ระยะเวลาแจ้งความจำนงในการใช้สิทธิ ข้อกำหนดตัวอย่าง

ระยะเวลาแจ้งความจำนงในการใช้สิทธิ. ผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิซึ่งประสงค์จะใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญของบริษัท จะต้องแจ้งความจำนงในการใช้สิทธิซื้อหุ้น สามัญของบริษัท โดยมีระยะเวลาการแจ้งความจำนงในการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ดังนี้ 3.2.1 ระยะเวลาการแจ้งความจำนงในการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญแต่ละครั้ง (ยกเว้นการใช้สิทธิครั้งสุดท้าย) ผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิที่ประสงค์จะใช้สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของบริษัท จะต้องแจ้งความจำนงในการใช้สิทธิตาม วิธีการและขั้นตอนการใช้สิทธิตามข้อ 3.6 (“ความจำนงในการใช้สิทธิ”) ในระหว่างเวลา 9.00 น. ถึง 15.00 น. ในการใช้สทธิ ซื้อหุ้นสามัญใบสำคัญแสดงสิทธิภายในระยะเวลา 5 วันทำการก่อนวันใช้สิทธิในแต่ละครั้ง (“ระยะเวลาการแจ้งความจำนงใน การใช้สิทธิ”) 3.2.2 ระยะเวลาการแจ้งความจำนงในการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญครั้งสุดท้าย ผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิจะต้องแจ้งความจำนงตามวิธีการและขั้นตอนการใช้สิทธิตามข้อ 3.6 ในระหว่างเวลา 9.00 น. ถึง 15.00 น. ภายในระยะเวลา 15 วันก่อนวันกำหนดใช้สิทธิครั้งสุดท้าย (“ระยะเวลาการแจ้งความจำนงในการใช้สิทธิ ครั้งสุดท้าย”) ทั้งนี้ การแจ้งข่าวเกี่ยวกับการใช้สิทธิ อัตราการใช้สิทธิ ราคาการใช้สิทธิ ระยะเวลาการแจ้งความจำนงในการใช้สิทธิ และวันกำหนดการใช้สิทธิ บริษัทจะแจ้งรายละเอียดดังกล่าวอย่างน้อย 5 วันทำการก่อนวันเริ่มระยะเวลาการแจ้งความจำนง ในการใช้สิทธิแต่ละครั้งผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ (ระบบ SETLink) สำหรับการใช้สิทธิครั้งสุดท้าย บริษัทจะแจ้งข่าวล่วงหน้า 14 วันก่อนวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนใบสำคัญแสดงสิทธิผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาด หลักทรัพย์ฯ (ระบบ SETLink) และจะส่งรายละเอียดดังกล่าวทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้แก่ผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิ ตาม รายชื่อที่ปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิ ทั้งนี้บริษัทจะไม่มีการปิดสมุดทะเบียนเพื่อพักการโอนใบสำคัญแสดงสิทธิ ยกเว้นในกรณีการใช้สิทธิครั้งสุดท้าย ซึ่งจะมี การปิดสมุดทะเบียนผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิเพื่อพักการโอนใบสำคัญแสดงสิทธิ 21 วันก่อนวันกำหนดการใช้สิทธิครั้งสุดท้าย โดยตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นเครื่องหมาย SP เพื่อห้ามการซื้อขายใบสำคัญแสดงสิทธิล่วงหน้า 2 วันทำการก่อนปิดสมุดทะเบียน ในกรณีที่วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนใบสำคัญแสดงสิทธิตรงกับวันหยุดทำการของตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้เลื่อนวันปิดสมุด ทะเบียนดังกล่าวเป็นวันทำการสุดท้ายก่อนหน้าวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าว

Related to ระยะเวลาแจ้งความจำนงในการใช้สิทธิ

  • การบังคับค่าปรับ ค่าเสียหาย และค่าใช้จ่าย ในกรณีที่ผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อหนึ่งข้อใดด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม จนเป็นเหตุให้เกิดค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือ ค่าใช้จ่ายแก่ผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้างต้องชดใช้ค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้แก่ผู้ว่าจ้างโดยสนิ้ เชิงภายในกำหนด ๗ (เจ็ด) วัน นับ ถัดจากวันทไี่ ด้รับแจ้งเปน็ หนังสือจากผู้ว่าจ้าง หากผู้รับจ้างไม่ชดใช้ให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาดังกล่าวให้ผู้ว่าจ้างมีสทธิที่จะหัก เอาจากจำนวนเงินค่าจ้างที่ต้องชำระ หรือจากเงินประกันผลงาน ของผู้รับจ้าง หรือบังคับจากหลักประกันการปฏิบติตามสัญญาได้ทนั ที หากค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายที่บังคับจากเงินค่าจ้างที่ต้องชำระ เงินประกันผลงาน หรือหลักประกันการ ปฏิบัติตามสัญญาแล้วยังไม่เพียงพอ ผู้รับจ้างยินยอมชำระส่วนที่เหลือ ที่ยังขาดอยู่จนครบถ้วนตามจำนวนค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายนั้น ภายในกำหนด ๗ (เจ็ด) วัน นับถัดจากวันทไี่ ด้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง หากมีเงินค่าจ้างตามสัญญาที่หักไว้จ่ายเป็นค่าปรับ ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายแล้วยังเหลืออยู่อีกเท่าใด ผู้ว่าจ้างจะคืนให้แก่ผู้รับจ้างทงั้ หมด

