การทําสัญญา ขั้นตอนการทําสัญญา ข้อกำหนดตัวอย่าง

การทําสัญญา ขั้นตอนการทําสัญญา. 1. ส่วนราชการจะต้องจัดเตรียมสัญญา และมีหนังสือแจ้งให้ผู้รับจ้างเข้ามาทําสัญญา 2. ผู้รับจ้างเตรียมหลักประกัน เพื่อทําสัญญา โดยผู้รับจ้างยื่นหลักประกันสัญญาและ ลงนามในสัญญา ในการทําสัญญาจ้าง ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยปกติแล้ว ส่วนราชการจะต้องทําสัญญาตามตัวอย่างที่ กวพ. กําหนด ซึ่งตามตัวอย่างสัญญาได้มีเงื่อนไขกําหนดให้ผู้รับจ้างต้องนําหลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใดตามระเบียบ ฯ ข้อ 141 มามอบให้แก่ส่วนราชการ ผู้ว่าจ้างในขณะทําสัญญา ในกรณีที่ผู้รับจ้างเลือกใช้หนังสือ ค้ําประกันของธนาคารภายในประเทศ มักจะมีปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการออกหนังสือค้ําประกัน ของธนาคาร เช่น หนังสือค้ําประกันมิได้ลงวันที่ หรือลงวันที่ย้อนหลัง เป็นต้น กวพ. จึงมีหนังสือซ้อม ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในกรณีการออกหนังสือค้ําประกัน (หลักประกันสัญญา) ของ ธนาคารภายในประเทศว่า ในกรณีที่ผู้รับจ้างจะเลือกใช้หนังสือค้ําประกันของธนาคารภายในประเทศ ตามตัวอย่างที่ กวพ. กําหนด มาเป็นหลักประกันสัญญา ผู้รับจ้างย่อมจะต้องให้ธนาคารผู้ออกหนังสือ ค้ําประกัน จัดทําหนังสือค้ําประกันในวันทําสัญญาหรือก่อนวันทําสัญญาว่าจ้าง ดังนั้น โดยหลักการ ปฏิบัติที่ถูกต้อง ในการทําสัญญาส่วนราชการผู้ว่าจ้าง จึงควรจะต้องพิมพ์ร่างสัญญาให้สมบูรณ์ พร้อม กับกําหนดวันทําสัญญาว่าจ้าง นัดหมายกับผู้รับจ้างล่วงหน้าว่าจะมีการทําสัญญาในวันใด และจะมี เลขที่สัญญาเป็นเลขที่เท่าใด เพื่อให้ผู้รับจ้างได้นําร่างสัญญาไปออกหนังสือค้ําประกันของธนาคาร และธนาคาร ผู้ออกหนังสือค้ําประกันย่อมจะสามารถกรอกข้อความในหนังสือค้ําประกันได้อย่าง สมบูรณ์ครบถ้วน การนําหลักประกันซองมาใช้เป็นหลักประกันสัญญา คณะกรรมการว่าด้วยการ พัสดุ (กวพ.) ได้อนุมัติยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมกรณีที่ผู้เสนอราคาที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าทําสัญญานําหลักประกันซอง ได้แก่ เงินสด หรือเช็คที่ธนาคารสั่งจ่ายซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ที่ใช้เช็คชําระต่อเจ้าหน้าที่หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน 3 วันทําการ ซึ่งส่วนราชการได้นําเข้าบัญชีเงินฝาก ประเภทเงินนอกงบประมาณของส่วนราชการไว้แล้ว วิธีการปฏิบัติ ส่วนราชการสามารถดําเนินการได้ดังนี้ 1) ผู้เสนอราคาที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าทําสัญญากับทางราชการแจ้งความ ประสงค์จะนําหลักประกันซองดังกล่าว มาใช้เป็นหลักประกันสัญญา 2) ส่วนราชการคู่สัญญาดําเนินการทําหลักฐานการคืนหลักประกันซองพร้อม ทั้งจัดทําหลักฐานการวางหลักประกันสัญญาให้แก่คู่สัญญา ให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียวกันกับวันทํา สัญญา สัญญา 3) คู่สัญญานําหลักประกันซอง (เพิ่ม-ลด) มาวางให้เท่ากับวงเงินหลักประกัน 3.1) ในกรณีที่เงินสดหรือเช็คที่ธนาคารสั่งจ่ายที่นําเข้าบัญชีเงินฝากของ ส่วนราชการที่ใช้เป็นหลักประกันซองน้อยกว่าหลักประกันสัญญาให้นํา หลักประกันซองตามระเบียบฯข้อ141 มาวางให้เท่ากับวงเงินหลักประกัน...

