ความเป็นมาของสิทธิมนุษยชน ข้อกำหนดตัวอย่าง

ความเป็นมาของสิทธิมนุษยชน. คําว่า สิทธิมนุษยชน ในอดีตยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก จนกระทั่งมีการก่อตั้ง องค์การสหประชาชาติแล้วจึงได้ถูกนํามาใช้อย่างแพร่หลายทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับนานาชาติ ซึ่งในกฎบัตรสหประชาชาติ กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนไว้หลายแห่งในอารัมภบท เช่น ข้อความที่กล่าวถึง ความมุ่งหมายขององค์การสหประชาชาติไว้ว่า “เพื่อเป็นการยืนยันความเชื่อในสิทธิขั้นพื้นฐานของ ความเป็นมนุษย์ ในศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษยชาติ To Reaffirm Faith in Fundamental Human Rights, in the Dignity and Worth of the Human Person….” (United Nation Organization, 2012) ในตัวกฎบัตรสหประชาชาติได้เพียงกล่าวถึงสิทธิมนุษยชนไว้ในที่ต่างๆ ในอารัมภบท เท่านั้น มิได้มีคํานิยามหรือคําอธิบายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนไว้แต่อย่างใด ในทางวิชาการจึงได้มีการ พยายามอธิบายคําปรารภของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ว่า “โดยที่การยอมรับนับถือ เกียรติศักดิ์ประจําตัวและสิทธิเท่าเทียมกันและโอนมิได้ของบรรดาสมาชิกทั้งหลายแห่งครอบครัว มนุษยชนเป็นหลักการแห่งอิสรภาพ ความยุติธรรมและสันติภาพโลก” นั้นหมายถึงสิทธิมนุษยชนเป็น สิทธิประจําตัวของมนุษย์ทุกคน เพราะทุกคนมีศักดิ์ศรี มีเกียรติศักดิ์ประจําตัว สิทธิมนุษ ยชน ไม่สามารถโอนให้แก่กันได้ แต่นักปฏิบัติการสิทธิมนุษยชน ให้คําอธิบายว่าสิ่งจําเป็นสําหรับคนทุกคนที่ ต้องได้รับในฐานะที่เป็นคน ทําให้คนคนนั้นมีชีวิตมีความเหมาะสมแก่ความเป็นคน และสามารถมีการ พัฒนาตนเองได้คือ “สิทธิมนุษยชน” (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, 2555) สําหรับในประเทศไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 เป็นต้นมา การเคลื่อนไหวปกป้อง คุ้มครองและเผยแพร่แนวคิดสิทธิมนุษยชนค่อยๆ ขยายตัวมากขึ้น จนกระทั่งในปี พ.ศ.2540 จึงเกิด รัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางและยังมีบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอย่างเด่นชัด รวมถึงการก่อให้เกิดคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิ มนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 ด้วย พระราชบัญญัตินี้ให้นิยามคําว่าสิทธิมนุษยชนไว้ว่า “สิทธิมนุษยชน หมายความว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทยหรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมี พันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม” (นัยนา เกิดวิชัย, 2558 : 120)

Related to ความเป็นมาของสิทธิมนุษยชน

  • เอกสารอันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา เอกสารแนบท้ายสัญญาดังต่อไปนี้ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญานี้ ๒.๑ ผนวก ๑ .…….….(แบบรูป)……........…......….......….. จํานวน.…..( ) หน้า ๒.๒ ผนวก ๒ ………...(รายการละเอียด)…….....……....... จํานวน.…..( ) หน้า ๒.๓ ผนวก ๓ …........(ใบแจ้งปริมาณงานและราคา)...... จํานวน.…..( ) หน้า ๒.๔ ผนวก ๔ ……….(ใบเสนอราคา)….........…………....... จํานวน.…..( ) หน้า …………..……………..……ฯลฯ……….………..…………… ความใดในเอกสารแนบท้ายสัญ ญ าที่ ขั ดห รื อแย้ งกั บ ข้ อความในสัญ ญ านี้ ให้ ใช้ ข้ อความ ในสัญญานี้บังคับ และในกรณีที่เอกสารแนบท้ายสัญญาขัดแย้งกันเอง ผู้รับจ้างจะต้องปฏิบัติตามคําวินิจฉัยของผู้ ว่าจ้าง คําวินิจฉัยของผู้ว่าจ้างให้ถือเป็นที่สุด และผู้รับจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้าง ค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติมจากผู้ว่าจ้างทั้งสิ้น

