สัญญาเลขที่ RDG5940044
รายงานวิจัยฉบับxxxxxxx
xxxวิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับต่างประเทศ
โดย
xxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxx xx.xxxxx xxxxxxxxx และคณะ
ธันวาคม 2560
รายงานวิจัยฉบับxxxxxxx
สัญญาเลขที่ RDG5940044
การวิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับต่างประเทศ
คณะผู้วิจัย สังกัด
1. xxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxx xx.xxxxx xxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พันตํารวจxxx xxxxxx xxxxxxxx กลุ่มงานคณาจารย์ คณะตํารวจศาสตร์
โรงเรียนxxxxxxxตํารวจ
3. พันตํารวจเอก xx.xxxxxx xxxxx สถานีตํารวจxxxxxxxxxx กองบังคับการตํารวจxxxxจังหวัดนครปฐม
4. xxxxxxxxxxxxxxx xxxx xxxxx xxxxxxxxxxxxxxxx xxxตํารวจศาสตร์ โรงเรียนxxxxxxxตํารวจ
5. xxxxxxxxxxxxxx xxxxxx x xxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxx
6. xxxxxxxx xxxxxxxx มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
7. ร้อยตํารวจเอกหญิง สุรxxxxx คําศรี สํานักงานคณบดี คณะตํารวจศาสตร์ โรงเรียนxxxxxxxตํารวจ
สนับสนุนโดยสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (ความเห็นในรายงานนี้เป็นของผู้วิจัย สกว.ไม่จําเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป)
การวิจัย เรื่อง “การวิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับ ต่างประเทศ” ของสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากฎหมาย ต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ปัญหาการบังคับใช้ และจุดอ่อนข้อบกพร่องของกฎหมาย 2) ศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา xxxxxxxxx มาเลเซีย เวียดนามและเกาหลีใต้ รวมทั้งประสบการณ์แนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศดังกล่าว และ 3) ศึกษาทางเลือก หรือข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการ xxxxxxxและกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย
คณะผู้วิจัยได้ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) จากเอกสารข้อมูลและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง xxxx เอกสารที่เกี่ยวกับ แนวคิดการบังคับใช้กฎหมาย xxxxxมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การต่อต้านการค้ามนุษย์ กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศและพันธกรณีxxxxxxxxในการต่อต้านการค้ามนุษย์ แนวคิดและหลักการของกฎหมายเปรียบเทียบ กฎหมาย xxxxxxx หลักเกณฑ์และมาตรการทางกฎหมาย ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ประกอบการสัมภาษณ์ (Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) และการจัดเวทีสาธารณรับฟังความคิดเห็น แล้วนําข้อมูลxxxxxxมาวิเคราะห์โดยกระบวนการ แบบวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ครอบคลุมประเด็นต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย จนกระทั่งได้มาซึ่งข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการ xxxxxxxและกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย คณะผู้วิจัยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่ง จาก สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทุกท่าน ในการให้ข้อมูลและความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัย และการปรับปรุงแก้ไขรายงาน การวิจัย คณะผู้วิจัยขอขอบพระคุณด้วยความนับถืออย่างยิ่ง คณะผู้วิจัยxxxxว่า การวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ ต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการดําเนินการตามข้อเสนอแนะจากการวิจัยในการแก้ไขปัญหาการค้า มนุษย์ อันจะส่งผลให้เกิดความxxxxx ความมั่นคง และxxxxxxxxxxxxxxxxทางเศรษฐกิจของประเทศไทย รวมทั้งเพื่อxxxxxxคุณค่าทางเสรีภาพและศักดิ์ศรีขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ อันถือเป็นxxxxxxxxxxร่วม xxxxxxxxxxของประเทศไทยxxxxx xxxตามxxxxx
xxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxx xx.xxxxx xxxxxxxxx และคณะผู้วิจัย
การวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับ ต่างประเทศ” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การค้ามนุษย์ของประเทศไทย ปัญหาการบังคับใช้และจุดอ่อนข้อบกพร่องของกฎหมาย 2) ศึกษาและวิเคราะห์ กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา xxxxxxxxx มาเลเซีย เวียดนามและเกาหลีใต้ รวมทั้งประสบการณ์แนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ของประเทศดังกล่าว และ 3) ศึกษาทางเลือกหรือข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการ xxxxxxxและ กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ คือผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยวิธีการวิจัย เอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการจัดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ครบถ้วน แต่ยังมีบางเรื่องที่มีการxxxxxxxให้อ่านทําความเข้าใจได้ยาก การ บังคับใช้ไม่เบ็ดเสร็จในกฎหมายฉบับเดียวเพราะการกระทําxxxxxลักษณะค้ามนุษย์มีความเกี่ยวพันกับ ความผิดตามกฎหมายฉบับอื่นอีกหลายฉบับ ทําให้มีจุดอ่อน คือ xxxxxxxxxxxxxxมีอํานาจบังคับตามกฎหมาย แต่ละฉบับเป็นคนละxxxx xxxxxให้เกิดปัญหาด้านการxxxxxxความร่วมมือ ขาดหน่วยงานหลักที่มีทั้ง อํานาจและหน้าที่โดยตรง 2) สหรัฐอเมริกามีกฎหมายแม่แบบในการต่อต้านการค้ามนุษย์ xxxxxxxxx มาเลเซีย มีกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ ที่มีบทบัญญัติใกล้เคียงกับกฎหมายไทย ส่วนเวียดนามมีกฎหมาย ต่อต้านการค้ามนุษย์ แต่เกาหลีใต้ไม่มี ด้านประสบการณ์แนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ สหรัฐอเมริกาแก้ไขด้วยการบังคับใช้กฎหมายอย่างxxxxxxx และทุกประเทศต่างมีความxxxxxxในการออก มาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหา 3) ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ คือ
(1) ปรับฐานะคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) ให้มีอํานาจบริหารจัดการ และ
จัดตั้งส่วนราชการxxxxxxxxxเป็นกรมเพื่อบริหารจัดการเรื่องค้ามนุษย์ทั้งระบบ ทําหน้าที่เลขานุการของคณะ กรรมการฯ (2) นิยามการกระทําผิดฐานค้ามนุษย์ให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย (3) ให้อํานาจพนักงานสอบสวน xxxxxxดําเนินคดีกับผู้เสียหายในความผิดฐานเข้ามา ออกไป หรืออยู่ในราชอาณาจักรโดยxxxxxxรับอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ปลอมหรือใช้หนังสือ เดินทางปลอมตามxxxxxxกฎหมายอาญาได้ (4) การดําเนินคดีxxxxxxxxxxxxxxทุจริตในการค้ามนุษย์ ให้อยู่ใน การดําเนินคดีค้ามนุษย์ไปในคราวเดียวกันและเป็นคดีเดียวกัน
คําสําคัญ การวิเคราะห์กฎหมาย, กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์, กฎหมายเปรียบเทียบ
Abstract
The Research of "Legal Analysis Against Human Trafficking in Thailand Compared with Abroad" with the objectives of 1) to study anti-human trafficking laws and other laws that related to human trafficking in Thailand. Difficulties in complementing the laws and weakness or drawbacks of the laws 2) Study, analyze and comparative the laws between anti-human trafficking laws in Thailand and anti-human trafficking laws of the United States of America, Republic of the Union of Myanmar, Socialist Republic of Vietnam, and Republic of Korea. 3) study alternatives or suggestions to improve measures, regulations and laws that against human trafficking and other laws related to human trafficking in Thailand. The key informants are the executives and officers of the relevant departments. Using qualitative research methods including document research method, Interviews Focus group and Public forum, the results analysis by method of content analysis. The result of the research were as follows: 1) The Prevention and Suppression of Human Trafficking Act, B.E. 2551 contains full provisions on the human trafficking but there are some parts that the provisions are difficult to understood. Incomplete enforcement in a single law because human trafficking offense is linked to several other laws. Therefore, the weakness of this law is at each officer that have power to enforce each law, causing the difficulties in coordinating. Lack of main agency that have power in enforcing and direct the prosecution 2) The United States has a template law against human trafficking. Myanmar and Malaysia has laws against human trafficking similarly to Thailand. Vietnam has anti-human trafficking laws but South Korea does not. In terms of the experience in dealing with human trafficking issues, the United States resolved by applying strict law enforcement and every country is trying to applying more acts/regulations to resolve the problem. 3) Suggestions for the improvement of the anti-human trafficking laws are
(1) Adjust the status of the Anti-Trafficking In Persons Division (ATPD) to have more power of
enforcement and management. Established a Government agency with status as department to manage the entire human trafficking network, which represent as the secretary of the committee.
(2) Define the offense of human trafficking clearer and easier to understand. (3) Give authority to the investigator to prosecute the victim with the charges of entered, depart or settle in the Kingdom without permission according to the Immigration Act and false allegations against the authorities. Fake or use a fake documents under the Penal Code of Thailand. (4) The prosecution to the corrupt officer in suppression on human trafficking and make it to be in the same human trafficking case.
Key words: legal analysis, laws against human trafficking, comparative laws
บทสรุปผู้บริหาร
การวิจัยเรื่อง “การวเิ คราะห์กฎหมายต่อต้านการคา้ มนุษย์ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ”
1. ความเป็นมาของโครงการ
การค้ามนุษย์เป็นปัญหาสําคัญที่อยู่ในกระแสโลกและเป็นxxxxxxxxxxของทุกประเทศเนื่องจาก มีความเกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดในลักษณะองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติและเชื่อมโยงกับอาชญากรรม ในลักษณะอื่น ทั้งการค้าประเวณี ยาเสพติด การลักลอบเข้าเมือง การบังคับใช้แรงงานเด็ก การแสวงหา ประโยชน์จากชีวิตร่างกายมนุษย์ด้วยกัน เป็นการกระทําอันละเมิดxxxxxมนุษยชน xxxxxxxxศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์อย่างร้ายแรง การค้ามนุษย์เป็นปัญหาที่มีความxxxxxxxxxxต้องอาศัยความร่วมมือและการดําเนินงาน ร่วมกัน รวมทั้งความxxxxxxอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลทุกประเทศในอันที่จะxxxxxความxxxxxxxxxxxชัดเจน และสัมฤทธิผลที่ประเมินได้ในการแก้ไขปัญหา สหรัฐอเมริกาให้ความสําคัญกับปัญหาการค้ามนุษย์เป็น อย่างมาก จึงได้ออกกฎหมายคุ้มครองเหยื่อที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ เรียกว่า Trafficking Victims Protection Act (TVPA) ค.ศ.2000 แล้วกําหนดให้เจ้าหน้าที่ทางการทูตของสหรัฐอเมริกาที่ประจําอยู่ใน ประเทศxxxxxxรับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและความมั่นคงรายงานสถานการณ์ของแต่ละประเทศต่อ กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาเพื่อจัดทํารายงานประจําปี (Trafficking in Persons Report
- TIP Report) เสนอต่อรัฐสภาว่าประเทศนั้นๆ ได้ดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ตามมาตรฐาน ขั้นต่ําที่กําหนดหรือไม่อย่างไร ประเทศต่างๆ ในxxxxxxxอาเซียนต่างถูกจัดอันดับจากรายงานสถานการณ์ ค้ามนุษย์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา (TIP Report) xxxx ในปี 2017 มาเลเซีย กัมพูชา ลาว ถูกจัดอันดับให้อยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 2 ซึ่งต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน xxxxxxx ถูกจัดอันดับให้อยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 2 (Tier 2) ไต้หวัน เกาหลีใต้ ถูกจัดอันดับให้อยู่ใน บัญชีกลุ่มที่ 1 (Tier 1) ส่วนxxxxxxxxxถูกลดอันดับจากบัญชีกลุ่มที่ 2 ซึ่งต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List)
ไปอยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 3 (Tier 3) ในปี 2016 และxxxxxxอยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 2 ซึ่งต้องจับตามองในปี 2017ประเทศ ที่มีสถานการณ์ค้ามนุษย์ระดับเลวร้ายที่สุด (สถานทูตสหรัฐฯ และสถานกงสุลในประเทศไทย : 2560) จึงมี ประเด็นควรศึกษาว่าประเทศต่างๆ ที่ถูกสหรัฐอเมริกาจัดอันดับสถานการณ์ค้ามนุษย์โดยใช้เกณฑ์ตามกฎหมาย ต่อต้านการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกาแตกต่างกัน xxxx xxxxxxxxx มาเลเซีย เวียดนาม และเกาหลีใต้มี กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และมาตรการทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์อย่างไร สําหรับประเทศ ไทย แม้จะมีกฎหมาย มาตรการและกลไกในการแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่องนับแต่การลงนามในอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่กระทําโดยองค์กรอาชญากรรม การกําหนดนโยบาย
ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การประกาศให้ปัญหาการค้ามนุษย์ให้เป็นวาระแห่งชาติ การประกาศใช้ กฎหมายว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ ซึ่งได้แก่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกหลายฉบับ มีการจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) และการจัดตั้งคณะกรรมการประสานและกํากับการดําเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปกค.) การกําหนดกรอบความร่วมมือระดับต่างๆ การมอบหมายภารกิจในการร่วมแก้ไขปัญหาให้ทหาร ตํารวจ และมีหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องถือกฎหมายไว้หลายสิบหน่วยงานร่วมรับผิดชอบแล้วก็ตาม การค้า มนุษย์ยังคงเป็นปัญหาที่รุนแรงและเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย (สถานทูตสหรัฐอเมริกาและ สถานกงสุลในประเทศไทย, 2560) รวมทั้งประเทศไทยยังถูกจัดให้อยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 2 ซึ่งต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) คณะผู้วิจัยจึงเห็นว่า “การวิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับต่างประเทศ” เป็นเรื่องสําคัญที่สมควรได้รับการศึกษาวิจัย เพื่อให้ได้มาซึ่งผลการวิจัยที่ จะเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย มาตรการและระเบียบที่เกี่ยวกับการต่อต้านการค้ามนุษย์ ของประเทศไทย อันเป็นการพัฒนาศักยภาพและกระบวนการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ เพื่อความผาสุก ความมั่นคง และปกป้องผลประโยชน์ของประเทศไทยต่อไป
2. วัตถุประสงค์ของโครงการ
2.1 เพื่อศึกษากฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ของประเทศไทย ปัญหาการบังคับใช้และจุดอ่อนข้อบกพร่องของกฎหมาย
2.2 เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับ กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนาม และเกาหลีใต้ รวมทั้ง ประสบการณ์แนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศดังกล่าว
2.3 เพื่อศึกษาทางเลือกหรือข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการ ระเบียบและ กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย
3. วิธีดําเนินการวิจัย
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการ วิจัยเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์ (Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) และ การจัดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็น (Public forum) ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของ หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง ใช้วิธีการศึกษาและวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย แนวคิดสิทธิมนุษยชน แนวคิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แนวคิดเรื่องการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม แนวคิดเกี่ยวกับการต่อต้านการค้ามนุษย์ กรอบความร่วมมือ ระหว่างประเทศและพันธกรณีที่ไทยมีในการต่อต้านการค้ามนุษย์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างกรอบ แนวคิดในการวิจัย โดยทําการรวบรวมเอกสารจากแหล่งต่างๆ แล้ววิเคราะห์เอกสารโดยการจัดทําแบบ บันทึกการวิเคราะห์เอกสาร บันทึกเกี่ยวกับลักษณะเอกสารแหล่งที่มา และสาระสําคัญของเอกสารที่เกี่ยวข้อง กับการวิจัย ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์เอกสารจะเป็นกรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ จากการศึกษาด้วยวิธีการอื่นๆ ต่อไป การศึกษากฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และการศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนามและเกาหลี ใต้ รวมทั้งประสบการณ์แนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศดังกล่าว คณะผู้วิจัยเก็บรวม รวบข้อมูลโดยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การศึกษาปัญหาการบังคับใช้และจุดอ่อน ข้อบกพร่องของกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศ ไทย และการศึกษาทางเลือกหรือข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการ ระเบียบและกฎหมายต่อต้าน การค้ามนุษย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย คณะผู้วิจัยเก็บรวมรวบข้อมูลโดย การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์ (Interview) ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ จํานวน 20 คน และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการใช้กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ในการแก้ไข ปัญหาการค้ามนุษย์ จํานวน 20 คน โดยกําหนดข้อคําถามเพื่อใช้เป็นแนวทางในการสัมภาษณ์เป็นลักษณะ คําถามแบบปลายเปิด สาระจะครอบคลุมกรอบแนวคิดในการวิจัยและทางเลือกข้อเสนอแนะหรือข้อเสนอ ในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการ ระเบียบและกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัย ครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ทําการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เทคนิควิเคราะห์ข้อมูลแบบการวิเคราะห์ เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อให้ได้มาซึ่งทางเลือกหรือข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการ ระเบียบและกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย
4. ผลการศึกษาวิจัย
4.1 ผลการศึกษาวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อ 1 กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมาย อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ปัญหาการบังคับใช้และจุดอ่อนข้อบกพร่องของกฎหมาย จากการศึกษาวิจัยพบว่า กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของไทย ได้แก่ พระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 เป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ครบถ้วน ทั้งเนื้อหาในส่วนสารบัญญัติ และวิธีสบัญญัติในตัวเอง แต่ในการบังคับใช้ไม่เบ็ดเสร็จในกฎหมายฉบับเดียว
เนื่องจากการกระทําความผิดฐานค้ามนุษย์ หรือการกระทําอันมีลักษณะค้ามนุษย์นั้น มีความเกี่ยวพันกับ ความผิดตามกฎหมายฉบับอื่นอีกหลายฉบับ อันได้แก่ พระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาอื่นๆ เมื่อแยก พิจารณาจากบทนิยามของการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานค้ามนุษย์ ได้แก่ การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี การแสวงหาประโยชน์ ทางเพศในรูปแบบอื่น จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การค้าประเวณี พ.ศ.2539 พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509 การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วย การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิ ด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เพิ่มเติม พ.ศ.2560 การเอาคนลงเป็นทาสหรือให้มีลักษณะคล้ายทาส จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ในหมวดความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ การแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบด้วยการนําคนมาขอทาน จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยการตัดอวัยวะเพื่อการค้า จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ จะเป็นความผิดตามพระราช บัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 พระราชบัญญัติ การจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 พระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ.2481 พระราชกําหนดการประมง พ.ศ.2558 พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตประมงไทย พ.ศ.2482 การอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน อันเป็นการขูดรีดบุคคล จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และกรณีการกระทําความผิดฐานค้า มนุษย์ มีคนต่างด้าวเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้กระทําความผิด หรือผู้เสียหาย ก็จะเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 กรณีการกระทําแก่เด็กหรือบุคคลอายุต่ํากว่าสิบแปดปี ก็จะเป็น ความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ.2522 เพิ่มเติม พ.ศ.2553 หากการกระทําความผิดฐานค้ามนุษย์ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ต้องด้วยความผิดตามกฎหมายฉบับอื่นด้วย จึงเป็นการกระทําอันเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท จึงต้องลงโทษผู้กระทําความผิดตามบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 (คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 3930/2558) แต่หากฐานความผิดตามกฎหมาย ฉบับอื่นนั้น มีสภาพแห่งความผิดที่ต่างกัน กฎหมายมุ่งหมายให้เกิดผลต่อผู้กระทําความผิดที่มีเจตนากระทํา ความผิดแตกต่างกัน เช่น ความผิดฐานค้ามนุษย์ ฐานเป็นธุระจัดหาบุคคลไปเพื่อ ให้กระทําการค้าประเวณี และฐานเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหาเพื่อการอนาจารซึ่งชายหรือหญิง กฎหมายมุ่งที่จะ บังคับแก่ผู้ที่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเป็นธุระจัดหาหญิงไปเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เพื่อการอนาจาร หรือเพื่อให้กระทําการค้าประเวณี ไม่ว่าการเป็นธุระจัดหาดังกล่าวกระทําขึ้นโดยวิธีการใด ส่วนความผิด ฐานเป็นเจ้าของ ผู้ดูแล ผู้จัดการกิจการการค้าประเวณีหรือสถานการค้าประเวณีนั้น กฎหมายมุ่งที่จะบังคับ
แก่ผู้จัดการกิจการหรือสถานที่ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าประเวณีหรือเพื่อใช้ในการติดต่อหรือจัดหา บุคคลเพื่อกระทําการค้าประเวณีเป็นการเฉพาะ จึงเป็นความผิดต่างกรรม มิใช่กรรมเดียวผิดต่อกฎหมาย หลายบท ดังนี้ต้องเรียงกระทงลงโทษ ในแต่ละฐานความผิด (คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 6011/2558) ในส่วน กฎหมายฉบับอื่นๆ ได้แก่ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติ องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ.2556 พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 พระราชบัญญัติ การคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ.2546 และพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ.2535 เป็นบทบัญญัติที่สนับสนุนในการดําเนินการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ แม้ไม่ได้มี ความเกี่ยวข้องกับการกระทําที่เป็นฐานความผิดค้ามนุษย์โดยตรง แต่ก็เป็นกลไกสําคัญในการป้องกันและ ปราบปรามการค้ามนุษย์
ส่วนปัญหาการบังคับใช้และจุดอ่อนข้อบกพร่องของกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และ กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย จากการศึกษาโดยการสัมภาษณ์และสนทนา กลุ่มประกอบการวิเคราะห์เอกสาร พบว่า การที่มีกฎหมายบังคับใช้หลายฉบับในเรื่องเกี่ยวกับการค้า มนุษย์ จะมีข้อดีที่กฎหมายครอบคลุมการกระทําทุกอย่างที่เป็นความผิด แต่ก็จะมีจุดอ่อนหรือข้อบกพร่อง คือ แม้ว่ากฎหมายแต่ละฉบับจะมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดอันเป็น การค้ามนุษย์ แต่เจ้าหน้าที่ที่มีอํานาจบังคับตามกฎหมายแต่ละฉบับเป็นคนละส่วนกัน เช่น มีทั้งเจ้าหน้าที่ ตํารวจ เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง เจ้าพนักงานของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เจ้าพนักงานตรวจแรงงาน เจ้าหน้าที่กรมประมง เป็นต้น ส่งผลให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติงานในด้านการ ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ขาดหน่วยงานหลักที่มีทั้งอํานาจและหน้าที่โดยตรงในการบริหาร จัดการเรื่องการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ทําให้เกิดการทํางานซ้ําซ้อนกันของแต่ละหน่วยงาน และในส่วนของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ก็ยังมีบทบัญญัติที่อ่านและ ทําความเข้าใจได้อยากในเรื่องการกระทําความผิดฐานค้ามนุษย์
4.2 ผลการศึกษาวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อ 2 วิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของ
ประเทศไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนามและเกาหลีใต้ รวมทั้งประสบการณ์แนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศ ดังกล่าว
ผลการศึกษาวิจัยด้วยการวิเคราะห์เอกสาร พบว่า สหรัฐอเมริกามีกฎหมายแม่แบบในการ ต่อต้านการค้ามนุษย์ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแห่งสหรัฐอเมริกา (United State Code) และพระราชบัญญัติ ป้องกันผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ (Trafficking Victims Protection Act) อีกหลายฉบับ ได้แก่ Trafficking Victims Protection Reauthorization Act of 2003 (TVPRA 2003), Trafficking Victims Protection
Reauthorization Act (TVPRA 2005) Trafficking Victims Protection Reauthorization Act 2008 (TVPRA 2008) Trafficking Victims Protection Reauthorization Act 2013 (TVPRA 2013) พระราช บัญญัติป้องกันผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ (Trafficking Victims Protection Act หรือ TVPA) เป็นกฎหมาย ที่ครอบคลุมความผิดฐานค้ามนุษย์ทุกรูปแบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้ามนุษย์เพื่อแสวงประโยชน์ทางเพศ และการบังคับใช้แรงงานทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติโดยมีวัตถุประสงค์หลักสามประการคือ การป้องกัน (Prevention) การคุ้มครอง (Protection) และการฟ้องคดี (Prosecution) โดยสหรัฐอเมริกา จัดทํารายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (Trafficking in Persons Report – TIP Report) และรายงานของ กระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา โดยใช้พระราชบัญญัติป้องกันผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ หรือกฎหมาย TVPA เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา โดยมีการจัดตั้งสํานักงานเพื่อการ ตรวจสอบและต่อสู้กับการค้ามนุษย์ Office to Monitor and Combat Trafficking in Persons (J/TIP) ขึ้น ภายใต้กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกามีหน้าที่หลักในการตรวจสอบและป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ ทั้งภายในสหรัฐอเมริกา และประเทศต่างๆ โดยหนึ่งในหน้าที่หลักของสํานักงาน TIP Office คือการจัดทํา รายงานเพื่อเสนอต่อรัฐสภาสหรัฐอเมริกา ในเดือนมิถุนายนของทุกปี (TVPA) เป็นเครื่องมือ กําหนดให้ กระทรวงการต่างประเทศจัดทํารายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (TIP Report) เป็นรายงานประจําปีเพื่อ เสนอต่อรัฐสภาสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับสถานการณ์การค้ามนุษย์ และการดําเนินการของรัฐบาลประเทศ ต่างๆ ทั่วโลกจํานวนกว่า 188 ประเทศ โดยจัดระดับเป็น Tier 1, Tier 2, Tier 2 Watch List และ Tier 3 ตามมาตรฐานขั้นต่ําในการขจัดการค้ามนุษย์ที่ระบุใน TVPA โดยเป็นการประเมินความคืบหน้าการดําเนินการ ของแต่ละประเทศ เปรียบเทียบกับการดําเนินการของประเทศนั้นๆ ในปีที่ผ่านมา
ประเทศเมียนมาร์ มาเลเซีย และเวียดนามมีกฎหมายเฉพาะในการต่อต้านการค้ามนุษย์
ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ ค.ศ.2005 ของเมียนมาร์ และ Anti-Trafficking in Person and Anti-Smuggling of Migrant Act 2007 (Law of Malaysia) ของประเทศมาเลเซียซึ่งจะมีบทบัญญัติที่ ใกล้เคียงกับกฎหมายไทย กล่าวคือ มีบทนิยามศัพท์เพื่อกําหนดการกระทําประเภทต่างๆ ที่เป็นการแสวงหา ประโยชน์ในการค้ามนุษย์ โดยในส่วนของมาเลเซีย จะลงรายละเอียดของพฤติการณ์ต่างๆ ของการกระทํา ที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์เพื่อให้ครอบคลุมการกระทําที่เป็นความผิดทุกประเภท กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ ของประเทศมาเลเซีย Anti-Trafficking in Person and Anti-Smuggling of Migrant Act 2007 (Law of Malaysia) เป็นบทกฎหมายที่ละเอียด นอกจากครอบคลุมพฤติการณ์ต่างๆ ที่เข้าข่ายความผิดฐานค้ามนุษย์ แล้วยังคุ้มครองไปยังการช่วยเหลือดูแลเหยื่อในทุกขั้นตอน อํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดไปจนถึงสิ่งต่างๆ ที่จะนํามาเป็นพยานหลักฐานในการดําเนินคดีความผิดฐานค้ามนุษย์ได้ จึงเบ็ดเสร็จในกฎหมายฉบับเดียว มาเลเซียเชื่อมั่นในประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย ด้วยการบังคับใช้
กฎหมาย Anti-Trafficking in Person and Anti-Smuggling of Migrant Act 2007 และกฎหมายอาญา เนื่องจากมาเลเซียเป็นประเทศต้นทางและประเทศทางผ่านของการค้ามนุษย์ที่มีเหยื่อเป็นผู้หญิงและเด็ก ส่วนประเทศเวียดนามมีกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ คือ LAW ON HUMAN TRAFFICKING PREVENTION AND COMBAT บังคับใช้เมื่อปี 2011 เพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศเวียดนาม ซึ่งประสบปัญหา เป็นประเทศต้นทาง ที่ชาวเวียดนามชายและหญิงเป็นเหยื่อในการเดินทางไปเป็นแรงงานข้ามชาติในจีน และประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ นอกจากที่เวียดนามมีความร่วมมือกับประเทศจีนในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ โดยรัฐบาลจีนเข้มงวดในการผลักดันไม่ให้แรงงานชาวเวียดนามลักลอบเข้ามาทํางานในประเทศแล้ว เวียดนามพยายามที่จะพลิกสถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศที่ถูกจัดอันดับอยู่ใน Tier2 โดยการบัญญัติ กฎหมาย LAW ON HUMAN TRAFFICKING PREVENTION AND COMBAT บังคับใช้มาเป็นระยะเวลา
6 ปี แต่การให้นิยามการค้ามนุษย์ในกฎหมายฉบับนี้ยังไม่มีความชัดเจน และไม่มีการกําหนดเกณฑ์อายุ ของเหยื่อที่จะได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษ โดยบทบัญญัติกฎหมายนี้ ให้ความสําคัญกับการปฏิบัติต่อเหยื่อ จากการค้ามนุษย์ ทั้งด้านสิทธิต่างๆที่เหยื่อจะได้รับ เนื่องด้วยมาตรฐานที่ TVPA กําหนดไว้ มีข้อกําหนดที่ ต้องมีการปฏิบัติต่อเหยื่อตามมาตรฐานด้วย กฎหมายฉบับนี้ของเวียดนามจึงให้ความสําคัญกับเรื่องนี้เป็น อย่างมาก แต่โดยลําพัง กฎหมายป้องกันและต่อต้านการค้ามนุษย์ฉบับนี้ของเวียดนามยังไม่เพียงพอต่อการ บังคับใช้เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ได้ จึงมีบทบัญญัติให้ไปใช้บทนิยามการค้ามนุษย์ตามฐานความผิดใน ประมวลกฎหมายอาญา
ประเทศเกาหลีใต้ ไม่มีกฎหมายในการต่อต้านการค้ามนุษย์เป็นบทเฉพาะ แต่ใช้ประมวล กฎหมายอาญา ซึ่งมีบทบัญญัติครอบคลุมการกระทําต่างๆ ที่เป็นการค้ามนุษย์ โดยประมวลกฎหมาย อาญาของเวียดนาม และเกาหลีใต้นั้นจะมีบทบัญญัติกําหนดความผิดและโทษในฐานความผิดที่ใกล้เคียง กับกฎหมายอาญาของไทยมาก และยังมีการบังคับใช้กฎหมายฉบับอื่นๆที่เป็นพระราช บัญญัติที่มีโทษทาง อาญาเพื่อดําเนินคดีกับการกระทําความผิดฐานค้ามนุษย์รูปแบบอื่น นอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในประมวล กฎหมายอาญา กฎหมายของเกาหลีใต้หลายฉบับมุ่งคุ้มครองและให้ความสําคัญกับเด็กและสตรี เนื่องจาก ปัญหาการค้ามนุษย์ในเกาหลีใต้ส่วนใหญ่ คือการแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบการค้าประเวณี เกาหลีใต้เป็นประเทศปลายทาง เหยื่อของการค้ามนุษย์มาจากประเทศเวียดนาม กัมพูชา มองโกเลีย ฟิลิปปินส์ และอุสเบกิสถาน (U.S.A. Office to Monitor and Combat Trafficking in Persons 2016 Trafficking in Persons Report)
ส่วนประสบการณ์แนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนาม เกาหลีใต้ จากการศึกษาวิจัยโดยการวิเคราะห์เอกสาร พบว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา แก้ไข ปัญหาการค้ามนุษย์ด้วยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มแข็ง ด้วยมีพระราชบัญญัติป้องกันผู้เสียหายจาก
การค้ามนุษย์ (Trafficking Victims Protection Act หรือ TVPA) เป็นกฎหมายที่ครอบคลุมความผิดฐาน ค้ามนุษย์ทุกรูปแบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้ามนุษย์เพื่อแสวงประโยชน์ทางเพศและการบังคับใช้แรงงาน ทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ บทลงโทษที่รุนแรงสําหรับความผิดฐานค้ามนุษย์ สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่ป้องกันแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศต่างๆ โดยการจัดทํารายงานสถานการณ์การค้า มนุษย์ (Trafficking in Persons Report – TIP Report) และรายงานของกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา กําหนดให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทํารายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (TIP Report) เป็นรายงาน ประจําปี เพื่อเสนอต่อรัฐสภาสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับสถานการณ์การค้ามนุษย์ และการดําเนินการของรัฐบาล ประเทศต่างๆทั่วโลกจํานวนกว่า 188 ประเทศโดยจัดระดับเป็น Tier 1, Tier 2, Tier 2 Watch List และ Tier 3 ตามมาตรฐานขั้นต่ําในการขจัดการค้ามนุษย์ที่ระบุใน TVPA โดยเป็นการประเมินความคืบหน้า การดําเนินการของแต่ละประเทศ เปรียบเทียบกับการดําเนินการของประเทศนั้นๆ ในปีที่ผ่านมา