  • ความคุ้มครอง ในขณะท่ีผเู้ อาประกน ภยั ไดร้ ับความคุม ครองตามกรมธรรมป ระกน ภยั น้ี หากผเู้ อาประกน ภยั ไดร้ ับบาดเจ็บหรือเจ็บป่ วยที่ เกิดข้ึนอย่างกะทน หันหรือเฉียบพลน และไม่สามารถคาดการณ์ได้ ซ่ึงเกิดข้ึนในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภยจนเป็ นเหตุให้ต้อง ไดร้ ับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล สถานพยาบาลเวชกรรม หรือคลินิกในต่างประเทศไม่วาจะในฐานะผปู้ ่ วยในหรือผปู้ ่ วยนอก บริษทจะจ่ายค่าทดแทน ส˚าหรับค่าใช้จ่ายท่ีจา˚ เป็ นและสมควรซึ่งเกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลตามความจา˚ เป็ นทาง การแพทยแ ละมาตรฐานทางการแพทยต ามจา˚ นวนเงินที่ตอ งจ่ายจริง แต่ไม่เกินจา˚ นวนเงินเอาประกน ภยตามที่ระบุไวใ้ นตาราง กรมธรรมป ระกน ภยั ใหแ ก่ผเู้ อาประกนภย ค่าใชจ่ายเพื่อการรักษาพยาบาลที่คุมครอง มีดงั ต่อไปน้

  • การจ้างช่วง ผู้รับจ้างจะต้องไม่เอางานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแห่งสัญญานี้ไปจ้างช่วงอีกทอดหนึ่ง เว้นแต่การจ้างช่วงงาน แต่บางส่วนที่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้างแล้ว การที่ผู้ว่าจ้างได้อนุญาตให้จ้างช่วงงานแต่บางส่วนดังกล่าวนั้น ไม่เป็นเหตุให้ ผู้รับจ้างหลุดพ้นจาก ความรับผิดหรือพันธะหน้าที่ตามสัญญานี้ และผู้รับจ้างจะยังคงต้องรับผิดในความผิดและความประมาทเลินเล่อ ของผู้รับจ้างช่วง หรือของตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้รับจ้างช่วงนั้นทุกประการ กรณีผู้รับจ้างไปจ้างช่วงงานแต่บางส่วนโดยฝ่าฝืนความในวรรคหนึ่ง ผู้รับจ้างต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็น จำนวนเงินในอัตราร้อยละ ๑๐ (สิบ) ของวงเงินของงานที่จ้างช่วงตามสัญญา ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้ว่าจ้างในการบอกเลิกสัญญา

  • CUSTODIAN 301 ธนาคารซติ แี บงก์ เอน็ .เอ.(CUSTODY SERVICES) CITIBANK, N.A.-CUSTODY SERVICES 329 ธนาคารทหารไทย จ˚ากดั (มหาชน) TMB BANK PUBLIC COMPANY LIMITED