  • ความคุ้มครอง ในขณะท่ีผเู้ อาประกน ภยั ไดร้ ับความคุม ครองตามกรมธรรมป ระกน ภยั น้ี หากผเู้ อาประกน ภยั ไดร้ ับบาดเจ็บหรือเจ็บป่ วยที่ เกิดข้ึนอย่างกะทน หันหรือเฉียบพลน และไม่สามารถคาดการณ์ได้ ซ่ึงเกิดข้ึนในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภยจนเป็ นเหตุให้ต้อง ไดร้ ับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล สถานพยาบาลเวชกรรม หรือคลินิกในต่างประเทศไม่วาจะในฐานะผปู้ ่ วยในหรือผปู้ ่ วยนอก บริษทจะจ่ายค่าทดแทน ส˚าหรับค่าใช้จ่ายท่ีจา˚ เป็ นและสมควรซึ่งเกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลตามความจา˚ เป็ นทาง การแพทยแ ละมาตรฐานทางการแพทยต ามจา˚ นวนเงินที่ตอ งจ่ายจริง แต่ไม่เกินจา˚ นวนเงินเอาประกน ภยตามที่ระบุไวใ้ นตาราง กรมธรรมป ระกน ภยั ใหแ ก่ผเู้ อาประกนภย ค่าใชจ่ายเพื่อการรักษาพยาบาลที่คุมครอง มีดงั ต่อไปน้

  • ค่าปรับ หากผู้รับจ้างไม่สามารถทํางานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญาและผู้ว่าจ้างยังมิได้บอก เลิกสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชําระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นจํานวนเงิน วันละ ……………..บาท และจะต้องชําระ ค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานในเมื่อผู้ว่าจ้างต้องจ้างผู้ควบคุมงานอีกต่อหนึ่งเป็นจํานวนเงิน วันละ บาท นับถัดจากวันที่กําหนดแล้วเสร็จตามสัญญาหรือวันที่ผู้ว่าจ้างได้ขยายให้จนถึงวันที่ ทํางานแล้วเสร็จจริง นอกจากนี้ ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกค่าเสียหายอันเกิดขึ้นจากการที่ผู้รับจ้างทํางานล่าช้าเฉพาะส่วนที่เกินกว่าจํานวน ค่าปรับและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้อีกด้วย ในระหว่างที่ผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญานั้น หากผู้ว่าจ้างเห็นว่าผู้รับจ้างจะไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญา ต่อไปได้ ผู้ว่าจ้างจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิตามข้อ 18 ก็ได้ และถ้าผู้ว่าจ้างได้แจ้ง ข้อเรียกร้องไปยัง ผู้รับจ้างเมื่อครบกําหนดแล้วเสร็จของงานขอให้ชําระค่าปรับแล้ว ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะปรับ ผู้รับจ้างจนถึงวันบอกเลิก สัญญาได้อีกด้วย

  • ความรับผิดของผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุ ความเสียหาย หรือภยันตรายใด ๆ อันเกิดจากการปฏิบัติงาน ของผู้รับจ้าง และจะต้องรับผิดต่อความเสียหายจากการกระทําของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับจ้าง และจากการ ปฏิบัติงานของผู้รับจ้างช่วงด้วย (ถ้ามี) ความเสียหายใดๆ อันเกิดแก่งานที่ผู้รับจ้างได้ทําขึ้น แม้จะเกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัยก็ตาม ผู้รับ จ้างจะต้องรับผิดชอบโดยซ่อมแซมให้คืนดีหรือเปลี่ยนให้ใหม่โดยค่าใช้จ่ายของผู้รับจ้างเอง เว้นแต่ความเสียหายนั้น เกิดจากความผิดของผู้ว่าจ้าง ทั้งนี้ ความรับผิดของผู้รับจ้างดังกล่าวในข้อนี้จะสิ้นสุดลง เมื่อผู้ว่าจ้างได้รับมอบงาน ครั้งสุดท้าย ซึ่งหลังจากนั้นผู้รับจ้างคงต้องรับผิดเพียงในกรณีชํารุดบกพร่อง หรือความเสียหายดังกล่าวในข้อ 8 เท่านั้น ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในความเสียหายใดๆ อันเกิดจากการปฏิบัติงานของผู้ รับจ้าง หรือลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับจ้าง รวมถึงผู้รับจ้างช่วง (ถ้ามี) ตามสัญญานี้ หากผู้ว่าจ้างถูกเรียกร้องหรือ ฟ้องร้องหรือต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องดําเนินการใด ๆ เพื่อให้มีการว่าต่างแก้ต่าง ให้แก่ผู้ว่าจ้างโดยค่าใช้จ่ายของผู้รับจ้างเอง รวมทั้งผู้รับจ้างจะต้องชดใช้ค่าเสียหายนั้น ๆ ตลอดจนค่าใช้จ่ายใด ๆ อันเกิดจากการถูกเรียกร้องหรือถูกฟ้องร้องให้แก่ผู้ว่าจ้างทันที

