กรุงเทพมหานคร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งทําหน้าที่บริหารเขตการ ปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตารางกิโลเมตร มีจํานวนประชากร 5,487,876 ราย (ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563) กรุงเทพมหานคร...
1.หัวข้อ การxxxxxประสิทธิภาพการจัดหาอะไหล่สําหรับการซ่อมxxxพาหนะ และxxxxxxxxxxxกล ด้วยสัญญาจะซื้อจะขาย แบบราคาxxxxxxxxจํากัดปริมาณ (Open end)
๒. ความสําคัญของการศึกษา / ที่มาของการนําเสนอ
กรุงเทพมหานคร เป็นองค์กรxxxxxxส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งทําหน้าที่บริหารเขตการ xxxxxxพิเศษกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตารางกิโลเมตร มีจํานวนประชากร 5,487,876 ราย (ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ xxxxxx 31 ธันวาคม 2563) กรุงเทพมหานคร เป็นองค์กรxxxxxxส่วนท้องถิ่น มีหน่วยงานในสังกัดเพื่อบริหารจัดการเมืองและให้บริการประชาชน จํานวน 77 หน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีxxxพาหนะ xxxxxxxxxxxกล เครื่องทุนแรง สนับสนุนการ บริหารงานตามลักษณะของงาน ซึ่งกรุงเทพมหานครโดยกองโรงงานช่างกลมีหน้าที่รับผิดชอบในดูแล บําxxxxxxxx และการซ่อมxxxพาหนะ xxxxxxxxxxxกล เครื่องทุ่นแรง และเครื่องปรับอากาศของหน่วยงาน กรุงเทพมหานครให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา เนื่องจากปัจจุบันพบว่าxxxพาหนะ xxxxxxxxxxxกล เครื่องทุ่น แรง และเครื่องปรับอากาศสํานักงานที่เข้าซ่อมมีหลากหลายประเภท ขนาด ยี่ห้อ และหลากหลายรุ่น รวมถึงมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ในกระบวนการบําxxxxxxxxและซ่อมแซม xxxxxxxxxxxกล ใช้เวลาในการรอคอย ระหว่างซ่อม xxxxxxxxนาน เนื่องจากมีความยุ่งยากในการจัดหาอะไหล่และควบคุมอะไหล่สําหรับสํารอง ในการซ่อมxxxพาหนะฯ ถ้าหากเก็บอะไหล่มากเกินความจําเป็นส่งผลให้เกิดภาวะพัสดุอะไหล่ล้นคลัง (Over stock) เกิดค่าใช้จ่ายสูงในการจัดเก็บรักษา และเกิดความสูญเสียเนื่องจากอะไหล่หมดความ ต้องการใช้หรือเสื่อมสภาพก่อนการนําไปใช้งาน (Dead stock) ทําให้กองโรงงานช่างกลต้องจัดซื้อ อะไหล่แบบรายคันในการซ่อมxxxพาหนะฯ ซึ่งการจัดซื้ออะไหล่ต้องใช้เวลา จัดหาอะไหล่ 20 – 22 วัน นับตั้งแต่xxxxxxขอเห็นชอบดําเนินการจัดซื้อถึงxxxxxxส่งมอบพัสดุ ถ้าเป็นการจัดหาอะไหล่พิเศษจะ จัดซื้อxxxxxxxโดยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e – bidding) มีวงเงินเกิน 500,000 บาท ใช้ ระยะเวลาจัดหาอะไหล่ 45 วัน ซึ่งระยะเวลาดําเนินการจัดหาอะไหล่ในการซ่อมxxxพาหนะฯ xxxxxxxxนาน ทําให้การซ่อมเกิดความล่าช้า หน่วยงานที่นําxxxพาหนะฯ เข้าซ่อมไม่มีxxxพาหนะ สําหรับใช้ปฏิบัติงานและบริการประชาชน ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาขอเสนอการพัฒนา กระบวนการจัดหาอะไหล่ด้วยวิธีทําสัญญาจะซื้อจะขาย แบบราคาxxxxxxxxจํากัดปริมาณ ( open end) เพื่อลดปัญหาการรอเวลาซ่อมนานเนื่องจากการรออะไหล่ระหว่างซ่อม จะทําให้xxxxxxซ่อมแซม บําxxxxxxxxxxxพาหนะ และxxxxxxxxxxxกล เพื่อสนับสนุนการใช้งานของหน่วยงานได้รวดเร็วมากขึ้น
๓. วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อxxxxxประสิทธิภาพในการจัดหาอะไหล่สําหรับให้บริการซ่อมxxxพาหนะ xxxxxxxxxxxกล เครื่องทุ่นแรง และเครื่องปรับอากาศของกองโรงงานช่างกลให้รวดเร็วxxxxxxxขึ้น
3.2. เพื่อลดระยะเวลาการรออะไหล่สําหรับซ่อมxxxพาหนะ xxxxxxxxxxxกล เครื่องทุ่นแรง และ เครื่องปรับอากาศของหน่วยงาน
๒
๔. เป้าหมาย
จัดทําแนวทางการxxxxxประสิทธิภาพการจัดหาอะไหล่สําหรับการซ่อมxxxพาหนะ xxxxxxxxxxxกล เครื่องทุ่นแรง และเครื่องปรับอากาศของกองโรงงานช่างกลโดยทําสัญญาจะซื้อจะขาย แบบราคาxxxxxxxx จํากัดปริมาณ (Open end)
๕. แนวคิด/หลักการใช้ในการศึกษา
ในการxxxxxประสิทธิภาพการจัดหาอะไหล่สําหรับการซ่อมxxxพาหนะ xxxxxxxxxxxกล เครื่องทุ่น แรง และเครื่องปรับอากาศของกองโรงงานช่างกลโดยทําสัญญาจะซื้อจะขาย แบบราคาxxxxxxxxจํากัด ปริมาณ (Open end) ผู้เสนอผลงานได้นําแนวคิด หลักการใช้ในการศึกษา ดังนี้
5.1 ทฤษฎี SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์กร หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งxxxxxxเป็นปัญหาสําคัญในการดําเนินงานสู่สภาพที่ต้องการใน xxxxx ผลจากการวิเคราะห์ SWOT นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกําหนดวิสัยทัศน์ การกําหนดกลยุทธ์ เพื่อให้องค์กรxxxxxxxพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม ขั้นตอนและวิธีการดําเนินการทํา SWOT Analysis การวิเคราะห์ SWOT จะครอบคลุมขอบเขตของปัจจัยที่กว้างด้วยการระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและ อุปสรรคขององค์กรทําให้มีข้อมูล ในการกําหนดทิศทางหรือ xxxxxxxxxxxจะถูกสร้างขึ้นมาบนจุดแข็งของ องค์กร และแสวงหาประโยชน์จากโอกาสทางสภาพแวดล้อม และxxxxxxกําหนด กลยุทธ์ที่มุ่งxxxxxx อุปสรรคทางสภาพแวดล้อมหรือลดจุดอ่อนขององค์กรให้มีน้อยที่สุดได้ จากการวิเคราะห์สภาพองค์กร พบว่าปัญหาและอุปสรรคในขบวนการจัดหาอะไหล่เพื่อใช้สําหรับการซ่อมxxxพาหนะ ฯ xxxxxxxxxxxนาน ทําให้การซ่อมxxxพาหนะออกไปปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้บริการประชาชนมีความล่าช้า ทําให้เป็นจุดอ่อน และอุปสรรคในการทํางาน ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวผู้ศึกษาได้นํากระบวนการจัดหาอะไหล่ด้วยxxxxทํา สัญญาจะซื้อจะขาย แบบราคาxxxxxxxxจํากัดปริมาณ ( open end) เพื่อจัดหาอะไหล่ให้มีความรวดเร็วขึ้น ซึ่งเป็นจุดแข็งและโอกาสให้กับกองโรงงานช่างกลในการซ่อมxxxพาหนะ xxxxxxxxxxxกล และเครื่องทุ่น แรงให้กับหน่วยงานกรุงเทพมหานครทั้ง 77 หน่วยงานมีxxxพาหนะ xxxxxxxxxxxกล และเครื่องทุ่นแรง ออกไปให้บริการกับประชาชนอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
5.2 วงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA Cycle) หรือ วงจรเด็มมิ่ง (Deming Cycle) คือ แนวคิดการพัฒนาการทํางานเพื่อควบคุมคุณภาพงานให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ Plan (วางแผน), Do (ปฏิบัติ), Check (ต ร ว จสอบ) ,Act (ดําเนินการ) กระบวนการนี้จะ ดําเนินการในลักษณะเชิงเส้นโดยที่การเสร็จสิ้นวงจรหนึ่งจะเชื่อมโยงกับการเริ่มต้นวงจรถัดไป รายละเอียดดังภาพที่ 1
๓
ภาพที่ 1 วงจรการบริหารงานคุณภาพ PDCA หรือวงจรเด็มมิ่ง (Deming Cycle)
5.2.1 การวางแผน (Plan) คือ การวางแผนการดําเนินงาน เพื่อให้xxxx xxxทํางานxxx xxxผลxxx xxxปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การพัฒนาสิ่งใหม่ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน มีส่วน ที่สําคัญ xxxx การกําหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ การจัดอันดับความสําคัญของเป้าหมาย กําหนดการ ดําเนินงาน กําหนดระยะเวลาการดําเนินงาน กําหนดผู้รับผิดชอบดําเนินการ และกําหนดงบประมาณที่ จะใช้ การวางแผนxxxxxควรต้องเกิดจากการศึกษาxxxxx มีการวางแผนไว้xxxxxxxxxxxxปรับเปลี่ยนได้ตาม ความเหมาะสมของงานและเหตุการณ์ แผนที่ได้ต้องช่วยในการคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นและxxxxxxช่วย ลดความสูญxxxxxxxxxxเกิดขึ้นได้
5.2.2 ปฏิบัติตามแผน (Do) คือ การดําเนินการเพื่อให้ได้ตามแผนที่มีการกําหนดไว้ อาจมีการกําหนดโครงสร้างคณะทํางานรองรับการดําเนินการxxxx คณะกรรมการ ฯลฯ กําหนดวิธีในการ ดําเนินงาน ขั้นตอน ผู้ดูแลรับผิดชอบ ผู้ตรวจสอบและทําการประเมินผล
5.2.3. ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน (Check) คือ ขั้นตอนที่เริ่มเมื่อมีการดําเนิน โครงการตามข้อ 2 ควรจะต้องทําการประเมินผลการดําเนินงานว่าเป็นไปตามแผนงานที่กําหนดไว้ หรือxxx xxxประเมินในส่วน การประเมินผลxxxxxxดําเนินการ การประเมินผลการดําเนินตามขั้นตอน และการประเมินผลงานตามเป้าหมายของแผนงานxxxxxxมีการกําหนดไว้ ในการประเมินนี้เราxxxxxxxxx ทําได้เองโดยใช้คณะกรรมการที่รับผิดชอบในแผนการดําเนินงานภายในเป็นการประเมินตนเอง แต่การ ใช้คนภายในอาจทําให้ขาดความน่าเชื่อถือหรือประเมินผลxxxxxxเต็มที่ จะดีหากมีการตั้งคณะประเมินจาก ภายนอกมาช่วย เพราะน่าจะได้ผลการประเมินxxxxxกว่าทีมงานภายใน เพราะอาจมีปัญหาช่วยกัน ประเมินผลให้ดีเกินจริง