  • การใช้เรือไทย ในการปฏิบัติตามสัญญานี้ หากผู้รับจ้างจะต้องสั่งหรือนําของเข้ามาจากต่างประเทศรวมทั้ง เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ต้องนําเข้ามาเพื่อปฏิบัติงานตามสัญญา ไม่ว่าผู้รับจ้างจะเป็นผู้ที่นําของเข้ามาเองหรือนําเข้ามา โดยผ่านตัวแทนหรือบุคคลอื่นใด ถ้าสิ่งของนั้นต้องนําเข้ามาโดยทางเรือในเส้นทางเดินเรือที่มีเรือไทยเดินอยู่และ สามารถให้บริการรับขนได้ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมประกาศกําหนด ผู้รับจ้างต้องจัดการให้สิ่งของ ดังกล่าวบรรทุกโดยเรือไทยหรือเรือที่มีสิทธิเช่นเดียวกับเรือไทยจากต่างประเทศมายังประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับ อนุญาตจากกรมเจ้าท่าก่อนบรรทุกของนั้นลงเรืออื่นที่มิใช่เรือไทยหรือเป็นของที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประกาศยกเว้นให้บรรทุกโดยเรืออื่นได้ ทั้งนี้ไม่ว่าการสั่งหรือนําเข้าสิ่งของดังกล่าวจากต่างประเทศจะเป็นแบบใด ในการส่งมอบงานตามสัญญาให้แก่ผู้ว่าจ้าง ถ้างานนั้นมีสิ่งของตามวรรคหนึ่ง ผู้รับจ้างจะต้อง ส่งมอบใบตราส่ง (Bill of Lading) หรือสําเนาใบตราส่งสําหรับของนั้น ซึ่งแสดงว่าได้บรรทุกมาโดยเรือไทยหรือเรือที่ มีสิทธิเช่นเดียวกับเรือไทยให้แก่ผู้ว่าจ้างพร้อมกับการส่งมอบงานด้วย ในกรณีที่สิ่งของดังกล่าวไม่ได้บรรทุกจากต่างประเทศมายังประเทศไทยโดยเรือไทยหรือเรือที่มี สิทธิเช่นเดียวกับเรือไทย ผู้รับจ้างต้องส่งมอบหลักฐานซึ่งแสดงว่าได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่า ให้บรรทุกของโดยเรือ อื่นได้หรือหลักฐานซึ่งแสดงว่าได้ชําระค่าธรรมเนียมพิเศษเนื่องจากการไม่บรรทุกของโดยเรือไทยตามกฎหมายว่า ด้วยการส่งเสริมการพาณิชยนาวีแล้วอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ผู้ว่าจ้างด้วย ในกรณีที่ผู้รับจ้างไม่ส่งมอบหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวในวรรคสองและวรรคสามให้แก่ ผู้ว่าจ้าง แต่จะขอส่งมอบงานดังกล่าวให้ผู้ว่าจ้างก่อนโดยไม่รับชําระเงินค่าจ้าง ผู้ว่าจ้างมีสิทธิรับงานดังกล่าวไว้ก่อน และชําระเงินค่าจ้างเมื่อผู้รับจ้างได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนดังกล่าวแล้วได้

  • วัตถุประสงค์ ๑.๑ เพื่อส่งเสริม ผลักดัน และประสานความร่วมมือในการร่วมดําเนินการตามนโยบายรัฐบาล และแนวทางการดําเนินการต่าง ๆ เพื่อป้องกัน และต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชนให้ เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติฯ นโยบายของรัฐบาล และแนวทางการดําเนินงานที่เกี่ยวข้อง ๑.๒ เพื่อร่วมกันสังเกตการณ์ การตรวจสอบการปฏิบัติราชการและการขับเคลื่อนการ ดําเนินงานของภาครัฐและภาคเอกขน รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ๑.๓ เพื่อส่งเสริมการปลุกจิตสํานึกของบุคลากรทั้งภาครัฐ และภาลเอกชนให้ตระหนักถึง คุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และการประชฤติปฏิบัติที่ถูกต้อง เที่ยงตรง

  • การจ่ายเงินแก่ลูกจ้าง ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายเงินแก่ลูกจ้างที่ผู้รับจ้างได้จ้างมาในอัตราและตามกําหนดเวลาที่ผู้รับจ้างได้ ตกลงหรือทําสัญญาไว้ต่อลูกจ้างดังกล่าว ถ้าผู้รับจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างหรือค่าทดแทนอื่นใดแก่ลูกจ้างดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่ จะเอาเงินค่าจ้างที่จะต้องจ่ายแก่ผู้รับจ้างมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างของผู้รับจ้างดังกล่าว และให้ถือว่าผู้ว่าจ้างได้จ่ายเงิน จํานวนนั้นเป็นค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างตามสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องจัดให้มีประกันภัยสําหรับลูกจ้างทุกคนที่จ้างมาทํางาน โดยให้ครอบคลุมถึงความ รับผิดทั้งปวงของผู้รับจ้าง รวมทั้งผู้รับจ้างช่วง (ถ้ามี) ในกรณีความเสียหายที่คิดค่าสินไหมทดแทนได้ตาม กฎหมาย ซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุหรือภยันตรายใด ๆ ต่อลูกจ้างหรือบุคคลอื่นที่ผู้รับจ้าง หรือผู้รับจ้างช่วงจ้างมา ทํางาน ผู้รับจ้างจะต้องส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวพร้อมทั้งหลักฐานการชําระเบี้ยประกันให้แก่ผู้ว่าจ้างเมื่อ ผู้ว่าจ้างเรียกร้อง

  • เชิงคุณภาพ ลงชื่อ........................................................................

