สัญญาเลขที่ RDG60A0011
รายงานxxxxxxxxxx
โครงการ “นวต
กรรมการจด
การงานวิจย
เชิงพื้นที่
เพื่อพฒนาจงxxxxxปาง”
ผ้ช
โดย
xxxxxxxxxxxxxx xx.อภิรก
xx xx
เสนา และคณะ
พฤษภาคม พ.ศ. 2561
รายงานxxxxxxxxxx
โครงการ “นวต
กรรมการจด
การงานวิจย
เชิงพื้นท่ี
เพื่อพฒนาจงxxxxxปาง”
คณะผ้ว
ิจย
สงกด
1. ผxx
xxxxxxxxxxxxx xx.xxx
กษ์ ชยเสนา รองอธก
ารบดฝ
ายวจย
และบณ
ฑตศกษา
2. อาจารย์ xx.xxxxx พท
ธวงศ์ ผอู
านวยการสถาบนวจ
ยและพฒนา
3. ผxx
xxxxxxxxxxxxx xx
xx xxxxxxx
รองผอู
านวยการสถาบนวจ
ยและพฒนา
4. อาจารยxxxxx คชxxxx xxxผอู
านวยการสถาบนวจ
ยและพฒนา
โครงการ “นวต
กรรมการจด
การงานวิจย
เชิงพื้นที่
เพื่อพฒนาจงxxxxxปาง
สนับสนุนโดย สา
นักงานกองทน
สนับสนุนการวิจย
(สกว.)
(ความเหน
ในรายงานนี้เป็ นของผว้
ิจย
สกว.ไม่จา
เป็ นต้องเหน
ด้วยเสมอไป)
xxxนํำ
รายงานฉบับxxxxxxx โครงการ “นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปาง” ฉบับนี้จัดทําขึ้น เพื่อรายงานผลการดําเนินวิจัยตลอดระยะเวลา 1 ปี 4 เดือนที่ผ่านมา ประกอบด้วยเนื้อหา ดังนี้ บทนําหรือบทที่ 1 กล่าวถึงหลักการและเหตุผล บทที่ 2 เกี่ยวข้องกับแนวคิด ทฤษฏี และงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 การดําเนินงานด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัย บทที่ 4 การดําเนินงาน ด้านการวิจัยเพื่อตอบโจทย์ของพื้นที่และผลลัพธ์ และบทที่ 5 สรุปภาพร่วมผลการดําเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ
คณะผู้จัดทําxxxxxxxxอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับxxxxxxx“โครงการนวัตกรรมการจัดการงานวิจัย เชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปาง” ฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และxxxxxxx ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯต่อไป
ท้ายนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง ขอขอบพระคุณ ผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ของสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทุกท่าน ที่ให้โอกาสผู้บริหาร นักวิจัยของมหาวิทยาลัย ราชภัฏลําปางได้ทํางานวิจัยเชิงพื้นที่ที่มีคุณค่าครั้งนี้ ประสบการณ์การดําเนินงาน ตลอดจนข้อเสนอแนะ จากท่านผู้ทรงทุกท่านมีคุณค่ายิ่งต่อการดําเนินงานวิจัยเชิงพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปางต่อไป
คณะผู้จัดทํา พฤษภาคม 2561
บทสรุปผู้บรหาร
สัญญาเลขที่ RDG60A0011
ชื่อโครงการ นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปาง หัวหน้าโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ xx.xxxxxxxx xxxxxxx
หน่วยงานต้นสังกัด มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง
ระยะเวลาดําเนินการ 1 ปี 4 เดือน (ตั้งแต่xxxxxx 1 กุมภาพันธ์ 2560 ถึง
xxxxxx 31 พฤษภาคม 2561)
โครงการนวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปางเกิดขึ้นจาก ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง และสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) xxxxxxเล็งเห็นความสําคัญของการพัฒนาชุมชน xxxxxxxxเพื่อยกระดับชีวิตxxxxxขึ้นด้วยนวัตกรรม ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปางได้มีการวิเคราะห์สถานการณ์ สภาพปัญหา ความต้องการของชุมชน มาโดยตลอด ทั้งรูปแบบการจัดเวทีเสวนา การรวบรวมข้อมูลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง นักวิจัย รวมถึงนโยบายทั้งระดับชาติและxxxxxxxx xxxค้นพบว่า จังหวัดลําปางมีผลิตภัณฑ์มากมาย ทั้งประเภทของกิน ของใช้ สินค้าที่มีความโดดxxxxxxxมีความเชื่อมโยงกับประวัติความเป็นมา รวมถึงอัตลักษณ์ xxxxxxxxxของพื้นที่ มีหลากหลายชนิด ที่ยังต้องการพัฒนาให้มีคุณภาพ มาตรฐาน รวมxxxxxxxxxxxxxxให้xxอยู่กับxxxxxxxx ได้แก่ ข้าวแต๋น xxxxมิก ผ้าทอกี่กระตุก น้ําxx xxด ไข่เค็ม เห็ด ตะเกียบนอกจากนั้นยังมีผลิตภัณฑ์xxxxxxความxxxx และต้องการยกระดับให้เป็นพืชเศรษฐกิจ ของจังหวัดลําปาง คือ xxxคาเดเมีย ดังนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปางจึงเสนอโครงการฯดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อพัฒนาและสนับสนุนการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม ที่ตอบxxxxการแก้ปัญหาและพัฒนาตามโจทย์ของชุมชนในพื้นที่จังหวัดลําปางและตอบxxxx นโยบายการขับเคลื่อน Thailand 4.0 ด้วยการวิจัยและนวัตกรรม 2) เพื่อพัฒนาระบบจัดการงานวิจัย ของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ในการบริหารจัดการงานวิจัยทั้งต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา รวมทั้ง เชื่อมโยงงานวิจัยให้เกิดประโยชน์กับการปรับการเรียนการสอนและบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย ที่จะนําไปสู่การสร้างความโดดเด่น/จุดเน้นของมหาวิทยาลัยในxxxxx และ3) เพื่อพัฒนาระบบพี่เลี้ยง สนับสนุนที่เอื้อให้xxxxxxxพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัย และการทํางานวิจัยรับ ใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน xxxxxxxเป็นสินค้า OTOP และยังไม่เป็น OTOP xxxxxxxการยอมรับ โดยการสร้างxxxxxxxxxxx หรือลดต้นทุนการผลิต xxxxxxx Young Enterprise นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายเพื่อ xxxxxxการxxxxxxxxระบบ กลไกการบริหารจัดการ งานวิจัยทั้งระดับมหาวิทยาลัย และระดับคณะ เพื่อเป้าหมายดังกล่าว มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา จึงได้ใช้แนวคิด การมีส่วนร่วม (Participation) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมกับ การบริหารจัดการแบบครบวงจรหรือที่รู้จักในนามของ PDCA อันประกอบด้วย การวางแผน (Plan) การปฏิบัติการ (Do) การติดตาม (Check) และการนําสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป (Action)
ดําเนินการตั้งแต่ต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา โดยมีกรอบการวิจัย 3 ส่วนได้แก่ 1) กรอบการพัฒนา และสนับสนุนการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมที่ตอบxxxxการแก้ปัญหาและพัฒนาตามโจทย์ ของชุมชนในพื้นที่จังหวัดลําปางและตอบxxxxนโยบายการขับเคลื่อน Thailand 4.0 ด้วยการวิจัย และนวัตกรรม 2) กรอบการพัฒนาระบบจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ในการบริหาร จัดการงานวิจัยทั้งต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา รวมทั้งเชื่อมโยงงานวิจัยให้เกิดประโยชน์กับการปรับ การเรียนการสอนและบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยที่จะนําไปสู่การสร้างความโดดเด่น/จุดเน้นของ มหาวิทยาลัยในxxxxx และ 3) กรอบการพัฒนาระบบพี่เลี้ยงสนับสนุนที่เอื้อให้xxxxxxxพัฒนาระบบ บริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัย และการทํางานวิจัยรับใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัย
ผลการดําเนินการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปางได้ออกแบบการบริหารจัดการเป็นลักษณะ xxxxxxx ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ดังนี้
ต้นทาง การพัฒนาโจทย์วิจัยโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีการจัดเวที ทบทวนโจทย์ มีการวิพากษ์โจทย์ และข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อให้ได้โจทย์ที่คม และตอบโจทย์ใน พื้นที่ มหาวิทยาลัยฯได้วางระบบ กลไกรองรับ xxxx การประกาศทุนวิจัยที่มีเงือนไข อันจะxxxxxxx ประโยชน์ทั้งต่อนักวิจัย มหาวิทยาลัย และชุมชน โดยกําหนดเงือนไข คุณสมบัติของผู้วิจัย และ ประเภทของงานวิจัยโดยจําแนกออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 ชุดโครงการวิจัยที่ดําเนินการ โดยคณะ โดยกําหนดให้คณบดีเป็นหัวหน้าและผู้รับผิดชอบโครงการ และมีการจัดตั้งคณะทํางานไม่ น้อยกว่า 5 คนโดยมีรองคณบดีหรือผู้ช่วยคณบดีxxxxxxxเกี่ยวข้องกับงานวิจัย ประเภทที่ 2 ชุด โครงการวิจัยเชิงพื้นที่แบบสหวิทยาการ มุ่งเน้นการบูรณาการศาสตร์ความรู้ของนักวิจัยในลักษณะ ข้ามศาสตร์ ข้ามคณะ และประเภทที่ 3 ชุดโครงการวิจัยเชิงพื้นที่หรือโครงการเดี่ยวที่มุ่งเน้นความเป็น เลิศตามศาสตร์ สําหรับพื้นที่ที่ต้องการองค์ความรู้ รวมถึงสําหรับนักวิจัยหน้าใหม่ที่ยังต้องอาศัย ประสบการณ์การทํางานวิจัยเชิงพื้นที่
ผลการวิจัยแบ่งการนําเสนอตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้
1) ผลการพัฒนาและสนับสนุนการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมที่ตอบxxxxการ แก้ปัญหาและพัฒนาตามโจทย์ของชุมชนฯ พบว่า ผลิตภัณฑ์ในงานวิจัยxxxxxx ยกระดับในมิติที่แตกต่างกัน มิติเชิงxxxxxx ได้แก่ ข้าวแต๋น ไข่เค็ม เห็ด ที่xxxxxxสร้างxxxxxxxxxxx นําสู่การสร้างรายได้ และมิติเชิงคุณค่าได้แก่ ผ้าทอ น้ําxx xxด ที่xxxxxxสร้าง Story และxxxxxxไปสุ่ผลิตภัณฑ์xxxxxxxxxxx xxxxxxการวิจัย การประยุกต์ใช้วัสดุxxxxxxxxเพื่อลดปริมาณสารโพลาร์ xxxxxxxxxxxxเป็น ผลิตภัณฑ์ในการกรองสารโพxxxx xxxxxxxอาชีพและรายได้ อีกมิติคือ สิ่งแวดล้อม ได้แก่ ตะเกียบ และxxxคาเดเมีย ที่xxxxxxดําเนินการควบคู่กับการxxxxxคุณค่าอัน สู่การการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อไป ซึ่งผลการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ที่เกิดxx xxxxxxxxxxxได้แก่ ข้าวแต๋น และไข่เค็ม ในส่วนของข้าวแต๋น กระบวนการวิจัยทําให้ผู้ประกอบการได้รับการรับรองมาตรฐาน 5 ส. และxxxxxxx ผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ข้าวแต๋นไรเบอรรี่ ข้าวแต๋นอบด้วยxxxxเวฟ เป็นต้น ส่วนไข่เค็ม กระบวนการวิจัยทําให้ผู้ประกอบการเกิดรายได้xxxxxxขึ้น เกิดกลุ่มอาชีพใหม่ คืออาชีพ เลี้ยงเป็ดเพื่อป้อนไข่ให้กลุ่มไข่เค็ม ทําให้กระบวนการ การทําไข่เค็มครบวงจร
นอกจากนั้นยังมีการทําการตลาด การทํา Packaging ที่ทําให้ลดต้นทุนการผลิตลง สิ่งสําคัญทั้งสองผลิตภัณฑ์ได้รับการยกระดับด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่ม ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง xxxx สาธารณสุข เกษตรอําเภอ พัฒนา ชุมชน เป็นต้น
2) ผลการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาระบบจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของมหาวิทยาลัยใน ภาพรวมของมหาวิทยาลัย และวางระบบ กลไก การบริหารจัดการงานวิจัยทั้งต้นน้ํา กลางน้ํา และ ปลายน้ํา โดย ต้นน้ํา มีโครงสร้างรองรับโครงการ เพื่อให้การดําเนินการวิจัยxxxxxxxxxเป็นโครงการใหญ่ xxxxxxxxxxxวัตถุประสงค์xxx xxxx การจัดโครงสร้างการจัดการภายใน โดยxxxxxxxxxxอธิการบดี ฝ่ายวิจัย และผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ทําหน้าที่ขับเคลื่อนการดําเนินงานวิจัย เริ่มจาก การตั้งโจทย์วิจัยด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียเพื่อให้ได้โจทย์ที่ใช้ประโยชน์ต่อชุมชน การประกาศทุนที่ระบุคุณสมบัติของผู้เสนอข้อรับทุน เกณฑ์การพิจารณา เงื่อนไขการดําเนินงาน และ เป้าหมายของวิจัยไว้ชัดเจน ดังได้กล่าวไปข้างต้น xxxxxxxxน้ํา มหาวิทยาลัยฯxxxxxxxxให้ โครงการวิจัยดําเนินการวิจัยให้เป็นไปตามแผน ในระหว่างทาง มีกิจกรรมxxxxxxxxทักษะความรู้ เจต คติxxxxxต่อการวิจัยเชิงพื้นที่แก่นักวิจัย รวมถึงมีระบบxxxxxxxxxxxxทําหน้าที่ให้คําปรึกษาแก่นักวิจัยเชิงพื้นที่ หน้าใหม่ จัดให้มีเวทีรายงานความxxxxxxxx โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากนั้นสถาบันวิจัยและพัฒนาทําหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการอํานวยการ และxxxxxxงาน เพื่อให้xxxxxxxดําเนินงานวิจัยให้เป็นทิศทางเดียวกัน และปลายน้ํา จัดให้มีกิจกรรมการสังเคราะห์ งานวิจัย จัดเวทีคืนข้อมูลแก่กลุ่มเป้าหมายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การxxxxxทักษะการเขียนบทความ ระดับชาติ และนานาชาติเพื่อนําสู่การตีพิมพ์เผยแพร่ต่อไป
3) ผลการพัฒนาระบบพี่เลี้ยงสนับสนุนที่เอื้อให้xxxxxxxพัฒนาระบบบริหารจัดการ งานวิจัยของมหาวิทยาลัย พบว่า บทบาทพี่เลี้ยงมีส่วนสําคัญต่อความสําเร็จของการดําเนินงานวิจัย เชิงพื้นที่ โดยพี่เลี้ยงxxxxxxรับการแต่งตั้ง คือนักวิจัยที่มีประสบการณ์การวิจัยเชิงพื้นที่ xxxxxxทําหน้าที่ Coach ให้กับนักวิจัยหน้าใหม่ โดยมี สถาบันวิจัยและพัฒนาทําหน้าxxxxxxให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยน
อย่างไรก็ตาม แม้ทั้งสามวัตถุประสงค์ของการวิจัยจะxxxxxxดําเนินการไปได้ โดยได้ผลลัพธ์ xxxxxxxxxxประโยชน์ต่อชุมชน และตัวนักวิจัยเอง แต่ยังมีข้อค้นพบที่ต้องนํามาปรับปรุงแก้ไข xxxxxxxxxx เป็นข้อดีของการเรียนรู้ xxxxxxจากการวิจัยในครั้งนี้ เพราะทําให้ทราบว่า การทํางานวิจัยเชิงพื้นที่ มีความแตกต่างจากงานวิจัยโดยทั่วไป ต้องอาศัยปัจจัยหลายด้าน ตัวอย่างxxxx
1) ปัจจัยด้าน ระบบ กลไกการบริหารจัดการงานวิจัยระดับมหาวิทยาลัย xxxx นโยบาย กฎ xxxxxxx ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ระบบการบริหารจัดการงานวิจัยระดับคณะ ระบบสารสนเทศที่มีข้อมูลทั้งเชิงลึก และเชิงกว้าง หน่วยงานบริหารงานวิจัยอย่าง สถาบันวิจัยและพัฒนา
2) ปัจจัยด้านการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย ที่ต้องอาศัยนักวิจัยที่มีประสบการณ์การวิจัยเชิง พื้นที่ เป็นหลักในการนําพานักวิจัยหน้าใหม่ทํางานวิจัยในครั้งนี้ สิ่งสําคัญคือ การสร้าง ความxxxxxx เจตคติของนักวิจัยโดยเฉพาะนักวิจัยหน้าใหม่ให้เห็นคุณค่า การทํางานวิจัย เชิงพื้นที่ เชิงพัฒนา อีกทั้งตัวนักวิจัยเองต้องมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องดังนั้น การฝึกทักษะความรู้ ความxxxxxx การใช้เครื่องมือที่เหมาะสมเป็นสิ่งสําคัญ
ที่มหาวิทยาลัยxxxxxxxxเต็ม นอกจากนั้น ความมีxxxxxของนักวิจัยเป็นสิ่งสําคัญ นักวิจัย ต้องรับผิดชอบต่องานวิจัยที่ทํา มีคุณธรรมจริยธรรมต่อการวิจัย และสิ่งสุดท้าย ที่จะเป็นแรงจูงใจแก่นักวิจัยคือ การที่นักวิจัยเล็งเห็นว่า งานวิจัยที่ทํา นอกจากจะxxxxxxx ประโยชน์แก่ตนเองในเรื่องของภาระงาน ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์xxxxxxขอรับรางวัล และ ขอผลงานทางวิชาการแล้ว ยังxxxxxxxประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ ชุมชน อันเป็นภารกิจ หนึ่งของมหาวิทยาลัย
3) ปัจจัยด้านการพัฒนาคุณภาพงานวิจัย ประเด็นของงานวิจัยต้องมาจากสภาพปัญหา ความต้องการ และความเหมาะสมช่วง จังหวะของพื้นที่ด้วยxxxxกัน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต้องมีส่วนร่วม อย่างน้อยในการคิด ออกแบบการดําเนินงานวิจัย จนถึงสูงสุดคือการร่วม ดําเนินการ ร่วมแรง ร่วมทุน เป็นต้น การ Review ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งสําคัญ เพื่อนําไปสู่การxxxxxx หรือหลีกเลี่ยงการทํางานวิจัยซ้ํา ทั้งนี้โดยมีxxxxxxxxxxxxมี ประสบการณ์งานวิจัยเชิงพื้นที่คอยทําหน้าที่แนะนํา ให้คําปรึกษา Coaching งานวิจัยที่ xxxxxxนํามาบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาของนักวิจัย หรือการบูรณาการ กับบริหารวิชาการของสาขาหรือคณะได้
4) ปัจจัยด้านการพัฒนาระบบพี่เลี้ยง พี่เลียงในที่นี้คือ นักวิจัยที่มีประสบการณ์ การทํางาน วิจัยเชิงพื้นที่มาแล้วไม่ต่ํากว่า 5 ปี มีทักษะความรู้ ความxxxxxxxxxจะxxxxxx Coach นักวิจัยหน้าใหม่ได้ ตัวพี่เลี้ยงต้องมีความxxxxxx xxxxxxxxx และเห็นประโยชน์ของงานวิจัย เชิงพื้นที่ว่า xxxxxxนําสู่การพัฒนาชุมชนได้อย่างแท้จริง พี่เลี้ยงจะได้รับการแต่งตั้ง อย่างเป็นทางการจากมหาวิทยาลัยฯ xxxxxxนับเป็นภาระงานได้
5) ปัจจัยด้านการสร้างเครือข่าย เป็นลักษณะการทํางานวิจัยแบบบูรณาการกับ ผู้ประกอบการ กลุ่ม วิสาหกิจชุมชน สมาคม โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ซึ่ง กลุ่ม หน่วยงานเหล่านี้ ต้องมีความxxxxxx ทัศนคติ ความxxxxxxxxxต่อมหาวิทยาลัย นักวิจัย ต่อโครงการวิจัยฯ รวมถึง ประโยชน์ที่จะได้รับจากงานวิจัย และที่สําคัญการเข้า มามีส่วนร่วมในโครงการวิจัยฯตั้งแต่ต้น
บทคดย่อ
สัญญาเลขที่ RDG60A0011
ช่ือโครงการ นวัตกรรมการจัดการงานวิจยเชิงพื้นท่ีเพ่ือพัฒนาจงหวัดลําปาง
หัวหน้าโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.xxxxxxx xxxxxxx
หน่วยงานตนสังก มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง
ระยะเวลาดําเนินการ 1 ปี 4 เดือน (ตง้ั แต่วนที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 ถึง
วันที่ 31 พฤษภาคม 2561)
ผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดลําปางมีหลากหลายชนิดทั้งประเภทของกิน ของใช้ และ ของประดับ สินค้าท่ีมีความโดดเด่นมีความเชื่อมโยงกับประวัติความเป็นมา รวมถึงอัตลักษณ์ ภูมิ ปัญญาของพื้นท่ี หลายชนิดท่ีต้องการพัฒนาให้มีคุณภาพ มาตรฐาน รวมถึงการอนุรักษ์ให้คงอยู่กับ ท้องถิ่น ได้แก่ ข้าวแต๋น เซรามิก ผ้าทอกี่กระตุก นํ้าปู มีด ไข่เค็ม เห็ด ตะเกียบนอกจากนั้นยังมี ผลิตภัณฑ์ที่ได้ความนิยม และต้องการยกระดับให้เป็นพืชเศรษฐกิจ คือ แมคคาเดเมีย มหาวิทยาลัย ราชภัฏลําปางร่วมกับ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงได้สนับสนุนงบวิจัยแก่นักวิจัย ของมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและสนับสนุนการวิจัยและการสร้าง นวัตกรรมที่ตอบสนองการแก้ปัญหาและพัฒนาตามโจทย์ของชุมชนในพื้นท่ีจังหวัดลําปางและ ตอบสนองนโยบายการขับเคลื่อน Thailand 4.0 ด้วยการวิจัยและนวัตกรรม 2) เพื่อพัฒนาระบบ
จัดการงานวิจ
ของมหาวิทยาล
ในพ
ที่ในการบริหารจัดการงานวิจัยท้ังต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา
รวมท้ังเชื่อมโยงงานวิจัยให้เกิดประโยชน์กับการปรับการเรียนการสอนและบริการวิชาการของ มหาวิทยาลัยที่จะนําไปสู่การสร้างความโดดเด่น/จุดเน้นของมหาวิทยาลัยในอนาคต 3) เพ่ือพัฒนา ระบบพี่เล้ียงสนับสนุนที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัย และการ ทํางานวิจัยรับใช้พ้ืนที่ของมหาวิทยาลัยโดยแบ่งประเภทงานวิจัยที่สนับสนุนออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ ประเภทที่ 1 ชุดโครงการวิจัยที่ดําเนินการโดยคณะ ประเภทที่ 2 ชุดโครงการวิจัยเชิงพื้นท่ีแบบสห วิทยาการ ประเภทที่ 3 ชุดโครงการวิจัยเชิงพื้นที่ที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศตามศาสตร์เพื่อให้ได้องค์
ความรู
ู่การใช้ประโยชน์ ผลการวิจัยแบ่งการนําเสนอตามว
ถุประสงค์ได้ดังน
1) ผลการพัฒนาและสนับสนุนการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมที่ตอบสนองการ แก้ปัญหาและพัฒนาตามโจทย์ของชุมชนฯ พบว่า ผลิตภัณฑ์ท้ัง 8 ประเภทสามารถ ยกระดับผลิตภัณฑ์ได้ในมิติที่แตกต่างกันไป ยกระดับมาตรฐาน เชิงมูลค้าได้แก่ ข้าว แต๋น ไข่เค็ม เห็ด ที่สามารถสร้างมูลค่าเพ่ิม นําสู่การสร้างรายได้ มิติเชิงคุณค่า ได้แก่ ผ้าทอ น้ําปู มีด และการประยุกต์ใช้วัสดุธรรมชาติเพ่ือลดปริมาณสารโพลาร์ ที่สามารถต่อยอดสู่การสร้างรายได้อย่างเป็นรูปธรรม และมิติเชิงส่ิงแวดล้อมได้แก่ ตะเกียบ และแมคคาเดเมีย ที่ดําเนินการควบคู่กับการเพิ่มคุณค่าอันสู่การการใช้ ประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อไป
2) ผลการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาระบบจัดการงานวิจัยเชิงพ้ืนที่ของมหาวิทยาล ใน
ภาพรวมของมหาวิทยาลัย และวางระบบ กลไก การบริหารจัดการงานวิจัยท้ังต้นน้ํา กลางน้ํา และ ปลายนํ้า โดย ต้นน้ํา เป้นการจัดโครงสร้างการจัดการภายใน โดยมอบหมายรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย และผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ทําหน้าที่ขับเคล่ือนการดําเนินงานวิจัย มีการตั้งโจทย์วิจัย ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียเพื่อให้ได้โจทย์ที่ใช้ประโยชน์ต่อชุมชน การประกาศทุน ท่ีระบุคุณสมบัติของผู้เสนอข้อรับทุน เกณฑ์การพิจารณา เงื่อนไขการดําเนินงาน และเป้าหมายของ วิจัยไว้ชัดเจน ข้อเสนอโครงการวิจัยแบ่งเป็น 3 ประเภทประกอบด้วย ประเภทที่ 1 แผนวิจัย ดําเนินการโดยมีคณบดีเป็นหัวหน้าโครงการ มุ่งเน้นการบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ และการ ยกระดับคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ของชุมชน ประเภทที่ 2 ชุดโครงการวิจัย หรือสหวิทยาการ เป็นการบูรณาการศาสตร์ความรู้เพื่อการยกระดับมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ และประเภทที่ 3 ที่เน้น ความเป็นเลิศตามศาสตร์เพ่ือสร้างองค์ความรู้สู่การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ส่วนกลางน้ํา มหาวิทยาลัยฯส่งเสริมให้โครงการวิจัยดําเนินการวิจัยให้เป็นไปตามแผน ในระหว่างทาง มีกิจกรรม ส่งเสริมทักษะความรู้ เจตคติท่ีดีต่อการวิจัยเชิงพื้นท่ีแก่นักวิจัย รวมถึงมีระบบพี่เล้ียงท่ีทําหน้าท่ีให้ คําปรึกษาแก่นักวิจัยเชิงพื้นท่ีหน้าใหม่ จัดให้มีเวทีรายงานความก้าวหน้า โดยกระบวนการมีส่วนร่วม ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากนั้นสถาบันวิจัยและพัฒนาทําหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการ อํานวยการ และประสานงานเพ่ือให้เกิดการดําเนินงานวิจัยให้เป็นทิศทางเดียวกัน และปลายน้ํา จัด
ให้มีกิจกรรมการสงเคราะห์งานวิจ จัดเวทีคืนข้อมูลแกกล่ ุ่มเป้าหมายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเพ่ิม
ทักษะการเขียนบทความระด ชาติ และนานาชาติเพ่ือนําสู่การตพมิี พเผยแ์ พร่ตอไป่
3) ผลการพัฒนาระบบพี่เล งสนับสนุนที่เอือให้เกิดการพัฒนาระบบบริหารจัดการ
งานวิจัยของมหาวิทยาลัย พบว่า บทบาทพี่เลี้ยงมีส่วนสําคัญต่อความสําเร็จของการดําเนินงานวิจัย
เชิงพ
ที่ โดยพีเ่ ลี้ยงท่ได
ับการแต่งต
คือนกวิจัยที่มีประสบการณ์การวิจัยเชิงพื้นท่ี สามารถทําหน้าที่
Coach ใหก้ ับนกวิจัยหน้าใหม่ โดยมี สถาบันวิจัยและพัฒนาทําหนาประสานให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยน
Abstract
Contract Number RDG60A0011
Project Name Innovation of Area-Based Collaborative Research
Management for Development of Lampang Province.
Head of project Assistant Professor Apirak Chaisena Original affiliation Lampang Rajabhat University
Period 1 year 4 months (since 1 February 2017 – 31 May 2018)
Local products in Lampang province had many kinds such as foodstuff, appliance, and decoration. The outstanding product related to history, identity, and wisdom in area. There were many kinds of product needed to be developed for having quality as standard required including preservation of local products for existence such as rice cracker, ceramics, loom woven cloth, crab sauce, knife, salted egg, mushroom, and chopsticks. Furthermore, there were popular products that needed to improve for being industrial drop that was macadamia. Lampang Rajabhat University in a cooperation with The Thailand Research Fund (TRD) supported budget for research to the researchers of Lampang Rajabhat University with the objective 1) to develop and support the development of research and innovation in order to serve the solution and community requirement in Lampang province and responding the policy of Thailand 4.0 by research and innovation 2) to develop management system for research of university in upstream, midstream, and downstream of the process. Integration research into instruction and academic service of university was made for the outstanding point/focus point of university in the future. 3) to develop the system of coaching facilitating the research management of university and area based collaborative research. The research had got support divided into 3 types that were Type 1 Research Program by team, Type 2 Area Based Program by interdisciplinary, Type 3 Area Based Program focused on excellence of each science for getting body of knowledge for utilization. The research results divided by objective were followings.
1) Result of development and support the research and innovation
serving
the solution and community requirement found that 8 products were improved many dimensions differently. The standard improvement on cost dimension made for rice cracker, salted egg, and mushroom. Value dimension made for loom woven cloth, crab sauce, knife, and natural material applying for reducing polar chemical
that earned income concretely. Environment dimension made for chopsticks and macadamia that were developed with value –added for widespread utilization.
2) Result of management for development area based collaborative research of university overall and setting system, mechanism, and research management in upstream, midstream, and downstream of the process. For upstream, it was an internal management that assigned the vice president of research and director of Research and Development Institute monitored researches by setting research problem with participation process of stakeholders for getting research problem that utilized for community, research budget declaration having requirement for applicant, criteria, condition of performance and goal of research. The research proposals were divided into 3 types. Type 1 research plan performed by dean as a head of project, the plan focused on area based collaborative research management and standard improvement for local product. Type 2 research programs or interdisciplinary were the integration of sciences for enhancing the standard of product and Type 3 focused on the excellence of each science for making body of knowledge leading standard improvement of product. For midstream, university supported those research programs to follow the plan, on the way there were activities for promoting skill, knowledge, and attitude for area based collaborative research for researchers including coaching system for newcomer area based researchers. University held the meeting of progress report by participation of stakeholder process. Moreover, Research and Development Institute performed as a center for administration and coordination for the same direction of research performance. For downstream, there were activities for research synthesis, management on meeting for sending information to target group and stakeholder and training for writing article to publish in national and international level.
3) Result of development the coaching system for developing the
research
management of university found that the role of coach had an importance to the success of area based collaborative research. The appointed coach was a researcher who had experiences in area and coached the newcomer researchers via Research and Development Institute that held the knowledge share meeting.
สารบ
หน้า
คํานํา ก
บทสรุปผูบริหาร ข-จ
บทคัดย่อ ฉ-ฌ
บทท่ี 1บทนํา 1
ความเป็นมา หลักการและเหตุผล 1
1.สถานการณ์ระบบบริหารจดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัย 3
2.สถานการณ์ปัญหาด นระบบบริหารจดการงานวิจยั ของมหาวิทยาลัยและการกําหนด 4
positioning ของมหาวิทยาลัย
ว ถุประสงค์ของโครงการ 7
วิธีดําเนินงาน 7
กรอบแนวคิดการวิจยั 10
วิธีดําเนินการ 15
ขอบเขตการวิจยั 16
นิยามศัพท์ 17
ผลท่ีคาดว่าจะได้รับ 17
บทที่ 2 แนวคิด และทฤษฏี และงานวิจัยท่ีเก่ียวของ 19
แนวคิด “ประเทศไทย 4.0” 19
การวิจัยเชิงพื้นท่ี: การทําวิจยแบบ ABC 20
มาตรฐานผลิตภณฑ์ 21
งานวิจัยที่เก่ียวข้อง 23
บทที่ 3 ผลการดําเนินงานด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัย 26
การบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัย 26
การพัฒนาระบบพีเ้ ล้ียง 47
บทที่ 4 การดําเนินงานด้านการวิจ
เพ่ือตอบโจทย์ของพ
ที่และผลลัพธ์ 50
สรุปภาพรวมของแผนงานวิจัย ชุดโครงการ และโครงการย่อย 60
บทที่ 5 สรุปภาพรวมผลการดําเนินงาน ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ 96
สรุปผลการดําเนินงานด้านงานวิจัย 96
ผลงานวิจ
เชิงพื
ที่ที่โดดเด่น
102
ข้อเสนอแนะ ภาคผนวก
103
สารบ ตาราง
ตารางที่ 1 จํานวนนกศึกษาของมหาวทยาลัยราชภัฏลําปาง ปีการศึกษา 2555 – 2560 4
ตารางที่ 2 แสดงแหล่งทุนจําแนกตามคณะต่างๆท 6 คณะที่ไดร้ ับงบประมาณสนับสนุนจาก 5
สํานกั งานกองทุนสนบสนุนการวิจัย (สกว.)