Related to การทําสัญญา ขั้นตอนการทําสัญญา

  • การทําสัญญาจ้าง ผู้ชนะการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์จะต้องทําสัญญาจ้างตามแบบสัญญา ดังระบุในข้อ ๑.๓ หรือทําข้อตกลงเป็นหนังสือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใน ๗ วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้ง และจะต้องวาง หลักประกันสัญญาเป็นจํานวนเงินเท่ากับร้อยละ ๕ ของราคาค่าจ้างที่ประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ได้ ให้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยึดถือไว้ในขณะทําสัญญา โดยใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ๖.๑ เงินสด ๖.๒ เช็คหรือดราฟท์ที่ธนาคารสั่งจ่ายให้แก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นเช็คลงวันที่ที่ ทําสัญญา หรือก่อนหน้านั้น ไม่เกิน ๓ วัน ทําการของทางราชการ ๖.๓ หนังสือค้ําประกันของธนาคารภายในประเทศ ตามแบบหนังสือค้ําประกัน ดังระบุในข้อ ๑.๔ (๒) หรือจะเป็นหนังสือค้ําประกันอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนด ๖.๔ หนังสือค้ําประกันของบริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ําประกัน ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ตาม รายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ทราบ โดยอนุโลมให้ใช้ตามตัวอย่างหนังสือค้ําประกันของ ธนาคารที่คณะกรรมการนโยบายกําหนด ดังระบุในข้อ ๑.๔ (๒) ๖.๕ พันธบัตรรัฐบาลไทย หลักประกันนี้จะคืนให้ โดยไม่มีดอกเบี้ยภายใน ๑๕ วันนับถัดจากวันที่ผู้ชนะการประกวดราคา อิเล็กทรอนิกส์ (ผู้รับจ้าง) พ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาจ้างแล้ว

  • การทําสัญญาจ้างก่อสร้าง ผู้ชนะการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์จะต้องทำสัญญาจ้างตามแบบสัญญา ดังระบุ ในข้อ ๑.๓ หรือทำข้อตกลงเป็นหนังสือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใน ๗ วัน นับถัดจากวันที่ได้รับ แจ้ง และจะต้องวางหลักประกันสัญญาเป็นจำนวนเงินเท่ากับร้อยละ ๕ ของราคาค่าจ้างที่ประกวดราคา อิเล็กทรอนิกส์ ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ยึดถือไว้ในขณะทำสัญญาโดยใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ ๖.๒ เงินสด เช็คหรือดราฟท์ที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คหรือดราฟท์ลงวันที่ที่ใช้เช็คหรือ ดราฟท์นั้น ชำระต่อเจ้าหน้าที่ในวันทำสัญญา หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน ๓ วันทำการ ๖.๓ หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศ ตามตัวอย่างที่คณะกรรมการ นโยบายกำหนด ดังระบุในข้อ ๑.๔ (๒) หรือจะเป็นหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลาง กำหนด ๖.๔ หนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาต ให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ำประกันตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศ ไทย ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ทราบ โดยอนุโลมให้ใช้ตามตัวอย่าง หนังสือค้ำประกันของธนาคารที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด ดังระบุในข้อ ๑.๔ (๒) ๖.๕ พันธบัตรรัฐบาลไทย หลักประกันนี้จะคืนให้ โดยไม่มีดอกเบี้ยภายใน ๑๕ วันนับถัดจากวันที่ผู้ชนะการ ประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (ผู้รับจ้าง) พ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาจ้างแล้ว

  • การบอกเลิกสัญญา ถ้าผู้ขายไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อใดข้อหนึ่ง หรือเมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้ว หาก ผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อหรือส่งมอบไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาทั้งหมดหรือ แต่บางส่วนได้ การใช้สิทธิบอกเลิกสัญญานั้นไม่กระทบสิทธิของผู้ซื้อที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ขาย ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธบิ อกเลิกสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิริบหรือบังคับจากหลักประกัน ตาม (ข้อ ๖ และ) ข้อ ๘ เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร และถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวน หรือเฉพาะจำนวนที่ขาดส่ง แล้วแต่กรณี ภายในกำหนด ๑๕ (สิบห้า) วัน นบั ถัดจากวันบอกเลิกสัญญา ผู้ขายจะต้องชดใช้ราคา ที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วย

