นิติสัมพันธ์ของคู่สัญญาในสัญญาจ้างแรงงาน ข้อกำหนดตัวอย่าง

นิติสัมพันธ์ของคู่สัญญาในสัญญาจ้างแรงงาน. สัญญาจ้างแรงงานเป็นเอกเทศสัญญาชนิดหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ ซึ่งได้ให้ความหมายไว้โดยตรง โดยบัญญัติไว้ในบรรพ 3 ลักษณะ 6 มาตรา 5751 และเป็น สัญญาต่างตอบแทนที่ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ของบุคคล 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า นายจ้าง ผู้ซึ่งตกลง รับลูกจ้างเข้าทํางานและจ่ายค่าจ้างเป็นการตอบแทน และอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ลูกจ้าง ผู้ซึ่งรับทํางาน ให้แก่นายจ้างโดยประสงค์ได้รับสินจ้าง ซึ่งจะต้องใช้แรงงานโดยใช้ความรู้ความสามารถหรือใช้ แรงกายทํางานให้กับนายจ้าง โดยที่คู่สัญญาต้องปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่ภายใต้กฎหมายแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวมทั้งกฎหมายอื่น ๆ ซึ่งกําหนดสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาจ้าง 1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 “อันว่ำจ้ำงแรงงำนนั้น คือสัญญำซึ่งบุคคลคน👉นึ่ง เรียกว่ำลูกจ้ำง ตกลงจะทํำงำนใ👉้แก่บุคคลอีกคน👉นึ่ง เรียกว่ำนำยจ้ำง และนำยจ้ำงตกลงจะใ👉้สินจ้ำงตลอดเวลำที่ ทํำงำนใ👉้” แรงงานแต่ละฝ่ายไว้ สัญญาจ้างแรงงานจึงเป็นสัญญาที่คู่สัญญาต่างก็มีหนี้ที่ต้องชําระให้แก่กัน และมี ลักษณะพิเศษต่างไปจากสัญญาจ้างบริการธรรมดา แต่อย่างไรก็ตาม นายจ้างก็มีอํานาจควบคุมดูแล การทํางานของลูกจ้าง และลูกจ้างต้องทํางานให้แก่นายจ้างภายใต้การควบคุมบังคับบัญชาของ นายจ้าง โดยต้องใช้ความรู้ความสามารถรวมทั้งแรงกายของตนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของนายจ้าง อย่างเต็มที่ในขณะที่นายจ้างต้องดูแลเอาใจใส่และให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง2 สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักเสรีภาพในการทําสัญญา (Freedom of Contract) และหลักความศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนา (Autonomy of Will) นายจ้าง และลูกจ้างสามารถเจรจาต่อรองกันได้ในการทําสัญญาจ้างแรงงาน และข้อตกลงก็จะมีผลบังคับอยู่ ภายใต้กฎหมาย3 กล่าวคือ คู่สัญญาสามารถตกลงกันเพื่อกําหนดข้อตกลงการจ้างงานไว้ในสัญญาจ้าง อย่างไรก็ได้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของนายจ้างและลูกจ้างเป็นสําคัญ โดยที่ข้อตกลงนั้นจะต้องไม่ มี วัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของ ประชาชน และจะต้องไม่เป็นการพ้นวิสัยอันจะทําให้ข้อตกลงตกเป็นโมฆะ กล่าวคือ ไม่มีผลใช้บังคับ ต่อกันตามมาตรา 150 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์4 ดังนั้น คู่สัญญาต่างก็มีเสรีภาพในการ ทําสัญญา ไม่ว่าจะเป็นการเลือกคู่สัญญา แบบของสัญญา และการกําหนดช้อตกลงหรือเนื้อหาใน สัญญานั้น ประเทศที่มีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้ให้ความสําคัญกับสัญญาจ้างแรงงานอย่างยิ่ง เนื่องจากลูกจ้างเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ และฝ่ายนายจ้างก็มีหนี้ที่จะต้องจ่ายสินจ้างให้แก่ ลูกจ้าง แต่ความเป็นจริงแล้วในทางปฏิบัติ นายจ้างและลูกจ้างไม่ได้มีสถานะที่เท่าเทียมกันดังเช่ น คู่สัญญาในเอกเทศสัญญาชนิดอื่น ๆ เพราะนายจ้างจะมีอํานาจเหนือกว่าลูกจ้างเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอํานาจในการต่อรอง กล่าวคือ นายจ้างจะเป็นฝ่ายที่กําหนดลักษณะและข้อตกลง ต่าง ๆ ของสัญญาจ้าง โดยลูกจ้างไม่ได้เป็นผู้กําหนดเงื่อนไขใด ๆ...

