสหเรืองมีที่ตั้ ง โรงงานอยู่ที่ บ้านป่าหวาย ตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร แต่ชาวผู้ไทนาโสกที่ทำไร่อ้อย ได้เริ่มลดพื้นที่การปลูกอ้อยลง 70-80 % เนื่องจากมีการปลูกยางพารามากขึ้นและอีกสาเหตุหนึ่งคือต้องใช้เงิน ลงทุนจำนวนมาก
หลังจากที่มีการลงมาส่งเสริมจากภาครัฐในการปลูกอ้อย โครงการ“ลดพื้นที่ทำนา เพิ่มพื้นที่ปลูก อ้อย” ทำให้เกษตรกรภายในพื้นที่มีการปลูกอ้อยในแปลงนาและมีการใช้สารเคมีในไร่อ้อย เนื่องจากอ้อยเป็น พืชที่จะต้องใช้สารเคมีในการผลิต เช่น ยาฆ่าหญ้า ปุ๋ยเคมี เป็นต้น ส่งผลให้พื้นที่ทำนาลดลงและวิถีชีวิตของคน ในชุมชนที่เปลี่ยนแปลงไป
ไร่มันสำปะหลัง
นายสำเร็จ นาโสก ได้ให้ข้อมูลเรื่องมันสำปะหลังในชุมชนนาโสกว่า เมื่อปี พ.ศ.2512 ชาวบ้านนาโสก ได้นำพันธุ์มันสำปะหลังมาจากนิคมสร้างตนเอง บ้านคำสร้อย(อำเภอนิคมคำสร้อยในปัจจุบัน) ในสมัยก่อนต้อง
ใช้แรงงานควายในการไถพรวนดิน ใช้แรงงานคนปลูกและขุดหัวมันสำปะหลัง การขายจะทำเป็นมันเส้นตากให้ แห้งแล้วจึงนำไปขายในตัวเมืองมุกดาหาร เนื่องจากในการทำมันเส้นนั้นมีหลายขั้นตอน ต้องทำงานหนักแต่ ราคารับซื้อถูก และได้ลงทุนทุกปี อีกทั้งคุณภาพแป้งในมันสำปะหลังลดลงเนื่องจากดินเสื่อมคุณภาพไม่มีการ ปรับปรุงดิน วิถีการทำไร่มันสำปะหลังของชาวผู้ไทนาโสกจึงน้อยลงและเกือบจะหมดไปแล้ว
ไร่ปอ
นายธีรยุทธ สิงห์ศร และนายอั้ว แสงหมื่น ได้เล่าให้ฟังว่า ในสมัยก่อนชาวผู้ไทนาโสกได้ทำไร่ปลูกปอ ไว้เพื่อใช้สอยเช่น ทำเชือกค้าว ทำเชือกผูกวัว ควายและอุปกรณ์ใช้สอยในการไถนา โดยใช้พันธุ์พื้นบ้านเช่น ปอกระเจา ปอแก้ว ปอเทือง ส่วนที่เหลือจึงจะขายให้พ่อค้าในตัวจังหวัด ต่อมาปี พ.ศ.2540 ราคาปอตกต่ำ รายได้ต่อไร่ต่อปี น้อยกว่าพืชชนิดอื่น อีกทั้งมีขั้นตอนการทำให้ได้ผลิตภัณฑ์มากกว่าพืชชนิดอื่น จึงพากันเลิก ปลูก คงเหลือการปลูกปอไว้เพียงเล็กน้อยเพื่อใช้เป็นตอกมัดข้าวเท่านั้น
ไร่ฝ้าย
นางเซิ้น นาโสกและนางฐานันดร แสงหมื่น ได้เล่าให้ฟังว่า ในอดีตชาวผู้ไทนาโสกจะปลูกฝ้ายไว้เกือบ
ทุกครัวเรือน เพื่อไว้ใช้สอยแปรูปทำเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ฝ้ายผูกแขน ผ้าขาวม้า โดยจะปลูกฝ้ายไว้ในหวไร่
ปลายนาและยังมีชาวบ้านบางคนไปปลูกฝ้ายตีนเขาภูหินสิ่ว ภูหัวเมย จนเมื่อปี พ.ศ.2525 ได้ลดพื้นที่ปลูกลง เนื่องจากสมัยนิยมตามแฟชั่น การทำผ้าฝ้ายพื้นเมืองไม่เป็นที่นิยม จนถึงปี พ.ศ.2545 ชาวผู้ไทนาโสก ได้ขยาย พื้นที่ปลูกฝ้ายกันมากขึ้นเพราะสมัยนิยมเริ่มหันมาใส่เสื่อผ้าฝ้ายโบราณ ผ้าเย็บมือ สามารถสร้างรายได้ให้ ครัวเรือนโดยเฉพาะ “ฝ้ายตะหลุง”ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวผู้ไทนาโสกที่โดดเด่นจากชนเผ่าผู้ไทถิ่นอื่น เนื่องจากฝ้ายมีสีน้ำตาลเมื่อนำมาแปรรูปเป็นเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มแล้วจะไม่ต้องย้อมสีอีก เป็นสีธรรมชาติของ ฝ้ายตะหลุง
สวนกล้วย
นายนา คนเพียรและนายสีสุนทร นาโสก เล่าให้ฟังว่าชาวผู้ไทสมัยก่อนมักปลูกกล้วยไว้ที่ปลายนา ปลายชานบ้านหรือในเชิงเขา ซึ่งการปลูกกล้วยนั้นเป็นวิถีและวัฒนธรรมของชาวผู้ไทเพราะกล้วยสามารถนำมา เป็นวัตถุดิบในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในวิถีชีวิตได้ทั้งนั้น เช่น ใบตองนำมาห่อข้าวต้ม ห่ออาหาร ทำกระทงงาน พิธีกรรมต่าง ๆ ปลีกล้วยก็นำมาทำเป็นอาหารได้ ลำต้นก็ยังทำเป็นอาหารสัตว์ได้ ส่วนพันธุ์กล้วยที่ปลูกในอดีต ได้แก่ กล้วยพะโล กล้วยอีเตาะ กล้วยเล็บมือนาง กล้วยตีบ กล้วยตานี กล้วยหินโง้น(มีเมล็ดข้างในสีดำ แข็ง เหมือนหิน)
สวนยางพารา
นายจตุรพร เผ่าภูไทยและนายอั้ว แสงหมื่น ได้ให้ข้อมูลเรื่องยางพาราว่า เกษตรกรชาวผู้ไทนาโสก เริ่มปลูกยางพาราเมื่อปี 2531 โดยการส่งเสริมของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดมุกดาหาร(รพช.) ซึ่ง เป็นพื้นที่แรกของจังหวัดมุกดาหารที่ปลูกยางพารา มีเกษตรกรที่ปลูกยางพารา ครั้งแรก จำนวน 10 คน นำ โดยนายจรด นาโสก หลังจากที่ปลูกมาแล้ว 7 ปี ได้ทำการเปิดกรีดยางเมื่อปี พ.ศ.2538 โดยในขณะนั้นราคา ยางแผ่น ประมาณ กิโลกรัมละ 12 บาท ต่อมาปี พ.ศ.2540 เกษตรกรในชุมชนนาโสก พากันเริ่มทยอยมาปลูก ยางพารากันมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อปี พ.ศ.2547 สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดมุกดาหาร ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางพารา มีการแจกพันธุ์กล้ายางและราคายางพาราก็มีแนวโน้มสูงขึ้น เกษตรกรใน ชุมชนนาโสก จึงได้ปรับเปลี่ยนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวอื่น ๆ มาปลูกยางพารากันเกือบทุกครัวเรือน
ข้าวไร่
นายหาญ สุวรรณพันธ์ เล่าให้ฟังว่าชาวผู้ไทสมัยก่อนจะปลูกข้าวในที่ดอน เพราะยังไม่มีที่ทำนาหรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งคือการทำไร่เลื่อนลอย โดยการถางป่าออก เผาเศษไม้ในแปลงในฤดูแล้ง พอฝนตกมาดินอ่อน ชุ่มแล้วจึงไปขุดหลุมปลูกข้าว โดยไม่มีการไถ จึงเรียกกันว่า“ข้าวไร่”และพันธุ์ข้าวที่ใช้เป็นพันธุ์ข้าวอายุสั้นใช้น้ำ น้อย ใช้พื้นที่น้อยเช่น ข้าวหางนกกี้ ข้าวหางนกก่าง ข้าวฮ้าว ซึ่งวิถีในอดีตจะปลูกข้าวไว้เพื่อกินเท่านั้น เมื่อปี พ.ศ.2520 ชาวผู้ไทนาโสกเริ่มหันมาปลูกปอ ปลูกอ้อย มันสำปะหลังและมักปลูกพืชเชิงเดี่ยว ปัจจุบันการปลูก ข้าวไร่ได้สูญหายไปจากวิถีชนเผ่าผู้ไทแล้ว
นา
นายชาย นาโสก นายถาวร เผ่าภูไทย เล่าให้ฟังว่า คนเฒ่าคนแก่ได้เล่าต่อสืบทอดให้ฟังว่า หลังจากที่ ได้ลงหลักปักฐานสร้างบ้านนาโสก เป็นที่แน่นอนแล้ว ชาวบ้านนาโสกได้จับจองที่ดินในการทำนา ซึ่งเป็น บริเวณที่มีน้ำ หรือริมห้วย เพื่อทำการปลูกข้าวยังชีพในครอบครัว ในสมัยก่อนข้าวที่ปลูกเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง เช่น ข้าวปลาเข็งน้อย ปลาเข็งใหญ่ ข้าวป้องแอ้ว ข้าวป้องอ้าว ข้าวดอแดง ข้าวมะเม้ย ข้าวแม่ฮ้าง ข้าวหมา แหย่ง ข้าวขาวใหญ่ ข้าวอีโพน ข้าวพม่า ข้าวสันปาตอง ต่อมาเมื่อประมาณปี 2525 เกษตรตำบลได้ส่งเสริมให้ ชาวบ้านปลูกข้าวที่กรมการข้าวพัฒนาขึ้นมาเช่น ข้าวหอมดอกมะลิ 105 ข้าวกข.6 ข้าวกข.8 เพราะเป็นที่ ต้องการของตลาดขายได้ราคาดี ทำให้ชาวนาเริ่มหักร้างถางพงหรือภาษาภูไทเรียกว่า “ซ้าวนา”เพิ่มขึ้น ส่วน ชื่อของนาจะเรียกชื่อตามสภาพพื้นที่หรือชื่อเจ้าของนาเองเช่น นาโคกขี้กระต่าย นาไม้ตาย นาม้อง นากกทอง นาโหโสก นาบะยาง นาอีเป้ นาห้วยเตย นาฮ้างแบ้น นาหนองน้ำคัน นาหนองถ่ม นาภู นาว้ามป่าแคน นาโหเมย นากกเปือย นาหนองแคนฯลฯ
เกวียน
นายอั้ว แสงหมื่น และนายถาวร เผ่าภูไทย เล่าให้ฟังว่าในอดีตชาวผู้ไทนาโสกยังไม่มีพาหนะในการ ขนส่งสิ่งต่างๆ จึงมีการใช้แรงงานจากสัตว์ในการขนส่งสิ่งของเครื่องใช้ รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตร เมื่อตอน สมัยเป็นเด็ก มีอยู่คืนหนึ่งมีรถยนต์จากต่างถิ่นวิ่งผ่านเข้ามาในชุมชน เสียงดังมากแต่ไม่มีใครออกไปดู เช้ามา เห็นรอยเป็นทางยาว ซึ่งตอนนั้นผู้ใหญ่ได้หลอกเด็ก ๆ ว่าเป็นรอยตะขาบยักษ์เด็ก ๆ ก็พากันเชื่อทั้งหมู่บ้าน ต่อมามีการพัฒนาเป็นเครื่องลาก คือเกวียน โดยตัวเล่มเกวียนนิยมใช้ไม้แคน ไม้พะยูง ทำโครงเกวียน ส่วนล้อ ทำจากไม้ประดู่ กำเกวียนทำจากไม้พะยูง ดุมล้อเกวียนทำจากโคนไม้จิก(เต็งรัง)ที่สนที่สุด เพราะต้องการความ แข็งแรงไม่แตกร้าว ไม้เพลาล้อเกวียนทำมาจากไม้เค็ง ต่อมาใช้ไม้ไผ่บ้านสานเป็นกระบะสำหรับใช้บรรทุก สิ่งของ ซึ่งชาวผู้ไทเรียกว่า “กะโสบเกวียน” โดยใช้โคตัวผู้ 2 ตัวห้างเกวียนลาก ซึ่งโคที่นำมาลากเกวียนต้องมี อายุประมาณ 2-3 ปีและต้องทำการฝึกก่อน 2 เดือน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2512 นายเวหา บับพาน กับนายจำรัส หนองแคน ได้รวมเงินกันซื้อรถยนต์คันแรกของชุมชน เป็นรถยนต์ ยี่ห้อ TOYOTA Stout เครื่องยนต์เบนซิน เพื่อวิ่งรับจ้างโดยสารจากบ้านนาโสกไปอำเภอมุกดาหาร และขนส่งผลผลิตทางการเกษตรในชุมชน ต่อมาก็เริ่ม มีคนซื้อรถยนต์มากขึ้นเรื่อย ๆ
ควาย
นายอั้ว แสงหมื่น และนายถาวร เผ่าภูไทย เล่าให้ฟังว่าเกษตรกรที่ทำนาจำเป็นที่จะต้องมีควาย เลี้ยงไว้ทุกครัวเรือน เพื่อใช้เป็นแรงงานในการไถนา คราดนา ควายที่ใช้ช่วยแรงในการทำนา จะนำเอาควาย รุ่น อายุ 2-3 ปี มาฝึกไถ คราด การฝึกควายไถนาต้องใช้คน 2 คน คนหนึ่งจูงควาย อีกคนจับไถ โดยส่วนมาก จะใช้เวลาในการฝึกไถ 10-20 วัน จึงจะไถได้คล่องตามคำสั่ง รู้จัก “เล้า”และ “ฮาม” สำหรับเกษตรกรบางคน
ที่ขี้เกียจเลี้ยงควาย เมื่อทำนาเสร็จจะขายควายให้นายฮ้อยไป พอเข้าฤดูทำนาก็จะหาซื้อควายมาใหม่ โดย ควายที่ฝึกไถนาเป็นแล้วจะมีราคาสูงกว่าควายที่ยังไม่ผ่านการฝึก ซึ่งเมื่อประมาณ พ.ศ.2508 ควายที่ฝึกไถนา เป็นแล้ว ราคาตัวละ 500 บาท พ.ศ.2514 ราคาควายเริ่มขยับขึ้นมาเรื่อย ๆ เป็น 1,500 บาท ปัจจุบันราคา ควายอยู่ที่ตัวละ 30,000-100,000 บาท ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของควาย ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ.2516 นายถาวร หนองแคน ได้ซื้อรถไถเดินตามเป็นคันแรกในชุมชน เพื่อใช้ไถนาของตนเองและญาติพี่น้อง ซึ่งรถไถนาเดินตาม รุ่นแรกจะไม่มีเกียร์ถอยหลัง ต่อมาชาวบ้านเริ่มหันมานิยมใช้รถไถเดินตาม ซึ่งมีกันเกือบทุกครัวเรือน พ.ศ. 2550 ได้มีรถแทรคเตอร์ออกมาทำการตลาด ซึ่งสามารถไถนาได้และเร็วกว่ารถไถเดินตาม ปั จจุบันรถไถเดิน ตามได้ปรับเปลี่ยนไปเป็นรถพ่วง หรือรถอีแต๊ก สำหรับขนส่งผลผลิตทางการเกษตรจากไร่นา สวน เข้าสู่ชุมชน
ด้านการเกษตร
ต้องพึ่งพาปัจจัยจาก ภายนอกทำ การเกษตรขาดทุน
มีการจ้างแรงงานในชุมชนแทนการลงแขก มี การใช้เครื่องมือและสารเคมีทางการเกษตร วิถีเก่าสูญหายไป รถไถเข้ามาแทน
ในอดีตใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ ในการ ทำการเกษตร
ต้องใช้เงินลงทุนทำการเกษตรสูงขึ้น เกษตรกรไม่รวยขึ้น มีสารพิษตกค้างในแปลง และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
จากนโยบายรัฐบาลและ จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ความ ต้องการของตลาดสูง จึงลดการใช้แรงงานคน
จากการศึกษาข้อมูลด้านการเกษตรพบว่าด้านการเกษตรที่เป็นวิถีชีวิตของคนผู้ไทชุมชนนาโสกมี อาชีพหลักคือ ทำนา ปลูกปอ ปลูกฝ้าย โดยการใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ต่อมาได้มีการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรเข้ามาทดแทน มีหน่วยงานรัฐเข้ามาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืช เศรษฐกิจและเข้าสู่การใช้สารเคมีในการเกษตรจนเกิดมีสารเคมีพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรและใน แปลงของเกษตรกรเอง มีการใช้ทุนทำการเกษตรที่สูงขึ้น แต่รายได้ของเกษตรกรยังเท่าเดิม ไม่ทำให้คุณภาพ ชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น ทำให้วิถีชีวิตของคนภายในชุมชนเริ่มเปลี่ยนแปลงไป
4.1.2) ด้านการเมืองการปกครอง
นายธีรยุทธ สิงห์ศร นายชาย นาโสก และร.ต.ต.ธนศักดิ์ นาโสก ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับหมู่บ้านนาโสก ว่า บ้านนาโสกมีประวัติความเป็นมาช้านาน ตามตำนานเล่าว่าชาวผู้ไทนาโสกอพยพแยกออกมาจากบ้านหนอง สูง ที่เป็นกลุ่มผู้ไทที่อพยพมาจากประเทศลาวในสมัยนั้นและในครั้งแรกได้มาตั้งรกรากที่บ้านนาโด่ นาปอ (ปัจจุบันเป็นบ้านร้างไปแล้ว) จากนั้นอพยพตั้งหมู่บ้านชื่อว่าบ้านนาหนองแคนได้สักระยะหนึ่งก็อพยพมาสร้าง หมู่บ้านอยู่บริเวณหุบเขาที่เป็นบ้านนาโสกในปัจจุบัน สมัยนั้นมีสภาพเป็นป่าดงดิบหนาทึบ มีลำห้วยไหลผ่าน
มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ จึงได้จับจองเป็นที่อยู่อาศัยสร้างหมู่บ้าน เลือกผู้นำและตั้งชื่อหมู่บ้านตามลักษณะ ธรรมชาติที่มีน้ำตกจากที่สูงลงสู่เบื้องล่าง ทำให้เกิดหลุมลึก น้อย ใหญ่ เป็นจำนวนมาก ภาษาภูไทเรียกว่าเป็น โสกและตามที่ราบระหว่างหุบเขาก็เป็นที่นาปลูกข้าว ชาวบ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านนาโสก” และยัง ถือเอาชื่อหมู่บ้านเป็นชื่อนามสกุลอีกด้วย ทำให้ชาวบ้านนาโสกส่วนมากเกือบ 80% มีนามสกุล นาโสก ชาวบ้านนาโสกเป็นชนเผ่าผู้ไท มีภาษาพูดเป็นของตนเองคือภาษา “ภูไท” มีศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง วิถีชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่าย รักสงบ เคร่งครัดในหลักธรรมคำสอน พระพุทธศาสนาและจารีตประเพณี
ในอดีตบ้านนาโสกจะมีชาวบ้านบางคนได้รับการแต่งตั้งให้มียศชั้นเจ้าด้วยการบริจาคเงินให้กับหลวง ซึ่งในสมัยนั้นเป็นเงิน 4 บาท เช่น เจ้าพระขัติยะ เจ้าวงค์คำฮัก เจ้าหอมสมบัติฯ เมื่อสิ้นสุดสมัยเจ้าแล้วจะมี กำนันเป็นผู้ปกครองในระดับตำบล ในตำบลนาโสกมีกำนันต้อน นาโสก เป็นกำนันคนแรก 2.กำนันพรมมี พลชนะ 3.กำนันแสง นาโสก 4.กำนันกาสิน สุวรรณพันธ์ 5.กำนันเนือง นาโสก 6.กำนันชาย นาโสก7.กำนันเจริญ นาโสก
8.กำนันกุหลาบ นาโสก 9.กำนันอิ่มศักดิ์ รูปสวย เป็นกำนันในสมัยปัจจุบัน ในสมัยก่อนการคัดเลือกผู้นำ หมู่บ้านหรือผู้ใหญ่บ้านจะใช้วิธีให้ผู้ที่ลงสมัครคัดเลือกไปยืนอยู่หัวแถว แล้วถ้ามีลูกบ้านคนไดเต็มใจเลือกที่จะ ให้เป็นผู้นำ ก็จะไปต่อแถวเรียงไปเรื่อย ๆ สุดท้ายจะมานับจำนวนชาวบ้านที่ต่อแถว ใครมีจำนวนเยอะกว่าถือ ว่าเป็นผู้ชนะ ต่อมาชุมชนนาโสกได้แบ่งเขตการปกครองเป็น 2 หมู่ หมู่ที่ 1 จะอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน มีวัดโพธิ์ศรีแก้วเป็นวัดประจำหมู่บ้าน ลักษณะบ้านเรือนเป็นทรง โบราณสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ใต้ถุนสูง มีชานบ้านสำหรับตั้งโอ่งน้ำล้างถ้วยชาม มีเรือนครัวแยกออกไปต่างหาก สำหรับทำกับข้าวหุงหาอาหาร มีไหปลาร้าภาษาภูไทเรียกว่า “ไหป๋าแดะ” ไหเกลือ กระติบข้าวเหนียวเป็นสิ่ง สำคัญ ใต้ถุนบ้านจะมีครกกระเดื่อง ภาษา ภูไทเรียกว่า “ซกมอง” มีไว้สำหรับตำข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารไว้ กินในครัวเรือน ทุกเช้าตรู่ชาวบ้านจะพากันตำข้าวมีเสียงซกมองดังเซ็งแซ่แข่งกัน
ลักษณะของครอบครัวของชาวผู้ไทนาโสกในสมัยนั้น เป็นครอบครัวขนาดใหญ่ มีพ่อ แม่ ลูกหลาน ปู่ ย่า หรือตายายอยู่ในครอบครัวเดียวกัน เวลารับประทานอาหารจะล้อมวงกินข้าวด้วยกัน โดยจะให้ผู้ใหญ่ที่สุด เป็นผู้เริ่มกินคำแรก จากนั้นทุกคนในครอบครัวจะกินข้าวพร้อมกัน ทำให้เกิดความเคารพ ผูกพันอย่างลึกซึ้ง ภายในครอบครัว ในสมัยก่อนเวลาที่ผู้ใหญ่บ้านมีเรื่องที่จะประชุมหรือแจ้งข่าวลูกบ้าน จะตีเกราะให้สัญญาณ เรียกประชุม ภาษาภูไทเรียกว่า “ตีกะลอ” สัญญาณตีเกราะหรือตีกะลอนี้ จะมีอยู่ 2 ลักษณะ กล่าวคือ ถ้าตี เป็นจังหวะ 3 ครั้ง แปลว่าตีกะลอเรียกประชุม แต่ถ้าตีรัวติดต่อกัน 3 ช่วง แสดงว่ามีเหตุไม่ปกติเกิดขึ้นภายใน หมู่บ้าน ชาวบ้านที่ได้ยินก็จะรีบเร่งมารวมตัวกันที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน เพื่อที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ ตามที่ผู้ใหญ่บ้านบอก ขอ บ้านเรือนสมัยนั้นมักไม่มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น
จนเวลาล่วงมาถึงเมือปี พ.ศ.2518 สภาพเหตุการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะไม่ปกติ เนื่องจากเกิดภัย คุกคามจากคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง ชาวบ้านถูกโฆษณาชวนเชื่อปลุกระดมให้เกิดการหลงผิด มีกองกำลังติด อาวุธจากคอมมิวนิสต์หรือชาวผู้ไทนาโสกเรียกว่า “ทหารป่า” แทรกซึมเข้าสู่เข้าสู่พื้นที่ตำบลนาโสก มีการก่อ เหตุรุนแรง เผาสะพาน ถนนที่เป็นเส้นทางเข้าสู่ตัวเมือง ทางรัฐบาลได้ส่งกองกำลังทหาร-ตำรวจมาตั้งค่าย ปฏิบัติการปราบปรามคอมมิวนิสต์และเกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงหลายครั้ง ฐานคอมมิวนิสต์ถูกตีแตก ทาง ราชการได้ร่วมกับชาวบ้านจัดตั้งหมู่บ้าน อพป.ฝึกอบรมชาวบ้านร่วมกันต้านภัยคอมมิวนิสต์จนสำเร็จ บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ
และต่อมาบ้านเมืองเข้าสู่ยุคใหม่ ยุคแห่งการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ตำบลนาโสกได้รับการยกฐานะ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อปี พ.ศ.2539 มีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นเกิดขึ้นและเป็นจุดเริ่มต้นของ การเมืองท้องถิ่น ที่มีการวิ่งเต้นเข้าสู่อำนาจ จากนั้นก็ลุกลามเข้ามาจนถึงการเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่น สืบทอด
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ต่อมาปี พ.ศ.2553 ตำบลนาโสกได้รับการยกระดับเป็นเทศบาลตำบล มีการเลือกตั้ง นายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลตำบล โดย ร.ต.ต.ธีรศักดิ์ นาโสก ได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรี ตำบลนาโสกคนแรก และนายกเทศมนตรีตำบลนาโสกคนปัจจุบันคือนายพยุงศักดิ์ นาโสก ชุมชนนาโสก ปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 หมู่บ้านได้แก่
หมู่ที่ 1 นายสุพจน์ นาโสก เป็นผู้ใหญ่บ้านและได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงจากกองทัพ ภาคที่ 2 , หมู่ที่ 3 นายอิ่มศักดิ์ รูปสวย กำนันตำบลนาโสก หมู่ที่ 13 นายบานใจ นาโสก เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 14 นางประมวล ทะเสนฮด เป็นผู้ใหญ่บ้านและเป็นผู้ใหญ่บ้านหญิงคนแรกของตำบลนาโสก และ ชุมชนนาโสกมีคำขวัญประจำชุมชนคือ
