บริบทมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ข้อกำหนดตัวอย่าง

บริบทมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2.1.1 ประวัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2.1.2 การบริหารงานกองคลังและพัสดุ 2.1.2.1 ลักษณะงานโดยทั่วไป ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการใน การทํางานและปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานด้านวิชาการพัสดุ ภายใต้การกํากับ แนะนํา ตรวจสอบ และ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยหน้าที่ความรับผิดชอบหลักได้แก่ ด้านการปฏิบัติการ 1) จัดหา จัดซื้อ จัดจ้าง ตรวจรับ เก็บรักษา ร่างสัญญาซื้อ สัญญาจ้าง ศึกษา ค้นคว้ารายละเอียดต่างๆ ของพัสดุ เช่น วิวัฒนาการคุณสมบัติ ระบบราคา การเสื่อมค่า การสึกหรอ ประโยชน์ใช้สอย สมรรถภาพ ค่าบริการ อะไหล่ การบํารุงรักษา ความแข็งแรงทนทาน เพื่อกําหนด มาตรฐานและคุณภาพของพัสดุ วิเคราะห์และประเมินคุณภาพของพัสดุ เสนอความเห็นเพื่อ ประกอบการตัดสินใจในการจัดหาซื้อพัสดุ 2) จัดทํารายละเอียดบัญ ชี หรือทะเบียนคุมทรัพย์สินเกี่ยวกับคุณ ลักษณะเฉพาะของพัสดุ เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้โดยสะดวก 3) ซ่อมแซมและดูแลรักษาพัสดุในครอบครองเพื่อให้มีสภาพที่พร้อมใช้งาน จําหน่ายพัสดุเมื่อชํารุดหรือเสื่อมสภาพ หรือไม่จําเป็นในการใช้งานทางราชการอีกต่อไป เพื่อให้พัสดุ เกิดประโยชน์ให้แก่ทางราชการได้มากที่สุด 4) ให้บริการวิชาการด้านต่าง ๆ เช่น ให้คําปรึกษา แนะนํา ในการปฏิบัติงาน แก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาและแก่นักศึกษาที่มาฝึกปฏิบัติงาน ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงาน ได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และปฏิบัติหน้าที่อื่น ที่เกี่ยวข้อง ด้านการวางแผน วางแผนการทํางานที่รับผิดชอบ ร่วมวางแผนการทํางานของหน่วยงานหรือ โครงการเพื่อให้การดําเนินงานบรรลุตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กําหนด ด้านการประสานงาน 1) ประสานการทํางานร่วมกันระหว่างทีมงานหรือหน่วยงาน ทั้งภายในและ ภายนอก เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กําหนดไว้ 2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดําเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย ด้านการบริการ 1) ให้คําปรึกษา แนะนําเบื้องต้น เผยแพร่ ถ่ายทอดความรู้ ทางด้านงานพัสดุ รวมทั้งตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับทราบข้อมูล ความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ 2) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น และให้บริการข้อมูลทางวิชาการ เกี่ยวกับด้านงาน พัสดุ เพื่อให้บุคลากรทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน นักศึกษา ตลอดจนผู้รับบริการ ได้ทราบข้อมูล และความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ สอดคล้อง และสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการ พิจารณากําหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่างๆ

Related to บริบทมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

  • ความรับผิดชอบในความชํารุดบกพร่องของงานจ้าง เมื่องานแล้วเสร็จบริบูรณ์ และผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้างหรือจากผู้รับจ้างรายใหม่ ใน กรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาตามข้อ 7 หากมีเหตุชํารุดบกพร่องหรือเสียหายเกิดขึ้นจากการจ้างนี้ ภายในกําหนด 2 (สอง) ปี - เดือน นับถัดจากวันที่ได้รับมอบงานดังกล่าว ซึ่งความชํารุดบกพร่องหรือเสียหายนั้นเกิดจากความ บกพร่องของผู้รับจ้างอันเกิดจากการใช้วัสดุที่ไม่ถูกต้องหรือทําไว้ไม่เรียบร้อย หรือทําไม่ถูกต้องตามมาตรฐานแห่ง หลักวิชา ผู้รับจ้างจะต้องรีบทําการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยโดยไม่ชักช้า โดยผู้ว่าจ้างไม่ต้องออกเงินใดๆ ในการนี้ทั้งสิ้น หากผู้รับจ้างไม่กระทําการดังกล่าวภายในกําหนด 7 (เจ็ด) วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง หรือไม่ทําการแก้ไขให้ถูกต้องเรียบร้อยภายในเวลาที่ผู้ว่าจ้างกําหนด ให้ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะทําการนั้นเอง หรือจ้าง ผู้อื่นให้ทํางานนั้น โดยผู้รับจ้างต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้น ในกรณีเร่งด่วนจําเป็นต้องรีบแก้ไขเหตุชํารุดบกพร่องหรือเสียหายโดยเร็ว และไม่อาจรอให้ผู้รับ จ้างแก้ไขในระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่งได้ ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเข้ าจัดการแก้ไขเหตุชํารุดบกพร่องหรือเสียหาย นั้นเอง หรือจ้างผู้อื่นให้ซ่อมแซมความชํารุดบกพร่องหรือเสียหาย โดยผู้รับจ้างต้องรับผิดชอบชําระค่าใช้จ่ายทั้งหมด การที่ผู้ว่าจ้างทําการนั้นเอง หรือจ้างผู้อื่นให้ทํางานนั้นแทนผู้รับจ้าง ไม่ทําให้ผู้รับจ้างหลุดพ้นจาก ความรับผิดตามสัญญา หากผู้รับจ้างไม่ชดใช้ค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายตามที่ผู้ว่าจ้างเรียกร้องผู้ว่าจ้างมีสิทธิบังคับจาก หลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาได้