  • การงดหรือลดค่าปรับ หรือการขยายเวลาปฏิบัติงานตามสัญญา ในกรณีที่มีเหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของฝ่ายผู้ว่าจ้าง หรือเหตุสุดวิสัย หรือเกิด จากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย หรือเหตุอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ซึ่งออก ตามความในกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ทําให้ผู้รับจ้างไม่สามารถทํางานให้แล้ว เสร็จตามเงื่อนไขและกําหนดเวลาแห่งสัญญานี้ได้ ผู้รับจ้างจะต้องแจ้งเหตุหรือพฤติการณ์ดังกล่าวพร้อมหลักฐานเป็น หนังสือให้ผู้ว่าจ้างทราบ เพื่อของดหรือลดค่าปรับ หรือขยายเวลาทํางานออกไปภายใน 15 (สิบห้า) วันนับถัดจากวันที่ เหตุนั้นสิ้นสุดลง หรือตามที่กําหนดในกฎกระทรวงดังกล่าว แล้วแต่กรณี ถ้าผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามความในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้รับจ้างได้สละสิทธิเรียกร้องใน การที่ จะของดหรือลดค่าปรับ ห รือ ขยายเวลาทํางานออกไป โดยไม่ มี เงื่อ น ไขใด ๆ ทั้ งสิ้ น เว้น แ ต่ กรณีเหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของฝ่ายผู้ว่าจ้างซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้งหรือผู้ว่าจ้างทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น การงดหรือลดค่าปรับ หรือขยายกําหนดเวลาทํางานตามวรรคหนึ่ง อยู่ในดุลพินิจของผู้ว่าจ้างที่ จะพิจารณาตามที่เห็นสมควร

  • หลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา ในขณะทําสัญญานี้ผู้รับจ้างได้นําหลักประกันเป็น…………..…...…..…....………..……… เป็นจํานวนเงิน ……......…....บาท (………….…..………….) ซึ่งเท่ากับร้อยละ 5 (ร้อยละห้า) ของราคาค่าจ้างตามสัญญา มามอบ ให้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญานี้ กรณีผู้รับจ้างใช้หนังสือค้ําประกันมาเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา หนังสือค้ําประกัน ดังกล่าวจะต้องออกโดยธนาคารที่ประกอบกิจการในประเทศไทย หรือโดยบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ําประกันตามประกาศของธนาคารแห่ง ประเทศไทย ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ทราบตามแบบที่คณะกรรมการ นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐกําหนด หรืออาจเป็นหนังสือค้ําประกันอิเล็กทรอนิกส์ตาม วิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนดก็ได้ และจะต้องมีอายุการค้ําประกันตลอดไปจนกว่าผู้รับจ้างพ้นข้อผูกพันตามสัญญา นี้ หลักประกันที่ผู้รับจ้างนํามามอบให้ตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีอายุครอบคลุมความรับผิดทั้งปวงของผู้ รับจ้างตลอดอายุสัญญา ถ้าหลักประกันที่ผู้รับจ้างนํามามอบให้ดังกล่าวลดลงหรือเสื่อมค่าลง หรือมีอายุไม่ครอบคลุม ถึงความรับผิดของผู้รับจ้างตลอดอายุสัญญา ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม รวมถึงกรณี ผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้าเป็นเหตุ ให้ระยะเวลาแล้วเสร็จหรือวันครบกําหนดความรับผิดในความชํารุดบกพร่องตามสัญญาเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเกิดขึ้น คราวใด ผู้รับจ้างต้องหาหลักประกันใหม่หรือหลักประกันเพิ่มเติมให้มีจํานวนครบถ้วนตามวรรคหนึ่งมามอบให้แก่ ผู้ว่าจ้างภายใน 7 วัน (เจ็ดวัน) นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง หลักประกันที่ผู้รับจ้างนํามามอบไว้ตามข้อนี้ ผู้ว่าจ้างจะคืนให้แก่ผู้รับจ้างโดยไม่มีดอกเบี้ยเมื่อ ผู้รับจ้างพ้นจากข้อผูกพันและความรับผิดทั้งปวงตามสัญญานี้แล้ว

  • เอกสารอันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา เอกสารแนบท้ายสัญญาดังต่อไปนี้ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญานี้ ๒.๑ ผนวก ๑ .…….….(แบบรูป)……........…......….......….. จํานวน.…..( ) หน้า ๒.๒ ผนวก ๒ ………...(รายการละเอียด)…….....……....... จํานวน.…..( ) หน้า ๒.๓ ผนวก ๓ …........(ใบแจ้งปริมาณงานและราคา)...... จํานวน.…..( ) หน้า ๒.๔ ผนวก ๔ ……….(ใบเสนอราคา)….........…………....... จํานวน.…..( ) หน้า …………..……………..……ฯลฯ……….………..…………… ความใดในเอกสารแนบท้ายสัญ ญ าที่ ขั ดห รื อแย้ งกั บ ข้ อความในสัญ ญ านี้ ให้ ใช้ ข้ อความ ในสัญญานี้บังคับ และในกรณีที่เอกสารแนบท้ายสัญญาขัดแย้งกันเอง ผู้รับจ้างจะต้องปฏิบัติตามคําวินิจฉัยของผู้ ว่าจ้าง คําวินิจฉัยของผู้ว่าจ้างให้ถือเป็นที่สุด และผู้รับจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้าง ค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติมจากผู้ว่าจ้างทั้งสิ้น