นาโสกถิ่นภูไท ถิ่นผ้าไ👉มผ้าแพรวา ประเพณีภูไทสุดล้ำค่า ยางพาราป่าสมบูรณ์
👉มู่บ้านโฮมสเตย์ มนต์เสน่👉์คนใจบุญ อารามโพธิ์ศรีแก้วแ👉ล่งรวมศูนย์ ก่อเกื้อกูลศูนย์รวมใจภูไทนาโสก
ด้านการเมืองการปกครอง
จากนโยบายรัฐบาล การ เลือกตั้งแข่งขันกันเข้าสู่การ มีอำนาจในระดับท้องถิ่น
มีผู้นำตาม ธรรมชาติ
มีความขัดแย้งในบางเรื่องที่ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนา ชุมชน
พ.ศ.2539 เริ่มมีการซื้อ เสียงในการเลือกตั้งระดับ ท้องถิ่นเพื่อเข้าสู่ฐานอำนาจ
เกิดการแบ่งขั้วทางการเมือง
จากการศึกษาข้อมูลด้านการเมืองการปกครอง ของชนเผ่าผู้ไทบ้านนาโสก พบว่าในอดีตชาวผู้ไทจะมีผู้นำ ตามธรรมชาติที่คนในชุมชนเคารพรักและนับถือ ต่อมาประเทศได้ปฏิรูปการปกครองให้มีการเลือกตั้งผู้นำชุมชน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน ในระยะแรกก็เลือกผู้นำที่มีลักษณะเป็นผู้นำตามธรรมชาติ ต่อมาได้มีใช้เงินซื้อเสียงเลือกตั้งเพื่อเข้าสู่ อำนาจการปกครองในระดับท้องที่ ท้องถิ่น ทำให้เกิดมีการแบ่งขั้วทางการเมือง มีความขัดแย้งกันในบางเรื่องที่ส่งผล กระทบต่อการพัฒนาชุมชน
4.1.3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
นายแวดล้อม คนหาญ นายชาย นาโสก เล่าให้ฟังว่าชาวผู้ไทบ้านนาโสกเป็นชนเผ่าหนึ่งในภาคอีสาน ยัง ยึดถือจารีตประเพณีและวัฒนธรรมของชาวอีสาน คือ ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ และยังยึดถือปฏิบัติจากอดีตจนถึง ปัจจุบัน ได้แก่
1. เดือนอ้าย บุญเข้ากรรม
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ เป็นเป็นขนบธรรมเนียมของชาติพันธ์ลาว ที่ยึดถือสืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นกุศโลบายที่ต้องการให้คนอยู่ในสังคมร่วมกันอย่างสงบสุข รักสันติ มีการพบปะของคนในชุมชนและชุมชน ต่างถิ่นผ่านบุญประเพณีในแต่ละเดือน แต่ชาวผู้ไทนาโสก ได้ถือเอาวันขึ้นสามค่ำ เดือนสามเป็นงานบุญเดือน สามโดยใช้ชื่อเรียกตามภาษาภูไท ว่าบุญไขประตูเล้าเป็นบุญใหญ่ประจำปี จัดยิ่งใหญ่กว่าบุญประเพณีในเดือน อื่นๆ ซึ่งประเพณีไขประตูเล้า เป็นวัฒนธรรมอันดีงามของชาวผู้ไทบ้านนาโสกและถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณ ประเพณีไขประตูเล้าจะจัดขึ้นในเดือนสาม ขึ้นสามค่ำของทุกปี เชื่อกันว่าเป็นวันไขประตูเล้า สู่ขวัญข้าวบูชา คุณแม่โพสพ ผู้มีคุณต่อชาวไร่ชาวนา ในวิถีชีวิตของคนผู้ไทบ้านนาโสก ทุกครอบครัวจะมีเล้าข้าวเป็นของ ตนเอง เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ก็จะนำเอาข้าวเปลือกมาเก็บไว้ที่เล้า ถึงเดือนสาม ขึ้นสามค่ำก็จะทำพิธีไขประตู เล้าสู่ขวัญข้าว โดยนำเอา ขัน 5 ซิ่นผืน แพรวา กระจก หวี น้ำหอม ไก่ต้มสุก ใบคูณ ใบยอ รวงข้าว 1 กำมือ ขึ้นไปทำพิธีในเล้าข้าว โดยจุดเทียนบูชาแล้วกล่าวว่า “มื้อนี้ เดือนสาม ขึ้นสามค่ำ กบมิเป็นปะ นะมิเป็นฮูขี้ กก ไม้ล่อนป่งเป็นเบ๋อ โ👉ซิเคอป่งเป็นดอก กะได้นำเอา ขัน 5 ซิ่นผืน แพรวา ไก่ต้มสุก น้ำอบ น้ำ👉อม มาสู่ขวัญ ข้าวบูชาคุณพระแม่โพสพ ผู้มีคุณต่อลูก👉ลาน ได้กิน ได้ทาน มิได้อึด มิได้ยะ แต่นี้ต่อไป กินยาเ👉้อบก จกยา เ👉้อลงเด้อ” เสร็จแล้วชาวบ้านก็จะไปรวมตัวกัน ทำต้นกัลป์แห่ไปรอบหมู่บ้าน โดยมีขบวนกลองกิ้ง ตีนำเป็น ขบวน ถึงบ้านใคร เจ้าบ้านก็นำเอาข้าวปลาอาหารพร้อมด้วยสาโท เหล้าไห ออกมาต้อนรับ สนุกสนานกัน ตลอดทั้งวัน ตกเย็นก็เอาต้นกัลป์ไปถวายวัด
เมื่อ พ.ศ.2525 สมัยนายเนือง นาโสก เป็นกำนัน ได้มีการวิวัฒนาการให้มีกิจกรรมเสริมมากขึ้น โดย ได้รวมเอาบุญกองข้าว(บุญคูณลาน) บุญซำฮะ(บุญบ้าน) มารวมจัดในวันเดียวกัน ชาวบ้านก็จะนำเอา ข้าวเปลือกมารวมกัน ครอบครัวละ ร้อยละ 1 กระสอบ ทำเป็นเจดีย์ข้าวเปลือกขนาดใหญ่ ประดับตกแต่งบริเวณ งานอย่างสวยงาม ตกเย็นก็จะนำเอาถังน้ำมนต์ กระทง ฝ้ายสืบชะตา เทียนฮอบหัวแทะคีง หินแฮ้(หินลูกรัง) ไป รวมกันที่ลานพระเจดีย์ข้าวเปลือก เพื่อฟังสวดเจริญพระพุทธมนต์และฟังเทศน์ ขณะที่พระคุณเจ้าเจริญพระพุทธ มนต์ ก็จะจุดเทียน จุดฝ้ายสืบชะตาสว่างไสวทั่วบริเวณงาน รุ่งเช้าขึ้นสี่ค่ำ ทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหาร ถวายกองข้าว ประมาณปี พ.ศ.2550 สมัยนายแวดล้อม นาโสก เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ได้เพิ่มกิจกรรมภาคเช้าเข้า มาอีก โดยนิมนต์พระสงฆ์เดินรับบิณฑบาตจากชาวบ้าน รอบบริเวณงาน ชาวบ้านที่มาร่วมงานจะแต่งกายด้วยชุด ประจำเผ่าผู้ไทนาโสก และมี “การ👉าบกะซ้า(ตะกร้า)ลงวัด” มีกิจกรรมฟ้อนรำเชิญขวัญจากนักเรียนโรงเรียนชุมชน นาโสก มีการทำพิธีสู่ขวัญข้าวโดยปราชญ์ชาวบ้าน
งานประเพณีไขประตูเล้าของชาวผู้ไทนาโสก นอกจากจะเป็นการรักษาไว้ซึ่งประเพณีอันดีงามแล้ว ยังเป็น การส่งเสริม สร้างความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน รวมถึงการปลูกฝังให้ชาวผู้ไทนาโสกมีความภาคภูมิใจ ในการ รักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของคนผู้ไทบ้านนาโสกอีกด้วย และงานประเพณีบุญเดือนสามของชาวผู้ไทนาโสกยังจะเป็นอีก
กิจกรรมหนึ่งที่จะสามารถส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวในชุมชนนาโสกต่อไป ในปีพ.ศ.2560 คณะกรรมการสภา วัฒนธรรมบ้านนาโสกมีแนวคิดว่าจะยกระดับงานประเพณีบุญเดือนสาม ประเพณีไขประตูเล้าให้มีความโดดเด่นขึ้น อีกระดับหนึ่ง
กลองกิ้ง
นายชาย นาโสก นายอั้ว แสงหมื่น และนายนาคนเพียร ได้เล่าถึงประวัติความเป็นมาของกลองกิ้ง บ้านนา โสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ว่าเมื่อปีพ.ศ.2498 มีชาวผู้ไทบ้านนาโสก จำนวน 2 คน คือนายจันลา นาโสกและ นายแกด นาโสก ชักชวนกันขึ้นไปตัดไม้ที่ภูหินสิ่ว โดยเลือกตัดเอาไม้ประดู่มาจำนวน 1 ต้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร ยาว 120 เซนติเมตร ชักลากลงมาจากภูหินสิ่วมาไว้ที่วัดโพธิ์ศรีแก้ว จากนั้นได้ชักชวนชาวบ้านมาถาก ไม้ประดู่ให้เป็นรูปกลอง โดยลักษณะของกลองกิ่ง ด้านบนกว้าง ด้านล่างแคบ หรือปากกว้างก้นแคบ ใช้สิ่วเจาะ กลางท่อนไม้ให้เป็นโพรงทะลุจากด้านบนไปด้านล่าง ขึงหน้าด้วยหนัง ด้านที่มีปากกว้าง ขึงหนังหน้ากลองให้ตึง ด้วยเชือกหนัง โดยใช้คน จำนวน 4 คน ในการตึงหนังหน้ากลองกิ้ง ประโยชน์ของกลองกิ้งมีหลายอย่างเช่น การตีกลองกิ้งในขบวนแห่ไปเอาน้ำอุปคุต หรือถ้าหากว่าได้ยินเสียงกลองกิ้งดังรัวขึ้นเมื่อได แสดงว่ามีงานรื่นเริง หรืองานมงคลเกิดขึ้นนั่นเอง เป็นต้น จนมาถึงปี 2501 ขบวนแห่กลองกิ้งก็หายไป ชาวผู้ไทนาโสกหันมาใช้ กลองยาวแทนในงานประเพณี หรืองานแห่ต่างๆ จนเมื่อปี พ.ศ.2549 ชาวผู้ไทนาโสก ได้คุยกันว่าจะพัฒนาจัดทำ กลองกิ้งขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีทีมช่างฝีมือและทีมงานกลองกิ้ง ผู้ไทนาโสกคือนายอั้ว แสงหมื่น,นายชาย นาโสก, นายสี สุนทร นาโสก, นายนา คนเพียร, นายคึดหาร บับพาน, นายโพธิ์ นาโสก, นายคำก้อน นาโสก, นายสมบัติ พันธ์ โมด, นายชัย สิงห์ศร, นายบาลี นาโสก และทีมงานกลองกิ้งผู้ไทนาโสกมีแนวคิดว่าจะถ่ายทอดศิลปะการตีหรือการ เส็งกลองกิ้งให้กับเยาวชนรุ่นหลังเพื่อให้สืบทอดประเพณีของชาวผู้ไทนาโสกต่อไป
ใส่บาตร
นายถาวร เผ่าภูไทย ได้ให้ข้อมูลในเรื่องการใส่บาตรของชาวผู้ไทนาโสกว่า เป็นชนเผ่าที่นับถือพุทธศาสนา เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และชุมชนนาโสกมีวัดอยู่ทั้งหมด 4 แห่ง คือวัดโพธิ์ศรีแก้ว วัดถ้ำผามอง พี่พักสงฆ์หนองแคน ที่พักสงฆ์เนินคำไหล มีพระจำพรรษาอยู่ทุกวัด ในวันธรรมดาทุกเช้าชาวบ้านนาโสกเกือบทุกหลังคาเรือน จะเตรียมนึ่ง ข้าวเหนียวไว้ใส่บาตรพระสงฆ์ ซึ่งตามเส้นทางบิณฑบาตของพระคุณเจ้า จะมีชาวบ้านยืนรอใส่บาตรตามริมถนน โดยเฉพาะในวันที่เป็นงานเทศกาลชาวบ้านนาโสกที่เป็นผู้หญิงจะใส่ชุดผู้ไท คือใส่เสื้อ ผ้าฝ้ายสีดำหรือย้อมครามเบี่ยง สไบสีแดง นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ต่อตีน ส่วนผู้ชายจะนุ่งโสร่งไหม ใส่เสื้อผ้าตะหลุง ผ้าขาวม้ามัดเอว หลังจากที่ใส่บาตรพระ แล้ว ชาวบ้านจะหาบกระซ้า ที่ใส่อาหารและน้ำพร้อมกระติ๊บข้าวเหนียวไป “จังหัน”ที่วัดอีกครั้งทำพิธีกรรมทาง ศาสนา ซึ่งในชุมชนนาโสกยังคงยึดถือปฏิบัติสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ลงข่วง
นางเซี้ยน ชัยทะ นางบุญมา ภานุโรจนากร เล่าให้ฟังว่า ในสมัยก่อนชาวผู้ไทจะปลูกฝ้ายใช้สอยเอง โดยการไปจับจองที่ตามหัวไร่ปลายนา หรือภูเขา ก่อนทำการเพาะปลูกฝ้ายจะทำการถางป่าไว้ เผาซากไม้ (ฮ้า สวนฝ้าย) พอตกเดือนหกเพ็งจึงนำเมล็ดฝ้ายที่ได้มาจากการอิ้วฝ้าย ไปหว่านโปรยโดยไม่ต้องขุดหลุม ไม่ต้องใส่ ปุ๋ย ปลูกแบบธรรมชาติ พอฝนตกเมล็ดฝ้ายก็จะงอก ต่อมาสักพักก็จะต้องถึงฤดูดายหญ้า (เสียหญ้าฝ้าย)พอ ฝ้ายอายุได้ 5-6 เดือน ฝ้ายจะแตกออกจากลูกเป็นสีขาวแล้วค่อยเก็บ โดยใส่หาบฆ้องกล้ามาที่บ้าน แล้วจึง นำไปตากให้แห้ง แล้วนำมาอิ้วเอาเมล็ดฝ้ายออก ดีดฝ้ายตามลำดับ หลังจากนั้นนำมาทำเป็นล้อฝ้ายโดยทำใส่ ไม้ลำปอเป็นท่อนๆแล้วเก็บไว้
หลังจากนั้นค่อยไปตัดไม้ 9 ต้น เพื่อมาทำลงข่วง ที่สำหรับสาวเข็นฝ้ายชายหนุ่มจีบสาว คล้ายๆกับ ตระแคร่ไม้ไผ่และทำเตาไฟไว้ตรงกลางลงข่วงสำหรับก่อไฟฝิง และจัดเตรียมโหล (ฟืนสำหรับก่อไฟ) พอตกมืด จึงก่อไฟตรงกลางลงโขล่ง แล้วสาวๆเข็นฝ้ายก็จะนำหลาเข็นฝ้ายมาคนละอันมานั่งล้อมรอบเตาไฟประมาณ 4- 5 คน นี่เป็นวงเสวนาของสาวๆ และเป็นแหล่งให้หนุ่มๆมาจีบสาวลงข่วงเข็นฝ้ายในสมัยนั้น โดยหนุ่มๆสมัยนั้น ก็จะมีการเป่าแคลน เป่าปี่ เป่าขลุ่ย มาเป็นกลุ่มเช่นกัน โดยค่อยขยับเข้ามาใกล้ๆลงข่วงและเอ่ยขออนุญาตเป็น ภาษาภูไทว่า “โอ้ยข่วงนี้นะต้อนรับพุบ่าวยุบ้อ” ถ้าฝ่ายสาวๆ อนุญาตก็จะตอบโต้ไปว่า “โอ้ยหึ้นมาโลดจ้า มิ เป็นเผอเดาะ” ทางหนุ่มก็จะขึ้นไปบนข่วงและจีบสาวโดยใช้วาจาพญาญอยต้อยสาว มีเสียงแคน เสียงปี่คลอไป ด้วยกัน และก่อนกลับบ้านก็จะมีการนัดแนะสาวๆ “มื้ออื่นซุมเจ้าลงข่วงยุบ้อ “ฝ่ายหนุ่มกล่าว หากสาวๆ ไม่ ว่างก็จะบอกปฏิเสธไปว่า “มื้ออื่นน่ะไปเสียหญ้าลานวัด” โดยส่วนมากแล้วสาวๆจะชอบหนุ่มที่สามารถลำ กลอนต้อยสาวเป็น สาวจึงจะติดอกติดใจ ย้อนพุบ่าวลำพญาญอย ต้อยสาวลงข่วง จึงมีการแต่งงานกันเกดขึ้น ในสมัยนั้น แต่ถ้าพ่อแม่ไม่เห็นด้วยก็ต้องแยกทางกันไป โดยมีเหตุผลว่า “ถ้าฝ่ายหญิงไม่สามารถต่ำหูก (ทอผ้า ) เก็บหมอน (ทอหมอน) งานบ้านงานเรือนไม่เป็น พ่อแม่ฝ่ายชายก็จะไม่เอาเป็นลูกเพ้อ(ไม่ชอบลูกสะใภ้) เอดหูก เอดฝ้ายมิเป็น (ทอผ้าไม่เป็น)...............ส่วนมากพ่อแม่ฝ่ายหญิงจะสอนลูกว่า “ลูกเอ้ยอย่าไปดิ้น(เล่น)แชะๆชำๆ ใด๋ เอดคือผ้าพับไว้ มันจั่งจบ ผู้เฒ่าผู้แก่จะนับถือ คันไปดิ้นดีเขาผัดว่าเคียว”
บทกลอนแม่สอนลูกในสมัยนั้น
คิดเ👉็นเด้ คิดเ👉็นคุณพ่อแม่เลี้ยง บางทีเสี่ยงกะทนเอา โอ้ยตั้งแต่เนาว์ในครรภ์ ผ่านมาจนป่านนี้ แนวกินบ่มีแม่กะ👉าป้อน ยามนอนแม่กะออย แม่ใ👉้กำเนิดลูกน้อย แม่คอยจ้องแต่บ่อนนอน
แม่ทนอาบน้ำฮ้อน นอนแผ่นกระดานแข็ง แม่👉มดแฮงในการแม่👉ากบายโซมอุ้ม เอาผ้าคลุมมากั้ง คอยฟังแต่แต่ลูกอ่อน
ลูกแม่เอ้ย แม่👉ากเลี้ยงจนใ👉ญ่แล้ว ขอนอบน้อมเนรคุณ คุณแม่เอย 👉ัวใจแม่👉ากว้าวุ่น ลูกคิงอุ่นแต่ยามใด๋ แม่👉ากไปซื้อยามาแก้ บายเอาแพรมาคลุม
มาตุ้มลูก👉ล้าแม่ นอนกลางคืนแม่นั่งเฝ้า พระคุณเจ้าลูกแม่เอย เอย ละ👉นอ แม่👉ากเลี้ยงแต่น้อย ปั้นข้าวจี่ ปลากะเผา
บ่ได้เอามือจก ตีนต่อยต่างฆ้อน กินบ่เป็นแม่กะป้อน ยอมนอนแม่กะกล่อม แม่ถนอมลูกน้อย ยกเอาขึ้นใส่เทา 👉นัก👉รือเบาแม่บ่ว่า
แม่ฮักลูกส่ำดวงตา 👉าแนวสาแนวเส็งเปรียบเ👉มือนบ่มีได้
👉นักเอาเบาก็สู้ ทนไปบ่ลำบากเอย ลูกแม่เอยยากปานใด๋แม่บ่เว้า สิเอาเจ้าอยู่สู่ยาม เอยละ👉นอ
ความเร่งรีบในการประกอบอาชีพ คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยให้ความสำคัญ
ฮีต12 ครอง14
มีความกระตือรือร้นที่จะฟื้นฟูวิถี วัฒนธรรมเก่าๆของชนเผ่าผู้ไท
ไม่มีเวทีในการพบปะพูดคุย ของชาวบ้าน ทำให้มีการ แบ่งขั้ว แบ่งฝ่าย
ไม่มีเวทีในการพบปะพูดคุย ของชาวบ้าน ทำให้มีการ แบ่งขั้ว แบ่งฝ่าย
ด้านสังคมวัฒนธรรม
จากการเก็บข้อมูลด้านสังคมและวัฒนธรรม ทำให้รู้ว่าชาวผู้ไทบ้านนาโสก ยังยึดถือ ฮีต12 ครอง14 ที่ บรรพบุรุษได้ให้กุศโลบายไว้ตั้งแต่ในอดีต แต่ได้เริ่มลดระดับความสำคัญของกิจกรรมลง มีเพียงคนเก่าแก่ เท่านั้นที่ยังยึดถือปฏิบัติเป็นประจำ ส่วนคนรุ่นใหม่จะมีความเร่งรีบในการประกอบอาชีพจึงไม่ค่อยได้เข้าร่วม กิจกรรม ทำให้ชุมชนไม่มีเวทีในการพบปะพูดคุยกัน ชาวบ้านมีการแบ่งขั้ว แบ่งฝ่าย แต่มีชาวบ้านส่วนหนึ่งมี ความกระตือรือร้นที่จะฟื้นฟูวิถีวัฒนธรรมเก่าๆของชนเผ่าผู้ไทบ้านนาโสก เพื่อที่จะอนุรักษ์ รักษาไว้ซึ่งวิถี วัฒนธรรมและถ่ายทอดสู่ทายาทสืบไป
4.1.4 ด้านสาธารณูปโภค
ทางเกวียน นายคำก้อน นาโสก เล่าให้ฟังว่าชุมชนบ้านนาโสกตั้งอยู่ระหว่างหุบเขาภูหินสิ่วกับภูถ้ำ ช้าง มีระยะห่างจากตัวจังหวัดมุกดาหารประมาณ 30 กิโลเมตร ในอดีตเส้นทางการคมนาคมจากชุมชนเข้าสู่ อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนมนั้น เป็นเส้นทางเกวียน มีอยู่ 1 เส้นทางคือ เส้นทางเกวียนมุ่งหน้าไปทางทิศ ตะวันออก ลัดเลาะไปตามป่าดงดิบ เข้าสู่บ้านนาหัวภู ตัดออกไปบ้านพรานอ้น บ้านคำเขือง เข้าบ้านเมืองใหม่ แล้วจึงถึงอำเภอมุกดาหาร บริเวณศาลากลางในปัจจุบัน ต่อมามีเส้นทางที่ 2 ออกไปทางทิศเหนือ ผ่านนาตี้ หนองดินแดง โคกขี้บ่าง นาคอง นาไม้ตาย เข้าสู่เขตตำบลกุดแข้ ออกไปถนนเส้นมุกดาหาร-คำชะอี ในปัจจุบัน เมื่อปี 2513 สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท จังหวัดนครพนม ได้มาตัดถนนเส้นมุกดาหาร-คำชะอี บริเวณบ้าน หนองแวง ตำบลบ้านโคก ตรงเข้ามาสู่บ้านนาโสก ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร โดยในการตัดถนนในสมัย นั้นเป็นถนนลูกรัง สำหรับรถยนต์เดินทางเข้าสู่ตัวเมืองมุกดาหาร ต่อมา ปี 2517 สำนักงานเร่งรัดพัฒนา ชนบท จังหวัดนครพนม ได้มาตัดถนนจากบ้านนาโสก ไปบ้านนาหัวภู และจากบ้านนาโสกไปบ้านนาโด่ บ้านป่ง แดงออกสู่อำเภอนิคมคำสร้อย หลังจากนั้นมาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนจากถนนลูกรัง เป็นลาดยางมะตอย บาง ช่วงเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ปัจจุบันการคมนาคมขนส่งในชุมชนนาโสกมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
ขี้กระบอง นายถาวร เผ่าภูไทย เล่าให้ฟังว่าในอดีตบ้านนาโสกยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านใช้ขี้กระบอง ในการจุดให้แสงสว่างตอนกลางคืน ซึ่งขี้กระบองจะทำมาจากต้นยางนาโดยการบักเอาน้ำมันยาง หรือการเจาะ เอาน้ำมันมาผสมกับเศษไม้ผุ แล้วเอาใบตองชาดใบตองกุง หรือใบตองหางกวางห่อเป็นไต้ อีกแบบหนึ่งคือใช้
กระบอกไม้ไผ่เหลาเปลือกให้บาง แล้วเอาขี้ไต้ใส่เข้าไป เก็บไว้ใช้จุดให้แสงสว่างในกิจกรรมต่าง ๆ ในตอนกลาง คืน ต่อมาได้พัฒนาเป็นถ่านแก๊สใช้เป็นตะเกียงแก๊ส และในปี 2502 ได้พัฒนาเป็นตะเกียงน้ำมันก๊าดและน้ำมัน ดีเซล แต่น้ำมันดีเซลไม่ค่อยนิยมใช้นักเนื่องจากควันดำ แล้วในปี 2525 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้เดินไฟฟ้าเข้า มาในบ้านนาโสกจนถึงปัจจุบัน
ส้างครูรส นางฐานันดร แสงหมื่น เล่าให้ฟังว่าในอดีตชาวบ้านนาโสกใช้น้ำบ่อขุด(น้ำส้าง) โดยน้ำส้าง จะมีลักษณะขุดดินเป็นรูปสี่เหลี่ยม ลงไปจนถึงตาน้ำ บางแห่งก็ไม่ลึกมาก บางแห่งก็ลักถึง 30 เมตร ที่บ้านนา
โสกมี น้ำส้างอยู่หลายที่ ดังนี้ คือ ส้างกกเงว อยู่ทางทิศตะวันออกของชุมชน ส้างครูรสอยู่ทางทิศตะวันตก ของหมู่บ้าน โดยมีประวัติว่าในสมัยที่ทางราชการก่อสร้างโรงเรียนบ้านนาโสกและมีครูประชาบาลชื่อครูรส ได้มาพาชาวบ้านนาโสกขุดบ่อน้ำเพื่อเอาไว้บริโภค และชาวบ้านนาโสกก็ใช้น้ำในส้างครูรสเรื่อยมา ส้างกอไผ่ ส้างนา ม้อง เป็นต้น ส้างหรือบ่อน้ำในอดีตจะเป็นที่พบปะของหนุ่มสาวในหมู่บ้าน เนื่องจากภารกิจของหนุ่ม สาวชาวผู้ไทนาโสกในอดีตจะต้องตักน้ำให้เต็มอุเต็มไห ทั้งตอนเช้าและตอนเย็น ต่อมาปี พ.ศ.2539 องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นได้เข้ามาบริหารจัดการเป็นระบบประปาชุมจนถึงปัจจุบัน
ด้านสาธารณูปโภค
นโยบายรัฐบาล
เกิดความสะดวกสบายใน การดำรงชีวิตมากขึ้น
รัฐบาลเข้ามาบริหาร จัดการด้านสาธารณูปโภค
มีและใช้เองตาม ธรรมชาติ
รัฐบาลเป็นผู้ให้บริการ ชาวบ้านเป็นผู้ใช้บริการ
จากที่ได้เก็บข้อมูลด้านสาธารณูปโภคในชุมชนบ้านนาโสก พบว่าในอดีตด้านสาธารณูปโภคชุมชนนา โสกได้มีการทรัพยากรจากธรรมชาติ เป็นปัจจัยหลัก แต่ในปัจจุบันรัฐบาลได้เป็นผู้เข้ามาบริหารจัดการด้าน สาธารณูปโภคทั้งหมด ส่งผลให้ชาวบ้านมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น
4.1.5 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ภูหินสิ่ว นายอั้ว แสงหมื่น เล่าให้ฟังว่าภูหินสิ่วเป็นลักษณะภูเขาขนาดกลาง อยู่ทางทิศใต้ของชุมชน นาโสกเป็นภูเขาที่ทอดยาวไปทางทิศตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 25 ตารางกิโลเมตร ในอดีตภูหินสิ่วมีลักษณะ เป็นป่าดงดิบ ป่ารกดงทึบมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่ชุกชุม เช่น ช้าง เสือ กวาง ฯลฯและยังมีสมุนไพรพืชที่ใช้เป็นอาหาร มากมาย ชาวผู้ไทนาโสกได้ใช้เป็นแหล่งหาอาหารตามฤดูกาลมาตั้งแต่ในสมัยอดีตแล้ว ซึ่งในอดีตจะมีเฉพาะ พรานป่าเท่านั้นที่จะสามารถเข้าไปถึงดงลึกข้างบนภูหินสิ่วได้ ในสมัยลัทธิคอมมิวนิสต์แพร่ขยายเข้ามาใน ประเทศไทย เมื่อช่วงปีพ.ศ.2510 ก็มีชาวบ้านส่วนหนึ่งเข้าร่วมอุดมการณ์ ได้หนีเข้าป่าอาศัยหลบซ่อนอยู่ตาม ถ้ำบนภูหินหิ่ว จนรัฐบาลได้ปราบปราบจนสำเร็จ เมื่อปีพ.ศ.2523 ก่อนหน้านี้ภูหินสิ่วเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของ เขตป่าสงวนดงบังอี่ ปัจจุบันภูหินสิ่วได้ถูกประกาศเป็นป่าชุมชน หมู่ที่ 13 และยังเป็นแหล่งหาอาหารป่า เช่น หน่อไม้ เห็ด สมุนไพร ซึ่งภูหินสิ่วยังมีจุดที่จะสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลายที่ เช่น