5.2.4. ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาต่อเนื่อง (Act) คือ การนําผลประเมินxxxxxxมาทําการ วิเคราะห์ เพื่อพัฒนาแผน ในการปรับปรุงต่อไป ในส่วนนี้ควรจะเสนอแนะปัญหาแนวทางการปรับปรุง แก้ไขปัญหา หรือการพัฒนาระบบที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด
๔
การพัฒนาระบบ PDCA เป็นการปรับปรุงพัฒนาระบบงานที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก โดยควรจะมีการดําเนินการต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด จึงเป็นที่มาของแนวคิดการควบคุมคุณภาพและการ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
5.3 การบริหารแบบxxxxxxxxxxxxxx
5.3.1 ความหมายของการบริหารแบบxxxxxxxxxxxxxx
xxxxxxx xxxxxxxxx (2539) ได้ให้ความหมายของการบริหารแบบxxxx xxxxxxxxxxว่าหมายถึง เป็นการบริหารโดยมุ่งxxxxxxxผลลัพธ์คือ ความxxxxxxxxxxเป็นหลัก โดยใช้ระบบการ ประเมินผลงานที่ อาศัยตัวชี้วัด (Indicators) เป็นตัวสะท้อนผลงานให้ออกมาเป็นรูปธรรม ซึ่งผลการ ประเมินนี้จะ นํามาใช้ในการตอบคําถามถึงความคุ้มค่าในการทํางาน ใช้แสดงผลงานต่อสาธารณะและ เพื่อปรับปรุง กระบวนการทํางานให้ดียิ่งขึ้น คณะครุศาสตร์ (2546) การบริหารแบบมุ่งxxxxxxxxxx คือ วิธีการบริหารที่มุ่งxxxxxxxxxxxxxx ขององค์กรเป็นหลัก การปฏิบัติงานขององค์กรมีxxxxxxxxxxเพียงใด xxxxxxxxxxจากการเปรียบเทียบ ผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงกับxxxxxxxxxxxกําหนดวัตถุประสงค์ของ องค์กรและปัจจัยหลักแห่ง ความสําเร็จ (Critical Success Factors : XXXx) ซึ่งเป็นปัจจัยที่สําคัญอย่าง ยิ่งต่อการxxxxx วัตถุประสงค์การวัดผลความคืบหน้าของการxxxxxวัตถุประสงค์xxxxxxวัดได้จากกลุ่ม ตัวชี้วัดผลการ ดําเนินงานหลัก (Key Performance Indicators : KPIs) สอดคล้องกับxxxxxxx xxx xxxxxxxxxxx (2554) ได้สรุปจาก Canadian International Development (CIDA) ที่นิยามการ บริหารงานแบบxxxxxxxxxxxxxxว่าเป็นแนวคิดการบริหารจัดการเชิงxxxxxxxชีวิต โดย บูรณาการผสมผสาน ระหว่างกลยุทธ์ประชาคม กระบวนการและการวัดผลที่จะปรับปรุงการตัดสินใจ ความโปร่งใส ความxxxxxxตรวจสอบได้แนวคิดดังกล่าวxxxxxxxความสําเร็จของผลลัพธ์การปฏิบัติxxx xxxวัดผล การ เรียนรู้การปรับตัว และการรายงานผลการดําเนินงาน
5.3.2 แนวคิดการบริหารแบบxxxxxxxxxxxxxx การบริหารงานภาครัฐในอดีตจะให้ ความสําคัญกับปัจจัยนําเข้า (Inputs) ซึ่งได้แก่ ทรัพยากร ทางการบริหารต่าง ๆ ที่องค์การนํามาใช้ใน การดําเนินงาน โดยผ่านกระบวนการทํางานที่ต้องอาศัยกฎ xxxxxxx และความถูกต้องที่มีขั้นตอนxxxxxx xxxสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการแต่การ บริหารงานxxxxxxxxxxxxxx (RBM) จะxxxxxxxผลลัพธ์ (Outcomes) ของการทํางาน เพราะxxxxxxพันธกิจ และเป้าหมายขององค์การเป็นสิ่งที่จะต้องดําเนินการ ให้xxxxxผลให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น องค์การxxxxxxxxxxxต้องกําหนดผลผลิตและผลลัพธ์ให้ สอดคล้องกับ พันธกิจและวัตถุประสงค์ของ องค์การ โดยมีการกําหนดตัวชี้วัดผลการทํางานหลัก (Key Performance Indicators – KPIs) ไว้ อย่างชัดเจนก่อนการดําเนินงานให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุก ๆ คนใน องค์กรมีความเข้าใจและรับทราบ เป้าหมายการทํางานในทิศทางเดียวกันซึ่งจะส่งผลถึงประสิทธิภาพ การดําเนินงานขององค์การต่อไป ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า การบริหารแบบxxxxxxxxxxxxxx (Results Based Management : RBM) เป็นการ บริหารงานที่ใช้ทรัพยากรการบริหารอย่างประหยัด (Economy) เกิด ประสิทธิภาพในการทํางาน (Efficiency) และผลการดําเนินงานxxxxxเป้าหมายขององค์การ (Effectiveness) (สํานักงาน กพ., 2546)
5.3.3 หลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล (2544) ได้ นําเสนอหลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์จากการ ปฏิบัติตามแนวทาง RBM ของ Canadian International Development Agency (CIDA) ได้ กําหนดหลักการของ RBM ไว้ 5 ประการดังนี้
๕
1) การมีส่วนร่วม (Partnership) การประสบความสําเร็จของ RBM นั้น จะต้อง ยอมรับว่าผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องจะต้องตระหนักและยอมรับความสําคัญของ RBM เสียก่อน ว่า ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังและทุก ๆ ขั้นตอนของการดําเนินงาน RBM จะต้องถูกกําหนดให้ชัดเจนและ ได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
2) ความรับผิดชอบ (Accountability) ทุกหน่วยงานทุกคนที่อยู่ในองค์กรต่าง ต้อง รับผิดชอบในการดําเนินงานให้บรรลุตามผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง
3) ความโปร่งใส (Transparency) ผลสัมฤทธิ์และตัวชี้วัดที่สําคัญตลอดจน ข้อมูล ต่าง ๆ ในการดําเนินงานตาม RBM จะต้องได้รับการเฝ้าติดตามอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การ จัดทํารายงานยังต้องเป็นสิ่งจําเป็น เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการติดตามตรวจสอบอย่างโปร่งใสในภายหลัง
4) ความเรียบง่าย (Simplicity) แนวทางการดําเนินงานตาม RBM ไม่ควรวาง ระบบ ให้ซับซ้อน ตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์และกระบวนการต่าง ๆ ควรจะถูกกําหนดอย่างเหมาะสม ง่ายต่อ การ เข้าใจและวัดผลได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องภายในกรอบเวลาที่จํากัด
5) การเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Learning by doing) การติดตามกระบวนการ ผลสัมฤทธิ์ของกระบวนการต่าง ๆ ของ RBM ควรดําเนินการอย่างสม่ําเสมอ จะทําให้เกิดการเรียนรู้ จาก ประสบการณ์ในระหว่างการปฏิบัติงานนั้น และถ้าจําเป็นต้องปรับเปลี่ยนต้องกระทําเพื่อให้ ประโยชน์ ต่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น
5.4 แนวคิดลีนในงานบํารุงรักษา (Lean Maintenance) เป็นแนวทางบํารุงรักษาเชิงรุกที่มุ่ง ขจัดความสูญเปล่าในงานบํารุงรักษา ซึ่งไม่เพียงแค่แก้ปัญหาที่เกิดประจําวันเท่านั้น แต่จะมีการ วิเคราะห์หาสาเหตุหลักของปัญหาอย่างเป็นระบบ เพื่อดําเนินการแก้ไขและป้องกันไม่ให้ปัญหาเดิม เกิดซ้ํา ถือเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับระบบการผลิต ซึ่งความสูญเปล่าที่เกิดในงานบํารุงรักษา จําแนกได้เช่นเดียวกับในสายการผลิต ได้แก่ 1) การรอคอย (Waiting) เป็นเวลาที่สูญเสียโดยไม่ได้เกิด งานหรือสร้างคุณค่า เช่น ปัญหาเครื่องจักรขัดข้อง ส่งผลให้ต้องหยุดการผลิต ทําให้เกิดการรอคอยเพื่อ ดําเนินการแก้ไข 2) การผลิตมากเกินไป (Overproduction) ดําเนินการบํารุงรักษาเชิงป้องกันและ คาดการณ์บ่อยครั้งเกินความจําเป็น (Over-Maintenance) ทําให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงแต่ไม่สร้างคุณค่าเพิ่ม
3) การเกิดของเสีย (Defects) บ่อยครั้งที่งานบํารุงรักษามีการดําเนินการแก้ไขซ้ําจากปัญหาเดิมที่เคย เกิดขึ้น เนื่องจากการดําเนินการแก้ไขไม่เหมาะสมหรือขาดการวิเคราะห์สาเหตุหลักของปัญหาอย่างเป็น ระบบ หรืออาจเกิดจากการฝึกอบรมพัฒนาทักษะไม่เพียงพอและกําหนดรายละเอียดมาตรฐานวิธี ปฏิบัติงานไม่เหมาะสม 4) ความสูญเปล่าทางกระบวนการ (Process Waste) เกิดจากกระบวนการ ทํางานไม่เหมาะสม ในส่วนงาน Breakdown Maintenance จําเป็นต้องดําเนินการแก้ไขอย่างรวดเร็ว แต่บางครั้งช่างใช้เวลามากเกินไป เนื่องจากมุ่งแก้ไขหรือปรับแต่งเครื่องเกินความจําเป็น 5) การขนส่ง (Transportation) เครื่องมือและอะไหล่ที่จําเป็นหรือที่ใช้เป็นประจํา เช่น แบบเครื่องจักร ประวัติการ ซ่อม มักถูกจัดเก็บไม่เป็นระบบ จึงทําให้ต้องเสียเวลาค้นหาเครื่องมือและอะไหล่ที่จําเป็นต้องใช้หรือใช้ ประจํา ถูกจัดเก็บไม่เป็นระบบจึงทําให้ต้องเสียเวลาในการค้นหา 6) การเคลื่อนไหว (Motion) ความสูญ เปล่าจากการเคลื่อนไหวมักเกิดในงานบํารุงรักษาเชิงป้องกัน เช่น ตรวจสอบระบบปั๊มทุกเดือนทั้งที่ยังมี สภาพปกติและอยู่ในช่วงรับประกัน ถือเป็นกิจกรรมที่ไม่มีผลต่อการปรับปรุงสมร รถนะการเดิน เครื่องจักร ควรตรวจสอบจากประวัติที่บันทึกและดําเนินการปรับแผนรอบระยะเวลาให้เหมาะสม