ตารางท่ี 3 แสดงงบวิจัยจากแหล่งทุนต่างๆจําแนกตามคณะทั้ง 6 คณะ ตงั้ แต่ปี พ.ศ. 2556 –2561 6
ตารางที่ 4 แสดงชื่อคณะ ชื่อแผนวิจัยประเภทที่ 1 จานวนโครงการย่อยและผลการประเมิน 53
ตารางที่ 5 แสดงชื่อชุดโครงการประเภทที่ 2 จานวนโครงการย่อย จานวนคณะ/นกวิจัย และผล 54
การประเมิน
ตารางที่ 6 แสดงช่ือ ชื่อโครงการ จานวนโครงการย่อยและผลการประเมินโครงการประเภทที่ 3 54
ตารางท่ี 7 แสดงช่ือแผนวิจัยของคณะครุศาสตร์ ผลผลิตเชิงปริมาณ และคุณภาพ 61
ตารางท่ี 8 แสดงชื่อแผนวิจัยของคณะเทคโนโลยีการเกษตร ผลผลิตเชิงปริมาณ และคุณภาพ 62
ตารางที่ 9 แสดงช่ือแผนวิจัยของคณะวิทยาการจัดการ ผลผลิตเชิงปริมาณ และคุณภาพ 64
ตารางท่ี 10 แสดงชื่อแผนวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ ผลผลิตเชิงปริมาณ และคุณภาพ 65
ตารางท่ี 11 แสดงชื่อแผนวิจยั ของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ผลผลิตเชิงปริมาณ และคุณภาพ 66
ตารางท่ี 12 แสดงช่ือชุดโครงการวิจัย ผลผลิตเชิงปริมาณ และคุณภาพ 68
ตารางที่ 13 แสดงช่ือโครงการวิจัย ประเภทที่ 2 นกวิจัยหนา้ ใหม่ ผลผลิตเชิงปริมาณ และคุณภาพ 70
ตารางที่ 14 แสดงชื่อโครงการวิจ ประเภทที่ 3 นกวจิ ัยหน้าใหม่ ผลผลตเชิิ งปริมาณ และคุณภาพ 71
ตารางที่ 15 แสดงชื่อโครงการวิจัย ประเภทที่ 3 นกวิจัยใหม่ ผลผลิตเชิงปริมาณ และคุณภาพ 73
ตารางท่ี 16 แสดงชื่อโครงการวิจัย ประเภทที่ 3 นกวิจัยใหม่ ผลผลิตเชงิ ปริมาณ และคุณภาพ 74
ตารางที่ 17 แสดงผลผลิตผลลัพธ์ตามตัวช้ีวัดแยกตามประเภทของผลิตภณฑ์ของกิน ข้าวแต๋น 76
ตารางที่ 18 แสดงผลผลิตผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดแยกตามประเภทของผลิตภัณฑ์ของกิน แมคคาเดเมีย 79
ตารางที่ 19 แสดงผลผลิตผลลัพธ์ตามต ช้ีวัดแยกตามประเภทของผลิตภณฑ์ของกิน ไขเค็่ ม 81
ตารางที่ 20 แสดงผลผลิตผลลัพธ์ตามตัวช้ีวัดแยกตามประเภทของผลิตภณฑ์ของกิน นําป 84
ตารางที่ 21 แสดงผลผลิตผลลัพธ์ตามตวั ชี้วัดแยกตามประเภทของผลิตภณฑ์ของกิน เห็ด 86
ตารางท่ี 22 แสดงผลผลิตผลลัพธ์ตามต
ตารางที่ 23 แสดงผลผลิตผลลัพธ์ตามตวั
ชี้วัดแยกตามประเภทของผลตภัณฑ์ของใช้ ผาทอ 88
ช้ีวัดแยกตามประเภทของผลตภัณฑ์ของใช้ มีด 90
ตารางที่ 24 แสดงผลผลิตผลล ธตามตวชี้ั์ วัดแยกตามประเภทของผลิตภัณฑ์ของใช้ ตะเกียบ 92
ตารางท่ี 25 แสดงผลผลิตผลล
ธ์ตามต
ชี้วัดแยกตามประเภทของผลิตภณฑ์ของใช้ เซรามิก 94
ตารางที่ 26 แสดงต ชวัี้ ด ผลผลิตท่ีได้ และผลลัพธ/์ การเปลี่ยนแปลง ภายหลงั การดําเนินการวิจ 96
ภายใตโครงการ นวตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพ
ท่ีเพ่อพ
นาจงหวดลําปาง
ตารางท่ี 27 แสดงช่ือแผนวิจ /ชดโคุ รงการวิจัย/โครงการวิจยย่อย และบทบาทของภาคีฯ 97
สารบญรูปภาพ
รูปที่ 1 กรอบวิธีการดําเนินงานวิจัย 8
รูปที่ 2 แสดง ปัจจัยการพัฒนาและสนับสนุนการวิจยั 12
รูปที่ 3 การพฒั นาระบบจดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัย 14
รูปที่ 4 การพ นาระบบพี่เลี้ยง 15
รูปที่ 5 โมเดลโครงการวิจัย 38
รูปท่ี 6 ขั้นบริหารงานวิจยก่อนการดําเนินการในพืน้ ท่ีของคณะครุศาสตร 39
รูปที่ 7 โมเดลระบบบริหารจัดการงานวิจัยของคณะวิทยาการจัดการ 40
รูปที่ 8 โมเดลระบบบริหารจดการงานวิจัยเชิงพื ที่ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร 41
รูปที่ 9 โมเดลระบบบริหารจัดการงานวิจ ของคณะเทคโนโลยีอตสาุ หกรรม 43
รูปท่ี 10 ระบบ กลไกการบริหารจดการงานวิจัยเชิงพ ที่ของมหาวิทยาลยั ราชภฏลําปาง 44
รูปท่ี 11 แผนผังแสดงกลไกการเช่ือมโยง ระบบ กลไกการบริหารงานวิจ มหาวิทยาลยและคณะ
เชงพ
ท่ีระหว่าง 46
บทที่ 1 บทนํา
สัญญาเลขที่ RDG60A0011
ชื่อโครงการ นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปาง หัวหน้าโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรักษ์ ชัยเสนา
หน่วยงานต้นสังกัด มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง หน่วยงานร่วมโครงการ ระบุรายชื่อไว้ในภาคผนวก
ระยะเวลาดําเนินการ 1 ปี 4 เดือน (ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 ถึง
วันที่ 31 พฤษภาคม 2561)
1. หลักการ เหตุผล และความเป็นมาของโครงการ
จังหวัดลําปางตั้งอยู่กึ่งกลางของภาคเหนือจึงเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ (Strategic Location) ใน การเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์ด้านคมนาคมทางบก (ถนนและราง) ของกลุ่มภาคเหนือ บนและล่าง เป็นพื้นที่ที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี 87,440 บาท อยู่ในลําดับที่ 46 ของประเทศ (อ้างจากแผนพัฒนาจังหวัดลําปาง 4 ปี พ.ศ.2561 –
2564) พืชเศรษฐกิจหลัก 5 ลําดับที่สําคัญคือ ข้าวนาปี และนาปลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วลิสง และ สับปะรด ด้านอุตสาหกรรมเซรามิก ถือว่ามีความสําคัญมากที่จะเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับ จังหวัดเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการและแรงงานในท้องถิ่น แต่อัตราการเพิ่ม ไม่แน่นอน ส่วนภาคการเกษตรมีรูปแบบการทําการเกษตรเชิงเดี่ยว คือการทําเกษตรเพียงอย่างใด อย่างหนึ่งที่เป็นพืชสินค้าทางเกษตรทางเศรษฐกิจ ที่ตอบสนองตลาดในวงกว้าง ทําให้เกษตรกรรีบเร่ง ผลผลิตโดยใช้สารเคมี ส่งผลให้เกิดปัญหาและผลกระทบตามมา เช่น ทําให้เกิดความเสื่อมโทรมของ ทรัพยากรการผลิต ระบบนิเวศ แหล่งน้ําเสื่อมโทรมและมีสารเคมี อันเป็นภัยต่อความมั่นคงทาง อาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ ยังขาดการพัฒนาภาคการเกษตรอย่างเป็นระบบ และครบวงจร เพื่อสอด รับกลไกการตลาด และภาคประชาชนหรือเกษตรกรผู้ผลิต เช่น การส่งเสริมความรู้ และนวัตกรรม การผลิตสินค้าเกษตรด้วยวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ (การปลูก การเก็บเกี่ยว การแปรรูป และ การพัฒนาคุณภาพสินค้า) รวมถึงการบริหารจัดการทางการตลาด การวางแผนการผลิต สารสนเทศ และการบริหารจัดการที่ดี จึงส่งผลกระทบต่อราคาผลผลิต ขาดตลาดรองรับ และสินค้า ไม่สอดรับ และตรงตามความต้องการของตลาดเป็นต้น
ในส่วนของผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดลําปางมีผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายทั้งของกิน ของใช้ และบริการ มีทั้งที่ขึ้นทะเบียน และไม่ได้ขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ พบว่า ข้อมูลผู้ประกอบการ กลุ่ม OTOP ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา ก่อตั้งจํานวน 841 กลุ่มโดยสามารถสร้างแรงงานได้ 8,337 คน จําแนกเป็น ประเภทของกินจํานวน 249 กลุ่ม ประเภทของใช้จํานวน 447 กลุ่ม ประเภทของประดับ จํานวน 40 กลุ่ม และประเภทบริการจํานวน 138 กลุ่ม สินค้าที่มีการรวมกลุ่มกันมากคือ ผ้าทอ
การตัดเย็บผ้า ผลิตภัณฑ์การเกษตร สมุนไพร และการให้บริการ Home stay ตามลําดับ สิ่งที่เป็น ความต้องการเร่งด่วนของผู้ประกอบการคือ การส่งเสริมและสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆในการ พัฒนาศักยภาพในการผลิต มาตรฐานผลิตภัณฑ์ การตลาด และการเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขัน ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด การเพิ่มมูลค่า อัตลักษณ์เพื่อสร้างรายได้เพิ่มของคนในชุมชนอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึง การสนับสนุนให้มีการบริหารจัดการโซ่อุปทานของการค้าการลงทุนขงผลิตภัณฑ์ชุมชนและสินค้า SMEs อุตสาหกรรม ขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับสากลต่อไป
จากสถานการณ์ดังกล่าว ทําให้เกิดเวทีพบปะระหว่าง ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ และ เอกชน ร่วมถึงอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง เพื่อทบทวนสภาพปัญหาและแนวทางการ ดําเนินงานเพื่อส่งเสริมให้เกิดผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีคุณภาพ สามารถยกระดับ มาตรฐาน เพื่อก่อเกิด รายได้แก่ ชุมชนท้องถิ่นต่อไป จากเหตุผลดังกล่าวทําให้มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปางได้มีแนวคิดการ เชื่อมงานวิจัย สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น อันเป็นการปรากฏการณ์ใหม่สําหรับงานวิจัยเชิงพื้นที่ที่ เปลี่ยนจากกลุ่มเป้าหมายจากคนในชุมชน โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น มาเป็น ผู้ประกอบการ แต่เป็นความท้าทายที่จะก่อเกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการและอาจารย์ นักวิจัย อันจะไปสู่สร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ปัญหาของผู้ประกอบการได้อย่างแท้จริง
การวิจัยเพื่อองค์ความรู้อย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ แต่ต้องการ งานวิจัยเชิงพื้นที่ ที่มุ่งเน้น เอาพื้นที่เป็นตัวตั้งในการทํางาน และสร้างการทํางานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตัวจริงในพื้นที่ เพื่อให้ได้ข้อมูลจากการวิจัยที่จะใช้จัดการกับเรื่องสําคัญของพื้นที่ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาจังหวัดลําปาง อย่างยั่งยืน ดังนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปางจึงให้ความสําคัญกับงานวิจัยดังกล่าว โดยเริ่มต้นจาก การค้นโจทย์และวิเคราะห์ปัญหาเพื่อสร้างโจทย์วิจัยที่สามารถหาคําตอบอันนําไปสู่การแก้ไขของพื้นที่ จึงถือเป็นกิจกรรมหลักในการสร้างข้อเสนอโครงการวิจัย และเป็นกลไกสําคัญในการพัฒนานักวิจัย ด้วย กิจกรรมการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาความต้องการของพื้นที่จึงจัดขึ้นเป็นประจําทุกปี เพื่อเปิด โอกาสให้นักวิจัย ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ เช่น สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด เกษตรจังหวัด พาณิช ย์จังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาค 2 สํานักงาน ทรัพยากรน้ําเขต 1 สํานักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดลําปาง สํานักงานพาณิชย์จังหวัดลําปาง สํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดลําปาง เป็นต้น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ได้ร่วมกันนําเสนอปัญหา และอภิปรายถึงเหตุที่แท้จริงอย่างมีส่วนร่วมโดยรวม พบว่าปัญหาที่ทุกฝ่ายร่วมสะท้อนจะถูกแบ่ง ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) ปัญหาที่ทราบวิธีการแก้ไขแล้ว (มีการทํางานวิจัยและทราบคําตอบแล้ว) กับ (2) ปัญหาที่ยังไม่ทราบคําตอบ สําหรับปัญหาปัญหาที่ทราบวิธีการแก้ไขแล้วนั้น มหาวิทยาลัยจะ ช่วยเหลือพื้นที่โดยการใช้กลไกการให้บริการวิชาการ หากเป็นปัญหาที่ยังไม่ทราบคําตอบ จะดําเนินการร่วมกันอภิปรายกลุ่มเพื่อให้เห็นประเด็นปัญหา หรือเหตุที่แท้จริงอันจะนําไปสู่การได้มา ซึ่งโจทย์วิจัยของพื้นที่เป้าหมายนั้น
การทํางานร่วมกับพื้นที่และการร่วมเวทีวิจัยต้นทาง (การค้นโจทย์ และพัฒนาข้อเสนอ โครงการ) เวทีรายงานความก้าวหน้าในการทําวิจัย (กลางทาง) ซึ่งมีการอภิปรายร่วมกันระหว่าง นักวิจัย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ผู้มีส่วนได้เสียในการทําวิจัย และองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นเจ้าของพื้นที่ หรือ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับประเด็นวิจัยนั้น ๆ ทําให้พบปัญหาปลีกย่อย ซึ่งนําไปสู่การขึ้นโจทย์วิจัยใหม่ได้ ซึ่งสามารถออกแบบการวิจัยให้เป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วมได้ นอกจากนี้ การนําเสนอผลงานวิจัยเมื่อเสร็จสิ้นโครงการวิจัยที่เสนอผ่านเวทีที่เปิดโอกาสให้ ผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยสะท้อนถึงผลกระทบจากงานวิจัยที่เกิดขึ้น ก็ทําให้ได้แนวทางในการบริหาร จัดการงานวิจัย ที่มีความเหมาะสมกับมหาวิทยาลัยและพื้นที่จังหวัดลําปางมากยิ่งขึ้น
1.1 สถานการณ์ระบบบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฎลําปาง มีการวางระบบบริหารจัดการงานวิจัยตั้งแต่ต้นทาง จนถึงปลายทาง โดยใช้ฐานข้อมูลงานวิจัยมหาวิทยาลัยและระบบบริหารจัดการงานวิจัยของประเทศ (NRMS) เป็นเครื่องมือ โดยเน้นการทําวิจัยเชิงพื้นที่ และการสร้างนักวิจัยรับใช้สังคม ส่งเสริม การทํางานวิจัยประเภทชุดโครงการที่ดําเนินการโดยคณะ เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการงานวิจัย ของคณะ ประเภทสหวิทยาการเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ และการวิจัยที่เน้นความเป็นเลิศในศาสตร์ เพื่อตอบสนองต่อผู้นําไปใช้ประโยชน์อย่างตรงจุด การทํางานร่วมกับ สกว. ภายใต้โครงการพัฒนา การจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ในจังหวัดลําปางภายใต้แนวคิด "หนึ่งคณะ หนึ่งโมเดล" ในปี พ.ศ. 2556 ทําให้มหาวิทยาลัยสามารถสร้างทีมบริหารจัดการงานวิจัยในระดับคณะขึ้นมาได้อย่างเป็นรูปธรรม นําไปสู่การแก้ไขระเบียบปฏิบัติด้านการวิจัยที่ทําให้นักวิจัยทํางานได้คล่องตัวขึ้น
โดยการหนุนเสริมจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มีระบบหนุนเสริมการสร้างงานวิจัยตั้งแต่การพัฒนาโจทย์วิจัย การสร้างโจทย์วิจัยเพื่อหาคําตอบอันจะ นําไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด การมีกระบวนการสร้างและพัฒนาข้อเสนอโครงการการอบรม เพื่อสร้างงานวิจัยแบบมีส่วนร่วม และเสริมทักษะการทําวิจัย การจัดเวทีนําเสนอรายงาน ความก้าวหน้า ในการทําวิจัย การนําเสนอผลงานวิจัย การสังเคราะห์งานวิจัยสู่การนําไปใช้ ประโยชน์ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การเขียนบทความวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ ในวารสารวิชาการที่มีคุณภาพ และได้รับการยอมรับ การส่งเสริม การจดทรัพย์สินทางปัญญา และ การซื้อขายทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น โดยการติดตามงานวิจัยตั้งแต่ต้นทาง จะใช้ระบบ บริหาร จัดการงานวิจัยของประเทศ (NRMS) และเวทีแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือกํากับติดตามงาน ซึ่งที่ผ่านมา พบว่าสามารถจัดการงานวิจัยได้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีจํานวนงานวิจัยตกค้าง (ทําไม่ เสร็จ ในเวลาที่กําหนด) ลดลง มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีคุณภาพมากขึ้น และได้รับ เสียงสะท้อนจากพื้นที่ หรือผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยในแนวทางที่เป็นไปด้วยดี อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปางก็ยังขาดนวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ที่ทํางานบูรณาการร่วมกับ ภาคีเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดลําปางเพื่อขับเคลื่อนการแก้ปัญหาของชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากของ จังหวัดลําปางอย่างเป็นรูปธรรม
1.2 สถานการณ์ปัญหาด้านระบบบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยและ การกําหนด positioning ของมหาวิทยาลัย
จากการที่ กระทรวงศึกษาธิการ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมกันในที่ประชุมอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อทบทวนหรือปรับทิศทางหรือปรับบทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏ (re profile) จึงได้กําหนดทิศทางและจุดเน้นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ได้แก่ (1) การผลิตและพัฒนาครู
(2) การเกษตร อาหารและสิ่งแวดล้อม (3) อุตสาหกรรมธุรกิจบริการและการท่องเที่ยวชุมชน
(4) วิทยาศาสตร์สุขภาพและผู้สูงอายุ และ (5) การจัดการทางสังคม โดยกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ภาคเหนือได้กําหนดทิศทางและจุดเน้น คือ (1) การผลิตและพัฒนาครู (2) การท่องเที่ยวชุมชน (3) อาหาร และ (4) เขตเศรษฐกิจพิเศษ ในทุกทิศทางและจุดเน้นมุ่งสร้างความเข็มแข็งให้แก่ชุมชนใน พื้นที่และยกระดับเศรษฐกิจฐานราก สู่ชุมชนที่มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน
มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น จึงได้มีการกําหนด ทิศทางและจุดเน้นของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับทิศทางและจุดเน้นของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ภาคเหนือ ดังนั้น งานวิจัยจึงเป็นเครื่องมือที่สําคัญและจําเป็นที่จะช่วยให้มหาวิทยาลัยดําเนินการให้ บรรลุผลตามเป้าหมายที่ปรับบทบาทตนเองที่วางไว้ใน re profile หากแต่ เมื่อพิจารณาจํานวน นั กศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปางในปีการศึกษา 2555 – 25 60 ในภาพรวม พบว่า จํานวนนักศึกษาน้อยลง ตามลําดับ ดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 จํานวนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง ปีการศึกษา 2555 – 2560
ปีการศึกษา | จํานวนนักศึกษา (คน) |
ปีการศึกษา 2555 | 9,336 |
ปีการศึกษา 2556 | 9,219 |
ปีการศึกษา 2557 | 9,104 |
ปีการศึกษา 2558 | 8,978 |
ปีการศึกษา 2559 | 7,483 |
ปีการศึกษา 2560 | 7,636 |
จากตารางที่ 1 จํานวนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปางลดลงตามลําดับส่งผล ให้อาจารย์ ในบางสาขามีภาระงานสอนลดลง ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงได้มีการทบทวนบทบาทของ ตนเอง และเร่งรัดให้อาจารย์ที่มีภาระงานสอนน้อยมาผลิตผลงานวิจัยมากขึ้น นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปางยังมีนโยบายด้านการวิจัยที่มุ่งเน้น การวิจัยพัฒนา และแก้ไขปัญหาชุมชน ท้องถิ่นอย่างมีคุณภาพ สนับสนุนการวิจัยในลักษณะร่วมทุนอุดหนุนกับแหล่งทุนภายนอก เช่น ในปี พ.ศ. 2555 – 2556 ได้ร่วมอุดหนุนงบวิจัย กับสํานักงานกองทุนสนับสนุนเพื่อการวิจัย (สกว.) ฝ่ายละ 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) ส่งเสริมงานวิจัยเชิงพื้นที่ (ABC) เพื่อพัฒนานักวิจัยและการวิจัย เพื่อพัฒนาพื้นที่จังหวัดลําปาง มีโครงการวิจัย จํานวน 13 โครงการ มีนักวิจัยเชิงพื้นที่จํานวน 44 คน
ในปี พ.ศ. 2556 – 2558 จัดทําโครงการการพัฒนาการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ ในจังหวัดลําปางภายใต้แนวคิด “หนึ่งคณะ หนึ่งโมเดล” โดยร่วมทุนกับ สกว. ฝ่ายละ 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) มีโครงการวิจัย จํานวน 4 ชุดโครงการ โครงการวิจัยย่อย 12 โครงการ สร้างนักวิจัยเชิงพื้นที่ได้ 64 คน เป็นนักวิจัยหน้าใหม่ 23 คน
ในปี พ.ศ. 2558 - 2560 จัดทําโครงการวิจัยรับใช้สังคมเพื่อพัฒนาพื้นที่จังหวัดลําปาง ร่วมทุนกับ สกว. ฝ่ายละ 2,000,000 บาท (สองล้านบาทถ้วน) มีโครงการวิจัย จํานวน 9 ชุดโครงการ มีโครงการย่อย 17 โครงการและอีก 1 โครงการเดี่ยว มีนักวิจัย 69 คน เป็นนักวิจัยใหม่ 49 คน
ซึ่งการดําเนินงานวิจัยที่ผ่านมา ได้ก่อเกิดการสนับสนุนงบประมาณวิจัยจากแหล่งทุน ต่างๆทั้งภายในและภายนอกดังนี้
ตารางที่ 2 แสดงแหล่งทุนจําแนกตามคณะต่างๆทั้ง 6 คณะที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ปีงบประมาณ | จํานวนโครงการวิจัย แยกตามแหล่งทุน | ||||||
งบประมาณแผ่นดิน | เงินรายได้ | สกอ. | สกว. | สสส. | อื่นๆ | รวม | |
2556 | 12 | 161 | 4 | 10 | 0 | 8 | 195 |
2557 | 42 | 206 | 6 | 1 | 0 | 10 | 265 |
2558 | 101 | 145 | 6 | 5 | 1 | 15 | 273 |
2559 | 63 | 194 | 5 | 34 | 1 | 2 | 299 |
2560 | 30 | 117 | 0 | 29 | 91 | 0 | 268 |
2561 | 44 | 24 | 0 | 0 | 0 | 0 | 68 |
รวมทั้งหมด | 292 | 847 | 21 | 79 | 93 | 35 | 1,368 |
จากตารางที่ 2 อธิบายได้ว่า ตั้งแต่ปี 2556 – 2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง
มีโครงการวิจัยจํานวนทั้งสิ้น 1,368 โครงการ เป็นโครงการวิจัยที่มีงบจากภายในร้อยละ 83.3 ของโครงการวิจัยทั้งหมด โดยมาจาก งบรายได้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปางคิดเป็นร้อยละ 61.9 และมาจากงบประมาณจากแผ่นดิน (งบมหาวิทยาลัยที่ วช.เป็นผู้พิจารณา) ร้อยละ 21.34 และ มาจากภายนอกร้อยละ16.66 เป็นโครงการวิจัยที่มาจากงบ สสส. จํานวน 93 โครงการคิดเป็น ร้อย ละ 6.80 เป็นโครงการวิจัยที่มาจากงบ สกว. คิดมีจํานวน 79 โครงการคิดเป็นร้อยละ 5.78 ตามลําดับ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยฯต้องกระตุ้นให้นักวิจัย พัฒนาศักยภาพงานวิจัย และศักยภาพตนเองให้สามารถรับงบประมาณจากแหล่งทุนภายนอกเพิ่มมากขึ้น
ตารางที่ 3 แสดงงบวิจัยจากแหล่งทุนต่างๆจําแนกตามคณะทั้ง 6 คณะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 –2561
คณะ | จํานวนโครงการวิจัยของคณะจําแนกตามแหล่งทุน | |||||
งบประมาณ แผ่นดิน | เงินรายได้ | สกอ. | สกว. | สสส. | อื่นๆ | |
ครุศาสตร์ | 5,359,625 | 3,512,100 | 2,805,816 | 8,817,436 | 1,331,161 | 0 |
มนุษยศาสตร์ฯ | 9,285,200 | 7,766,610 | 1,110,184 | 766,650 | 617,575 | 717,000 |
วิทยาการจัดการ | 6,649,305 | 5,747,750 | 774,834 | 1,219,534 | 2,835,831 | 250,000 |
วิทยาศาสตร์ | 10,092,860 | 7,799,740 | 3,380,000 | 1,403,880 | 492,925 | 832,200 |
เทคโนโลยีการเกษตร | 1,804,670 | 2,447,500 | 220,000 | 822,900 | 282,900 | 200,000 |
เทคโนโลยีอุตฯ | 11,040,635 | 6,099,046 | 1,850,000 | 492,300 | 518,025 | 9,119,700 |
สถาบนั วิจัยฯ | 0 | 0 | 0 | 766,920 | 4,300,000 | 700,000 |
รวมทั้งหมด | 47,089,210 | 34,139,666 | 10,140,834 | 14,295,620.38 | 10,378,417.06 | 11,818,900 |
จากตารางที่ 3 อธิบายได้ว่า ตั้งแต่ปี 2556 – 2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปางมี งบอุดหนุนวิจัยทั้งสิ้น 127,862,647.44 บาท โดยลําดับคณะ/สถาบันที่ได้รับงบประมาณวิจัยมาก ไปหาน้อยได้ดังนี้ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร และ สถาบันวิจัยและพัฒนา ตามลําดับ
จากต้นทุนการทํางานวิจัยเชิงพื้นที่นี้ส่งผลให้ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ลําปาง ตอบโจทย์การทํางานของพื้นที่จังหวัดลําปางมีการทํางานร่วมกันระหว่างภาควิชาการ ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เช่น สํานักงานพาณิชย์จังหวัดลําปาง สํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ลําปาง สํานักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดลําปาง ผู้ประกอบการ เซรามิก ผู้ประกอบการข้าวแต๋น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างรายได้และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนในจังหวัด ลําปาง เช่น ในอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็ก และผู้ประกอบการข้าวแต๋น และการท่องเที่ยวชุมชน บ้านปงถ้ํา จะเห็นได้ว่าการขับเคลื่อนงานวิจัยเชิงพื้น (ABC) เป็นการทํางานที่นําพามหาวิทยาลัย ราชภัฏลําปาง ไปสู่มหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม
จากการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนนักศึกษาที่ลดลงและภาระงานสอนของ อาจารย์ ที่ลดลง ดังนั้นคณะกรรมการบริหารงานวิจัยและบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ลําปางจึงได้กําหนด positioning ของมหาวิทยาลัยไว้ คือ การยกระดับภาระงานวิจัยให้เทียบเท่า ภาระงานสอน เน้นการวิจัยเชิงพื้นที่ที่สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในพื้นที่และยกระดับเศรษฐกิจ ฐานรากสู่ชุมชนที่มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนด้วยองค์ความรู้ภาควิชาการ นําพามหาวิทยาลัยราชภัฏ ลําปางสู่มหาวิทยาลัยที่ดําเนินงานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม (engagement) โดยการบูร ณาการงานวิจัย การจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการและการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม เน้น การนํานักศึกษาเข้าไปเรียนรู้ชุมชนร่วมกับอาจารย์นักวิจัย เพื่อสร้างบัณฑิตที่สามารถเรียนรู้จาก สถานการณ์จริงในชุมชนและสามารถนําความรู้ไปใช้หลังจากจบการศึกษาได้ มหาวิทยาลัยจึงต้องมี การเตรียมการในการพัฒนานักวิจัยเชิงพื้นที่ที่ทํางานเชิงบูรณาการเพิ่มขึ้น ให้สอดคล้องกับการ เปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงจะเป็นประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปางเป็น
อย่างยิ่ง ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่สู่การใช้ประโยชน์และเอื้อต่อการทํางาน พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม (engagement) ที่มีการบูรณาการงานวิจัย การจัดการเรียน การสอน การบริการวิชาการและการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม โดยจะใช้โจทย์การวิจัยเพื่อพัฒนา เศรษฐกิจฐานราก ที่นําไปสู่การสร้างความเข็มแข็งให้แก่ชุมชนในพื้นที่และยกระดับเศรษฐกิจฐานราก สู่ชุมชนที่มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนด้วยองค์ความรู้ภาควิชาการ
จากการทบทวนสถานการณ์ที่กล่าวมา มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปางจึงมีเป้าหมาย ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนของจังหวัดลําปาง เน้นการทํางานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการของอาจารย์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง สถานประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ ที่เป็นเครือข่ายในจังหวัดลําปางและชุมชน ซึ่งเป็นกลไกสําคัญในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย อุตสาหกรรมจังหวัด พาณิชย์จังหวัด หอการค้าจังหวัด สํานักงานพัฒนาชุมชน องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการ โดยอาศัยศาสตร์ด้านวิชาการที่เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยี และศาสตร์ด้านการจัดการไปพัฒนาผู้ประกอบการ โดยผลิตภัณฑ์ชุมชนของจังหวัดลําปางที่จะนํามา พัฒนาในครั้งนี้ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทอาหารและของใช้ เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ มหาวิทยาลัยได้ร่วมกับผู้ประกอบการพัฒนามาแล้วระดับหนึ่งและผู้ประกอบการมีความพร้อมและ การต้องการพัฒนาต่อยอดยกระดับให้สูงขึ้นไม่น้อยกว่า 1 ระดับ เช่น เห็ดแปรรูปสมุนไพร ข้าวแต๋น น้ําปู เซรามิก และไข่เค็ม เป็นต้น
2. วัตถุประสงค์ของโครงการ
2.1 เพื่อพัฒนาและสนับสนุนการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมที่ตอบสนองการแก้ปัญหาและ พัฒนาตามโจทย์ของชุมชนในพื้นที่จังหวัดลําปางและตอบสนองนโยบายการขับเคลื่อน Thailand 4.0 ด้วยการวิจัยและนวัตกรรม
2.2 เพื่อพัฒนาระบบจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ในการบริหารจัดการงานวิจัย ทั้งต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา รวมทั้งเชื่อมโยงงานวิจัยให้เกิดประโยชน์กับการปรับการเรียนการ สอนและบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยที่จะนําไปสู่การสร้างความโดดเด่น/จุดเน้นของมหาวิทยาลัย ในอนาคต
2.3 เพื่อพัฒนาระบบพี่เลี้ยงสนับสนุนที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัย ของมหาวิทยาลัย และการทํางานวิจัยรับใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัย
3. วิธีดําเนินงาน
การดําเนินงานภายใต้โครงการ นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัด ลําปางในครั้งนี้ มุ่งเน้นการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ทั้งที่เป็นสินค้า OTOP และยังไม่เป็น OTOP ก่อเกิดการยอมรับ โดยการสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือลดต้นทุนการผลิต ก่อเกิด Young Enterprise นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายเพื่อ ต่อยอดการส่งเสริมระบบ กลไกการบริหารจัดการงานวิจัย ทั้งระดับมหาวิทยาลัย และระดับคณะ เพื่อเป้าหมายดังกล่าว มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง โดย สถาบันวิจัยและพัฒนา จึงได้ใช้แนวคิด การมีส่วนร่วม (Participation) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ร่วมกับ การบริหารจัดการแบบครบวงจรหรือที่รู้จักในนามของ PDCA อันประกอบด้วย การวางแผน (Plan) การปฏิบัติการ (Do) การติดตาม (Check) และการนําสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป (Action) ดําเนินการตั้งแต่ต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา
การมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วม
การนําสู่การปรับปรุง แก้ไข (Action)
การติดตาม Check
การบริหาร จัดการงานวิจัย ด้วยหลัก PDCA
การวางแผน (Planning)
การปฏิบัติ (Do)
การมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วม
กรอบแนวคิดที่ 1 กรอบวิธีการดําเนินงานวิจัย
รูปภาพที่ 1 กรอบวิธีการดําเนินงานวิจัย
จากกรอบวิธีการดําเนินงานวิจัยข้างต้น อธิบายถึงการประยุกต์ใช้กับโครงการวิจัยครั้งนี้ ได้ดังนี้ โครงการวิจัยในครั้งนี้ หนึ่งในวัตถุประสงค์คือ การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้มาตรฐาน เกิดการยอมรับ หรือลดต้นทุน ในสินค้า 9 ประเภทดังนี้ ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น ผ้าทอ น้ําปู ข้าวแต๋น ไข่ เค็ม แมคคาเดเมีย เห็ด มีด และตะเกียบ ดังนั้น กระบวนการดําเนินงานย่อมต้องเกี่ยวข้องกับ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เริ่มจากกระบวนการหาโจทย์ สถาบันวิจัยและพัฒนาได้พิจารณาเห็น ข้อมูล รวมถึงสถานการณ์ที่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ทั้ง 9 ประเภททั้งมิติด้านสังคม และมิติด้านเศรษฐกิจ ล้วนแล้วแต่น่าเป็นห่วง ดังได้กล่าวในหลักการเหตุผลในข้างต้น จึงทําให้เกิด แนวคิดในการทวนสอบสภาพปัญหาของผู้ประกอบการ ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งใน เวทีภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย เช่น เวทีพัฒนาโจทย์วิจัยปี 2559 สถาบันวิจัยและพัฒนาเชิญ ภาคีเครือข่ายการทํางานในจังหวัดลําปางมาพูดคุยถึงประเด็นปัญหาในจังหวัดลําปาง เพื่อหาทางออก ที่เป็นทางเลือกที่อาจารย์ นักวิจัยในมหาวิทยาลัยจะพึงกระทําได้ ผลการระดมความคิดเห็นพบว่า จังหวัดลําปางมีปัญหาด้านขยะ สิ่งแวดล้อม การเกษตรการท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งไม่ต่างไปจากจังหวัด อื่นๆของประเทศไทย ประกอบกับ แนวนโยบายเรื่องนวัตกรรม ของภาครัฐ ที่ได้หน่วยงานต่างๆ ขานรับการนําสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม ทําให้ที่ประชุมได้เสนอให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP สู่การสร้างการยอมรับจากผู้บริโภค การต่อยอดภูมิปัญญา ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เศรษฐกิจชุมชน อันนําไปสู่การก่อเกิดรายได้ด้วยการใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยกับภูมิปัญญาที่มีอยู่ในพื้นที่
นอกจากนั้นยังมีผู้ประกอบการสินค้าบางชนิดที่ ร้องขอให้ทางมหาวิทยาลัยเข้าไปช่วยเหลือ ได้แก่ กลุ่มไข่เค็มพอกภูเขาไฟลุงอ้วน หรือ สมาคม ข้าวแต๋นที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยเข้าไปมีส่วนร่วม ในการยกระดับมาตรฐานสินค้าข้าวแต๋น เป็นต้น หรือบางสินค้า ผลิตภัณฑ์ไม้ตะเกียบ ประสบปัญหา เชื้อรา ทําให้ขาดคุณภาพ และยังก่อเกิดผลกระทบด้านหมอกควัน เป็นต้น
Action (การปรับปรุง) จากการทบทวน ข้อมูลงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า บางผลิตภัณฑ์ มีนักวิจัยของมหาวิทยาลัยได้เคยดําเนินการมาแล้ว เช่น ข้าวแต๋น มีด เซรามิก เป็นต้น แต่อาจยังไม่ถึง
เป้าหมายที่จะนําไปสู่การยกระดับเพื่อก่อเกิดรายได้ที่แท้จริง บางโจทย์วิจัยเกิดมาจากการทําวิจัย ในพื้นที่ก่อนหน้านี้ของคณะเกษตร คือ ผลิตภัณฑ์น้ําปู กําลังจะสูญหายไปจากภูมิปัญญาท้องถิ่น สาเหตุจากกลิ่น บางคนทานแล้วเกิดอาการแพ้ และปัญหาไม่มีปูนา ทําให้นักวิจัยคณะเกษตร มอบโจทย์มาให้กับนักวิจัยเคมี คณะวิทยาศาสตร์เพื่อหาแนวทางในการอนุรักษ์ ต่อยอดภูมิปัญญา สินค้าชนิดนี้ไว้ นอกจากนี้ยังมี ผลิตภัณฑ์ลวดลายผ้าทอ ซึ่งมีต้นกําเนิดมาจากลําปาง ที่กําลัง จะ สูญหายไปเช่นกัน เนื่องจากไม่มีการสืบค้นรวบรวมประวัติ หลักฐาน รวมถึงการสานต่อการ ทอลวดลายดังกล่าวส่วนสินค้าแมคคาเดเมีย เป็นสินค้าที่กําลังได้รับความนิยมสูง จัดเป็นสินค้า ที่มีราคาค่อนข้างสูง แต่ยังประสบปัญหาในเรื่องการผลิต แม้ผู้ประกอบการยังมีไม่มาก แต่เป็นสินค้า ที่หากสามารถลดปัญหาการผลิตให้กับผู้ประกอบการได้ รวมถึงการยกระดับให้เป็นสินค้า Green product ได้ จะสามารถพัฒนาเป็นสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของตลาดระดับสากลมากยิ่งขึ้น ทําให้ ก่อเกิดรายได้ให้พื้นที่ รวมถึงขยายการปลูก การผลิตได้ในพื้นที่ต่อไป บางผลิตภัณฑ์อย่างเซรามิก เป็นประเด็นโจทย์ที่นักวิจัยได้ค้นพบระหว่างดําเนินการวิจัยในเรื่องอื่นๆ โดยพบว่า อําเภอเกาะคา เป็นแหล่งผลิตเซรามิกของโรงงานขนาดเล็ก และประสบปัญหาเรื่องของการออกแบบ เนื่องจาก ไม่มีทักษะความรู้ ทําให้ผลิตรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ซ้ําๆกัน มีผลต่อราคา และเกิดการกดราคาจากผู้ซื้อ อีกกรณีตัวอย่าง คือผลิตภัณฑ์ไข่เค็ม ที่ยังประสบปัญหาการขาดความเชื่อมั่นในตัวสินค้า เนื่องจาก พอกด้วยดินภูเขาไฟๆที่อยู่ใกล้โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เป็นต้น จะเห็นได้ว่า สินค้าที่นํามาสู่ประเด็นโจทย์ วิจัยในครั้งนี้ เป็นการเลือกไม่เฉพาะเพื่อแก้ปัญหา หรือการยกระดับรายได้ของผู้ประกอบการเท่านั้น แต่ยังมีมิติทางสังคมกล่าวคือ ทําให้ผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นสินค้าที่คงอยู่คู่กับคนลําปางต่อไป