👉ินต่าง มีลักษณะเป็นหินก้อนใหญ่ตั้งอยู่บนหินก้อนเล็กสองก้อนคล้ายอานม้า ซึ่งในภาษาภูไทเรียก อานม้าว่า “ต่าง” จึงเรียกซื่อก้อนหินนี้ว่า “หินต่าง”
ผาคอย เป็นจุดชมวิวบนภูหินสิ่ว สมารถมองเห็นชุมชนนาโสกทั้ง 4 หมู่บ้านและบ้านเหล่าป่าเป้ด 3 หมูบ้าน ในอดีตชาวบ้านไปตัดเอาไม้ไผ่ มาจักเป็นตอกมัดกล้า มัดข้าว
อ่างวัว ในฤดูทำนาชาวบ้านจะปล่อยวัว ควายไปเลี้ยงบนภูเขา เพื่อป้องกันไม่ให้วัว ควาย ลงย่ำนา ย่ำ ข้าวของชาวบ้าน มีเรื่องเล่าว่าในอดีตประมาณร้อยกว่าปีมาแล้ว มีวัวคู่หนึ่งผสมพันธุ์กันพลัดตกลงอ่างหินจมน้ำ ตาย ชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อว่า “อ่างวัว”ปัจจุบันตื้นเขินเนื่องจากมีทรายไหลลงไปทับถม
ถ้ำฆ้องลั่น ในอดีตมีชาวบ้านไปตัดไม้ที่ภูหินสิ่ว ในคืนวันเพ็ญเดือน 11 แล้วได้ยินเสียงฆ้องดังลั่น ออกมาจากถ้ำ เมื่อก่อนถ้ำฆ้องลั่นสามารถเดินเข้าไปข้างในถ้ำได้ ปัจจุบันมีเศษใบไม้ทับถมทางเข้าถ้ำหมดแล้ว
ฝายน้ำล้นห้วยกะหลอง
นายนา คนเพียร เล่าว่าเป็น ฝายน้ำล้นกั้นห้วยกะหลอง อยู่ห่างจากหมู่บ้านไปทางทิศตะวันออกเฉียง ใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร โดยในปีพ.ศ.2510 โครงการชลประทานจังหวัดอุบลราชธานี ได้มาขุดกั้นเป็นฝายน้ำ ล้นให้ชาวผู้ไทนาโสกได้ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรและประมง มีเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ ต่อมา เมื่อปีพ.ศ.2541 เกิดฝนตกหนักจนทำให้คันฝายขาด กรมชลประทานได้มาขุดลอกให้ใหม่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีพื้นที่ประมาณ 125 ไร่ ชาวผู้ไทนาโสก ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรและประมง
อ่างเก็บน้ำห้วยกะหลองตอนบน
นายนา คนเพียร เล่าว่าเมื่อก่อนชาวบ้านเรียกว่าห้วยไม้ตาย ต่อมาเมื่อปีพ.ศ.2522 กรมชลประทานมาขุด ลอกเป็นอ่างเก็บน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำไว้อุปโภค บริโภคและการเกษตร โดยมีเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ ปัจจุบันเทศบาล ตำบลนาโสก ได้นำน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยกะหลองตอนบนเป็นน้ำดิบในการทำน้ำประปา
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เนื่องจากกระแสทุนนิยมการปลูก พืชเชิงเดี่ยว แย่งกันกินแย่งกันใช้
มีการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติไม่ได้รับการพัฒนา
เกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติ
ประกาศเป็นป่าชุมชนที่ ยังไม่มีระเบียบการ บริหารจัดการที่ เหมาะสม
แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติไม่ได้รับการฟื้นฟู พัฒนา แหล่งอาหารตามธรรมชาติลดน้อยลง
จากการเก็บข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนนาโสก พบว่าพื้นที่ชุมชนบ้านนาโสก ตั้งอยู่พื้นที่เขตป่าสงวนดงบังอี่ แต่มีพื้นที่บางส่วนรัฐบาลได้ออกเอกสารสิทธิ์ เป็น โฉนด, นส.3 ก, สปก., สค.1, ป่าชุมชน ฯลฯ ในส่วนภูหินสิ่วได้ถูกประกาศเป็นป่าชุมชน แต่ยังไม่มีระเบียบข้อตกลงในการบริหารจัดการที่ เหมาะสม ยังไม่มีการบูรณะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติได้
4.1.6 ด้านเศรษฐกิจ
นายถาวร เผ่าภูไทย ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มอาชีพในชุมชนนาโสก ที่ได้รวมกลุ่มกันเพื่อทำกิจกรรมในการ สร้างรายได้ให้กับครอบครัว ดังนี้ (กลุ่มคัดพันธุ์ข้าว กลุ่มจักรสาน กลุ่มทอผ้าฝ้าย กลุ่มสมุนไพร)
กลุ่มสมุนไพร
นายดี อุคำ นายอ่ำคา นาโสก นายทอง อุคำ เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความรู้เรื่องสมุนไพร โดยได้เสาะ แสวงหาสมุนไพรตามป่าโคก และบนภูเขา ซึ่งมีชาวบ้านบางส่วนที่ยังใช้บริการกลุ่มสมุนไพร มีการบอกกล่าวไปถึง ต่างจังหวัด มีประชาชนเข้ามาใช้บริการส่วนหนึ่ง
กลุ่มจักสาน
นายทุ่น นาโสก นายชาย นาโสก นายเจริญ นาโสก นายเคลือบ นาโสก เป็นกลุ่มชายสูงอายุที่ไม่ไดทำ
การเกษตรแล้ว ผันตัวเองมาทำเครื่องจักสานกระบุง กระต่า กระติ๊บข้าว กระด้ง หวดนึ่งข้าว ขายในชุมชน โดยไปตัด ไม้ไร่ ไม้ ไผ่บ้าน ที่บริเวณภูหิ่นสิ่ว ภูโหเมย มาจักตอกสาน สร้างรายได้ให้กลุ่มผู้สูงวัย
กลุ่มทอผ้า
ตามวัฒนธรรมชาวผู้ไท จะมีการปลูกฝ้ายไว้ใช้เอง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2540 ได้มีการพัฒนามาเป็นกลุ่มทอผ้า ของชุมชนนาโสก มีสมาชิก 20 คน จากฝ้ายที่ปลูกเองของสมาชิกในกลุ่ม และรับซื้อฝ้ายจากชาวบ้านด้วย มาแปรรูป เป็นผ้าพื้น ผ้าย้อมคราม ผ้าตะหลุง ผ้าฝ้าย ถักทอเป็นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าฝ้ายเย็บมือ ผ้าฝ้ายพื้นเมือง ผ้าขาวม้า ผ้าพันคอ ผ้าถุง สไบ มีประชาชนจากนอกชุมชนมาซื้อผลิตภัณฑ์ในหมู่บ้าน และยังมีการออกร้านขายสินค้าตามงาน ต่างๆของจังหวัด
กลุ่มศูนย์ข้าวชุมชนตำบลนาโสก
กลุ่มศูนย์ข้าวชุมชนตำบลนาโสก เริ่มต่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2540 มีสมาชิก 30 คน เพื่อรวบรวมข้าวของสมาชิก คัดพันธุ์ข้าว ขายให้สมาชิกและเกษตรกรในอำเภอมุกดาหาร ซึ่งกลุ่มศูนย์ข้าวชุมชนตำบลนาโสก ได้ทำการคัดพันธุ์ ข้าว กข.6 และพันธุ์ธัญสิริน ปัจจุบันมีเงินทุนหมุนเวียนอยู่ประมาณ 200,000 บาท
ด้านเศรษฐกิจ
-เนื่องจากนโยบายรัฐบาลและ กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก
มีความพยายามฟื้นฟูการท่องเที่ยว ชุมชุนที่ตอบสนองนักท่องเที่ยว หลากหลายรูปแบบ
-มีการรวมกลุ่มอาชีพเพื่อสร้างฐาน การผลิตให้ใหญ่มากขึ้น
ต่างคนต่างทำ ผลิตภัณฑ์ ใช้เองตามภูมิปัญญา
-กลุ่มผลิตภัณฑ์ต่างๆขาดโอกาสในการขาย ขาดรายได้เข้าชุมชน
-เนื่องจากขาดการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวได้รับทราบข้อมูล
จากที่ได้เก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจของกลุ่มอาชีพในชุมชนนาโสก พบว่าในอดีตชาวบ้านในชุมชนนาโสกต่าง คนต่างผลิต ผลิตภัณฑ์เพื่อใช้เองตามภูมิปัญญา ต่อมามีการรวมกลุ่มกันผลิตและจำหน่ายตามนโยบายของรัฐบาล และกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก แต่กลุ่มอาชีพยังไม่มีช่องทางการตลาดในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มากนัก
เนื่องจากยังขาดการประชาสัมพันธ์ แต่ชาวบ้านในชุมชนมีความพยายามที่จะฟื้นฟูการท่องเที่ยวชุมชน ที่สามารถ ตอบสนองนักท่องเที่ยวได้หลากหลายรูปแบบ
สรุปผลการศึกษาในวัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ และบริบทชุมชนที่สัมพันธ์กับการ ท่องเที่ยววิถีชาวนาของคนภูไทนาโสก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พบข้อมูลสำคัญดังนี้
1. สภาพพื้นที่ป่าชุมชนบางส่วนถูกทำลาย ทรัพยากรไม่มีการพัฒนาเนื่องจากชุมชนไม่มีความตระหนักใน การหวงแหนป่าชุมชน ไม่มีการฟื้นฟูและพัฒนาป่าชุมชนซึ่งพื้นที่ป่าเขาในชุมชนนาโสกบางส่วนได้ถูกประกาศเป็นป่า ชุมชนแต่ไม่ได้มีการบริหารจัดการหรือระเบียบกติกาในการป้องกันหรือรักษาโดยคนในชุมชนที่ชัดเจน
2. การเลือกตั้งในระดับท้องที่ ท้องถิ่นมีการซื้อเสียง/ชุมชนแบ่งเป็นกลุ่ม มีการแบ่งขั้วการเมือง แข่งขัน ขัดแย้งบางเรื่องที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชนทำให้ชุมชนนาโสกไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
3. มีเครื่องมือ เครื่องจักรสาร สารเคมีพิษทางการเกษตรมาทดแทน มีการใช้เงินลงทุนทำการเกษตรมากขึ้น วิถีชีวิตในเรื่องการเกษตรแบบเก่าสูญหายไป เนื่องจากนโยบายรัฐบาลและกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่ส่งเสริม การใช้เครื่องมือ เครื่องจักรกล สารเคมีพิษทางการเกษตรมากขึ้น พันธุกรรมพืชที่รัฐบาลส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อ หวังที่ครองตลาดทางการเกษตร
4. ชาวบ้านชุมชนนาโสกมีความกระตือรือร้นอยากฟื้น อยากทำแบบวิถีวัฒนธรรมแบบเก่าของผู้ไท เพื่อการ สืบทอดการปฏิบัติวัฒนธรรมผู้ไท จากรุ่นสู่รุ่น ในปัจจุบันมีชาวบ้านในชุมชนบ้านนาโสกเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆเยอะ มากขึ้น มีการแต่งชุดประจำเผ่าเข้าร่วมกิจกรรมเกือบทั้งหมู่บ้าน
5. ด้านสาธารณูปโภคถูกจัดการจากรัฐบาลทั้งหมด ต้องพึ่งพาจากภายนอก ทั้งถนนหนทาง ไฟฟ้า ประปา แต่ส่งผลให้ชาวบ้านมีความสะดวกสบายมากขึ้น
6. มีเกษตรกรทั้งในและต่างประเทศมาศึกษาดูงาน ศพก.จากนอกชุมชน ในปีพ.ศ.2560 ที่ผ่านมา จำนวน 69 คณะ รวมแล้วประมาณ 4,000 คน มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพในชุมชน เช่น มีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ จำนวนกว่า 20 คน สร้างเป็นฐานเรียนรู้และสามารถสร้างรายได้จากการขายสินค้า เข้าชุมชนประมาณ ปีละ 200,000 บาท แต่มี กลุ่มเกษตรกรและผู้เยี่ยมเยือนพักในชุมชนนาโสกน้อย
4.2) สถานการณ์ สาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยววิถีชาวนาของคนผู้ไทนาโสก 4.2.1 สถานการณ์ภายใน
1. มีเกษตรกรต่างถิ่น ต่างจังหวัดมาศึกษาดูงานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สินค้าเกษตร(ศพก.)อำเภอเมืองมุกดาหาร
นายถาวร เผ่าภูไทย ได้เล่าให้ฟังว่าในปี พ.ศ.2560 มีกลุ่มเกษตรกรเข้ามาศึกษาดูงานที่ศูนย์ เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.)อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 69 กลุ่ม จำนวนเกษตรกรประมาณ 4,000 คน โดยที่เกษตรกร หรือคณะที่เข้ามาศึกษาดูงานจะติดต่อ ประสานงานมาที่นายถาวร เผ่าภูไทย เพื่อแจ้งจำนวนเกษตรกรหรือคณะที่จะเข้ามาศึกษาดูงาน โดยในปีพ.ศ. 2560 ไม่มีคณะศึกษาดูงานพักในชุมชนบ้านนาโสกเลย เมื่อศึกษาดูงานเสร็จแล้ว จะเข้าไปพักที่ตัวจังหวัด มุกดาหาร
2. การแสดงวัฒนธรรมการฟ้อนภูไทงานกาชาดมุกดาหาร
นายชาย นาโสก และนางฐานันดร แสงหมื่น ได้ให้ข้อมูลกับนักวิจัยว่า ชาวผู้ไทนาโสก มี ทีมงานฟ้อนรำ ทั้งรำบวงสรวง เต้นริงโก้ มีทีมสาวผู้ไทที่ฝึกซ้อมฟ้อนรำ อยู่ประมาณ 15 คน โดยเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561 คณะฟ้อนรำจากชุมชนนาโสกได้มาแสดงในงานกาชาดประจำปี พ.ศ.2561 ที่บริเวณเวทีกลาง
งานกาชาดของดี 36 ปี มุกดาหาร และในโรงเรียนชุมชนนาโสกได้มีการฝึกนักเรียนรำบายศรีสู่ขวัญ ในการทำ กิจกรรมต่างๆ เมื่อมีการบายศรีสู่ขวัญ จะมีกลุ่มฟ้อนรำจากชุมชนและจากโรงเรียนชุมชนนาโสกมาร่วมด้วย เสมอ
3. ประเพณีไขประตูเล้าของภูไทนาโสก
ในปี พ.ศ.2561 ชาวบ้านนาโสกได้จัดประเพณีบุญเดือน 3 งานไขประตูเล้า เมื่อวันที่ 19-20 มกราคม 2561 พร้อมกับการเปลี่ยนเสาหลักบ้าน บริเวณกลางบ้านที่คุ้มไทรทอง มีแขบวนฟ้อนแห่พระแม่ โพสพ ขบวนแห่กลองยาว ขบวนแห่กลองกิ้ง เริ่มจากถนนเส้นหน้าโรงเรียนชุมชนนาโสก ไปที่ปะรำพิธีชั่วคราว กลางหมู่บ้าน ชาวบ้านชุมชนนาโสกเข้าร่วมกิจกรรมกันจำนวนมาก มีการเปิดร้านฐานการเรียนรู้ในชุมชน ทั้งหมด 19 ฐานโดยมีเกษตรจังหวัดมุกดาหารมา เป็นประธานในพิธีไขประตูเล้า และในตอนกลางคืนมีทีม กลองกิ้งบ้านหนองแวง บ้านนาบอน มาเส็งกลองกิ้ง เพื่อความรื่นเริงในงาน
4. หมู่บ้านโฮมสเตย์
นายชาย นาโสก และนายถาวร เผ่าภูไทย ให้ข้อมูลในเรื่องโฮมสเตย์ว่า ในปี 2553 มูลนิธิ ศุภนิมิตแห่งประเทศไทย มาร่วมศึกษาดูงาน ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์อะตอมมิคนาโน โดยนายถาวร เผ่า ภูไทย เป็นผู้นำศูนย์เรียนรู้ฯ มีเป้าหมายเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยอินทรีย์ การปลูกอยู่ปลูกกิน ในระบบอินทรีย์ ขณะนั้นสามารถเชื่อมกับผู้นำชุมชนได้ จึงมีการต่อยอดกิจกรรมให้เกิดการพักค้างคืนในชุมชน จึงได้มีความสนใจในการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านโฮมสเตย์มีการส่งผู้นำเข้าร่วมอบรม ขณะนั้นนายชาย นาโสก ที่ ดำรงตำแหน่งกำนันตำบลนาโสกเข้าร่วมกิจกรรม ต่อมาจึงได้คัดชุมชนนาโสกเป็นหมู่บ้านโฮมสเตย์ โดยเริ่มต้น มีชาวบ้านในชุมชนนาโสกสมัครใจร่วมกิจกรรม จำนวน 13 หลังคาเรือน จากนั้นก็เริ่มมีกลุ่มศึกษาดูงานจาก ต่างจังหวัด และจาก สปป.ลาว ในขณะเดียวกันชุมชนโฮมสเตย์ได้รับการส่งเสริมจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทย (ททท.) ได้เข้ามาอบรม แนะนำการดำเนินกิจกรรมโฮมสเตย์ โดยมีการเข้ามาตรวจประเมินมาตรฐานใน แต่ละด้าน ในครั้งนั้นชุมชนนาโสกมีรูปแบบการจัดทำโฮมสเตย์ที่ส่งเสริมให้ผู้เข้าพักมีกิจกรรมร่วมกับชุมชน ผ่านการซึมซับ เรียนรู้ในด้านวัฒนธรรมของชุมชนชาวผู้ไทย อาทิ ช่วงเช้าจะมีกิจกรรมร่วมทำบุญตักบาตร ลง วัดจังหัน (การถวายภัตตาหาร) ช่วงเย็นเป็นการแสดงการละเล่น การฟ้อนรำ ผู้ไทยรำวงสามัคคีย้อนยุค การ เส็งกลองกิ้ง และรับประทานอาหารพื้นบ้าน และการเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวผู้ไทยผ่านการกิน อยู่ นอนนำ และ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ชุมชนได้รับรางวัลหมู่บ้านโฮมสเตย์ดีเด่น อีกทั้งกิจกรรมของชุมชนได้รับ ความร่วมมือจากภาคส่วนราชการ พร้อมกันนี้ชุมชนนาโสกยังมีประเพณีวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับวิถีชุมชน ดังนี้
ปฏิทินกิจกรรมในแต่ละรอบปี
เดือน | ประเพณี/วัฒนธรรม | กิจกรรมการเกษตร/วิถีชีวิต |
1 | บุญเข้ากรรม | ไถกลบ ปลูกผัก เก็บฝ้าย ตัดอ้อย กรีดยาง |
2 | บุญกองข้าว | ปลูกผัก เก็บฝ้าย ตัดอ้อย กรีดยาง |
3 | บุญไขประตูเล้า | ปลูกผัก ทอผ้า ไข่มดแดง ผักหวาน ตัดอ้อย |
4 | บุญผะเหวด | ปลูกผัก ทอผ้า ขัวกุ๊ดจี่ ขัวหอย ขุดปู ขุดกบเขียด ส่องกบเขียด |
5 | บุญสงกรานต์ | ปลูกผัก ขุดกบเขียด ส่องกบเขียด สูบปลา ช้อนกุ้ง ดอกกระเจียว หน่อไม้ฮุ้ นไฮ้ กรีดยาง |
6 | บุญบั้งไฟ | ไถฮุด หาเห็ด หาหน่อไม้ หาแมงแคง ปลูกข้าวไร่ กรีดยาง |
7 | บุญเลี้ยงปู่ตา | ปลูกฝ้าย ตกกล้า ถอนกล้า ดำนา หาหน่อไม้ กรีดยาง |
8 | บุญเข้าพรรษา | ถอนกล้า ดำนา หาหน่อไม้ กรีดยาง |
9 | บุญข้าวประดับดิน | ดำนา ใส่เบ็ด ส่องกบเขียด ไปย๋ามต้อน-ชั่ง ไล่แมลงทับ กรีดยาง |
10 | บุญข้าวสาก | เกี่ยวข้าวดอ ฟาดข้าว เพาะกล้าผัก ไล่แมลงทับ เก็บแมงมัน ขุดมันอ้อน |
11 | บุญออกพรรษา | เกี่ยวข้าว มัดข้าว ฟาดข้าว เก็บฝ้าย ขุดมันอ้อน เส็งกลองกิ้งกินข้าวเม่า ปลูกอ้อย |
12 | บุญกฐิน | เกี่ยวข้าว มัดข้าว ฟาดข้าว ปลูกอ้อย |
5. การจัดตั้งชมรมผู้ไทมุกดาหาร
นายถาวร เผ่าภูไทย เล่าว่า เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2561 ชมรมผู้ไทมุกดาหาร ได้นัดประชุม เพื่อก่อการจัดตั้งเป็นชมรมผู้ไทมุกดาหารที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีตัวแทนชาวผู้ไทแต่ละอำเภอเข้าร่วมประชุม จำนวน 38 คน มีวาระการประชุมเพื่อพิจารณาคัดเลือกประธานชมรมผู้ไทมุกดาหาร และคณะกรรมการ อีก 15 คน ซึ่งได้นายพันใจ นครไทย จากอำเภอหนองสูง เป็นประธานชมรมผู้ไทมุกดาหาร นายเจษฎาพล คำ ภูษา รองประธานชมรมฯและมติที่ประชุมได้กำหนดตราสัญลักษณ์ชมรม และรูปแบบการแต่งกายที่จะเข้า ร่วมวันงานผู้ไทโลก ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 16-18 กุมภาพันธ์ 2561 ในอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม
6. สาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยว
เมื่อวันเสาร์ ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 ทีมวิจัยแนวทางการฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการ ท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่าผู้ไทยบ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ได้เปิด เวทีสังเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือด้วยการ SWOT พบว่า
6.1 ปัจจัยที่เอื้อต่อการท่องเที่ยว
1. มีศูนย์เรียนรู้การเกษตรในชุมชน
2. มีวัฒนธรรมผู้ไทที่สวยงาม
3. การแต่งกายของชาวผู้ไท ที่สวยงาม
4. ชุมชนมีความร่วมมือกันดี
5. มีพื้นที่ ทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม สวยงาม
6. มีอาหารพื้นเมืองที่อร่อย
6.2 สาเหตุที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยว
1. งบประมาณอุดหนุนจากภาคราชการมีน้อย
2. เทศบาลไม่ให้การสนับสนุน
3. รายได้จากนักท่องเที่ยวน้อย
4. ขาดการประชาสัมพันธ์
5. กิจกรรมไม่หลากหลาย
6. มีอาชีพหลากหลาย ไม่ค่อยมีเวลา
7. ผู้นำท้องที่งานเยอะ
8. ผู้นำท้องถิ่นไม่ให้การสนับสนุน
7. ผู้มีส่วนได้เสีย
เมื่อวันที่ 19-20 มกราคม 2561 ชุมชนนาโสกได้จัดประเพณีวันไขประตูเล้า โดยทางทีมวิจัยฯ ได้เก็บข้อมูลผู้มีส่วนได้เสีย จากการดำเนินการจัดประเพณีงานไขประตูเล้า ประจำปี 2561 มี ผู้มีส่วนได้เสีย ดังนี้
วธ.จ
อบจ.มห
กลุ่ม
สมุนไพร
โรงเรียน
ชุมชนนาโสก
ททท.
กลุ่มโฮม
สเตย
ชุมชนนา
โสก
โครงการแนวทางการฟื้นฟูสู่
การพัฒนารูปแบบการ ท่องเที่ยววิถีชาวนาของชน เผ่าผู้ไทบ้านนาโสกฯ
กลุ่มทอ
ผ้า
กลุ่ม กลอง กง
ทศ.ต
รพ.สต
เจ้าอาวาส
วัดโพธิ์ศร
กษ.