Related to นิติสัมพันธ์ของคู่สัญญาในสัญญาจ้างแรงงาน

  • การจ่ายเงินแก่ลูกจ้าง ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายเงินแก่ลูกจ้างที่ผู้รับจ้างได้จ้างมาในอัตราและตามกําหนดเวลาที่ผู้รับจ้างได้ ตกลงหรือทําสัญญาไว้ต่อลูกจ้างดังกล่าว ถ้าผู้รับจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างหรือค่าทดแทนอื่นใดแก่ลูกจ้างดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่ จะเอาเงินค่าจ้างที่จะต้องจ่ายแก่ผู้รับจ้างมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างของผู้รับจ้างดังกล่าว และให้ถือว่าผู้ว่าจ้างได้จ่ายเงิน จํานวนนั้นเป็นค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างตามสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องจัดให้มีประกันภัยสําหรับลูกจ้างทุกคนที่จ้างมาทํางาน โดยให้ครอบคลุมถึงความ รับผิดทั้งปวงของผู้รับจ้าง รวมทั้งผู้รับจ้างช่วง (ถ้ามี) ในกรณีความเสียหายที่คิดค่าสินไหมทดแทนได้ตาม กฎหมาย ซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุหรือภยันตรายใด ๆ ต่อลูกจ้างหรือบุคคลอื่นที่ผู้รับจ้าง หรือผู้รับจ้างช่วงจ้างมา ทํางาน ผู้รับจ้างจะต้องส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวพร้อมทั้งหลักฐานการชําระเบี้ยประกันให้แก่ผู้ว่าจ้างเมื่อ ผู้ว่าจ้างเรียกร้อง

  • การปรับราคาค่างานก่อสร้าง การปรับราคาค่างานก่อสร้างตามสูตรการปรับราคาดังระบุในข้อ ๑.๕ จะนํามาใช้ในกรณีที่ ค่า งานก่อสร้างลดลงหรือเพิ่มขึ้น โดยวิธีการต่อไปนี้ ตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ สูตรและวิธีคํานวณที่ใช้กับสัญญาแบบปรับราคาได้ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๓๒ เรื่อง การพิจารณาช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้าง ตามหนังสือสํานักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี ที่ นร ๐๒๐๓/ว ๑๐๙ ลงวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๓๒ สูตรการปรับราคา (สูตรค่า K) จะต้องคงที่ที่ระดับที่กําหนดไว้ในวันแล้วเสร็จตามที่กําหนดไว้ใน สัญญา หรือภายในระยะเวลาที่โรงเรียนได้ขยายออกไป โดยจะใช้สูตรของทางราชการที่ได้ระบุในข้อ ๑.๕

  • การจ้างช่วง ผู้รับจ้างจะต้องไม่เอางานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแห่งสัญญานี้ไปจ้างช่วงอีกทอดหนึ่ง เว้นแต่การจ้างช่วงงาน แต่บางส่วนที่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้างแล้ว การที่ผู้ว่าจ้างได้อนุญาตให้จ้างช่วงงานแต่บางส่วนดังกล่าวนั้น ไม่เป็นเหตุให้ ผู้รับจ้างหลุดพ้นจาก ความรับผิดหรือพันธะหน้าที่ตามสัญญานี้ และผู้รับจ้างจะยังคงต้องรับผิดในความผิดและความประมาทเลินเล่อ ของผู้รับจ้างช่วง หรือของตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้รับจ้างช่วงนั้นทุกประการ กรณีผู้รับจ้างไปจ้างช่วงงานแต่บางส่วนโดยฝ่าฝืนความในวรรคหนึ่ง ผู้รับจ้างต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็น จำนวนเงินในอัตราร้อยละ ๑๐ (สิบ) ของวงเงินของงานที่จ้างช่วงตามสัญญา ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้ว่าจ้างในการบอกเลิกสัญญา