ประเทศเมียนมาร์มีมาตรการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์หลายด้าน เช่น การประชาสัมพันธ์ เพื่อช่วยให้โครงการแก้ปัญหาต่างๆ ได้เข้าถึงชุมชนที่ประชากรมีความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อ การให้ความรู้ ด้วยการใช้ความร่วมมือสร้างเครือข่ายของคนรุ่นใหม่โดยเข้าถึงโรงเรียน มหาวิทยาลัยหรือสโมสรต่างๆ สิ่งสําคัญ คือ มาตรการชายแดนระหว่างสองประเทศ การทําความตกลงร่วมกันในการแก้ไขปัญหาการค้า มนุษย์ การลักลอบเข้าเมือง เพื่อป้องกันไม่ให้ชาวเมียนมาร์ต้องตกเป็นเหยื่อของการแสวงหาประโยชน์ การใช้แรงงาน และการค้ามนุษย์ มาตรการความร่วมมือระหว่างชายแดนของสองประเทศ ได้แก่ การส่ง ผู้เสียหายกลับคืนสู่ภูมิลําเนาในเมียนมาร์โดยปราศจากความเกรงกลัวต่อการถูกคุกคาม ทั้งนี้ องค์กรอิสระ (NGOs) ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการช่วยเหลือจะมีโครงการติดตามที่เรียกว่า “Watchdog” ที่คอยเฝ้าดูและ สังเกตการณ์ World Vision ที่ทํางานในเมียนมาร์มานานถึง 25 ปี ก็มีการพัฒนาโครงการต่างๆ ในการแก้ปัญหา ประเทศมาเลเซีย มีความพยายามอย่างมากที่จะแก้ปัญหาและแสดงให้เห็นถึงความพยายาม ที่เพิ่มขึ้นโดยการขยายการสืบสวนสอบสวนฟ้องร้อง เจ้าหน้าที่เพิ่มขีดความสามารถในการบังคับใช้กฎหมาย ที่ห้ามไม่ให้นายจ้างเก็บหนังสือเดินทางของลูกจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาต รูปแบบของการค้ามนุษย์และการ ลักลอบย้ายถิ่นฐานในมาเลเซีย คือ การลักลอบข้ามแดน ที่มีความเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมที่มีความรุนแรง การฟอกเงิน ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การลักลอบค้าอาวุธ ค้ายาเสพติดและอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ เด็กและคนที่อยู่ในภาวะความเปลี่ยนแปลงในชีวิต คือคนที่จะตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ได้ง่าย หน่วยงาน MAPO (council for Anti-Trafficking in Person and Anti-Smuggling of Migrants) เป็นหน่วยงาน
สําคัญที่ป้องกันแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ในมาเลเซีย
กรณีประเทศเวียดนาม จากรายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์ประเทศเวียดนาม รัฐบาล ตั้งเป้าหมายในการต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก นโยบายและการแก้ปัญหาคือการพัฒนา
นโยบายแห่งชาติในการป้องกันการค้ามนุษย์ ค้าประเวณี รัฐบาลต้องกระตุ้น และสร้างเงื่อนไขในการเสริมแรง ยังมีองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ที่ให้ความช่วยเหลือ ได้แก่ IOM รัฐบาลจะเน้นการดูแลผู้หญิงและเด็ก จัดให้มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาล หน่วยงาน และองค์การมหาชนต่างๆ และ NGO ตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา เวียดนามประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติในการต่อต้านการค้ามนุษย์ (2004-2010) เป้าหมายคือการป้องกัน และลดจํานวนผู้ถูกค้ามนุษย์ที่เป็นหญิงและเด็ก โดยการดําเนินการด้านการศึกษาเศรษฐกิจ การปกครอง มาตรการทางกฎหมาย นโยบายในการ Prevention การป้องกัน Suppression การปราบปรามความเลวร้าย ทางสังคม และการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ จีนในฐานะประเทศผู้รับ หรือปลายทางของการค้ามนุษย์ รัฐบาลจีนจะสร้างรูปแบบการเชื่อมโยงเพื่อการป้องกันการแทรกแซงทางกฎหมาย การลงโทษ การรักษา ความปลอดภัย และการฟื้นฟู มาตั้งแต่ปี 1990 ใช้การทํางานร่วมกันของ 14 หน่วยงานของรัฐและภาค ประชาชน (China National Report:2002) ประกอบด้วย กระทรวงความปลอดภัย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงการศึกษา และหน่วยงานที่ทํางานเกี่ยวกับผู้หญิงทั้งหมด จากการรับรู้ที่เพิ่มขึ้นนี้ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายมีความรับผิดชอบในการปราบปรามผู้ค้ามนุษย์ และช่วยเหลือเหยื่อ รวมทั้งที่ เป็นหญิงและเด็กชาวเวียดนามด้วย เนื่องจากจีนเป็นประเทศผู้รับ และใกล้ชิดกับเวียดนาม มีชาวเวียดนาม หลบหนีเข้าไปในจีนจํานวนมาก เป็นผู้อพยพ กระทําผิดกฎหมายของจีน กลายเป็นเหยื่อกระบวนการค้า มนุษย์ และถูกพิจารณาให้เป็นผู้กระทําผิด ถูกปฏิบัติเช่นคนต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมือง ซึ่งจะต้องถูกส่งกลับ ประเทศ การป้องกันและแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ของเวียดนามนี้ อาศัยความร่วมมือกับประเทศจีน ซึ่งมีระบบ การบังคับใช้กฎหมายที่เข้มแข็ง ปัญหาสําคัญคือการลักลอบเข้าเมืองทางชายแดนของสองประเทศ ทําให้ต้อง มีการทําความตกลงร่วมกัน (MOU) เพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศจีน และป้องกันชาว เวียดนามมิให้ถูกค้ามนุษย์ในจีนด้วย ประเด็นข้อหารือจึงเป็นเรื่อง การป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติ ได้แก่ การก่อการร้าย การค้ายาเสพติด อาวุธ ผู้หญิง และเด็ก โดยการทําความตกลงของตํารวจและหน่วยงาน ความมั่นคงของทั้งสองประเทศ
รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (ROK หรือเกาหลีใต้) มีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐาน
ขั้นต่ําสําหรับการขจัดการค้ามนุษย์ เกาหลีใต้ยังคงอยู่ในระดับ Tier 1 มีความพยายามอย่างจริงจัง ทั้งเพิ่ม จํานวนการสืบสวนการฟ้องร้อง และความเชื่อมั่นของการค้ามนุษย์ การรณรงค์สร้างจิตสํานึก การให้การ ดูแลช่วยเหลือแก่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และการเสริมสร้างกระบวนการป้องกันการค้ามนุษย์ระหว่าง ผู้ถือวีซ่าประเภทบันเทิง แม้ว่ารัฐบาลจะเป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ํา แต่ก็ยังคงดําเนินคดีกับการค้ามนุษย์ ตามกฎหมายที่มีบทลงโทษต่ํากว่า และไม่ได้กําหนดแนวทางที่เป็นทางการในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน การขาด ความรวดเร็วของเจ้าหน้าที่ตํารวจบางราย อาจทําให้เหยื่อได้รับบาดเจ็บ หรือมีความเสี่ยง ผู้เสียหายจาก การค้ามนุษย์ที่เป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ที่เป็นหญิงโสเภณีต่างถูกกักตัวหรือถูกเนรเทศ เกาหลีใต้ได้เพิ่ม
ความพยายามในการตรวจสอบฟ้องร้องดําเนินคดี และบังคับคดีค้ามนุษย์ ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ต้องหาได้รับโทษตามสัดส่วนการกระทําความผิด การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่บังคับ ใช้กฎหมาย อัยการ และเจ้าหน้าที่ตุลาการเพื่อทําความเข้าใจ "การค้ามนุษย์" ตามที่กําหนดไว้ในประมวล กฎหมายอาญา ซึ่งไม่จําเป็นต้องมีการลักพา การซื้อ และขายบังคับ หรือการคุมขัง ระบุผู้ตกเป็นเหยื่อ การค้ามนุษย์ในกลุ่มประชากรที่อ่อนแอ รวมถึงบุคคลที่ถูกจับในข้อหาค้าประเวณี คนพิการ และแรงงาน อพยพในทุกประเภทวีซ่า โดยใช้หลักเกณฑ์การระบุผู้เสียหาย ตามมาตรฐานที่กําหนด ตรวจสอบและ ดําเนินคดีในเชิงรุกกับชาวเกาหลีใต้ที่มีส่วนร่วมในการกระทําทางเพศกับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้าประเวณี เด็กในเกาหลีใต้และต่างประเทศ เพิ่มการเฝ้าติดตามช่องโหว่ของการค้ามนุษย์ในวีซ่าเพื่อความบันเทิงของ รัฐบาลเกาหลีใต้ รวมถึงการตรวจสอบสัญญา และการตรวจสอบสถานประกอบการที่ให้การสนับสนุน และดําเนินการตรวจสอบและฟ้องร้องผู้ที่ใช้แรงงานบังคับกับเรือประมงที่ติดธงชาติเกาหลีใต้
4.3 ผลการศึกษาวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อ 3 ทางเลือกหรือข้อเสนอแนะในการปรับปรุง
แก้ไขมาตรการ ระเบียบและกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ของประเทศไทย
ผลการศึกษาวิจัยจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากผู้ให้สัมภาษณ์ ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม ประกอบกับการวิเคราะห์เอกสาร พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสําคัญส่วนใหญ่เห็นว่าควรมีการทบทวนปรับปรุงบันทึก ความเข้าใจทวิภาคีกับประเทศเพื่อนบ้าน และกําหนดมาตรฐานลักษณะการปฏิบัติงานและการดํารงชีวิต บนเรือ เพื่อควบคุมการบังคับใช้แรงงานบนเรือประมง โดยมอบหมายให้มีหน่วยงานควบคุม ประสานงาน เป็นหน่วยงานกลางที่ชัดเจน เนื่องจากปัญหาหนึ่งที่สําคัญของการต่อต้านการค้ามนุษย์คือด้านความร่วมมือ ระหว่างประเทศทั้งทางด้านกฎหมายและในการปฏิบัติ เนื่องจากความผิดฐานค้ามนุษย์มีการร่วมกระทํา ความผิดเป็นกระบวนการ เกี่ยวพันกับหลายประเทศ แม้ว่าประเทศไทยจะมีความเข้มแข็งในการป้องกัน ปราบปรามการค้ามนุษย์ได้ดีเพียงใดก็ตาม หากประเทศเพื่อนบ้านมีการลักลอบเข้ามาทํางานในประเทศ ไทย เพราะประเทศไทยมีสภาพเศรษฐกิจและช่องทางในการทํางานมากกว่า การเคลื่อนย้ายแรงงานเข้ามา ในประเทศมากขึ้น การกวดขันด้านแบบพิธีการเข้าประเทศ ทําให้เกิดปัญหาการลักลอบเข้าเมือง ทําให้ ตกเป็นเหยื่อของกระบวนการค้ามนุษย์ นําปัญหาเข้าสู่ประเทศไทยอีกต่อไป
ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ต้องมีความรู้ ความชํานาญในการปฏิบัติหน้าที่ ควรมีการการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับ การต่อต้านการค้ามนุษย์ มีการทํางานอย่างมืออาชีพ มีความรู้ มีทัศนคติที่ดีต่อผู้เสียหายมีการประสาน ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในประเทศไทย เป็นหน้าที่ ความรับผิดชอบของหลายหน่วยงาน อาจมีการทํางานซ้ําซ้อนกัน ก็ควรมีการประสานงาน แจ้งข่าวสาร
และมอบหมาย แบ่งหน้าที่ที่ชัดเจน เพื่อความรวดเร็วในการทํางาน ไม่เกิดผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในคดี เมื่อการค้ามนุษย์มีการกระทําที่เป็นขบวนการ การประสานความร่วมมือ และแจ้งข่าว จึงเป็นสิ่ง สําคัญในการป้องกันและปราบปราม ตัวบทกฎหมายก็ควรมีความชัดเจน และมีบทลงโทษหนักแต่กรณี เจ้าหน้าที่ที่ทุจริต แสวงหาผลประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ แต่การลงโทษบทหนักตามพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ยังไม่เข้มข้นเพียงพอควรเป็นการดําเนินคดีเจ้าหน้าที่ ที่ทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ด้วย แต่ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 กลับไม่ให้คดีค้ามนุษย์ ครอบคลุมไปถึงคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบตาม กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ในส่วนที่เจ้าหน้าที่ทุจริตก็ควรให้อยู่ใน การดําเนินคดีค้ามนุษย์ไปในคราวเดียวกัน และคดีเดียวกัน
ด้านของบทกฎหมาย ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เห็นว่าควรมีการปรับปรุงกฎหมายให้ตัวบท สอดคล้องกับทางปฏิบัติได้จริงให้การบังคับใช้มีประสิทธิผลมากขึ้น ในด้านการบังคับใช้ให้มีความทันสมัยกับ เทคโนโลยีต่างๆ ที่พัฒนาไป การรวบรวมพยานหลักฐาน วิธีการขั้นตอนตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ในการรับ ฟังพยานหลักฐานในคดีให้มีความชัดเจน และอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติให้มีความรู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้สามารถ รวบรวมพยานหลักฐานในคดีอย่างถูกต้องและครอบคลุม การป้องกันและปราบปรามให้รวมไปถึงการ ดําเนินคดีที่รวดเร็ว การคุ้มครองพยานบุคคล ตลอดไปจนถึงการยึดทรัพย์ผู้กระทําความผิดตามกฎหมาย ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และครอบคลุมไปถึงการกระทําความผิดซ้ํา เพื่อป้องกันมิให้กลับเข้าสู่ กระบวนการค้ามนุษย์อีก แต่กรณีพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559 กลับมีปัญหาในทาง ปฏิบัติ เกี่ยวกับความชํานาญ ความเข้าใจของผู้พิพากษาและผู้เกี่ยวข้องในการดําเนินคดี การนําระบบไต่สวน มาใช้ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติยังขาดความรู้ กฎหมายที่กําหนดบทนิยามการค้ามนุษย์ กฎหมายไทยมีบทบัญญัติ ครอบคลุม เช่น การใช้บทบัญญัติว่าด้วยเรื่องมาตรการสมคบ ความผิดที่มีการกระทําโดยองค์กรอาชญากรรม แต่ปัญหาเกิดที่การความไม่ชัดเจนในการนําไปบังคับใช้ และปัญหาที่กฎหมายเกี่ยวข้องกับการป้องกันและ ปราบปรามการค้ามนุษย์มีกฏหมายหลายฉบับ มีพระราชบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย เกิดปัญหา กับเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้ ทั้งบทกฎหมายที่มีการบัญญัติเพิ่มเติมในปี 2560 บทบัญญัติที่เพิ่มเติมโดย ขยายความการกระทําเพื่อให้เข้าองค์ประกอบความผิดฐานค้ามนุษย์แล้วยังต้องมีการอธิบายความของคําว่า แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ได้แก่ การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ แล้วยังต้องมีบทขยายความของการ บังคับใช้แรงงานหรือบริการอีกว่าการกระทําใดบ้างที่เข้าข่ายเป็นว่าการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ อันจะ เป็นมูลเหตุจูงใจของการแสวงหาประโยชน์ ซึ่งเมื่อประกอบกับการกระทํา ตามมาตรา 6(1) และ (2) จะ เป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ เป็นการนิยามที่ต้องมีการตีความถึง 2 ครั้ง เป็นความซับซ้อนของตัวบททําให้ ทําความเข้าใจได้ยาก เกิดปัญหาในการบังคับใช้ของผู้ปฏิบัติ การบัญญัติไม่ควรให้มีการตีความและอธิบาย
ความหมายถึง 2 ชั้น บทบัญญัติเดิมตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มีความกระชับในใจความอยู่แล้ว ไม่มีความจําเป็นต้องบัญญัติขยายความให้เกิดความซับซ้อน เมื่อศึกษา เปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ ก็ไม่มีบทบัญญัติของประเทศใดที่มีความซับซ้อนให้ต้องตีความหลาย ขั้นตอน ควรให้นิยามความหมายแทรกอยู่ตัวบทวรรคนั้นๆ โดยไม่ต้องบัญญัติเป็นวรรคใหม่
ตามบทบัญญัติมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ที่ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนดําเนินคดีกับผู้เสียหายในความผิดฐานเข้ามา ออกไปหรืออยู่ในราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (มาตรา 12 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522) และความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ปลอมหรือใช้หนังสือเดินทางปลอม อันเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา โดยหากจะดําเนินคดีต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรมนั้น เป็นบทบัญญัติที่เป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ กล่าวคือ หากจะดําเนินคดีกับผู้เสียหาย ต้องได้ รับอนุญาตจากรัฐมนตรี ซึ่งในทางปฏิบัติที่เจ้าหน้าที่มีการคัดแยกเหยื่อ โดยใช้เวลาสัมภาษณ์และสืบเสาะ ข้อมูลโดยนักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์แล้วนั้น ย่อมมีข้อเท็จจริงในเบื้องต้นว่า ผู้เสียหายสมัครใจเข้ามา ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือไม่สมัครใจ เพราะหากเป็นการสมัครใจเข้ามา ย่อมต้องรู้ว่าการ ลักลอบเข้ามาและใช้เอกสารปลอม เป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ ผู้เสียหายเองแม้ว่าเป็น เหยื่อของการค้ามนุษย์ แต่ก็เป็นผู้กระทําผิดต่อกฎหมายคนเข้าเมือง และใช้เอกสารปลอม เจ้าพนักงาน ย่อมสามารถใช้ดุลพินิจที่จะดําเนินคดีได้ มิฉะนั้น ผู้เสียหายเหล่านี้จะไม่ถูกดําเนินคดี และมีแนวโน้มที่จะ สมัครใจลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตอีก จึงไม่สามารถตัดวงจรการเข้าสู่กระบวนการ ค้ามนุษย์ได้หมดสิ้น ควรแก้ไขมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ให้พนักงานสอบสวนสามารถดําเนินคดีกับผู้เสียหายในความผิดฐานเข้ามา ออกไป หรืออยู่ใน ราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (มาตรา 12 พระราชบัญญัติคนเข้า เมือง พ.ศ.2522) และความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ปลอมหรือใช้หนังสือเดินทางปลอม อัน เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาได้ หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายสมัครใจลักลอบเข้ามาใน ราชอาณาจักร
ปัญหาด้านหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เมื่อ
พิจารณาตามที่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 15 บัญญัติให้มี คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (คณะกรรมการ ปคม.) ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ และมีรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง อีก 15 ท่าน มีอํานาจหน้าที่ตามมาตรา 16 คือ เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการกําหนดนโยบาย การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย, กําหนดยุทธศาสตร์ และแนวทางต่างๆเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปราม
การค้ามนุษย์นั้น มาตรา 22 ยังบัญญัติให้มีคณะกรรมการประสานและกํากับการดําเนินงานป้องกันและ ปราบปรามการค้ามนุษย์ (คณะกรรมการ ปกค.) ประกอบด้วยรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ ปลัดกระทรวงต่างๆ เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง มีอํานาจหน้าที่ตามมาตรา 23 ได้แก่ การจัดทําและกํากับการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการและแผน ประสานงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และยังมีอํานาจตั้ง คณะอนุกรรมการ หรือคณะทํางานขึ้นอีกนั้น คณะกรรมการเพื่อการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย ดังกล่าวมีหลายคณะ แม้กฎหมายบัญญัติอํานาจหน้าที่คนละส่วน ไม่ซ้ําซ้อนกันก็ตาม แต่เจตนารมย์เดียว ของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 คือการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ในประเทศ จึงไม่มีความจําเป็นต้องให้มีคณะกรรมการหลายชุด แม้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และคณะกรรมการประสานและกํากับการดําเนินงาน ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ต่างเป็นคณะกรรมการโดยตําแหน่งที่กฎหมายกําหนดกลไกเพื่อบังคับ การให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายก็ตาม แต่การมีคณะกรรมการหลายคณะในกฎหมายฉบับ เดียวกัน เป็นความยุ่งยากซับซ้อน เกินความจําเป็นของเจตนารมย์ที่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ประสงค์ให้มีการบังคับใช้อย่างแท้จริง รัฐบาลควรยกเลิกยกเลิกคณะกรรมการ ปกค. แล้วปรับฐานะของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) มีหน้าที่ในการบริหาร จัดการด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ให้มีฐานะเป็นคณะกรรมการที่มีอํานาจบริหารจัดการ และจัดตั้งองค์กรกลางบริหารจัดการด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เป็นส่วนราชการที่มี ฐานะเทียบเท่ากรม สังกัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อบริหารจัดการด้านการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ ทั้งระบบ อาจมีชื่อเรียกว่า “สํานักงานงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์” ทําหน้าที่เป็นเลขานุการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) มอบหมายอํานาจ หน้าที่ความรับผิดชอบ รวมทั้งงบประมาณให้หน่วยงานนี้ เพื่อเป็นองค์กรกลางในการ กําหนดนโยบาย บริหารจัดการ การประสานความร่วมมือ หรือสั่งการ และติดตามผลการปฏิบัติของ หน่วยงานต่างๆ ตามนโยบายและแผนงาน รวมทั้งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดของแผนงาน ดังกล่าว เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
5. ข้อเสนอแนะ
จากข้อค้นพบในการวิจัยตามที่คณะผู้วิจัยได้สรุปเสนอไว้ คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะสําหรับ การนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ข้อเสนอแนะในระดับปฏิบัติการและ ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป ดังต่อไปนี้
5.1 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
5.1.1 รัฐบาลควรแก้ไขพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ในส่วนของกลไกในการกํากับดูแลและกลไกการปฏิบัติที่ว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ (ปคม.) และคณะกรรมการประสานและกํากับการดําเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้า มนุษย์ (ปกค.) โดยยกเลิกคณะกรรมการ ปกค. แล้วปรับฐานะของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ (ปคม.) ให้มีหน้าที่ในการบริหารจัดการด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ มีฐานะ เป็นคณะกรรมการที่มีอํานาจบริหารจัดการ และจัดตั้งองค์กรกลางบริหารจัดการด้านการป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ เป็นส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากรม สังกัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อบริหารจัดการด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ทั้งระบบ ซึ่งอาจมีชื่อเรียกว่า “สํานักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์” ทําหน้าที่เป็นเลขานุการของคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) มอบหมายอํานาจ หน้าที่ความรับผิดชอบ รวมทั้งงบประมาณให้ หน่วยงานนี้ เพื่อเป็นองค์กรกลางในการกําหนดนโยบาย บริหารจัดการ การประสานความร่วมมือหรือ สั่งการ และติดตามผลการปฏิบัติของหน่วยงานต่างๆ ตามนโยบายและแผนงาน รวมทั้งการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงในรายละเอียดของแผนงานดังกล่าว เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
5.1.2 ควรแก้ไขบทบัญญัติในส่วนของการความหมายคําว่าการการแสวงหาประโยชน์โดย
มิชอบ ดังนี้
ใดรูปแบบหนึ่ง ดังนี้
“มาตรา 6 ...
การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ หมายความว่า การแสวงหาประโยชน์ในรูปแบบ
(1) การค้าประเวณี
(2) การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุลามก
(3) การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น
(4) การเอาคนลงเป็นทาส หรือให้มีลักษณะคล้ายทาส
(5) การนําคนมาขอทาน
(6) การตัดอวัยวะเพื่อการค้า
(7) การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ โดยการข่มขืนใจให้ทํางานหรือให้บริการโดย
วิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
ก. ทําให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือ ทรัพย์สินของบุคคลนั้น หรือของบุคคลอื่น
ข. ขู่เข็ญด้วยประการใดๆ ค. ใช้กําลังประทุษร้าย
ง. ยึดเอกสารสําคัญประจําตัวของบุคคลนั้นไว้ หรือนําภาระหนี้ของบุคคลนั้น หรือของผู้อื่นมาเป็นสิ่งผูกมัดโดยมิชอบ
จ. ทําให้บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้
(8) การอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคลไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอม
หรือไม่ก็ตาม”
5.1.3 ควรแก้ไขมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
พ.ศ.2551 ให้พนักงานสอบสวนสามารถดําเนินคดีกับผู้เสียหายในความผิดฐานเข้ามา ออกไป หรืออยู่ใน ราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (มาตรา 12 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522) และความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ปลอมหรือใช้หนังสือเดินทางปลอม อันเ ป็น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาได้ หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายสมัครใจลักลอบเข้ามาใน ราชอาณาจักร
5.1.4 ควรเพิ่มบทบัญญัติของกฎหมายให้การดําเนินคดีเจ้าหน้าที่ที่ทุจริตในการค้ามนุษย์ ให้อยู่ในการดําเนินคดีค้ามนุษย์ไปในคราวเดียวกัน และคดีเดียวกัน
5.2 ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ
5.2.1 กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรกําหนดระเบียบข้อบังคับ หรือคู่มือปฏิบัติ ให้เป็นแนวทางปฏิบัติชัดเจน เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่าง หน่วยงานต่างๆ ทั้งในเรื่องกระบวนการคัดแยกเหยื่อเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5.2.2 กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรมีการจัดเตรียมล่ามรองรับ ในกรณีเหยื่อเป็นชาวต่างชาติหรือเป็นคนต่างด้าว โดยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กําหนดอัตราจ้างล่าม เพื่อความพร้อมในการปฏิบัติ
5.2.3 ควรมีการอบรมให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่อย่างสม่ําเสมอ เพราะนอกจากเพื่อให้เกิด ความเชี่ยวชาญแล้ว ยังจําเป็นต้องมีความรอบรู้เท่าทันรูปแบบต่างๆ ของการค้ามนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการดําเนินคดีตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559 มาตรา 8 บัญญัติให้วิธี พิจารณาคดีค้ามนุษย์ ใช้ระบบไต่สวน และเป็นไปโดยรวดเร็วตามที่กําหนดในพระราชบัญญัติและ ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา เกิดปัญหาในทางปฏิบัติเนื่องจากปรับเปลี่ยนระบบการดําเนินคดีเป็นระบบ ไต่สวน ปัญหาความชํานาญของเจ้าหน้าที่ ศาล และผู้เกี่ยวข้องในคดี การนําระบบใหม่มาใช้จึงต้องมีการ อบรม ให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติเพื่อความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
5.2.4 กระทรวงแรงงานควรพัฒนามาตรฐานการคุ้มครองแรงงานทั้งคนไทยและคนต่างด้าว ให้เข้าถึงสิทธิที่พึงจะได้รับมากขึ้น รวดเร็วขึ้นและแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงานให้ทัดเทียมกับมาตรฐาน สากล จัดระเบียบบริษัทและนายหน้าจัดหางาน เพื่อตรวจสอบและดําเนินคดีกับผู้ที่แสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบจากแรงงาน การดูแลสภาพการจ้าง ตลอดไปจนถึงสุขภาวะความเป็นอยู่ของแรงงานประมง
5.2.5 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรหาทางเลือกเพิ่มเติม ให้แก่ผู้เสียหาย เช่น การเปิดโอกาสให้องค์กรเอกชนสามารถจัดตั้งสถานคุ้มครองผู้เสียหาย นอกเหนือจาก ของรัฐ ตามที่มาตรา 33 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 กําหนดให้ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นฝ่ายรับผิดชอบดูแล ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ค่าจ้างค่าแรงค้างจ่าย หรือค่าตอบแทนอื่นให้แก่ผู้เสียหายนั้น ต้องมีการ แจ้งให้ผู้เสียหายทราบถึงสิทธิต่างๆ ด้วย โดยให้ประสานความร่วมมือกับกระทรวงยุติธรรม กระทรวง แรงงาน สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานอัยการสูงสุด และสํานักงานศาลยุติธรรม เพื่อให้ผู้เสียหาย ได้รับประโยชน์มากขึ้น
5.2.6 กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตรวจตราสถานบริการไม่ให้ มีการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการค้าประเวณี และที่แฝงมากับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะกับเด็ก อายุต่ํากว่า 18 ปี
5.2.7 การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหา การส่งผู้ร้ายข้าม
แดน การให้ความช่วยเหลือและส่งกลับเหยื่อไปยังประเทศ ให้ครอบคลุม โดยกระทรวงการต่างประเทศ และสํานักงานอัยการสูงสุด มีภารกิจที่เกี่ยวข้องในด้านการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายชาวไทยในต่างประเทศ ผ่านการดําเนินงานของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลทั่วโลก และเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง หน่วยงานในสังกัดสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ต้องมีความเข้มงวดในการตรวจสอบเอกสารการเข้าเมือง
สารบัญ
หน้า | ||
คํานํา บทคัดย่อ | ก ข | |
Abstract | ค | |
บทสรุปผู้บริหาร | ง | |
สารบัญ | ท | |
สารบัญตาราง | บ | |
สารบัญภาพ | ป | |
บทที่ 1 | บทนํา | |
1.1 ความเป็นมาของโครงการ | 1 | |
1.2 คําถามในการวิจัยโครงการ | 5 | |
1.3 วัตถุประสงค์ของโครงการ | 6 | |
1.4 ขอบเขตของการวิจัย | 6 | |
1.5 ผลที่คาดว่าจะได้รับ | 7 | |
บทที่ 2 | ทบทวนวรรณกรรม | |
2.1 แนวคิดเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย | 8 | |
2.2 แนวคิดสิทธิมนุษยชน | 13 | |
2.3 แนวคิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ | 17 | |
2.4 แนวคิดการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม | 20 | |
5.5 แนวคิดเกี่ยวกับการต่อต้านการค้ามนุษย์ | 23 | |
2.6 กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศและพันธกรณีที่ไทยมีในการต่อต้านการค้ามนุษย์ | 29 | |
2.7 แนวคิดและหลักการของกฎหมายเปรียบเทียบ | 31 | |
2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง | 35 | |
2.9 กรอบแนวคิดในการวิจัย | 44 | |
บทที่ 3 | ระเบียบวิธีการวิจัย | |
3.1 ขั้นตอนการดําเนินการวิจัย | 45 | |
3.2 ระเบียบวิธีวิจัย | 47 |
สารบัญ (ต่อ) | ||
หน้า | ||
3.2.1 รูปแบบการวิจัย | 47 | |
3.2.2 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย | 47 | |
3.2.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย | 49 | |
3.2.4 การสร้างเครื่องมือ | 49 | |
3.2.5 การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ | 50 | |
3.2.6 การเก็บรวบรวมข้อมูล | 50 | |
3.2.7 การประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูล | 51 | |
บทที่ 4 | ผลการวิจัย | |
4.1 กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ของประเทศไทย ปัญหาการบังคับใช้และจุดอ่อนข้อบกพร่องของกฎหมาย | 52 | |
4.1.1 กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้า มนุษย์ของประเทศไทย | 52 | |
4.1.2 ปัญหาการบังคับใช้และจุดอ่อนข้อบกพร่องของกฎหมาย | 99 | |
4.2 วิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับกฎหมาย ต่อต้านการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนามและเกาหลีใต้ รวมทั้งประสบการณ์แนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศดังกล่าว | 115 | |
4.2.1 วิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับ กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนามและเกาหลีใต้ | 115 | |
4.2.2 ประสบการณ์แนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ | 155 | |
4.3 ทางเลือกหรือข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการ ระเบียบและกฎหมาย ต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย | 175 | |
บทที่ 5 | สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ | |
5.1 สรุปผลการวิจัย | 195 | |
5.2 ข้อเสนอแนะ | 207 | |
เอกสารอ้างอิง | 211 | |
ภาคผนวก | ||
ก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย | 217 |
สารบัญ (ต่อ) | |
หน้า | |
ข รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือการวิจัย | 219 |
ค การหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย | 220 |
ง รายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ | 222 |
จ คําสัมภาษณ์ผู้ให้สัมภาษณ์ | 223 |
ฉ การสนทนากลุ่ม ครั้งที่ 1 | 247 |
ช การสนทนากลุ่ม ครั้งที่ 2 | 256 |
ซ รายชื่อผู้เข้าร่วมเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็น | 264 |
สารบัญตาราง
ตารางที่ | หน้า | |
4.1 | เปรียบเทียบความเชื่อมโยงของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้า | 57 |
มนุษย์ พ.ศ.2551 กับประมวลกฎหมายอาญา | ||
4.2 | เปรียบเทียบความเชื่อมโยงของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้า | 59 |
มนุษย์ พ.ศ.2551 กับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. | ||
4.3 | 2539 | 61 |
เปรียบเทียบความเชื่อมโยงของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้า | ||
4.4 | มนุษย์ พ.ศ.2551 กับพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 | 69 |
เปรียบเทียบความเชื่อมโยงของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้า | ||
4.5 | มนุษย์ พ.ศ.2551 กับพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 | 81 |
เปรียบเทียบความเชื่อมโยงของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ | ||
พ.ศ.2551 กับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กร | ||
4.6 | อาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ.2556 | 132 |
เปรียบเทียบกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับการต่อต้านการค้ามนุษย์ไว้โดยเฉพาะของ | ||
4.7 | ประเทศไทย สหรัฐอเมริกา เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนามและเกาหลีใต้ | 133 |
เปรียบเทียบการนิยามการกระทําอันเป็นความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ของประเทศ | ||
4.8 | ไทย สหรัฐอเมริกา เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนามและเกาหลีใต้ | 139 |
4.9 | เปรียบเทียบการกําหนดเกณฑ์อายุของเด็กหรือการกระทําความผิดต่อเด็ก | 141 |
เปรียบเทียบผู้ร่วมกระทําผิดฐานค้ามนุษย์และองค์กรอาชญากรรมตามกฎหมาย | ||
ต่อต้านการค้ามนุษย์ของของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา เมียนมาร์ มาเลเซีย | ||
4.10 | เวียดนามและเกาหลีใต้ | 146 |
เปรียบเทียบมาตรการดําเนินการกับทรัพย์สินของผู้กระทําผิดกฎหมายต่อต้าน | ||
การค้ามนุษย์ของของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนามและ | ||
4.11 | เกาหลีใต้ | 147 |
เปรียบเทียบมาตรการดําเนินการกับทรัพย์สินของผู้กระทําผิดกฎหมายต่อต้าน | ||
การค้ามนุษย์ของของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนามและ | ||
เกาหลีใต้ |
สารบัญภาพ
ภาพที่ | หน้า | |
2.1 3.1 | กรอบแนวคิดของการวิจัย ขั้นตอนการดําเนินการวิจัย | 42 46 |
บทที่ 1 บทนํำ
การศึกษาวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับต่างประเทศ” ในบทนํามีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.1 ความเป็นมาของโครงการ
1.2 คําถามในการวิจัยโครงการ
1.3 วัตถุประสงค์ของโครงการ
1.4 ขอบเขตการวิจัย
1.5 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.1 ควำมเป็นมำของโครงกำร
การค้ามนุษย์เป็นปัญหาสําคัญที่อยู่ในกระแสโลกและเป็นที่ตระหนักของทุกประเทศ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดในลักษณะองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติและเชื่อมโยง กับอาชญากรรมในลักษณะอื่น ทั้งการค้าประเวณี ยาเสพติด การลักลอบเข้าเมือง การบังคับใช้ แรงงานเด็ก การแสวงหาประโยชน์จากชีวิตร่างกายมนุษย์ด้วยกัน เป็นการกระทําอันละเมิดสิทธิ มนุษยชน ก้าวล่วงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างร้ายแรง การค้ามนุษย์เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน ที่ต้องอาศัยความร่วมมือและการดําเนินงานร่วมกัน รวมทั้งความพยายามอย่างต่อเนื่องของรัฐบาล ทุกประเทศในอันที่จะบรรลุความก้าวหน้าที่ชัดเจนและสัมฤทธิผลที่ประเมินได้ในการแก้ไขปัญหา สหรัฐอเมริกาให้ความสําคัญกับปัญหาการค้ามนุษย์เป็นอย่างมาก จึงได้ออกกฎหมายคุ้มครองเหยื่อที่ ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ เรียกว่า Trafficking Victims Protection Act (TVPA) ค.ศ.2000 แล้วกําหนดให้เจ้าหน้าที่ทางการทูตของสหรัฐอเมริกาที่ประจําอยู่ในประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือ ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงจัดทํารายงานประจําปี (Trafficking in Persons Report - TIP Report) ว่าประเทศนั้นๆ ได้ดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ตามมาตรฐานขั้นต่ําที่กําหนดหรือไม่อย่างไร มาตรฐานขั้นต่ํานี้ประกอบด้วย
1) รัฐบาลควรห้ามการค้ามนุษย์ในรูปแบบที่ร้ายแรงและควรลงโทษการกระทําอันเป็น การค้ามนุษย์ดังกล่าว
2) ควรกําหนดบทลงโทษที่ร้ายแรงต่อผู้กระทําผิดที่มีเหยื่อของการค้ามนุษย์เพื่อการ บริการทางเพศที่เป็นเด็กที่ไม่รู้ผิดชอบชั่วดีหรือเป็นการข่มขืนลักพาตัวหรือกระทําให้เหยื่อเสียชีวิต
3) ควรมีบทลงโทษที่เข้มงวดและรุนแรงเพียงพอที่จะยับยั้งการค้ามนุษย์ในรูปแบบร้ายแรง ไม่ให้เกิดขึ้นอีก
4) รัฐบาลต้องแสดงไว้ซึ่งความพยายามอย่างจริงจังในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
TIP Report นี้เป็นรายงานประจําปีที่เผยแพร่ในเดือนมิถุนายนเพื่อเสนอต่อรัฐสภาสหรัฐ อเมริกาเกี่ยวกับสถานการณ์การค้ามนุษย์และการดําเนินการของรัฐบาลประเทศต่างๆ ทั่วโลกจํานวน กว่า 188 ประเทศ โดยจัดระดับเป็น Tier 1, Tier 2, Tier 2 Watch List และ Tier 3 ตามมาตรฐาน ขั้นต่ําในการขจัดการค้ามนุษย์ที่ระบุใน TVPA ซึ่งเป็นการประเมินความคืบหน้าการดําเนินการของแต่ละ ประเทศเปรียบเทียบกับการดําเนินการของประเทศนั้นๆ ในปีที่ผ่านมา โดยแต่ละ Tier มีความหมาย ดังนี้คือ
