สมมติฐานของการศึกษา ข้อกำหนดตัวอย่าง

สมมติฐานของการศึกษา. การบอกเลิกสัญญาจ้างของนายจ้าง หากเป็นสัญญาจ้างแรงงานที่มีกําหนดระยะเวลา เป็นประโยชน์กับตัวนายจ้างมากกว่าสัญญาจ้างไม่มีกําหนดระยะเวลา เนื่องจากทําให้นายจ้างสามารถ ทําการเลิกจ้างลูกจ้างได้ตามอําเภอใจ แต่ในทางกลับกันสัญญาดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบให้ลูกจ้างไม่ มีความมั่นคงในการทํางานอันเป็นการส่งผลกระทบต่อลูกจ้างโดยตรง จึงควรมีการกําหนดให้นายจ้าง ต้องทําสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกําหนดระยะเวลาเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตาม การเลิกสัญญาจ้าง แรงงานที่ไม่มีกําหนดระยะเวลาของนายจ้างไม่มีกฎหมายที่กําหนดให้ต้องทําตามแบบและเหตุที่ นายจ้างสามารถนํามาใช้เพื่ออ้างเป็นเหตุในการบอกเลิกจ้างแก่ลูกจ้างเอาไว้ กฎหมายเพียงแต่ กําหนดให้นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างทราบหนึ่งช่วงระยะเวลาการจ่ายค่าจ้าง โดย ระยะเวลาการบอกกล่าวล่วงหน้ามีเพียงแค่ระยะเวลาเดียวแม้ลูกจ้างจะทํางานให้แก่นายจ้างมาเป็น ระยะเวลานานเพียงใดก็ตาม ดังนั้น ถ้าหากมีการกําหนดเหตุผลอันสมควรในการเลิกจ้างไว้ใน บทบัญญัติกฎหมายอย่างชัดเจนและมีการกําหนดระยะเวลาการบอกกล่าวล่วงหน้าให้สอดคล้องกับ ระยะเวลาการทํางานของลูกจ้างก็จะเป็นการคุ้มครองลูกจ้างในการทํางานให้แก่นายจ้างโดยที่ลูกจ้าง จะไม่ถูกนายจ้างเลิกจ้างได้ตามอําเภอใจ และถ้าหากมีการเลิกจ้าง นายจ้างก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย อย่างเป็นระบบ ซึ่งทําให้ลูกจ้างก็ได้รับความเป็นธรรมสูงสุด
สมมติฐานของการศึกษา. สปป ลาวเป็นประเทศด้อยพัฒนา การผลิตสินค้าเพื่อขายในประเทศยังไม่พอต่อความต้องการ ของตลาด ทั้งยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพของสินค้ายังไม่ได้มาตรฐานสากลและสินค้าหลายประเภทยังไม่ สามารถผลิตได้เอง สินค้าส่วนมากจึงนําเข้ามาจากต่างประเทศ ดังนั้น อํานาจต่อรองจึงมักด้อยกว่า ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยคู่สัญญาจากต่างประเทศมีแนวโน้มที่จะไม่เลือกใช้กฎหมายของ สปป ลาว ซึ่ง คู่สัญญาจาก สปป ลาว ก็ไม่มีความเข้าใจและไม่คุ้นเคยกับกฎหมายภายในของประเทศคู่ค้าของตนแต่ อย่างใด อาจก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายและอาจต้องเสียเปรียบจากความ ไม่คุ้นเคยต่อกฎหมายของต่างประเทศที่นํามาบังคับใช้ดังกล่าว ฉะนั้น อนุสัญญาฯ จึงเป็นทางเลือกที่ดี สําหรับ สปป ลาว เนื่องจากอนุสัญญาฯ ได้รับการยอมรับจากประเทศต่างๆ ในโลกว่าเกิดขึ้นจากการ ทํางานของนักกฎหมายคนสําคัญของโลกและมาจากหลายระบบกฎหมาย ระบบเศรษฐกิจและสังคม ทั้ง ยังได้รับการเชื่อถือว่ามีหลักการที่พยายามรักษาสิทธิผลประโยชน์ของผู้ซื้อและผู้ขายอย่างเท่าเทียมกัน และประนีประนอมหลักกฎหมายทั้งจากระบบซีวิลลอว์และคอมมอนลอว์ ดังนั้น สปป ลาวควรเข้าเป็น ภาคี และในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ นั้นอาจจะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับสัญญาซื้อขาย ให้สอบคล้องกับอนุสัญญาฯ หรืออาจจะอนุวัติการอนุสัญญาฯ มาเป็นกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับสัญญา ซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศของ สปป ลาว ดังนั้น หาก สปป ลาวเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ย่อมส่งผลให้ สปป ลาวมีกฎหมายที่ใช้บังคับกับ สัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะและมีกฎหมายที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับประเทศภาคี อื่น ซึ่งมีจํานวนถึง 84 ประเทศ1ที่สําคัญประเทศภาคีหลายประเทศจัดว่าเป็นประเทศเศรษฐกิจสําคัญ ของโลกและเป็นประเทศคู่ค้าสําคัญของ สปป ลาว เช่น ประเทศจีน ประเทศเวียดนาม ประเทศญี่ปุ่น การที่ สปป ลาวยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ นั้นเป็นเพราะว่าอนุสัญญาฯ เป็นสิ่งใหม่ และยังไม่เป็นที่ รู้จักในวงกว้างสําหรับพ่อค้าหรือนักกฎหมายของ สปป ลาว เนื่องจากว่า อนุสัญญาฯ ได้ถูกนํามาเผยแพร่ ใน สปป ลาวเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2016 นี้เอง ดังนั้น สปป ลาว จึงจําเป็นต้องใช้ระยะเวลา ในระดับหนึ่งเพื่อทําการศึกษาและเผยแพร่หลักการต่างๆ ของอนุสัญญาฯ ให้กับนักกฎหมายและพ่อค้า ของ สปป ลาว เพื่อนําไปสู่การเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ต่อไป
สมมติฐานของการศึกษา. หลักการตามกฎหมายที่มีอยู่แต่เดิมนั้นยังไม่สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติในเรื่องสัญญาซื้อ ขายสินค้าระหว่างประเทศของต่างประเทศที่กระท าอยู่ การศึกษาและท าความเข้าใจจะสามารถช่วย ในการแก้ปัญหาและลดอุปสรรคของการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศได้ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการค้า และเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น การท าให้เรื่องค าเสนอค าสนองให้ชัดเจนจะท าให้สามารถ สร้างความเชื่อมั่นในการท าสัญญาการซื้อขายระหว่างประเทศและการปรับปรุงเรื่องพยานหลักฐาน เป็นหนังสือจะช่วยในเรื่องสิทธิการฟ้องคดีและการชั่งน้ าหนักพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณา คดีได้ดีขึ้น วิทยานิพนธ์ ฉบับนี้เป็นการค้นคว้าวิจัยทางกฎหมาย (Legal Research) รวบรวมข้อมูล เอกสารทางกฎหมาย บทความ และค าพิพากษาของกฎหมายไทย ในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบ หลักกฎหมายเกี่ยวกับการเกิดสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ โดยศึกษาเปรียบเทียบทั้งกฎหมายไทย และกฎหมายต่างประเทศ เป็นการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลในลักษณะของการวิจัยเอกสาร (Documentary Research)