  • คุณสมบัติของผู้เสนอราคา ๒.๑ ผู้เสนอราคาต้องเป็นผู้มีอาชีพรับจ้างทํางานที่สอบราคาจ้าง ๒.๒ ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการและ ของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว หรือไม่เป็นผู้ที่ได้รับผลของการสั่งให้นิติ บุคคลหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ทิ้งงานตามระเบียบของทางราชการ ๒.๓ ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้มีประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่นที่เข้าเสนอราคาให้แก่ องค์การบริหารส่วนตําบลห้วยสามพาด ณ วันประกาศสอบราคา หรือไม่เป็นผู้กระทําการอันเป็นการ ขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ในการสอบราคาจ้างครั้งนี้ ๒.๔ ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้ที่ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน ซึ่งอาจปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาล ไทย เว้นแต่รัฐบาลของผู้เสนอราคาได้มีคําสั่งให้สละสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นว่านั้น ๒.๕ ผู้เสนอราคาต้องเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคล และมีผลงานก่อสร้าง ประเภทเดียวกันกับงานที่สอบราคาจ้างครั้งนี้ ในวงเงินไม่น้อยกว่า ๓๓๐,๐๐๐ บาท และเป็นผลงาน ที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับส่วนราชการหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหาร ราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานเอกชนที่องค์การบริหารส่วนตําบลเชื่อถือ

  • การทําสัญญาจ้าง ผู้ชนะการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์จะต้องทําสัญญาจ้างตามแบบสัญญา ดังระบุในข้อ ๑.๓ หรือทําข้อตกลงเป็นหนังสือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใน ๗ วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้ง และจะต้องวาง หลักประกันสัญญาเป็นจํานวนเงินเท่ากับร้อยละ ๕ ของราคาค่าจ้างที่ประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ได้ ให้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยึดถือไว้ในขณะทําสัญญา โดยใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ๖.๑ เงินสด ๖.๒ เช็คหรือดราฟท์ที่ธนาคารสั่งจ่ายให้แก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นเช็คลงวันที่ที่ ทําสัญญา หรือก่อนหน้านั้น ไม่เกิน ๓ วัน ทําการของทางราชการ ๖.๓ หนังสือค้ําประกันของธนาคารภายในประเทศ ตามแบบหนังสือค้ําประกัน ดังระบุในข้อ ๑.๔ (๒) หรือจะเป็นหนังสือค้ําประกันอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนด ๖.๔ หนังสือค้ําประกันของบริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ําประกัน ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ตาม รายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ทราบ โดยอนุโลมให้ใช้ตามตัวอย่างหนังสือค้ําประกันของ ธนาคารที่คณะกรรมการนโยบายกําหนด ดังระบุในข้อ ๑.๔ (๒) ๖.๕ พันธบัตรรัฐบาลไทย หลักประกันนี้จะคืนให้ โดยไม่มีดอกเบี้ยภายใน ๑๕ วันนับถัดจากวันที่ผู้ชนะการประกวดราคา อิเล็กทรอนิกส์ (ผู้รับจ้าง) พ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาจ้างแล้ว

