ความต้องการทางด้านเทคนิค ข้อกำหนดตัวอย่าง

ความต้องการทางด้านเทคนิค. 2.1 ระบบขับเคลื่อนลิฟต์ต้องเป็นชนิด Ac Gear หรือ Ac Gearless Traction Motor มีการปรับเปลี่ยน ความเร็วมอเตอร์ โดยใช้ระบบเปลี่ยนระดับแรงดันไฟฟ้าและความถี่ไฟฟ้า (Variable Voltage Variable Frequency) ซึ่งใช้ Thyristor Converter และ Thyristor Inverter หรือตามที่ระบุใน Specification Sheet โดยระบบควบคุมใช้ Micro-Computer เป็นวงจร Regulator ได้
ความต้องการทางด้านเทคนิค. 3.1 ตู้ควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ 1. ตู้ควบคุมต้องรองรับการเดินสายแบบ Class A หรือ Class B และสามารถรองรับการเดินสาย แบบ Addressable Loop (Multiplex) อย่างน้อย 2 Loops 2. ระบบต้องสามารถใช้โมดูลเพื่อรองรับการเดินสายไปยังอุปกรณ์เริ่มสัญญาณและอุปกรณ์ แจ้งสัญญาณได้ 3. สามารถรองรับการติดตั้งอุปกรณ์เริ่มสัญญาณ อุปกรณ์โมดูลและอุปกรณ์แจ้งสัญญาณชนิด ระบุตําแหน่งได้ 4. ระบบไฟฟ้าที่ 120 VAC, 60 Hz หรือ 240 VAC, 50 Hz 5. มีหน้าจอแสดงผล LCD หรือดีกว่า 6. LEDs มีความสามารถอย่างน้อยแสดงผลดังนี้ คือ Alarm, Power Supervisory, Silenced and Trouble
ความต้องการทางด้านเทคนิค. 2.1 ระบบขับเคลื่อนลิฟต์ต้องเป็นชนิด AC Gear หรือ AC Gearless Traction Motor มีการปรับเปลี่ยน ความเร็วมอเตอร์ โดยใช้ระบบเปลี่ยนระดับแรงดันไฟฟ้าและความถี่ไฟฟ้า (Variable Voltage Variable Frequency) ซึ่งใช้ Thyristor Converter และ Thyristor Inverter หรือตามที่ระบุไว้ใน Specification Sheet โดยระบบควบคุมใช้ Micro-Computer เป็นวงจร Regulator 2.2 ระบบเบรคของลิฟต์ ใช้เบรคแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งประกอบเป็นชุดเดียวกันกับชุดขับเคลื่อนลิฟต์บน แท่นเหล็ก มียางหรือวัสดุอื่นที่ผ ลิตแนะนำรองรับ เพื่อป้องกนเสั ียงและลดการสั่นสะเทือน 2.3 ระบบควบคุมการทำงานของลิฟต์เป็นแบบ Supervision Control System ซึ่งทำงาน โดยอัตโนมัติ อาศัย Microprocessor Control 2 หรือ 3 ชุด ดังนี้ - ควบคุม Group Controller (ถ้ามีลิฟต์ตั้งแต่ 2 Car-Group ขึ้นไป) - ควบคุม Car Controller - ควบคุม Drive System และต้องมีระบบ Multiprocessor Back Up System ในกรณีที่ Microprocessor ส่วนใดส่วนหนึ่ง เสียหรือขัดข้อง Microprocessor จะต้องสามารถ Program และ Reprogram ให้ลิฟต์แต่ละตัว สามารถควบคุมการทำงาน ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพความต้องการใช้ลิฟต์อย่างมี ประสิทธิภาพ

Related to ความต้องการทางด้านเทคนิค

  • วัตถุประสงค์ ๑.๑ เพื่อส่งเสริม ผลักดัน และประสานความร่วมมือในการร่วมดําเนินการตามนโยบายรัฐบาล และแนวทางการดําเนินการต่าง ๆ เพื่อป้องกัน และต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชนให้ เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติฯ นโยบายของรัฐบาล และแนวทางการดําเนินงานที่เกี่ยวข้อง ๑.๒ เพื่อร่วมกันสังเกตการณ์ การตรวจสอบการปฏิบัติราชการและการขับเคลื่อนการ ดําเนินงานของภาครัฐและภาคเอกขน รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ๑.๓ เพื่อส่งเสริมการปลุกจิตสํานึกของบุคลากรทั้งภาครัฐ และภาลเอกชนให้ตระหนักถึง คุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และการประชฤติปฏิบัติที่ถูกต้อง เที่ยงตรง

