สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้ ข้อกำหนดตัวอย่าง

สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้. ในบริบทของสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์นั้น ผู้เรียนจะได้ศึกษา และปฏิบัติเกี่ยวเทคโนโลยีทด้านการสื่อสารและ การควบคุมอุปกรณ์ต่างๆในระบบอัตโนมัติและระบบปฎิบัติการของฮาดแวร์ ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้เรียนต้องมีความรู้ ทักษะ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ใน การเรียนการสอน และการทำงาน หากจัดการเรียนด้วยการบรรยาย และสื่อ Power point และตำราเรียน เพียงอย่างเดียว จะไม่เกิดการเรียนรู้ที่สนุกสนาน น่าสนใจและได้รับความรู้ความเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะ การอ่าน การเขียน การวิเคราะห์และทักษะในการปฏิบัติ ซึ่งส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำสำหรับผู้เรียนบางคนที่ ไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ผู้สอนจึงมีแนวความคิดที่จะนำเทคโนโลยีสื่อนวัตกรรมมา การปรับประยุกต์ และพัฒนาทักษะการจัดการ เรียนการสอนของผู้เรียน จึงได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนมาแก้ปัญหาด้วยการใช้กระบวนการเรียนแบบร่วมมือ เป็นกลุ่มให้กับนักเรียน เพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนสร้างความรู้จากประสบการณ์เดิม มีปฏิบัติสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม ผู้เรียน และครูผู้สอน มีการสื่อสารโดยการอ่าน การพูด การเขียน แลกเปลี่ยนกันตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล และงานที่ได้รับมอบหมาย
สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้. ในบริบทของวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพช่างอุตสาหกรรมนั้น ผู้เรียนจะได้ศึกษา ในเรื่องการวัดและ ปริมาณเวกเตอร์ แรง การรวมแรงและการแยกแรง การสมดุลของวัตถุ ฯลฯ ซึ่งวิชาในการคำนวณ เป็นวิชาที่ ผู้เรียนคะแนนผลสัมฤทธิ์ต่ำ เนื่องด้วยผู้เรียนไม่เข้าใจ ไม่สามารถคำนวณออกมาได้ หากจัดการเรียนด้วยการ บรรยาย และสื่อ Power point และตำราเรียนเพียงอย่างเดียว จะไม่เกิดการเรียนรู้ที่เป็นระบบ ซึ่งส่งผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนก็จะต่ำเหมือนเดิม ผู้สอนจึงมีแนวความคิดที่จะนำเทคนิคการสอนรูปแบบที่เหมาะสมกับวิชาที่ใช้ในการคำนวณมา การปรับ ประยุกต์ และพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนของผู้เรียนให้เป็นขั้นตอน เป็นระบบมากขึ้น จึงได้จัดกิจกรรม การเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพช่างอุตสาหกรรม มาแก้ปัญหาด้วยการใช้เทคนิคการสอน แบบ KWDL เพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนฝึกการคิดวิเคราะห์ คำนวณอย่างเป็นระบบ ขั้นตอน แก้ปัญหาเป็น
สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้. การจัดการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 เรื่องของเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามามีบทบาทสําคัญในการศึกษาเป็น อย่างมาก ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างตลอดเวลาและต่อเนื่อง ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงต้องมีรูปแบบที่ เหมาะสม สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม เทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงของโลก และในยุค Education
สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้. ในการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมานักเรียนไม่สามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ และบอกวิธีการหา คําตอบจากโจทย์ปัญหาได้ ดังนั้น ครูผู้สอนจึงจัดทําข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าท้าย โดยการทํา เอกสารคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้. สภาพการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ ๖ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จะเป็นการหา คำตอบและแก้โจทย์ปัญหาโดยการท่องจำสูตร ยกตัวอย่างเช่น เมื่อนักเรียนต้องการหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม นักเรียน เกิดปัญหาในการนำสูตรไปใช้ หรือจำสูตรไม่ได้ ปัญหาดังกล่าวเกิดจากนักเรียนไม่ได้ค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง เมื่อ พบสถานการณ์ต่าง ๆ ในโจทย์ปัญหาจึงไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในแต่ละตัวชี้วัดไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ดังนั้น ครูผู้สอนจึงจัดทำข้อตกลง ในการพัฒนางานประเด็นท้าท้าย เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ในภาค เรียนที่ 2 ปีการศึกษา 256๕ และภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖
สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้. สภาพปัญหาของผู้เรียนด้านภาษาอังกฤษยังพบปัญหาอย่างมากในการคิด วิเคราะห์ และการแก้ปัญหาโดย ใช้การอ่านและการเขียนในรายวิชาภาษาอังกฤษเนื่องจากนักเรียนไม่เข้าใจถึงการอ่านและการเขียนในรายวิชา ภาษาอังกฤษซึ่งแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบเดิมยังไม่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เท่าที่ควร เนื่องมาจาก บริบทของสิ่งแวดล้อม การเข้าถึงสื่อ/เทคโนโลยีของผู้เรียนค่อนข้างไม่ครอบคลุม จึงส่งผลให้การจัดการเรียนรู้ต่อผู้เรียน ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะกระบวนการแนวคิดเชิงคํานวณที่ดีขึ้น ครูผู้สอนจึงใช้ วิธีการประยุกต์จากเทคโนโลยีด้วยแบบการใช้บทเรียนจากสื่อของโปรแกรม PowerPoint และการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning ซึ่งนวัตกรรมที่นํามาปรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาความสามารถในการ แก้ปัญหาโดยใช้การอ่านและการเขียนในรายวิชาภาษาอังกฤษควรมีลักษณะเร้าความสนใจของผู้เรียนท้าทาย ความสามารถ เข้าใจง่าย มีภาพ เสียง วิดีโอประกอบ วางรูปแบบสวยงามและสามารถฝึกได้ด้วยตนเอง อันจะส่งผลให้ นักเรียนได้พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาโดยใช้การอ่านและการเขียนในรายวิชาภาษาอังกฤษและประยุกต์ความรู้ไปใช้ใน ชีวิตประจําวันได้ บทเรียนจากสื่อของโปรแกรม PowerPoint มีความสําคัญและมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนวิชา ที่เป็นทักษะมาก เพราะเป็นสื่อการสอนที่ช่วยลดภาระของครู ช่วยให้นักเรียนได้ฝึกทักษะให้ดีขึ้น ส่งเสริมในเรื่องความ แตกต่างระหว่างบุคคล ทําให้นักเรียนประสบผลสําเร็จในทางจิตใจมากขึ้น ช่วยเสริมทักษะแนวคิดเชิงคํานวณให้คงทน รวมทั้งเป็นเครื่องมือวัดผลการเรียนหลังจากเรียนบทเรียนแล้ว ตลอดจนนักเรียนสามารถทบทวนได้ด้วยตนเอง ทําให้ครู มองเห็นปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียนได้ชัดเจน นักเรียนสามารถฝึกฝนได้เต็มที่นอกเหนือจากที่เรียนในเวลาเรียนซึ่งทําให้ ผู้เรียนเห็นความก้าวหน้าของตนเอง เพื่อให้กิจกรรมมีความหลากหลาย ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สามารถนําไป ประยุกต์ใช้ได้ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนฝึกฝนทักษะได้ทุกเวลาจากเทคโนโลยีซึ่งทําให้กิจกรรมน่าสนใจมาก ยิ่งขึ้น
สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้. การอ่านและการเขียนเป็นทักษะที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวัน เพราะเมื่ออ่านออกเขียน ได้ก็จะเกิดความรู้ความเข้าใจ นำไปสู่การสร้างความคิด การตัดสินใจแก้ปัญหา และก้าวทันต่อเหตุการณ์ของ โลกในยุคปัจจุบัน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลลาดยาว ปัญหาที่พบ คือ การใช้ภาษาของผู้เรียนมีข้อบกพร่องหลายประการ ทั้งในด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน แต่ที่เป็นปัญหามากคือปัญหาการเขียน โดยเฉพาะเรื่องคำควบกล้ำ ผู้เรียนอ่านอักษร ควบกล้ำไม่ชัดเจน เช่น อ่านอักษรควบ ร โดยไม่ออกเสียงควบกล้ำ เช่น แปรง ออกเสียงเป็น แปง ปราบ ออกเสียง เป็น ปาบ ครู ออกเสียงเป็น คู อ่านอักษรควบ ล ไม่ออกเสียง ล กล้ำ เช่น กลาง ออกเสียงเป็น กาง ปลอด ออกเสียง เป็น ปอด เนื่องมาจากผู้เรียนส่วนใหญ่ขาดทักษะด้านการอ่านการเขียน ทักษะเกี่ยวกับหลักภาษาและการใช้ ภาษา ผู้เรียนมีความสับสนทางด้านภาษาไทยเพราะอิทธิพลของการใช้ภาษาถิ่นในชีวิตประจำวัน ความเคยชินกับ การพูดของคนในชุมชน และครอบครัวของผู้เรียนที่ใช้ภาษาในท้องถิ่นของตนในการสื่อสารกันทำให้ออกเสียงคำควบ กล้ำไม่ชัดเจน ซึ่งมีผลทำให้การเขียนสะกดคำควบกล้ำไม่ถูกต้องตามไปด้วย เมื่อการอ่านการเขียนไม่ถูกต้องก็มี ผลทำให้การสื่อสารผิดเพี้ยนตามไปด้วย ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่งในการที่จะเรียนรู้ในกลุ่ม สาระอื่น ๆ ต่อไป การฝึกทักษะภาษาไทยต้องอาศัยองค์ประกอบหลายๆอย่าง เช่น การฝึกย้ำซ้ำทวน ฝึกบ่อยๆ จึงจะทำให้ผู้เรียนจำได้ ฟังเข้าใจ พูด อ่านและเขียนได้ถูกต้อง วิธีที่จะฝึกทักษะทางภาษาให้ได้ผลดีอีกวิธีหนึ่ง คือได้ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและทักษะเพิ่มขึ้น การสอนภาษาไทยที่ครูใช้อยู่ใน ปัจจุบันเป็นการสอนแบบบรรยายผู้เรียนอ่านตามครู เขียนตามครูยึดเนื้อหาในหนังสือเรียนเป็นหลัก ไม่มีสิ่ง เร้าใจ ใช้เทคนิคเดิม ๆ ผู้เรียนเบื่อหน่ายไม่สนใจการเรียน ดังนั้น จากการศึกษาค้นคว้าผู้ศึกษาพบว่า การจัด กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยแบบฝึกทักษะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในบทเรียนได้ดีขึ้นเพราะแบบ ฝึกทักษะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการสอนภาษา แบบฝึกทักษะจะทำให้เด็กเกิดความแม่นยำ คล่องแคล่วใน แต่ละทักษะ สามารถใช้ภาษาสื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธภาพ มีความคิดและเหตุผล และยังสามารถเร้าความ สนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีและสร้างความสนุกสนานโดยไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการฝึกซ้ำ ดังนั้นการสอน ภาษาไทยให้ผู้เรียนมีทักษะในการฟัง พูด อ่านและเขียนภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็วและถูกต้อง เครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่ใช้ฝึกทักษะทางภาษา คือ แบบฝึก ดังที่กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่าการสอน ภาษาไทยให้สนุกต้องให้ผู้เรียนได้ทำแบบฝึกหัดให้มากที่สุด ในแบบฝึกหัดนั้นย่อมมีคำตอบที่ถูกและผิด เมื่อครู ชี้แจงให้ทราบว่าข้อไหนถูกและข้อไหนผิดจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกยิ่งขึ้น การใช้แบบฝึกเป็นสื่อการสอนที่จัดทำ ขึ้นเพื่...
สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นการประมวลแนวคิดทางการเรียนรู้ หลักการสอนกระบวนการเรียนรู้วิธีสอนที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเป็นผู้ค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในการเรียน เรียนรู้ด้วยตนเอง เพิ่มพูนทักษะและเจตคติที่มีความคิดที่เป็นกระบวนขั้นตอน นำประสบการณ์ การเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ วิชาสังคมศึกษาเป็นหนึ่งในวิชาพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระที่กำหนดให้ เรียนในระดับชั้นการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยความสำเร็จของการเรียนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม คือการที่ผู้เรียนเข้าใจและนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ การจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ จึงเชื่อมโยงให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ การใช้ชีวิตที่ ถูกต้องอยู่อย่างมีความสุข โดยเรียนผ่านสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในห้องหรือในโรงเรียน หรือวิเคราะห์ จาก ตัวอย่างสถานการณ์ที่เป็นจริงในสังคม เพื่อให้ผู้เรียนฝึกคิด วิเคราะห์ รู้ทันการเปลี่ยนแปลง รู้จักตัวเอง สามารถจัดการชีวิตของตัวเอง และมีวิถีชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข แต่จากการจัดการเรียนการสอน วิชาสังคมที่ผ่านมาพบว่าผู้เรียนยังขาดทักษะเหล่านี้อยู่มาก ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการ เรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมลดลง ดังนั้น เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่สำคัญตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ผู้สอนจึงได้ศึกษาและนำวิธีการสอนโดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps พัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1
สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้. ในกำรจัดกิจกรรมกำรเรียนกำรสอนเรื่องกำรแก้โจทย์ปัญหำคณิตศำสตร์ ชั้น ประถมศึกษำปีที่ 3 เรื่องกำรคูณที่ผ่ำนมำ พบว่ำ นักเรียนชั้นประถมศึกษำปีที่ 3 ร้อยละ 35 มีปัญหำในกำรแก้ โจทย์ปัญหำกำรคูณ จํำหลักกำรแก้โจทย์ปัญหำทำงคณิตศำสตร์ไม่ได้ สำเหตุเกิดจำกนักเรียนไม่สำมำรถค้นพบ องค์ควำมรู้ด้วยตนเอง ไม่สำมำรถนํำไปประยุกต์ใช้ได้อย่ำงถูกต้อง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนไม่เป็นไปตำม เป้ำหมำยที่โรงเรียนกํำหนด
สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้. จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้บอกไว้ว่าเทคโนโลยี เป็นสิ่งที่ ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และรู้เท่าทันการ เปลี่ยนแปลง สามารถนำความรู้ไปเชื่อมโยงความรู้ที่เรียนกับชีวิตประจำวันทางด้านเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ ในการทำงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์และแข่งขันในสังคมไทยและสากล เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ รักการทำงาน และมีเจตคติที่ดีต่อการทำงานในอนาคตได้อย่างมีความสุข จากกระบวนการ PLC ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ที่ผ่านมาพบว่าการจัดการเรียนรู้ใน รายวิชา คอมพิวเตอร์กราฟิกส์2 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ที่ผ่านมา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และไม่ ผ่านเกณฑ์ ตามที่สถานศึกษากำหนด เพราะนักเรียนมองว่าคอมพิวเตอร์กราฟิกส์เป็นเป็นเรื่องยาก ไกลตัว ไม่ สามารถเชื่อมโยงความรู้ที่เรียนกับชีวิตประจำวันได้ จึงรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่ค่อยสนใจ ไม่อยากเรียนรายวิชานี้ จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นข้าพเจ้าครูผู้สอนได้ไปศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ทำให้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้นนั้นคือกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry- Based Learning)ของ บรูเนอร์ (Bruner. 1966: 89) โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่1 การสังเกต (Observation) หลังจากกำหนดประเด็นปัญหา ให้นักเรียนสังเกตสภาพแวดล้อม ที่ก่อให้เกิดปัญหา พยายามนำความคิดรวบยอดเดิมมาแก้ปัญหาโดยคิดหาเหตุผล จัดลำดับความคิดใน รูปแบบต่างๆ ให้สอดคล้องสัมพันธ์กับสภาพการณ์อันเป็นปัญหานั้น