7) ความสูญเสียจากการสต็อก (Inventory) ห้องสโตร์สําหรับงานบํารุงรักษาส่วนใหญ่ จะมีอุปกรณ์และ
๖
อะไหล่ที่จําเป็นประมาณ 65% และอีก 35% เป็นอะไหล่ที่ไม่ค่อยถูกเบิกใช้งานและมักเสื่อมสภาพ ทั้งยังอาจมีสต็อกที่ไม่ได้ถูกบันทึกหรือจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ ซึ่งส่งผลต่อความพร้อมใช้งาน
การดําเนินกิจกรรมเพื่อลดความสูญเปล่าตามแนวทาง Lean Maintenance จะใช้แผนภูมิ สายธารแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping) เพื่อวิเคราะห์ความสูญเปล่าที่เกิดในงานบํารุงรักษา ทําให้ทีมงานสามารถมองเห็นภาพรวมกระบวนการ โดยมีการทํางานร่วมกันระหว่างทีมงานบํารุงรักษา กับผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่างแผนภูมิกระบวนการโดยรวมของกิจกรรมบํารุงรักษาที่ดําเนินการในปัจจุบัน (Current State) ซึ่งผลการวิเคราะห์ด้วยสายธารแห่งคุณค่าจะแสดงข้อมูลที่ จําเป็นสําหรับกิจกรรม ไคเซ็น ได้แก่
1) ขั้นตอนกระบวนการไหลของงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงเสร็จสิ้น
2) กิจกรรมซ่อนเร้นที่ไม่สร้างคุณค่าให้กับกระบวนการ
3) ขั้นตอนการทํางานที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดความสูญเปล่า
4) กิจกรรมที่ถูกเพิ่มเข้าไปในการทํางานแต่ไม่สร้างคุณค่าเพิ่มและขจัดออกได้ทันที ซึ่งการเชื่อมโยงการไหลทรัพยากรกับข้อมูล หลังจากที่ดําเนินการวิเคราะห์เพื่อจําแนก
สาเหตุหลักความสูญเปล่าเสร็จสิ้น ก็จะมีการระบุแนวทางปรับปรุงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการบํารุงรักษา แบบลีน ซึ่งรากฐานสําคัญของการบํารุงรักษาแบบลีน คือ ประสิทธิผลโครงการบํารุงรักษาทวีผลที่ทุกคน มีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance) หรือ TPM (Modern Manufacturing, 2017)
5.5 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
5.5.1 พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 มีบทบัญญัติเอื้อต่อการจัดซื้อโดยทําสัญญาจะซื้อจะขายแบบราคาคงที่ไม่จํากัดปริมาณ (Open end)
1) มาตรา ๕๕ การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุอาจกระทําได้โดยวิธี ข้อ (๓) วิธ เฉพาะเจาะจงได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข ที่หน่วยงานของรัฐกําหนดรายใดรายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอ หรือให้เข้ามาเจรจาต่อรองราคารวมทั้งการ จัดซื้อจัดจ้างพัสดุกับผู้ประกอบการโดยตรงในวงเงินเล็กน้อยตามที่กําหนดในกฎกระทรวงที่ออกตาม ความในมาตรา ๙๖ วรรคสอง
2) มาตรา ๕๖ การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ให้หน่วยงานของรัฐเลือกใช้วิธีประกาศ เชิญชวนทั่วไปก่อนเว้นแต่ ๒) กรณีดังต่อไปนี้ ให้ใช้วิธีเฉพาะเจาะจง (ข) การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่มีการ ผลิต จําหน่าย ก่อสร้าง หรือให้บริการทั่วไป และมีวงเงินในการจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่งไม่เกินวงเงินตามที่ กําหนดในกฎกระทรวง
3) มาตรา ๙๓ หน่วยงานของรัฐต้องทําสัญญาตามแบบที่คณะกรรมการ นโยบายกําหนดโดยความเห็นชอบของสํานักงานอัยการสูงสุด ทั้งนี้ แบบสัญญานั้นให้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาด้วย
5.5.2 ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 มีวิธีการหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการการจัดซื้อโดยทําสัญญาจะซื้อจะ ขายแบบราคาคงที่ไม่จํากัดปริมาณ (Open end)
๗
1) ข้อ ๒๑ ในการซื้อหรือจ้างที่มิใช่การจ้างก่อสร้าง ให้หัวหน้าหน่วยงานของ รัฐแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง หรือจะให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งรับผิดชอบในการ จัดทําร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง รวมทั้งกําหนด หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอด้วย
2) ข้อ ๒๒ ในการซื้อหรือจ้างแต่ละวิธี นอกจากการซื้อที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ตามข้อ ๒๓และข้อ ๗๙ วรรคสอง ให้เจ้าหน้าที่จัดทํารายงานขอซื้อหรือขอจ้างเสนอหัวหน้าหน่วยงาน ของรัฐเพื่อขอความเห็นชอบ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ ตามรายการดังต่อไปนี้ (๑) เหตุผลและ ความจําเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง (๒) ขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุหรือ แบบรูปรายการงานก่อสร้างที่จะซื้อหรือจ้าง แล้วแต่กรณี(๓) ราคากลางของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง(๔) วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ ถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าวให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่าจะ ซื้อหรือจ้างในครั้งนั้น(๕) กําหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้นหรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ(๖) วิธีที่จะซื้อหรือ จ้างและเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้างโดยวิธีนั้น(๗) หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ
3) ข้อ ๒๔ เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบตามรายงานที่เสนอ ตามข้อ ๒๒ หรือข้อ ๒๓ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ดําเนินการตามวิธีซื้อหรือจ้างนั้นต่อไป
4) ข้อ ๒๘ การซื้อหรือจ้าง กระทําได้ ๓ วิธี ดังนี้ (๓) วิธีเฉพาะเจาะจง
5) ข้อ ๗๙ กรณีตามมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง (๒) (ข) ให้เจ้าหน้าที่เจรจาตกลง ราคากับผู้ประกอบการที่มีอาชีพขายหรือรับจ้างนั้นโดยตรง แล้วให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ซื้อหรือจ้างได้ ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ ๒๔
5.5.3 กฎกระทรวงกําหนดวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง วงเงิน การจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ทําข้อตกลงเป็นหนังสือ และวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างในการแต่งตั้งผู้ตรวจรับพัสดุ พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2560 ข้อ ๑ การจัดซื้อจัดจ้างสินค้า งานบริการ หรืองานก่อสร้าง ที่มีการผลิต จําหน่ายก่อสร้าง หรือให้บริการทั่วไป และมีวงเงินในการจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่งไม่เกิน
๕๐๐,๐๐๐ บาทให้ใช้วิธีเฉพาะเจาะจง
5.5.4 ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง แบบสัญญาเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 3 คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ จึงกําหนดแบบสัญญาโดย ความเห็นชอบของสํานักงานอัยการสูงสุด จํานวน 14 สัญญา ดังนี้ (3) แบบสัญญาจะซื้อจะขายแบบ ราคาคงที่ไม่จํากัดปริมาณ
5.4.5 หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0433.2/ว 206 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 เรื่องคู่มือแนวทางการประกาศรายละเอียดข้อมูลราคากลางและการคํานวณราคากลางเกี่ยวกับการ จัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ
5.4.6 หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 89 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 เรื่องแนวทางปฏิบัติตามกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐ ต้องการส่งเสริม หรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563
๘
6. แนวทางการดําเนินการ / ระยะเวลา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แนวทางการดําเนินการ
6.1 จัดทํากรอบแนวทางการปฏิบัติงานการจัดหาอะไหล่สําหรับการซ่อมยานพาหนะ และ เครื่องจักรกล โดยดําเนินการระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2564 – 31 สิงหาคม 2564 ตามขั้นตอนการ ทํางานและผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้
ขั้นตอนการทํางาน (Work Flow) | ระยะเวลา | ผู้รับผิดชอบ |
