วัตถุประสงค์ ๑.๑ เพื่อส่งเสริม ผลักดัน และประสานความร่วมมือในการร่วมดําเนินการตามนโยบายรัฐบาล และแนวทางการดําเนินการต่าง ๆ เพื่อป้องกัน และต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชนให้ เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติฯ นโยบายของรัฐบาล และแนวทางการดําเนินงานที่เกี่ยวข้อง ๑.๒ เพื่อร่วมกันสังเกตการณ์ การตรวจสอบการปฏิบัติราชการและการขับเคลื่อนการ ดําเนินงานของภาครัฐและภาคเอกขน รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ๑.๓ เพื่อส่งเสริมการปลุกจิตสํานึกของบุคลากรทั้งภาครัฐ และภาลเอกชนให้ตระหนักถึง คุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และการประชฤติปฏิบัติที่ถูกต้อง เที่ยงตรง
ความรับผิดชอบในความชํารุดบกพร่องของงานจ้าง เมื่องานแล้วเสร็จบริบูรณ์ และผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้างหรือจากผู้รับจ้างรายใหม่ ใน กรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาตามข้อ 7 หากมีเหตุชํารุดบกพร่องหรือเสียหายเกิดขึ้นจากการจ้างนี้ ภายในกําหนด 2 (สอง) ปี - เดือน นับถัดจากวันที่ได้รับมอบงานดังกล่าว ซึ่งความชํารุดบกพร่องหรือเสียหายนั้นเกิดจากความ บกพร่องของผู้รับจ้างอันเกิดจากการใช้วัสดุที่ไม่ถูกต้องหรือทําไว้ไม่เรียบร้อย หรือทําไม่ถูกต้องตามมาตรฐานแห่ง หลักวิชา ผู้รับจ้างจะต้องรีบทําการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยโดยไม่ชักช้า โดยผู้ว่าจ้างไม่ต้องออกเงินใดๆ ในการนี้ทั้งสิ้น หากผู้รับจ้างไม่กระทําการดังกล่าวภายในกําหนด 7 (เจ็ด) วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง หรือไม่ทําการแก้ไขให้ถูกต้องเรียบร้อยภายในเวลาที่ผู้ว่าจ้างกําหนด ให้ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะทําการนั้นเอง หรือจ้าง ผู้อื่นให้ทํางานนั้น โดยผู้รับจ้างต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้น ในกรณีเร่งด่วนจําเป็นต้องรีบแก้ไขเหตุชํารุดบกพร่องหรือเสียหายโดยเร็ว และไม่อาจรอให้ผู้รับ จ้างแก้ไขในระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่งได้ ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเข้ าจัดการแก้ไขเหตุชํารุดบกพร่องหรือเสียหาย นั้นเอง หรือจ้างผู้อื่นให้ซ่อมแซมความชํารุดบกพร่องหรือเสียหาย โดยผู้รับจ้างต้องรับผิดชอบชําระค่าใช้จ่ายทั้งหมด การที่ผู้ว่าจ้างทําการนั้นเอง หรือจ้างผู้อื่นให้ทํางานนั้นแทนผู้รับจ้าง ไม่ทําให้ผู้รับจ้างหลุดพ้นจาก ความรับผิดตามสัญญา หากผู้รับจ้างไม่ชดใช้ค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายตามที่ผู้ว่าจ้างเรียกร้องผู้ว่าจ้างมีสิทธิบังคับจาก หลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาได้
ความคุ้มครอง ในขณะท่ีผเู้ อาประกน ภยั ไดร้ ับความคุม ครองตามกรมธรรมป ระกน ภยั น้ี หากผเู้ อาประกน ภยั ไดร้ ับบาดเจ็บหรือเจ็บป่ วยที่ เกิดข้ึนอย่างกะทน หันหรือเฉียบพลน และไม่สามารถคาดการณ์ได้ ซ่ึงเกิดข้ึนในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภยจนเป็ นเหตุให้ต้อง ไดร้ ับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล สถานพยาบาลเวชกรรม หรือคลินิกในต่างประเทศไม่วาจะในฐานะผปู้ ่ วยในหรือผปู้ ่ วยนอก บริษทจะจ่ายค่าทดแทน ส˚าหรับค่าใช้จ่ายท่ีจา˚ เป็ นและสมควรซึ่งเกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลตามความจา˚ เป็ นทาง การแพทยแ ละมาตรฐานทางการแพทยต ามจา˚ นวนเงินที่ตอ งจ่ายจริง แต่ไม่เกินจา˚ นวนเงินเอาประกน ภยตามที่ระบุไวใ้ นตาราง กรมธรรมป ระกน ภยั ใหแ ก่ผเู้ อาประกนภย ค่าใชจ่ายเพื่อการรักษาพยาบาลที่คุมครอง มีดงั ต่อไปน้
