สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ข้อกำหนดตัวอย่าง

สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน. จากประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนของผู้จัดทําข้อตกลงในการพัฒนางานในรายวิชา ภาษาอังกฤษอ่านเขียน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑๕ โรงเรียน xxxxx ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ พบว่า ผู้เรียนยังมีมีทักษะในการอ่านจับใจความสําคัญไม่เพียงพอ และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการ รวมกลุ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพกับครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศก็พบว่านักเรียนกลุ่ม ดังกล่าวควรได้รับการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสําคัญ รวมไปถึงผู้จัดทําข้อตกลงในการพัฒนางานฉบับ นี้มีประสบการณ์ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) ระดับชาติ ในปี การศึกษา ๒๕๖๓ โดยจากการได้รับรางวัลนี้ ผู้จัดทําข้อตกลงได้นําการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ เข้ามา ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนด้วยกระบวนการ IPPPC + ๕Cs โดย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน. 2. วธีการดําเนินการให้บรรลุผล
สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน. การจัดประสบการณ์ด้านสติปัญญาเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดย หลักสูตร สถานศึกษาศึกษาได้กำหนดประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาเป็นการสนับสนุนให้เด็ก ได้รับ รู้ เรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ผ่านการคิด การใช้ภาษา การสังเกต การจำแนกและการ เปรียบเทียบ จำนวน มิติสัมพันธ์(พื้นที่/ระยะ) และเวลา จากประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน พบว่า นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ส่วนมากมีปัญหาในด้านการเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก 1-10แบบถูกต้อง ครูผู้สอนจึงได้นำสื่อ การเขียนตัวเลข 1-10 แบบเล่าเรื่องเข้ามาช่วยเพื่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์สามารถเขียนตัวเลข ฮินดูอารบิกได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน. จากการจัดการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพ ในหน่วยการเรียนรู้ เรื่องงานบ้าน พบว่า นักเรียนมีความ เข้าใจที่คลาดเคลื่อน ไม่สามารถเชื่อมโยงความรู้ที่เรียนกับชีวิตประจำวันได้ขาดทักษะ ในการปฏิบัติงาน และ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจัดในรูปแบบ On Site ปัจจุบันด้วยสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรนา (โควิด-19) ยังระบาดอยู่ การจัดกิจกรรมยังไม่ได้เต็มที่ซึ่งยังต้องใช้ระบบดูแลและป้องกันนักเรียนโดยให้ นักเรียนใส่หน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่างให้มากเท่าที่จะทำได้ แต่จากการที่นักเรียนไม่ได้มาเรียนในปี การศึกษา 2564 ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่เกิดความเคยชินแบ่งเวลาไม่ถูกต้อง ใช้เวลาว่างไม่เกิดประโยชน์ ติดการเล่นโซเชียว ติดเกม ขาดการเอาใจใส่ในการเรียนและติดตามงาน ขาดความรับผิดชอบ การใช้จ่าย ฟุ่มเฟือย ครูผู้สอนจึงมีแนวคิดที่จะให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และมีทักษะในการทำงาน มีความรับผิดชอบ และมีวินัยในตนเองมากขึ้นในการเรียนวิชาการงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4,5,6 ตามตัวชี้วัดในแต่ละระดับชั้น ดังนี้
สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน. จากการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษที่ผ่านมา พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4/1 ปีการศึกษา 2564 ภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนห้วยนางราษฎร์บํารุงยังไม่บรรลุผล การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ เรื่อง Good man พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการ พูดและเขียนบรรยายข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล อยู่ในระดับปรับปรุงเป็นจํานวนมาก จึงใช้ วิธีแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง Good man ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โดยใช้รูปแบบ 5 STEP ด้วยสื่อการสอน เรื่อง Good man ทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน. จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อโควิด 19 ที่ผ่านมาทําให้นักเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถมาโรงเรียนได้ จึงจําเป็นต้องใช้สื่อการสอน ออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์โดยใช้ Google meet ทําให้นักเรียนที่ขาดความเอาใจใส่ในบทเรียน และไม่มีความ กระตือรือร้นในการศึกษาหาความรู้ ขาดทักษะการอ่าน การเขียนที่ถูกต้องทําให้มีผลต่อการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1 ครูจึงใช้แบบฝึกพัฒนาการอ่าน เขียนภาษาไทย ด้วย RLPA Model โดยใช้ กระบวนการ Active Learning คือการสอนให้นักเรียนรู้จักคํา รับรู้ความหมายของคํา รู้จักการแจกลูกคํา การเชื่อมโยงของ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ นําไปสู่การเขียนที่ถูกต้อง และนําไปใช้ประโยชน์ในการเขียน สื่อความการแต่งประโยคหรือเขียนเรื่องราว ซึ่งผู้สอนวิเคราะห์สภาพปัญหาจากการดําเนินการ ผ่าน กระบวนการ PLC พบว่าผู้เรียนร้อยละ 50 หรือ 13 คน ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ขาดทักษการอ่าน เขียน ปัญหาที่พบคือ แบบเรียนภาษาไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้น เป็นแบบเรียนที่มุ่งสอนให้นักเรียนอ่านคําและเนื้อเรื่อง โดย ไม่ได้เริ่มจากการเรียนรู้ตัวอักษรและไม่ให้ความสําคัญกับการสอนอ่านพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และการ ประสมคํา ส่งผลให้นักเรียนจดจําพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ การอ่านเขียนประสมคําไม่ได้ เพราะไม่ได้เริ่มต้น เรียนอ่านเขียนอย่างเป็นระบบแต่เรียนโดยอ่านคําจากเนื้อเรื่องที่พบเห็นบ่อยๆ โดยการจํารูปคําได้ นอกจากนั้น ยังสอนเฉพาะพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ที่มีในบทเรียนเท่านั้น ทําให้นักเรียนรู้จักอักษรไม่ครบทุกตัว และไม่ สามารถอ่านคําที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนได้ดี การสอนอ่านแบบดังกล่าวทําให้นักเรียนไม่รู้กระบวนการอ่านเขียน ภาษาไทยอย่างถูกต้อง และเป็นปัญหาสําคัญที่ทําให้นักเรียนไทยอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เป็นจํานวนมาก
สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน. จากการประเมินผลความสามารถทักษะด้านการอ่านออกเขียนได้ในรายวิชาภาษาไทยของผู้เรียนที่ผ่าน มา โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 พบว่า ยังมีผู้เรียนจำนวนหนึ่งที่มีผลการ ประเมินทักษะด้านการอ่านและการเขียนยังไม่เป็นที่น่าพอใจและอยู่ในเกณฑ์น้อย ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาให้ ผู้เรียน ให้มีความสามารถในทักษะด้านการอ่านออกและเขียนได้ จึงได้มีการจัดทำสื่อการสอน คือ บัตรพยัญชนะ บัตรสระ บัตรมาตราตัวสะกด และบัตรสระ และบัตรคำหรือสื่อจำเป็นสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งแบบวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนทำให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนิน ไปอย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมการพัฒนาความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน จากสถานการณ์โควิด 19 นั้นการสอนออนไลน์อาจทำให้เกิดความล่าช้าในการเรียนการสอนตาม ตัวชี้วัด ครูมีการสอนซ่อมเสริม และได้มีการจัดทำสื่อการสอนเพื่อกระตุ้นความสนใจและพัฒนาทักษะทางอ่าน การเขียนของผู้เรียน โดยการใช้สื่อการสอนบัตรพยัญชนะ บัตรสระ บัตรมาตราตัวสะกด และบัตรในแต่ละสระ รวมทั้งบัตรคำที่มีมาตราตัวสะกด เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย และเสริมทักษะการอ่าน ในช่วงพักกลางวันหรือในเวลาว่างจากการทำแบบฝึกเสร็จเรียบร้อย ผู้เรียนสามารถหยิบจับอ่านเอง หรืออ่านเป็น กลุ่ม อ่านเป็นคู่ หรืออ่านแบบเพื่อนช่วยเพื่อนได้ นอกจากนี้ครูผู้สอนได้แจกแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียน เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกอ่าน ฝึกเขียนเป็นประจำทุกวัน และมีการติดตามวัดประเมินผลด้วยการทดสอบการอ่าน การ เขียนตามคำบอกอย่างสม่ำเสมอเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนรักการอ่านมากยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการอ่านและ การเขียนและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อสนองต่อจุดเน้นและแนวนโยบาย ของสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเป็นข้อมูล สารสนเทศสำหรับครูผู้สอน