  • การรับประกันความชํารุดบกพร่อง ผู้ชนะการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งได้ทำสัญญาจ้าง ตามแบบ ดังระบุในข้อ ๑.๓ หรือข้อตกลงจ้างเป็นหนังสือแล้วแต่กรณี จะต้องรับประกันความชำรุดบกพร่องของงานจ้างที่เกิดขึ้นภายใน ระยะเวลา ไม่น้อยกว่า ๒ ปี นับถัดจากวันที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับมอบงาน โดยต้องรีบจัดการ ซ่อมแซมแก้ไขให้ใช้การได้ดีดังเดิมภายใน ๑๕ วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งความชำรุดบกพร่อง

  • เงินค่าจ้างล่วงหน้า ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่ผู้รับจ้างเป็นจํานวนเงิน - บาท ซึ่งเท่ากับร้อย ละ - ของราคาค่าจ้าง ตามสัญญาที่ระบุไว้ ในข้อ ๔ เงินค่าจ้างล่วงหน้าดังกล่าวจะจ่ายให้ภายหลังจากที่ผู้รับจ้างได้วางหลักประกันการรับเงิน ค่าจ้างล่วงหน้าเป็น....................เต็มตามจํานวนเงินค่าจ้างล่วงหน้านั้นให้แก่ผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้างจะต้องออก ใบเสร็จรับเงินค่าจ้างล่วงหน้า ตามแบบที่ผู้ว่าจ้างกําหนดให้ และผู้รับจ้างตกลงที่จะกระทําตามเงื่อนไขอัน เกี่ยวกับการใช้จ่ายและการใช้คืนเงินค่าจ้างล่วงหน้านั้นดังต่อไปนี้ ๕.๑ ผู้รับจ้างจะใช้เงินค่าจ้างล่วงหน้านั้นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานตามสัญญา เท่านั้นหากผู้รับจ้างใช้จ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้า หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของเงินค่าจ้างล่วงหน้านั้นในทางอื่นผู้ ว่าจ้างอาจจะเรียกเงินค่าจ้างล่วงหน้านั้นคืนจากผู้รับจ้างหรือบังคับเอาจากหลักประกันการรับเงินค่าจ้าง ล่วงหน้าได้ทันที ๕.๒ เมื่อผู้ว่าจ้างเรียกร้อง ผู้รับจ้างต้องแสดงหลักฐานการใช้จ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าเพื่อ พิสูจน์ว่าได้เป็นไปตามข้อ ๕.๑ ภายในกําหนด ๑๕ (สิบห้า) วัน นับถัดจากวันได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ ว่าจ้างหากผู้รับจ้างไม่อาจแสดงหลักฐานดังกล่าวภายในกําหนด ๑๕ (สิบห้า) วัน ผู้ว่าจ้างอาจเรียกเงินค่าจ้าง ล่วงหน้านั้นคืนจากผู้รับจ้าง หรือบังคับเอาจากหลักประกันการรับเงินค่าจ้างล่วงหน้าได้ทันที ๕.๓ ในการจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างตามข้อ ๔ ผู้ว่าจ้างจะหักเงินค่าจ้างในแต่ละงวด เพื่อชดใช้คืนเงินค่าจ้างล่วงหน้าไว้จํานวนร้อยละ - ของจํานวนเงินค่าจ้างในแต่ละงวดจนกว่าจํานวนเงินไว้จะ ครบตามจํานวนเงินที่หักค่าจ้างล่วงหน้าที่ผู้รับจ้างได้รับไปแล้ว ยกเว้นค่าจ้างงวดสุดท้ายจะหักไว้เป็นจํานวน เท่ากับจํานวนเงินค่าจ้างล่วงหน้าที่เหลือทั้งหมด ๕.๔ เงินจํานวนใด ๆ ก็ตามที่ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อชําระหนี้หรือเพื่อชดใช้ ความรับผิดต่างๆ ตามสัญญา ผู้ว่าจ้างจะหักเอาจากเงินค่าจ้างงวดที่จะจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างก่อนที่จะหักชดใช้คืน เงินค่าจ้างล่วงหน้า ๕.๕ ในกรณีที่มีการบอกเลิกสัญญา หากเงินค่าจ้างล่วงหน้าที่เหลือเกินกว่าจํานวนเงินที่ผู้ รับจ้างจะได้รับหลังจากหักชดใช้ในกรณีอื่นแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายคืนเงินจํานวนที่เหลือนั้นให้แก่ผู้ว่าจ้าง ภายใน ๗ (เจ็ด) วัน นับถัดจากวันได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง ๕.๖ ผู้ว่าจ้างจะคืนหลักประกันการรับเงินค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่ผู้รับจ้างต่อเมื่อผู้ว่าจ้างได้หัก เงินค่าจ้างไว้ครบจํานวนเงินค่าจ้างล่วงหน้าตามข้อ ๕.๓ (ข)

  • ความรับผิดของผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุ ความเสียหาย หรือภยันตรายใด ๆ อันเกิดจากการปฏิบัติงาน ของผู้รับจ้าง และจะต้องรับผิดต่อความเสียหายจากการกระทําของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับจ้าง และจากการ ปฏิบัติงานของผู้รับจ้างช่วงด้วย (ถ้ามี) ความเสียหายใดๆ อันเกิดแก่งานที่ผู้รับจ้างได้ทําขึ้น แม้จะเกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัยก็ตาม ผู้รับ จ้างจะต้องรับผิดชอบโดยซ่อมแซมให้คืนดีหรือเปลี่ยนให้ใหม่โดยค่าใช้จ่ายของผู้รับจ้างเอง เว้นแต่ความเสียหายนั้น เกิดจากความผิดของผู้ว่าจ้าง ทั้งนี้ ความรับผิดของผู้รับจ้างดังกล่าวในข้อนี้จะสิ้นสุดลง เมื่อผู้ว่าจ้างได้รับมอบงาน ครั้งสุดท้าย ซึ่งหลังจากนั้นผู้รับจ้างคงต้องรับผิดเพียงในกรณีชํารุดบกพร่อง หรือความเสียหายดังกล่าวในข้อ 8 เท่านั้น ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในความเสียหายใดๆ อันเกิดจากการปฏิบัติงานของผู้ รับจ้าง หรือลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับจ้าง รวมถึงผู้รับจ้างช่วง (ถ้ามี) ตามสัญญานี้ หากผู้ว่าจ้างถูกเรียกร้องหรือ ฟ้องร้องหรือต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องดําเนินการใด ๆ เพื่อให้มีการว่าต่างแก้ต่าง ให้แก่ผู้ว่าจ้างโดยค่าใช้จ่ายของผู้รับจ้างเอง รวมทั้งผู้รับจ้างจะต้องชดใช้ค่าเสียหายนั้น ๆ ตลอดจนค่าใช้จ่ายใด ๆ อันเกิดจากการถูกเรียกร้องหรือถูกฟ้องร้องให้แก่ผู้ว่าจ้างทันที

  • ความคุ้มครอง ในขณะท่ีผเู้ อาประกน ภยั ไดร้ ับความคุม ครองตามกรมธรรมป ระกน ภยั น้ี หากผเู้ อาประกน ภยั ไดร้ ับบาดเจ็บหรือเจ็บป่ วยที่ เกิดข้ึนอย่างกะทน หันหรือเฉียบพลน และไม่สามารถคาดการณ์ได้ ซ่ึงเกิดข้ึนในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภยจนเป็ นเหตุให้ต้อง ไดร้ ับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล สถานพยาบาลเวชกรรม หรือคลินิกในต่างประเทศไม่วาจะในฐานะผปู้ ่ วยในหรือผปู้ ่ วยนอก บริษทจะจ่ายค่าทดแทน ส˚าหรับค่าใช้จ่ายท่ีจา˚ เป็ นและสมควรซึ่งเกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลตามความจา˚ เป็ นทาง การแพทยแ ละมาตรฐานทางการแพทยต ามจา˚ นวนเงินที่ตอ งจ่ายจริง แต่ไม่เกินจา˚ นวนเงินเอาประกน ภยตามที่ระบุไวใ้ นตาราง กรมธรรมป ระกน ภยั ใหแ ก่ผเู้ อาประกนภย ค่าใชจ่ายเพื่อการรักษาพยาบาลที่คุมครอง มีดงั ต่อไปน้