เงินค่าจ้างล่วงหน้า ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่ผู้รับจ้างเป็นจํานวนเงิน - บาท ซึ่งเท่ากับร้อย ละ - ของราคาค่าจ้าง ตามสัญญาที่ระบุไว้ ในข้อ ๔ เงินค่าจ้างล่วงหน้าดังกล่าวจะจ่ายให้ภายหลังจากที่ผู้รับจ้างได้วางหลักประกันการรับเงิน ค่าจ้างล่วงหน้าเป็น....................เต็มตามจํานวนเงินค่าจ้างล่วงหน้านั้นให้แก่ผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้างจะต้องออก ใบเสร็จรับเงินค่าจ้างล่วงหน้า ตามแบบที่ผู้ว่าจ้างกําหนดให้ และผู้รับจ้างตกลงที่จะกระทําตามเงื่อนไขอัน เกี่ยวกับการใช้จ่ายและการใช้คืนเงินค่าจ้างล่วงหน้านั้นดังต่อไปนี้ ๕.๑ ผู้รับจ้างจะใช้เงินค่าจ้างล่วงหน้านั้นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานตามสัญญา เท่านั้นหากผู้รับจ้างใช้จ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้า หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของเงินค่าจ้างล่วงหน้านั้นในทางอื่นผู้ ว่าจ้างอาจจะเรียกเงินค่าจ้างล่วงหน้านั้นคืนจากผู้รับจ้างหรือบังคับเอาจากหลักประกันการรับเงินค่าจ้าง ล่วงหน้าได้ทันที ๕.๒ เมื่อผู้ว่าจ้างเรียกร้อง ผู้รับจ้างต้องแสดงหลักฐานการใช้จ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าเพื่อ พิสูจน์ว่าได้เป็นไปตามข้อ ๕.๑ ภายในกําหนด ๑๕ (สิบห้า) วัน นับถัดจากวันได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ ว่าจ้างหากผู้รับจ้างไม่อาจแสดงหลักฐานดังกล่าวภายในกําหนด ๑๕ (สิบห้า) วัน ผู้ว่าจ้างอาจเรียกเงินค่าจ้าง ล่วงหน้านั้นคืนจากผู้รับจ้าง หรือบังคับเอาจากหลักประกันการรับเงินค่าจ้างล่วงหน้าได้ทันที ๕.๓ ในการจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างตามข้อ ๔ ผู้ว่าจ้างจะหักเงินค่าจ้างในแต่ละงวด เพื่อชดใช้คืนเงินค่าจ้างล่วงหน้าไว้จํานวนร้อยละ - ของจํานวนเงินค่าจ้างในแต่ละงวดจนกว่าจํานวนเงินไว้จะ ครบตามจํานวนเงินที่หักค่าจ้างล่วงหน้าที่ผู้รับจ้างได้รับไปแล้ว ยกเว้นค่าจ้างงวดสุดท้ายจะหักไว้เป็นจํานวน เท่ากับจํานวนเงินค่าจ้างล่วงหน้าที่เหลือทั้งหมด ๕.๔ เงินจํานวนใด ๆ ก็ตามที่ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อชําระหนี้หรือเพื่อชดใช้ ความรับผิดต่างๆ ตามสัญญา ผู้ว่าจ้างจะหักเอาจากเงินค่าจ้างงวดที่จะจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างก่อนที่จะหักชดใช้คืน เงินค่าจ้างล่วงหน้า ๕.๕ ในกรณีที่มีการบอกเลิกสัญญา หากเงินค่าจ้างล่วงหน้าที่เหลือเกินกว่าจํานวนเงินที่ผู้ รับจ้างจะได้รับหลังจากหักชดใช้ในกรณีอื่นแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายคืนเงินจํานวนที่เหลือนั้นให้แก่ผู้ว่าจ้าง ภายใน ๗ (เจ็ด) วัน นับถัดจากวันได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง ๕.๖ ผู้ว่าจ้างจะคืนหลักประกันการรับเงินค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่ผู้รับจ้างต่อเมื่อผู้ว่าจ้างได้หัก เงินค่าจ้างไว้ครบจํานวนเงินค่าจ้างล่วงหน้าตามข้อ ๕.๓ (ข)
ความรับผิดของผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุ ความเสียหาย หรือภยันตรายใด ๆ อันเกิดจากการปฏิบัติงาน ของผู้รับจ้าง และจะต้องรับผิดต่อความเสียหายจากการกระทําของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับจ้าง และจากการ ปฏิบัติงานของผู้รับจ้างช่วงด้วย (ถ้ามี) ความเสียหายใดๆ อันเกิดแก่งานที่ผู้รับจ้างได้ทําขึ้น แม้จะเกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัยก็ตาม ผู้รับ จ้างจะต้องรับผิดชอบโดยซ่อมแซมให้คืนดีหรือเปลี่ยนให้ใหม่โดยค่าใช้จ่ายของผู้รับจ้างเอง