  • การใช้เรือไทย ในการปฏิบัติตามสัญญานี้ หากผู้รับจ้างจะต้องสั่งหรือนําของเข้ามาจากต่างประเทศรวมทั้ง เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ต้องนําเข้ามาเพื่อปฏิบัติงานตามสัญญา ไม่ว่าผู้รับจ้างจะเป็นผู้ที่นําของเข้ามาเองหรือนําเข้ามา โดยผ่านตัวแทนหรือบุคคลอื่นใด ถ้าสิ่งของนั้นต้องนําเข้ามาโดยทางเรือในเส้นทางเดินเรือที่มีเรือไทยเดินอยู่และ สามารถให้บริการรับขนได้ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมประกาศกําหนด ผู้รับจ้างต้องจัดการให้สิ่งของ ดังกล่าวบรรทุกโดยเรือไทยหรือเรือที่มีสิทธิเช่นเดียวกับเรือไทยจากต่างประเทศมายังประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับ อนุญาตจากกรมเจ้าท่าก่อนบรรทุกของนั้นลงเรืออื่นที่มิใช่เรือไทยหรือเป็นของที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประกาศยกเว้นให้บรรทุกโดยเรืออื่นได้ ทั้งนี้ไม่ว่าการสั่งหรือนําเข้าสิ่งของดังกล่าวจากต่างประเทศจะเป็นแบบใด ในการส่งมอบงานตามสัญญาให้แก่ผู้ว่าจ้าง ถ้างานนั้นมีสิ่งของตามวรรคหนึ่ง ผู้รับจ้างจะต้อง ส่งมอบใบตราส่ง (Bill of Lading) หรือสําเนาใบตราส่งสําหรับของนั้น ซึ่งแสดงว่าได้บรรทุกมาโดยเรือไทยหรือเรือที่ มีสิทธิเช่นเดียวกับเรือไทยให้แก่ผู้ว่าจ้างพร้อมกับการส่งมอบงานด้วย ในกรณีที่สิ่งของดังกล่าวไม่ได้บรรทุกจากต่างประเทศมายังประเทศไทยโดยเรือไทยหรือเรือที่มี สิทธิเช่นเดียวกับเรือไทย ผู้รับจ้างต้องส่งมอบหลักฐานซึ่งแสดงว่าได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่า ให้บรรทุกของโดยเรือ อื่นได้หรือหลักฐานซึ่งแสดงว่าได้ชําระค่าธรรมเนียมพิเศษเนื่องจากการไม่บรรทุกของโดยเรือไทยตามกฎหมายว่า ด้วยการส่งเสริมการพาณิชยนาวีแล้วอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ผู้ว่าจ้างด้วย ในกรณีที่ผู้รับจ้างไม่ส่งมอบหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวในวรรคสองและวรรคสามให้แก่ ผู้ว่าจ้าง แต่จะขอส่งมอบงานดังกล่าวให้ผู้ว่าจ้างก่อนโดยไม่รับชําระเงินค่าจ้าง ผู้ว่าจ้างมีสิทธิรับงานดังกล่าวไว้ก่อน และชําระเงินค่าจ้างเมื่อผู้รับจ้างได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนดังกล่าวแล้วได้

  • เชิงคุณภาพ ลงชื่อ........................................................................

  • การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการ สำนักงาน สามารถนำผลการปฏิบัติงานแล้วเสร็จตามสัญญาของผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้รับการ คัดเลือกให้เป็นผู้รับจ้างเพื่อนำมาประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการ

  • การจ้างช่วง ผู้รับจ้างจะต้องไม่เอางานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแห่งสัญญานี้ไปจ้างช่วงอีกทอดหนึ่ง เว้นแต่การจ้างช่วงงาน แต่บางส่วนที่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้างแล้ว การที่ผู้ว่าจ้างได้อนุญาตให้จ้างช่วงงานแต่บางส่วนดังกล่าวนั้น ไม่เป็นเหตุให้ ผู้รับจ้างหลุดพ้นจาก ความรับผิดหรือพันธะหน้าที่ตามสัญญานี้ และผู้รับจ้างจะยังคงต้องรับผิดในความผิดและความประมาทเลินเล่อ ของผู้รับจ้างช่วง หรือของตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้รับจ้างช่วงนั้นทุกประการ กรณีผู้รับจ้างไปจ้างช่วงงานแต่บางส่วนโดยฝ่าฝืนความในวรรคหนึ่ง ผู้รับจ้างต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็น จำนวนเงินในอัตราร้อยละ ๑๐ (สิบ) ของวงเงินของงานที่จ้างช่วงตามสัญญา ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้ว่าจ้างในการบอกเลิกสัญญา