ภายหลัง นักวิจัยลงพื้นที่เพื่อทวนสอบข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และสร้าง ความเข้าใจในประเด็น กระบวนการวิจัยกับผู้ประกอบการ อาทิ การเยี่ยมกลุ่มไข่เค็มของลุงอ้วน กลุ่มผ้าทอที่ตําบลไหล่หิน สมาคมข้าวแต๋นที่ทุ่งม่าน ตําบลบ้านเป้า เป็นต้น ต่อจากนั้น ได้มีการจัดเวทีพัฒนาโจทย์วิจัย โดยมี ทีมผู้ทรงนําโดย ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ร่วมกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เช่นอุตสาหกรรมจังหวัด หอการค้าจังหวัด ยุทธศาสตร์จังหวัด นักวิชาการ และ ผู้ประกอบการบางราย เช่น สมาคมข้าวแต๋น ไข่เค็ม น้ําปู เห็ด เป็นต้น ร่วมกันวิพากษ์ข้อเสนอ โครงการวิจัย ทําให้ได้โจทย์ที่ มีคุณภาพ และตอบสนองความต้องการการแก้ไขปัญหามากยิ่งขึ้น
การวางแผน (Planning) และการติดตาม (Check) สถาบันวิจัยและพัฒนาได้วาง ระบบ กลไกการทํางานร่วมกับผู้ประกอบการ ในการยกระดับผลิตภัณฑ์และสร้างมูลค่าเพิ่ม ตั้งแต่ต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา ดังนี้
1) โจทย์มาจากพื้นที่ สภาพปัญหา ความต้องการที่แท้จริง มีการพัฒนาโจทย์วิจัย โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความ เป็นเจ้าของ และมองเห็นประโยชน์ของโครงการวิจัยฯ
2) ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง เรื่อง การสนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัย ภายใต้ โครงการ “นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปาง (รายละเอียด เอกสารในภาคผนวก) ได้กําหนดกรอบแนวคิดการทํางาน และคุณสมบัติของ โครงการวิจัยที่ชัดเจน ทั้งผลิตภัณฑ์ชุมชน และการดําเนินงานพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยกับสังคม (engagement) เป็นแนวทางให้นักวิจัยได้ใช้เป็นกรอบการทํางาน ที่ต้องคํานึงถึง หลักการพื้นฐาน 4 ประการของพันธกิจสัมพันธ์ฯอันประกอบด้วย การร่วมคิดร่วมทําแบบหุ้นส่วน (partnership) การเกิดประโยชน์ร่วมกันแก่ผู้เกี่ยวข้อง ทุกฝ่าย (mutual benefit) การใช้ความรู้ และเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน (scholarship) และ การเกิดผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้ (social impact) โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ มหาวิทยาลัยรับรู้และยอมรับคุณค่า (values) วัฒนธรรม (culture) ความรู้และ ทักษะ (knowledge and skills) ของสังคม และทํางานที่เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย ร่วมกัน เพื่อนําไปสู่การยกระดับผลิตภัณฑ์ และสร้างมูลค่าเพิ่มได้ อย่างเป็นรูปธรรม
3) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเวทีรายงานความก้าวหน้า เพื่อร่วมสะท้อนถึง ความก้าวหน้า หรือปัญหาอุปสรรคของการทํางานวิจัย อันนําไปสู่การหาแนวทางแก้ไข ปรับปรุง ให้เกิดประโยชน์ และบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการต่อไป
4) กําหนดตัว KPI ในสัญญาทุนวิจัยของแต่ละโครงการไว้ชัดเจน ที่สามารถยกระดับ ผลิตภัณฑ์และสร้างมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการ
5) การสร้างระบบพี่เลี้ยง เพื่อให้คําปรึกษาแก่นักวิจัย โดยเฉพาะนักวิจัยหน้าใหม่
6) กําหนด เว ทีเผยแพร่ผลงานวิจัย และเวที แลกเปลี่ยน และคืนข้อมูลวิจัย แก่ผู้ประกอบการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่วิจัย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กฟผ.แม่เมาะ เป็นต้น
จากระบบ กลไกข้างต้น จะเห็นว่า มหาวิทยาลัยได้ให้ความสําคัญของการมีส่วนร่วมของ ผู้ประกอบการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการส่งเสริมให้นักวิจัยมีความรู้ ทักษะในงานวิจัย เชิงพื้นที่ทั้งนักวิจัยที่เป็นพี่เลี้ยง และนักวิจัยหน้าใหม่ ให้สามารถ ยกระดับผลิตภัณฑ์ และ สร้างมูลค่าเพิ่มได้ อย่างเป็นรูปธรรม
4. กรอบแนวคิดการวิจัย
การทํางานวิจัยภายใต้โครงการนวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัด ลําปาง เน้นงานวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ เป็นงานวิจัยประเภทที่หวังผลให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ในพื้นที่ ใช้ความรู้หลายด้าน ทํางานเชิงบูรณาการ เอื้อต่อการทํางานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัย กับสังคม (engagement) ที่มีการบูรณาการงานวิจัย การจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม โดยใช้โจทย์วิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ที่นําไปสู่ ความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในพื้นที่และยกระดับเศรษฐกิจฐานราก สู่ชุมชน ที่มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน
ด้วยองค์ความรู้ ด้านวิชาการ เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัดลําปาง บูรณาการร่วมในระหว่าง นักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถานประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน และหน่วยงานภาครัฐที่เป็นเครือข่าย ในจังหวัดลําปาง และชุมชน ซึ่งเป็นกลไกสําคัญในการวิจัย อาทิ ยุทธศาสตร์จังหวัด อุตสาหกรรม จังหวัด หอการค้า จังหวัดลําปาง สมาคมข้าวแต๋น
ดังนั้น กรอบการวิจัยจึงประกอบด้วย 3 ส่วนได้แก่ 1) กรอบการพัฒนาและสนับสนุน การวิจัยและการสร้างนวัตกรรมที่ตอบสนองการแก้ปัญหาและพัฒนาตามโจทย์ของชุมชนในพื้นที่ จังหวัดลําปางและตอบสนองนโยบายการขับเคลื่อน Thailand 4.0 ด้วยการวิจัยและนวัตกรรม
2) กรอบการพัฒนาระบบจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ในการบริหารจัดการงานวิจัยทั้งต้น น้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา รวมทั้งเชื่อมโยงงานวิจัยให้เกิดประโยชน์กับการปรับการเรียนการสอน และบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยที่จะนําไปสู่การสร้างความโดดเด่น/จุดเน้นของมหาวิทยาลัย ในอนาคต และ 3) กรอบการพัฒนาระบบพี่เลี้ยงสนับสนุนที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาระบบบริหารจัดการ งานวิจัยของมหาวิทยาลัย และการทํางานวิจัยรับใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัย
กรอบแนวคิดที่ 2 การพัฒนาและสนับสนุนการวิจัยฯ
นโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่รองรับ ระบบบริหารจัดการงานวจัยระดับคณะ ระบบสารสนเทศงานวิจัย เทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบ กลไกการ บริหารจัดการ งานวิจัยระดับ มหาวิทยาลัย
ศรัทธา เจตคติที่ดีต่องานวิจัยเชิงพื้นที่ ความรู้ ทักษะ เครื่องมือการวิจัย วินัย แรงจูงใจ ประโยชน์ของงานวิจัย
การพัฒนา ศักยภาพ นักวิจัย
การสร้าง young enterprise
การสร้าง มูลค่าเพิ่ม/ ลดต้นทุน
การยกระดับ มาตรฐาน มาตรฐาน
ประเด็นงานวิจัยที่ตอบโจทย์พื้นที่ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การ Review งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การประเมิน และการติดตาม
ระบบพี่เลี้ยง
การพัฒนา คุณภาพ งานวิจัย
การสร้างนวัตกรรมตอบสนองการ แก้ปัญหาและพัฒนาตามโจทย์ของ ชุมชนในพื้นที่จังหวัดลําปางและ ตอบสนองนโยบายการขับเคลื่อน Thailand 4.0
ศรัทธา และเชื่อมั่นที่มีต่องานวิจัยเชิงพื้นที่
ทักษะ ความรู้ ความสามารถ แรงจูงใจ ประโยชน์ของงานวิจัย
การพัฒนา ระบบพี่เลี้ยง
ศรัทธา และเชื่อมั่นต่อมหาวิทยาลัย/นักวิจัย
ศรัทธา และทัศนคติต่องานวจัยเชิงพื้นที่ การมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ประโยชน์ของงานวิจัย
การสร้าง เครือข่าย
รูปภาพที่ 2 แสดง ปัจจัยการพัฒนาและสนับสนุนการวิจัย
จากกรอบแนวคิดที่ 2 ข้างต้นอธิบายได้ว่า การพัฒนาและสนับสนุนการวิจัยและการสร้าง นวัตกรรมที่ตอบสนองการแก้ปัญหาและพัฒนาตามโจทย์ของชุมชนในพื้นที่จังหวัดลําปางและ ตอบสนองนโยบายการขับเคลื่อน Thailand 4.0 ด้วยการวิจัยและนวัตกรรมจะบรรลุวัตถุประสงค์ได้ นั้น จําเป็นต้องแก้ไขสภาพปัญหา หรือข้อจํากัดที่เป็นอยู่ ทั้งในส่วนของระบบ กลไกของมหาวิทยาลัย โจทย์วิจัย ตัวนักวิจัย การสร้างเครือข่ายวิจัย รวมถึงระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย
โครงการวิจัยฯในครั้งนี้มุ่งสร้างนวัตกรรมเพื่อก่อเกิดการยอมรับในสินค้า การสร้างมูลค่า เพิ่มหรือยกระดับผลิตภัณฑ์ ลดต้นทุนการผลิต รวมถึงการสร้าง Young enterprise ซึ่งต้องอาศัย ปัจจัยหลายด้านในการส่งเสริมสนับสนุน สรุปได้ 6 ปัจจัยดังนี้
1) ปัจจัยด้าน ระบบ กลไกการบริหารจัดการงานวิจัยระดับมหาวิทยาลัย เช่น นโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ระบบการบริหารจัดการงานวิจัยระดับ คณะ ระบบสารสนเทศ และ หน่วยงานบริหารงานวิจัยอย่าง สถาบันวิจัยและพัฒนา
2) ปัจจัยด้านการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย ที่ต้องอาศัยนักวิจัยที่มีประสบการณ์การวิจัย เชิงพื้นที่ เป็นหลักในการนําพานักวิจัยหน้าใหม่ทํางานวิจัยในครั้งนี้ สิ่งสําคัญคือ การสร้างความศรัทธา เจตคติของนักวิจัยโดยเฉพาะนักวิจัยหน้าใหม่ให้เห็นคุณค่า การทํางานวิจัยเชิงพื้นที่ เชิงพัฒนา อีกทั้งตัวนักวิจัยเองต้องมีการพัฒนาตนเองอย่าง ต่อเนื่องดังนั้น การฝึกทักษะความรู้ ความสามารถ การใช้เครื่องมือที่เหมาะสมเป็น สิ่งสําคัญที่มหาวิทยาลัยต้องเติมเต็ม นอกจากนั้น ความมีวินัยของนักวิจัยเป็นสิ่งสําคัญ นักวิจัยต้องรับผิดชอบต่องานวิจัยที่ทํา มีคุณธรรมจริยธรรมต่อการวิจัย และสิ่งสุดท้ายที่ จะเป็นแรงจูงใจแก่นักวิจัยคือ การที่นักวิจัยเล็งเห็นว่า งานวิจัยที่ทํา นอกจากจะก่อเกิด ประโยชน์แก่ตนเองในเรื่องของภาระงาน ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์สามารถขอรับรางวัล และ ขอผลงานทางวิชาการแล้ว ยังก่อเกิดประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ ชุมชน อันเป็นภารกิจ หนึ่งของมหาวิทยาลัย
3) ปัจจัยด้านการพัฒนาคุณภาพงานวิจัย ประเด็นของงานวิจัยต้องมาจากสภาพปัญหา ความต้องการ และความเหมาะสมช่วง จังหวะของพื้นที่ด้วยเช่นกัน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต้องมีส่วนร่วม อย่างน้อยในการคิด ออกแบบการดําเนินงานวิจัย จนถึงสูงสุดคือการร่วม ดําเนินการ ร่วมแรง ร่วมทุน เป็นต้น การ Review ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งสําคัญ เพื่อนําไปสู่การต่อยอด หรือหลีกเลี่ยงการทํางานวิจัยซ้ํา ทั้งนี้โดยมีพี่เลี้ยงที่มีประสบการ งานวิจัยเชิงพื้นที่คอยทําหน้าที่แนะนํา ให้คําปรึกษา Coaching งานวิจัยที่สามารถนํามา บูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาของนักวิจัย หรือการบูรณาการกับบริหาร วิชาการของสาขาหรือคณะได้
4) ปัจจัยด้านการพัฒนาระบบพี่เลี้ยง พี่เลียงในที่นี้คือ นักวิจัยที่มีประสบการณ์ การทํางาน วิจัยเชิงพื้นที่มาแล้วไม่ต่ํากว่า 5 ปี มีทักษะความรู้ ความสามารถที่จะสามารถ Coach นักวิจัยหน้าใหม่ได้ ตัวพี่เลี้ยงต้องมีความศรัทธา เชื่อมั่น และเห็นประโยชน์ของงานวิจัย เชิงพื้นที่ว่า สามารถนําสู่การพัฒนาชุมชนได้อย่างแท้จริง พี่เลี้ยงจะได้รับการแต่งตั้ง อย่างเป็นทางการจากมหาวิทยาลัยฯ สามารถนับเป็นภาระงานได้
5) ปัจจัยด้านการสร้างเครือข่าย เป็นลักษณะการทํางานวิจัยแบบบูรณาการกับ ผู้ประกอบการ กลุ่ม วิสาหกิจชุมชน สมาคม โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ซึ่ง กลุ่ม หน่วยงานเหล่านี้ ต้องมีความศรัทธา ทัศนคติ ความเชื่อมั่นต่อมหาวิทยาลัย นักวิจัย ต่อโครงการวิจัยฯ รวมถึง ประโยชน์ที่จะได้รับจากงานวิจัย และที่สําคัญการเข้า มามีส่วนร่วมในโครงการวิจัยฯตั้งแต่ต้น
กรอบแนวคิดที่ 3 การพัฒนาระบบจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัย
ระบบจัดการงานวิจัยที่ดีของ
มหาวิทยาลัย
ระบบสารสนเทศ /เทคโนโลยี
ระบบการบริหารจัดการงานวิจัยที่ดีระดับคณะ หน่วยงานจัดการวิจัย/สถาบันวิจัยและพัฒนา
นโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยฯที่สอดรับ กับการดําเนินงานวิจัย
รูปภาพที่ 3 การพัฒนาระบบจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัย
จากกรอบแนวคิดการวิจัยที่ 3 ระบบ มหาวิทยาลัยฯต้องมีนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ที่เอื้อต่อการทํางานของนักวิจัย มีกองทุนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนงบวิจัย ทั้ง ลักษณะให้โดยตรงกับนักวิจัย เฉพาะนักวิจัยหน้าใหม่ ให้ได้เรียนรู้ งานวิจัยเชิงพื้นที่ และลักษณะ ในการร่วมทุนกับหน่วยงานภายนอก การเพิ่มภาระงานด้านวิจัยเชิงพื้นที่ มีหน่วยงานหลัก เช่น สถาบันวิจัยและพัฒนาทําหน้าที่อํานวยการ ประสานงานวิจัย และขับเคลื่อนงานในระบบทั้งต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา คู่ขนานไปกับ ระบบการบริหารจัดการงานวิจัยระดับคณะ ที่ต้องมีระบบ กลไกที่ชัดเจน เช่น มีโครงสร้าง มีงบดําเนินงาน มีขั้นตอนการบริหารงานวิจัยที่เชื่อมโยงกับการ บริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยคือ สถาบันวิจัยและพัฒนา มีระบบสารสนเทศ และประการสุดท้าย มีระบบสารสนเทศที่เป็นเอกภาพของมหาวิทยาลัยที่สามารถประมวลข้อมูลในรูปแบบสารสนเทศที่ สามารถนําสู่การใช้ประโยชน์ทั้งต่อผู้บริหารมหาวิทยาลัย ต่อนักวิจัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง
ภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยฯ รวมถึงมี เทคโนโลยีที่อํานวยความสะดวกต่อการดําเนินงานวิจัย เช่น มีระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบริการฟรี มีฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการสืบค้น เป็นต้น
กรอบแนวคิดที่ 4 การพัฒนาระบบพี่เลี้ยงสนับสนุน
ศรัทธา และเชื่อมั่น ที่มีต่องานวิจัยเชิง พื้นที่
ทักษะ ความรู้ ความสามารถของ พี่เลี้ยง
แรงจูงใจ ประโยชน์ที่มีต่อ พี่เลี้ยง
รูปภาพที่ 4 การพัฒนาระบบพี่เลยง
จากกรอบแนวคิดการวิจัยที่ 4 อธิบายได้ว่า ระบบพี่เลี้ยงมีความสําคัญ ต่อการพัฒนา นักวิจัยเชิงพื้นที่หน้าใหม่ โดยเฉพาะนักวิจัยที่มาจากศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นตัวพี่เลี้ยงต้องมี ประสบการณ์ การทํางานวิจัยเชิงพื้นที่มาแล้วไม่ต่ํากว่า 5 ปี มีทักษะความรู้ ความสามารถที่จะ สามารถ Coach นักวิจัยหน้าใหม่ได้ นอกจากนั้น ตัวพี่เลี้ยงต้องมีความศรัทธา เชื่อมั่น และเห็น ประโยชน์ของงานวิจัยเชิงพื้นที่ว่า สามารถนําสู่การพัฒนาชุมชนได้อย่างแท้จริง พี่เลี้ยงจะได้รับการ แต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากมหาวิทยาลัยฯ สามารถนับเป็นภาระงานได้
5. วิธีดําเนินการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาได้บริหารโครงการด้วยกระบวนการ มีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตั้งแต่ต้นน้ํา กลางน้ํา และปลาย ดังนี้
กระบวนการที่ 1 การวางแผนการทํางาน การศึกษาทบทวนของพื้นที่ จากข้อมูลปฐมภูมิ และข้อมูลทุติยภูมิ ทั้งที่เป็นข้อมูลที่มาจากผลการวิจัยของนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง และข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ภายหลังจัดให้มีเวทีการทบทวนและพัฒนาโจทย์
โดยเชิญตัวแทนของที่เกี่ยวข้องและตัวแทนจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเข้าร่วมวิพากษ์ เพื่อให้ได้โจทย์ที่ตรงกับสภาพปัญหา ความต้องการของผู้ประกอบการ
กระบวนการที่ 2 การประกาศทุน โดยวางกรอบ ขอบเขต ข้อเสนอโครงการที่ครอบคลุม วัตถุประสงค์ทั้ง 3 ข้อ
กระบวนการที่ 3 การวิจัยเชิงพื้นที่ เป็นกระบวนการกลางน้ํา ที่นักวิจัยดําเนินการวิจัย ตามแผนปฏิบัติการโดยให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีสถาบันวิจัยและพัฒนาเป็นหน่วยงานจัดการที่มีบทบาทเป็นโค้ช ที่ปรึกษา ผู้อํานวยความสะดวกในการดําเนินการ เช่น การประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเบื้องต้น
กระบวนการที่ 4 การสนับสนุนส่งเสริมคุณภาพงานวิจัย และศักยภาพนักวิจัย เป็นกระบวนการที่มุ่งหนุนเสริมให้งานวิจัยสามารถก่อเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง โดยพัฒนาศักยภาพ ตัวนักวิจัย เช่นการจัดให้มีระบบพี่เลี้ยงเพื่อคอยเป็นคําปรึกษา ช่วยเหลือนักวิจัยโดยเฉพาะนักวิจัย หน้าใหม่ การจัดกิจกรรมการทํางานวิจัยเชิงพื้นที่ เพื่อให้นักวิจัยมีความรู้กระบวนการทํางานที่ตอบ โจทย์ในพื้นที่ รวมถึง มีระบบการติดตาม ในรูปแบบการจัดเวทีรายงานความก้าวหน้า การส่งเล่ม รายงาน การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโครงการ เป็นต้น นอกจากนั้นยังเป็นกระบวนการที่ นักวิจัยเชื่อมงานวิจัยกับการเรียนการสอนและงานบริการวิชาการ
กระบวนการที่ 5 การสนับสนุนการเผยแพร่งานวิจัย และการนํางานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ เป็นการกระบวนการปลายน้ํา ที่สนับสนุน ส่งเสริมให้นักวิจัยคืนข้อมูล ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ได้จาก การวิจัยแก่ผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ตลอดจนการจัดอบรมการสังเคราะห์งานวิจัย การเขียนบทความ เพื่อให้นักวิจัยสามารถมีผลงานที่เป็นบทความที่มีคุณภาพเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร ต่างๆ เป็นต้น
6. ขอบเขตการวิจัย
6.1 ขอบเขตด้านพื้นที่
พื้นที่ของโครงการนวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปางใน ครั้งนี้ กระจายไปตามตําบล อําเภอต่างๆในจังหวัดลําปาง เนื่องจาก เป็นการยึดสถานที่ประกอบการ ของกลุ่มผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์
6.2 ขอบเขตด้านกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายของโครงการนวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัด
ลําปาง จําแนกได้ดังนี้
1) ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ ได้แก่ นายกสมาคมข้าวแต๋น ผู้ประกอบการข้าวแต๋น กลุ่มไข่เค็มพอกดินภูเขาไฟลุงอ้วน กลุ่มตีมีดหมู่บ้านขามแดง กลุ่มน้ําปู กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแมคคาเดเมีย กลุ่มวิสาหกิจเพาะเห็ดโรงเรือนบ้านเวียงหงส์ ล้านนา โรงงานศาลาทองเซรามิก กลุ่มผ้าทอบ้านไหล่หิน
2) หน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ โรงเรียน บางผลิตภัณฑ์มีตัวแทนจาก พัฒนาชุมชน กฟผ.แม่เมาะ นายอําเภอ แม่เมาะ เป็นต้น
3) ผู้นําชุมชน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน
6.3 ขอบเขตด้านเนื้อหาและองค์ความรู้ การวิจัยตามโครงการนวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปาง
ในครั้งนี้ ครอบคลุมวัตถุประสงค์ในประเด็นต่อไปนี้
1) การพัฒนาและสนับสนุนการวิจัยในการสร้างนวัตกรรมที่ตอบสนองการ แก้ปัญหาและพัฒนาตามโจทย์ของชุมชนในพื้นที่จังหวัดลําปาง
2) การพัฒนาระบบจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของมหาวิทยาลัย
3) การพัฒนาระบบพี่เลี้ยงสนับสนุน
7. นิยามศัพท์
เพื่อสร้างความเข้าใจความหมายของบางคําที่ใช้ในโครงการนวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิง พื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปางนี้ จึงขยายความหมายศัพท์ดังนี้
นวัตกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหรือการปรับปรุงกระบวนการ วิธีการที่ แตกต่างไปจากเดิม ทําให้ผลิตภัณฑ์ได้รับการพัฒนามากขึ้นกว่าเดิม อันจะนําไปสู่การเป็นสถาน ประกอบการ ที่สามารถพึ่งตนเองได้
Smart enterprise หมายถึง ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯได้มีการพัฒนา กระบวนการผลิตที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น หรือกลุ่มมีรวมตัวกันและเกิด
ระบบการบริหารจัดการที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น หรือเกิดการรวมกลุ่มใหม่เพื่อการประกอบอาชีพ
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เป้าหมายทั่วไป
1. สถานประกอบการในจังหวัดลําปางสามารถยกระดับการผลิตสู่การเป็น Smart enterprise ตามแนวคิด Thailand 4.0
2. มหาวิทยาลัยได้นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปาง
3. มหาวิทยาลัยมีเครือข่ายนักวิจัยเชิงพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ร่วมกับชุมชน
เป้าหมายเฉพาะ
เป้าหมายของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ทั้งเชิงปริมาณ (quantity) คุณภาพ (quality) รวมถึง ผลผลิต (output) และผลลัพธ์ (outcome) อย่างเป็นรูปธรรมดังนี้
เชิงคุณภาพ
ผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่เคยผ่านการจัดระดับผลิตภัณฑ์สามารถพัฒนาเกณฑ์การจัดระดับผลิตภัณฑ์ ทั้งสามด้าน
1) ด้านผลิตภัณฑ์และความเข้มแข็งของชุมชน
2) ด้านความเป็นไปได้ทางการตลาด
3) ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ ผลิตกัณณ์ที่ผ่านเกณฑ์การจัดระดับผลิตภัณฑ์แล้ว ถูกยกระดับให้ สูงขึ้นไม่น้อยกว่า 1 ระดับ
เชิงปริมาณ
1) สถานประกอบการที่ร่วมโครงการสามารถลดต้นทุนหรือมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ
10
2) ผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) สินค้าในพื้นที่ได้รับการพัฒนาและยกระดับอย่างน้อยร้อยละ 80
ของสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ
3) มีนวัตกรรมการจัดการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สามารถจดทรัพย์สินทางปัญญา อย่างน้อย 1 รายการ
ผลผลิต (Output) ของ ABC
1) ผลสําเร็จของการแก้ปัญหาที่เป็นโจทย์ร่วมภาคีพัฒนาในพื้นที่ได้ หมายถึง สิ่งที่เป็นปัญหา อยู่ เปลี่ยนให้ดีขึ้น สิ่งที่เป็นโอกาสแต่ยังไม่ได้ใช้ ก็ใช้ให้มากขึ้น
2) เกิด “กลไก” ที่มีความสามารถจัดการกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ กล่าวคือ กลไกที่ มีผลประโยชน์ร่วมกัน มีความเป็นธรรม สามารถจัดการเรื่องใหม่ๆในอนาคตได้
3) องค์ความรู้ทางวิชาการจากบริบทปัญหา / การพัฒนาของสังคมไทย
ผลลัพธ์ (outcome)
1) เกิดผู้ประกอบการในระดับ Smart enterprise
2) มีการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปางกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อการนําใช้ ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สู่การจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3) มีนักวิจัยทํางานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม (Engagement) โดยการบูรณรา การงานวิจัย การจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม
บทที่ 2
แนวคิด ทฤษฏี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การดําเนินงานภายใต้โครงการ นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัด ลําปาง ทั้งด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัย และ การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ ทางคณะ ดําเนินงานได้ทบทวนแนวคิด หลักการการดําเนินงานดังต่อไปนี้
2.1 แนวคิด “ประเทศไทย 4.0”
แนวคิด “ประเทศไทย 4.0”เป็นความมุ่งมั่นของรัฐบาลในยุคนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” กล่าวคือ ในปัจจุบัน เรายังติดอยู่ในโมเดลเศรษฐกิจแบบ “ทํามาก ได้น้อย” ต้องปรับเปลี่ยนเป็น “ทําน้อย ได้มาก” อันหมายถึงการขับเคลื่อนให้เกิด การเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยใน 3 มิติสําคัญ คือ
(1) เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม”
(2) เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อน ด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
(3) เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น “ประเทศไทย 4.0” จึงเป็นการเปลี่ยนผ่านทั้งระบบใน 4 องค์ประกอบสําคัญ คือ
(1) เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) ในปัจจุบันไปสู่การเกษตร สมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรต้องร่ํารวยขึ้น และ เป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur)
(2) เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่ที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ ตลอดเวลา ไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง
(3) เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ํา ไปสู่ High Value Services
(4) เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ําไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาและทักษะสูง
แนวคิด “ประเทศไทย 4.0” จึงเป็นการถักทอเชื่อมโยงเทคโนโลยีหลักที่ต้นน้ํา เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่อยู่กลางน้ํา และ Startups (ธุรกิจที่ถูก ออกแบบมาให้เติบโตอย่างรวดเร็วมาตั้งแต่แรก ) ต่างๆที่อยู่ปลายน้ํา โดยใช้พลัง “ประชารัฐ” ในการ ขับเคลื่อนผู้มีส่วนร่วมหลักจะประกอบด้วยภาคเอกชน ภาคการเงิน การธนาคาร มหาวิทยาลัย
ในงานวิจัยนี้ Smart Enterprise หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหรือการปรับปรุงกระบวนการ วิธีการที่แตกต่างไปจากเดิม ทําให้ผลิตภัณฑ์ได้รับการพัฒนามากขึ้นกว่าเดิม อันจะนําไปสู่การเป็น สถานประกอบการ ที่สามารถพึ่งตนเองได้
2.2 การวิจัยเชิงพื้นที่: การทําวิจัยแบบ ABC
ABC ย่อมาจาก Area-Based Collaborative แปลว่า การมีความร่วมมือกัน(ใน งานหนึ่ง) โดยใช้ ”พื้นที่” เป็นฐานความร่วมมือนั้น ABC เป็นคําขยายของ Research (R) ที่แปลว่า วิจัย ฉะนั้น หมายความว่าเป็นการร่วมกันทําวิจัย การมีส่วนร่วม หมายถึง “ร่วมทําเพื่อร่วมเรียนรู้ และร่วมพัฒนา” เรียนรู้และพัฒนาคือเป้าหมายหลักที่เกิดจากการทําวิจัย การเรียนรู้เกิดกับคน และสังคม (สังคมเรียนรู้ได้ หากสังคมเรียนรู้ การพัฒนาจะเกิดไม่ยาก)
งาน ABC มีหลักสําคัญ 4 ข้อ คือ
(1) ใช้ “พื้นที่” เป็นตัวร่วม คือจังหวัด เพราะมีกลไกบริหารที่ค่อนข้างจะชัดเจน อยู่แล้วมีทรัพยากรในการบริหารไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ กําลังคนชัดเจน แต่ขาดข้อมูลความรู้ ขาดการมีส่วนร่วม งาน ABC จึงเน้นการเข้าไปเสริมกลไกการจัดการของภาคี จังหวัด ซึ่งหมายรวมถึง ภาครัฐ เอกชน ภาคธุรกิจ ประชาชนสังคม สถาบันการศึกษาในพื้นที่ ด้านวิชาการ
(2) โจทย์วิจัยเป็นปัญหาของจังหวัด เอาโจทย์ของการพัฒนาจังหวัดนั้นๆ เป็นตัว ตั้ง และมองภาพการพัฒนาพื้นที่ในภาพรวม หมายความว่าทุกคนเห็นว่าเรื่องนี้ควรจะทํา ตอนเริ่มต้น มักจะเป็นโจทย์เชิงพัฒนา คือ ปัญหามีที่มาจากงานพัฒนา แต่ต้องมีกระบวนการจัดการ ให้สามารถ แปลงให้เป็นโจทย์วิจัย การทํางานวิจัยเพื่อตอบโจทย์ลักษณะนี้ต้องการ การบูรณาการศาสตร์หลาย สาขา
(3) กลไกจังหวัดเป็นผู้ร่วมกําหนดโจทย์และร่วมกํากับการทําด้วย คือ เดินไป
ด้วยกัน กระบวนการทํางาน ABC จึงเป็นการพัฒนาขนฐานข้อเท็จจริง ข้อมูล ความรู้ และ การมีส่วน ร่วม (Collaboration) ตั้งแต่ต้น เน้นการใช้แนวคิดเรื่องของ “ความร่วมมือ” “การเรียนรู้ร่วมกัน” และ “การทํางานแบบเสริมแรงกัน” ระหว่างคนที่มีจุดแข็งแตกต่างกัน (ชาวบ้าน ราชการ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน วิชาการ)
(4) ABC ทํางานแบบฐานข้อมูล และข้อเท็จจริง ไม่ใช่ความเห็น หรือความเชื่อ เป็นการนํา “วัฒนธรรมข้อมูล” เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์และพยากรณ์ปัญหา ในการบริหารจัดการ การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ (ABC) นี้ จําเป็นต้องมีการกําหนดตําแหน่งของงานวิจัยโดยมองว่าความรู้ที่ได้ จะไปเชื่อมกับกลไกพัฒนาจังหวัดซึ่งประกอบด้วยหลายภาคส่วนอย่างไร
Output ของงาน ABC มี 3 ประการคือ
(1) ผลสําเร็จของการแก้ปัญหาที่เป็นโจทย์ร่วมภาคีพัฒนาในพื้นที่ได้ หมายถึง สิ่งที่เป็นปัญหาอยู่ เปลี่ยนให้ดีขึ้น สิ่งที่เป็นโอกาสแต่ยังไม่ได้ใช้ ก็ใช้ให้มากขึ้น
(2) เกิด “กลไก” ที่มีความสามารถจัดการกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ กล่าวคือ กลไกเดิมอาจจะมีแต่ภาครัฐอย่างเดียวหรือมีแต่ธุรกิจ Dominate อย่างเดียว แต่จะทําอย่างไรให้เป็นกลไกที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน มีความเป็นธรรมพอสมควรระหว่างกัน มีความสามารถในการจัดการเรื่องใหม่ๆ ในอนาคตได้
(3) องค์ความรู้ทางวิชาการจากบริบทปัญหา/การพัฒนาของสังคมไทย กล่าวโดยสรุป หากมองจากจุดเน้นของงานวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่แล้ว จะพบว่า
เป็นงานวิจัยประเภทที่หวังผลให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในพื้นที่ เป็นงานที่ไม่ได้หวังผลเพียง ปริมาณผลงานวิจัยแต่ต้องนําสู่การจัดการปัญหาหรือสร้างทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม
ให้ความสําคัญกับการจัดกระบวนการเรียนรู้กับกลุ่มเป้าหมาย สร้างวิธีคิด ในการแก้ปัญหาบน ฐานข้อมูลและความรู้ กระบวนการพัฒนางานวิจัยจึงเริ่มด้วยการคิดเรื่องกลไกจัดการเป็นเรื่องแรก สกว. พบว่า ในการจะตั้งโจทย์วิจัยที่หวังผลให้เกิดกลไกจัดการไปพร้อมๆกันนี้เป็นเรื่องที่ท้าทาย ต้องใช้ความรู้หลายด้านและการวิเคราะห์ปัจจัยเงื่อนไขที่ซับซ้อนด้านคนและองค์กรในพื้นที่ ตลอดจน สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างเป็นระบบ รวมถึงต้องมีตัวจักรหลักในพื้นที่ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาและมีการจัดการที่ดีมากจึงจะนําไปสู่เป้าหมายที่วางเอาไว้
2.3 มาตรฐานผลิตภัณฑ์
พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ได้กําหนดคําว่า "มาตรฐาน" ไว้ว่าวมาตรฐาน คือ ข้อกําหนดรายการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างเกี่ยวกับ จําพวก แบบ รูปร่าง มิติ การทําเครื่องประกอบ คุณภาพ ชั้น ส่วนประกอบ ความสามารถ ความทนทาน ความ ปลอดภัย ของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
1) วิธีทํา วิธีออกแบบ วิธีเขียนรูป วิธีใช้ วัตถุที่จะนํามาทําผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และความ ปลอดภัยอันเกี่ยวกับการทําผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
2) จําพวกแบบ รูปร่าง มิติของหีบห่อ หรือสิ่งบรรจุชนิดอื่นรวมตลอดถึงการทําหีบห่อหรือ สิ่งบรรจุชนิดอื่น วิธีการบรรจุ หุ้มห่อหรือผูกมัดและวัตถุที่ใช้ในการนั้นด้วย
3) วิธีทดลอง วิธีวิเคราะห์ วิธีเปรียบเทียบ วิธีตรวจ วิธีทดสอบและวิธีชั่ง ตวง วัด อัน เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4) คําเฉพาะ คําย่อ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย สี เลขหมาย และหน่วยที่ใช้ในทางวิชาการอัน เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
5) ข้อกําหนดรายการอย่างอื่นอันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตามที่รัฐมนตรีประกาศ หรือตามพระราชกฤษฎีกา
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมายถึง สิ่งหรือเกณฑ์ทางเทคนิคที่กําหนดขึ้น สําหรับ ผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม เกณฑ์ทางเทคนิคนี้จะระบุคุณลักษณะที่สําคัญของผลิตภัณฑ์ ประสิทธิภาพ ของการนําไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุดิบที่นํามาผลิต ซึ่งจะรวมถึงวิธีการทดสอบด้วย เพื่อใช้เป็น เครื่องตัดสินว่าคุณภาพผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่
มาตรฐานชุมชนกําหนดขึ้น เพื่อสนับสนุนการนําภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่นมาพัฒนา และ ยกระดับการผลิตให้มีคุณภาพเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน ตามโครงการ "หนึ่งตําบล หนึ่ง ผลิตภัณฑ์" ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาล โดยสํานักงานฯ ให้การรับรองและแสดงเครื่องหมายรับรอง คุณภาพ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือแก่ผู้บริโภคและสามารถขยายตลาดส่งออกจําหน่ายใน ตลาดวงกว้าง ได้มากขึ้น
มาตรฐานระบบการจัดการ (Management System Standard) คือ ข้อกําหนดหรือ
ขั้นตอน ในการบริหาร กระบวนการทํางานต่างๆ ขององค์กร เพื่อให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลของการ ดําเนินงาน และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ปัจจุบันมาตรฐานระบบการ จัดการที่สําคัญและหน่วยงานทั่วโลกนําไปใช้อย่างแพร่หลาย ได้แก่
มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 ISO 9000 (Quality Management System : QMS) เป็นมาตรฐานสากลสําหรับการบริหารงาน ในองค์กรที่นําไปใช้กันอย่างแพร่หลาย
เพื่อพัฒนาองค์กรให้มีกระบวนการทํางานที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ โดยสามารถนําไปใช้ได้ ทุกองค์กร ทุกขนาดทั้งอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและผู้ ที่เกี่ยวข้อง โดยปัจจุบัน ISO 9000 : 2000 แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ฉบับ คือ
ISO 9000: ระบบการบริหารงานคุณภาพ-หลักการพื้นฐานและคําศัพท์
ISO 9001: ระบบการบริหารงานคุณภาพ-ข้อกําหนด
ISO 9004: ระบบการบริหารงานคุณภาพ-แนวทางการปรับปรุงสมรรถนะ