Tier 1 หมายถึง ประเทศที่รัฐบาลดําเนินการโดยสอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ําในการขจัด การค้ามนุษย์ตาม TVPA
Tier 2 หมายถึง ประเทศที่ดําเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ํา แต่ได้ใช้ความ พยายามอย่างมีนัยสําคัญในการปรับปรุงแก้ไข
Tier 2 Watch List คล้ายกับ Tier 2 แต่มีเหยื่อการค้ามนุษย์จํานวนมากหรือเพิ่มขึ้นมาก หรือไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าได้ใช้ความพยายามเพิ่มขึ้นในการต่อต้านการค้ามนุษย์และ
Tier 3 หมายถึง ประเทศที่ดําเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ํา และไม่ได้ใช้ความ พยายามอย่างมีนัยสําคัญ
ประเทศที่อยู่ใน Tier 3 อาจถูกสหรัฐอเมริกาพิจารณาระงับการให้ความช่วยเหลือที่มิใช่ ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมและความช่วยเหลือที่เกี่ยวกับการค้า (No humanitarian And Non- Trade-Related Foreign Assistance) รวมทั้งสหรัฐอเมริกาอาจพิจารณาไม่ให้งบประมาณสนับสนุน แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลประเทศดังกล่าวในการเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาและวัฒนธรรม รวมทั้งอาจคัดค้านความช่วยเหลือ (ยกเว้นความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมและความช่วยเหลือที่ เกี่ยวกับการค้าและบางความช่วยเหลือด้านการพัฒนา) ที่รัฐบาลประเทศดังกล่าวอาจได้รับจากสถาบัน การเงินระหว่างประเทศ อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารโลก
ทั้งนี้ มาตรการระงับความช่วยเหลือดังกล่าวจะมิได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติทันทีที่ประเทศใด ประเทศหนึ่งได้รับการประเมินให้อยู่ใน Tier 3 เนื่องจากประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (โดยปรึกษา หารือภายในกับหน่วยงานต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา อาทิ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการต่างประเทศ USAID เป็นต้น) สามารถใช้สิทธิในการยกเว้นมาตรการระงับความช่วยเหลือแก่ประเทศที่ได้รับการ ประเมินให้อยู่ใน Tier 3 ดังกล่าวได้หากประธานาธิบดีพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่สหรัฐ อเมริกาหรือหลีกเลี่ยงผลกระทบทางอ้อมต่อประชากรกลุ่มที่มีความเปราะบางซึ่งรวมถึงสตรีและเด็ก (กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้, 2556)
กรณีของประเทศไทย แม้รัฐบาลจะได้ดําเนินมาตรการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับ การค้ามนุษย์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานของสหประชาชาติ และกฎหมายต่างประเทศ แต่สถานการณ์ การค้ามนุษย์ของประเทศไทยก็ยังคงอยู่ในสถานที่ยังเป็นปัญหา โดยเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2557 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่รายงานประจําปีเรื่องสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจําปี 2557 (Trafficking In Persons Report 2014 หรือ TIP Report) โดยในปีนั้นประเทศไทย ถูกลดอันดับจากบัญชีกลุ่มที่ 2 ซึ่งต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) ลงมาอยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 3 (Tier 3) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีสถานะการค้ามนุษย์ระดับเลวร้ายที่สุด ด้วยเหตุผลว่ารัฐบาลไทยไม่สามารถ ดําเนินการให้สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ําของกฎหมายของสหรัฐอเมริกา และไม่มีความพยายาม แก้ไขปัญหาเพื่อการขจัดการค้ามนุษย์ ในรายงานการค้ามนุษย์ปี 2555 และ 2556 ประเทศไทยได้รับ
การยกเว้นจากการถูกลดระดับไปอยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 3 (Tier 3) เนื่องจากรัฐบาลได้เสนอแผนที่จะดําเนินการให้ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามมาตรฐาน
ขั้นต่ําในการขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ อย่างไรก็ตามกฎหมายว่าด้วยการปกป้องเหยื่อการค้ามนุษย์ (TVPA) ให้ยกเว้นประเทศจากการถูกลดลําดับได้ 2 ปี มาตรการยกเว้นนี้จึงไม่สามารถใช้ได้กับ ประเทศไทย ด้วยถือว่าไม่ได้มีความพยายามอย่างเพียงพอที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ําในการขจัด การค้ามนุษย์จึงให้ลดระดับลงไปอยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 3 (Tier 3) ซึ่งจะทําให้ประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถใช้มาตรการคว่ําบาตรความช่วยเหลือด้านต่างๆ ทั้งด้านสังคมเศรษฐกิจและการเมืองได้ ต่อมา เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2559 กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา โดยรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศ เผยแพร่รายงานประจําปี เรื่องสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจําปี 2559 (Trafficking in Persons Report 2016 หรือ TIP Report 2016) ซึ่งเป็นการสํารวจทุกประเทศ ในปี นี้แม้ประเทศไทยได้รับการเลื่อนอันดับ แต่ก็ยังอยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 2 ซึ่งต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) (สถานทูตสหรัฐฯ และสถานกงสุลในประเทศไทย : 2559)
ในปี 2559 ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนต่างถูกจัดอันดับจากรายงานสถานการณ์ค้า มนุษย์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา (TIP Report) เช่น มาเลเซีย กัมพูชา ลาว ถูกจัด อันดับให้อยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 2 ซึ่งต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน ญี่ปุ่น ถูกจัดอันดับให้อยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 2 (Tier 2) ไต้หวัน เกาหลีใต้ ถูกจัดอันดับให้ อยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 1 (Tier 1) ส่วนเมียนมาร์ถูกลดอันดับจากบัญชีกลุ่มที่ 2 ซึ่งต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) ไปอยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 3 (Tier 3) ประเทศที่มีสถานการณ์ค้ามนุษย์ระดับเลวร้ายที่สุด ต่อมา ปี 2560 รายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์ ได้จัดอันดับ มาเลเซีย และเวียดนาม อยู่ในบัญชีกลุ่ม 2 ไทย และเมียนมาร์ อยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 2 ซึ่งต้องจับตามอง ส่วนเกาหลีใต้อยู่ในบัญขีกลุ่ม 1 จึงมีประเด็นควร ศึกษาว่าประเทศต่างๆ ที่ถูกสหรัฐอเมริกาจัดอันดับสถานการณ์ค้ามนุษย์โดยใช้เกณฑ์ตามกฎหมาย ต่อต้านการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกาแตกต่างกัน เช่นเมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนาม และเกาหลีใต้
มีกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และมาตรการทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์อย่างไร สําหรับประเทศไทย แม้จะมีกฎหมาย มาตรการและกลไกในการแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่องนับแต่ การลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่กระทําโดยองค์กร อาชญากรรม การกําหนดนโยบายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การประกาศให้ปัญหาการค้า มนุษย์ให้เป็นวาระแห่งชาติ การประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ ซึ่งได้แก่พระราช บัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 และมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกกว่า 25 ฉบับ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 พระราชบัญญัติ คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 พระราช บัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ.2554 พระราชบัญญัติจัด ระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ําไทย พ.ศ.2456 พระราชบัญญัติ เรือไทย พ.ศ.2481 พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิการประมงในเขต การประมงไทย พ.ศ.2482 พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 พระราชบัญญั ติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นต้น การจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) และการจัดตั้งคณะกรรมการประสานและกํากับการดําเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปกค.) การกําหนดกรอบความร่วมมือระดับต่างๆ การมอบหมายภารกิจในการร่วมแก้ไขปัญหาให้ ทหาร ตํารวจ และมีหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องถือกฎหมายไว้หลายสิบหน่วยงานร่วมรับผิดชอบแล้วก็ตาม การค้ามนุษย์ยังคงเป็นปัญหาที่รุนแรงและเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย รวมทั้งประเทศไทย ยังถูกจัดให้อยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 2 ซึ่งต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) สภาพปัญหาดังกล่าวสะท้อน ให้เห็นว่าปัญหาการค้ามนุษย์เป็นปัญหาในระดับชาติ จากระดับชาติเป็นระดับภูมิภาคและขยายวงกว้าง เป็นปัญหาระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสําหรับประเทศไทย ถือเป็นปัญหาสําคัญที่จะต้องได้รับการ แก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะการค้ามนุษย์เป็นภัยใกล้ตัวและเป็นการกระทําที่ผิดกฎหมายและเป็นการ กระทําที่ไม่เคารพในสิทธิมนุษยชนของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อย่างไรก็ดีการดําเนินการแก้ไขปัญหา การค้ามนุษย์ของประเทศไทยมิควรยึดถือเฉพาะ Tiers เป็นเป้าประสงค์หลักในการดําเนินการเพื่อ ยกระดับประเทศไทยในสายตาของสหรัฐอเมริกาหรือประชาคมโลกเกี่ยวกับการดําเนินการเพื่อแก้ไข ปัญหาการค้ามนุษย์หรือเพื่อเป้าประสงค์ทางการพาณิชย์เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของสินค้าไทยในสายตา ผู้บริโภคเท่านั้น เนื่องจากการประเมินหรือชี้วัดตาม Tier มีลักษณะแบบปีต่อปี และมิได้เป็นหลักประกัน ว่าการต่อต้านการค้ามนุษย์ภายใต้ Tier จะสามารถดําเนินการเป็นไปได้อย่างยั่งยืน หากมาตรการและ กลไกการบังคับใช้กฎหมายยังขาดประสิทธิภาพ ในทางกลับกัน โดยที่ปัญหาการค้ามนุษย์ถือเป็นภัย คุกคามรูปแบบใหม่ (Non-Traditional Threat) และเป็นประเด็นระดับโลก (Global Issue) ที่ส่งผล
กระทบอย่างใหญ่หลวงต่ออุดมการณ์และคุณค่าทางสิทธิมนุษยชน ภาครัฐจึงควรปรับปรุงกฎหมาย ศักยภาพของมาตรการและกลไกการดําเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายต่อต้าน การค้ามนุษย์และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการปกป้องคุณค่าทางเสรีภาพ ศักดิ์ศรีขั้นพื้นฐานของ ความเป็นมนุษย์และค่านิยมสากลให้เป็นที่แพร่หลาย รวมทั้งสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วน ต่างๆ ในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) และเป็นความมั่นคงร่วม (Collective Security) เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ ทั้งนี้เพื่อความยั่งยืนของการแก้ไขปัญหาจากรัฐบาลสู่รัฐบาลและจากรุ่นสู่รุ่น อันจะนํามาซึ่งความผาสุกและความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจทั้งต่อประเทศไทย ประเทศ เพื่อนบ้าน และทุกภูมิภาคของโลก
จากความสําคัญของปัญหาดังกล่าว โรงเรียนนายร้อยตํารวจ ในฐานะสถาบันการศึกษาที่มี ผู้ทรงคุณวุฒิและมีความเชี่ยวชาญงานวิชาการด้านกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย การป้องกันและ ปราบปรามอาชญากรรมเป็นอย่างดี จึงมีความสนใจที่จะทําการศึกษาวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์กฎหมาย ต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ” โดยมุ่งเน้นศึกษากฎหมายต่อต้าน การค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ปัญหาการบังคับใช้ จุดอ่อน ข้อบกพร่องของกฎหมายและวิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับ กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ รวมทั้งประสบการณ์แนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของต่าง ประเทศ โดยหยิบยกสหรัฐอเมริกาและประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศ ที่ถูกจัดอันดับสถานการณ์ ความร้ายแรงของการค้ามนุษย์ในลําดับที่แตกต่างกันตาม TIP Report ได้แก่ ประเทศเมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนาม และเกาหลีใต้ ซึ่งถูกจัดอันดับให้อยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 3 (Tier 3) บัญชีกลุ่มที่ 2 ซึ่งต้องจับตามอง
(Tier 2 Watch List) บัญชีกลุ่มที่ 2 (Tier 2) และบัญชีกลุ่มที่ 1 (Tier 1) ตามลําดับ มาเปรียบเทียบกับ ประเทศไทย เพื่อให้ได้มาซึ่งผลการวิจัยที่จะเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย มาตรการและ ระเบียบที่เกี่ยวกับการต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทย อันเป็นการพัฒนาศักยภาพและกระบวนการ แก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ เพื่อความผาสุก ความมั่นคง และปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของ ประเทศไทย รวมทั้งเพื่อปกป้องคุณค่าทางเสรีภาพและศักดิ์ศรีขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ อันถือ เป็นผลประโยชน์ร่วมที่ยั่งยืนของประเทศไทยและสังคมโลกสืบไป
1.2 คํำถำมในกำรวิจัยโครงกำร
1.2.1 กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของ ประเทศไทยเป็นอยู่อย่างไร มีปัญหาการบังคับใช้และจุดอ่อนข้อบกพร่องหรือไม่อย่างไร
1.2.2 กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทย มีความแตกต่างกับกฎหมายต่อต้าน การค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนามและเกาหลีใต้ อย่างไร ประสบการณ์ แนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศดังกล่าวเป็นอย่างไร
1.2.3 ทางเลือกหรือข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการ ระเบียบและกฎหมาย ต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ควรเป็นอย่างไร
1.3 วัตถุประสงค์ของโครงกำร
1.3.1 เพื่อศึกษากฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้า มนุษย์ของประเทศไทย ปัญหาการบังคับใช้และจุดอ่อนข้อบกพร่องของกฎหมาย
1.3.2 เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทยเปรียบเทียบ กับกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนาม และเกาหลีใต้ รวมทั้งประสบการณ์แนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศดังกล่าว
1.3.3 เพื่อศึกษาทางเลือกหรือข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการ ระเบียบและ กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย
1.4 ขอบเขตกำรวิจัย
1.4.1 ขอบเขตด้ำนเนื้อหำ
การวิจัยในครั้งนี้มีขอบเขตด้านด้านหาในเรื่องของการเก็บรวบรวมและศึกษา เอกสารในเบื้องต้น เกี่ยวกับแนวคิดเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย แนวคิดสิทธิมนุษยชน แนวคิด ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แนวคิดการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม แนวคิดเกี่ยวกับการต่อต้าน การค้ามนุษย์ กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศและพันธกรณีที่ไทยมีในการต่อต้านการค้ามนุษย์ แนวคิดและหลักการของกฎหมายเปรียบเทียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ทั้งกฎหมายไทย และประเทศต่างๆ 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนาม และเกาหลีใต้ หลักการ และทฤษฎีการเปรียบเทียบกฎหมาย งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์เนื้อหาของเอกสารประกอบกับ ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์และประชุมกลุ่มย่อย เพื่อวิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของ ประเทศไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนามและเกาหลีใต้ รวมทั้งประสบการณ์แนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศ ดังกล่าว และได้มาซึ่งทางเลือกหรือข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการ ระเบียบและกฎหมาย ต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย
1.4.2 ขอบเขตด้ำนกลุ่มเป้ำหมำย
กลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลสําคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) คือ ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ในระดับผู้บริหาร หรือผู้กําหนดนโยบาย ที่ทําหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้ กฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ทั้งระดับจังหวัด ระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยศึกษาเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในการบังคับใช้กฎหมายเพื่ออํานวย
ความยุติธรรมต่อกรณีปัญหาการค้ามนุษย์ในสังคมไทย และกลุ่มเป้าหมายในการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) จะคัดเลือกเจ้าหน้าที่ในระดับผู้ปฏิบัติที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ ซึ่งปฏิบัติงาน ในหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
1.4.3 ขอบเขตด้ำนระยะเวลำ
การวิจัยครั้งนี้มีระยะเวลาดําเนินการ 12 เดือน หว่างวันที่ 15 กันยายน 2559 ถึง
วันที่ 14 กันยายน 2560
1.5 ผลที่คำดว่ำจะได้รับ
1.5.1 ทําให้ทราบถึงกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การค้ามนุษย์ของประเทศไทย ปัญหาการบังคับใช้และจุดอ่อนข้อบกพร่องของกฎหมาย
1.5.2 ทําให้ทราบแนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนามและเกาหลีใต้ เปรียบเทียบกับกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา
1.5.3 ได้ทางเลือกหรือข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการ ระเบียบและกฎหมาย ต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย
บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรม
การศึกษาวิจัย เรื่อง “การวิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับต่างประเทศ” ในครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้กําหนดประเด็นในการทบทวนวรรณกรรม แนวความคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แยกเป็น 9 หัวข้อ ดังต่อไปนี้
2.1 แนวคิดเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย
2.2 แนวคิดสิทธิมนุษยชน
2.3 แนวคิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
2.4 แนวคิดการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
2.5 แนวคิดเกี่ยวกับการต่อต้านการค้ามนุษย์
2.6 กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศและพันธกรณีที่ไทยมีในการต่อต้านการค้ามนุษย์
2.7 แนวคิดและหลักการของกฎหมายเปรียบเทียบ
2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.9 กรอบแนวคิดในการวิจัย
2.1 แนวคิดเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย
อันกฎหมายนั้นเมื่อได้ประกาศออกมาใช้บังคับแล้ว ก็จะต้องมีการบังคับใช้เพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ของกฎหมายในเรื่องนั้นๆ กฎหมายซึ่งเป็นข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์ความประพฤติของ มนุษย์ในสังคม เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขนี้ไม่ว่าจะมีหลักประกันในการให้ความเป็นธรรมดี เพียงไร กดขี่หรือลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนแค่ไหน มีถ้อยคํารัดกุมสวยงามหรือหละหลวม เพียงไรก็ตาม ถ้าไม่มีการบังคับใช้ หรือการบังคับใช้ไม่ได้ผล กฎหมายนั้นก็ไม่มีความหมาย และ ไม่สามารถทําให้กฎหมายนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ตามเจตนารมณ์ของการออกกฎหมายนั้นมาใช้บังคับ ได้อย่างแน่นอน
2.1.1 ความหมายของการบังคับใช้กฎหมาย
ในการพิจารณาความหมายของคําว่า “การบังคับใช้กฎหมาย” นี้ มีคําที่ต้อง ทําความเข้าใจซึ่งแยกพิจารณาได้เป็น 2 คํา คือคําว่า “การใช้บังคับ (Application)” กับคําว่า “การบังคับใช้ (Enforcement)” ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ให้ความหมาย “การใช้บังคับ กฎหมาย” ไว้ว่า “หมายถึง การนํากฎหมายมาใช้บังคับแก่ข้อเท็จจริงในกรณีเฉพาะเรื่องซึ่งอาจมีผู้ใช้
แตกต่างกัน เช่น การบังคับใช้โดยเจ้าพนักงานตํารวจ อัยการหรือศาลยุติธรรม เป็นต้น” ศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ให้ความหมายไว้ว่า “หมายถึง การนําตัวบทกฎหมายที่เป็นถ้อยคําที่อยู่ใน หนังสือหรือในราชกิจจานุเบกษามาใช้บังคับให้เกิดผลบังคับตามเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นๆ” และ ศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ เครืองาม ให้ความหมายว่า “คําว่า ใช้บังคับ คือ เริ่มเอามาใช้ ก่อนหน้านี้ ยังไม่ใช้ แต่บัดนี้จะเริ่มใช้แล้ว” คําว่า “การใช้บังคับ” นั้นจะปรากฏเมื่อร่างกฎหมายผ่านกระบวนการ พิจารณาของฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว และนําไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็จะมีผลทําให้กฎหมายฉบับ นั้นๆ นําไปใช้บังคับได้ วันที่กฎหมายจะเริ่มมีผลใช้บังคับนี้ จะมีบทบัญญัติในกฎหมายฉบับนั้นระบุ วันใช้บังคับไว้ว่าเป็นวันใดอย่างไร การเริ่มต้นการใช้บังคับกฎหมายจะเป็นไปตามนั้น
ส่วน “การบังคับใช้ (Enforcement)” มีความหมายต่างไปจาก “การใช้บังคับ” คําว่า “การบังคับใช้” นั้น หมายถึง “บังคับ แปลว่า เอามาทําให้ศักดิ์สิทธิ์ เอามาทําให้สมจริง เอามา ทําให้เกิดความขลัง” นั่นคือ เมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว หากเจ้าหน้าที่ภาครัฐยังไม่ได้นําเอา กฎหมายนั้นมาใช้ ก็ยังไม่ถือว่ามีการบังคับใช้แล้ว การบังคับใช้นั้นจะส่งผลทําให้กฎหมายมีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะหากผู้ใดไม่ทําตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและถูกจับได้ หรือนัยหนึ่งถูกเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่มี หน้าที่ตามกฎหมายนําเอากฎหมายมาใช้ ก็จะส่งผลให้ผู้ทําผิดนั้นต้องรับโทษตามที่กฎหมายกําหนดไว้ ดังนี้เป็นการบังคับใช้กฎหมายจากความแตกต่างของคําสองคํานี้ จึงกล่าวได้ว่า การใช้บังคับนั้นเป็น การกําหนดเวลาของกฎหมายที่ได้ตราไว้แล้วว่าจะมีผลนํามาใช้ได้เมื่อใด ส่วนคําว่า “การบังคับใช้” นั้น เป็นผลสืบเนื่องจากการใช้บังคับโดยที่กฎหมายมิได้กําหนดเวลาว่าจะต้องใช้เมื่อใด ขึ้นอยู่กับองค์กร หรือหน่วยงานของรัฐที่มีอํานาจใช้กฎหมายฉบับนั้นๆ ว่าจะนํากฎหมายนั้นมาใช้อย่างจริงจังเพื่อให้ เกิดผลตามสภาพบังคับของกฎหมายนั้นๆ
เมื่อใดการพิจารณาถึงการบังคับใช้กฎหมายนั้นจําเป็นที่จะต้องคํานึงถึงประเด็นหลัก 4 ประการ คือ 1) เนื้อหาสาระของกฎหมายที่จะต้องครอบคลุมไปถึงวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ของ กฎหมาย มาตรการและวิธีการต่างๆ ที่กฎหมายนั้นจะนํามาใช้ รวมทั้งมาตรการการลงโทษ (Sanction) ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะความผิดที่เกิดขึ้นจากการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของ กฎหมายนั้นๆ 2) องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐที่บังคับใช้กฎหมาย การดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ ที่กฎหมายกําหนดไว้นั้น จะคํานึงถึงความเกี่ยวพันระหว่างองค์กรในด้านการสอดประสานและความขัดแย้ง ตลอดจนความซ้ําซ้อนขององค์กรหรือหน่วยงานหลักตามกฎหมายนั้นๆ กับองค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ ทั้งของรัฐบาลและของเอกชนในลักษณะของความมีสหสัมพันธ์ (Correlation) และปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ต่อกัน 3) ผู้ถูกบังคับใช้กฎหมาย และ (4) สภาพแวดล้อมและค่านิยมในสังคม
การบังคับใช้กฎหมายนั้น องค์กรจะมีบทบาทสําคัญในการนํากฎหมายนั้นมา บังคับใช้ การบังคับใช้กฎหมายมาจากทฤษฎีการใช้อํานาจรัฐ (Police Power) ซึ่งหมายถึงอํานาจของ รัฐในการรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน คําว่า “Police Power” มีรากศัพท์
มาจากภาษาลาตินว่า “Poli” หรือ “Polis” หมายถึง เมืองหรือนคร เพราะฉะนั้น Police Power จึงเป็น การใช้อํานาจของเมืองหรือนครหรือรัฐซึ่งอํานาจรัฐนี้ได้มาจากประชาชนที่มอบอํานาจของแต่ละคน ให้แก่ผู้แทนของเขา เพื่อใช้อํานาจแทนพวกเขาในการรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของรัฐหรือนคร ความสงบสุข และความเป็นระเบียบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนในรัฐหรือนครนั้นๆ โดยมีวิธีการใช้ อํานาจรัฐในรูปแบบของการออกกฎหมายในระดับต่างๆ และการบังคับใช้กฎหมายที่รัฐออกมานั้น
2.1.2 ปัจจัยที่ทําให้กฎหมายบังคับใช้ได้ผลดี
กฎหมายที่มีประสิทธิภาพสามารถบังคับใช้ได้ผลดีต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ มีการบัญญัติกฎหมายที่เหมาะสม มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และมีการลงโทษผู้ที่ ละเมิดกฎหมายอย่างเฉียบขาดและรวดเร็ว (กุลพล พลวัน, 2522 : 103) บทบัญญัติของกฎหมายที่ เหมาะสมและสามารถบังคับใช้ได้ผลดีต้องมีการบัญญัติที่ดีและมีการกําหนดโทษที่สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ของการลงโทษ
2.1.2.1 การบัญญัติกฎหมายที่ดี
การบัญญัติกฎหมายที่ดีต้องบัญญัติให้เข้าใจง่าย ปฏิบัติได้ง่าย และให้ สอดคล้องกับสิ่งที่ชุมชนประพฤติปฏิบัติกัน ในเรื่องของการบัญญัติกฎหมายที่ดีนี้ Montesqueu นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสยังได้วางหลักการร่างกฎหมายที่ดีไว้ 7 ประการ คือ (ธานินทร์ กรัยวิเชียร, 2543 : 34-36)
1) ภาษากฎหมายนั้นสมควรมีลีลาที่สั้น กะทัดรัดและง่าย ภาษาที่เพริศพริ้ง เฉิดฉาย หรือถ้อยคําอันจูงใจต่างๆ เป็นเพียงพลความที่ทําลายคุณค่าของโวหารภาษากฎหมาย
2) ศัพท์ที่เลือกใช้ สมควรเป็นศัพท์ที่มีความหมายแน่นอนที่สุดเท่าที่จะทํา ได้และมิใช่เป็นเพียงคําที่มีความหมายใกล้เคียง ทั้งนี้เพื่อที่จะละเว้นความเข้าใจแตกต่างกันให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้
3) กฎหมายนั้นสมควรบัญญัติถึงแต่เฉพาะเรื่องที่เกิดขึ้นจริงๆ และพึง ละเว้นการบัญญัติกฎหมายในทํานองคําพังเพย หรือในทํานองตัวอย่างสมมติ
4) กฎหมายนั้นไม่สมควรบัญญัติให้ยอกย้อนเพราะกฎหมายนี้จะใช้บังคับ กับสามัญชนซึ่งมีสติปัญญาปานกลาง กฎหมายเหล่านี้มิใช่เป็นแบบฝึกหัดในวิชาตรรกวิทยา แต่เป็น เรื่องของเหตุผลธรรมดาสําหรับสามัญชน
5) กฎหมายนั้นไม่สมควรบัญญัติหลักการใหญ่ให้ปะปนกับข้อยกเว้น ข้อจํากัด หรือข้อไขต่างๆ เว้นแต่ในกรณีที่จําเป็นจริงๆ เท่านั้น
6) กฎหมายนั้นไม่สมควรจะบัญญัติในเชิงอภิปราย การให้เหตุผลรายละเอียด แห่งการบัญญัติกฎหมายนั้นๆ ขึ้น เป็นเรื่องเสี่ยงภัยโดยแท้ เพราะการให้เหตุผลดังกล่าวย่อมเปิดช่อง ให้เกิดการโต้แย้งขึ้นได้
7) เหนือสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น กฎหมายนั้นสมควรจะได้มีการพิจารณาโดย รอบคอบละเอียดและถี่ถ้วนและกฎหมายจําเป็นต้องมีไว้เพื่อประโยชน์แห่งการใช้บังคับจริง กฎหมาย ไม่สมควรมีบทบัญญัติอันขัดต่อเหตุผลธรรมดา ความเที่ยงธรรม
2.1.2.2 การกําหนดโทษที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการลงโทษ
กฎหมายจะมีผลสมบูรณ์ตามเจตนารมณ์ของการออกกฎหมายจะต้องมี การวางข้อกําหนดโทษเอาแก่บุคคลซึ่งไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบังคับนั้น หรือปฏิบัติเกินไปกว่าที่ ตนจะต้องทํา ซึ่งข้อกําหนดโทษนี้จะก่อให้เกิดความกลัวแก่บุคคลซึ่งฝ่าฝืนข้อกําหนดของกฎหมาย (ชุมพร พลรักษ์, 2516 : 36-51) การลงโทษทําให้เกิดผลได้ต่างกันหลายประการ แล้วแต่วิธีการที่จะ ดําเนินการลงโทษนั้น จึงได้มีทฤษฎีต่างๆ เกิดขึ้นมาขัดแย้งกันว่าควรมีการลงโทษเพื่อให้เกิดผลอย่างไร หรืออีกนัยหนึ่งคือการลงโทษควรมีวัตถุประสงค์อย่างไร ทฤษฎีต่างๆ ดังกล่าวที่สําคัญมีดังนี้ คือ ลงโทษเพื่อเป็นการทดแทน (Retribution) ลงโทษเพื่อเป็นการข่มขู่ (Deterrence) ลงโทษเพื่อเป็น การปรับปรุงแก้ไข (Reformation) ลงโทษเพื่อเป็นการตัดไม่ให้มีโอกาสกระทําผิดอีก (Incapacitation) (อุททิศ แสนโกศิก, 2513 : 271–299)
ด้านแนวคิดและทฤษฎีในการลงโทษนั้น “สํานักความคิดทางกฎหมายอาญา ที่มีอิทธิพลต่อทฤษฎีการลงโทษที่สําคัญ คือ สํานักคลาสสิค (Classical School) สํานักนี้มีรากฐาน ความเชื่อว่ามนุษย์มีเจตจํานงค์อิสระ (Free Will)” แนวความคิดของ “นักทฤษฎีเจตจํานงค์อิสระ (Free Will) มีความเห็นว่าในเมื่ออาชญากรมีความเป็นอิสระที่จะเลือกปฏิบัติระหว่างความถูกต้องและ ความผิดทางศีลธรรมซึ่งเป็นการประทุษร้ายต่อความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของชุมชน จึงสมควร ที่จะได้รับการประณามทางศีลธรรมและได้รับการลงโทษอย่างสาสมกับความผิด เพื่อก่อให้เกิดความ หลาบจําและมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น (The Concept of Moral Condemation and Deterrence by Punishment)” (วีระพงษ์ บุญโญภาส, 2533)
จากความเชื่อที่ว่ามนุษย์มีเจตจํานงค์อิสระ (Free Will) ได้ก่อให้เกิดทฤษฎี การลงโทษขึ้นมา 2 ทฤษฎี คือ (สหธน รัตนไพจิตร, 2524 : 74-82)
1) ทฤษฎีทดแทนความผิด (Retributive Theory) เห็นว่าคนเรามีเจตจํานงค์ อิสระ (Free will) ที่จะเลือกกระทําสิ่งต่างๆ ได้ ดังนั้นเมื่อผู้ใดเลือกกระทําความผิด จึงควรลงโทษเขา ที่เลือกกระทําความผิดนั้น เพื่อชดเชยความยุติธรรมที่เสียไปให้กลับคืนมา
2) ทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Utilitarian Theory) เห็นว่าเมื่อคนเรามีเจตจํานงค์ อิสระ (Free Will) ที่จะเลือกกระทําสิ่งต่างๆ ได้ ดังนั้นจึงควรลงโทษเพื่อความมุ่งหมายในการป้องกัน สังคม เพื่อขู่ไม่ให้คนอื่นใช้เจตจํานงค์อิสระ (Free Will) ในการเลือกกระทําสิ่งต่างๆ ที่ขัดกับกฎหมาย แนวคิดตามทฤษฎีอรรถประโยชน์มีลักษณะสําคัญ 5 ประการ คือ (1) มนุษย์ขึ้นอยู่กับอิทธิพล 2 ประการ คือ ความเจ็บปวด (Pain) และความพอใจ (Pleasure) มนุษย์จะหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดและแสวงหา
สิ่งที่ตนพอใจ (2) สิ่งที่ดีสิ่งที่ถูกต้องสําหรับมนุษย์คือสิ่งที่นําความพอใจ และนําความสุขมาให้มนุษย์ Bentham เรียกหลักนี้ว่า หลักแห่งประโยชน์ (Principle of Utility) (3) หลักแห่งประโยชน์ในข้อ 2 ใช้ได้ทั้งปัจเจกชนและสังคม กล่าวคือ ถ้าการกระทํากระทบแต่เพียงบุคคลเดียวก็สามารถวัดความดี ความเลวของการกระทํานั้น โดยการพิจารณาว่าเป็นการนําความสุขมาสู่บุคคลนั้นหรือไม่เป็นส่วนตัว แต่ถ้าผลของการกระทําความผิดกระทบถึงคนหลายฝ่ายหรือสังคมแล้ว ความดีที่สุดคือการกระทําที่ก่อ ให้เกิดความสุขมากที่สุดแก่คนจํานวนมากที่สุด (The Greatest Happiness of The Greatest Number)
(4) ในการบัญญัติกฎหมายให้พิจารณาว่า กฎหมายนั้นทําให้ความสุขของสังคมเพิ่มขึ้นหรือไม่ ถ้าเพิ่มขึ้น ก็ควรออกกฎหมายนั้น กฎหมายที่มีพื้นฐานบนหลักประโยชน์จะมีหน้าที่ห้ามการกระทําของปัจเจกชน ที่มีผลประโยชน์หรือความสุขซึ่งไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของสังคม วิธีการก็คือทําให้ปัจเจกชน รู้สึกว่าถ้าทําการขัดกฎหมายก็จะถูกลงโทษ ซึ่งนําความเจ็บปวดมาสู่ตนเอง เช่นนี้แล้วปัจเจกชนก็จะ ปฏิบัติเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวที่ไม่ขัดกับผลประโยชน์ของสังคม ผลประโยชน์ทั้งหมดและความสุข ของสังคมก็จะเกิดขึ้น (5) ความชอบธรรมในการลงโทษอยู่ที่การลงโทษก่อให้เกิดขึ้นการลงโทษจึงควร มีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันสังคมให้พ้นจากผลร้ายของอาชญากรรม
ตามแนวคิดของทฤษฎีนี้ สรุปได้ว่าเมื่อเกิดการกระทําความผิดกฎหมาย รัฐจะต้องมีการลงโทษผู้กระทําความผิดนั้นด้วยมาตรการและปริมาณโทษที่เหมาะสม สามารถจะยับยั้ง การกระทําความผิดนั้น เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสังคม หากมีการละเลยไม่ลงโทษผู้กระทําความผิด หรือลงโทษไม่เหมาะสม ย่อมจะเป็นผลร้ายต่อการบังคับใช้กฎหมาย เพราะหากผู้กระทําผิดเห็นว่าการ กระทําความผิดสามารถนําความสุขมาสู่ตนเองได้มากกว่าการปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ก็จะมีประชาชน กระทําความผิดเกิดขึ้นเป็นจํานวนมาก สําหรับในเรื่องของปริมาณโทษที่เหมาะสมนั้นตามแนวคิดของ ทฤษฎีอรรถประโยชน์เห็นว่าปริมาณโทษไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าจะกระทําความผิดมากน้อยเท่าใด แต่อยู่ที่ว่า ปริมาณโทษจะต้องเพียงพอที่จะทําให้สามารถบรรลุผลในการป้องกันได้ และปริมาณโทษนั้นจะต้องไม่ มากเกินไปกว่าที่จําเป็นในการบรรลุผลในการการป้องกันด้วย ไม่ใช่จะกําหนดโทษให้สูงมากขึ้นเท่าใด ก็ได้ตามความพอใจ ปริมาณโทษตามความคิดของทฤษฎีอรรถประโยชน์ มีหลักพิจารณาอยู่ 2 ประการ คือ “(1) ปริมาณโทษต้องเพียงพอที่จะให้บรรลุผลในการป้องกันการกระทําความผิด (2) ปริมาณโทษ
ต้องไม่มากเกินกว่าที่จําเป็นในการบรรลุผลในการป้องกัน” (สหธน รัตนไพจิตร, 2524 : 74-82) การบัญญัติกฎหมายที่ดีมีการกําหนดโทษมาอย่างเหมาะสม เปรียบเหมือนกับ
การที่สถาปนิกออกแบบบ้านมาอย่างดี หากได้ผู้คุมงานที่ดี บ้านก็จะเป็นไปตามแบบ น่าอยู่อาศัย แต่ถ้าสถาปนิกไม่มีฝีมือ ออกแบบมาไม่ดี ไม่รอบคอบ ผู้คุมงานแม้มีฝีมือดี บ้านที่สร้างก็อาจจะไม่ดีได้ การบัญญัติกฎหมายกับการมีผู้บังคับใช้กฎหมายที่ดีด้วยกันเท่านั้น ที่จะทําให้กฎหมายมีประสิทธิภาพ สูงสุด สามารถบังคับใช้ได้ผลดีตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายนั้น ดังนั้นการบัญญัติกฎหมายที่ดีมีการ กําหนดโทษมาอย่างเหมาะสม จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สําคัญที่สุดที่จะทําให้กฎหมายนั้นๆ บังคับใช้ได้ผลดี
2.2 แนวคิดสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิของมนุษย์ทุกคนบนโลกที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดและเป็นสากล ไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ชนชาติ ประเทศ เพศ ผิวพรรณ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม สติปัญญา ความสามารถ ฐานะทาง เศรษฐกิจที่จะดําเนินชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี มีอิสระ เสรีภาพ เสมอภาค มีชีวิตที่ดี มีสิทธิแสวงหาวัตถุปัจจัย มาดํารงชีพ ได้รับการยอมรับจากสังคมและการปฏิบัติจากรัฐอย่างเหมาะสม
2.2.1 ความเป็นมาของสิทธิมนุษยชน
คําว่า สิทธิมนุษยชน ในอดีตยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก จนกระทั่งมีการก่อตั้ง องค์การสหประชาชาติแล้วจึงได้ถูกนํามาใช้อย่างแพร่หลายทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับนานาชาติ ซึ่งในกฎบัตรสหประชาชาติ กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนไว้หลายแห่งในอารัมภบท เช่น ข้อความที่กล่าวถึง ความมุ่งหมายขององค์การสหประชาชาติไว้ว่า “เพื่อเป็นการยืนยันความเชื่อในสิทธิขั้นพื้นฐานของ ความเป็นมนุษย์ ในศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษยชาติ To Reaffirm Faith in Fundamental Human Rights, in the Dignity and Worth of the Human Person….” (United Nation Organization, 2012)
ในตัวกฎบัตรสหประชาชาติได้เพียงกล่าวถึงสิทธิมนุษยชนไว้ในที่ต่างๆ ในอารัมภบท เท่านั้น มิได้มีคํานิยามหรือคําอธิบายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนไว้แต่อย่างใด ในทางวิชาการจึงได้มีการ พยายามอธิบายคําปรารภของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ว่า “โดยที่การยอมรับนับถือ เกียรติศักดิ์ประจําตัวและสิทธิเท่าเทียมกันและโอนมิได้ของบรรดาสมาชิกทั้งหลายแห่งครอบครัว มนุษยชนเป็นหลักการแห่งอิสรภาพ ความยุติธรรมและสันติภาพโลก” นั้นหมายถึงสิทธิมนุษยชนเป็น สิทธิประจําตัวของมนุษย์ทุกคน เพราะทุกคนมีศักดิ์ศรี มีเกียรติศักดิ์ประจําตัว สิทธิมนุษ ยชน ไม่สามารถโอนให้แก่กันได้ แต่นักปฏิบัติการสิทธิมนุษยชน ให้คําอธิบายว่าสิ่งจําเป็นสําหรับคนทุกคนที่ ต้องได้รับในฐานะที่เป็นคน ทําให้คนคนนั้นมีชีวิตมีความเหมาะสมแก่ความเป็นคน และสามารถมีการ พัฒนาตนเองได้คือ “สิทธิมนุษยชน” (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, 2555)
สําหรับในประเทศไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 เป็นต้นมา การเคลื่อนไหวปกป้อง คุ้มครองและเผยแพร่แนวคิดสิทธิมนุษยชนค่อยๆ ขยายตัวมากขึ้น จนกระทั่งในปี พ.ศ.2540 จึงเกิด รัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางและยังมีบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอย่างเด่นชัด รวมถึงการก่อให้เกิดคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิ มนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 ด้วย
พระราชบัญญัตินี้ให้นิยามคําว่าสิทธิมนุษยชนไว้ว่า “สิทธิมนุษยชน หมายความว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทยหรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมี พันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม” (นัยนา เกิดวิชัย, 2558 : 120)
2.2.2 หลักการของสิทธิมนุษยชน
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเองได้เสนอหลักการสําคัญของสิทธิมนุษยชนที่ ถือเป็นสาระสําคัญที่ใช้อ้างอิงความเป็นสากลของสิทธิมนุษยชน และใช้เป็นเครื่องมือชี้วัดว่าสังคมใด มีการเคารพและปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชนหรือไม่
หลักการพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน 6 ประการ ได้แก่ 1) สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิ ธรรมชาติติดตัวมนุษย์มาแต่กําเนิด (Natural Rights) 2) สิทธิมนุษยชนเป็นสากลและไม่สามารถ ถ่ายโอนกันได้ (Universality & Inalienability) 3) สิทธิมนุษยชนไม่สามารถแยกเป็นส่วนๆ ว่าสิทธิใด มีความสําคัญกว่าอีกสิทธิหนึ่ง (Indivisibility) 4) คนทุกคนมีความเสมอภาคและห้ามการเลือก ปฏิบัติ (Equality and Non–discrimination) 5) การมีส่วนร่วมและการเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิ (Participation & Inclusion) 6) ตรวจสอบได้และใช้หลักนิติธรรม (Accountability & the Rule of Law) (UNDP, 2006)
หลักการพื้นฐานทั้ง 6 ประการนี้สามารถอธิบายได้ดังนี้ (กรมคุ้มครองสิทธิและ
เสรีภาพ, 2555)
2.2.2.1 สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิธรรมชาติติดตัวมนุษย์มาแต่เกิด (Natural Rights)
หมายความว่า มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีประจําตัวตั้งแต่เกิดเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) นี้ไม่มีใครมอบให้ เป็นสิ่งที่ธรรมชาติได้กําหนดขึ้นในมนุษย์ทุกคน ความหมายของศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ หมายถึง (1) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คือ คุณค่าของคนในฐานะที่เป็นมนุษย์ (2) การให้ คุณค่าของมนุษย์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือคุณค่าที่ถูกกําหนดขึ้นโดยสังคม เป็นการให้คุณค่าของมนุษย์ ในฐานะการดํารงตําแหน่งทางสังคมซึ่งมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการมีอํานาจหรือการยึดครอง ทรัพยากรของสังคมและคุณค่าที่ถูกกําหนดขึ้นโดยธรรมชาติ เป็นการให้คุณค่าของมนุษย์ในฐานะที่ เป็นมนุษย์ซึ่งมีความเท่าเทียมกันไม่แบ่งแยกกัน (3) การกําหนดคุณค่าที่แตกต่างกันนํามาซึ่งการ ลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ ผู้คนในสังคมโดยทั่วไปมักจะให้คุณค่าทางสังคม เช่น ฐานะ ตําแหน่ง หรือเงินตรามากกว่า การให้คุณค่าแบบนี้นํามาซึ่งการเลือกปฏิบัติ จึงต้องปรับวิธีคิดและเน้นให้มีการ ปฏิบัติ โดยการให้คุณค่าของความเป็นคนในฐานะความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่ให้คุณค่าคนตามสถานภาพ ทางเศรษฐกิจและสังคม
2.2.2.2 สิทธิมนุษยชนเป็นสากลและไม่สามารถถ่ายโอนกันได้ (Universality & Inalienability) หมายความว่า สิทธิมนุษยชนนั้นเป็นของคนทุกคน ไม่มีพรมแดน คนทุกคนมีสิทธิ มนุษยชนต่างๆ เช่นเดียวกัน คนทุกคนย่อมถือว่าเป็นคน ไม่ว่าอยู่ที่ไหนในโลก ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ สัญชาติ เหล่ากําเนิดใดก็ตาม ย่อมมีสิทธิมนุษยชนประจําตัวทุกคนไป จึงเรียกได้ว่าสิทธิมนุษยชนเป็น ของคนทุกคน ไม่ว่าคนๆ นั้นจะยากจน ร่ํารวย เป็นคนพิการ เป็นเด็ก เป็นผู้หญิง ที่กล่าวว่าสิทธิ มนุษยชนไม่สามารถถ่ายโอนให้แก่กันได้ หมายความว่าเมื่อสิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิประจําตัวของมนุษย์
มนุษย์แต่ละคนย่อมไม่สามารถมอบอํานาจหรือสิทธิมนุษยชนของตนให้แก่ผู้ใดได้ ไม่มีการครอบครอง สิทธิแทนกัน แตกต่างจากการครอบครองทรัพย์สิน เพราะสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่ธรรมชาติ กําหนดขึ้น เป็นหลักการที่ทุกคนต้องปฏิบัติ ได้มีการจัดหมวดหมู่และกลุ่มของสิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิ ของกลุ่มเฉพาะและสิทธิตามประเด็นปัญหา เช่น สิทธิสตรี สิทธิเด็ก สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิ ของผู้ลี้ภัย เป็นต้น
2.2.2.3 สิทธิมนุษยชนไม่สามารถแยกเป็นส่วนๆ ว่าสิทธิใดมีความสําคัญกว่าอีก สิทธิหนึ่ง (Indivisibility) หมายถึง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองไม่สามารถแบ่งแยกว่ามีความสําคัญ กว่าสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม สิทธิทั้งสองประการนี้ต่างมีความสําคัญเท่าเทียมกัน รัฐบาลใดจะมาอ้างว่าต้องพัฒนาประเทศให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจ หรือต้องแก้ปัญหา ปากท้องก่อนแล้วจึงค่อยให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง ย่อมขัดต่อหลักการนี้
2.2.2.4 คนทุกคนมีความเสมอภาคและห้ามการเลือกปฏิบัติ (Equality and Non- discrimination) การเลือกปฏิบัติเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานในทุกสังคม และถือเป็นการละเมิดสิทธิ มนุษยชน เพราะเหตุว่าในฐานะที่เกิดมาเป็นคน ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็น คนจน คนรวย คนพิการ เด็กหรือผู้สูงอายุ คนป่วยหรือมีสุขภาพดี ความเสมอภาคไม่ใช่การได้รับเท่ากัน แต่ความเสมอภาคคือการที่ทุกคนควรได้รับจากส่วนที่ควรได้ ในฐานะเป็นคน หลักความเสมอภาค คือ ต้องมีการเปรียบเทียบกับของ 2 สิ่ง หรือ 2 เรื่อง และดูว่าอะไรคือสาระสําคัญของเรื่องนั้น หากสาระ สําคัญของประเด็นได้รับการพิจารณาแล้วถือว่ามีความเสมอภาคกัน เช่น การที่รัฐจัดเก็บภาษีเงินได้ บุคคลไม่เท่ากัน คนที่มีรายได้มากเสียภาษีมาก คนที่มีรายได้น้อยเสียภาษีน้อย คนที่มีรายได้ไม่ถึง เกณฑ์ที่กําหนดก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่การมีรายได้มากหรือน้อยเป็นสาระสําคัญของการเก็บภาษีซึ่งเป็น ธรรมสําหรับประชาชน การเลือกปฏิบัตินั้นเป็นเหตุให้เกิดความไม่เสมอภาค เช่น การรักษาพยาบาล หรือการเข้าถึงบริการสาธารณะของรัฐเป็นไปไม่ทั่วถึงและไม่เท่าเทียมกัน เพราะมีความแตกต่างของ บุคคลเรื่องเชื้อชาติ
2.2.2.5 การมีส่วนร่วมและการเป็นส่วนหนึ่งของสิทธินั้น (Participation & Inclusion)
หมายความว่าประชาชนแต่ละคนและกลุ่มของประชาชนหรือประชาสังคมย่อมมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน ในการเข้าถึงและได้รับประโยชน์จากสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง และสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
2.2.2.6 ตรวจสอบได้และใช้หลักนิติธรรม (Accountability & the Rule of Law) หมายถึง รัฐและองค์กรที่มีหน้าที่ในการก่อให้เกิดสิทธิมนุษยชน ต้องมีหน้าที่ตอบคําถามให้ได้ว่าสิทธิ มนุษยชนได้รับการปฏิบัติให้เกิดผลจริงในประเทศของตน ส่วนสิทธิใดยังไม่ได้ดําเนินการให้เป็นไปตาม หลักการสากลก็ต้องอธิบายต่อสังคมได้ว่าจะมีขั้นตอนดําเนินการอย่างไร โดยเฉพาะรัฐต้องมีมาตรการ ปกครองประเทศโดยใช้หลักนิติธรรมหรือปกครองโดยอาศัยหลักการที่ใช้กฎหมายอย่างเที่ยงธรรม
ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่ายมีกระบวนการไม่ซับซ้อนเป็นไปตามหลักกฎหมายและ มีความเท่าเทียมกันเมื่ออยู่ต่อหน้ากฎหมาย ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมายได้
2.2.3 ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี
ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่พัฒนามาจากปฏิญญาสากลว่าด้วย สิทธิมนุษยชนหลักๆ มีทั้งสิ้น 9 ฉบับ ได้แก่ (กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ)
2.2.3.1 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Inter- national Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR)
2.2.3.2 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights - ICESCR) (รายงาน ประเทศไทยตามพันธกรณีฯ และการตอบข้อมูลเพิ่มเติมของไทย)
2.2.3.3 อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบต่อสตรี (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women - CEDAW)
2.2.3.4 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child -
CRC)
2.2.3.5 อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
(Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination - CERD)
2.2.3.6 อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่น ที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ํายีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment - CAT)
2.2.3.7 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities - CRPD)
2.2.3.8 อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (Convention on the Protection of All Persons from Enforced Disappearance - CED)
2.2.3.9 อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิก ในครอบครัว (Convention on the Protection of the Rights of Migrants Workers and Member of their Families - MWC)
ปัจจุบันประเทศไทยเข้าเป็นภาคีตราสารระหว่างประเทศหลักเหล่านี้แล้ว 7 ฉบับ รวมทั้งเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญา CEDAW ว่าด้วยการรับข้อร้องเรียนและอนุสัญญาสิทธิ เด็กอีก 2 ฉบับ คือ พิธีสารเลือกรับเรื่องการขายเด็ก การค้าประเวณีและสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก (Optional Protocol to the Convention on Rights of the Child on the Sale of Children, Child Prostitution and Child Pornography) และพิธีสารเลือกรับเรื่องความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ
(Optional Protocol to the Convention on Rights of the Child on the Involvement of Children in Armed Conflict) ส่วนอนุสัญญาอีกสองฉบับที่ไทยยังไม่ได้เป็นภาคีคือ อนุสัญญาว่าด้วย การป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ และอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของ แรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว
2.3 แนวคิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) คือ คุณค่าของมนุษย์ที่มีความเกี่ยวข้องหรือ ขึ้นอยู่กับความเป็นมนุษย์ โดยในฐานะมนุษย์ทุกคนได้รับคุณค่าความเป็นมนุษย์โดยไม่ต้องคํานึงถึง เพศ เชื้อชาติ ศาสนา วัย ฐานะหรือตําแหน่ง ในความเข้าใจทั่วไป การให้คุณค่ามนุษย์นั้น คุณค่าหรือ ศักดิ์ศรีขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจ บทบาททางสังคม การดํารงตําแหน่งทางสังคม เมื่อเข้าใจอย่างนี้ ดังนั้น มนุษย์คนใดรวย หรือมีบทบาททางสังคมมากหรือมีตําแหน่งใหญ่โตก็จะมีคุณค่ามาก คนจนหรือ คนที่ไม่มีบทบาททางสังคม ยศหรือตําแหน่งใดๆ จะมีคุณค่าน้อย หากมองเช่นนี้ระหว่างนักการภารโรง กับผู้อํานวยการโรงเรียนมีคุณค่าต่างกัน เด็กเรียนดีและเด็กที่มีพฤติกรรมแย่เนื่องจากเรียนไม่เก่งมี คุณค่าต่างกัน เด็กที่มีฐานะรวยกับเด็กที่มีฐานะยากจน มีคุณค่าต่างกัน การปฏิบัติตนต่อคนเหล่านั้น ก็จะแตกต่างกันด้วย แต่หากพิจารณาให้ถ่องแท้แล้วจะเห็นว่าความแตกต่างของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น ความจน ความรวย ผู้อํานวยการ ภารโรง นายพล นายอําเภอ สัญชาติ ภาษา ล้วนแต่สังคมเป็นผู้กําหนด ทั้งสิ้น และเมื่อสังคมกําหนดแล้วก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติต่อคนเหล่านั้นได้ ถ้าหากคนจน กลายเป็นคนรวย คนที่มีตําแหน่งสูงๆอาจจะถูกถอดตําแหน่ง คนที่ไม่มีความสําคัญทางสังคมกลายเป็น คนสําคัญ เป็นต้น แต่สิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ คือ อายุ เพศ เพราะธรรมชาติกําหนดมา แม้ว่า อาจจะมีการผ่าตัดแปลงเพศ แต่ก็ยังถูกระบุว่าคนคนนั้นมีเพศดั้งเดิมคืออะไร ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง ความจริงนี้ได้ สิ่งที่มนุษย์ทุกคนมีคือการรักชีวิต รักตัวกลัวตายมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน คุณค่าของความเป็นคน หรือศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์จึงไม่มีใครมีคุณค่ามากกว่าใคร เพราะทุกคนมีคุณค่าความเป็นคน เหมือนกัน แต่ในสังคมทุกคนยังคงมองเห็นความต่างไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างทางเพศ ฐานะทางเพศ เพศชายถูกมองว่ามีคุณค่าทางสังคมมากกว่าเพศหญิงในทุกด้านนับแต่โบราณมา การละเมิดสิทธิ มนุษยชนจึงเกิดขึ้นอยู่เสมอ การละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หมายถึง การเหยียดหยาม ลดทอน หรือการปฏิบัติต่อคนเหมือนไม่ใช่มนุษย์หรือลดฐานะมนุษย์เป็นเพียงวัตถุสิ่งของ
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้รับการรับรองอยู่ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติกา
ระหว่างประเทศ อนุสัญญา และปฏิญญาระหว่างประเทศหลายฉบับ สังคมในปัจจุบันมักจะละเลย ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพราะมีการให้คุณค่าของคนต่างกันตามสถานภาพทางสังคมของคนแต่ละคน เช่น กํานัน ทหาร ภารโรง นายกรัฐมนตรี ซึ่งสถานภาพเหล่านั้นไม่ใช่ตัวชี้วัดว่ามนุษย์หรือคนคนนั้นมี ศักดิ์ศรีของมนุษย์หรือไม่ แต่ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ คือการให้คุณค่าความเป็นคนตามธรรมชาติ
ไม่ว่าจะเกิดมาเป็นผู้ชาย ผู้หญิง กระเทย คนพิการ ปัญญาอ่อนหรือยากจน ต้องถือว่าคนทุกคนมีคุณค่า เท่ากัน ต้องปฏิบัติต่อกันเยี่ยงมนุษย์อย่างเสมอกัน เพราะถือเป็นการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้วยกัน การพิจารณาถึงสถานะในทางกฎหมายของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จะแบ่งการพิจารณาออกเป็น 3 ประการ คือ 1) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในฐานะที่เป็นคุณค่าสูงสุดของรัฐธรรมนูญ 2) ศักดิ์ศรีความ
เป็นมนุษย์ในฐานะที่เป็นสาระสําคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพและ 3) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในฐานะที่
เป็นสิทธิประเภทหนึ่ง (สถาบันพระปกเกล้า, 2558)
1) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในฐานะที่เป็นคุณค่าสูงสุดของรัฐธรรมนูญ “ศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์” นั้นถือว่าเป็นคุณค่าสูงสุดของรัฐธรรมนูญหรือที่กล่าวกันว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้นเป็น หลักสูงสุดของรัฐธรรมนูญ การกระทําของรัฐทั้งหลายจึงต้องดําเนินการให้สอดคล้องกับคุณค่าอัน สูงสุดของรัฐธรรมนูญ เพราะมนุษย์เป็นเป้าหมายการดําเนินการของรัฐ มนุษย์มิใช่เป็นเพียงเครื่องมือ ในการดําเนินการของรัฐ และการดํารงอยู่ของรัฐนั้นก็ดํารงอยู่เพื่อมนุษย์ มิใช่มนุษย์ดํารงอยู่เพื่อรัฐ ด้วยเหตุนี้ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์จึงถือว่าเป็นพื้นฐานสําหรับการวางรากฐานของหลักเสรีภาพของ บุคคลและหลักความเสมอภาค สิทธิและเสรีภาพนั้นเป็นสิทธิที่ไม่อาจจําหน่ายจ่ายโอนได้และเป็นสิทธิ ที่ไม่อาจล่วงละเมิดได้ ทั้งนี้เพื่อให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมีผลเป็นจริงในทาง ปฏิบัติ ซึ่งย่อมหมายความว่าสิทธิและเสรีภาพทั้งหลายที่บัญญัติไว้โดยสาระสําคัญของสิทธิและ เสรีภาพดังกล่าวนั้นเป็นการแสดงถึงผลอันมีพื้นฐานมาจากศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งก่อให้เกิดผล สําคัญ 2 ประการ ประการแรก การตีความเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพทั้งหลายจะต้องถือว่าเนื้อหาของ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นพื้นฐานที่จะต้องนํามาใช้ประกอบในการตีความสิทธิและเสรีภาพอื่นๆ ด้วย ประการที่สอง อาจกล่าวได้ว่า เนื้อหาในทางหลักการทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพทั้งหลายรวมทั้ง ความหมายของการแทรกแซงในขอบเขตที่ได้รับการคุ้มครองของสิทธิและเสรีภาพทุกประเภทนั้น ได้รับการพัฒนามาจากศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ความสําคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งถือได้ว่าเป็นบทบัญญัติที่อยู่ในลําดับชั้น
สูงสุดของรัฐธรรมนูญนั้น อาจแสดงให้เห็นได้ในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การกําหนดทิศทางของรัฐเรื่องศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์นั้นมีผลในทางการกําหนดกฎเกณฑ์ที่จะต้องทําให้บรรลุเป้าหมายต่อคุณค่าดังกล่าว สําหรับการกระทําของรัฐทั้งหลาย เพราะศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์นั้นเป็นตัวกําหนดและเป็นตัว จํากัดวัตถุประสงค์และภาระหน้าที่ของรัฐ (2) การบัญญัติรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ในรัฐธรรมนูญ นั้นไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดสิทธิในทางมหาชนที่มุ่งหมายต่อการกระทําของรัฐเท่านั้น หากแต่ยังบังคับให้ รัฐต้องกําหนดเป็นหลักของกฎหมายทั้งหลาย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามกฎหมายแพ่ง) ว่าอํานาจอื่นๆ นอกเหนือจากอํานาจรัฐก็ไม่อาจที่จะละเมิดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้ ถึงแม้จะไม่ก่อให้เกิดสิทธิ ในทางมหาชนในการเรียกร้องให้บัญญัติกฎหมายเพื่อการคุ้มครองดังกล่าวก็ตามแต่จากบทบัญญัติ กฎหมายที่มีอยู่จะต้องตีความให้สอดคล้องกับหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
นอกจากนี้รัฐยังต้องปกป้องคุ้มครองเพื่อมิให้มีการละเมิดในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ใน การทําให้บรรลุเป้าหมายต่อหน้าที่ของรัฐในการคุ้มครองต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้นได้ก่อให้เกิด คําถามว่าในกฎหมายแพ่งจะต้องคํานึงถึงระบบคุณค่าในทางรัฐธรรมนูญเช่นหลักอันละเมิดมิได้ของ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือไม่เพียงใด ซึ่งในทางตําราของเยอรมันต่างยอมรับตรงกันว่าหลักดังกล่าว นั้นมีอิทธิพลต่อกฎหมายแพ่งด้วย
2) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในฐานะที่เป็นสาระสําคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยนอกเหนือจากที่ได้กําหนดสิทธิและเสรีภาพไว้อย่างหลากหลายแล้วยังได้ กําหนดให้มีหลักประกันของสิทธิและเสรีภาพเช่นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29 วรรค 2 หลักห้ามมิให้ จํากัดสิทธิและเสรีภาพ อันมีผลเพื่อใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการ เจาะจง หลักการอ้างบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ให้อํานาจในการจํากัดสิทธิและเสรีภาพ และหลักการ จํากัดสิทธิและเสรีภาพจะกระทบกระเทือนสาระสําคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพมิได้ จากหลักประกัน ดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดคําถามขึ้นว่าอะไรคือสาระสําคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพแต่ละประเภทและมี ขอบเขตแค่ไหนเพียงใด ซึ่งในเรื่องนี้นับว่าเป็นปัญหาที่มีความยุ่งยากซับซ้อนในการกําหนดขอบเขต สาระสําคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพ ในปัญหาดังกล่าวแม้ในทางตํารากฎหมายของเยอรมันเองจนถึง ปัจจุบันนี้ก็ยังไม่สามารถที่จะกําหนดกฎเกณฑ์ออกมาเป็นหลักทั่วไปได้ว่าอะไรคือสาระสําคัญแห่งสิทธิ และเสรีภาพ แต่อย่างไรก็ตามได้มีความพยายามในการนําเกณฑ์ของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Wuerde des menschen) มาเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสาระสําคัญของสิทธิและเสรีภาพด้วย เหตุนี้การแทรกแซงใดที่เป็นการละเมิดต่อศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์กรณีย่อมถือว่าเป็นการ กระทบกระเทือนสาระสําคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพ ดังนั้น ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในฐานะที่เป็น สาระสําคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นถือว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสารัตถะอันเป็นแก่นของสิทธิ และเสรีภาพแต่ละประเภทซึ่งภายในขอบเขตดังกล่าว รัฐมิอาจล่วงละเมิดได้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในฐานะที่เป็นสาระสําคัญแห่งสิทธิ และเสรีภาพจึงมีความมุ่งหมายที่จะปกป้องคุ้มครองการแทรกแซง ของรัฐมิให้กระทบต่อสารัตถะแห่งสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกบุคคล
3) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในฐานะที่เป็นสิทธิประเภทหนึ่ง ประเด็นนี้มีข้อถกเถียง
ในทางวิชาการว่าศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์นั้นเป็นเพียงหลักการกว้างๆ ที่ครอบคลุมสิทธิและ เสรีภาพทั้งหลาย หรือว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้น ถือว่าเป็นสิทธิที่มีลักษณะเฉพาะตนสิทธิหนึ่ง ต่อกรณีปัญหาดังกล่าวในทางวิชาการของเยอรมันนั้น มีความเห็นแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายแรกเห็นว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไม่ถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานสิทธิหนึ่งเพราะการบัญญัติถึงศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ตามมาตรา 1 วรรค 114 ของรัฐธรรมนูญมีลักษณะเป็นการประกาศหลักการของสิทธิขั้นพื้นฐาน และเนื่องจากในมาตรา 1 วรรค 315 ของรัฐธรรมนูญ ได้บัญญัติให้สิทธิขั้นพื้นฐานในมาตราต่อๆ มา ผูกพันอํานาจรัฐทั้งหมด แต่ไม่หมายความรวมถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ด้วย นอกจากนี้ขอบเขต
ในการพิจารณาถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้นขาดความแน่นอนชัดเจนว่ามีขอบเขตแค่ไหนเพียงใด ดังนั้น ตามความเห็นฝ่ายแรก จึงเห็นว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1 วรรค 1 ของ รัฐธรรมนูญไม่ถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานสิทธิหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้นถือว่า เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานสิทธิหนึ่ง ทั้งนี้ โดยพิจารณาจากการจัดระบบในเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานและพัฒนาการ ในทางประวัติศาสตร์ของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แล้วถือได้ว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน สิทธิหนึ่ง โดยฝ่ายนี้ได้โต้แย้งความเห็นฝ่ายแรกที่กล่าวว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มีลักษณะเป็นการ ประกาศหลักการและขาดความแน่นอนชัดเจนนั้น ฝ่ายนี้เห็นว่าลักษณะดังกล่าวนั้นปรากฏอยู่ในสิทธิ ขั้นพื้นฐานอื่นๆ ด้วย
ปัญหาในเรื่องดังกล่าวนี้ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์ของเยอรมันได้วินิจฉัยยอมรับว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานสิทธิหนึ่งและต่อมาได้วินิจฉัยว่าถึงแม้ศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์มิได้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้รับการบัญญัติไว้ในมาตราที่ระบุให้ผูกพันอํานาจรัฐทั้งหมดก็ตามแต่ อํานาจรัฐทั้งหลายก็ยังต้องผูกพันกับหลักการสูงสุดของรัฐธรรมนูญด้วย ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามที่ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนั้นมีความมุ่งหมาย 2 ประการ ประการแรกถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานซึ่งมี ลักษณะเป็นสิทธิหนึ่ง ส่วนความมุ่งหมายอีกประการหนึ่ง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ทําหน้าที่ในการ วินิจฉัยในทางคุณค่าอันแสดงถึงทิศทางของการกระทําโดยเรียกร้องให้สิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ สามารถ บรรลุเป้าหมายได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้นอกเหนือจากการให้หลักประกันที่จะไม่ล่วงละเมิดต่อ สิทธิขั้นพื้นฐาน
สําหรับกรณีของไทย ตามที่ได้บัญญัติถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ในมาตรา 4 มาตรา 26 และมาตรา 28 ของรัฐธรรมนูญเช่นมาตรา 4 บัญญัติว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง” ในกรณีนี้ย่อมเห็นได้ชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญของไทยได้ให้ความรับรอง คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างชัดเจนโดยแยกออกจากสิทธิและเสรีภาพ ในกรณีเช่นนี้ในแง่ของ สถานะของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญของไทยนั้นย่อมถือได้ว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นคุณค่าหรือวัตถุในทางกฎหมายอย่างหนึ่งที่ได้รับรองคุ้มครองแยกต่างหากจากสิทธิและเสรีภาพ แล้ว
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญของไทย นอกจากเป็นสิ่งที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง
แล้วยังต้องถือว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นรากฐานของสิทธิและเสรีภาพทั้งปวงด้วย เพราะโดยสภาพ พื้นฐานแล้วสิทธิและเสรีภาพต่างๆ นั้นเป็นเพียงผลของการรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
2.4 แนวคิดการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
แนวคิดการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม แบ่งอธิบายรายละเอียดไว้เป็น 2 ส่วน คือ การป้องกันอาชญากรรม และการปราบปรามอาชญากรรม ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
2.4.1 การป้องกันอาชญากรรม
การป้องกันอาชญากรรม หมายถึง การคาดการณ์หรือประเมินล่วงหน้าเกี่ยวกับ ช่องทางหรือโอกาสการกระทําผิด หรือสภาพการณ์อาชญากรรมที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งความพยายาม ที่จะกระทําใดๆ เพื่อเป็นการสกัดกั้นมิให้มีการกระทําผิดเกิดขึ้น (สุดสงวน สุธีสร, 2547) การป้องกัน อาชญากรรมมี 3 มาตรการ คือ
2.4.1.1 มาตรการป้องกันพื้นฐาน เป็นการปฏิบัติภายใต้แนวความคิดที่สอดคล้อง กับองค์ประกอบของการเกิดอาชญากรรม ซึ่งประกอบไปด้วยสภาพแวดล้อมของสังคม สถานภาพของ ผู้ที่จะประกอบอาชญากรรม โอกาสในการประกอบอาชญากรรม จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบที่เจ้าหน้าที่ รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอาชญากรรมจะมีอํานาจหน้าที่ในการป้องกันได้ก็คือ องค์ประกอบที่สาม ทําให้คนร้ายไม่มีโอกาสหรือมีโอกาสน้อยที่สุดในการกระทําความผิด ซึ่งสามารถ ทําได้ใน 2 วิธี คือ
1) ตัดโอกาสของคนร้ายโดยตรงด้วยการใช้กําลังของเจ้าหน้าที่ตํารวจใน เครื่องแบบปรากฏในพื้นที่และช่วงเวลาที่เหมาะสมตามข้อมูลอาชญากรรม เช่น ในช่วงเวลาเปิดทําการ ธนาคาร ร้านทอง ไปประจําจุดที่ชุมชนหนาแน่น ตรวจตราที่เปลี่ยวในเวลากลางคืน โดยใช้สายตรวจ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นหลัก เช่น สายตรวจรถยนต์ สายตรวจรถจักรยานยนต์ สายตรวจเดินเท้า และ ตั้งจุดตรวจชั่วคราว
2) ขจัดมูลเหตุหรือตัดโอกาสของคนร้ายโดยทางอ้อมภายในขีดความสามารถ
และขอบข่ายอํานาจที่เจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันอาชญากรรมสามารถ กระทําได้
2.4.1.2 มาตรการป้องกันตามปกติ เป็นการกําหนดแนวทางปฏิบัติให้กับเจ้าหน้าที่ รัฐหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันอาชญากรรมให้ปฏิบัติงาน มีการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงาน และประเมินผลปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
2.4.1.3 มาตรการป้องกันเชิงรุก มาตรการนี้เป็นการปฏิบัติหน้าที่ใกล้ชิดกับ มาตรการปราบปราม แต่ยังไม่ถึงขั้นการจับกุม เป็นการปฏิบัติที่เข้าไปใกล้คนร้ายมากขึ้นกว่าใน มาตรการป้องกันตามปกติ วิธีการนี้เน้นย้ําการกระทําที่สม่ําเสมอโดยไม่หวังผลการจับกุม เพียงแต่มุ่ง ในการป้องกัน หากสามารถจับกุมได้ก็จะเป็นผลต่อการปฏิบัติที่เพิ่มขึ้น
สรุปได้ว่า การป้องกันอาชญากรรมคือการประเมินหรือคาดการณ์อาชญากรรมที่คาด ว่าจะเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า เพื่อลดช่องทางหรือโอกาสในการกระทําความผิด ซึ่งการป้องกันอาชญากรรม ดังกล่าวในปัจจุบันถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสําหรับการควบคุมอาชญากรรมเนื่องจากเป็นการตัดโอกาส การกระทําความผิดตั้งแต่ตอนต้น ซึ่งจะเป็นการลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งหากเทียบ กับอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับการพนันแล้ว สิ่งที่จะช่วยให้การพนันในสังคมลดน้อยลงและให้เกิดผลดี
ที่สุดก็คือการป้องกันการกระทําความผิดดังกล่าว โดยอาศัยแนวทางปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการป้องกัน และติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงาน รวมถึงมีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งควรทําในรูปแบบเชิงรุกมากกว่าเชิงรับอย่างเดียว ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการกระทําผิดในรูปแบบต่างๆ ที่จะกระจายเป็นวงกว้างสูงขึ้น
2.4.2 การปราบปรามอาชญากรรม
การปราบปรามอาชญากรรม หมายถึง การจับกุมตัวคนร้ายให้เข้ามาอยู่ในระบบ ขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมภายหลังเมื่อได้ประกอบความผิดแล้ว รวมถึงเข้าระงับอาชญากรรมที่ กําลังจะเกิดขึ้นให้ระงับลงจนไม่ให้เกิดความสูญเสียใดๆ เพิ่มขึ้นอีก วัตถุประสงค์คือลดปริมาณการเกิด อาชญากรรมลง รวมถึงการแก้ไขปัญหาภายหลังในระยะยาว โดยมาตรการปราบปรามอาชญากรรมมี 2 มาตรการ คือ
2.4.2.1 มาตรการปราบปรามตามปกติ ได้แก่ การป้องกันและระงับเหตุในขณะเกิด อาชญากรรม และสืบสวนติดตามจับกุมภายหลังเกิดเหตุ ตลอดจนการสืบสวนหาข่าวอาชญากรรม อย่างต่อเนื่องในทุกวิธี เช่น การปราบปรามอาวุธสงคราม อาวุธเถื่อน ยาเสพติดให้โทษ เป็นต้น
2.4.2.2 มาตรการปราบปรามในเชิงรุก เช่น การจัดให้มีการระดมกวาดล้างสิ่งผิด กฎหมาย มาตรการปราบปรามเชิงรุกนี้จะต้องกระทําให้สอดคล้องกับเหตุการณ์หรือสภาพอาชญากรรม โดยต่อเนื่อง
การควบคุมอาชญากรรมจะมีความแตกต่างกับวิธีการลดอาชญากรรม คือ การป้องกัน เป็นการควบคุมโดยตรง ซึ่งการควบคุมโดยตรงประกอบไปด้วยการใช้มาตรการของการลดช่องทาง หรือโอกาสในการกระทําความผิด ส่วนการลดอาชญากรรมเป็นการควบคุมอาชญากรรมโดยอ้อม มาตรการโดยอ้อมที่นํามาใช้ ได้แก่ การจําคุก การปรับ การคุมประพฤติ การพักการลงโทษ เป็นต้น รูปแบบการควบคุมอาชญากรรมที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือวิธีการควบคุมโดยอ้อม
กล่าวคือ เมื่อมีการกระทําผิดเกิดขึ้นแล้วก็จะนําวิธีการควบคุมอาชญากรรมโดยตรงมาใช้ ซึ่งเป็นการใช้ มาตรการในการควบคุมหลังจากเกิดการกระทําความผิดแล้ว เท่ากับเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เท่านั้น ในขณะที่การควบคุมเป็นการควบคุมก่อนที่อาชญากรรมจะเกิด เพื่อไม่ให้คนคิดจะกระทํา ความผิด จึงเป็นการสร้างความเชื่อมั่นได้ว่าวิธีการนี้จะทําให้อาชญากรรมไม่เกิดขึ้นในสังคม เพราะ เป็นมาตรการที่เกี่ยวข้องกับความเตรียมพร้อมในการดํารงชีวิตตามปกติของคนในสังคม เพราะเมื่อ คนในสังคมมีความพร้อมในด้านต่างๆ แล้ว จะไม่คิดกระทําการใดที่ขัดต่อกฎระเบียบของสังคม รวมทั้งมีความเกรงกลัวต่อโทษที่ตนเองจะได้รับ มาตรการโดยตรงเป็นวิธีที่จะกําจัดหรือสกัดไม่ให้คน เข้าไปในวงจรของอาชญากรรม
สรุป การปราบปรามอาชญากรรมเป็นการจับกุมผู้กระทําความผิดและเป็นการระงับ อาชญากรรมที่กําลังจะเกิดขึ้นให้ระงับลงจนไม่ให้เกิดความสูญเสียใดๆ เพิ่มเติมขึ้นอีก ซึ่งหากหมายรวมถึง
อาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับการพนันแล้วเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องมีแนวทางการปฏิบัติในเชิงรุกมากกว่า เชิงรับ กล่าวคือไม่ต้องรอให้มีการแจ้งการกระทําความผิด แต่มุ่งเน้นที่จะจัดระดมการกวาดล้างอาชญากรรม ที่เกี่ยวข้องกับการพนันให้หมดไป โดยการใช้วิธีการสืบหาข่าวแหล่งที่มีการพนันที่ผิดกฎหมาย และเข้า จับกุมโดยทันที เพื่อทําให้การพนันในรูปแบบที่ผิดกฎหมายต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศลดน้อยลง
2.5 แนวคิดเกี่ยวกับการต่อต้านการค้ามนุษย์
2.5.1 ความหมายของการค้ามนุษย์
ตามอนุสัญญาว่าด้วยการปราบปรามการค้ามนุษย์และเอารัดเอาเปรียบจากการค้า ประเวณีของผู้อื่น ค.ศ.1949 (1949 Convention for the suppression of the traffic in persons and of the exploitation of the prostitution of others) ได้ให้ความหมายการค้ามนุษย์ว่า เป็น การเคลื่อนย้ายบุคคลข้ามพรมแดนเพื่อการค้าประเวณีเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติ ได้ให้คํานิยามของการค้ามนุษย์ไว้ในพิธีสารแนบท้ายอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรม ข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ค.ศ.2000 (United Nation against Transnational Organized Crime) โดยพิธีสารฉบับดังกล่าวมีชื่อว่า พิธีสารเพื่อป้องกันปราบปรามและลงโทษการค้ามนุษย์โดยเฉพาะ สตรีและเด็ก ตามข้อ 3 ให้คํานิยามการค้ามนุษย์ (Trafficking in persons) หมายถึง การจัดหา ขนส่ง โยกย้าย ให้ที่พักอาศัยหรือรับบุคคลด้วยวิธีการคุกคาม ข่มขู่ หรือการใช้กําลังหรือการบีบบังคับใน รูปแบบอื่น การลักพาตัว การใช้อุบายหลอกลวง หรือการใช้อํานาจ หรือสภาพที่อ่อนแอเปราะบาง ในทางมิชอบ หรือการให้หรือการได้เงิน หรือผลประโยชน์เพื่อให้ได้ความยินยอมของบุคคลที่มีความ ควบคุมเหนือบุคคลอื่นเพื่อวัตถุประสงค์ในการแสวงหาประโยชน์ การแสวงหาประโยชน์จะรวมถึง อย่างน้อยที่สุดการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีของบุคคลอื่น หรือการแสวงหาประโยชน์ทาง เพศในรูปแบบอื่น การใช้แรงงาน หรือบริการโดยกดขี่ทารุณ การเป็นทาส หรือการกระทําอื่นเสมือน การเอาคนลงเป็นทาส การทําให้ตกอยู่ใต้บังคับ หรือการตัดอวัยวะออกจากร่างกาย
องค์ประกอบที่สําคัญของนิยามการค้ามนุษย์ คือ 1) การกระทํา (Action) ได้แก่
เป็นธุระ จัดหา ล่อไป ชักพาไป ซื้อ ขาย จําหน่ายนําเข้า พามาจากส่งออกไป รับไว้หน่วงเหนี่ยวกักขัง ซ่อนเร้น 2) วิธีการ (Means) ได้แก่ การใช้อุบาย หลอกลวง บังคับ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม ใช้กําลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้าย ใช้อํานาจครอบงําผิดทํานองธรรม ข่มขืนใจ และ 3) วัตถุประสงค์ (Purposes) คือ เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเหยื่อ เช่น การนําตัวไปเพื่อสนองความใคร่ เพื่อ การอนาจารหรือทําการค้าประเวณีเอาตัวลงเป็นทาสหรือมีฐานะคล้ายทาส กดขี่แรงงานและตัดอวัยวะ ส่วนพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ให้ความหมาย ของการค้ามนุษย์ไว้ว่า “ค้ามนุษย์” หมายความว่า การกระทําอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบ เป็นธุระจัดหา ซื้อขาย จําหน่าย พามาจาก หรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่