หอการค้า
ผู้มีส่วนได้เสียภายใน
1 กลุ่มโฮมสเตย์ เปิดบูธแสดงนิทัศการในวันเปิดงาน
2 กลุ่มกลองกิ้ง ร่วมกิจกรรมขบวนแห่พระแม่โพสพ
3 กลุ่มทอผ้า แสดงและขายสินค้าผ้าเย็บมือ ผ้าพื้นเมืองในงานประเพณี
4 กลุ่มเกษตรอินทรีย์ แสดงและขายผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ของกลุ่ม
5 กลุ่มสมุนไพร แสดงผลิตภัณฑ์สมุนไพร
5 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาโสก
6 โรงเรียนชุมชนนาโสก คณะครูได้จัดให้นักเรียนชุมชนนาโสกมีขบวนแห่เจ้าแม่โพสพ
7 เทศบาลตำบลนาโสก ร่วมกิจกรรมขบวนแห่
8 ชาวบ้านชุมชนนาโสก เข้าร่วมกิจกรรมทุกครัวเรือน
9 เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรีแก้ว เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และผู้นำทางศาสนา
10 องค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร สนับสนุนรถเครื่องเสียงในงานทั้ง 2 วัน ผู้มีส่วนได้เสียภายนอก
1 การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมุกดาหาร
2 วัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร
3 หอการค้าจังหวัดมุกดาหาร
4 เกษตรและสหกรณ์จังหวัดมุกดาหาร
จากการศึกษาข้อมูลสถานการณ์ภายใน ชุมชนนาโสก พบว่าเมื่อปีพ.ศ.2550 ได้มีการจัดตั้งศูนย์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรอินทรีย์อะตอมมิกนาโนจังหวัดมุกดาหาร เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การลดต้นทุน การเกษตรให้กับเกษตรกร โดยจากข้อมูลในปีพ.ศ.2560 มีกลุ่มเกษตรกรเข้ามาศึกษาดูงานที่ศูนย์เรียนรู้ ทั้งหมด 69 กลุ่ม เกษตรกรจำนวนประมาณ 4,000 คน แต่เกษตรกรที่มาศึกษาดูงานพักในชุมชนน้อย ทำให้ไม่ เกิดการกระจายกระแสเงินสดในชุมชน ในระดับเศรษฐกิจฐานราก ประชาชนในระดับฐานรากหรือประชาชน ในหมู่บ้านท้องถิ่น ไม่ได้รับอานิสงส์จากการมีการศึกษาดูงานของเกษตรกรจากนอกท้องถิ่น เนื่องจากยังขาด กลไกการจัดการท่องเที่ยวชุมชนที่มีประสิทธิภาพ
4.2.2 สถานการณ์ภายนอก
สถานการณ์การท่องเที่ยวในจังหวัดมุกดาหาร (ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมุกดาหาร)
นายถาวร เผ่าภูไทย ได้เข้าไปขอข้อมูลสถานการณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดมุกดาหาร จากสำนักงาน การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมุกดาหาร ได้ข้อมูลว่าเป็นจังหวัดชายแดนโดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน ระหว่างไทยกับสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่ทั้งสองฝั่งมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมายาวน าน มี ประเพณีวัฒนธรรมต่างๆมากมาย ซึ่งสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดีและจังหวัดมุกดาหารยังยึด มั่นและสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมอย่างเหนียวแน่น ใจดี กิริยามารยาทอ่อนน้อมถ่อมตน ละเอื้อเฟื้อซึ่งกันและ กันโดยมีชนเผ่ารวมกันอยู่อาศัยอยู่ จำนวน 8 เผ่า ได้แก่ ชาวผู้ไท ชาวไทยญ้อ ชาวไทยข่า ชาวไทยโซ่ ชาวไทย กะเลิง ชาวไทยแสก ชาวไทยกุลา และชาวไทยอีสาน ซึ่งปัจจุบันจังหวัดมุกดาหารมีการจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจ พิเศษ มีการลงทุนของผู้ประกอบการต่างๆมากมาย อาทิเช่น โรบินสัน แม็คโคร โลตัส บิ๊กซี โกลบอลเฮ้าส์ เดอะวัน และกลุ่มทุนในจังหวัดมุกดาหาร ในการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดมุกดาหารได้ตามวิสัยทัศน์ของ จังหวัดมุกดาหาร คือ “เมืองการค้า การเกษตร การท่องเที่ยวชายโขง เชื่อมโยงอาเซียน”
นอกจากนั้นจังหวัดมุกดาหารยังมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน มีการจัดทำบันทึกความ ร่วมมือด้านการท่องเที่ยวร่วมกันระหว่าง แขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว จังหวัดกวางตรี ประเทศเวียดนาม และเมืองฉงจั่ว ประเทศจีนตอนใต้ ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมการจัดทำเส้นทางการ ท่องเที่ยว และการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวมาตลอด โดยจังหวัดมุกดาหารมีจุดแข็งด้านโ ลจิสติก ที่ตั้งอยู่ บนเส้นทางเชื่อมโยงตามแนวเส้นทางเชื่อมโยงตามโครงการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ ตะวันออก-ตะวันตก โดยมีสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) เป็นจุดเชื่อมต่อ ทำให้เป็น จุดเชื่อมโยงการค้าการลงทุนและวัฒนธรรมกับประเทศในอนุภูมิภาค
สถานการณ์สถิติและรายได้จากการท่องเที่ยวจังหวัดมุกดาหาร ปี 2559 (ไตรมาสที่ 4 ตุลาคม- ธันวาคม 2559) มีผู้เยี่ยมเยือน จำนวน 464,189 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย และเป็นนักทัศนาจร มากกว่านักท่องเที่ยว เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 2.20 จากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยว ชาวไทยและนักทัศนาจรทั้งชาวไทยละชาวต่างชาติ โดยผู้เยี่ยมเยือนมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยคนละ 1,037.19 บาทต่อ วัน และก่อให้เกิดรายได้แก่จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 705.24 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ขยายตัวร้อยละ 6.78 สัญชาติของผู้เข้าพักแรมในจังหวัด จะเป็น ลาว เวียดนาม ฝรั่งเศส อังกฤษและญี่ปุ่น ตามลำดับ โดยภาพรวมจังหวัดมุกดาหารมีสถานพักแรม จำนวน 83 แห่ง ห้องพักกว่า 2,748 ห้อง มีอัตราการ เข้าพักร้อยละ 50.38 วันพักเฉลี่ย 2.19 วัน คนพักเฉลี่ยต่อห้อง 1.94 คน และมีจำนวนผู้เข้าพัก 114,263 คน ขยายตัวร้อยละ 1.46 ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวของการท่องเที่ยวในจังหวัดมุกดาหาร มีหลายปัจจัย ส่วน หนึ่งมาจากความมีศักยภาพของจังหวัด ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวติดแม่น้ำโขง มีบรรยากาศและวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม เป็นประตูสู่อินโดจีน ไปยังลาว เวียดนามได้สะดวก โดยผ่านสะพานมิตรภาพไทยลาว แห่งที่ 2 บนเส้น EWEC
และ สปป.ลาวมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวส่งผลให้การเดินทางข้ามสะพาน มิตรภาพสะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น ตลอดจนการอำนวยความสะดวกด้านการผ่านแดน One Stop Service และการอำนวยความสะดวกของรถยนต์นักท่องเที่ยวอีกทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้จังหวัดมุกดาหารยังมีการจัด กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวต่าง ๆ ทุกเดือน จึงทำให้จังหวัดมุกดาหารเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ทุกปี(ข้อมูลจากกรมการท่องเที่ยว)
สรุปสถิติท่องเที่ยวจังหวัดมุกดาหาร ย้อนหลัง 4 ปี(2560-2557)
ปี พ.ศ. | 2560 (ม.ค.-พ.ค.) | 2559 (ม.ค.-ธ.ค.) | 2558 (ม.ค.-ธ.ค.) | 2557 (ม.ค.-ธ.ค.) | หมายเหตุ |
ผู้เยี่ยมเยือน | 884,111 | 1,887,573 | 1,850,495 | 1,475,139 | |
ไทย | 808,273 | - | 1,685,406 | 1,331,581 | |
ต่างชาติ | 75,838 | - | 165,089 | 143,558 | |
รายได้(ล้านบาท) | 1,300.26 | 2,801.06 | 2,648.29 | 1,995.07 | |
ไทย | 1,197.86 | - | 2,356.72 | 1,751.11 | |
ต่างชาติ | 129.40 | - | 291.57 | 243.96 | |
จำนวนผู้เข้าพัก(คน) | 227,346 |
หมายเหตุ ปี 2559 และ ปี 2560 เป็นตัวเลขเบื้องต้นยังไม่ผ่านมติที่ประชุมคณะกรรมการสนับสนุนกำกับและติดตาม
จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าพักในจังหวัดมุกดาหาร 10 อันดับ (ข้อมูลกรมการท่องเที่ยว)
สัญชาตินักท่องเที่ยวที่เข้าพัก | ปี 2558 (คน) | ปี 2557 (คน) | อัตราการเปลี่ยนแปลง % |
ไทย | 504,129 | 362,364 | 39.12 |
ลาว | 12,394 | 10,250 | 20.92 |
เวียดนาม | 372 | 340 | 9.41 |
ฝรั่งเศส | 175 | 152 | 15.13 |
อังกฤษ | 161 | 134 | 20.15 |
เยอรมัน | 145 | 92 | 57.61 |
ญี่ปุ่น | 137 | 109 | 25.69 |
สหรัฐ | 81 | 68 | 19.12 |
จีน | 81 | 8 | 912.50 |
เดนมาร์ก | 55 | 39 | 41.03 |
แหล่งท่องเที่ยวและประเพณีกิจกรรมที่สำคัญของจังหวัดมุกดาหารที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวและมีศักยภาพ
1. แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีศักยภาพ เช่น อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ ภูสีฐาน ภูหินขัน วน อุทยานภูหมู มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ปี 2559 มีรายได้จำนวนกว่า 1,211,620 บาท มีนักท่องเที่ยวจำนวนกว่า 67,332 คน
2. แหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมภูไท ที่มีอัตลักษณ์การแต่งกาย การใช้ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โดยปัจจุบันจังหวัดมุกดาหารมีโฮมสเตย์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากกรมการท่องเที่ยวจำนวน 8 แห่ง ได้แก่ บ้านภู บ้านเป้า นาโสก ตอนดาล คำพอก บ้านแข้ ส้มป่อย ท่าไค้ โดยโฮมสเตย์บ้านภูมีรายได้จากการ ท่องเที่ยวประมาณ 1,800,000 บาท ต่อปี
3. แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้นคือ ตลาดอินโดจีน ที่เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนและ แถบอินโดจีน ที่สร้างความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยวในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีรายได้จากการ ท่องเที่ยวประมาณ 557.46 ล้านบาท ต่อปี และยังมีหอแก้วมุกดาหาร มีนักท่องเที่ยว จำนวน 87,758 คน มี รายได้ 1,755,160 บาท ต่อปี รวมทั้งสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 และภูมโนรมย์ที่กำลังเป็นที่นิยมของ นักท่องเที่ยวในปัจจุบัน
4. งานประเพณีประจำปี การแข่งเรือยาวออกพรรษาเชื่อมโยงสองฝั่งโขง งานประเพณีสงกรานต์ งาน มหากฐินประจำปี งานฉลองบุญราศีทั้ง 7 วัดสองคอน พิธีบูชาปู่พญานาค เป็นต้น
ผลที่ได้รับจากการจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2560 ด้านแหล่งท่องเที่ยว
มีความเป็นมาตรฐานสากล มีโฮมสเตย์ที่ผ่านการประเมินมาตรฐานจากกรมการท่องเที่ยว จำนวน 8 แห่ง มีสิ่งอำนวยความสะดวก และความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว มีการจัดทำป้ายแหล่งท่องเที่ยว
จำนวนกว่า 202 ป้าย
ด้านผู้ประกอบการท่องเที่ยว
มีความรู้และทักษะ และได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ทั้งภาษาต่างประเทศ และผู้นำเที่ยวในท้องถิ่น โดยจังหวัดมุกดาหารร่วมกับมหาวิทยาลัยดุสิตมีการจัดอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์ (ต่างประเทศ-เฉพาะพื้นที่)และ(หลักสูตรวัฒนธรรมท้องถิ่น-เฉพาะพื้นที่)เพื่อให้มีบุคคลากรด้านการนำเที่ยว เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และมีบริษัทนำเที่ยวจำนวน 13 บริษัท มีบริการรถให้เช่า 4 แห่ง
ผู้ประกอบการได้รับความรู้และทักษะ อาทิ ผู้ประกอบการโรงแรม ที่พัก โฮมสเตย์ รถเช่า ร้านขาย ของที่ระลึก เจ้าของแหล่งท่องเที่ยวและผู้ประกอบการด้านอื่นๆ ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์เฉพาะ พื้นที่(ต่างประเทศและวัฒนธรรมท้องถิ่น) กว่า 80 คน
ประชนในพื้นที่เกิดรายได้จากผลพวงในการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยไม่ต้องเดินทางไปประกอบอาชีพ นอกพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งจะสร้างความอบอุ่นในสถาบันครอบครัว
ประชาชนในพื้นที่มีทางเลือกในการสร้างรายได้ให้กับตนเองโดยประกอบอาชีพการท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยว
ได้รับความพึงพอใจ เกิดการเรียนรู้และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมในวิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวในการเดินทางมาท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวได้รับความปลอดภัยจากการพัฒนาบุคลากรประจำแหล่งท่องเที่ยวและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใน
การบริหารจัดการของเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวด้านความปลอดภัย และสวัสดิการนักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวได้รับการเรียนรู้ในวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง นักท่องเที่ยวได้รับการเรียนรู้ในวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในการพึ่งพาตนเองของธรรมชาติในป่าที่มีความ
หลากหลายในด้านชีวภาพ
ซึ่งเมื่อได้ประเมินศักยภาพด้านต่าง ๆ ของจังหวัดมุกดาหารแล้ว จะทำให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นจากปี ก่อน ในอนาคตเนื่องจากมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ สิ่งอำนวยความสะดวก ความ ปลอดภัยของนักท่องเที่ยว บริษัทนำเที่ยวหรือมัคคุเทศก์และมาตรฐานด้านต่าง ๆ หรือแม้แต่กิจกรรมประเพณีที่ จังหวัดดำเนินการส่งเสริมให้มีกิจกรรมท่องเที่ยวทุกเดือนที่จะรองรับนักท่องเที่ยวในอนาคตต่อไป
การดำเนินการในอนาคตเพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและการรองรับการเป็นพื้นที่ ชายแดนเขตเศรษฐกิจพิเศษในอนาคตวันข้างหน้า ดังนี้
1. การเตรียมความพร้อมด้วยการเตรียมการศึกษาความเหมาะสมด้านโลจิสติก
โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายบ้านไผ่ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร นครพนม หากโครงการนี้เปิด ให้บริการ จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม สามารถส่งสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้คล่องตัว สร้างรายได้แก่ ประชาชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นจุดเชื่อมต่อ รองรับการเข้าสู่ประชาคาเศรษฐกิจอาเซียน
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 มุกดาหาร - สะหวันนะเขต ที่เปิดใช้งานตั้งแต่เดือน มกราคม 2550 เป็นอีกช่องทางในการเดินทางและขนส่งสินค้าของประเทศ สะพานแห่งนี้ช่วยสร้างความแข็งแกร่งในการเชื่อมโยง เศรษฐกิจภายใต้โครงการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวตะวันออกและตะวันตก (East-West Economic Corridor) ระหว่าง สปป.ลาวและไทย รวมทั้งเวียดนาม ผ่านถนนหมายเลข 9 ซึ่งมีการขยายเครือข่ายเส้นทางถนนระหว่าง ประเทศไปจนถึงเมียนมาร์
การพัฒนาสนามบินพาณิชย์เลิงนกทา เป็นสนามบินพาณิชย์แห่งแรกที่อำนวยความสะดวกและสร้างความ เจริญครองคลุมพื้นที่ถึง 3 จังหวัด ทั้งยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร ซึ่งมีเส้นทางขนส่งทางบกเชื่อมไปสู่ลาว เวียดนามและจีนตอนใต้ หลังการเปิกประตูสู่อาเซียน สนามบินเลิงนกทาแห่งนี้จะเป็นจุดเชื่อมที่สำคัญของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และที่สำคัญอีสิ่งหนึ่งก็คือ มหาวิทยาลัยแห่งแรกของจังหวัดมุกดาหาร ซึ่ง เมืองชายแดนนี้มีศักยภาพสูง ทั้งด้านการค้าการลงทุนผ่านสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 2 เพื่อเชื่อมต่อกับ ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งขณะนี้จังหวัดมุกดาหารได้มีการผลักดันในการสร้างสนามบินเชิงพาณิชย์ในจังหวัดมุกดาหาร
ขยายถนนสีเลน ทางหลวงหมายเลข 12 จากอำเภอคำชะอี ถึงบ้านนาไคร้ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัด กาฬสินธุ์ ระยะทาง 32 กิโลเมตร
ขยายถนนสี่เลน ทางหลวงหมายเลข 212 เส้นทางหลักเชื่อมโยงกลุ่มจังหวัดจากอำเภอหว้านใหญ่ จังหวัด มุกดาหาร ถึงอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ระยะทาง 23 กิโลเมตร
2. การอำนวยความสะดวกของนักท่องเที่ยว
การติดตั้งป้ายบอกทางเข้าแหล่งท่องเที่ยวชนิด OVER HEAD และ OVERHANGING ของจังหวัดมุกดาหาร เพื่อบอกเส้นทางและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว
การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและปรับปรุงภูมิทัศน์อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ห้วยสิงห์ ภูสีฐาน ภูหินขัน รวมถึงเส้นทางจักรยาน
สถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย (สมาคมไทยท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ)
พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมเพื่อหา แนวทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน พร้อมแถลงข่าวการดำเนินโครงการ “ปี ท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน” ว่า คณะกรรมการนโยบายท่องเที่ยวแห่งชาติมีมติให้ปี 2561 เป็นปี ท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน หรือ Amazing Thailand Year 2018 โดยตั้งเป้ารายได้จากการท่องเที่ยว ตลอดปี 2561 ทั้งจากนักท่องเที่ยวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติจะสูงขึ้นจากปี 2560 อีก 10% คิดเป็นรายได้ ประมาณ 3.03 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ เพื่อให้กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นตลอดทั้งปี 2561 มีความคึกคัก จึงขอความ ร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชน กลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว กลุ่มห้างสรรพสินค้า และสายการ บิน ร่วมกันจัดกิจกรรม และร่วมประชาสัมพันธ์การใช้ตราสัญลักษณ์ การมอบสินค้าและบริการราคาพิเศษ อีก ทั้งเป็นเจ้าภาพที่ดีในการต้อนรับนักท่องเที่ยว สำหรับกรอบเวลาของปีท่องเที่ยววิถีไทยฯ จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2560- 1 ม.ค. 2562 โดยจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พ.ย. 2560 โดยเหตุผลที่มาคาบเกี่ยว
ใน 2 เดือนสุดท้ายของปี 2560 ด้วย เพราะในเดือนพ.ย.นี้ จะมีงานระดับโลกเกิดขึ้นในไทย คือ การสวนสนาม ทางเรือนานาชาจิ ของกองทัพเรือประเทศสมาชิกอาเซียนและนอกอาเซียน รวมกว่า 30 ประเทศ ที่จะจัดสวน สนามเรือรบที่ทันสมัยและมีสมรรถนะสูงกว่า 40 ลำ ในวันที่ 18 พ.ย. 2560 บริเวณอ่าวพัทยา และการ แข่งขันเครื่องบิน AIR RACE 1 THAILAND ครั้งแรกในภูมิภาคเอเชีย เป็นการแข่งขันเครื่องบินที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และได้รับความนิยมจากผู้ชมทั่วโลก ซึ่งจะมีนักกีฬาและผู้ติดตามชมการแข่งขันจากต่างประเทศเข้าร่วมจำนวน มาก จัดขึ้นวันที่ 19-20 พ.ย. 2560 ที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา และในเดือนต.ค. 2561 เป็นครั้งแรกที่ จะมีการจัดแข่งขันจักรยานยนต์ทางเรียบชิงแชมป์โลก หรือโมโต จีพี ซึ่งจะมีผู้ชมในไทยถึง 200,000 คนและมี การถ่ายทอดสดสู่สายตา 800 ล้านคนทั่วโลกด้วยด้านนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทย (ททท.) กล่าวว่า นอกจากการชูกิจกรรมระดับโลก ในปีท่องเที่ยววิถีไทยฯ แล้ว ททท. ยังคงส่งเสริม กิจกรรมด้านวัฒนธรรม ประเพณี และการละเล่นท้องถิ่นต่างๆ ที่จัดขึ้นทั่วประเทศตลอดทั้งปี ส่วนการประชุม ร่วมกับภาคเอกชนต่างสนับสนุนที่จะร่วมจัดกิจกรรมต่างๆขึ้นโดยนางศุภวรรณ ถนอมเกียรติภูมิ นายกสมาคม โรงแรมไทย กล่าวว่า สมาคมโรงแรมจะจัดแพ็กเกจราคาพิเศษ 2 ช่วง ระหว่างเดือนเม.ย.-มิ.ย. 2561 และก.ค.- ต.ค. 2561 รวมทั้งจะมีส่วนลดพิเศษในการใช้บริการภายในโรงแรมต่างๆ ด้วยนายภูริวัจน์ ลิ้มถาวรรัตน์ นายก สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) กล่าวว่า จะปลุกกระแสท่องเที่ยววิถีไทย โดยนักท่องเที่ยวท่ีตก ลงว่าจะสวมใส่ชุดไทยสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดที่เกี่ยวข้องกับการเป็นไทย เช่น มุกดาหาร สิงห์บุรี ลพบุรี กาญจนบุรี ลำปาง สตูล จะได้รับการลดราคาแพ็กเกจท่องเที่ยว 50% ส่วนนางมิ่งขวัญ เมธ เมาลี อุปนายกด้านการตลาดสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) กล่าวว่า ทางสมาคมกำหนดให้บริษัทนำ เที่ยวที่เป็นสมาชิกแอตต้า ซึ่งปกตินำนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาประเทศไทยเดือนละ 500,000 คน ใน โปรแกรมท่องเที่ยวต้องมีการนำนักท่องเที่ยวต่างชาติลงไปในหมู่บ้านและชุมชน 1 แห่งด้วย รวมทั้งจะมีการให้ ชมอาหารท้องถิ่นและแจกของชำร่วยที่เป็นอาหารแห้ง
ที่มา www.khaosod.co.th/economics/news_502622
นโยบายรัฐบาล
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ยกฐานะกระทรวงการท่องเที่ยวรวมทั้งกีฬา ขึ้นกระทรวงชั้นหนึ่ง เหตุหาเงิน เข้าประเทศถึง 2.7 ล้านล้านบาท แนะหน่วยงานที่เกี่ยวโยงรีบเสนอแผนการปรับปรุงด้านการกสิกรรมรวมทั้ง ท่องเที่ยว เปิดเผยมีงบประมาณต้องการจ่าย 6,000-7,000 ล้านบาท กึ่งกลาง มี.ค.2561 ด้าน “วีระอำนาจ” ขอเกลี่ยเจ้าหน้าที่รัฐมาฟื้นฟูสถานที่ท่องเที่ยว
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ กล่าวมาว่า รัฐบาลอยากยกฐานะหน้าที่กระทรวงการท่องเที่ยว แล้วก็กีฬาแล้วก็หน่วยงานภายใต้ขึ้นอยู่กับให้เป็นกระทรวงชั้นเลิศ ด้วยเหตุว่าตอนนี้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นร่มใบใหญ่ที่ช่วยสร้างรายได้ขับระบบเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยเหตุว่ามีนักท่องเที่ยวฝรั่งเดินทางกว่า 30 ล้านคนต่อปี เป็นสัดส่วน 20% ของสินค้ามวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) โดยสร้างรายได้ปีนี้โดยประมาณ2.7 ล้านล้านบาท เทียบกับปีให้หลังมีรูปร่าง 17% สร้างรายได้ 2.5 ล้านบาท หรือมีรายได้ 1 ใน 5 ของรายได้ ทั้งหมดทั้งปวงของประเทศ
ดังนี้ เพื่อเกื้อหนุนการท่องเที่ยวเพิ่มเติมอีก รัฐบาลมีงบประมาณที่เหลือและก็กันงบประมาณไว้ 6,000-7,000 ล้านบาท ซึ่งจำต้องรีบเบิกจ่ายราวเดือน มี.ค.นี้ โดยอยากให้กระทรวงการท่องเที่ยวฯ รวมทั้ง หน่วยงานที่เกี่ยวเนื่อง โดยยิ่งไปกว่านั้นหน่วยงานเขตแดน อย่างหน่วยงานบริหารส่วนตำบล (อบต.) หน่วยงาน
บริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เขียนแผนการปรับปรุงที่เกี่ยวด้านการกสิกรรม ด้านการท่องเที่ยว เพื่อเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงสถานที่เที่ยวด้านในชุมชน ตำบล ของตน
“โดยในปีถัดไป รัฐบาลจะสนับสนุนให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจประเทศที่ ช่วยกระจัดกระจายความเจริญก้าวหน้าและก็กระจัดกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างแท้จริง เรื่องงบประมาณไม่ใช่ เรื่องสำคัญแล้วก็ปัญหา เป็นหน้าที่ของผมและก็กระทรวงการคลังหาให้”
นายสมคิด กล่าวว่ากล่าว สำหรับงานในส่วน ตำรวจท่องเที่ยว ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) นั้น สามารถเป็นศูนย์กลางด้านข้อมูลนักเดินทางให้กับคนภายในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ แล้วก็หวังว่าจะ เป็นโซ่ข้อกึ่งกลางที่จะคล้องการทำงานด้วยกันระหว่างภาคการท่องเที่ยวไทย รวมทั้งการยกฐานะการดูแลและ รักษาความปลอดภัยให้กับนักเดินทาง
ด้านนายวีระศักดิ์ โค้วสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและก็กีฬา บอกว่าจุดสำคัญของ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับด้านการท่องเที่ยวมีสูงมากมาย รายได้ติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก แต่ว่าภารกิจการ ดูแลสถานที่ท่องเที่ยวต้องขับกลับทำเป็นไม่สุดกำลัง โดยในปีให้หลังไม่มีการยินยอมงบประมาณปรับปรุง สถานที่ท่องเที่ยวเลย ก็เลยจะต้องกลับมารื้อฟื้นจุดนี้ให้มากขึ้นเรื่อยๆ และก็แม้ได้รับอนุมัติการโยกย้าย กำลังคนมาสมทบอีก 80 อัตรา จาก 2 หน่วยงานที่มีคำบัญชาตาม มาตรา 44 ให้ยุบเลิก อย่างเช่น ที่ทำการที่ ประชุมที่ปรึกษาเศรษฐกิจรวมทั้งสังคมแห่งชาติ และก็ที่ทำการคณะกรรมการแก้ไขข้อบังคับ มั่นใจว่าตั้งแต่นี้ ต่อไปจะมีบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในส่วนประกอบการทำงานหลัก และก็ควบคุมดูแลการพัฒนาในพื้นที่ ต่างๆเจริญเพิ่มขึ้น
นอกนั้น ยังมีแนวความคิดสนับสนุนให้ไกด์นำเที่ยว (ไกด์) ของไทย ก่อตั้งที่ประชุมวิชาชีพขึ้นมาเพื่อ บริหารจัดแจงแล้วก็ควบคุมดูแลคุ้นเคยด้วยมาตรฐานอาชีพราวกับที่สาขาอาชีพอื่นๆอาทิเช่น วิศวกร , ทนาย อื่นๆอีกมากมาย เนื่องมาจากพบว่าปัจจุบันนี้การจัดการจัดแจงรวมทั้งควบคุมดูแลอยู่ภายใต้ขึ้นอยู่กับกรมการ ท่องเที่ยว ซึ่งกำลังคนแล้วก็การทำงานกว่า 50% จำเป็นต้องมากมายระจุกตัวเพื่อดูแลภารกิจนี้ ทำให้ภารกิจ หลักที่สำคัญหมายถึงดูแลและก็ปรับปรุงสถานที่สำหรับท่องเที่ยวใหม่รวมทั้งซ่อมแซมสถานที่ท่องเที่ยวชำรุด ทรุดโทรมถูกไม่มีความเอาใจใส่ไปๆมาๆก เวลาที่การดูแลจัดแจงระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐรวมทั้งไกด์ก็มีความ คิดเห็นที่ขัดแย้งหลายด้าน
แม้กระนั้น นายสุรวัช อัครวรมาศ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท กู๊ดลัคเอ็กซ์เพรส จำกัด ในฐานะ คณะกรรมการธุรกิจพาเที่ยวแล้วก็ไกด์นำเที่ยว พูดว่า ยังไม่เห็นพ้องถ้าเกิดจะส่งเสริมให้ก่อตั้งที่ประชุมวิชาชีพ ไกด์นำเที่ยว ด้วยเหตุว่าแวดวงนี้ยังไม่มีความแข็งแรงพอเพียง และก็มาตรฐานพนักงานในแวดวงยังมีความต่าง และก็มากมายมากเกินความจำเป็น ด้วยเหตุดังกล่าว ตามส่วนประกอบแล้วยังจำเป็นจะต้องอยู่ภายใต้ หน่วยงานหรือหน่วยงาน เป็นต้นว่า ไกด์ทั่วๆไป ก็ควรจะอยู่ในกรมการท่องเที่ยว ส่วนไกด์เขตแดน ก็อยู่ภายใต้ หน่วยงานบริหาร ส่วนจังหวัด(อบจ.) หรือหน่วยงานบริหารส่วนตำบล (อบต.) ฯลฯ.