ISO 19011: แนวทางในการตรวจประเมินระบบการบริหารงานบุคคล และ/หรือระบบการ จัดการสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environment Management System : EMS) เป็น มาตรฐานที่มีความสําคัญมากเพราะกําหนดขึ้นเพื่อสนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อมของ หน่วยงาน หรือองค์กร ที่ครอบคลุมถึงการจัดระบบ โครงสร้างองค์กร การกําหนดความรับผิดชอบ การปฏิบัติงาน ระเบียบปฏิบัติ กระบวนการและการใช้ทรัพยากรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มี การจัดการและ สร้างจิตสํานึกที่ดีร่วมกันในการรักษาไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดีทั้งในหน่วยงานและรวมไป ถึงชุมชนใกล้เคียง เพื่อนําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนอีกด้วย
มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มอก. 18001 ระบบการจัดการ
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นเรื่องที่มีความสําคัญต่อเราทุกคนเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะเป็น เรื่องที่เกี่ยวข้องกับเราโดยตรง หน่วยงานหรือองค์กรสมัยใหม่ในปัจจุบัน จึงหันมาใส่ใจในเรื่องอาชีวอ นามัยและความปลอดภัยของบุคลากรในกระบวนการทํางานต่างๆ กันมากขึ้น โดยการชี้บ่งอันตราย และประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งภายในองค์กรเองและ ชุมชนใกล้เคียง ทั้งนี้เพื่อปรับปรุง และ พัฒนาการ ดําเนินงานในองค์กรอย่างต่อเนื่อง
มาตรฐานห้องปฏิบัติการสอบเทียบและห้องปฏิบัติการทดสอบ การที่เราจะมั่นใจได้ว่า สินค้ามีคุณภาพหรือไม่นั้น จําเป็นที่จะต้องนําไปทดสอบจากหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือและมีเครื่องมือใน การทดสอบที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ซึ่งมาตรฐานที่นํามาใช้ในการกับหน่วยงานที่ ให้บริการในเรื่องดังกล่าวได้แก่ มาตรฐานห้องปฏิบัติการสอบเทียบและห้องปฏิบัติการทดสอบตาม มอก.17025-2543 ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025
มาตรฐานระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร
มาตรฐานด้านอาหารนับวันจะมีความสําคัญมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะประเทศไทยเป็นประเทศ เกษตรกรรมและเป็นประเทศส่งออกอาหารที่สําคัญของโลก การส่งออกอาหารไปจําหน่าย และ สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับผู้บริโภคได้นั้น จําเป็นต้องมีระบบการจัดการด้านอาหารที่ เป็นที่ยอมรับ และระบบการวิเคราะห์อันตราย และจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) System เป็นมาตรฐานสากลที่ยอมรับ กันทั่วโลกและ นําไปใช้ในอุตสาหกรรมกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น
2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
รศ.ดร.ฉัตรนภา พรหมมา (2560: บทคัดย่อ) การพัฒนาระบบบริหารงานวิจัยและพันธ กิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์กับสังคม พบว่า จุดเปลี่ยนสําคัญ ปี 2540 – 2550 คือ มหาวิทยาลัยได้ทุนวิจัยเชิงกลยุทธ์เพื่อประเมินสถานภาพองค์ความรู้และพัฒนาชุดโจทย์วิจัยที่สนอง ต่อเป้าหมายวิสัยทัศน์การพัฒนาพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์จาก สกว. ทําให้เกิดการพัฒนาระบบบริหาร จัดการงานวิจัยและเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคีทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง ปี 2551- 2554 มหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนจาก สสส.ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ร่วมกับภาคีเครือข่าย มี การออกแบบการทํางานเพื่อสร้างกลไกเชิงระบบที่เชื่อมงานประกันคุณภาพองค์กรกับการพัฒนาพื้นที่ โดยกระบวนการจัดการความรู้อย่างมีส่วนร่วม เป็นการลดช่องว่างที่เคยมีและได้เชื่อมต่อสิ่งดีจาก ประสบการณ์คนรุ่นเก่า สานพลังทุกคณะร่วมกับองค์กรภาคี โดยมีการพัฒนากระบวนการคิด วิธี ทํางานของม👉าวิทยาลัยกับองค์กรภาคีส่งผลให้เกิดการสานพลังทํางานสู่เป้าหมายร่วมกันทั้งระดับ ตําบลและจังหวัด มหาวิทยาลัยได้พัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาพื้นที่ โดยความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรภาคีอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยง👉น่วย จัดการงานวิจัยของทุกคณะ (RMU) กับงานพัฒนาตําบลซึ่งมี👉น่วยจัดการความรู้และวิจัยชุมชนของ ตําบล (TRMU) ทํา👉น้าที่เชื่อมสถานการณ์ปัญ👉าจากพื้นที่เพื่อการวิจัยและปฏิบัติพันธกิจแบบบูรณา การอย่างมีส่วนร่วมโดยมีองค์ประกอบหลักของรูปแบบการบริหารจัดการที่เรียกว่า อุตรดิตถ์โมเดล หรือ RICN Model ได้แก่ 1) การสร้างองค์ความรู้และการจัดการความรู้ควบคู่กับการทํางาน (Research : R) 2) การบูรณาการพันธกิจและศาสตร์ทุกสาขากับปัญหาในพื้นที่ (Integration : I) 3) การสื่อสารโดยฐานข้อมูลที่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงเพื่อใช้ประโยชน์ (Communication : C) และ
4) เครือข่ายการเรียนรู้และการทํางานทั้งภายในและภายนอกสู่เป้าหมายร่วมพัฒนา
นินุช บุณยฤทธานนท์ และคณะ (2559: บทคัดย่อ) ทําการวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบและ กลไกบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเอกชนที่เอื้อต่อการวิจัยเชิงพื้นที่: มหาวิทยาลัยฟาร์ฮีส เทอร์นกับงานวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท (ตําบลสารภี) ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนา ระบบ และกลไกบริหารงานวิจัยมหาวิทยาลัย เอกชนที่เอื้อต่อการวิจัย เชิงพื้นที่( กึ่งเมืองกึ่งชนบท) มี จุดเริ่มต้นจากงานบริการวิชาการ ของคณะบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ในพื้นที่ตําบล สารภี อําเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จนเกิดการตระหนัก ร่วม สู่การพัฒนาเป็นงานวิจัยเชิงพื้นที่ โดย อาศัยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย ฟาร์อีสเทอร์น หน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มประชาคมในพื้นที่ ตําบลสารภี ภาคใต้การสนับสนุนของสํานักงาน (สกว.)เพื่อบูรณาการพันธกิจ ของแต่ละหน่วยงานใน การแก้ไขปัญหา ชมชนร่วมกันผลสรุปของการลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการศึกษาบริบท พื้นฐานของ ระบบการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น โดยกําหนด วัตถุประสงค์ ไว้อยู่ 2 ประเภทคือ 1)พลังให้เกิดนวัตกรรม เพื่อชุมชนที่เหมาะสมกับตําบลสารภีใน 3 ด้าน คือเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม และ 2) เพื่อปรับปรุงระบบและกลไกการวิจัย เพื่อสังคมของ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น พื้นที่ในการวิจัยคือชุมชนตําบลสารภีในทั้ง 10 หมู่บ้าน โดยใช้ กระบวนการการมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพ ชีวิตในด้านต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในพื้นที่
ผลการดําเนินงานของโครงการ จนถึงปัจจุบันกับการพัฒนาระบบและกลไกมหาวิทยาลัย ในช่วงเวลา 1 ปีกับ 6 เดือน ตั้งแต่จุดเริ่มต้น ในเดือนตุลาคม 2558 พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในเชิงระบบ บริหารงาน วิจัยระดับสถาบัน คือ เกิดคณะทํางานเพื่อกําหนดกฎเกณฑ์ และการลดขั้นตอนระเบียบ ทางการเงิน มีการจัดตั้งคณะกรรมการด้านการวิจัยเพื่อภารกิจเฉพาะด้าน มีการพัฒนาศักยภาพ นักวิจัยในโครงการชุดอย่างต่อเนื่อง ในส่วนการพัฒนาพื้นที่ตําบลสารภีได้มีการดําเนินงาน วิจัยเป็น เวลา 1 ปีเต็ม กับการทํางานผ่านโครงการฯ วิจัยชุดย่อย ทั้งสิ้น 6 โครงการพบว่า เกิดการศึกษาบริบท ชุมชนเป็นองค์รวม เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วม การระวังนักวิจัยและประชาคม ในพื้นที่มี การปรับกระบวนการทํางาน พัฒนาชุมชนที่เห็นชัดเจน รวมถึงได้ค้นพบแนวทางการแก้ไขปัญหาผ่าน กระบวนการ การมี ส่วนร่วมของคนในชุมชนทุกชุดโครงการ ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความเป็นชุมชน กึ่งเมืองกึ่งชนบทโดยตรง เช่นการสืบค้นและรวบรวมประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นเพื่อค้นหาทุนชุมชน การ พัฒนากลุ่มอาชีพ ที่เข้มแข็ง การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วม ของชุมชนด้วยเวทีชุมชนที่เน้น การ สร้างความร่วมมือมากกว่าการสั่งการ เป็นต้น ทําให้เกิดความเชื่อมโยงการทํางาน ระหว่างกันมากขึ้น และปัจจุบันโครงการย่อยในทั้ง 6 โครงการยังคงอยู่ระหว่างการดําเนินงาน ตามวัตถุประสงค์ โครงการฯ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงพื้นที่ ที่เป็นลูกธรรม ตามเป้าหมายของแต่ละโครงการ ต่อไป
อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ และคณะ (2561: บทสรุปผู้บริหาร) นวัตกรรมพัฒนาพื้นที่ เพื่อเพิ่มมูลค่าของห่วงโซ่เศรษฐกิจปลาสลิดบางบ่อ ตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมสินค้าปลอดภัยเป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม จังหวัดสมุทรปราการ ผลการศึกษาวิจัยที่เกิดจากการพัฒนา ระบบการบริหาร จัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติพบว่า การดําเนินการพัฒนาระบบ บริหารจัดการงานวิจัยในครั้งนี้ ทําให้เกิดการสร้างนักจัดการงานวิจัยเกิดขึ้นในองค์กร จํานวน 8 คน เกิดนักวิจัยทั้งสิ้น 80 คน โดยเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์วิจัยเชิงพื้นที่จํานวน 65 คน
คิดเป็นร้อยละ 81.25 มีผลงานวิจัยเกิดขึ้นในโครงการวิจัยนี้ 15 โครงการ ผลการดําเนินงาน ก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยใหม่ ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนให้อาจารย์ของมหาวิทยาลัยได้ศึกษา ค้นคว้า วิจัย บูรณาการงานวิจัยกับงานอื่นๆ เพื่อประโยชน์ในการสร้างองค์ความรู้ให้เกิดกับอาจารย์ คณะวิชา มหาวิทยาลัย ชุมชนและสังคม โดยการสนับสนุนงานวิจัยในหลายลักษณะสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ ท้องถิ่น ชุมชน งานวิจัยเชิงวิชาการ งานสร้างสรรค์ ซึ่งจะทําในลักษณะโครงการวิจัยชุดโครงการ หรือโครงการวิจัย เดี่ยว มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการงานวิจัยในสองระดับ ระดับมหาวิทยาลัย และระดับ คณะวิชา มีการค้นหาและพัฒนากรอบโจทย์วิจัยและประกาศกรอบโจทย์วิจัย การพิจารณาข้อเสนอฯ การจัดสรรทุน ติดตามความก้าวหน้าของการดําเนินการวิจัย ส่งเสริมการบูรณาการงานวิจัยกับภารกิจ อื่นๆและส่งเสริมการเผยแพร่ และการนําไปใช้ประโยชน์ รวมถึงการจัดสิทธิบัตร และอนุสิทธิบัตร ซึ่งคณะกรรมการทั้งสองคณะดําเนินงานประสานสัมพันธ์กันตั้งแต่ต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา
การดําเนินงานดังกล่าว ส่งผลให้ได้ผลงานวัยที่มีลักษณะชุดโครงการเพิ่มมากขึ้น สามารถ นําไปใช้ประโยชน์ได้จริง และมีความเป็นเลิศตามศาสตร์สาขาวิชา เป็นการสร้างความเข้มแข็ง ทางวิชาการให้กับคณะ นอกจากนั้นยัง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับนโยบายลงสู่การปฏิบัติ
เกิดผลการวิจัยชุดโครงการ เป็นลักษณะงานวิจัยเพื่อตอบโจทย์พื้นที่ ชุมชน และสังคม ซึ่งสอดคล้อง กับแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัด และทําให้เกิดบรรยากาศในการดําเนินการวิจัย มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกันของผู้วิจัย การทํางานในลักษณะบูรณาการศาสตร์ และเทคนิคการวิจัยทั้งสาย วิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีการสร้างเครือข่ายกับภาคีภายนอกมากขึ้น ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับ จังหวัดทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน โดยมีกระบวนการความร่วมมือตั้งแต่ต้นน้ํา กลางน้ํา และ ปลายน้ํา
บทที่ 3 การดําเนินงานด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัย
โครงการนวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปาง คาดหวังให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงด้านการพัฒนาระบบการบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของมหาวิทยาลัย กล่าวคือ มีระบบ กลไกการจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ทั้งต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา รวมทั้ง เชื่อมโยงงานวิจัยให้เกิดประโยชน์กับการปรับการเรียนการสอนและบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย ที่จะนําไปสู่การสร้างความโดดเด่น/จุดเน้นของมหาวิทยาลัยในอนาคต และที่สําคัญ ผลการวิจัยที่ก่อ เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่กลุ่มเป้าหมายทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ และมิติด้านสังคม
การดําเนินงานภายใต้โครงการวิจัยดังกล่าว ได้มีการนําข้อมูลที่ได้จากการ SWOT ด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ พบว่า ที่ผ่านมา โจทย์วิจัยของพื้นที่ไม่ตรงกับศักยภาพนักวิจัย ส่งผล ต่อการขอรับทุน และการแข่งขันกับหน่วยงานเพื่อขอรับทุนสนับสนุนการทําวิจัยภายในพื้นที่มีสูงขึ้น นอกจากนั้น กลไกการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลงานวิจัยยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ เผยแพร่ในวารสารระดับชาติ และระดับนานาชาติ รวมถึงการจดทะเบียน ทรัพย์สินทางปัญญา หรือก่อเกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์มีจํานวนน้อย รวมถึงการขาดคลังข้อเสนอ โครงการวิจัยที่จะรองรับการวิพากษ์ของแหล่งทุนทั้งภายในและภายนอก และเครือข่ายและแหล่งทุน ภาคเอกชนมีน้อยเช่นกัน
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ทําให้มีการทบทวนการบริหารจัดการงานวิจัยที่ผ่านมา ทําให้ ทราบว่า สาเหตุดังกล่าว ส่วนหนึ่งเกิดจาก การกําหนดโจทย์วิจัยตามความถนัดของนักวิจัย ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย และยุทธศาสตร์ระดับชาติและพื้นที่ ยังขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทําให้ได้โจทย์ที่ไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริง รวมถึงทําให้นักวิจัยไม่สามารถ เชื่อมโยงโจทย์วิจัยกับองค์ความรู้ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทําให้เกิดมุมมองว่าโจทย์ของ พื้นที่ไม่ตรงกับศักยภาพของนักวิจัย นอกจากนั้น ผลจากกระบวนการตั้งโจทย์ตามความถนัดของ นักวิจัย ส่งผลให้ผลงานวิจัยถูกนําไปใช้ประโยชน์น้อย ส่วนการขาดระบบกลไกการติดตามที่มี ประสิทธิภาพส่งผลต่อคุณภาพของงานวิจัย ทําให้ผลงานตีพิมพ์ในวารสารจึงมีน้อยตามไปด้วย
ดังนั้น การดําเนินงานวิจัยฯภายใต้โครงการฯในครั้งนี้ จึงได้นําเอาจุดอ่อนของการ ดําเนินงานฯมา ปรับปรุง โดยให้ความสําคัญกับ การบริหารจัดการงานวิจัยให้ครบวงจร เริ่มจากการ บริหารจัดการต้นทาง กลางทาง จนถึง การบริหารจัดการงานวิจัยปลายทาง สรุปผลการเปลี่ยนแปลง ด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้
3.1. การบริหารจัดการงานวิจัยต้นทาง (Upstream management)
3.1.1 การเปลี่ยนแปลงระดับ นโยบาย ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง
สถานการณ์เดิม เป็นการกําหนดนโยบายด้านการวิจัยที่ยึดกรอบของระดับชาติและ ระดับพื้นที่ โดยยังขาดกระบวนการมีส่วนร่วมในการกําหนด
สิ่งที่ได้ดําเนินการ เริ่มตั้งแต่ การกําหนดวิสัยทัศน์ร่วมพันธกิจ และ Repositioning ของมหาวิทยาลัยไว้ เกิดแนวทางการเพิ่มภาระงานวิจัยเชิงพื้นที่ ให้นักวิจัยสามารถดําเนินงาน ภาคสนาม โดยถือเป็นการดําเนินพันธกิจที่มีความสําคัญไม่น้อยกว่า ภารการสอน ซึ่งจะทําให้ สามารถนําพาให้มหาวิทยาลัยดําเนินงานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม (engagement) ได้ อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยัง กําหนดให้มีการบูรณาการงานวิจัย กับการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ เน้นการนํานักศึกษาเข้าไปเรียนรู้ชุมชนร่วมกับอาจารย์นักวิจัย เพื่อสร้างบัณฑิตที่ สามารถเรียนรู้จากสถานการณ์จริงในชุมชนและสามารถนําความรู้ไปใช้หลังจากจบการศึกษาได้
ผลจากการดําเนินการ เกิดการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น แต่ด้านการบูรณาการกับการบริการวิชาการยังไม่มากเท่าที่ควร ทั้งนี้เนื่องจาก ยังขาดการวางแผนการ ที่จะเชื่อมงานบริการวิชาการกับงานวิจัยตั้งแต่เริ่มโครงการวิจัยฯ
3.1.2 เกิดการพัฒนาระบบ กลไก การตั้งโจทย์วิจัยที่สอดรับกับสภาพปัญหาความต้องการของ ชุมชน
สถานการณ์เดิม เป็นการกําหนดขอบเขตการให้ทุนแก่นักวิจัยที่ยึดกรอบ ตัวชี้วัดของ ระดับชาติและระดับพื้นที่ โดยยังขาดกระบวนการมีส่วนร่วมในการกําหนดโจทย์ และกําหนดตัวชี้วัดที่ สอดคล้องกับโจทย์เชิงพื้นที่อย่างแท้จริง ทําให้งานวิจัยถูกนําไปใช้ประโยชน์น้อย เนื่องจากผลวิจัยไม่ ต้องกับความต้องการของชุมชน ท้องถิ่นอย่างแท้จริง นอกจากนั้น KPI ของโครงการวิจัยยังไม่ชัดเจน เป็นรูปธรรม ตรงกับสภาพความเป็นจริงของโครงการวิจัยฯ
สิ่งที่ได้มีการปรับปรุง การดําเนินงานภายใต้โครงการวิจัยฯในครั้งนี้ คือ การให้ ความสําคัญกับกระบวนการตั้งโจทย์ โดยได้เชิญนักวิจัย ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาร่วมทบทวนโจทย์จํานวน 3 ครั้ง เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2560 วันที่ 7 เมษายน 2560 และวันที่ 27 เมษายน 2560 และภายหลัง สถาบันวิจัยและพัฒนาได้จัดทํา research mapping เพื่อนําไปจัดทํา ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัย โดยกําหนดเงื่อนไขโครงการวิจัย ต้องเป็นชุดโครงการวิจัยที่มุ่งเน้น การพัฒนาและหรือแก้ปัญหาของพื้นที่จังหวัดลําปาง ที่นําไปสู่สร้างความเข็มแข็งให้แก่ชุมชนในพื้นที่ และยกระดับเศรษฐกิจฐานรากสู่ชุมชนที่มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คือ การได้โจทย์ที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย มากยิ่งขึ้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความรู้สึกเป็นเจ้าของงานวิจัย นักวิจัยสามารถกําหนด KPI ชัดเจน เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
3.1.3 เกิดกรอบแนวคิดการวิจัยเชิงพื้นที่
สถานการณ์เดิม กรอบการดําเนินการวิจัยยังอิงกับแนวคิด ทฤษฏีเป็นหลัก จึงทําให้ขาด บริบท กรอบคิดเชิงพื้นที่ ที่เป็นรูปธรรม ทําให้กรอบแนวคิดยังขาดความสมบูรณ์
ผลจากการดําเนินการตั้งโจทย์วิจัยในครั้งนี้ ได้ให้ความสําคัญกับที่มาของโจทย์ และเน้น กระบวนการมีส่วนร่วมของนักวิจัย ผู้ประกอบการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบกับได้มีการ ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ทําให้สามารถกําหนดกรอบแนวคิดการวิจัยเชิงพื้นที่ที่สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย ประกอบด้วย กรอบแนวคิดที่ 1 วิธีการดําเนินการวิจัย และกรอบ แนวคิด 2 การพัฒนาและสนับสนุนการวิจัย กรอบแนวคิดที่ 3 การพัฒนาระบบจัดการงานวิจัยของ มหาวิทยาลัย และกรอบแนวคิดที่ 4 การพัฒนาระบบพี่เลี้ยงสนับสนุน ดังที่ปรากฏไว้ในบทที่ 1 ซึ่งผล การดําเนินงานภายใต้กรอบดังกล่าว ทําให้สามารถสรุปทั้งที่เป็นผลสําเร็จ และไม่สําเร็จได้ดังนี้
กรอบแนวคิดที่ 1 วิธีการดําเนินการวิจัย
การดําเนินงานภายใต้โครงการ นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัด ลําปาง ในครั้งนี้ ผู้บริหารโครงการได้นําแนวคิดการบริหารจัดการงานวิจัยแบบครบวงจร PDCA มาใช้ อันประกอบด้วย การวางแผน (Plan) การปฏิบัติการ (Do) การติดตาม (Check) และการนําสู่ การปรับปรุงแก้ไขต่อไป (Action) ดําเนินการตั้งแต่ต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา ผลการดําเนินงาน ภายใต้กรอบแนวคิด PDCA พบว่า การวางแผนการดําเนินโครงการระหว่าง หน่วยจัดการหรือ สถาบันวิจัยและพัฒนา กับแผนวิจัยที่ดําเนินการโดยคณะ ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร สาเหตุ ส่วนหนึ่งเกิดจาก เรื่องของระยะเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของเวลาของหัวหน้าแผนซึ่งเป็นคณบดี ที่มีภารกิจค่อนข้างมาก ทําให้เวลาการพอปะ ประชุมต่างๆมีข้อจํากัด ร่วมถึงพื้นที่วิจัยมีความแตกต่าง ตามประเภทของสินค้าที่มีความหลากหลายมากเกินไป ทําให้การดําเนินงานยังมีลักษณะต่างคน ต่างทํา แม้บางผลิตภัณฑ์จะเป็นผลิตภัณฑ์เดียวกัน ด้านการประสานงานบางช่วงขาดการสื่อสารกัน ระหว่างนักวิจัย และระหว่างสถาบันวิจัยกับนักวิจัย ส่วนกระบวนการติดตามผลการดําเนินงาน ค่อนข้างที่จะได้ผลดีระดับหนึ่ง เนื่องจาก ใช้กลไกการติดตามผ่านหัวหน้าแผนวิจัย หรือหัวหน้า ชุดโครงการ หรือหัวหน้าโครงการทั้งในรูปแบบประชุม หรือรายงานความก้าวหน้าอย่างเป็นทางการ และการติดตามแบบไม่เป็นทางการ เช่น Line กลุ่ม การโทรศัพท์ การพบปะพูดคุยตามโอกาสต่างๆ อย่างไรก็ดี ผลการประเมินความคิดเห็น และความพึงพอใจของนักวิจัยจํานวน 83 คนที่มีต่อ ด้าน การจัดสรรทุนเพื่อทําวิจัยภายใต้โครงการฯ ด้านสิ่งสนับสนุนการทําวิจัย และทักษะการทํางาน ด้านชุมชนพบว่า อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 4.23 และ4.23 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.50 0.69 และ 0.51 ตามลําดับ ส่วนข้อเสนอแนะในคําถามปลายเปิด มีดังนี้
1) ควรมีการวางแผนการบริหารงานให้เป็นระบบ โดยอาจกําหนดเป็นปฏิทินการปฏิบัติงาน เนื่องจากปัจจุบัน สวพ เรียกประชุมบ่อยเกินควร ส่งผลให้นักวิจัยของคณะไม่อยากเข้าร่วม จํานวน 1 ราย
2) การจัดเวทีแต่ละครั้งควรมีเป้าหมายชัดเจนได้ผลกลับมาดําเนินงานต่อได้ บางประเด็นไม่ จําเป็น จํานวน 1 ราย
3) ประชุมย่อยๆแต่ไม่ได้เนื้อหาหรือสาระแกนจริงๆ จํานวน 1 ราย
4) ควรศึกษาการจัดสรรทุนในลักษณะเดียวกันและชุมชนเดิมอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหา ชุมชนอย่างยั่งยืน การมีส่วนร่วมในการพัฒนาโจทย์วิจัยของนักวิจัยให้ครอบคลุม จํานวน 1 ราย
5) เพิ่มการทํางานอย่างเป็นระบบ มีความชัดเจนของกิจกรรมแต่ละกิจกรรมและไม่ซ้ําซ้อน กับแหล่งทุนอื่น จํานวน 1 ราย
6) อยากให้มีการกระจายของพื้นที่วิจัยด้านการพัฒนาการสอนออกท้องถิ่นจริงๆพร้อม สนับสนุนงบประมาณ จํานวน 1 ราย
7) มหาวิทยาลัยควรสนับสนุนทุนวิจัยทั้งเพื่อองค์ความรู้และเพื่อพัฒนาท้องถิ่นจํานวน 1 ราย
8) มีการสนับสนุนผู้รับทุนให้ชัดเจน ส่งรายงานตามเวลา จํานวน 1 ราย
9) ควรสนับสนุนทุนวิจัยระยะยาวหรือต่อเนื่อง 1-3 ปี จํานวน 1 ราย
10) การประสานยาก มีการประชุมเร่งด่วน จํานวน 1 ราย
11) การประชาสัมพันธ์ยังไมทั่วถึง จํานวน 1 ราย
12) ควรศึกษาการจัดสรรทุนในลักษณะเดียวกันและชุมชนเดิมอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหา ชุมชนอย่างยั่งยืน จํานวน 1 ราย
ซึ่งสถาบันวิจัยและพัฒนา จะได้ผลการประเมินดังกล่าวมาแก้ไขปรับปรุงเพื่อการบริหาร จัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลต่อไป
กรอบแนวคิดการวิจัยที่ 2 การพัฒนาและสนับสนุนการวิจัย เป็นกรอบที่สะท้อนถึงปัจจัยการพัฒนาและสนับสนุนการวิจัยเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทั้ง 3
ข้อของโครงการวิจัยฯ ผลการดําเนินการตามกรอบแนวคิดการวิจัยดังกล่าวสามารถอธิบายได้ดังนี้
1) ปัจจัยด้าน ระบบ กลไกการบริหารจัดการงานวิจัยระดับมหาวิทยาลัย ปัจจัยดังกล่าว ข้างต้นนี้ ได้ก่อให้เกิดผลลัพธ์ต่อโครงการวิจัยฯมากน้อยต่างกัน ในส่วนของระบบ กลไกของ มหาวิทยาลัย โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา สามารถบริหารจัดการได้ดีระดับหนึ่ง ทั้งนี้ยังมีหลาย ประเด็นที่ต้องแก้ไขปรับปรับ เช่น การบริหารจัดการด้านโครงสร้างของหน่วยงาน ซึ่งยังขาดรอง ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาที่ดูแลโครงการวิจัยเชิงพื้นที่โดยตรง ส่วนกลไกด้านการวางระบบ กลไกการได้มาซึ่งโจทย์วิจัย การจัดสรรทุน การติดตามเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีขึ้นตอนการ ดําเนินงานอย่างชัดเจน และมีการประชาสัมพันธ์ทุนและเงื่อนไขอย่างทั่วถึง
ส่วนการสนับสนุนด้านนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ได้รับการสนับสนุนจาก ผู้บริหารเป็นอย่างดี โดย สถาบันวิจัยและพัฒนาได้มีการรายงานผลการดําเนินงานให้ผู้บริหารของ มหาวิทยาลัยได้รับทราบอย่างสม่ําเสมอ และผลการดําเนินโครงการวิจัยฯทําให้ผู้บริหารมีนโยบายที่ จะทบทวนภารงานด้านการวิจัยเชิงพื้นที่ โดยการเพิ่มภารงานให้กับนักวิจัยที่ลงพื้นที่ภาคสนาม ซึ่งเดิม จะไม่มีภารงานด้านนี้อยู่ เป็นต้น
ในส่วนของระบบ สารสนเทศ ทางมหาวิทยาลัยโดยมีสถาบันวิจัยและพัฒนาเป็น หน่วยงานหลัก ในการจัดให้มีโครงการ พัฒนาระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ระบบสารสนเทศ ดังกล่าวจะสามารถเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร และของนักวิจัย ซึ่งขณะอยู่ในระหว่าง ดําเนินการ คาดว่าจะเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 นี้
ระบบการบริหารจัดการงานวิจัยระดับคณะ ภายใต้โครงการวิจัยฯนี้ คณะได้มีการ ยกระดับการพัฒนาระบบ กลไกการบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ คณะครุศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร และคณะเทคโนโลยี ส่วนคณะที่ยังคงต้องมีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการฯต่อไปคือ คณะวิทยาศาสตร์ที่ยังไม่สามารถ ปรับตัวกับการวิจัยเชิงพื้นที่ได้ดีเท่าที่ควร ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากความเป็น Pure Science ที่ถนัด งานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ในห้องทดลอง ประกอบกับการต้องทํางานวิจัยกับชุมชนที่ต้องอาศัย ทักษะการเข้าถึงชุมชน ประเด็นเหล่านี้ทางสถาบันวิจัยฯจะได้ดําเนินการแก้ไข เพื่อให้ข้อจํากัดเหล่านี้ ลดลงหรือหมดไป เพื่อให้คณะสามารถพัฒนาระบบ กลไกการบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สรุปว่า ปัจจัยด้านระบบ กลไกการบริหารจัดการงานวิจัยระดับมหาวิทยาลัย ทําให้ได้โจทย์ วิจัยที่ตรงกับสภาพปัญหา ความต้องการที่แท้จริงของผู้ประกอบการ กลุ่ม แต่เนื่องจากเป็นการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ทําให้ผลลัพธ์การดําเนินงานไม่โดดเด่น เป็นรูปธรรมชัดเจน
2) ปัจจัยด้านการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย นักวิจัยในโครงการวิจัยฯนี้มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด จํานวน 94 คน แยกเป็นนักวิจัยรุ่นเก่าจํานวน 45 คน นักวิจัยหน้าใหม่จํานวน 49 คน ในส่วนที่เป็น ปัจจัย ทั้ง 3 ข้อ นักวิจัยทั้งเก่าและใหม่ส่วนใหญ่ มีความศรัทธา เจตคติที่ดีต่องานวิจัยเชิงพื้นที่ ทั้งนี้สังเกตได้จากพฤติกรรมของนักวิจัย ที่ส่วนใหญ่มีการกระตือรือร้น และการเตรียมการที่ดี รวมถึง ปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักวิจัยกับชุมชน ส่วนด้านความรู้ ทักษะ แลเครื่องมือการวิจัย เนื่องจากเกิน ครึ่งเป็นนักวิจัยหน้าใหม่ ประสบการณ์วิจัยเชิงพื้นที่ไม่ถึง 3 ปี ดังนั้น จึงยังต้องการระบบพี่เลี้ยง มาช่วยให้คําปรึกษา ประกอบกับนักวิจัยหน้าใหม่ยังมีบทบาทเป็นนักวิจัยร่วมในโครงการฯ ดังนั้น จึงมีโอกาสเรียนรู้ ทักษะ เครื่องมือกับหัวหน้าแผน หัวหน้าชุด หรือหัวหน้าโครงการวิจัยฯ สําหรับ วินัย และแรงจูงใจ ประโยชน์ของการวิจัย นักวิจัยส่วนหนึ่งยังมีข้อจํากัดเรื่องเวลา จึงทําให้วินัย ในการส่งงานล่าช้า แรงจูงใจ และผลประโยชน์ที่ผ่านมาค่อนข้างดี เนื่องจากผู้บริหารให้กําลังใจตลอด มา ประกอบกับมหาวิทยาลัยมีนโยบายจะเพิ่มภารงานด้านการลงภาคสนามในพื้นที่วิจัยเชิงพื้นที่ ซึ่งจะทําให้นักวิจัยมีแรงจูงใจมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปางยัง เป็นมหาวิทยาลัยที่มี ผู้ที่ได้ที่ทําผลงานวิชาการด้านรับใช้สังคมเป็นคนแรกของประเทศไทย ซึ่งถือว่า เป็นแบบอย่างที่ดี เป็นแรงกระตุ้นให้นักวิจัยทําให้ผลงานรับใช้สังคมอย่างจริงจัง และสามารถนํามา ทําผลงานวิชาการต่อไป
สรุปได้ว่า ปัจจัยด้านพัฒนาศักยภาพนักวิจัย ส่งผลต่อผลลัพธ์การวิจัย ได้ดีระดับหนึ่ง สามารถนําองค์ความรู้สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ได้รับการ ยกระดับ นักวิจัยหน้าใหม่ได้พัฒนาศักยภาพตนเอง ได้เรียนรู้ประสบการณ์ ทักษะการทํางานเชิงพื้นที่
แต่เนื่องด้วยการดําเนินงานของบางโครงการยังขาดการบูรณาการการทํางานร่วมกัน ทําให้ผลลัพธ์ การวิจัยในประเด็นเดียวกัน ยังไม่สามารถวิเคราะห์ความเชื่อมโยงกันได้
3) ปัจจัยด้านการพัฒนาคุณภาพงานวิจัย ผลการดําเนินโครงการวิจัยฯสามารถสรุปได้ว่า งานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง ได้ให้ความสําคัญกับกระบวนการวิจัยเชิงพื้นที่ตั้งแต่ ต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา เริ่มจากการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม ซึ่งส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการให้ ข้อมูล ร่วมคิด ส่วนการมีส่วนร่วมดําเนินการยังมีเป็นบางโครงการวิจัย ร่วมถึงการร่วมติดตาม ในส่วน ของการ Review บริบท และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ยังเป็นประเด็นที่ นักวิจัยยังต้องพัฒนาอย่างมาก เนื่องจากผลการดําเนินโครงการวิจัยฯที่ผ่านมา นักวิจัยขาดส่วนนี้ ทําให้มองไม่เห็นความใหม่ ของผลงานวิจัย รวมถึงข้อมูลที่เปรียบเทียบถึงผลลัพธ์ที่เกิดจากงานวิจัย
สรุปได้ว่า ปัจจัยด้านการพัฒนาคุณภาพงานวิจัย มีระบบ กลไกรองรับอย่างชัดเจน ส่งผลให้ การดําเนินการวิจัยได้รับการพัฒนาตั้งแต่ ต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา โดยกระบวนการมีส่วนร่วม ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างไรก็ตาม ยังคงมีข้อปรับปรุง เช่น การยกระดับการมีส่วนร่วม ในการดําเนินงานวิจัย และการร่วมติดตามให้มากยิ่งขึ้น
4) ปัจจัยด้านการพัฒนาระบบพี่เลี้ยง พี่เลียงในที่นี้คือ นักวิจัยที่มีประสบการณ์ การทํางาน วิจัยเชิงพื้นที่มาแล้วไม่ต่ํากว่า 5 ปี มีทักษะค วามรู้ ความสามารถที่จะสามารถ Coach ทางมหาวิทยาลัยฯได้แต่งตั้งพี่เลี้ยงวิจัยของมหาวิทยาลัยขึ้นมาเป็นที่ปรึกษาให้กับนักวิจัยหน้าใหม่ มีทั้งพี่เลี้ยงสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และพี่เลี้ยงสายวิทยาศาสตร์ ซึ่งบทบาทพี่เลี้ยง ในการดําเนินโครงการวิจัยฯยังไม่มีความโดดเด่นเท่าที่ควรจะเป็น ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจาก พี่เลี้ยง มีภารกิจด้านการสอน และงานวิจัยค่อนข้างมาก รวมถึงการมุ่งทําผลงานวิชาการ ซึ่งส่วนใหญ่พี่เลี้ยง จะมีตําแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ขึ้นไปทําให้การดูแลให้คําปรึกษาอาจจะยังไม่มาก เท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม ทางมหาวิทยาลัยฯได้มีกลไกการหนุนเสริมนักวิจัย โดยการจัดการอบรม การใช้เครื่องมือวิจัยเชิงพื้นที่ การทํา Research Mapping การสังเคราะห์ และการเขียนบทความ วิจัยให้แก่นักวิจัยในโครงการทั้งเก่าและใหม่อยู่เป็นประจํา ประเด็นเหล่านี้จะมีการพูดคุยถึงสภาพ ปัญหา ข้อจํากัดของระบบพี่เลี้ยงกันเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา และยกระดับต่อไป
สรุปได้ว่า ปัจจัยด้านการพัฒนาระบบพี่เลี้ยง ยังไม่ประสบผลสําเร็จเท่าที่ควร เนื่องจาก พี่เลี้ยงยังทําหน้าที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากมีภารกิจมากมาย ไม่สามารถจัดสรรเวลาได้อย่างมี ประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยนี้ยังไม่ส่งผลต่อการดําเนินการวิจัยฯในครั้งนี้มากนัก เนื่องจาก นักวิจัยหน้าใหม่ได้รับการหนุนเสริมศักยภาพจาก หน่วยการจัดการกลางคือ สถาบันวิจัยฯและ จากหัวหน้าโครงการที่มีประสบการณ์ แต่หากพี่เลี้ยงมีบทบาทการให้คําปรึกษามากยิ่งขึ้น ก็จะเป็น ผลดีต่อ ผลการดําเนินงาน
5) ปัจจัยด้านการสร้างเครือข่าย เนื่องจากโครงการวิจัยมีลักษณะที่มุ่งสร้างนวัตกรรมที่ ตอบสนองของชุมชน ในพื้นที่จังหวัดลําปาง ที่ต้องไปเกี่ยวข้องกับชุมชน ท้องถิ่นทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน รวมถึงกลุ่มต่างๆในพื้นที่ การดําเนินโครงการวิจัยฯทําให้นักวิจัย รวมถึงหน่วยจัดการงานวิจัย หรือสถาบันวิจัยฯได้เรียนรู้ประสบการณ์การทํางานร่วมกับเครือข่ายมากขึ้น นอกจากจะทําให้ มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปางได้ทําหน้าที่ ในการพัฒนาท้องถิ่นชุมชนตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยแล้ว
ยังทําให้ สร้างสัมพันธภาพ ภาพลักษณ์ ความไว้เนื้อเชื่อใจ รวมถึงการสร้างเครือข่ายด้านการวิจัยเพิ่ม มากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทํางานในลักษณะของการบูรณาการงานวิจัยเพิ่มมากขึ้นในอนาคต สรุป ปัจจัยด้านการสร้างเครือข่าย ส่งผลต่อผลการดําเนินงานเป็นอย่างมาก เนื่องจากการ ดําเนินวิจัยเชิงพื้นที่ ต้องการบูรณาการการทํางานร่วมกันทั้งระดับพื้นที่ และจังหวัด ผลการดําเนิน โครงการวิจัยในครั้งนี้ ได้สร้างเครือข่ายทั้งเก่า และใหม่ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ พัฒนาชุมชน ยุทธศาสตร์จังหวัด สมาคมข้าวแต๋น สภาอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งทําให้สามารถผลักดัน ให้ผลิตภัณฑ์บางผลิตภัณฑ์เข้าสู่แผนการดําเนินงานของหน่วยงาน เช่น มีด หรือเกิดกลุ่ม
ผู้ประกอบการใหม่ เช่น โครงการไข่เค็ม เป็นต้น