อาศัยหรือรับไว้ซึ่งบุคคลใด โดยข่มขู่ใช้กําลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อํานาจโดยมิชอบ หรือโดยให้เงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น แก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลบุคคลนั้น เพื่อให้ผู้ปกครองหรือ ผู้ดูแลให้ความยินยอมแก่ผู้กระทําความผิดในการแสวงหาประโยชน์จากบุคคลที่ตนดูแล หรือเป็นธุระ จัดหาซื้อขายจําหน่ายพามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัยหรือรับไว้ซึ่งเด็ก
2.5.2 รูปแบบของการค้ามนุษย์
2.5.2.1 การค้ามนุษย์เพื่องานบริการทางเพศ : การค้ามนุษย์เพื่องานบริการทาง เพศ เช่น การถูกหลอกหรือบังคับให้ทํางานบริการทางเพศโดยไม่สมัครใจ การถูกแสวงหาประโยชน์ ทางเพศ การค้าประเวณี การใช้ในสื่อลามก และการค้ามนุษย์ การถูกกักขัง ถูกทารุณกรรมทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจ ทางเพศ เป็นต้น โดยอาจจะปรากฏในรูปแบบต่างๆ เช่น การถูกลักพาตัว การซื้อขาย หรือการบังคับให้เข้าสู่ตลาดทางเพศ
2.5.2.2 การค้ามนุษย์เพื่อการรับใช้งานบ้าน : การค้ามนุษย์เพื่อการรับใช้งานบ้าน เป็นการทําให้หญิงและเด็กตกอยู่ในภาวะถูกผูกมัดด้วยภาระหนี้สินจากการกู้ยืมที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย เป็นเงินจํานวนสูงจากผู้จัดหาและเอเย่นต์ และถูกบังคับให้ทํางานแก่นายจ้าง แม้ในสภาพการทํางานที่ เสี่ยงและไม่เหมาะสม หญิงและเด็กที่ถูกค้าเพื่อรับใช้งานบ้านอาจถูกบังคับให้ทํางานในสถานประกอบ ธุรกิจของนายจ้าง เช่น ในร้านอาหาร โรงงาน โดยรูปแบบของความรุนแรงมีตั้งแต่การยึดหนังสือ เดินทาง การกักขังหน่วงเหนี่ยว และการห้ามติดต่อกับบุคคลภายนอก การยึดค่าจ้าง การให้ทํางาน เป็นเวลาหลายชั่วโมง การคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น
2.5.2.3 การค้ามนุษย์เพื่อการบังคับใช้แรงงาน : การค้ามนุษย์เพื่อการบังคับใช้ แรงงานผู้หญิง ผู้ชายและเด็กอาจถูกนําไปค้าเพื่อการทํางานในการเกษตร งานก่อสร้างหรือการผลิต อื่นๆ โดยคาดหวังว่าจะได้รับค่าจ้างสูง แต่กลับถูกกดค่าแรง หรือไม่ได้รับค่าจ้าง และต้องเผชิญกับการ ถูกแสวงหาประโยชน์ด้วยการบังคับทางร่างกาย ทางจิต และทางเพศหลากหลายรูปแบบ โดยแรงงาน เหล่านี้อาจจะลังเลที่จะขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากสถานภาพที่ผิด กฎหมายของตนเอง และเกรงว่าจะถูกตั้งข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย นอกจากนี้ การค้ามนุษย์เพื่อ การบังคับใช้แรงงานนั้น มีสาเหตุหนึ่งอันเนื่องมาจากการติดหนี้ หรือที่เรียกว่า แรงงานติดหนี้ (Debt bonded labor) โดยการตกเป็นเหยื่อของกลโกงในการกู้เงิน และถูกบังคับให้ทํางานหรือใช้แรงงาน ที่ไม่เหมาะสม เช่น การถูกบังคับให้ใช้แรงงานหรือทํางานเป็นเวลาหลายชั่วโมง การทํางานโดยไม่มี วันหยุดและได้รับค่าตอบแทนที่ไม่เหมาะสม หรือได้รับค่าตอบแทนเพียงเล็กน้อย และแรงงานเหล่านี้ จะไม่มีวันที่จะจ่ายหนี้สินที่ยืมมาได้หมด แต่หนี้สินดังกล่าวจะเพิ่มจํานวนขึ้นต่อไป
2.5.2.4 การค้ามนุษย์เพื่อให้ไปเป็นขอทาน : การค้ามนุษย์เพื่อให้ไปเป็นขอทาน
เป็นปรากฏการณ์ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนุภูมิภาคแม่น้ําโขง ทั้งผู้สูงอายุ เด็ก คนพิการได้ถูกจัดหามา จากหมู่บ้านที่ห่างไกลในชนบทมาสู่เมืองใหญ่ในต่างประเทศซึ่งเป็นพื้นที่ที่ตนไม่มีความเข้าใจในภาษา
ท้องถิ่นและไม่มีความคุ้นเคย รวมถึงไม่รู้เส้นทาง ทําให้ตกอยู่ในภาวะที่ด้อยกว่าและอยู่ในสายตาของ พวกนายหน้าที่จะมารวบรวมเงินที่ได้จากการขอทาน การถูกบังคับให้เป็นขอทานมีความเกี่ยวข้องกับ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
2.5.2.5 การค้ามนุษย์เพื่อการแต่งงาน : การค้ามนุษย์เพื่อการแต่งงานนั้นผู้ค้ามนุษย์ อาจจะมาในรูปแบบของนายหน้าจัดหาคู่ และให้สัญญาว่าจะแนะนําให้รู้จักและได้แต่งงานกับคนที่ เป็นผู้ที่ประสบความสําเร็จ และอาจจะถูกชักจูงให้เดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งไม่มีความคุ้นเคยกับ สภาพแวดล้อมใหม่ เช่น ในด้านภาษา วัฒนธรรมต่างๆ และกลายเป็นบุคคลที่ตกอยู่ในสภาพเยี่ยงทาส และอาจจะถูกบังคับให้ขายบริการทางเพศ การทํางานโดยไม่ได้รับค่าจ้างหรือตกอยู่ในสภาพการแต่งงาน ที่เยี่ยงทาส การถูกทารุณกรรมทั้งทางร่างกาย จิตใจ และทางเพศ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังปรากฏ ออกมาในรูปแบบของการที่เด็กและหญิงถูกบังคับให้แต่งงานโดยไม่มีทางเลือกอันจะนําไปสู่การถูก บังคับให้ใช้ชีวิตเยี่ยงทาสควบคู่กับการตกเป็นเหยื่อของการใช้ความรุนแรงงานทั้งทางร่างกาย จิตใจ และทางเพศ
2.5.3 ความผิดฐานค้ามนุษย์
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 บัญญัติถึงการ กระทําอันเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ไว้ในมาตรา 6 ดังนี้
“มาตรา 6 ผู้ใดกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จําหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งบุคคลใด โดยข่มขู่ ใช้กําลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อํานาจโดย มิชอบ ใช้อํานาจครอบงําบุคคลด้วยเหตุที่อยู่ในภาวะอ่อนด้อยทางร่างกาย จิตใจ การศึกษา หรือทาง อื่นใดโดยมิชอบ ขู่เข็ญว่าจะใช้กระบวนการทางกฎหมายโดยมิชอบ หรือโดยให้เงินหรือผลประโยชน์ อย่างอื่นแก่ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลบุคคลนั้นเพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลให้ความยินยอมแก่ผู้กระ ทํา ความผิดในการแสวงหาประโยชน์ จากบุคคลที่ตนดูแล หรือ
(2) เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จําหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งเด็ก
ถ้าการกระทํานั้นได้กระทําโดยมีความมุ่งหมายเพื่อเป็นการแสวงหาประโยชน์โดย มิชอบ ผู้นั้นกระทําความผิดฐานค้ามนุษย์
การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า การแสวงหา ประโยชน์จาก การค้าประเวณี การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ ในรูปแบบอื่น การเอาคนลงเป็นทาสหรือให้มีฐานะคล้ายทาส การนําคนมาขอทาน การตัดอวัยวะเพื่อ การค้า การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ หรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่า บุคคลนั้นจะยินยอม หรือไม่ก็ตาม
การบังคับใช้แรงงานหรือบริการตามวรรคสอง หมายความว่า การข่มขืนใจให้ทํางาน หรือให้บริการ โดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) ทําให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน ของบุคคลนั้นเอง หรือของผู้อื่น
(2) ขู่เข็ญด้วยประการใดๆ
(3) ใช้กําลังประทุษร้าย
(4) ยึดเอกสารสําคัญประจําตัวของบุคคลนั้นไว้ หรือนําภาระหนี้ของบุคคลนั้นหรือ ของผู้อื่นมาเป็นสิ่งผูกมัดโดยมิชอบ
(5) ทําให้บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้” เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติในมาตรา 6 และนิยามของคําว่า แสวงหาประโยชน์
โดยมิชอบ แล้วสามารถแยกการกระทําความผิดฐานค้ามนุษย์ออกได้เป็น 2 กรณีคือ
2.5.3.1 การกระทําความผิดฐานค้ามนุษย์โดยทั่วไป มีองค์ประกอบความผิด
ดังต่อไปนี้
1) ผู้ใด
2) เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จําหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยว
กักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้
3) บุคคลใด
4) โดยข่มขู่ ใช้กําลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อํานาจโดยมิชอบ ใช้อํานาจครอบงําบุคคลด้วยเหตุที่อยู่ในภาวะอ่อนด้อยทางร่างกาย จิตใจ การศึกษา หรือทางอื่นใด โดยมิชอบ ขู่เข็ญว่าจะใช้กระบวนการทางกฎหมายโดยมิชอบ หรือโดยให้เงินหรือผลประโยชน์อย่าง อื่นแก่ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลบุคคลนั้น เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลให้ความยินยอมแก่ผู้กระทําความผิด ในการแสวงหาประโยชน์ จากบุคคลที่ตนดูแล
5) โดยเจตนา
6) เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเหยื่อหรือผู้เสียหายอย่างหนึ่ง อย่างใด ดังนี้ (1) การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี (2) การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก
(3) การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น (4) การเอาคนลงเป็นทาสหรือให้มีฐานะคล้ายทาส
(5) การนําคนมาขอทาน (6) การตัดอวัยวะเพื่อการค้า (7) การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ (8) การอื่นใด ที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
2.5.3.2 การกระทําความผิดฐานค้ามนุษย์ที่กระทําต่อเด็กหรือมีเด็กเป็นเหยื่อ
มีองค์ประกอบความผิด ดังนี้
1) ผู้ใด
2) เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จําหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยว กักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้
3) เด็ก
4) โดยเจตนา
5) เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเหยื่อหรือผู้เสียหายอย่างหนึ่ง อย่างใด ดังนี้ (1) การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี (2) การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก
(3) การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น (4) การเอาคนลงเป็นทาสหรือให้มีฐานะคล้ายทาส
(5) การนําคนมาขอทาน (6) การตัดอวัยวะเพื่อการค้า (7) การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ (8) การอื่นใด ที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
2.5.4 ความแตกต่างระหว่างการค้ามนุษย์ (Human Trafficking) และการลักลอบ
ขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน (Human Smuggling) (ศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศ สํานักงาน อัยการสูงสุด, 2559)
2.5.4.1 การค้ามนุษย์เป็นความผิดต่อบุคคล (Crime Against Person) ในขณะที่ การลักลอบขนผู้ย้ายถิ่นฐานเป็นความผิดต่อรัฐ (Crime Against State)
การค้ามนุษย์เป็นการนําพาชักพาบังคับ หลอกลวงนําตัวเหยื่อมาแสวงหา ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ โดยเหยื่อเหล่านั้นไม่ได้เต็มใจหรือยินยอม การลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน ทั้งผู้รับจ้างนําพาหรือบุคคลที่ถูกนําพามาต่างสมประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งได้เดินทางเข้า ประเทศตามที่ต้องการ ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งก็ได้ประโยชน์เป็นเงินหรือวัตถุอย่างอื่นเป็นการตอบแทน
2.5.4.2 ความยินยอมของบุคคลที่ถูกนําพา (Consent) การค้ามนุษย์เป็นกรณีที่เหยื่อไม่ยินยอมที่จะถูกพามาแสวงหาประโยชน์ที่
มิชอบหรือแม้จะยินยอมในครั้งแรกแต่ความยินยอมดังกล่าวมักมีสาเหตุอยู่เบื้องหลัง เช่น ถูกหลอก เกี่ยวกับสภาพที่แท้จริงของงานที่ต้องทํา ถูกบังคับอยู่ในภาวะจําเป็นต้องยอมตามไม่สามารถขัดขืนได้ การลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานเกิดจากความยินยอมหรือสมัครใจของผู้ที่
ถูกนําพาข้ามแดนมา ผู้รับจ้างพาข้ามแดนเป็นผู้ที่ทําหน้าที่อํานวยความสะดวกหรือช่วยให้ผู้ที่ประสงค์ ข้ามแดนสามารถเดินทางไปยังประเทศปลายทางสมตามความต้องการ
2.5.4.3 วัตถุประสงค์ในการนําพา (Purpose of Movement)
การค้ามนุษย์ วัตถุประสงค์ที่แท้จริงตั้งแต่เริ่มต้นคือการพาเหยื่อไป แสวงหาประโยชน์ยังสถานที่ที่ตั้งเป้าหมายไว้โดยมีเจตนาเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
การลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน ผู้กระทํามีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อนําผู้ที่มี ความประสงค์ข้ามแดนไปข้ามแดนที่ตกลงกันไว้เท่านั้น โดยมิได้มีเจตนาที่จะแสวงหาประโยชน์อื่นใด นอกเหนือไปจากค่าจ้างตอบแทนที่ได้ตกลงกันไว้ล่วงหน้า
2.5.4.4 จุดหมายปลายทาง (Destination) การค้ามนุษย์เกิดขึ้นได้ทั้งภายในประเทศหรือเกิดขึ้นระหว่างประเทศโดย
เหยื่อไม่สามารถจะเลือกหรือเรียกร้องว่าจะไปอยู่หรือทํางานในสถานที่ใดก็ได้
การลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานเกิดได้เฉพาะระหว่างประเทศเท่านั้น วัตถุประสงค์หลักเพียงอย่างเดียวคือการพาคนจากประเทศหนึ่งเข้าไปยังอีกประเทศหนึ่งโดยไม่ถูกต้อง ตามกฎหมาย และเมื่อสามารถพาข้ามแดนไปได้แล้วผู้รับจ้างก็หมดภารกิจ ผู้ที่ถูกพาข้ามแดนจะ เดินทางไปที่ใดขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของตนเอง
2.5.4.5 การเสาะแสวงหาและการแนะนําชักชวน (Recruitment and Procurement) นักค้ามนุษย์ (Trafficker) จะเป็นผู้ออกไปทําการแสวงหาเองและเมื่อพบเหยื่อ
จะใช้วิธีการต่างๆ เช่น การใช้อุบายหลอกลวงชักจูงโน้มน้าวหรือใช้กําลังบังคับเพื่อให้ได้ตัวเหยื่อมา ผู้รับจ้างขนคนข้ามแดน (Smuggler) ไม่ใช่ฝ่ายที่ริเริ่มออกไปหาผู้ที่ประสงค์
ข้ามแดน โดยผู้ที่จะประสงค์ข้ามแดนจะเข้ามาติดต่อขอใช้บริการเอง
2.5.4.6 ความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ (Customer Relationship) การค้ามนุษย์จะเกิดขึ้นระหว่างนักค้ามนุษย์ด้วยกันหรือระหว่างนักค้า
มนุษย์กับผู้ที่ต้องการแสวงหาประโยชน์จากเหยื่อ (Exploiter) เหยื่อจะไม่มีโอกาสรับรู้หรือต่อรอง ราคาหรือค่าตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น
การลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานมีวัตถุประสงค์เพียงอย่างเดียว คือการ นําพาข้ามแดนได้สําเร็จ ดังนั้น ผู้ประสงค์ข้ามแดนจะเป็นใครไม่สําคัญเมื่อมีการตกลงกันแล้วหน้าที่ เพียงประการเดียวของผู้รับจ้างคือการพาข้ามแดนได้สําเร็จเพื่อที่จะได้ค่าจ้าง
2.5.4.7 ความรู้ความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ (Knowledge and
Control)
การค้ามนุษย์เหยื่อจะไม่มีอํานาจในการตัดสินใจเลือกหรือต่อรองเกี่ยวกับ
เรื่องใดๆ อนาคตและชะตาชีวิตจะขึ้นอยู่กับนักค้ามนุษย์หรือขบวนการค้ามนุษย์ที่จะเป็นผู้กําหนด การลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานผู้ประสงค์จะเดินทางยังคงสามารถคิด ตัดสินใจหรือสามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขอย่างใดๆ ก็ได้ ตราบเท่าที่การกระทําที่ผ่านมาจะไม่อยู่ใน
ระหว่างขั้นตอนพาข้ามแดน
2.5.4.8 ผลประโยชน์ตอบแทนหรือกําไร (Profit) การค้ามนุษย์จะแสวงหาประโยชน์โดยการนําเหยื่อไปขายเป็นทอดๆ แต่
ละทอดจะมีการบวกค่าใช้จ่ายและกําไรเพิ่มเข้าไป การลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานผู้รับจ้างได้รับ ค่าตอบแทนเพียงจํานวนเดียวจากผู้ประสงค์ข้ามแดน เงินจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการเจรจาแต่แรก โดยอาจรวมค่าใช้จ่ายในการปลอมเอกสารเงินติดสินบนพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยก็ได้
2.5.4.9 การใช้ความรุนแรง (Violence) การค้ามนุษย์เมื่อพบว่าตัวเองต้องตกเป็นเหยื่อมักต่อสู้ขัดขืนหรือหาทาง
หลบหนี วิธีการหนึ่งที่จะควบคุมหรือบังคับให้เหยื่อเหล่านี้ยอมทําตามก็คือการใช้ความรุนแรงต่อเหยื่อ ส่วนการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานนั้นไม่มีความจําเป็นใดๆ ที่จะต้องใช้ความรุนแรงเนื่องจากผู้รับจ้าง มิได้มีความประสงค์จะนําผู้ประสงค์ข้ามแดนมาอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของตน
2.5.4.10 ความเป็นไปเมื่อเดินทางถึงที่หมาย (Upon the Arrival) สิ่งที่สําคัญประการสุดท้ายในการที่จะบอกว่าการกระทํานั้นๆ เป็นการค้า
มนุษย์หรือการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน คือความเป็นไปหรือสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากถึงที่หมายปลายทาง การค้ามนุษย์เมื่อเหยื่อถึงที่หมายปลายทาง เหยื่อเหล่านั้นจะถูกขายหรือถูกบังคับให้ทํางานในสถานที่ ที่กําหนดไว้ เหยื่อจะไม่มีอิสระหรือถูกควบคุมจากนักค้าหรือผู้แสวงหาประโยชน์จากเหยื่อ เอกสาร การเดินทางหรือเอกสารสําคัญอื่นๆ มักจะถูกริบหรือยึดไป การลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานนั้นเมื่อ ผู้รับจ้างพาผู้ประสงค์เดินทางมาถึงที่หมายปลายทางแล้วทั้งสองฝ่ายไม่มีพันธะผูกพันใดๆ ต่อกันอีก ต่อไป
2.6 กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศและพันธกรณีที่ไทยมีในการต่อต้านการค้า มนุษย์
การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทยเริ่มขึ้นในปี พ.ศ.2543 เมื่อประเทศไทยได้ ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่กระทําโดยองค์กร อาชญากรรม (The United Nations Convention against Transitional Organized Crime) ซึ่ง นับเป็นพันธะสัญญาที่ทําให้ประเทศไทยเริ่มศึกษาปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศและเป็นรูปธรรม ชัดเจนเมื่อไทยได้ร่วมลงนามในพิธีสารเพื่อป้องกันปราบปรามและลงโทษการค้ามนุษย์โดยเฉพาะ ผู้หญิงและเด็กเมื่อ 18 ธันวาคม 2544 (Protocol to Prevent Suppress and Punish Trafficking in Persons, especially Women and Children Supplementing The United Nations Convention Against Transnational Organized Crime) ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้ประเทศไทย จําเป็นต้องมีองค์กรและหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ภายใต้บรรทัดฐานขององค์การสหประชาชาติ โดยให้แต่ละประเทศเร่งรัดปรับปรุงกฎหมายและมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองเด็กและผู้หญิงจาก ปัญหาการค้ามนุษย์ (ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 2556) ส่วนการกําหนด กรอบความร่วมมือระดับต่างๆ มีดังนี้
2.6.1 กรอบความร่วมมือระดับโลก
กรอบความร่วมมือระดับโลก ได้แก่ ความร่วมมือตามอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่กระทําโดยองค์กรอาชญากรรม ใน พ.ศ.2543 (The United
Nations Convention against Transitional Organized Crime) ความร่วมมือที่เป็นไปตามพิธีสาร เพื่อป้องกันปราบปรามและลงโทษการค้ามนุษย์โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็กใน พ.ศ.2544 (Protocol to Prevent Suppress and Punish Trafficking in Persons, especially Women and Children Supplementing The United Nations Convention Against Transnational Organized Crime) และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน พ.ศ.2491 (Universal Declaration of Human Rights) กรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคอาเซียนในการประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียนครั้งที่ 18 ระหว่างวันที่ 7–8 พฤษภาคม 2554 ที่กรุงจาร์กาตา มีการลงนามร่วมกันในแถลงการณ์ว่าด้วยการกระชับความร่วมมือ เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ (ASEAN Leaders’ Joint Statement in Enhancing Cooperation Against Trafficking in Persons in Southeast Asia) ในการประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียนครั้งที่ 21 เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2555 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศไทยได้ผลักดันให้มีการจัดทําแผนปฏิบัติการภูมิภาคว่าด้วย การค้ามนุษย์ (Regional Plan Action to Combat Trafficking in Persons) แถลงการณ์และการ จัดทําแผนนี้ชี้ให้เห็นถึงความสําคัญของการร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ร่วมกัน
2.6.2 กรอบความร่วมมือระดับอนุภูมิภาค
ปัญหาการค้ามนุษย์ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขงเป็นปัญหาร่วมของภูมิภาคที่มีสาเหตุ มาจากความแตกต่างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของแต่ละประเทศโดยกลุ่มและขบวนการค้ามนุษย์ ได้ฉกฉวยโอกาสในการแสวงหาผลประโยชน์จากกลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในสภาวะยากลําบากเข้าไม่ถึง โอกาสทางสังคม เศรษฐกิจ แหล่งข้อมูลข่าวสาร และการบริการทางสังคมพร้อมกับอาศัยช่องว่างของ กฎหมาย ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้เกิดขบวนการค้ามนุษย์กระทําการได้อย่างต่อเนื่องทั้งนี้โดยรัฐบาล ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ จีนตอนใต้ เวียดนาม และไทย ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขงว่าด้วยความร่วมมือต่อต้าน การค้ามนุษย์ (Coordinated Mekong Ministerial Initiative Against Trafficking : COMMIT) เมื่อ 29 ตุลาคม 2547 ที่เมียนมาร์
2.6.3 กรอบความร่วมมือระดับทวิภาคี
กรอบความร่วมมือระดับทวิภาคีเป็นความร่วมมือในการจัดทําบันทึกข้อตกลง ระหว่างประเทศระดับทวิภาคี โดยเฉพาะในประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง เพื่อต่อต้านการค้า มนุษย์ ได้แก่
2.6.3.1 บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่ง ราชอาณาจักรกัมพูชา เรื่อง ความร่วมมือทวิภาคีว่าด้วยการขจัดการค้าเด็กและหญิงและการช่วยเหลือ เหยื่อของการค้ามนุษย์ เมื่อ 31 พฤษภาคม 2546 ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา และมีข้อตกลงจัดทํา โครงการร่วมกันระหว่าง 2 ประเทศใน 3 เรื่อง ได้แก่ กระบวนการส่งกลับและคืนสู่สังคม กระบวนการ ดําเนินคดี และการรายงานข้อมูล
2.6.3.2 บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ว่าด้วยความร่วมมือต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและ เด็ก ลงนามเมื่อ 13 กรกฎาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ และได้เห็นชอบในแผนปฏิบัติการและแนวทางการ ดําเนินงานว่าด้วยความร่วมมือระหว่างไทย-สปป.ลาว เกี่ยวกับการรับ-ส่งและฟื้นฟูพัฒนาเหยื่อการค้า มนุษย์ โดยเฉพาะ สตรีและเด็ก เมื่อ 6-8 กุมภาพันธ์ 2548 ที่จังหวัดมุกดาหาร 3) บันทึกความเข้าใจ ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามว่าด้วยความร่วมมือ ระดับทวิภาคีเพื่อการขจัดการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็กและการช่วยเหลือเหยื่อการค้ามนุษย์ ลงนามเมื่อ 24 มีนาคม 2551 ที่กรุงโฮจิมินห์ 4) บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักร ไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพเมียนมาร์ ว่าด้วยความร่วมมือเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและ เด็ก ลงนามเมื่อ 24 เมษายน 2552 ที่กรุงเนปิดอ (ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 2556)
2.7 แนวคิดและหลักการของกฎหมายเปรียบเทียบ
การเปรียบเทียบกฎหมาย (Comparative Law) เป็นการศึกษากฎหมายโดยอาศัยวิธีการ เปรียบเทียบต้นตระกูลของกฎหมาย (Parent Legal Families) หรือระบบกฎหมายหลักของโลกสาม ระบบ คือ ระบบซีวิลลอว์ (Civil Law System) หรือระบบประมวลกฎหมาย (Code Law) ระบบ คอมมอนลอว์ (Common Law) หรือระบบกฎหมายจารีตประเพณี และระบบกฎหมายสังคมนิยม (Socialist Law System) ซึ่งเป็นระบบกฎหมายที่แยกตัวออกมาจากระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Romano Germanic Law System) แต่มีรากฐานมาจากระบบซีวิลลอว์ ที่การเปรียบเทียบกฎหมาย เป็นไปเพื่อค้นหาวิธีการสร้างหลักกฎหมายและพัฒนาการของกฎหมายนั้นๆ
2.7.1 ความหมายและลักษณะของกฎหมายเปรียบเทียบ
การเปรียบเทียบกฎหมาย เป็นการเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศต่างๆ เพื่อนํา ไปสู่คําตอบเกี่ยวกับหลักกฎหมาย หรือกระบวนการทางกฎหมายเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อทราบข้อดี ข้อเสีย จุดอ่อน จุดแข็งของหลักกฎหมาย โดยนํามาศึกษาในทางวิชาการ แล้วนําคําตอบที่ดีที่สุด (Best Solution) มาใช้ในการสร้างกฎหมาย หรือปรับปรุงกฎหมาย กฎหมายเปรียบเทียบจึงเป็นการใช้กฎหมายในเชิง คุณค่า (พินัย ณ นคร : 2549) การเปรียบเทียบกฎหมายสามารถแบ่งการพิจารณาได้ดังนี้ 1) พิจารณา ตามขอบเขต (Scope) โดยศึกษาเปรียบเทียบในระดับกว้าง (Macro Comparative Law) เพื่อค้นหา คําตอบโดยวิเคราะห์ระบบความคิดทั้งระบบ และเปรียบเทียบในระดับแคบ (Micro Comparative Law) เพื่อค้นหาคําตอบในเรื่องเฉพาะเรื่อง โดยไม่ได้ศึกษาทั้งระบบ 2) พิจารณาตามวัตถุประสงค์ โดยศึกษา เปรียบเทียบในเชิงทฤษฎี (Theoretical Comparative Law) เพื่อนําไปสู่การวิเคราะห์ วิจารณ์กฎหมาย ในเชิงวิชาการ และการเปรียบเทียบเพื่อนําไปสู่แนวทางปฏิบัติ (Legislative Comparative Law)
เป็นการเปรียบเทียบเพื่อนําไปสู่การสร้างหรือการปรับปรุงกฎหมาย การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายที่ แท้จริง จําเป็นต้องศึกษาระบบกฎหมาย นิติประเพณีทางกฎหมายตั้งแต่สองระบบขึ้นไป การศึกษา ระบบกฎหมายเป็นการศึกษากฎเกณฑ์และสถาบันทางกฎหมาย ซึ่งได้แก่ปรัชญาและวิธีการที่ระบบ กฎหมายเดียวกันใช้ร่วมกัน ซึ่งอาจเป็นการศึกษาระบบกฎหมายในกลุ่มเขตอํานาจรัฐกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ที่ใช้ระบบกฎหมายเดียวกันก็ได้ ส่วนการศึกษานิติประเพณีทางกฎหมาย (Legal Tradition) เป็นการ ศึกษากฎหมายในเชิงลึก โดยศึกษารากฐานและความคิดทางด้านประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับกฎหมาย บทบาทของกฎหมายที่มีต่อสังคมและการเมืองการปกครอง และองค์กรทางกฎหมายว่ามีความเหมาะสม หรือไม่ ทั้งยังศึกษาลักษณะของกฎหมายที่ควรจะเป็น หรือควรบัญญัติอย่างไร ควรใช้กฎหมายอย่างไร ศึกษากฎหมายอย่างไร สอนกฎหมายอย่างไร รวมไปถึงวัฒนธรรมทางกฎหมาย (Legal Culture) ได้แก่ ความคิด ค่านิยม ความคาดหวัง และทัศนคติของประชาชนบางกลุ่มที่มีต่อกฎหมายและสถาบันทาง กฎหมาย การเปรียบเทียบกฎหมายจึงเกี่ยวกับการศึกษากฎหมายที่มีความหลากหลาย
2.7.2 ความสําคัญของการเปรียบเทียบกฎหมาย
ความสําคัญในการเปรียบเทียบกฎหมาย ในเชิงหน้าที่และความมุ่งหมายในทาง ปฏิบัติ คือเพื่อวัตถุประสงค์ในการบัญญัติกฎหมายและปฏิรูปกฎหมาย เช่น ในเยอรมนี อังกฤษ อิตาลี และกรีซ เป็นต้น กฎหมายอาญาและกฎหมายล้มละลายของประเทศเยอรมนีที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ก็เกิดจากการค้นคว้าเปรียบเทียบกฎหมายประเทศอื่นๆ
การเปรียบเทียบกฎหมายทําให้เกิดกฎหมายที่มีความสอดคล้อง (Harmonization of Law) และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Unification of Law) ดังเช่น กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป มีกระบวนการบัญญัติกฎหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบกฎหมายเป็นส่วนใหญ่ โดยการเปรียบเทียบกฎหมายอย่างเป็นระบบได้เริ่มต้นมาจากการปฏิรูปกฎหมายในสหภาพยุโรป ซึ่งมี เพียงกฎหมายบางฉบับเท่านั้นที่ไม่ได้เกิดจากการค้นคว้าเปรียบเทียบกฎหมาย ซึ่งความมุ่งหมายของ การเปรียบเทียบกฎหมายของสหภาพยุโรปนั้น นอกจากเพื่อการบัญญัติกฎหมายแล้ว ยังมีความมุ่งหมาย เพื่อสร้างกฎหมายที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในสหภาพยุโรปด้วยกัน เช่น ขอบเขตของกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย การตีความกฎหมาย ตลอดจนการสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมายร่วมกันใน ระดับระหว่างประเทศ
การเปรียบเทียบกฎหมายยังช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างประเทศ ทําให้ค้นพบ หลักกฎหมายทั่วไปอันเป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งศาลได้นํามาปรับใช้ในข้อพิพาทที่มีลักษณะ ระหว่างประเทศ ทําให้ทราบว่ากฎหมายประเทศใดที่จะนํามาใช้กับข้อพิพาทระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น เช่น ศาลของสหภาพยุโรปได้นําวิธีการเปรียบเทียบกฎหมายมาใช้ในการตีความกฎหมายของประเทศ ที่อยู่ในกลุ่มสหภาพยุโรป การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายจึงเป็นประโยชน์ในการตีความและการบังคับใช้ กฎหมายระหว่างประเทศของศาลภายในประเทศและศาลระหว่างประเทศ (วราภรณ์ วนาพิทักษ์, 2544)
การเปรียบเทียบกฎหมายเป็นประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพ ช่วยเสริมสร้างภูมิความรู้ความสามารถ แก่ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย การติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายทั้งภาครัฐและ เอกชน และประโยชน์ต่อการดําเนินคดีของศาล ในกรณีต้องมีการตัดสินคดีข้อพิพาทระหว่างประเทศ ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาที่มีลักษณะระหว่างประเทศ ซึ่งตามกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลอาจ มีข้อกําหนดที่ต้องใช้กฎหมายของอีกประเทศหนึ่ง การเปรียบเทียบกฎหมายจึงมีความสําคัญในการ ดําเนินคดีและตัดสินคดีที่มีลักษณะระหว่างประเทศ เพื่อความยุติธรรมและสร้างความเชื่อมั่นต่อกัน ความสําคัญของการเปรียบเทียบกฎหมายในเชิงทฤษฎีนั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์
ในทางวิชาการ ทั้งการเรียน การสอน การค้นคว้าวิจัย ทําให้การศึกษากฎหมายเป็นไปด้วยความรู้ ความเข้าใจในระบบกฎหมายต่างๆ อย่างลึกซึ้ง สามารถค้นหาหลักทั่วไปที่ใช้อยู่ในระบบกฎหมายนั้นๆ สามารถแก้ไขปัญหาข้อกฎหมายอีกระบบกฎหมายหนึ่งได้ ผู้ศึกษาเกิดความชํานาญในการวิเคราะห์ และนิติวิธี ทราบที่มาของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่แตกต่างกันในแต่ละระบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับ บริบททางด้านสังคม วัฒนธรรมที่แตกต่างหรือคล้ายคลึงกัน การเปรียบเทียบกฎหมายทําให้ไม่ยึดติด กับกฎหมายของตนเอง มีความคิดกว้างขวางลึกซึ้งมากขึ้น และเข้าใจระบบกฎหมายของประเทศ ตนเองมากขึ้นกว่าเดิม
2.7.3 วิธีการเปรียบเทียบกฎหมาย
วิธีการในการเปรียบเทียบกฎหมายแบบคลาสสิก มี 2 วิธี คือ
2.7.3.1 การเปรียบเทียบกฎหมายแบบมหภาค (Macro-Comparison) เป็นการ ศึกษาเปรียบเทียบต้นตระกูลของกฎหมาย (Parent Legal Families) หรือเปรียบเทียบกฎหมายทั้งระบบ (Entire System) การเปรียบเทียบกฎหมายแบบมหภาค จําเป็นต้องศึกษาอย่างเป็นระบบทุกๆ ด้าน ทั้งด้านประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ ปรัชญา สังคมวิทยา และการวิเคราะห์ เช่นเดียวกับการเปรียบเทียบ แบบจุลภาค แต่การเปรียบเทียบแบบมหภาคจะยากกว่าการเปรียบเทียบแบบจุลภาค เนื่องจากการ เปรียบเทียบแบบมหภาคเป็นการเปรียบเทียบต้นตระกูลกฎหมาย หรือระบบกฎหมาย ไม่ใช่การ เปรียบเทียบกฎหมายเป็นเรื่องๆ หรือเพียงแค่เปรียบเทียบสถาบันทางกฎหมายเท่านั้น
2.7.3.2 การเปรียบเทียบกฎหมายแบบจุลภาค (Micro-Comparison) เป็นการ เปรียบเทียบกฎหมายแต่ละหัวข้อ หรือเปรียบเทียบลักษณะทางกฎหมายของระบบกฎหมายแต่ละ ระบบเป็นเรื่องๆ โดยไม่ต้องเปรียบเทียบถึงที่มาหรือต้นตระกูลกฎหมาย หรือเป็นวิธีการเปรียบเทียบ สถาบันกฎหมาย เช่น เปรียบเทียบกฎหมายสัญญาของไทยและกฎหมายสัญญาของอิตาลี ซึ่งเป็นการ เปรียบเทียบที่แคบกว่า แต่ก็ต้องอาศัยการศึกษาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบทุกด้านเช่นเดียวกัน ทั้งใน ด้านประวัติศาสตร์ ทฤษฎีกฎหมาย คําพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปรัชญา สังคมวิทยา เพราะ กฎหมายเป็นเครื่องมือควบคุมสังคม การเปรียบเทียบกฎหมายแบบจุลภาคจึงเน้นปัญหาในทางปฏิบัติ ที่เหมาะกับการใช้เพื่อศึกษาวิธีการแก้ปัญหาของต่างประเทศ
การแบ่งวิธีการเปรียบเทียบกฎหมายเป็น 2 วิธีดังกล่าว ไม่ได้เป็นการแบ่งที่ เคร่งครัดเสมอไป ในบางกรณีอาจมีการใช้วิธีการเปรียบเทียบทั้ง 2 วิธีพร้อมกันก็ได้ เพื่อการค้นหา วิธีการสร้างหลักกฎหมายและพัฒนาการของกฎหมายนั้นๆ การเลือกใช้วิธีการเปรียบเทียบนี้ขึ้นอยู่กับ เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการศึกษาของผู้ที่จะเปรียบเทียบเป็นหลัก
2.7.4 ข้อจํากัดในการเปรียบเทียบกฎหมาย
การเปรียบเทียบกฎหมายมีข้อจํากัด หรือข้อที่ต้องระมัดระวังต่างๆ ได้แก่
2.7.4.1 ภาษาและศัพท์กฎหมาย การเปรียบเทียบกฎหมายจําเป็นต้องเข้าใจภาษา ที่ระบบกฎหมายนั้นๆ ใช้ จึงจะทําให้เข้าใจกฎหมายที่ต้องการเปรียบเทียบได้อย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะ การเปรียบเทียบกฎหมายที่เป็นภาษาอื่น นอกจากต้องใช้ความรู้ทางด้านภาษา (Linguistic) ยังต้องมี ความเข้าใจศัพท์กฎหมาย (Legal Term) เนื่องจากกฎหมายที่มีความแตกต่างกัน อาจมีแนวคิดที่ไม่ เหมือนกัน ในการอธิบายกฎหมายหรือตีความกฎหมายจึงต้องมีความเข้าใจถึงเหตุแวดล้อมทาง กฎหมายต่างๆ ได้แก่ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวิวัฒนาการในทางกฎหมาย เช่น หลัก กฎหมายที่ใช้ในระบบคอมมอนลอว์ที่เรียกว่าหลัก Stare decisis (let decision stand) หมายความว่า ศาลล่างต้องถือตามคําพิพากษาศาลสูง และในคดีที่มีข้อเท็จจริงอย่างเดียวกัน ศาลซึ่งทําหน้าที่วินิจฉัย ในคดีหลังจะถูกผูกพันโดยคําพิพากษาของศาลที่ตัดสินไว้ก่อน แต่ในทางปฏิบัติ ศาลล่างของ สหรัฐอเมริกากลับไม่ต้องผูกพันตามคําพิพากษาของตน และการวินิจฉัยของศาลในคดีหลังขึ้นอยู่กับ ความน่าเชื่อถือในการให้เหตุผลของศาลในคดีก่อน นอกจากนี้ กฎหมายที่คล้ายคลึงกันในระบบ กฎหมายที่แตกต่างกัน เช่น หลักความยุติธรรม (Equity) ในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ และระบบ กฎหมายซีวิลลอว์ยังมีที่มาแตกต่างกันออกไป
2.7.4.2 ความแตกต่างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมของระบบ กฎหมายที่มุ่งเปรียบเทียบ เนื่องจากในระบบกฎหมายที่แตกต่างกัน อาจมีพื้นฐานทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม การเมืองที่แตกต่างกันออกไป ในการที่จะเข้าใจกฎหมายของระบบกฎหมายใดให้ ลึกซื้ง จําเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องดังกล่าว เมื่อกฎหมายมีความเกี่ยวพันกับการเมือง สังคม และ วัฒนธรรมของชาติ การเปรียบเทียบจึงต้องทําความเข้าใจกฎหมายเชื่อมโยงกับมิติทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมของระบบกฎหมายที่มุ่งเปรียบเทียบ
2.7.4.3 ความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์ ทั้งประวัติศาสตร์การพัฒนากฎหมาย หรือ ประวัติศาสตร์ของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม เนื่องจากระบบกฎหมาย ทุกระบบ เป็นผลที่เกิดขึ้นเนื่องจากประวัติศาสตร์ และวิวัฒนาการของชนชาตินั้นๆ จึงต้องมีความรู้ ด้านประวัติศาสตร์เพื่อการเปรียบเทียบกฎหมาย
2.7.4.4 ความเข้าใจของระบบกฎหมายของชาติตน กล่าวคือ เมื่อกฎหมายเป็นสิ่งที่ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับวัฒนธรรม การเปรียบเทียบกับชาติอื่นจึงต้องมีความรอบคอบ
โดยเฉพาะการเปรียบเทียบกฎหมายในกลุ่มประเทศตะวันตกกับกลุ่มประเทศตะวันออก นักกฎหมาย ชาวอเมริกันและยุโรปต้องหลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบโดยใช้มุมมองแบบตะวันตกของตนในการ วิเคราะห์ หรือไม่ใช้บรรทัดฐานของชาติตนในการเปรียบเทียบ
2.7.4.5 ความสามารถในเชิงวิเคราะห์และเปรียบเทียบกฎหมาย ในการเปรียบเทียบ กฎหมายนั้น นอกจากผู้เปรียบเทียบจะต้องมีความรู้ในกฎหมายแล้ว ยังต้องรู้ด้วยว่ากฎหมายนั้นดีหรือไม่ อย่างไร เพื่อนําความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเลือกกฎหมาย ร่างกฎหมาย หรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ซึ่งเป็น การใช้ความสามารถในเชิงวิเคราะห์ โดยความสามารถในเชิงวิเคราะห์และเปรียบเทียบจะขึ้นอยู่ กับ วัตถุประสงค์ของผู้ที่จะศึกษาว่าต้องการศึกษาเปรียบเทียบระบบกฎหมายใด เลือกใช้วิธีใดในการ ศึกษาเปรียบเทียบ ดังนั้น การเลือกเปรียบเทียบกฎหมายในประเทศที่มีสถานะทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่คล้ายคลึงกัน ก็จะทําให้การเปรียบเทียบกฎหมายทําได้ง่ายกว่าการเปรียบเทียบระบบ กฎหมายที่แตกต่างทางด้านวิวัฒนาการทางกฎหมาย สังคม และการเมืองโดยสิ้นเชิง
2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