ที่มา https://www.thairath.co.th/content/1153502
สรุปผลการศึกษาในวัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อศึกษาสถานการณ์ สาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยววิถี ชาวนาของคนภูไทนาโสก พบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
1. ในระยะแรกเมื่อปี พ.ศ.2550 ได้จัดมีการตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรอินทรีย์อะตอมมิกนาโน เพื่อถ่ายทอดเทคนิค เทคโนโลยีการลดต้นทุนการทำการเกษตรให้กับเกษตรกรทั่วไป ต่อมาทางราชการได้มา
จัดตั้งให้เป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.) ตามนโยบายรัฐบาล มีเกษตรกรจาก ต่างถิ่นมาศึกษาดูงานในชุมชนนาโสก ต่อมาพ.ศ.2553 ชาวบ้านได้ร่วมกันจัดตั้งเป็นหมู่บ้านโฮมสเตย์ และใน แต่ละปีจังหวัดมุกดาหารจะเชิญทีมฟ้อนรำบวงสรวงเข้าร่วมกิจกรรมในงานกาชาดประจำปี
2. ชุมชนนาโสกได้กำหนดเอาวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เป็นประเพณีวันไขประตูเล้า โดยในปี 2561 ได้จัด ขึ้นในวันที่ 19-20 มกราคม 2561 มีชาวบ้านนาโสกเข้าร่วมกิจกรรมขบวนแห่พระแม่โพสพ จำนวนมาก โดยได้ นัดหมายกันแต่งชุดผ้าผู้ไทกันทั้งหมู่บ้าน ตอนเช้าชาวบ้านเข้าแถวตักบาตรพระสงฆ์ ริมถนนหน้าบ้าน ก่อนที่ นำอาหารใส่กะซ้าหาบไปถวายพระที่วัดอีกครั้งหนึ่ง โดยการใส่บาตรพระสงฆ์ ชาวผู้ไทบ้านนาโสกจะทำกันทุก วันแต่จะมีคนมากกว่าปกติ ในวันพระและวันสำคัญทางศาสนา
3. มีการประชุมจัดตั้งชมรมผู้ไทมุกดาหาร ในวันที่ 27 มกราคม 2561 เนื่องจากปัจจุบันจังหวัด มุกดาหารยังไม่มีกลุ่มหรือองค์กรที่รวมชนเผ่าผู้ไทเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อมีการจัดตั้งงานผู้ไทโลก ชาวผู้ไท ทั่วไปจะรู้จักคนภูไทจังหวัดมุกดาหารเฉพาะชาวผู้ไทหนองสูงเท่านั้น
4. มีนักท่องเที่ยวเข้าจังหวัดมุกดาหาร เพิ่มขึ้น 2% รวมแล้วประมาณ 4 แสนคน สร้างรายได้ให้ จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 750 ล้านบาท แต่นักท่องเที่ยวที่เข้ามาจังหวัดมุกดาหาร จะมาในรูปแบบคณะทัวร์ ขนาดใหญ่ ส่วนมากไม่พักในจังหวัดมุกดาหาร
5. จากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการกระตุ้นเม็ดเงินลงสู่ระบบของเศรษฐกิจฐานราก เน้นการ ท่องเที่ยวชุมชนเป็นหลัก โดยกระจายเม็ดเงินลงมาที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบล
4.3) รูปแบบการจัดการท่องเที่ยววิถีชาวนาของคนภูไทต้นแบบ
- ประวัติความเป็นมา ชุมชนบ้านภู เป็นชนเผ่าผู้ไทย อพยพจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เมื่อ พ.ศ. 2387 ตั้งภูมิลำเนาในพื้นที่บ้านภูรวมอายุได้ 130 ปี ผู้ทำหมู่บ้านคนแรกได้แก่เจ้าสุโพสมบัติ จากอดีตถึงปัจจุบัน มี ผู้นำและผู้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน บ้านรวม 15 คน ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน หมู่ที่1 นายเผด็จศักดิ์ แสนโคตร หมู่ที่ 2 นายทรง กองประพันธ์ ทั้ง 2 หมู่ รวมประชากร 1,200 คน จำนวนครัวเรือน 250 หลังคา อาชีพหลัก ได้แก่การทำนา อาชีพของผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายเลี้ยงสัตว์ จักรสาน เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในระหว่างหุบ เขาจึงให้ชื่อว่า บ้านหลุบภู ปัจจุบันเรียกชื่อว่า “บ้านภู”
- ลักษณะภูมิประเทศ บ้านภู มีภูเขาล้อมรอบ เป็นหมู่บ้านที่มีทิวทัศน์ สิ่งแวดล้อมสวยงามพื้นดิน อุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำ ข้าวจึงมีคุณภาพดี ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาสารเคมี ปลูกข้าวเหนียวไว้ รับประทาน ข้าวเจ้าไว้ขาย
- วัฒนธรรมประเพณี วัฒนธรรมใช้วิถีชีวิตแบบพอเพียงนิยมปลูกพืชผักสวนครัวหลังฤดูเก็บเกี่ยว และตามหลังบ้าน นิยมการแต่งกายให้เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนคือ ผู้หญิงนุ่งซิ่นทิว ใส่เสื้อเย็บมือย้อมคราม แถบชายขอบแดง ห่มผ้าสไบพาดไหล่ซ้าย คนในชุมชนพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เด็กเคารพเชื่อฟังผู้ ใหญ่ มี กิจกรรมพ่อแม่ทำลูกข้าววัด ประเพณีปฏิบัติตามฮีต 12
- ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมอมนตร์ได้แก่ นายคำมี ปัททุม รักษาโรคงูสวัด, นายแก้ว สุนทร หมอ กระดูก นายทองมา สุนทรสะ รักษาตาแดง ผื่นดัน กล้ามเนื้อบวม หมอธรรม ได้แก่ยายคำมาก ไตรยวงค์ แต่ง แก้เซ่นเจ้ารักษาคนป่วย งานฝีมือ มัดหมี่เร็วสวย ทางอีสาร ทำพานบายศรี ทางสำหรับงานคิดค้นประดิษฐ์ลาย ผ้าแก้วมุกดา เป็นต้น
- ด้านการท่องเที่ยว บริเวณพื้นที่ล้อมรอบด้วยภูเขา อากาศดี มีธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมสวยงาม ยังชุมชนดีมีถนนภายในหมู่บ้านหลายสาย สะอาด ร่มรื่นๆ ชาวบ้านสามัคคี มีความกระตือรือร้น มีวิถีชีวิตตาม แนวของเศรษฐกิจพอเพียง มีการอนุรักษ์สืบสานฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณี
- จุดเด่นด้านการท่องเที่ยวของชุมชน / สถานที่เด่น
1. ศูนย์ชุมชนต้นแบบ และมีแหล่งเรียนรู้ชุมชนจำนวน 6 ฐาน ได้แก่ ฐานลดรายจ่าย ฐานเพิ่ม รายได้ ฐานประหยัด ฐานเรียนรู้ฐานอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และฐานเอื้ออารี
2. จัดการท่องเที่ยวโดยเอาชุมชนเป็นตัวตั้งคือทุกคนมีส่วนร่วมและเป็นผู้บริการร่วมกัน มีพิธี บายศรีสู่ขวัญ กินข้าวหาแลงแกงกะมั้ง และพักค้างคืนแบบโฮมสเตย์
3. มีกุฏิเก่า คงอนุรักษ์ไว้เพื่อการท่องเที่ยว
4. สถานที่ท่องเที่ยวหรือข่ายใกล้เคียง สามารถนำท่องเที่ยวเชื่อมโยงระยะทางอยู่ใกล้ชุมชนได้แก่ ถ้ำจำปาภูผากูด เจดีย์ชัยมงคล วัดภูถ้ำโสม เจดีย์หลวงปู่เหล้า เขมปัตโต เป็นต้น
- กิจกรรมท่องเที่ยว
1. ขบวนการต้อนรับคล้องพวงมาลัยแห่กลองตุ้ม
2. ฟังบรรยายสรุป ข้อมูลชุมชน ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ
3. ถ้าพักโฮมสเตย์ที่เจ้าบ้านจัดไว้ต้อนรับ แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชุมชน
4. ทานอาหารพาแลง บายศรีสู่ขวัญ ชมกิจกรรมการแสดงศิลปะพื้นบ้าน นันทนาการ
5. ทำบุญใส่บาตรตอนเช้า
6. แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชุมชนในแหล่งเรียนรู้ 6 ฐาน ได้แก่ ฐานลดรายจ่าย ฐานเพิ่มรายได้ ฐาน ประหยัด ฐานเรียนรู้ ฐานอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และฐานเอื้ออารี
- เส้นทางท่องเที่ยว หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมบ้านภู มีแหล่งท่องเที่ยวเครือข่าย ใกล้เคียง ดังนี้
1. วัดพุทธคีรี นมัสการพระพุทธคีรี ระยะทาง 1.3 กิโลเมตร
2. วัดถ้ำจำปา สถานที่บรรลุธรรมของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ระยะทาง 7 กิโลเมตร
3. วัดถ้ำโส้ม พระแกะสลักบนหน้าผาสุดยอดแห่งการชมวิว ระยะทาง 4 กิโลเมตร
4. เจดีย์ชัยมงคล วัดยาน้ำทิพย์ ระยะทาง 29 กิโลเมตร
5. ตลาดอินโดจีน เทศบาลเมืองมุกดาหาร ระยะทาง 57 กิโลเมตร
- ผลิตภัณฑ์ชุมชน
1. ผ้าหมักโคลน เป็นผลิตภัณฑ์ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ ผ้าตัดเสื้อ
2. ผ้าไหม ไหมพื้นเรียบ ไหมมัดหมี่
3. ผลิตภัณฑ์ข้าว ข้าวกล่อง ข้างฮาง ข้าวงอกผง น้ำข้าวกล้องงอก
การท่องเที่ยวเป็นงานบริการ นักท่องเที่ยวประทับใจในเมื่อเจ้าบ้านมีความพร้อมในการเป็นเจ้าบ้านที่ ดี บ้านภูเปิดตัวเป็นหมู่บ้านโอท๊อปเพื่อการท่องเที่ยว เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม คือเอาความ ดีความงามในการดำเนินวิถีชีวิตที่ปู่ย่า ตายายหาปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาทำสืบสานถ่ายทอด สืบต่อจากรุ่นสู่รุ่น จึ่งเป็นการพัฒนาคนให้มีความตื่นตัว มีความเชื่อมั่น กล้าแสดงออก บอกเล่าเรื่องราวแลกเปลี่ยนเรีย นรู้กับ นักท่องเที่ยวได้ นักท่องเที่ยวเข้าสู่โฮมสเตย์บ้านภู จะต้องได้รับ 3 อา. ได้แก่ 1 อากาศ บริสุทธิ์อันเกิดจากภูเขา
ป่าไม้สายน้ำ ลำห้วย 2 อาหาร ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ อาหารปลอดสารพืชผักตามฤดูกาล อาหารพื้นบ้านที่ สะอาด 3 อารมณ์มีความสุขสันต์ อันได้รับการบริการด้วยไมตรีจิต ผูกมิตรเป็นพี่เป็นน้อง ทำให้นักท่องเที่ยวมี ความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ฉะนั้นการท่องเที่ยวกับการพัฒนาชุมชนจึงควรคู่กันเสมอ ร่วมกันพัฒนาชุมชน เพื่อให้คนมาท่องเที่ยว อยากให้นักท่องเที่ยวมาจะต้องพากันพัฒนาชุมชนนี้
ข้อมูลติดต่อ
1. นายถวัลย์ ผิวขำ ประธานโฮมสเตย์ โทร 087-2301599 ที่อยู่ 74 หมู่ 1 ตำบลบ้านเป้า อำเภอ หนองสูง จังหวัดมุกดาหาร
2. นายบุญธรรม แก้วศรีนวม รองประธานฯ โทร 085-4793837
โฮมสเตย์บ้านภู
เนื่องจากมีผู้นำที่มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างให้เกิดการท่องเที่ยวชุมชนโดยชุมชน
มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมวิถี วัฒนธรรมผู้ไท เป็นกรุ๊ปทัวร์ตลอดทั้งปี
สามารถเผยแพร่วัฒนธรรมผู้ ไทให้คนทั่วไปได้รับรู้ สร้าง งาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน
ดำเนินการจัดตั้งหมู่บ้าน โฮมเสตย์ ใช้เวลา 10 ปี
มีกลุ่มชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ ละฐานการเรียนรู้และจะได้รับ ค่าตอบแทนตามข้อตกลงของกลุ่ม
สรุปผลการศึกษาในวัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยววิถีชาวนาของคนภูไทต้นแบบ หลังจากที่ได้ศึกษาดูงานที่โฮมสเตย์บ้านภู อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ค้นพบข้อมูลที่สำคัญดังนี้
1. กลุ่มชาวบ้านบ้านภู รวมกลุ่มทำโฮมสเตย์โดยใช้ระยะเวลาจัดตั้ง ล้มลุกคลุกคลานมา 10 ปี
2. จัดให้มีฐานเรียนรู้ ฐานต่าง ๆ เอาวิถีวัฒนธรรมผู้ไทมาเป็นตัวนำในการท่องเที่ยว
3. มีการจัดกิจกรรมหลักอยู่ในบริเวณวัด มีผู้นำตามธรรมชาตินำชาวบ้าน โรงเรียนได้สร้างทายาท รุ่นใหม่ในการสืบสานมีนักเรียนมาเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ มีการปฏิบัติให้เกิดความศรัทธา ความเชื่อ
4. มีรูปแบบการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ชาวบ้านยอมรับ
5. สร้างเพลงปลุกใจให้ชุมชนได้ตระหนักสร้างองค์รวมร่วมกันโดยใช้เพลง,
6. จำนวนโฮมสเตย์ลดลง นักท่องเที่ยวลดลง,
7. มีการประสานงานผ่านประธานโฮมสเตย์เพื่อรับนักท่องเที่ยว ทัวร์คณะ เตรียมพื้นที่ที่รับผิดชอบ ที่ พัก กำหนดการ อาหาร ค่าใช้จ่าย มีการประชาสัมพันธ์ผ่านเวปไซน์
8. นักท่องเที่ยวมาในรูปแบบทัวร์ พักนอนในหมู่บ้านกิจกรรมให้ความรู้บริบทชุมชน บายศรี ตักบาตร
9. มีกฎระเบียบชุมชนทำให้ไม่มีสัตว์เลี้ยงในชุมชน
จากการศึกษาและเก็บข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่ 1-3 ทีมวิจัยได้ใช้เครื่องมือแนวคิดเรื่องแม่น้ำมาเป็น เครื่องมือในการสังเคราะห์ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย 4 ประเด็น คือ
- ปรากฏการณ์ที่เห็นและรู้จากการเก็บข้อมูลในแต่ละวัตถุประสงค์
- พฤติกรรมหรือการปฏิบัติจากสิ่งที่เห็นและรู้ เกิดขึ้นจากพฤติกรรมหรือการปฏิบัติอย่างไร
- โครงสร้าง คือสิ่งที่กำหนดให้เกิดพฤติกรรมหรือการปฏิบัติและเห็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร
- แนวคิดรวบยอดของปัญหาจากโครงสร้าง พฤติกรรมและปรากฏการณ์ว่าก่อให้เกิดปัญหาอย่างไร
แผนผังการสกัดข้อมูล จากทั้ง 3 วัตถุประสงค์
แนวทางการฟื้นฟูสู่การพัฒนา รูปแบบการท่องเที่ยววิถีชาวนา ของชนเผ่าผู้ไทบ้านนาโสก ต.นาโสก อ.เมือง จ.มุกดาหาร | 1. เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ และบริบท ชุมชนที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยววิถี ชาวนาของคนภูไทนาโสก ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน | 2. เพื่อศึกษาสถานการณ์ สาเหตุและปัจจัยที่ ส่งผลต่อการท่องเที่ยววิถีชาวนาของคนภูไทนา โสก | 3. เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยววิถี ชาวนาของคนภูไทต้นแบบ |
ปรากฏการณ์ | -สภาพพื้นที่บางส่วนถูกทำลาย ทรัพยากรไม่มีการพัฒนา -การเลือกตั้งมีการซื้อเสียง/ชุมชน แบ่งเป็นกลุ่ม -จ้างแรงงานแทนการลงแขก มีการใช้ เครื่องจักร เครื่องมือและสารพิษ-เคมี การเกษตรเพิ่มขึ้น -ชุมชนมีความกระตือรือร้นอยากฟื้น อยากทำแบบวิถีวัฒนธรรมแบบเก่าของผู้ ไท -ถูกจัดการจากรัฐบาลทั้งหมด ต้องพึ่งพา จากภายนอก -เกษตรกรทั้งในและต่างประเทศมา ศึกษาดูงาน ศพก.ปีที่ผ่านมา จำนวน 4,000 คน มีรายได้จากการขายสินค้า เข้าชุมชน ประมาณ ปีละ 200,000 บาท มีกลุ่ม เกษตรอินทรีย์ 20 คน | สถานการณ์ภายใน -ได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สินค้าเกษตร(ศพก.) -การจัดตั้งหมู่บ้านท่องเที่ยวโฮมสเตย์ -แสดงวัฒนธรรมวิถีผู้ไทในงานกาชาด จ. มุกดาหาร -ประเพณีไขประตูเล้า จัดฐานการเรียนรู้ 19 ฐาน ตักบาตรตามวิถีผู้ไท -จัดตั้งชมรมผู้ไทมุกดาหาร มีตัวแทนชาวผู้ไทในแต่ ละอำเภอของจังหวัดมุกดาหาร มาเข้าร่วมประชุม จำนวน 38 คน สถานการณ์ภายนอก มีนักท่องเที่ยวจาก ลาว เวียดนาม อังกฤษ ญี่ปุ่น เข้ามาจังหวัดมุกดาหารเพิ่มขึ้น 2% รวมแล้ว 4 แสนคน สร้างรายได้เป็นเงิน 700 ล้านบาท นโยบายรัฐบาล อุดหนุนงบประมาณ 6,000-7,000 ล้านบาทในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน เน้นหนักไปที่เศรษฐกิจฐานรากผ่าน อปท./อบต. | กลุ่มชาวบ้านรวมกลุ่มทำโฮมสเตย์, จัดให้มีฐาน เรียนรู้ ฐานต่างๆ,เอาวิถีวัฒนธรรมผู้ไทมาเป็น ตัวนำในการท่องเที่ยว,มีการจัดกิจกรรมหลัก อยู่ในบริเวณวัด,มีผู้นำตามธรรมชาตินำ ชาวบ้าน,สร้างทายาทรุ่นใหม่ในการสืบสาน,มี รูปแบบการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ชาวบ้าน ยอมรับ,สร้างเพลงปลุกใจให้ชุมชนได้ตระหนัก สร้างองค์รวมร่วมกันโดยใช้เพลง,จำนวนโฮมส เ ตย ์ ลดลง น ั กท ่ อง เ ท ี ่ ยวลดลง ,ม ี การ ประสานงานผ่านประธานโฮมสเตย์,มีการ ประชาสัมพันธ์ผ่านเวปไซค์,นักท่องเที่ยวมาใน รูปแบบทัวร์ พักนอนในหมู่บ้านกิจกรรมให้ ความรู้บริบทชุมชน บายศรี ตักบาตร,ไม่มีสัตว์ เลี้ยงในชุมชน |
พฤติกรรม/ การปฏิบัติ | -ชุมชนไม่มีความตระหนักในการหวง แหนป่าชุมชน ไม่มีการฟื้นฟูและ พัฒนา ป่าชุมชน -มีการแบ่งขั้วการเมือง แข่งขัน ขัดแย้ง บางเรื่องที่มีผลกระทบต่อการพัฒนา ชุมชน -มีเครื่องมี เครื่องจักรสารเคมีทาง การเกษตรมาทดแทน มีการใช้เงินลงทุน ทำการเกษตรมากขึ้น -การสืบทอดการปฏิบัติวัฒนธรรมผู้ไท ชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมเยอะมาก มีการ แต่งชุดประจำเผ่าเข้าร่วมกิจกรรม -รัฐเป็นผู้ให้บริการ ชาวบ้านเป็น ผู้ใช้บริการ -มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพในชุมชน เป็นฐาน เรียนรู้และสร้างรายได้ | สถานการณ์ภายใน -ชุมชนมีความตื่นตัวในการฟื้นประเพณีการ ท่องเที่ยว มีการแต่งชุดภูไทใส่บาตร มีคนเข้าร่วม มากขึ้น มีภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม บ้าน วัด โรงเรียน -คนผู้ไทมีการรวมกลุ่มในการจัดตั้งชมรมผู้ไท มุกดาหาร -ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาพักโฮมสเตย์ สถานการณ์ภายนอก -จากนโยบายรัฐบาล จังหวัดมุกดาหารมีคณะทัวร์ มาเป็นกลุ่มใหญ่ มุกดาหารเป็นจุดพัก แล้วเดินทาง ไปนครพนมต่อ -รัฐบาลมองเห็นว่าการท่องเที่ยวเป็นตัวสร้างรายได้ เศรษฐกิจในประเทศจึงมีนโยบายในการกระตุ้น การท่องเที่ยวชุมชน | -การประสานงานผ่านประธานโฮมสเตย์รับ นักท่องเที่ยว ทัวร์คณะ เตรียมพื้นที่ที่ รับผิดชอบ ที่พัก กำหนดการ อาหาร ค่าใช้จ่าย -การบายศรี การตีกลอง รำภูไท -โรงเรียนมีนักเรียนมาเข้าร่วมกิจกรรม มีการ ปฏิบัติให้เกิดความศรัทธา ความเชื่อ -การดำเนินกิจกรรมโฮมสเตย์ ทำมาแล้วกว่า 10 ปี -ฐานเรียนรู้ การย้อมผ้า ฐานวัตถุโบราณ ฐาน การเกษตร ฐานแกะสลักไม้ฐานทำสบู่ |
โครงสร้าง | -เป็นป่าชุมชน -นโยบายรัฐบาลเพื่อบริหารจัดการ ประเทศ จากบนลงล่าง และการเลือกตั้ง -นโยบายรัฐบาล กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ส่งเสริมพันธุ์ข้าว -ฮีต 12 ครอง 14 -นโยบายรัฐบาล อยู่ดีกินดีสะดวกสบาย -มีกฎระเบียบ ข้อบังคับของแต่ละกลุ่ม อาชีพ | สถานการณ์ภายใน -ประเพณีวัฒนธรรมมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องมี การสืบทอดรุ่นสู่รุ่น -จัดตั้งชมรมผู้ไท -กลุ่มนาโสกโฮมสเตย์ สถานการณ์ภายนอก -จังหวัดมุกดาหาร -นโยบายรัฐบาล เน้นไปที่เศรษฐกิจฐานรากและ การจัดสรรงบประมาณ | -คนผู้ไทบ้านภูโดยวิถีวัฒนธรรมผู้ไทเป็นตัวนำ การท่องเที่ยว -มีกฎระเบียบในการจัดการชุมชน |
ปัญหา | -วิถีชาวนาดั้งเดิมสูญหาย และมีการใช้ สารเคมีสูง -การมีส่วนร่วมกับภาครัฐมีน้อย -จุดเด่นเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวยังไม่ เด่นชัด -องค์ความรู้ในการจัดการท่องเที่ยว ชุมชนมีน้อย | -นักท่องเที่ยวที่เข้ามาต้องการความหลากหลาย ของที่พัก -สื่อประชาสัมพันธ์มีน้อย -กลไกองค์กรที่รับผิดชอบแต่ละด้านมีน้อย -การจัดการในเรื่องการท่องเที่ยวไม่มีประสิทธิภาพ -ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวยังไม่มี ประสิทธิภาพ |
4.4 แนวทางการฟื้นฟูการท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่าผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง มุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
หลังจากที่ได้สรุปข้อมูล วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดร่วมกับชุมชนแล้ว ทำให้ทราบปัญหา หลักและสาเหตุ ผลกระทบ นำสาเหตุของปัญหารองมาเป็นแนวทางในการฟื้นฟูการท่องเที่ยววิถีชาวนาของชน เผ่าผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ประกอบด้วย
1. การสร้างโฮมสเตย์ชุมชน, การสร้างรีสอร์ทชุมชน, การสร้างโรงแรมชุมชน จัดให้มีที่กางเต้นท์พร้อม
ห้องสุขา
2. สร้างกลุ่มเกษตรอินทรีย์ สร้างโรงเรียนควาย ทำการเกษตรที่หลากหลาย ฟื้นฟูวิถีชาวนา
3. สร้างการมีส่วนร่วม ระหว่างท้องที่และท้องถิ่น, การวางแผนเสนอของบประมาณ ,จัดทำแผนการ
ปรับปรุงการคมนาคม ,การประชาคมในชุมชน
4. สร้างสื่อ สร้าง Story ของฝ้ายตะหลุงและข้าวเป็นยา, ประชาสัมพันธ์ประเพณีไขประตูเล้า
5. สร้างเส้นทางการท่องเที่ยวสายธรรมมะ, เส้นทางปั่นจักรยานชมธรรมชาติ,สร้างหุ่นฟางหลังการ เก็บเกี่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว,การแต่งกายชุดผู้ไทตักบาตรตอนเช้า, มีบริการชุดผู้ไทในการเข้าร่วมกิจกรรม
,วัฒนธรรมการเส็งกลองกิ้ง รำภูไท, สร้างฐานเรียนรู้สร้างอาชีพ, สร้างฐานเรียนรู้วิถีชุมชน, สร้างการแสดงวิถี วัฒนธรรมของชุมชน, ปลูกพืชผักสวนครัวริมรั้ว กินทุกอย่างที่ปลูก ปลูกทุกอย่างที่กิน
6. สร้างองค์ความรู้ในการสร้างบ้านดิน, สร้างวิถีชุมชนความเป็นอยู่ของชาวนา, สร้างไกด์ มัคคุเทศก์ ท้องถิ่น, สร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชน,
7. สร้างกลไก ทีมงานในการจัดการท่องเที่ยว, สร้างการมีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวของคนในชุมชน, สร้างกฎระเบียบการท่องเที่ยว
8. มีแพ็คเกจการท่องเที่ยวที่หลากหลาย, แพ็คเกจประกันภัยความปลอดภัยในการท่องเที่ ยว, แพ็คเกจการท่องเที่ยวร่วมกับพื้นที่ในประเทศเพื่อนบ้าน
9. สร้างความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวตลอดการเดินทาง
10. ฟื้นฟูวิถีดนตรีพื้นบ้าน
11. ฝ้ายตะหลุง
4.4.1 ผลจากการทดลองปฏิบัติการจากข้อมูลที่นักวิจัยได้สังเคราะห์
1. การสร้างโฮมสเตย์ชุมชน ชุมชนบ้านนาโสกเคยได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐให้เป็นชุมชนโฮมสเตย์ ในครั้งแรกทำการ
คัดเลือกครัวเรือนที่มีความสนใจในการสร้างโฮมสเตย์ชุมชนจำนวน 10 ครัวเรือน ซึ่งจากต้นทุนเดิมมีอยู่ 17
ครัวเรือน แต่ขาดการดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องเพราะไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามา จนเหลือเพียง 5 ครัวเรือน นายอภิวัฒน์ จันทร์ทองสุข ประธานกลุ่มโฮมสเตย์บ้านนาโสกผู้รับผิดชอบเฉพาะประเด็นได้ทำการ ประชาสัมพันธ์ ชักชวนชาวบ้านเข้าร่วมดำเนินการทำโฮมสเตย์ประชุมชาวบ้านเรื่องการเข้าร่วมกลุ่มบ้านพัก โฮมสเตย์ โดยมีชาวบ้านเข้าร่วมกลุ่มบ้านพักโฮมสเตย์เพิ่มขึ้น จำนวน 5 หลังคา และมีการประชุมแต่งตั้ง คณะทำงานโฮมสเตย์ จำนวน 5 คน เพื่อรับผิดชอบในด้านโฮมสเตย์ ดังนี้
1. นายอภิวัฒน์ จัทร์ทองสุข
2. นายอุดม นาโสก
3. น.ส.สุพิชา เผ่าภูไทย
4. นางบุญเพ็ง เผ่าภูไทย
5. น.ส.จารุณี ศรีทอง
โดยมีหน้าที่ในการประสานบ้านพัก การแสดงดนตรีพื้นบ้าน ความปลอดภัย การเงิน ฐานเรียนรู้ 6 ฐาน วิถีชุมชน(ตักบาตร) พร้อมกันนี้ได้สร้างลานวัฒนธรรมที่วัดโพธิ์ศรีแก้ว ขึ้นเพื่อเป็นการย้อนภาพวัฒนธรรม ชาวภูไทในอดีต มีการอบรมกลุ่มบ้านพักโฮมสเตย์เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจในการรับรองนักท่องเที่ยว การ ทำความสะอาดที่พักให้มีมาตรฐาน จำนวน 3 ครั้ง มีกลุ่มชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการโฮมสเตย์จำนวน 10 ครัวเรือน ในกระบวนการนี้จึงได้มีการทำความเข้าใจเพื่อจะรื้อฟื้นให้เกิดความต่อเนื่องขึ้นอีก 5 ครัวเรือน ซึ่ง เป็นรายเก่า 3 ครัวเรือน รายใหม่ 2 ครัวเรือน หลังจากกลุ่มบ้านพักโฮมสเตย์ได้รับการอบรมจากผู้มีความรู้และ ประสบการณ์แล้ว ได้มีการต้อนรับนักท่องเที่ยวจากต่างจังหวัด จำนวน 3 ครั้ง รวมทั้งหมด 17 คน และชุมชน บ้านนาโสกได้รับคำแนะนำจาก นักท่องเที่ยวว่าให้ชุมชนมีการพัฒนาความพร้อมมากกว่านี้ทั้งในด้านฐานการ เรียนรู้ จุดชมวิว อื่น ๆ เพื่อเป็นแรงดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างถิ่นให้มากขึ้น และจากมติคณะกรรมการ ท่องเที่ยวของชุมชน ให้ผู้นำท้องถิ่นปรับวิธีคิด คือผู้ใหญ่บ้าน 4 หมู่บ้าน ต้องเข้าร่วมกลุ่มโฮมสเตย์ด้วยเพื่อเป็น แบบอย่างที่ดีให้กับลูกบ้าน หลังจากที่ได้ข้อตกลงกันแล้วและมีการประชาสัมพันธ์จากการบอกเล่าเรื่องการมีที่ พักในชุมชนแบบโฮมสเตย์ ซึ่งในระยะที่ทำงานวิจัยฯ ยังคงมีกลุ่มเกษตรกรที่มาศึกษาดูงานแต่ไม่มีการพัก จำนวนกว่า 3,000 คน และมีนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชมจุดชมวิว “มานาโคกเด้อ”แบบมาเช้าเย็นกลับ ตั้งแต่ เดือน กรกฎาคม- พฤศจิกายน 2561 วันละประมาณ 50-100 คน และมีผู้ติดตาม Page Facebook/มานาโคก เด้อ กว่า 10,000 คน
2. สร้างกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ทำการเกษตรที่หลากหลาย ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.)อำเภอเมืองมุกดาหาร ได้จัดตั้งขึ้นตาม
นโยบายของรัฐบาลเพื่อเป็นศูนย์รวมความรู้เรื่องการเกษตรในชุมชนและเป็นจุดประสานงานระหว่างหน่วยงาน
ภาครัฐกับเกษตรกรในพื้นที่ โดยมีนายถาวร เผ่าภูไทย เป็นประธาน ศพก.และผู้รับผิดชอบเฉพาะประเด็น “สร้างกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ทำการเกษตรที่หลากหลาย” ได้ประสานสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดมุกดาหาร สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองมุกดาหาร ศูนย์อารักขาพืชสำนักงานเกษตรจังหวัดมุกดาหาร และสภาเกษตรกร จังหวัดมุกดาหาร อบรมการทำเกษตรอินทรีย์ การปราบศัตรูพืช การคัดพันธุ์ปน จัดทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้ใน กระบวนการเกษตรอินทรีย์ จัดทำเชื้อไตรโคเตอร์ม่าเพื่อใช้ในกระบวนการเกษตรอินทรีย์ โดยมีกลุ่มเกษตร อินทรีย์ที่เข้าร่วมฝึกอบรม จำนวน 30 คน มาจากสมาชิกเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านนาโสก 1 และสมาชิกเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านนาโสก 2 ซึ่งมีพื้นที่ทำการเกษตรอินทรีย์ คนละ ประมาณ 5 ไร่ รวม 150 ไร่ มีเป้าหมายต่อไปคือการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และยังมีการ เชื่อมโยงจัดตั้งเป็นเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดมุกดาหาร โดยมีสภาเกษตรกรจังหวัด มุกดาหาร เป็นผู้ขับเคลื่อน
3. สร้างการมีส่วนร่วม ระหว่างท้องที่และท้องถิ่น
นางสาวพลอยปภัส นาโสก ผู้รับผิดชอบเฉพาะประเด็นได้ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใน การจัดฝึกอบรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการท่องเที่ยวชุมชน มีชาวบ้านชุมชนนาโสก เข้าฝึกอบรม จำนวน 50 คน และชาวบ้านได้รับรู้นโยบายของรัฐบาล จังหวัด ท้องถิ่น ในเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน เกิด แผนพัฒนาชุมชนผ่านกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว-ผู้นำท้องที่ วัด โรงเรียนเกิดความ ตระหนักต่อการท่องเที่ยวชุมชน
4. สร้างสื่อประชาสัมพันธ์ประเพณีไขประตูเล้า
ชาวบ้านชุมชนนาโสกมีกลุ่มอาชีพหลากหลาย กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองเป็นอีกกลุ่มอาชีพหนึ่งในชุมชนที่โดด เด่น การทำผ้าพื้นเมืองที่ทำจากฝ้ายที่เรียกว่าฝ้ายตะหลุง ซึ่งจะมีสีน้ำตาลปนเทา เมื่อนำมาถักทอเป็นผืนผ้าแล้ว ไม่ต้องย้อมสีอีก ซึ่งเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของชนเผ่าผู้ไท ในชุมชนบ้านนาโสกชาวบ้านจะปลูกฝ้ายตะหลุงไว้ตามหัว ไร่ ปลายนา เพื่อเอาไว้แปรรูปใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม จนมีการจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านทอผ้า พื้นเมือง และมีข้อตกลงใน ชุมชนให้มีการแต่งกายด้วยชุดผ้าฝ้ายตะหลุง หรือชุดประจำเผ่าในงานประเพณีต่างๆ ทางทีมวิจัยได้ประสานงานฝ่าย การตลาดสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย นักข่าวพลเมือง Thai PBS ในการประชาสัมพันธ์ประเพณีไขประตูเล้า ผ่านสื่อโทรทัศน์เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้รับรู้ (https://www.youtube.com/watch?v=39jEPfcn6yg) อีกทั้ง ว่าที่ร.ต.ณัฐวุฒิ เผ่าภูไทย นักวิจัยฯได้เข้ารับการอบรมการจัดทำสื่อเพื่อเผยแพร่งานวิจัยฯ ได้สร้างเพจ facebook/ท่องเที่ยววิถีผู้ไทนาโสก เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารในโลกออนไลน์ ระหว่างนักท่องเที่ยวทั่วไปกับคน ในชุมชน ซึ่งมีคนเข้าถึงข้อมูลการท่องเที่ยววิถีผู้ไทนาโสกแล้วมีผู้รับชม จำนวน 833 ครั้ง https://www.facebook.com/1724937510955527/videos/1739101226205822/?modal=admin_to do_tour
5. สร้างเส้นทางการท่องเที่ยวชมธรรมชาติ,การแต่งกายชุดผู้ไทตักบาตรตอนเช้า,
นายอุดม นาโสก ผู้รับผิดชอบเฉพาะประเด็นและทีมวิจัยที่รับผิดชอบเรื่องสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวฯ ได้ประสานงานผู้นำชุมชนประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านได้รับรู้ถึงแนวทางการฟื้นฟูการท่องเที่ยววิถีชาวนา นัด หมายปฏิบัติการ แบ่งบทบาทหน้าที่ วางแผนการสำรวจเส้นทาง,จัดทำป้ายจุดชมวิวต่าง ๆ ในระหว่างเดือน สิงหาคม – กันยายน 2561 ได้ระดมชาวบ้านนาโสก จำนวน กว่า 30 คน ช่วยกันทำการปรับปรุงเส้นทางการ ท่องเที่ยวและปรับภูมิทัศน์จุดชมวิว เช่น จุดชมวิวหินต่าง อ่างงัว ถ้ำฆ้องลั่น ดานผีน้อย อ่างกระโซ่ อ่างพระยอด ผาคอย อ่างป่ากะซะ ถ้ำเห้ ถ้ำเฟิร์น ทัพสหาย ในป่าชุมชนภูหินสิ่ว เตรียมพร้อมสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามา ในชุมชน และในชุมชนบ้านนาโสก ยังมีข้อตกลงเรื่องการแต่งกายชุดผู้ไทใส่บาตรตอนเช้า ในทุกวันธรรมสวนะ และชุมชนได้ปรับตัวแต่งกายชุดผู้ไทใส่บาตรทุกวันธรรมสวนะประมาณ 200 ครัวเรือน
6. สร้างวิถีชุมชนความเป็นอยู่ของชาวนา, สร้างไกด์ มัคคุเทศก์ท้องถิ่น, ชาวบ้านชุมชนนาโสกได้เข้ารับการอบรมกระแสการท่องเที่ยวในปัจจุบัน/ศึกษาดูงานบ้านแข้(ททท.)