1.1 ขั้นเตรียมการ จะต้องดําเนินการ ดังนี้ - กําหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ - รายชื่อคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ - งบประมาณที่ได้รับจัดสรร | 1-5 วันทําการ | นายช่าง/เจ้าหน้าที่/ เจ้าหน้าที่พัสดุ |
1.2 ขั้นดําเนินการ 1.2.1 จัดทํารายงานขอซื้อพัสดุด้วยวิธี เฉพาะเจาะจง พร้อมคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจ รับพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง | 1-3 วันทําการ | เจ้าหน้าที่/เจ้าหน้าที่ พัสดุ |
1.2.2 เจ้าหน้าที่เจรจาตกลงกับผู้ประกอบการที่มี คุณสมบัติ ตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานกําหนด | 1-2 วันทําการ | เจ้าหน้าที่ |
1.2.3 จัดทํารายงานผลการพิจารณาเพื่ออนุมัติรับ ราคาและประกาศผู้ชนะการซื้อ เสนอฝ่ายการเงิน (หัวหน้าหน่วยงาน) เห็นชอบ | 1-3 วันทําการ | ฝ่ายการเงิน/ เจ้าหน้าที่ |
1.2.4 ประกาศผู้ชนะการซื้อในระบบสารสนเทศ ของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐตามวิธีการ ที่กรมบัญชีกลางกําหนด/ปิดประกาศผู้ชนะการซื้อหรือ จ้างโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงาน และแจ้งให้ผู้เสนอราคาทราบ | 1 วันทําการ | ฝ่ายการเงิน/ เจ้าหน้าที่พัสดุ/ เจ้าหน้าที่ |
1.2.5 จัดทําสัญญาจะซื้อจะขายแบบ Open end จัดทําสัญญา เสนอผู้อํานวยการกองโรงงานช่างกลหรือ ผู้ได้รับมอบอํานาจลงนามในสัญญา | 1-3 วันทําการ | ฝ่ายการเงิน/ เจ้าหน้าที่ |
1.2.6 บันทึกข้อมูลสัญญาในระบบจัดซื้อจัดจ้าง ภาครัฐ (e-GP)และสร้างสัญญาในระบบ GFMIS | 1 วันทําการ | เจ้าหน้าที่พัสดุ |
๙
ขั้นตอนการทํางาน (Work Flow) | ระยะเวลา | ผู้รับผิดชอบ |
1.3 บริหารสัญญา 1.3.1 จัดทําใบสั่งซื้อตามรายการที่นายช่าง ต้องการติดต่อผู้ขายที่เซ็นสัญญามารับใบสั่งซื้อและส่ง อะไหล่ | 1-5 วันทําการ | เจ้าหน้าที่พัสดุ |
1.3.2 ดําเนินการตรวจรับพัสดุพร้อมจัดทํา รายงานเสนอหัวหน้าหน่วยงานรับทราบ | 1-3 วันทําการ | คณะกรรมการตรวจ รับพัสดุ |
1.3.3 รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อทําการ เบิกจ่ายตามระเบียบต่อไป | 1-5 วันทําการ | เจ้าหน้าที่พัสดุ เจ้าหน้าที่การเงิน |
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
6.2 ขออนุมัติจัดหาอะไหล่สําหรับซ่อมยานพาหนะ ฯ โดยทําสัญญาจะซื้อจะขาย แบบราคาคงที่ ไม่จํากัดปริมาณ ( open end) ตกลงราคาซื้อขายกันแบบที่แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงราคาตลอด ของสัญญาซื้อขายนั้น ผู้ขายจะรับผิดชอบทั้งหมดในการขึ้นลงของราคา โดยในรายละเอียดสัญญาอาจมี ราคาซื้อขายหลายราคาก็ได้ แล้วแต่จะกําหนดในเงื่อนไขที่ราคาที่มี เมื่อตกลงแล้วจะไม่เปลี่ยนแปลงอีก
6.3 แต่งตั้งคณะกรรมการกําหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะและกําหนดราคากลาง เพื่อ จัดทําร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะซื้อ และกําหนดราคากลาง (ราคาอ้างอิง) โดยขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการกําหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะและกําหนด ราคากลางของพัสดุที่จะซื้อ โดยคณะกรรมการฯ ดําเนินการกําหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะและ กําหนดราคากลางและเสนอผู้อํานวยการกองโรงงานช่างกลเห็นชอบรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของ พัสดุที่จะซื้อและอนุมัติราคากลาง (ราคาอ้างอิง) ที่กําหนด เพื่อดําเนินการจัดซื้อตาม กฎหมาย และ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
6.4 ดําเนินการด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง โดย ตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของเอกสารที่แนบ ประกอบการซื้อ จัดทํารายงานขอซื้อพัสดุ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและ การบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 จัดทําร่างคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ เสนอ ผู้อํานวยการกองโรงงานช่างกล เพื่อเห็นชอบรายงานขอซื้อพัสดุ และลงนามคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ ตรวจรับพัสดุ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่เจรจาตกลงกับผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่ หน่วยงานกําหนด จัดทํารายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดเสนอ ฝ่ายการเงินตรวจสอบ และจัดทําประกาศผู้ชนะการซื้อพัสดุเสนอฝ่ายการเงิน เพื่อฝ่ายการเงิน (หัวหน้า เจ้าหน้าที่) รายงานผลการพิจารณา ให้ประกาศผู้ชนะการซื้อพัสดุในระบบสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง และของหน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนด และให้ปิดประกาศผู้ชนะการซื้อพัสดุโดย เปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของสํานักการคลัง และแจ้งให้ผู้เสนอราคาทราบ
๑๐
6.5 จัดทําหนังสือแจ้งผู้ชนะการเสนอราคา เพื่อสนองรับราคาและนัดทําสัญญากับผู้ชนะการ เสนอราคาตามรูปแบบที่คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กําหนด หรือรูปแบบสัญญาที่ผ่านสํานักอัยการสูงสุดแล้วเท่านั้น โดยแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เสนอผู้ อํานวยกองโรงงานช่างกลลงนามในสัญญา
6.6 หลังลงนามสัญญาแล้ว เมื่อหน่วยงานส่งซ่อมยานพาหนะและเครื่องจักรกล นายช่างทํา หน้าที่ประเมินความต้องการใช้อะไหล่เพื่อใช้ในการซ่อมบํารุงยานพาหนะ เครื่องจักรกล หลังจากนั้น จัดทําใบสั่งซื้อตามรายการที่นายช่างต้องการ ส่งให้แก่ผู้ขายเพื่อส่งมอบพัสดุภายในเวลาที่กําหนด หลังจากส่งมอบพัสดุแล้วส่งให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุและจัดทํารายงานตรวจรับพัสดุให้หัวหน้า หน่วยงานทราบ หลังจากนั้นส่งอะไหล่ให้นายช่างดําเนินการซ่อมยานพาหนะ และเครื่องจักรกล รายงาน สรุปผลการซ่อมให้ฝ่ายควบคุมเพื่อแจ้งให้หน่วยงานรับมอบยานพาหนะ และเครื่องจักรกลไปใช้งาน ตามปกติต่อไป
6.7 สํารวจความคิดเห็นจากผู้รับบริการซ่อมยานพาหนะ เครื่องจักรกล เครื่องทุ่นแรง และ เครื่องปรับอากาศของกองโรงงานช่างกล โดยส่งแบบสอบถามออนไลน์ (Google Form) ไปยัง ผู้ใช้บริการจากหน่วยงานต่าง ๆ หลังได้รับยานพาหนะและเครื่องจักรกลไปใช้งานแล้ว หลังจากนั้นนํา ข้อมูลการสํารวจมาวิเคราะห์ สรุป และรายงานผู้บริหารทราบเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไป
ตารางเปรียบเทียบการจัดหาอะไหล่แบบไม่ทําสัญญากับจัดหาอะไหล่ด้วยสัญญาจะซื้อจะขายแบบราคา คงที่ไม่จํากัดปริมาณ ( open end)
ขั้นตอนการทํางาน (Work Flow) | การ จั ด ซื้ ออะไหล่ แบบไม่ทําสัญญา | การจัดซื้ออะไหล่ด้วยสัญญาจะ ซื้อจะขาย แบบราคาคงที่ไม่ จํากัดปริมาณ ( open end) |
1.1 ขั้นเตรียมการ จะต้องดําเนินการ ดังนี้ - กําหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ ของพัสดุ - รายชื่อคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ - งบประมาณที่ได้รับจัดสรร | 1-5 วันทําการ | - |
1.2 ขั้นดําเนินการ 1.2.1 จัดทํารายงานขอซื้อพัสดุด้วย วิธีเฉพาะเจาะจงพร้อมคําสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจรับพัสดุโดยวิธี เฉพาะเจาะจง | 1-3 วันทําการ | - |
1.2.2 เจ้าหน้าที่เจรจาตกลงกับ ผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติ ตรงตาม เงื่อนไขที่หน่วยงานกําหนด | 1-2 วันทําการ | - |
๑๑
ขั้นตอนการทํางาน (Work Flow) | การ จั ด ซื้ ออะไหล่ แบบไม่ทําสัญญา | การจัดซื้ออะไหล่ด้วยสัญญาจะ ซื้อจะขาย แบบราคาคงที่ไม่ จํากัดปริมาณ ( open end) |
1.2.3 จัดทํารายงานผลการพิจารณา เพื่ออนุมัติรับราคาและประกาศผู้ชนะการ ซื้อ เสนอฝ่ายการเงิน (หัวหน้าหน่วยงาน) เห็นชอบ | 1-3 วันทําการ | - |
1.2.4 ประกาศผู้ชนะการซื้อในระบบ สารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของ หน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่ กรมบัญชีกลางกําหนด/ปิดประกาศผู้ชนะ การซื้อหรือจ้างโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิด ประกาศของหน่วยงานและแจ้งให้ผู้เสนอ ราคาทราบ | 1 วันทําการ | - |