  • เงินค่าจ้างล่วงหน้า ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่ผู้รับจ้างเป็นจํานวนเงิน - บาท ซึ่งเท่ากับร้อย ละ - ของราคาค่าจ้าง ตามสัญญาที่ระบุไว้ ในข้อ ๔ เงินค่าจ้างล่วงหน้าดังกล่าวจะจ่ายให้ภายหลังจากที่ผู้รับจ้างได้วางหลักประกันการรับเงิน ค่าจ้างล่วงหน้าเป็น....................เต็มตามจํานวนเงินค่าจ้างล่วงหน้านั้นให้แก่ผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้างจะต้องออก ใบเสร็จรับเงินค่าจ้างล่วงหน้า ตามแบบที่ผู้ว่าจ้างกําหนดให้ และผู้รับจ้างตกลงที่จะกระทําตามเงื่อนไขอัน เกี่ยวกับการใช้จ่ายและการใช้คืนเงินค่าจ้างล่วงหน้านั้นดังต่อไปนี้ ๕.๑ ผู้รับจ้างจะใช้เงินค่าจ้างล่วงหน้านั้นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานตามสัญญา เท่านั้นหากผู้รับจ้างใช้จ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้า หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของเงินค่าจ้างล่วงหน้านั้นในทางอื่นผู้ ว่าจ้างอาจจะเรียกเงินค่าจ้างล่วงหน้านั้นคืนจากผู้รับจ้างหรือบังคับเอาจากหลักประกันการรับเงินค่าจ้าง ล่วงหน้าได้ทันที ๕.๒ เมื่อผู้ว่าจ้างเรียกร้อง ผู้รับจ้างต้องแสดงหลักฐานการใช้จ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าเพื่อ พิสูจน์ว่าได้เป็นไปตามข้อ ๕.๑ ภายในกําหนด ๑๕ (สิบห้า) วัน นับถัดจากวันได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ ว่าจ้างหากผู้รับจ้างไม่อาจแสดงหลักฐานดังกล่าวภายในกําหนด ๑๕ (สิบห้า) วัน ผู้ว่าจ้างอาจเรียกเงินค่าจ้าง ล่วงหน้านั้นคืนจากผู้รับจ้าง หรือบังคับเอาจากหลักประกันการรับเงินค่าจ้างล่วงหน้าได้ทันที ๕.๓ ในการจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างตามข้อ ๔ ผู้ว่าจ้างจะหักเงินค่าจ้างในแต่ละงวด เพื่อชดใช้คืนเงินค่าจ้างล่วงหน้าไว้จํานวนร้อยละ - ของจํานวนเงินค่าจ้างในแต่ละงวดจนกว่าจํานวนเงินไว้จะ ครบตามจํานวนเงินที่หักค่าจ้างล่วงหน้าที่ผู้รับจ้างได้รับไปแล้ว ยกเว้นค่าจ้างงวดสุดท้ายจะหักไว้เป็นจํานวน เท่ากับจํานวนเงินค่าจ้างล่วงหน้าที่เหลือทั้งหมด ๕.๔ เงินจํานวนใด ๆ ก็ตามที่ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อชําระหนี้หรือเพื่อชดใช้ ความรับผิดต่างๆ ตามสัญญา ผู้ว่าจ้างจะหักเอาจากเงินค่าจ้างงวดที่จะจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างก่อนที่จะหักชดใช้คืน เงินค่าจ้างล่วงหน้า ๕.๕ ในกรณีที่มีการบอกเลิกสัญญา หากเงินค่าจ้างล่วงหน้าที่เหลือเกินกว่าจํานวนเงินที่ผู้ รับจ้างจะได้รับหลังจากหักชดใช้ในกรณีอื่นแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายคืนเงินจํานวนที่เหลือนั้นให้แก่ผู้ว่าจ้าง ภายใน ๗ (เจ็ด) วัน นับถัดจากวันได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง ๕.๖ ผู้ว่าจ้างจะคืนหลักประกันการรับเงินค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่ผู้รับจ้างต่อเมื่อผู้ว่าจ้างได้หัก เงินค่าจ้างไว้ครบจํานวนเงินค่าจ้างล่วงหน้าตามข้อ ๕.๓ (ข)

  • การบังคับค่าปรับ ค่าเสียหาย และค่าใช้จ่าย ในกรณีที่ผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อหนึ่งข้อใดด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม จนเป็นเหตุให้เกิดค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือ ค่าใช้จ่ายแก่ผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้างต้องชดใช้ค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้แก่ผู้ว่าจ้างโดยสนิ้ เชิงภายในกำหนด ๗ (เจ็ด) วัน นับ ถัดจากวันทไี่ ด้รับแจ้งเปน็ หนังสือจากผู้ว่าจ้าง หากผู้รับจ้างไม่ชดใช้ให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาดังกล่าวให้ผู้ว่าจ้างมีสทธิที่จะหัก เอาจากจำนวนเงินค่าจ้างที่ต้องชำระ หรือจากเงินประกันผลงาน ของผู้รับจ้าง หรือบังคับจากหลักประกันการปฏิบติตามสัญญาได้ทนั ที หากค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายที่บังคับจากเงินค่าจ้างที่ต้องชำระ เงินประกันผลงาน หรือหลักประกันการ ปฏิบัติตามสัญญาแล้วยังไม่เพียงพอ ผู้รับจ้างยินยอมชำระส่วนที่เหลือ ที่ยังขาดอยู่จนครบถ้วนตามจำนวนค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายนั้น ภายในกำหนด ๗ (เจ็ด) วัน นับถัดจากวันทไี่ ด้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง หากมีเงินค่าจ้างตามสัญญาที่หักไว้จ่ายเป็นค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายแล้วยังเหลืออยู่อีกเท่าใด ผู้ว่าจ้างจะคืนให้แก่ผู้รับจ้างทงั้ หมด