อบรมต้นแบบการท่องเที่ยวชุมชนบ้านธารปราสาท/การผลิตสื่อ ได้ศึกษารูปแบบการดึงดูดนักท่องเที่ยว และ
การจัดการชุมชนเพื่อให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชน และทำให้ทราบว่าการท่องเที่ยวชุมชนต้องมีการ ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ให้มีกิจกรรมต่าง ๆ ตามฤดูกาล ที่นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสได้ จนมีปฏิทินกิจกรรม ของชาวภูไทนาโสก ทั้ง 12 เดือนดังนี้
เดือน | ประเพณี/วัฒนธรรม | กิจกรรมการเกษตร/วิถีชีวิต |
1 | บุญเข้ากรรม | ไถกลบ ปลูกผัก เก็บฝ้าย ตัดอ้อย กรีดยาง |
2 | บุญกองข้าว | ปลูกผัก เก็บฝ้าย ตัดอ้อย กรีดยาง |
3 | บุญไขประตูเล้า | ปลูกผัก ทอผ้า ไข่มดแดง ผักหวาน ตัดอ้อย |
4 | บุญผะเหวด | ปลูกผัก ทอผ้า ขัวกุ๊ดจี่ ขัวหอย ขุดปู ขุดกบเขียด ส่องกบเขียด |
5 | บุญสงกรานต์ | ปลูกผัก ขุดกบเขียด ส่องกบเขียด สูบปลา ช้อนกุ้ง ดอกกระเจียว หน่อไม้ฮุ้นไฮ้ กรีด ยาง |
6 | บุญบั้งไฟ | ไถฮุด หาเห็ด หาหน่อไม้ หาแมงแคง ปลูกข้าวไร่ กรีดยาง |
7 | บุญเลี้ยงปู่ตา | ปลูกฝ้าย ตกกล้า ถอนกล้า ดำนา หาหน่อไม้ กรีดยาง |
8 | บุญเข้าพรรษา | ถอนกล้า ดำนา หาหน่อไม้ กรีดยาง |
9 | บุญข้าวประดับดิน | ดำนา ใส่เบ็ด ส่องกบเขียด ไปย๋ามต้อน-ชั่ง ไล่แมลงทับ กรีดยาง |
10 | บุญข้าวสาก | เกี่ยวข้าวดอ ฟาดข้าว เพาะกล้าผัก ไล่แมลงทับ เก็บแมงมัน ขุดมันอ้อน |
11 | บุญออกพรรษา | เกี่ยวข้าว มัดข้าว ฟาดข้าว เก็บฝ้าย ขุดมันอ้อน เส็งกลองกิ้งกินข้าวเม่า ปลูกอ้อย |
12 | บุญกฐิน | เกี่ยวข้าว มัดข้าว ฟาดข้าว ปลูกอ้อย |
ดังนี้
7. สร้างกลไกทีมงานในการจัดการท่องเที่ยว, ชุมชนนาโสกได้ประชุมจัดตั้งคณะกรรมการท่องเที่ยวบ้านนาโสก 1 คณะ จำนวน 13 คน ที่ปรึกษา 1 ท่าน
1. นายอิ่มศักดิ์ รูปสวย กำนันตำบลนาโสก
2. นายบานใจ นาโสก
3. นายภักดี นาโสก
4. นางประมวล ทะเสนฮด
5. นายถาวร เผ่าภูไทย
6. นายอภิวัฒน์ จันทร์ทองสุข
7. นางบุญมา ภานุโรจนากร
8. น.ส.พลอยปภัส นาโสก
9. นายอุดม นาโสก
10. น.ส.วราภรณ์ อ่อนคำ
11. นายอั้ว แสงหมื่น
12. นายชาย นาโสก
13. นายแวดล้อม คนหาญ
14. พระครูโพธิธรรมธาดา
และมีฝ่ายการขับเคลื่อนการท่องเที่ยว 10 ฝ่าย คือคณะโฮมสตย์, คณะเกษตรอินทรีย์, คณะฝ้ายตะหลุง
, คณะการมีส่วนร่วม, คณะมัคคุเทศก์, คณะแพ็คเกจการท่องเที่ยว, คณะดนตรีพื้นบ้าน, คณะความปลอดภัย, คณะประชาสัมพันธ์และคณะการเงิน
7. มีแพ็คเกจการท่องเที่ยว คณะกรรมการท่องเที่ยวฯ กลุ่มอาชีพประชุมจัดทำแพ็กเกจการท่องเที่ยว 2 วัน 1 คืน และประสานจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวรับรู้ มีแพ็กเกจการท่องเที่ยว วิถีชาวนาผู้ไท นาโสก ดังนี้
กำหนดปฏิทินการท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่าผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
แพ็คเกจ 2 วัน 1 คืน
วันที่ 1
11.00 น. รับนักท่องเที่ยวที่วัดโพธิ์ศรีแก้ว
12.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
13.00 น. ฟังเล่าเรื่องบริบทชุมชน
วันที่ 2
13.15 น. นักท่องเที่ยวเข้าฐานเรียนรู้ในชุมชน (การทอผ้า การทำนา การจัก สาน ดนตรีพื้นบ้าน)
16.15 น. รับนักท่องเที่ยวเข้าที่พัก
17.30 น. กิจกรรมสันทนาการ
- รับประทานอาหารเย็น - บายศรีสู่ขวัญ
- การแสดงพื้นบ้านภูไทนาโสก - เข้าที่พัก
06.00 น. กิจกรรมใส่ชุดผู้ไท ใส่บาตรตอนเช้า
07.00 น. รับประทานอาหารเช้า
08.00 น. เริ่มต้นที่วัดโพธิ์ศรีแก้ว
09.00 น. เที่ยวชมธรรมชาติภูหินสิ่ว
12.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
13.00 น. ส่งนักท่องเที่ยว
*** หมายเหตุ *** กิจกรรมสันทนาการเหมาะสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยว ตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
รายละเอียดค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยววิถีชาวนาภูไทนาโสก
รายการค่าใช้จ่ายในการ ท่องเที่ยววิถีชาวนาภูไทนาโสก | ไม่พัก | นักท่องเที่ยว 1 คน | นักท่องเที่ยว 2 คน | นักท่องเที่ยว 3 คน | นักท่องเที่ยว 4 คน | นักท่องเที่ยว 5 คน |
1. ค่าที่พัก | - | 300 | 600 | 900 | 1,200 | 1,500 |
2. ค่าอาหาร | 120 | 240 | 960 | 1,440 | 1,920 | 2,400 |
3. ค่ากิจกรรมชุมชน(กิจกรรม ละ) | ||||||
- ทอผ้า/จักสาน | 300 | 300 | 300 | 300 | 300 | 300 |
- กิจกรรมเกี่ยวกับข้าว | 300 | 300 | 300 | 300 | 300 | 300 |
- เส็งกลองกิ้ง | 300 | 300 | 300 | 300 | 300 | 300 |
- ขึ้นภูหินสิ่ว | 600 | 600 | 1,000 | 1,000 | 1,000 | 1,000 |
4. ค่าธรรมเนียมชุมชน | 40 | 40 | 40 | 40 | 40 | 40 |
รวม | 1,660 | 2,320 | 3,540 | 4,360 | 5,180 | 6,000 |
ค่าบริหารจัดการ | 680 | 1,060 | 1,300 | 1,520 | 1,800 | |
รวม | 1,660 | 3,000 | 4,600 | 5,660 | 6,700 | 7,800 |
หมายเหตุ *** กิจกรรมสันทนาการ - บายศรีสู่ขวัญ / การแสดงพื้นบ้านภูไทนาโสก (ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท)
- กิจกรรมสันทนาการเหมาะสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยว ตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
- กิจกรรมชุมชนสามารถเลือกชมได้ตามความสมัครใจ
9. สร้างความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวตลอดการเดินทาง ในที่ประชุมกลไกทีมงานในการจัดการท่องเที่ยว เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2561 ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่ม
ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร โดยมีตัวแทนจากสำนักงานสนับสนุนกองทุน
งานวิจัย ฝ่ายท้องถิ่นได้มาร่วมประชุมสังเกตการณ์ โดยทีมวิจัยฯ ได้มีมติวิจัย แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อน การท่องเที่ยวชุมชนให้เกิดเป็นรูปธรรม จำนวน 11 คณะ ดังนี้
1. คณะกรรมการท่องเที่ยวภูไทนาโสก จำนวน 14 คน
2. คณะทำงานโฮมสเตย์ จำนวน 5 คน
3. คณะทำงานเกษตรอินทรีย์ จำนวน 5 คน
4. คณะทำงานฝ้ายตะหลุง จำนวน 15 คน
5. คณะทำงานการมีส่วนร่วม จำนวน 4 คน
6. คณะทำงานมัคคุเทศก์ จำนวน 4 คน
7. คณะทำงานแพ็คเกจการท่องเที่ยว จำนวน 5 คน
8. คณะทำงานดนตรีพื้นบ้าน จำนวน 7 คน
9. คณะทำงานรักษาความปลอดภัย จำนวน 4 คน
10. คณะทำงานประชาสัมพันธ์ จำนวน 7 คน
11. คณะทำงานการเงินการบัญชี จำนวน 6 คน
ได้ได้มีมติให้ผู้นำท้องถิ่นทั้ง 4 หมู่ ฝ่ายปกครอง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านทั้ง 4 หมู่บ้าน อปภร. สร้างการรับรู้ การรักษาความปลอดภัยในชุมชนผ่านผู้นำท้องถิ่น เพื่อให้เกิดมีคณะทำงานรักษาความปลอดภัยให้กับ นักท่องเที่ยว นำโดยผู้นำท้องถิ่น 4 หมู่บ้าน
10. ฟื้นฟูวิถีดนตรีพื้นบ้าน ทีมวิจัยร่วมกับโรงเรียนชุมชนนาโสกได้จัดฝึกอบรมการเส็งกลองกิ้งให้กับเยาวชนโรงเรียนชุมนนาโสก
โดยมีชาวบ้าน ครูและนักเรียนเข้าร่วมอบรม จำนวนกว่า 100 คน ในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือน กันยายน 2561 และและได้รับสมัครเยาวชนเข้าร่วมวงดนตรีพื้นบ้านของชุมชนนาโสก โดยมีนักดนตรีรุ่นใหม่ สามารถเล่นดนตรีได้ ทั้งหมด 6 คน (แคน พิณ โปงลาง กลองชุด ฉิ่ง ฉาบ) มีการซ้อมดนตรีเป็นประจำทุกเย็นวัน ศุกร์ เสาร์ และยังได้รับการประสานจากหมู่บ้าน ชุมชนอื่นให้ไปร่วมเล่นดนตรี การแข่งขันเส็งกลองกิ้งใน เทศกาลงานบุญ และยังได้รับเชิญจากจังหวัดมุกดาหารให้ไปแสดงโชว์ในการจัดกิจกรรม “ Bike อุ่นไอรัก” จังหวัดมุกดาหาร ในวันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม 2561 ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร
11. ฝ้ายตะหลุง
ชาวบ้านชุมชนนาโสกมีกลุ่มอาชีพหลากหลาย กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองเป็นอีกกลุ่มอาชีพหนึ่งในชุมชนที่ โดดเด่น การทำผ้าพื้นเมืองที่ทำจากฝ้ายที่เรียกว่าฝ้ายตะหลุง ซึ่งจะมีสีน้ำตาลปนเทา เมื่อนำมาถักทอเป็นผืน ผ้าแล้วไม่ต้องย้อมสีอีก ซึ่งเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของชนเผ่าผู้ไท ในชุมชนบ้านนาโสกชาวบ้านจะปลูกฝ้ายตะหลุง ไว้ตามหัวไร่ ปลายนา เพื่อเอาไว้แปรรูปใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม จนมีการจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านทอผ้าพื้นเมือง ดำเนินงาน ทีมวิจัยที่รับผิดชอบเรื่องฝ้ายตะหลุงได้จัดอบรมการออกแบบเสื้อผ้าให้กับกลุ่มอาชีพฝ้ายตะหลุง จำนวน 15 คน และได้ประชุมคณะกรรมการฝ้ายตะหลุง ระดมหุ้นตั้งต้น รณรงค์ให้ชาวบ้านปลูกฝ้ายตะหลุง ฝ้ายพื้นเมือง โดยชาวบ้านชุมชนนาโสก ได้ปลูกฝ้ายตะหลุง ฝ้ายพื้นเมือง ราว 600 ครัวเรือน มีการแปรรูปเป็น เสื้อผ้าพื้นเมือง เพราะผ้าตะหลุงเป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น สามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มอาชีพได้เดือนละ ประมาณ 6,000 บาท ทำให้เป็นกระแสให้คนส่วนมากหันมาปลูกฝ้ายพื้นเมือง
4.4.2 แนวทางการฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่าผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร | ||||||
ชื่อหัวหน้าโครงการ : นายถาวร เผ่าภูไทย | ||||||
กิจกรรม | ปัจจัยนำเข้า | ภาคี | กระบวนการ | ผลผลิต | ผลลัพธ์ | ผลกระทบ |
1.การสร้างโฮมสเตย์ | 1.คณะกรรมการ | -ททท.มุกดาหาร | -ประชุมชาวบ้านเรื่อง | -สมาชิกบ้านโฮมสเตย์มี | -มีการต้อนรับ นนท. 3 | - |
ชุมชน ,การสร้างรีสอร์ | -ฝ่ายบ้านพัก 10 หลัง | -วัฒนธรรมจังหวัด | บ้านพักโฮมสเตย์ จำนวน | ความเข้าใจในการ | ครั้ง รวม 17 คน | |
ทชุมชน,การสร้างโรงแรม | -การแสดงxxxxxพื้นบ้าน | -ทสจ. | 5 หลังคา ประเด็นการ | xxxxxxการในเรื่องโฮมส | -ได้รับคำแนะนำจาก | |
ชุมชน จัดให้มีที่กางเต้นท์ | -ความปลอดภัย | -อบจ.มุกดาหาร | รับรองนักท่องเที่ยว การ | เตย์มากขึ้น | นนท.ว่าให้ชุมชนมีความ | |
พร้อมห้องสุขา | -การเงิน | -xxxxxxxx | ทำความสะอาด 3 ครั้ง | -มีบ้านพักโฮมสเตย์ | พร้อมมากกว่านี้ทั้งใน | |
-ฐานเรียนรู้ 6 ฐาน | -สภาเกษตรกรจังหวดั | -การประชาสัมพันธ์ | xxxxxขึ้นอีก 5 หลัง รวม | ด้านฐานการเรียนรู้ จุด | ||
-วิถีชุมชน(ตักบาตร) | มุกดาหาร | ชักชวนชาวบ้านเข้าร่วม | เป็น 10 หลัง | ชมวิว อื่นๆ | ||
-Thai PBS. | xxxxxxการทำโฮมสเตย์ | |||||
2.สร้างกลุ่มเกษตร | -ทีมวิจัย | -สถานีพัฒนาที่ดิน | -อบรมการทำเกษตร | -มีกลุ่มเกษตรอินทรีย์ | -กลุ่มเกษตรอินทรีย์มี | |
อินทรีย์ สร้างโรงเรียน | -คณะกรรมการ | จังหวัดมุกดาหาร | อินทรีย์ การxxxxxxxxxพืช | จำนวน 30 คน | ความสนใจในการเข้า | |
ควาย ทำการเกษตรxxx | xxxxxxxxxxฯ | -เกษตรอำเภอเมือง | การคัดพันธุ์ปน | -พื้นที่ทำการเกษตร | ตรวจรับรองมาตรฐาน | |
หลากหลาย ฟื้นฟูวิถี | -กลุ่มอาชีพ | มุกดาหาร | -จัดทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้ใน | อินทรีย์ คนละ 5 ไร่ รวม | ออร์แกนิกส์ไทยแลนด์ | |
ชาวนา | -ชาวบ้านชุมชนxxxxx | -ศูนย์อารักขาพืช | กระบวนการเกษตร | 150 ไร่ | ||
สำนักงานเกษตรจังหวัด | อินทรีย์ | |||||
มุกดาหาร | -จัดทำเชื้อไตรโคเตอร์ม่า | |||||
-สภาเกษตรกรจังหวดั | เพื่อใช้ในxxxxxxxxx | |||||
xxxxxxxx | เกษตรอินทรีย์ | |||||
3.สร้างการมีส่วนร่วม | วัดxxxxxxxxxxxx | -อบจ.มุกดาหาร | -xxxxxxผู้นำxxxxเข้าร่วม | -ชาวบ้านรับรู้นโยบาย | -เกิดแผนพัฒนาชุมชน | |
ระหว่างxxxxxxxและ | ชาวบ้าน 4 หมู่ | -วัฒนธรรมจังหวัด | กิจกรรม | ของรัฐบาล จังหวัด | ผ่านกลุ่มกิจกรรมต่างๆ | |
xxxxxxxx, การวางแผน | โรงเรียนชุมชนxxxxx | -ททท. | -จัดฝึกอบรมการมีส่วน | xxxxxxxx ในเรื่องการ | ที่เชื่อมโยงกับการ | |
เสนอของบประมาณ , | xxxxxxxxเทศบาลตำบลฯ | ร่วมของชุมชนในการ | xxxxxxxxการxxxxxxxxxx | xxxxxxxxxx | ||
จัดทำแผนการปรับปรุง | xxxxxxxxxxชุมชน จำนวน | ชุมชน | ||||
50 คน |
4.4.2 แนวทางการฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของชนxxxxผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลxxxxx อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร | ||||||
ชื่อหัวหน้าโครงการ : xxxxxxx xxxxxxไทย | ||||||
กิจกรรม | ปัจจัยนำเข้า | ภาคี | กระบวนการ | ผลผลิต | ผลลัพธ์ | ผลกระทบ |
การคมนาคม ,การ ประชาคมในชุมชน | -ผู้นำxxxxxxx วัด โรงเรียน เกิดความตระหนักต่อ การxxxxxxxxxxชุมชน | |||||
4.สร้างสื่อ สร้าง Story ของฝ้ายตะหลุงและข้าว เป็นยา, ประชาสัมพันธ์ ประเพณีไขประตูเล้า | -ชาวบ้านชุมชนxxxxx -กลุ่มกิจกรรมทอผ้า พื้นเมือง -กลุ่มกิจกรรมอื่นๆ | -ฝ่ายการตลาด สกว. -Thai PBS - | -xxxxxxงานฝ่าย การตลาด สกว. -xxxxxxนักข่าวพลเมือง Thai PBS -สร้างxxx facebook/ xxxxxxxxxxวิถีผู้xxxxxxx | -ได้เผยแพร่กิจกรรมไข ประตูเล้าผ่าน ช่อง Thai PBS -ได้เผยแพร่กิจกรรมของ ผู้xxxxxxxผ่านวารสาร ของฝ่ายการตลาด -ได้เผยแพร่การ xxxxxxxxxxผู้xxxxxxx ผ่านสื่อออนไลน์ของฝ่าย การตลาด -มีผู้ติดตามชมสื่อ Facebook/xxxxxxxxxxวิถี ผู้xxxxxxx -มีสื่อเกี่ยวข้าวดอ/ | ||
5.สร้างเส้นทางการ xxxxxxxxxxสายธรรมมะ, เส้นทางปั่นจักรยานชม xxxxxxxx,สร้างหุ่นฟาง หลังการเก็บเกี่ยวเพื่อ ดึงดูดนักท่องเที่ยว,การ | -ชาวบ้านชุมชนxxxxx -วัด -โรงเรียน -ผู้นำชุมชน | -ททท.มุกดาหาร -ทสจ. -อบจ.มุกดาหาร -xxxxxxxx | -xxxxxxงานผู้นำชุมชน -ประชาสัมพันธ์ให้ ชาวบ้านได้รับรู้ -นัดหมายปฏิบัติการ -แบ่งบาทบาทหน้าที่ วางแผน,อาหาร,สำรวจ ,ทำป้าย | -มีเส้นทางการเดินทาง ในการxxxxxxxxxxไปสู่จุด ชมวิว -มีรูปภาพเส้นทางการ เดินทางในการ xxxxxxxxxxxx | ชุมชนได้ปรับตัวแต่งxxx ชุดผู้ไทใส่บาตรทุกวัน พระประมาณ 200 ครัวเรือน |
4.4.2 แนวทางการฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของชนxxxxผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลxxxxx อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร | ||||||
ชื่อหัวหน้าโครงการ : xxxxxxx xxxxxxไทย | ||||||
กิจกรรม | ปัจจัยนำเข้า | ภาคี | กระบวนการ | ผลผลิต | ผลลัพธ์ | ผลกระทบ |
แต่งxxxชุดผไู้ ทตักบาตร ตอนเช้า | -สรุปผลการxxxxxxการ | -มีข้อตกลงในชุมชนเรื่อง การแต่งxxxชุดผู้ไทใส่ บาตรทุกวันพระ | ||||
6.สร้างองค์ความรู้ในการ สร้างบ้านดิน, สร้างวิถี ชุมชนความเป็นอยู่ของ ชาวนา, สร้างไกด์ มัคคุเทศก์xxxxxxxx, สร้าง จิตสำนึกให้คนในชุมชน, | -ทีมวิจัย 8 คน -ชาวบ้านชุมชนxxxxx 7 คน | -ททท.มุกดาหาร -การตลาด สกว. | - อบรมกระแสการ xxxxxxxxxxในปัจจุบัน/ ศึกษาดูงานบ้านแข้(ททท.) - อบรมต้นแบบการ xxxxxxxxxxชุมชนบ้านธาร ปราสาท/การผลตสื่อ -xxxxxxงานองค์กร ชุมชน -จัดทำปฏิทินกิจกรรมของ ชาวภูxxxxxxx ทั้ง 12 เดือน | - ได้รูปแบบการดึงดูด นักท่องเที่ยว การจัดการ ชุมชนเพื่อให้มี นักท่องเที่ยวเข้ามาใน ชุมชน -การxxxxxxxxxxชุมชนต้อง มีการxxxxxxการอย่าง ต่อเนื่อง -มีปฏิทินกิจกรรมของ ชาวภูxxxxxxx ทั้ง 12 เดือน | -มีการเก็บข้อมูลในการ ผลิตสื่อ -เกิดกลุ่มเยาวชนxxxxxxxx เข้าร่วมxxxxxxxxx xxxxxxxxxxชุมชนมีการสืบ ทอดจากรุ่นสู่รุ่น | |
7.สร้างกลไก ทีมงานใน การจัดการxxxxxxxxxx, สร้างการมีส่วนร่วมในการ xxxxxxxxxxของคนในชุมชน, สร้างกฎระเบียบการ xxxxxxxxxx | -ทีมวิจัย -ผู้นำชุมชน -กลุ่มอาชีพต่างๆ -xxxxxxxx -โรงเรียน -วัด | -ททท -ทสจ. | -xxxxxxทีมวิจัย ผู้นำ xxxxxxxx ประชุมจัดตั้ง คณะทำงาน -มีคณะกรรมการ xxxxxxxxxxบ้านนาโสก 1 คณะ จำนวน 14 คน ที่ ปรึกษา 1 ท่าน -มีฝ่ายการขับเคลื่อนการ xxxxxxxxxx 10 ฝ่าย |
4.4.2 แนวทางการฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของชนxxxxผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลxxxxx อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร | ||||||
ชื่อหัวหน้าโครงการ : xxxxxxx xxxxxxไทย | ||||||
กิจกรรม | ปัจจัยนำเข้า | ภาคี | กระบวนการ | ผลผลิต | ผลลัพธ์ | ผลกระทบ |
8.มีแพ็คเกจการxxxxxxxxxx ที่หลากหลาย, แพ็คเกจ xxxxxxxxxxวิถีชาวนาผู้xxxx xxx 2 วัน 1 คืน, | -ทีมวิจัย -คณะกรรมการ xxxxxxxxxxฯ -กลุ่มอาชีพ -ชาวบ้านชุมชนxxxxx | -นักข่าวพลเมือง Thai PBS. -Facebook/อยู่ดีมีแฮง -Facebook/xxxxxxxxxx วิถีผู้xxxxxxx | -xxxxxxงาน คณะกรรมการxxxxxxxxxx บ้านนาโสก -ประชุมจัดทำแพ็กเกจ การxxxxxxxxxx 2 วัน 1 คืน -xxxxxxจัดทำสื่อ -ประชาสัมพันธ์ให้ นักท่องเที่ยวรับรู้ | -มีแพ็กเกจการxxxxxxxxxx วิถีชาวนาผู้xxxxxxx เดือนxxxxxx 2 วัน 1 คืน เกี่ยวข้าวดอ กิน ข้าวเม่า ขุดมันอ้อน นอนตูบฟาง -มีแพ็กเกจการxxxxxxxxxx วิถีชาวนาผู้xxxxxxx เดือนพฤศจิกายน 2 วัน 1 คืน เกี่ยวข้าวใหญ่ เก็บ ฝ้ายตะหลุง ขุดมันอ้อน ฟ้อนกลองกิ้งบุญxxxx | ||
9.สร้างความปลอดภัย ให้กับนักท่องเที่ยวตลอด การเดินทาง | -ผู้นำxxxxxxxx 4 หมู่ | -ฝ่ายxxxxxx -อปภร. | -สร้างการรับรู้การรักษา ความปลอดภัยในชุมชน ผ่านผู้นำxxxxxxxx | ม ี คณะทำงานรักษา ความปลอดภัยให้กับ นักท่องเที่ยว นำโดยผู้นำ xxxxxxxx 4 หมู่บ้าน | ||
10.ฟื้นฟูวิถีxxxxxพื้นบ้าน | -ทีมวิจัย -คณะกรรมการ xxxxxxxxxxฯ -กลุ่มอาชีพ -ชาวบ้านชุมชนxxxxx | -โรงเรียนบ้านคำฮี -กลุ่มเยาวชนชุมชนxx xxx -เทศบาลตำบลxxxxx | -ชักชวนxxxxนxxxxxxxxมา ฝึกxxxxxxxxxพื้นบ้าน -มีเยาวชนxxxxxxxx จำนวน 6 คน -มีคณะทีมกลองกิ้งชุมชน xxxxx จำนวน 20 คน | -นักxxxxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxx ทั้งหมด 6 คน (แคน พิณ โปงลาง กลองชุด ฉิ่ง ฉาบ) | -ได้รับxxxxไปประกวดใน งานประเพณีของxxxxxxx อื่นๆ |
4.4.2 แนวทางการฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของชนxxxxผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลxxxxx อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร | ||||||
ชื่อหัวหน้าโครงการ : xxxxxxx xxxxxxไทย | ||||||
กิจกรรม | ปัจจัยนำเข้า | ภาคี | กระบวนการ | ผลผลิต | ผลลัพธ์ | ผลกระทบ |
-ปฏิทินซ้อมxxxxxพื้นบ้าน ทุกวัน ศ. ส. | ||||||
11.ฝ้ายตะหลุง | -ทีมวิจัย -คณะกรรมการ xxxxxxxxxxฯ -กลุ่มอาชีพฝ้ายตะหลุง 15 คน -ชาวบ้านชุมชนxxxxx | -วัฒนธรรมจังหวัด -เกษตรอำเภอเมือง -เทศบาลตำบลฯ -อุตสาหกรรมจังหวัด -พาณิชย์จังหวัด | -ประชุมคณะกรรมการ ฝ้ายตะหลุงระดมหุ้นตั้งต้น -xxxxxxให้ชาวบ้านปลูก ฝ้ายตะหลุง ฝ้ายพื้นเมือง | -ชาวบ้านชุมชนxxxxx ปลูกฝ้ายตะหลุง ฝ้าย พื้นเมือง ราว 600 ครัวเรือน -มีการแปรรูปเป็นเสื้อผ้า พื้นเมือง ผ้าตะหลุง เป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น | -xxxxxxสร้างรายได้ ให้กับกลุ่มอาชีพไดเดือน ละประมาณ 6,000 บาท | เป็นกระแสให้คน ส่วนมากหันมาปลูกฝ้าย พื้นเมือง |
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
ชาวบ้านชุมชนxxxxx 4 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 1 หมู่ 3 หมู่ 13 และหมู่ 16 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย เพื่อทำการศึกษารูปแบบแนวทางการฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการ xxxxxxxxxxวิถีชาวนาของชนxxxxผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลxxxxx อำเภอเมือง จั งหวัดมุกดาหาร โดยได้เริ่ม xxxxxxการศึกษาข้อมูลตั้งแต่เดือนxxxxxx พ.ศ.2560 เพื่อฟื้นฟูการxxxxxxxxxxชุมชน ในการพัฒนาเศรษฐกิจฐาน รากให้ชาวนามีการได้มีแนวทางการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดรายได้อีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งทางชุมชน xxxxxได้มีการจัดตั้งคณะทีมวิจัย จำนวน 17 คน และที่ปรึกษา จำนวน 12 คน โดยในทีมวิจัยประกอบไปด้วย ผู้นำxxxxxxx xxxxxxชาวบ้าน ข้าราชการในชุมชนและเกษตรกร เพื่อร่วมกันแสวงหาแนวทางการฟื้นฟู่สู่การ พัฒนาการxxxxxxxxxxวิถีขาวนาของชนxxxxผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลxxxxx อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร และส่ง ทอดสู่รุ่นต่อไป
ในการศึกษาแนวทางการฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของชนxxxxผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลxxxxx อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 4 เรื่องคือ
1. เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ และบริบทชุมชนที่xxxxxxxxกับการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของคนภูxxxxxxx ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
2. เพื่อศึกษาสถานการณ์ สาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของคนภูxxxxxxx
3. เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของคนภูไทต้นแบบ
4. เพื่อให้ได้แนวทางการฟื้นฟูการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของชนxxxxผู้ไทยบ้านนาโสก ตำบลxxxxx อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
5.1 ผลการศึกษาข้อมูล สังเคราะห์ วิเคราะห์และxxxxxxข้อมูลทั้งหมดแล้วxxxxxxสรุป ผลการวิจัยตามแต่ละวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ และบริบทชุมชนที่xxxxxxxxกับการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของคนภูxxxxxxx ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สรุปคือ
พื้นที่ตั้งของชุมชนบ้านนาโสก มีสภาพพื้นที่เป็นป่าชุมชน มีบางส่วนถูกทำลาย ทรัพยากรไม่มีการพัฒนา เนื่องจากชุมชนไม่มีความตระหนักในการxxxxxxป่าชุมชน ไม่มีการฟื้นฟูและพัฒนาป่าชุมชนซึ่งพื้นที่ป่าเขาในชุมชน xxxxxบางส่วนได้ถูกประกาศเป็นป่าชุมชนแต่xxxxxxมีการบริหารจัดการหรือxxxxxxxกติกาในการป้องกันหรือรักษา โดยคนในชุมชนxxxxxxxxx การเลือกตั้งในระดับxxxxxxx xxxxxxxxมีการซื้อเสียง/ชุมชนแบ่งเป็นกลุ่ม มีการแบ่งขั้ว การเมือง แข่งขัน ขัดแย้งบางเรื่องที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชนทำให้ชุมชนxxxxxxxxxxxรับการพัฒนาเท่าที่ควร มีเครื่องมือ xxxxxxxxxxxสาน สารเคมีพิษทางการเกษตรมาxxxxx มีการใช้เงินลงทุนทำการเกษตรมากขึ้น วิถีชีวิตใน เรื่องการเกษตรแบบเก่าสูญหายไป เนื่องจากนโยบายรัฐบาลและกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่xxxxxxxxการใช้ เครื่องมือ xxxxxxxxxxxxx xxxเคมีพิษทางการเกษตรมากขึ้น พันธุกรรมพืชที่รัฐบาลxxxxxxxxให้เกษตรกรปลูกเพื่อxxxxxxx ครองตลาดทางการเกษตร ชาวบ้านชุมชนxxxxxมีความxxxxxxxxxxxxอยากฟื้น อยากทำแบบวิถีวัฒนธรรมแบบเก่า ของผู้ไท เพื่อการสืบทอดการปฏิบัติวัฒนธรรมผู้ไท จากรุ่นสู่รุ่น ในปัจจุบันมีxxxxxxxxxชุมชนบ้านนาโสกเข้าร่วม กิจกรรมต่างๆเยอะมากขึ้น มีการแต่งชุดประจำxxxxเข้าร่วมกิจกรรมเกือบทั้งหมู่บ้าน ด้านสาธารณูปโภคถูกจัดการ
จากรัฐบาลทั้งหมด ต้องพึ่งพาจากภายนอก ทั้งถนนหนทาง ไฟฟ้า ประปา แต่ส่งผลให้ชาวบ้านมีความสะดวกสบาย มากขึ้น มีเกษตรกรทั้งในและต่างประเทศมาศึกษาดูงาน ศพก.จากนอกชุมชน ในปีพ.ศ.2560 ที่ผ่านมา จำนวน 69 คณะ รวมแล้วประมาณ 4,000 คน มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพในชุมชน xxxx มีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ จำนวนกว่า 20 คน สร้างเป็นฐานเรียนรู้และxxxxxxสร้างรายได้จากการขายสินค้า เข้าชุมชนประมาณ ปีละ 200,000 บาท แต่มี กลุ่มเกษตรกรและผู้xxxxxxxxxxxxxxในชุมชนxxxxxน้อย จากxxxxxxสรุปข้อมูลค้นพบปัญหาว่า วิถีชาวนาดั้งเดิมสูญหาย และมีการใช้สารเคมีสูง ,การมีส่วนร่วมกับภาครัฐมีน้อย, จุดเด่นเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวยังxxxxxxxชัด ,องค์ ความรู้ในการจัดการxxxxxxxxxxชุมชนมีน้อย
2. เพื่อศึกษาสถานการณ์ สาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของคนภูxxxxxxx สรุปคือ เมื่อปี พ.ศ.2550 xxxxxxx xxxxxxไทย ได้จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรอินทรีย์อะตอมมิกนาโน
เพื่อถ่ายทอดเทคนิค เทคโนโลยีการลดต้นทุนการทำการเกษตรให้กับเกษตรกรทั่วไป ต่อมาทางราชการได้มา จัดตั้งให้เป็นศูนย์เรียนรู้การxxxxxประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.) ตามนโยบายรัฐบาล มีเกษตรกรจาก ต่างถิ่นมาศึกษาดูงานในชุมชนxxxxx ต่อมาพ.ศ.2553 ชาวบ้านได้ร่วมกันจัดตั้งเป็นหมู่บ้านโฮมสเตย์ และใน แต่ละปีจังหวัดมุกดาหารจะxxxxทีมฟ้อนรำบวงสรวงเข้าร่วมกิจกรรมในงานกาชาดประจำปี ชาวบ้านชุมชนxx xxxได้กำหนดเอาวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เป็นประเพณีวันไขประตูเล้า โดยในปี 2561 ได้จัดขึ้นในxxxxxx 19 -20 xxxxxx 2561 มีชาวบ้านนาโสกเข้าร่วมกิจกรรมขบวนแห่พระแม่โพสพ จำนวนมาก โดยได้xxxxxxxxxxxxxx ชุดผ้าผู้xxxxxxxxxหมู่บ้าน ตอนเช้าชาวบ้านเข้าแถวตักบาตรพระสงฆ์ ริมถนนหน้าบ้าน ก่อนที่นำอาหารใส่กะซ้า หาบไปถวายxxxxxxวัดอีกครั้งหนึ่ง โดยการใส่บาตรพระสงฆ์ ชาวผู้ไทบ้านนาโสกจะทำกันทุกวันแต่จะมีคน มากกว่าxxxx ในวันพระและวันสำคัญทางศาสนา ชาวผู้ไทในจังหวัดมุกดาหารได้มีการประชุมจัดตั้งชมรมผู้xx xxxxxxxx ในxxxxxx 27 xxxxxx 2561 เนื่องจากปัจจุบันจังหวัดมุกดาหารยังไม่มีกลุ่มหรือองค์กรxxxxxxชนxxxxผู้ ไทเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อมีการจัดงานผู้ไทโลกในแต่ละปี ชาวผู้ไททั่วไปจะรู้จักคนภูไทจังหวัดมุกดาหาร เฉพาะชาวผู้ไทหนองสูงเท่านั้น มีนักท่องเที่ยวเข้าจังหวัดมุกดาหาร xxxxxขึ้น 2% รวมแล้วประมาณ 4 แสนคน สร้างรายได้ให้จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 750 ล้านบาท แต่นักท่องเที่ยวที่เข้ามาจังหวัดมุกดาหาร จะมาใน รูปแบบคณะทัวร์ขนาดใหญ่ ส่วนมากxxxxxxในจังหวัดมุกดาหาร และจากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการกระตุ้น เม็ดเงินลงสู่ระบบของเศรษฐกิจฐานราก เน้นการxxxxxxxxxxชุมชนเป็นหลัก โดยxxxxxxเม็ดเงินลงมาที่องค์กร xxxxxxส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบล จากxxxxxxสรุปข้อมูลค้นพบปัญหาว่า นักท่องเที่ยวที่เข้ามา ต้องการความหลากหลายของที่พัก ,สื่อประชาสัมพันธ์มีน้อย, กลไกองค์กรที่รับผิดชอบแต่ละด้านมีน้อย,การ จัดการในเรื่องการxxxxxxxxxxไม่มีประสิทธิภาพ และการความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวยังไม่มีประสิทธิภาพ
3. เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของคนภูไทต้นแบบ สรุปคือ
กลุ่มชาวบ้านบ้านภู ได้รวมกลุ่มทำโฮมสเตย์โดยใช้ระยะเวลาจัดตั้ง xxxxxxxxxxxxxxมา 10 ปี โดยจัดให้xx xxxเรียนรู้ ฐานต่างๆ เอาวิถีวัฒนธรรมผู้ไทมาเป็นตัวนำในการxxxxxxxxxx มีการจัดกิจกรรมหลักอยู่ในบริเวณวัด มี ผู้นำตามxxxxxxxxนำชาวบ้าน โรงเรียนได้สร้างxxxxxxxxxxxxxในการสืบสานมีนักเรียนมาเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ มีการ ปฏิบัติให้เกิดความxxxxxx ความเชื่อ มีรูปแบบการแบ่งปันxxxxxxxxxxที่ชาวบ้านยอมรับ สร้างเพลงปลุกใจให้ ชุมชนxxxxxxxxxxสร้างองค์รวมร่วมกันโดยใช้เพลง ปัจจุบันจำนวนโฮมสเตย์ลดลง นักท่องเที่ยวลดลง มีการ xxxxxxงานผ่านประธานโฮมสเตย์เพื่อรับนักท่องเที่ยว ทัวร์คณะ เตรียมพื้นที่ที่รับผิดชอบ ที่พัก กำหนดการ อาหาร ค่าใช้จ่าย มีการประชาสัมพันธ์ผ่านเวปไซน์ นักท่องเที่ยวมาในรูปแบบทัวร์ xxxนอนในหมู่บ้านกิจกรรมให้ความรู้ บริบทชุมชน บายศรี ตักบาตร มีกฎxxxxxxxชุมชนทำให้ไม่มีสัตว์เลี้ยงในชุมชน
4. เพื่อให้ได้แนวทางการฟื้นฟูการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของชนxxxxผู้ไทยบ้านนาโสก ตำบลxxxxx อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร สรุปคือ
เพื่อเป็นการตอบxxxxต่อการxxxxxxxxxxชุมชน ที่สอดรับกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของนักท่องเที่ยว ประกอบกับศักยภาพของชุมชนxxxxxเอง จึงมีแนวทางการพัฒนารูปแบบการxxxxxxxxxxคือ การสร้างโฮมสเตย์ ชุมชน ,การสร้างรีสอร์ทชุมชน,การสร้างโรงแรมชุมชน จัดให้มีที่กางเต้นท์พร้อมห้องสุขา สร้างกลุ่มเกษตร อินทรีย์ สร้างโรงเรียนควาย ทำการเกษตรที่หลากหลาย ฟื้นฟูวิถีชาวนา สร้างการมีส่วนร่วม ระหว่างxxxxxxx และxxxxxxxx, การวางแผนเสนอของบประมาณ ,จัดทำแผนการปรับปรุงการคมนาคม ,การประชาคมในชุมชน สร้างสื่อ สร้าง Story ของฝ้ายตะหลุงและข้าวเป็นยา, ประชาสัมพันธ์ประเพณีไขประตูเล้า สร้างเส้นทางการ xxxxxxxxxxสายธรรมมะ, เส้นทางปั่นจักรยานชมxxxxxxxx,สร้างหุ่นฟางหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว, การแต่งxxxชุดผู้ไทตักบาตรตอนเช้า, มีบริการชุดผู้ไทในการเข้าร่วมกิจกรรม,วัฒนธรรมการเส็งกลองกิ้ง รำภู ไท, สร้างฐานเรียนรู้สร้างอาชีพ, สร้างฐานเรียนรู้วิถีชุมชน, สร้างการแสดงวิถีวัฒนธรรมของชุมชน, xxxxxxxผัก สวนครัวริมรั้ว กินทุกอย่างที่ปลูก ปลูกทุกอย่างที่กิน สร้างองค์ความรู้ในการสร้างบ้านดิน, สร้างวิถีชุมชนความ เป็นอยู่ของชาวนา, สร้างไกด์ มัคคุเทศก์xxxxxxxx, สร้างจิตสำนึกให้คนในชุมช น, สร้างกลไก ทีมงานในการ จัดการxxxxxxxxxx, สร้างการมีส่วนร่วมในการxxxxxxxxxxของคนในชุมชน, สร้างกฎระเบียบการxxxxxxxxxx มี แพ็คเกจการxxxxxxxxxxที่หลากหลาย, แพ็คเกจประกันภัยความปลอดภัยในการxxxxxxxxxx, แพ็คเกจการ xxxxxxxxxxร่วมกับพื้นที่ในประเทศเพื่อนบ้าน สร้างความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวตลอดการเดินทาง
5.2 สรุปผลการxxxxxxxxxxxxฟื้นฟูการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของชนxxxxผู้ไทยบ้านนาโสก ตำบลxxxxx อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
เมื่อได้ข้อมูลปัญหาในด้านต่าง ๆ มาแล้ว ทีมวิจัยแนวทางการฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการxxxxxxxxxx วิถีชาวนาของชนxxxxผู้ไท บ้านนาโสก ตำบลxxxxx อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ได้ร่วมกันค้นหาแนว ทางการจัดการการxxxxxxxxxxของชุมชนxxxxx ทั้ง 4 หมู่บ้าน ดังนี้
1. การสร้างโฮมสเตย์ชุมชน
สรุปผลการxxxxxxงานพบว่า เมื่อประมาณ ปีพ.ศ.2553 ชุมชนxxxxxได้รับการสนับสนุนจากทาง ภาครัฐให้มีการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านโฮมสเตย์ เริ่มต้นมีทั้งหมด 17 ครัวเรือน มีการตรวจประเมินตามเกณฑ์ มาตรฐานทุกปี ที่ผ่านมาไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาxxxในลักษณะนักท่องเที่ยว และขาดการxxxxxxกิจกรรม ต่อเนื่องจนเหลือเพียง 5 ครัวเรือน
หลังจากxxxxxxศึกษาวิจัย ทีมวิจัยได้มีการทำความเข้าใจเพื่อจะxxxxxxxxให้เกิดความต่อเนื่องในการเป็น หมู่บ้านโฮมสเตย์ ทำให้มีสมาชิกกลุ่มโฮมสเตย์xxxxxขึ้นอีก 5 ครัวเรือน ซึ่งเป็นรายเก่า 3 ครัวเรือน รายใหม่ 2 ครัวเรือน โดยมีสร้างความเข้าใจในเรื่องการต้อนรับนักท่องเที่ยว การจัดการบ้านและพื้นที่สำหรับรองรับ นักท่องเที่ยวและจากมติคณะกรรมการxxxxxxxxxxของชุมชน ให้ผู้นำxxxxxxxxปรับวิธีคิด คือผู้ใหญ่บ้าน 4 หมู่บ้าน ต้องเข้าร่วมกลุ่มโฮมสเตย์ด้วยเพื่อเป็นแบบอย่างxxxxxให้กับลูกบ้าน หลังจากxxxxxxข้อตกลงกันแล้วและมีการ ประชาสัมพันธ์จากการบอกxxxxxxxxxxการมีที่พักในชุมชนแบบโฮมสเตย์ กลับยังไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาxxx ซึ่งใน ระยะที่ทำงานวิจัยฯ ยังxxมีกลุ่มเกษตรกรที่มาศึกษาดูงาน แต่ไม่มีการxxxจำนวนกว่า 3,000 คน และมี นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชมจุดชมวิว “มานาโคกเด้อ”แบบมาเช้าเย็นกลับ ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม- พฤศจิกายน 2561 วันละประมาณ 50-100 คน และมีผู้ติดตาม Page Facebook/มานาโคกเด้อ กว่า 10,000 คน
ข้อเสนอแนะ หลังจากที่ชุมชนได้มีกระบวนการปรับปรุงฟื้นฟูการxxxxxxxxxxชุมชนโดยมีการแบ่งการ ทำงานออกเป็นฝ่ายรับผิดชอบ แต่กลับยังไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาxxxในชุมชนมากนัก ยังxxมีแบบเข้ามาศึกษา ดูงาน และจากข้อมูลของกลุ่มเกษตรกรที่ภาครัฐจัดให้มีกิจกรรมศึกษาดูงานทำให้ทราบว่า ระเบียบการเบิกจ่าย ค่าที่พัก ไม่เอื้อต่อการxxxxxxxxxxชุมชน ทำให้ชุมชนที่กำลังจัดการxxxxxxxxxxxxxxxxเสียโอกาสในการสร้างรายได้ ให้กับชาวบ้าน เห็นควรให้หน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องปรับปรุงมาตรการเกี่ยวกับxxxxxxxการเงิน ให้ เอื้อต่อการxxxxxxxxxxชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง และให้หน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจ ที่ เกี่ยวข้องกับชุมชนการxxxxxxxxxx โปรโมท ประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวได้รับข่าวสารมากขึ้น
2. สร้างกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ฟื้นฟูวิถีชาวนา
สรุปผลการxxxxxxงานพบว่า ในชุมชนบ้านนาโสก เกษตรกรส่วนมากจะเป็นการทำนาไว้เพื่อบริโภคที่ เหลือจากการบริโภคจึงจะขายให้โรงสีในรูปแบบข้าวเปลือก นอกจากนั้นจะทำไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลังและ ยางพารา ต่อมาได้กลุ่มเกษตรกรรวมตัวกันทำการเกษตรในลักษณะเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี จำนวน 30 ราย พื้นที่รายละประมาณ 5 ไร่ โดยการxxxxxxxxจากภาครัฐ ซึ่งผลผลิตxxxxxxจะxxxxxxxกิน ที่เหลือจะขายให้กับ พ่อค้าโรงสี แต่จะขายได้ในราคาเท่าๆกับราคาข้าวเปลือกโดยทั่วไป มีเกษตรกรน้อยรายที่สีข้าวขาย เนื่องจาก การขาดโอกาส ทำให้เกษตรกรที่ทำการเกษตรในลักษณะเกษตรอินทรีย์ยังไม่มีแรงบันดาลใจ ที่จะxxxxxฐานการ ผลิตเกษตรอินทรีย์
หลังจากxxxxxxศึกษาวิจัย ทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร สนใจที่จำเกษตรอินทรีย์ที่มีการ รับรองมาตรฐานตามนโยบายเกษตรอินทรีย์ของรัฐบาล และมีความต้องการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในระดับ จังหวัด
ข้อเสนอแนะ การทำเกษตรอินทรีย์ในภาคการเกษตร ควรเริ่มต้นจากการทำนาเนื่องจากวิถีการทำนา ของชาวบ้านนาโสก เป็นการทำนาเพื่อการบริโภคเป็นหลัก นอกจากจะเป็นการผลิตอาหารที่ปลอดภัยแล้วยัง เป็นการสร้างเรื่องราวการทำการเกษตรที่ปลอดภัยและมีคุณธรรมสำหรับผู้บริโภคคนอื่นอีกด้วย เป็นการxxxxx xxxxxxให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร จากนโยบายของทางราชการที่xxxxxxxxให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์แต่ ขาดการประชาสัมพันธ์หรือการสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกร ทำให้เกษตรกรเสียโอกาส
3. สร้างการมีส่วนร่วม ระหว่างxxxxxxxและxxxxxxxx
สรุปผลการxxxxxxงาน พบว่าองค์กรxxxxxxส่วนท้องถิ่นxxxxxxxให้ความสนใจในกิจกรรมการ xxxxxxxxxxของชุมชน
หลังจากxxxxxxศึกษาวิจัย ในเวทีการประชุม ประชาคมการxxxxxxงานในขั้นทดลองปฏิบัติการคณะทีม วิจัยได้xxxxข้าราชการในเทศบาลตำบลxxxxx เข้าร่วมประชุม และชุมชนได้แต่งตั้งให้เป็นหัวหน้ากลุ่มการสร้าง การมีส่วนร่วม ซึ่งทางเทศบาลตำบลxxxxxได้xxxxxxxxxxผู้นำชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม การจัดฝึกอบรมการมี ส่วนร่วมของชุมชนในการxxxxxxxxxxชุมชน จำนวน 50 คน
ข้อเสนอแนะ การมีส่วนร่วมระหว่างxxxxxxx xxxxxxxxและองค์กรxxxxxxส่วนท้องถิ่น ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับการxxxxxxxxxxชุมชน เห็นควรมีการกำหนดเป็นตัวชี้วัดในการประเมินให้คุณให้โทษของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อ เป็นการxxxxxxxxความxxxxxxxxของชุมชนอย่างจริงจัง
4. สร้างสื่อประชาสัมพันธ์ประเพณีไขประตูเล้า
สรุปผลการxxxxxxงาน ประเพณีเด่นฮีต 12 ครอง 14 ของชาวผู้xxxxxxx ได้ตกลงว่าจะจัดงานประเพณี ไขประตูเล้าเป็นประเพณีเด่นของชุมชน ที่ผ่านมาไม่มีการประชาสัมพันธ์ทำให้ไม่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว
หลังจากxxxxxxศึกษาวิจัย กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองเป็นอีกกลุ่มอาชีพหนึ่งในชุมชนที่โดดเด่น การทำผ้าพื้นเมือง ที่ทำจากxxxxxxxเรียกว่าฝ้ายตะหลุง ซึ่งจะมีสีน้ำตาลปนเทา เมื่อนำมาถักทอเป็นผืนผ้าแล้วไม่ต้องย้อมสีอีก ซึ่งเป็น xxxxxxxxxหนึ่งของชนxxxxผู้ไท ในชุมชนบ้านนาโสกชาวบ้านจะปลูกฝ้ายตะหลุงไว้ตามหัวไร่ ปลายนา เพื่อเอาไว้ แปรรูปใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม จนมีการจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านทอผ้าพื้นเมือง และมีข้อตกลงในชุมชนให้มีการแต่งxxxด้วย ชุดผ้าฝ้ายตะหลุง หรือชุดประจำxxxxในงานประเพณีต่างๆ ทางทีมวิจัยได้xxxxxxงานฝ่ายการตลาดสำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย นักข่าวพลเมือง Thai PBS ในการประชาสัมพันธ์ประเพณีไขประตูเล้า ผ่านสื่อโทรทัศน์ เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้รับรู้ อีกxxxxxxxสร้างxxx facebook/xxxxxxxxxxวิถีผู้xxxxxxx เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารในโลก ออนไลน์ ระหว่างนักท่องเที่ยวทั่วไปกับคนในชุมชน ซึ่งมีคนเข้าถึงข้อมูลการxxxxxxxxxxวิถีผู้xxxxxxxแล้ว กว่า 10,000 คน
ข้อเสนอแนะ ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมการxxxxxxxxxxของชุมชน ต้องมีผู้รับผิดชอบในการนำเสนอ ข้อมูลผ่านสื่อ Online อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ที่ติดตามได้รับทราบความเคลื่อนไหว และวางแผนการxxxxxxxxxx เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน
5. สร้างเส้นทางการxxxxxxxxxxชมxxxxxxxx,การแต่งxxxชุดผู้ไทตักบาตรตอนเช้า สรุปผลการxxxxxxงานพบว่า ป่าชุมชนภูหินสิ่วเป็นพื้นที่ใช่ร่วมกันของชาวผู้xxxxxxx ในการหาของป่า
เพื่อเป็นอาหาร ทั้งยังมีจุดชมวิว ทิวทัศน์xxxxxxxxxอยู่หลายจุด ซึ่งxxxxxxพัฒนาเป็นแหล่งxxxxxxxxxxชุมชนได้ หลังจากxxxxxxศึกษาวิจัย ชาวบ้านชุมชนxxxxxได้ร่วมกันพัฒนาและปรับปรุงเส้นทางการxxxxxxxxxxเข้า
ไปในป่าชุมชนที่อยู่บนภูหินสิ่วและพัฒนาจุดชมวิวต่าง ๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากต่างถิ่นที่เข้ามาxxxxxx xxxxxxxxในชุมชนบ้านนาโสก และเจ้าอาวาสวัดxxxxxxxxxxxxxxxxxxให้ชาวบ้านแต่งชุดผู้ไทใส่บาตร ในทุกวัน พระโดยมีข้อตกลงในชุมชนว่า ให้แต่งxxxด้วยชุดประจำxxxxใส่บาตรทำบุญ ในทุกวันธรรมะสวนะ และมี ชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรมนี้ กว่า 200 ครัวเรือน
ข้อเสนอแนะ กิจกรรมแต่งชุดผู้ไท ใส่บาตรยามเช้า ควรได้รับการxxxxxxสนับสนุนจากสำนักงาน วัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร การxxxxxxxxxxและกีฬาจังหวัดมุกดาหาร สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด มุกดาหาร ให้มีการประชาสัมพันธ์xxxxxxxนักท่องเที่ยวเข้าร่วมกิจกรรมสืบสานพระพุทธศาสนา ให้เป็นแหล่ง xxxxxxxxxxวิถีพุทธ xxxxxxxxxxxxแขวงหลวงพระบาง ประเทศลาว
6. สร้างวิถีชุมชนความเป็นอยู่ของชาวนา, สร้างไกด์ มัคคุเทศก์xxxxxxxx,
สรุปผลการxxxxxxงานพบว่า กิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละเดือน ที่เชื่อมโยงวิถีชีวิตของxxxxx xxxได้ถูก เรียบเรียงออกมาเพื่อที่จะใช้ประโยชน์ในการxxxxxxxxxx
หลังจากxxxxxxศึกษาวิจัย ชุมชนผู้xxxxxxxได้ส่งเยาวชนไปอบรมมัคคุเทสก์กับการxxxxxxxxxxและกีฬา จังหวัดมุกดาหาร และคณะนักวิจัยการฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของชนxxxxผู้xxxxxxx ตำบลxxxxx อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ได้จัดทำปฏิทินการxxxxxxxxxxของชุมชนบ้านนาโสกดังนี้