1.2.5 จัดทําใบสั่งซื้อเสนอฝ่าย การเงิน | 1-5 วันทําการ | 1-5 วันทําการ |
1.2.6 ดําเนินการตรวจรับพัสดุพร้อม จัดทํารายงานเสนอหัวหน้าหน่วยงาน รับทราบ | 1-3 วันทําการ | 1-3 วันทําการ |
รวมระยะเวลาดําเนินการประมาณ | 20 - 22 วันทําการ | 5- 8 วันทําการ |
การจัดหาอะไหล่แบบไม่ทําสัญญา ระยะเวลาการจัดหาอะไหล่สําหรับซ่อมยานพาหนะ เครื่องจักรกล เครื่องทุ่นแรงค่อนข้างใช้เวลานาน โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนกําหนดรายละเอียดเฉพาะของ พัสดุและกําหนดราคากลาง ขอเห็นชอบจัดทํารายงานขอซื้อพัสดุ แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ติดต่อผู้ประกอบการ จัดทํารายงานผลการพิจารณาและประกาศผู้ชนะการซื้อ จัดทําใบสั่งซื้อให้ผู้ขายส่ง มอบอะไหล่ให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุเพื่อส่งมอบให้นายช่าง ใช้ระยะเวลาดําเนินการโดยประมาณ 22 วันทําการ ในขณะการจัดหาอะไหล่ด้วยสัญญาจะซื้อจะขายแบบราคาคงที่ไม่จํากัดปริมาณ ( open end) จะจัดทําสัญญาเพียงครั้งเดียว ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนต่าง ๆ เหลือเพียงขั้นตอนจัดทําใบสั่งซื้อตามใบ เบิกพัสดุของนายช่าง โดยผู้ขายดําเนินการส่งอะไหล่ตามสัญญา เหลือระยะเวลาดําเนินการประมาณ 5-8 วันทําการ
๑๒
7. ประโยชน์จากการศึกษา
7.1 หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครได้รับการบริการซ่อมยานพาหนะ เครื่องจักร เครื่องทุ่น แรง เครื่องปรับอากาศ สําหรับใช้ปฏิบัติงานและบริการประชาชนได้อย่างรวดเร็ว
7.2 กองโรงงานช่างกลสามารถจัดหาวัสดุอะไหล่สําหรับใช้ในการซ่อมได้รวดเร็ว สามารถรับ งานซ่อมยานพาหนะ เครื่องจักร เครื่องทุ่นแรง และเครื่องปรับอากาศได้จํานวนมากขึ้น
7.3 กองโรงช่างกลมีภาพลักษณ์ที่ดีในการบริการ ลดข้อร้องเรียนในการซ่อมยานพาหนะ เครื่องจักรกล เครื่องทุ่นแรง และเครื่องปรับอากาศของหน่วยงานต่างๆ
8.งบประมาณ
ไม่มีค่าใช้จ่าย
9. แนวทางการติดตามและประเมินผล
9.1 ตัวชี้วัดความสําเร็จ
จัดหาอะไหล่ให้นายช่างสําหรับการให้บริการซ่อมยานพาหนะ เครื่องจักรกล เครื่องทุ่นแรง และเครื่องปรับอากาศ ภายใน 5 วัน
9.2 วิธีการ/เครื่องมือในการติดตามและประเมินผล (สําเร็จ)
การจัดหาอะไหล่สําหรับซ่อมยานพาหนะ เครื่องจักรกล เครื่องทุ่นแรง และ เครื่องปรับอากาศ โดยทําสัญญาจะซื้อจะขาย แบบราคาคงที่ไม่จํากัดปริมาณ (open end) ทําให้การ ปฏิบัติงานมีความคล่องตัวมากขึ้น โดยนายช่างสามารถนําอะไหล่ไปซ่อมยานพาหนะฯ ได้ในเวลารวดเร็ว ไม่ต้องใช้ระยะเวลาจัดหาอะไหล่นาน ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวมีผลทําให้การบริหารงบประมาณของ กองโรงงานช่างกลสามารถก่อหนี้ผูกพันและการเบิกจ่ายเงินของกองโรงงานช่างกลเป็นไปตามแผนและ ตามเป้าหมาย ทันตามกําหนดเวลา การเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้มากขึ้นและมีรายการกันเงินไว้เบิก เหลื่อมปีลดลง ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสําหรับใช้ประเมินผลการปฏิบัติงานราชการ
การติดตามและประเมินผล จากรายงานสรุปผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ (แบบ ง. 401) ในระบบ MIS 2 และรายงานความก้าวหน้าผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณในที่ประชุมผู้บริหารกอง โรงงานช่างกล เพื่อติดตามการเบิกจ่ายเงินงบประมาณและร่วมกันแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
10. ข้อเสนอแนะ
10.1 จากการวิเคราะห์พบว่ากระบวนการรับยานพาหนะเข้าซ่อมกองโรงงานช่างกลมีราย ระบบ โดยต้องรอให้ซ่อมเสร็จที่ระบบ ทําให้เกิดความล่าช้า ผู้เสนอผลงาน จึงเห็นว่าควรจัดจุดบริการ แบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ one stop service เป็นการอํานวยความสะดวก แก่ผู้รับบริการให้สามารถรับ บริการต่างๆได้ ณ จุดเดียว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย สามารถใช้ร่วมทั้งสถานที่ บุคลากรตลอดจน เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้การให้บริการมีความรวดเร็วขึ้น และเป็นการนํา เจ้าหน้าที่ของหลายระบบงานมาทํางานรวมอยู่ที่จุดเดียวกันเพื่อให้การซ่อมยานพาหนะเป็นไปด้วยความ รวดเร็วไม่ล่าช้า
10.2 จัดให้มีการประชุมหัวหน้าฝ่ายทุกฝ่ายในการรับทราบวิธีการจัดหาอะไหล่โดยทําสัญญา จะซื้อจะขาย แบบราคาคงที่ไม่จํากัดปริมาณ (open end)
10.3 จัดทําคู่มือการปฏิบัติงาน เผยแพร่ภายในหน่วยงาน ประกอบไปด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
- กฎหมาย ระเบียบ วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
- ขั้นตอนการดําเนินงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนงานแล้วเสร็จ
๑๓
- คําแนะนําการทํางาน ข้อสังเกต ข้อควรระวัง เป็นคู่มือการปฏิบัติงานของหน่วยงาน
บรรณานุกรม
เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ (2561) PDCA Cycle / วงจรการควบคุมคุณภาพหรือ วงจรเด็มมิ่ง (Deming Cycle) .(ออนไลน์).เข้าถึงจาก https://www.iok2u.com/index.php/article/innovation/ 240-pdca-cycle-deming- cycle สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564
กลุ่มตําลึง(2564) โครงสร้าง PDCA.(ออนไลน์).เข้าถึงจาก .https://sites.google.com/site/ klumtalung/khorngsrangสืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564
ทิพาวดีเมฆสวรรค์, (2539) การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือน.
ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล (2554). การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
สํานักงาน ก.พ. (2546)การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ : บริษัท อาทิตย์โพรดักส์กรุ๊ป จํากัด. Modern Manufacturing, (2017). ลดความสูญเปล่างานบํารุงรักษา… ได้อย่างไร?. สืบค้นเมื่อ
27 พฤษภาคม 2564 จาก https://www.mmthailand.com/.
ภาคผนวก ก
แบบสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายแบบราคาคงที่ไม่จํากัดปริมาณ
สัญญาเลขที่………….……..… (๑) ...............…..……
สัญญาฉบับนี้ทําขึ้น ณ ………………..…………………..............………..…………………………..………….......
ตําบล/แขวง…………………………..………….……………….อําเภอ/เขต…………………....………….…….….…………………..
จังหวัด…….………….………………….…………. เมื่อวันที่ ……….……… เดือน ………….…………………….. พ.ศ. ……......…
ระหว่าง ………………………………..……………..…………….…… (๒) …………………………………………………………………..……
โดย ……...….……………………………………………….………….… (๓) ………..……………………………………………....………..……
ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า “ผู้จะซื้อ” ฝ่ายหนึ่ง กับ ………………………….….… (๔ ก) …………..…….………………
ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ณ ………….………………………….……………………………..…………………….………….……..
มีสํานักงานใหญ่อยู่เลขที่..…………….....…..…ถนน……………….………..……..ตําบล/แขวง……….……….…........……….
อําเภอ/เขต………………………….…..…….จังหวัด……….......……….……..….โดย…………….…………………………………..…
ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลปรากฏตามหนังสือรับรองของสํานักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท...........…….…
ลงวันที่……………..……………….… (๕) (และหนังสือมอบอํานาจลงวันที่ ) แนบท้ายสัญญานี้
(๖) (ในกรณีที่ผู้จะขายเป็นบุคคลธรรมดาใ👉้ใช้ข้อความว่า กับ ………………....……..… (๔ ข) …….………….….…..….
อยู่บ้านเลขที่.....…………..….……...….ถนน…………………..…….……...……ตําบล/แขวง……...…………………….….………
อําเภอ/เขต…………………….…………..….…..จังหวัด ผู้ถือบัตรประจําตัวประชาชน
เลขที่. ดังปรากฏตามสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนแนบท้ายสัญญานี้) ซึ่งต่อไปในสัญญานี้
เรียกว่า “ผู้จะขาย” อีกฝ่ายหนึ่ง
คู่สัญญาได้ตกลงกันมีข้อความดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อตกลงจะซื้อจะขาย
ผู้จะซื้อตกลงจะซื้อและผู้จะขายตกลงจะขาย……………………..… (๗) ……….….….….……….
ตามเอกสารรายการสินค้าและราคาต่อหน่วย เอกสารแนบท้ายสัญญาผนวก ๑ ตามจํานวนที่ผู้จะซื้อจะสั่งซื้อ เป็นคราวๆ ไป มีกําหนดเวลา…..............(………….......) เดือน ตั้งแต่วันที่ ……… เดือน…………..……….. พ.ศ. ….….