โชติรส โชคสวัสดิ์ (2549) ได้ทําการศึกษาเรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจาก การค้ามนุษย์ตามพิธีสารเพิ่มเติมว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและลงโทษการค้ามนุษย์โดยเฉพาะ ผู้หญิงและเด็ก : ผลกระทบต่อการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าเป็นภาคี ผลการวิจัยพบว่า มาตรการ ให้ความคุ้มครองผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์ของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศ มีมาตรการให้ความคุ้มครองผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์อยู่เช่นกัน และสามารถนํามาใช้ให้เกิด ประโยชน์ต่อผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์ได้ แต่มาตรการเหล่านี้ก็ยังไม่เพียงพอ ซึ่งหากประเทศ สมาชิกอาเซียนได้เข้าเป็นภาคีของพิธีสารเพิ่มเติมว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและลงโทษการค้า มนุษย์โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็กแล้ว ประเทศสมาชิกอาเซียนเหล่านี้ยังจะต้องเสริมและหรือสร้าง มาตรการให้ความคุ้มครองทั้งในด้านกฎหมายและด้านอื่นๆ เพิ่มขึ้น
รุ่งนภา เทพภาค (2550) ได้ทําการศึกษาเรื่อง ปัญหาการค้ามนุษย์ในสังคมไทย : สถานภาพองค์ความรู้ ผลการศึกษาพบว่า เงื่อนไข ปัจจัยที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดกระบวนการค้า มนุษย์ ประกอบด้วย (1) เงื่อนไขปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ปัญหาความยากจนทั้งในระดับประเทศ และความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (2) เงื่อนไขปัจจัยทางการเมือง ได้แก่ ปัญหา การเมืองภายในของประเทศต่างๆ และนโยบายทางการเมืองบางนโยบายเป็นเงื่อนไขที่ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดกระบวนการค้ามนุษย์ขึ้น (3) เงื่อนไขปัจจัยทางวัฒนธรรม เช่น ค่านิยมในเรื่องความ กตัญญู ความไม่เท่าเทียมทางเพศที่สะท้อนผ่านการแบ่งงานกันทําระหว่างหญิงชาย (4) เงื่อนไขปัจจัย ทางด้านการคมนาคมและการสื่อสาร สาเหตุของการเข้าสู่การค้ามนุษย์ (1) การบังคับการค้าประเวณี ได้แก่ ความยากจน การขาดโอกาสทางการศึกษา ความอับอายในเรื่องเพศและชีวิตสมรสของผู้หญิง
ในหมู่บ้าน การไม่สามารถปฏิบัติได้ตามหน้าที่ของสถาบันครอบครัว การเป็นชุมชนการค้าประเวณี
(2) การบังคับใช้แรงงาน ได้แก่ ความยากจน ขาดโอกาสทางการศึกษา ต้องการรายได้เพื่อบริโภค สินค้าและบริการ มีประสบการณ์เลวร้ายในเมียนมาร์ รูปแบบของการเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์
(1) การบังคับค้าประเวณี กลุ่มเสี่ยง/เหยื่อการค้ามนุษย์ มี 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มหญิงและเด็กใน ประเทศไทย และกลุ่มหญิงและเด็กจากต่างประเทศ เส้นทาง มีทั้งเส้นทางภายในและเส้นทางการค้า มนุษย์ข้ามชาติ วิธีการเดินทาง มีทั้งเดินทางมาเอง เป็นกลุ่ม และผ่านระบบนายหน้า วิธีการล่อลวง/ ชักจูง/บีบบังคับให้เข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์ มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งตีสนิทแล้วโ น้มน้าวจูงใจ การหมั้นหมาย การลักพาตัว การใช้อุบายหลอก เครือข่ายนักค้ามนุษย์ ประกอบด้วย เอเย่นต์และ นายหน้าทั้งในประเทศต้นทาง และประเทศปลายทาง มีการทํางานเป็นกระบวนการ (2) การบังคับ แรงงาน กลุ่มเสี่ยง คือ กลุ่มเด็กไทยที่มาจากครอบครัวที่มีความยากจน และกลุ่มแรงงานข้ามชาติ เส้นทางหลัก คือ เส้นทางของการค้าแรงงานข้ามชาติ ซึ่งมีจุดเริ่มที่ประเทศเพื่อนบ้านในแถบอนุภูมิภาค ลุ่มน้ําโขง เข้าสู่ประเทศไทยในพื้นที่พรมแดนของจังหวัดต่างๆ การเดินทางใช้วิธีการที่ผสมผสานกัน ทั้งเดินเท้า และการใช้พาหนะหลากหลายประเภท นายหน้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการค้าแรงงาน มี 2 กลุ่มใหญ่ คือ (1) กลุ่มนายหน้าที่เป็นแรงงานข้ามชาติด้วยกันเอง และ (2) กลุ่มนายหน้าที่เป็นคนไทย ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในสังคมไทย ได้แก่ (1) ข้อเสนอแนะ ต่อการสร้างและพัฒนากลไก/เครื่องมือ ในการแก้ไขปัญหา เช่น การบังคับใช้กฎหมาย การพัฒนา กฎหมายให้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และ (2) ข้อเสนอ ในเชิงการพัฒนากระบวนการทํางานของภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การพัฒนากระบวนการทํางาน ขององค์กรพัฒนาเอกชน การพัฒนากระบวนการทํางานของสื่อมวลชนในการร่วมป้องกันแก้ไขปัญหา การค้ามนุษย์ในสังคมไทย การพัฒนากระบวนการดําเนินงานขององค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ปัญหา อุปสรรคในการขับเคลื่อนงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในสังคมไทย ประกอบด้วย
(1) ปัญหา อุปสรรคระดับโครงสร้าง/สังคม เช่น ข้อจํากัดด้านกฎหมาย ปัญหา/ข้อจํากัดในการดําเนินคดี
แก่ผู้ค้ามนุษย์ ทัศนคติทางลบที่มีต่อผู้ย้ายถิ่น รวมถึงการมีอคติทางชาติพันธุ์ต่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่าง
(2) ปัญหาอุปสรรคระดับองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อจํากัดด้านนโยบายการทํางาน ด้านการบริหาร ด้านงบประมาณ บุคลากร การประสานงาน
อรทัย จุลสุวรรณรักษ์ (2550) ได้ศึกษาเรื่อง การค้ามนุษย์ในประเทศไทย ผลการวิจัย พบว่า (1) การค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย มีสาเหตุจากความไม่เท่าเทียมกันในการพัฒนาทาง เศรษฐกิจ การเมืองและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศภูมิภาคแถบลุ่มแม่น้ําโขง เนื่องจากมองว่า ประเทศไทยมีการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจมากกว่าประเทศรอบข้าง และมีความมั่นคงเสรีภาพ ทางการเมืองการปกครองเมื่อเทียบกับประเทศในแถบนี้ (2) การค้ามนุษย์มีความเกี่ยวพันกับเศรษฐกิจ นอกกฎหมาย และกลุ่มอิทธิพล ผลประโยชน์ทั้งในประเทศและข้ามประเทศ เพราะการค้ามนุษย์เป็น
ธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่สามารถดํารงอยู่ได้โดยมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเครือข่ายที่ซ้อนทับกันกับธุรกิจ นอกกฎหมาย เช่น การค้ายาเสพติด เป็นต้น ซึ่งธุรกิจและผลประโยชน์ทับซ้อนของกลุ่มอิทธิพลเหล่านี้ มีการจัดตั้งรวมกลุ่มกันเป็นเครือข่ายเพื่อดําเนินการในกิจกรรมดังกล่าว (3) การอพยพเคลื่อนย้าย แรงงานและความต้องการแรงงานอย่างผิดกฎหมาย มีความสัมพันธ์ที่สามารถก่อให้เกิดการค้ามนุษย์ ขึ้นได้ จากการที่ประเทศไทยยังไม่มีความชัดเจนในนโยบายเรื่องการจ้างงานของแรงงานต่างชาติ โดยเฉพาะในประเทศแถบลุ่มแม่น้ําโขง ก่อให้เกิดการรับจ้างขนย้ายแรงงานอย่างผิดกฎหมาย และเกิด การเอารัดเอาเปรียบแรงงานอพยพเหล่านั้น จนกลายเป็นการค้ามนุษย์
ปานทอง ศรีทะวงศ์ (2551) ได้ทําการศึกษาเรื่อง ปัญหาและอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ตํารวจ กองบังคับการปราบปรามการกระทําผิดต่อเด็ก เยาวชน และสตรี ในการปฏิบัติงานป้องกันปราบปราม การค้ามนุษย์ ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาและอุปสรรคของเจาหน้าที่ตํารวจกองบังคับการปราบปราม การกระทําผิดต่อเด็ก เยาวชน และสตรี ในการปฏิบัติงานป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านการสืบสวนและ ด้านการสอบสวน และอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน คือ ด้านการจับกุมและด้านการบังคับใช้กฎหมาย เจ้าหน้าที่ตํารวจกองบังคับการปราบปรามการกระทําผิดต่อเด็ก เยาวชน และสตรีที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งประกอบด้วย การศึกษาและชั้นยศต่างกัน มีปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานป้องกัน ปราบปรามการค้ามนุษย์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
อริสรา ยอดดําเนิน (2551) ได้ทําการศึกษาเรื่อง ปัญหาการค้ามนุษย์ ศึกษากรณีการค้า หญิงและเด็กต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายโดยการบังคับใช้แรงงานในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า กฎหมายของประเทศไทยยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ในเรื่องการฟ้องร้อง ดําเนินคดี และ ลงโทษผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ จําเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมคําว่าเพื่อ บังคับใช้แรงงานหรือบริการ ในมาตรา 312 แห่งประมวลกฎหมายอาญา นอกจากนี้ควรแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 เรื่องการให้พํานักอาศัยชั่วคราวใน ประเทศไทยและการได้รับอนุญาตให้ทํางานเป็นการชั่วคราวในประเทศไทย ทั้งให้สิทธิพิเศษแก่คนต่าง ด้าวที่ให้ความช่วยเหลือในคดียื่นคําขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย เรื่องหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง กับการกระทําความผิดเกี่ยวกับการบังคับใช้แรงงาน นอกจากนี้จะต้องจัดทําเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ออก เผยแพร่ให้ความรู้ถึงความร้ายแรงของการค้ามนุษย์หรือการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ และทําบัญชี รายชื่อของสินค้าจากประเทศที่เชื่อว่ามีการผลิตดังกล่าว รวมทั้งการฝึกอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง สร้างความร่วมมือในระดับระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านเรื่องการดําเนินคดี เรียกร้องค่าแรงงานหรือค่าจ้าง จะต้องเพิ่มเติมคํานิยามคําว่าการฉ้อโกงแรงงาน และแก้ไขเพิ่มเติมคํา ดังกล่าวเอาไว้ในคํานิยามคําว่าแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน เจ้าหน้าที่ให้มีอํานาจหน้าที่ตรวจตราสอดส่องดูแลตามท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง
สถานบริการ โรงงานและสาธารณสถานต่างๆ เพื่อมิให้เกิดการกระทําความผิดฐานค้ามนุษย์ ทั้งควร แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เรื่องการกระทําทารุณกรรมในระหว่างเวลา ทํางาน แก้ไขเพิ่มเติมคําว่าหรือกระทําการทําร้ายร่างกายหรือกระทําการทารุณกรรมต่างๆ ในมาตรา 16 และแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 147 ในส่วนของการกําหนดบทลงโทษผู้กระทําความผิด อีกทั้งให้ผู้กระทํา ได้รับโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท รวมทั้งให้ออกกฎหมายใหม่เพื่อคุ้มครองแรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะ ส่วนปัญหาด้านอื่นๆ ที่มิได้เป็นปัญหาด้านกฎหมาย เรื่องเศรษฐกิจ จําเป็นต้องจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะที่ มีบทบาทในการจัดหางานระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน เรื่องสังคม อีกทั้งมีการจัดตั้งศูนย์ดําเนินการ เพื่อให้บริการด้านสาธารณสุขและให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาลอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง ทั้งจัดให้มีการฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเรื่องความมั่นคงของประเทศ จําเป็นต้องจัดให้มีอาชีพ และสร้างรายได้เพื่อรองรับคนในชาติ และจัดให้มีการศึกษา การฝึกอบรมอาชีพ การสวัสดิการสังคม อย่างทั่วถึง ทั้งนี้ โดยสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนกับประเทศต้นทาง
กัมปนาท ณ วิชัย (2552) ศึกษาวิจัย เรื่อง การบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบ ปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 : ศึกษากรณีการให้ความคุ้มครองผู้เสียหายที่จะไม่ถูกดําเนินคดี โดยชี้ ให้เห็นถึงการให้ความคุ้มครองผู้เสียหายจากการกระทําความผิดฐานค้ามนุษย์ ที่จะไม่ถูกดําเนินคดี โดยคุ้มครองบุคคลที่เป็นผู้เสียหายอย่างแท้จริงเท่านั้น โดยพิจารณาจากความสมัครใจ หรือมีส่วนร่วม ในการกระทําความผิดตามที่กฎหมายกําหนด และมีข้อเสนอแนะจากการวิจัยว่าควรมีการกําหนด คํานิยามของผู้เสียหายและได้มีการกําหนดประเภทของผู้เสียหายไว้ในพระราชบัญญัติให้ชัดเจน กล่าวคือ เฉพาะผู้เสียหายที่แท้จริง (Innocent victim) ซึ่งเป็นผู้เสียหายหรือเหยื่อของการค้ามนุษย์ที่ถูกหลอกลวง ไม่รู้เห็นหรือไม่เต็มใจกับการค้ามนุษย์ และมิได้มีเจตนากระทําความผิดเท่านั้นที่ควรได้รับการคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัตินี้ ตลอดจนควรมีการปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าวให้มีความสอดคล้องกับ พันธกรณีระหว่างประเทศในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีการค้ามนุษย์ บัญญัติให้มีการ คุ้มครอง และมีหลักประกันที่เหมาะสมแก่ผู้เสียหาย อันเป็นการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ซึ่งจําเป็นอย่างยิ่งต่อการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมของไทย
ดลฤทัย ไกรอํ่า (2553) ได้ศึกษาเรื่อง ปัญหาอุปสรรคในการคัดแยกเหยื่อจากการค้า มนุษย์ในบุคคลต่างด้าว 3 สัญชาติ (เมียนมาร์, ลาวและกัมพูชา) : ศึกษาเฉพาะกรณีส่วนคัดแยก ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ สถานกักตัวบุคคลต่างด้าว สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง จากการศึกษาพบว่า ความไม่พร้อมของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจํานวนบุคลากร ทักษะด้านภาษา เนื่องจาก เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถใช้ภาษาอื่นได้ ทําให้ข้อมูลที่ได้ไม่ละเอียดนักและขาดความน่าเชื่อถือ
ณัฐยา วิริวิทยา (2553) ได้ศึกษาเรื่อง ปัญหาอุปสรรคของเจ้าพนักงานตํารวจต่อการ ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ : ศึกษาเฉพาะกรณีพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า เจ้าหน้าที่บางส่วน มีส่วนร่วมในขบวนการค้ามนุษย์ ปัญหาด้านภาษา ด้านผู้เสียหาย พบว่า ผู้เสียหายไม่ให้ความร่วมมือ
ในการให้ข้อมูลเนื่องจากไม่ต้องการเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่หรือผู้มีอิทธิพลความหวาดกลัวหรือการ กลับเข้าไปเป็นเหยื่อซ้ํา
อนุสรณ์ อินบุตร (2553) ได้ทําการศึกษาเรื่อง แนวทางการป้องกันและปราบปรามการค้า มนุษย์ กรณีศึกษาแรงงานภาคประมงทะเล ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์ปัญหาการค้ามนุษย์ ในกลุ่มแรงงานประมงทะเลของประเทศไทยในปัจจุบันได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเกิดภาวะ ขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก ในขณะเดียวกันปริมาณความต้องการในการใช้แรงงานมีมากขึ้น ทําให้ เกิดขบวนการค้ามนุษย์เพื่อจัดหาแรงงานเข้าสู่ธุรกิจภาคประมงอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งสาเหตุสําคัญที่ทํา ให้แรงงานไม่ประสงค์จะทํางานในอาชีพนี้ คือ อาชีพประมงมีความยากลําบากและมีความเสี่ยงภัย อันตรายสูง ลักษณะงานไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน และขาดมาตรฐานในการดําเนินชีวิตบนเรือ นอกจากนี้ยังขาดมาตรการ กลไกจากภาครัฐในการให้ความคุ้มครอง สภาพการทํางาน สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการต่างๆ ทําให้เกิดการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง และตามที่รัฐบาลได้ประกาศให้ ปัญหาการค้ามนุษย์เป็นวาระแห่งชาติปี 2548 และจัดทํากฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้า มนุษย์ พ.ศ.2551 และได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางและมาตรการในการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ รูปแบบของแรงงานประมง เพื่อศึกษาพิจารณาหาแนวทาง มาตรการ และแสวงหาความร่วมมือ ภาคีเครือข่ายในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์รูปแบบของ แรงงานประมง แต่ปัจจุบันยังไม่มีมาตรการและกลไกในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ข้อเสนอแนะแนวทาง ในการป้องกันการค้ามนุษย์ คือ ประชาสัมพันธ์ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงานประมงทะเลและความเสี่ยง ของภัยการค้ามนุษย์ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่เกี่ยวข้องให้ขยายการคุ้มครองแรงงาน อย่างทั่วถึง จัดทํามาตรฐานและสร้างกลไกในการควบคุมการจ้าง สภาพการทํางาน ความเป็นอยู่ที่ เหมาะสมสอดคล้องกับการดําเนินชีวิตในเรือ พิจารณาขยายการคุ้มครองด้านสิทธิประโยชน์ สวัสดิการให้เทียบเคียงกับแรงงานในกิจการประเภทอื่น และแนวทางในการปราบปรามการค้ามนุษย์ คือ การจัดระเบียบเรือให้เข้าระบบอย่างถูกต้อง การควบคุมเรือเข้า-ออกท่า จัดการทําฐานข้อมูลเรือ คนประจําเรือ นายหน้า นายจ้าง เพื่อให้สามารถติดตามช่วยเหลือผู้เสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถติดตามผู้กระทําความผิดมาดําเนินคดีได้
พัชยา อัชเศรษฐ (2554) ศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาการทํางานของทีมสหวิชาชีพด้าน
กระบวนการส่งกลับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ชาวเมียนมาร์ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและ ปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 จากการศึกษาพบว่า ผู้ปฏิบัติงานยังขาดความรู้ความเข้าใจในการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ปัญหาในการประสานงานการส่งต่อข้อมูล มีปัญหาในการขาด แคลนล่ามในสถานคุ้มครอง สถานแรกรับผู้เสียหายไม่ให้ความร่วมมือกับผู้ปฏิบัติงาน
สุวรีย์ ใจหาญ (2556) ได้ศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนางานด้านการคุ้มครองผู้เสียหาย จากการค้ามนุษย์ จากการศึกษาพบว่าผู้ที่ทําหน้าที่คัดแยกยังไม่มีความชํานาญเพียงพอการพิจารณา
ว่าผู้ใดเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ พนักงานสอบสวนและนักสังคมสงเคราะห์ยังมีความเห็นแย้งกัน นักค้ามนุษย์คุกคามพยานในคดีการค้ามนุษย์ที่ตกอยู่ในความดูแลของสถานคุ้มครองหลายรูปแบบ ทําให้พยานไม่ให้ความร่วมมือในการสืบข้อเท็จจริงและต่อต้านการปฏิบัติงานของสถานคุ้มครองและ พัฒนาอาชีพ มีปัญหาขาดแคลนล่ามที่มีความรู้ความเข้าใจปัญหาการค้ามนุษย์และมีจิตวิทยาในการ ทํางานกบผู้เสียหาย
สมชาย ว่องไวเมธี (2557) ศึกษาเรื่อง มาตรการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าพนักงานตํารวจ ให้มีประสิทธิภาพตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์ปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทยยังคงมีปัญหาอยู่จากหลายปัจจัย อาทิ การที่ ในปัจจุบันมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีทําให้เกิดการอพยพย้ายถิ่นมากขึ้น หลายกรณี พบว่าเจ้าพนักงานของรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องกระบวนการค้ามนุษย์ด้วย จากการสํารวจความ คิดเห็นของพนักงานสอบสวนผู้ชํานาญการพิเศษ พบว่า กระบวนการบังคับใช้กฎหมายของประเทศ ไทยในความผิดฐานค้ามนุษย์ยังไม่ประสบความสําเร็จอันเกิดจากสาเหตุหลายประการ ทั้งการขาด ความรู้ความเข้าใจในตัวบทกฎหมาย การเพิกเฉยต่อการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งปัญหาในการออกหมายเรียกหมายค้นและหมายจับที่เป็นเครื่องมือในการสืบสวนสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานในการดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดฐานค้ามนุษย์ซึ่งยังมี มาตรการในการบังคับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพไม่เพียงพอ นอกจากนี้ การใช้วิธีการในการรวบรวม พยานหลักฐานในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า เอกสารหรือข้อมูลข่าวสารอื่นใดซึ่งส่งทางไปรษณีย์ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์อื่นใด ถูกใช้หรืออาจถูกใช้เพื่อประโยชน์ในการกระทํา ความผิดฐานค้ามนุษย์ มีขั้นตอนยุ่งยากเกินไป ขาดความรวดเร็วในทางปฏิบัติการรวบรวมพยานหลักฐาน ทําให้พยานหลักฐานไม่เพียงพอยืนยันการกระทําความผิด เจ้าพนักงานจึงไม่พยายามแสวงหาพยาน หลักฐาน อันเป็นช่องว่างในการทําให้ผลการดําเนินคดีอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบ กับการรวบรวมพยานหลักฐานของต่างประเทศ อาทิเช่น กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เครือรัฐออสเตรเลีย และมาเลเซีย พบว่า มีหลักกฎหมายเกี่ยวกับการแสวงหาพยานหลักฐานในคดีค้า มนุษย์หลายประการ ที่ทําให้เจ้าพนักงานสามารถเข้าถึงพยานหลักฐานได้โดยไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากนัก ดังนั้น จึงควรนํามาศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย เพื่อ เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายต่อไป พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้า มนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 30 เป็นปัญหาและอุปสรรค เนื่องจากเป็นการเพิ่มขั้นตอนสร้างเงื่อนไขแก่ เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติ ทําให้การปฏิบัติงานล่าช้า ไม่คล่องตัว ส่งผลกระทบต่อการรวบรวมพยานหลักฐาน เพราะตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา 30 นั้น อํานาจอนุมัติเป็นหนังสือไม่ได้อยู่ที่ตัว ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ หรืออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง แต่อํานาจ ในการพิจารณาอนุมัติอยู่ที่ศาลซึ่งผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ผู้ว่าราชการ
จังหวัดเป็นเพียงผู้กํากับตรวจสอบกลั่นกรองการปฏิบัติของเจ้าพนักงานอีกชั้นหนึ่งเท่านั้น ก่อนที่จะทํา คําร้องเสนอต่อศาล ดังนั้น อํานาจในการอนุมัติเป็นหนังสือแท้จริง จึงอยู่ที่ศาลเท่านั้น เป็นการเพิ่ม ขั้นตอนการปฏิบัติให้ยุ่งยากมากขึ้น อํานาจเด็ดขาดรวมอยู่ที่ศาลผิดต่อหลักการตรวจสอบถ่วงดุล (Check and Balance) การเพิ่มขั้นตอนดังกล่าวทําให้พยานหลักฐานสําคัญสูญหายหรือถูกทําลาย โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่ส่งโดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่อาจถูกทําลายได้ง่าย
เภรินทร์ ยิ่งเภตรา (2557) ศึกษาเรื่อง ปัญหาและข้อจํากัดในกระบวนการคุ้มครองสวัสดิภาพ ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและข้อจํากัดในกระบวนการคุ้มครอง สวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และแนวทางการแก้ไขปัญหา และข้อจํากัดในกระบวนการ คุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ของสถานคุ้มครองและพัฒนา อาชีพ 8 แห่งจํานวน 60 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อปัญหา และข้อจํากัดด้านภาษาในระดับมาก ปรากฏเรื่องหน่วยงานขาดบุคลากรด้านล่ามประจําหน่วยงาน และกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยกับแนวทางการแก้ไขปัญหา และข้อจํากัดในกระบวนการคุ้มครองสวัสดิภาพ ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์โดยเฉพาะในเรื่องการสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่เข้าอบรมเกี่ยวกับความรู้ตาม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 และกฎหมายอื่นๆ ที่สอดคล้องกับ ภารกิจ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนงบประมาณในการจ้างบุคลากรด้านล่ามประจํา หน่วยงาน และควรส่งเสริมให้มีการจัดอบรมเกี่ยวกับความรู้ด้านกฎหมายที่สอดคล้องกับภารกิจให้กับ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน
Suhana Saad และ Ali Salman (2014) ศึกษาวิจัยเรื่อง Government policy and the challenge of eradication human trafficking in Malaysia พบว่า ประเทศมาเลเซียเป็น ประเทศปลายทาง และเป็นทางผ่านของผู้หญิงและเด็กที่เป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ ในรูปแบบการ บังคับค้าประเวณี และการบังคับใช้แรงงาน มาเลเซียตกอยู่ในอันดับ Tier2 watch List มาเป็นเวลา 2 ปี ตั้งแต่ 2011 ซึ่งหมายความว่า ยังไม่มีความพยายามอย่างเต็มที่ในการช่วยเหลือคุ้มครองเหยื่อตาม มาตรฐานขั้นต่ําที่สหรัฐอเมริกากําหนดไว้ ในการศึกษาเพื่อหาสาเหตุของการค้ามนุษย์ และเหตุผลที่ รัฐบาลยังไม่ประสบความสําเร็จในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลที่เป็นเหยื่อ และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน Council for Anti-Trafficking in Person and Anti-Smuggling of Migrants (MAPO) ซึ่งปฏิบัติงานป้องกันแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ตาม กฎหมายที่บัญญัติเมื่อปี 2007 บังคับใช้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2008 แก้ไขเพิ่มเติมปี 2010 ซึ่งบัญญัติ รวมปัญหาการลักลอบเข้าเมืองไว้ด้วยนั้น พบว่า สาเหตุใหญ่ของปัญหาคือ รัฐบาลไม่สามารถกําจัด การค้ามนุษย์ให้หมดไปได้ เพราะการค้ามนุษย์มีผู้กระทําผิดที่เป็นตัวแทน หรือนายหน้าซึ่งมีการทํางาน ปิดบัง เป็นกระบวนการ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถจับกุมได้ เช่นปัญหาที่ชายแดน การเฝ้าระวังการใช้สื่อ
ทั่วไปของรัฐบาลเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับอันตรายของการค้ามนุษย์ ยังไม่มีประสิทธิภาพตามที่ ต้องการ ผลการศึกษาจึงแนะนําให้ใช้สื่อใหม่ เช่น สื่อสังคมอื่นๆ เพื่อเสริมประชาชนได้ตระหนักมากขึ้น Thi Tue Phuong Hong (2015) ศึกษาเรื่อง Protection for Trafficked Person in Viet
Nam : Another National Security Discourse เวียดนามได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยการค้ามนุษย์ และอนุสัญญาว่าด้วยองค์การอาชญากรรมข้ามชาติ (CTOC) และด้วยเหตุนี้จึงต้องยอมรับวัตถุประสงค์ สามข้อของพิธีสาร (ข้อ 2) อันได้แก่ การป้องกันการคุ้มครองและความร่วมมือระหว่างรัฐ งานวิจัยนี้ เกี่ยวกับความคุ้มครองเหยื่อในเวียดนาม ภายใต้พิธีสารค้ามนุษย์ การค้ามนุษย์ถือว่าเป็นเหยื่อการ ละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นเหยื่อของอาชญากรรม กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศเวียดนาม (2011) รวมเอาระบบการคุ้มครองเหยื่อ ซึ่งมุ่งเน้นที่จะปฏิบัติตามแนวทางของสิทธิมนุษยชนในกรอบ สากล กรอบกฎหมายของเวียดนามล้มเหลวในเรื่องนี้ เช่น เหยื่อหรือผู้ที่ถูกค้ามนุษย์อาจถูกลงโทษ เพราะมีความเกี่ยวพันกับการกระทําที่เป็นความผิด เหยื่อเป็นผู้ถูกกระทํา ผู้ที่จะตัดสินความผิดจะต้อง มีข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับเหยื่อ ด้วยลักษณะการคุ้มครองเหยื่อของเวียดนาม สะท้อนถึงการรับรู้ของ ประเทศเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ เวียดนามมองว่าการค้ามนุษย์เป็นปัญหาที่เกี่ยวพันกับโสเภณีซึ่งถือได้ว่า เป็น "ความชั่วร้ายทางสังคม" และการค้ามนุษย์ดังกล่าวถือเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงกับความภาคภูมิใจ และเอกลักษณ์ของชาติด้วย ผลการศึกษามีความชัดเจนว่า การรับรู้ปัญหาการค้ามนุษย์ การควบคุม ชายแดนและความมั่นคงของชาติ ยิ่งไปกว่านั้น พบว่าระบอบการปกครองของเวียดนามมองข้าม ความเชื่อมโยงระหว่างการค้ามนุษย์กับการย้ายถิ่นฐานของแรงงานด้วยการมุ่งเน้นการค้ามนุษย์หญิง และเด็กต่อไปเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ
Yoon Jin Shin (2015) ศึกษาเรื่อง Human Trafficking and Labor Migration: The
Dichotomous Law and Complex Realities of Filipina Entertainers in South Korea and Suggestions for Integrated and Contextualized Legal Resp พบว่า บุคคลที่อยู่บนความเสี่ยง ของการค้ามนุษย์และ แรงงานอพยพ เนื่องจากกฎหมายไม่กําหนดให้ผู้กระทําความผิดเป็นการค้า มนุษย์ เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายเป็นแรงงานอพยพ กฎหมายปฏิเสธสิทธิที่เหมาะสม สิทธิตามกฎหมายและ การเยียวยาสําหรับการละเมิดสิทธิอย่างร้ายแรง เกาหลีใต้ประสบปัญหาในฐานะประเทศปลายทาง งานวิจัยแสดงถึง แรงงานข้ามชาติที่มีความต้องการความช่วยเหลือต่างๆ หน่วยงานที่เข้าพบปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยุติธรรมทางอาญา และระเบียบการควบคุมการอพยพย้ายถิ่นฐานของรัฐ ปลายทางที่นํามาใช้ การรับรู้และการรักษาคุ้มครองเหยื่อจากการค้ามนุษย์ คําแนะนําที่เป็นรูปธรรม เกี่ยวกับวิธีการ การคุ้มครองช่วยเหลือ และกรอบการควบคุมอาชญากรรม และการอพยพเข้าสู่ศูนย์กลาง ทําให้ผู้อพยพตกเป็นเหยื่อ ในด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิด้านแรงงาน และความต้องการของผู้อพยพ เพื่อการตอบสนองตามบริบท ประเด็นสําคัญที่งานวิจัยนําเสนอคือ มีสิทธิที่จะพักและทํางานในประเทศ ปลายทาง เป็นวิธีการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ มากกว่านโยบายการเนรเทศในปัจจุบันที่ไม่ดีต่อเหยื่อ
Nicola S. Pocock, Ligia Kiss, Sian Oram และ Cathy Zimmerman(2016) ศึกษา เรื่อง Labour Trafficking among Men and Boys in the Greater Mekong Subregion: Exploitation, Violence, Occupational Health Risks and Injuries ผลการศึกษาพบว่า สองใน สามของเพศชาย ถูกค้ามนุษย์และแรงงานที่ถูกบังคับโดยทั่วไปที่มีทักษะต่ํา แรงงานรวมถึงการประมง การเกษตร และโรงงาน แต่หลักฐานส่วนใหญ่เกี่ยวกับมนุษย์ การค้ามนุษย์มุ่งเน้นไปที่ผู้หญิงและ เด็กหญิงที่ถูกค้ามนุษย์เพื่อค้าประเวณี โดยไม่ค่อยมีการวิจัยเกี่ยวกับชายและชายที่ถูกค้ามนุษย์ นักวิจัยจึงวิเคราะห์ข้อมูลการสํารวจจากกลุ่มผู้ค้ามนุษย์รายใหญ่ที่สุดที่เป็นระบบอย่างต่อเนื่อง รวบรวมจนถึงปัจจุบันเพื่ออธิบายถึงความถี่ ความรุนแรง ความเสี่ยงด้านสุขภาพอาชีวอนามัย และการ บาดเจ็บ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมคือชายและหญิงที่ถูกค้ามนุษย์โดยในประเทศไทย กัมพูชาและเวียดนาม โดยการศึกษากลุ่มตัวอย่าง เพศชาย 446 คนอายุ 10-58 ปี ผู้ชายและเด็กชาย ส่วนใหญ่ถูกค้ามนุษย์เพื่อการประมง (61.7%), การผลิต (19.1%) และขอทาน (5.2%) ชาวประมง ทํางานอย่างหนัก เฉลี่ย 18.8 ชั่วโมง / วัน และคนทํางานในโรงงานเฉลี่ย 11.9 ชั่วโมง /วัน ผู้รอดชีวิต ชาย 35.5% ได้รับบาดเจ็บขณะถูกค้ามนุษย์ 29.4% ไม่ได้รับอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (เช่นถุงมือ ) การบาดเจ็บที่รายงานบ่อยที่สุดในกลุ่มผู้ชายทุกคนมีบาดแผลลึก (61.8%) และอาการบาดเจ็บที่ผิวหนัง (36.7%) การบาดเจ็บที่น้อยกว่าหนึ่งในสี่รายงานว่า ได้รับการดูแลทางการแพทย์ ชาวประมงหกคน สูญเสียอวัยวะของร่างกาย โดยไม่ได้รับการดูแลทางการแพทย์ ผู้ชายส่วนใหญ่ (80.5%) มีช่วงพักที่ เหลืออยู่ไม่มากนัก หนึ่งส่วนสาม (37.8%) การบาดเจ็บจากการทํางานเกี่ยวข้องกับความรุนแรง แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงที่เกิดจากการค้ามนุษย์ ผู้ชายและเด็กชาย อาชีวอนามัยและความปลอดภัย การแทรกแซงเป็นสิ่งจําเป็นเร่งด่วนเพื่อป้องกัน แรงงานข้ามชาติชายที่ทํางานในภาคที่มีความเสี่ยงสูง
Emily E. SCHUCJMAN (2006) ศึกษาเรื่อง Antitrafficking Policies in Asia and the
Russian Far East: A Comparative Perspective จากการศึกษาวิจัยพบว่า ปัจจุบันรัสเซียเป็น ประเทศต้นทางที่ใหญ่ที่สุดสําหรับสตรีที่ถูกค้ามนุษย์ การว่างงานเพิ่มขึ้นหลังจากการล่มสลายของ สหภาพโซเวียตการลดค่าเงินของเงินรูเบิลและการเพิ่มขึ้นของการก่ออาชญากรรมได้สร้างบรรยากาศ ที่เอื้ออํานวยการค้ามนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินแดนรัสเซียฟาร์อีสท์ที่ยากจน (RFE) ผู้หญิงจํานวน มากถูกล่อลวงเข้าสู่วงการค้ามนุษย์โดยสัญญาว่าจะทํางานที่ถูกกฎหมายในต่างประเทศ โดยไม่รู้ว่างาน ที่จะต้องทําคืออะไร การศึกษาวิจัย ตรวจสอบสถานการณ์การค้ามนุษย์ในรัสเซีย และประเทศเพื่อน บ้านในเอเชีย เน้นโดยเฉพาะบทบาทขององค์กรสตรีในการต่อต้านการผูกขาดทางการค้า ในจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และรัสเซีย การวิเคราะห์ได้ว่าผู้หญิงในระดับรากหญ้า ตกเป็นเหยื่อ เสี่ยงต่อการถูกค้า มนุษย์ เกาหลีใต้มีองค์กรที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา มีการให้เงินสนับสนุนองค์กรสตรีและให้ กําลังใจเหยื่อ เน้นการพัฒนาประชาสังคมต้องเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการต่อต้านการค้ามนุษย์ใน รัสเซีย
2.9 กรอบความคิดของการวิจัย
- แนวคิดเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย
- แนวคิดสิทธิมนุษยชน
- แนวคิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
- แนวคิดการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
- แนวคิดเกี่ยวกับการต่อต้านการค้ามนุษย์
- กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศและพันธกรณีที่ไทยมี ในการต่อต้านการค้ามนุษย์
- แนวคิดและหลักการของกฎหมายเปรียบเทียบ
ทางเลือกหรือข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการ ระเบียบและกฎหมายต่อต้าน การค้ามนุษย์และกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของ ประเทศไทย
- กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การค้ามนุษย์ของประเทศไทย
- ปัญหาการบังคับใช้และจุดอ่อน ข้อบกพร่องของกฎหมาย
- กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ ของสหรัฐอเมริกา เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนามและเกาหลีใต้
- ประสบการณ์แนวทางในการ แก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของ สหรัฐอเมริกา เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนามและเกาหลีใต้
วิเคราะห์/สังเคราะห์
ภาพที่ 2-1 กรอบแนวคิดของการวิจัย
บทที่ 3 วิธีดํำเนนกำรวิจัย
การศึกษาวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทยเปรียบเทียบ กับต่างประเทศ” ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ปัญหาการบังคับใช้และจุดอ่อนข้อบกพร่องของกฎหมาย
2) ศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายต่อต้าน การค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนามและเกาหลีใต้ รวมทั้งประสบการณ์ แนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศดังกล่าว และ 3) ศึกษาทางเลือกหรือข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการ ระเบียบและกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การค้ามนุษย์ของประเทศไทย การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) วิธีดําเนินการศึกษาวิจัย ประกอบด้วยกระบวนการต่างๆ คือ ขั้นตอนการดําเนินการวิจัย และระเบียบ วิธีวิจัย ซึ่งประกอบด้วย รูปแบบการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย การสร้างเครื่องมือ การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล และการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
3.1 ขั้นตอนกำรดํำเนินกำรวิจัย
คณะผู้วิจัยได้กําหนดรายละเอียดและขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 กำรเตรียมโครงร่ำงกำรวิจัย ขั้นตอนนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดทฤษฏี ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การบังคับใช้กฎหมาย การค้ามนุษย์ และกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของต่างประเทศ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากเอกสารและงานวิจัย ทั้งตํารา เอกสารวิชาการ ข้อมูลสารสนเทศและงานวิจัย ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อจัดทําโครงร่างการวิจัย รับข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไข
ข้อบกพร่องให้สมบูรณ์
ขั้นตอนที่ 2 กำรดํำเนินกำรวิจัย เป็นขั้นตอนการศึกษาวิเคราะห์กําหนดกรอบแนวคิด ของการวิจัย เพื่อการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนําเครื่องมือที่สร้างและพัฒนา ไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง นําข้อมูลที่ได้มาทดสอบความถูกต้อง วิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลการ วิเคราะห์ ขั้นตอนการดําเนินการวิจัยในขั้นตอนที่ 2 นี้จะประกอบด้วยขั้นตอนย่อย 3 ขั้นตอน ดังภาพ แสดงขั้นตอนการดําเนินการวิจัยดังนี้
ขั้นตอนกำรดํำเนินกำร | กระบวนกำร | ผลที่ได้ | ||
ตอนที่ 1 ศึ กษาแนวคิดทฤษฏีและ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้า มนุษย์ของประเทศไทยและต่าง ประเทศ | 1. ศึกษาวิเคราะห์เอกสารและ ข้อมูลสารสนเทศต่างๆ 2. สรุปกรอบความคิดการวิจัย 3. จัดทําแบบสัมภาษณ์ 4. ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพ | ได้ทราบแนวคิดทฤษฏีและ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้า มนุษย์ของประเทศไทยและ ต่างประเทศ ได้กรอบความคิด การวิจัย และได้เครื่องมือวิจัย | ||