  • ความรับผิดชอบในความชํารุดบกพร่องของงานจ้าง เมื่องานแล้วเสร็จบริบูรณ์ และผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้างหรือจากผู้รับจ้างรายใหม่ ใน กรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาตามข้อ 7 หากมีเหตุชํารุดบกพร่องหรือเสียหายเกิดขึ้นจากการจ้างนี้ ภายในกําหนด 2 (สอง) ปี - เดือน นับถัดจากวันที่ได้รับมอบงานดังกล่าว ซึ่งความชํารุดบกพร่องหรือเสียหายนั้นเกิดจากความ บกพร่องของผู้รับจ้างอันเกิดจากการใช้วัสดุที่ไม่ถูกต้องหรือทําไว้ไม่เรียบร้อย หรือทําไม่ถูกต้องตามมาตรฐานแห่ง หลักวิชา ผู้รับจ้างจะต้องรีบทําการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยโดยไม่ชักช้า โดยผู้ว่าจ้างไม่ต้องออกเงินใดๆ ในการนี้ทั้งสิ้น หากผู้รับจ้างไม่กระทําการดังกล่าวภายในกําหนด 7 (เจ็ด) วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง หรือไม่ทําการแก้ไขให้ถูกต้องเรียบร้อยภายในเวลาที่ผู้ว่าจ้างกําหนด ให้ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะทําการนั้นเอง หรือจ้าง ผู้อื่นให้ทํางานนั้น โดยผู้รับจ้างต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้น ในกรณีเร่งด่วนจําเป็นต้องรีบแก้ไขเหตุชํารุดบกพร่องหรือเสียหายโดยเร็ว และไม่อาจรอให้ผู้รับ จ้างแก้ไขในระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่งได้ ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเข้ าจัดการแก้ไขเหตุชํารุดบกพร่องหรือเสียหาย นั้นเอง หรือจ้างผู้อื่นให้ซ่อมแซมความชํารุดบกพร่องหรือเสียหาย โดยผู้รับจ้างต้องรับผิดชอบชําระค่าใช้จ่ายทั้งหมด การที่ผู้ว่าจ้างทําการนั้นเอง หรือจ้างผู้อื่นให้ทํางานนั้นแทนผู้รับจ้าง ไม่ทําให้ผู้รับจ้างหลุดพ้นจาก ความรับผิดตามสัญญา หากผู้รับจ้างไม่ชดใช้ค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายตามที่ผู้ว่าจ้างเรียกร้องผู้ว่าจ้างมีสิทธิบังคับจาก หลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาได้

  • หลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา ในขณะทําสัญญานี้ผู้รับจ้างได้นําหลักประกันเป็น…………..…...…..…....………..……… เป็นจํานวนเงิน ……......…....บาท (………….…..………….) ซึ่งเท่ากับร้อยละ 5 (ร้อยละห้า) ของราคาค่าจ้างตามสัญญา มามอบ ให้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญานี้ กรณีผู้รับจ้างใช้หนังสือค้ําประกันมาเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา หนังสือค้ําประกัน ดังกล่าวจะต้องออกโดยธนาคารที่ประกอบกิจการในประเทศไทย หรือโดยบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ําประกันตามประกาศของธนาคารแห่ง ประเทศไทย ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ทราบตามแบบที่คณะกรรมการ นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐกําหนด หรืออาจเป็นหนังสือค้ําประกันอิเล็กทรอนิกส์ตาม วิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนดก็ได้ และจะต้องมีอายุการค้ําประกันตลอดไปจนกว่าผู้รับจ้างพ้นข้อผูกพันตามสัญญา นี้ หลักประกันที่ผู้รับจ้างนํามามอบให้ตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีอายุครอบคลุมความรับผิดทั้งปวงของผู้ รับจ้างตลอดอายุสัญญา ถ้าหลักประกันที่ผู้รับจ้างนํามามอบให้ดังกล่าวลดลงหรือเสื่อมค่าลง หรือมีอายุไม่ครอบคลุม ถึงความรับผิดของผู้รับจ้างตลอดอายุสัญญา ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม รวมถึงกรณี ผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้าเป็นเหตุ ให้ระยะเวลาแล้วเสร็จหรือวันครบกําหนดความรับผิดในความชํารุดบกพร่องตามสัญญาเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเกิดขึ้น คราวใด ผู้รับจ้างต้องหาหลักประกันใหม่หรือหลักประกันเพิ่มเติมให้มีจํานวนครบถ้วนตามวรรคหนึ่งมามอบให้แก่ ผู้ว่าจ้างภายใน 7 วัน (เจ็ดวัน) นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง หลักประกันที่ผู้รับจ้างนํามามอบไว้ตามข้อนี้ ผู้ว่าจ้างจะคืนให้แก่ผู้รับจ้างโดยไม่มีดอกเบี้ยเมื่อ ผู้รับจ้างพ้นจากข้อผูกพันและความรับผิดทั้งปวงตามสัญญานี้แล้ว

  • ความรับผิดของผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุ ความเสียหาย หรือภยันตรายใด ๆ อันเกิดจากการปฏิบัติงาน ของผู้รับจ้าง และจะต้องรับผิดต่อความเสียหายจากการกระทําของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับจ้าง และจากการ ปฏิบัติงานของผู้รับจ้างช่วงด้วย (ถ้ามี) ความเสียหายใดๆ อันเกิดแก่งานที่ผู้รับจ้างได้ทําขึ้น แม้จะเกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัยก็ตาม ผู้รับ จ้างจะต้องรับผิดชอบโดยซ่อมแซมให้คืนดีหรือเปลี่ยนให้ใหม่โดยค่าใช้จ่ายของผู้รับจ้างเอง เว้นแต่ความเสียหายนั้น เกิดจากความผิดของผู้ว่าจ้าง ทั้งนี้ ความรับผิดของผู้รับจ้างดังกล่าวในข้อนี้จะสิ้นสุดลง เมื่อผู้ว่าจ้างได้รับมอบงาน ครั้งสุดท้าย ซึ่งหลังจากนั้นผู้รับจ้างคงต้องรับผิดเพียงในกรณีชํารุดบกพร่อง หรือความเสียหายดังกล่าวในข้อ 8 เท่านั้น ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในความเสียหายใดๆ อันเกิดจากการปฏิบัติงานของผู้ รับจ้าง หรือลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับจ้าง รวมถึงผู้รับจ้างช่วง (ถ้ามี) ตามสัญญานี้ หากผู้ว่าจ้างถูกเรียกร้องหรือ ฟ้องร้องหรือต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องดําเนินการใด ๆ เพื่อให้มีการว่าต่างแก้ต่าง ให้แก่ผู้ว่าจ้างโดยค่าใช้จ่ายของผู้รับจ้างเอง รวมทั้งผู้รับจ้างจะต้องชดใช้ค่าเสียหายนั้น ๆ ตลอดจนค่าใช้จ่ายใด ๆ อันเกิดจากการถูกเรียกร้องหรือถูกฟ้องร้องให้แก่ผู้ว่าจ้างทันที

  • ความคุ้มครอง ในขณะท่ีผเู้ อาประกน ภยั ไดร้ ับความคุม ครองตามกรมธรรมป ระกน ภยั น้ี หากผเู้ อาประกน ภยั ไดร้ ับบาดเจ็บหรือเจ็บป่ วยที่ เกิดข้ึนอย่างกะทน หันหรือเฉียบพลน และไม่สามารถคาดการณ์ได้ ซ่ึงเกิดข้ึนในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภยจนเป็ นเหตุให้ต้อง ไดร้ ับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล สถานพยาบาลเวชกรรม หรือคลินิกในต่างประเทศไม่วาจะในฐานะผปู้ ่ วยในหรือผปู้ ่ วยนอก บริษทจะจ่ายค่าทดแทน ส˚าหรับค่าใช้จ่ายท่ีจา˚ เป็ นและสมควรซึ่งเกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลตามความจา˚ เป็ นทาง การแพทยแ ละมาตรฐานทางการแพทยต ามจา˚ นวนเงินที่ตอ งจ่ายจริง แต่ไม่เกินจา˚ นวนเงินเอาประกน ภยตามที่ระบุไวใ้ นตาราง กรมธรรมป ระกน ภยั ใหแ ก่ผเู้ อาประกนภย ค่าใชจ่ายเพื่อการรักษาพยาบาลที่คุมครอง มีดงั ต่อไปน้

  • แบบรูปและรายการละเอียดคลาดเคลื่อน ผู้รับจ้างรับรองว่าได้ตรวจสอบและทําความเข้าใจในแบบรูปและรายการละเอียดโดยถี่ถ้วนแล้ว หากปรากฏว่าแบบรูปและรายการละเอียดนั้นผิดพลาด หรือคลาดเคลื่อนไปจากหลักการทางวิศวกรรมหรือทาง เทคนิค ผู้รับจ้างตกลงที่จะปฏิบัติตามคําวินิจฉัยของผู้ว่าจ้าง คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ผู้ควบคุมงาน หรือบริษัทที่ ปรึกษาที่ผู้ว่าจ้างแต่งตั้ง เพื่อให้งานแล้วเสร็จบริบูรณ์ คําวินิจฉัยดังกล่าว ให้ถือเป็นที่สุด โดยผู้รับจ้างจะคิดค่าจ้าง ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มขึ้นจากผู้ว่าจ้าง หรือขอขยายอายุสัญญาไม่ได้