จนถึงวันที่ ……… เดือน…………..….. พ.ศ. ….…. เป็นราคาทั้งสิ้นประมาณ…………………...บาท (… )
ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มตลอดจนภาษีอากรอื่นๆ และค่าใช้จ่ายทั้งปวงด้วยแล้ว
ตลอดอายุสัญญานี้ ผู้จะขายรับจะจัดหาสิ่งของที่จะขายตามวรรคหนึ่งเตรียมส่งมอบไว้ ให้แก่ผู้จะซื้อได้อย่างเพียงพอตามจํานวนที่คู่สัญญาได้ตกลงประมาณการไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาผนวก ๑ แต่ผู้จะซื้ออาจสั่งซื้อจริงเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากจํานวนประมาณการดังกล่าวก็ได้
ข้อ ๒ การรับรองคุณภาพ
ผู้จะขายรับรองว่าสิ่งของที่จะขายให้ตามสัญญานี้เป็นของแท้ ของใหม่ ไม่เคยใช้งานมาก่อน ไม่เป็นของเก่าเก็บ และมีคุณภาพ และคุณสมบัติไม่ต่ํากว่าที่กําหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาผนวก……..
ในกรณีที่เป็นการซื้อสิ่งของซึ่งจะต้องมีการตรวจทดลอง ผู้จะขายรับรองว่า เมื่อตรวจ ทดลองแล้ว ต้องมีคุณภาพและคุณสมบัติไม่ต่ํากว่าที่กําหนดไว้ด้วย
ข้อ ๓ เอกสารอันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา
เอกสารแนบท้ายสัญญาดังต่อไปนี้ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญานี้
๓.๑ ผนวก ๑ …...(รายการสินค้าและราคาต่อหน่วย)……….... จํานวน…….(… ) หน้า
๓.๒ ผนวก ๒ ……..….(รายการคุณลักษณะเฉพาะ)….....….….. จํานวน…….(… ) หน้า
๓.๓ ผนวก ๓ …………....….(แค็ตตาล็อก) (8)…….......…......... จํานวน…….(… ) หน้า
๓.๔ ผนวก ๔ ………………….(แบบรูป) (9)………..….….……..... จํานวน…….(… ) หน้า
๓.๕ ผนวก ๕ ………………..(ใบเสนอราคา)………………..…….... จํานวน…….(… ) หน้า
……………….……………….…ฯลฯ………………………..………...
ความใดในเอกสารแนบท้ายสัญญาที่ขัดหรือแย้งกับข้อความในสัญญานี้ ให้ใช้ข้อความ ในสัญญานี้บังคับ และในกรณีที่เอกสารแนบท้ายสัญญาขัดแย้งกันเอง ผู้จะขายจะต้องปฏิบัติตามคําวินิจฉัยของ ผู้จะซื้อ คําวินิจฉัยของผู้จะซื้อให้ถือเป็นที่สุด และผู้จะขายไม่มีสิทธิเรียกร้องราคา ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่าย ใดๆ เพิ่มเติมจากผู้จะซื้อทั้งสิ้น
ข้อ ๔ การออกใบสั่งซื้อแต่ละคราว
ผู้จะซื้อจะออกใบสั่งซื้อสิ่งของในแต่ละคราวเพียงรายการเดียวหรือหลายรายการ พร้อมกันก็ได้ในปริมาณแต่ละรายการคราวละอย่างมากไม่เกิน………………….…….……(… )
หรืออย่างน้อยไม่ต่ํากว่า………………………..……….……( ) โดยระบุปริมาณ สถานที่
และวันเวลาที่ผู้จะขายจะต้องส่งมอบไว้ในใบสั่งซื้อแต่ละคราว ทั้งนี้ ผู้จะซื้อจะออกใบสั่งซื้อมอบให้แก่ผู้จะขาย ล่วงหน้าก่อนครบกําหนดเวลาส่งมอบตามใบสั่งซื้อไม่น้อยกว่า………….………(… ) วัน
ข้อ ๕ การส่งมอบ
ผู้จะขายตกลงว่าจะส่งมอบสิ่งของตามสัญญาให้แก่ผู้จะซื้อตามปริมาณ ณ สถานที่ และในวันเวลาที่กําหนดไว้ในใบสั่งซื้อแต่ละคราวด้วยค่าใช้จ่ายของผู้จะขายเอง พร้อมทั้งหีบห่อหรือเครื่องรัด พันผูกให้เรียบร้อย
ข้อ ๖ การตรวจรับ
เมื่อผู้จะซื้อได้ตรวจรับสิ่งของที่ส่งมอบและเห็นว่าถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาและ ใบสั่งซื้อในแต่ละคราวแล้ว ผู้จะซื้อจะออกหลักฐานการรับมอบเป็นหนังสือไว้ให้ เพื่อผู้จะขายนํามาเป็น หลักฐานประกอบการขอรับเงินค่าสิ่งของนั้น
ถ้าผลของการตรวจรับปรากฏว่า สิ่งของที่ผู้จะขายส่งมอบไม่ตรงตามสัญญาและใบสั่งซื้อ ผู้จะซื้อทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะไม่รับสิ่งของนั้น ในกรณีเช่นนี้ ผู้จะขายต้องรีบนําสิ่งของนั้นกลับคืนโดยเร็วที่สุด เท่าที่จะทําได้และนําสิ่งของมาส่งมอบให้ใหม่หรือเพิ่มเติมให้ถูกต้องตามสัญญาและใบสั่งซื้อด้วยค่าใช้จ่ายของ ผู้จะขายเอง และระยะเวลาที่เสียไปดังกล่าว ผู้จะขายจะนํามาอ้างเป็นเหตุขอขยายเวลาส่งมอบหรือขอลด หรืองดค่าปรับไม่ได้
(10) ในกรณีที่ผู้จะขายส่งมอบสิ่งของถูกต้องแต่ไม่ครบจํานวน หรือส่งมอบครบจํานวน แต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ผู้จะซื้อจะตรวจรับเฉพาะส่วนที่ถูกต้อง โดยออกหลักฐานการตรวจรับเฉพาะส่วนนั้นก็ได้ (ความในวรรคสามนี้ จะไม่กํา👉นดไว้ในกรณีที่ผู้จะซื้อต้องการสิ่งของทั้ง👉มดในคราวเดียวกัน 👉รือการซื้อสิ่งของ ที่ประกอบเป็นชุด👉รือ👉น่วย ถ้าขาดส่วนประกอบอย่าง👉นึ่งอย่างใดไปแล้ว จะไม่สามารถใช้งานได้โดยสมบูรณ์)
ข้อ ๗ การชําระเงิน
ผู้จะซื้อจะชําระเงินค่าสิ่งของที่คํานวณตามปริมาณที่กําหนดในใบสั่งซื้อแต่ละคราว และตามราคาต่อหน่วยดังระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาผนวก ๑ ให้แก่ผู้จะขายภายใน..…..…….(… ) วัน
นับถัดจากวันที่ผู้จะขายได้แสดงหลักฐานการรับมอบตามข้อ ๖ ให้แก่ผู้จะซื้อ
(11) การจ่ายเงินตามเงื่อนไขแห่งสัญญานี้ ผู้จะซื้อจะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของ ผู้จะขาย ชื่อธนาคาร……………….…….…………....สาขา……………………………..……..ชื่อบัญชี……………………………..
เลขที่บัญชี ทั้งนี้ ผู้จะขายตกลงเป็นผู้รับภาระเงินค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการอื่นใด
เกี่ยวกับการโอน รวมทั้งค่าใช้จ่ายใดๆ (ถ้ามี) ที่ธนาคารเรียกเก็บ และยินยอมให้มีการหักเงินดังกล่าวจาก จํานวนเงินโอนในงวดนั้นๆ (ความในวรรคนี้ใช้สํา👉รับกรณีที่👉น่วยงานของรัฐจะจ่ายเงินตรงใ👉้แก่ผู้จะขาย (ระบบ Direct Payment) โดยการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้จะขาย ตามแนวทางที่กระทรวงการคลัง
👉รือ👉น่วยงานของรัฐเจ้าของงบประมาณเป็นผู้กํา👉นด แล้วแต่กรณี)
ข้อ ๘ การรับประกันความชํารุดบกพร่อง
ผู้จะขายตกลงรับประกันความชํารุดบกพร่องหรือขัดข้องของสิ่งของตามสัญญานี้ เป็นเวลา…….(12).……(…….…...……...) ปี …...…..…..(…….……....…..) เดือน นับถัดจากวันที่ผู้จะซื้อได้รับมอบ โดยภายในกําหนดเวลาดังกล่าวหากสิ่งของตามสัญญานี้เกิดชํารุดบกพร่องหรือขัดข้องอันเนื่องมาจาก การใช้งานตามปกติ ผู้จะขายจะต้องจัดการซ่อมแซมหรือแก้ไขให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดีดังเดิม ภายใน……..…
(………...……..) วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งจากผู้จะซื้อ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น หากผู้จะขายไม่จัดการ ซ่อมแซมหรือแก้ไขภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ผู้จะซื้อมีสิทธิที่จะทําการนั้นเองหรือจ้างผู้อื่นให้ทําการนั้นแทน ผู้จะขาย โดยผู้จะขายต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้น
ในกรณีเร่งด่วนจําเป็นต้องรีบแก้ไขเหตุชํารุดบกพร่องหรือขัดข้องโดยเร็ว และไม่อาจ รอคอยให้ผู้จะขายแก้ไขในระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่งได้ ผู้จะซื้อมีสิทธิเข้าจัดการแก้ไขเหตุชํารุดบกพร่อง หรือขัดข้องนั้นเอง หรือให้ผู้อื่นแก้ไขความชํารุดบกพร่องหรือขัดข้อง โดยผู้จะขายต้องรับผิดชอบชําระค่าใช้จ่าย ทั้งหมด
การที่ผู้จะซื้อทําการนั้นเอง หรือให้ผู้อื่นทําการนั้นแทนผู้จะขาย ไม่ทําให้ผู้จะขาย หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญา หากผู้จะขายไม่ชดใช้ค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายตามที่ผู้จะซื้อเรียกร้อง ผู้จะซื้อมีสิทธิบังคับจากหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาได้
ข้อ ๙ หลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา
ในขณะทําสัญญานี้ผู้จะขายได้นําหลักประกันเป็น………...............(13)……………..…....