  • ความรับผิดชอบในความชํารุดบกพร่องของงานจ้าง เมื่องานแล้วเสร็จบริบูรณ์ และผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้างหรือจากผู้รับจ้างรายใหม่ ใน กรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาตามข้อ 7 หากมีเหตุชํารุดบกพร่องหรือเสียหายเกิดขึ้นจากการจ้างนี้ ภายในกําหนด 2 (สอง) ปี - เดือน นับถัดจากวันที่ได้รับมอบงานดังกล่าว ซึ่งความชํารุดบกพร่องหรือเสียหายนั้นเกิดจากความ บกพร่องของผู้รับจ้างอันเกิดจากการใช้วัสดุที่ไม่ถูกต้องหรือทําไว้ไม่เรียบร้อย หรือทําไม่ถูกต้องตามมาตรฐานแห่ง หลักวิชา ผู้รับจ้างจะต้องรีบทําการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยโดยไม่ชักช้า โดยผู้ว่าจ้างไม่ต้องออกเงินใดๆ ในการนี้ทั้งสิ้น หากผู้รับจ้างไม่กระทําการดังกล่าวภายในกําหนด 7 (เจ็ด) วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง หรือไม่ทําการแก้ไขให้ถูกต้องเรียบร้อยภายในเวลาที่ผู้ว่าจ้างกําหนด ให้ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะทําการนั้นเอง หรือจ้าง ผู้อื่นให้ทํางานนั้น โดยผู้รับจ้างต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้น ในกรณีเร่งด่วนจําเป็นต้องรีบแก้ไขเหตุชํารุดบกพร่องหรือเสียหายโดยเร็ว และไม่อาจรอให้ผู้รับ จ้างแก้ไขในระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่งได้ ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเข้ าจัดการแก้ไขเหตุชํารุดบกพร่องหรือเสียหาย นั้นเอง หรือจ้างผู้อื่นให้ซ่อมแซมความชํารุดบกพร่องหรือเสียหาย โดยผู้รับจ้างต้องรับผิดชอบชําระค่าใช้จ่ายทั้งหมด การที่ผู้ว่าจ้างทําการนั้นเอง หรือจ้างผู้อื่นให้ทํางานนั้นแทนผู้รับจ้าง ไม่ทําให้ผู้รับจ้างหลุดพ้นจาก ความรับผิดตามสัญญา หากผู้รับจ้างไม่ชดใช้ค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายตามที่ผู้ว่าจ้างเรียกร้องผู้ว่าจ้างมีสิทธิบังคับจาก หลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาได้