Related to สมมติฐานของการศึกษา

  • การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการ สำนักงาน สามารถนำผลการปฏิบัติงานแล้วเสร็จตามสัญญาของผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้รับการ คัดเลือกให้เป็นผู้รับจ้างเพื่อนำมาประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการ ทั้งนี้ หากผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้รับการคัดเลือกไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดจะถูกระงับการยื่น ข้อเสนอหรือทำสัญญากับสำนักงาน ไว้ชั่วคราว

  • หมายเหตุ 1. รูปแบบการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนา ตามแบบ PA 1 ให้เป็นไปตามบริบท และสภาพการจัดการเรียนรู้ของแต่ละสถานศึกษา โดยความเห็นชอบร่วมกันระหว่างผู้อำนวยการสถานศึกษา และข้าราชการครูผู้จัดทำข้อตกลง

  • แบบรูปและรายการละเอียดคลาดเคลื่อน ผู้รับจ้างรับรองว่าได้ตรวจสอบและทําความเข้าใจในแบบรูปและรายการละเอียดโดยถี่ถ้วนแล้ว หากปรากฏว่าแบบรูปและรายการละเอียดนั้นผิดพลาด หรือคลาดเคลื่อนไปจากหลักการทางวิศวกรรมหรือทาง เทคนิค ผู้รับจ้างตกลงที่จะปฏิบัติตามคําวินิจฉัยของผู้ว่าจ้าง คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ผู้ควบคุมงาน หรือบริษัทที่ ปรึกษาที่ผู้ว่าจ้างแต่งตั้ง เพื่อให้งานแล้วเสร็จบริบูรณ์ คําวินิจฉัยดังกล่าว ให้ถือเป็นที่สุด โดยผู้รับจ้างจะคิดค่าจ้าง ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มขึ้นจากผู้ว่าจ้าง หรือขอขยายอายุสัญญาไม่ได้

  • หลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา ในขณะทําสัญญานี้ผู้รับจ้างได้นําหลักประกันเป็น…………..…...…..…....………..……… เป็นจํานวนเงิน ……......…....บาท (………….…..………….) ซึ่งเท่ากับร้อยละ 5 (ร้อยละห้า) ของราคาค่าจ้างตามสัญญา มามอบ ให้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญานี้ กรณีผู้รับจ้างใช้หนังสือค้ําประกันมาเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา หนังสือค้ําประกัน ดังกล่าวจะต้องออกโดยธนาคารที่ประกอบกิจการในประเทศไทย หรือโดยบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ําประกันตามประกาศของธนาคารแห่ง ประเทศไทย ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ทราบตามแบบที่คณะกรรมการ นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐกําหนด หรืออาจเป็นหนังสือค้ําประกันอิเล็กทรอนิกส์ตาม วิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนดก็ได้ และจะต้องมีอายุการค้ําประกันตลอดไปจนกว่าผู้รับจ้างพ้นข้อผูกพันตามสัญญา นี้ หลักประกันที่ผู้รับจ้างนํามามอบให้ตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีอายุครอบคลุมความรับผิดทั้งปวงของผู้ รับจ้างตลอดอายุสัญญา ถ้าหลักประกันที่ผู้รับจ้างนํามามอบให้ดังกล่าวลดลงหรือเสื่อมค่าลง หรือมีอายุไม่ครอบคลุม ถึงความรับผิดของผู้รับจ้างตลอดอายุสัญญา ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม รวมถึงกรณี ผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้าเป็นเหตุ ให้ระยะเวลาแล้วเสร็จหรือวันครบกําหนดความรับผิดในความชํารุดบกพร่องตามสัญญาเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเกิดขึ้น คราวใด ผู้รับจ้างต้องหาหลักประกันใหม่หรือหลักประกันเพิ่มเติมให้มีจํานวนครบถ้วนตามวรรคหนึ่งมามอบให้แก่ ผู้ว่าจ้างภายใน 7 วัน (เจ็ดวัน) นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง หลักประกันที่ผู้รับจ้างนํามามอบไว้ตามข้อนี้ ผู้ว่าจ้างจะคืนให้แก่ผู้รับจ้างโดยไม่มีดอกเบี้ยเมื่อ ผู้รับจ้างพ้นจากข้อผูกพันและความรับผิดทั้งปวงตามสัญญานี้แล้ว

  • หลักฐานการยื่นข้อเสนอ ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องเสนอเอกสารหลักฐานยื่นมาพร้อมกับการเสนอราคาทางระบบจัดซื้อจัดจ้าง ภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ โดยแยกเป็น ๒ ส่วน คือ

  • สิทธิของผู้ว่าจ้างภายหลังบอกเลิกสัญญา ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญา ผู้ว่าจ้างอาจทํางานนั้นเองหรือว่าจ้างผู้อื่นให้ทํางานนั้นต่อจนแล้ว เสร็จก็ได้ ผู้ว่าจ้างหรือผู้ที่รับจ้างทํางานนั้นต่อมีสิทธิใช้เครื่องใช้ในการก่อสร้าง สิ่งที่สร้างขึ้นชั่วคราวสําหรับงาน ก่อสร้าง และวัสดุต่างๆ ซึ่งเห็นว่าจะต้องสงวนเอาไว้เพื่อการปฏิบัติงานตามสัญญาตามที่จะเห็นสมควร ในกรณีดังกล่าว ผู้ว่าจ้างมีสิทธิริบหรือบังคับจากหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา ทั้งหมดหรือ บางส่วนตามแต่จะเห็นสมควร นอกจากนั้นผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชอบในค่าเสียหายซึ่งเป็นจํานวนเกินกว่าหลัก ประกันการปฏิบัติตามสัญญา รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการทํางานนั้นต่อให้แล้วเสร็จตามสัญญา ตลอดจนค่าใช้จ่าย ในการควบคุมงานเพิ่ม (ถ้ามี) ซึ่งผู้ว่าจ้างจะหักเอาจากเงินประกันผลงานหรือจํานวนเงินใด ๆ ที่จะจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างก็ได้

  • ความรับผิดของผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุ ความเสียหาย หรือภยันตรายใด ๆ อันเกิดจากการปฏิบัติงาน ของผู้รับจ้าง และจะต้องรับผิดต่อความเสียหายจากการกระทําของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับจ้าง และจากการ ปฏิบัติงานของผู้รับจ้างช่วงด้วย (ถ้ามี) ความเสียหายใดๆ อันเกิดแก่งานที่ผู้รับจ้างได้ทําขึ้น แม้จะเกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัยก็ตาม ผู้รับ จ้างจะต้องรับผิดชอบโดยซ่อมแซมให้คืนดีหรือเปลี่ยนให้ใหม่โดยค่าใช้จ่ายของผู้รับจ้างเอง เว้นแต่ความเสียหายนั้น เกิดจากความผิดของผู้ว่าจ้าง ทั้งนี้ ความรับผิดของผู้รับจ้างดังกล่าวในข้อนี้จะสิ้นสุดลง เมื่อผู้ว่าจ้างได้รับมอบงาน ครั้งสุดท้าย ซึ่งหลังจากนั้นผู้รับจ้างคงต้องรับผิดเพียงในกรณีชํารุดบกพร่อง หรือความเสียหายดังกล่าวในข้อ 8 เท่านั้น ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในความเสียหายใดๆ อันเกิดจากการปฏิบัติงานของผู้ รับจ้าง หรือลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับจ้าง รวมถึงผู้รับจ้างช่วง (ถ้ามี) ตามสัญญานี้ หากผู้ว่าจ้างถูกเรียกร้องหรือ ฟ้องร้องหรือต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องดําเนินการใด ๆ เพื่อให้มีการว่าต่างแก้ต่าง ให้แก่ผู้ว่าจ้างโดยค่าใช้จ่ายของผู้รับจ้างเอง รวมทั้งผู้รับจ้างจะต้องชดใช้ค่าเสียหายนั้น ๆ ตลอดจนค่าใช้จ่ายใด ๆ อันเกิดจากการถูกเรียกร้องหรือถูกฟ้องร้องให้แก่ผู้ว่าจ้างทันที

  • ค่าปรับ หากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาและผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิก สัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็น จำนวนเงินวันละ ๑๖,๗๘๓.๒๒ บาท (หนึ่งหมื่นหกพันเจ็ดร้อยแปดสิบสาม บาทยี่สิบสองสตางค์) และจะต้องชำระค่าใช้จ่ายในการควบคุมงาน (ถ้ามี) ในเมื่อผู้ว่าจ้าง ต้องจ้างผู้ควบคุมงานอีกต่อหนึ่งเป็น จำนวนเงินวันละ...................... บาท (..................... ) นับถัดจากวันที่ครบกำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานตามสัญญาหรือวันที่ผู้ ว่าจ้างได้ขยายเวลาทำงานให้ จนถึงวันที่ทำงานแล้วเสร็จจริง นอกจากนี้ ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกค่าเสียหายอับเกิดขึ้นจาก ^ การที่ผู้รับจ้างทำงานล่าช้าเฉพาะส่วนที่เกินกว่าจำนวนค่าปรับและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้อีกด้วย ในระหว่างที่ผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญานั้น หากผู้ว่าจ้างเห็นว่าผู้รับจ้าง จะไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญา ต่อไปได้ ผู้ว่าจ้างจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิตามข้อ ๑๘ ก็ได้ และถ้าผู้ว่าจ้างได้แจ้งข้อเรียกร้องไปยังผู้รับจ้างเมื่อครบ กำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานขอให้ชำระค่าปรับแล้ว ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะปรับผู้รับจ้างจนถึงวันบอกเลิกสัญญาได้อีกด้วย

  • อัตราค่าปรับ ค่าปรับตามสัญญาจ้างแนบท้ายเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์นี้ หรือข้อตกลงจ้างเป็น หนังสือจะกําหนด ดังนี้

  • การตรวจงานจ้าง ถ้าผู้ว่าจ้างแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ผู้ควบคุมงาน หรือบริษัท ที่ปรึกษา เพื่อควบคุมการทำงานของผู้ รับจ้าง คณะกรรมการตรวจ รับพัสดุ ผู้ควบคุมงาน หรือบริษัทที่ปรึกษานนั้ มีอำนาจเข้าไปตรวจการงานในโรงงานและสถานที่ก่อสร้างได้ ทุกเวลา และผู้รับจ้างจะต้องอำนวยความสะดวกและให้ความชวยเหลือในการนั้นตามสมควร การที่มีคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ผู้ควบคุมงาน หรือบริษัทที่ปรึกษานั้น หาทำให้ผู้รับจ้างพน้ ความรับผิดชอบ ตามสัญญานี้ข้อใดข้อหนึ่งไม่