กรอบแนวคิดที่ 3 การพัฒนาระบบจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัย
ผลการดําเนินงาน ภายใต้กรอบ การพัฒนาระบบการจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัย ที่วาง กรอบการดําเนินงานวิจัยเชิงพื้นที่ไว้ 4 ประเด็นหลักๆ ที่คาดเดาว่า หากมีปัจจัยสิ่งเหล่านี้ จะทําให้ ระบบจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ มีประสิทธิภาพ ซึ่งผลการดําเนินงานสะท้อนข้อมูลดังนี้
ประเด็นที่ทําได้ดีเกือบทุกคณะคือ ระบบการบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ระดับคณะ คณะได้รับการพัฒนา และยกระดับระบบ กลไกการบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ให้เป็นรูปธรรม มากยิ่งขึ้น ยกเว้น คณะวิทยาศาสตร์ที่ยังต้องมีการพัฒนาระบบ กลไกการบริหารจัดการงานวิจัย เชิงพื้นที่ให้มากขึ้นกว่าเดิม อาจกล่าวได้ว่า ปัจจัยที่ผลทําให้ระบบ กลไกการบริหารจัดการงานวิจัย เชิงพื้นที่ของคณะทําได้ดี คือ ความต่อเนื่องของการดําเนินการ ผลการดําเนินโครงการวิจัยฯภายใต้ โครงการท้าทายไทยของ สกว.ทําให้คณะได้รับการยกระดับการพัฒนาระบบ กลไกการดําเนิ น งานวิจัยฯ ผ่านการทํางานวิจัยเชิงพื้นที่ แม้คณะส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนตัวคณบดี ซึ่งเป็นหัวหน้า แผนวิจัยฯตามตําแหน่ง
ประเด็นที่ทําได้ค่อนข้างดี คือ ด้านระบบ กลไกการบริหารจัดการงานวิจัยระดับมหาวิทยาลัย ได้วางระบบ กลไกด้านการตั้งโจทย์ การจัดสรรทุน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีขึ้นตอน การดําเนินงานอย่างชัดเจน และมีการประชาสัมพันธ์ทุนและเงื่อนไขอย่างทั่วถึง ร่วมถึงการสนับสนุน ด้านนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ จากผู้บริหารเป็นอย่างดี ผลการดําเนินโครงการวิจัยฯทําให้ ผู้บริหารมีนโยบายที่จะทบทวนภารงานด้านการวิจัยเชิงพื้นที่ โดยการเพิ่มภารงานให้กับนักวิจัย ที่ลงพื้นที่ภาคสนาม อย่างไรก็ตาม การบริหารงานระดับมหาวิทยาลัยฯยังต้องการ พัฒนาในเรื่อง ของการวางแผนการดําเนินงานร่วมกับคณะให้เข้มข้นมากขึ้น จัดวางระบบการติดตามที่หลากหลาย ช่องทาง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าเดิม
ประเด็นที่ยังอยู่ในระหว่างการดําเนินการ คือในส่วนของระบบ สารสนเทศ ทางมหาวิทยาลัย มีโครงการ พัฒนาระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย คาดว่าจะเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 นี้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร และของนักวิจัย
กรอบแนวคิดที่ 4 การพัฒนาระบบพี่เลี้ยงสนับสนุน
มหาวิทยาลัยได้ดําเนินการให้มี ระบบพี่เลี้ยง เพื่อทําหน้าที่ Coach แก่นนักวิจัยหน้าใหม่ โดย แต่งตั้งนักวิจัยที่มีประสบการณ์ การทํางานวิจัยเชิงพื้นที่มาแล้วไม่ต่ํากว่า 5 ปี มีทักษะความรู้
ความสามารถที่จะสามารถ Coach จากผลการดําเนินงาน พี่เลี้ยงมีความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อ งานวิจัยเชิงพื้นที่ รวมถึงมีความรู้ประสบการณ์ แต่ยังมีข้อจํากัดในเรื่องของเวลา ทําให้การทําหน้าที่ ยังไม่โดดเด่นเท่าที่ควร แต่เนื่องจาก ทางคณะและทางมหาวิทยาลัยได้มีกิจรรมหนุนเสริมศักยภาพ ของนักวิจัยอย่างสม่ําเสมอ ทําให้นักวิจัยสามารถเรียนรู้การทํางานวิจัยเชิงพื้นที่ได้เป็นอย่างดี รวมถึง นักวิจัยหน้าใหม่ได้เรียนรู้กับหัวหน้าโครงการวิจัยซึ่งมีประสบการณ์การวิจัยฯ ก่อเกิดกระบวนการ เรียนรู้ร่วมกันภายใต้การดําเนินโครงการวิจัย สิ่งที่ต้องดําเนินการต่อไปคือ การยกระดับระบบพี่เลี้ยง ด้วยการสร้างแรงจูงใจของพี่เลี้ยง การคิดภารงานให้กับพี่เลี้ยง รวมถึงการเพิ่มทักษะ และความ ศรัทธาต่องานวิจัยรับใช้สังคมให้เกิดกับพี่เลี้ยงมากยิ่งขึ้นต่อไป
3.1.4 เกิดการส่งเสริมการทํางานในลักษณะชุดโครงการวิจัย
สถานการณ์เดิม เป็นการสนับสนุนงานวิจัย ในลักษณะเน้นความถนัดตามศาสตร์ของนักวิจัย เป็นโครงการเดียว มากกว่าชุดโครงการ รวมถึงงานวิจัยเชิงพื้นที่ยังมีน้อย
สิ่งที่ได้ดําเนินการ ปรับการจัดสรรทุนวิจัยเป็น 3 ประเภท ดังแก่ประเภทที่ 1 ชุด โครงการวิจัยที่ดําเนินการโดยคณะ ประเภทที่ 2 ชุดโครงการวิจัยเชิงพื้นที่แบบสหวิทยาการ และ ประเภทที่ 3 ชุดโครงการวิจัยเชิงพื้นที่ที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศตามศาสตร์ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาและหรือ แก้ปัญหาของพื้นที่จังหวัดลําปาง ที่นําไปสู่สร้างความเข็มแข็งให้แก่ชุมชนในพื้นที่
(1) ชุดโครงการประเภทที่ 1 ที่ดําเนินการโดยคณะ คณะกรรมการพิจารณาข้อเสนอ ต้องตรวจสอบให้หัวหน้าแผนงานวิจัยระบุ output ของแผนงานวิจัยให้ชัดเจน โดยแบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่ 1 ด้านบริหารจัดการงานวิจัยของคณะ อาทิ คณะมีนักวิจัยรุ่นใหม่เพิ่มขึ้น หรือ เกิดหลักสูตรใหม่ เป็นต้น ส่วนที่ 2 ด้านผลกระทบ (impact) ที่เกิดขึ้นกับชุมชนและกลุ่มเป้าหมาย ต้องระบุให้ชัดเจน เช่น เกิดการสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์อย่างไร เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ ได้กี่เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น
(2) ชุดโครงการประเภทที่ 2 แบบสหวิทยาการ คณะกรรมการพิจารณาข้อเสนอ ต้องตรวจสอบให้ผู้รับผิดชอบโครงการเขียนระละเอียดในแผนงานวิจัยให้ครบถ้วนและชัดเจน ที่สําคัญ คือ ต้องระบุให้ได้ว่ากิจกรรมใดไปหนุนเสริม หรือทับซ้อนกับโครงการย่อยภายใต้แผนงานวิจัย โดยเฉพาะการจัดเวที การจัดอบรม การประชุม เนื่องจากทั้งโครงการหลักและโครงการย่อย มีค่าใช้จ่ายในกิจกรรมลักษณะนี้ค่อนข้างสูง หากแผนงานทําหน้าที่ประสานงานร้อยเรียงโครงการย่อย เข้าด้วยกัน ก็สามารถจัดสรรงบประมาณไว้ในแผนงานวิจัยได้ แต่หากแผนงานทําหน้าที่ เพียงสังเคราะห์และรวบรวมโครงการย่อยก็ควรให้งบประมาณจัดเวที จัดอบรม ดังกล่าวอยู่ใน ชุดโครงการย่อย ประการต่อมา เพื่อให้แผนงานวิจัยสามารถสังเคราะห์ output ของทุกชุดโครงการ ย่อยได้ครบถ้วน ผู้ร่วมวิจัยในแผนงานวิจัยควรมีตัวแทนมาจากชุดโครงการย่อย หรือที่มักปฏิบัติกั น โดยทั่วไปคือ หัวหน้าชุดโครงการย่อยเป็นทีมนักวิจัยของแผนงานวิจัย
(3) ชุดโครงการประเภทที่ 3 ที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศตามศาสตร์ คณะกรรมการ พิจารณาข้อเสนอต้องตรวจสอบ output ของโครงการให้ระบุให้ชัดเจน เป็นรูปธรรม เช่น สามารถ
ระบุเป็นตัวเลขได้ วัดค่าได้ ตัวอย่าง “ได้รูปแบบผลิตภัณฑ์เซรามิคกี่รูปแบบ” “เพิ่มรายได้ ลดต้นทุน กี่เปอร์เซ็นต์”
ผลการดําเนินการ พบว่า งานวิจัยในลักษณะชุดโครงการวิจัยมีจํานวนมากขึ้น ทําให้เกิด การทํางานเป็นทีม ในลักษณะของการบูรณาการศาสตร์ ทําให้สามารถลดความซ้ําซ้อนของคน เวลา และงบประมาณ ก่อเกิดประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นกระบวนการพัฒนา ที่มีลักษณะครบวงจร ตั้งแต่การได้โจทย์ที่ตรงกับสภาพปัญหาความต้องการ การดําเนินการวิจัยเชิง บูรณาการทั้งนักวิจัย และองค์ความรู้ ดังตัวอย่างโครงการวิจัย ที่ยกเป็นกรณีตัวอย่าง นอกจากนั้น นักวิจัยยังได้สร้างทีมการทํางานร่วมกัน เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน อันเป็นประโยชน์ที่เอื้อต่อ การส่งเสริมให้มีการวิจัยในลักษณะชุดโครงการในอนาคตต่อไป
อย่างไรก็ตาม รูปแบบการจัดสรรทุนทั้ง 3 ประเภทยังมีข้อจํากัดด้านการดําเนินงานวิจัย เชิงพื้นที่ ที่ไปตอบโจทย์กับผู้ประกอบการ เนื่องจาก เป็นโครงการวิจัยที่มุ่งยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้เพิ่มแก่ผู้ประกอบการ รวมถึงการสร้าง ผู้ประกอบการใหม่ ดังนั้น นักวิจัยบางศาสตร์ อาจไม่คุ้นเคย หรือกําหนด KPI ได้ยาก ยกตัวอย่าง แผนวิจัยของคณะครุศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่ มีกลุ่มเป้าหมายคือ คุณครู นักเรียน แต่พอมาทําโครงการวิจัยที่ต้องกําหนด KIP ในลักษณะดังกล่าว ข้างต้น ทําให้การดําเนินงานไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์
นอกจากนั้น การแยกประเภทวิจัยประเภทที่ 3 ที่มุ่งความเป็นเลิศตามศาสตร์ ผลการดําเนินการวิจัยได้เฉพาะองค์ความรู้ ไม่สามารถสร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการโดยตรงได้ แต่สามารถนําองค์ความสู่ไปพัฒนาในมิติเชิงเศรษฐศาสตร์ได้ทันที ซึ่งต้องอาศัยการต่อยอดผลงานวิจัย เป็นต้น
ส่วน รูปแบบของการจัดสรรทุนประเภทที่ 2 ชุดโครงการประเภทที่ 2 แบบสหวิทยาการ สามรถตอบโจทย์งานวิจัยเชิงพื้นที่ได้ดี ยกตัวอย่าง แผนงานวิจัย : การยกระดับผลิตภัณฑ์ไข่เค็มพอก ดินภูเขาไฟ สู่ศักยภาพที่แข่งขันได้ในตลาดใหม่ ที่บูรณาการ การทํางานเชิงบูรณาการศาสตร์ความรู้ ของนักวิจัย โดยสามารถที่จะรวมนักวิจัยจํานวน 24 คน ครอบคลุมทั้ง 6 คณะของมหาวิทยาลัย ทําให้สามารถแก้ไขปัญหาของผู้ประกอบการไข่เค็มได้ครบวงจร เริ่มตั้งการนําเอาองค์ความรู้มาใช้ ในการวิเคราะห์ทดสอบดินที่นํามาพอกไข่เค็ม การปรับปรุงการผลิต การปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ การสร้างช่องทางการตลาด การจัดทํา Brand สินค้า การปรับปรุงการบริหารจัดการกลุ่มให้มีความ เข้มแข็งจนเกิดการขยายตัวของสมาชิกกลุ่ม
ดังนั้น การดําเนินงานวิจัยเชิงพื้นที่ในลักษณะของการยกระดับผลิตภัณฑ์ รูปแบบการจัดสรร ทุนรูปแบบที่ 2 น่าจะเหมาะสมกับการทํางานโจทย์ของผู้ประกอบการได้ดีกว่ารูปแบบอื่นๆ
3.2 การบริหารจัดการงานวิจัยกลางทาง (Midstream management)
3.2.1 เกิดการบูรณาองค์ความรู้เพื่อการวิจัยระหว่างนักวิจัยในลักษณะข้ามศาสตร์
จากรูปแบบการจัดสรรทุนวิจัยประเภทที่ 2 แบบสหวิทยาการ ที่เน้นการบูรณาการ ศาสตร์องค์ความรู้ข้ามสาขา ข้ามคณะ ทําให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของนักวิจัย รวมถึงภูมิปัญญา ในพื้นที่ ทําให้สามารถการดําเนินโครงการวิจัยสามารถดําเนินการได้ครบวงจร ก่อเกิดผลลัพธ์ที่ตอบ โจทย์ผู้ประกอบการมากที่สุด เนื่องจากการแก้ไขปัญหาได้ครอบด้าน สะท้อนให้เห็นว่า การพัฒนา ไม่สามารถดําเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เฉพาะศาสตร์หรือองค์ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
3.2.2 ระบบพี่เลี้ยงงานวิจัย ได้รับการพัฒนา
ดังที่กล่าวข้างต้นว่า กรอบแนวคิดที่ 4 การพัฒนาระบบพี่เลี้ยงสนับสนุน มหาวิทยาลัย ได้ดําเนินการให้มี ระบบพี่เลี้ยง เพื่อทําหน้าที่ Coach แก่นนักวิจัยหน้าใหม่ โดย แต่งตั้งนักวิจัย ที่มีประสบการณ์ การทํางานวิจัยเชิงพื้นที่มาแล้วไม่ต่ํากว่า 5 ปี มีทักษะความรู้ ความสามารถ ที่จะสามารถ Coach จากผลการดําเนินงาน พี่เลี้ยงมีความเชื่อมั่นและศรัทธาต่องานวิจัยเชิงพื้นที่ รวมถึงมีความรู้ประสบการณ์ แต่ยังมีข้อจํากัดในเรื่องของเวลา ทําให้การทําหน้าที่ยังไม่โดดเด่น เท่าที่ควร แต่เนื่องจาก ทางคณะและทางมหาวิทยาลัยได้มีกิจรรมหนุนเสริมศักยภาพของนักวิจัยอย่าง สม่ําเสมอ ทําให้นักวิจัยสามารถเรียนรู้การทํางานวิจัยเชิงพื้นที่ได้เป็นอย่างดี รวมถึง นักวิจัยหน้าใหม่ ได้เรียนรู้กับหัวหน้าโครงการวิจัยซึ่งมีประสบการณ์การวิจัยฯก่อเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันภายใต้ การดําเนินโครงการวิจัย สิ่งที่ต้องดําเนินการต่อไปคือ การยกระดับระบบพี่เลี้ยงด้วยการสร้าง แรงจูงใจของพี่เลี้ยง รวมถึงการเพิ่มทักษะ และความศรัทธาต่องานวิจัยรับใช้สังคมให้เกิดกับพี่เลี้ยง มากยิ่งขึ้นต่อไป
3.2.3 เกิดการจัดการระบบการเงินและบัญชี
การจัดการด้านการเงินและบัญชี สถาบันวิจัยและพัฒนาได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ ประจําโครงการจัดทําบันทึกรายรับ-รายจ่าย ของโครงการ “นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปาง” ได้จัดทําในรูปแบบของตาราง Excel เพื่อบันทึกการดําเนินงานด้าน การจัดการ การเงินและบัญชี โครงการ “นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัด ลําปาง” เริ่มตั้งแต่การเปิดบัญชีกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขามหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง และ ได้มีการดําเนินการเบิกงบประมาณ เพื่อใช้จัดกิจกรรมตามแผนกําหนดการที่ได้วางไว้ โดยมีการชี้แจง รายละเอียดของงบประมาณที่ใช้ในการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้ง อย่างละเอียดและมีการบันทึก รายรับ-รายจ่ายทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรม เพื่อให้เป็นปัจจุบัน และสามารถตรวจสอบได้
สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้มีการจัดทําคู่มือการเบิกจ่ายเงิน สําหรับการดําเนิน กิจกรรมพัฒนาระบบการจัดการวิจัยของคณะและ/หรือ การพัฒนาการจัดการวิจัยแบบชุดโครงการ ให้กับนักวิจัยโครงการ ภายใต้โครงการ “นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ เพื่อพัฒนาจังหวัด ลําปาง” โดยยึดระเบียบของมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง ตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง
เรื่อง แนวปฏิบัติการเบิกจ่ายงบดําเนินงาน : หมวดค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ และรวมถึงรายจ่าย ที่กําหนดให้เบิกจ่ายจากหมวดอื่นใดในลักษณะค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป การจัดทําคู่มือการเบิกจ่ายเงินที่ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาได้จัดทํา ขึ้นนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์และสะดวกในการเบิกจ่ายเงินในการดําเนินงานของโครงการวิจัยแต่ละ โครงการ และเพื่อให้การปฏิบัติการเบิกจ่ายเงินของโครงการวิจัยแต่ละโครงการ เป็นไปในแนวทิศทาง เดียวกัน
3.2.3 เกิดการจัดระบบข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ
การดําเนินโครงการฯทําให้เกิดการเรียนรู้เรื่องของ การจัดระบบข้อมูล เพื่อ ความสะดวกต่อการบริหารจัดการ ของโครงการฯ โดยได้มีการจัดแฟ้มข้อมูลแบบ เรียงลําดับ (sequential file) คือ แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดเก็บข้อมูลหรืออ่านข้อมูล เรียงลําดับไปตั้งแต่ เรคคอร์ดแรก จนถึง เรคคอร์ด สุดท้าย ส่วนใหญ่จะเรียงลําดับตามค่าของ ฟิลด์ ที่ถูกเลือกเป็นคีย์ (Key) ได้มีการจัดทํารหัส และแบ่งแฟ้มตามสีของโครงการแต่ละประเภท เช่น แฟ้มข้อมูลโครงการมี ทั้งหมด 3 ประเภท
ประเภทที่ 1 ชุดโครงการวิจัยที่ดําเนินการโดยคณะ มีข้อเสนอโครงการจํานวนทั้งสิ้น 5 แผนงาน 10 โครงการย่อย แบ่งออกเป็น 5 แฟ้ม แยกเป็นคณะ ใช้แฟ้มสีส้ม โดย ใช้รหัส A1, A2, A3, A4 และ A5 แทนแผนใหญ่ของโครงการ และ A1.1 A1.2 A2.1 A2.2 A3.1 A3.2 A4.1 A4.2 A5.1 A5.2 แทนโครงการย่อยในแผน ตามลําดับ
ประเภทที่ 2 ชุดโครงการวิจัยเชิงพื้นที่แบบสหวิทยาการ มีข้อเสนอโครงการจํานวน ทั้งสิ้น 2 แผนงาน 7 โครงการย่อย แบ่งออกเป็น 2 แฟ้ม แยกเป็นแผนใหญ่ 2 แผน ใช้แฟ้มสีเหลือง โดย ใช้รหัส B1, B2 แทนแผนใหญ่ของโครงการ และ B1.1, B1.2, B1.3, B1.4 B2.1, B2.2, B2.3 แทนโครงการย่อยในแผน ตามลําดับ
ประเภทที่ 3 ชุดโครงการวิจัยเชิงพื้นที่หรือโครงการเดี่ยว ที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศตาม ศาสตร์ มีข้อเสนอโครงการจํานวนทั้งสิ้น 5 โครงการ ใช้แฟ้มใหญ่สีแดง 1 แฟ้ม โดย ใช้รหัส C1, C2, C3, C4 และ C5 แทนตัวโครงการ ตามลําดับ
3.2.4 เกิดความเชื่อมโยงระบบ กลไกการบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ระดับ คณะ และระดับ มหาวิทยาลัย
สถาบันวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นหน่วยจัดการกลาง ที่มีบทบาทสําคัญในเชิงนโยบาย และ เชิงปฏิบัติการ ในเชิงนโยบาย คือการเชื่อมการดําเนินงานเพื่อสนับสนุนงานวิจัยเชิงพื้นที่ในลักษณะ ของการวางแผนกิจกรรมส่งเสริมนักวิจัยร่วมกันเพื่อทําให้เกิดความดําเนินงานที่มีประสิทธิภาพ และ กําหนดกิจกรรมให้มีความสอดคล้องกัน อีกทั้งยังเป็นการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบ ในการดําเนินงานวิจัยเพื่อไม่ให้เกิดการทับซ้อนกันในการทํางาน จากการประชุมได้มีมติร่วมกัน ในการกําหนดขอบเขตการทํางานและความรับผิดชอบของแต่ละโครงการ ซึ่งให้หัวหน้าโครงการ ของแต่ละโครงการทําการควบคุม ติดตามการดําเนินงาน และคอยประสานกับหัวหน้าแผนวิจัย นอกจากนี้สถาบันวิจัยฯยังได้ จัดให้มีเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับผู้บริหารของคณะและ
สถาบันวิจัยและพัฒนา ในรูปแบบของการประชุม และการพบปะอย่างไม่เป็นทางการ ตลอดจน การส่งตัวแทนของแต่ละหน่วยงานไปร่วมกิจกรรมที่ทางคณะหรือสถาบันวิจัยและพัฒนาจัดขึ้น ร่วมถึง การลงพื้นที่ภาคสนาม ตัวอย่าง
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาระบบการจัดการงานวิจัยกิจกรรมพัฒนาระบบ การจัดการงานวิจัยแบบชุดโครงการ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา มิ่งฉาย
การเยี่ยมชมพื้นที่ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ ศูนย์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านเลขที่ 253 หมู่ 5 ตําบลสบป้าด อําเภอแม่เมาะ จังหวัดลําปาง
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 สถาบันวิจัยและพัฒนาร่วมกับคณะครุศาสตร์ได้จัดกิจกรรมการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาระบบการจัดการงานวิจัย ของแผนงานวิจัย โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ เยี่ยมลักษณ์ อุดาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแผนการบริหารงานแบบชุดโครงการวิจัย ที่ดําเนินการโดยคณบดี
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2560 สถาบันวิจัยและพัฒนาร่วมกับคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้มีการจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาระบบการจัดการงานวิจัย ของแผนงานวิจัย ในหัวข้อ “การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัย” โดยพูดถึงประเด็นการตั้ง โจทย์งานวิจัย การจัดหานักวิจัยเข้ามาบูรณาการศาสตร์ในงานวิจัยคณะในสาขาคณะเทคโนโลยีและ อุตสาหกรรม การหาแหล่งทุนในมหาวิทยาลัย ภายนอกมหาลัย หรือหน่วยงานภายนอก
วันที่ 27 ธันวาคม 2560 สถาบันวิจัยและพัฒนาร่วมกับคณะวิทยาการจัดการได้มีการจัด กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาระบบการจัดการงานวิจัย ของแผนงานวิจัยเรื่อง “การจัดการนวัตกรรมกระบวนการยกระดับกลุ่มผ้าทอกี่กระตุก ตําบลไหล่หิน อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง” จัดประชุมวางแผนวิธีการดําเนินงานวิจัยร่วมกับทีมงานโครงการย่อยและสร้าง ความเข้าใจในการกําหนดขอบเขตงานในแต่ละโครงการที่รับผิดชอบ
จากการดําเนินงานทั้งในส่วนของสถาบันวิจัยและพัฒนา และของคณะในการยกระดับ การบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ทั้งหมดที่ผ่านมาข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่าการบริหารจัดการ โครงการวิจัยนวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปาง ก้าวเข้าสู่ระยะของ การยกระดับการจัดการงานวิจัย ซึ่งกระบวนการจัดการของมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง โดยการจัดการต้นทาง กลางทาง และปลายทาง
3.3 การบริหารจัดการงานวิจัยปลายทาง (downstream management)
สถาบันวิจัยและพัฒนา สนับสนุน ส่งเสริมให้นักวิจัย คืนข้อมูลผลการวิจัยในพื้นที่ รวมถึง การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยให้แก่กลุ่มเป้าหมายและผู้สนใจทั่วไป รวมถึงมีเวที ความก้าวหน้าของโครงการวิจัย” ทีจัดขึ้นในวันที่ 16-17 มกราคม 2561 ทําให้ได้เกิดการเรียนรู้ ข้อคิด ข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์ ภายหลังการนําเสนอรายงานความก้าวหน้า ทางสถาบันวิจัยและ พัฒนาในฐานะหน่วยจัดการกลาง ได้เชิญทีมพีเลี้ยง และหัวหน้าแผนวิจัย รวมถึงหัวหน้าโครงการ เพื่อสรุป ผลการดําเนินงาน รวมถึงปัญหา อุปสรรคการดําเนินงาน เพื่อ ทบทวนปรับปรุงการ ดําเนินงาน และร่วมกันออกแบบการให้คําปรึกษา เพื่อให้การทํางานวิจัยเชิงพื้นที่เกิดความเชื่อมร้อย กันมากขึ้น นอกจากนั้น ยังได้มีเวทีพบปะกับ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อ เช่น ยุทธศาสตร์
จังหวัด นายกสมาคมข้าวแต๋น เพื่อวางแผนการขับเคลื่อนเข้าสู่ แผนพัฒนาจังหวัดลําปางต่อไป ส่วนระยะต่อไป ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาจะจัดให้มีเวทีการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณะ ซึ่ง วางแผนให้มีขึ้นภายในเดือนกรกฎาคม 2561 นี้ ทั้งนี้เพื่อขยายผลการวิจัยสู่การรับรู้ของหน่วยงาน และประชาชนให้มากยิ่งขึ้น โดยหวังผลให้ สามารถนําองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจั ยไปสู่ การใช้ประโยชน์เป็นวงกว้างต่อไป
3.3.1 เกิดการพัฒนา ระบบ กลไกการบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ระดับคณะ ระบบบริหารจัดการงานวิจัยของคณะครุศาสตร์
คณะครุศาสตร์ ได้พัฒนา ระบบ กลไกการบริหารจัดการคณะผ่าแผนงานวิจัย : การพัฒนา
นวัตกรรมการจัดการความรู้ภูมิปัญญาและพัฒนาสื่อการเรียนรู้เรื่อง“ข้าวแต๋น”ของกลุ่ม ผู้ประกอบการข้าวแต๋น อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง (ประเภทที่ 1) สรุปผลการดําเนินงานได้ดังนี้
ระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของคณะครุศาสตร์มีดังนี้
1. คณบดีทําหน้าที่เป็นหัวหน้าแผนงานวิจัย มีรองคณบดี และผู้ช่วยที่ดูแลงานด้าน วิจัยเป็นผู้ร่วมวิจัย
2. กําหนดให้มีโครงสร้างการทํางานวิจัยเชิงพื้นทีอย่างเป็นทางการ โดยการคณะ แต่งตั้งคณะทํางาน
3. มีการบริหารแผนงานวิจัยด้วย หลักการ PLC ซึ่งประกอบด้วย 5 หลักการ
4. มีกิจกรรมหนุนเสริมการการจัดการความรู้ (KM) ระหว่างนักวิจัยหน้าใหม่ หน้าเก่า กระบวนการถอดบทเรียน รวมถึงจัดให้มีวงพูดคุยระหว่างนักวิจัยและ ผู้ประกอบการ และโรงเรียน กลุ่มเป้าหมาย
5. มีการติดตาม ด้วยการจัดเวทีพบปะ พูดคุยกับนักวิจัยโครงการย่อย
ลงศึกษาในพื้นที่
โมเดลโครงการวิจัย คณะครุศาสตร์ ที่มา: คณะครุศาสตร์
นักวิจัยใหม่ / เก่า
(tacit knowledge)
หนุนเสริม: จัดอบรมเชิง ปฏิบัติการ“แนวคิดและตัวอย่าง งานวิจัยในพื้นที่”
-ข้อค้นพบ/แนวทาง
-ปัญหา อุปสรรค
การสร้างความรู้
PLC
(tacit explicit Knowledge)
รูปภาพที่ 5 โมเดลการโครงการวิจัย
ขั้นบริหารงานวิจัยก่อนการดําเนินการในพื้นที่
บริหารทีม
วิจัย นักวิจัยเก่า นักวิจัย ใหม่
นักวิจัยต่าง สาขา
-กําหนดแผนการ
ดําเนนิ งานชัดเจน สอดคล้องกับพื้นท
-สอดคล้องความ ต้องการ
-กําหนดเครื่องมือท
ชัดเจน
ี่ -แบ่งหน้าทกี่ าร ทํางานร่วมกัน
-เข้าใจงานในพื้นท
ขั้นบริหารงานวิจัยระหว่างการ
ดําเนินการในพื้นที่ - ทีมวิจัย
-นักวิจัยใช้ประโยชน
ได้จริง
- ทีมวิจัย
- ส่งเสริมการทํางานวิจัยเชิง
์ ตรงกน
บูรณาการ - ลดภาระงานการ
ดําเนินการ
-สื่อสารกับพื้นที่
- ทีมวิจัย
- ทีมผู้ทรงคณุ วุฒ
- ทีมประสานงานกลาง
การจัดเวทีเรียนร
ประสานงาน ให้การสนบั สนุน
การขับเคลื่อน
ู้ งานวิจัย
ในพื้นที่ โดยทีม นักวิจัย และพี่เลี้ยง
- การจัดกิจกรรม
การเรียน รู้ภายใต้ กระบวนการโค้ช PLC PBL
- ขยายผลพัฒนา คุณค่าร่วมกับภาคี
- ติดตามประเมินผล
- สังเคราะห์สรุปผล โดยทีมประสานงาน กลาง
- ทีมประสานงาน
กลาง
- ทีมประสานงานกลาง
- ทีมวิจัย
- ทีมประสานงาน
กลาง
- ทีมผู้ทรงคณุ วุฒ
ิ - ทีมผู้ทรงคุณวุฒ
- ทีมประสานงานกลาง
- ทีมผู้ทรงคุณวุฒ
- องค์กรแห่งการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระตุ้น นักวิจัยคิดค้นพัฒนา งานวิจัยในพื้นที่
- ภาคีพันธมิตร
กระบวนการ
ตรวจสอบ ประเมินผลข้อมูล สรุปผลดําเนินการ
AAR เพื่อสนับสนุน
การนําแนวคิดหรือ วิธีการใหม่ ๆ มา ปรับใช้ในการวิจัย
บริหารจัดการกับ
ข้อมูลให้เป็น สารสนเทศที่เป็น ประโยชน์กับ งานวิจัย
- ชุดความร/ู้ นวัตกรรม
- กระบวนการบริหาร
จัดการงานวิจัย
- ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
ขั้นบริหารงานวิจัยเมื่อ ออกจากพื้นที่
- ศักยภาพครูในการจัด กิจกรรม
- รูปแบบการจัด กิจกรรม/หลักสูตร
- คลังความรู้
- สังคมการเรียนรู้
- ทีมวิจัย - ทีมวิจัย - ทีมวิจัย
ระบบบริหารจัดการงานวิจัยของคณะวิทยาการจัดการ
รูปภาพที่ 6 ขั้นบริหารงานวิจัยก่อนการดําเนินการในพื้นที่ของคณะครุศาสตร์
คณะวิทยาการจัดการ ได้พัฒนา ระบบ กลไกการบริหารจัดการคณะผ่าแผนงานวิจัย : การ จัดการนวัตกรรมกระบวนการยกระดับกลุ่มผ้าทอ กี่กระตุก ตําบลไหล่หิน อําเภอเกาะคา จังหวัด ลําปาง (ประเภทที่ 1) สรุปผลการดําเนินงานได้ดังนี้
ระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของคณะวิทยาการจัดการ มีดังนี้
1. คณบดีทําหน้าที่เป็นหัวหน้าแผนงานวิจัย มีรองคณบดี และผู้ช่วยที่ดูแลงานด้าน วิจัยเป็นผู้ร่วมวิจัย
2. กําหนดให้มีโครงสร้างการทํางานวิจัยเชิงพื้นทีอย่างเป็นทางการ โดยการคณะ แต่งตั้งคณะทํางาน
3. การบริหารโครงการ ที่ให้ความสําคัญกับการตั้งโจทย์วิจัย (ต้นน้ํา) การส่งเสริม พัฒนาศักยภาพนักวิจัย การให้คําปรึกษา (กลางน้ํา) การส่งเสริมการสังเคราะห์ ข้อมูลการวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์และการเผยแพร่ (ปลายน้ํา)
โมเดลระบบบริหารจัดการงานวิจัยของคณะวิทยาการจัดการ
ระบบบริหารจัดการงานวิจัยของคณะเทคโนโลยีการเกษตร
รูปภาพที่ 7 โมเดลระบบบริหารจัดการงานวิจัยของคณะวิทยาการจัดการ
คณะเทคโนโลยีการเกษตรได้พัฒนา ระบบ กลไกการบริหารจัดการคณะผ่าแผนงานวิจัย : การบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง เพื่อ ยกระดับมาตรฐานการผลิตข้าวแต๋น จังหวัดลําปาง (ประเภทที่ 1) สรุปผลการดําเนินงานได้ดังนี้
ระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของคณะเทคโนโลยีการเกษตรมีดังนี้
1. คณบดีทําหน้าที่เป็นหัวหน้าแผนงานวิจัย มีรองคณบดี และผู้ช่วยที่ดูแลงาน ด้านวิจัยเป็นผู้ร่วมวิจัย
2. กําหนดให้มีโครงสร้างการทํางานวิจัยเชิงพื้นทีอย่างเป็นทางการ โดยการคณะ แต่งตั้งคณะทํางาน
3. การให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการให้ในทุกขั้นตอน มีการทํา MOU กับสมาคมข้าวแต๋น และการสร้างเครือข่ายความมือกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตข้าวแต๋นลําปาง
4. มีกิจกรรมหนุนเสริมศักยภาพนักวิจัยด้วยการเชิญบุคลากรภายนอกมา แลกเปลี่ยนกับนักวิจัย
5. มีการติดตาม ด้วยการจัดเวทีพบปะ พูดคุยระหว่างหัวหน้าแผน นักวิจัย และ ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6.
โมเดลระบบบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร
คณะทํางานประชุมเพื่อวางแผนการดําเนินงานวิจัย ภายใต้พันธกิจการวิจัยเพื่อรับใช้สังคม
ประชุมคณะทํางานเพื่อวางแผนการ ทําโครงการวิจัยในพื้นที่ วางแผนการลงพื้นที่เพื่อดําเนินโครงการ
ลงพื้นที่เพื่อให้บริการวิชาการ
ถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ โดย วิทยากรและผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์
ที่เกี่ยวข้อง
สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก
ทั้งหน่วยงานราชการ และหน่วยงานเอกชน
ดําเนินโครงการวิจัยย่อย ภายใต้การมีส่วนร่วม ของเกษตรกร/ ผู้ประกอบการในชุมชน
บูรณาการการเรียนการสอน กับงานวิจัยและการบริการ วิชาการ
คณะทํางานลงพื้นที่เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาข้อมูลในพื้นที่
7.
8.
รูปภาพที่ 8 โมเดลระบบบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร
ระบบบริหารจัดการงานวิจัยของวิทยาศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์ได้พัฒนา ระบบ กลไกการบริหารจัดการคณะผ่าแผนงานวิจัย :การพัฒนา กระบวนการผลิตน้ําปูเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ําปู (ประเภทที่ 1) ) สรุปผลการดําเนินงานได้ ดังนี้
ระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของคณะเทคโนโลยีการเกษตรมีดังนี้
1. คณบดีทําหน้าที่เป็นหัวหน้าแผนงานวิจัย มีรองคณบดี และผู้ช่วยที่ดูแลงานด้าน วิจัยเป็นผู้ร่วมวิจัย
2. กําหนดให้มีโครงสร้างการทํางานวิจัยเชิงพื้นทีอย่างเป็นทางการ โดยการคณะ แต่งตั้งคณะทํางาน
3. การจัดกิจกรรมหนุนเสริมศักยภาพนักวิจัยด้วยการเชิญบุคลากรภายนอกมา แลกเปลี่ยนกับนักวิจัย
4. มีการติดตาม ด้วยการจัดเวทีพบปะ พูดคุยระหว่างหัวหน้าแผน นักวิจัย และ ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ระบบบริหารจัดการงานวิจัยของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมได้พัฒนา ระบบ กลไกการบริหารจัดการคณะผ่าแผนงานวิจัย: การพัฒนากระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์แมคคาเดเมียชุมชนคุณภาพเพื่อการยกระดับสู่มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์สีเขียว กรณีศึกษา : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่แจ๋ม อําเภอเมืองปาน จังหวัดลําปาง (ประเภทที่ 1) สรุปผลการดําเนินงานได้ดังนี้
ระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมีดังนี้
1. คณบดีทําหน้าที่เป็นหัวหน้าแผนงานวิจัย มีรองคณบดี และผู้ช่วยที่ดูแลงานด้าน วิจัยเป็นผู้ร่วมวิจัย
2. กําหนดให้มีโครงสร้างการทํางานวิจัยเชิงพื้นทีอย่างเป็นทางการ โดยการคณะ แต่งตั้งคณะทํางาน
3. มีกิจกรรมหนุนเสริมศักยภาพนักวิจัยด้วยการเชิญผู้ทรงฯมาให้ความรู้ด้านการ วิจัยเชิงพื้นที่ และร่วมแลกเปลี่ยนกับนักวิจัย
4. มีการติดตาม ด้วยการจัดเวทีพบปะ พูดคุยระหว่างหัวหน้าแผน นักวิจัย และ ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โมเดลระบบบริหารจัดการงานวิจัยของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ธ า รการ กา ดกร ร ด
ครา า
ร ค า ด
ร า
ด ํา
'
ร า
า า
ร า
' '
าร า
ํา า
ร า
' /ดํา า
ก 'า า
การ ด ํารา า ร
ก าร ก า รา า การ
ร กา ' า 'า การ คร การ
' า าร า
ก / ร ร / ร กา
กร การ
ํา า g า
การ าร า
ร า ด า /
ร ํา ค า ก า า
การดํา า
ร า TOR รา า ค า ก า า รา า ร
การ ร' า
ด ธ ร/ ร า า
ํา ร
ร'
การ ร าการ
าร าร า ร
าร าร 'า ร
การ ดการ ค ค า ร การ ครา ค า ร
า
า
คํา
รา ดการ ร ด
ถ ธ ร ร
ร ' ร ด
ก าร ร ก คํา 'า
รูปภาพที่ 9 โมเดลระบบบริหารจัดการงานวิจัยของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
3.3.2 ระบบ กลไกการบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา
ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา คณบดีทั้ง 6 คณะ
ระบบ กลไกการบริหารจัดการ งานวิจัยระดับมหาวิทยาลัย (คน งบ งาน)
ระบบ กลไกการบริหารจัดการ งานวิจัยระดับคณะ
(คน งบ งาน)
การมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วม
การนําสู่การ ปรับปรุงแก้ไข (Action)
การบริหาร จัดการงานวิจัย ด้วยหลัก PDCA
การวางแผน (Planning)
การสร้าง เครือข่าย
การติดตาม Check
การปฏิบัติ
ระบบสารสนเทศ / เทคโนโลยี
(Do)
การมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วม
ระเบียบ ข้อบังคับ
ของมรภ.ลําปาง
การพัฒนา ระบบพี่เลี้ยง
การพัฒนา ศักยภาพ นักวิจัย
การพัฒนา คุณภาพ งานวิจัย
นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปาง
รูปภาพที่ 10 ระบบ กลไกการบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง
จากแผนผังข้างต้น อธิบายได้ดังนี้ สถาบันวิจัยและพัฒนา มีระบบ กลไกการบริหารจัดการ ของมหาวิทยาลัย ผ่านโครงการวิจัย นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัด ลําปาง สรุปผลการดําเนินงานได้ดังนี้
1. อธิการบดีมอบหมายรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษาเป็นหัวหน้า โครงการ บริหารงานผ่านสถาบันวิจัยและพัฒนาโดยมีผู้อํานวยการสถาบันวิจัย ดําเนินการ ผ่านกลไกต่างๆ
2. กําหนดให้มีโครงสร้างการทํางานวิจัยเชิงพื้นทีอย่างเป็นทางการ โดยการจัดตั้ง คณะทํางานที่มีคณบดีเป็นกรรมการ รวมถึงหัวหน้าชุดโครงการ โครงการวิจัย ย่อย
3. มีการบริหารโครงการวิจัยด้วย หลักบริหาร PDCA โดยกระบวนการมีส่วนร่วม ของคณะ นักวิจัย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นการดําเนินงานคู่ขนานไปกับการ บริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ระดับคณะ
4. จัดตั้งพี่เลี้ยงนักวิจัย แบ่งเป็นพี่เลี้ยงสายวิทยาศาสตร์ และสายสังคมศาสตร์
5. มีกิจกรรมการพัฒนานักวิจัย คุณภาพงานวิจัยเพื่อสามารถนําใช้ประโยชน์ได้ทั้ง นักวิจัยและกลุ่มเป้าหมาย
6. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้งระดับพื้นที่ และระดับ จังหวัด
7. การจัดเวทีคืนข้อมูลผลการวิจัย แก่กลุ่มเป้าหมาย การแสดงผลงานวิจัยต่อ สาธารณชน
8. มีการติดตาม ด้วยการลงพื้นที่วิจัย การจัดเวทีพบปะ พูดคุยกับนักวิจัย การจัด เวทีรายงานความก้าวหน้า
9. การจัดทําระบบสารสนเทศ ระดับมหาวิทยาลัย โดยการมีส่วนร่วมของทุกคณะ (ซึ่งอยู่ในช่วงของการดําเนินการ)
10. มหาวิทยาลัยฯ มีนโยบายการเพิ่มภารงานสําหรับการวิจัยเชิงพื้นที่ (ซึ่งอยู่ ในช่วงของการดําเนินการ)
11. สถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นหน่วยงานกลางทําหน้าเอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างนักวิจัย ระหว่างคณะ และระหว่างนักวิจัยกับหน่วยงานภายนอก ทําให้สามารถเชื่อมความคิด วิธีการทํางาน การบริหารจัดการเพื่องานวิจัยเชิง พื้นที่
คณะ
สถาบันวิจัย
แผนผังแสดงกลไกการเชื่อมโยง ระบบ กลไกการบริหารงานวิจัยเชิงพื้นที่ระหว่างมหาวิทยาลัยและคณะ
ร่วมเวที
ประกาศ ประชาสัมพันธ์นักวิจัยเข้า
ลงนามสัญญารับทุนจาก สกว.