  • Quality Safety ระบบมาตรฐานทเกี่ยวข้อง Health Environment

  • หรือจ้าง ค่าวสั ดุสา˚ นกั งาน 7,345.00 7,345.00 ตกลงราคา หจก.ผลสวา่ งพานิช ราคา 7,345.00บาท หจก.ผลสวา่ งพานิช ราคา 7,345.00บาท มีคุณสมบตั ิ ถูกตอ้ ง ครบถวน เอกสารจ่ายเงิน : 2500310207 ลว. 11 มี.ค. 59 2 ค่าน้า˚ มนั เช้ือเพลิง 39,854.40 39,854.40 ตกลงราคา สหกรณ์การเกษตรบึง สามพนั จา˚ กดั ราคา 4,047.87บาท ราคา 11,780.43บาท ราคา 8,723.09บาท ราคา 3,921.97บาท ราคา 11,381.04บาท สหกรณ์การเกษตรบึง สามพนั จา˚ กดั ราคา 4,047.87บาท ราคา 11,780.43บาท ราคา 8,723.09บาท ราคา 3,921.97บาท ราคา 11,381.04บาท มีคุณสมบตั ิ ถูกตอ้ ง ครบถวน เอกสารจ่ายเงิน : 2500285757 ลว. 4 มี.ค. 59 2500285764 ลว. 4 มี.ค. 59 2500313591 ลว. 11 มี.ค. 59 2500369092 ลว. 25 มี.ค. 59 2500369096 ลว. 25 มี.ค. 59

  • การรับประกันความชํารุดบกพร่อง ผู้ชนะการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งได้ทำสัญญาจ้าง ตามแบบ ดังระบุในข้อ ๑.๓ หรือข้อตกลงจ้างเป็นหนังสือแล้วแต่กรณี จะต้องรับประกันความชำรุดบกพร่องของงานจ้างที่เกิดขึ้นภายใน ระยะเวลา ไม่น้อยกว่า ๒ ปี นับถัดจากวันที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับมอบงาน โดยต้องรีบจัดการ ซ่อมแซมแก้ไขให้ใช้การได้ดีดังเดิมภายใน ๑๕ วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งความชำรุดบกพร่อง

  • การเสนอราคา ๔.๑ ผู้ยื่นข้อเสนอต้องยื่นข้อเสนอ และเสนอราคาทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วย อิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนดไว้ในเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์นี้ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น และจะต้อง กรอกข้อความให้ถูกต้องครบถ้วน พร้อมทั้งหลักฐานแสดงตัวตนและทําการยืนยันตัวตนของผู้ยื่นข้อเสนอโดยไม่ต้อง แนบใบเสนอราคาในรูปแบบ PDF File (Portable Document Format) ๔.๒ ให้ผู้ยื่นข้อเสนอกรอกรายละเอียดการเสนอราคาในใบเสนอราคาตามแบบเอกสาร ประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ข้อ ๑.๒ ให้ครบถ้วนโดยไม่ต้องยื่นใบ แจ้งปริมาณงานและราคา และใบบัญชีรายการก่อสร้างในรูปแบบ PDF File (Portable Document Format) ในการเสนอราคาให้เสนอราคาเป็นเงินบาทและเสนอราคาได้เพียงครั้งเดียวและราคา เดียว โดยเสนอราคารวม หรือราคาต่อหน่วย หรือราคาต่อรายการ ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ท้ายใบเสนอราคาให้ถูกต้อง ทั้งนี้ ราคารวมที่เสนอจะต้องตรงกันทั้งตัวเลขและตัวหนังสือ ถ้าตัวเลขและตัวหนังสือไม่ตรงกัน ให้ถือตัวหนังสือ เป็นสําคัญ โดยคิดราคารวมทั้งสิ้นซึ่งรวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีอากรอื่น และค่าใช้จ่ายทั้งปวงไว้แล้ว ราคาที่เสนอจะต้องเสนอกําหนดยืนราคาไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน ตั้งแต่วันเสนอราคาโดย ภายในกําหนดยืนราคา ผู้ยื่นข้อเสนอต้องรับผิดชอบราคาที่ตนได้เสนอไว้และจะถอนการเสนอราคามิได้ ๔.๓ ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องเสนอกําหนดเวลาดําเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จไม่เกิน ๔๒๐ วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญาจ้างหรือจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งจาก โรงเรียน ให้เริ่มทํางาน ๔.๔ ก่อนเสนอราคา ผู้ยื่นข้อเสนอควรตรวจดูร่างสัญญา แบบรูป และรายการละเอียด ฯลฯ ให้ถี่ถ้วนและเข้าใจเอกสารประกวดราคาจ้างอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดเสียก่อนที่จะตกลงยื่นข้อเสนอตามเงื่อนไข ในเอกสารประกวดราคาจ้างอิเล็กทรอนิกส์ ๔.๕ ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องยื่นข้อเสนอและเสนอราคาทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วย อิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ น. ถึง ๑๖.๓๐ น. และเวลาในการเสนอราคา ให้ถือตามเวลาของระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์เป็นเกณฑ์ เมื่อพ้นกําหนดเวลายื่นข้อเสนอและเสนอราคาแล้ว จะไม่รับเอกสารการยื่นข้อเสนอ และเสนอราคาใดๆ โดยเด็ดขาด ๔.๖ ผู้ยื่นข้อเสนอต้องจัดทําเอกสารสําหรับใช้ในการเสนอราคาในรูปแบบไฟล์เอกสาร ประเภท PDF File (Portable Document Format) โดยผู้ยื่นข้อเสนอต้องเป็นผู้รับผิดชอบตรวจสอบความ ครบถ้วน ถูกต้อง และชัดเจนของเอกสาร PDF File ก่อนที่จะยืนยันการเสนอราคา แล้วจึงส่งข้อมูล (Upload) เพื่อ เป็นการเสนอราคาให้แก่โรงเรียน ผ่านทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ๔.๗ คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์จะดําเนินการตรวจสอบ คุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละรายว่า เป็นผู้ยื่นข้อเสนอที่มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่นตาม ข้อ ๑.๖ (๑) หรือไม่ หากปรากฏว่าผู้ยื่นข้อเสนอรายใดเป็นผู้ยื่นข้อเสนอที่มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้ยื่นข้อเสนอราย อื่น คณะกรรมการฯ จะตัดรายชื่อผู้ยื่นข้อเสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันนั้นออกจากการเป็นผู้ยื่นข้อเสนอ หากปรากฏต่อคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ว่า ก่อนหรือใน ขณะที่มีการพิจารณาข้อเสนอ มีผู้ยื่นข้อเสนอรายใดกระทําการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันอย่างเป็นธรรมตาม ข้อ ๑.๖ (๒) และคณะกรรมการฯ เชื่อว่ามีการกระทําอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันอย่างเป็นธรรม คณะ กรรมการฯ จะตัดรายชื่อผู้ยื่นข้อเสนอรายนั้นออกจากการเป็นผู้ยื่นข้อเสนอ และโรงเรียน จะพิจารณาลงโทษผู้ยื่น ข้อเสนอดังกล่าวเป็นผู้ทิ้งงาน เว้นแต่ โรงเรียน จะพิจารณาเห็นว่าผู้ยื่นข้อเสนอรายนั้น มิใช่เป็นผู้ริเริ่มให้มีการ กระทําดังกล่าวและได้ให้ความร่วมมือเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของโรงเรียน

  • การทําสัญญาจ้างก่อสร้าง ผู้ชนะการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์จะต้องทำสัญญาจ้างตามแบบสัญญา ดังระบุ ในข้อ ๑.๓ หรือทำข้อตกลงเป็นหนังสือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใน ๗ วัน นับถัดจากวันที่ได้รับ แจ้ง และจะต้องวางหลักประกันสัญญาเป็นจำนวนเงินเท่ากับร้อยละ ๕ ของราคาค่าจ้างที่ประกวดราคา อิเล็กทรอนิกส์ ให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ยึดถือไว้ในขณะทำสัญญาโดยใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ ๖.๒ เงินสด เช็คหรือดราฟท์ที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คหรือดราฟท์ลงวันที่ที่ใช้เช็คหรือ ดราฟท์นั้น ชำระต่อเจ้าหน้าที่ในวันทำสัญญา หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน ๓ วันทำการ ๖.๓ หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศ ตามตัวอย่างที่คณะกรรมการ นโยบายกำหนด ดังระบุในข้อ ๑.๔ (๒) หรือจะเป็นหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลาง กำหนด ๖.๔ หนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาต ให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ำประกันตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศ ไทย ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ทราบ โดยอนุโลมให้ใช้ตามตัวอย่าง หนังสือค้ำประกันของธนาคารที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด ดังระบุในข้อ ๑.๔ (๒) ๖.๕ พันธบัตรรัฐบาลไทย หลักประกันนี้จะคืนให้ โดยไม่มีดอกเบี้ยภายใน ๑๕ วันนับถัดจากวันที่ผู้ชนะการ ประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (ผู้รับจ้าง) พ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาจ้างแล้ว