เป็นจํานวนเงิน…………….......บาท (……………..……..….) ซึ่งเท่ากับร้อยละ..……(14)….…( )
ของราคาทั้งหมดตามสัญญา มามอบให้แก่ผู้จะซื้อเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญานี้
(15) กรณีผู้จะขายใช้หนังสือค้ําประกันมาเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา หนังสือค้ําประกันดังกล่าวจะต้องออกโดยธนาคารที่ประกอบกิจการในประเทศไทย หรือโดยบริษัทเงินทุน หรือ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจ ค้ําประกันตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทย แจ้งเวียนให้ทราบตามแบบที่คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐกําหนด หรืออาจเป็นหนังสือค้ําประกันอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนดก็ได้ และจะต้องมีอายุ การค้ําประกันตลอดไปจนกว่าผู้จะขายพ้นข้อผูกพันตามสัญญานี้
หลักประกันที่ผู้จะขายนํามามอบให้ตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีอายุครอบคลุมความรับผิด ทั้งปวงของผู้จะขายตลอดอายุสัญญา ถ้าหลักประกันที่ผู้จะขายนํามามอบให้ดังกล่าวลดลงหรือเสื่อมค่าลง หรือมีอายุไม่ครอบคลุมถึงความรับผิดของผู้จะขายตลอดอายุสัญญา ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม รวมถึงกรณี ผู้จะขายส่งมอบสิ่งของล่าช้าเป็นเหตุให้ระยะเวลาส่งมอบหรือวันครบกําหนดความรับผิดในความชํารุดบกพร่อง ตามสัญญาเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเกิดขึ้นคราวใด ผู้จะขายต้องหาหลักประกันใหม่หรือหลักประกันเพิ่มเติม ให้มีจํานวนครบถ้วนตามวรรคหนึ่งมามอบให้แก่ผู้จะซื้อภายใน..............(. ) วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้ง
เป็นหนังสือจากผู้จะซื้อ
หลักประกันที่ผู้จะขายนํามามอบไว้ตามข้อนี้ ผู้จะซื้อจะคืนให้แก่ผู้จะขายโดยไม่มีดอกเบี้ย เมื่อผู้จะขายพ้นจากข้อผูกพันและความรับผิดทั้งปวงตามสัญญานี้แล้ว
ข้อ ๑๐ การบอกเลิกสัญญา
ถ้าผู้จะขายไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อใดข้อหนึ่ง หรือเมื่อครบกําหนดส่งมอบสิ่งของ ตามใบสั่งซื้อ หากผู้จะขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงจะขายให้แก่ผู้จะซื้อหรือส่งมอบไม่ถูกต้องหรือไม่ครบจํานวน ผู้จะซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้ การใช้สิทธิบอกเลิกสัญญานั้นไม่กระทบสิทธิของ ผู้จะซื้อที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้จะขาย
ในกรณีที่ผู้จะซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้จะซื้อมีสิทธิริบหรือบังคับจากหลักประกัน ตามข้อ ๙ เป็นจํานวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ แล้วแต่ผู้จะซื้อจะเห็นสมควร และถ้าผู้จะซื้อ จัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจํานวนหรือเฉพาะจํานวนที่ขาดส่ง แล้วแต่กรณี ภายในกําหนด…(16).… ( ) เดือน นับถัดจากวันบอกเลิกสัญญา ผู้จะขายจะต้องชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กําหนดไว้
ในสัญญานี้ด้วย
ข้อ ๑๑ ค่าปรับ
ในกรณีที่ผู้จะซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ ๑๐ ผู้จะขายจะต้องชําระค่าปรับให้ ผู้จะซื้อเป็นรายวัน ในอัตราร้อยละ…..….(17)….....(… ) ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ
นับถัดจากวันครบกําหนดส่งมอบตามใบสั่งซื้อจนถึงวันที่ผู้จะขายได้นําสิ่งของมาส่งมอบให้แก่ผู้จะซื้อจนถูกต้อง ครบถ้วนตามใบสั่งซื้อ หรือจนถึงวันที่ผู้จะซื้อได้ซื้อสิ่งของตามใบสั่งซื้อนั้นจากบุคคลอื่น ในกรณีนี้ผู้จะขาย ยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กําหนดไว้ในสัญญาด้วย ซึ่งผู้จะขายตกลงให้ผู้จะซื้อหักเงินค่าปรับ
และราคาที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจากราคาสิ่งของที่จะต้องชําระตามใบสั่งซื้อคราวใดก็ได้ หรือให้ผู้จะซื้อเรียกร้องจาก ผู้จะขายตามข้อ ๑๒ หรือจะบังคับจากหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาตามข้อ ๙ ก็ได้ ตามที่ผู้จะซื้อ จะเห็นสมควร
การคิดค่าปรับในกรณีสิ่งของที่ตกลงจะซื้อจะขายประกอบกันเป็นชุด แต่ผู้จะขายส่งมอบ เพียงบางส่วนหรือขาดส่วนประกอบส่วนหนึ่งส่วนใดไป ทําให้ไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ ให้ถือว่ายังไม่ได้ ส่งมอบสิ่งของนั้นเลย และให้คิดค่าปรับจากราคาสิ่งของเต็มทั้งชุด
ในระหว่างที่ผู้จะซื้อยังมิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญานั้น หากผู้จะซื้อเห็นว่าผู้จะขายไม่อาจ ปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้จะซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา และริบหรือบังคับจากหลักประกันการปฏิบัติ ตามสัญญาตามข้อ ๙ กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กําหนดไว้ในข้อ ๑๐ วรรคสอง ก็ได้ และถ้าผู้จะซื้อได้แจ้งข้อเรียกร้องให้ชําระค่าปรับไปยังผู้จะขายเมื่อครบกําหนดส่งมอบตามใบสั่งซื้อแล้ว ผู้จะซื้อ มีสิทธิที่จะปรับผู้จะขายจนถึงวันบอกเลิกสัญญาได้อีกด้วย
ข้อ ๑๒ การบังคับค่าปรับ ค่าเสียหาย และค่าใช้จ่าย
ในกรณีที่ผู้จะขายไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อใดข้อหนึ่งด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม จนเป็นเหตุ ให้เกิดค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายแก่ผู้จะซื้อ ผู้จะขายต้องชดใช้ค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายดังกล่าว ให้แก่ผู้จะซื้อโดยสิ้นเชิงภายในกําหนด....................(. ) วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจาก
ผู้จะซื้อ หากผู้จะขายไม่ชดใช้ให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาดังกล่าวให้ผู้จะซื้อมีสิทธิที่จะหักเอาจาก จํานวนเงินค่าสิ่งของที่จะซื้อจะขายที่ต้องชําระ หรือบังคับจากหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาได้ทันที
หากค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายที่บังคับจากเงินค่าสิ่งของที่จะซื้อจะขายที่ต้อง ชําระ หรือหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาแล้วยังไม่เพียงพอ ผู้จะขายยินยอมชําระส่วนที่เหลือที่ยังขาดอยู่ จนครบถ้วนตามจํานวนค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายนั้น ภายในกําหนด......................(. ) วัน
นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้จะซื้อ
หากมีเงินค่าสิ่งของที่จะซื้อจะขายตามสัญญาที่หักไว้จ่ายเป็นค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายแล้วยังเหลืออยู่อีกเท่าใด ผู้จะซื้อจะคืนให้แก่ผู้จะขายทั้งหมด
ข้อ ๑๓ การงดหรือลดค่าปรับ หรือขยายเวลาส่งมอบ
ในกรณีที่มีเหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของฝ่ายผู้จะซื้อ หรือเหตุสุดวิสัย หรือเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่ผู้จะขายไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย หรือเหตุอื่นตามที่กําหนด ในกฎกระทรวง ซึ่งออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ทําให้ ผู้จะขายไม่สามารถส่งมอบสิ่งของตามเงื่อนไขและกําหนดเวลาแห่งสัญญานี้ได้ ผู้จะขายมีสิทธิของดหรือ ลดค่าปรับหรือขยายเวลาส่งมอบตามสัญญาได้ โดยจะต้องแจ้งเหตุหรือพฤติการณ์ดังกล่าวพร้อมหลักฐาน เป็นหนังสือให้ผู้จะซื้อทราบภายใน ๑๕ (สิบห้า) วัน นับถัดจากวันที่เหตุนั้นสิ้นสุดลง หรือตามที่กําหนด ในกฎกระทรวงดังกล่าว
ถ้าผู้จะขายไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามความในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้จะขายได้สละสิทธิ เรียกร้องในการที่จะของดหรือลดค่าปรับหรือขยายเวลาส่งมอบตามสัญญา โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น เว้นแต่ กรณีเหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของฝ่ายผู้จะซื้อซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้งหรือผู้จะซื้อทราบดีอยู่แล้ว ตั้งแต่ต้น
การงดหรือลดค่าปรับหรือขยายเวลาส่งมอบตามสัญญาตามวรรคหนึ่งอยู่ในดุลพินิจ ของผู้จะซื้อที่จะพิจารณาตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๑๔ การใช้เรือไทย
ถ้าสิ่งของที่จะต้องส่งมอบให้ผู้จะซื้อตามสัญญานี้เป็นสิ่งของที่ผู้จะขายจะต้องสั่ง หรือนําเข้ามาจากต่างประเทศ และสิ่งของนั้นต้องนําเข้ามาโดยทางเรือในเส้นทางเดินเรือที่มีเรือไทยเดินอยู่ และสามารถให้บริการรับขนได้ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมประกาศกําหนด ผู้จะขายต้องจัดการให้ สิ่งของดังกล่าวบรรทุกโดยเรือไทยหรือเรือที่มีสิทธิเช่นเดียวกับเรือไทยจากต่างประเทศมายังประเทศไทย เว้น แต่จะได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่าก่อนบรรทุกของนั้นลงเรืออื่นที่มิใช่เรือไทยหรือเป็นของที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคมประกาศยกเว้นให้บรรทุกโดยเรืออื่นได้ ทั้งนี้ไม่ว่าการสั่งหรือนําเข้าสิ่งของดังกล่าว จาก ต่างประเทศเป็นแบบใด
ในการส่งมอบสิ่งของตามสัญญาให้แก่ผู้จะซื้อ ถ้าสิ่งของนั้นเป็นสิ่งของตามวรรคหนึ่งผู้จะ ขายจะต้องส่งมอบใบตราส่ง (Bill of Lading) หรือสําเนาใบตราส่งสําหรับของนั้น ซึ่งแสดงว่าได้บรรทุกมาโดย เรือไทยหรือเรือที่มีสิทธิเช่นเดียวกับเรือไทยให้แก่ผู้จะซื้อพร้อมกับการส่งมอบสิ่งของด้วย
ในกรณีที่สิ่งของดังกล่าวไม่ได้บรรทุกจากต่างประเทศมายังประเทศไทยโดยเรือไทยหรือ เรือที่มีสิทธิเช่นเดียวกับเรือไทย ผู้จะขายต้องส่งมอบหลักฐานซึ่งแสดงว่าได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่าให้บรรทุกของ โดยเรืออื่นได้หรือหลักฐานซึ่งแสดงว่าได้ชําระค่าธรรมเนียมพิเศษเนื่องจากการไม่บรรทุกของโดยเรือไทยตาม กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพาณิชยนาวีแล้วอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ผู้จะซื้อด้วย
ในกรณีที่ผู้จะขายไม่ส่งมอบหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวในวรรคสองและ วรรค สามให้แก่ผู้จะซื้อแต่จะขอส่งมอบสิ่งของดังกล่าวให้ผู้จะซื้อก่อนโดยยังไม่รับชําระเงินค่าสิ่งของ ผู้จะซื้อ มีสิทธิ รับสิ่งของดังกล่าวไว้ก่อนและชําระเงินค่าสิ่งของเมื่อผู้จะขายได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนดังกล่าวแล้วได้
สัญญานี้ทําขึ้นสองฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกัน คู่สัญญาได้อ่านและเข้าใจข้อความโดยละเอียด ตลอดแล้ว จึงได้ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตรา (ถ้ามี) ไว้เป็นสําคัญต่อหน้าพยานและคู่สัญญาต่างยึดถือไว้ ฝ่ายละหนึ่งฉบับ
(ลงชื่อ)… ผู้จะซื้อ
(……........…...…………………….)