นกวิจยั
เวทีวิจัยสัมพันธ
จัดทํา research mapping
จัดทําและส่งข้อเสนอ โครงการ
ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัย (TOR)
กลั่นกรองข้อเสนอโครงการวิจัย
เวทีวิพากษ์ข้อเสนอโครงการวิจย
ร่วมเวที
โดย
ผู้ทรงคุณวุฒิภายในและภายนอก
พิจารณาข้อเสนอรายงานวจัยที่ปรับแกแล้ว
นักวิจัยกรอกข้อมูลใน
ระบบ DRMS
ประกาศรายชื่อผู้รับทุน
ประชุมชี้แจงการทําสัญญารับทุน และการกรอกข้อมูลระบบ DRMS
จัดทําสัญญา
พัฒนาระบบบริหารจัดการวิจัย
-เปิดบัญชีธนาคาร
-ทําแผนเบิกจ่ายเงิน 60:30:10 และ
เอกสารแนบท้ายสัญญา
รายงานระบบบริหารจัดการ งานวิจัยของคณะ
จัดเวทีรายงานความก้าวหน้า
รับเอกสารตรวจสอบเบื้องต้น เพื่อส่งสถาบันวิจัยและพัฒนา
รายงาความก้าวหน้า งานวิจัย
ตรวจสอบรายงานความก้าวหน้าที่ปรับแก้ตามข้อเสนอผู้ทรง
บันทึกเบิกเงินงวด ๒
รับเอกสารตรวจสอบเบื้องต้น เพื่อส่งสถาบันวิจัยและพัฒนา
ตรวจสอบให้ความเห็นชอบการเบิกเงินงวด ๒
เผยแพร่องค์
รับเอกสารตรวจสอบเบื้องต้น เพื่อส่งสถาบันวิจัยและพัฒนา
จักทําบทความ ตีพิมพ์ เผยแพร่ บันทึกเบิกงวด ๓
ตรวจสอบรายงานฉบับสมบรูณ์ เพื่อเบิกจ่ายเงินงวด ๓
เวทีร่างฉบับสมบรูณ์
รับคําขอจดทรัพย์สินทางปัญญา กรมทรัพย์สินทางปัญญา
ตีพิมพ์เผยแพร่ ขอยื่นจด แจ้งทรัพย์สินทางปัญญา
รูปภาพที่ 11 แผนผังแสดงกลไกการเชื่อมโยง ระบบ กลไกการบริหารงานวิจัยเชิงพื้นที่ระหว่างมหาวิทยาลัยและคณะ
จากรูปภาพที่ 11 อธิบายได้ว่า ภายหลังการลงนามสัญญาร่วมทุนอุดหนุนวิจัยระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปางและ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถาบันวิจัยและพัฒนา (สวพ.) ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนภารกิจด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยได้ประชาสัมพันธ์ โครงการวิจัยฯให้กับนักวิจัยในมหาวิทยาลัยฯ ผ่านทางคณะและ สวพ. เพื่อเข้าร่วมเวทีวิจัยสัมพันธ์ซึ่ง เป็นเวทีพบปะระหว่างผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในงานวิจัย กับนักวิจัย เพื่อ ทบทวนสภาพปัญหาความต้องการ และแนวทางการวิจัย รวมถึงจัดทํา Research Mapping อัน นําไปสู่การประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัย (Tor) เขียนข้อเสนอโครงการวิจัยของนักวิจัย ทั้ง สาม ประเภท ภายหลังจากนั้น สถาบันวิจัยฯจัดให้มีการกลั้นกรองข้อเสนอโครงการฯเบื้องต้น ก่อนจัดเวที วิพากษ์ข้อเสนอโครงการวิจัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิของ สกว.และผู้ทรงวุฒิที่เกี่ยวข้อง และประกาศรายชื่อ ผู้ที่ได้รับทุนฯ ภายหลัง สถาบันวิจัยฯได้ ประชุมชี้แจง ถึงขั้นตอนการเบิกจ่ายตามแผนวิจัย รวมถึงการ ป้อนข้อมูลในระบบ DRMS ซึ่งการโอนงบฯวิจัยแบ่งการโอนให้นักวิจัยเป็น 3 งวด ในสัดส่วน 60:30:10 กลางน้ํา จัดระบบพี่เลี้ยง เพื่อให้คําแนะนํา ปรึกษาแก่นักวิจัยเชิงพื้นที่หน้าใหม่ การเสริม ทักษะการดําเนินการวิจัยเชิงพื้นที่ เทคนิคการสังเคราะห์งานวิจัย การเขียนบทความวิจัย เป็นต้น ร่วม ถึง การจัดเวทีรายงานความก้าวหน้า เวทีร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบการเบิกจ่ายทั้งงวด 1 งวด 2 และงวด 3 ส่วนปลายน้ํา เป็นการส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิจัย การนําผลงานวิจัยไปใช้ ประโยชน์ หรือยืนจดทรัพย์สินทางปัญญา
3.4 การพัฒนาระบบพี้เลี้ยง
มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปางได้เล็งเห็นความสําคัญของ การจัดระบบ กลไกให้มีพี่เลี้ยงด้านการ วิจัย งานสร้างสรรค์และงานด้านบริการวิชาการ ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัย รุ่นกลาง และรุ่นใหม่ให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์อันจะนําไปสู่การเป็นนักวิจัยมือ อาชีพ มีผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และงานด้านบริการวิชาการที่ใช้ประโยชน์ได้จริงก่อเกิด ประโยชน์ให้แก่ชุมชน ท้องถิ่น และสามารถยืนจดทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงการตีพิมพ์เผยแพร่ ผลงานในวารสารฐานข้อมูลที่มีคุณภาพที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับทั้งระดับชาติ หรือนานาชาติ จึงได้ ดําเนินการดังต่อไปนี้
3.4.1 การแต่งตั้งพี่เลี้ยงนักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง สถาบันวิจัยและพัฒนาในฐานะหน่วยงานสนับสนุน ได้ทําบันทึกถึงคณะต่าง ๆ
ขอความอนุเคราะห์ให้พิจารณาคัดสรรอาจารย์ นักวิจัยที่มีคุณสมบัติอย่างน้อยตามเกณฑ์ดังนี้ เพื่อ
พิจารณาแต่งตั้งให้เป็นพี่เลี้ยงนักวิจัย
คุณสมบัติอาจารย์พี่เลี้ยงนักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง ประกอบด้วย
(1) วุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป
(2) ตําแหน่งทางวิชาการระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ขึ้นไป
(3) ประสบการณ์การทํางานในมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง ไม่น้อยกว่า 5 ปี
(4) ประสบการณ์การทํางานด้านการวิจัยหรืองานพัฒนาสร้างสรรค์ ไม่น้อย กว่า 8 ปี
(5) มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับไม่น้อยกว่า 1 บทความต่อปี
(6) เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยไม่น้อยกว่า 2 โครงการต่อปี
(7) สามารถอุทิศเวลาให้คําปรึกษาแก่นักวิจัยไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เมื่อคณะพิจารณาส่งรายชื่อพี่เลี้ยงมาแล้ว เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง ได้มีคําสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง ที่ 2021/2560 เรื่อง แต่งตั้งพี่เลี้ยง นักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง โดยมีพี่เลี้ยงนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ จํานวน 10 ท่าน พี่เลี้ยง นักวิจัยด้านสังคมศาสตร์ จํานวน 13 ท่าน มีหน้าที่ให้คําปรึกษา ร่วมแลกเปลี่ยน กํากับ ติดตาม ผล การดําเนินงานวิจัย งานวิชาการ งานสร้างสรรค์ และบทความวิจัย บทความทางวิชาการของนักวิจัย
3.4.2 การวางแผนร่วมกับพี่เลี้ยง และการจัดกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพพี่เลี้ยงนักวิจัย
สถาบันวิจัยและพัฒนาได้จัดกิจกรรมประชุมพี่เลี้ยงนักวิจัย โดยมีการชี้แจง เรื่องการสร้างระบบพี่เลี้ยงแบบโค้ช เพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ที่เน้นการบูร ณาการ และการดําเนินงานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง ซึ่งสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ จัดทําตารางการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างนักวิจัย และพี่เลี้ยงนักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏ ลําปางภายใต้ โครงการ“นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปาง” เพื่อให้พี่ เลี้ยงนักวิจัย ให้คําปรึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลการดําเนินงาน ด้ านงานวิจัย งาน วิชาการ งานสร้างสรรค์ และบทความวิจัย บทความวิชาการของนักวิจัย ซึ่งในการดําเนินการนัดหมาย ตามตารางที่ได้จัดทําขึ้นนี้ จัดขึ้นทั้งหมด 5 ครั้งครั้งละ 2 ชั่วโมง ในช่วงเวลา 16.00 – 18.00 น. ของ วันนัดหมาย ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาได้มีการติดตาม พี่เลี้ยงและนักวิจัยเป็นช่วงระยะ ๆ เพื่อให้ ทราบถึงขั้นตอนการดําเนินงานของพี่เลี้ยงและนักวิจัยแต่ละโครงการว่าได้มีการให้คําปรึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไปมากน้อยเพียงใดแล้ว
นอกจากนั้นยัง มีกิจกรรมเสริมทักษะ และ การสังเคราะห์งานวิจัยให้กับพี่เลี้ยง โดยเชิญ วิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านงานวิจัยเชิงพื้นที่ คือ รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรนภา พรหมา ปรึกษาศูนย์ บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
อย่างไรก็ตามในส่วนของการเข้าร่วม นักวิจัยพี่เลี้ยงยังมีจํากัดในเรื่องของเวลา เนื่องจาก ความเป็นนักวิจัยรุ่นใหญ่ งานวิจัย หรือโครงการที่รับผิดชอบค่อนข้างมากตามมา รวมถึงบางส่วนมี ตําแหน่งบริหารของคณะ บางรายยังมุ่งอยู่กับการทําผลงานวิชาการ สิ่งเหล่านี้ทําให้การแบ่งปันเวลา ในการทําหน้าที่พี่เลี้ยงอาจยังไม่สมบูรณ์สําหรับบางราย ประกอบกับสถาบันวิจัยและพัฒนามีการจัด ประชุมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยค่อนข้างบ่อยเนื่องจากต้องดูแลงบประมาณจากแหล่งทุนหลายแหล่งทุน ทําให้นักวิจัยมองว่าจัดบ่อยมากเกินไป ภายใต้ระบบ กลไกที่ผ่านมา สามารถวิเคราะห์ปัจจัยเอื้อต่อ ความสําเร็จของการทําหน้าทีของพี่เลี้ยงได้ดังนี้ อันดับแรกคือ ศรัทธา และเชื่อมั่นที่มีต่องานวิจัยเชิง พื้นที่ หากสิ่งเหล่านี้ยังไม่เกิดกับตัวพี่เลี้ยง การทําหน้าที่พี่เลี้ยงก็จะไม่เป็นผล ประการที่สอง ทักษะ
ความรู้และการถ่ายทอดของพี่เลี้ยง หากพี่เลี้ยงมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการทําวิจัยเชิงพื้นที่ หากแต่ ยังไม่สามารถถ่ายทอดทักษะให้กับนักวิจัยรุ่นใหม่ ก็ไม่สามารถทําให้นักวิจัยรุ่นใหม่มีทักษะด้านการ วิจัยเชิงพื้นที่ได้ และประการที่สาม แรงจูงใจ และประโยชน์ที่มีต่อพี่เลี้ยง เช่น มหาวิทยาลัยให้ภาระ งานแก่นักวิจัยที่ทําหน้าเป็นพี่เลี้ยง การยกย่องเชิดชูสําหรับ พี่เลี้ยงที่ทําหน้าได้อย่างยอดเยี่ยม มี ผลงานเชิงประจักษ์ เป็นต้นซึ่งคงเป็นโจทย์ที่ทางมหาวิยาลัยฯต้องหาแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว นี้ต่อไป
ในส่วนของ ผู้ประกอบการซึ่งถือว่าเป็น “พี่เลี้ยง” ที่ปรึกษาที่สําคัญยิ่ง ภายใต้การดําเนินงาน โครงการ“นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปาง”ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่ได้ทําหน้าที่เป็น “พี่เลี้ยง” ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง การให้ คําปรึกษาอยู่ในรูปแบบของ คําถาม เช่น “ ถ้าเป็นอย่างนี้ ..... หรือถ้าเป็นอย่างนั้น.....ละ” ทําให้ นักวิจัยได้เรียนรู้ ได้มุมมอง หรือได้สิ่งที่นักวิจัยมองข้ามไป ที่สําคัญผู้ประกอบการเป็นผู้ที่สร้างแรง บันดาลใจ และกําลังที่ดีสําหรับนักวิจัย
บทที่ 4
การดําเนินงานด้านการวิจัยเพื่อตอบโจทย์ของพื้นที่และผลลัพธ์
ผลการดําเนินการวิจัยเพื่อตอบโจทย์ของพื้นที่ และผลลัพธ์ ตลอดระยะโครงการ นวัตกรรม การจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปาง ในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง ได้ออกแบบการบริหารจัดการเป็นลักษณะห่วงโซ่ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ดังนั้นจึงขอ แยกการนําเสนออกเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย ผลการดําเนินการวิจัยต้นน้ํา ผลการดําเนินการวิจัย กลางน้ํา และผลการวิจัยปลายน้ํา ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
มหาวิทยาลัยราชภัฎลําปาง เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ผู้บริหารให้ความสําคัญ กับนโยบายการวิจัยเชิงพื้นที่ ที่มุ่งยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน จากการดําเนินการวิจัย ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า มหาวิทยาลัยมีต้นทุนการทํางานวิจัยเชิงพื้นที่มาก่อน โดยเฉพาะความร่วมมือ กับ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ภายใต้โครงการพัฒนาการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ใน จังหวัดลําปางภายใต้แนวคิด “หนึ่งมหาวิทยาลัย หนึ่งจังหวัด” ในปี พ.ศ.2554 และโครงการ "หนึ่งคณะ หนึ่งโมเดล" ในปี พ.ศ.2556 ที่ผ่านมา ทําให้เกิดงานวิจัยเชิงพื้นที่ที่ตอบสนองสภาพปัญหา ศักยภาพ ความต้องการของท้องถิ่นมากขึ้น ก่อเกิดนักวิจัยเชิงพื้นที่ รวมถึง มหาวิทยาลัยมีพัฒนาการ ด้านระบบ กลไกการทํางานวิจัยเชิงพื้นที่ที่ดีมาเป็นลําดับ
จากงานเดิมสู่การสานต่องานเชิงพื้นที่ใหม่ ภายใต้ โครงการ “นวัตกรรมการจัดการงานวิจัย เชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปาง” ในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสที่ ทาง สกว.ได้เล็งเห็นถึงความสําคัญ ของการต่อยอดทุนเดิม ด้วยการเสริมงานใหม่ เพื่อสร้างความเข้มแข็งที่ยังยืนให้กับมหาวิทยาลัยราช ภัฏลําปาง สถาบันวิจัยและพัฒนาในฐานะหน่วยงานสนับสนุนด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ลําปาง ได้ขับเคลื่อนการพัฒนา ระบบ กลไกการดําเนินงานผ่านโครงการวิจัยฯ ดังกล่าว โดยให้ความสําคัญต่อกระบวนการทํางานตั้งแต่ ต้นน้ํา กลาง และปลายน้ํา รวมทั้งมุ่งพัฒนาระบบ การจัดการงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ เชื่อมโยงกับการพัฒนาระบบ กลไกการจัดการงานวิจัย ของมหาวิทยาลัย กับคณะ ร่วมถึงการสร้างทีมพี่เลี้ยงให้กับมหาวิทยาลัย การเชื่อมโยงงานวิจัยให้เกิด ประโยชน์กับการเรียนการสอน และบริการวิชาการ อันจะนําไปสู่การสร้างความโดดเด่น/จุดเน้นของ มหาวิทยาลัยในอนาคต และที่สําคัญคือ การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ท้องถิ่นอย่างยั่งยืนต่อไป
ต้นน้ํา (Upstream) เพื่อการพัฒนาและสนับสนุนการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมที่
ตอบสนองการแก้ปัญหาและพัฒนาตามโจทย์ของชุมชนในพื้นที่จังหวัดลําปางและตอบสนองนโยบาย การขับเคลื่อน Thailand 4.0 ด้วยการวิจัยและนวัตกรรม มีวิธีการดําเนินการเพื่อให้ได้ซึ่งโจทย์ ที่ตรงกับสภาพปัญหา ความต้องการ ศักยภาพของพื้นที่ดังนี้
ข้อมูลทุติยภูมิ เริ่มตั้งแต่การศึกษาบริบทของพื้นที่ จากข้อมูลทุติยภูมิ ทั้งที่เป็นข้อมูล ที่มาจากผลการวิจัยของนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง และข้อมูลจากหน่วยงานในพื้นที่ เช่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนาชุมชน สมาคม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ยังมีข้อมูลอีกส่วนหนึ่งที่มาจาก ต้นทุนเดิมที่คณะต่างๆทั้ง 6 คณะได้จากพื้นที่วิจัย หรือบริการวิชาการ
51
ทําการรวบรวม และสังเคราะห์ออกมาเป็นโจทย์วิจัย โดยคณะวิทยาการจัดการมีพื้นที่วิจัยอยู่ที่อําเภอ เกาะคา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมีพื้นที่วิจัยอยู่ที่อําเภอเมืองปาน คณะครุศาสตร์มีพื้นที่วิจัย อยู่ที่โรงเรียนครอบคลุมเกือบทุกอําเภอ คณะเทคโนโลยีการเกษตรมีพื้นที่วิจัยอยู่ที่แจ้ห่ม คณะวิทยาศาสตร์มีพื้นที่วิจัยส่วนใหญ่อยู่ที่อําเภอแม่ทะ และอําเภอเมืองปาน คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์มีพื้นที่วิจัยอยู่ที่ อําเภอแม่ทะ ส่วนพื้นที่กลางสําหรับส่งเสริมให้นักวิจัยบูรณาการศาสตร์ ข้ามสาขา ข้ามคณะ ในลักษณะสหวิทยาการ คือพื้นที่ตําบลน้ําโจ้ อําเภอแม่ทะ ในประเด็นผู้สูงอายุ ส่วนพื้นที่บริการวิชาการอยู่ที่ตําบลวอแก้ว เป็นต้น
ส่วน ข้อมูลปฐมภูมิ ในแต่ละปี สถาบันวิจัยและพัฒนาได้จัดเวทีพบปะพูดคุยระหว่างนักวิจัย กับหน่วยงานต่างๆในพื้นที่จังหวัดลําปางเพื่อร่วมกันสะท้อนถึงสถานการณ์สภาพปัญหา ความต้องการ ในพื้นที่จังหวัดลําปาง นอกจากนั้น ยังมาจากการจัดให้มีเวทีการทบทวนโจทย์ โดยเชิญตัวแทน ที่เกี่ยวข้องในประเด็นที่ได้จากเวทีแรก มาร่วมวิเคราะห์สกัดออกมาโจทย์วิจัย ร่วมกับนักวิจัยเพื่อให้ได้ ประเด็นโจทย์ที่แหลมคม และที่ตรงกับสภาพปัญหา ความต้องการของชุมชนที่แท้จริง เช่นในวันที่ 27 มีนาคม 2560 สถาบันวิจัยและพัฒนาได้จัดเวทีทบทวนกรอบการวิจัยโครงการ “นวัตกรรมการ จัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปาง” วันที่ 7 เมษายน 2560 และวันที่ 27 เมษายน 2560 มีการประชุมนักวิจัย และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทบทวนกรอบวิจัยฯ และกําหนดทิศทางการพัฒนา กระบวนการผลิตข้าวแต๋นและไข่เค็ม ทําให้ได้เปูาหมายร่วมของโครงการวิจัย ในการยกระดับสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ศักยภาพที่แข่งขันได้ในตลาดใหม่ ดังนี้ ตามเอกสารภาคผนวก นอกจากนั้นยัง สนับสนุนให้นักวิจัยได้ลงพื้นที่พบปะกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อยืนยันประเด็นโจทย์วิจัย
จากกิจกรรมดังกล่าวข้างต้น ทําให้ ได้ประเด็นที่จะมากําหนดเป็นโจทย์วิจัย ในการยกระดับ สินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ศักยภาพที่แข่งขันได้ในตลาดใหม่ 10 ชนิดของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ข้าวแต๋น เซรามิก ผ้าทอ แมคคาเดเมีย น้ําปู ไข่เค็ม เห็ด มีด ตะเกียบ และวัตถุดิบธรรมชาติที่นํามาสกัดสาร โพลาร์ฯ โดยกําหนดแนวทางการยกระดับผลิตภัณฑ์ไว้ 3 รูปแบบดังนี้ 1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
OTOP 2) การพัฒนากระบวนการผลิตสินค้า/ผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า 3) การพัฒนาผู้ประกอบการ
การระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาได้นํามากําหนดไว้ใน TOR และประกาศทุนวิจัย (TOR) (ภาคผนวกที่ 1 ประกาศรับข้อเสนอฯ) ได้จําแนกเปูาหมายการวิจัย ออกเป็น 3 ประเด็นหลักๆดังนี้
1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่การยอมรับ เช่น ผ่านการรับรองมาตรฐาน หรือได้รับอนุญาต ตามที่กฎหมายกําหนด เช่น อย. หรือ พัฒนาจากผลิตภัณฑ์ระดับ 3 ดาวเป็นระดับ 4 ดาว การเพิ่ม ช่องทางการตลาดให้กับสินค้า เป็นต้น หรือ
2) การพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น การเพิ่มคุณค่า ซึ่งได้มาจากทุน สร้างสรรค์ต่าง ๆ เช่น ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ทรัพยากรธรรมชาติ นวัตกรรม หรือเทคโนโลยีเข้า ไปในผลิตภัณฑ์ หรือบริการ เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ทําให้เกิดความนิยม การยอมรับจาก ผู้บริโภค
3) การพัฒนาผู้ประกอบการ เช่น การพัฒนาไปสู่การเป็น social enterprise การพัฒนา ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ หรือธุรกิจ start up
นอกจากนั้น ใน TOR ยังได้ระบุให้นักวิจัยนําเสนอโครงการแยกเป็น 3 ประเภทได้ดังนี้ ประเภทที่ 1 ชุดโครงการวิจัยที่ดําเนินการโดยคณะ โดยกําหนดให้คณบดีเป็นหัวหน้าและ
ผู้รับผิดชอบโครงการ และมีการจัดตั้งคณะทํางานไม่น้อยกว่า 5 คนโดยมีรองคณบดีหรือผู้ช่วยคณบดี ฝุายที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
ประเภทที่ 2 ชุดโครงการวิจัยเชิงพื้นที่แบบสหวิทยาการ มุ่งเน้นการบูรณาการศาสตร์ความรู้ ของนักวิจัย
ประเภทที่ 3 ชุดโครงการวิจัยเชิงพื้นที่หรือโครงการเดี่ยวที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศตามศาสตร์
จากนั้น สถาบันวิจัยและพัฒนาได้จัดเวทีวิพากษ์ และพัฒนาโจทย์วิจัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิต่าง ๆ ตามเอกสารภาคผนวก โดยมีข้อเสนอโครงการวิจัยทั้ง 3 ประเภท เข้าร่วมรับการวิพากษ์ ซึ่งผลการ วิพากษ์มีโครงการที่ไม่ผ่านการพิจารณาจํานวน โครงการ ได้แก่ โครงการ ส่วนแผนวิจัยของคณะ วิทยาการจัดการ โครงการวิจัยผลิตภัณฑ์ข้าวกล้อง โดยได้รับข้อเสนอแนะจากผู้ทรงเพื่อเปลี่ยนชนิด ของผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์เปูาหมายของโครงการ นวัตกรรมการจัดการ งานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปาง ต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้กําหนด เปูาหมายของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ทั้งเชิงปริมาณ (quantity) คุณภาพ (quality) รวมถึง ผลผลิต (output) และผลลัพธ์ (outcome) อย่างเป็นรูปธรรมดังนี้
เชิงคุณภาพ
ผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่เคยผ่านการจัดระดับผลิตภัณฑ์สามารถพัฒนาเกณฑ์การจัดระดับผลิตภัณฑ์ ทั้งสามด้าน
1) ด้านผลิตภัณฑ์และความเข้มแข็งของชุมชน
2) ด้านความเป็นไปได้ทางการตลาด
3) ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ ผลิตกัณณ์ที่ผ่านเกณฑ์การจัดระดับผลิตภัณฑ์แล้ว ถูกยกระดับ ให้สูงขึ้นไม่น้อยกว่า 1 ระดับ
เชิงปริมาณ
1) สถานประกอบการที่ร่วมโครงการสามารถลดต้นทุนหรือมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ
10
2) ผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) สินค้าในพื้นที่ได้รับการพัฒนาและยกระดับอย่างน้อยร้อยละ 80
ของสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ
3) มีนวัตกรรมการจัดการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สามารถจดทรัพย์สินทางปัญญา อย่างน้อย 1 รายการ
ผลผลิต (Output) ของ ABC
1) ผลสําเร็จของการแก้ปัญหาที่เป็นโจทย์ร่วมภาคีพัฒนาในพื้นที่ได้ หมายถึง สิ่งที่เป็นปัญหา อยู่ เปลี่ยนให้ดีขึ้น สิ่งที่เป็นโอกาสแต่ยังไม่ได้ใช้ ก็ใช้ให้มากขึ้น
2) เกิด “กลไก” ที่มีความสามารถจัดการกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ กล่าวคือ กลไก ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน มีความเป็นธรรม สามารถจัดการเรื่องใหม่ๆในอนาคตได้
3) องค์ความรู้ทางวิชาการจากบริบทปัญหา / การพัฒนาของสังคมไทย
ผลลัพธ์ (outcome)
1) เกิดผู้ประกอบการในระดับ Smart enterprise
2) มีการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปางกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อการนําใช้ ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สู่การจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3) มีนักวิจัยทํางานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม (Engagement) โดยการบูรณาการ งานวิจัย การจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม
ทั้งนี้ เมื่อประกาศรับข้อเสนอวิจัยแล้วมีนักวิจัยส่งข้อเสนอโครงการ (Concept paper) และ ได้รับการพิจารณากลั้นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในเวทีพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัยเชิงพื้นที่เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2560 โดยมีตัวแทนผู้ประกอบการเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นในครั้งนี้ เช่น นายกสมาคมข้าวแต๋น ผู้ประกอบการไข่เค็มนายกเทศบาลตําบลแจ้ห่ม ประเด็นเกี่ยวกับน้ําปู เป็นต้น ผลการพิจารณาแยกตามประเภทวิจัยได้ดังนี้
ตารางที่ 4 แสดงชื่อคณะ ชื่อแผนวิจัยประเภทที่ 1 จํานวนโครงการย่อยและผลการประเมิน
ชื่อคณะ | ชื่อโครงการ | จํานวน โครงการย่อย | ผล การประเมิน |
1. ครุศาสตร์ | การพัฒนานวัตกรรมการจัดการความรู้ ภูมิปัญญา และพัฒนาสื่อสารการเรียนรู้เรื่อง “ข้าวแต๋น” ของ กลุ่มผู้ประกอบการข้าวแต๋น อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง | 2 | ปรับแก้ตาม ข้อเสนอแนะของผู้ ทรงวุฒิฯ |
3. วิทยาศาสตร์ | การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์น้ําปู ในพื้นที่อําเภอ แจ้ห่ม จังหวัดลําปาง | 2 | ปรับแก้ตาม ข้อเสนอแนะฯ |
ชื่อคณะ (ต่อ) | ชื่อโครงการ | จํานวน โครงการย่อย | ผล การประเมิน |
4. เทคโนโลยี อุตสาหกรรม | การพัฒนากระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์แมคคา เดเมียชุมชนคุณภาพเพื่อการยกระดับสู่มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์สีเขียว กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ้านแม่แจ๋ม อําเภอเมืองปาน จังหวัดลําปาง | 2 | ปรับแก้ตาม ข้อเสนอแนะฯ |
5. เทคโนโลยี การเกษตร | การยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้า GI ข้าวแต๋น ลําปางในระบบห่วงโซ่อุปาทานเพื่อส่งเสริม เศรษฐกิจฐานราก | ปรับแก้ตาม ข้อเสนอแนะฯ |
ตารางที่ 5 แสดงชื่อชุดโครงการประเภทที่ 2 จํานวนโครงการย่อย จํานวนคณะ/นักวิจัย และผลการ ประเมิน
ชื่อชุดโครงการ | จํานวน โครงการย่อย | คณะที่เข้าร่วมวิจัย/ จํานวนนักวิจัย | ผล การประเมิน |
1.การยกระดับผลิตภัณฑ์ไข่เค็มพอกดินภูเขา ไฟสู่ศักยภาพที่แข่งขันได้ในตลาดใหม่ | 4 | 6 คณะ นักวิจัย 24 คน | ปรับแก้ตาม ข้อเสนอแนะฯ |
2. การบูรณาการองค์ความรู้เพื่อเพิ่ม ศักยภาพโรงงานเซรามิคขนาดเล็ก อําเภอ เกาะคา จังหวัดลําปาง | 4 | 1 คณะ นักวิจัย 6 คน | ป รั บ ใ ห้ เ ป็ น ง า น วิ จั ย ประเภทที่ 3 |
3.การเพิ่มมูลค่าเห็ดและผลิตภัณฑ์จากเห็ด ของกลุ่มผลิตเห็ด อําเภอแม่เมาะ จังหวัด ลําปาง | 2 | 1 คณะ นักวิจัย 7 คน | ใ ห้ บู ร ณ า ก า ร กั บ โครงการ*ของผศ.ดร.รวิ ภา ยงประยูร |
* โครงการ การเพิ่มประสิทธิภาพ กระบวนการแปรรูปผลผลิตเห็ดด้วยเครื่องอบแห้งพลังงาน แสงอาทิตย์แบบผสมผสานพลังงานความร้อนจากชีวมวลของชุมชนบ้านเวียงสวรรค์ อําเภอแม่เมาะ จังหวัดลําปาง ของ ผศ.ดร.รวิภา ยงประยูร
ตารางที่ 6 แสดงชื่อ ชื่อโครงการ จํานวนโครงการย่อยและผลการประเมินโครงการประเภทที่ 3
ชื่อโครงการ | หัวหน้าโครงการสังกัด คณะ | จํานวน นักวิจัย | ผลการประเมิน |
1.การพัฒนาระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ แบบน๊อคดาวน์สําหรับตะเกียบไม้ไผ่ | วิทยาศาสตร์ | 2 คน | |
2. การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการแปรรูป ผลผลตเห็ดด้วยเครื่องอบแห้งพลังงาน แสงอาทิตย์แบบผสมผสานพลังงานความร้อน จากชีวมวลของชุมชนบา้ นเวียงหงส์ อําเภอแม่ เมาะ จังหวัดลําปาง | เทคโนโลยีอุตสาหกรรม | 3 คน | ให้บูรณาการกับ โครงการ*ใน งานวิจัยประเภท 2 |
3.การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางดา้ นตลาด ดิจิตัลของผลิตภัณฑ์เซรามิก | เทคโนโลยีอุตสาหกรรม | 3 คน | ไม่ผ่าน |
* โครงการ การเพิ่มมูลค่าเห็ดและผลิตภัณฑ์จากเห็ดของกลุ่มผลิตเห็ด อําเภอแม่เมาะ จังหวัดลําปาง
แผนวิจัย (ประเภทที่ 1) เป็นลักษณะชุดโครงการวิจัยที่มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่อย่างน้อย 1 ชุมชน มีคณบดีเป็นหัวหน้าบริหารร่วมกับคณะทํางานที่ประกอบด้วยรองคณบดีหรือผู้ช่วยที่ เกี่ยวข้องกับวิจัย มีนักวิจัยเชิงพื้นที่อย่างน้อย 1 คน และมีนักวิจัยหน้าใหม่ไม่น้อยกว่า 5 คนที่ร่วม โครงการวิจัย แผนวิจัยประกอบด้วยโครงการย่อย 2-3 โครงการ โดยทางมหาวิทยาลัยฯและ สกว. จุดเน้นคือการนําโครงการวิจัย เป็นเครื่องมือให้กับคณะในการ ต่อยอดการบริหารจัดการระบบ กลไกงานวิจัยเชิงพื้นที่ของคณะ และการบูรณาการกับการเรียนการสอน บริการวิชาการ และทํานุ ศิลปวัฒนธรรมที่ตอบสนองการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ รวมถึงนําผลผลิตสู่การใช้ประโยชน์
โครงการประเภทที่ 2 ชุดโครงการวิจัยเชิงพื้นที่แบบสหวิทยาการ เป็นลักษณะชุด โครงการวิจัยที่มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่อย่างน้อย 1 ชุมชน จุดเน้นคือการบูรณาการข้ามศาสตร์ ข้ามสาขาอย่างน้อย 2 ศาสตร์/สาขาเพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ มีนักวิจัยเชิง พื้นที่อย่างน้อย 1 คน และมีนักวิจัยหน้าใหม่ไม่น้อยกว่า 5 คนที่ร่วมโครงการวิจัย ประกอบด้วย โครงการย่อย 2-3 โครงการ และการ บูรณาการ กับการเรียนการสอน บริการวิชาการ และทํานุ ศิลปวัฒนธรรมที่ตอบสนองการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ รวมถึงนําผลผลิตสู่การใช้ประโยชน์ และยื่นขอจด ทรัพย์สินทางปัญญา
โครงการประเภทที่ 3 เป็นลักษณะโครงการเดี่ยว ที่มุ่งสร้างความเป็นเลิศตามศาสตร์ ความเชี่ยวชาญของนักวิจัย ที่มุ่งสร้างนวัตกรรมองค์ความรู้ มุ่งการพัฒนาพื้นที่อย่างน้อย 1 ชุมชน มีนักวิจัยเชิงพื้นที่อย่างน้อย 1 คน และมีนักวิจัยหน้าใหม่ไม่น้อยกว่า 1 คนที่ร่วม โครงการวิจัย เน้นการนําข้อค้นพบหรือผลงานที่ได้จะต้องรับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการที่มีชื่อ อยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ หรือนานาชาติ และนําสู่การใช้ประโยชน์
จากการจําแนกประเภทการวิจัยออกเป็น 3 ประเภท สะท้อนให้เห็นว่า ความจําเป็น ของ การต่อยอด การส่งเสริมระบบ กลไกการบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ระดับคณะ ความจําเป็นที่ต้องมีการสร้างองค์ความรู้ และการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่ต้องอาศัยการบูรณาการ ความร่วมมือของศาสตร์ต่างๆ โดยมีผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทของกินของใช้เป็นเครื่องมือการ ดําเนินงาน ได้แก่ ข้าวแต๋น ผ้าทอกี่กระตุก แมคคาเดเมีย ไข่เค็ม น้ําปู เห็ดแปรรูป เซรามิก มีด และ ตะเกียบ โดยส่งเสริมให้นักวิจัย นําองค์ความรู้สู่การบูรณาการกับการเรียนการสอน งานบริการ วิชาการ ตลอดจนมีการสร้างระบบ การบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ ที่เน้นการ บูรณาการและ การดําเนินงานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม (engagement) และวางระบบพี่เลี้ยงแบบโค ชระดับคณะ ซึ่งโครงการวิจัย ทั้ง 3 ประเภท มีเปูาหมายเดียวกัน คือเพื่อ พัฒนาและหรือ แก้ปัญหาของพื้นที่จังหวัดลําปาง ที่นําไปสู่การสร้างความเข็มแข็งให้แก่ชุมชนในพื้นที่และ ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากสู่ชุมชนที่มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน และสามารถขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาพื้นที่ จังหวัดลําปาง
กลางน้ํา เป็นกิจกรรมกลางทาง เพื่อการหนุนเสริมนักวิจัยในระหว่างการดําเนินโครงการวิจัย จากข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิในข้างต้น สะท้อนให้เห็น สามประเด็นหลักๆที่สําคัญคือ
ประการแรก นักวิจัยยังให้ความสําคัญกับการ Review งานวิจัยและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องไม่มาก เท่าที่ควร ซึ่งเป็นสิ่งสําคัญ ดังที่เคยมีผู้รู้กล่าวเอาไว้ว่า วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเปรียบเสมือนไม้ค้ําท่อ ที่นําพานักวิจัยกระโดดข้ามสิ่งกีดขวางไปได้ ประการที่สองคือ ขาดการศึกษาข้อมูลการตลาดเชิงลึก เพื่อเป็นแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้สอดรับกับความต้องการของตลาด และประการที่สาม ยังขาดการระบุบทบาทที่ชัดเจน ในการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในกระบวนการวิจัย ซึ่งทางสถาบันวิจัยและพัฒนาได้นําประเด็นข้อเสนอแนะเหล่านี้ รายงาน สถานการณ์ต่อมหาวิทยาลัย พี่เลี้ยง หัวหน้าแผนวิจัย หัวหน้าโครงการ และนักวิจัย เพื่อดําเนิน ปรับปรุง แก้ไขในช่วงเวลา 4 เดือนถัดนี้ไป
ปลายน้ํา (Downstream) เป็นการคืนข้อมูลให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เวทีนําเสนอร่าง ผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การนําผลผลงานวิจัยไปสู่การเผยแพร่ และการใช้ประโยชน์
ภายหลังการ การนําเสนอรายงานความก้าวหน้าในรอบ 5 เดือน และการรับการวิพากษ์จาก ผู้ทรงวุฒิ นักวิจัยได้ดําเนินการวิจัย ตามแผนปฏิบัติการ จนถึงปลายเดือนพฤษภาคม 2561 ในช่วง กลางเดือนถึงปลายเดือนพฤษภาคม ได้มีการบูรณาการกิจกรรมเวทีคืนข้อมูล ของโครงการวิจัย กับกิจกรรมตามแผนดําเนินการของสถาบันวิจัย ในรูปของเวทีเผยแพร่ สังเคราะห์งานวิจัย และ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายการวิจัยที่รับทุน ภายใต้โครงการ “นวัตกรรมการจัดการงานวิจัย เชิงพื้นที่ เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปาง” ในระหว่างวันที่ 10, 15- 18 และ 26 พฤษภาคม 2561 ดังรายละเอียดดังนี้
วันที่ 10 พฤษภาคม 2561 โครงการประเภทที่ 3 โครงการวิจัยเดี่ยว เน้นความเป็นเลิศ ตามศาสตร์ เรื่อง ผลของอุณหภูมิน้ําที่ใช้ในการชุบแข็งต่อโครงสร้างจุลภาค และสมบัติเชิงกล ของเหล็กแหนบที่ใช้ตีมีดที่หมู่บ้านขามแดง ตําบลห้างฉัตร อําเภอห้างฉัตร จังหวัดลําปาง จัด ณ อาคารที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจําหมู่บ้าน บ้านขามแดง ตําบลห้างฉัตร อําเภอห้างฉัตร จังหวัด ลําปาง โดยมี ตัวแทนหน่วยงานในพื้นที่ คือ ปลัดเทศบาลตําบลห้างฉัตรแม่ตาล ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ ตีมีด สมาชิกกลุ่มตีมีด นักวิจัย และทีมงานสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปางเข้าร่วม เวทีฯ ผลการคืนข้อมูล และแลกเปลี่ยน พบว่า องค์ความรู้ที่พบในการวิจัยในครั้งนี้ ทางสมาชิกกลุ่ม ตีมีด ยอมรับผลการวิจัย และผลการวิจัยได้รับยืนยันจากปราชญ์การตีมีดในพื้นที่ สิ่งที่ทางกลุ่มตีมีด คาดหวังต่อไปคือ การสร้างเตาเผาแบบใช้ก๊าซ อันเป็นการต่อยอดองค์ความรู้จากงานวิจัยสู่การปฏิบัติ ให้เป็นรูปธรรม อันจะสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ ซึ่งปัจจุบัน ทางกลุ่มไม่มีปัญหาในเรื่อง ของตลาด เนื่องจากมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ โดยทางกลุ่มผลิตตามคําสั่งของลูกค้าซึ่งส่วนใหญ่ เป็นลูกค้าประจํา มีทั้งมีดใช้งาน และเพื่อประดับ ซึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ อาชีพตีมีดหาคนสืบทอด ได้ยาก แม้กระทั้งลูกหลานของสมาชิกกลุ่ม ก็ไม่ประสงค์ที่สืบทอด ทําให้การพูดคุยได้ข้อสรุปเบื้องต้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ควรให้ภูมิปัญญาการตีมีด ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านขามแดง “มีดดาบล้านนา ภูมิปัญญาขามแดง” ให้คงอยู่คู่กับชุมชนต่อไป โดยวิธีการหนึ่งคือการนําเข้าไปเป็นกิจกรรมหนึ่ง ของการเรียนการสอนของโรงเรียนในพื้นที่คือ โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา เช่น สาระเนื้อหาบรรจุไว้
หลักสูตรท้องถิ่น หรือในรายวิชา ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ เป็นต้น นอกจากนั้น ทางปลัดเทศบาลตําบล ห้างฉัตรแม่ตาล เสนอแนะให้กลุ่มตีมีดได้ดําเนินการจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน เพื่อทางหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง จะสามารถให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการได้