ผู้ปกครองผู้เรียน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนนำไปใช้ในการพัฒนาการอ่าน การเขียนของผู้เรียนให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน. จากข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชน บ้านสันจำปา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ปีการศึกษา 2564 ค่าเฉลี่ยของ คะแนนวิชาวิทยาศาสตร์ ไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดกิจกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ และนำเทคนิคใหม่ ๆ มาพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น โดยภาพรวมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา วิทยาศาสตร์ของนักเรียน ยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากสาเหตุ คือ ครูไม่สามารถจัด กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของหลักสูตร นักเรียนขาดความ กระตือรือร้นในการเรียน ขาดกระบวนการในการเสาะแสวงหาความรู้ และบรรยากาศในชั้นเรียนน่าเบื่อ หน่าย (ทวีพร ดิษฐ์สำเริง. 2544 : 28) จากปัญหาดังกล่าว ทำให้ผู้รายงานสนใจที่จะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้แผนผังมโนมติที่มี ความเหมาะสมต่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียน อันจะช่วยให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง บรรยากาศ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิผล อีกทั้งยังเป็น การพัฒนาการเรียนการสอน และนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษาต่อไป
สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน. จากสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2 รหัสวิชา อ 31204 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 3 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 81 คน พบว่านักเรียนบางส่วนมีปัญหาด้านการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ออกเสียงคำศัพท์ไม่ถูกต้อง ไม่รู้ความหมายของคำศัพท์ ขาดความมั่นใจต่อการพูดภาษาอังกฤษ ปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ซึ่งผู้เรียนจำเป็นต้องมีทักษะพื้นฐาน 4 ทักษะ คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน ดังนั้นครูผู้สอนได้เล็งเห็นถึงสภาพปัญหาดังกล่าวของผู้เรียนจึงได้นำมาเป็นหัวข้อประเด็นท้าทาย โดยการศึกษา ค้นคว้าและหาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่จะช่วยพัฒนา เรื่อง การพัฒนาการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สามารถที่จะอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษและเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางด้านภาษาซึ่งจะส่งผลด้าน การฟัง พูด อ่าน เขียน และเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน. จากสภาพปัญหาการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนอนุบาลลาดยาว พบว่า ผู้เรียนจำนวนมาก เขียน ภาษาอังกฤษไม่ถูกต้อง การเลือกใช้คำศัพท์สำนวนไม่เหมาะสม มีองค์ประกอบทางภาษาไม่สมบูรณ์ การ นำเสนอข้อมูลหรือข้อคิดเห็นด้วยข้อความไม่ตรงประเด็น การสื่อความที่เป็นวลี ประโยคเดี่ยว มีโครงสร้าง ประโยคที่ไม่สมบูรณ์ ผู้เรียนแสดงความเบื่อหน่าย ขาดความกระตือรือร้น ต่อกิจกรรมการเขียนภาษาอังกฤษ ขาดความสนใจ เบื่อหน่าย พูดคุย เล่นกับเพื่อนในขณะที่ครูสอน ไม่ส่งงานที่มอบหมาย ขาดคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการที่เหมาะสมกับการเรียน เช่น ขยัน ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพสามัคคี มีน้ำใจและไม่ให้ความร่วมมือในการ ปฏิบัติกิจกรรม ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ดังนั้น การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษซึ่งมุ่งเน้นทักษะการเขียนตาม “การจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ด้วยการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านสื่อแบบฝึก ทักษะการเขียน ภาษาอังกฤษ Knowledge Bank ด้วยวิธี Sirirak’s Track” จะพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม นำความรู้ และมี องค์ความรู้ที่จะพัฒนาตนเองให้ไปสู่เป้าหมาย “บุคคลแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” และพัฒนาผู้เรียนให้มี เจตคติที่ดีต่อการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ รวมถึงพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะ การใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ ในระดับที่สูงขึ้น