(ลงชื่อ)… ผู้จะขาย
(……..............…………………….)
(ลงชื่อ)… พยาน
(……........……...………………….)
(ลงชื่อ)… พยาน
(……........…….…………………….)
วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับสัญญาจะซื้อจะขายแบบราคาคงที่ไม่จํากัดปริมาณ
(๑) ให้ระบุเลขที่สัญญาในปีงบประมาณหนึ่งๆ ตามลําดับ
(๒) ให้ระบุชื่อของหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เช่น กรม ก. หรือรัฐวิสาหกิจ ข. เป็นต้น
(๓) ให้ระบุชื่อและตําแหน่งของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลนั้น หรือผู้ที่ได้รับมอบอํานาจ เช่น นาย ก. อธิบดีกรม……………… หรือ นาย ข. ผู้ได้รับมอบอํานาจจากอธิบดีกรม………………..
(๔) ให้ระบุชื่อผู้จะขาย
ก. กรณีนิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจํากัด บริษัทจํากัด ข. กรณีบุคคลธรรมดา ให้ระบุชื่อและที่อยู่
(๕) เป็นข้อความหรือเงื่อนไขเพิ่มเติม ซึ่งหน่วยงานของรัฐผู้ทําสัญญาอาจเลือกใช้หรือตัดออก ได้ตามข้อเท็จจริง
(๖) เป็นข้อความหรือเงื่อนไขเพิ่มเติม ซึ่งหน่วยงานของรัฐผู้ทําสัญญาอาจเลือกใช้หรือตัดออก ได้ตามข้อเท็จจริง
(๗) ให้ระบุว่าเป็นการจะซื้อจะขายสิ่งของตามตัวอย่าง หรือรายการละเอียด หรือแค็ตตาล็อก หรือแบบรูปรายการ หรืออื่น ๆ (ให้ระบุ)
(๘) เป็นข้อความหรือเงื่อนไขเพิ่มเติม ซึ่งหน่วยงานของรัฐผู้ทําสัญญาอาจเลือกใช้หรือตัดออก ได้ตามข้อเท็จจริง
(9) เป็นข้อความหรือเงื่อนไขเพิ่มเติม ซึ่งหน่วยงานของรัฐผู้ทําสัญญาอาจเลือกใช้หรือตัดออก ได้ตามข้อเท็จจริง
(10) เป็นข้อความหรือเงื่อนไขเพิ่มเติม ซึ่งหน่วยงานของรัฐผู้ทําสัญญาอาจเลือกใช้หรือตัดออก ได้ตามข้อเท็จจริง
(11) เป็นข้อความหรือเงื่อนไขเพิ่มเติม ซึ่งหน่วยงานของรัฐผู้ทําสัญญาอาจเลือกใช้หรือตัดออก ได้ตามข้อเท็จจริง
(12) ระยะเวลารับประกันและระยะเวลาแก้ไขซ่อมแซมจะกําหนดเท่าใด แล้วแต่ลักษณะของสิ่งของที่ จะซื้อจะขายกัน โดยให้อยู่ในดุลพินิจของผู้จะซื้อ ทั้งนี้ จะต้องประกาศให้ทราบในเอกสารเชิญชวนด้วย
(13) “หลักประกัน” หมายถึง หลักประกันที่ผู้จะขายนํามามอบไว้แก่หน่วยงานของรัฐ เมื่อลงนามใน สัญญา เพื่อเป็นการประกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามสัญญา ดังนี้
(๑) เงินสด
(๒) เช็คหรือดราฟท์ที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คหรือดราฟท์ลงวันที่ที่ใช้เช็คหรือ ดราฟท์ นั้นชําระต่อเจ้าหน้าที่ หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน ๓ วันทําการ
(๓) หนังสือคํ้าประกันของธนาคารภายในประเทศตามตัวอย่างที่คณะกรรมการ นโยบาย กําหนด โดยอาจเป็นหนังสือค้ําประกันอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนดก็ได้
(๔) หนังสือค้ําประกันของบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ําประกันตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ทราบ โดยอนุโลมให้ใช้ตามตัวอย่างหนังสือค้ํา ประกันของธนาคารที่คณะกรรมการนโยบายกําหนด
(๕) พันธบัตรรัฐบาลไทย
(14) ให้กําหนดจํานวนเงินหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๑๖๘
(15) เป็นข้อความหรือเงื่อนไขเพิ่มเติม ซึ่งหน่วยงานของรัฐผู้ทําสัญญาอาจเลือกใช้หรือตัดออก ได้ตามข้อเท็จจริง
(16) กําหนดเวลาที่ผู้จะซื้อจะซื้อสิ่งของจากแหล่งอื่นเมื่อบอกเลิกสัญญาและมีสิทธิเรียกเงินในส่วนที่ เพิ่มขึ้นจากราคาที่กําหนดไว้ในสัญญานั้น ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้จะซื้อโดยตกลงกับผู้จะขาย และโดยปกติแล้ว ไม่ควรเกิน ๓ เดือน
(17) อัตราค่าปรับตามสัญญาข้อ ๑๑ ให้กําหนดเป็นรายวันในอัตราระหว่างร้อยละ ๐.๑๐-๐.๒๐ ตาม ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๑๖๒ ส่วนกรณี จะปรับร้อยละเท่าใด ให้อยู่ในดุลพินิจของหน่วยงานของรัฐผู้จะซื้อที่จะพิจารณา โดยคํานึงถึงราคาและลักษณะ ของพัสดุที่จะซื้อจะขาย ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการที่ผู้จะขายจะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสัญญาแต่ทั้งนี้การที่จะ กําหนดค่าปรับเป็นร้อยละเท่าใด จะต้องกําหนดไว้ในเอกสารเชิญชวนด้วย
ภาคผนวก ข (ประเมินแบบออนไลน์)
แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการซ่อมยานพาหนะ เครื่องจักรกล เครื่องทุ่นแรง และเครื่องปรับอากาศ กองโรงงานช่างกล
เรื่อง แบบสอบถามนี้จัดทําขึ้นเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการต่องานบริการซ่อมยานพาหนะฯ ซึ่ง ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
คําชี้แจง กรุณาทําเครื่องหมาย √ ลงในช่องที่ท่านเห็นว่าตรงกับความเป็นจริงของท่าน สถานภาพ ( ) ข้าราชการ ( ) ลูกจ้างประจํา ( ) ลูกจ้างชั่วคราว ( ) อื่นๆ................
ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจต่อการซ่อมยานพาหนะฯ กองโรงงานช่างกล
คําชี้แจง กรุณาทําเครื่องหมาย √ ลงในช่องที่ท่านเห็นว่าตรงกับความคิดเห็นของท่านมากที่สุด
ประเด็นการให้บริการ | ระดับความพึงพอใจ | ||||
5 (มาก ที่สุด) | 4 (มาก) | 3 (ปานกลาง) | 2 (น้อย) | 1 (น้อย ที่สุด) | |
1.ด้านคุณภาพในการให้บริการซ่อมบํารุง | |||||
1.1 การติดต่อแจ้งซ่อม สะดวก รวดเร็ว | |||||
1.2 ระยะเวลาที่ใช้ในการซ่อมตรงตามเวลาที่นัดหมาย | |||||
1.3 ทักษะ/ ความเชี่ยวชาญในการซ่อมบํารุง | |||||
1.4 คุณภาพของงานที่ซ่อม | |||||
2.ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ | |||||
2.1 กิริยาวาจาสุภาพ เป็นมิตร และยิ้มแย้มแจ่มใส | |||||
2.2 มีความเอาใจใส่ กระตือรือร้น และเต็มใจ ให้บริการ | |||||
2.3 ให้บริการด้วยความเสมอภาคตามลําดับ ก่อน – หลัง | |||||
2.4 มีความรู้ ความสามารถในการให้คําแนะนํา แก้ปัญหา และตอบข้อซักถามได้อย่างถูกต้อง |
ส่วนที่ 3 ความคิดเห็น/ ข้อเสนอแนะอื่นๆ
............................................................................................................................. ..................................................
...............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ..................................................