เดือน | ประเพณี/วัฒนธรรม | กิจกรรมการเกษตร/วิถีชีวิต |
1 | บุญเข้ากรรม | ไถกลบ ปลูกผัก เก็บฝ้าย ตัดอ้อย กรีดยาง |
2 | บุญกองข้าว | ปลูกผัก เก็บฝ้าย ตัดอ้อย กรีดยาง |
3 | xxxxxประตูเล้า | ปลูกผัก ทอผ้า ไข่มดแดง ผักหวาน ตัดอ้อย |
4 | บุญผะเหวด | ปลูกผัก ทอผ้า ขัวกุ๊ดจี่ ขัวหอย ขุดปู ขุดกบเขียด ส่องกบเขียด |
5 | xxxxxxxxxxx | ปลูกผัก ขุดกบเขียด ส่องกบเขียด สูบปลา ช้อนxxxx ดอกกระเจียว หน่อไม้ฮุ้นไฮ้ กรีดยาง |
เดือน | ประเพณี/วัฒนธรรม | กิจกรรมการเกษตร/วิถีชีวิต |
6 | บุญบั้งไฟ | ไถฮุด หาเห็ด หาหน่อไม้ หาแมงแคง ปลูกข้าวไร่ กรีดยาง |
7 | xxxxxxxxxปู่ตา | ปลูกฝ้าย ตกกล้า ถอนกล้า ดำนา หาหน่อไม้ กรีดยาง |
8 | บุญเข้าพรรษา | ถอนกล้า ดำนา หาหน่อไม้ กรีดยาง |
9 | บุญข้าวประดับดิน | ดำนา ใส่เบ็ด ส่องกบเขียด ไปย๋ามต้อน-ชั่ง xxxxxxxxxx กรีดยาง |
10 | บุญข้าวสาก | เกี่ยวข้าวดอ ฟาดข้าว เพาะกล้าผัก xxxxxxxxxx เก็บแมงมัน ขุดมันอ้อน |
11 | บุญออกพรรษา | เกี่ยวข้าว มัดข้าว ฟาดข้าว เก็บฝ้าย ขุดมันอ้อน เส็งกลองกิ้งกินข้าวเม่า ปลูกอ้อย |
12 | บุญxxxx | เกี่ยวข้าว มัดข้าว ฟาดข้าว ปลูกอ้อย |
ข้อเสนอแนะ ควรมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ที่xxxxxxxxเชื่อมโยงกับวิถีชาวนาของชนxxxxผู้ไท บ้านนาโสก เพื่อสร้างแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยว อยากจะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆxxxxxxกำหนดขึ้นในรอบปี และ xxxxxxวางแผนทริปทัวร์ และxxxxxxxxxกิจกรรมต่างๆ ล่วงหน้าไว้เป็นปีได้
7. สร้างกลไกทีมงานในการจัดการxxxxxxxxxx, สร้างการมีส่วนร่วมในการxxxxxxxxxxของคนในชุมชน สรุปผลการxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxชุมชนxxxxx และxxxxxโฮมสเตย์ เป็นการxxxxxxงานของกลุ่ม
โฮมสเตย์ จำนวน 4-5 ครัวเรือนเท่านั้น ผู้นำxxxxxxx xxxxxxxxไม่มีส่วนรับรู้ด้วย
หลังจากxxxxxxศึกษาวิจัย คณะนักวิจัยและชุมชนได้ประชุมจัดตั้งคณะกรรมการxxxxxxxxxxบ้านนาโสก 1 คณะ จำนวน 13 คน ที่ปรึกษา 1 ท่าน ดังนี้
1. นายอิ่มศักดิ์ รูปสวย
2. xxxxxxxx xxxxx
3. xxxxxxxx xxxxx
4. นางxxxxxx ทะเสนฮด
5. xxxxxxx xxxxxxไทย
6. xxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxx
7. xxxxxxxx xxxxxxxxxxx
8. น.ส.xxxxxxxx xxxxx
9. xxxxxxx xxโสก
10. น.ส.xxxxxxx xxxxxx
11. xxxxxxx แสงหมื่น
12. นายชาย xxxxx
13. นายแวดล้อม xxxxx
14. xxxxxxxxxxxxxxxxxx
และมีฝ่ายการขับเคลื่อนการxxxxxxxxxx 10 ฝ่าย คือคณะโฮมสตย์, คณะเกษตรอินทรีย์, คณะฝ้ายตะหลุง
, คณะการมีส่วนร่วม, คณะมัคคุเทศก์, คณะแพ็คเกจการxxxxxxxxxx, คณะxxxxxพื้นบ้าน, คณะความปลอดภัย, คณะประชาสัมพันธ์และคณะการเงิน
ข้อเสนอแนะ เมื่อมีคณะทำงานxxxxxxxxxxชุมชนxxxxxเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของชุมชน ควรมีกลไก สำคัญ ที่จะทำให้คณะทำงานได้มีการประชุมปรึกษาหารือ เพื่อประเมินสถานการณ์การxxxxxxxxxxทั้งภายใน ชุมชนและภายนอกชุมชน หรือจังหวัดมุกดาหาร และมีการวางแผนกำหนดงานเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
8. มีแพ็คเกจการxxxxxxxxxx
สรุปผลการxxxxxxงานพบว่า การxxxxxxxxxxชุมชนxxxxx ไม่มีแพ็คเกจการxxxxxxxxxx หลังจากxxxxxxศึกษาวิจัย คณะกรรมการxxxxxxxxxxฯ และกลุ่มอาชีพประชุมจัดทำแพ็กเกจการxxxxxxxxxx
2 วัน 1 คืน และxxxxxxจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวรับรู้ มีแพ็กเกจการxxxxxxxxxx วิถีชาวนาผู้xx xxxxx ดังนี้
กำหนดปฏิทินการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของชนxxxxผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลxxxxx อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
แพ็คเกจ 2 วัน 1 คืน
xxxxxx 1
xxxxxx 2
11.00 น. รับนักท่องเที่ยวที่วัดxxxxxxxxxxxx
12.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
13.00 น. ฟังxxxxxxxxxxบริบทชุมชน
13.15 น. นักท่องเที่ยวเข้าฐานเรียนรู้ในชุมชน (การทอผ้า การทำนา การจัก สาน xxxxxพื้นบ้าน)
16.15 น. รับนักท่องเที่ยวเข้าที่พัก
17.30 น. กิจกรรมสันทนาการ
- รับประทานอาหารเย็น
- บายศรีสู่ขวัญ
- การแสดงพื้นบ้านภูxxxxxxx
- เข้าที่พัก
06.00 น. กิจกรรมใส่ชุดผู้ไท ใส่บาตรตอนเช้า
07.00 น. รับประทานอาหารเช้า
08.00 น. เริ่มต้นที่วัดxxxxxxxxxxxx
09.00 น. xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
12.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
13.00 น. ส่งนักท่องเที่ยว
*** หมายเหตุ *** กิจกรรมสันทนาการเหมาะสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยว ตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
รายละเอียดค่าใช้จ่ายในการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาภูxxxxxxx
รายการค่าใช้จ่ายในการxxxxxxxxxx วิถีชาวนาภูxxxxxxx | xxxxxx | นักท่องเที่ยว 1 คน | นักท่องเที่ยว 2 คน | นักท่องเที่ยว 3 คน | นักท่องเที่ยว 4 คน | นักท่องเที่ยว 5 คน |
1. ค่าที่พัก | - | 000 | 000 | 000 | 1,200 | 1,500 |
2. ค่าอาหาร | 120 | 240 | 960 | 1,440 | 1,920 | 2,400 |
3. ค่ากิจกรรมชุมชน(xxxxxxxxx) | ||||||
- ทอผ้า/จักสาน | 300 | 300 | 300 | 300 | 300 | 300 |
- กิจกรรมเกี่ยวกับข้าว | 300 | 300 | 300 | 300 | 300 | 300 |
- เส็งกลองกิ้ง | 300 | 300 | 300 | 300 | 300 | 300 |
รายการค่าใช้จ่ายในการxxxxxxxxxx วิถีชาวนาภูxxxxxxx | xxxxxx | นักท่องเที่ยว 1 คน | นักท่องเที่ยว 2 คน | นักท่องเที่ยว 3 คน | นักท่องเที่ยว 4 คน | นักท่องเที่ยว 5 คน |
- ขึ้นภูหินสิ่ว | 600 | 600 | 1,000 | 1,000 | 1,000 | 1,000 |
4. ค่าธรรมเนียมชุมชน | 40 | 40 | 40 | 40 | 40 | 40 |
รวม | 1,660 | 2,320 | 3,540 | 4,360 | 5,180 | 6,000 |
ค่าบริหารจัดการ | 680 | 1,060 | 1,300 | 1,520 | 1,800 | |
รวม | 1,660 | 3,000 | 4,600 | 5,660 | 6,700 | 7,800 |
หมายเหตุ *** กิจกรรมสันทนาการ - บายศรีสู่ขวัญ / การแสดงพื้นบ้านภูxxxxxxx (ค่าใช้จ่าย 3,000 บาท)
- กิจกรรมสันทนาการเหมาะสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยว ตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
- กิจกรรมชุมชนxxxxxxเลือกชมได้ตามความสมัครxx
xxxเสนอแนะ ควรมีแพ็คเกจการxxxxxxxxxxที่เชื่อมโยงไปแหล่งอื่นๆในxxxxxxxอาเซียน xxxx วัดxxxxxxx xxxจังหวัดนครพนม xxxxxxxอิงฮังประเทศลาว ฯลฯ แต่ชุมชนยังขาดข้อมูลความรู้แหล่งxxxxxxxxxxอื่นๆ เพื่อ ที่มาจัดทำเป็นแพ็คเกจการxxxxxxxxxxในระดับที่ใหญ่ขึ้น
9. สร้างความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวตลอดการเดินทาง
สรุปผลการxxxxxxงานพบว่า การxxxxxxxxxxชุมชนผ้xxxxxxxในอดีตไม่มีคณะทำงานรักษาความ ปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว
หลังจากxxxxxxศึกษาวิจัย ทีมวิจัยได้xxxxxxผู้นำxxxxxxxxxxxx 4 หมู่ ฝ่ายxxxxxx อปภร. สร้างการรับรู้ การรักษาความปลอดภัยในชุมชนผ่านผู้นำxxxxxxxx จนเกิดมีคณะทำงานรักษาความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว นำโดยผู้นำxxxxxxxx 4 หมู่บ้าน
ข้อเสนอแนะ คณะทำงานรักษาความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว ควรมีการฝึกอบรม ศึกษาดูงานใน ชุมชนที่ประสบผลสำเร็จในเรื่องการxxxxxxxxxxชุมชน เพื่อที่จะได้นำมาปรับใช้ ในบริบทของชุมชนบ้านนาโสก ต่อไป
10. ฟื้นฟูวิถีxxxxxพื้นบ้าน
สรุปผลการxxxxxxงาน การละเล่นxxxxxพื้นบ้านเป็นกิจกรรมของผู้สูงอายุ ไม่มีเด็กเยาวชนสนใจที่สืบ ทอดการxxxxตนตรีพื้นบ้าน
หลังจากxxxxxxศึกษาวิจัย คณะทีมวิจัยได้จัดฝึกอบรมการเส็งกลองกิ้งให้กับเยาวชนโรงเรียนชุมนxxxxx โดยมีชาวบ้าน ครูและนักเรียนเข้าร่วมอบรม จำนวนกว่า 100 คน และได้รับสมัครเยาวชนเข้าร่วมxxxxxxx พื้นบ้านของชุมชนxxxxx โดยมีนักxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx ทั้งหมด 6 คน (แคน พิณ โปงลาง กลองชุด ฉิ่ง ฉาบ) มีการซ้อมxxxxxเป็นประจำทุกเย็นวันศุกร์ เสาร์ และได้รับxxxxไปแสดงในงานบุญ ประเพณีของ xxxxxxxxเป็นประจำ
ข้อเสนอแนะ ควรมีการxxxxxxxเยาวชนxxxxxxxxสืบทอดการละเล่นxxxxxพื้นบ้าน ต่อไปเพื่อxxxxxxxx รักษาวัฒนธรรมxxxxxงามของชนxxxxผู้xx xxxxx
11.ฝ้ายตะหลุง
ผลการxxxxxxงานพบว่า การตัดเย็บผ้าพื้นเมืองเป็นงานฝีมือเฉพาะบุคคล ไม่มีการพัฒนารูปแบบตาม xxxxxxxx หลังจากxxxxxxศึกษาวิจัย ทีมวิจัยที่รับผิดชอบเรื่องฝ้ายxxxxxxxxxจัดอบรมการออกแบบเสื้อผ้าให้กับ กลุ่มอาชีพฝ้ายตะหลุง จำนวน 15 คน และได้ประชุมคณะกรรมการฝ้ายตะหลุง ระดมหุ้นตั้งต้น xxxxxxให้ ชาวบ้านปลูกฝ้ายตะหลุง ฝ้ายพื้นเมือง โดยชาวบ้านชุมชนxxxxx ได้ปลูกฝ้ายตะหลุง ฝ้ายพื้นเมือง ราว 600
ครัวเรือน มีการแปรรูปเป็นเสื้อผ้าพื้นเมือง เพราะผ้าตะหลุงเป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น xxxxxxสร้างรายได้ให้กับ กลุ่มอาชีพได้เดือนละประมาณ 6,000 บาท ทำให้เป็นกระแสให้คนส่วนมากหันมาปลูกฝ้ายพื้นเมือง
ข้อเสนอแนะ ควรมีการพัฒนาxxxxxxเพื่อสร้างให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเป็นอัตลักษณ์ เป็นของดีประจำถิ่น โดยการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางxxxxxxxxxx พัฒนาเป็นสินค้าของดีประจำจังหวัดมุกดาหารต่อไป
สรุปผลการxxxxxxxxx
xxxศึกษาแนวทางการฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของชนxxxxผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลxxxxx อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งจากคำถามหลักของงานวิจัยคือ“แนวทางการฟื้นฟูและหนุน เสริมการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของชนxxxxผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลxxxxx อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ทำได้ อย่างไร” ทีมนักวิจัยได้สรุปผลการศึกษาข้อมูลพบว่า การxxxxxxxxxxชุมชนโดยชุมชน ในเบื้องต้นต้องสร้างแรง บันดาลใจ เพื่อให้ชาวบ้านชุมชนxxxxxมีความตระหนักถึงความสำคัญของการxxxxxxxxxxชุมชน การสร้างสื่อ ประชาสัมพันธ์เพื่อสื่อสารให้นักท่องเที่ยวจากภายนอกชุมชนได้รับรู้กำหนดการกิจกรรมในแต่ละกิจกรรม ว่า อยู่ในช่วงเวลาใด ซึ่งในระหว่างการxxxxxxโครงการอยู่ในช่วงฤดูกาลการทำนา คือตั้งแต่เดือน พฤษภาคม- พฤศจิกายน 2561 ในชุมชนบ้านนาxxxxxxเกิดแหล่งxxxxxxxxxxวิถีชาวนาขึ้นคือ “จุดxxxxxxxxxxมานาโคกเด้อ” หลังจากxxxxxxปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่บริเวณนาโคก มีสะพานไม้ไผ่และซุ้มนั่งพักผ่อน มีนักท่องเที่ยวจากในชุมชน จากจังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดใกล้เคียงเข้ามาชุมชนบ้านนาโสกเป็นจำนวนมาก ประมาณวันละ 50-100 คน จนถึงหน้าเก็บเกี่ยวข้าว แต่นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในชุมชนบ้านนาโสก เป็นแบบไปกลับ ยังไม่มีกลุ่ม นักท่องเที่ยวที่นอนxxxค้างคืน เนื่องจากยังไม่มีการสร้างการรับรู้ให้กับนักท่องเที่ยว และอีกสาเหตุหนึ่ง เนื่องจากพฤติกรรมการxxxxxxxxxxเปลี่ยนไป คือนักท่องเที่ยวต้องการความสะดวก สบาย มีความเป็นส่วนตัว มากขึ้น ซึ่งการนอนxxxกับเจ้าบ้านแบบโฮมสเตย์จึงได้รับความxxxxลดลง
5.3 บทเรียนงานวิจัย
5.3.1. บทเรียนการวิจัยของนักวิจัย จากการถอดบทเรียนแบบกลุ่มของนักวิจัย พบว่าการวิจัยครั้งนี้ ทำให้ทีมวิจัยที่เป็นคนในxxxxxxxxชุมชนxxxxx ทั้ง 4 หมู่ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น ร่วมวางแผน แสดงความคิดเห็นร่วมกัน แบ่งบทบาทหน้าที่ รู้จักการทำงานที่เป็นขั้นตอน นอกจากการพูดคุย และเก็บข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายแล้ว ยังร่วมแลกเปลี่ยนกับ 9 โครงการที่เริ่มxxxxxxการพร้อมกันนอกจากการ เก็บข้อมูลเพื่อเขียนรายงานแล้ว ก็ยังได้เรียนรู้การทำสื่อสู่การสาธารณะ เทคนิคการถ่ายรูป การเล่าเรื่องราว ผ่านxxxx xxxจะเป็นโครงการแรก แต่ก็ได้หัด ได้เริ่มทำเพื่อการพัฒนาต่อไป พอได้ข้อมูลแล้วในระยะที่ 1 ก็มีการ วางแผนว่าเมื่อเรารู้ข้อมูลแล้ว ในระยะที่ 2 เราจะทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้รูปแบบฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการ xxxxxxxxxxวิถีชาวนาของชนxxxxผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลxxxxx อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร และนำรูปแบบxxx xxxมาปรับใช้ในเพื่อการxxxxxxxxxxชุมชนต่อไป
5.3.2. บทเรียนการวิจัยของชุมชนวิจัย ชาวบ้านให้ความร่วมมือในการเก็บข้อมูลเป็นอย่างดีมีการ เรียนรู้ร่วมกัน การร่วมเวทีงานวิจัยทำให้xxxxxxxแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในด้านต่าง ๆ ทั้งบริบทของชุมชน การ เปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงและส่งผลถึงอะไรบ้าง นำข้อมูลของตัวเองมา แลกเปลี่ยนxxx xxxxเรื่องราวที่ผ่านงานวิจัย และเรื่องอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ ได้ทราบปัญหาที่ส่งผลต่อการ xxxxxxxxxxชุมชนร่วมxxx xxxxตลอดจนแนวทางการในการหารูปแบบการฟื้นฟูการxxxxxxxxxxชุมชนบ้านนาโสก ชุมชนก็มีการออกความคิดเห็นร่วมกันเพื่อให้ได้ทางออก ได้เรียนรู้กระบวนการสังเคราะห์ข้อมูลอย่างมี ประสิทธิภาพ
ภาคผนวก
ภาพกิจกรรม เวทีพัฒนาโครงการ ครั้งที่ 1
xxxxxx 19 พฤษภาคม 2560 ณ ผศ.ดร.บัญชร แก้วส่อง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยxxxxxxxx สำนักงาน กองทุนสนับสนุนงานวิจัย เข้าร่วมประชุมชี้แจงแนวทางการxxxxxxโครงการxxxxxxxxxxวิถีชาวนา มีผู้เข้าร่วม ประชุมรับฟังการชี้แจงความเป็นมาของโครงการ จำนวน 25 คน ซึ่งผศ.ดร.บัญชร แก้วส่อง กล่าวว่าได้รับ นโยบายจาก พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ว่าอยากให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการจิวัย ทำการศึกษาว่าทำอย่างไรชาวนาในชนบทถึงxxxxxxมีรายxxxxxxนอกเหนือจากการขายxxxxxxxxxเป็นข้าวเท่านั้น
เวทีพัฒนาโครงการ ครั้งที่ 2
เมื่อxxxxxx 28 พฤษภาคม 2560 xxxxxxxxxx ศรีxxxx ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงโครงการวิจัยที่พื้นที่ดูแลอยู่ใน 3 จังหวัด คือ จังหวัดยโสธร อำนาจเจริญและมุกดาหาร เข้าร่วมประชุมพัฒนาโครงการ การประชุมมีประเด็น การตั้งชื่อโครงการวิจัย กำหนดวัตถุประสงค์งานวิจัย,การกำหนดกิจกรรมการวิจัย การประมาณการค่าใช้จาย ในการศึกษาวิจัยพร้อมทั้งมีการแต่งตั้งทีมวิจัยและทีมที่ปรึกษา โดยทีมวิจัยแนวทางการฟื้นฟูสู่การพัฒนา รูปแบบการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของชนxxxxผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลxxxxx อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 17 คน ทีมที่ปรึกษา จำนวน 12 คน หลังจากนั้นได้จัดทำโครงการเสนอสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย เพื่อขอรับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัย
xxxxxxxxxxxxxxxxxx
xxxxxx 13 xxxxxx 2560 ทีมวิจัยและชาวบ้านเข้าร่วมจำนวน 24 คน ทีมพี่เลี้ยงจำนวน 4 คน รวม
ผู้เข้าร่วมเวทีทั้งหมด 29 คน ได้ชี้แจงชื่อโครงการและวัตถุประสงค์ของโครงการให้ทีมวิจัยและชาวบ้านได้รวม
รับฟัง xxxxxxxxxx ศรีxxxx ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงโครงการวิจัย ได้กล่าวเสริมหัวหน้าโครงการฯในส่วนของเส้นทาง งานวิจัยให้ชาวบ้านได้เห็นกระบวนการทำงานวิจัยตั้งแต่กระบวนการแรกจนถึงกระบวนการสุดท้าย จากนั้นจึง ได้เปิดโอกาสให้ชาวบ้านและทีมวิจัยร่วมสอบถามแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น
เวทีแตกประเด็นสร้างเครื่องมือเก็บข้อมูล
xxxxxx 21 xxxxxx 2560 ทีมวิจัยฯได้ประชุมชี้แจงโครงการตามกิจกรรม มีทีมวิจัยฯและทีมที่ปรึกษาเข้า ร่วมประชุม ณ ศูนย์เรียนรู้การxxxxxประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 29 คน โดยในที่ประชุมได้แตกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิถีชาวนาตามบริบทชุมชนออกได้เป็น 6 เรื่อง คือ
1. เรื่องการเกษตร
2. เรื่องการเมืองการxxxxxx
3. เรื่องสังคมxxxxxxxxx
4. เรื่องสาธารณูปโภค
5. เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. เรื่องเศรษฐกิจ
เวทีเก็บข้อมูล 22 ต.ค.-3 พ.ย. 60
หลังจากเวทีแตกประเด็นและสร้างเครื่องมือเก็บข้อมูลแล้ว ที่ประชุมคณะทีมวิจัยฯได้มีมติให้ คณะทำงานจัดเก็บข้อมูลในแต่ละประเด็น ทำการจัดเก็บข้อมูลโดยxxxxxxxxเน้นย้ำว่าในแต่ละประเด็นให้มีข้อมูล ว่า อดีต พัฒนาการ ปัจจุบัน ให้เวลาในการจัดเก็บข้อมูล 2 สัปดาห์ แล้วนำเสนอทีมวิจัย ในxxxxxx 4 พฤศจิกายน 2560
เวทีนำเสนอข้อมูล 4 พ.ย.60
เมื่อxxxxxx 4 พฤศจิกายน 2560 ทีมวิจัยฯได้เปิดเวทีนำเสนอข้อมูลจากxxxxxxไปเก็บข้อมูลมา ทั้งในแบบ สัมภาษณ์ แบบสังเกตและแบบกลุ่ม โดยมีxxxxxxxxxx ศรีxxxx พี่เลี้ยงและทีมงานมาxxxxxxxxxxxและให้ คำแนะนำในการนำเสนอ การบันทึกข้อมูล ซึ่งมีทีมวิจัยและชาวบ้านนาโสกเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอข้อมูล จำนวน 35 คน จากประเด็นxxxxxxรับมอบหมายมีคนนำเสนอประเด็นต่างๆคือ
1. เรื่องการเกษตร นำเสนอโดยxxxxxxxxx xxxxxxไทย
2. เรื่องการเมืองการxxxxxx นำเสนอโดยxxxxxxxxxx xxxxxxx
3. เรื่องสังคมวัฒนธรรม นำเสนอโดยนายชาย xxxxx
4. เรื่องสาธารณูปโภค นำเสนอโดยนางสาวสุดาวัลย์ คนxxxxx
5. เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำเสนอโดยxxxxxxร.ต.xxxxxxx xxxxxxไทย
6. เรื่องเศรษฐกิจ นำเสนอโดยxxxxxxx xxxxxxไทย
เวทีนำเสนอความxxxxxxxxการเก็บข้อมูล
xxxxxx 5 พฤศจิกายน 2560 ทีมพี่เลี้ยงโหนด ได้จัดเวทีนำเสนอความxxxxxxxxการเก็บข้อมูล ที่ ร้านอาหาร ชิล ชิล อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ซึ่งมีตัวแทนจากทีมวิจัยทั้งหมด ทั้งหมด 10 โครงการ จำนวน 34 คน มารายงานความxxxxxxxx ให้ผู้ทรงคุณวุฒิได้แนะนำเพิ่มเติม
การเก็บข้อมูลตามวัตถุประสงค์ (แหล่งเรียนรู้การxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของคนภูไท พื้นที่ต้นแบบ)
เมื่อxxxxxx 24 ธันวาคม 2560 ทีมวิจัยแนวทางการฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการxxxxxxxxxxวิถีชาวนาของ ชนxxxxผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลxxxxx อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ได้ขอเข้าศึกษาข้อมูลการxxxxxxxxxxโดย ชุมชนที่บ้านภู หมู่ที่ 1 และ 2 ตำบลxxxxxxxx อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ที่มีการจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน โฮมสเตย์ตามกิจกรรมงานวิจัย ซึ่งเป็นชนxxxxผู้ไทเหมือนกัน โดยทีมวิจัยและที่ปรึกษาที่มีความพร้อมเดินทาง ไปศึกษารูปแบบการxxxxxxxxxxโดยชุมชน จำนวน 11 คน
เวทีแสดงในงานกาชาดจังหวัดมุกดาหาร ประจำปี 2561
xxxxxx 7-15 xxxxxx 2561 จังหวัดมุกดาหารได้จัดกิจกรรม 36 ปีของxxxxxxxxxx ชุมชนxxxxx ได้ มาร่วมกิจกรรมของจังหวัดมุกดาหาร โดยได้มาเส็งกลองกิ้งและรำภูไท
เวทีทดลองการจัดการxxxxxxxxxxวิถีชาวนา 19-20 xxxxxx 2561
เมื่อxxxxxx 19-20 xxxxxx 2561 คณะทีมวิจัยพร้อมกับผู้นำxxxxxxx ผู้นำxxxxxxxxxxxร่วมกันจัดประเพณีบุญเดือน
3 ออกใหม่ 3 xxx xxxไขประตูเล้า เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีและเพื่อให้มีเวทีพบปะของคนทุกวัยในชุมชน