  • การทําสัญญาจ้างก่อสร้าง ผู้ชนะการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์จะต้องทำสัญญาจ้างตามแบบสัญญา ดังระบุ ในข้อ ๑.๓ หรือทำข้อตกลงเป็นหนังสือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใน ๗ วัน นับถัดจากวันที่ได้รับ แจ้ง และจะต้องวางหลักประกันสัญญาเป็นจำนวนเงินเท่ากับร้อยละ ๕ ของราคาค่าจ้างที่ประกวดราคา อิเล็กทรอนิกส์ ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ยึดถือไว้ในขณะทำสัญญาโดยใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ ๖.๒ เงินสด เช็คหรือดราฟท์ที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คหรือดราฟท์ลงวันที่ที่ใช้เช็คหรือ ดราฟท์นั้น ชำระต่อเจ้าหน้าที่ในวันทำสัญญา หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน ๓ วันทำการ ๖.๓ หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศ ตามตัวอย่างที่คณะกรรมการ นโยบายกำหนด ดังระบุในข้อ ๑.๔ (๒) หรือจะเป็นหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลาง กำหนด ๖.๔ หนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาต ให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ำประกันตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศ ไทย ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ทราบ โดยอนุโลมให้ใช้ตามตัวอย่าง หนังสือค้ำประกันของธนาคารที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด ดังระบุในข้อ ๑.๔ (๒) ๖.๕ พันธบัตรรัฐบาลไทย หลักประกันนี้จะคืนให้ โดยไม่มีดอกเบี้ยภายใน ๑๕ วันนับถัดจากวันที่ผู้ชนะการ ประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (ผู้รับจ้าง) พ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาจ้างแล้ว

  • การงดหรือลดค่าปรับ หรือการขยายเวลาปฏิบัติงานตามสัญญา ในกรณีที่มีเหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของฝ่ายผู้ว่าจ้าง หรือเหตุสุดวิสัย หรือเกิด จากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย หรือเหตุอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ซึ่งออก ตามความในกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ทําให้ผู้รับจ้างไม่สามารถทํางานให้แล้ว เสร็จตามเงื่อนไขและกําหนดเวลาแห่งสัญญานี้ได้ ผู้รับจ้างจะต้องแจ้งเหตุหรือพฤติการณ์ดังกล่าวพร้อมหลักฐานเป็น หนังสือให้ผู้ว่าจ้างทราบ เพื่อของดหรือลดค่าปรับ หรือขยายเวลาทํางานออกไปภายใน 15 (สิบห้า) วันนับถัดจากวันที่ เหตุนั้นสิ้นสุดลง หรือตามที่กําหนดในกฎกระทรวงดังกล่าว แล้วแต่กรณี ถ้าผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามความในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้รับจ้างได้สละสิทธิเรียกร้องใน การที่ จะของดหรือลดค่าปรับ ห รือ ขยายเวลาทํางานออกไป โดยไม่ มี เงื่อ น ไขใด ๆ ทั้ งสิ้ น เว้น แ ต่ กรณีเหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของฝ่ายผู้ว่าจ้างซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้งหรือผู้ว่าจ้างทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น การงดหรือลดค่าปรับ หรือขยายกําหนดเวลาทํางานตามวรรคหนึ่ง อยู่ในดุลพินิจของผู้ว่าจ้างที่ จะพิจารณาตามที่เห็นสมควร

  • การส่งมอบ ผู้ขายจะส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายตามสัญญาให้แก่ผู้ซื้อ ณ กองยุทธศา^ตร์และงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ภายในวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๔๖๔ ให้ถูกต้องและครบถ้วนตามที่กำหนดไวิในข้อ ๑ แห่งสัญญานี้ พร้อมทั้งหีบห่อหรือเครื่องรัดพันผูกโดยเรียบร้อย การส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้ใม่ว่าจะเป็นการส่งมอบเพียงครั้งเดียว หรือส่งมอบหลายครั้ง ผู้ขายจะต้องแจ้งกำหนดเวลาส่งมอบแต่ละครั้งโดยทำเป็นหนังสือนำไปยื่นต่อผู้ซื้อ ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ในวันและเวลาทำการของผู้ซื้อ ก่อนวันส่งมอบไม,น้อยกว่า ๓ (สาม) วันทำการของผู้ซื้อ