ตอนที่ 2 ศึกษากฎหมายต่อต้านการค้า มนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยว ข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศ ไทย ปัญหาการบังคับใช้และจุด อ่อนข้อบกพร่องของกฎหมาย | 5.สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ 20 คน 6.เก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม 7.วิเคราะห์เอกสาร ผลการสัมภาษณ์ และผลการสนทนากลุ่ม 8. สังเคราะห์ผลการสัมภาษณ์ และผลการสนทนากลุ่มกับผลการ วิเคราะห์เอกสาร | ได้ทราบกฎหมายต่อต้าน การค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ของประเทศไทย ปัญหาการ บังคับใช้และจุดอ่อนข้อบกพร่อง ของกฎหมาย | ||
ตอนที่ 3 ศึกษาและวิเคราะห์กฎหมาย ต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศ ไทยเปรียบเทียบกับกฎหมาย ต่อต้านการค้ามนุษย์ของสหรัฐ อเมริกา เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนามและเกาหลีใต้ รวมทั้ง ประสบการณ์แนวทางในการ แก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของ ประเทศดังกล่าว | 9. วิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการ ค้ามนุษย์ของประเทศไทยและของ สหรัฐอเมริกา เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนามและเกาหลีใต้ 10.วิเคราะห์ผลการสัมภาษณ์และ ผลการสนทนากลุ่ม 11.สังเคราะห์ผลการสัมภาษณ์ และผลการสนทนากลุ่มกับผลการ วิเคราะห์เอกสาร | ได้ทราบความแตกต่าง ระหว่างกฎหมายต่อต้านการ ค้ามนุษย์ของประเทศไทยและ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม เมียน มาร์ มาเลเซีย และเกาหลีใต้ รวมทั้งประสบการณ์แนวทาง ในการแก้ไขปัญหาการค้า มนุษย์ของประเทศดังกล่าว | ||
ตอนที่ 4 ศึกษาทางเลือกหรือข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการ ระเบียบและกฎหมายต่อต้านการ ค้ามนุษย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย | 12. สังเคราะห์ผลการสัมภาษณ์ และผลการสนทนากลุ่มกับผลการ วิจัยเอกสาร 13.จัดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็น 14.นําความคิดเห็นมาปรับข้อเสนอ | ได้ข้อเสนอในการปรับปรุง แก้ไขมาตรการ ระเบียบและ กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การค้ามนุษย์ของประเทศไทย |
ภำพที่ 3.1 ขั้นตอนการดําเนินการวิจัย
ขั้นตอนที่ 3 กำรรำยงำนผลกำรวิจัย เป็นขั้นตอนของการจัดทําร่างรายงานผลการวิจัย เพื่อนําเสนอต่อคณะกรรมการตรวจรับงานวิจัยตรวจสอบความถูกต้อง ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องตาม ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ จัดทํารายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เสนอคณะกรรมการ
3.2 ระเบียบวิธีวิจัย
เพื่อให้การวิจัยครั้งนี้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย คณะผู้วิจัย ได้กําหนดระเบียบวิธีวิจัยซึ่งประกอบด้วย รูปแบบการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย การสร้างเครื่องมือ การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
3.2.1 รูปแบบกำรวิจัย
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดย ใช้วิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์ (Interview) การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) และการจัดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็น
3.2.2 กลุ่มเป้ำหมำยในกำรวิจัย
3.2.2.1 กลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์
กลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์ คือ ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่ทํา หน้าที่เกี่ยวข้องกับบังคับใช้กฎหมายในการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ทั้งระดับ จังหวัด ระดับชาติ และระดับนานาชาติ และกลุ่มองค์กรเอกชนที่ทํางานเกี่ยวข้องกับการต่อต้าน การค้ามนุษย์ จํานวน 20 คน โดยศึกษากลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการ บังคับใช้กฎหมาย ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในระดับผู้บริหาร หรือด้านนโยบายของหน่วยงาน หรือในระดับ ปฏิบัติ เพื่ออํานวยความยุติธรรมต่อกรณีปัญหาการค้ามนุษย์ในสังคมไทย ประกอบด้วย
1) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (สํานักงาน เลขานุการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์)
2) กระทรวงต่างประเทศ (กรมการกงสุล)
3) กระทรวงยุติธรรม (กรมสอบสวนคดีพิเศษ)
4) กระทรวงแรงงาน (กรมการจัดหางานสํานักบริหารแรงงานต่างด้าว)
5) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
6) กระทรวงพาณิชย์
7) สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
8) กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์
9) สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
10) กรมประมง
11) กรมการปกครอง
12) สํานักงานคุ้มครองพยาน กระทรวงยุติธรรม
13) ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์แห่งชาติ
14) ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัด
15) ทูตแรงงาน
16) ศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา
17) มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพแรงงานไทย
18) มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี
19) ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันปรามปรามอาชญากรรม
20) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย
3.2.2.2 กลุ่มเป้าหมายในการสนทนากลุ่ม
กลุ่มเป้าหมายในการสนทนากลุ่ม (Focus Group) คือ ผู้แทนจากหน่วยงาน หรือองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือมี ส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ และนักวิชาการ ที่เกี่ยวข้อง จํานวน 20 คน และจะทําการสนทนากลุ่ม 2 ครั้ง โดยผู้เข้าร่วมสนทนาอาจซ้ํากันได้ไม่เกิน ร้อยละ 50 ในการสนทนากลุ่มย่อยจะคัดเลือกผู้เข้าร่วมสนทนาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง ประกอบด้วย
1) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2) กระทรวงต่างประเทศ (กรมการกงสุล)
3) กระทรวงยุติธรรม (กรมสอบสวนคดีพิเศษ)
4) กระทรวงแรงงาน (กรมการจัดหางานสํานักบริหารแรงงานต่างด้าว)
5) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
6) กระทรวงพาณิชย์
7) สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
8) กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์
9) สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
10) กรมการประมง
11) กรมการปกครอง
12) สํานักงานคุ้มครองพยาน กระทรวงยุติธรรม
13) ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์แห่งชาติ
14) ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัด
15) ทูตแรงงาน
16) ศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา
17) มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพแรงงานไทย
18) มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี
19) ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันปรามปรามอาชญากรรม
20) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย
3.2.3 เครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีจํานวน 3 ชนิด ได้แก่
3.2.3.1 แบบบันทึกเอกสาร (Document Recording Forms)
3.2.3.2 แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Quasi-structure Interview Forms)
3.2.3.3 แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion Forms) คําถามในการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มย่อย มี 3 ตอน ตามวัตถุประสงค์
ของการศึกษาวิจัยดังต่อไปนี้
ตอนที่ 1 ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการบังคับใช้และจุดอ่อนข้อบกพร่อง
ของกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย
(1) ท่านเห็นว่า กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย มีปัญหาการบังคับใช้หรือไม่อย่างไร
(2) ท่านเห็นว่า กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย มีจุดแข็งและจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องอย่างไร
(3) ท่านเคยประสบปัญหาจากการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้บริหาร ในการดําเนินการเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ตามนโยบายของรัฐบาลอย่างไรบ้างหรือไม่ ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับทางเลือกหรือข้อเสนอแนะในการปรับปรุง
แก้ไขมาตรการ ระเบียบและกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ของประเทศไทย
(1) ท่านเห็นว่าควรจะมีการปรับปรุงแก้ไขมาตรการ ระเบียบและกฎหมาย ต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทยในเรื่องใดหรือไม่อย่างไร
(2) ท่านมีข้อเสนอแนะอื่นๆ หรือไม่อย่างไร
3.2.4 กำรสร้ำงเครื่องมือ
ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย คณะผู้วิจัย ได้ดําเนินการตามลําดับ ดังต่อไปนี้
3.2.4.1 การทบทวนวรรณกรรมและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัย โดยศึกษาจาก หนังสือ บทความ ผลงานวิจัย เอกสารทั้งภาษาไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และศึกษาจากเอกสาร ข้อมูลที่มีในโครงการรายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผนและการดําเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในโครงการเพื่อนํามาอ้างอิงประกอบการศึกษาวิจัย
3.2.4.2 ศึกษาทําความเข้าใจรายละเอียดและเอกสารตําราตลอดจนผลงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง สร้างแบบสัมภาษณ์ และประเด็นการประชุมกลุ่มย่อย โดยกําหนดแนวประเด็นการ สัมภาษณ์และข้อคําถามการประชุมกลุ่มย่อยตามวัตถุประสงค์การวิจัย
3.2.4.3 การทดสอบเครื่องมือ เมื่อแต่งคําถามในรูปแบบของการสัมภาษณ์และการ ตั้งประเด็นคําถามในการสนทนากลุ่มแล้ว ดําเนินการทดสอบคุณภาพของแบบสอบถามในด้านต่างๆ ด้วยวิธีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือตามขั้นตอน
3.2.5 กำรตรวจสอบคุณภำพเครื่องมือ
3.2.5.1 นําแบบสัมภาษณ์ และประเด็นการประชุมกลุ่มย่อยที่สร้างขึ้นไปหาความ ตรงตามเนื้อหา (Content Validity) โดยนําไปสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านการวิจัยว่าข้อคําถามที่ใช้ในแบบสัมภาษณ์มีความเหมาะสมชัดเจน และครอบคลุมในเนื้อหาที่ ต้องการศึกษาวิจัยหรือไม่
3.2.5.2 นําข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวิจัยมา แก้ไขปรับปรุงแบบสอบถามให้เหมาะสมที่จะใช้กับเนื้อหาที่ต้องการศึกษาวิจัย แล้วนําเครื่องมือไป ทดลองใช้
ดังต่อไปนี้
3.2.5.3 นําเครื่องมือไปทดลองใช้
3.2.6 กำรเก็บรวบรวมข้อมูล
คณะผู้วิจัยดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยตามขั้นตอน
3.2.6.1 การศึกษาและวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เป็นการเก็บ
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย แนวคิดสิทธิมนุษยชน แนวคิดศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ แนวคิดเรื่องการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม แนวคิดเกี่ยวกับการต่อต้าน การค้ามนุษย์ กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศและพันธกรณีที่ไทยมีในการต่อต้านการค้ามนุษย์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย โดยทําการรวบรวมเอกสารจากแหล่งต่างๆ แล้ววิเคราะห์เอกสารโดยการจัดทําแบบบันทึกการวิเคราะห์เอกสาร บันทึกเกี่ยวกับลักษณะเอกสาร แหล่งที่มา และสาระสําคัญของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์เอกสารจะ เป็นกรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาด้วยวิธีการอื่นๆ ต่อไป
3.2.6.2 การศึกษากฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การค้ามนุษย์ของประเทศไทย และการศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศ ไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนาม และเกาหลีใต้ รวมทั้งประสบการณ์แนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศดังกล่าว คณะผู้วิจัยเก็บรวมรวบข้อมูลโดยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research)
3.2.6.3 การศึกษาปัญหาการบังคับใช้และจุดอ่อนข้อบกพร่องของกฎหมายต่อต้าน การค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และการศึกษาทางเลือก หรือข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการ ระเบียบและกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย คณะผู้วิจัยเก็บรวมรวบข้อมูลโดยการวิจัย เอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์ (Interview) ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ จํานวน 20 คน และ การสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการใช้กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ในการแก้ไข ปัญหาการค้ามนุษย์ จํานวน 20 คน โดยกําหนดข้อคําถามเพื่อใช้เป็นแนวทางในการสัมภาษณ์เป็น ลักษณะคําถามแบบปลายเปิด สาระจะครอบคลุมกรอบแนวคิดในการวิจัยและทางเลือกข้อเสนอแนะ หรือข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการ ระเบียบและกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์
3.2.6.4 การนําเสนอทางเลือก ข้อเสนอแนะหรือข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข มาตรการ ระเบียบและกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ คณะผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการจัด เวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นเพื่อนําข้อมูลมาปรับปรุงทางเลือก ข้อเสนอแนะหรือข้อเสนอในการ ปรับปรุงแก้ไขมาตรการ ระเบียบและกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์
3.2.7 กำรประมวลผลและกำรวิเครำะห์ข้อมูล
ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ทําการประมวลผลและวิเคราะห์ ข้อมูล โดยใช้เทคนิควิเคราะห์ข้อมูลแบบการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อให้ได้มาซึ่ง ทางเลือกหรือข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการ ระเบียบและกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย
บทที่ 4 ผลการวิจัย
การศึกษาวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทยเปรียบเทียบ กับต่างประเทศ” ในครั้งนี้ คณะผู้วิจัยนําเสนอผลการศึกษาวิจัยแยกตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา วิจัยออกเป็น 3 หัวข้อ ดังนี้
4.1 กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของ ประเทศไทย ปัญหาการบังคับใช้และจุดอ่อนข้อบกพร่องของกฎหมาย
4.2 วิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับกฎหมาย ต่อต้านการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา เมียนมาร์ มาเลเซีย เวียดนามและเกาหลีใต้ รวมทั้งประสบการณ์ แนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศดังกล่าว
4.3 ทางเลือกหรือข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการ ระเบียบและกฎหมาย ต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย
4.1 กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ปัญหาการบังคับใช้และจุดอ่อนข้อบกพร่องของกฎหมาย
การนําเสนอผลการศึกษาวิจัยในข้อ 4.1 นี้เป็นการดําเนินการตามวัตถุประสงค์ของการ วิจัยข้อที่ 1 คือ เพื่อศึกษากฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้า มนุษย์ของประเทศไทย ปัญหาการบังคับใช้และจุดอ่อนข้อบกพร่องของกฎหมาย โดยนําเสนอผลการ ศึกษาวิจัยโดยแบ่งเป็น 2 หัวข้อ คือ 1) กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และ 2) ปัญหาการบังคับใช้และจุดอ่อนข้อบกพร่องของกฎหมาย ต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทย
4.1.1 กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
ของประเทศไทย
ประเทศไทยมีกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันปราบปรามและต่อต้าน การค้ามนุษย์มากกว่า 23 ฉบับ และมีหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายแต่ละฉบับนั้นอีกเป็น จํานวนมาก การศึกษาวิจัยเรื่องการวิเคราะห์กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทยเปรียบเทียบ กับต่างประเทศนี้ จะนํากฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด มาศึกษาวิเคราะห์ ดังนี้ (1) พระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 (2) ประมวลกฎหมายอาญา (3) พระราชบัญญัติป้องกันและ
ปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 (4) พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 (5) พระราชบัญญัติ สถานบริการ พ.ศ.2509 (6) พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 (7) พระราชบัญญัติการทํางาน ของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 (8) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 (9) พระราชบัญญัติความ ปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ.2554 (10) พระราชบัญญัติควบคุม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 (11) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542
(12) พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ.2559 (13) พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการ สังคม พ.ศ.2546 (14) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรม ข้ามชาติ พ.ศ.2556 (15) พระราชบัญญัติการจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 (16) พระราช บัญญัติเรือไทย พ.ศ.2481 (17) พระราชกําหนดการประมง พ.ศ.2558 (18) พระราชบัญญัติว่าด้วย สิทธิการประมงในเขตประมงไทย พ.ศ.2482 (19) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 (20) พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 (ในส่วนของอํานาจ สอบสวนของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษกรมสอบสวนคดีพิเศษ) (21) พระราชบัญญัติการคุ้มครอง พยานในคดีอาญา พ.ศ.2546 (22) พระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ.2535 (23) พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ.2522
4.1.1.1 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551
จากการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เอกสาร พบว่า กฎหมายที่บัญญัติ ถึงการต่อต้านการค้ามนุษย์โดยตรงของประเทศไทยที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ พระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ซึ่งมีสาระสําคัญที่จะนําเสนอดังนี้
1) เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม
การค้ามนุษย์ พ.ศ.2551
(1) พระราชบัญญัติมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้า
หญิงและเด็ก พ.ศ.2540 ยังมิได้กําหนดลักษณะความผิดให้ครอบคลุมการกระทําเพื่อแสวงประโยชน์ โดยมิชอบจากบุคคลที่มิได้จํากัดแต่เฉพาะหญิงและเด็ก และกระทําด้วยวิธีการที่หลากหลายมากขึ้น เช่น การนําบุคคลเข้ามาค้าประเวณีใน หรือส่งไปค้านอกราชอาณาจักร บังคับใช้แรงงานบริการหรือ ขอทาน บังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้าหรือการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบประการอื่นซึ่งในปัจจุบันได้ กระทําในลักษณะองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติมากยิ่งขึ้นและ
(2) ไทยได้ลงนามอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรม ข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร และพิธีสารเพื่อป้องกันปราบปรา และลงโทษการค้ามนุษย์โดยเฉพาะ ผู้หญิงและเด็ก เพิ่มเติมอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะ องค์กร จึงสมควรกําหนดลักษณะความผิดให้ครอบคลุมการกระทําดังกล่าว เพื่อให้การป้องกันและ ปราบปรามการค้ามนุษย์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับพันธกรณีของอนุสัญญาและพิธีสาร
จัดตั้งกองทุนเพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์รวมทั้งปรับปรุงการช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิ ภาพผู้เสียหายให้เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เสียหาย
2) ลักษณะสําคัญของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
พ.ศ.2551
พระราชบัญญัตินี้แบ่งออกได้เป็นห้าส่วน คือ
(1) ส่วนฐานความผิดและบทกําหนดโทษได้แก่มาตรา 4 มาตรา 6 และ
มาตรา 8 ถึงมาตรา 14 และมาตรา 52 ถึงมาตรา 56
(2) ส่วนกลไกในการกํากับดูแลและกลไกการปฏิบัติ ได้แก่ มาตรา 15 ถึงมาตรา 21 ว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) และมาตรา 22 ถึง มาตรา 25 ว่าด้วยคณะกรรมการประสานและกํากับการดําเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้า มนุษย์ (ปกค.)
32
ได้แก่ มาตรา 33 ถึงมาตรา 41
42 ถึง มาตรา 51
(3) ส่วนอํานาจหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ ได้แก่ มาตรา 27 ถึงมาตรา
(4) การช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
(5) กองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ได้แก่มาตรา
3) หน่วยงานของประเทศไทยภายใต้การดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการ ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
สามารถจําแนกหน่วยงานของไทยตามอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการ ดําเนินการภายใต้บริบทของกฎหมายว่าด้วยการปราบปรามการค้ามนุษย์ซึ่งมีจํานวนทั้งสิ้น 11 หน่วยงาน เป็นสองส่วนหลัก คือ
ส่วนที่ 1 การบังคับใช้กฎหมาย (การตรวจการการจับกุมผู้กระทําผิด การสืบสวน สอบสวนการฟ้องคดีการพิจารณาคดีและลงโทษ) ประกอบด้วย
(1) สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
(2) กรมสอบสวนคดีพิเศษ
(3) สํานักงานอัยการสูงสุด
(4) สํานักงานศาลยุติธรรม
(5) กระทรวงแรงงาน (ในส่วนของการตรวจแรงงาน)
(6) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (ในส่วนของการดําเนินการต่อการ ท่องเที่ยวเพื่อซื้อบริการทางเพศ)
ตรวจเรือ) มนุษย์ ได้แก่
(7) ตํารวจน้ํา
(8) กรมประมง
(9) กรมเจ้าท่า
(10) กองทัพเรือ (ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมประมงและการ ส่วนที่ 2 การช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้า
(1) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(2) สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
(3) สํานักงานอัยการสูงสุด
(4) สํานักงานศาลยุติธรรม
(5) กระทรวงมหาดไทย
4) การกระทําอันเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551
บัญญัติถึงการกระทําอันเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ไว้ว่า
“มาตรา 6 ผู้ใดกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จําหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัยหรือรับไว้ซึ่งบุคคลใด โดยข่มขู่ ใช้กําลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อํานาจโดยมิชอบ ใช้อํานาจครอบงําบุคคลด้วยเหตุที่อยู่ในภาวะอ่อนด้อยทางร่างกาย จิตใจ การศึกษา หรือทางอื่นใดโดยมิชอบ ขู่เข็ญว่าจะใช้กระบวนการทางกฎหมายโดยมิชอบ หรือโดย ให้เงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลบุคคลนั้นเพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลให้ความ ยินยอมแก่ผู้กระทําความผิดในการแสวงหาประโยชน์ จากบุคคลที่ตนดูแล หรือ
(2) เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จําหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งเด็ก
ถ้าการกระทํานั้นได้กระทําโดยมีความมุ่งหมายเพื่อเป็นการแสวงหา ประโยชน์โดยมิชอบ ผู้นั้นกระทําความผิดฐานค้ามนุษย์
การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก การแสวงหา ประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การเอาคนลงเป็นทาสหรือให้มีฐานะคล้ายทาส การนําคนมาขอทาน การตัดอวัยวะเพื่อการค้า การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ หรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีด บุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
การบังคับใช้แรงงานหรือบริการตามวรรคสอง หมายความว่า การข่มขืนใจ ให้ทํางานหรือให้บริการ โดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) ทําให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของบุคคลนั้นเอง หรือของผู้อื่น
(2) ขู่เข็ญด้วยประการใดๆ
(3) ใช้กําลังประทุษร้าย
(4) ยึดเอกสารสําคัญประจําตัวของบุคคลนั้นไว้ หรือนําภาระหนี้ของ บุคคลนั้นหรือของผู้อื่นมาเป็นสิ่งผูกมัดโดยมิชอบ
(5) ทําให้บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้” การกระทําอันเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ตามที่ได้บัญญัติในมาตรา 6 นี้
ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี 2560 โดยมีเหตุผลว่าพระราชบัญญัตินี้ยังมีบทบัญญัติบางประการที่ ไม่เหมาะสมต่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ที่มีความรุนแรงและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ดําเนินมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยแก้ไขบทนิยามคําว่า “แสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบ” และ “การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ” ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
4.1.1.2 ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายอาญา เป็นกฎหมายแม่บทที่บัญญัติถึงการกระทําหรือ งดเว้นกระทําการอย่างใดเป็นความผิด และกําหนดโทษสําหรับความผิดนั้นไว้ด้วย
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความผิดฐานค้ามนุษย์นั้น มีทั้งบทบัญญัติว่าด้วย ความผิดเกี่ยวกับเพศ ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ที่มีความเชื่อมโยงกับพระราชบัญญัติป้องกันและ ปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551
พิจารณาตามบทนิยามในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและ ปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ที่ให้นิยามการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ไว้ว่า “การแสวงหา ประโยชน์โดยมิชอบ หมายความว่า การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี การผลิตหรือเผยแพร่ วัตถุหรือสื่อลามก การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การเอาคนลงเป็นทาส การนําคนมา ขอทาน การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า หรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน อันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม” แล้วจะเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 กับประมวลกฎหมายอาญามีความเกี่ยวข้องเชื่อโยง ในประเด็นการกระทําความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์โดยการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ดังที่นําเสนอ ในตารางที่ 4.1
ตารางที่ 4.1 เปรียบเทียบความเชื่อมโยงของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 กับประมวลกฎหมายอาญา
ประเด็น เปรียบเทียบ | พระราชบัญญัติป้องกันและ ปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 | ประมวลกฎหมายอาญา |
การกระทําที่ เป็นการ ค้ามนุษย์ | การแสวงหาประโยชน์จากการค้า ประเวณี การแสวงหาประโยชน์ ทางเพศในรูปแบบอื่น | การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี มี บทบัญญัติความผิดเกี่ยวกับเพศ ในฐานข่มขืน กระทําชําเรา กระทําอนาจาร,เป็นธุระจัดหา เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่นหรือพาผู้อื่นไป เพื่อการอนาจาร และฐานดํารงชีวิตอยู่จาก รายได้ของผู้ค้าประเวณี |
การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อ ลามก | ความผิดฐานผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสิ่งของ ลามกตามมาตรา 287 (1) (2) (3) ได้แก่ การ กระทําความผิดฐานผลิต มีไว้ นําเข้าหรือส่งออก นอกราชอาณาจักร ซึ่งเอกสาร ภาพ รูปถ่าย ภาพยนตร์ อันเป็นสิ่งลามก หรือประกอบการค้า วัตถุสิ่งของลามก หรือทําการโฆษณาหรือไขข่าว ว่าวัตถุสิ่งของลามกหาได้จากบุคคลใด ที่ใด | |
การเอาคนลงเป็นทาส การนําคน มาขอทาน การบังคับใช้แรงงาน หรือบริการ | ประมวลกฎหมายอาญา มีบทบัญญัติในฐาน ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ ตามมาตรา 309-310, 312 และความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ตั้งแต่มาตรา 317-320 | |
การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า | ประมวลกฎหมายอาญา มีบทบัญญัติความผิด เกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ตั้งแต่มาตรา 288- 300 |
จากตารางที่ 4.1 จะเห็นได้ว่า ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติฐานความผิด ต่อชีวิต ร่างกาย และความผิดเกี่ยวกับเพศ ซึ่งการกระทําอันเป็นการค้ามนุษย์ในส่วนที่เป็นการแสวงหา ประโยชน์ทางเพศ การผลิตและการเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก และการเอาคนลงเป็นทาส การนําคนมา เป็นขอทาน เป็นการกระทํากรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แต่กรณีการบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า แม้จะเป็นการทําร้ายร่างกาย เป็นความผิดตามประมวล กฎหมายอาญา แต่ก็ต้องถือว่าเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์อีกฐานหนึ่ง ไม่ใช่กรรมเดียวผิดกฎหมาย
หลายบท เพราะคุณธรรมทางกฎหมาย (Legal Interest) ต่างกัน (คณิต ณ นคร, 2533) กล่าวคือ ความผิดในกรณีบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า คุ้มครองคุณธรรมทางกฎหมายคือร่างกายและอวัยวะของ บุคคลที่ถูกนําไปแสวงหาประโยชน์ แต่ประมวลกฎหมายอาญา คุ้มครองคุณธรรมทางกฎหมายคือชีวิต และร่างกายของบุคคลจากภยันตรายอันละเมิดต่อกฎหมาย
4.1.1.3 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539
เป็นกฎหมายเพื่อปราบปรามการค้าประเวณี คุ้มครองเด็กและเยาวชนที่ อาจถูกล่อลวงหรือชักพาไปเพื่อค้าประเวณี มีการกําหนดโทษบุคคลซึ่งกระทําชําเราเด็กในสถานการ ค้าประเวณี บุคคลซึ่งหารายได้จากการค้าประเวณีของเด็กและเยาวชนและบิดามารดา หรือผู้ปกครอง ซึ่งมีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจในการจัดหาผู้อยู่ในความปกครองไปเพื่อการค้าประเวณี บุคคลซึ่งโฆษณา หรือรับโฆษณาชักชวนไปยังที่สาธารณะ ที่เห็นได้ว่าเป็นการเรียกร้อง หรือการติดต่อเพื่อการค้าประเวณี ของตนเองหรือผู้อื่น
สถานการณ์แสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีของประเทศ อันเป็น การค้ามนุษย์ ก่อนที่จะมีการบัญญัติพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 นี้ การกระทําอันเป็นการค้าประเวณีย่อมต้องพิจารณาองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มีบท บัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ดังนี้
มาตรา 9 ผู้ใดเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักพาไปซึ่งบุคคลใดเพื่อให้บุคคล นั้นกระทําการค้าประเวณีแม้บุคคลนั้นจะยินยอมก็ตาม และไม่ว่าการกระทําต่างๆ อันประกอบเป็น ความผิดนั้นจะได้กระทําภายในหรือนอกราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและ ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทําแก่บุคคลอายุกว่า สิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปี ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่ง แสนบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทําแก่เด็กอายุยังไม่เกิน สิบห้าปีผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสี่แสนบาท
ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสาม เป็นการ กระทําโดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กําลังประทุษร้าย ใช้อํานาจครอบงําผิดคลองธรรม หรือใช้วิธี ข่มขืนใจด้วยประการใดๆ ผู้กระทําต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือ วรรคสาม หนึ่งในสาม แล้วแต่กรณี
ผู้ใดเพื่อให้มีการกระทําการค้าประเวณี รับตัวบุคคลซึ่งตนรู้อยู่ว่ามีผู้จัดหา ล่อไป หรือชักพาไปตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม หรือวรรคสี่ หรือสนับสนุนในการกระทํา ความผิดดังกล่าว ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม หรือวรรคสี่ แล้วแต่ กรณี
มาตรา 11 ผู้ใดหน่วงเหนี่ยว กักขัง กระทําด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจาก เสรีภาพในร่างกายหรือทําร้ายร่างกาย หรือขู่เข็ญด้วยประการใดๆ ว่าจะใช้กําลังประทุษร้ายผู้อื่นเพื่อ ข่มขืนใจให้ผู้อื่นนั้นกระทําการค้าประเวณี ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ สองแสนบาทถึงสี่แสนบาท
ชีวิต
ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทํา
(1) ได้รับอันตรายสาหัส ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกตลอดชีวิต
(2) ถึงแก่ความตาย ผู้กระทําต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจําคุกตลอด
ผู้ใดสนับสนุนในการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ต้องระวาง
โทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี
ถ้าผู้กระทําความผิดหรือผู้สนับสนุนการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าหน้าที่ในสถานแรกรับหรือสถาน คุ้มครองและพัฒนาอาชีพตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงสี่แสนบาท
ในส่วนที่เชื่อมโยงกับการค้ามนุษย์ พิจารณาจากตารางเปรียบเทียบดังนี้
ตารางที่ 4.2 ตารางเปรียบเทียบความเชื่อมโยงของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้า มนุษย์ พ.ศ.2551 กับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539
ประเด็น เปรียบเทียบ | พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 | พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การค้าประเวณี พ.ศ.2539 |
ขอบเขตการ กระทําอัน เป็นความผิด เกี่ยวกับ การค้า ประเวณี | ครอบคลุมการกระทําอันเป็นการค้า มนุษย์ ได้แก่ การแสวงหาประโยชน์โดย มิชอบ การค้าประเวณี เป็นรูปแบบหนึ่ง ของการแสวงหาประโยชน์ | ความผิดฐานติดต่อ ชักชวนบุคคล ตามสาธารณสถาน เพื่อการค้าประเวณี เปิดเผยและน่าอับอาย ตามมาตรา 5 และ ความผิดฐานมั่วสุมในสถานที่ค้าประเวณี เพื่อการค้าประเวณีของตนเอง หรือของ ผู้อื่นตามมาตรา 6 |
ตารางที่ 4.2 ตารางเปรียบเทียบความเชื่อมโยงของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 กับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 (ต่อ)
ประเด็น ปรียบเทียบ | พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 | พระราชบัญญัติป้องกันและปราบ ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 |
การให้ความ คุ้มครองแก่ เด็ก | มาตรา 4 “เด็ก” หมายความว่า บุคคลผู้มีอายุต่ํากว่าสิบแปดปี มาตรา 6 ผู้ใดแสวงหาประโยชน์โดย มิชอบกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1)... (2) เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จําหน่าย พามาจาก หรือส่งไปยังที่ใดหน่วงเหนี่ยว กักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งเด็ก ผู้นั้นกระทําผิดฐานค้ามนุษย์ | ความผิดฐานกระทําชําเรา หรือ เพื่อการสําเร็จความใคร่ของตนเองหรือ ผู้อื่นแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปีแต่ไม่ เกินสิบแปดปี และแก่บุคคลอายุไม่เกิน สิบห้าปี เป็นความผิดตามมาตรา 8 |