  • สิทธิของผู้ว่าจ้างภายหลังบอกเลิกสัญญา ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญา ผู้ว่าจ้างอาจทํางานนั้นเองหรือว่าจ้างผู้อื่นให้ทํางานนั้นต่อจนแล้ว เสร็จก็ได้ ผู้ว่าจ้างหรือผู้ที่รับจ้างทํางานนั้นต่อมีสิทธิใช้เครื่องใช้ในการก่อสร้าง สิ่งที่สร้างขึ้นชั่วคราวสําหรับงาน ก่อสร้าง และวัสดุต่างๆ ซึ่งเห็นว่าจะต้องสงวนเอาไว้เพื่อการปฏิบัติงานตามสัญญาตามที่จะเห็นสมควร ในกรณีดังกล่าว ผู้ว่าจ้างมีสิทธิริบหรือบังคับจากหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา ทั้งหมดหรือ บางส่วนตามแต่จะเห็นสมควร นอกจากนั้นผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชอบในค่าเสียหายซึ่งเป็นจํานวนเกินกว่าหลัก ประกันการปฏิบัติตามสัญญา รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการทํางานนั้นต่อให้แล้วเสร็จตามสัญญา ตลอดจนค่าใช้จ่าย ในการควบคุมงานเพิ่ม (ถ้ามี) ซึ่งผู้ว่าจ้างจะหักเอาจากเงินประกันผลงานหรือจํานวนเงินใด ๆ ที่จะจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างก็ได้

  • การงดหรือลดค่าปรับ หรือการขยายเวลาปฏิบัติงานตามสัญญา ในกรณีที่มีเหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของฝ่ายผู้ว่าจ้าง หรือเหตุสุดวิสัย หรือเกิด จากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย หรือเหตุอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ซึ่งออก ตามความในกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ทําให้ผู้รับจ้างไม่สามารถทํางานให้แล้ว เสร็จตามเงื่อนไขและกําหนดเวลาแห่งสัญญานี้ได้ ผู้รับจ้างจะต้องแจ้งเหตุหรือพฤติการณ์ดังกล่าวพร้อมหลักฐานเป็น หนังสือให้ผู้ว่าจ้างทราบ เพื่อของดหรือลดค่าปรับ หรือขยายเวลาทํางานออกไปภายใน 15 (สิบห้า) วันนับถัดจากวันที่ เหตุนั้นสิ้นสุดลง หรือตามที่กําหนดในกฎกระทรวงดังกล่าว แล้วแต่กรณี ถ้าผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามความในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้รับจ้างได้สละสิทธิเรียกร้องใน การที่ จะของดหรือลดค่าปรับ ห รือ ขยายเวลาทํางานออกไป โดยไม่ มี เงื่อ น ไขใด ๆ ทั้ งสิ้ น เว้น แ ต่ กรณีเหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของฝ่ายผู้ว่าจ้างซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้งหรือผู้ว่าจ้างทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น การงดหรือลดค่าปรับ หรือขยายกําหนดเวลาทํางานตามวรรคหนึ่ง อยู่ในดุลพินิจของผู้ว่าจ้างที่ จะพิจารณาตามที่เห็นสมควร

  • การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบ ในระหว่างระยะเวลาการก่อสร้าง ผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้รับจ้างต้องปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายและระเบียบได้กําหนดไว้โดยเคร่งครัด

  • การจ้างช่วง ผู้รับจ้างจะต้องไม่เอางานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแห่งสัญญานี้ไปจ้างช่วงอีกทอดหนึ่ง เว้นแต่การจ้างช่วงงาน แต่บางส่วนที่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้างแล้ว การที่ผู้ว่าจ้างได้อนุญาตให้จ้างช่วงงานแต่บางส่วนดังกล่าวนั้น ไม่เป็นเหตุให้ ผู้รับจ้างหลุดพ้นจาก ความรับผิดหรือพันธะหน้าที่ตามสัญญานี้ และผู้รับจ้างจะยังคงต้องรับผิดในความผิดและความประมาทเลินเล่อ ของผู้รับจ้างช่วง หรือของตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้รับจ้างช่วงนั้นทุกประการ กรณีผู้รับจ้างไปจ้างช่วงงานแต่บางส่วนโดยฝ่าฝืนความในวรรคหนึ่ง ผู้รับจ้างต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็น จำนวนเงินในอัตราร้อยละ ๑๐ (สิบ) ของวงเงินของงานที่จ้างช่วงตามสัญญา ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้ว่าจ้างในการบอกเลิกสัญญา