  • ข้อสงวนสิทธิในการยื่นข้อเสนอและอื่น ๆ ๑๐.๑ เงินค่าจ้างสำหรับงานจ้างครั้งนี้ ได้มาจากเงินรายได้หน่วยงาน การลงนามในสัญญาจะกระทำได้ต่อเมื่อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับ อนุมัติเงิน ค่าก่อสร้างจากเงินรายได้หน่วยงาน ๑๐.๒ เมื่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้คัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอรายใดให้เป็นผู้รับจ้าง และได้ตกลงจ้าง ตามการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ถ้าผู้รับจ้างจะต้องสั่งหรือนำสิ่งของมาเพื่องานจ้าง ดังกล่าวเข้ามาจากต่างประเทศ และของนั้นต้องนำเข้ามาโดยทางเรือในเส้นทางที่มีเรือไทยเดินอยู่ และสามารถ ให้บริการรับขนได้ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมประกาศกำหนด ผู้ยื่นข้อเสนอซึ่งเป็นผู้รับจ้างจะต้อง ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพาณิชยนาวี ดังนี้ (๑) แจ้งการสั่งหรือนำสิ่งของดังกล่าวเข้ามาจากต่างประเทศต่อกรมเจ้าท่า ภายใน ๗ วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างสั่งหรือซื้อของจากต่างประเทศ เว้นแต่เป็นของที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคมประกาศยกเว้นให้บรรทุกโดยเรืออื่นได้ (๒) จัดการให้สิ่งของดังกล่าวบรรทุกโดยเรือไทย หรือเรือที่มีสิทธิเช่นเดียวกับ เรือไทยจากต่างประเทศมายังประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่า ให้บรรทุกสิ่งของนั้น โดยเรือ อื่น ที่มิใช่เรือไทย ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตเช่นนั้นก่อนบรรทุกของลงเรืออื่น หรือเป็นของที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคมประกาศยกเว้นให้บรรทุกโดยเรืออื่น (๓) ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตาม (๑) หรือ (๒) ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดตามกฎหมายว่า ด้วยการส่งเสริมการพาณิชยนาวี ๑๐.๓ ผู้ยื่นข้อเสนอซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้คัดเลือกแล้ว ไม่ไปทำสัญญาหรือ ข้อตกลงจ้างเป็นหนังสือภายในเวลาที่กำหนดดังระบุไว้ในข้อ ๗ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะริบหลักประกัน การยื่นข้อเสนอ หรือเรียกร้องจากผู้ออกหนังสือค้ำประกัน การยื่นข้อเสนอทันที และอาจพิจารณาเรียกร้องให้ ชดใช้ความเสียหายอื่น (ถ้ามี) รวมทั้งจะพิจารณาให้เป็นผู้ทิ้งงาน ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัด ซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ๑๐.๔ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สงวนสิทธิ์ที่จะแก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไข หรือ ข้อกำหนดในแบบสัญญาหรือข้อตกลงจ้างเป็นหนังสือให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด (ถ้ามี) ๑๐.๕ ในกรณีที่เอกสารแนบท้ายเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์นี้ มีความขัดหรือ แย้งกันผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คำวินิจฉัยดังกล่าวให้ถือเป็น ที่สุด และ ผู้ยื่นข้อเสนอไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติม ๑๐.๖ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาจประกาศยกเลิกการจัดจ้างในกรณีต่อไปนี้ได้ โดยที่ผู้ยื่นข้อเสนอจะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไม่ได้ (๑) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไม่ได้รับการจัดสรรเงินที่จะใช้ในการจัดจ้าง หรือได้รับจัดสรรแต่ไม่เพียงพอที่ จะทำการจัดจ้างครั้งนี้ต่อไป (๒) มีการกระทำที่เข้าลักษณะผู้ยื่นข้อเสนอที่ชนะการจัดจ้างหรือที่ได้รับการ คัดเลือกมี ผลประโยชน์ร่วมกัน หรือมีส่วนได้เสียกับผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่น หรือขัดขวางการแข่งขันอย่างเป็น ธรรมหรือสมยอมกันกับผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่น หรือเจ้าหน้าที่ในการเสนอราคา หรือส่อว่ากระทำการทุจริตอื่นใด ในการเสนอราคา (๓) การทำการจัดจ้างครั้งนี้ต่อไปอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ หรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ (๔) กรณีอื่นในทำนองเดียวกับ (๑) (๒) หรือ (๓) ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

  • การรับประกันความชํารุดบกพร่อง ผู้ชนะการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งได้ทำสัญญาจ้าง ตามแบบ ดังระบุในข้อ ๑.๓ หรือข้อตกลงจ้างเป็นหนังสือแล้วแต่กรณี จะต้องรับประกันความชำรุดบกพร่องของงานจ้างที่เกิดขึ้นภายใน ระยะเวลา ไม่น้อยกว่า ๒ ปี นับถัดจากวันที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับมอบงาน โดยต้องรีบจัดการ ซ่อมแซมแก้ไขให้ใช้การได้ดีดังเดิมภายใน ๑๕ วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งความชำรุดบกพร่อง