  • หมายเหตุ รูปแบบการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนา ตามแบบ PA 1 ให้เป็นไปตามบริบท และสภาพการจัดการเรียนรู้ของแต่ละสถานศึกษา โดยความเห็นชอบร่วมกันระหว่างผู้อำนวยการสถานศึกษา และข้าราชการครูผู้จัดทำข้อตกลง

  • การส่งมอบ ผู้ขายจะส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายตามสัญญาให้แก่ผู้ซื้อ ณ กองยุทธศา^ตร์และงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ภายในวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๔๖๔ ให้ถูกต้องและครบถ้วนตามที่กำหนดไวิในข้อ ๑ แห่งสัญญานี้ พร้อมทั้งหีบห่อหรือเครื่องรัดพันผูกโดยเรียบร้อย การส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้ใม่ว่าจะเป็นการส่งมอบเพียงครั้งเดียว หรือส่งมอบหลายครั้ง ผู้ขายจะต้องแจ้งกำหนดเวลาส่งมอบแต่ละครั้งโดยทำเป็นหนังสือนำไปยื่นต่อผู้ซื้อ ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ในวันและเวลาทำการของผู้ซื้อ ก่อนวันส่งมอบไม,น้อยกว่า ๓ (สาม) วันทำการของผู้ซื้อ

  • การชําระเงิน (13 ก) ผู้ซ้ือตกลงชําระเงินค่าสิ่งของตามข้อ ๑ ให้แก่ผู้ขาย เมื่อผู้ซื้อได้รับมอบสิ่งของ ตามข้อ ๕ ไว้โดยครบถ้วนแล้ว (13 ข) ผู้ซื้อตกลงชําระเงินค่าส่ิงของตามข้อ ๑ ใหแก่ผู้ขาย ดังน้ี ๖.๑ เงินล่วงหน้า จํานวน……....................บาท (… ) จะจ่ายให้ภายใน…….…............(…….........……….) วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา ทั้งน้ี โดยผู้ขายจะต้องนํา หลักประกันเงินล่วงหน้าเป็น (หนังสือคํ้าประกันหรือหนังสือค้ําประกันอิเล็กทรอนิกส์ของ ธนาคารภายในประเทศหรือพ ธบัตรรัฐบาลไทย)… เต็มตามจํานวนเงินล่วงหน้าท่ีจะได้รับ มามอบ ให้แก่ผู้ซื้อเป็นหลักประกันการชําระคืนเงินล่วงหน้าก่อนการรับชําระเงินล่วงหน้าน้ัน และผู้ซื้อจะคืน หลกประกันเงินล่วงหน้าให้แก่ผ ายเม่ ผู้ซื้อจ่ายเง ที่เหลือตามข

  • การควบคุมงานของผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างจะต้องควบคุมงานที่รับจ้างอย่างเอาใจใส่ ด้วยประสทธิภาพและความชำนาญ และในระหว่างทำงานที่ รับจ้างจะต้องจัดให้มีผู้แทนซึ่งทำงานเต็มเวลาเป็นผู้รับผิดชอบควบคุมงานของ ผู้รับจา้ ง ผู้แทนดังกล่าวจะต้องได้รับมอบอำนาจจากผู้ รับจ้าง คำสั่งหรือคำแนะนำต่างๆ ที่ผู้ว่าจ้าง คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ผู้ควบคุมงาน หรือบริษัทที่ปรึกษาที่ผู้วา่ จ้างแต่งตั้ง ได้แจ้งแก่ ผู้แทนเช่นว่านั้น ให้ถือว่าเป็นคำสั่งหรือคำแนะนำที่ได้แจ้งแก่ผู้รับจ้าง การแต่งตั้งผู้แทนตามข้อนี้จะต้องทำเป็นหนงสือและต้องได้รับความ เห็นชอบเป็นหนังสือ จากผู้ว่าจ้าง การเปลี่ยนตัวหรือแต่งตั้งผู้แทนใหม่จะทำมิได้หากไม่ได้รับความเห็นชอบ เป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้างก่อน ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะขอให้เปลี่ยนตัวผู้แทนตามวรรคหนึ่ง โดยแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้รับจ้าง และผู้รับจ้างจะต้องทำ การเปลี่ยนตัวผู้แทนนั้นโดยพลัน โดยไม่คิดค่าจ้างหรือราคาเพิ่มหรืออ้างเป็นเหตุเพื่อขยายอายุสัญญาอันเนื่องมาจากเหตุนี้

  • ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน ............. ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้ กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา................................ จำนวน ............. ชั่วโมง/สัปดาห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา................................ จำนวน ............. ชั่วโมง/สัปดาห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา................................ จำนวน ............. ชั่วโมง/สัปดาห์ 1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน ............. ชั่วโมง/สัปดาห์ 1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน ............. ชั่วโมง/สัปดาห์ 1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน ............. ชั่วโมง/สัปดาห์