เว้นแต่ความเสียหายนั้น เกิดจากความผิดของผู้ว่าจ้าง ทั้งนี้ ความรับผิดของผู้รับจ้างดังกล่าวในข้อนี้จะสิ้นสุดลง เมื่อผู้ว่าจ้างได้รับมอบงาน ครั้งสุดท้าย ซึ่งหลังจากนั้นผู้รับจ้างคงต้องรับผิดเพียงในกรณีชํารุดบกพร่อง หรือความเสียหายดังกล่าวในข้อ 8 เท่านั้น ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในความเสียหายใดๆ อันเกิดจากการปฏิบัติงานของผู้ รับจ้าง หรือลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับจ้าง รวมถึงผู้รับจ้างช่วง (ถ้ามี) ตามสัญญานี้ หากผู้ว่าจ้างถูกเรียกร้องหรือ ฟ้องร้องหรือต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องดําเนินการใด ๆ เพื่อให้มีการว่าต่างแก้ต่าง ให้แก่ผู้ว่าจ้างโดยค่าใช้จ่ายของผู้รับจ้างเอง รวมทั้งผู้รับจ้างจะต้องชดใช้ค่าเสียหายนั้น ๆ ตลอดจนค่าใช้จ่ายใด ๆ อันเกิดจากการถูกเรียกร้องหรือถูกฟ้องร้องให้แก่ผู้ว่าจ้างทันที
การบังคับค่าปรับ ค่าเสียหาย และค่าใช้จ่าย ในกรณีที่ผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อหนึ่งข้อใดด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม จนเป็นเหตุให้เกิดค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือ ค่าใช้จ่ายแก่ผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้างต้องชดใช้ค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้แก่ผู้ว่าจ้างโดยสนิ้ เชิงภายในกำหนด ๗ (เจ็ด) วัน นับ ถัดจากวันทไี่ ด้รับแจ้งเปน็ หนังสือจากผู้ว่าจ้าง หากผู้รับจ้างไม่ชดใช้ให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาดังกล่าวให้ผู้ว่าจ้างมีสทธิที่จะหัก เอาจากจำนวนเงินค่าจ้างที่ต้องชำระ หรือจากเงินประกันผลงาน ของผู้รับจ้าง หรือบังคับจากหลักประกันการปฏิบติตามสัญญาได้ทนั ที หากค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายที่บังคับจากเงินค่าจ้างที่ต้องชำระ เงินประกันผลงาน หรือหลักประกันการ ปฏิบัติตามสัญญาแล้วยังไม่เพียงพอ ผู้รับจ้างยินยอมชำระส่วนที่เหลือ ที่ยังขาดอยู่จนครบถ้วนตามจำนวนค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายนั้น ภายในกำหนด ๗ (เจ็ด) วัน นับถัดจากวันทไี่ ด้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง หากมีเงินค่าจ้างตามสัญญาที่หักไว้จ่ายเป็นค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายแล้วยังเหลืออยู่อีกเท่าใด ผู้ว่าจ้างจะคืนให้แก่ผู้รับจ้างทงั้ หมด
ค่าปรับ หากผู้รับจ้างไม่สามารถทํางานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญาและผู้ว่าจ้างยังมิได้บอก เลิกสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชําระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นจํานวนเงิน วันละ ……………..บาท และจะต้องชําระ ค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานในเมื่อผู้ว่าจ้างต้องจ้างผู้ควบคุมงานอีกต่อหนึ่งเป็นจํานวนเงิน วันละ บาท นับถัดจากวันที่กําหนดแล้วเสร็จตามสัญญาหรือวันที่ผู้ว่าจ้างได้ขยายให้จนถึงวันที่ ทํางานแล้วเสร็จจริง นอกจากนี้ ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกค่าเสียหายอันเกิดขึ้นจากการที่ผู้รับจ้างทํางานล่าช้าเฉพาะส่วนที่เกินกว่าจํานวน ค่าปรับและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้อีกด้วย ในระหว่างที่ผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญานั้น หากผู้ว่าจ้างเห็นว่าผู้รับจ้างจะไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญา ต่อไปได้ ผู้ว่าจ้างจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิตามข้อ 18 ก็ได้ และถ้าผู้ว่าจ้างได้แจ้ง ข้อเรียกร้องไปยัง ผู้รับจ้างเมื่อครบกําหนดแล้วเสร็จของงานขอให้ชําระค่าปรับแล้ว ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะปรับ ผู้รับจ้างจนถึงวันบอกเลิก สัญญาได้อีกด้วย
หลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา ในขณะทําสัญญานี้ผู้รับจ้างได้นําหลักประกันเป็น…………..…...…..…....………..……… เป็นจํานวนเงิน ……......…....บาท (………….…..………….) ซึ่งเท่ากับร้อยละ 5 (ร้อยละห้า) ของราคาค่าจ้างตามสัญญา มามอบ ให้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญานี้ กรณีผู้รับจ้างใช้หนังสือค้ําประกันมาเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา หนังสือค้ําประกัน ดังกล่าวจะต้องออกโดยธนาคารที่ประกอบกิจการในประเทศไทย หรือโดยบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ําประกันตามประกาศของธนาคารแห่ง ประเทศไทย ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ทราบตามแบบที่คณะกรรมการ นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐกําหนด หรืออาจเป็นหนังสือค้ําประกันอิเล็กทรอนิกส์ตาม วิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนดก็ได้ และจะต้องมีอายุการค้ําประกันตลอดไปจนกว่าผู้รับจ้างพ้นข้อผูกพันตามสัญญา นี้ หลักประกันที่ผู้รับจ้างนํามามอบให้ตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีอายุครอบคลุมความรับผิดทั้งปวงของผู้ รับจ้างตลอดอายุสัญญา ถ้าหลักประกันที่ผู้รับจ้างนํามามอบให้ดังกล่าวลดลงหรือเสื่อมค่าลง หรือมีอายุไม่ครอบคลุม ถึงความรับผิดของผู้รับจ้างตลอดอายุสัญญา ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม รวมถึงกรณี ผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้าเป็นเหตุ ให้ระยะเวลาแล้วเสร็จหรือวันครบกําหนดความรับผิดในความชํารุดบกพร่องตามสัญญาเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเกิดขึ้น คราวใด ผู้รับจ้างต้องหาหลักประกันใหม่หรือหลักประกันเพิ่มเติมให้มีจํานวนครบถ้วนตามวรรคหนึ่งมามอบให้แก่ ผู้ว่าจ้างภายใน 7 วัน (เจ็ดวัน) นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง หลักประกันที่ผู้รับจ้างนํามามอบไว้ตามข้อนี้ ผู้ว่าจ้างจะคืนให้แก่ผู้รับจ้างโดยไม่มีดอกเบี้ยเมื่อ ผู้รับจ้างพ้นจากข้อผูกพันและความรับผิดทั้งปวงตามสัญญานี้แล้ว
อัตราค่าปรับ ค่าปรับตามแบบสัญญาจ้างแนบท้ายเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์นี้ หรือข้อตกลง จ้างเป็นหนังสือจะกำหนด ดังนี้ ๘.๑ กรณีที่ผู้รับจ้างนำงานที่รับจ้างไปจ้างช่วงให้ผู้อื่นทำอีกทอดหนึ่งโดยไม่ได้รับ อนุญาตจากสำนักงาน จะกำหนดค่าปรับสำหรับการฝ่าฝืนดังกล่าวเป็นจำนวนร้อยละ ๑๐.๐๐ ของวงเงินของ งานจ้างช่วงนั้น ๘.๒ กรณีที่ผู้รับจ้างปฏิบัติผิดสัญญาจ้างนอกเหนือจากข้อ ๘.๑ จะกำหนดค่าปรับ เป็นรายวันในอัตราร้อยละ ๐.๑๐ ของราคาค่าจ้าง
การควบคุมงานโดยผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้างตกลงว่าคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ผู้ควบคุมงาน หรือบริษัท ที่ปรึกษาที่ผู้ว่าจ้างแต่งตั้ง มีอำนาจที่จะ ตรวจสอบและควบคุมงานเพื่อให้เป็นไปตาม สัญญานี้ และมีอำนาจที่จะสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม หรือตัดทอนซึ่งงานตามสัญญานี้ หากผู้รับจ้างขัดขืน ไม่ปฏิบัติตาม ผู้ว่าจ้าง คณะกรรมการตรวจ รับพัสดุ ผู้ควบคุมงาน หรือบริษัทที่ปรึกษา มีอำนาจ ที่จะสั่งให้หยุดการ นั้นชวคราวได้ ความล่าชา้ ในกรณีเช่นนี้ ผู้รับจ้างจะถือเป็นเหตุขอขยายระยะเวลา การปฏิบัติงานตามสัญญาหรือเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ไม่ได้ทงสิ้น