ความผิดของ ผู้เป็นบิดา มารดาหรือ ผู้ปกครอง | ไม่มีบทบัญญัติความรับผิดสําหรับผู้เป็น บิดามารดาหรือผู้ปกครอง แม้มาตรา 6 จะกําหนดความผิดสําหรับผู้เป็นธุระ จัดหา ซื้อ ขาย จําหน่าย พามาจากหรือ ส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง หรือรับ ไว้ซึ่งบุคคลใด... โดยให้เงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นแก่ ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลบุคคลนั้น เพื่อให้ ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลให้ความยินยอม แก่ผู้กระทําความผิด ในการแสวงหา ประโยชน์จากบุคคลที่ตนดูแล | มาตรา 10 ผู้ใดเป็นบิดา มารดา หรือผู้ปกครองของบุคคลซึ่งมีอายุยังไม่ เกินสิบแปดปีรู้ว่ามีการกระทําความผิด ตามมาตรา 9 วรรคสอง วรรคสาม หรือวรรคสี่ ต่อผู้อยู่ในความปกครอง ของตน และมีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจให้มี การกระทําความผิดนั้น ต้องระวางโทษ จําคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่ แปดหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท |
จากตารางที่ 4.2 จะเห็นได้ว่า แม้ว่าผู้ปกครองหรือผู้ดูแลจะได้รับเงินหรือ ผลประโยชน์จากบุคคลซึ่งกระทําการค้ามนุษย์กฎหมายไม่บัญญัติความรับผิดฐานค้ามนุษย์ให้ ครอบคลุมไปถึงผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ดังนั้น หากผู้เป็นธุระจัดหา ให้เงินหรือผลประโยชน์เพื่อชักพา บุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปีไปค้าประเวณี ผู้ปกครองหรือบิดามารดาจะมีความผิดตามมาตรา 10 แห่ง พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539
4.1.1.4 พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 นี้ มีสาระสําคัญเกี่ยวกับวิธีการ สงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ โดยกําหนดขั้นตอนและปรับปรุงวิธีปฏิบัติต่อเด็ก เพื่อให้เด็กได้รับการ อุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน มีวิวัฒนาการที่เหมาะสม ทั้งป้องกันมิให้เด็กถูกทารุณกรรม ตกเป็น เครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ หรือถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม หลักใหญ่ที่มุ่งคุ้มครอง เด็ก จึงมีความสอดคล้องกับบางส่วนพระราชบัญญัติป้องกันและปรามปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ตามประเด็นดังนี้
ตารางที่ 4.3 เปรียบเทียบความเชื่อมโยงของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 กับพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
หัวข้อ | พระราชบัญญัติป้องกันและ ปรามปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 | พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 |
บทนิยาม “เด็ก” | บุคคลผู้มีอายุต่ํากว่าสิบแปดปี | บุคคลซึ่งอายุต่ํากว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่ รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส |
การกระทํา โดยมิชอบ ต่อเด็ก | “การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ” หมายความว่า การแสวงหาผล ประโยชน์จากการค้าประเวณี การ ผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศใน รูปแบบอื่น การเอาคนลงเป็นทาส การนําคนมาขอทาน การบังคับใช้ แรงงานหรือบริการ การบังคับตัด อวัยวะเพื่อการค้า หรือการอื่นใดที่ คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ ก็ตาม มาตรา 6 ผู้ใดแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบ กระทําการอย่างหนึ่ง อย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) ... | “ทารุณกรรม” หมายความว่า การกระทํา หรือละเว้นการกระทําด้วยประการใดๆ จน เป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพ หรือเกิด อันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทํา ผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็กให้กระทําหรือ ประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ ร่ายกาย การทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจ ของเด็ก การบังคับขู่เข็ญให้เด็กไปเป็น ขอทาน เด็กเร่ร่อน หรือกระทําการใดที่ แสวงหาประโยชน์จากเด็ก การใช้ จ้าง หรือ วานให้เด็กทํางานที่อาจเป็นอันตรายแก่ ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก หรือให้เด็กแสดง หรือกระทําการอันลามกอนาจาร เป็น ความผิดตามมาตรา 26 ถ้าการกระทําผิด ดังกล่าวมีโทษตามกฎหมายอื่นที่หนักกว่า ก็ให้ลงโทษตามกฎหมายนั้น |
ตารางที่ 4.3 เปรียบเทียบความเชื่อมโยงของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 กับพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 (ต่อ)
หัวข้อ | พระราชบัญญัติป้องกันและ ปรามปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 | พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 |
การกระทํา โดยมิชอบ ต่อเด็ก (ต่อ) | (2)เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จําหน่ายพามา จากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งเด็ก ผู้นั้นกระทําความผิดฐานค้ามนุษย์ | |
อํานาจของ พนักงาน เจ้าหน้าที่ | “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจชั้นผู้ใหญ่ และให้หมายความรวมถึงข้าราชการซึ่ง ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าข้าราชการพลเรือน สามัญระดับสาม ซึ่งรัฐทนตรีแต่งตั้งจากผู้ ที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดในกฎกระทรวง เพื่อให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 27 เพื่อประโยชน์ในการ ป้องกันและปราบปรามการกระทําความ ผิดฐานค้ามนุษย์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มี อํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) มีหนังสือเรียกให้บุคคล.... | พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ มีอํานาจเข้าตรวจค้นในเคหสถาน เมื่อ มีเหตุสงสัยว่ามีการทารุณกรรมเด็ก มีการกักขังหรือเลี้ยงดูโดยมิชอบตาม มาตรา 30 |
ศาลที่ พิจารณาคดี | “คดีค้ามนุษย์” หมายความว่าคดีที่มีข้อหา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ ไม่ว่าจะมี ข้อหาความผิดอื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม แต่ไม่รวมถึงคดีที่อยู่ในอํานาจของศาล อาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบตาม กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลอาญาคดี ทุจริตและประพฤติมิชอบ และคดีที่อยู่ใน อํานาจของศาลเยาวชนและครอบครัวตาม กฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว | ความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง เด็กอยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี เยาวชนและครอบครัวตามกฎหมายว่า ด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบ ครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและ ครอบครัว |
ตารางที่ 4.3 เปรียบเทียบความเชื่อมโยงของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 กับพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 (ต่อ)
หัวข้อ | พระราชบัญญัติป้องกันและ ปรามปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 | พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 |
การคุ้มครอง สวัสดิภาพ | มาตรา 33 ให้กระทรวงการพัฒนา สั งคมและความมั่นคงของมนุษย์ พิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลซึ่ง เป็นผู้เสียหายจากการกระทําความผิด ฐานค้ามนุษย์อย่างเหมาะสมในเรื่อง อาหาร ที่พักการรักษาพยาบาล การ บําบัดฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจ การให้ การศึกษา การฝึกอบรม การให้ความ ช่วยเหลือทางกฎหมาย การส่งกลับไปยัง ประเทศเดิมหรือภูมิ ลําเนาของผู้นั้น การดําเนินคดีเพื่อเรียกร้องค่าสินไหม ทดแทนให้ผู้เสียหายตามระเบียบที่ รัฐมนตรีกําหนด โดยให้คํานึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์และความแตกต่างทาง เพศ อายุ สัญชาติ เชื้อชาติ ประเพณี วัฒนธรรมของผู้เสียหายการแจ้งสิทธิ ของผู้เสียหายที่พึงได้รับการคุ้มครองใน แต่ละขั้นตอนทั้งก่อน ระหว่าง และหลัง การช่วยเหลือ ตลอดจนขอบเขต ระยะ เวลาในการดําเนินการช่วยเหลือในแต่ละ ขั้นตอน และต้องรับฟังความคิดเห็นของ ผู้เสียหายก่อนด้วย การให้ความช่วยเหลือตามวรรค หนึ่ง อาจจัดให้บุคคลซึ่งเป็นผู้เสียหาย ได้รับการดูแลในสถานแรกรับตาม กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบ ปรามการค้าประเวณี สถานแรกรับตาม | มาตรา 40 เด็กที่พึงได้รับการ คุ้มครอง สวัสดิภาพ ได้แก่ (1) เด็กที่ถูกทารุณกรรม (2) เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทําผิด (3) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จําต้องได้รับ การคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่กําหนด ในกฎกระทรวง หากพบเห็นพฤติการณ์ที่เชื่อว่ามี การกระทําทารุณกรรมต่อเด็ก ให้รีบ แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 41 แล้วพนักงานเจ้าหน้าที่จะเข้าตรวจค้น เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก จัดให้ มีการตรวจร่างกายและจิตใจ สืบ เสาะหาวิธีคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก หรือส่งไปสถานแรกรับ |
ตารางที่ 4.3 เปรียบเทียบความเชื่อมโยงของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 กับพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 (ต่อ)
หัวข้อ | พระราชบัญญัติป้องกันและ ปรามปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 | พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 |
การคุ้มครอง สวัสดิภาพ (ต่อ) | ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก หรือ สถานสงเคราะห์อื่นของรัฐหรือเอกชน ก็ได้ มาตรา 34 เพื่อประโยชน์ในการ ช่วยเหลือผู้เสียหาย ให้พนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการแจ้งให้ผู้เสียหายทราบ ในโอกาสแรกถึงสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหม ทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทําความผิด ฐานค้ามนุษย์ และสิทธิที่จะได้รับความ ช่วยเหลือทางกฎหมาย | |
บทกําหนด โทษ | มาตรา 52 ผู้ใดกระทําความผิดฐาน ค้ามนุษย์ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สี่ปีถึง สิบปี และปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสอง แสนบาท ถ้าการกระทําความผิดตามวรรค หนึ่ง ได้กระทําแก่บุคคลอายุเกินสิบห้าปี แต่ ไม่ถึงสิบแปดปีต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หก ปีถึงสิบสองปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนสอง หมื่นบาทถึงสองแสนสี่หมื่นบาท ถ้าการกระทําความผิดตามวรรค หนึ่ง ได้กระทําแก่บุคคลอายุไม่เกินสิบห้าปี ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่แปดปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนหกหมื่นบาทถึงสาม แสนบาท | การกระทําความผิดฐาน ทารุณกรรมเด็ก ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่ เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้ง ปรับ |
เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 เห็นได้ว่าการกําหนด นิยามของคําว่า “เด็ก” ได้กําหนดอายุต่ํากว่าสิบแปดปี เช่นเดียวกับพระราชบัญญัติป้องกันและ
ปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 แต่เด็กที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการคุ้มครอง เด็ก พ.ศ.2546 ไม่รวมถึงผู้ที่xxxxxนิติภาะด้วยการสมรส หมายความว่า หากบุคคลอายุต่ํากว่าสิบแปดปี xxxxxxxx แต่สมรสแล้ว จะxxxxxxรับความคุ้มครอง ซึ่งต่างจากพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ที่กําหนดเพียงเกณฑ์อายุต่ํากว่าสิบแปดปี ถือเป็น “เด็ก” xxxxxxรับการคุ้มครอง เป็นพิเศษ แตกต่างจากผู้เสียหายทั่วไป
การกระทําโดยมิชอบต่อเด็กตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 กําหนดลักษณะการกระทําในลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทารุณกรรม, การกระทําความผิดทางเพศ การใช้ให้เด็กกระทําหรือประพฤติในลักษณะxxxxxxจะเป็นอันตรายแก่เด็ก
ส่วนพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 กําหนดลักษณะการกระทําที่เป็นการค้ามนุษย์ คือการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยการกระทําใน ลักษณะต่างๆ ตามมาตรา 6 ซึ่งหากเป็นการกระทําต่อเด็กแล้ว ไม่คํานึงถึงวิธีxxxxxxจะมีการใช้กําลัง ข่มขู่ บังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อํานาจโดยมิชอบหรือไม่ หากเป็นการแสวงหาประโยชน์โดย มิชอบจากเด็กแล้ว ผู้นั้นมีความผิดฐานค้ามนุษย์
ในส่วนของการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็ก กฎหมายทั้งสองฉบับมีวัตถุ xxxxxxxในทางเดียวกัน ในการให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ แก่เด็ก หรือบุคคลซึ่งเป็นผู้เสียหายจาก การค้ามนุษย์
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มีบทกําหนด
โทษที่สูงกว่าการกระทําที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 เนื่องจากการกระทําที่เป็นความผิด ฐานค้ามนุษย์ เป็นความผิดเฉพาะและมีความร้ายแรง กระทบต่อสังคมส่วนรวมมากกว่า
4.1.1.5 พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509
พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509 มีเจตนารมณ์ในการรักษาความ สงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมxxxxxของประชาชน โดยการควบคุมการแสดง ความบันเทิงในสถานบริการ ในการประกอบกิจการต่างๆ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้า มนุษย์ พ.ศ.2551 ในส่วนของการทํางานของบุคคลผู้เป็นผู้เสียหายหรือเหยื่อในการค้ามนุษย์ หากมี การxxxxxxxxxxxxxxxxจากการค้าประเวณี หรือการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ หรือการอื่นใดที่ คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม อาจมีการแสวงหา ประโยชน์ดังกล่าวในสถานบริการ ดังนี้
มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้
“สถานบริการ” หมายความถึง สถานxxxxxxตั้งขึ้นเพื่อให้บริการ โดยxxxx ประโยชน์ในการค้า ดังต่อไปนี้
ที่ไม่มีคู่บริการ
(1) สถานเต้นรํา รําวง หรือรองเง็ง เป็นxxxxธุระประเภทที่มีและประเภท
(2) สถานที่xxxxxxxxxx สุรา น้ําชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจําหน่ายและ
บริการ โดยมีผู้บําเรอสําหรับปรนนิบัติลูกค้า
(3) สถานอาบน้ํา นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ลูกค้า เว้นแต่
(ก) สถานที่ซึ่งผู้บริการได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ โรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทการนวดไทยตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ หรือได้รับยกเว้นไม่ต้องขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผน ไทยประเภทการนวดไทยตามกฎหมายดังกล่าว หรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถาน พยาบาล
(ข) สถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวยที่กระทรวงสาธารณสุข ประกาศกําหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจะต้องมีลักษณะของ สถานที่ การบริการหรือผู้ให้บริการเป็นไปตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนดโดย ความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยด้วย ประกาศดังกล่าวจะกําหนดหลักเกณฑ์และ วิธีการตรวจสอบเพื่อการรับรองให้เป็นไปตามมาตรฐานนั้นด้วยก็ได้ หรือ
(ค) สถานที่อื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
(4) สถานที่xxxxxxxxxx สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจําหน่ายหรือให้บริการ โดยมีรูปแบบอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(ก) มีxxxxx การแสดงxxxxx หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิงและ ยินยอมหรือxxxxxxxxxxxxxให้xxxxxxx นักแสดง หรือพนักงานอื่นใดนั่งกับลูกค้า
(ข) มีการจัดอุปกรณ์การร้องเพลงประกอบxxxxxให้แก่ลูกค้า โดยจัด ให้มีผู้บริการขับร้องเพลงกับลูกค้า หรือยินยอมหรือxxxxxxxxxxxxxให้พนักงานอื่นใดนั่งกับลูกค้า
(ค) มีการเต้นหรือยินยอมให้มีการเต้น หรือจัดให้มีการแสดงเต้น xxxx การเต้นบนเวทีหรือการเต้นบริเวณโต๊ะอาหารหรือเครื่องดื่ม
(ง) มีลักษณะของสถานที่ การจัดแสงหรือเสียง หรืออุปกรณ์อื่นใด
ตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
(5) สถานที่xxxxxxxxxx สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจําหน่าย โดยจัดให้มี การแสดงxxxxxหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง ซึ่งปิดทําการหลังเวลา 24.00 นาฬิกา
(6) สถานที่อื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 14 ให้ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการจัดทําบัตรประวัติของพนักงาน ก่อนเริ่มเข้าทํางานในสถานบริการ
ในกรณีที่รายการในบัตรประวัติเปลี่ยนแปลงไป ให้ผู้รับอนุญาตตั้งสถาน บริการแจ้งการเปลี่ยนแปลงภายในxxxxxxxนับแต่xxxxxxมีการเปลี่ยนแปลง
การจัดทํา การเก็บรักษา และการแจ้งการเปลี่ยนแปลงบัตรประวัติ ให้เป็น ไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง
การจัดทําบัตรประวัตินั้น ต้องไม่ระบุหน้าที่ของพนักงานในทางที่ก่อให้เกิด ความเสียหายแก่พนักงานนั้น
สถานบริการจึงเป็นสถานที่ซึ่งอาจมีการกระทําอันเป็นการค้ามนุษย์ได้ หากมีการxxxxxxxxxxxxxxxxจากการค้าประเวณี หรือการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ หรือการอื่น ใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตามในสถานบริการ ความผิดฐานค้ามนุษย์กับความผิดตามพระราชบัญญัติสถานบริการ จึงเป็นการกระทําคนละส่วนกัน แต่มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน
4.1.1.6 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522
จากการที่ผู้เสียหายหรือเหยื่อจากการกระทําความผิดฐานค้ามนุษย์ มีทั้ง คนไทยและต่างด้าว การกระทําความผิดเกิดขึ้นxxxxxxxในประเทศ และต่างประเทศ จึงมีกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องอีกหนึ่งฉบับ คือ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ทั้งการกระทําที่เป็นการค้ามนุษย์ อันเป็นการกระทําระหว่างประเทศนั้น มีความใกล้เคียงกับความผิดฐานลักลอบเข้าเมือง (Smuggling) หรือการเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย xxxxxรายละเอียดเนื้อหาบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ดังนี้
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
“คนต่างด้าว” หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญขาติไทย “คนเข้าเมือง” หมายความว่า คนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร มาตรา 81 คนต่างด้าวผู้ใดอยู่ในราชอาณาจักรโดยxxxxxxรับอนุญาตหรือ
การอนุญาตสิ้นสุดหรือถูกเพิกถอน ต้องระวางโทษจําxxxไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
จากพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการ กระทําที่เป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ หากการกระทําของผู้กระทําความผิดเข้าองค์ประกอบความผิด ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ดังกล่าว ก็รับผิดตามกฎหมายดังกล่าวด้วย
ในส่วนที่เกี่ยวกับการเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายของผู้เสียหายจากการค้า มนุษย์นั้น พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มีxxxxxxxxxxxxเชื่อมโยงกับ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ดังที่เปรียบเทียบไว้ในตารางที่ 4.4
ตารางที่ 4.4 เปรียบเทียบความเชื่อมโยงของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 กับพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522
หัวข้อ | พระราชบัญญัติป้องกันและปรามปราม การค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 | พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 |
การห้ามคน ต่างด้าวเข้ามา ในราช อาณาจักร | มาตรา 37 เพื่อประโยชน์ในการ ดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดตาม พระราชบัญญัตินี้การรักษาพยาบาล การบําบัดฟื้นฟู การเรียกร้องxxxxxของ ผู้เสียหาย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจ ดําเนินการให้มีการผ่อนผันให้ผู้เสียหาย นั้นอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการ ชั่วคราว และได้รับอนุญาตให้ทํางานเป็น การชั่วคราวตามกฎหมายได้ ทั้งนี้ โดย ให้คํานึงถึงเหตุผลทางด้านมนุษยธรรม เป็นหลัก | บทบัญญัติตามมาตรา 12 ห้าม คนต่างด้าวที่ไม่มีหนังสือเดินทางหรือ เอกสารถูกต้องxxxxxxxเข้ามาใน ราชอาณาจักร และห้ามคนต่างด้าวที่มี พฤติการณ์น่าเชื่อว่าเข้ามาเพื่อค้า xxxxxxx xxxxxเสพติดให้โทษ หรือ ประกอบกิจการอื่นที่ขัดต่อความสงบ เรียบร้อยเข้ามาในราชอาณาจักร |
การส่งคนต่าง ด้าวกลับ ประเทศ | มาตรา 38 ภายใต้บังคับมาตรา 37 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งตัวผู้เสียหายซึ่ง เป็นคนต่างด้าวกลับประเทศที่เป็นถิ่นที่ อยู่หรือภูมิลําเนาโดยxxxxxxxxx เว้นแต่ บุคคลนั้นเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคน เข้าเมือง หรือเป็นผู้ได้รับการผ่อนผันให้ อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย โดย มีหลักฐานเอกสารตามกฎหมายว่าด้วย การทะเบียนราษฎรหรือกฎหมายว่าด้วย การทะเบียนคนต่างด้าว ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงความปลอดภัยและสวัสดิภาพ ของบุคคลนั้น | การส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอก ราชอาณาจักร โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่งตัวกลับโดยวิธีการที่เห็นxxxxx โดย เรียกค่าใช้จ่ายจากผู้กระทําความผิด |
ตารางที่ 4.4 เปรียบเทียบความเชื่อมโยงของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 กับ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 (ต่อ)
หัวข้อ | พระราชบัญญัติป้องกันและปรามปราม การค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 | พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 |
การผ่อน ผันให้อยู่ ในราช อาณาจักร | กรณีที่บุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้เสียหาย จากการกระทําความผิดฐานค้ามนุษย์ใน ต่างประเทศ พนักงานเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบว่า ถ้าเป็นผู้มีสัญชาติไทยและxxxxxxxจะกลับเข้า มาในราชอาณาจักร พนักงานเจ้าหน้าที่จะ ดําเนินการให้ แต่ถ้าผู้เสียหายในต่างประเทศนั้น เป็นคนต่างด้าว แต่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ใน ราชอาณาจักร อาจได้รับการผ่อนผันเป็นพิเศษ จากรัฐมนตรีให้อยู่ในราชอาณาจักรตามสถานะ และระยะเวลาเดิมก่อนไปนอกราชอาณาจักร | ไ ม่ มี กร ณี ที่ ผ่ อน ผั น ใ ห้ x xxx ใ น ราชอาณาจักรตาม พระราชบัญญัติคน เข้าเมือง พ.ศ.2522 มีแต่การอนุญาต ให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการ ชั่วคราว เพื่อการต่างๆตามที่กฎหมาย xxxxxxxไว้เท่านั้น การเข้ามาในราชอาณาจักร ต้องมี หนังสือเดินทาง หรือเอกสารแทนหนังสือ เดินทาง ตามที่xxxxxxxไว้ในมาตรา 12 |
กรณีเข้ามา ในราช อาณาจักร โดยxxxxxx รับอนุญาต | มาตรา 41 เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็น หนังสือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนดําเนินคดีกับ ผู้เสียหายในความผิดฐานเข้ามา ออกไปหรืออยู่ ในราชอาณาจักรโดยxxxxxxรับอนุญาตตาม กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ความผิดฐานแจ้ง ความเท็จต่อเจ้าพนักงานฐานปลอมหรือใช้ซึ่ง หนังสือเดินทางปลอม ตามประมวลกฎหมาย อาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการค้าประเวณีเฉพาะที่ เกี่ยวกับการติดต่อ ชักชวน แนะนําตัว ติดตาม หรือxxxxxxบุคคลเพื่อค้าประเวณีและการเข้าไป มั่วสุมในสถานการค้าประเวณีเพื่อค้าประเวณี หรือความผิดฐานเป็นคนต่างด้าวทํางานโดย xxxxxxรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการทํางาน ของคนต่างด้าว | มาตรา 12 ห้ามมิให้คนต่างด้าว ซึ่งมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อ ไปนี้เข้ามาในราชอาณาจักร (1) ไม่ มี ห นั งสื อ เดิ นทางหรือ เอกสาร ใช้แทนหนังสือเดินทางอัน ถูกต้อง และxxxxxxxxxxอยู่ หรือมีแต่ xxxxxxรับการตรวจลงตราในหนังสือ เดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือ เดินทางxxxxว่านั้นจากสถานทูตหรือ สถานกงสุลในต่างประเทศหรือจาก กระทรวงการต่างประเทศ เว้นแต่กรณี xxxxxxต้องมีการตรวจลงตราให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์วิธีการ |
จากตารางที่ 4.4 จะเห็นได้ว่า พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 กําหนดกรณีการผ่อนผันให้บุคคลผู้เป็นxxxxxxxxxxxxxเป็นคนต่างด้าวได้รับการ ผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ชั่วคราว โดยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
4.1.1.7 พระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551
พระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 มีประเด็นที่เชื่อมโยง กับพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ในกรณีที่เป็นการเข้ามาทํางานของคนต่างด้าว ที่ต้องผ่าน กระบวนการขั้นตอนในการเข้าเมืองโดยชอบแล้ว และมาทํางานก็ต้องบังคับด้วยxxxxxxxxxxxxว่าด้วย การทํางานของคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัตินี้
หากการกระทําเป็นการบังคับขูดรีดใช้แรงงานของคนต่างด้าว xxxxx ลักษณะเป็นการค้ามนุษย์ ก็จะมีความผิดในฐานค้ามนุษย์ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ พ.ศ.2551
xxxxxx xxxxxx
ข้อพิจารณาในประเด็นที่เกี่ยวกับการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้า
(1) ลักษณะของการกําหนดอาชีพxxxxxxอนุญาตให้ทํางานได้ยกเว้นที่จะ
ประกาศอนุญาตให้ทําได้บางประเภท
มาตรา 7 งานใดที่คนต่างด้าวอาจทําได้ในxxxxxxxใด เมื่อใด ให้เป็นไปตามที่ กําหนดในกฎกระทรวง โดยคํานึงถึงความมั่นคงของชาติ โอกาสในการประกอบอาชีพของคนไทย และ ความต้องการแรงงานต่างด้าวที่จําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ จะกําหนดให้แตกต่างกันระหว่าง คนต่างด้าวทั่วไปกับคนต่างด้าวตามมาตรา 13 และมาตรา 14 ก็ได้
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับการทํางานของคนต่างด้าวตามมาตรา
12
(2) มีมาตรการจํากัดแรงงานข้ามชาติที่ไม่ใช่แรงงานฝีมือโดยกําหนด
ค่าธรรมเนียมการxxxxแรงงานข้ามชาติที่ไม่ใช่เป็นแรงงานฝีมือได้เป็นการเฉพาะ โดยใช้มติครม. และมี บทลงโทษของผู้xxxxxxปฏิบัติตามโดยเสียเงินxxxxxเป็นอีกหนึ่งเท่า
มาตรา 8 เพื่อประโยชน์ในการจํากัดจํานวนคนต่างด้าวซึ่งมิใช่ช่างฝีมือ หรือผู้ชํานาญการที่จะเข้ามาทํางานบางประเภทหรือบางลักษณะในราชอาณาจักร รัฐมนตรีโดย ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียม การxxxxคนต่างด้าวซึ่งมิใช่ช่างฝีมือหรือผู้ชํานาญการที่จะเข้ามาทํางานตามประเภทหรือลักษณะที่ กําหนดในราชอาณาจักรก็ได้
ผู้ใดxxxxxxxจะxxxxคนต่างด้าวตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งต่อนายทะเบียนตาม แบบที่อธิบดีกําหนดและชําระค่าธรรมเนียมก่อนทําสัญญาxxxxxxxน้อยกว่าสามวันทําการ
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติในวรรคสอง ต้องเสียเงินxxxxxอีกหนึ่งเท่าของ
ค่าธรรมเนียมที่ต้องชําระ
(3) การอนุญาตให้xxxxแรงงานข้ามชาติแบบไป-กลับหรืองานตามฤดูกาล
ในพื้นที่ชายแดนหรือพื้นที่ต่อเนื่องกับพื้นที่ชายแดนได้
พระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 นี้ อนุญาตให้แรงงาน จากประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับประเทศไทยxxxxxxขออนุญาตทํางานในลักษณะไป-กลับ หรืองานตามฤดูกาล โดยใช้เอกสารแทนหนังสือเดินทาง (อาจจะเป็นหนังสือข้ามxxx - Border Pass) และขอรับใบอนุญาตทํางาน โดยให้มีมติคณะรัฐมนตรีอนุญาต
มาตรา 14 คนต่างด้าวxxxxxxxxxxลําเนาและเป็นคนสัญชาติของประเทศที่มี ชายแดนติดกับประเทศไทย ถ้าได้เข้ามาในราชอาณาจักรโดยมีเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางตาม กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง อาจได้รับอนุญาตให้ทํางานบางประเภทหรือลักษณะงานในราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราวในช่วงระยะเวลาหรือตามฤดูกาลที่กําหนดได้ ทั้งนี้ เฉพาะการทํางานภายในxxxxxxxxxxอยู่ ติดกับชายแดนหรือxxxxxxxต่อเนื่องกับxxxxxxxดังกล่าว
คนต่างด้าวซึ่งxxxxxxxจะทํางานตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นคําขอรับใบอนุญาต ทํางานชั่วคราวพร้อมกับแสดงเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางต่อนายทะเบียนและชําระค่าธรรมเนียม ตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
ในการออกใบอนุญาต ให้นายทะเบียนระบุxxxxxxxหรือสถานxxxxxxอนุญาตให้ ทํางานระยะเวลาที่อนุญาตให้ทํางาน ประเภทหรือลักษณะงาน และxxxxxxxxxxคนต่างด้าวนั้นจะไป ทํางานด้วยทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง
ความในมาตรานี้จะใช้บังคับกับxxxxxxxใด สําหรับคนต่างด้าวสัญชาติใด เพื่อ ทํางานประเภทหรือลักษณะใด ในช่วงระยะเวลาหรือฤดูกาลใด โดยมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามที่ คณะรัฐมนตรี กําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(4) มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร โดยจะให้นายจ้างหักเงินค่าxxxxจากลูกจ้างและนําส่งเข้ากองทุน โดยจํานวนเงิน วิธีการ หลักเกณฑ์ และระยะเวลาให้กําหนดไว้ในกฎกระทรวง (มาตรา 15-มาตรา 20) ซึ่งเท่ากับว่าจะค่าใช้จ่ายที่ระบุ ชัดเจนว่าแรงงานข้ามชาติ จะต้องจ่ายสมทบเข้ากองทุนเป็นเงินเท่าไหร่ โดยแรงงานที่เดินทางกลับ ประเทศด้วยค่าใช้จ่ายของตนเองก็จะxxxxxxขอรับเงินกองทุนนี้คืน พร้อมกับดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่ง ต่อปี โดยจะได้รับคืนภายใน 30 วันนับตั้งแต่xxxxxxยื่นขอรับเงินกองทุนคืน โดยต้องยื่นภายในเวลาสองปี โดยการบริหารกองทุนดังกล่าวจะมีกรรมการกองทุน (มาตรา 32) เป็นผู้บริหารจัดการกองทุนดังกล่าว
(5) การกําหนดอายุของใบอนุญาตทํางานใหม่ให้ใบอนุญาตทํางานมีอายุ ไม่เกินสองปี และอนุญาตให้ต่อไปอนุญาตทํางานไม่เกินครั้งละ 2 ปีตามความจําเป็นเพื่อป้องกันการตั้ง xxxxxxx ส่วนแรงงานกลุ่มที่ถูกเนรเทศแต่อนุญาตให้ทํางานชั่วคราว และแรงงานหลบหนีเข้าเมืองแต่ได้รับ อนุญาตให้ทํางาน จะมีระยะเวลาในการทํางานรวมแล้วต้องไม่เกิน4 ปี เว้นแต่จะมีมติคณะรัฐมนตรี กําหนดให้เป็นอย่างอื่น
(6) แรงงานข้ามชาติxxxxxxเปลี่ยนย้ายงาน นายจ้าง และสถานที่ทํางาน ได้ในพระราชบัญญัติฉบับนี้แรงงานxxxxxxเปลี่ยนงาน xxxxxxx xxxxxxxหรือสถานที่ทํางาน หรือ เงื่อนไขการทํางาน โดยต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ซึ่งแต่เดิม แรงงานxxxxxxเปลี่ยนได้เฉพาะ xxxxxxx สถานที่ และประเภทงานเท่านั้น
มาตรา 26 ผู้รับใบอนุญาตต้องทํางานตามประเภทหรือลักษณะงาน และ กับนายจ้าง ณ xxxxxxxหรือสถานที่และเงื่อนไขตามxxxxxxรับอนุญาต
ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดxxxxxxxจะเปลี่ยนหรือxxxxxประเภทหรือลักษณะงาน xxxxxxxxxxxxxxหรือสถานที่ทํางาน หรือเงื่อนไข ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน
การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
กําหนดในกฎกระทรวง
(7) มีการจัดตั้งกรรมการขึ้นมาใหม่สองชุด เพื่อให้สอดคล้องกับการพิจารณา
การxxxxแรงงาน คือคณะกรรมการพิจารณาการทํางานของคนต่างด้าว (ตามหมวด 3) โดยทําหน้าที่ในเชิง การกําหนดนโยบายเรื่องการทํางานของคนต่างด้าว และเสนอแนะให้รัฐบาลออกประกาศ กฎกระทรวง xxxxxxxตามพระราชบัญญัตินี้นี้ นอกจากนั้นยังทําหน้าที่กํากับดูแลการทํางานของกรมการจัดหางาน ตามพระราชบัญญัตินี้ และติดตามการทํางานของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทํางานของคน ต่างด้าวตามนโยบายของรัฐบาลคณะกรรมการxxxxxxอุทธรณ์การทํางานของคนต่างด้าว (ตามหมวด 4) ซึ่งจะทําหน้าที่พิจารณาคําอุทธรณ์กรณีที่แรงงานข้ามชาติร้องเรียนในเรื่องที่เจ้าหน้าที่ ไม่อนุญาตให้ ทํางาน ไม่ต่อใบอนุญาตทํางาน หรือเพิกถอนใบอนุญาตทํางานโดยทั้งสองชุดมีตัวแทนขององค์กร นายจ้างและองค์กรลูกจ้างเข้าไปเป็นคณะกรรมการด้วย
(8) อํานาจหน้าที่ของอธิบดี นายทะเบียน และพนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจ xxxxxขึ้น ในสองประเด็น คือการเข้าไปในสถานที่ใดที่เชื่อได้มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีคนต่างด้าวทํางาน โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อตรวจสอบในช่วงเวลากลางวัน (ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงเวลาพระอาทิตย์ ตก) โดยไม่จําเป็นต้องมีหมายศาล ตามมาตรา 48 (2)
พนักงานเจ้าหน้าที่xxxxxxจับกุมแรงงานต่างด้าวที่ทํางานโดยxxxxxxรับ ใบอนุญาตโดยไม่ต้องมีหมายจับ (ใช้บทบัญญัติมาตรา 81 มาตรา 81/1 มาตรา 82 มาตรา 83 มาตรา 84 มาตรา 85 และมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับกับการจับ
ตามมาตรานี้โดยอนุโลม) หากแรงงานต่างด้าวผู้นั้นไม่ยินยอม หรือจะหลบหนี เมื่อเจ้าหน้าที่สั่งไป รายงานตัวยังสถานีตํารวจพร้อมกับพนักงานเจ้าหน้าที่
(9) บทลงโทษต่อนายจ้างและแรงงานข้ามชาติที่ทําผิดหรือไม่ปฏิบัติตาม พระราชบัญญัตินี้xxxxxxส่งแรงงานข้ามชาติxxxxxxได้รับอนุญาตกลับได้เลย หากแรงงานยินยอม เดินทางกลับภายในเวลาที่กําหนด ซึ่งต้องxxxxxxกว่า 30 วัน โดยจะปรับแล้วส่งกลับก็ได้ หรือจะ ดําเนินการลงโทษจําxxxหรือปรับตามกฎหมายนี้ก็ได้
(10) อาศัยอํานาจตามมาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติการทํางานของคน ต่างด้าว พ.ศ.2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการ ทํางานของคนต่างด้าว ซึ่งเป็นผู้เสียหายจากการกระทําความผิดฐานค้ามนุษย์ ตามพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 และ พ.ศ.2560 จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการ ทํางานของคนต่างด้าว ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี อนุญาตให้ อยู่ในราชอาณาจักรในกรณีพิเศษ
4.1.1.8 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เป็นกฎหมายที่มีเจตนารมณ์ มุ่งคุ้มครองผู้ใช้แรงงาน ในฐานะลูกจ้าง ในด้านต่างๆ ให้ได้รับความเป็นธรรมและการปฏิ บัติที่ เหมาะสมจากนายจ้าง xxxxxของลูกจ้างที่เป็นเด็ก และหญิง ที่ต้องมีเงื่อนไขหลักเกณฑ์เพื่อคุ้มครองเป็น การเฉพาะ และมีบทลงโทษสําหรับนายจ้างผู้ฝ่าฝืน
เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ประกอบพระราช xxxxxxxป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 แล้ว ความเกี่ยวพันกันอยู่ที่ฐานการกระทําที่ เป็นการแสวงหาประโยชน์ในการค้ามนุษย์นั้น หากเป็นการบังคับใช้แรงงาน xxxxxxxxxxความสมัครใจ ของเหยื่อ หรือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ หากเป็นการทํางานที่ปราศจากความยินยอม ไม่สมัครใจ ถูกบังคับขู่เข็ญ ก็เป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551
กรณีการกระทําอันเป็นการขูดรีดด้วยประการอื่นใด xxxx การxxxxงานที่ ลูกจ้างได้รับค่าตอบแทนxxxxxxเป็นธรรม ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง แม้ว่าลูกจ้างสมัครใจเข้า ทํางาน แต่ได้รับค่าxxxxxxxไม่เป็นธรรม ข้อxxxxxxxxxxอยู่ที่ค่าxxxxขั้นต่ําที่กําหนดโดยอาศัยพระราช xxxxxxxคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ฉบับนี้ หากค่าตอบแทนอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ํากว่าค่าxxxxขั้นต่ําตาม กฎหมาย ก็ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นการกระทําอันเป็นการขูดรีดด้วยประการใดๆ อันเป็นการ กระทําที่เป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551