วันที่ 15 พฤษภาคม 2561 โครงการประเภทที่ 2 แผนงานวิจัย : การยกระดับผลิตภัณฑ์ ไข่เค็มพอกดินภูเขาไฟ สู่ศักยภาพที่แข่งขันได้ในตลาดใหม่ ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตําบล สบปูาด อําเภอแม่เมาะ จังหวัดลําปาง โดย นายอําเภอแม่เมาะเป็นประธานในพิธีเปิด นอกจากนั้น ยังมีตัวแทนจากหน่วยงานในพื้นที่ เช่น ตัวแทนจาก การไฟฟูาฝุายผลิตแห่งประเทศ ไทย (กฟผ.) แม่เมาะ พัฒนาการอําเภอแม่เมาะ นายกองค์การบริหารส่วนตําบลสบปูาด นายกสมาคมพัฒนาอําเภอแม่เมาะ กศน.อําเภอแม่เมาะ รองประธานกองทุนพัฒนาไฟฟูา แม่เมาะ ประธานกลุ่ม OTOP กลุ่มน้ําพริกเผาลําไย ตัวแทนกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า กลุ่มโฮมสเตร์ แม่ทะ ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ ตัวแทนของสื่อโทรทัศน์ ตัวแทนของกลุ่มวิสาหกิจในพื้นที่ ที่ต้องการเอาแนวคิด การทําไข่เค็มไปต่อยอด เข้าร่วมรับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนฯ
ผลการคืนข้อมูล และแลกเปลี่ยน พบว่า กลุ่มเปูาหมายมีความพึงพอใจต่อผลการดําเนินการ วิจัย ทําให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพของไข่เค็ม มีการขยายกลุ่มผู้ประกอบการ อย่างครอบวงจร ตั้งแต่การส่งเสริมการเลี้ยงเป็ดเพื่อนําไข่มาเป็นวัตถุดิบ เป็นการแก้ปัญหาของการขนส่งไข่ที่เสี่ยง ต่อการแตก และเน่าเสีย นอกจากนั้นยังมีการจัดทํา Package ใหม่ที่ลดต้นทุน นั้นหมายถึง กําไร มากขึ้น ก่อเกิดกลุ่มไข่เค็มเจ้าใหม่ที่เกิดจากการดูงานและนําวิธีการที่ได้รับการอบรมจากศูนย์ ไป ดําเนินการต่อ เช่น กลุ่มไข่เค็มที่ ตําบลบ้านเสร็จ เป็นต้น ในส่วนของการมีส่วนร่วมของหน่วยงาน ในพื้นที่ โครงการวิจัยนี้มีจุดเด่นตรงที่นอกเหนือจากการขยายพื้นที่เปูาหมายแล้ว ยังเป็นเรื่อง ของหน่วยงาน ในพื้นที่ เช่น พัฒนาชุมชนอําเภอแม่เมาะ กฟผ.แม่เมาะ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาร่วมส่งเสริม กลุ่มไข่เค็มที่ดําเนินการคู่ขนานไปกับโครงการวิจัย ทําให้เกิดภาพลักษณ์ ของการบูรณาการการทํางานร่วมกันได้เป็นอย่างดี นายอําเภอกล่าวชื่นชมผลงานของนักวิจัย และ แหล่งทุนที่สนับสนุนงานวิจัย ที่เป็นรูปธรรมเช่นนี้
วันที่ 16 พฤษภาคม 2561 แผนวิจัย ประเภทที่ 1 เรื่อง การพัฒนากระบวนการผลิตน้ําปู เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ําปู ณ ศาลาอเนกประสงค์ พื้นที่เทศบาลตําบลแจ้ห่ม โดยมีนายกเทศมนตรีเทศบาลตําบลแจ้ห่มกล่าวเปิดงาน มีผู้เข้าร่วมประชุมจาก หน่วยงานภาครัฐเช่น ตัวแทนจากเกษตรอําเภอ โรงเรียนแจ้ห่มวิทยา กศน. บาทหลวงจากศูนย์คาทอลิคแจ้ห่ม we market และตัวแทนกลุ่มอาชีพในพื้นที่
ผลการแลกเปลี่ยน พบว่า ผลการดําเนินการวิจัย สามารถได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่ชัดเจน ด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน ซึ่งกระบวนการที่ดีที่สุดคือ กรลดการเกิดสารฮีสทามีน คือการหมักด้วยผงขมิ้น หรือใบขมิ้น ก่อนการนําไปล้างและเข้าสู่กระบวนการเคี่ยวตามภูมิปัญญาท้องถิ่น สิ่งที่พบที่เป็นปัญหา ของการทําน้ําปูคือ การขาดวัตถุดิบ ปูนา เคยมีการส่งเสริมให้เลี้ยงปูนา แต่ยังไม่ประสบผลสําเร็จ ร่วมถึงการขาดการสนับสนุนที่จริงจังจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทางนักวิจัยคงฝากความหวังไว้กับ ชุมชน และเทศบาลตําบลแจ้ห่ม ในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาดังกล่าวไว้
วันที่ 17 พฤษภาคม 2561 แผนวิจัย ประเภทที่ 1 ของคณะครุศาสตร์ เรื่อง การพัฒนา นวัตกรรมการจัดการความรู้ภูมิปัญญา และพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เรือง “ข้าวแต๋น” ของกลุ่ม ผู้ประกอบการข้าวแต๋น อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง และแผนวิจัยของ คณะเทคโนโลยีการเกษตร เรื่อง การยกมาตรฐานการผลิตข้าวแต๋น จังหวัดลําปาง และโครงการเดียวเรื่อง การประยุกต์ใช้วัสดุ ธรรมชาติเพื่อลดปริมาณสารโพลาร์ และการใช้น้ํามันทอด ชนิดอื่นเพื่อทดแทนน้ํามันปาล์ม ในกระบวนการผลิตข้าวแต๋น จังหวัดลําปาง ณ ห้องประชุมของสถาบันวิจัยและพัฒนา โดยการมี ส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น นายกสมาคมข้าวแต๋นจังหวัดลําปาง ตัวแทนครู นักเรียนโรงเรียน เกาะคาวิทยาคม ที่เข้าร่วมโครงการ ตัวแทนผู้ประกอบการข้าวแต๋น “ข้าวแต๋นหมื่นคํา”
ผลการแลกเปลี่ยน พบว่า ผลการดําเนินงานวิจัยได้ตอบวัตถุประสงค์ของโครงการ กล่าวคือ ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการได้รับการยกมาตรฐาน มีกระบวนการเรียนรู้เรื่ องราว ข้าวแต๋น จนได้สื่อการเรียน การสอนภูมิปัญญาด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของนักวิจัย นักศึกษา ครู นักเรียน และผู้ประกอบการข้าวแต๋น ส่วน ประเด็น การประยุกต์ใช้วัสดุธรรมชาติเพื่อการลดปริมาณสาร โพลาร์ฯ ผลการวิจัยตอบวัตถุประสงค์ และสิ่งที่ต้องคิดต่อคือ การนําเอาองค์ความรู้สู่การใช้ประโยชน์ แบบวงกว้างได้อย่างไร
วันที่ 18 พฤษภาคม 2561 เป็นการคืนข้อมูลและเผยแพร่ผลงานวิจัยและแลกเปลี่ยนของ 3 โครงการวิจัย ประกอบด้วย โครงการประเภทที่ 1 แผนวิจัยของคณะวิทยาการจัดการ เรื่อง การสร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มทอผ้ากี่กระตุก ตําบลไหล่หิน อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง ผู้เข้าร่วมประชุมนอกเหนือจาก นักวิจัยแล้วยังประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ประธานและสมาชิกกลุ่มทอ ผ้ากลุ่มเปูาหมาย ซึ่งผลการแลกเปลี่ยนพบว่า กลุ่มเปูาหมายมีความพึงพอใจต่อผลการวิจัย ที่สําคัญ เห็นประโยชน์ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ กล่าวคือ สามารถทําให้กลุ่มเห็นช่องทางการเพิ่มผลผลิตด้วยการ ทอผ้าที่มีการเพิ่มช่องทางสื่อการตลาดขึ้นมา มิติด้านสังคม ทําให้กลุ่มและผู้นําชุมชนตระหนักถึง ความสําคัญของการอนุรักษ์ และฟื้นฟูลวดลายผ้าทอที่มีต้นกําเนิดจากตําบลไหล่หินขึ้นมา รวมถึงการ รวมกลุ่มผ้าทอมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น มีการเรียนรู้ ฝึกฝนการทอผ้าลวดลายของพื้นที่โดยคน ในพื้นที่ แต่กลุ่มยังมีปัญหาในเรื่องของการ สืบสาน ถ่ายทอดการทอผ้าสู่รุ่นต่อๆไป โดยเฉพาะกับเด็ก และเยาวชนที่มองเห็นว่า ต้องประสานกับโรงเรียนในพื้นที่เพื่อให้เป็นกิจกรรมห รือเป็นหลักสูตร ท้องถิ่นให้นักเรียนหรือผู้สนใจได้เรียนรู้และสืบทอดต่อไป
โครงการวิจัยประเภทที่ 2 เรื่อง การวิจัยและพัฒนาศักยภาพเห็ดของ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน อําเภอแม่เมาะ จังหวัดลําปาง เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2561 ณ ห้องประชุม อาคารปฏิบัติการ คณะเทคโนโลยีการเกษตรมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง ซึ่งผลการแลกเปลี่ยนพบว่า กลุ่มได้ช่องทาง ในการแปรรูปเห็ดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่รวมทั้งมีช่องทางในการจําหน่ายเห็ดที่กลุ่มผลิตได้ในรูปของเห็ด แห้ง โดยทางบริษัท เอสดี เทคโนเวชั่น จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารสุขภาพยินดีจะรับซื้อ ผลิตภัณฑ์เห็ดอบแห้งจากทางกลุ่ม นอกจากนี้ทางบริษัทยังได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐาน การผลิตเห็ด ข้อกําหนดของผู้ผลิตและจําหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเห็ด ทําให้กลุ่มได้รับทราบข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ และในส่วนของการนําวัสดุก้อนเห็ดเก่าที่เหลือทิ้งมาพัฒนาเป็นปุ๋ยหมักประสิทธิภาพ สูง ได้ร่วมแลกเปลี่ยนในเรื่องของการนําวัสดุจากเหมืองแม่เมาะคือลีโอนาร์ไดต์มาใช้ประโยชน์ เพื่อการเพาะปลูก ซึ่งมีข้อจํากัดในด้านของความเป็นกรดสูง การจะนําไปใช้ประโยชน์จะต้องปรับ
ให้ความเป็นกรดลดลงโดยการใช้โดโลไมต์หรือปูนขาว และสามารถผลิตปุ๋ยหมักที่มีประสิทธิภาพ ในการนํามาทําเป็นวัสดุเพาะต้นกล้าพืชผัก หรือนําไปปรับปรุงดิน มีต้นทุนการผลิตต่ํา และสามารถ หาวัตถุดิบที่มีในพื้นที่ โดยการสนับสนุนจากการไฟฟูาฝุายผลิตแม่เมาะ ซึ่งมีแผนกส่งเสริมอาชีพ ที่จะให้การสนับสนุนกับกลุ่มที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ รวมถึงสนับสนุนการทํางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างอาชีพให้กับคนในพื้นที่ และเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานพลังงาน ความร้อนจากชีวมวล ซึ่งได้ทําการทดสอบการใช้งานและวางแผนไปติดตั้งให้กลุ่มผู้ผลิตเห็ดซึ่งจะช่วย ให้กลุ่มสามารถทําการอบเห็ดได้วันละ 2 กิโลกรัมเห็ดแห้ง ช่วยลดปัญหาการเน่าเสียและปัญหาเห็ด ล้นตลาดได้ ซึ่งเครื่องที่ผลิตได้ยังไปตอบโจทย์ของกลุ่มในการผลิตเห็ดอบแห้งสําหรับการนําไป แปรรูปเป็นอาหารสุขภาพได้เช่นเดียวกัน
และเนื่องจากการตรวจพบโลหะหนักประเภทสารหนูในลีโอนาร์ไดต์ที่ได้จากเหมืองของ การไฟฟูาแม่เมาะ มีการนํามาใช้ทางการเกษตรค่อนข้างแพร่หลาย ถึงแม้จะมีปริมาณไม่เกินค่า มาตรฐานแต่ก็สร้างความกังวลให้กับกลุ่ม กลุ่มจึงอยากจะทราบว่า สารหนูที่พบจะเป็นอันตรายต่อคน หรือไม่ ซึ่งอาจจะต้องศึกษาเกี่ยวกับการดูดขึ้นไปสะสมในต้นพืช เพื่อสร้างความเชื่อมั่นกับกลุ่มหรือ กับผู้บริโภคต่อไป และเนื่องจากสารหนู สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางการหายใจ ทางระบบทางเดิน อาหาร และ ทางผิวหนัง ผู้ที่สุ่มเสี่ยงที่ต้องสัมผัสกับสารลีโอนาร์ไดต์โดยตรง อาจต้องมีการปูองกัน ตนเอง
โครงการวิจัย ประเภทที่ 3 เรื่อง การบูรณาการองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพโรงงานเซรามิค ขนาดเล็ก ตําบลท่าผา อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง ณ โรงงานศาลาทองเซรามิค บ้านศาลาบัวบก ตําบลท่าผา อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง โดยมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วม ได้แก่ ผู้ประกอบการ สองแห่ง ตัวแทนจากเทศบาลตําบลท่าผา คือ ปลัดเทศบาลตําบลท่าผา และนักวิชาการ เทศบาล ตําบลท่าผา ผลการเผยแพร่ผลงานวิจัย และการแลกเปลี่ยนฯพบว่า ผู้ประกอบการทั้งสองแห่ง ทั้งที่เป็นพื้นที่วิจัย และที่มาร่วมรับฟังการคืนข้อมูลวิจัย ให้ความสนใจต่อผลงานวิจัย โดยโรงงานเซรา มิกที่เป็นพื้นที่นําร่อง มีความประสงค์จะต่อยอดให้เป็นสินค้าเชิงพาณิชย์ เนื่องจากมีลูกค้าที่สนใจ ในรูปแบบ ลวดลาย แต่ยังติดอยู่ที่ผลิตภัณฑ์ยังขาดกระบวนการไปอีก 1 ขั้นตอนนั้นคือ การทดสอบ เรื่องของการเคลือบสี ส่วนอีกโรงงานฯเกิดแนวคิดที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตจากเดิมๆ คือ การทําแจกันแล้วลงลวดลายด้วยการวาดภาพลงไป มาเป็นการผสมผสานรูปแบบการวาดด้วยเส้นมือ กับลวดลายนูน จากงานวิจัยในครั้งนี้ ในส่วนของ เทศบาลตําบลท่าผา เสนอให้ทางกลุ่ม ผู้ประกอบการ เสนอโครงการที่ทางผู้ประกอบการต้องการความช่วยเหลือจากเทศบาลฯ ในที่ประชุม ประชาคม เพื่อนําสู่การคัดเลือก บรรจุในแผนของเทศบาลฯ อันเป็นขั้นตอน วิธีการที่เทศบาล จะสามารถดําเนินการได้อย่างเป็นทางการ
วันที่ 26 พฤษภาคม 2561 โครงการวิจัยประเภทที่ 1 ของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เรื่องการพัฒนากระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์แมคคาเดเมียชุมชน คุณภาพเพื่อการยกระดับ สู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์สีเขียว กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่แจ๋ม อําเภอเมืองปาน จังหวัด ลําปาง ณ ไร่สุวรรณ ตําบลแจ้ซ้อน อําเภอเมืองปาน ผู้เข้าร่วมเวทีประกอบด้วย คณบดี ทีมงานวิจัย ทีมงานจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง คุณสุวรรณ เจ้าของไร่ พร้อมทั้ง ผู้ประกอบการแมคคาเดเมียรายย่อย ผลการเผยแพร่ผลงานวิจัย และการแลกเปลี่ยนฯพบว่า
ทางนักวิจัยได้ ออกแบบและสร้างโรงเรือนอบแห้ง ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ร่วมกับระบบความร้อน เสริม เรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่นานพอที่จะมีการทดสอบประสิทธิภาพของการอบได้ เป็นผลพ่วงที่ทําให้ ไม่สามารถสรุป การยื่นยัน ข้อสรุปในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เช่นกัน สําหรับผู้ประกองการทั้ง เจ้าของไร่สุวรรณและผู้ประกอบการรายย่อยมีความพึงพอใจ ต่อโรงเรือนมาก แต่ยังต้องรอผลลัพธ์ ของประสิทธิภาพในการอบของโรงเรือนก่อน ซึ่งคาดการณ์ว่าจะสามารถย่นระยะเวลาของการอบให้มี จํานวนวันน้อยลง สามารถลดการเน่าเสียของแมคคาเดเมียให้น้อยลง
สรุปภาพรวมของแผนงานวิจัย ชุดโครงการ และโครงการย่อย
ผลการดําเนินโครงการวิจัยสามารถสรุปเป็นภาพรวม จําแนกตามประเภทของโครงการวิจัย ตามตารางที่ระบุ KPI ที่ประกอบด้วย จํานวนนักวิจัยหน้าใหม่ที่เกิดจากโครงการวิจัยฯ การบูรณาการ กับพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย ได้ แก่การดําเนินงานวิจัยที่มีลักษะของการบูรณาการ กับหน่วยงาน ชุมชน กลุ่ม กับการเรียนการสอน หรือการบริการวิชาการ รวมถึงศิลปวัฒนธรรม ตลอดจน KPIทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ (เอกสาร หลักฐานประกอบ จะอยู่ในภาคผนวก) ดังตาราง สรุปดังนี้
แผนงานวิจัย : การพัฒนานวัตกรรมการจัดการความรู้ภูมิปัญญาและพัฒนาสื่อการเรียนรู้เรื่อง“ข้าวแต๋น”ของกลุ่มผู้ประกอบการข้าวแต๋น อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ ที่เน้นบูรณาการและพัฒนานวัตกรรมการจัดการความรู้ภูมิปัญญา และ การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เรื่อง “ข้าวแต๋น” ของกลุ่มผู้ประกอบการข้าวแต๋น อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง
ตารางที่ 7 แสดงชื่อแผนวิจัยของคณะครุศาสตร์ ผลผลิตเชิงปริมาณ และคุณภาพ
ชื่อแผนวิจัย (ประเภทที่ 1) | ผลการวิจัย | ||
เชิงปริมาณ | เชิงคุณภาพ | ผู้ใช้ประโยชน์ | |
1.การพัฒนานวัตกรรมการจัดการความรู้ภูมิปัญญาและ พั ฒนา สื่ อการเ รี ยน รู้ เ รื่ อ ง “ ข้ า ว แ ต๋ น” ของก ลุ่ ม ผู้ประกอบการข้าวแต๋น อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง | 1) โมเดลการบริหารจัดการวิจัยเชิง พื้นที่ จํานวน 1 โมเดล | 1) เกิดเครือข่ายความร่วมมือ กับผู้ผู้ประกอบการ โรงเรียน นักเรียน | 1) คณะ 2) สถาบันวิจัยและพัฒนา ที่สามารถ เชื่อมโยงการบริหารจัดการงานวิจัยเชิง พื้นที่กับระบบ กลไกฯของคณะ |
โครงการวิจัยย่อยที่ 1 : การจัดการความรู้ภูมิปัญญา ด้านการผลิต และการลดต้นทุนการผลิตข้าวแต๋น มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดการความรู้ภูมิปัญญาด้านการ ผลิต และการลดต้นทุนการผลิตข้าวแต๋นของกลุ่ม ผู้ประกอบการข้าวแต๋น อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง | 2) ชุดภูมิปัญญาด้านผลิตและการลด ด้นทุนการผลิต | 1) นักเรียนให้ความสนใจในภูมิ ปัญญาเก่าแก่ ข้าวแต๋น 2) ก า ร มี ส่ ว น ร่ ว ม ข อ ง ผู้ ป ร ะ ก อ บ ก า ร ข้ า ว แ ต๋ น โรงเรียน | 1) ผู้ประกอบการข้าวแต๋น 2) โรงเรียน 3) นักวิจัย และนักศึกษา |
โครงการวิจัยย่อยที่ 2 : การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ด้าน การผลิตและการลดต้นทุนการผลิตข้าวแต๋น มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้าน กระบวนการผลิต และการลดต้นทุนการผลิตข้าวแต๋น | 3) สื่อการเรียนรู้ด้นกระบวนการผลิต และการลดต้นทุนการผลิตข้าว | 1) การบูรณาการกับการเรียน การสอนในรายวิชาคอมพิวเตอร์ | 1) โรงเรียน 2) นักวิจัย และนักศึกษา |
กลไกการบริหารจัดการวิจัยเชิงพื้นที่ของคณะครุศาสตร์ มีการพัฒนาการดีขึ้นเป็นลําดับจากที่ผ่านมา มีการทํางานกับกลุ่มเปูาหมายที่ไม่ใช้เฉพาะคุณครู หรือนักเรียนเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่มเปูาหมายที่เป็นผู้ประกอบการ ซึ่งนับว่า เป็นว่าเป็นสิ่งที่ท้าทาย และเปิดมิติใหม่ของคณะครุศาสตร์
แผนงานวิจัย : 1. การบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่คณะเทคโนโลยีการเกษตรมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตข้าวแต๋น จังหวัดลําปาง
ตารางที่ 8 แสดงชื่อแผนวิจัยของคณะเทคโนโลยีการเกษตร ผลผลิตเชิงปริมาณ และคุณภาพ
ชื่อแผนวิจัย (ประเภทที่ 1) | ผลการวิจัย | ||
เชิงปริมาณ | เชิงคุณภาพ | ผู้ใช้ประโยชน์ | |
1. การบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่คณะ เทคโนโลยีการเกษตรมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตข้าวแต๋น จังหวัด ลําปาง | 1) โมเดลการบริหารจัดการวิจัยเชิงพื้นที่ จํานวน 1 โมเดล 2) การได้รับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO 1725 3) นําสู่การใช้ประโยชน์จากห้องปฏิบัติการ เพื่อชุมชนดังนี้ เพื่อการขอรับรองมาตรฐาน อาหารท้องถิ่น 4) การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมธุรกิจอาหารและ ผลผลิตทางการเกษตร 5) นําสู่การใช้ประโยชน์จากศูนย์ส่งเสริม ธุรกิจอาหารและผลผลิตทางการเกษตร เ พื่ อชุ มชน ดั งนี้ เ พื่ อการตรวจสอบ มาตรฐานอาหารท้องถิ่น และการให้ คําปรึกษาแก่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก | 1) มี ก า ร ยกระ ดั บการผลิตของ ผู้ประกอบการเพื่อการขอรับรอง อย.มากกว่า ร้อยละ 20 ของ ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ 2) การขับเคลื่อนผู้ผลิตวัตถุดิบข้าว อ้ อย แตง โ ม เ กิ ดการขยาย เครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรม | 1) คณะ 2) สถาบันวิจัยและพัฒนา ที่ สามารถเชื่อมโยงการบริหาร จัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่กับ ระบบ กลไกฯของคณะ 3) สมาคมข้าวแต๋น 4) ผู้ประกอบการรายย่อยที่ เข้าร่วมโครงการ 5) เกษตรกรข้าว อ้อย และ แตงโม 6) ผู้ประกอบการ เกษตรกร สามารถมาใช้บริการของ ศูนย์ส่งเสริมธุรกิจฯของคณะ |
ชื่อแผนวิจัย (ประเภทที่ 1) (ต่อ) | ผลการวิจัย | ||
เชิงปริมาณ | เชิงคุณภาพ | ผู้ใช้ประโยชน์ | |
โครงการวิจัยย่อยที่ 1: การพัฒนากระบวนการ ผลิตและเครือข่ายการผลิตข้าวแต๋น ให้มีคุณภาพ มาตรฐานสากล | 1) ผู้ประกอบการข้าวแต๋นได้รับการรับรอง ทําให้ผู้ประกอบการเกิดความตระหนัก และเห็นความสาํ คัญของการเข้าสู่มาตรฐาน การผลิต และเกิดการทํางานแบบเครือข่าย เพื่อขับเคลื่อนอาหารปลอดภัย | 1) ผู้ประกอบการข้าวแต๋นนภัค ยื่นของ รับรองมาตรฐานการผลิต 2) ผู้ประกอบการข้าวแต๋นได้เข้าร่วม สมาคมการค้าข้าวแต๋นลําปางเพิ่มขึ้น 3) สมาคมการค้าข้าวแต๋นมีนโยบาย รวมกลุ่ม และนโยบายการขับเคลื่อน กลุ่มสมาชิก และสนับสนนุ การรับรอง สินค้า GI มากขึ้น | 1) สมาคมข้าวแต๋น 2) ผู้ประกอบการรายย่อยที่ เข้าร่วมโครงการ 3) เกษตรกรข้าว อ้อย และ แตงโม |
โครงการวิจัยย่อยที่ 2 : การลดปัญหาการ แตกหักของแผ่นข้าวแต๋นดิบและการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ ข้าวแต๋นไรซ์เบอรร์รี่อบพองด้วย ไมโครเวฟ | 1) ได้องค์ความรู้ที่จะนําไปลดปัญหาการ แตกหักของแผ่นข้าวแต๋นดิบ | 1) องค์ความรู้สามารถต่อยอดสู่เชิง พาณิชย์ | 2) ผู้ประกอบการข้าวแต๋น |
จัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้รับการต่อยอดจากระบบ กลไกเดิมที่มีอยู่ ดังจะเห็นได้ว่า คณะได้ใช้งานวิจัยเชิงพื้นที่ในการ สร้างเครือข่าย บนฐานความร่วมมือตั้งแต่ต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา และภายหลังเสร็จสิ้นโครงการ คณะยังคงดําเนินการความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัย เชิงพื้นที่ในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือต่อไป
แผนงานวิจัย : การจัดการนวัตกรรมกระบวนการยกระดับกลุ่มผ้าทอกี่กระตุก ตําบลไหล่หิน อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง ตารางที่ 9 แสดงชื่อแผนวิจัยของคณะวิทยาการจัดการ ผลผลิตเชิงปริมาณ และคุณภาพ
ชื่อแผนวิจัย (ประเภทที่ 1) | ผลการวิจัย | ||
เชิงปริมาณ ผลผลิตที่เป็นรูปธรรม | เชิงคุณภาพ | ผู้ใช้ประโยชน์ | |
1. แผนงานวิจัย : การจัดการนวัตกรรม กระบวนการยกระดับกลุ่มผ้าทอกี่ กระตุก ตําบลไหล่หิน อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง | 1) โมเดลการบริหารจัดการวิจัยเชิงพื้นที่ จํานวน 1 โมเดล | 1) คณะ 2) สถาบันวิจัยและพัฒนา ที่สามารถ เชื่อมโยงการบริหารจัดการงานวิจัยเชิง พื้นที่กับระบบ กลไกฯของคณะ | |
โครงการวิจัยย่อยที่ 1 : การสร้าง คุณค่าผลิตภัณฑ์ ผ้าทอของกลุ่มผ้า ทอกี่กระตุก ตําบลไหล่หิน อําเภอ เกาะคา จังหวัดลําปาง | 1) องค์ความรู้เกี่ยวกับที่มาของลวดลายผ้าทอ โบราณที่มีต้นกําเนิดจาก ตําบลไหล่หินจํานวน 1 ชิ้น และนําสู่การเพิ่มมูลค่าของผ้าทอฯ | - กลุ่มวิสาหกิจผ้าทอกรกระตุกมีการ รวมตัวกันที่เข้มแข็งมากขึ้น - ผลิตภัณฑ์ผ้าทอได้รับการส่งเสริม สร้างมูลค่า รวมถึงการสืบค้นลวดลาย ผ้าทอที่เชื่อกันว่า มีแหล่งกําเนิดมา จากตําบลไหล่หิน มาเป็นกลยุทธ์ทั้งมิติ เศรษฐกิจและมิติทางสังคม | 1) กลุ่มผ้าทอกี่กระตุก ตําบลไหล่ หิน อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง 2) เทศบาลสามารถนําไปต่อยอดใน การส่งเสริมภูมิปัญญา 3 ) จั ง ห วั ด ส า ม า ร ถ ส นั บ ส นุ น งบประมาณเพื่อพัฒนาต่อยอดสู่เชิง พาณิช มากยิ่งขึ้น |
โครงการวิจัยย่อยที่ 2 : การสร้าง ความสามารถทางการแข่งขันโดยกล ยุทธ์ทางการตลาดของกลุ่ม ผ้าทอกี่ กระตุก ตําบลไหล่หิน อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง | 1 ) ร ะบบการจัดการตลาดเพื่อสร้า ง ความสามารถในการแข่งขัน 2) สื่อ online ที่ใช้สําหรับสั่งซื้อผ้าทอ | 1) การเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับ กลุ่มทอผ้ากี่กระตุก บ้านไหล่หิน 2) สมาชิกกลุ่มทอผ้าได้รับการฝึก ทักษะด้าน IT รวมถึงมีการรวมตัวกัน เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น | 1) กลุ่มผ้าทอกี่กระตุก ตําบลไหล่ หิน อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง |
ระบบ กลไกการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของคณะวิทยาการจัดการ เดิมที่มีความเข้มแข็งอยู่แล้วในระดับหนึ่ง หากแผนการวิจัยครั้งนี้ได้ทําให้คณะได้นําสิ่งที่ เป็นปัญหาอุปสรรคมาปรับปรุง เช่น การทบทวนโจทย์ในพื้นที่ เพื่อให้ได้ประเด็นโจทย์ที่ชัด และตอบโจทย์ในพื้นที่อย่างแท้จริง รวมถึงการหนุนเสริมระหว่างทาง แผนงานวิจัย : การพัฒนากระบวนการผลิตน้ําปูเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ําปู
ตารางที่ 10 แสดงชื่อแผนวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ ผลผลิตเชิงปริมาณ และคุณภาพ
ชื่อแผนวิจัย (ประเภทที่ 1) | ผลการวิจัย | ||
เชิงปริมาณ ผลผลิตที่เป็นรูปธรรม | เชิงคุณภาพ | ผู้ใช้ประโยชน์ | |
1. แ ผ น ง า น วิ จั ย : ก า ร พั ฒ น า กระบวนการผลิตน้ําปูเพื่อยกระดับ มาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ําปู | 1) การสร้างนักวิจัยเชิงพื้นที่รุ่นใหม่ | 1) ผู้บริหารของคณะได้เรียนรู้ถึงการ บริหารงานวิจัยเชิงพื้นที่ทําให้งานวิจัย เชิงพื้นที่ได้รับการยกระดับ | 1) คณะ 2) สถาบันวิจัยและพัฒนา ที่สามารถ เชื่อมโยงการบริหารจัดการงานวิจัยเชิง พื้นที่กับระบบ กลไกฯของคณะ |
โครงการวิจัยย่อยที่ 1 : การพัฒนา กระบวนการ ลดสารภูมิแพ้ในการ ผลิตน้ําปู อําเภอแจ้ห่ม จังหวัด ลําปาง | 1) ไ ด้ ผ ลิ ต ภั ณฑ์ ที่ ลดสาร ก่ อ ภู มิ แ พ้ 1 ผลิตภัณฑ์ 2) ชุดทดสอบสารก่อภูมิแพ้ อย่างน้อย 10 ชุด 3) กระบวนการลดสารก่อภูมิแพ้ โดยใช้ สมุนไพร 1 กระบวนการ 4) ตัวอย่างผลิตภัณฑ์น้ําพริกน้ําปูนรก 5) ตัวอย่างน้ําพริกน้ําปูปลาย่าง 6) บูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนใน รายวิชาโครงการวิจัยทางเคมี | 1) เกิดเครือข่ายความร่วมมือกับกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนน้ําปู ตําบลหนองนาว อําเภอเมือง จังหวัดลําปาง 2) การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ทํา ให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ที่ลดสารภูมิแพ้ | 1) ผู้ประกอบการน้ําปู 2) เทศบาลตําบลแจ้ห่ม ทราบถึง สภาพปัญหา และแนวทางการรักษา ภูมิปัญญาน้ําปูให้คงไว้ในพื้นที่ 3) ผู้บริโภคที่นิยมรับประทานน้ําปู สามารถรับประทานได้ด้วยความมั่นใจ |
โครงการวิจัยย่อยที่ 2 : การศึกษา จํานวนของแบคทีเรียทั้งหมดและสาย พันธุ์ของแบคทีเรีย ที่คัดแยกได้จากปู และผลิตภัณฑ์น้ําปู | 1) องค์ความรู้ของชนิด จํานวนสายพันธุ์ของ แบคทีเรีย 2) บูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอน รายวิชาวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น | 1) สาเหตุของกลิ่นที่รุนแรงของน้ําปูุ 2) แนวทางการกําจัดกลิ่นเหม็น | 1) นักวิจัย และนักศึกษา |
ระบบ กลไกการบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของคณะวิทยาศาสตร์ ปรับตัวค่อนข้างช้ากว่าคณะอื่นๆ อาจ เป็นเพราะธรรมชาติของศาสตร์ อย่างไรก็ตามด้วย ความมุ่งมั่นของผู้บริหารทุกระดับมีความมุ่งมั่นในการทํางานวิจัยเชิงพื้นที่ จึงสามารถที่จะพัฒนาระบบการบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ได้ไม่ยาก
แผนงานวิจัย: การพัฒนากระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์แมคคาเดเมียชุมชนคุณภาพเพื่อการยกระดับสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์สีเขียว กรณีศึกษา : กลุ่มวิสาหกิจ ชุมชนบ้านแม่แจ๋ม อําเภอเมืองปาน จังหวัดลําปาง
ตารางที่ 11 แสดงชื่อแผนวิจัยของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ผลผลิตเชิงปริมาณ และคุณภาพ
ชื่อแผนวิจัย (ประเภทที่ 1) | ผลการวิจัย | ||
เชิงปริมาณ ผลผลิตที่เป็นรูปธรรม | เชิงคุณภาพ | ผู้ใช้ประโยชน์ | |
1. แผนงานวิจัย : การพัฒนา กระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์แมค คาเดเมียชุมชนคุณภาพเพื่อการ ยกระดับสู่มาตรฐานผลิตภัณฑสีเขียว กรณีศึกษา: กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้าน แม่แจ๋ม อําเภอเมืองปาน จังหวัด ลําปาง | 1) โมเดลการบริหารจัดการวิจัยเชิงพื้นที่ จํานวน 1 โมเดล | 1 ) ผู้ บ ริ หารของคณะได้เรียนรู้และมี พัฒนาการการบริหารงานวิจัยเชิงพื้นที่มาก ขึ้นกว่าเดิม 2) เกิดความเชื่อมโยงการดําเนินงานด้านการ วิจัยกับสถาบันวิจัยและพัฒนาอย่างเปน็ ระบบ มากขึ้น | 1) คณะ 2) สถาบันวิ จัยและพัฒนา ที่ สามารถ เชื่อมโยงการบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ กับระบบ กลไกฯของคณะ |
โครงการวิจัยย่อยที่ 1 : การพัฒนา ประ สิ ทธิ ภ า พระบบอบแห้ง ผลิตภัณฑ์แมคคาเดเมียคุณภาพ ด้วยโรงเรือนอบแห้ง พลังงาน แสงอาทิตย์ร่วมกับระบบความ ร้อนเสริม กรณีศึกษา : กลุ่ม วิสาหกิจชุมชนบ้านแม่แจ๋ม อําเภอ เมืองปาน จังหวัดลําปาง | 1) โรงเรือนอบแห้งแมคคาเดเมีย โดยการ ออกแบบระบบแลกเปลี่ยนความร้อนด้วย น้ําร่วมกับรางรวมแสงพาราโบลาที่ สามารถใช้อบแห้งผลิตภัณฑ์แมคคาเดเมีย ได้ไม่ต่ํากว่า 400 กิโลกรัมต่อครั้ง 2) ช่วงย่นระยะเวลาการลดความชื้อ ผลิตภัณฑ์แมคคาเดเมีย จากเดิม 5-7 วัน มาเป็น 3-4 วัน | 1) เกิดเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ผลิตวัตถุดิบ ผู้ประกอบการ และหน่วยงานในพื้นที่ได้แก่ ก ลุ่ ม วิ ส า ห กิ จ แ ม ค ค า เ ด เ มี ย แ ล ะ ผู้ประกอบการอิสระ (ไร่สุวรรณ) | 1) ผู้ประกอบการไร่สุวรรณ / วิสาหกิจชุมชน บ้านแม่แจ๋ม/ผู้ประกอบการแมคคาเดเมียราย ย่อย |
ชื่อแผนวิจัย (ประเภทที่ 1) | ผลการวิจัย | ||
เชิงปริมาณ ผลผลิตที่เป็นรูปธรรม | เชิงคุณภาพ | ผู้ใช้ประโยชน์ | |
โครงการวิจัยย่อยที่ 2 : การศึกษา การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของ ผลิตภัณฑ์แมคคาเดเมีย วิสาหกิจ ชุมชนบ้านแม่แจ๋ม ตําบลแจ้ซ้อน อําเภอเมืองปาน จังหวัดลําปาง | 1) ข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของผลิตภัณฑ์แมคคาเดเมีย 2) แนวทางการลดปล่อยก๊าซเรือน กระจก | 1) ทราบถึง แหล่งที่มาของการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก เพื่อการยกระดับมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์สีเขียวของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้าน แม่แจ๋ม | 1) ผู้ประกอบการไร่สุวรรณ / วิสาหกิจชุมชน บ้านแม่แจ๋ม /ผู้ประกอบการแมคคาเดเมีย รายย่อย |
ระบบ กลไกการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มีพัฒนาการอย่างเห็นได้ชัด ด้วยกระบวนการจัดการภายในคณะ รวมถึงการสร้าง เครือข่ายการกับคณะอื่นๆในมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย และทีมบริหารของคณะเอง ประกอบกับ พื้นฐานงานวิจัยของคณะที่ทํางานวิจัยร่วมกับ ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมอยู่เป็นทุนเดิม ทําให้สามารถดําเนินงานวิจัยไปได้ดี อย่างไรก็ตาม คณะยังต้องการ เทคนิค การตั้งโจทย์ที่ครอบคลุมถึง กระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มเปูาหมายอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงการทบทวนบริบทของพื้นที่ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในการดําเนินการ โครงการวิจัย
แผนงานวิจัย : การยกระดับผลิตภัณฑ์ไข่เค็มพอกดินภูเขาไฟ สู่ศักยภาพที่แข่งขันได้ในตลาดใหม่ ตารางที่ 12 แสดงชื่อชุดโครงการวิจัย ผลผลิตเชิงปริมาณ และคุณภาพ
ชื่อชุดโครงการวิจัย (ประเภทที่ 2) | ผลการวิจัย | ||
เชิงปริมาณ ผลผลิตที่เป็นรูปธรรม | เชิงคุณภาพ | ผู้ใช้ประโยชน์ | |
1. แผนงานวิจัย : การยกระดับ ผลิตภัณฑ์ไข่เค็มพอกดินภูเขาไฟ สู่ ศักยภาพที่แข่งขันได้ในตลาดใหม่ | 1) การเลี้ยงเองโดยสมาชิกกลุ่มจากเดิม ซึ่งทําการซื้อไข่เป็ดแหล่งอื่น ทําให้ สามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิกกลุ่มที่ ผลิตไข่เป็ดสดประมาณวันละ 300 ฟอง สร้างรายได้กว่าเดือนละ 36,000 บาท หรือปีละประมาณ 400,000 บาท 2) กลไกการจัดการกลุ่มไข่เค็ม 3) เปิดรับสมาชิกทั่วไปโดยปฏิบัติตามกฎ กติกาของกลุ่มเพื่อระดมทุนและปันผล สร้างงาน สร้างอาชีพในท้องถิ่นต่อไป | 1) เกิดเครือข่ายความร่วมมือกับกลุ่มไข่เค็ม และหน่วยงานในพื้นที่ เช่น อําเภอ กฟผ. แม่เมาะ พัฒนาชุมชนอําเภอแม่เมาะ 2) การสร้างความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจ และความปลอดภัยของสินค้าต่อผู้บริโภค โดยใช้การตรวจวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่คุณภาพของดิน สารปนเปื้อนของดิน ตลอดถึงคุณภาพของไข่เค็มที่มีการตรวจวัด ปริมาณจุลินทรีย์ หาวันหมดอายุที่แน่นอน ของไข่เค็มและฉลากโภชนาการแนะนํา ปริมาณการบริโภคและสารอาหารต่าง ๆ ในไข่เค็ม 3) กลุ่มไข่เค็มมีความเข้มแข็งมากขึ้น | 1) กลุ่มไข่เค็มพอกดินภูเขาไฟ กลุ่ม วิสาหกิจชุมชนอื่นๆ 2) กฟผ.แม่เมาะ องค์การบริหารส่วน ตําบลสบปูาด หรือหน่วยงานอื่นๆที่ เกี่ยวข้องสามารถนําเอากระบวนการ องค์ ความรู้ไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาอาชีพ ในพื้นที่รับผิดชอบได้ 3) คนในชุมชนที่ได้อาชีพเสริมที่เพิ่มรายได้ ให้กับครอบครัว 4) ผู้บริโภคไข่เค็มทั่วไปที่ได้ความมั่นใจใน ตัวผลิตภัณฑ์ |
โครงการวิจัยย่อยที่ 1 : การ วิเคราะห์คุณสมบัติของดินภูเขาไฟ อําเภอแม่เมาะ จังหวัดลําปาง เพื่อ ใช้พัฒนาคุณภาพไข่เค็มพอกดิน ภูเขาไฟและสร้างจุดขายของ ผลิตภัณฑ์ | 1) องค์ความรู้เกี่ยวกับดินภูเขาไฟที่นํามา พอกไข่เค็ม | 1) ความเชื่อมั่นของผู้ผลิต และผู้บริโภคไข่ เค็มพอกดินภูเขาไฟที่นํามาพอกไข่เค็ม |
ชื่อชุดโครงการวิจัย (ประเภทที่ 2) | ผลการวิจัย | ||
เชิงปริมาณ ผลผลิตที่เป็นรูปธรรม | เชิงคุณภาพ | ผู้ใช้ประโยชน์ | |
โครงการวิจัยย่อยที่ 2 : การพัฒนา คุณภาพไข่เค็มพอกดินภูเขาไฟ สู่ ตลาดใหม่ | 1) การสร้างแบรนด์ของไข่เค็มใหม่ทั้งใน ส่วนของแบรนด์กลุ่ม และแบรนด์กลาง สําหรับผู้ผลิตไข่เค็มพอกดินภูเขาไป ส่งผลให้การวางจําหน่ายผลิตภัณฑ์มาก ขึ้นจากเดิมจําหน่ายแต่ในอําเภอแม่เมาะ ปัจจุบันจําหน่ายไปยังในตัวจังหวัดลําปาง และต่างจําหวัด โดยจําหน่ายทั้งปลีกและ ส่ง และจําหน่ายผ่านเว็บไซต์ สร้างรายได้ จากการจําหน่ายไข่เค็มให้กลุ่มใน ระยะเวลา 6 เดือนประมาณ 300,000 บาท | 1) การเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑไ์ ข่เค็ม 2) ช่องทางการขายไข่เค็ม 3) การสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคไข่ เค็ม 4) การลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์ 5) ได้บรรจุภัณฑ์ที่เปน็ มิตรต่อสิ่งแวดล้อม | 1) กลุ่มไข่เค็มพอกดินภูเขาไฟ กลุ่ม วิสาหกิจชุมชนอื่นๆ 2) กฟผ.แม่เมาะ องค์การบริหารส่วน ตําบลสบปูาด หรือหน่วยงานอื่นๆที่ เกี่ยวข้องสามารถนําเอากระบวนการ องค์ ความรู้ไปใช้เป็นแนวทางการส่งเสริมอาชีพ ในพื้นที่รับผิดชอบได้ |
โครงการวิจัยย่อยที่ 3 : การพัฒนา บรรจุภัณฑ์และช่องทางการตลาด ออนไล น์ เ พื่ อ เ พิ่ ม มู ล ค่ า ท า ง การตลาดผลิตภัณฑ์ไข่เค็มพอกดิน ภูเขาไฟ | 1) การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่จากการใช้ ถาดโฟมวางไข่จํานวน 4 ฟอง เป็นใช้ กล่องกระดาษลูกฟูกที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมย่อยสลายง่าย 2) สื่อ Online สําหรับเพิ่มช่องทาง การตลาด |
แผนงานวิจัย : การวิจัยและพัฒนาศักยภาพเห็ดของ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน อําเภอแม่เมาะ จังหวัดลําปาง ตารางที่ 13 แสดงชื่อโครงการวิจัย ประเภทที่ 2 นักวิจัยหน้าใหม่ ผลผลิตเชิงปริมาณ และคุณภาพ
ชื่อโครงการวิจัย ประเภทที่ 2 | ผลการวิจัย | ||
เชิงปริมาณ ผลผลิตที่เป็นรูปธรรม | เชิงคุณภาพ | ผู้ใช้ประโยชน์ | |
1. แผนงานวิจัย : การวิจัยและพัฒนา ศักยภาพเห็ดของ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน อําเภอแม่เมาะ จังหวัดลําปาง | 1) ราย วิ ชาหลักการผลิตพืชผัก สาขา เกษตรศาสตร์และรายวิชาเทคโนโลยีพลังงาน ของสาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เกิดการ บูรณาการงานวิจัยเข้ากับการเรียนการสอน นักศึกษามีส่วนร่วมในการดําเนินงานวิจัย ได้รับประสบการณ์ในการทํางานวิจัย และ ผลงานวิจัยสามารถนําไปถ่ายทอด พัฒนา และประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้ 2) กลุ่มมีรายได้จากการจําหน่ายผลิตภัณฑ์ หรือมีช่องทางการจําหน่ายเพิ่มขึ้นในอนาคต | 1) มีการบริหารจัดการงานวิจัยเชิง พื้นที่ผ่านชุดโครงการวิจัย 2) เกิดทีมวิจัยที่รวมหลายๆสาขาวิชา เ กิ ด ก า ร แ ล ก เ ป ลี่ ย น เ รี ย น รู้ ประสบการณ์การทํางานและการวิจัย เชิงพื้นที่ร่วมกัน 3) เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง กลุ่มผู้ผลิตเห็ด การไฟฟูาฝุายแม่เมาะ และบริษัทเอสดีเทคโนเวชั่นจํากัด | 1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเห็ด และกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนอื่นๆ 2) กฟผ.แม่เมาะ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น พัฒนาชุมชน หรือหน่วยงาน อื่ นๆ ที่ เ กี่ ยว ข้ องสามารถนําเอา กระบวนการ องค์ความรู้ไปใช้เป็นแนว ทา ง ก า ร ส่ ง เ ส ริ มอาชี พ ใ น พื้ น ที่ รับผิดชอบได้ 3) ผู้บริโภคทั่วไปที่นิยมรับประทาน อาหารประเภทเห็ด |
โครงการวิจัยย่อยที่ 1 : การพัฒนา ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพจากเห็ด นางฟูาและวัสดุเพาะเห็ดถั่งเช่า | 1) มีผลิตภัณฑ์จํานวน 3 ผลิตภัณฑ์ 2) อาหารทดแทนหรืออาหารระหว่างมื้อ | 1) เกิดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งขึ้น 2) เกิดผลิตภัณฑ์อาหารที่สามารถ สร้างรายได้เสริมให้กับกลุ่ม | |
โครงการวิจัยย่อยที่ 2 : การพัฒนาปุ๋ย หมักประสิทธิภาพสูงจากวัสดุก้อน เห็ดเก่า | 1) ปุ๋ยหมักจากวัสดุก้อนเห็ดเก่า | 1) การใช้วัสดุเหลือใช้จากการทําเห็ด ให้เกิดป ระโยชน์ เป็นการรักษา สิ่งแวดล้อม 2) กลุ่มมีรายได้เสริมจากการจําหน่าย ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมัก |
ชื่อโครงการวิจัย ประเภทที่ 2 | ผลการวิจัย | ||
เชิงปริมาณ ผลผลิตที่เป็นรูปธรรม | เชิงคุณภาพ | ผู้ใช้ประโยชน์ | |
โครงการวิจัยย่อยที่ 3: การเพิ่ม ประสิทธิภาพกระบวนการแปรรูป | 1) ต้นแบบเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ แบบผสมผสานพลังงานความร้อนจากชีวมวล | 1) ผลิตเห็ดแห้งได้สม่ําเสมอตลอดทั้งปี |
ตารางที่ 14 แสดงชื่อโครงการวิจัย ประเภทที่ 3 นักวิจัยหน้าใหม่ ผลผลิตเชิงปริมาณ และคุณภาพ
ชื่อโครงการวิจัย ประเภทที่ 2 | ผลการวิจัย | ||
เชิงปริมาณ ผลผลิตที่เป็นรูปธรรม | เชิงปริมาณ ผลผลิตที่เป็นรูปธรรม | เชิงปริมาณ ผลผลิตที่เป็นรูปธรรม | |
1. การพัฒนาระบบอบแห้งพลังงาน แสงอาทิตย์แบบน็อคดาวน์สําหรับ ตะเกียบไม้ไผ่ | 1) ได้โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์จํานวน 1 หลัง สําหรับใช้ในโรงงานผลิตตะเกียบไม้ไผ่ที่มี ประสิทธิภาพทางความร้อนสูงและสามารถ ถอดประกอบได้ง่ายและสะดวกในการติดตั้ง โดยไม่ต้องใช้ช่างผู้ชํานาญ และสามารถ นําไปใช้กับผลิตภัณฑ์อื่นๆได้ | 1) ได้ประสิทธิภาพทางความร้อนของ โรงอบแห้งพลังงานงานแสงอาทิตย์ สําหรับตะเกียบไม้ไผ่และแนวทางการ แก้ไขปรับปรุง 2) ได้ตะเกียบไม้ไผ่ที่ มีคุณภาพ ถูก สุขลักษณะอนามัย สะอาด ปลอดภัย ไม่เกิดเชื้อรา และไม่ปนเปื้อน สกปรก ซึ่งส่งผลดีต่อผู้บริโภค 3) ความร่วมมือกับกับผู้ประกอบการ ผลิตตะเกียบไม้ไผ่ชุมชนบ้านปางตุ้ม ตําบลแม่สุก อําเภอแจ้ห่ม จังหวัด ลําปาง | 1) กลุ่มผู้ประกอบการทําตะเกียบ 2) เกษตรกรใกล้เคียง 3) ผู้บริโภคที่ใช้ตะเกียบ |
2. ผลของอุณหภูมิน้ําที่ใช้ในการชุบแข็ง ต่อโครงสร้างจุลภาค และสมบัติเชิงกล ของเหล็กแหนบที่ใช้ตีมีดที่หมู่บ้านขาม | 1) ชุดความรู้ที่ได้งานวิจัย 2) การบูรณาการงานบริการวิชาการกับ งานวิจัย 1 โครงการ | 1) ได้สัมพันธภาพที่ดีระหว่างนักวิจัย กับชุมชนในพื้นที่ เกิดความไว้เนื้อเชื่อ ใจกัน | 1) เทศบาลตําบลห้างฉัตร (แม่ตาล) 2) พัฒนาชุมชน 3) กลุ่มตีมีดบ้านขามแดง |
ชื่อโครงการวิจัย ประเภทที่ 2 | ผลการวิจัย | ||
เชิงปริมาณ ผลผลิตที่เป็นรูปธรรม | เชิงปริมาณ ผลผลิตที่เป็นรูปธรรม | เชิงปริมาณ ผลผลิตที่เป็นรูปธรรม | |
(ต่อ) แดง ตําบลห้างฉัตร อําเภอห้างฉัตร จังหวัดลําปาง | 3) การตีพิมพ์วารสารสืบเนื่องจากงานประชุม วิชาการ 1 ฉบับ | 2) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เกิดจาก องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยทําให้ นําไปสู่การหาแนวทางแก้ไข เช่น การ อนุรักษ์ภูมิปัญญาการตีมีดสู่เด็กและ เยาวชนของโรงเรียนในพื้นที่ 3) ผลิตภัณฑ์มีดของกลุ่มตีมีดหมู่บ้าน ขามแดงได้รับการยกระดับให้มีความ แข็งแรงมากขึ้น 4) โครงการบูรณาการงานบริการ วิชาการกับวิจัยของกลุ่มตีมีด หมู่บ้าน ขามแดง จังหวัดลําปาง 5) การมีส่วนร่วมของปลัดเทศบาล และพัฒนาชุมชน เทศบาลตําบลห้าง ฉัตร (แม่ตาล) กํานัน และผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มตีมีดบ้านขามแดง | 4) โรงเรียนในพื้นที่ที่สามารถนําเอา องค์ความรู้การตีมีดสู่ห้องเรียน |
ตารางที่ 15 แสดงชื่อโครงการวิจัย ประเภทที่ 3 นักวิจัยใหม่ ผลผลิตเชิงปริมาณ และคุณภาพ
ชื่อชุดโครงการวิจัย (ประเภทที่ 3) | ผลการวิจัย | ||
เชิงปริมาณ | เชิงคุณภาพ | ผู้ใช้ประโยชน์ | |
3. การประยุกต์ใช้วัสดุธรรมชาติเพื่อลด ปริมาณ สารโพลาร์ และการใช้น้ํามัน ทอดชนิดอื่น เพื่อทดแทน น้ํามันปาล์ม ในกระบวนการผลิต ข้าวแต๋น จังหวัด ลําปาง | 1) ได้วัสดุดูดซับสารโพลาร์ในน้ํามันทอดข้าว แต๋น ที่มีป ระ สิ ทธิภาพซึ่งเป็นวัสดุจาก ธรรมชาติ สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น และได้ น้ํามัน (น้ํามันรําข้าว) ที่สามารถทดแทนการ ใช้น้ํามันปาล์มได้ ทั้งการเปรียบเทียบในด้าน ราคาน้ํามัน/กรัมข้าวแต๋น และปริมาณสารโพ ลาร์ 2) การบูรณาการกับรายวิชาเคมีอาหาร | 1) ได้ประสิทธิภาพการลดลงของสาร โพลาร์ จากวัสดุธรรมชาติแต่ละชนิด ที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการ และ แนวทางการปฏิบัติ เพื่อยกระดับ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น 2) ได้ประสิทธิภาพของน้ํามันที่ สามารถใช้ทดแทนน้ํามันปาล์มได้ใน กระบวนการทอดข้าวแต๋น และ สามารถนําความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ได้ กับผู้ประกอบการ ที่ต้องการยกระดับ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น เพื่อ ส่งออกยังต่างประเทศ 3) ความร่วมมือกับกับผู้ประกอบการ นายกสมาคมข้าวแต๋น จังหวัดลําปาง “ข้าวแต๋นธานี” | 1) ผู้ประกอบการข้าวแต๋น 2) ผู้ประกอบการที่ใช้น้ํามันสําหรับ ทอดอาหาร 3) ผู้บริโภคน้ํามันโดยทั่วไป 4) ผลงานวิจัยสามารถต่อยอดสู่เชิง พาณิชย์ได้ |
ตารางที่ 16 แสดงชื่อโครงการวิจัย ประเภทที่ 3 นักวิจัยใหม่ ผลผลิตเชิงปริมาณ และคุณภาพ
ชื่อชุดโครงการวิจัย (ประเภทที่ 3) | ผลการวิจัย | ||
เชิงปริมาณ | เชิงคุณภาพ | ผู้ใช้ประโยชน์ | |
4. การบูรณาการองค์ความรู้เพื่อเพิ่ม ศักยภาพ โรงงานเซรามิคขนาดเล็ก ตําบลท่าผา อําเภอเกาะคา จังหวัด ลําปาง | 1) ได้ผลงานสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จาน จํานวน 5 รูปแบบที่พร้อมจะต่อยอดสู่มิติเชิงเศรษฐกิจ 2) บูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนใน รายวิชา การออกแบบเครื่องปั้นดินเผา 2 3) เกิดการต่อยอดการสร้างสรรค์ผลงานให้กับ โรงงานใกล้เคียง | 1) เกิดการสร้างเครือข่ายต้นแบบ ระหว่างโรงงานที่เข้าร่วมโครงการและ โรงงานใกล้เคียง 2) ผู้ประกอบการสามารถนํารูปแบบ ผลงานไปพัฒนาต่อยอดได้ | 1) โรงงานเซรามิก 2) นักศึกษา 3) เทศบาลตําบลท่าผา สามารถใช้องค์ ความรู้เป็นแนวทางการการส่งเสริม บรรจุในแผนของเทศบาลเพื่อส่งเสริม ผลิตภัณฑ์เซรามิกต่อไป |
5. การพัฒนาระบบการจัดการเพื่อการ ขับเคลื่อนผลงานวิจัยไปสู่การพัฒนา จังหวัด | 1) ข้อเสนอแนะ แนวทางของระบบ กลไก การบริหารจัดการเพื่อการขับเคลื่อน ผลงานวิจัยไปสู่การพัฒนาจังหวัด 1 ระบบ 2) ได้เครือข่ายความร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ | 1) การสร้างสัมพันธภาพ เครือข่ายที่ดี ระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง กับยุทธศาสตร์จังหวัด และหน่วยงาน ภาคเอกชน | 1) มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง 2) ยุทธศาสตร์จังหวัด 3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4) ผู้ประกอบการ นักวิจัย |
จากตารางข้างต้น อธิบายได้ว่า หากเป็นแผนวิจัย คณะจะมี โมเดลการบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ เป็นผลผลิต (ยกเว้นคณะวิทยาศาสตร์) ซึ่ง โมเดลนี้ คณะแต่ละคณะจะใช้เป็นแนวทางการดําเนินงานเชิงพื้นที่ ในขณะที่นักวิจัยได้บูรณาการการดําเนินงานวิจัยกับการเรียนการสอน บางสาขาวิชา บูรณาการกับการ บริการวิชาการ เช่น สาขาเคมี เป็นต้น
ในส่วนของพื้นที่ ผลการวิจัยได้ก่อเกิดการยกระดับผลิตภัณฑ์ เช่นผู้ประกอบการข้าวแต๋นได้รับการรับรองมาตรฐาน 5 ส. ไข่เค็มได้รับการวิเคราะห์ตัวดิน ที่นํามาพอก ว่าปลอดจากสารพิษที่เป็นอันตราย สร้างความมั่นใจแก่ผู้ผลิต และผู้บริโภค
นอกจากนั้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียยังมีส่วนร่วมกับนักวิจัย แบ่งการมีส่วนร่วมเป็นหลายระดับ ระดับน้อยที่สุดคือการให้ข้อมูล ร่วมรับ ฟังผลการวิจัย ยกระดับขึ้นมาคือ ร่วมคิด ออกแบบ และร่วมปฏิบัติในกระบวนวิจัย รวมถึงร่วมรับผลประโยชน์ โดยนักวิจัยได้ใช้พื้นที่เป็น Social Lap ในการร่วมคิด ร่วมทํากับ ผู้ประกอบการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามแนวทางพันธกิจสัมพันธ์ กรณี ไข่เค็มพอกดินภูเขาไฟ มีการไฟฟูาฝุายผลิตแห่งประเทศไทย ได้เข้ ามาสนับสนุนในเรื่อง ของการจัดทําปูาย ในส่วนพัฒนาชุมชนอําเภอแม่เมาะ มาหนุนเสริมด้านความรู้การขยายต่อผู้ประกอบการอื่นๆ เกษตรตําบลหนุนเสริมด้านการรวมกลุ่ม เป็นต้น หรือกรณีของ น้ําปู มีเทศบาลตําบลแจ้ห่ม เข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมทําตั้งแต่ต้น ร่วมถึง มีกิจกรรมในส่วนของเทศบาลฯในการ ส่งเสริมให้เกษตร เลี้ยงปู และผลิต น้ําปู เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญา ตัวอย่างของสมาคมข้าวแต๋นที่นายกสมาคม มีความพยายามที่จะขยายสามาชิกกลุ่ม เพื่อยกระดับมาตรฐานให้เท่าเทียมกัน รวมถึงความพยายามที่จะให้ข้าวแต๋นของจังหวัดลําปางได้รับเป็นสินค้า GI ของลําปาง โดยมีผู้ประกอบการรายย่อยเข้าร่วมโครงการ 13 โรงงาน กรณี ผลิตเซรา มิก ผู้ประกอบการนําร่อง ได้แก่ โรงงานศาลาทอง ตั้งอยู่ในหมู่บ้านศาลาบัวบก อําเภอเกาะคา เป็นพื้นที่ที่นักวิจัยได้รวมกับผู้ประกอบการดําเนินการร่วมกัน ออกแบบลวดลาย ไร่สุวรรณเป็นไร่เอกชน ให้พื้นที่เป็นพื้นที่กลางในการติดตั้งโรงเรือนอบแมคคาเดเมียสําหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่แจ๋ม เป็นต้น
ผลการดําเนินงานวิจัยเมื่อเปรียบเทียบกับ เป้าหมายของผลผลิต (output) และตัวชี้วัด ของโครงการนวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิง พื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปาง
ตารางที่ 17 แสดงผลผลิต ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัด แยกตามประเภทของผลิตภัณฑ์ของกิน ข้าวแต๋น
ผลผลิต (output) | ตัวชี้วัด | ผลการดําเนินงาน |
1. ผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ในพื้นที่ได้รับ การพัฒนาและยกระดับ ข้าวแต๋น | 1. ผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ในพื้นที่ได้รับการ พัฒนาหรือยกระดับ อย่างน้อย 10 ผลิตภัณฑ์ | 10 ผลิตภัณฑ์ได้รับการยกระดับ ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ข้าวแต๋น เซรามิก ผ้าทอ แมคคาเดเมีย น้ําปู ไข่เค็ม เห็ด มีด ตะเกียบ และวัตถุดิบธรรมชาติที่นํามาสกัดสารโพลาร์ฯ |
ประเภทของกิน ข้าวแต่น ได้รับการยกระดับดังนี้ 1) ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการได้รับการยกระดับ มาตรฐานการผลิตที่ปลอดภัย 5 ส. 2) มีการยกระดับการผลิตของผู้ประกอบที่เข้าร่ วม โครงการฯเพื่อการขอรับ อ.ย.มากกว่าร้อยละ 20 3) สมาคมการค้าข้าวแต๋นมีนโยบายรวมกลุ่ม และนโยบาย การขับเคลื่อนกลุ่มสมาชิกและสนับสนุนการรับรองสินค้า GI มากขึ้น 4) ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นไรซ์เบอร์รี่ที่สามารถพองตัวใน ไมโครเวฟ มีผู้ประกอบการสนใจที่จะต่อยอดในเชิงพาณิชย์ 5) สามารถยกระดับคุณภาพของข้าวแต๋นให้ปลอดภัยจาก สารโพลาร์ โดยใช้วัสดุซังข้าวโพดมาดูดซับสารโพลาร์ ปัจจุบันมีผู้ประกอบการสนใจที่จะนํามาใช้ในเชิงพาณิชย์ เช่น สมาคมข้าวแต๋นจังหวัดลําปาง |
ผลผลิต (output) | ตัวชี้วัด | ผลการดําเนินงาน |
(ต่อ) | 6) โมเดลการจัดองค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านการผลิตข้าวแต๋น กับการพึงพาตนเองและลดต้นทุน จํานวน 3 โมเดล 7) สื่อการเรียนรู้กระบวนการผลิตและการลดต้นทุนการ ผลิตข้าวแต๋น | |
2. สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสามารถ ลดต้นทุนหรือมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 | 1) ผลการวิจัย ประเภท ข้าวแต๋น ส่วนใหญ่ประสบผลสําเร็จ ในมิติสังคมเช่น ยกคุณภาพผลิตภัณฑ์ ความปลอดภัยยัง ต้องต่อยอดในเชิงพาณิชย์เพื่อก่อเกิดรายได้หรือลดต้นทุน | |
3. มีการยื่นขอจด/แจ้งทรัพย์สินทางปัญญา อย่าง น้อย 1 ชิ้นงาน | ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์สอง ชนิดคือ วัตถุดูดซับสารโพลาร์ ข้าวแต๋นไรซ์เบอร์รี่พองตัวใน ไมโคเวฟ ในการยื่นขอจดทรัพย์สินทางปัญญา | |
2. ได้นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปาง | 1. ได้นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อ พัฒนาจังหวัดลําปาง อย่างน้อย 2 นวัตกรรม | เกิดนวัตกรรม 2 นวัตกรรม 1) การประยุกต์ใช้ซังข้าวโพดมาดูดซับสารโพล่าร์ 2) ข้าวแต๋นไรซ์เบอร์รี่ที่สามารถพองตัวในไมโครเวฟ |
3. ผลลัพธ์ (output) ของ ABC | 1) ผลสําเร็จของการแก้ปัญหาที่เป็นโจทย์ร่วม ภาคีพัฒนาในพื้นที่ได้ หมายถึง สิ่งที่เป็นปัญหา อยู่ เปลี่ยนให้ดีขึ้น สิ่งที่เป็นโอกาสแต่ยังไม่ได้ใช้ ก็ใช้ให้มากขึ้น | 1) การขับเคลื่อนผู้ผลิตวัตถุดิบข้าว อ้อย แตงโม เกิดการ ขยายเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรม 2) การแก้ปัญหาเรื่องสารอันตรายในน้ํามันทอดผลิตภัณฑ์ ข้าวแต๋น |
2) เกิด “กลไก” ที่มีความสามารถจัดการกับ ความเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ กล่าวคือ กลไกที่ มีผลประโยชน์ร่วมกัน มีความเป็นธรรม สามารถ จัดการเรื่องใหม่ๆในอนาคตได้ | 1) กลไกความร่วมมือในการแก้ปัญหาเชิงบูรณาการของ หน่วยงาน เช่น นักวิจัยมหาวิทยาลัยฯร่วมกับ สาธารณสุข พัฒนาชุมชน เกษตรอําเภอ สมาคม ผู้ประกอบการ เป็นต้น |
ผลผลิต (output) | ตัวชี้วัด | ผลการดําเนินงาน |
(ต่อ) | 3) องค์ความรู้ทางวิชาการจากบริบทปัญหา / การพัฒนาของสังคมไทย | 1) การดําเนินงานวิจัยเชิงพื้นที่ สิ่งที่นักวิจัยต้องให้ ความสําคัญ นอกเหนือจากโจทย์ที่ตรงกับความต้องการและ ความจําเป็นของพื้นที่แล้ว ควรให้ความสําคัญกับภาคี เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง อันจะทําให้การดําเนินงานสะดวก ง่าย ขึ้น รวมถึงเป็นการประหยัดเรื่องของ คน งบ และเวลา รวมถึงก่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกอบการ |
4. ผลลัพธ์ (outcome) | ||
4.1 ได้นักวิจัยเชิงพื้นที่ที่มีศักยภาพในการ พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากร่วมกับชุมชน | 1) ได้นักวิจัยเชิงพื้นที่หน้าใหม่ที่มีศักยภาพในการ พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากร่วมกับชุมชนอย่างน้อย 40 คน | 1) นักวิจัยในโครงการมีจํานวนทั้งสิ้น 36 คน แยกเป็น นักวิจัยหน้าเก่าจํานวน 24 คน นักวิจัยหน้าใหม่จํานวน 16 คน |
2 ) เ กิ ด ผู้ ป ร ะ ก อ บ ก า ร ใ น ร ะ ดั บ Smart enterprise | 1) อย่างน้อยงานวิจัยนี้สามารถสร้างแรงบันดาลใจไม่ โดยตรงก็โดยอ้อมให้กับคนหนุ่มสาวหันว่าให้ความสนใจกับ การสืบทอดอาชีพของบรรพบุรุษ เช่นกรณีข้าวแต๋นคําเดียว | |
3) มีการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย ราชภัฏลําปางกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อการนําใช้ ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สู่การจัดการตนเองได้อย่าง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล | 1)การเรียนรู้เกิดขึ้นตั้งแต่การตั้งและพัฒนาโจทย์ การ ดําเนินการและการติดตามงานวิจัย ล้วนแต่ก่อกระบวนการ เรียนรู้ร่วมกัน ทําให้ผลงานวิจัยสามารถใช้ประโยชน์ได้ | |
4) มีนักวิจัยทํางานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัย กับสังคม (Engagement) โดยการบูรณราการ งานวิจัย การจัดการเรียนการสอน การบริการ วิชาการ และการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม | 1)เกิดการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนรายวิชา เคมีอาหาร เกิดการบูรณาการกับการบริการวิชาการเกิดขึ้น ในระดับสาขา ส่วนการบูรณาการกับศิลปวัฒนธรรมยังไม่ เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน |
ผลผลิต (output) | ตัวชี้วัด | ผลการดําเนินงาน |
4.2 ได้บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ใน ระดับชาติและนานาชาติ | 1) ได้บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ และนานาชาติอย่างน้อย 5 บทความ | 1) กําลังอยู่ในระหว่างการเขียนบทความ บางส่วนรอการ ตอบรับการตีพิมพ์ |
ตารางที่ 18 แสดงผลผลิต ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัด แยกตามประเภทของผลิตภัณฑ์ของกิน แมคคาเดเมีย
ผลผลิต (output) | ตัวชี้วัด | ผลการดําเนินงาน |
1. ผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ในพื้นที่ ได้รับการพัฒนาและยกระดับ แมคคาเดเมีย | 1. ผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ในพื้นที่ได้รับการพัฒนา หรือยกระดับ | ประเภทของกิน ผลิตภัณฑ์แมคคาเดเมีย ได้รับการยกระดับ ดังนี้ 1) ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถขายผลิตได้อย่าง สม่ําเสมอเนื่องจากมีโรงเรือนอบแห้งผลิตภัณฑ์ด้วยพลังงาน แสงอาทิตย์ที่ช่วยเมล็ดแมคคาเดเมียแห่งเร็วขึ้นจากเดิมใช้ เวลา 5-7 วัน มาเป็น 3-4 วัน |
2. สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสามารถลด ต้นทุนหรือมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 | 1) โรงเรือนอบแห้งผลิตภัณฑ์แมคคาเดเมียด้วยพลังงาน แสงอาทิตย์สามารถลดเวลาการตากแห้งให้กับ ผู้ประกอบการ ทําให้ลดการเน่าเสียของแมคคาเดเมียและ สามารถลดความชื้นของผลิตภัณฑ์ได้ต่ําสุดประมาณร้อยละ 6-7 มาตรฐานแห้ง เมื่อคิดอัตรากําลังผลิตที่เพิ่มขึ้นรายปี ของผลิตภัณฑ์เทียบกับระยะเวลาในการอบแห้งจะมี ค่าประมาณร้อยละ 60 ต่อปีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนําเข้าของ ผลิตภัณฑ์ด้วย | |
3. มีการยื่นขอจด/แจ้งทรัพย์สินทางปัญญา อย่าง น้อย 1 ชิ้นงาน | ไม่ได้ดําเนินการ |
ผลผลิต (output) | ตัวชี้วัด | ผลการดําเนินงาน |
2. ได้นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิง พื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปาง | 1) ได้นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อ พัฒนาจังหวัดลําปาง อย่างน้อย 2 นวัตกรรม | 1)ได้โรงเรือนอบแห้งผลิตภัณฑ์แมคคาเดเมียด้วยพลังงาน แสงอาทิตย์ |
3. ผลลัพธ์ (output) ของ ABC | 1) ผลสําเร็จของการแก้ปัญหาที่เป็นโจทย์ร่วมภาคี พัฒนาในพื้นที่ได้ หมายถึง สิ่งที่เป็นปัญหาอยู่ เปลี่ยน ให้ดีขึ้น สิ่งที่เป็นโอกาสแต่ยังไม่ได้ใช้ ก็ใช้ให้มากขึ้น | กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในการแก้ปัญหา การแห้งตัวช้าของเมล็ดแมคคาเดเมียร่วมกับนักวิจัย |
2) เกิด “กลไก” ที่มีความสามารถจัดการกับความ เปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ กล่าวคือ กลไกที่มี ผลประโยชน์ร่วมกัน มีความเป็นธรรม สามารถ จัดการเรื่องใหม่ๆในอนาคตได้ | 1)ผู้ประกอบการรายใหญ่ได้ใช้พื้นที่ในการสร้างโรงเรือน อบแห้งแมคคาเดเมีย เพื่อรองรับผลผลิตของผู้ประกอบการ รายย่อย รวมถึงแนวทางการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์แมค คาเดเมีย ร่วมกัน | |
3) องค์ความรู้ทางวิชาการจากบริบทปัญหา / การ พัฒนาของสังคมไทย | 1) การดําเนินงานวิจัยเชิงพื้นที่สิ่งที่นักวิจัยต้องให้ ความสําคัญ นอกเหนือจากโจทย์ที่ตรงกับความต้องการและ ความจําเป็นของพื้นที่แล้ว ควรให้ความสําคัญกับภาคี เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง อันจะทําให้การดําเนินงานสะดวก ง่าย ขึ้น รวมถึงเป็นการประหยัดเรื่องของ คน งบ และเวลา รวมถึงก่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกอบการ | |
4. ผลลัพธ์ (outcome) | ||
4.1 ได้นักวิจัยเชิงพื้นที่ที่มีศักยภาพในการ พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากร่วมกับชุมชน | 1. ได้นักวิจัยเชิงพื้นที่หน้าใหม่ที่มีศักยภาพในการ พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากร่วมกับชุมชนอย่างน้อย 40 คน | 1)นักวิจัยในโครงการมีจํานวนทั้งสิ้น 18 คน แยกเป็น นักวิจัยหน้าเก่าจํานวน 10 คน นักวิจัยหน้าใหม่จํานวน 8 คน |
2) เกิดผู้ประกอบการในระดับ Smart enterprise | ผลงานวิจัยยังไม่ก่อให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ |
4. ผลลัพธ์ (outcome) | ||
(ต่อ) | 3) มีการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏ ลําปางกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อการนําใช้ข้อมูลให้เกิด ประโยชน์สู่การจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล | การเรียนรู้เกิดขึ้นตั้งแต่การตั้งและพัฒนาโจทย์ การ ดําเนินการงานวิจัย ล้วนแต่ก่อกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ทําให้ผลงานวิจัยสามารถใช้ประโยชน์ได้ |
4) มีนักวิจัยทํางานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับ สังคม (Engagement) โดยการบูรณราการงานวิจัย การจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และ การทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม | เกิดการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนในรายวิชา ของหลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตและ เทคโนโลยีการผลิต เป็นต้น | |
4.2 ได้บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ใน ระดับชาติและนานาชาติ | 1. ได้บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติและ นานาชาติอย่างน้อย 5 บทความ | กําลังอยู่ในระหว่างการเขียนบทความ บางส่วนรอการตอบ รับการตีพิมพ์ |
ตารางที่ 19 แสดงผลผลิต ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัด แยกตามประเภทของผลิตภัณฑ์ของกิน ไข่เค็ม
ผลผลิต (output) | ตัวชี้วัด | ผลการดําเนินงาน |
1. ผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ในพื้นที่ ได้รับการพัฒนาและยกระดับ ไข่เค็ม | 1. ผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ในพื้นที่ได้รับการพัฒนา หรือยกระดับ | ประเภทของกิน ไข่เค็ม ได้รับการยกระดับดังนี้ 11) การสร้างแบรนด์ของไข่เค็มใหม่ทั้งในส่วนของแบรนด์กลุ่ม และแบรนด์กลางสําหรับผู้ผลิตไข่เค็มพอกดินภูเขาไป ส่งผลให้ การวางจําหน่ายผลิตภัณฑ์มากขึ้นจากเดิมจําหน่ายแต่ในอําเภอ แม่เมาะ ปัจจุบันจําหน่ายไปยังในตัวจังหวัดลําปางและต่างจํา หวัด โดยจําหน่ายทั้งปลีกและส่ง และจําหน่ายผ่านเว็บไซต์ สร้างรายได้จากการจําหน่ายไข่เค็มให้กลุ่มในระยะเวลา 6 เดือน ประมาณ 300,000 บาท |
ผลผลิต (output) | ตัวชี้วัด | ผลการดําเนินงาน |
(ต่อ) | 1) การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่จากการใช้ถาดโฟมวางไข่จํานวน 4 ฟอง เป็นใช้กล่องกระดาษลูกฟูกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมย่อย สลายง่าย 2) สื่อ Online สําหรับเพิ่มช่องทางการตลาด | |
2. สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสามารถลด ต้นทุนหรือมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 | 1) การเลี้ยงเองโดยสมาชิกกลุ่มจากเดิมซึ่งทําการซื้อไข่เป็ด แหล่งอื่น ทําให้สามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิกกลุ่มที่ผลิตไข่ เป็ดสดประมาณวันละ 300 ฟอง สร้างรายได้กว่าเดือนละ 36,000 บาท หรือปีละประมาณ 400,000 บาท 2) กลไกการจัดการกลุ่มไข่เค็ม 3) เปิดรับสมาชิกทั่วไปโดยปฏิบัติตามกฎ กติกาของกลุ่มเพื่อ ระดมทุนและปันผล สร้างงาน สร้างอาชีพในท้องถิ่นต่อไป | |
3. มีการยื่นขอจด/แจ้งทรัพย์สินทางปัญญา อย่าง น้อย 1 ชิ้นงาน | ไม่ได้ดําเนินการ | |
2. ได้นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิง พื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปาง | 1) ได้นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อ พัฒนาจังหวัดลําปาง อย่างน้อย 2 นวัตกรรม | นวัตกรรมกระบวนการ ในการสร้างกลุ่มผู้ประกอบใหม่โดย กลไกการถ่ายทอดองค์ความรู้ และการทดลองปฏิบัติ |
3. ผลลัพธ์ (output) ของ ABC | 1) ผลสําเร็จของการแก้ปัญหาที่เป็นโจทย์ร่วมภาคี พัฒนาในพื้นที่ได้ หมายถึง สิ่งที่เป็นปัญหาอยู่ เปลี่ยน ให้ดีขึ้น สิ่งที่เป็นโอกาสแต่ยังไม่ได้ใช้ ก็ใช้ให้มากขึ้น | 1) เกิดเครือข่ายความร่วมมือกับกลุ่มไข่เค็มและหน่วยงานใน พื้นที่ เช่น อําเภอ กฟผ.แม่เมาะ พัฒนาชุมชนอําเภอแม่เมาะ 2) การสร้างความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจ และความปลอดภัยของ สินค้าต่อผู้บริโภค โดยใช้การตรวจวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่คุณภาพของดิน สารปนเปื้อนของดินตลอดถึงคุณภาพของ ไข่เค็มที่มีการตรวจวัดปริมาณจุลินทรีย์ หาวันหมดอายุที่ แน่นอนของไข่เค็มและฉลากโภชนาการแนะนําปริมาณการ |
2) เกิด “กลไก” ที่มีความสามารถจัดการกับความ เปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ กล่าวคือ กลไกที่ มี ผลประโยชน์ร่วมกัน มีความเป็นธรรม สามารถ จัดการเรื่องใหม่ๆในอนาคตได้ |
3. ผลผลิต (output) ของ ABC | ||
(ต่อ) | บริโภคและสารอาหารต่าง ๆ ในไข่เค็ม 3) กลุ่มไข่เค็มมีความเข้มแข็งมากขึ้น | |
3) องค์ความรู้ทางวิชาการจากบริบทปัญหา / การ พัฒนาของสังคมไทย | 1) การดําเนินงานวิจัยเชิงพื้นที่สิ่งที่นักวิจัยต้องให้ ความสําคัญ นอกเหนือจากโจทย์ที่ตรงกับความต้องการและ ความจําเป็นของพื้นที่แล้ว ควรให้ความสําคัญกับภาคี เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง อันจะทําให้การดําเนินงานสะดวก ง่าย ขึ้น รวมถึงเป็นการประหยัดเรื่องของ คน งบ และเวลา รวมถึงก่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกอบการ | |
4. ผลลัพธ์ (outcome) | ||
4.1 ได้นักวิจัยเชิงพื้นที่ที่มีศักยภาพในการ พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากร่วมกับชุมชน | 3. ได้นักวิจัยเชิงพื้นที่หน้าใหม่ที่มีศักยภาพในการ พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากร่วมกับชุมชนอย่างน้อย 40 คน | นักวิจัยในโครงการมีจํานวนทั้งสิ้น 23 คน แยกเป็นนักวิจัย หน้าเก่าจํานวน 17 คน นักวิจัยหน้าใหม่จํานวน 6 คน |
1) เกิดผู้ประกอบการในระดับ Smart enterprise | 1) เกิดผู้ประกอบการใหม่ กลุ่มเลี้ยงเป็ดไข่ และกลุ่มไข่เค็ม ใหม่ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนัมเบอร์ทู 2) เปิดรับสมาชิกทั่วไปโดยปฏิบัติตามกฎ กติกาของกลุ่มเพื่อ ระดมทุนและปันผล สร้างงาน สร้างอาชีพในท้องถิ่นต่อไป | |
2) มีการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏ ลําปางกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อการนําใช้ข้อมูลให้เกิด ประโยชน์สู่การจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล | ผู้ประกอบการ หน่วยงานในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ กฟผ.แม่เมาะ รวมถึงผู้นําชุมชนมีส่วนร่วมในการกําหนดโจทย์ และร่วม ติดตามผลการดําเนินงาน ร่วมถึงการต่อยอดผลงานวิจัย |
4. ผลลัพธ์ (outcome) | ||
(ต่อ) | 3) มีนักวิจัยทํางานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับ สังคม (Engagement) โดยการบูรณราการงานวิจัย การจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และ การทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม | เกิดการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนในรายวิชา คอมพิวเตอร์ สาขาบริหารจัดการ เป็นต้น |
4.2 ได้บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ใน ระดับชาติและนานาชาติ | 1. ได้บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติและ นานาชาติอย่างน้อย 5 บทความ | กําลังอยู่ในระหว่างการเขียนบทความ บางส่วนรอการตอบ รับการตีพิมพ์ |
ตารางที่ 20 แสดงผลผลิต ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัด แยกตามประเภทของผลิตภัณฑ์ของกิน น้ําปู
ผลผลิต (output) | ตัวชี้วัด | ผลการดําเนินงาน |
1. ผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ในพื้นที่ ได้รับการพัฒนาและยกระดับ น้ําปู | 1) ผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ในพื้นที่ได้รับการพัฒนา หรือยกระดับ | ประเภทของกิน น้ําปู ได้รับการยกระดับดังนี้ การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์โดยสกัดสารที่ก่อเกิดภูมิแพ้ ออกจากน้ําปู |
2) สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสามารถลด ต้นทุนหรือมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 | ยังไม่สามารถทําให้เกิดการเพิ่มรายได้ขึ้นมาได้ | |
3) มีการยื่นขอจด/แจ้งทรัพย์สินทางปัญญา อย่าง น้อย 1 ชิ้นงาน | ไม่ได้ดําเนินการ | |
2. ได้นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิง พื้นที่เพื่อพัฒนาจังหวัดลําปาง | 1) ได้นวัตกรรมการจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อ พัฒนาจังหวัดลําปาง อย่างน้อย 2 นวัตกรรม | นวัตกรรมการสกัดสารที่ก่อเกิดภูมิแพ้ โดยใช้พืชผักพืชบ้าน |
3. ผลผลิต (output) ของ ABC | 1) ผลสําเร็จของการแก้ปัญหาที่เป็นโจทย์ร่วมภาคี พัฒนาในพื้นที่ได้ หมายถึง สิ่งที่เป็นปัญหาอยู่ เปลี่ยน ให้ดีขึ้น สิ่งที่เป็นโอกาสแต่ยังไม่ได้ใช้ ก็ใช้ให้มากขึ้น | เทศบาลตําบลแจ้ห่ม ทราบถึงสภาพปัญหา และแนวทางการ รักษาภูมิปัญญาน้ําปูให้คงไว้ในพื้นที่ |
3. ผลผลิต (output) ของ ABC | ||
(ต่อ) | 2) เกิด “กลไก” ที่มีความxxxxxxจัดการกับความ เปลี่ยนแปลงในxxxxxxxx กล่าวคือ xxxxxxxมี xxxxxxxxxxร่วมกัน มีความเป็นธรรม xxxxxx จัดการเรื่องใหม่ๆในxxxxxxxx 3) องค์ความรู้ทางวิชาการจากบริบทปัญหา / การ พัฒนาของสังคมไทย | 1) การดําเนินงานวิจัยเชิงพื้นที่สิ่งที่นักวิจัยต้องให้ ความสําคัญ นอกเหนือจากโจทย์ที่ตรงกับความต้องการและ ความจําเป็นของพื้นที่แล้ว ควรให้ความสําคัญกับภาคี เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง อันจะทําให้การดําเนินงานสะดวก ง่าย ขึ้น รวมถึงเป็นการประหยัดเรื่องของ คน งบ และเวลา รวมถึงxxxxxxxประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกอบการ |
4. ผลลัพธ์ (outcome) | ||
4.1 ได้นักวิจัยเชิงพื้นที่ที่มีศักยภาพในการ พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากร่วมกับชุมชน | 1) ได้นักวิจัยเชิงพื้นที่หน้าใหม่ที่มีศักยภาพในการ พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากร่วมกับชุมชนอย่างน้อย 40 คน | นักวิจัยในโครงการมีจํานวนทั้งสิ้น 9 คน แยกเป็นนักวิจัย หน้าเก่าจํานวน 2 คน นักวิจัยหน้าใหม่จํานวน 7 คน |
2) เกิดผู้ประกอบการในระดับ Smart enterprise | xxxxxxxxxxผู้ประกอบการรายใหม่ | |
3) มีการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏ ลําปางกับชุมชนxxxxxxxxเพื่อการนําใช้ข้อมูลให้เกิด ประโยชน์สู่การจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และxxxxxxxxxx | มีการนําองค์ความรู้จากงานวิจัยถ่ายทอดสู่ชุมชน และกลุ่ม ผู้ผลิตน้ําปู เพื่อxxxxxxนํามาใช้ในการผลิต เพื่อxxxxxความ มั่นใจสําหรับผู้บริโภคที่xxxxรับประทานน้ําปู | |
4) มีนักวิจัยทํางานพันธกิจxxxxxxxxมหาวิทยาลัยกับ สังคม (Engagement) โดยการบูรณราการงานวิจัย การจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และ การทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม | เกิดการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนในรายวิชา โครงการวิจัยทางเคมี และรายวิชาวิทยาศาสตร์xxxxxxxx | |
4.2 ได้บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ใน ระดับชาติและนานาชาติ | 1) ได้บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติและ นานาชาติอย่างน้อย 5 บทความ | กําลังอยู่ในระหว่างการเขียนบทความ บางส่วนรอการตอบ รับการตีพิมพ์ |